ถึงแม้ว่าห้วงแรกของปัญหา "การเมืองภายใน" หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อการรัฐประหาร ปรากฏผลลัพธ์ให้เกิด "แรงเสียดทาน-มาตรการตอบโต้" โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะ "มหาอำนาจ" อย่างสหรัฐอเมริกา แม้กระทั่ง "มหามิตร" อย่างญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม ด้วย "กายภาพทางภูมิศาสตร์" ทำให้เศรษฐกิจของไทยสามารถเพิ่มศักยภาพในระดับเป็น "ศูนย์กลางอาเซียน" ตลอดจน "นโยบายเศรษฐกิจ" ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชัดเจนว่าจะก้าวย่างไปในทิศทางใด เพื่อเพิ่มขีดสามารถในการลงทุน-แข่งขัน ทำให้ "รัฐบาลไทย" อยู่ในสถานะ "เนื้อหอม" ย้อนแย้งกับห้วงเวลาก่อนหน้าที่ตกอยู่ใต้ "เงาดำแห่งรัฐประหาร"
แต่ สำหรับการเมืองภายนอก (ประเทศ) ที่ส่งผลถึงการเมืองภายในประเทศแล้ว "รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์" ใต้เงา คสช. กลับต้อง "ตั้งรับ" กับยุทธวิธี "รับแต่กลับรุก" ของ "พ.ต.ท.ทักษิณและเครือข่าย"
เพราะนับจาก คสช.เข้าควบคุมอำนาจ "รัฐนาวายิ่งลักษณ์" จนถึงวันนี้-ครบรอบ 6 เดือนเต็ม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควง "น้องไปป์"-ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร บุตรชาย ขออนุญาต คสช.เดินทางออกนอกประเทศ โดยให้เหตุผลเพื่อไป "พักผ่อน" แล้ว 2 ครั้ง 3 ทวีป (ยุโรป อเมริกา และเอเชีย) 7 ประเทศ (ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี เบลเยียม สหรัฐ ญี่ปุ่น และจีน) ซึ่งมี "วาระจร"-พบปะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร "อดีตนายกฯพี่ชาย" ทั้ง 2 ครั้งครา พร้อมปรากฏภาพ "2 พี่น้อง" พลัดถิ่น ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียกระจายไปทั่วโลก
แม้ว่าการพบปะกันระหว่าง "อดีตนายกฯตระกูลชินวัตร" จะไม่สามารถสร้างความหวั่นไหวต่อ พล.อ.ประยุทธ์ได้ "เจอแล้วเป็นอะไรล่ะ ผมจะไปหวั่นไหวเรื่องอะไร"
ขณะเดียวกัน นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ "นักวิชาการสายแดง" แห่งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต กลับโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Pavin Chachavalpongpun" ว่า ถ้าทหารไทยหรือนักการทูตคนไหนแอบพอใจที่จีนให้การสนับสนุน คสช.เต็มที่ ไม่แคร์สหรัฐเพราะเรามีเพื่อนอย่างจีนที่พึ่งพาได้ ขอให้คิดใหม่ การไปเที่ยวจีนของตระกูลชินวัตรนั้น ชี้ "Pattern" การทูตเดิม ๆ ของจีน คือ เหยียบเรือสองแคม จีนเอาทั้งอีลิตไทยและชินวัตร
"ตอนนี้ คสช.เป็นรัฐบาลก็จี๊จ๋าด้วย หากพรุ่งนี้ชินวัตรกลับมา จีนก็โดดลงเรือชินวัตรทันที จริง ๆ เรื่องนี้ญี่ปุ่นก็ดำเนินรอยตามจีนเช่นกัน แม้อาเบะ (นายกฯญี่ปุ่น) จะพบกับประยุทธ์ที่มิลาน และอาจเชิญมาเยือน แต่ทั้งทักษิณและยิ่งลักษณ์ก็ไปเยือนญี่ปุ่นหลังจากนั้นไม่นาน เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ตระกูลชินวัตรก็กำลังเล่นเกมการทูตระหว่างประเทศต่อสู้กับ คสช.เช่นเดียวกัน"
ขณะที่ "รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-กุนซือ "รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง"-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม "บิ๊กป้อม"-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อ่านหมากเกม "ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ" ว่ามี 2 ประเด็นที่ต้องพิจารณา ได้แก่ ประเด็นแรก ในส่วนของต่างประเทศซึ่งการอนุญาตให้บุคคลใดเดินทางเข้าออกประเทศนั้น ๆ ได้ก็เป็นสิทธิ์ของประเทศนั้นจะพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรืออดีตผู้นำ
ประเด็น ที่สอง ในส่วนของภายในประเทศไทยเอง ว่า การขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศของบุคคลใดก็แล้วแต่ที่เข้าข่ายอยู่ในกลุ่ม ที่ต้องขออนุญาต คสช. ต้องมีกฎเกณฑ์-กติกาอยู่แล้ว แต่ต้องมีการทบทวน ซักซ้อมข้อปฏิบัติเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น ระหว่าง คสช.กับบุคคลที่เดินทางออกนอกประเทศ ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ โดยการทบทวนว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่
"การเคลื่อนไหวลักษณะนี้เป็นการ สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สนับสนุนเพื่อสร้างความมั่นใจทางการเมือง ซึ่งบางลักษณะต้องระมัดระวังว่าจะเกิดปัญหาตามมาหรือไม่ เพราะผลเสียมันอาจส่งผลต่อบุคคลที่ขออนุญาตในการเดินทางออกนอกประเทศเสียเอง ซึ่งอาจต้องมีการพูดคุยให้เข้าใจตรงกันว่า อาจจะมีส่วนเชื่อมโยงจนกระทบต่อบรรยากาศการปฏิรูปหรือไม่"
การเคลื่อนไหวลักษณะนี้ถึงแม้จะ "สุ่มเสี่ยง" ที่เข้าลักษณะเป็นยุทธวิธี "โลกล้อมไทย" แต่ "ดร.ปณิธาน" เห็นต่าง "ไม่น่าจะเป็นลักษณะยุทธวิธีนั้นได้ เพราะคงไม่มีประเทศใดที่จะไปสั่งให้อีก 193 ประเทศ ไปล้อมประเทศใดได้ แม้แต่สหรัฐหรือองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เองก็ตาม แต่เนื่องจากแต่ละประเทศก็มีกฎเกณฑ์ของประเทศนั้น ๆ ที่จะอนุญาตให้ใครก็แล้วแต่กระทำการใด ๆ ภายในประเทศของตน อย่างไรก็ตาม บุคคลที่อยู่ในกลุ่มที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตก็ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของไทย"
ในทางกลับกันหาก คสช.ไม่อนุญาตให้ "น.ส.ยิ่งลักษณ์" เดินทางออกนอกประเทศในครั้งต่อ ๆ ไป แรงเหวี่ยง (ด้านสิทธิมนุษยชน) อาจจะมายังรัฐบาลเองหรือไม่นั้น "อดีตทีมงานต้านกองกำลังแดง" ทิ้งท้ายว่า ผมไม่สามารถตอบแทน คสช.ได้ เพราะมันเป็นกฎ-กติกาที่วางไว้และให้ปฏิบัติร่วมกันอยู่ทั้งผู้อนุญาตและผู้ขออนุญาตเอง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////
อย่างไรก็ตาม ด้วย "กายภาพทางภูมิศาสตร์" ทำให้เศรษฐกิจของไทยสามารถเพิ่มศักยภาพในระดับเป็น "ศูนย์กลางอาเซียน" ตลอดจน "นโยบายเศรษฐกิจ" ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชัดเจนว่าจะก้าวย่างไปในทิศทางใด เพื่อเพิ่มขีดสามารถในการลงทุน-แข่งขัน ทำให้ "รัฐบาลไทย" อยู่ในสถานะ "เนื้อหอม" ย้อนแย้งกับห้วงเวลาก่อนหน้าที่ตกอยู่ใต้ "เงาดำแห่งรัฐประหาร"
แต่ สำหรับการเมืองภายนอก (ประเทศ) ที่ส่งผลถึงการเมืองภายในประเทศแล้ว "รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์" ใต้เงา คสช. กลับต้อง "ตั้งรับ" กับยุทธวิธี "รับแต่กลับรุก" ของ "พ.ต.ท.ทักษิณและเครือข่าย"
เพราะนับจาก คสช.เข้าควบคุมอำนาจ "รัฐนาวายิ่งลักษณ์" จนถึงวันนี้-ครบรอบ 6 เดือนเต็ม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควง "น้องไปป์"-ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร บุตรชาย ขออนุญาต คสช.เดินทางออกนอกประเทศ โดยให้เหตุผลเพื่อไป "พักผ่อน" แล้ว 2 ครั้ง 3 ทวีป (ยุโรป อเมริกา และเอเชีย) 7 ประเทศ (ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี เบลเยียม สหรัฐ ญี่ปุ่น และจีน) ซึ่งมี "วาระจร"-พบปะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร "อดีตนายกฯพี่ชาย" ทั้ง 2 ครั้งครา พร้อมปรากฏภาพ "2 พี่น้อง" พลัดถิ่น ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียกระจายไปทั่วโลก
แม้ว่าการพบปะกันระหว่าง "อดีตนายกฯตระกูลชินวัตร" จะไม่สามารถสร้างความหวั่นไหวต่อ พล.อ.ประยุทธ์ได้ "เจอแล้วเป็นอะไรล่ะ ผมจะไปหวั่นไหวเรื่องอะไร"
ขณะเดียวกัน นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ "นักวิชาการสายแดง" แห่งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต กลับโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Pavin Chachavalpongpun" ว่า ถ้าทหารไทยหรือนักการทูตคนไหนแอบพอใจที่จีนให้การสนับสนุน คสช.เต็มที่ ไม่แคร์สหรัฐเพราะเรามีเพื่อนอย่างจีนที่พึ่งพาได้ ขอให้คิดใหม่ การไปเที่ยวจีนของตระกูลชินวัตรนั้น ชี้ "Pattern" การทูตเดิม ๆ ของจีน คือ เหยียบเรือสองแคม จีนเอาทั้งอีลิตไทยและชินวัตร
"ตอนนี้ คสช.เป็นรัฐบาลก็จี๊จ๋าด้วย หากพรุ่งนี้ชินวัตรกลับมา จีนก็โดดลงเรือชินวัตรทันที จริง ๆ เรื่องนี้ญี่ปุ่นก็ดำเนินรอยตามจีนเช่นกัน แม้อาเบะ (นายกฯญี่ปุ่น) จะพบกับประยุทธ์ที่มิลาน และอาจเชิญมาเยือน แต่ทั้งทักษิณและยิ่งลักษณ์ก็ไปเยือนญี่ปุ่นหลังจากนั้นไม่นาน เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ตระกูลชินวัตรก็กำลังเล่นเกมการทูตระหว่างประเทศต่อสู้กับ คสช.เช่นเดียวกัน"
ขณะที่ "รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-กุนซือ "รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง"-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม "บิ๊กป้อม"-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อ่านหมากเกม "ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ" ว่ามี 2 ประเด็นที่ต้องพิจารณา ได้แก่ ประเด็นแรก ในส่วนของต่างประเทศซึ่งการอนุญาตให้บุคคลใดเดินทางเข้าออกประเทศนั้น ๆ ได้ก็เป็นสิทธิ์ของประเทศนั้นจะพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรืออดีตผู้นำ
ประเด็น ที่สอง ในส่วนของภายในประเทศไทยเอง ว่า การขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศของบุคคลใดก็แล้วแต่ที่เข้าข่ายอยู่ในกลุ่ม ที่ต้องขออนุญาต คสช. ต้องมีกฎเกณฑ์-กติกาอยู่แล้ว แต่ต้องมีการทบทวน ซักซ้อมข้อปฏิบัติเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น ระหว่าง คสช.กับบุคคลที่เดินทางออกนอกประเทศ ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ โดยการทบทวนว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่
"การเคลื่อนไหวลักษณะนี้เป็นการ สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สนับสนุนเพื่อสร้างความมั่นใจทางการเมือง ซึ่งบางลักษณะต้องระมัดระวังว่าจะเกิดปัญหาตามมาหรือไม่ เพราะผลเสียมันอาจส่งผลต่อบุคคลที่ขออนุญาตในการเดินทางออกนอกประเทศเสียเอง ซึ่งอาจต้องมีการพูดคุยให้เข้าใจตรงกันว่า อาจจะมีส่วนเชื่อมโยงจนกระทบต่อบรรยากาศการปฏิรูปหรือไม่"
การเคลื่อนไหวลักษณะนี้ถึงแม้จะ "สุ่มเสี่ยง" ที่เข้าลักษณะเป็นยุทธวิธี "โลกล้อมไทย" แต่ "ดร.ปณิธาน" เห็นต่าง "ไม่น่าจะเป็นลักษณะยุทธวิธีนั้นได้ เพราะคงไม่มีประเทศใดที่จะไปสั่งให้อีก 193 ประเทศ ไปล้อมประเทศใดได้ แม้แต่สหรัฐหรือองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เองก็ตาม แต่เนื่องจากแต่ละประเทศก็มีกฎเกณฑ์ของประเทศนั้น ๆ ที่จะอนุญาตให้ใครก็แล้วแต่กระทำการใด ๆ ภายในประเทศของตน อย่างไรก็ตาม บุคคลที่อยู่ในกลุ่มที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตก็ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของไทย"
ในทางกลับกันหาก คสช.ไม่อนุญาตให้ "น.ส.ยิ่งลักษณ์" เดินทางออกนอกประเทศในครั้งต่อ ๆ ไป แรงเหวี่ยง (ด้านสิทธิมนุษยชน) อาจจะมายังรัฐบาลเองหรือไม่นั้น "อดีตทีมงานต้านกองกำลังแดง" ทิ้งท้ายว่า ผมไม่สามารถตอบแทน คสช.ได้ เพราะมันเป็นกฎ-กติกาที่วางไว้และให้ปฏิบัติร่วมกันอยู่ทั้งผู้อนุญาตและผู้ขออนุญาตเอง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////