--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เหลื่อเชื่อกับคำตอบของ"อภิสิทธิ์"


วันพฤหัส 20 สิงหาคม 2009 — chapter 11
The incredible Abhisit petition responseAugust 18, 2009
ที่มา – Political Prisoners in Thailand
แปลและเรียบเรียง – chapter 11

นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตกเป็นเหยื่อของการที่ปากไม่มีหูรูดของตัวเอง ในเรื่องเกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาเพื่อ “ขอพระราชทานอภัยโทษ” ให้กับทักษิณ ชินวัตร

จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒: “นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การพิจารณาเรื่องการยื่นถวายฎีกาอาจใช้เวลาหลายเดือน”) ข่าวรายงานว่า อภิสิทธิ์กล่าวว่า “จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยถึง ๒ เดือน ในการพิจารณาฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้กับทักษิณ ชินวัตร ก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจว่าจะปฎิบัติตามขั้้นตอนต่อไปอย่างไร…” เพียงหนึ่งวันก่อนมีการยื่นถวายฎีกา อภิสิทธิ์ได้แถลงการณ์ว่า ถ้าการยื่นถวายฎีกาอภัยโทษ ไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย จะยุติการพิจารณาทันทีโดยไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น

อภิสิทธิ์กล่าวว่า การตรวจสอบการยื่นถวายฎีกาในครั้งนี้อาจต้องใช้เวลานานเนื่องจากเป็น “เรื่องที่ซับซ้อน และประชาชนจำนวนมากอ้างว่าได้ร่วมลงชื่อในการยื่นถวายฎีกา” ให้สังเกตุว่าอภิสิทธิ์ใช้คำ “อ้างว่า” แน่ละ ที ๑๐ ล้านรายชื่อที่รัฐบาลทำการล่ารายชื่อเพื่อต่อต้านการยื่นถวายฎีกากลับไม่มีปัญหาหรือ และเคยไปตรวจสอบข้อมูลในใบคัดค้านการยื่นถวายฎีกาที่เจ้าหน้าที่ทำการกรอกเองแทนเจ้าของชื่อจริงหรือไม่ แล้วประเด็นการปลอมแปลงเอกสาร และการใช้อำนาจในทางผิดของข้าราชการล่ะ

สำหรับในประเด็นนี้ ถือว่านายกรัฐมนตรีขาดความน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง
แม้กระนั้นก็ตาม อภิสิทธิ์ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ควบคุมดูแลในเรื่องนี้ ดูเหมือนว่า ไม่มีสมาชิกคนใดของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะมีความสามารถในการชี้ให้รัฐบาลมองเห็นถึงความ “ยุ่งยาก” ใดๆ

ไม่น่าเชื่อเมื่ออภิสิทธิ์ยังอ้างต่อว่า “รัฐบาลจะไม่ขัดขวางขั้นตอนการถวายฎีกา” และเสริมว่า “ผมขอรับรองกับทุกคนว่า รัฐบาลจะปฎิบัติต่อการยื่นถวายฎีกาในครั้งนี้ ไม่ต่างจากกรณีอื่น” “ผมสัญญาว่ารัฐบาลจะไม่ขัดขวาง หรือหน่วงเหนี่ยวในการยื่นถวายฎีกา..” พีพีทียังคงสงสัยในเรื่องนี้ เนื่องจากในอดีตอภิสิทธิ์ได้เคยบิดเบือนความจริงซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยิ่งประเด็นนี้ด้วยแล้ว อภิสิทธิ์นับว่าทำตัวได้น่าเหลือเชื่อ

นายสุเทพกล่าวว่า เขาสนับสนุนให้ตั้ง “กรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบการยื่นถวายฎีกา” ทำราวกับว่า นายสุเทพไม่เชื่อนักวิชาการทั้งหมดที่เคยดาหน้าออกมาโวยวายว่าการยื่นถวายฎีกานั้นผิดกฎหมาย หรืออาจจะไม่เป็นแบบนั้นก็ได้ เพราะขนาดรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค “ยังกล่าวว่า ถ้าพบว่าการยื่นถวายฎีกานั้นไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย ทุกอย่างจะจบ จะไม่มีการดำเนินการใดๆต่อทั้งสิ้น”
ทั้งรัฐบาล ทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยม ต่างออกมาแสดงอาการโกรธแค้นอย่างเอาเป็นเอาตาย และข่มขู่การยื่นถวายฎีกา รัฐมนตรีกล่าวว่า “เวลานี้ผมยังไม่ทราบว่าการยื่นถวายฎีกา เป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ หรือเพียงแค่เป็นการร้องเรียน…”

นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. ขู่ว่า “ถ้ารัฐบาลพยายามกระทำนอกเหนือหน้าที่ ย่อมเป็นเหตุผลให้เสื้อแดงทำการชุมนุมครั้งใหญ่….”

ลิงแก้แห

ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุมกระสา
มันเสมอปัจจุบันเป็นลิงแก้แห อนาคต ร่างแหไม่ร้อยรัดลิงให้รุงรังไปได้อย่างไรปัจจุบัน สงบ สว่าง มีส่วนรวมเป็นตัวตั้ง

มีสติปัญญาเป็นตัวแก้ไขปัญหาด้วยความโปร่งใส อนาคต ความสว่าง ความสงบจะหนีไปไหนพ้นอดีตและอนาคต เป็นเครื่องบอกปัจจุบันได้เคยเป็นโจร ฉ้อฉลมาตลอด

แม้แต่ปากก็ยังถูกผีเจาะ โอกาสอำนวยหน่อยเดียว สูทสีดำกลายเป็นสูทสีขาว อบายกลายเป็นธรรมะ ชี้แนะช่องทางความโปร่งปลอดยุวอำนาจไร้ประสบการณ์ก็เผลอเชื่อสื่อหลายต่อหลายแห่ง นำเสนอหน้าที่ที่ควรพึงปฏิบัติก่อน

อาทิราคาน้ำมันไม่เป็นธรรม ราคาน้ำมันจริง ลิตรละไม่เกิน 20 บาท ราคาขายกลับกว่า 30 บาท ทั้งที่ปีที่แล้ว น้ำมันตลาด โลกราคาถึง 147 เหรียญต่อบาร์เรล ปัจจุบันแค่ 70 กว่าเหรียญต่อบาร์เรลรัฐบาลผสมเทียม กำลังทำอะไรกับประชาชน?

และจะทำอย่างไรกับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเป็นรูปธรรมหรือลดให้เพียง 2 บาท ขณะที่ประโยชน์แอบแฝงใน ราคาไม่เคยเอาจริงกับมันบางสื่อ เป็นห่วงเรื่องการประกันราคาสินค้าเกษตร อย่างข้าวโพด มันสำปะหลังพ่อค้ากรอกลมมา แล้วเอาเงินไป สินค้าไม่ต้องปรากฏ

อีหรอบนี้ เกษตรกรอยู่รอดจริงๆ ละหรือหรือเพื่อความอยู่รอดของนายทุนการเมืองท้องถิ่นถัวๆ แถกๆ เฉลี่ยกันแสวกตามอัธยาศัยผู้คนหลากสาขาหลายอาชีพ เสนอประมุขฝ่ายบริหารให้ประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น

ตามที่บอกกับประชาชนว่าจะรับฟังเสียงทุกเสียงมหัศจรรย์มาก เป็นการรับฟังที่ไม่ได้ยินถ้าได้ยิน จะประพฤติในสิ่งที่ควรเว้นอย่างนั้นหรือบางแห่ง เตือนล่วงหน้าไว้เลยว่า ระวังเหมือนท่าน แตˆก่อน พอมีประสบการณ์ ก็ไม่มีอำนาจ ตอนมีก็ใช้อำนาจไม่เป็นวงการสันทัดกรณีทางการเมืองริมถนน กำลังตระหนักถึงภัยเศรษฐกิจ การเมือง สังคมยามนี้ทั่วกันแล้วก็หัวเราะกันด้วยความขมขื่นว่าใคร พรรคไหนวะ ทะลึ่งตั้งโฆษกมาเป็นประมุข ฝ่ายบริหาร?

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

(ฎีกา)ดับทุกข์!..จะทำให้คนทั้งแผ่นดิน "ตาสว่าง" ที่ได้เห็นเหรียญทุกด้าน

คอลัมน์ ฉุก(ละหุก)คิด
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ประจำวัน พุธ ที่ 19 สิงหาคม 2009
โดย นายหัวดี


ดับทุกข์!

ยังมีลมหายใจก็ต้องสู้กันไป

ยิ่ง “โดเรแม้ว” ยิ่งรู้ซึ้งถึงสัจธรรมแห่งชีวิตที่ “ไร้พรมแดน” ได้อย่างดี

แม้จะยังพอมีบารมีและมีทรัพย์สมบัติที่จะโชว์กึ๋น แต่ก็ไม่ใช่การใช้ชีวิตบนแผ่นดินเกิด

น้ำตาและความปลาบปลื้มที่ประชาชีนับล้านคนมีให้กับ “โดเรแม้ว” จึงมีค่ายิ่งและต้องจดจำไปจนวันตาย

ไม่ว่า “โดเรแม้ว” จะกลับแผ่นดินในฐานะอะไรก็ตาม ต้องไม่ลืม “บุญคุณ” ที่ยิ่งใหญ่

แม้การถวายฎีกาจะถูกตัดตอนหรือแขวนไว้อย่างไร ก็จะทำให้คนทั้งแผ่นดิน “ตาสว่าง” ที่ได้เห็นเหรียญทุกด้าน

มหกรรมตอแหลและโกหกจะดำเนินต่อไปอย่างไร “หล่อใหญ่” จะตีหน้าหล่อเป็นผู้ดีตีนแดง “มือถือสาก ปากถือศีล” ให้ลิ่วล้อออกมาตอแหลและบิดเบือนอย่างไร

ความจริงก็คงเป็นความจริง!

เหมือนผลงานของ “หล่อใหญ่” วันนี้ ที่ดูได้จากประชาชีมีความสุขหรือไม่ อย่างไร

ขณะที่ก๊วนไฮแจ๊คตั้งโต๊ะล้วงลูกและรับโบนัสกันสนั่นบ้านสนั่นเมือง แต่ “หล่อใหญ่” ยังรำป้อเดินสายจ้อและโชว์ตัว ทั้งที่ไม่มีผลงานจะโชว์

“6 เดือน 100 มาตรการ 10 ล้านความสุข”

โค-ตะ-ระสุดยอดผลงานจริงๆ ถ้าไม่ใช่วาทกรรมตอแหล

เหมือน “ก๊วนห้อยยี้” ที่ออกมาประกาศอย่างพอใจกับผลงาน 10 ล้านรายชื่อที่ฉีกประชาชีให้แตกเป็นเสี่ยงๆ ทั้งที่สวมหัวโขนและให้คำสัตย์ปฏิญาณจะจงรักภักดีและรับใช้ประชาชีทั้งแผ่นดิน

มหกรรมโกหกและตอแหลจึงสะท้อนชัดเจนถึงยุคสัตว์การเมืองและ “อีแอบ” ที่ใหญ่คับแผ่นดิน

ไม่ใช่สยามไม่ยิ้มเท่านั้น แต่ประชาชีก็ไม่ต่างอะไรกับตกนรกทั้งเป็น!

กระแสวงจรอุบาทว์จึงไม่ใช่เรื่องแปลก แม้ “บิ๊กป้อม” จะโชว์พุงปฏิเสธ

อย่างน้อยก็ทำให้ “หล่อใหญ่” และ “เด็กเส้น” สะดุ้งเป็นหมูถูกน้ำร้อนลวก ไล่เช็กข่าวกันอย่างบ้าเลือด

“บิ๊กแปะ” ที่โชว์ตัวเพื่อกระโจนลงบ่อน้ำเน่ายังหนาวจนต้องออกมาเบรก “บิ๊กป้อม-บิ๊กป๊อก” คิดได้ แต่อย่าทำ...(ฮา)

ย้อนกลับไปครั้ง “บิ๊กบัง” ออกมาเล่นลิเก บรรดา “เด็กเส้น” หน้าระรื่นออกมาสรรเสริญเยินยอเหมือนเทพเทวดาที่มาโปรดสัตว์

เหมือนที่ “หล่อใหญ่” ออกมาตีหน้าหล่อเรียกร้องให้ “เด็กไม่มีเส้น” หยุดเพ่นพ่าน อ้างสารพัดเหตุผล ยิ่งไปย้อนดูครั้งตามแห่ร่วมขบวนการที่เห็นดีเห็นงามกับ “เด็กเส้น” ที่ทำผิด ท้าทายทั้งอำนาจรัฐ นิติรัฐ และนิติธรรม

แถมยังรับเลี้ยง “ผู้ต้องหาก่อการร้าย” ให้นั่งหน้าสลอนรับแขกบ้านแขกเมืองอีก!

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทั้ง “สะตอแคระ” บรรดา “ก๊วนห้อยยี้” และ “ลิ่วล้อ” ข้างกางเกง “หล่อใหญ่” จะออกมาตะแบงและตอแหลปล่อยข่าวสารพัด “ฎีกาเสื้อแดง” ทั้งที่ทุกขั้นตอนมีกฎระเบียบและกรอบกติกาที่ชัดเจน ซึ่งต้องผ่าน “ก๊วนไฮแจ๊ค”

แต่ที่ “ก๊วนไฮแจ๊ค” กลัวและผวาอย่างหนักคือเรื่องของ “ฟ้า” ที่ไม่มีใครคนใดหรือกลุ่มใดจะผูกขาด “ความจงรักภักดี” ได้

เช่นเดียวกับวิกฤต “อีแดง-ไอ้ด่าง” ที่ตอแหลไม่ได้ว่าประชาชีทั้งแผ่นดินเป็นทุกข์ จึงต้องดับที่ “ต้นเหตุ” ของทุกข์

ใครเป็น “หัวตอ” ที่ปากว่าตาขยิบ และตอแหลกันทุกรูปแบบ

แค่ส่องกระจกก็เห็นทุกรูขุมขนแล้ว ไม่ใช่ใส่แต่ “แว่นตาดำ” อย่างผู้ใหญ่ลี!

อะไรต่อไป หลังเสื้อแดงถวายฏีกา



หลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดง หรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านสำนักราชเลขาธิการเมื่อบ่ายวานนี้ (17 ส.ค.) ก่อนสลายการชุมนุมอย่างรวดเร็วตามที่แกนนำเคยประกาศไว้ พร้อมยืนยันอีกครั้งว่า จะไม่เคลื่อนไหวประเด็นนี้ต่อไปอีก

อย่างไรก็ดี จากรายงานข่าวที่เกิดขึ้นนับจากเมื่อวานจนถึงวันนี้ ทำให้พบเส้นทางที่สับสนไม่ชัดเจนของการถวายฏีกาครั้งนี้ของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า จะเป็นอย่างไรกันต่อไป ดังนั้น เว็บไซต์ http://www.dailyworldtoday.com/ จึงเกาะสถานการณ์ รวบรวมข่าวต่อเนื่องจากการถวายฏีกา มานำเสนอดังนี้
สำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ขั้นตอนปฏิบัติหลังรับฎีกา

ช่วงบ่ายของวันที่ 17 ส.ค. สำนักราชเลขาธิการออกแถลงการณ์ ภายหลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า

ตามที่ นายวีระ มุสิกพงษ์ กับแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ บริเวณประตูวิเศษไชยศรี พระบรมมหาราชวังนั้น สำนักราชเลขาธิการขอชี้แจงให้ทราบว่า ตามขั้นตอนที่เคยปฏิบัติมา เมื่อสำนักราชเลขาธิการได้รับการทูลเกล้าถวายฎีกาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ การขอพระราชทานความเป็นธรรม และการขอพระราชทานความช่วยเหลือ สำนักราชเลขาธิการต้องส่งฎีกาทุกเรื่องไปให้รัฐบาลพิจารณาถวายความเห็นประกอบพระราชดำริต่อไป จึงขอแถลงข่าวมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ปณิธานแจง ส่งกระทรวงยุติธรรมตรวจก่อนขอความเห็นรัฐบาล

หลังจากสำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ขั้นตอนต่อไป หลังจากที่สำนักราชเลขาธิการส่งคำขอถวายฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาขอความคิดเห็นจากทางรัฐบาล ว่า

ถ้าเป็นกรณีถวายฎีกาทั่วไปตามโบราณราชประเพณี ขั้นตอนต่อจากนี้ คือ สำนักราชเลขาฯ จะส่งเรื่องมาที่รัฐบาล โดยผ่านทางกระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลก็รอให้กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบความถูกต้องตามขั้นตอน และเมื่อกระทรวงยุติธรรมตรวจสอบแล้วเสร็จ ซึ่งนั่นหมายถึง การตรวจสอบรายชื่อต่างๆด้วย จากนั้น ก็จะส่งกลับมาที่สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลก็จะทำความเห็นประกอบไปที่สำนักราชเลขาฯ
ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการ ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการตรวจสอบที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรม และเมื่อกลับมาที่สำนักนายกฯ ก็จะมีการทำความเห็นประกอบส่งกลับไปเท่านั้น
รมว.ยุติธรรม เผยส่งกรมราชทัณฑ์ตรวจก่อนกลับมากระทรวง

วันนี้ (18 ส.ค.) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงขั้นตอนการตรวจสอบการยื่นถวายฎีกาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยื่นเมื่อวานที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มาถึงมือตนเอง ซึ่งเชื่อว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารที่นำส่งมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการขอฎีกาในครั้งนี้ว่าต้องการร้องทุกข์ หรือต้องการขอพระราชทานอภัยโทษ

หากพบว่า เป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ... ก็จะส่งเรื่องให้กรมราชทัณฑ์ ตรวจสอบประวัติ และพิจารณาในส่วนของอัตราโทษของผู้ที่ร้องขอ ก่อนจะส่งกลับมายังกระทรวงยุติธรรมพิจารณา ตรวจสอบเอกสารที่ส่งมาว่าถูกต้องตามเงื่อนไขหรือไม่ แต่หากพบว่าไม่เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด ก็ถือว่าจบ ไม่ต้องดำเนินการใดๆต่อ ซึ่งที่ผ่านมานั้น

หากเป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้ญาติ หรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา ส่งเรื่องและวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ก็สามารถส่งได้แล้ว แต่หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าทั้งหมดไม่เข้าเกณฑ์ก็ถือว่าสิ้นสุด
กรมราชภัณฑ์ไม่มีข้อมูลทักษิณ โยนเรื่องกลับยธ.

นายนที จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีที่ กรมราชทัณฑ์ อยู่ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประมวลคำพิพากษาของคดีและพฤติการณ์ของผู้ต้องโทษว่า เคยมีพฤติการณ์หลบหนี และสำนึกผิดหรือไม่ รวมทั้ง การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ถวายฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญาว่า

ในกรณีการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยมีประวัติการรับโทษ ดังนั้นแม้กระทรวงยุติธรรม ส่งเรื่องมาให้ทางกรมพิจารณา ก็คงไม่สามารถให้ข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติมได้ ซึ่งในส่วนนี้ กระทรวงยุติธรรมก็คงต้องไปตรวจสอบข้อมูลในทางคดีกับศาล ได้เพียงอย่างเดียว
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ซึ่งเมื่อทางกรมราชทัณฑ์ ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ ทำให้ผู้ที่จะพิจารณาความเหมาะสม กรณีฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ไปตกอยู่กับดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แต่เพียงผู้เดียว

ครม.ไม่แน่ใจจะหารือเรื่องการถวายฏีกาของกลุ่มเสื้อแดงหรือไม่
ช่วงเช้ามีรายงานข่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (18 ส.ค.) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาเนื้อหาฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของกลุ่มคนเสื้อแดง หลังสำนักเลขาธิการรับเรื่องและส่งให้รัฐบาลตามกระบวนการ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีจะได้หารือกับหน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล เช่น สำนักงานกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงกระทรวงยุติธรรม โดยจะพิจารณาว่าการยื่นฎีกาดังกล่าวจะเข้าหลักเกณฑ์ข้อกฎหมายหรือไม่

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดเผยภายหลังว่า การประชุม ครม. วันนี้ ในวาระไม่ได้มีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาด้วย

นายกฯเผยรัฐบาลอาจใช้เวลา 60 วันตรวจสอบฎีกา
วันนี้ (18 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า หลังรัฐบาลได้รับเรื่องถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดงจากสำนักราชเลขาธิการแล้ว จะส่งให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาต่อไป โดยปกติต้องใช้เวลาตรวจสอบฎีกา 60 วัน แต่กรณีนี้มีความซับซ้อนและมีผู้ลงชื่อจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลามากกว่านั้น และไม่ทันการชุมนุมใหญ่ วันที่ 26 สิงหาคม ที่มีข่าวว่ากลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมเพื่อฟังคำตอบจากรัฐบาล
นายกฯยืนยันไม่มีการล้มฎีกา

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่มีการหารือเรื่องการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเห็นว่าเหมือนการถวายฎีกาทั่วไป ที่ทางสำนักราชเลขาธิการ จะส่งเรื่องมาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่าฎีกาดังกล่าวเป็นประเภทใด และส่งต่อไปยังหน่วยงานของรัฐบาลที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อสรุปความเห็น และส่งกลับไปยังสำนักราชเลขาธิการ ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐบาลจะปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีการยับยั้งหรือล้มฎีกาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังขอความร่วมมือผู้ที่ถวายฎีกาดังกล่าว อย่าบิดเบือนข้อเท็จจริง และขอความร่วมมือสรุปข้อเท็จจริงส่งให้รัฐบาลประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อเป็นการสร้างความสบายใจให้กับประชาชน

จตุพรเผยรบ.ยื้อถวายฎีกาฯ อาจเร่งเสื้อแดงชุมนุมขับไล่เร็วขึ้น
นายจตุพร พรหมพันธุ์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เปิดเผยช่วงบ่ายวันนี้ (18 ส.ค.) ว่า หากรัฐบาลแสดงออกให้เห็นถึงความพยายามที่จะดึงเรื่องไว้ โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการทำความเห็นประกอบ หรือพยายามล้มฎีกาก็จะเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มคนเสิ้อแดงต้องออกมาชุมนุมใหญ่เร็วขึ้น

นายจตุพร กล่าวว่า ตามขั้นตอนประเพณีปฏิบัติที่เคยมีมาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น สำนักราชเลขาธิการจะส่งเรื่องให้กับรัฐบาลเพื่อพิจารณาถวายความเห็นประกอบ ซึ่งรัฐบาลจะถวายความเห็นประกอบอย่างไรก็ได้ จะบอกว่าการถวายฎีกาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายก็ได้ เพราะเป็นเพียงแค่ความเห็น

“แถลงการณ์(สำนักราชเลขาธิการ)มีความชัดเจนว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ที่จะยับยั้งฎีกา ทำได้เพียงถวายความเห็นประกอบจะทำเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเคยออกแถลงการณ์มาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น แค่เพียงกระทรวงยุติธรรมส่งแถลงการณ์ให้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว ความจริงแล้วในวันที่ 19 ส.ค.ก็สามารถถวายความเห็นประกอบได้แล้ว”

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การสื่อสารสาธารณะ กับ "ไวยากรทางจริยธรรม"



Posted on 4 เมษายน 2008 by Kosol Anusim
ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย ได้เสนอแนวคิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication)” ไว้ในหนังสือ “ระหว่างกระจกกับตะเกียง” (หน้า 218-220) ไว้ 4 ประการ คือ

1. นักสื่อสารสาธารณะ จะต้องตระหนักว่า ณ นาทีที่เขาส่งสารสาธารณะออกไปนั้น เขาคือผู้ผูกขาดการนำเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นนั้นๆโดยไร้การแข่งขันใดๆ ดังนั้น สานของเขาควรจะเป็นอะไรที่บ่งบอกได้ว่า เขา (1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ (2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ (3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ และ (4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน

2. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะคัดเลือกและนำเสนอสารของตนอย่างเป็นธรรม และอย่างเคารพความเที่ยงตรง โดยจะต้องซึมซับการใฝ่หาความยุติธรรมจนกลายเป็นนิสัย (habit of justice) ฉะนั้นเขาจะไม่เจาะจงตกแต่งหรือบิดเบือนความคิดตามลีลาของนักโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการตั้งใจหรือปกปิดหรือซ่อนเร้นจุดสำคัญๆ ซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องทราบในอันที่จะใช้เป็นหลักในการประเมินข้อมูลและข้อคิดเห็นของเขาได้อย่างถูกต้อง ภารกิจตลอดกาลของเขาคือการสร้างความเสมอภาคแห่งโอกาสของความคิดต่างๆ (equality of opportunity among ideas)

3. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะมีนิสัยที่ชอบตริตรองเรื่องราวเกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ ให้มากๆ จนกระทั่งเห็นว่าเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องใหญ่โตกว่าเรื่องส่วนตัว ในกรณีที่การนำเสนอของเขาจำเป็นต้องมีมุมมองเฉพาะของตนเอง เขาควรอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเปิดเผยที่มาของข้อมูล และการก่อรูปของความคิดเห็นของตนอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบเจตนารมณ์ที่แท้จริงของตนได้ตามหลักของความโปร่งใสด้วย

4. เต็มใจที่จะรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับของตน ทว่าในท้ายที่สุด การสื่อสารของเขาเองจะต้องไม่ยินยอมสูญเสียหลักการที่เขาเชื่อมั่นว่าได้ผ่านการตริตรองมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยไม่ประนีประนอมง่ายๆ นอกจากนี้ นักสื่อสารสาธารณะที่ทำงานของตนมาอย่างเต็มที่แล้ว จะต้องยินดีที่จะประจันหน้ากับการท้าทายใดๆมากกว่าการสมยอมอย่างผิดๆ

“นักสื่อสารสาธารณะ” ในความหมายของ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ในที่นี้ ไม่ใช่เพียงแค่สื่อสารมวลชน แต่รวมถึงบุคคลสาธารณะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ผู้บริหารของรัฐและเอกชน ข้าราชการ นักวิชาชีพต่างๆ ที่จำเป็นต้องสื่อสารข้อความทางสังคมกับสาธารณชน ยกเว้นกิจกรรมที่เป็นความบันเทิงโดยตรงล้วนๆ

เมื่อพิเคราะห์ตามแนวคิดที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา เสนอแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาทันทีว่า หากยึดตามแนวคิดดังกล่าว “นักสื่อสารสาธารณะ” ในสังคมไทย ทั้งสื่อสารมวลชนและบุคคลสาธารณะ จะมีสักกี่สื่อและกี่คนที่ยังคงมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 4 ข้อนั้น

ปัจจุบันสื่อสาธารณะได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมาถึงสองหน่วยงาน คือ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ที่แปรมาจากสถานีโทรทัศน์ ITV และสถานีโทรทัศน์ NBT ที่เปลี่ยนชื่อมาจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง กิดขึ้นจากการผลักดันของผู้มีอำนาจทางการเมืองต่างวาระกัน โดย สถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ส่วนสถานีโทรทัศน์ NBT จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่งต่างก็ได้รับการกล่าวอ้างว่าจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสื่อสาธารณะที่มุ่งประโยชน์แก่สาธารณชน ไม่ใช่เป็นกระบอกเสียงให้แก่รัฐบาล

คำถามที่จะต้องถามก็คือ สื่อสาธารณะดังกล่าว มีความน่าเชื่อถือเพียงใดที่จะเป็นไปตามหลัก “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้นำเสนอไว้ ทั้งนี้จะต้องย้อนกลับไปพิจารณาบุคคลสาธารณะที่จัดอยู่ในฐานะ “นักการสื่อสารสาธารณะ” ซึ่งได้ก่อตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมา นั่นคือคือนักการเมือง รวมถึงผู้ที่มีส่วนในการก่อตั้งและดำเนินงานสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ประการนั้นหรือไม่

ถ้าหากมีคุณสมบัติของผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกิจการครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อ ย่อมจะเชื่อได้ว่า สื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง จะสามารถดำรงฐานะความเป็นสื่อสาธารณะที่รับใช้ประชาชนและสังคม โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ดี เหมาะสม น่าเชื่อถือ หลากหลายแง่มุม ยึดถือมีความเป็นธรรมและเที่ยงตรง มุ่งประโยชน์ส่วนรวมและโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมถึงการยืนหยัดในหลักการแห่งความเป็นสื่อ ไม่ยอมสยบต่ออำนาจใดๆที่เข้ามาแทรกแซงให้สูญเสียความเป็นสื่อสาธารณะ

ปัญหาในกรณีก็คือ นักการเมืองผู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “สื่อสาธารณะ” ตามแนวคิด“ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง มีฐานะอันชวนให้สงสัยยิ่งว่า ขาดคุณสมบัติตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้เสนอไว้หรือไม่ เพื่อให้พิจารณาได้ง่ายขึ้น จึงขอยกหลักการในข้อแรกมาให้เทียบเคียงกับพฤติกรรมการสื่อสารของนักการเมืองดังนี้

(1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ - ขอให้พิจารณาดูว่า นักการเมืองไทยมีความรู้เพียงพอในเรื่องที่เขาสื่อสารออกมาหรือไม่ หากมีความรู้เพียงพอย่อมสามารถยืนยันหรือกล่าวซ้ำได้โดยไม่แปรเปลี่ยนถ้อยคำหรือท่าทีที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะใช้เวลาไม่นานเลยในการเปลี่ยนแปลงคำพูดของตน

(2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ - นักการเมืองไทยมีคุณสมบัติข้อนี้หรือไม่ ซึ่งส่วนมากแล้ว นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่สนใจข้อนี้ เพราะพวกเขาพร้อมที่จะสื่อสารได้ทุกเรื่อง ทุกสถานที่ ทุกเวลา

(3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ - นักการเมืองเคยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือไม่ มีข้อสรุปในสิ่งที่ตนแสดงความคิดเห็น ซึ่งก็คือ “ความเข้าใจ” ในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริงหรือไม่ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนักการเมืองไทยทำ เพราะเขาสามารถสื่อสารในเรื่องที่ถูกถามได้ทุกเรื่องโดยทันที

(4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน - ข้อนี้ นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่คิดและสื่อสารอะไรที่มีความซับซ้อนแบบนี้
เมื่อพิจารณาครบถ้วนกระบวนความตามหลักการข้อแรกแห่ง “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ” แล้วก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นักการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนักการสื่อสารสาธารณะ ขาดคุณสมบัติทั้ง 4 ข้อนั้น

ฉะนั้น จึงเป็นที่น่าหวั่นวิตกว่า สื่อสาธารณะที่นักการเมืองผลักดันจัดตั้งกันขึ้นมานั้น จะอยู่ในสภาพที่เป็นสื่อสาธารณะแต่เพียงรูปแบบ ส่วนเนื้อหานั้นก็คือสื่อของรัฐ หรือของกลุ่มคนที่มีอำนาจอิทธิพลคอยชี้นำ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรที่จะให้โอกาสสื่อสาธารณะดังกล่าวได้ดำเนินบทบาทตามภาระหน้าที่ไปตามปกติ เพียงแต่ประชาชนคนไทยที่มีส่วนในการเป็นเจ้าของก็ควรจับตามอง ตรวจสอบ การทำงานของสื่อดังกล่าว หากแม้นปรากฏว่ามีการละเมิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ขึ้นมาเมื่อใดก็จะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราทราบว่าคุณสมบัติของนักการเมืองที่เป็นผู้ผลักดันก่อตั้งสื่อนั้นขึ้นมา ไม่ผ่านแม้เพียงหลักการข้อแรกของ “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ดังกล่าว เราก็จะได้ยิ่งระมัดระวังมากขึ้น ในการดูแล “สื่อสาธารณะ” ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง.

ศาลฏีกาสั่งออกหมายจับ"อดิศัย"



เหตุมีพฤติกรรมหลบหนี เลื่อนตัดสินคดีกล้ายาง21ก.ย.”เนวิน”ลั่นไม่เบี้ยว
สิงหาคม 17th, 2009
มติชน : ศาลฎีกาสั่งออกหมายจับ “อดิศัย” ปรับนายประกัน 1 ล้าน เนื่องจากมีพฤติกรรมหลบหนี หลังอ้างไปรักษาตัวสหรัฐ ไม่มาฟังคำตัดสิน เนวินและ42จำเลยมากันครบ รมต.-แกนนำภท.เฮให้กำลังใจ เลื่อนพิพากษาคดีกล้ายางเป็น 21 ก.ย.

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตการจัดซื้อกล้ายางเป็นวันที่ 21 กันยายน เวลา 14.00 น. เนื่องจากนายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 1 ใน 44 จำเลยในคดีไม่เดินทางมารับฟังคำพิพากษา โดยเดินทางไปรักษาอาการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมให้ทนายความยื่นคำร้องขอให้อ่านคำพิพากษาลับหลัง แต่ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายอดิศัย มีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับนายอดิศัย มาฟังคำพิพากษาในวันที่ 21 กันยายนนี้ พร้อมสั่งปรับนายประกันจำนวน 1 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อเวลา 14.45 น. วันที่ 17 สิงหาคม ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยนายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนทุจริตการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.), นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายอดิศัย โพธารามิก ในฐานะ คชก. เป็นจำเลยที่ 1-5 พร้อมคณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา และบริษัทเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัท เอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา เป็นจำเลยที่ 6-44
คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อจัดการหรือรักษาทรัพย์สินใดๆ ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ, ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 และความผิดฐานฉ้อโกง พร้อมขอให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 1,440 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อถึงเวลานัดหมาย จำเลยทุกคนเดินทางมาฟังคำพิพากษา ยกเว้นนายอดิศัย โดยทนายความยื่นคำร้องว่า ได้รับการติดต่อจากนายอดิศัย ผ่านทางจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เมล ว่า นายอดิศัย เดินทางไปรักษาอาการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามที่นายอดิศัย เคยยื่นคำร้องต่อศาลในคดีหมายเลขดำ อม.1/2551 (คดีหวยบนดิน) ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม-31 สิงหาคม 2552 พร้อมขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย

ต่อมาศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามกฎหมายจะต้องอ่านคำพิพากษาต่อหน้าจำเลย กรณีที่นายอดิศัย อ้างว่าได้เคยยื่นคำร้องต่อศาลในคดีหมายเลขดำ อม.1/2551 (คดีหวยบนดิน) และได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรักษาอาการป่วยระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม-31 สิงหาคม โดยการที่นายอดิศัย เดินทางไปรักษาตัวช่วงนี้ ทั้งที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศเม็กซิโก และสหรัฐ ขณะที่ร่างกายของนายอดิศัย ยังไม่ฟื้นตัวจากการผ่าตัดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ศาลเห็นว่า เมื่อศาลกำหนดนัดไว้ล่วงหน้าแล้ว หากนายอดิศัย มีความจำเป็นต้องรักษาตัวก็ควรแจ้งให้ศาลทราบล่วงหน้า ไม่ใช่ยื่นคำร้องแจ้งในวันนี้ (17 สิงหาคม) พฤติการณ์แสดงว่า นายอดิศัย จงใจจะหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา และผิดสัญญาประกัน จึงมีคำสั่งให้ปรับนายประกัน 1 ล้านบาท และออกหมายจับนายอดิศัย มาฟังคำพิพากษา ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 32 วรรคสอง พร้อมให้เลื่อนฟังคำพิพากษา เป็นวันที่ 21 กันยายนนี้ เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ศาลยังได้กำชับให้จำเลยทั้งหมด มาฟังคำพิพากษาในนัดหน้าให้ครบทั้ง 44 คนด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังศาลมีคำสั่งเลื่อนการอ่านคำพิพากษา นายเนวินและผู้ที่ตกเป็นจำเลยในคดีได้ทยอยเดินทางกลับ โดยนายเนวิน ได้ทักทายผู้สื่อข่าวอย่างอารมณ์ดีว่า “ไม่มีอะไรแล้ว กลับบ้านกันได้แล้ว เพราะฝนกำลังจะตก” เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะมาฟังคำพิพากษาวันที่ 21 กันยายนหรือไม่ นายเนวินตอบสั้นๆ ว่า มา เมื่อถามว่า นายอดิศัยไม่มาฟังคำพิพากษา เพราะรู้ว่าคำพิพากษาจะออกมาว่ามีความผิดและต้องต้องโทษหรือไม่ นายเนวินกล่าวว่า “ไม่ทราบ เรื่องนี้ต้องไปสอบกับท่านอดิศัยเอง” จากนั้นนายเนวิน ได้รับมอบดอกไม้จากผู้สนับสนุน และ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ที่มาให้กำลังใจแล้วจึงเดินทางกลับทันที
ด้านนายวราเทพกล่าวว่า ครั้งหน้าจะเดินทางมาฟังคำพิพากษาแน่นอน ส่วนนายสรอรรถกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า “จะไม่มาได้อย่างไร”

อนึ่ง นายสมคิด เดินทางมาถึงศาลเป็นคนแรก เมื่อเวลา 13.15 น. จากนั้นเป็นนายสรอรรถ และนายวราเทพ กระทั่งเวลา 13.37 น. นายเนวิน จึงเดินทางมาถึงด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และเข้าทักทายกับรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย แกนนำ และ ส.ส.ของพรรคที่เดินทางมาให้กำลังใจ เช่น นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการศึกษาธิการ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายบุญลือ ประเสริฐโสภา นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ ส.ส.อุดรธานี ฯลฯ
ขณะที่ในช่วงเช้า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา (สบ10) รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) เดินทางมาตรวจมาตรการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ใช้กำลังตำรวจประมาณ 300 นาย วางกำลังโดยรอบศาลฎีกาฯ มีการนำแผงเหล็กมากั้นบนทางเดินเท้ารอบอาคาร และทางเข้า-ออกอาคารศาลฎีกาฯ รวมทั้งตรวจตราผู้ที่จะเดินทางเข้า-ออกอย่างเข้มงวด

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ถวายฎีกา ดับทุกข์แผ่นดิน


โดย พลเมือง
17 สิงหาคม 2552

ตามหลักการต้องยอมรับว่า ประเทศไทยเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หากเราถือว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายสูงสุดในประเทศนี้

เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรไว้ ตามมาตรา 1 และกำหนดรูปแบบการปกครองของประเทศนี้ดังกล่าวข้างต้นไว้ ตามมาตรา 2 และในมาตรานี้ยังกำหนดสถานะความเป็นประมุขของพระมหากษัตริย์ไว้

ซึ่งก็หมายความว่าพระมหากษัตริย์ไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เช่นกัน นอกจากนี้ได้กำหนดให้อำนาจอธิไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้อำนาจนี้ ตามมาตรา3

ฉะนั้นการจะดำเนินการใดๆภายในราชอาณาจักรนี้ จะต้องดำเนินการตามกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นที่มารองรับ

การถวายฎีกาก็เช่นเดียวกันก็ไม่อาจฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว

แต่การถวายฎีกาไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายปัจจุบันกำหนดรูปแบบไว้ว่าจะต้องใช้วิธีการใด หรือเรื่องใดบ้างที่จะถวายฎีกาได้หรือไม่ได้

แต่มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญฯบัญญัติไว้ว่า

”เมื่อไม่มีบทบัญัญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับกรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”


ประเพณีการปกครองของไทย ที่ได้ประพฤติปฎิบัติกันมาอย่างมากมาย และมีมาอย่างช้านานที่ไม่ขัดกับระบอบประชาธิปไตยอันถือเป็นนิติราชประเพณีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน โดยมีการปรับใช้อย่างแนบเนียน จนกลายเป็นวัฒนธรรมอำนาจอย่างหนึ่งของไทยที่มีมาแต่โบราณกาล ซึ่งยึดหลักการใช้อำนาจด้วยธรรมะ ด้วยเมตตา และด้วยความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันมาโดยตลอด

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการถวายฎีกาของพสกนิกรไทย ที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานแต่โบราณกาลจนถือเป็นนิติราชประเพณีมา จะใช้วิธีการใดก็ได้ จะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาก็ได้ และจะเป็นเรื่องใดก็ได้ ทำได้ทุกเรื่อง ทั้งเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องส่วนรวม

ที่ผ่านมามีทั้งเรื่องวินัยข้าราชการ เรื่องโทษทางอาญา หรือเรื่องใดๆที่ประชาชนเดือดร้อนก็ขอได้หมดทุกเรื่อง ซึ่งฎีกาประเภทนี้เรียกว่า”ฎีการ้องทุกข์”

สำหรับการพระราชทานอภัยโทษนั้นมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯมาตรา 191 ซึ่งกำหนดเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และมีกฎหมายประมวลวิธีพิจารณาความอาญารองรับไว้ 2 กรณีคือ การอภัยโทษเฉพาะราย และการอภัยโทษเป็นการทั่วไป และเป็นการยกเว้นโทษเท่านั้นไม่ได้ยกเว้นความผิด

-การอภัยโทษเฉพาะราย ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 บัญญัติว่า ”
ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใดๆ หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จะทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการยุติธรรมก็ได้ฯ”


และมาตรา 265 บัญญัติว่า”
ในกรณีการอภัยโทษเด็ดขาดโดยไม่เงื่อนไข ห้ามมิให้บังคับโทษนั้น แต่ถ้ามีการบังคับโทษไปบ้างแล้ว ให้หยุดทันทีฯลฯ”


จากบทบัญญัติทั้ง 2 มาตรานี้จะเห็นได้ว่า การอภัยโทษเฉพาะรายไม่จำเป็นต้องรับโทษก่อน เพียงแต่มีเงื่อนไขว่า คดีต้องถึงที่สุดแล้ว เท่านั้น

-การอภัยโทษแบบทั่วไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ ซึ่งจะกระทำในวโรกาสมหามงคลเช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคณะรัฐมนตรี ถวายแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ขอพระราชทานอภัยโทษ โดยตราเป็นพระ ราชกฤษฎีกา

-การนิรโทษกรรม เป็นการยกเว้นความผิด ต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภา ออกเป็นกฎหมาย

จะเห็นว่าทั้งสามกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน แล้วแต่ใครจะใช้วิธีการใด ซึ่งแต่ละวิธีมีช่องทางแตกต่างกันไปไม่เกี่ยวข้องกัน

สำหรับคนเสื้อแดงที่กำลังจะยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับคุณทักษิณฯต่อพระมหากษัตริย์นั้นก็คงเป็นขอยุติไปแล้วว่ายื่นได้หรือไม่ได้ เพราะได้มีการประสานจากสำนักพระราชวังถึงการเตรียมการรับการยื่นถวายฎีกาแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามนิติราชประเพณีอันดีงามของไทยที่มีมาแต่โบราณกาล

และประกอบกับกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดหลักยกเว้นให้พระมหากษัตริย์(ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งไม่ใช่บุคคลตามรัฐธรรมนูญฯ)มีพระราชอำนาจการให้อภัยโทษโดยตรงโดยไม่ผ่านรัฐสภาหรือรัฐบาลหรือศาลแล้ว เมื่อมีการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษพระมหากษัตริย์ก็ต้องรับตามกฎหมาย(by law)

ส่วนจะมีพระราชวินิจฉัยเช่นใด ถือเป็นพระราชอำนาจที่อิสระที่เด็ดขาด โดยที่ผ่านมาก็ไม่ผูกพันกับความเห็นหรือคำแนะนำของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือองคมนตรีที่กราบบังคมทูลถวายรายละเอียด และความเห็นเบื้องต้น เป็นการยึดหลักพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของความยุติธรรม และหากมีพระราชวินิจฉัยให้พระราชทานอภัยโทษก็ไม่ใช่การคัดค้านคำพิพากษาของศาล(เช่นคุณอานันท์ฯพูด) แต่เป็นกรณีการใช้พระราชอำนาจในทางแก้ไขข้อผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมได้ทางหนึ่ง

การพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นสายสัมพันธ์ของราษฎรที่ยึดเหนี่ยวพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่พึ่งสุดท้ายในการแสวงหาความยุติธรรม

ส่วนการที่รัฐมนตรีมหาดไทยที่ออกมาคัดค้านการถวายฎีกาต่างหาก ที่ได้กระทำการที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งวุฒิสมาชิกสามารถยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 270 ได้

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จตุพรไม่สนบิ๊กจิ๋ว ฎีกาแน่ แฉมีคนจ้องป่วน



ที่มา ไทยรัฐ

"จตุพร"ยัน"บิ๊กจิ๋ว"ไม่เล่นด้วยไม่กระทบยื่นฎีกา แฉเสื้อน้ำเงินจ้างคนมาป่วนหัวละ 1,000 บาท พร้อมนัดรวมพล 6 โมงเช้า ย้ำไม่ปราศรัย เปิดทาง"ทักษิณ"โฟนอินก่อนและหลังขอบคุณกลุ่มคนเสื้อแดง

นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.)กล่าวถึงการเตรียมการถวายฎีกาในวันที่ 17 ส.ค ว่า ได้นัดหมายคนเสื้อแดงไปพบกันที่ท้องสนามหลวงก่อนเวลา 06.00 น.เพื่อเตรียมพร้อมในส่วนของขั้นตอนต่างๆ โดยยืนยันว่า จะไม่มีการรปราศรัยทางการเมือง และทุกอย่างจะจบก่อนเวลา 14.00 น. ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะมีการโฟนอินเข้าสู่การชุมนุมในเวลา 10.00 น. และอาจจะมีการโฟนอินเข้ามาอีกครั้งภายหลังจากการยื่นถวายฎีกาเสร็จสิ้น เพื่อที่จะขอบคุณ ส่วนบุคคลที่จะเป็นเป็นผู้นำในการถวายนั้น ล่าสุดเท่าที่ได้มีการาหรือกันในระดับแกนนำนปช.เห็นว่า ควรจะเป็นเรื่องของประชาชนด้วยมากกว่าที่จะไปให้บุคคลอื่นมาเป็นผู้นำขบวน ส่วนกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ออกมาปฎิเสธ จะไม่กระทบ หรือเป็นปัญหาในการถวายฎีกาวันพรุ่งนี้ เพราะเข้าใจว่าตัวของ พล.อ.ชวลิต ก็มีบทบาทของตนเองอยู่ ดังนั้นพิธีการถวายฎีกาในวัน17 ส.ค.นี้จึงเป็นขั้นตอนตามปกติ

นายจตุพร กล่าวอีกว่า ล่าสุดกลุ่มเสื้อแดงได้รับข้อมูลว่าอาจจะมีการป่วนการชุมนุมของคนเสื้อแดงในระหว่างการถวายฎีกา ด้วยการจ้างคนมาถึงหัวละ 1,000 บาท ให้ป่วนการชุมนุมของคนเสื้อแดง ขอเตือนไปยังหัวหน้าของกลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน และรัฐบาล หากยังกระทำกับคนเสื้อแดงเช่นนี้อีก จะไม่เลิกลาเหมือนกัน เพราะถึงขั้นที่มีการจ้างคนมาป่วนกับประชาชนที่มาร้องทุกข์ถวายฎีกาต่อพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งถือว่าเลวร้ายมาก ได้เตรียมการจับตาดูและสืบสวนหาตัวคนที่อยู่เบื้องหลังของคนที่เข้ามาสร้างสถานการณ์ให้ได้ อย่างไรก็ตามยืนยันว่า คนเสื้อแดงจะไม่ไปเคลื่อนไหวที่บริเวณศาลฎีกาที่มีการพิจารณาคดีของกล้ายางอย่างแน่นอน แต่ขอฝากไปถึงนายเนวิน และพรรคพวกที่ไปฟังคำตัดสินของศาลก็ขอให้ไปกันให้ครบทุกคน เพราะตนได้ข่าวมากำลังมีการเตรียมการที่จะให้บางบุคคลไม่ไปตามที่ศาลนัด ซึ่งจะทำให้มีการเลื่อนการตัดสินออกไปอีก 1 เดือน

อำมาตย์ใหญ่ใกล้จนตรอก

โดย จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา คอลัมน์ “ผมเป็นข้าราษฎร” หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News ปีที่ 1 ฉบับที่ 11



การรัฐประหารยังเป็นไปได้ในหัวเลี้ยวหัวต่อ ไม่ว่าจะกระทำโดยอาวุธ โดยกฎหมาย โดยการขอ “รัฐบาลแห่งชาติ” หรือโดยใช้นโยบายไทยฆ่าไทยเหมือนที่เคยใช้ก็ตาม นี่คือเวลาที่ฝ่ายประชาธิปไตยต้องฉลาดรอบคอบเป็นพิเศษ แกล้งโง่ไม่ได้เป็นอันขาด


นี่คือเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ นะครับ ขอให้พวกเราชาวประชาธิปไตยโปรดตั้งสติและเตรียมตัวไว้ให้ดี อาจจะมีอะไรให้ดูชมในเดือนนี้ และอีกสองเดือนที่จะมาถึง

เพราะผู้บริหารระบอบอำมาตยาธิปไตยตระหนักแล้วว่า ฝ่ายประชาธิปไตยที่ตนทำลายล้างด้วยวิชามารต่างๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา กลับมีความมั่นคงแข็งแรงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ จนอาจจะควบคุมไม่ได้

ไม่ว่าผลการเลือกตั้งซ่อมที่สกลนคร และศรีสะเกษ หรือสัญญาณชี้ความเสื่อมสลายของก๊กนายสุเทพ เทือกสุบรรณในพรรคประชาธิปัตย์จากผลการเลือกตั้งท้องถิ่นใน จ.สุราษฎร์ธานี ความไร้อนาคตโดยสิ้นเชิงของรัฐบาลประชาธิปัตย์ภายใต้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ โดยเฉพาะการไล่ล่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มาเข้ากับดักของอำมาตย์ในประเทศไทย และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ถุงเงินฝ่ายอำมาตย์ยากจนลงด้วย

บวกกับความสุดโต่งของฝ่ายอำมาตย์ที่เริ่มแสดงอาการตระหนกตกใจจนทุกคนเห็น (overreaction) ไม่ว่าจะเป็นการสั่งยิงนายสนธิ ลิ้มทองกุล และการหาเรื่องก่อสงครามกับกัมพูชา หรือแม้แต่การยัดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้กับสื่อมวลชนต่างประเทศในเมืองไทยทั้งองค์กร FCCT

อำมาตย์ที่มีประสบการณ์สูงกว่าใครทั้งหมด เริ่มรู้แล้วว่าอาจจะควบคุมคนของตัวเองไม่ได้ ลูกน้องมันกลัวตาย มันก็บุกบั่นประจัญบานไปอย่างขาดความยั้งคิดและขาดสติ เหมือนสุนัขจนตรอก

หนักที่สุดคือการขยายตัวอย่างน่าตกใจของฝ่ายประชาธิปไตย แม้เสื้อแดงบางส่วนจะอยู่ระหว่างรวบรวมความกล้าหาญทางจริยธรรมและสู้ตรงๆ กับศัตรูตัวจริง ไม่ใช่กับ “เงา” ของเขา เราก็รู้ว่าคนที่เคยคิดก้ำกึ่ง ไม่รู้จะเชียร์ฝ่ายไหน ปัจจุบันไหลเข้าสู่ฝ่ายประชาธิปไตยมากขึ้น แม้แต่คนเสื้อเหลืองขณะนี้ก็กำลังรู้สึกสับสนในใจและได้เปลี่ยนใจมาอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยแล้วก็มาก มวลชนเสื้อเหลืองที่เพิ่งตาสว่างและน้ำตาตกใน ยังหลบเลียแผลใจอยู่ในถ้ำของตัวเองไม่กล้าออกมาแสดงตัวก็เยอะ

กลไกของศาลที่ใช้มากเกินไปจนคนเขารู้สึกและมองเห็น ก็เริ่มด้าน ผู้พิพากษาหลายคนเริ่มหลบเลี่ยง ไม่ยอมขึ้นพิจารณาพิพากษาคดีที่ฝ่ายอำมาตย์เล่นรังแกฝ่ายประชาธิปไตย ตำรวจและอัยการซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนศาล ก็เริ่มไม่ทำตามใบสั่ง หรือเริ่มออกลวดลายอ้างขั้นตอนต่างๆ ไม่น่าแปลกใจที่เขาสั่งย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ เพื่อเอาตำรวจฝ่ายขวาขึ้นมาเร่งรัดคดีแทน

พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตนายตำรวจประจำราชสำนัก ก็ให้รักษาการไป ส่วนคนที่เขาต้องการจริงๆ คือ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ก็ให้คอยคิวไปอย่างอดทน

พูดถึง พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ก็อดทบทวนวีรกรรมของท่านไม่ได้ ในขณะที่คุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีและเปิดทำเนียบรัฐบาลให้พี่น้องแท็กซี่เข้ามาร่วมระดมสมอง วางอนาคตของผู้ประกอบวิชาชีพแท็กซี่ครั้งประวัติศาสตร์นั้น คุณธานีในฐานะผู้บัญชาการตำรวจนครบาลสั่งให้ลูกน้องออกใบสั่งแท็กซี่เป็นจำนวนร้อยๆ คัน โทษฐานที่มาจอดรถเกะกะรอบทำเนียบรัฐบาล ทั้งที่รู้อยู่เต็มอกว่าเขามาตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี

ภาษาราชการอาจจะเรียกว่าความเคร่งครัด แต่นักเลงเขาเรียกการกระทำแบบนี้ว่ากวนตีน

เรื่องนี้อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองในขณะนั้นคือ น.ต.ศิธา ทิวารี น่าจะยังจำได้

เมื่อคุณธานีกวนตีนรัฐบาลประชาธิปไตยอย่างเปิดเผย โดยรู้อยู่ในใจว่าผู้ใหญ่เปี่ยมบารมีคอยคุ้มศีรษะอยู่ เขาก็กลายเป็นขวัญใจคนหนึ่งที่ฝ่ายอำมาตย์เลือกใช้ โดยเฉพาะในยามคับขัน เหมือนที่เคยใช้ พล.ต.อ.ชุมพล โลหะชาละ พล.ต.อ.เสริม จารุรัตน์ และอีกมากมายมาก่อน

ก่อนเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ สถานการณ์บ้านเมืองก็เป็นเช่นนี้ไม่มีผิด

รัฐบาลฝ่ายขวาที่มาจากการเลือกตั้ง กลายเป็นรัฐบาลพิการที่เขาใช้แค่เป็นหนังหน้าไฟยังไม่ไหว ในที่สุดเขาก็ต้องเอารัฐบาลของเขามาแทน ก่อนหน้านั้นก็ต้องให้ลูกน้องยึดอำนาจเสียอีกรอบหนึ่งก่อน เพื่อล้มกระดาน เหมือนเปลี่ยนรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช (ประชาธิปัตย์) มาสู่รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ภายหลังเป็นองคมนตรี) ก็ต้องให้ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยึดอำนาจในเวลา ๑๘.๐๐ น. ของวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ เสียก่อน

แม้แต่ชื่อ “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ในขณะนั้น ยังคล้ายกับชื่อเต็มของ คปค. ซึ่งเป็นชื่อแรกของคณะยึดอำนาจที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

เพราะทั้งหมดก็เป็นมายากลอย่างเก่า

งานนี้ต้องจัดการโยกย้ายทหารและตำรวจระดับคุมกำลังให้เป็นฝ่ายขวาจัด เตรียมเข้าบดขยี้ฝ่ายประชาธิปไตยให้เต็มที่

กลุ่มมวลชนฝ่ายขวาจัดอนุรักษ์นิยม อย่างนวพล กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน อภิรักษ์จักรี เป็นต้น ที่เคยใช้ในนโยบายไทยฆ่าไทยมาแล้ว เดี๋ยวนี้ก็ใช้มวลชนจัดตั้งที่ใช้สีเหลืองและสีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ หรือกลุ่มของคนอย่าง พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ทำหน้าที่แทน

คำถามคือฝ่ายประชาธิปไตยเรียนรู้อะไรบ้างจากเหตุการณ์ระหว่าง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนถึง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ซึ่งผมเองก็เล็กเกินไป ต้องอาศัยถามไถ่หาความรู้จากรุ่นพี่ๆ และเอกสารข้อมูลต่างๆ

คำตอบที่ได้รับคือ ฝ่ายประชาธิปไตยต้องไม่เดินทะเล่อทะล่าไปให้เขาฆ่าเล่นตามอำเภอใจ ยิ่งรู้ว่าเมฆหมอกแห่ง ๖ ตุลาใกล้เข้ามาแล้วอย่างนี้ ยิ่งต้องระมัดระวัง

ผมไม่ทราบเหตุผลว่าการยื่นถวายฎีกาทำไมต้องเป็น ๑๗ สิงหาคม และเดิมทีก็ต้องยอมรับว่าไม่สนใจนัก เพราะจิตใจและอุดมการณ์ผ่านจุดนั้นไปนานแล้ว แต่เมื่อเห็นเหตุการณ์ที่ดูจะขมวดเข้าสู่การปะทะระหว่างมวลชนฝ่ายประชาธิปไตย และมวลชนจัดตั้งของฝ่ายอำมาตย์แล้ว ก็ต้องติงกันด้วยความรักและห่วงใยว่า ระยะนี้ทำอะไรขอให้รวดเร็วและกระชับ อย่าเน้นการแห่แหน ไม่ควรทำตัวพะรุงพะรังเพื่อแสดงความสำคัญของใคร

ที่สำคัญ อย่าช่วยซื้อเวลาจนกระทั่งฝ่ายอำมาตย์เขาพร้อมปะทะ ยกเว้นเจตนาจะเคลื่อนไหวเพื่อช่วยให้ฝ่ายอำมาตย์เขาสมหวัง

โปรดระลึกว่าการแสดงพลังของมวลชนประชาธิปไตยไม่ว่าจะใช้ฎีกาหรือใช้อะไรเป็นพาหะก็ตามนั้น ล้วนเป็นเรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของเขา เมื่อเราจะแสดงจุดยืนและแสดงพลังของเราก็แสดงไว้ โดยไม่ต้องเก้กังอยู่แถวนั้นเหมือนต้องการจะให้เกิดเรื่อง

ชาวประชาธิปไตยต่างรู้ว่าขณะนี้ฝ่ายอำมาตย์กำลังเดือดร้อนยิ่งกว่าเรา เวลาของเขาใกล้หมดลงและลูกน้องตัวใหญ่ๆ ของเขาก็รู้ความจริงข้อนี้ ในขณะที่เวลาของฝ่ายประชาธิปไตยเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น

การรัฐประหารยังเป็นไปได้ในหัวเลี้ยวหัวต่อ ไม่ว่าจะกระทำโดยอาวุธ โดยกฎหมาย โดยการขอ “รัฐบาลแห่งชาติ” หรือโดยใช้นโยบายไทยฆ่าไทยเหมือนที่เคยใช้ก็ตาม

นี่คือเวลาที่ฝ่ายประชาธิปไตยต้องฉลาดรอบคอบเป็นพิเศษ

แกล้งโง่ไม่ได้เป็นอันขาด.

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นับแต่นี้ไปไม่เหมือนเดิม(อีกครั้ง)

ป้าทองไม่ได้สวมเสื้อแดง แกเป็นแค่ชาวบ้านสันคะยอม เรียนหนังสือจบชั้นประถมหรือเปล่าไม่แน่ใจอาชีพของแกคือ แม่บ้าน

แม่บ้านในที่นี้ไม่ได้แปลว่าเมีย เพราะผัวแกตายไปนานแล้วแม่บ้านในที่นี้ ภาษาละครหลังข่าวเขาเรียกกันว่า คนใช้

ป้าทองจะเป็นอะไรก็ช่างฉันรู้แต่ว่า แกเป็นคนบ้านเดียวกับฉัน วันหนึ่งแกมาซื้อเนื้อที่หมู่บ้าน ฉันก็เลยหยั่งเสียงเกี่ยวกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง และเหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นระหว่างสงกรานต์ ในขณะที่พวกเรากำลังยุ่งอยู่กับการทำแกงฮังเลไปวัด

“คนเขาไปเดินขบวนไล่รัฐบาลกันป้าทองว่ายังไง”

“อู๊ยย…บ้านเมืองวุ่นวายร้อนร้าย ถ้าป้าทองเป็นรัฐบาล จะลาออก รู้ทั้งรู้ว่าประชาชนไม่ได้เลือกตัวเองมาเป็นรัฐบาลยังจะหน้าด้านอยู่ได้ เออ ถ้ายุบสภา เลือกตั้งใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ชนะ ป้าไม่ว่าซ๊ากคำ จะยอมรับเสียงคนที่เขาเลือกโดยดี แต่นี่อะไรไม่รู้ อยู่ๆ ก็ขึ้นมาเป็นรัฐบาล สมควรแล้วที่จะโดนประชาชนขับไล่ จริงไหม”

ป้าตอบยืดยาว สมฉายา ป้าทอง (โว) โว แปลว่าคุยโวโอ้อวดนั่นเอง
ฉันยอมรับว่าอึ้งกับคำตอบของป้าทอง ป้าไม่ได้เรียนหนังสือมาก ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ ป้าดูข่าวและติดละครของแพนเค้ก เหมือนชาวบ้านอีกทั้งประเทศไทย ไม่ได้พูดคำว่าประชาธิปไตยแต่ป้าช่างอธิบายมันออกมาชัดเจนแจ่มกระจ่าง ความจำของป้าไม่ได้สั้นเหมือนใครบางคน ป้ายังจำได้ว่าการเลือกตั้งครั้งล่าสุด หลังจากรัฐบาลของ คมช.ป้ายังจำได้ว่าพรรคที่ได้เสียงข้างมากคือพรรคพลังประชาชน และหัวหน้าพรรคคือนายสมัคร สุนทรเวช ที่เป็นหัวหน้าพรรค ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

เหตุการณ์หลังจากนั้นป้าคงเข้าใจไม่ได้ ทำไม นายกฯ ที่มาจากพรรคที่ครองเสียงข้างมากถึงถูกถีบออกไปจากเวทีการเมืองไทยในเวลาอันสั้น

ทำไมพันธมิตร ถึงสามารถชุมนุมยืดเยื้อได้หลายเดือนโดยไม่มีใครกล้าทำอะไร
ทำไมคนเหล่านั้นถึงเข้าไปร้องรำทำเพลงในทำเนียบได้ นานนานแถมยังมีใครไม่รู้ไปอุตริจัดงานแต่งงานเป็นที่ครื้นเครง

ทำไมแก๊สน้ำตาทำให้คนแขนขาขาดอย่างมีนัยสำคัญ
งง ยิ่งกว่านั้น กลุ่มพันธมิตรไปยึดสนามบินตั้งหลายวัน ผู้คนเดือดร้อนมหาศาล เศรษฐกิจของชาติยับเยิน แต่คนที่เสียงดังในสังคมนี้กลับยกย่องคนยึดสนามบินว่าเป็นพวกกู้ชาติ กู้ประชาธิปไตย แกนนำไม่มีใครโดนจับดำเนินคดี

น่าเจ็บใจกว่านั้น บางคนที่ชื่นชมม็อบพันธมิตรออกหน้าออกตา ยังได้เป็นรัฐมนตรี ไม่ใช่กระทรวงขี้หมูขี้หมา เป็นกระทรวงการต่างประเทศเสียด้วย

ป้าทองไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์หรอก และไม่รู้ด้วยว่าฉายาของรัฐบาลนี้คือ เทพประทาน ป้าทองแค่ไม่เข้าใจว่าทำไมเสียงโหวตของประชาชนจึงไม่ได้รับการเคารพ ป้าทองไม่เข้าใจหรอกว่ามือที่มองไม่เห็น แปลว่าอะไร และเป็นใคร ป้าทองเข้าใจตามประสาป้าทองว่า เรามีการเลือกตั้งและเราควรจะยอมรับผลการเลือกตั้งนั้นแม้มันจะไม่ถูกใจเรา

ฉันอึ้งกับคำตอบของป้าทอง เพราะมันแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสังคมไทยไม่เหมือนเดิม และไม่มีวันจะเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ไม่มีครั้งไหนในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ชาวบ้านธรรมดาๆ อย่างป้าทองจะตระหนักในความหมายของเสียงหนึ่งเสียงที่ตัวเองกากบาทลงไปในบัตรลงคะแนน
ไม่ว่าสื่อมวลชน ชนชั้นกลาง คนมีการศึกษา ที่คิดว่าตัวเองเป็นสัตว์ประเสริฐเหนือชาวบ้านร้านช่อง จะเฝ้าเรียกคนที่มาร่วมชุมนุมเสื้อแดงว่า เป็นผู้หลงผิด เป็นสาวกทักษิณ เป็นพวกขายสิทธิ ขายเสียง และยังไม่รู้ทันเล่ห์กลของนักการเมือง

หนังสือพิมพ์บางเล่มยิ่งอาการหนัก เพราะเรียกผู้ชุมนุมสีแดงว่า หางแดง หรือ แดงประจำเดือน สะท้อนและส่อให้เห็นถึงวุฒิภาวะ และรสนิยมของหนังสือพิมพ์นั้นได้อย่างดี นักวิชาการที่สังวาสเสพสุขกับสื่อชนิดนี้ คงหมดแล้วซึ่งสามัญสำนึกแห่งผิดชอบชั่วดี โดยสิ้นเชิง

มีคนพูดกันมากเรื่อง 2 มาตรฐาน ความแตกต่างระหว่างม็อบมีเส้น กับไม่มีเส้น มีหลายคนบอกว่าม็อบเสื้อแดงกำลังรุกเร้าให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง ทั้งการเผารถเมล์ การเอารถแก็สมาขู่ การปะทะกันตรงนั้นตรงนี้ระหว่างคนหลายกลุ่ม หลายฝ่าย และความตึงเครียดระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน ที่ผ่านมา
แต่ฉันอยากจะทบทวนอีกสักนิดว่าก่อนที่จะเกิดการจลาจลและกีฬาสีสงคราม แดง เหลือง น้ำเงินนั้น มันเกิดอะไรขึ้น

จะปฏิเสธไหมว่า หากไม่มีรัฐประหาร 2549 จะไม่มีสงครามสีในวันนี้
และใครก็ตามที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารควรสำเหนียกว่าประเทศไทย ณ พ.ศ.นี้ ไม่เหมือนกับประเทศไทยปี 2550 อีกต่อไปแล้ว คนไทย ชาวนา ชาวไร่ กรรมกรไทย ไม่ใช่ราษฎรโง่ๆ เชื่องๆ แบบตัวละครเรื่องสั้น เขียดขาคำ ของลาว คำหอมอีกต่อไป

ชาวบ้านไม่ได้เห็นนายอำเภอแล้วรีบก้มกราบอีกแล้ว เราไม่ได้อยู่ในยุคที่ขึ้นไปบนที่ว่าการอำเภอแล้วขาสั่นผับๆ เพราะกลัวเจ้ากลัวนาย เราไม่ได้อยู่ในยุคที่เรียกข้าราชการว่า เจ้าคนนายคน

เราอยู่ยุคที่ นายกเทศบาลตำบลนั้นเป็นลูกของลุงศรีทน ที่มีนาติดกับนาของเราแถมยังฟ้อนผีมดร่วมกันทุกปี นายก อบต.ก็เป็นลูกหลานของคนบ้านนี้ เราอยู่ในยุคที่ไม่ได้ตื่นเต้นกับการไปดำหัวผู้ว่าฯ ที่ขอโทษเดี๋ยวนี้แทบไม่รู้เรื่องว่าชื่ออะไร เพราะมันช่างเป็นตำแหน่งที่ไร้ความหมาย หลังการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นเป็นรูปธรรมมากขึ้น

คำว่าสถานที่ราชการ ที่เคยทรงอำนาจขู่ให้ประชาชนต้องเดินตัวลีบๆ บางทีถึงขั้นถอดรองเท้านั้นเกือบจะมีความหมายเท่ากับศาลพระภูมิ ในสมัยที่ชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา
เทคโนโลยีของการสื่อสาร วิทยุชุมชน การทำงานภาคประชาชนของ NGO ที่ดำเนินการมายาวนานเราต้องยอมรับว่ามีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของประชาชนคนเดินดิน ที่ไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นประชาชน มีสิทธิ มีเสียง มีอำนาจในการกำหนดชะตากรรมของตนเองผ่านสิ่งที่เรียกว่านโยบายของรัฐบาล ชาวบ้านได้เรียนรู้ว่าหากเราไม่พอใจการตัดสินใจของรัฐบาล เราสามารถเรียกร้อง ต่อรอง ทำการรณรงค์กับประชาชนกลุ่มอื่นๆ เพื่อหาแนวร่วม หรือเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ขอมูลข่าวสาร ที่แตกต่างออกไปจากโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาล

สังคมไทยมีคนอย่างยายไฮ เกิดขึ้นแล้ว มีสมัชชาคนจน มีสหภาพแรงงานที่กำลังตื่นตัว มีกลุ่มพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้บริโภคอย่างแข็งขัน เรามีคนไข้ที่ลุกขึ้นฟ้องร้องหมอ (50 ปีที่แล้วยังเห็นหมอเป็นเทวดา และพูดภาษาเทพที่คนธรรมดาไม่เคยฟังรู้เรื่อง)

เรามีกลุ่มองค์กรนอกรัฐที่เกิดขึ้นมาเพื่อยืนยันสิทธิ์ศักดิ์ศรีของคนไทย ที่หรือหน่วยราชการไม่เคยอ่าน เขาว่าเป็นคนที่มีศักดิ์ศรีและสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ เท่ากับคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ เครือข่ายหญิงบริการ ฯลฯ

ลองคิดดูแล้วกันว่าสังคมเราเดินมาไกลขนาดไหน ไกลจนถึงจุดที่ทั้งกะหรี่ ทั้งกะเทย ออกมาเป็นแอ็คทิวิสต์ เดินสายประชุมกับเฟมินิสต์ นักวิชาการ และเพื่อนนักกิจกรรมทั่วโลกเพื่อยืนยันศักดิ์ศรีแห่งอาชีพของตน
แล้วใครหน้าไหน ยังจะคิดว่าจะลุกขึ้นมาทำรัฐประหารได้ง่ายดายเหมือนยุคของสฤษดิ์ แล้วใครอย่ามาคิดว่าจะลุกขึ้นมา Exercise อำนาจอย่างเดียวกับที่ สฤษดิ์ เคยทำกับคนไทยสมัยนั้น ร้ายไปกว่านั้นในยุคแห่งการรื้อสร้างและเสียดสี การรณรงค์และโฆษณาชวนเชื่อในกฤษฏาภินิหารต่างๆ นานาเพื่อให้ประชาชนสมยอมอำนาจนั้นทำได้ยากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากจะไม่ชวนเชื่อ แล้วยังน่าหัวเราะเยาะและรังแต่จะถูกนำมาล้อเลียนให้เสียผู้เสียคนกันไปข้าง

เราอยู่ในยุคเทคโนโลยีอยู่แค่การ คลิก คลิก คลิก โทรศัพท์มือถือของนาย ก. นาง ข. ที่ไหนก็ถ่ายรูปได้ สื่อของรัฐแสดงรูปๆ หนึ่ง ประชาชนก็สามารถเอารูปอีกรูปหนึ่งมาแสดงทาบกันคัดง้างความหมาย ความเชื่อกันได้อย่างทันท่วงที เพราะฉะนั้น การผูกขาดข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นแค่ฝันเปียกของรัฐบาล ICT ทำได้แค่วิ่งไปปิดเว็บนั้น เว็บนี้ไปวันๆ ทว่ายิ่งปิดกั้น ยิ่งกักกัน ประชาชนยิ่งหลีกเร้น แหวกทางหาช่องใหม่ ภาษาใหม่ ถ้อยคำใหม่ สัญลักษณ์ใหม่ๆ ทีรัฐไม่มีวันจะตามไปปิดหูปิดตาได้มิดชิดอีกต่อไป ยิ่งปิดเรายิ่งสามารถค้นหาทางหนีได้แยบยลยิ่งขึ้น

คำสามัญอย่าง “ซาบซึ้ง” กลับซ่อนนัยชวนหัวมีพลังถึงขั้นพลิกขั้วของโลกให้กลับตาลปัตรได้
เพราะฉะนั้นที่วิ่งไล่ปิดวิทยุชุมชน จนหัวสั่นหัวคลอนนั้นอย่าหวังว่าจะสามารถทำการผูกขาดข่าวสารข้อมูลได้ง่ายดาย และจะเอาประชาชนมาใส่ขื่อใส่คาได้ตามใจชอบ เพราะยิ่งปิดก็จะยิ่งมีช่องทางใหม่ๆ มาทดแทน

นี่จึงเป็นกระบวนการต่อต้านรัฐประหาร (และขอไว้อาลัยแก่ภาพประชาชนที่เอาดอกกุหลาบไปให้ทหาร) หลังจากนั้นที่ดำเนินการมาอย่างเป็นอารยะนั่นคือ ไม่มีการออกมาชุมนุมหรือใช้ความรุนแรงใดๆ นอกจากภาพการรณรงค์ด้วยข้อมูลเท่าที่จะทำได้ ส่วนชาวบ้านอย่างป้าทองเชื่อว่า เมื่อมีการคืนอำนาจให้กับประชาชนด้วยการเลือกตั้ง ทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง

ทีไหนได้ กลายเป็นว่ามีการใช้สถาบันตุลาการอย่างตั้งใจที่จะตัดตอนพรรคไทยรักไทย สุดท้ายเมื่อผลการเลือกตั้งออกมา กลับมีความพยายามที่จะใช้วิธีนอกกฎหมายในการกำจัดพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้ามาอย่างกดดันและต่อเนื่องผ่านพันธมิตรฯ ใส่เสื้อสีเหลือง
มาถึงวันนี้ฉันคงไม่ต้องอ้อมค้อม เด็กมัธยม ยังรู้เลยว่านี่ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน แต่เป็นการ exploit การเมือง ภาคประชาชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด corrupt ที่สุดหน้าด้านและดัดจริตที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

วาทกรรมว่าด้วยประชาธิปไตยแบบไทยๆ บวกกับมายาคติว่าด้วยนักการเมืองชั่วช้าสามานย์ เข้ามาเพื่อกอบโกย มือสกปรกโกงกิน ถูกนำเสนออย่างต่อเนื่อง พร้อมกับกระแสเรียกร้องหาผู้ปกครองในอุดมคติปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน การเมืองโปร่งใส good governance ศีลธรรม คุณธรรม ไปจนถึงเกมชิงความจงรักภักดีอย่างเข้มข้นถึงตอนนี้คำว่า ประชาธิปไตย ไม่สำคัญเท่ากับ ฆ่าทักษิณออกจากจักรวาลการเมืองไทย ไม่มีประชาธิปไตยไม่เป็นไรขอให้เอาทักษิณออกไปให้ได้ก่อน ความผิด และความไม่ชอบธรรมของทักษิณ ไม่ได้นำมาพิจารณาไต่สวนกันด้วยเหตุผล

แต่ข้อเท็จจริงเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อปลุกเร้าความเกลียดชังและ simplified ปัญหาของประเทศไปไว้ที่ผู้ชายชื่อทักษิณ ราวกับว่าหากไม่มีทักษิณเสียคน ประเทศไทยจะเรืองรองผ่องอำไพ ผุดผ่องงดงาม ขึ้นมาในบัดดล เมื่อดึงดัน ถีบส่ง และฆ่าทิ้งรัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้ามาอย่างหน้าด้าน และอีกพรรคหนึ่งก็หน้าด้านพอที่จะขึ้นมาเป็นรัฐบาล คุณอภิสิทธิ์ก็กล้าขึ้นมาเป็นนายกฯ ท่ามกลางเครื่องหมายคำถามจากทั่วโลก (ฉันอายแทนมากๆ ) และในที่สุดประชาชนก็ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยได้ กลุ่มคนเสื้อแดงจึงลุกข้นมาชุมนุมเพื่อทวงถามความเป็นธรรม ความยติธรรม และความหมายของประชาธิปไตย ในขณะที่ก่อนหน้านี้กลุ่มพันธมิตรทำในสิ่งตรงกันข้าม

นี่คือสัญญาณที่บอกชนชั้นนำไทยว่า การเมืองไทยจะไม่เหมือนเดิม คนไทย ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วสำนึกทางการเมืองของพวกเราเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ชนชั้นนำไม่อาจ manipulate ชี้นำและสนตะพายเราด้วยคำพูดเพราะๆ หน้าหล่อๆ ยิ้มหวานๆ พิธีกรรมสารพัดพิธี อย่างที่เคยทำอีกต่อไป
ประชาชนไทยเปลี่ยนไปแล้วมีแต่ชนชั้นนำที่ไม่รู้ตัว หรือเฝ้าหลอกตัวเองว่า ทุกอย่างยังเหมือนเดิม และจะต้องเหมือนเดิมตลอดไป

หมายเหตุ : อ่านบทสัมภาษณ์คำ ผกา เพิ่มเติมที่ เว็บประชาไท

ทักษิณ มีของเล่นใหม่ "ไลฟ์เรดิโอ"เปิดตัว 1 ก.ย.52

ที่มา ไทยรัฐ
เสื้อแดงพัทยาคึกคัก ร่วมชุมนุมกว่า 2 หมื่นคน "ทักษิณ" โฟนอินพร้อม "มานิตย์" อ้อนอยากรีบกลับมารับใช้ประชาชน เตรียมเปิดตัว "ทักษิณ ไลฟ์ เรดิโอ" เป็นดีเจเอง ให้วิทยุชุมชนทุกจังหวัดร่วมแจม..เมื่อช่วงค่ำวันนี้ (14 ส.ค.) ที่ลานคนรักประชาธิปไตย ซอยเขาตาโล เมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ในการชุมนุมกลุ่ม นปช. ได้มีการตั้งเวทีปราศัย

โดยมีบรรดาแกนนำคนเสื้อแดง อาทิ นายวีระ มุสิกพงษ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง นายสุรชัย แซ่ด่าน นาย ขวัญชัย ไพรพนา และนายชาญยุทธ เฮงตระกูล ขึ้นปราศรัยบนเวที บรรยากาศไปไปอย่างคึกคัก โดยมีกลุ่มเสื้อแดงที่ในเมืองพัทยา และ จังหวัดต่างๆใกล้เคียงเข้าร่วมกว่า 20,000 คน ส่งผลการจราจรบนท้องถนนติดขัดเป็นระยะ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้วางกำลังไว้รอบๆ บริเวณงานกว่า 100 นาย

และมีการตั้งด่านตรวจตามเส้นทางต่างๆขณะที่การปราศรัย เน้นไปที่เรื่องการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 ส.ค.นี้ ต่อมา เวลาประมาณ 21.10 น. พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมด้วย นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ แกนนำและที่ปรึกษาแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้โฟนอินจากประเทศดูไบ ผ่านระบบวิดีโอลิงค์ เข้ามาพูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยอดีตนายกรัฐมนตรี

กล่าวโจมตีกลุ่มนักการเมืองที่ปฏิบัติหน้าที่และแทรกแซงการทำงานของข้าราชการ การไม่เป็นประชาธิปไตย การให้ข้อมูลบิดเบือนความจริงกับประชาชน และอยากเห็นทุกฝ่ายร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศ และขอบคุณประชาชนที่ร่วมลงรายชื่อ พร้อมทั้งอยากจะรีบกลับมารับใช้พี่น้องประชาชนนอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเผยว่าเตรียมโครงการเปิดสถานีวิทยุทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้ชื่อว่า "ทักษิณ ไลฟ์เรดิโอ" ซึ่งจะได้ฟังกันทั่วโลก

ในวันที่ 1 ก.ย.นี้ โดยที่ตัวเขาจะเป็นดีเจเอง พร้อมทั้งให้คลื่นวิทยุชุมชนแต่ละจังหวัดออกอากาศร่วมได้อีกด้วย โดยอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ใช้เวลาโฟนอินประมาณ 28 นาที และไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นวันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มคนเสื้อแดง จ.พะเยา ได้จัดประชุมเร่งด่วนเพื่อขอมติและวางแผนในการชุมนุมต่อต้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีกลุ่มแกนนำคนเสื้อแดงใน จ.พะเยา ทุกกลุ่มหารือกัน ณ ศูนย์ประสานงานกลุ่มพะเยาเพื่อประชาธิปไตย

ซึ่งผลการประชุมมีมติยกเลิกการชุมนุมประท้วงการเสวนาการเมืองของพันธมิตรฯ ที่ร้านอาหารศรีสกุล อ.เมือง จ.พะเยา ในวันพรุ่งนี้ (15 ส.ค.)นายทูล เวชกลาง หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์กลุ่มพะเยาเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกภารกิจดังกล่าว เนื่องจากว่าทางฝ่าย ส.ส.เกรงว่าหากกลุ่มคนเสื้อแดงและพันธมิตรฯ เกิดการปะทะกัน อาจทำให้สถานการณ์รุนแรงถึงขั้นได้รับบาดเจ็บ และหากวันพรุ่งนี้ มีกลุ่มคนที่ไปต่อต้านพันธมิตรฯ จะอ้างว่าเป็นเสื้อแดงพะเยานั้น ทางกลุ่มเสื้อแดงพะเยาจะไม่รับผิดชอบในการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเสื้อแดงพะเยาไม่ต้องการให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย รวมถึงเสียภาพลักษณ์ที่ดีงามของเสื้อแดงพะเยาด้วย

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรียน คุณประดาบ ที่เคารพ



ผมชื่นชมบทความคุณประดาบ สมัยที่ยังเป็นเวป Hi-Thaksin ไม่เสื่อมคลาย สมัยนั้น คุณประดาบเป็นเหมือนกับนักเขียนในดวงใจของใครจำนวนมาก ที่คอยติดตามว่า คุณประดาบจะมีประเด็นใดมานำเสนอเพื่อเป็นองค์ความรู้ในการต่อสู้กับ เผด็จการ คมช. และเป็นประโยชน์กับประชาชนโดยทั่วไป

เพื่อจะได้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของเผด็จการ ที่กำลังครอบประเทศอยู่ในขณะนั้นบ้าง และผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่ไม่เคยพลาดการติดตามข้อมูลข่าวสารของคุณประดาบเลย แม้แต่ครั้งเดียว...ผมไม่แน่ใจว่า จากจดหมายเปิดผนึก ที่คุณประดาบเขียนถึงท่านนายกทักษิณนี้ เป็นตัวคุณประดาบ ที่เคยอยู่ในเวป Hi-Thaksin ตัวจริงหรือไม่ และหวังว่าจะ “ไม่ใช่” เพราะถ้า “ใช่” ผมจะรู้สึก “เสียใจและผิดหวังมาก” ที่คุณประดาบที่ผมเคยชื่นชมว่า เป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่ประชาชน

ได้กลายเป็นผู้ที่ตกเป็นเครื่องมือ และอยู่ภายใต้แนวคิดของเผด็จการเสียแล้วคุณประดาบเท้าความถึงสาเหตุที่ต้องปิดเวปไซด์ Hi-Thaksin เป็นทำนองว่า เกิดจากการถูกขอร้องกลาย ๆ จากทีมงาน หรือผู้ใกล้ชิดของท่านนายกทักษิณ จนทำให้เวปไซด์ต้องปิดไป ... เรื่องนี้จะเป็นจริงหรือเท็จ คงไม่สามารถพิสูจน์ได้จากกรณีนี้อย่างแน่ชัดแต่การกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ โดยปราศจากหลักฐานดังนี้ เหมือนกับว่า คุณประดาบกำลังจะบอกว่า

เพราะท่านนายกทักษิณ เป็นต้นเหตุทำให้เวปไซด์ Hi-Thaksin ต้องปิดตัวลง ใช่หรือไม่ ? ...และที่แน่ ๆ จากจดหมายฉบับนี้ คุณประดาบได้ตั้งโจทย์ไว้เริ่มต้นว่า “ก็เพราะว่ามีแต่ท่าน (นายกทักษิณ) เพียงคนเดียว ที่จะยุติความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยในขณะนี้” ซึ่งเมื่อคุณประดาบตั้งโจทย์เริ่มต้นผิดอย่างนี้แล้ว เนื้อหาด้านอื่นต่อมา จึงผิดพลาดไปหมดสิ้น...ความเป็นจริงแล้ว การณ์กลับเป็นไปในทางตรงกันข้ามเลยครับ ท่านนายกทักษิณ

ไม่ใช่ผู้ที่จะสามารถยุติความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น และกำลังขยายตัวอย่างมากในขณะนี้ได้แน่นอน ไม่ว่าคุณประดาบจะกล่าวอ้างว่า ท่านนายกทักษิณได้รับการนิยมอย่างมากจากประชาชนอย่างไรก็ตามเพราะในความเป็นจริงก็คือ ต้นเหตุแห่งความขัดแย้งและความแตกแยกทั้งปวง เกิดขึ้นจาก “กระบวนการโค่นล้มรัฐบาลประชาธิปไตย ที่มาจากการเลือกตั้ง” โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2547 ปลาย ๆ มาจนสำเร็จลงในวันที่ 19 กันยายน 2549 ต่างหากครับท่านนายกทักษิณไม่ใช่ “ต้นเหตุ” ที่จะสามารถ “ดับเหตุ” แห่งความขัดแย้งหรือแตกแยก แต่ท่านเป็น “เหยื่อ” ที่ได้รับจากการทำลายในครั้งนั้น

และสืบเนื่องมาจนถึงขณะนี้ซึ่งเรื่องนี้ ประชาชนผู้ติดตามข่าวสารการเมืองต่างรู้กันดี “ความไม่ยุติธรรม” ที่ประชาชนได้รับในด้านการปกครองที่พวกเขาประสบมาต่างหากครับเป็น “ต้นเหตุ” ดังนั้น วิธีที่จะสามารถดับเหตุแห่งความขัดแย้งนี้ ก็คือต้องสร้างความยุติธรรมขึ้นในประเทศนี้ให้ได้ แล้วความขัดแย้งจะหายไปครับ ไม่ใช่ให้ท่านนายกทักษิณ ยุติการยื่นถวายฎีกา ....

ความพยายามที่คุณประดาบ กำลังจะเชื่อมโยงให้มองเห็นว่า “มีกลุ่มคนบางกลุ่ม” แทรกตัวอยู่ในขบวนการคนเสื้อแดง และกำลังจะนำเอาท่านนายกทักษิณไปเป็นเหยื่อเพื่อโจมตี หรือ โค่นล้มสถาบัน นั้น เป็นความพยายามเชื่อมโยงที่ไม่มีหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรม นอกจากคำกล่าวอ้างของฝ่ายเผด็จการ ผู้กล่าวโจมตีกลุ่มคนเสื้อแดงผู้เรียกร้องประชาธิปไตยทั้งหลายพูดง่าย ๆ ก็คือ คุณประดาบ กำลังพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว

ที่มีการต่อสู้กันทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองในเวลานั้น เข้ามาเป็นเรื่องเดียวกันกับความขัดแย้งในเวลานี้ โดยคุณประดาบกำลังพยายามอธิบายว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยโดยบริสุทธิ์ใจนั้น กำลังถูกกลุ่มคนที่พ่ายแพ้ทางการเมืองไปเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว “ชักใย” อยู่เบื้องหลัง โดยประชาชนทั้งหลายถูกหลอก ใช่หรือไม่ ?...การเกิดขึ้นของกลุ่มคนเสื้อเหลือง, กลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน ก็เกิดมาจากคำกล่าวที่ว่า “ปกป้องสถาบัน” ทั้งสิ้นและยิ่งกว่านั้น

กลุ่มคนเหล่านั้น ยังใช้ข้ออ้างนี้ ในการทำร้ายประชาชนธรรมดา ๆ ผู้ประกาศตัวเองมาตลอดว่า “ต้องการประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข” และไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง หรือแม้แต่ท่านนายกทักษิณเอง ก็ไม่เคยมีพฤติกรรมแม้แต่เพียงครั้งเดียว ที่แสดงให้เห็นไปในทางว่า จะ “ล้มล้างสถาบัน” หรือทำให้สถาบันเสื่อมเสียตรงกันข้าม กลุ่มคนเสื้อเหลืองผู้ชูป้ายในหลวง ขณะที่กำลังยิงปืนใส่ผู้คน เอาภาพในหลวงทำเป็นโล่ แล้วเข้าไล่ตีทำร้ายตำรวจ เอาภาพในหลวงนำหน้า ขณะที่เข้ายึดสนามบิน เข้ายึดทำเนียบ....

คนเหล่านี้ต่างหากครับ ที่กำลังทำร้ายสถาบัน และทำลายสถาบันอันเป็นที่รักของทุก ๆ คนผมรู้สึกผิดหวัง และเสียใจ ที่คุณประดาบผู้เป็นนักเขียนประชาธิปไตยคนหนึ่งที่ผมชื่นชมยกย่อง (ถ้าเป็นคุณประดาบตัวจริง) ได้แสดงความเห็นในจดหมายเปิดผนึกด้วยมุมมองที่ “ตื้นเขิน” เยี่ยงนี้การเปรียบเทียบท่านนายกทักษิณ กับ ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ หรือ นายกวินส์ตัน เชอร์ชิลล์ ผู้เป็นรัฐบุรุษ โดยกล่าวอ้างว่า “นักการเมืองมองการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่รัฐบุรุษคิดถึงชนรุ่นหลัง” ซึ่งเป็นคำอธิบายว่า

ท่านนายกทักษิณควรที่จะยอมเสียสละตนเอง เพื่อความปรองดองของคนในชาติ...คุณประดาบครับ ....ด้วยความเคารพ ผมอยากจะบอกว่า ความปรองดองของคนในชาติจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าประเทศนี้ ยังไม่มีการปกครองที่เป็นธรรม และมีความยุติธรรมที่เท่าเทียมกันของคนในชาติคุณประดาบคิดว่า การเสียสละตัวเองของท่านนายกทักษิณ ในการที่ให้ยุติการถวายฎีกา จะทำให้ทุกอย่างสงบ และท่านนายกทักษิณ จะกลายเป็นรัฐบุรุษในจิตใจของคนไทยทั้งชาติ เช่นนั้นหรือ ?ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เป็นคนละเรื่องกันเลยครับ ฎีการ้องทุกข์ที่ประชาชนชาวเสื้อแดง นำโดยกลุ่ม “ความจริงวันนี้” ได้กระทำ

เป็นเพียงเครื่องสะท้อนให้เห็น ถึงความทุกข์ยากของประชาชนไทยในแผ่นดินนี้ที่กำลังประสบอยู่ โดยได้นำเอากรณีท่านนายกทักษิณ มาเป็นตัวแทนเท่านั้น ถ้าวันนี้ไม่มีท่านนายกทักษิณ หรือท่านนายกทักษิณไม่อยู่แล้ว การยื่นถวายฎีการ้องทุกข์ต่อในหลวง ก็จะยังคงเกิดขึ้นต่อไปเพราะเหตุใดหรือ ? ก็เพราะว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้เดียวในแผ่นดินนี้ ที่จะปัดเป่าความทุกข์ยากของพสกนิกรชาวไทยให้พ้นไปได้ ไม่ว่าจะมีตัวกฎหมายรองรับไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่

แต่โดยประเพณีการปกครองของคนไทย ที่เคารพศรัทธาพระองค์ท่านตลอดมา พระองค์กระทำได้ครับ เพราะว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดเอาไว้ใน มาตราที่ 7 ระบุว่า “มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”ดังนั้นการกล่าวอ้างใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า “พระมหากษัตริย์ ไม่มีสิทธิที่จะใช้พระราชอำนาจ นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด” เป็นการใช้สำนวนโวหาร

เพื่อล่อลวงและ “กล่าวเท็จ” ครับ เพราะพระองค์ท่านไม่มีทางละเมิดกฎหมายได้อย่างแน่นอน นอกเสียจากว่า “จะเป็นไปตามพระราชวินิจฉัย” ในทางใดทางหนึ่งเท่านั้น และพระองค์ท่านก็จะไม่มีพระราชวินิจฉัยไปในทางละเมิดกฎหมายที่เขียนบัญญัติไว้ชัดเจนอย่างแน่นอนประเทศไทยมีประเพณีการปกครอง อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขครอบคลุมอยู่ ดังนั้นพระองค์ทรงบำบัดทุกข์เข็ญให้กับประชาขนไทยได้แน่นอนครับถ้าคุณประดาบจะกราบขอร้องใครสักคนให้ยุติ

เพื่อให้เกิดความปรองดองและสมานฉันท์ขึ้นในบ้านเมืองนี้ คน ๆ นั้น ไม่ควรจะเป็นท่านนายกทักษิณครับ แต่ควรจะเป็นใครสักคน ที่มีอำนาจสูงสุดบนยอดปิรามิดของเครือข่ายเผด็จการ ที่พยายามทำลายล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มากกว่าครับ....โดยสรุปก็คือ การยื่นถวายฎีกาในครั้งนี้ ไม่ใช่ทำเพื่อท่านนายกทักษิณ ดังโจทย์ที่คุณประดาบตั้งเอาไว้

แต่เป็น การเรียกร้องความยุติธรรม ให้กลับคืนมาสู่ประเทศไทย เพื่อประชาชนไทยทั้งมวล และการกระทำดังนี้ มิใช่เป็นการกระทำเพียงเพื่อ “คิดถึงการเลือกตั้งเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่กลับเป็นการคิดถึงประชาชนไทยในรุ่นต่อ ๆ ไป ชั้นลูกหลานเลยทีเดียวครับ”ผมหวังว่า จดหมายแสดงความเห็นของผมถึงคุณประดาบในครั้งนี้ คงจะแสดงถึงเจตนาของประชาชนชาวเสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตยโดยทั่วไป ให้คุณประดาบได้เข้าใจมากขึ้น
นะครับด้วยความเคารพ

ปูนนก13 สิงหาคม 2552