โดย. ชลาทิพย์ ถิรสุนทรากุล
ข่าวสื่อสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทีไร มีประเด็นสีสันดราม่าระหว่างสื่อกับนายกฯร่ำไป ทั้งเรื่องรูปแบบการพูดของนายกฯที่สื่ออาวุโสในทำเนียบได้แชร์ไอเดียต่อหน้านายกฯที่ยืนอยู่ที่โพเดียม โดยเสนอให้พูดกระชับ ไม่ต้องอธิบายที่มาพื้นฐานบางเรื่องมาก แต่ก็ถูกนายกฯแจงกลับแบบเข้มข้นดุดันกันไป
นายกฯยังสวนกลับบรรดาผู้ที่วิจารณ์ว่าให้สัมภาษณ์ทุกวันไม่มีเวลาทำงานกันพอดี โดยใช้วิธีพูดเชิงประชด ให้แปลความแบบเรียบ ๆ ก็คือ นายกฯยืนยันว่าการให้สัมภาษณ์ทุกวันไม่ได้กระทบกับเวลาบริหารงาน ส่วนประโยคที่โควตคำพูดดุดันของนายกฯ ใครว่างต้องไปหาดูตามคลิปในโซเชียลมีเดียกันเอง
แม้ที่จริงสื่อเสนอด้วยความหวังดีเพื่อขอโฟกัสประเด็นในข่าว เพราะมีสถิติที่นายกฯก็เคยให้สัมภาษณ์ยาวนานเกือบชั่วโมง บางทีก็แทบจะเท่ากับเวลาที่นายกฯพูดในรายการคืนความสุขให้คนในชาติทุกวันศุกร์
ที่ว่ามาเป็นประเด็นข่าวการเมืองแบบหยิกเล็บเจ็บเนื้อรายวัน กระนั้นด้านหนึ่งสิ่งที่สื่อรายงานเป็นประเด็นใหญ่ คือ เรื่องร้อนของแท้ การรับมือกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา
ดัชนีตัวเลขเศรษฐกิจที่สรุปและคาดการณ์ออกมาหลายตัวไม่สวยเอาซะเลย โดยเฉพาะตัวเลขส่งออกที่หวาดเสียว ตัวเลขจากภาคธุรกิจท่องเที่ยวทรง ๆ ที่ คสช.ยังคงประกาศกฎอัยการศึก
ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังประเมินแบบมองบวกอยู่ และภาคค้าปลีกที่หวังว่าไตรมาส 4 เป็นช่วงเทศกาลท่องเที่ยวหยุดยาวจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในขึ้นมาได้
กระนั้น นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ระบุก่อนนี้ไม่นานว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ยังฟื้นตัวได้ไม่ดีเท่าที่คาด โดยลูกค้าของธนาคารที่เป็นกลุ่มคนรวยสามารถกลับตัวได้เร็วและเข้าลงทุนต่อได้ อาทิ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสินค้าหรู แต่ในส่วนของชาวนาและคนจนกลับไม่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เพราะเงินที่ได้จากการช่วยเหลือของรัฐบาลต้องนำไปชำระหนี้ที่ค้างไว้ ส่วนเศรษฐกิจในต่างจังหวัดมองว่ายังไม่ดีเช่นกัน ยังมีความกังวลในด้านกำลังซื้อ
"ข้อมูลทางเศรษฐกิจของไทยยังคงขัดแย้งกันเอง เพราะยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ในด้านของคนรวยสามารถกลับตัวได้เร็วและลงทุนต่อ แต่ขณะเดียวกัน ฝั่งของชาวนาและคนจนกลับไม่มีกำลังซื้อ มองว่าทางภาครัฐเองควรกระตุ้นด้วยนโยบายการคลัง"
หลังมีแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทยอยลงมือทำ ทุกฝ่ายรอตัวเลขเศรษฐกิจที่อาจจะผงกหัวกราฟเด้งขึ้นบ้าง แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 แสนล้านบาทที่ประกาศออกมา โดยส่วนหนึ่งกว่าแสนล้านเป็นงบฯที่ดึงมาจากงบฯค้างท่อปี57 ด้วยคอนเซ็ปต์แบบที่ "บิ๊กตู่" บอกว่า "เน้นซ่อม (แซม) ไม่เน้นสร้าง"
ฟากหม่อมอุ๋ย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ที่ได้ส่งสัญญาณให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจว่า งบฯลงทุนที่เหลือจากปี 57 นี้ หากมีการเบิกจ่ายและใช้สัก 20% เศรษฐกิจก็จะกระเด้ง ซึ่งภาครัฐตั้งเป้าให้ปี 2558 การลงทุนภาครัฐเป็นกลจักรสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
จังหวะนี้ของรัฐบาล "บิ๊กตู่" เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่มรสุมเศรษฐกิจ-ปากท้องมีผลแบบสายฟ้าแลบ และสะท้อนความเชื่อมั่นที่มีต่อผู้นำประเทศ เพราะเรื่องปากท้องมีผลกระทบเร็ว บางครั้งยิ่งกว่าประเด็นการเมืองด้วยซ้ำ เฉกเช่นที่รัฐบาลก่อนหน้าหรือรัฐบาลไหน ๆ ก็ต้องรับมือปัญหานี้ เพราะวันนี้หลายฝ่ายยังห่วงว่าการบริโภคของประชาชนยังไม่น่าจะเพิ่มขึ้น งบฯที่ลงไปช่วยชาวนาหรือชาวสวนยางพารายังไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจการบริโภคภายในได้ ทั้งยังห่วงเรื่องเก็บภาษีที่ยังไม่เข้าเป้า
เศรษฐกิจขณะนี้จึงยังถูกจับตาประคองใกล้ชิดว่าจะสาหัสไปเรื่อย ๆ มากขึ้นหรือไม่ และที่สำคัญประเด็นเศรษฐกิจจะเป็นตัวตัดสินความสำเร็จของรัฐบาลชุดนี้เช่นกัน เพราะหมดช่วงฮันนีมูนคืนความสุขจากสถานการณ์การเมืองกันไปแล้ว
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////
ข่าวสื่อสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทีไร มีประเด็นสีสันดราม่าระหว่างสื่อกับนายกฯร่ำไป ทั้งเรื่องรูปแบบการพูดของนายกฯที่สื่ออาวุโสในทำเนียบได้แชร์ไอเดียต่อหน้านายกฯที่ยืนอยู่ที่โพเดียม โดยเสนอให้พูดกระชับ ไม่ต้องอธิบายที่มาพื้นฐานบางเรื่องมาก แต่ก็ถูกนายกฯแจงกลับแบบเข้มข้นดุดันกันไป
นายกฯยังสวนกลับบรรดาผู้ที่วิจารณ์ว่าให้สัมภาษณ์ทุกวันไม่มีเวลาทำงานกันพอดี โดยใช้วิธีพูดเชิงประชด ให้แปลความแบบเรียบ ๆ ก็คือ นายกฯยืนยันว่าการให้สัมภาษณ์ทุกวันไม่ได้กระทบกับเวลาบริหารงาน ส่วนประโยคที่โควตคำพูดดุดันของนายกฯ ใครว่างต้องไปหาดูตามคลิปในโซเชียลมีเดียกันเอง
แม้ที่จริงสื่อเสนอด้วยความหวังดีเพื่อขอโฟกัสประเด็นในข่าว เพราะมีสถิติที่นายกฯก็เคยให้สัมภาษณ์ยาวนานเกือบชั่วโมง บางทีก็แทบจะเท่ากับเวลาที่นายกฯพูดในรายการคืนความสุขให้คนในชาติทุกวันศุกร์
ที่ว่ามาเป็นประเด็นข่าวการเมืองแบบหยิกเล็บเจ็บเนื้อรายวัน กระนั้นด้านหนึ่งสิ่งที่สื่อรายงานเป็นประเด็นใหญ่ คือ เรื่องร้อนของแท้ การรับมือกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา
ดัชนีตัวเลขเศรษฐกิจที่สรุปและคาดการณ์ออกมาหลายตัวไม่สวยเอาซะเลย โดยเฉพาะตัวเลขส่งออกที่หวาดเสียว ตัวเลขจากภาคธุรกิจท่องเที่ยวทรง ๆ ที่ คสช.ยังคงประกาศกฎอัยการศึก
ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังประเมินแบบมองบวกอยู่ และภาคค้าปลีกที่หวังว่าไตรมาส 4 เป็นช่วงเทศกาลท่องเที่ยวหยุดยาวจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในขึ้นมาได้
กระนั้น นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ระบุก่อนนี้ไม่นานว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ยังฟื้นตัวได้ไม่ดีเท่าที่คาด โดยลูกค้าของธนาคารที่เป็นกลุ่มคนรวยสามารถกลับตัวได้เร็วและเข้าลงทุนต่อได้ อาทิ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสินค้าหรู แต่ในส่วนของชาวนาและคนจนกลับไม่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เพราะเงินที่ได้จากการช่วยเหลือของรัฐบาลต้องนำไปชำระหนี้ที่ค้างไว้ ส่วนเศรษฐกิจในต่างจังหวัดมองว่ายังไม่ดีเช่นกัน ยังมีความกังวลในด้านกำลังซื้อ
"ข้อมูลทางเศรษฐกิจของไทยยังคงขัดแย้งกันเอง เพราะยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ในด้านของคนรวยสามารถกลับตัวได้เร็วและลงทุนต่อ แต่ขณะเดียวกัน ฝั่งของชาวนาและคนจนกลับไม่มีกำลังซื้อ มองว่าทางภาครัฐเองควรกระตุ้นด้วยนโยบายการคลัง"
หลังมีแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทยอยลงมือทำ ทุกฝ่ายรอตัวเลขเศรษฐกิจที่อาจจะผงกหัวกราฟเด้งขึ้นบ้าง แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 แสนล้านบาทที่ประกาศออกมา โดยส่วนหนึ่งกว่าแสนล้านเป็นงบฯที่ดึงมาจากงบฯค้างท่อปี57 ด้วยคอนเซ็ปต์แบบที่ "บิ๊กตู่" บอกว่า "เน้นซ่อม (แซม) ไม่เน้นสร้าง"
ฟากหม่อมอุ๋ย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ที่ได้ส่งสัญญาณให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจว่า งบฯลงทุนที่เหลือจากปี 57 นี้ หากมีการเบิกจ่ายและใช้สัก 20% เศรษฐกิจก็จะกระเด้ง ซึ่งภาครัฐตั้งเป้าให้ปี 2558 การลงทุนภาครัฐเป็นกลจักรสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
จังหวะนี้ของรัฐบาล "บิ๊กตู่" เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่มรสุมเศรษฐกิจ-ปากท้องมีผลแบบสายฟ้าแลบ และสะท้อนความเชื่อมั่นที่มีต่อผู้นำประเทศ เพราะเรื่องปากท้องมีผลกระทบเร็ว บางครั้งยิ่งกว่าประเด็นการเมืองด้วยซ้ำ เฉกเช่นที่รัฐบาลก่อนหน้าหรือรัฐบาลไหน ๆ ก็ต้องรับมือปัญหานี้ เพราะวันนี้หลายฝ่ายยังห่วงว่าการบริโภคของประชาชนยังไม่น่าจะเพิ่มขึ้น งบฯที่ลงไปช่วยชาวนาหรือชาวสวนยางพารายังไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจการบริโภคภายในได้ ทั้งยังห่วงเรื่องเก็บภาษีที่ยังไม่เข้าเป้า
เศรษฐกิจขณะนี้จึงยังถูกจับตาประคองใกล้ชิดว่าจะสาหัสไปเรื่อย ๆ มากขึ้นหรือไม่ และที่สำคัญประเด็นเศรษฐกิจจะเป็นตัวตัดสินความสำเร็จของรัฐบาลชุดนี้เช่นกัน เพราะหมดช่วงฮันนีมูนคืนความสุขจากสถานการณ์การเมืองกันไปแล้ว
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น