ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ช่วงนี้ "ธาริต เพ็งดิษฐ์" อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถูกแฉกระจายตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนถึงเรื่องส่วนตัวบนถนนศรีอยุธยา
"จตุพร พรหมพันธุ์" ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย คู่ปรับ ขู่ว่า เร็วๆ นี้ เตรียมแฉเรื่องใหญ่ของ "ธาริต" ให้คนช็อคตะลึงกันทั้งประเทศ
ชีวิตของ"ธาริต" มีเรื่องให้ช็อคได้ตลอดทุกนาที เชื่อหรือไม่ เขามี บอดี้การ์ด รอบตัว บางช่วงเวลาต้องหลบซ่อนในเซฟเฮ้าส์
เอาเข้าจริงแล้ว ชีวิตลูกผู้ชายชื่อ ธาริต ยังมีอะไรมากกว่านั้นที่หลายคนยังไม่รู้ ทุกวันนี้ ธาริต คล้องพระ 5 องค์
กล่าวกันว่า เขายังมี หมอดูส่วนตัว ที่คอยดูฤกษ์ยาม ให้แคล้วคลาด จากเคราะห์ร้ายและกรรมเก่า
ก่อนหน้านี้ หมอดู 3 คน ยืนยันฟันธงว่า ดวงธาริต รุ่งโรจน์ไปอีกนาน
ล่าสุด"ธาริต"เปิดห้องทำงาน ให้ ผู้สื่อข่าว เจาะลึกในหลายประเด็นที่ทั้งมิตรและศัตรูของเขา อยากรู้
@ประกาศ ศอฉ. 100/2553ปล่อยผีท่อน้ำเลี้ยง "ทักษิณและคนเสื้อแดง"ทั้งยวง เพราะตรวจอะไรไม่เจอ ใช่ไหม
ตอบอย่างนั้นไม่ได้ครับ นัยสำคัญที่พบก็คือ มีการชี้แจงธุรกรรมต้องสงสัยไม่ได้จำนวนหนึ่ง หมายความว่าเราเริ่มต้นจาก 152 ราย ต่อมากปลดล็อกเหลือ 83 ราย ใน 83 ราย เราให้เขามาชี้แจง โดยใช้วิธีตั้งโจทย์ว่าธุรกรรมต้องสงสัยคืออะไรบ้าง เขาก็มาชี้แจง 2 รอบ บางคน 3 รอบ
เมื่อชี้แจงเสร็จ เราก็ปลดล็อกทันที เพราะถือว่าการชี้แจงเสร็จแล้ว ไม่อย่างนั้นจะเป็นการละเมิดสิทธิ์มากเกินไป ก็คือ เขาทำธุรกรรมได้ปกติ แต่ในประกาศฉบับนี้ ยังบอกให้แบงก์คอยติดตามว่าถ้ามีธุรกรรมที่ผิดปกติให้รายงาน
เมื่อปลดล็อกแล้ว ถามว่าธุรกรรมที่เขามาชี้แจงก็จะมีที่ชี้แจงได้และไม่ได้ ส่วนที่ชี้แจงไม่ได้ขณะนี้เราได้ตั้งเป็นคณะตรวจสอบขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เพื่อมาตรวจสอบทั้งหมดว่าที่ชี้แจงไม่ได้มียอดเท่าไหร่ และชี้แจงไม่ได้เพราะอะไร
ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับศอฉ.แล้ว เป็นอำนาจของดีเอสไอโดยตรง แต่เราก็ต้องระมัดระวังเพราะเราไม่ได้ใช้กฎหมายศอฉ. ฉะนั้นก็คงเปิดเผยไม่ได้
@ ควานไม่เจอท่อน้ำเลี้ยงคุณทักษิณ(ชินวัตร)และเครือข่ายไม่เจออะไรเลยหรือ
ผมคงไม่อาจแยกได้ แต่ตอบได้เลยว่า มีธุรกรรมที่ชี้แจงไม่ได้อยู่พอสมควร ซึ่งจะได้ทำการตรวจสอบเชิงลึกต่อไปว่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่อย่างไร แต่ต้องบอกว่าขณะนี้เป็นการตรวจสอบขั้นต้นเท่านั้น ก็คือ ตั้งโจทย์ แล้วคุณมาชี้แจง ชี้แจงได้จบเลยชี้แจงไม่ได้เราก็ทำต่อ ว่าที่ชี้แจงไม่ได้มันคืออะไร แต่ในขณะนี้คุณทักษิณและเครือข่ายทำธุรกรรรมได้ตามปกติ
ผมต้องพูดเรื่องห้ามทำธุรกรรมว่า มีทั้งวัตถุประสงค์หลักและวัตถุประสงค์รอง วัตถุประสงค์หลักคือ ตัดขาดและป้องปราม ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ไปแล้ว เพราะว่าเมื่อเราใช้มาตรการนี้ มันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรื่องการชุมนุมหยุด
ส่วนวัตถุประสงค์รองคือ การตรวจสอบย้อนหลัง 9 เดือน ว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือไม่ ขณะนี้กำลัง On Process เพราะที่ On Process มันเริ่มต้นจากที่ให้ส่งเอกสาร 9 เดือน แล้วมาตั้งโจทย์ให้คุณตอบ ตอบได้ก็จบ ตอบไม่ได้ก็ตรวจต่อ
เช่น บอกว่า ถอนเงินสดไป 500 ล้าน ถามว่าถอนไปทำไม ถอนไปที่ไหน ถ้าคำตอบบอกว่าถอนไปซื้อสลาก อย่างนี้เข้าข่ายชี้แจงไม่ได้ เราก็ต้องตรวจว่าแล้วมันคืออะไร เอาไปสนับสนุนการกระทำผิดหรือไม่อย่างไร แต่ต้องทำในเชิงลับ
@ดีเอสไอ ยั้งมือ ไม่ตีหมาให้จนตรอกใช่ไหม
ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก ต้องเข้าใจว่าการตัดต่อน้ำเลี้ยงหรือการสั่งห้ามทำธุรกรรมเกิดในช่วงที่ความสงบยังมีอยู่ ฉะนั้นการมีมาตรการหลายๆ มาตรการของศอฉ.เป็นสิ่งจำเป็นพื่อจะหยุดยั้ง
ส่วนตัวผมเชื่อว่า มาตรการนี้มีส่วนช่วยหยุดยั้งการชุมนุมอย่างหนึ่ง อาจจะไม่ใช่กลุ่มคน 152 ราย แต่อย่างน้อยก็ป้องปรามคนกลุ่มอื่น อาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็แล้วแต่ แล้วทันทีที่การตรวจสอบเสร็จสิ้นลง ศอฉ. ก็ปลดล็อกทันที
ฉะนั้นจะเป็นการยื้อไว้หรือเป็นการกลั่นแกล้ง ไม่ใช่แน่นอน ซึ่งก็มองได้หลายมุม บางมุมก็วิพากษ์วิจารณ์ว่าซีเรียสกับเขา ตีเขาเป็นหมาจนตรอก บางมุมก็มองว่าล้มเหลว เพราะไม่สะใจ ซึ่งไม่ได้หรอกครับ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมายและมีพยานหลักฐาน แต่ถามว่าความจำเป็นขณะเกิดสถานการณ์วิกฤตช่วงพฤษภาคม การใช้มาตรการที่กฎหมายให้ทำได้ โดยส่วนตัวผมเห็นว่าเหมาะสมแล้ว
@ กลุ่มที่ต้องตรวจสอบในเชิงลึกจะเสร็จสิ้นเมื่อไหร่
ผมกำหนด เส้นตาย ว่าต้องทำให้เสร็จภายใน 20 กันยายนนี้
@ ถามจริง ๆ ว่า มีเงินไหลเข้ามาหล่อเลี้ยงการชุมนุมคนเสื้อแดง จริงๆ หรือ
เราเชื่อว่าจริง มันไหลมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เพราะการชุมนุมก็ต้องใช้เงิน เราก็เชื่อเช่นนั้น แล้วมาตรการอะไรก็ตามที่สามารถยับยั้งการชุมนุมโดยผิดกฏหมาย ก็ต้องนำมาใช้ รวมถึงมาตรการการห้ามทำธุรกรรมด้วย
@มีข้อวิจารณ์ว่า หลักฐานของดีเอสไอน่าจะมาจากวิธีการทำงานแบบสหวิทยาการ ที่หนักแน่นมากกว่าปากคำพยาน ที่พลิกล้นได้ตลอดเวลา
ถ้าจะตรวจดู ผมจะถ่ายทอดตามที่เป็นจริงเท่านั้น แต่ต้องเรียนว่าการจะไปดำเนินคดีใครหรือจับใครอาศัยเพียงคำซัดทอดของพยานไม่พอหรอกครับ คำซัดทอดเป็นประโยชน์ในเบื้องต้นเท่านั้น โดยเฉพาะในหมู่ผู้ต้องหา เพราะคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกันเองน้ำหนักมันน้อย ถ้าจะมีคำซัดทอด ก็เป็นเพียงประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวน แต่ต้องหาหลักฐานประกอบให้มากกว่านั้นแน่นอน
เราจะพิสูจน์ความผิดคนโดยเอาเพียงคำพูดพยาน แล้วถ้าถึงเวลาที่เขาเบิกความไม่เป็นอย่างที่เขาให้การก็เสียเลยครับ ฉะนั้น พยานทั้งหมดที่เราดำเนินคดีฐานการก่อการร้ายแล้วอัยการเห็นชอบสั่งฟ้อง โดยไม่ได้สอบสวนเพิ่มเติมเลย เพราะคงเห็นว่าเพียงพอแล้ว มันเป็นพยานที่เรียกว่าอยู่ในระบบการพิสูจน์พยาน ซึ่งไม่ใช่อาศัยคำให้การของคนสองคนหรอก
มันจะมีความยึดโยงกัน เช่น บอกว่าชุดนี้เป็นชุดที่ไปยึดอาวุธยุทธภัณฑ์มา มันก็จะมาสอดคล้องกับภาพถ่ายบนเวที สอดคล้องกับอาวุธที่ยึดได้ สอดคล้องกับประจักษ์พยานที่เห็นยิง หรือทำร้าย มันต้องมีจิ๊กซอร์ที่มาต่อกัน ไม่ใช่พยานปากหนึ่งปากใด ไม่เป็นเช่นนั้นหรอกครับ
@ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ ว่า สำนวนจากดีเอสไอไปถึงศาลน้อยมาก เพราะสำนวนไม่สมบูรณ์ ดีแต่โม้
ไม่จริงครับ เรามีสถิติชี้วัดว่า คดีของเรา 90 % อัยการสั่งฟ้องตาม จากตัวชี้วัดที่ ก.พ. ร.ควบคุมเราไว้ที่ 80 แต่เราทำได้ถึง 90 และตั้งแต่ก่อตั้งดีเอสไอมา เราทำได้ 90 ตลอด อาจจะมีบางที่อัยการเห็นต่าง แต่เล็กน้อยครับ เพียง 10% แล้ว 10% ที่ว่านี้ บางทีข้อหามันหลายข้อหา อัยการก็อาจจะมองในมุมหลักว่าเอาข้อหาหลักพอ ข้อหาย่อยไม่ต้องก็ได้ มันก็จะเป็นมิติที่อาจจะสั่งต่างกันไปบ้าง แต่ในหลักจริงๆ ยังคงยืนเรื่องฟ้องอยู่
@ ขณะนี้ กลุ่มคดีความมั่นคงและคดีการเมือง มีมากน้อยแค่ไหน
ที่ผ่านมาเราไม่ได้ทำคดีการเมืองหรือคดีความมั่นคงเลย เราทำคดีเศรษฐกิจครับ ดีเอสไอ ออกแบบมาเพื่อทำคดีเศรษฐกิจ แล้วคดีความไม่สงบ คดีความมั่นคงมันก็เพิ่งจะเกิด
@ นี่คือเหตุหนึ่งที่ดีเอสไอ.ขอเพิ่มคน แล้วที่ประชุมครม.ก็อนุมัติตามที่ขอ
เหตุหนึ่งครับ ถ้าจะมองว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน ส่วนที่เป็นเหตุจำเป็นก็คือ เรากำลังจะขยายความผิดที่เรารับผิดชอบ ดีเอสไอรับผิดชอบคดีพิเศษอยู่ 2 ประเภท ประเภทหนึ่งเรียกว่า เป็น ความผิดท้ายพระราชบัญญัติ ซึ่งขณะนี้เรามี 27 ประเภทคดี เรากำลังจะเสนอเพิ่มอีก 11 ประเภทคดี คดีหลักๆ ก็จะเป็นพวกค้ามนุษย์ ยาเสพติด คดีอาชญากรระหว่างประเทศ คดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
จริงๆแล้ว ดีเอสไอตั้งมาเข้าปีที่ 8 เราไม่เคยปรับโครงสร้างและเพิ่มอัตรากำลังเลย ในขณะที่เรารับผิดชอบคดีสำคัญทั่วประเทศ ถ้าจะเทียบกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งทำการสืบสวนสอบสวนคดีสามัญทั่วไป 2 แสนกว่า เทียบอัตราส่วนไม่ได้เลย
ในขณะที่ดีเอสไอ เรามีอัตราอยู่ที่ 779 คน ทำให้มีเหตุจำเป็นที่ต้องเพิ่ม ฉะนั้น จะต้องถือว่ามีทั้ง 2 เหตุ ที่เราขอแล้วครม.ให้ คือ เหตุจำเป็นเฉพาะ คือ เรื่องคดีความไม่สงบและคดีมุ่งร้ายต่อสถาบัน ฯ หรือคดีล้มเจ้า และเหตุปกติทั่วไป คดีเราเพิ่มมากขึ้น
@ แล้วจะต้องเพิ่มในส่วนใดบ้าง
เพิ่มสำนักครับ แต่ขณะนี้ยังไม่นิ่ง ที่ขอครม. คือ เรายังไม่ได้ขอให้ Approof โครงสร้าง แต่เราขอครม.เห็นชอบในอัตรา ส่วนโครงสร้างเราจะทำตามกระบวนการ ของการออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใหม่
โดยโครงสร้างเราคาดว่าจะมีสำนัก เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 6 สำนัก เช่น ด้านคดีเกี่ยวกับค้ามนุษย์อาชญากรที่เป็นองค์การระหว่างประเทศ ด้านคดีทรัพยากรธรรมชาติ เน้นที่ดินของรัฐที่มีการบุกรุก แล้วจะมีสำนักปฏิบัติการพิเศษโดยตรง มีสำนักบริหารคดี เพราะหัวใจสำคัญของการทำคดีมันจะต้องมีส่วนอำนวยการหรือส่วนบริหาร ก็จะมีสำนักบริหารคดี แล้วกลุ่มงานบริหารงานบุคคลก็จะยกระดับเป็นสำนัก ให้มีประสิทธิภาพในการดูแลคนเรื่องวินัย การเทรนนิ่งต่างๆ
ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณา คาดว่าสักประมาณประมาณ 200 คน จะเป็นการรับโอน และรับใหม่ประมาณ 100 คน ส่วนพนักงานราชการ 175 คน ก็จะรับใหม่ทั้งหมด
@ มีการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินคดีอย่างไร หรือไม่
ลำดับความสำคัญมี 2 อย่างครับ อย่างหนึ่งคือ คดีมีตัว เช่น คดีก่อการร้าย มีการจับผู้ต้องหาได้ มีการวางกรอบเวลากฎหมายกำหนดไว้ เช่น ต้องฟ้องภายใน 84 วัน อย่างนี้เหมือนไม่มีทางเลือกเป็นอื่น ดีเอสไอกับอัยการต้องทำงานร่วมกันแล้วต้องเบ็ดเสร็จภายใน 84 วัน เพราะถ้าผู้ต้องหาหลุดไปในคดีร้ายแรง มันจะมีปัญหามากเลย
อีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าไม่ตัว โดยทั่วไป เราถือเป็นหลักพื้นฐานว่า มีห้วงระยะเวลาทำคดีไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งเราใช้ทุกคดี ถ้าเกินจากนั้นก็ต้องมีเหตุผลว่าทำไมยังไง
สรุปก็คือ เราคงไม่ได้จัดลำดับก่อนหลัง แต่เราทำตามความจำเป็น ให้ความสำคัญ เท่ากันหมด ยกตัวอย่างคดีล้มเจ้า เราไม่ได้จับตัวใคร ฉะนั้นก็มีเวลา ในกรอบ 6 เดือน ก็ยังทำงานอยู่ โดยเราจะพิสูจน์ทั้งความผิดและความถูก
@ คดีล้มเจ้าจะใช้เวลานานแค่ไหน
เราตั้งต้น 6 เดือนครับ ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 2 เดือนเศษ
@ เท่าที่ดูก็มีมูลใช่หรือไม่
บางคน บางกลุ่ม
@ ในส่วนคดีเศรษฐกิจ มีเรื่องอะไรสำคัญที่กำลังดำเนินการอยู่บ้าง
อยากให้ดูบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ ซึ่งจะมี 22 ประเภทคดี แล้วบวกอีก 5 ก็คือ ภาษีทั้งหมด รวมเป็น 27 คดี แต่ใน 22 คดี จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงินการธนาคารด้านเศรษฐกิจ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันการเงิน คดีคุ้มครองผู้บริโภค คดีสิ่งแวดล้อม คดีฮั้วประมูล เป็นต้น โดยเฉพาะคดีพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ล่าสุด คือ การสั่งไม่ฟ้องคดีหุ้นชินคอร์ปภาค 2 ฉะนั้น เราทำงานตรงไปตรงมา ถ้าผมเทกไซด์ ผมสั่งฟ้องไปแล้ว ฉะนั้น ต้องว่าไปตามเนื้อผ้า ไม่ผิดก็คือไม่ผิด
@ มีหลายคนคาใจกรณีสั่งไม่ฟ้องทีพีไอ จากการตรวจสอบ หลักฐานและพยานไม่มีจริงๆ หรืออย่างไร
นอกจากเราไม่พบว่าเขาไซฟ่อนแล้ว เรากลับพบว่าเขาทำอย่างตรงไปตรงมา เรื่องนี้ผมตั้งข้อสังเกตว่า ชุดพนักงานสอบสวนชุดเดิมซึ่งเขาก็ลาออกไปแล้ว คดีไม่ได้ตั้งต้นที่คดียุบพรรค แต่ตั้งต้นที่คดีคุณประชัย(เลี่ยวไพรัตน์) เป็นคดีหลัก แต่เขากลับไม่เดินหน้าเรื่องคดีคุณประชัย
เขาไปเดินหน้าเรื่องยุบพรรค จนกระทั่งส่งไปแล้ว แล้วเรื่องคุณประชัยก็แขวนค้างอยู่ ก็มีเสียงพูดว่า ที่ไม่เดินหน้าเพราะว่าไม่ผิด ก็ค้างไว้เลย ซึ่งตอนมาใหม่ๆ ผมก็ได้ยิน(นะ) แต่ก็ฉงนใจเหมือนกันว่า ทำไมไม่ทำคดีหลักให้เสร็จ
@ เป็นไปได้ไหม ที่พนักงานสอบสวนชุดเดิมทำไม่ครบกระบวนการ
พอเปลี่ยนพนักงานสอบสวน เพราะชุดเดิมลาออก ผมไม่ใช่ว่าเอาที่เขาทำมาสั่งไม่ฟ้อง(นะ ) เราทำต่อจนสิ้นกระแสความ เราตั้งชุดใหม่ แล้วผมก็ตั้งพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ รองอธิบดี ดีเอสไอ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ก็สอบสวนจนเสร็จสิ้น พนักงานสอบสวนก็เสนอความเห็นมาว่า ไม่พบการกระทำความผิด และหลักฐานต่างๆ ยังชี้ยืนยันว่ามีการจ้างกันจริง ไม่ใช่ไซฟ่อน ผมก็สั่งตามเขา
พอสั่งไปก็เป็นประเด็น คือ การทำคดีมีทั้งคนถูกใจและไม่ถูกใจ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับความไม่สงบในบ้านเมืองขณะนี้ อยู่ที่ว่าคนไม่ถูกใจแสดงอาการแค่ไหน
@ หมายความว่า คุณประชัย ใช้จ่ายเงินจริง เพื่อให้เครือข่ายภาคใต้ทำโปรโมชั่นปูนทีพีไอ.
ใช่ครับ มีหลักฐาน มีบัญชีงบดุลถูกต้องหมด แต่เราต้องแยกว่า ส่วนเงินที่ได้รับจากการว่าจ้าง ก็อาจจะมีกำไรบ้าง แล้วจะไปสนับสนุนพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งก็อีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกัน ผมก็ไม่ได้ไปทำอะไรกับเรื่องยุบพรรค
เพียงแต่ผมอธิบายว่า ต้นทางคือคดีหลัก ไม่ได้ไซฟ่อนเงิน ก็เท่านั้น แล้วก่อนหน้านี้ คุณประชัยได้ยื่นหนังสือมาเป็นรายละเอียดครบถ้วน
@ ยังมีคดีใหญ่ที่โยงกับคุณทักษิณอีกหรือไม่
น่าจะยังมีอีก
@ จริงๆแล้ว คดีการเมืองคิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของคดีทั้งหมดที่ดีเอสไอกำลังทำอยู่
ที่ผ่านมา เราไม่ได้ทำคดีการเมืองเลย แต่เมื่อเกิดเหตุวิกฤต คณะกรรมการคดีพิเศษยกระดับจากคดีสามัญซึ่งก็สมเหตุสมผลให้มาเป็นคดีพิเศษ เพราะดีเอสไอจะได้สนธิกำลัง ทำร่วมกับอัยการ กับหน่วยงานอีก 13 หน่วยได้ แต่ถ้าให้อยู่กับตำรวจ ตำรวจทำคนเดียว ก็อาจจะช้าและไม่ทันการ
เพียงแต่ดีเอสไอไม่ได้เตรียมการเพื่อทำคดีอย่างนี้ เราออกแบบเพื่อทำคดีเศรษฐกิจ แต่เมื่อคดีอย่างนี้เกิดขึ้น เหมือนทุกคนก็ไม่คาดคิดว่าวิกฤตจะเกิดในบ้าน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องทำ
ฉะนั้น ผมไม่อยากไปเทียบเป็นสัดส่วน เพราะว่ามันเป็นเหตุเฉพาะ เดี๋ยวมันก็เลิกไป แต่ก็ต้องใช้เวลาหน่อย 200 กว่าคดี อาจจะสัก 2 ปีเสร็จ รวมทั้งล้มเจ้าด้วย
แต่ที่เราทำได้ไว ฟ้องก่อร้ายได้ทัน 84 วัน ก็เพราะเป็นคดีพิเศษ ตำรวจก็มาช่วยเรา หน่วยงานความมั่นคง ที่สำคัญคืออัยการ มาทำงานร่วม ก็รับไม้ต่อกันได้เลย ถ้าเราปล่อยให้ตำรวจทำตามลำพัง อาจจะมีปัญหา แต่ไม่ได้หมายความว่าตำรวจไม่มีประสิทธิภาพ(นะ ) แต่ทำตามลำพังคนเดียว ทำไม่ไหวครับ งานอย่างนี้ต้องสนธิกำลังกัน
@ ช่วงเวลาการทำงานของคุณ จะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน
เราเป็นหน่วยบังคับใช้กฎหมาย ผมมีความเห็นว่า ในภาวะบ้านเมืองที่แตกแยกเป็นฝักฝ่าย แล้วยังคงไม่คลี่คลายวิกฤตเสียทีเดียว สิ่งที่ดีที่สุดคือ การปฏิบัติตามกฎหมาย
ในฐานะที่ผมเป็นนักกฎหมายและทำงานด้านนี้ ไม่มีอะไรดีเท่ากับกฎหมาย คือ การบังคับตามกฎหมาย เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือ เป็นบรรทัดฐานของสังคม ถ้าเราบังคับใช้กฎหมายอย่างทั่วถึงตรงไปตรงมา จริงจัง ไม่เพิกเฉย ไม่ใส่เกียร์ว่าง ผมคิดว่าความสงบสุขของสังคมจะกลับมา แล้วก็จะเกิดความเป็นธรรมด้วย
ฉะนั้น ช่วงเวลาที่ผมยังอยู่ในหน้าที่นี้ ผมจะทำงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด คงไม่สามารถจะไป อวดอ้าง หรือเนรมิต บันดารอะไร คงไม่ใช่ แล้ววิธีทำงานที่ดีที่สุดของผมก็คือ การทำตามกฎหมาย บุคคลากรของเราก็ทุ่มเทและเสียสละ
ผมจะพูดในที่ประชุมเสมอว่า เรื่องความรักชอบทางการเมือง เป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญซึ่งเราไม่ห้าม ใครจะชอบสีอะไร พรรคไหนก็ว่ากันไป แต่เมื่อทำงานแล้วต้องเป็นมืออาชีพ แยกความรักชอบออก ถ้านำมาปนกับการทำงาน การดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ในฐานะพนักงานสอบสวนก็จะเสียไป
ผมเห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่เราโดยเฉพาะคดีความไม่สงบที่เกิดขึ้น ผมเชื่อว่าเขา ได้ตั้งใจทุ่มเท และทำงานอย่างตรงไปตรงมา ผมเคยพูดว่าอาจจะมี 4-5 % ที่อาจจะดูเป๊ บ้างก็เป็นธรรมดาในองค์กร แต่ก็มีไม่มากหรอกครับ
@ แต่ก็ไม่ได้หวั่นไหวกับเสียงวิจารณ์จากพรรคเพื่อไทยและ การข่มขู่เอาชีวิต
ผมคิดว่า หน้าที่หน่วยบังคับใช้กฎหมาย ที่ต้องรับผิดชอบงานคดีอย่างนี้ มันก็เป็นภาระที่ใครก็ตามที่มารับผิดชอบ ก็ต้องทำอย่างนี้ ขืนไม่ทำงานสิครับ จะมีปัญหาว่าเราละเว้นการทำงาน ฉะนั้น เราต้องทำงานของเรา ให้ดีที่สุด ส่วนการจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ ก็เป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี ยังไงเขาก็ไม่ชอบอยู่แล้ว เมื่อก่อนอาจจะแค่บุคคล แต่เดี๋ยวนี้ขยายไปยังพรรคการเมืองซึ่งเป็นสถาบันตามระบอบประชาธิปไตย ก็ดูจะเป็นเรื่องใหญ่โต
คำว่าใหญ่โตของผม คือ เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคม ที่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งจะมาดิสเครดิต ตอนนี้ก็โดนกันเต็มๆ ไม่ว่าจะดีเอสไอ อัยการ จะเปิดเผยกำพืด ไปกันใหญ่โตเลย แต่ก็เข้าใจได้ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น
@ แต่ก็มีการแฉเรื่องส่วนตัวคุณ
ก็ไม่เป็นไรครับ ผมคิดว่า ในภาวะที่บ้านเมือง ไม่ปกติ โดยเฉพาะเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีครอบครัวที่โชคร้ายสูญเสียสมาชิก ถูกเผากิจการ บาดเจ็บล้มตายมากมาย ฉะนั้น ถ้าเทียบกันแล้ว ครอบครัวผมได้รับผลกระทบน้อยมาก
ส่วนเรื่องความจริง ผมกับภรรยาก็จะพิสูจน์ในศาลดีที่สุด ดีกว่ามาโต้ทางสื่อ อยากเรียนว่า ถ้ามันเป็นเรื่องการรับเงินไม่ถูกต้อง ไม่มีใคร เอาเข้าบัญชีหรอกครับ แสนกว่าบาท(เนี่ย) มาเข้าบัญชีทำไม แล้วเรื่องก็เกิดขึ้น 2 ปีกว่าแล้ว ทำไมถึงมาตอนนี้ แล้วไปจับขั้วกับ พรรคการเมืองที่อยู่ในข่ายการถูกกล่าวหาว่าก่อการร้าย
@ ระมัดระวังตัวในการใช้ชีวิตมากขึ้นไหม
เป็นธรรมดาครับ ในสถานการณ์และการข่าวอย่างนี้ เป็นการข่าวของเราเอง และหน่วยงานความมั่นคงก็เตือนมา ผมก็มีหน้าที่ปฏิบัติตนตามที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยเขากำหนดอย่างเคร่งครัด หรือเรียกว่าเป็นเด็กดี
เขาไม่ให้ไปที่ไหน ไม่ให้ทำอะไร ก็ต้องเชื่อฟังเขา เจ้าหน้าที่จะได้ทำงานไม่ลำบาก บางทีใช้โทรศัพท์ อยู่ในพื้นที่อันตราย เขาก็จะเปิดแจมเมอร์ โทรศัพท์ผมก็ถูกตัดไปเลย จะไปว่าเขาก็ไม่ได้ เพราะเป็นงานของเขา ก็ต้องเชื่อฟังเขา
@ กลัวตายมากไหม
ผมเป็นปุถุชน จะบอกว่า ไม่กลัวเลยก็คงโกหก ฉะนั้นก็มีบ้าง แต่ก็ไม่ได้ท้อถอย แล้วก็คิดว่างานก็ต้องทำต่อไป กลัวไปก็ไม่รู้จะทำยังไง เพราะต้องทำงาน ก็ไม่เป็นไร มีผู้ใหญ่ เพื่อนฝูงให้พระดีๆ มาคล้อง (หัวเราะ)
เดิมผมคล้องพระอยู่ 3 องค์ มีหลวงปู่ทวด มีพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดบางขุนพรหม แล้วก็พระพระซุ้มกอ แล้วก็มีเพื่อนสนิทให้พระหูยาน ลพบุรี มาอีกหนึ่งองค์ แล้วน้าชายก็ให้พระรอดมาอีก 1 องค์ รวมเป็น 5 องค์
@ ทำงานกับนายกฯอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) เป็นยังไงบ้าง
ท่านก็ให้ความเมตตา ถามว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไร ท่านก็ช่วยดูแล เรื่องอัตรากำลังต่างๆ ในฐานะผู้บังคับบัญชาต่างๆ ท่านก็ดูแลเรา
@ อะไรคือความยากลำบากในการทำคดีการเมือง
ยากลำบากตอนที่คดียังไม่เข้ามาในมือ ยากลำบากตอนที่เป็นกรรมการศอฉ. ความยากลำบากก็คือ ต้องขบคิดตลอดว่าทำยังไงเหตุการณ์ถึงจะสงบ และความสูญเสียเกิดน้อยที่สุด
ทุกคนล่ะครับ ไม่ใช่เฉพาะผม และข้อกล่าวหาที่ว่า ดีเอสไอ ตามอัยการก็ตาม อยู่ในศอฉ. ก็อยู่ในศอฉ.หมดล่ะครับ หน่วยงานความมั่นคง เพราะเป็นเรื่องความไม่สงบในบ้านเมือง หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายก็ต้องไปช่วยกัน เป็นโครงสร้างกฎหมายอยู่แล้ว
@ ได้ข่าวว่าคุณมีพระอาจารย์ดี คอยดูฤกษ์ยาม
คงไม่ใช่หรอกครับ(หัวเราะ) มติชน ออนไลน์ เขียนว่า มีหมอดู 3 คน ผมก็นึกว่าเขาเอาไปดูให้ผม ไม่ใช่หรอกครับ
@ มีข้อครหาว่า ดีเอสไอรับใช้การเมือง จะชี้แจงอย่างไร
ผมอยากจะเรียนว่า การทำงานในดีเอสไอ เป็นงานในรูปคณะกรรมการ ไม่ได้ทำคนเดียว ใบสั่งมันสั่งกันไม่ไหวหรอกครับ ทุกคนมีอิสระในการทำงานของตัวเอง ที่ผ่านมา ผมยืนยันว่า การเมืองไม่ได้แทรกแซง แต่ผมมีจุดอธิบายว่า เราต้องยอมรับว่า บุคคลในการเมืองบางคน จะมีแผล คือ กระทำความผิดติดตัวไว้
ยกตัวอย่างว่า ถ้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง มาแจ้งความกับดีเอสไอ ให้ไปดำเนินคดีกับอีกพรรคหนึ่งว่าทำผิด แล้วคนนั้นทำผิดจริง ดีเอสไอก็ต้องไปจัดการ อย่างนี้ดีเอสไอถูกใช้เป็นเครื่องมือมั๊ย ผมว่าไม่ใช่นะ
ฉะนั้น จุดนี้เป็นจุดที่ดีเอสไอ รับภาระ คือต่างฝ่ายต่างก็ มีแผล ก็จะมาร้องทุกข์เรา เราก็ตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบก็เจอ เจอเราก็จัดการ ส่งฟ้องอัยการ จับกุม ก็จะถูกครหาว่าใช้ดีเอสไอเป็นเครื่องมือไปแกล้ง ไม่ใช่แกล้งหรอกครับ แต่เพราะผิด
การใช้เป็นเครื่องมันต้องเอาไปแกล้ง เขาไม่ผิด แล้วเอาข้อหาไปยัดเขาให้เขาผิด อย่างนี้แกล้ง ซึ่งไม่มีครับ แต่อย่างที่เรียนว่า ไม่ต้องไปแกล้งหรอก เพราะต่างฝ่ายต่างมีเรื่องผิดกันทั้งนั้น
@ ดีเอสไอจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเมืองหรือไม่
ผมยอมรับว่า บทบาทอธิบดีดีเอสไอ มีบทบาทสูง ถ้าตัวอธิบดี มีความตั้งใจที่จะแกว่งไปตามการเมืองก็อยู่ในวิสัยที่เป็นได้ มันเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ซึ่งจะเป็นหรือไม่อย่างไ รคงพูดไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องอนาคต และขึ้นอยู่กับการเมืองด้วยว่าจะลงมาวุ่นวายมากน้อยแค่ไหน
แต่สำหรับผม ที่ทำงานมาจะครบ 1 ปี ผมยืนยันว่าฝ่ายการเมืองที่มีแกนนำเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยมาวุ่นวายกับผม ผมทำงานโดยเสรี ถ้าเราไม่วางตัวอย่างที่ควรจะเป็น ก็จะทำงานลำบาก แล้วการเมืองก็ไม่เคยมาสั่งผม ว่าเรื่องไหนต้องฟ้องหรือไม่ฟ้อง ไม่มีครับ
@ ในอนาคต มีการพูดถึงความเป็นองค์อิสระของดีเอสไอหรือเปล่า
ผมกลับมองว่า เรื่องนี้ขึ้นกับการเมือง เพราะฝ่ายการเมืองกำกับดูแลภาครัฐเยอะมาก ถ้าเราจะไปสร้างเกราะป้องกันองค์กร คงไม่ไหว แต่ถ้าเราได้นักการเมืองที่มีสปิริต ตั้งใจบริหารการเมืองที่ดี แล้วก็ไม่แทรกแซงระบบงานยุติธรรม บ้านเมืองจะไปได้ดี ผมเสนอให้แก้ที่การเมืองดีกว่า แต่นั่นเป็นโจทย์ที่ใหญ่มากสำหรับบ้านเมือง
**********************************************************************
วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ปุจฉาเปิดผนึกถึงพระไพศาล วิสาโล: ต้องปฏิรูป “อัตตาธิปไตย” หรือ “ปูชนียะบุคลลาธิปไตย?
ภัควดี ไม่มีนามสกุล
หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านบทสัมภาษณ์ของพระไพศาล วิสาโล ที่มีชื่อว่า “พระไพศาล วิสาโล: ปฏิรูปอัตตาธิปไตย – ‘อภิสิทธิ์’ ต้องกล้านำความเปลี่ยนแปลง” แล้ว ผู้เขียนเกิดความข้องใจและไม่สบายใจเป็นอย่างมาก เพราะหากพระไพศาล วิสาโลให้สัมภาษณ์ในฐานะของกรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ผู้เขียนก็เห็นว่า จุดยืน ท่าทีและทัศนคติดังที่พระไพศาลได้แสดงออกมาในบทสัมภาษณ์นี้ หากสะท้อนไปถึงจุดยืน ท่าทีและทัศนคติของคณะกรรมการปฏิรูปฯ ด้วยแล้ว คณะกรรมการชุดนี้ก็คงเหมือนดังเช่นคณะกรรมการชุดอื่น ๆ ที่มีมาในประเทศไทย นั่นคือ ล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น
ก่อนอื่น เนื่องจากพระไพศาลมิใช่บุคคลทั่วไปในสังคมไทย แต่มีฐานะพิเศษในสถานะของ “พระภิกษุ” ซึ่งพุทธศาสนิกมีข้อผูกมัดต้องให้การเคารพ ทว่าเนื่องจากผู้เขียนมิใช่ผู้นับถือศาสนา ผู้เขียนจึงไม่มีข้อผูกมัดในทางศาสนาและความเชื่อที่จะต้องให้ความเคารพต่อพระภิกษุเป็นพิเศษเหมือนดัง เช่น ศาสนิกชนทั่วไป แน่นอน ผู้เขียนมีข้อผูกมัดในทางสังคมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่พึงให้ความเคารพต่อพระไพศาลในฐานะผู้อาวุโสกว่าและในฐานะมนุษย์ ซึ่งผู้เขียนก็จะให้ความเคารพตามข้อผูกมัดนี้ ไม่น้อยกว่านี้และไม่มากไปกว่านี้ ดังนั้น หากจะมีผู้อ่านท่านใดมาวิพากษ์วิจารณ์ด่าว่าผู้เขียน โดยยกเอาบาปกรรมนรกมายัดเยียดให้ ย่อมเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะผู้เขียนมิได้มีข้อผูกมัดในทางศรัทธาความเชื่อ อุปมาดั่งหนึ่งเอาจริตมารยาทของมนุษย์ไปใช้กับช้าง ย่อมเป็นเรื่องน่าหัวเราะ
การนำแนวคิดทางศาสนามาประยุกต์ใช้กับสังคมนั้น มีปัญหาที่มักถูกมองข้ามไปสองประการ ประการแรก เนื่องจากศาสนาเป็นเรื่องที่เน้นการวิเคราะห์แก้ปัญหาของตัวบุคคล เมื่อพยายามขยายแนววิธีคิดของศาสนามาใช้กับสังคม โดยเฉพาะสังคมสมัยใหม่ ย่อมมีปัญหามาก จริงอยู่ ศาสนาทุกศาสนาย่อมกล่าวอ้างอิงถึงสังคมไม่มากก็น้อย แต่เนื่องจากศาสนาเกิดขึ้นมานานแล้ว การนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมสมัยใหม่ที่ซับซ้อนจึงมักมีปัญหามากพอสมควร ประการที่สอง การนิยามของ “ความดี” “ความชั่ว” “ความจริง” ของศาสนา ถ้าไม่เป็นไปตามคัมภีร์ทางศาสนาที่มีอยู่ ก็มักต้องอาศัยผู้รู้ทางศาสนาไม่กี่คนมาเป็นผู้นิยาม เมื่อนำนิยามนั้นมาใช้กับคนทั้งสังคม ซึ่งก็มีทั้งผู้นับถือศาสนาอื่น ผู้นับถือนิกายอื่น ผู้ไม่นับถือศาสนา ฯลฯ ปะปนอยู่ การต่อต้านย่อมเกิดขึ้น ลงท้ายแล้ว การพยายามขยายนิยามของศาสนามาใช้กับสังคมก็มักไปกันไม่ได้กับระบอบประชาธิปไตย
การเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก โดยละเลยปัญหาเชิงโครงสร้าง หรืออย่างมากก็กล่าวถึงโดยผิวเผิน แต่ขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงนั้น เป็นประเด็นที่เห็นได้ชัดในบทสัมภาษณ์ของพระไพศาล เริ่มต้นมาท่านก็กล่าวไว้ชัดเจนเลยว่า ความขัดแย้งทั้งหมดมีทักษิณเป็นศูนย์กลาง (ซึ่งท่านไม่ได้ขยายความว่า คำว่า “ศูนย์กลาง” นี้หมายถึง “สาเหตุ” “ต้นตอ” “ตัวการ” กินความมากน้อยแค่ไหน) จากนั้นท่านก็ยกบุคคลดัง ๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ ทั้งพลเอกเปรม นายอภิสิทธิ์ เนลสัน แมนเดลา เฟรเดอริก เดอ เคลิร์ก จิมมี คาร์เตอร์ อันวาร์ ซาดัต ฯลฯ กล่าวถึงบทบาทที่คนเหล่านี้กระทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยใช้วาทกรรมที่มุ่งเป้าเกี่ยวกับตัวบุคคลเป็นหลัก เช่น ความรัก ความเข้าใจ การไว้วางใจกัน การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ตัวกูของกู อัตตาธิปไตย ฯลฯ
ผู้เขียนอ่านแล้วสงสัยว่า แล้วประชาชนอยู่ตรงไหน?
ในจักรวาลทางสังคมของพระไพศาลนั้น ประชาชนเป็นแค่คำคำหนึ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีความคิด ไม่มีเลือดเนื้อลมหายใจ ไม่มีชื่อ ไม่มีฐานะ โง่เง่าต่ำหยาบ คิดแต่หาประโยชน์ใส่ตัว คนเหล่านี้ถูกปิศาจร้ายตัวหนึ่งชื่อทักษิณหลอกล่อจูงจมูกจนรู้จักอวดอ้างสิทธิ เรียกร้องหาการเปลี่ยนแปลงที่ “อาตมาไม่แน่ใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจริงหรือเปล่า?” สรุปว่าประชาชนเหล่านี้ย่อมไม่มีทางที่จะรู้ว่าอะไร “ดี” สำหรับตัวเอง ไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ต้องรอบุคคลดัง ๆ ปูชนียะบุคคลเด่น ๆ มาคุยกันสบาย ๆ ในห้องบรรยากาศดี ๆ แล้วปัญหาร้ายกาจทุกอย่างก็จะคลี่คลายได้ทันที ประดุจดังแฮร์รี พอตเตอร์เอาไม้กายสิทธิ์มาโบกก็ไม่ปาน
สิ่งที่พระไพศาลมองไม่เห็นก็คือ กว่าเนลสัน แมนเดลาจะมีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับเดอ เคลิร์กนั้น เขาไม่ได้ต่อสู้มาคนเดียว เบื้องหลังเขาคือคนผิวดำไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนคน มีทั้งจับอาวุธลุกขึ้นสู่กับรัฐบาลเหยียดผิว เช่น ขบวนการ African National Congress (ANC) ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อนเนลสัน แมนเดลาและตัวแมนเดลาเองก็เป็นสมาชิกและกลายมาเป็นผู้นำคนหนึ่งของขบวนการฝ่ายซ้ายนี้ ยังไม่นับแรงงานและผู้หญิงอีกจำนวนนับไม่ถ้วนที่ลุกขึ้นต่อสู้ด้วยการนัดหยุดงาน ประท้วง เดินขบวน ดื้อแพ่ง ฯลฯ เสียชีวิตเลือดเนื้อน้ำตากันไปเท่าไร หากไม่มีประชาชนที่ต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหล่านี้ แมนเดลาจะเอาอำนาจอะไรไปเจรจาต่อรองกับเดอ เคลิร์ก? เป็นไปได้หรือที่อยู่ดี ๆ ชนชั้นนำผิวขาวของแอฟริกาใต้จะเกิดดวงตาเห็นธรรมหรือแมนเดลาใช้อำนาจวิเศษบุญบารมีของตัวมาดลบันดาลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้?
หากพระไพศาลศึกษาประวัติศาสตร์ให้ลึกซึ้งกว่านี้ ท่านจะทราบว่าทุกการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าบนโลกใบนี้ ล้วนมีประชาชนผู้หยาบกร้านสละชีวิตทำให้มันเกิดขึ้นทั้งสิ้น ไม่มีซากศพหรือจะมีวีรบุรุษ? ไม่มีสามัญชนหรือจะมีปูชนียะบุคคล? ไร่นาบ้านเมืองนั้นแผ้วถางสร้างขึ้นจากมือของประชาชนทั้งสิ้น แม้แต่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ยังเสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาก่อน
จริงอยู่ พระไพศาลได้พูดถึง “การกระจายอำนาจ” อยู่บ้าง แต่ก็พูดเหมือนเป็นสูตรสำเร็จที่ใคร ๆ ก็พูดกัน มิหนำซ้ำในบทสัมภาษณ์ยังตั้งเงื่อนไขแฝงไว้หลายอย่าง เช่น ไม่ควรใช้แนวทางประชานิยม เป็นต้น พระไพศาลคงไม่เข้าใจว่า คำว่า “การกระจายอำนาจ” นั้น หมายรวมถึงการยอมรับใน “การกำหนดชะตากรรมตัวเอง” (self-determination) ของประชาชนด้วย หากพระไพศาลในฐานะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยยังไม่ยอมรับใน “การกำหนดชะตากรรมตัวเอง” ของประชาชนหรือไม่แน่ใจว่า “สิ่งที่เขาเรียกร้องอยู่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงหรือเปล่า” แล้วท่านจะ “ไว้ใจ” ประชาชนด้วยการกระจายอำนาจให้อย่างแท้จริงได้อย่างไร หรือจะกั๊ก ๆ อำนาจไว้ให้ปูชนียะบุคคลกลุ่มเล็ก ๆ มาคอยกำหนดชะตากรรมให้ประชาชนตามนิยามแห่ง “ความดี” “ความงาม” “ความจริง” ที่ลิขิตจากเบื้องบนลงมาสู่เบื้องล่าง?
หากมองไม่เห็นประชาชนที่มีตัวตน หากไม่เคารพในความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีของพวกเขาอย่างเท่าเทียม หากจำได้แค่ชื่อและบทบาทของปูชนียะบุคคลเด่นดัง แต่มองไม่เห็นหัวประชาชน วาทกรรมสวยหรูประเภท “กระจายอำนาจ” “การพัฒนาจากล่างขึ้นบน” “กลับไปสู่ชุมชน” ฯลฯ สุดท้ายแล้วก็เป็นแค่วาทกรรมที่ท่องตาม ๆ กัน หาสาระอันใดไม่ได้
จากจุดยืนและทัศนคติในแบบ “ปูชนียะบุคคลาธิปไตย” นี่เอง ทำให้มีสิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปอย่างน่าประหลาดในคำให้สัมภาษณ์ของพระไพศาล สิ่งที่ขาดหายไปนั้นก็คือ ความตายของ 91 ศพในเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต พระไพศาลไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เลย ไม่ได้เอ่ยถึงว่าจะแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร จะเยียวยาอย่างไร จะปรองดองอย่างไร ราวกับ 91 ศพนั้นไม่ดำรงอยู่ ไม่มีตัวตน ไม่มีใบหน้า ไม่มีชื่อ
เพราะพวกเขาเป็นแค่ประชาชนกระมัง ไม่ใช่ปูชนียะบุคคล พวกเขาจึงไม่อยู่ในพิกัดเรดาร์ความรับรู้ของท่าน
แต่การมีคนตายเกือบร้อย บาดเจ็บอีกหลายพัน เกิดขึ้นกลางกรุงเทพฯ ยังไม่นับคนจำนวนมากที่ถูกฆ่าจับกุมคุมขังอีกไม่รู้เท่าไรตามต่างจังหวัด เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มันไม่ใช่เหตุการณ์ปรกติที่พึงเกิดในสังคมอารยะ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะให้ปฏิบัติเหมือนหมาตัวหนึ่งตายกลางถนนได้อย่างไร? จะให้ขับรถต่อไปโดยไม่หันไปมองเพราะกลัวอุจาดตาได้อย่างไร? เมื่อความผิดเกิดขึ้น ก็ต้องมีการแก้ไขและมีการรับผิด จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น แล้วบอกให้สังคมไทยเดินหน้าโดยยึดมั่นในหลักแห่งศาสนา ผู้เขียนไม่ทราบว่าท่านเห็นทั้งหมดนี้เป็นเรื่องตลกหรือ?
มีคำ ๆ หนึ่งที่พระไพศาลใช้ในคำให้สัมภาษณ์คือคำว่า “กระจายความรัก” ผู้เขียนอ่านแล้วให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจยิ่งนัก เพราะพาลให้นึกถึงละครไทยที่ตัวละครด่าทอตบตีข่มขืนฆ่ากันมาตลอดเรื่อง แล้วจู่ ๆ ตอนจบทุกคนก็หันมารักกันกอดกัน Together We Can
ชีวิตจริงย่อมไม่เหมือนละครไทย ท่านจะให้คุณพ่อของน้องสมาพันธ์ ศรีเทพ คุณแม่ของคุณกมลเกด อัคฮาด พี่ชายของคุณมงคล เข็มทอง ภรรยาของคุณลุงบุญมี เริ่มสุข และคนอื่น ๆ อีกเกือบร้อยคน มา “กระจายความรัก” ให้ฆาตกรที่ฆ่าบุคคลอันเป็นที่รักของเขา มันจะเป็นไปได้อย่างไร? ให้อภัยย่อมเป็นไปได้ แต่จะให้ลืมแล้วมากอดกันหน้าชื่น ย่อมสุดวิสัยของมนุษย์
การ “กระจายความรัก” แบบนั้นยังมีข้ออันตรายอยู่ในตัวเองด้วย เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น แทนที่จะเรียกร้องให้มีการรับผิด กลับเรียกร้องให้ลืมและให้อภัยกัน นี่ไม่เท่ากับเป็นการให้ท้ายอาชญากรรมหรอกหรือ? หากมีคนมาฆ่าบิดามารดาของท่านตาย ถึงแม้ท่านให้อภัยได้ กระจายความรักได้ แต่ฆาตกรผู้นั้นย่อมต้องมีความผิดตามกฎหมายกระบิลเมืองอยู่ดี (ยกเว้นกฎหมายกระบิลเมืองไม่มีต่อไปแล้วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) นี่ไม่ใช่เรื่องที่ปัจเจกบุคคลจะมาตัดสินเอาตามความพอใจของตน แต่เป็นเรื่องกฎกติกาของสังคมที่ต้องรักษาไว้
ในหลาย ๆ กรณี “การกระจายความรัก” ไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย มิหนำซ้ำจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้เลวร้ายลงกว่าเดิม ทำให้บ้านเมืองไร้ขื่อแป อาชญากรย่ามใจ ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม ทำอะไรผิด ๆ ชั่ว ๆ มาอย่างไรก็ทำผิด ๆ ชั่ว ๆ กันต่อไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ประเด็นต่อมาเป็นเรื่องที่ลูกสาวของผู้เขียนตั้งคำถามถามต่อผู้เขียน และผู้เขียนขอนำมาถามพระไพศาลต่ออีกทอดหนึ่ง ลูกสาวของผู้เขียนได้ตั้งคำถามว่า ทำไมพระไพศาลสามารถออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเช่นนี้ได้โดยไม่มีความผิด แล้วทำไมเมื่อพระชาวบ้านบางรูปแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หรือเพียงแค่อยู่ในที่ชุมนุมของคนเสื้อแดง ทำไมพระเหล่านั้นจึงมีความผิด?
คำถามนี้ผู้เขียนไม่สามารถตอบได้ เพราะมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านศาสนาและกิจของสงฆ์
แต่คำถามที่ผู้เขียนไม่เข้าใจและอยากตั้งคำถามต่อพระไพศาลก็คือ ในเมื่อการสอบสวนความตายของ 91 ศพที่ดีเอสไอเป็นผู้รับผิดชอบ ยังไม่มีผลสรุปออกมาอย่างแน่ชัด เหตุใดพระไพศาลจึงออกมารับรองความชอบธรรมในการเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอย่างออกหน้าออกตาขนาดนั้น?
พระไพศาลได้กล่าวถึงนายอภิสิทธิ์ว่า “คุณอภิสิทธิ์มีความกล้าหาญระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ได้แสดงออกเท่าที่ควร โดยเฉพาะในยามวิกฤติ” “คนอย่างคุณอภิสิทธิ์ ซึ่งมีสติปัญญา ถ้าสามารถสร้างแนวร่วมได้มากพอ ก็อาจจะมีกำลังพอที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูป แม้จะไม่ถูกใจผู้มีอำนาจ แต่เท่าที่ทราบคุณอภิสิทธิ์ไม่ค่อยสนใจหาแนวร่วมเท่าไร” “อาตมาคิดว่าคุณ อภิสิทธิ์ อาจมีวิสัยทัศน์ไกล แต่อาจจะอยู่ท่ามกลางกลุ่มผู้มีอำนาจที่สายตาสั้น คุณอภิสิทธิ์ก็ต้องหาพวก สร้างแนวร่วมที่อาจจะพอทัดทานกลุ่มอำนาจเดิม และสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเรื่องเป็นราวกว่านี้”
คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่หูไม่หนวกตาไม่บอด ไม่ได้ปัญญาอ่อน ไม่ได้เด็กทารกเกินไปหรือเฒ่าชราเกินไป ไม่ได้เจ็บป่วยจนไม่รับรู้เรื่องราว เกือบทุกคนย่อมทราบดีว่า คนเสื้อแดงตั้งข้อกล่าวหาว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมีส่วนต้องรับผิดต่อความตาย 91 ศพที่เกิดขึ้น ความรับผิดนั้นจะมีมากน้อยแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตราบใดที่ยังไม่มีการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนายอภิสิทธิ์ออกมาอย่างชัดเจน ก็ยังต้องถือว่านายอภิสิทธิ์เป็นคู่ขัดแย้งของคนเสื้อแดงอยู่
การที่พระไพศาล วิสาโล ทั้งในฐานะพระปัญญาชนแถวหน้าของประเทศและในฐานะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ออกมาให้สัมภาษณ์รับรองนายอภิสิทธิ์ถึงขนาดนี้ (ถึงจะวิจารณ์อยู่บ้าง แต่ใครที่อ่านหนังสือออก ย่อมอ่านแล้วเข้าใจทันทีในความหมายว่า นายอภิสิทธิ์ดีพอที่จะเป็นผู้นำประเทศ) จะให้ผู้อ่านคิดว่าพระไพศาลเลือกข้างแล้ว? ใช้สถานะของสงฆ์มาเอื้อประโยชน์ทางการเมือง? คณะกรรมการปฏิรูปไม่มีความเป็นกลาง? อันที่จริง หากพระไพศาลต้องการจะชมเชยนายอภิสิทธิ์อย่างไร ก็ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ไว้รอให้ดีเอสไอสรุปผลชันสูตรศพออกมาชัด ๆ ก่อนก็ได้ กระนั้นก็ควรคำนึงถึงสถานภาพและหัวโขนของตนด้วย มิฉะนั้นแล้ว แทนที่จะทำให้บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น กลับจะยิ่งเป็นการผลักคนเสื้อแดงออกไปและตอกย้ำข้อวิจารณ์เรื่องสองมาตรฐานยิ่งกว่าเดิม
ประเด็นสุดท้ายที่ผู้เขียนอยากกล่าวถึงก็คือ เป็นเรื่องดีที่พระไพศาลเอ่ยถึงกองทัพและการปฏิวัติรัฐประหารว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ผู้เขียนอยากเสนอความคิดว่า ความเกลียดกลัวทักษิณอย่างเกินกว่าเหตุและไร้สติ จนราวกับทักษิณเป็นปิศาจร้ายนั้น ทำให้ฝ่ายตรงข้ามของทักษิณไปปลุกผีสร้างปิศาจอีกตนหนึ่งขึ้นมาเพื่อหวังจะใช้กำราบทักษิณ กองทัพก็คือปิศาจร้ายอีกตนนั่นเอง เมื่อกองทัพออกจากหม้อแม่นาคมาแล้ว ก็ยากจะยอมกลับลงไปอีก คราวนี้แทนที่สังคมไทยจะมีปิศาจตนเดียว ก็เลยกลายเป็นมีปิศาจเพิ่มเป็นสองตน นี่ยังไม่นับปิศาจที่มองไม่เห็นอีกตนหนึ่ง รวมกันแล้วกลายเป็นปิศาจสามตน (มองเห็นสอง มองไม่เห็นหนึ่ง) สร้างความยุ่งขิงอีนุงตุงนังให้แก่บ้านเมืองเรายิ่งนัก
ผู้เขียนเองก็เป็นผู้หนึ่งที่แต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยชอบทักษิณ ไม่ชอบมาตั้งแต่เขาอยู่พรรคพลังธรรมของจำลอง ศรีเมืองด้วยซ้ำ ผู้เขียนไม่ชอบเขามาก ๆ ถึงขนาดชิงชัง เรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนไม่เคยเล่าให้คนนอกครอบครัวฟังก็คือ ทุกครั้งที่ผู้เขียนได้ยินเสียงเขาทางวิทยุตอนเช้า ๆ ผู้เขียนจะมีอาการปวดท้องอยากเข้าห้องส้วมทุกทีไป ที่เอามาเล่านี่ไม่ใช่อยากจะตลกหยาบโลน แต่ต้องการให้เห็นภาพว่าผู้เขียนไม่ชอบเขามากขนาดไหน
แต่การที่ผู้เขียนเกลียดขี้หน้าทักษิณ ไม่ชอบพวกแกนนำเสื้อแดง ไม่เห็นด้วยกับการไปตั้งป้อมค่ายชุมนุมที่ราชประสงค์หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ผู้เขียนก็ไม่เห็นว่า ความเกลียดหรือความไม่เห็นด้วยนี้จะเป็นเหตุอันควรที่ผู้เขียนพึง ลดบรรทัดฐานทางจริยธรรม ของตัวเองจนยอมรับการฆ่าเพื่อนมนุษย์ตายอย่างไร้เหตุผลเช่นนี้ ผู้เขียนคิดว่าเราไม่ควรปล่อยให้ความเกลียดความกลัวมาครอบงำจน ไม่มีสติ และปล่อยให้ มาตรฐานทางศีลธรรม ของเราบิดเบือนไป เราไม่ควรสู้กับความกลัวด้วยการสร้างความกลัวที่มากกว่า เราไม่ควรสู้กับปิศาจด้วยการสร้างปิศาจอีกตนขึ้นมา (อย่าลืมว่าเรามีปิศาจที่มองไม่เห็นด้วย) เราไม่ควรสู้กับความไร้เหตุผลด้วยความไร้เหตุผลที่บัดซบกว่าเดิม และเราต้องไม่ยอมลดบรรทัดฐานทางจริยธรรมของตนเองลง ไม่ว่าเราเป็นผู้มีศรัทธาในศาสนาหรือไม่ก็ตาม
ที่มา.ประชาไท
-------------------------------------------------------------------------
หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านบทสัมภาษณ์ของพระไพศาล วิสาโล ที่มีชื่อว่า “พระไพศาล วิสาโล: ปฏิรูปอัตตาธิปไตย – ‘อภิสิทธิ์’ ต้องกล้านำความเปลี่ยนแปลง” แล้ว ผู้เขียนเกิดความข้องใจและไม่สบายใจเป็นอย่างมาก เพราะหากพระไพศาล วิสาโลให้สัมภาษณ์ในฐานะของกรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ผู้เขียนก็เห็นว่า จุดยืน ท่าทีและทัศนคติดังที่พระไพศาลได้แสดงออกมาในบทสัมภาษณ์นี้ หากสะท้อนไปถึงจุดยืน ท่าทีและทัศนคติของคณะกรรมการปฏิรูปฯ ด้วยแล้ว คณะกรรมการชุดนี้ก็คงเหมือนดังเช่นคณะกรรมการชุดอื่น ๆ ที่มีมาในประเทศไทย นั่นคือ ล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น
ก่อนอื่น เนื่องจากพระไพศาลมิใช่บุคคลทั่วไปในสังคมไทย แต่มีฐานะพิเศษในสถานะของ “พระภิกษุ” ซึ่งพุทธศาสนิกมีข้อผูกมัดต้องให้การเคารพ ทว่าเนื่องจากผู้เขียนมิใช่ผู้นับถือศาสนา ผู้เขียนจึงไม่มีข้อผูกมัดในทางศาสนาและความเชื่อที่จะต้องให้ความเคารพต่อพระภิกษุเป็นพิเศษเหมือนดัง เช่น ศาสนิกชนทั่วไป แน่นอน ผู้เขียนมีข้อผูกมัดในทางสังคมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่พึงให้ความเคารพต่อพระไพศาลในฐานะผู้อาวุโสกว่าและในฐานะมนุษย์ ซึ่งผู้เขียนก็จะให้ความเคารพตามข้อผูกมัดนี้ ไม่น้อยกว่านี้และไม่มากไปกว่านี้ ดังนั้น หากจะมีผู้อ่านท่านใดมาวิพากษ์วิจารณ์ด่าว่าผู้เขียน โดยยกเอาบาปกรรมนรกมายัดเยียดให้ ย่อมเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะผู้เขียนมิได้มีข้อผูกมัดในทางศรัทธาความเชื่อ อุปมาดั่งหนึ่งเอาจริตมารยาทของมนุษย์ไปใช้กับช้าง ย่อมเป็นเรื่องน่าหัวเราะ
การนำแนวคิดทางศาสนามาประยุกต์ใช้กับสังคมนั้น มีปัญหาที่มักถูกมองข้ามไปสองประการ ประการแรก เนื่องจากศาสนาเป็นเรื่องที่เน้นการวิเคราะห์แก้ปัญหาของตัวบุคคล เมื่อพยายามขยายแนววิธีคิดของศาสนามาใช้กับสังคม โดยเฉพาะสังคมสมัยใหม่ ย่อมมีปัญหามาก จริงอยู่ ศาสนาทุกศาสนาย่อมกล่าวอ้างอิงถึงสังคมไม่มากก็น้อย แต่เนื่องจากศาสนาเกิดขึ้นมานานแล้ว การนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมสมัยใหม่ที่ซับซ้อนจึงมักมีปัญหามากพอสมควร ประการที่สอง การนิยามของ “ความดี” “ความชั่ว” “ความจริง” ของศาสนา ถ้าไม่เป็นไปตามคัมภีร์ทางศาสนาที่มีอยู่ ก็มักต้องอาศัยผู้รู้ทางศาสนาไม่กี่คนมาเป็นผู้นิยาม เมื่อนำนิยามนั้นมาใช้กับคนทั้งสังคม ซึ่งก็มีทั้งผู้นับถือศาสนาอื่น ผู้นับถือนิกายอื่น ผู้ไม่นับถือศาสนา ฯลฯ ปะปนอยู่ การต่อต้านย่อมเกิดขึ้น ลงท้ายแล้ว การพยายามขยายนิยามของศาสนามาใช้กับสังคมก็มักไปกันไม่ได้กับระบอบประชาธิปไตย
การเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก โดยละเลยปัญหาเชิงโครงสร้าง หรืออย่างมากก็กล่าวถึงโดยผิวเผิน แต่ขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงนั้น เป็นประเด็นที่เห็นได้ชัดในบทสัมภาษณ์ของพระไพศาล เริ่มต้นมาท่านก็กล่าวไว้ชัดเจนเลยว่า ความขัดแย้งทั้งหมดมีทักษิณเป็นศูนย์กลาง (ซึ่งท่านไม่ได้ขยายความว่า คำว่า “ศูนย์กลาง” นี้หมายถึง “สาเหตุ” “ต้นตอ” “ตัวการ” กินความมากน้อยแค่ไหน) จากนั้นท่านก็ยกบุคคลดัง ๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ ทั้งพลเอกเปรม นายอภิสิทธิ์ เนลสัน แมนเดลา เฟรเดอริก เดอ เคลิร์ก จิมมี คาร์เตอร์ อันวาร์ ซาดัต ฯลฯ กล่าวถึงบทบาทที่คนเหล่านี้กระทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยใช้วาทกรรมที่มุ่งเป้าเกี่ยวกับตัวบุคคลเป็นหลัก เช่น ความรัก ความเข้าใจ การไว้วางใจกัน การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ตัวกูของกู อัตตาธิปไตย ฯลฯ
ผู้เขียนอ่านแล้วสงสัยว่า แล้วประชาชนอยู่ตรงไหน?
ในจักรวาลทางสังคมของพระไพศาลนั้น ประชาชนเป็นแค่คำคำหนึ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีความคิด ไม่มีเลือดเนื้อลมหายใจ ไม่มีชื่อ ไม่มีฐานะ โง่เง่าต่ำหยาบ คิดแต่หาประโยชน์ใส่ตัว คนเหล่านี้ถูกปิศาจร้ายตัวหนึ่งชื่อทักษิณหลอกล่อจูงจมูกจนรู้จักอวดอ้างสิทธิ เรียกร้องหาการเปลี่ยนแปลงที่ “อาตมาไม่แน่ใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจริงหรือเปล่า?” สรุปว่าประชาชนเหล่านี้ย่อมไม่มีทางที่จะรู้ว่าอะไร “ดี” สำหรับตัวเอง ไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ต้องรอบุคคลดัง ๆ ปูชนียะบุคคลเด่น ๆ มาคุยกันสบาย ๆ ในห้องบรรยากาศดี ๆ แล้วปัญหาร้ายกาจทุกอย่างก็จะคลี่คลายได้ทันที ประดุจดังแฮร์รี พอตเตอร์เอาไม้กายสิทธิ์มาโบกก็ไม่ปาน
สิ่งที่พระไพศาลมองไม่เห็นก็คือ กว่าเนลสัน แมนเดลาจะมีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับเดอ เคลิร์กนั้น เขาไม่ได้ต่อสู้มาคนเดียว เบื้องหลังเขาคือคนผิวดำไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนคน มีทั้งจับอาวุธลุกขึ้นสู่กับรัฐบาลเหยียดผิว เช่น ขบวนการ African National Congress (ANC) ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อนเนลสัน แมนเดลาและตัวแมนเดลาเองก็เป็นสมาชิกและกลายมาเป็นผู้นำคนหนึ่งของขบวนการฝ่ายซ้ายนี้ ยังไม่นับแรงงานและผู้หญิงอีกจำนวนนับไม่ถ้วนที่ลุกขึ้นต่อสู้ด้วยการนัดหยุดงาน ประท้วง เดินขบวน ดื้อแพ่ง ฯลฯ เสียชีวิตเลือดเนื้อน้ำตากันไปเท่าไร หากไม่มีประชาชนที่ต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหล่านี้ แมนเดลาจะเอาอำนาจอะไรไปเจรจาต่อรองกับเดอ เคลิร์ก? เป็นไปได้หรือที่อยู่ดี ๆ ชนชั้นนำผิวขาวของแอฟริกาใต้จะเกิดดวงตาเห็นธรรมหรือแมนเดลาใช้อำนาจวิเศษบุญบารมีของตัวมาดลบันดาลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้?
หากพระไพศาลศึกษาประวัติศาสตร์ให้ลึกซึ้งกว่านี้ ท่านจะทราบว่าทุกการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าบนโลกใบนี้ ล้วนมีประชาชนผู้หยาบกร้านสละชีวิตทำให้มันเกิดขึ้นทั้งสิ้น ไม่มีซากศพหรือจะมีวีรบุรุษ? ไม่มีสามัญชนหรือจะมีปูชนียะบุคคล? ไร่นาบ้านเมืองนั้นแผ้วถางสร้างขึ้นจากมือของประชาชนทั้งสิ้น แม้แต่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ยังเสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาก่อน
จริงอยู่ พระไพศาลได้พูดถึง “การกระจายอำนาจ” อยู่บ้าง แต่ก็พูดเหมือนเป็นสูตรสำเร็จที่ใคร ๆ ก็พูดกัน มิหนำซ้ำในบทสัมภาษณ์ยังตั้งเงื่อนไขแฝงไว้หลายอย่าง เช่น ไม่ควรใช้แนวทางประชานิยม เป็นต้น พระไพศาลคงไม่เข้าใจว่า คำว่า “การกระจายอำนาจ” นั้น หมายรวมถึงการยอมรับใน “การกำหนดชะตากรรมตัวเอง” (self-determination) ของประชาชนด้วย หากพระไพศาลในฐานะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยยังไม่ยอมรับใน “การกำหนดชะตากรรมตัวเอง” ของประชาชนหรือไม่แน่ใจว่า “สิ่งที่เขาเรียกร้องอยู่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงหรือเปล่า” แล้วท่านจะ “ไว้ใจ” ประชาชนด้วยการกระจายอำนาจให้อย่างแท้จริงได้อย่างไร หรือจะกั๊ก ๆ อำนาจไว้ให้ปูชนียะบุคคลกลุ่มเล็ก ๆ มาคอยกำหนดชะตากรรมให้ประชาชนตามนิยามแห่ง “ความดี” “ความงาม” “ความจริง” ที่ลิขิตจากเบื้องบนลงมาสู่เบื้องล่าง?
หากมองไม่เห็นประชาชนที่มีตัวตน หากไม่เคารพในความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีของพวกเขาอย่างเท่าเทียม หากจำได้แค่ชื่อและบทบาทของปูชนียะบุคคลเด่นดัง แต่มองไม่เห็นหัวประชาชน วาทกรรมสวยหรูประเภท “กระจายอำนาจ” “การพัฒนาจากล่างขึ้นบน” “กลับไปสู่ชุมชน” ฯลฯ สุดท้ายแล้วก็เป็นแค่วาทกรรมที่ท่องตาม ๆ กัน หาสาระอันใดไม่ได้
จากจุดยืนและทัศนคติในแบบ “ปูชนียะบุคคลาธิปไตย” นี่เอง ทำให้มีสิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปอย่างน่าประหลาดในคำให้สัมภาษณ์ของพระไพศาล สิ่งที่ขาดหายไปนั้นก็คือ ความตายของ 91 ศพในเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต พระไพศาลไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เลย ไม่ได้เอ่ยถึงว่าจะแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร จะเยียวยาอย่างไร จะปรองดองอย่างไร ราวกับ 91 ศพนั้นไม่ดำรงอยู่ ไม่มีตัวตน ไม่มีใบหน้า ไม่มีชื่อ
เพราะพวกเขาเป็นแค่ประชาชนกระมัง ไม่ใช่ปูชนียะบุคคล พวกเขาจึงไม่อยู่ในพิกัดเรดาร์ความรับรู้ของท่าน
แต่การมีคนตายเกือบร้อย บาดเจ็บอีกหลายพัน เกิดขึ้นกลางกรุงเทพฯ ยังไม่นับคนจำนวนมากที่ถูกฆ่าจับกุมคุมขังอีกไม่รู้เท่าไรตามต่างจังหวัด เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มันไม่ใช่เหตุการณ์ปรกติที่พึงเกิดในสังคมอารยะ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะให้ปฏิบัติเหมือนหมาตัวหนึ่งตายกลางถนนได้อย่างไร? จะให้ขับรถต่อไปโดยไม่หันไปมองเพราะกลัวอุจาดตาได้อย่างไร? เมื่อความผิดเกิดขึ้น ก็ต้องมีการแก้ไขและมีการรับผิด จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น แล้วบอกให้สังคมไทยเดินหน้าโดยยึดมั่นในหลักแห่งศาสนา ผู้เขียนไม่ทราบว่าท่านเห็นทั้งหมดนี้เป็นเรื่องตลกหรือ?
มีคำ ๆ หนึ่งที่พระไพศาลใช้ในคำให้สัมภาษณ์คือคำว่า “กระจายความรัก” ผู้เขียนอ่านแล้วให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจยิ่งนัก เพราะพาลให้นึกถึงละครไทยที่ตัวละครด่าทอตบตีข่มขืนฆ่ากันมาตลอดเรื่อง แล้วจู่ ๆ ตอนจบทุกคนก็หันมารักกันกอดกัน Together We Can
ชีวิตจริงย่อมไม่เหมือนละครไทย ท่านจะให้คุณพ่อของน้องสมาพันธ์ ศรีเทพ คุณแม่ของคุณกมลเกด อัคฮาด พี่ชายของคุณมงคล เข็มทอง ภรรยาของคุณลุงบุญมี เริ่มสุข และคนอื่น ๆ อีกเกือบร้อยคน มา “กระจายความรัก” ให้ฆาตกรที่ฆ่าบุคคลอันเป็นที่รักของเขา มันจะเป็นไปได้อย่างไร? ให้อภัยย่อมเป็นไปได้ แต่จะให้ลืมแล้วมากอดกันหน้าชื่น ย่อมสุดวิสัยของมนุษย์
การ “กระจายความรัก” แบบนั้นยังมีข้ออันตรายอยู่ในตัวเองด้วย เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น แทนที่จะเรียกร้องให้มีการรับผิด กลับเรียกร้องให้ลืมและให้อภัยกัน นี่ไม่เท่ากับเป็นการให้ท้ายอาชญากรรมหรอกหรือ? หากมีคนมาฆ่าบิดามารดาของท่านตาย ถึงแม้ท่านให้อภัยได้ กระจายความรักได้ แต่ฆาตกรผู้นั้นย่อมต้องมีความผิดตามกฎหมายกระบิลเมืองอยู่ดี (ยกเว้นกฎหมายกระบิลเมืองไม่มีต่อไปแล้วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) นี่ไม่ใช่เรื่องที่ปัจเจกบุคคลจะมาตัดสินเอาตามความพอใจของตน แต่เป็นเรื่องกฎกติกาของสังคมที่ต้องรักษาไว้
ในหลาย ๆ กรณี “การกระจายความรัก” ไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย มิหนำซ้ำจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้เลวร้ายลงกว่าเดิม ทำให้บ้านเมืองไร้ขื่อแป อาชญากรย่ามใจ ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม ทำอะไรผิด ๆ ชั่ว ๆ มาอย่างไรก็ทำผิด ๆ ชั่ว ๆ กันต่อไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ประเด็นต่อมาเป็นเรื่องที่ลูกสาวของผู้เขียนตั้งคำถามถามต่อผู้เขียน และผู้เขียนขอนำมาถามพระไพศาลต่ออีกทอดหนึ่ง ลูกสาวของผู้เขียนได้ตั้งคำถามว่า ทำไมพระไพศาลสามารถออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเช่นนี้ได้โดยไม่มีความผิด แล้วทำไมเมื่อพระชาวบ้านบางรูปแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หรือเพียงแค่อยู่ในที่ชุมนุมของคนเสื้อแดง ทำไมพระเหล่านั้นจึงมีความผิด?
คำถามนี้ผู้เขียนไม่สามารถตอบได้ เพราะมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านศาสนาและกิจของสงฆ์
แต่คำถามที่ผู้เขียนไม่เข้าใจและอยากตั้งคำถามต่อพระไพศาลก็คือ ในเมื่อการสอบสวนความตายของ 91 ศพที่ดีเอสไอเป็นผู้รับผิดชอบ ยังไม่มีผลสรุปออกมาอย่างแน่ชัด เหตุใดพระไพศาลจึงออกมารับรองความชอบธรรมในการเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอย่างออกหน้าออกตาขนาดนั้น?
พระไพศาลได้กล่าวถึงนายอภิสิทธิ์ว่า “คุณอภิสิทธิ์มีความกล้าหาญระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ได้แสดงออกเท่าที่ควร โดยเฉพาะในยามวิกฤติ” “คนอย่างคุณอภิสิทธิ์ ซึ่งมีสติปัญญา ถ้าสามารถสร้างแนวร่วมได้มากพอ ก็อาจจะมีกำลังพอที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูป แม้จะไม่ถูกใจผู้มีอำนาจ แต่เท่าที่ทราบคุณอภิสิทธิ์ไม่ค่อยสนใจหาแนวร่วมเท่าไร” “อาตมาคิดว่าคุณ อภิสิทธิ์ อาจมีวิสัยทัศน์ไกล แต่อาจจะอยู่ท่ามกลางกลุ่มผู้มีอำนาจที่สายตาสั้น คุณอภิสิทธิ์ก็ต้องหาพวก สร้างแนวร่วมที่อาจจะพอทัดทานกลุ่มอำนาจเดิม และสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเรื่องเป็นราวกว่านี้”
คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่หูไม่หนวกตาไม่บอด ไม่ได้ปัญญาอ่อน ไม่ได้เด็กทารกเกินไปหรือเฒ่าชราเกินไป ไม่ได้เจ็บป่วยจนไม่รับรู้เรื่องราว เกือบทุกคนย่อมทราบดีว่า คนเสื้อแดงตั้งข้อกล่าวหาว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมีส่วนต้องรับผิดต่อความตาย 91 ศพที่เกิดขึ้น ความรับผิดนั้นจะมีมากน้อยแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตราบใดที่ยังไม่มีการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนายอภิสิทธิ์ออกมาอย่างชัดเจน ก็ยังต้องถือว่านายอภิสิทธิ์เป็นคู่ขัดแย้งของคนเสื้อแดงอยู่
การที่พระไพศาล วิสาโล ทั้งในฐานะพระปัญญาชนแถวหน้าของประเทศและในฐานะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ออกมาให้สัมภาษณ์รับรองนายอภิสิทธิ์ถึงขนาดนี้ (ถึงจะวิจารณ์อยู่บ้าง แต่ใครที่อ่านหนังสือออก ย่อมอ่านแล้วเข้าใจทันทีในความหมายว่า นายอภิสิทธิ์ดีพอที่จะเป็นผู้นำประเทศ) จะให้ผู้อ่านคิดว่าพระไพศาลเลือกข้างแล้ว? ใช้สถานะของสงฆ์มาเอื้อประโยชน์ทางการเมือง? คณะกรรมการปฏิรูปไม่มีความเป็นกลาง? อันที่จริง หากพระไพศาลต้องการจะชมเชยนายอภิสิทธิ์อย่างไร ก็ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ไว้รอให้ดีเอสไอสรุปผลชันสูตรศพออกมาชัด ๆ ก่อนก็ได้ กระนั้นก็ควรคำนึงถึงสถานภาพและหัวโขนของตนด้วย มิฉะนั้นแล้ว แทนที่จะทำให้บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น กลับจะยิ่งเป็นการผลักคนเสื้อแดงออกไปและตอกย้ำข้อวิจารณ์เรื่องสองมาตรฐานยิ่งกว่าเดิม
ประเด็นสุดท้ายที่ผู้เขียนอยากกล่าวถึงก็คือ เป็นเรื่องดีที่พระไพศาลเอ่ยถึงกองทัพและการปฏิวัติรัฐประหารว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ผู้เขียนอยากเสนอความคิดว่า ความเกลียดกลัวทักษิณอย่างเกินกว่าเหตุและไร้สติ จนราวกับทักษิณเป็นปิศาจร้ายนั้น ทำให้ฝ่ายตรงข้ามของทักษิณไปปลุกผีสร้างปิศาจอีกตนหนึ่งขึ้นมาเพื่อหวังจะใช้กำราบทักษิณ กองทัพก็คือปิศาจร้ายอีกตนนั่นเอง เมื่อกองทัพออกจากหม้อแม่นาคมาแล้ว ก็ยากจะยอมกลับลงไปอีก คราวนี้แทนที่สังคมไทยจะมีปิศาจตนเดียว ก็เลยกลายเป็นมีปิศาจเพิ่มเป็นสองตน นี่ยังไม่นับปิศาจที่มองไม่เห็นอีกตนหนึ่ง รวมกันแล้วกลายเป็นปิศาจสามตน (มองเห็นสอง มองไม่เห็นหนึ่ง) สร้างความยุ่งขิงอีนุงตุงนังให้แก่บ้านเมืองเรายิ่งนัก
ผู้เขียนเองก็เป็นผู้หนึ่งที่แต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยชอบทักษิณ ไม่ชอบมาตั้งแต่เขาอยู่พรรคพลังธรรมของจำลอง ศรีเมืองด้วยซ้ำ ผู้เขียนไม่ชอบเขามาก ๆ ถึงขนาดชิงชัง เรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนไม่เคยเล่าให้คนนอกครอบครัวฟังก็คือ ทุกครั้งที่ผู้เขียนได้ยินเสียงเขาทางวิทยุตอนเช้า ๆ ผู้เขียนจะมีอาการปวดท้องอยากเข้าห้องส้วมทุกทีไป ที่เอามาเล่านี่ไม่ใช่อยากจะตลกหยาบโลน แต่ต้องการให้เห็นภาพว่าผู้เขียนไม่ชอบเขามากขนาดไหน
แต่การที่ผู้เขียนเกลียดขี้หน้าทักษิณ ไม่ชอบพวกแกนนำเสื้อแดง ไม่เห็นด้วยกับการไปตั้งป้อมค่ายชุมนุมที่ราชประสงค์หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ผู้เขียนก็ไม่เห็นว่า ความเกลียดหรือความไม่เห็นด้วยนี้จะเป็นเหตุอันควรที่ผู้เขียนพึง ลดบรรทัดฐานทางจริยธรรม ของตัวเองจนยอมรับการฆ่าเพื่อนมนุษย์ตายอย่างไร้เหตุผลเช่นนี้ ผู้เขียนคิดว่าเราไม่ควรปล่อยให้ความเกลียดความกลัวมาครอบงำจน ไม่มีสติ และปล่อยให้ มาตรฐานทางศีลธรรม ของเราบิดเบือนไป เราไม่ควรสู้กับความกลัวด้วยการสร้างความกลัวที่มากกว่า เราไม่ควรสู้กับปิศาจด้วยการสร้างปิศาจอีกตนขึ้นมา (อย่าลืมว่าเรามีปิศาจที่มองไม่เห็นด้วย) เราไม่ควรสู้กับความไร้เหตุผลด้วยความไร้เหตุผลที่บัดซบกว่าเดิม และเราต้องไม่ยอมลดบรรทัดฐานทางจริยธรรมของตนเองลง ไม่ว่าเราเป็นผู้มีศรัทธาในศาสนาหรือไม่ก็ตาม
ที่มา.ประชาไท
-------------------------------------------------------------------------
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
‘ปริศนา’ ที่สับสน!!
เฉลย แฉ กันจะจะ สาวซี ๕ รัฐสภา “เจติยา” หรือ “พณิชณัฐา โกมลเปลิน” เป็นโจทย์ฟ้อง อดีตประธานสภาผู้แทนราษฏร แอ่น..แอ๊น..เขาครือ “ท่านอุทัย พิมพ์ใจชน”??
เป็นคดีเก่าปีมะโว้ คดีดำ ๖๘๖/๒๕๔๘ คดีดำ ๒๒๒/๒๕๕๐ ตัดสิน ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ โดย “ศาลปกครองกลาง” ให้สาวเจ้าชนะ “อดีตประธานอุทัย”
มา “ศาลปกครองสูงสุด” ตัดสินวันที่ ๒ พค. ๒๕๕๕๑ ในคดีดำ อ.๒๓๑/๒๕๕๐ คดีแดง อ.๒๓๕/๒๕๕๑ ก็พิพากษาให้ “สาว ซี ๕” ชนะไป
แต่ให้สงสัย เรื่องการ “ลวนลาม” เกิดมานมนาน หลายปีดีดัก แต่เอามาปูดให้ขายขี้หน้ากลางเมือง.. เล่นเอาอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ยังมีชีวิตอยู่ นั่งไม่ติด ไม่ว่าจะเป็น “ชวนหลีกภัย-โภคิน พลกุล-ยงยุทธ ติยะไพรัช” ชื่อเสียงเน่าเหม็น เป็นกอง!!
ถ้าอยากรู้คำพิพากษาของคดี...ขอเชิญน้องพี่..คลิกไปดูรายละเอียด ที่ “ศาลปกครอง”??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ได้ดีเอ็นเอ ‘เนวิน’ มาเต็มตัว!!
ถ่ายสายเลือดกันมาเลย สำหรับ “บุญจง วงศ์ไตรรัตน์” มท. ๒ ที่เป็นศัตรูเขาไปทั่ว??
เลือกตั้งเที่ยวหน้า ยากจะผ่านด่านอรหันต์ “ท่านย่าโม” มาได้...
เพราะพฤติการณ์แข็งกร้าว อวดดี เย่อหยิ่ง จะนำสิ่งร้ายๆ มาให้
นัยว่า สองพยัคฆ์สองเสือเจ้าถิ่น “ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี” พรรคเพื่อแผ่นดิน และ “คุณพี่สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” พรรครวมชาติพัฒนา จับมือกันแน่น ที่จะโค่นนักการเมืองเมื่อวานซืน
“บุญจง”โปรดเตรียมใจ...ที่วางข้ออย่างยิ่งใหญ่...จะแพ้พ่าย แบบล้มทั้งยืน???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ร่วมหัวจมท้ายมาตลอด!!
สามัคคี มัด ๒ พรรคนี้ ร่วมกันมาทุกช็อต??
เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น “หลงจู๊บรรหาร ศิลปอาชา” อาจารย์ใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา และ “พินิจ จารุสมบัติ-รต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี-ปรีชา เลาหะพงษ์ชนะ” พรรคเพื่อแผ่นดิน สังสรรค์ปาร์ตี้ กันมานาน
เรื่องผูกเสี่ยว...ผสมพันธ์เป็นพรรคเดียว ย่อมเป็นไปได้ เหมือนกัน
เพราะ “กลุ่ม ๓ พี” .. “พินิจ-ไพโรจน์-ปรีชา” นับถือห่วงใย “เติ้งหาร” เป็นอันมาก..โดยเฉพาะ “ร.ต.ไพโรจน์” เคยประกาศเตือน “ท่านบรรหาร” ว่าท่าน เป็นเขตตำบลกระสุนตก..ย้ำบอกเสียงไม่ทันจาง บ้านริมถนนจรัลสนิทวงศ์ ของ “หลงจู๊บรรหาร” ก็โดนระเบิดป่นปี้!!
ได้ “รต.ไพโรจน์” เตือนไว้... “เสี่ยบรรหาร” จึงปลอดภัย?..รอดตายมาทุกวันนี้???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ทำบุญเอาหน้า ภาวนากันตาย!!
ฝีมือโหลยโท่ย เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ เหมือนเดิม จะบอกให้??
“นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” และ “ขุนคลังกรณ์ จาติกวณิช” อย่าหลงทิศทาง
ข้าราชการชั้นผู้น้อยโอดครวญ....ยามนี้ท่านไม่ต้องมาด่วน ขึ้นเงินเดือน ขึ้นสตางค์
แค่หยิบสินค้า อาหารปากท้องให้อยู่..ไม่ใช่ปล่อยให้ขึ้นลิฟต์แก้วติดเพดานบินเช่นนี้..ถึงขึ้นเงินเดือนไป ก็ต้องจ่ายเป็น ค่ากับข้าว สบู่ ยาสีฟัน ให้ยั้วเยี้ย!!!
ขึ้นเงินเดือนเพื่อเอาใจ.....แต่สินค้าแพงเหลือหลาย?...มันจะได้อะไร กันล่ะเนี่ย??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมกปัญหาไว้ใต้พรม!!
นึกว่า “ผู้ดีรัตน์โกสินทร์” อานันท์ ปันยารชุน เป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่แท้ ก็หมกปัญหาไว้จม??
เมื่อครั้งรับเชิญจาก “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นั่งเสลี่ยงหาม เข้ามาแก้ปัญหา “มาบตาพุด” ดูว่า ทุกอย่าง สดใส
แต่ยิ่งประชุม สุมหัวคิด...นักธุรกิจ ก็สะบัดก้น หนีหาย
นี่, “ท่านอานันท์”รับนิมนต์เป็น “ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย” ทุกอย่างไม่มีอะไรในกอไผ่ เกิดความก้าวหน้า!!!
ตั้ง “ท่านอานันท์”มาเป็นประธาน..ไม่ยักจะมีเม็ดงาน?...ยังตั้งท่านอีกหรือคุณน้า??
คอลัมน์. ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
********************************************************
เป็นคดีเก่าปีมะโว้ คดีดำ ๖๘๖/๒๕๔๘ คดีดำ ๒๒๒/๒๕๕๐ ตัดสิน ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ โดย “ศาลปกครองกลาง” ให้สาวเจ้าชนะ “อดีตประธานอุทัย”
มา “ศาลปกครองสูงสุด” ตัดสินวันที่ ๒ พค. ๒๕๕๕๑ ในคดีดำ อ.๒๓๑/๒๕๕๐ คดีแดง อ.๒๓๕/๒๕๕๑ ก็พิพากษาให้ “สาว ซี ๕” ชนะไป
แต่ให้สงสัย เรื่องการ “ลวนลาม” เกิดมานมนาน หลายปีดีดัก แต่เอามาปูดให้ขายขี้หน้ากลางเมือง.. เล่นเอาอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ยังมีชีวิตอยู่ นั่งไม่ติด ไม่ว่าจะเป็น “ชวนหลีกภัย-โภคิน พลกุล-ยงยุทธ ติยะไพรัช” ชื่อเสียงเน่าเหม็น เป็นกอง!!
ถ้าอยากรู้คำพิพากษาของคดี...ขอเชิญน้องพี่..คลิกไปดูรายละเอียด ที่ “ศาลปกครอง”??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ได้ดีเอ็นเอ ‘เนวิน’ มาเต็มตัว!!
ถ่ายสายเลือดกันมาเลย สำหรับ “บุญจง วงศ์ไตรรัตน์” มท. ๒ ที่เป็นศัตรูเขาไปทั่ว??
เลือกตั้งเที่ยวหน้า ยากจะผ่านด่านอรหันต์ “ท่านย่าโม” มาได้...
เพราะพฤติการณ์แข็งกร้าว อวดดี เย่อหยิ่ง จะนำสิ่งร้ายๆ มาให้
นัยว่า สองพยัคฆ์สองเสือเจ้าถิ่น “ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี” พรรคเพื่อแผ่นดิน และ “คุณพี่สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” พรรครวมชาติพัฒนา จับมือกันแน่น ที่จะโค่นนักการเมืองเมื่อวานซืน
“บุญจง”โปรดเตรียมใจ...ที่วางข้ออย่างยิ่งใหญ่...จะแพ้พ่าย แบบล้มทั้งยืน???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ร่วมหัวจมท้ายมาตลอด!!
สามัคคี มัด ๒ พรรคนี้ ร่วมกันมาทุกช็อต??
เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น “หลงจู๊บรรหาร ศิลปอาชา” อาจารย์ใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา และ “พินิจ จารุสมบัติ-รต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี-ปรีชา เลาหะพงษ์ชนะ” พรรคเพื่อแผ่นดิน สังสรรค์ปาร์ตี้ กันมานาน
เรื่องผูกเสี่ยว...ผสมพันธ์เป็นพรรคเดียว ย่อมเป็นไปได้ เหมือนกัน
เพราะ “กลุ่ม ๓ พี” .. “พินิจ-ไพโรจน์-ปรีชา” นับถือห่วงใย “เติ้งหาร” เป็นอันมาก..โดยเฉพาะ “ร.ต.ไพโรจน์” เคยประกาศเตือน “ท่านบรรหาร” ว่าท่าน เป็นเขตตำบลกระสุนตก..ย้ำบอกเสียงไม่ทันจาง บ้านริมถนนจรัลสนิทวงศ์ ของ “หลงจู๊บรรหาร” ก็โดนระเบิดป่นปี้!!
ได้ “รต.ไพโรจน์” เตือนไว้... “เสี่ยบรรหาร” จึงปลอดภัย?..รอดตายมาทุกวันนี้???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ทำบุญเอาหน้า ภาวนากันตาย!!
ฝีมือโหลยโท่ย เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ เหมือนเดิม จะบอกให้??
“นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” และ “ขุนคลังกรณ์ จาติกวณิช” อย่าหลงทิศทาง
ข้าราชการชั้นผู้น้อยโอดครวญ....ยามนี้ท่านไม่ต้องมาด่วน ขึ้นเงินเดือน ขึ้นสตางค์
แค่หยิบสินค้า อาหารปากท้องให้อยู่..ไม่ใช่ปล่อยให้ขึ้นลิฟต์แก้วติดเพดานบินเช่นนี้..ถึงขึ้นเงินเดือนไป ก็ต้องจ่ายเป็น ค่ากับข้าว สบู่ ยาสีฟัน ให้ยั้วเยี้ย!!!
ขึ้นเงินเดือนเพื่อเอาใจ.....แต่สินค้าแพงเหลือหลาย?...มันจะได้อะไร กันล่ะเนี่ย??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมกปัญหาไว้ใต้พรม!!
นึกว่า “ผู้ดีรัตน์โกสินทร์” อานันท์ ปันยารชุน เป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่แท้ ก็หมกปัญหาไว้จม??
เมื่อครั้งรับเชิญจาก “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นั่งเสลี่ยงหาม เข้ามาแก้ปัญหา “มาบตาพุด” ดูว่า ทุกอย่าง สดใส
แต่ยิ่งประชุม สุมหัวคิด...นักธุรกิจ ก็สะบัดก้น หนีหาย
นี่, “ท่านอานันท์”รับนิมนต์เป็น “ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย” ทุกอย่างไม่มีอะไรในกอไผ่ เกิดความก้าวหน้า!!!
ตั้ง “ท่านอานันท์”มาเป็นประธาน..ไม่ยักจะมีเม็ดงาน?...ยังตั้งท่านอีกหรือคุณน้า??
คอลัมน์. ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
********************************************************
เมื่ออำนาจรัฐถูกปล้น
ในมุมมองของประเทศตะวันตก การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเปรียบเสมือนการประกาศการ “สิ้นสุดของประวัติศาสตร์” และยังเป็นการสันนิษฐานว่านี่คือชัยชนะอันถาวรและเด็ดขาดของแนวความคิดแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยและระบบตลาดทุนนิยมที่มีต่อประเทศคู่แข่งทางความคิดในศตวรรษที่ 20
การด่วนสรุปนี้ ส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสื่อมของระบบคอมมิวนิสต์ และหลังจากหลายคนมองว่าระบบตลาดทุนนิยมคือตัวเลือกเดียวที่เหลืออยู่ ในปี 2535 ประเทศคอมมิวนิสต์ต้องเผชิญกับตัวเลือก 3 ทาง คือ การแยกตัวของประเทศในยุโรปตะวันออก, ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (จีน, เวียดนาม) หรือเลือกที่จะอยู่ในสภาพที่ประเทศมีความล้าหลังทางด้านเศรษฐกิจและโดดเดี่ยวประเทศจากประชาคมโลก (คิวบา, เกาหลีเหนือ)
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การล้มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้ประเทศทั่วทุกมุมโลกขยายและดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างไม่เคยมีมาก่อน นายซามูเอล ฮันทิงตันเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “คลื่นลูกที่สาม”ของการเกิดประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์/ทหาร ที่ยังคงมีอยู่ในประเทศยุโรปตะวันตก (สเปน โปรตุเกส และกรีซ) ได้ล่มสลายลงในกลางยุค 70 เช่นเดียวกับระบอบเผด็จการทหารในประเทศละตินอเมริกาหลายประเทศที่ล่มสลายลงในปลายยุค 70และ 80 คลื่น “พลังมหาประชาชน” ได้นำประชาธิปไตยมาสู่เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ ในขณะที่การฆ่าหมู่จัตุรัสเทียนอันเหมินแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของพรรคผู้นำทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายหลังที่ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันตกล่มสลาย “คลื่นลูกที่สาม” ยังได้เคลื่อนไปยังเหล่าประเทศในแอฟฟริกาซึ่งตั้งอยู่ใต้ทะเลทรายซาฮาร่าอีกด้วย โดยเหล่าผู้นำเผด็จการถูกโค่นล้มหรือกลุ่มผู้นำเหล่านั้นตัดสินใจเปลี่ยนการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยด้วยตนเอง
ความเชื่อที่มีร่วมกันกันคือ อนาคตของ “ประชาธิปไตย” ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคือเรื่องที่เกี่ยวกับทางโลก คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่วนระบอบเผด็จการนั้นเป็นระบบที่อ่อนแอและไม่มีความชอบธรรม ทั้งแนวทางความคิดพื้นฐานของระบอบเผด็จการไม่มีความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง เหตุผลง่ายๆของการล้มสลายของระบอบนี้และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอื่นคือเงื่อนไขของเวลาและยุคสมัย
แต่ความคาดหวังในระบอบประชาธิปไตยในต้นยุค 90 ต้องพังทลายลงอย่างช้าๆ เมื่อจีนและพม่าไม่ได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซ้ำประเทศประชาธิปไตย “คลื่นลูกที่สาม” บางประเทศกลับต้องเผชิญกับความเลวร้ายของการใช้อำนาจรัฐที่ไร้ขอบเขต บางประเทศติดชงักระหว่างความเป็นประชาธิปไตยและเผด็จการ ซึ่งก่อให้เกิดระบอบการปกครองแบบลูกผสมแบบใหม่ขึ้น และในบางประเทศพยายามรักษาโครงสร้างสถาบันแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไว้ แต่เมื่อ“ลอกคราบ” ของประชาธิปไตยออกมาจะพบความด้อยของคุณภาพของผู้แทนราษฎร เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำ ความเสื่อมของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง และ/หรือ ความล่มสลายของระบบนิติรัฐ
สาเหตุที่เหมือนกันของความเสื่อมถอยของระบอบประชาธิปไตยอย่างช้าๆในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศตะวันตกคือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การปล้นอำนาจรัฐ” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่องค์กรระหว่างประเทศศึกษาประเมินและพัฒนาคุณภาพของรัฐบาลหลายองค์กรให้ความสนใจ กลุ่มนักวิชาการธนาคารโลกได้ให้ความหมายของ “การปล้นอำนาจรัฐ” ว่า “ขอบเขตของคือการที่กลุ่มบริษัทกระทำผิดกฎหมาย โดยการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับรัฐเพื่อแลกกับการมีอิทธิพลในการออกกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับที่ออกโดยสถาบันรัฐ ” การที่กลุ่มนักวิชาการธนาคารโลกนิยามความหมายของปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นถือว่่ามีประโยชน์ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามคำนิยามดังกล่าวมีข้อผิดพลาดบางประการ ซึ่งทำให้ “การปล้นอำนาจรัฐ” เป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน
กลุ่มเครือข่ายที่มีผลประโยชน์พิเศษและบริษัทเอกชนเกือบทั่วโลกเหล่านี้มักพยายามที่จะซื้อโอกาสในการเข้าถึงองค์กรรัฐ ไม่เว้นแม้กระทั่งกลุ่มเครือข่ายหรือบริษัทเอกชนในประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยมายาวนานและ “มั่นคง” แต่ความแตกต่างของปรากฏการณ์การนี้ในประเทศรัสเซียและสหรัฐนั้นวับซ้อนมากกว่านั้น ความแตกต่างที่สำคัญคือกลุ่มธุรกิจใหญ่เหล่านั้นอาจมีอิทธิพลต่อการออกนโยบายรัฐ แต่ประชาชนยังคงใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อการแต่งตั้งหรือล้มรัฐบาลได้ การสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยใช้สถาบันของรัฐเพื่อการเพิ่มอำนาจและความร่ำรวยให้กับพรรคพวกของตน โดยจำกัดสิทธิของประชาชนและพื้นที่ของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งในการปฏิบัติหน้าที่ โดยปกติ “การปล้นอำนาจรัฐ” มักจะเป็นเรื่องที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิการแสดงออกอย่างหนัก และกระบวนการข่มขู่คุกคามเพื่อที่จะขัดขวางไม่ให้ประชาชนเหล่านั้นเคลื่อนไหวล้มล้างอำนาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานกฎหมายของผมเผชิญกับปรากฏการณ์ “ปล้นอำนาจรัฐ”หลายรูปแบบจากทั่วโลกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตัวอย่างเช่นในประเทศกัวเตมาลาและรัสเซีย กลุ่มคนเหล่านี้ได้ปล้นและบิดเบือนอำนาจรัฐและหน่วยงานสืบราชการลับ ศาล สภานิติบัญญัติ และกองทัพเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ระบอบประชาธิไตยภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นคือภาพลวงตา เพราะการตัดสินใจไม่ได้มาจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง คดีความถูกตัดสินจากเบื้องบน กระบวนการยุติธรรมมีไว้เพื่อเป็นเครื่องประกันไม่ให้กลุ่มคนเหล่านี้และกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐสนับสนุนคนกลุ่มนี้โดยยอมให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางอำนาจเพื่อให้ร้าย คุมขัง หรือเนรเทศกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ออกนอกประเทศ หรือลดอำนาจฝ่ายตรงข้าม สื่อถูกควบคุมโดยการผสมผสานระหว่างปิดกั้นข่าวสาร คุกคาม และให้สินบน และประชาชนจะไม่ถูกจับกุมคุมขังตาบใดที่ไม่ใช้เสรีภาพเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ในขณะเดียวกัน “การปล้นอำนาจรัฐ” คือปรากฏการณ์ที่มักจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศยุโรปและละตินอเมริกา และนั้นคือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภายใต้คราบของรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งได้ถูกสถาปนาขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทยได้อยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มธุรกิจครอบครัวไทยเชื้อสายจีน กลุ่มนายทหารในกองทัพ ข้าราชการพลเรือน และกลุ่มองคมนตรีผู้มีอำนาจ สมุกปกขาวของเราได้เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “กลุ่มอำมาตย์” เพื่อการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ส่วนตัวอันมหาศาลของตนเอง เหล่าข้าราชการพลเรือนและนายทหารร่วมมือกันเพื่อทำให้แน่ใจว่ากลุ่มบริษัทในประเทศกลุ่มใหญ่นี้ได้รับประโยชน์จากนโยบายงบประมาณรัฐ พยายามทำให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ใช้แรงงานอ่อนแอ และขัดขวางไม่ให้มีการแข่งขันทางการธุรกิจมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ตระกูลไม่กี่สิบตระกูลผูกขาดระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศ
หากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใดพยายามจะท้าทายระบบนี้โดยการควบคุมการออกนโยบาลรัฐหรือแทรกแซงเครือข่ายกลุ่มอำมาตย์เหล่านี้ก็จะถูกกล่าวหาอย่างเป็นระบบว่าไม่จงรักภักดีต่อบัลลังและโกงกินประเทศ หากยังไม่สำเร็จ รัฐบาลนั้นจะถูกยึดอำนาจโดยการทำรัฐประหารของเหล่าทหาร สิ่งที่ตลกร้ายคือ กลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทยกระทำการไม่ต่างจากเครือข่ายกลุ่มอาชญากร แต่กลุ่มคนที่ต่อต้านระบบเหล่านั้นกลับถูกประณามว่าเป็นคนที่ “โกงกิน” ประเทศ และ “น่ารังเกียจ”
ข้ออ้างในการทำรัฐประหารในประวัติศาสตร์ชาติไทยทุกครั้งคือ ต้องการกำจัดการคอรัปชั่น และในบางครั้งยังมีการทำรัฐประหารยึดอำนาจจากทหารด้วยกันเอง ข้อกล่าวหาคอรัปชั่นให้ยึดอำนาจที่ผิดกฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการปล้นอำนาจรัฐในประเทศไทยโดยกลุ่มนายทหาร การใช้ข้ออ้างนี้ก็เพื่อที่จะปกปิดความชั่วร้ายของคนกลุ่มนี้ และประเทศตะวันยังคงเชื่อข้ออ้างดังกล่าวจนถึงทุกวันนี้ แม้มือของกลุ่มคนพวกนี้จะเปียกโชกไปด้วยเลือดของประชาชนที่พวกเขาสังหารครั้งแล้วครั้งเล่าก็ตาม
การต่อสู้คดีความในประเทศที่เผชิญกับปรากฏการณ์อำนาจรัฐถูกปล้นนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนอย่างมาก นั้นเพราะศาลเป็นสถาบันที่ถูกปล้นอำนาจได้ง่าย การดำเนินคดีต่อเจ้าหน้ารัฐในการใช้อำนาจที่ผิดกฎหมายแทบจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และในขณะเดียวกันการพิจารณาคดีในศาลไม่ได้ต่างไปละครที่วิจิตรบรรจงอย่างละครคาบูกิ ที่การพิพากษาคดีไม่ขึ้นอยู่กับความอ่อนหรือแข็งของการข้อต่อสู้ทางคดีของผู้ต้องหา อีกกรณีหนึ่งคือการทำให้ประชาคมโลกหันมาสนใจปัญหาเป็นสิ่งที่ยากเพราะประโยชน์ที่ประเทศเหล่านี้ได้รับนั้นจำกัด และรัฐบาลตะวันตกนั้นให้ความสำคัฐกับภาพลักษณ์ในระบอบประชาธิปไตยมากกว่าแก่นสารของระบอบนี้
การ “ปล้นอำนาจรัฐ” ในประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะ ในยุค 50 สิ่งสำคัญแรกสุดในมุมมองของประชาคมโลกต่อการแก้ปัญหาความไม่มั่นคงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการใช้วิธีการทางการเมืองที่ไม่ได้คำนึงถึงจริยธรรม อย่างแรกคือการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ และเมื่อไม่นานมานี้คือลดอิทธิพลของสาธารณรับประชาชนจีน โดยสหรัฐได้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินอย่างมากต่อกลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทย แม้ว่าในเวลานั้นรับบาลไทยจะใช้ระบบที่กดขี่ประชาชนแค่ไหนก็ตาม ผลก็คือประเทศเดียวที่สามารถกดดันและผลักดันให้ประเทศไทยไปสู่แนวทางประชาธิปไตยได้นั้น ไม่ได้มีความสนใจที่จะทำเช่นนั้น และในประเทศไทยนั้น พื้นฐานของ “การปล้นอำนาจรัฐ”มีเล่ห์อุบายที่ซับซ้อนกว่าประเทศรัสเซียหรือกัวเตมาลา ประเทศเหล่านี้ การปล้นอำนาจรัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานของเงินและกองทัพอย่างชัดเจน แต่การปล้นอำนาจรัฐในประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติและกระบวนการล้างสมอง กว่าร้อยปีที่ผ่านมา หน้าที่หลักของระบบการศึกษาไทยและสถาบันทางศาสนาคือการหลอกลวงประชาชนให้เชื่อว่าความเหลื่อมล้ำทางอำนาจและรายได้นั้นคือสิ่งที่ “เป็นธรรมชาติ” และคำกล่าวนั้น ทำให้เชื่อว่ากลุ่มอำมาตย์เหล่านั้นมีสิทธิตามธรรมชาติที่จะทำอะไรก็ได้เพราะได้ทำกรรมที่ดีกว่าและกระทำคุณงามความดีที่มากกว่าคนทั่วไป
โศกนาถกรรมที่เกิดขึ้นใน 4ปีที่ผ่านมา อาจจะเผยให้เห็นว่ากลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทยสามารถรักษาอำนาจของกลุ่มตนโดยการใช้วิธีการสุดขั้วและจนตรอกอย่างการทำรัฐประหาร ยึดสนามบิน ปิดกั้นข่าวสารอย่างรุนแรง คุมขังนักโทษทางการเมืองหลายร้อยคน ใช้อำนาจฉุกเฉิน สังหารหมู่ประชาชนเท่านั้น และยังมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการโฆษณาชวนเชื่อว่าจะมีการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง เหตุผลที่วิธีการเหล่านี้มีความจำเป็นเพราะกระบวนการล้างสมองประชาชนได้ล้มเหลว ประชาชนไม่เชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่ออีกต่อไป และหลายคนต้องการที่จะทวงประเทศของพวกเขาคืน
กว่าสองทศวรรษผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยใช้ได้ผลกับประเทศกำลังพัฒนาไม่เป็นไปอย่างที่ชาวตะวันตกกลัว แต่ข้อเท็จจริงคือจุดสูงสุดของคลื่นประชาธิปไตยในต้นยุค 90 ได้ถอยหลังลงคลองแสดงให้เห็นว่าความเชื่อในเรื่อง “จุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์” ไม่เป็นความจริง ความเสื่อมของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาคมโลกได้เห็นในสองศตวรรษที่ผ่านมา ย้ำให้เห็นเราต้องระมัดระวังอย่างจริงจังว่าไม่มีชัยชนะใดที่ถาวร และเมื่อเราได้ความเป็นประชาธิปไตยมา เราจะต้องปกป้องเสรีภาพนั้นอย่างจริงจัง ประชาชนไทยกำลังจารึกประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยอันยาวนานหน้าใหม่ โดยทวงคืนอำนาจรัฐจากกลุ่มอำมาตย์เผด็จการที่ไร้ยางอาย และนี่จะเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้ประชาคมโลกเห็นว่ากระบวนการการทวงคืนและเรียกร้องสิ่งเหล่านั้นทำกันอย่างไร
ที่มา. Robert Amsterdam
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การด่วนสรุปนี้ ส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสื่อมของระบบคอมมิวนิสต์ และหลังจากหลายคนมองว่าระบบตลาดทุนนิยมคือตัวเลือกเดียวที่เหลืออยู่ ในปี 2535 ประเทศคอมมิวนิสต์ต้องเผชิญกับตัวเลือก 3 ทาง คือ การแยกตัวของประเทศในยุโรปตะวันออก, ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (จีน, เวียดนาม) หรือเลือกที่จะอยู่ในสภาพที่ประเทศมีความล้าหลังทางด้านเศรษฐกิจและโดดเดี่ยวประเทศจากประชาคมโลก (คิวบา, เกาหลีเหนือ)
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การล้มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้ประเทศทั่วทุกมุมโลกขยายและดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างไม่เคยมีมาก่อน นายซามูเอล ฮันทิงตันเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “คลื่นลูกที่สาม”ของการเกิดประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์/ทหาร ที่ยังคงมีอยู่ในประเทศยุโรปตะวันตก (สเปน โปรตุเกส และกรีซ) ได้ล่มสลายลงในกลางยุค 70 เช่นเดียวกับระบอบเผด็จการทหารในประเทศละตินอเมริกาหลายประเทศที่ล่มสลายลงในปลายยุค 70และ 80 คลื่น “พลังมหาประชาชน” ได้นำประชาธิปไตยมาสู่เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ ในขณะที่การฆ่าหมู่จัตุรัสเทียนอันเหมินแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของพรรคผู้นำทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายหลังที่ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันตกล่มสลาย “คลื่นลูกที่สาม” ยังได้เคลื่อนไปยังเหล่าประเทศในแอฟฟริกาซึ่งตั้งอยู่ใต้ทะเลทรายซาฮาร่าอีกด้วย โดยเหล่าผู้นำเผด็จการถูกโค่นล้มหรือกลุ่มผู้นำเหล่านั้นตัดสินใจเปลี่ยนการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยด้วยตนเอง
ความเชื่อที่มีร่วมกันกันคือ อนาคตของ “ประชาธิปไตย” ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคือเรื่องที่เกี่ยวกับทางโลก คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่วนระบอบเผด็จการนั้นเป็นระบบที่อ่อนแอและไม่มีความชอบธรรม ทั้งแนวทางความคิดพื้นฐานของระบอบเผด็จการไม่มีความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง เหตุผลง่ายๆของการล้มสลายของระบอบนี้และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอื่นคือเงื่อนไขของเวลาและยุคสมัย
แต่ความคาดหวังในระบอบประชาธิปไตยในต้นยุค 90 ต้องพังทลายลงอย่างช้าๆ เมื่อจีนและพม่าไม่ได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซ้ำประเทศประชาธิปไตย “คลื่นลูกที่สาม” บางประเทศกลับต้องเผชิญกับความเลวร้ายของการใช้อำนาจรัฐที่ไร้ขอบเขต บางประเทศติดชงักระหว่างความเป็นประชาธิปไตยและเผด็จการ ซึ่งก่อให้เกิดระบอบการปกครองแบบลูกผสมแบบใหม่ขึ้น และในบางประเทศพยายามรักษาโครงสร้างสถาบันแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไว้ แต่เมื่อ“ลอกคราบ” ของประชาธิปไตยออกมาจะพบความด้อยของคุณภาพของผู้แทนราษฎร เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำ ความเสื่อมของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง และ/หรือ ความล่มสลายของระบบนิติรัฐ
สาเหตุที่เหมือนกันของความเสื่อมถอยของระบอบประชาธิปไตยอย่างช้าๆในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศตะวันตกคือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การปล้นอำนาจรัฐ” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่องค์กรระหว่างประเทศศึกษาประเมินและพัฒนาคุณภาพของรัฐบาลหลายองค์กรให้ความสนใจ กลุ่มนักวิชาการธนาคารโลกได้ให้ความหมายของ “การปล้นอำนาจรัฐ” ว่า “ขอบเขตของคือการที่กลุ่มบริษัทกระทำผิดกฎหมาย โดยการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับรัฐเพื่อแลกกับการมีอิทธิพลในการออกกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับที่ออกโดยสถาบันรัฐ ” การที่กลุ่มนักวิชาการธนาคารโลกนิยามความหมายของปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นถือว่่ามีประโยชน์ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามคำนิยามดังกล่าวมีข้อผิดพลาดบางประการ ซึ่งทำให้ “การปล้นอำนาจรัฐ” เป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน
กลุ่มเครือข่ายที่มีผลประโยชน์พิเศษและบริษัทเอกชนเกือบทั่วโลกเหล่านี้มักพยายามที่จะซื้อโอกาสในการเข้าถึงองค์กรรัฐ ไม่เว้นแม้กระทั่งกลุ่มเครือข่ายหรือบริษัทเอกชนในประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยมายาวนานและ “มั่นคง” แต่ความแตกต่างของปรากฏการณ์การนี้ในประเทศรัสเซียและสหรัฐนั้นวับซ้อนมากกว่านั้น ความแตกต่างที่สำคัญคือกลุ่มธุรกิจใหญ่เหล่านั้นอาจมีอิทธิพลต่อการออกนโยบายรัฐ แต่ประชาชนยังคงใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อการแต่งตั้งหรือล้มรัฐบาลได้ การสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยใช้สถาบันของรัฐเพื่อการเพิ่มอำนาจและความร่ำรวยให้กับพรรคพวกของตน โดยจำกัดสิทธิของประชาชนและพื้นที่ของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งในการปฏิบัติหน้าที่ โดยปกติ “การปล้นอำนาจรัฐ” มักจะเป็นเรื่องที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิการแสดงออกอย่างหนัก และกระบวนการข่มขู่คุกคามเพื่อที่จะขัดขวางไม่ให้ประชาชนเหล่านั้นเคลื่อนไหวล้มล้างอำนาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานกฎหมายของผมเผชิญกับปรากฏการณ์ “ปล้นอำนาจรัฐ”หลายรูปแบบจากทั่วโลกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตัวอย่างเช่นในประเทศกัวเตมาลาและรัสเซีย กลุ่มคนเหล่านี้ได้ปล้นและบิดเบือนอำนาจรัฐและหน่วยงานสืบราชการลับ ศาล สภานิติบัญญัติ และกองทัพเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ระบอบประชาธิไตยภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นคือภาพลวงตา เพราะการตัดสินใจไม่ได้มาจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง คดีความถูกตัดสินจากเบื้องบน กระบวนการยุติธรรมมีไว้เพื่อเป็นเครื่องประกันไม่ให้กลุ่มคนเหล่านี้และกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐสนับสนุนคนกลุ่มนี้โดยยอมให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางอำนาจเพื่อให้ร้าย คุมขัง หรือเนรเทศกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ออกนอกประเทศ หรือลดอำนาจฝ่ายตรงข้าม สื่อถูกควบคุมโดยการผสมผสานระหว่างปิดกั้นข่าวสาร คุกคาม และให้สินบน และประชาชนจะไม่ถูกจับกุมคุมขังตาบใดที่ไม่ใช้เสรีภาพเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ในขณะเดียวกัน “การปล้นอำนาจรัฐ” คือปรากฏการณ์ที่มักจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศยุโรปและละตินอเมริกา และนั้นคือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภายใต้คราบของรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งได้ถูกสถาปนาขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทยได้อยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มธุรกิจครอบครัวไทยเชื้อสายจีน กลุ่มนายทหารในกองทัพ ข้าราชการพลเรือน และกลุ่มองคมนตรีผู้มีอำนาจ สมุกปกขาวของเราได้เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “กลุ่มอำมาตย์” เพื่อการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ส่วนตัวอันมหาศาลของตนเอง เหล่าข้าราชการพลเรือนและนายทหารร่วมมือกันเพื่อทำให้แน่ใจว่ากลุ่มบริษัทในประเทศกลุ่มใหญ่นี้ได้รับประโยชน์จากนโยบายงบประมาณรัฐ พยายามทำให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ใช้แรงงานอ่อนแอ และขัดขวางไม่ให้มีการแข่งขันทางการธุรกิจมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ตระกูลไม่กี่สิบตระกูลผูกขาดระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศ
หากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใดพยายามจะท้าทายระบบนี้โดยการควบคุมการออกนโยบาลรัฐหรือแทรกแซงเครือข่ายกลุ่มอำมาตย์เหล่านี้ก็จะถูกกล่าวหาอย่างเป็นระบบว่าไม่จงรักภักดีต่อบัลลังและโกงกินประเทศ หากยังไม่สำเร็จ รัฐบาลนั้นจะถูกยึดอำนาจโดยการทำรัฐประหารของเหล่าทหาร สิ่งที่ตลกร้ายคือ กลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทยกระทำการไม่ต่างจากเครือข่ายกลุ่มอาชญากร แต่กลุ่มคนที่ต่อต้านระบบเหล่านั้นกลับถูกประณามว่าเป็นคนที่ “โกงกิน” ประเทศ และ “น่ารังเกียจ”
ข้ออ้างในการทำรัฐประหารในประวัติศาสตร์ชาติไทยทุกครั้งคือ ต้องการกำจัดการคอรัปชั่น และในบางครั้งยังมีการทำรัฐประหารยึดอำนาจจากทหารด้วยกันเอง ข้อกล่าวหาคอรัปชั่นให้ยึดอำนาจที่ผิดกฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการปล้นอำนาจรัฐในประเทศไทยโดยกลุ่มนายทหาร การใช้ข้ออ้างนี้ก็เพื่อที่จะปกปิดความชั่วร้ายของคนกลุ่มนี้ และประเทศตะวันยังคงเชื่อข้ออ้างดังกล่าวจนถึงทุกวันนี้ แม้มือของกลุ่มคนพวกนี้จะเปียกโชกไปด้วยเลือดของประชาชนที่พวกเขาสังหารครั้งแล้วครั้งเล่าก็ตาม
การต่อสู้คดีความในประเทศที่เผชิญกับปรากฏการณ์อำนาจรัฐถูกปล้นนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนอย่างมาก นั้นเพราะศาลเป็นสถาบันที่ถูกปล้นอำนาจได้ง่าย การดำเนินคดีต่อเจ้าหน้ารัฐในการใช้อำนาจที่ผิดกฎหมายแทบจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และในขณะเดียวกันการพิจารณาคดีในศาลไม่ได้ต่างไปละครที่วิจิตรบรรจงอย่างละครคาบูกิ ที่การพิพากษาคดีไม่ขึ้นอยู่กับความอ่อนหรือแข็งของการข้อต่อสู้ทางคดีของผู้ต้องหา อีกกรณีหนึ่งคือการทำให้ประชาคมโลกหันมาสนใจปัญหาเป็นสิ่งที่ยากเพราะประโยชน์ที่ประเทศเหล่านี้ได้รับนั้นจำกัด และรัฐบาลตะวันตกนั้นให้ความสำคัฐกับภาพลักษณ์ในระบอบประชาธิปไตยมากกว่าแก่นสารของระบอบนี้
การ “ปล้นอำนาจรัฐ” ในประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะ ในยุค 50 สิ่งสำคัญแรกสุดในมุมมองของประชาคมโลกต่อการแก้ปัญหาความไม่มั่นคงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการใช้วิธีการทางการเมืองที่ไม่ได้คำนึงถึงจริยธรรม อย่างแรกคือการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ และเมื่อไม่นานมานี้คือลดอิทธิพลของสาธารณรับประชาชนจีน โดยสหรัฐได้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินอย่างมากต่อกลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทย แม้ว่าในเวลานั้นรับบาลไทยจะใช้ระบบที่กดขี่ประชาชนแค่ไหนก็ตาม ผลก็คือประเทศเดียวที่สามารถกดดันและผลักดันให้ประเทศไทยไปสู่แนวทางประชาธิปไตยได้นั้น ไม่ได้มีความสนใจที่จะทำเช่นนั้น และในประเทศไทยนั้น พื้นฐานของ “การปล้นอำนาจรัฐ”มีเล่ห์อุบายที่ซับซ้อนกว่าประเทศรัสเซียหรือกัวเตมาลา ประเทศเหล่านี้ การปล้นอำนาจรัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานของเงินและกองทัพอย่างชัดเจน แต่การปล้นอำนาจรัฐในประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติและกระบวนการล้างสมอง กว่าร้อยปีที่ผ่านมา หน้าที่หลักของระบบการศึกษาไทยและสถาบันทางศาสนาคือการหลอกลวงประชาชนให้เชื่อว่าความเหลื่อมล้ำทางอำนาจและรายได้นั้นคือสิ่งที่ “เป็นธรรมชาติ” และคำกล่าวนั้น ทำให้เชื่อว่ากลุ่มอำมาตย์เหล่านั้นมีสิทธิตามธรรมชาติที่จะทำอะไรก็ได้เพราะได้ทำกรรมที่ดีกว่าและกระทำคุณงามความดีที่มากกว่าคนทั่วไป
โศกนาถกรรมที่เกิดขึ้นใน 4ปีที่ผ่านมา อาจจะเผยให้เห็นว่ากลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทยสามารถรักษาอำนาจของกลุ่มตนโดยการใช้วิธีการสุดขั้วและจนตรอกอย่างการทำรัฐประหาร ยึดสนามบิน ปิดกั้นข่าวสารอย่างรุนแรง คุมขังนักโทษทางการเมืองหลายร้อยคน ใช้อำนาจฉุกเฉิน สังหารหมู่ประชาชนเท่านั้น และยังมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการโฆษณาชวนเชื่อว่าจะมีการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง เหตุผลที่วิธีการเหล่านี้มีความจำเป็นเพราะกระบวนการล้างสมองประชาชนได้ล้มเหลว ประชาชนไม่เชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่ออีกต่อไป และหลายคนต้องการที่จะทวงประเทศของพวกเขาคืน
กว่าสองทศวรรษผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยใช้ได้ผลกับประเทศกำลังพัฒนาไม่เป็นไปอย่างที่ชาวตะวันตกกลัว แต่ข้อเท็จจริงคือจุดสูงสุดของคลื่นประชาธิปไตยในต้นยุค 90 ได้ถอยหลังลงคลองแสดงให้เห็นว่าความเชื่อในเรื่อง “จุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์” ไม่เป็นความจริง ความเสื่อมของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาคมโลกได้เห็นในสองศตวรรษที่ผ่านมา ย้ำให้เห็นเราต้องระมัดระวังอย่างจริงจังว่าไม่มีชัยชนะใดที่ถาวร และเมื่อเราได้ความเป็นประชาธิปไตยมา เราจะต้องปกป้องเสรีภาพนั้นอย่างจริงจัง ประชาชนไทยกำลังจารึกประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยอันยาวนานหน้าใหม่ โดยทวงคืนอำนาจรัฐจากกลุ่มอำมาตย์เผด็จการที่ไร้ยางอาย และนี่จะเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้ประชาคมโลกเห็นว่ากระบวนการการทวงคืนและเรียกร้องสิ่งเหล่านั้นทำกันอย่างไร
ที่มา. Robert Amsterdam
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ลูกไล่สหรัฐ
โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้คุมขังนายวิคเตอร์ อนาโตลเจวิช บูท อายุ 43 ปี สัญชาติรัสเซีย อดีตทหารหน่วยเคจีบี ซึ่งเป็นพ่อค้าอาวุธสงครามรายใหญ่ระดับโลก เจ้าของฉายา “พ่อค้าความตาย” เพื่อรอส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนภายในเวลา 3 เดือน หากถึงกำหนดยังไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้ปล่อยตัวนั้น เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก เพราะความขัดแย้งของ 2 มหาอำนาจคือสหรัฐกับรัสเซีย ทำให้ประเทศไทยเหมือนหญ้าแพรกท่ามกลางช้างสาร
เพราะก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 ให้ยกคำร้องของอัยการโจทก์ เนื่องจากเห็นว่าความผิดที่กล่าวหานายบูทข้อหาร่วมมือกับขบวนการ FARC ที่ต่อต้านรัฐบาลโคลอมเบียเป็นการกระทำที่มีจุดประสงค์และมุ่งหวังทางการเมือง จึงมีลักษณะเป็นคดีการเมืองที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่อัยการโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์โดยยื่นหลักฐานเพิ่มให้ดำเนินคดีอาญาคือ
1.ข้อหาร่วมสมรู้ร่วมคิดในการฆ่าผู้อื่น 2.ข้อหาร่วมสมรู้ร่วมคิดในการฆ่าเจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐ 3.ข้อหาร่วมสมรู้ร่วมคิดในการจัดหาและใช้อาวุธสงครามต่อต้านอากาศยาน และ 4.ข้อหาร่วมสมรู้ร่วมคิดในการสนับสนุนอย่างมีสาระสำคัญให้กับองค์การก่อการร้ายต่างประเทศ ซึ่งละเมิดกฎหมายสหรัฐในฐานะผู้ต้องหาคดีค้าอาวุธสงคราม
คำตัดสินของศาลอุทธรณ์ทำให้สหรัฐแถลงแสดงความพอใจทันที ขณะที่รัสเซียก็แถลงตำหนิและระบุว่ามีแรงกดดันจากสหรัฐ ทั้งประกาศจะขัดขวางไม่ให้ส่งตัวนายบูทจนถึงที่สุด นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่ารัฐบาลไทยได้ผลประโยชน์จากสหรัฐด้วยการซื้อเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กในราคาพิเศษ 3 ลำ
จะจริงหรือเท็จก็ตาม สื่อของสหรัฐก็แสดงความประหลาดใจต่อคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ไทย แต่นายบูทยังมั่นใจว่าจะชนะคดีในสหรัฐ ขณะที่วงการทูตก็เชื่อว่าปัญหาขัดแย้งทางการทูตจากคดีนี้จะจบลงด้วยวิธีแก้ไขทางการทูต ซึ่ง 2 มหาอำนาจอาจมีการแลกเปลี่ยนตัวนักโทษสำคัญระหว่างกัน
แต่สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่ว่ารัฐบาลจะอ้างว่าศาลไทยแทรกแซงไม่ได้ แต่การเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ระดับสูงสหรัฐที่เดินทางมาไทยอย่างถี่ยิบตั้งแต่ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศและกลุ่ม ส.ว.สหรัฐก่อนหน้าการตัดสิน หรือท่าทีของสหรัฐต่อสถานการณ์การเมืองของไทยช่วง “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่สนับสนุนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ทำให้รัสเซียและประชาคมโลกสามารถมองตรงข้ามกับรัฐบาลไทยได้เช่นกัน เพราะก่อนหน้านี้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประกาศเคียงข้างสหรัฐในการต่อสู้กับกลุ่มอัลกออิดะห์
แม้ไทย-สหรัฐจะเชิดชูว่าเป็นมหามิตรระหว่างกันมายาวนาน แต่ประชาคมโลกกลับมองว่าประเทศไทยเป็นแค่ลูกไล่ของสหรัฐ แม้จะสิ้นสุดยุคสงครามเย็นไปแล้วก็ตาม แต่นโยบายต่างประเทศของไทยก็ยังติดยึดกับสหรัฐอย่างมาก แทนที่จะดำเนินนโยบายอย่างเป็นอิสระและคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในระยะยาว ซึ่งมหาอำนาจโลกวันนี้ไม่ได้มีแค่สหรัฐหรือรัสเซีย
**********************************************************************
กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้คุมขังนายวิคเตอร์ อนาโตลเจวิช บูท อายุ 43 ปี สัญชาติรัสเซีย อดีตทหารหน่วยเคจีบี ซึ่งเป็นพ่อค้าอาวุธสงครามรายใหญ่ระดับโลก เจ้าของฉายา “พ่อค้าความตาย” เพื่อรอส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนภายในเวลา 3 เดือน หากถึงกำหนดยังไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้ปล่อยตัวนั้น เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก เพราะความขัดแย้งของ 2 มหาอำนาจคือสหรัฐกับรัสเซีย ทำให้ประเทศไทยเหมือนหญ้าแพรกท่ามกลางช้างสาร
เพราะก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 ให้ยกคำร้องของอัยการโจทก์ เนื่องจากเห็นว่าความผิดที่กล่าวหานายบูทข้อหาร่วมมือกับขบวนการ FARC ที่ต่อต้านรัฐบาลโคลอมเบียเป็นการกระทำที่มีจุดประสงค์และมุ่งหวังทางการเมือง จึงมีลักษณะเป็นคดีการเมืองที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่อัยการโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์โดยยื่นหลักฐานเพิ่มให้ดำเนินคดีอาญาคือ
1.ข้อหาร่วมสมรู้ร่วมคิดในการฆ่าผู้อื่น 2.ข้อหาร่วมสมรู้ร่วมคิดในการฆ่าเจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐ 3.ข้อหาร่วมสมรู้ร่วมคิดในการจัดหาและใช้อาวุธสงครามต่อต้านอากาศยาน และ 4.ข้อหาร่วมสมรู้ร่วมคิดในการสนับสนุนอย่างมีสาระสำคัญให้กับองค์การก่อการร้ายต่างประเทศ ซึ่งละเมิดกฎหมายสหรัฐในฐานะผู้ต้องหาคดีค้าอาวุธสงคราม
คำตัดสินของศาลอุทธรณ์ทำให้สหรัฐแถลงแสดงความพอใจทันที ขณะที่รัสเซียก็แถลงตำหนิและระบุว่ามีแรงกดดันจากสหรัฐ ทั้งประกาศจะขัดขวางไม่ให้ส่งตัวนายบูทจนถึงที่สุด นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่ารัฐบาลไทยได้ผลประโยชน์จากสหรัฐด้วยการซื้อเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กในราคาพิเศษ 3 ลำ
จะจริงหรือเท็จก็ตาม สื่อของสหรัฐก็แสดงความประหลาดใจต่อคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ไทย แต่นายบูทยังมั่นใจว่าจะชนะคดีในสหรัฐ ขณะที่วงการทูตก็เชื่อว่าปัญหาขัดแย้งทางการทูตจากคดีนี้จะจบลงด้วยวิธีแก้ไขทางการทูต ซึ่ง 2 มหาอำนาจอาจมีการแลกเปลี่ยนตัวนักโทษสำคัญระหว่างกัน
แต่สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่ว่ารัฐบาลจะอ้างว่าศาลไทยแทรกแซงไม่ได้ แต่การเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ระดับสูงสหรัฐที่เดินทางมาไทยอย่างถี่ยิบตั้งแต่ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศและกลุ่ม ส.ว.สหรัฐก่อนหน้าการตัดสิน หรือท่าทีของสหรัฐต่อสถานการณ์การเมืองของไทยช่วง “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่สนับสนุนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ทำให้รัสเซียและประชาคมโลกสามารถมองตรงข้ามกับรัฐบาลไทยได้เช่นกัน เพราะก่อนหน้านี้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประกาศเคียงข้างสหรัฐในการต่อสู้กับกลุ่มอัลกออิดะห์
แม้ไทย-สหรัฐจะเชิดชูว่าเป็นมหามิตรระหว่างกันมายาวนาน แต่ประชาคมโลกกลับมองว่าประเทศไทยเป็นแค่ลูกไล่ของสหรัฐ แม้จะสิ้นสุดยุคสงครามเย็นไปแล้วก็ตาม แต่นโยบายต่างประเทศของไทยก็ยังติดยึดกับสหรัฐอย่างมาก แทนที่จะดำเนินนโยบายอย่างเป็นอิสระและคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในระยะยาว ซึ่งมหาอำนาจโลกวันนี้ไม่ได้มีแค่สหรัฐหรือรัสเซีย
**********************************************************************
สตง.- ธรรมศาสตร์ วุ่นพอกัน!
ตัณหาเก้าอี้-โลกีย์อำนาจ
สำหรับสังคมไทยในยุคปัจจุบัน ที่คำว่า “หิริ โอตัปปะ” อาจจะเป็นคำที่คนบางประเภทเลือกที่จะไม่คุ้นเคย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า “หิริ” ที่แปลว่า ความละอาย
การแก่งแย่งช่วงชิง กอบโกย แสวงหาผลประโยชน์ ใช้อำนาจรัฐบังหน้าแล้วคอร์รัปชั่นกันอย่างสนุกปาก จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมากใต้เงาของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
เพราะนายอภิสิทธิ์ ใช้ภาพลักษณ์ที่สร้างว่าเป็นนายสะอาด บวกกับการหนุนหลังของกลุ่มคนในกองทัพ และโดยเฉพาะกลุ่มขั้วอำนาจบางกลุ่มที่อุ้มชูขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี จนเก้าอี้แข็งแกร่ง ชนิดที่แม้แต่การเสียชีวิตของประชาชนกว่า 80-90 ราย บาดเจ็บกว่า 2,000 คน
ยังไม่สามารถทำให้เก้าอี้ของนายอภิสิทธิ์ สั่นคลอนได้แม้แต่น้อย
ทำให้กลุ่มผลประโยชน์อาศัยเป็นช่องทางหาผลประโยชน์กันอย่างหนัก ลามปามหนักไปจนถึงเรื่องงบประมาณของประเทศ ที่ประเคนให้กลุ่มที่ค้ำยันเก้าอี้อย่างสนุกสนาน ทั้งงบกระทรวงกลาโหม งบกระทรวงมหาดไทย งบกระทรวงการคลัง ที่ประเคนกันขึ้นหลักแสนล้านบาท
รวมทั้งงบกระทรวงคมนาคม ที่พรรคภูมิใจไทยดูแลอยู่ ก็เตรียมขยายผลจะเอารถเมล์เช่า 4,000 คันให้ได้ แถมจะขยายสนามบินสุวรรณภูมิอีก 6.2 หมื่นล้านบาท
การประเคนและการเตรียมใช้งบประมาณกันอย่างสนุกสนานเช่นนี้หรือไม่ ที่ทำให้ปัญหาเก้าอี้ผู้ว่าการ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ไม่สามารถจะจบลงได้ง่ายๆ… และปริศนาที่ว่าทำไม คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา จึงประกาศที่จะอยู่บนเก้าอี้บิ๊ก สตง. ไปจนกระทั่งอายุ 70 ปี
ทั้งๆ ที่เจตนารมณ์ตามกฎหมายให้อยู่ได้แค่ 65 ปีเท่านั้น... ก็ยังไม่พอ???
จึงกลายเป็นเกิดศึก ที่ทำให้ภาพลักษณ์ของ สตง.ป่นปี้ ในขณะที่คำถามที่สังคมสงสัยในการยึดติดเก้าอี้ของคุณหญิงเป็ด จึงยังคงกระฉ่อนฉาวไม่จบด้วยเช่นกัน
เพราะวันนี้ ภายใน สตง.เอง ก็เกิดการงัดข้อกันอย่างหนัก เนื่องจากนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่า สตง. ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรักษาการผู้ว่า สตง. ก็เข้าเกียร์เดินหน้าชักธงรบเต็มที่ ยืนยันว่า
คุณหญิงเป็ดพ้นจากตำแหน่งแล้ว ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน
เล่นเอาคุณหญิงเป็ดซึ่งแสดงชัดเจนว่า ไม่ต้องการลุกจากเก้าอี้ แต่ประกาศจะขออยู่ยาวอีก 5 ปีเต็ม ถึงกับเซ็นคำสั่งยกเลิกคำสั่ง สตง.ที่ 75/2552 ลงวันที่ 9 เม.ย. 2552 ให้ นายพิศิษฐ์ พ้นจากรักษาการผู้ว่า สตง.
โดยถือว่า ในเมื่อเป็นคนแต่งตั้งได้ ก็สามารถที่จะยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งได้ และมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาขึ้น
แต่นายพิศิษฐ์ ก็ไม่หวั่น โดยเมื่อวันที่ 19 ส.ค. ผู้บริหารระดับสูงของ สตง. ได้ร่วมประชุมพิจารณาข้อกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา และหนังสือคำสั่ง 3 ฉบับที่คุณหญิงเป็ดออกมาในวันที่ 18 ส.ค.
ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าข้อกฎหมายที่กฤษฎีกาอ้าง มีเหตุผลรับฟังได้ว่าคุณหญิงจารุวรรณ ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
และการที่คุณหญิงจารุวรรณไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าได้ หมายความว่าปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไม่ได้เช่นกัน
“ดังนั้นหนังสือ 3 ฉบับที่ออกมาโดยใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จึงไม่มีผลบังคับใช้ได้ ประกอบกับหนังสือทั้งหมด อาศัยการตีความจากคุณหญิงจารุวรรณเอง จึงไม่มีน้ำหนักเหตุผลที่จะรับฟังได้ ดังนั้น เราจะต้องปฏิบัติตามแนวทางของกฤษฎีกาโดยเคร่งครัด เพราะผู้รักษาการเป็นข้าราชการประจำ อย่างไรจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ”
งานนี้ สตง.ร้อนฉ่าอย่างแน่นอน เพราะคุณหญิงเป็ด เปิดเกมสู้ทันที
โดยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม คุณหญิงจารุวรรณ ตอบโต้โดยใช้อำนาจผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ว่าการ สตง. ลงนามในบันทึกส่งไปยังผู้บริหารระดับสูงทั้ง 7 คน ว่าจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยขึ้นมาเอาผิด ในฐานะที่ไปร่วมประชุมและลงมติทำบันทึกแย้งอำนาจของตน ทั้งที่ไม่มีอำนาจ
“การกระทำครั้งนี้ ชัดเจนว่าคุณหญิงจารุวรรณต้องการขู่ข้าราชการทั้ง 7 คน แต่ทั้ง 7 คนได้หารือร่วมกันแล้ว และเห็นว่า จะไม่สนใจบันทึกฉบับดังกล่าว ที่คุณหญิงทำออกมา เพราะมองว่าเป็นเพียงแค่เศษกระดาษ เนื่องจากคุณหญิงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการ”
ซึ่งขณะนี้กลุ่มข้าราชการระดับสูงของ สตง. ทั้ง 7 คน กำลังปรึกษาว่า จะดำเนินการอย่างไรกับการกระทำครั้งนี้ของคุณหญิงจารุวรรณ ทั้งการออกคำสั่งยกเลิกตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการ สตง. หรือการออกบันทึกแจ้งเวียนการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่มากเกินไป
เนื่องจากที่ผ่านมากลุ่มข้าราชการทั้ง 7 คน พยายามหาทางประนีประนอม เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณหญิงจารุวรรณมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นส่งตัวแทนเข้าไปเจรจา ยึดหลักกฎหมายที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับมาใช้ประกอบการแก้ปัญหา ไม่มีการทำอะไรที่เกินกว่าเหตุ เพราะยังให้ความเคารพคุณหญิงอยู่ ห้องทำงานผู้ว่าการ สตง.ก็ยอมให้ใช้ รวมถึงรถประจำตำแหน่งและโทรศัพท์มือถือ
แต่แทนที่คุณหญิงจารวุรรณ จะยอมรับความจริง ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย ปล่อยวางจากตำแหน่งผู้ว่าการ สตง. แต่คุณหญิงจารุวรรณกลับทำแบบนี้ ถือเป็นเรื่องที่เกินจะยอมรับได้ และคงจะมีการหามาตรการขั้นเด็ดขาด มาใช้แก้ไขปัญหานี้โดยเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตามในขั้วของนายพิศิษฐ์เองก็น่าเป็นห่วง เพราะเกมที่คุณหญิงเป็ดจะใช้สู้ต่อไปก็คือ จะใช้โอกาสที่ในวันที่ 30 กันยายน ซึ่งข้าราชการระดับ 10 จะเกษียณอายุราชการ 6 คน เหลือนายพิศิษฐ์คนเดียว และคุณหญิงเป็ดสามารถจะใช้อำนาจในฐานะประธานคตง. แต่งตั้งข้าราชการระดับ 10 ขึ้นมาทดแทนได้เอง
รวมทั้งระดับ 9 ที่จะเลื่อนขึ้นมาจากระดับ 8 ก็สามารถแต่งตั้งคนที่ต้องการให้ขึ้นมาได้
เท่ากับเป็นการโดดเดี่ยวนายพิศิษฐ์ ซึ่งสามารถอยู่ได้ถึงปี 55 ให้ยอมจำนนได้ไม่ยาก
นี่แหละจะเรียกเป็นอาถรรพ์เก้าอี้ หรือตัณหาเก้าอี้ก็แล้วแต่ ที่แน่ๆ วันนี้ภาพลักษณ์ สตง.เละไปแล้ว
ทั้งๆ ที่ สตง.ควรเป็นที่พึ่งที่เชื่อถือได้ ในการตรวจสอบการการใช้จ่ายงบประมาณ มาเจอพิษการเมืองแทรกจนป่วนเช่นนี้ ย่อมน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
เช่นเดียวกับอีกเก้าอี้หนึ่ง ที่น่าจะเป็นเก้าอี้ที่เป็นภาพลักษณ์หน้าตาให้กับสถาบัน และเป็นที่พึ่งพิงของสังคมไทยด้วยเช่นกัน
นั่นก็คือ “เก้าอี้อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
ที่งวดเข้าใกล้โค้งสุดท้ายเต็มทีแล้วว่า ใครจะเป็นคนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งจะหมดวาระลงในเดือนกันยายนนี้
การที่เก้าอี้อธิการบดี มธ. งวดนี้ได้รับความสนใจจากสังคมมากเป็นพิเศษ ก็เป็นเพราะผลงานในการแสดงจุดยืนว่าเอนเอียงไปในการรับใช้ทหาร รับใช้รัฐบาล ของ ดร.สุรพล นั่นเองที่เป็นสาเหตุใหญ่
ซึ่งในวันพุธที่ 25 สิงหาคมนี้ เวลา 9.00 น.-15.00 น. จะมีการหยั่งเสียงอธิการบดี มธ. คนใหม่ ใน 3 สาย คือ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา... ถ้าใครชนะ เก้าอี้อธิการบดี มธ. ก็น่าจะอยู่ใกล้แค่เอื้อมแล้ว
ซึ่ง 3 ผู้ลุ้นชิงตำแหน่ง ซึ่งประกอบด้วย ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ รองอธิการบดี ฝ่ายการคลัง ที่มี ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ หนุนหลัง อีกคนหนึ่งก็คือ รศ.ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์ และคนสุดท้ายที่น่าสนใจก็คือ
รศ.ดร.กําชัย จงจักรพันธ์ อดีตรองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ท้าชิง 2 สมัยซ้อน
ดูเผินๆ อาจจะคิดว่า เป็นการสลับเปลี่ยนตัวบุคคลไปตามวาระปกติ และทั้ง 3 คนก็เป็นสายเลือด มธ.ด้วยกันทั้งสิ้น จนอาจจะคิดไปว่า ใครจะขึ้นมาก็คงไม่แตกต่างกัน... ซึ่งจริงๆ แล้วต้องบอกว่า
ใช้ไม่ได้กับการเลือกตั้งอธิการบดี มธ.ในครั้งนี้
เพราะมีร่องรอยและเงื่อนงำให้เห็นว่า ระยะหลังๆ เครือข่ายของ “ระบบอุปถัมภ์” ที่นักวิชาการและผู้บริหารของ มธ. บางคนเลือกที่จะทำงานรับใช้ชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง เพื่อที่จะได้รับรางวัลตอบแทนเป็นตำแหน่งทางการเมืองบ้าง ในรัฐวิสาหกิจต่างๆ บ้าง
ทั้งๆ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นที่พึ่งพิงของสังคม เป็นผู้นำทางความคิด
แต่กลับกลายเป็นว่ายุคนี้มีผู้บริหารบางคน สามารถเข้าสู่ตำแหน่งภายนอกได้ ก็โดยที่มีตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยเป็นตัวรองรับ หรือเป็นจั๊มพ์ปิ้ง บอร์ด ให้ จนแทนที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะวางตัวเพื่อเป็นเสาหลักให้แก่สมาชิกของประชาคม กลับเลือกที่จะเป็นเสาค้ำยันให้กับชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง อันเป็นการสร้างค่านิยมผิด ๆ ให้กับนักวิชาการรุ่นหลังว่า
ความสำเร็จของการเป็นนักวิชาการคือ การได้รับตำแหน่งใหญ่ๆ ภายนอก!!!
ดังนั้นความสำคัญในการเลือกตั้งอธิการบดี มธ.คนใหม่ ในครั้งนี้จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะดูเหมือนว่าจะมีแรงหนุนทางการเมืองเข้ามาช่วย บุคคลบางคนมากเป็นพิเศษ
ซึ่งล่าสุด แม้แต่คนในมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์เอง ยังยอมรับว่า ดร.สมคิด ค่อนข้างที่จะได้เปรียบคู่แข่ง เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากอธิการบดีคนปัจจุบัน
เพราะความเป็นเพื่อนร่วมรุ่น นิติศาสตร์ ปี 2521
แน่นอนว่า มีแบ็คดีหนุนหลัง ก็ช่วยให้ไม่ต้องหาเสียงมาก เพราะมีต้นทุนที่สุรพลเพื่อนรัก วางแผนจัดการเอาไว้ให้อย่างเพียงพอ แต่สิ่งที่น่าคิด และเป็นสิ่งที่ ประชาคม มธ.ทั้งหลายจะต้องคิดให้หนัก ก้คือ การสืบทอดอำนาจ เป็นสิ่งที่สมควรให้เกิดขึ้นในสถาบันที่เชิดชูประชาธิปไตยมายาวนานหรือไม่???
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการสืบทอดอำนาจจาก ดร.สุรพล ซึ่งเมื่อเป็นอธิการบดี มธ. และใกล้ชิดการเมือง ก็ได้ไปเป็นใหญ่เป็นโต ในตำแหน่ง ประธานกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ด้วย
ซึ่ง อสมท. คุมทั้งสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ เคเบิลทีวี และแม้แต่กระทั่ง สัมปทานช่อง 3 ของตระกูลมาลีนนท์ ที่ถูกจับตาว่าโปร่งใสเพียงใดหรือไม่ ก็เกิดขึ้นในช่วงที่ ดร.สุรพล นั่งเป็นประธานบอร์ด อสมท
ขณะเดียวกัน ดร. สมคิด เองก็ได้เข้าไปร่วมร่างและเป็นอดีตเลขานุการกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 รัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งวันนี้เห็นชัดแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับใช้อำนาจใด
ในขณะที่ รศ.ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ แม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปในวงจรเหล่านั้น แต่ก็ยังคงต้องเหนื่อยไม่น้อย เพราะแม้แต่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีเอง ซึ่งควรเป็นฐานสนับสนุนหลักก็กลับยังมีความไม่แน่นอนอยู่
ส่วน รศ.ดร.กำชัย นั้น แม้ว่าจะเคยเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ และเคยเป็นรองธิการบดี มาแล้ว แต่ในการชิงชัยตำแหน่ง อธิการบดี มธ. มา 2 ครั้ง ล้วนถูกบล็อกให้พ่ายแพ้มาแล้ว ครั้งนี้ไม่รู้ว่าจะฝ่ากระแสอำนาจที่เชี่ยวกรากขึ้นมาได้หรือไม่
เนื่องจาก รศ.ดร.กำชัย ไม่เคยรับใช้เผด็จการทหาร หรืออำนาจการเมืองปัจจุบันมาก่อน จึงต้องเผชิญกับแรงเสียดทานของอำนาจอย่างช่วยไม่ได้
เพราะมุมมองที่น่าสนใจของ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ที่กล่าวว่า
“ผมยังไม่รู้เลยว่าผมจะไปเลือกหรือเปล่า รู้ไหมครับว่าทำไม เพราะว่าในที่สุดผมทราบว่า มันไม่มีผลอะไรเลย การตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย และทุกวันนี้สภามหาวิทยาลัย ถูกยึดกุมโดยกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง"
ดังนั้นสุดท้ายจึงอยู่ประชาคม มธ. นั่นแหละว่า จะหยุดการใช้ตำแหน่งอธิการบดีไต่เต้าทางการเมือง
และจะให้อธิการบดีคนใหม่สัญญากับประชาคมว่า จะไม่ควบตำแหน่งการเมือง ได้หรือไม่?
ที่มา.บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สำหรับสังคมไทยในยุคปัจจุบัน ที่คำว่า “หิริ โอตัปปะ” อาจจะเป็นคำที่คนบางประเภทเลือกที่จะไม่คุ้นเคย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า “หิริ” ที่แปลว่า ความละอาย
การแก่งแย่งช่วงชิง กอบโกย แสวงหาผลประโยชน์ ใช้อำนาจรัฐบังหน้าแล้วคอร์รัปชั่นกันอย่างสนุกปาก จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมากใต้เงาของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
เพราะนายอภิสิทธิ์ ใช้ภาพลักษณ์ที่สร้างว่าเป็นนายสะอาด บวกกับการหนุนหลังของกลุ่มคนในกองทัพ และโดยเฉพาะกลุ่มขั้วอำนาจบางกลุ่มที่อุ้มชูขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี จนเก้าอี้แข็งแกร่ง ชนิดที่แม้แต่การเสียชีวิตของประชาชนกว่า 80-90 ราย บาดเจ็บกว่า 2,000 คน
ยังไม่สามารถทำให้เก้าอี้ของนายอภิสิทธิ์ สั่นคลอนได้แม้แต่น้อย
ทำให้กลุ่มผลประโยชน์อาศัยเป็นช่องทางหาผลประโยชน์กันอย่างหนัก ลามปามหนักไปจนถึงเรื่องงบประมาณของประเทศ ที่ประเคนให้กลุ่มที่ค้ำยันเก้าอี้อย่างสนุกสนาน ทั้งงบกระทรวงกลาโหม งบกระทรวงมหาดไทย งบกระทรวงการคลัง ที่ประเคนกันขึ้นหลักแสนล้านบาท
รวมทั้งงบกระทรวงคมนาคม ที่พรรคภูมิใจไทยดูแลอยู่ ก็เตรียมขยายผลจะเอารถเมล์เช่า 4,000 คันให้ได้ แถมจะขยายสนามบินสุวรรณภูมิอีก 6.2 หมื่นล้านบาท
การประเคนและการเตรียมใช้งบประมาณกันอย่างสนุกสนานเช่นนี้หรือไม่ ที่ทำให้ปัญหาเก้าอี้ผู้ว่าการ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ไม่สามารถจะจบลงได้ง่ายๆ… และปริศนาที่ว่าทำไม คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา จึงประกาศที่จะอยู่บนเก้าอี้บิ๊ก สตง. ไปจนกระทั่งอายุ 70 ปี
ทั้งๆ ที่เจตนารมณ์ตามกฎหมายให้อยู่ได้แค่ 65 ปีเท่านั้น... ก็ยังไม่พอ???
จึงกลายเป็นเกิดศึก ที่ทำให้ภาพลักษณ์ของ สตง.ป่นปี้ ในขณะที่คำถามที่สังคมสงสัยในการยึดติดเก้าอี้ของคุณหญิงเป็ด จึงยังคงกระฉ่อนฉาวไม่จบด้วยเช่นกัน
เพราะวันนี้ ภายใน สตง.เอง ก็เกิดการงัดข้อกันอย่างหนัก เนื่องจากนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่า สตง. ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรักษาการผู้ว่า สตง. ก็เข้าเกียร์เดินหน้าชักธงรบเต็มที่ ยืนยันว่า
คุณหญิงเป็ดพ้นจากตำแหน่งแล้ว ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน
เล่นเอาคุณหญิงเป็ดซึ่งแสดงชัดเจนว่า ไม่ต้องการลุกจากเก้าอี้ แต่ประกาศจะขออยู่ยาวอีก 5 ปีเต็ม ถึงกับเซ็นคำสั่งยกเลิกคำสั่ง สตง.ที่ 75/2552 ลงวันที่ 9 เม.ย. 2552 ให้ นายพิศิษฐ์ พ้นจากรักษาการผู้ว่า สตง.
โดยถือว่า ในเมื่อเป็นคนแต่งตั้งได้ ก็สามารถที่จะยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งได้ และมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาขึ้น
แต่นายพิศิษฐ์ ก็ไม่หวั่น โดยเมื่อวันที่ 19 ส.ค. ผู้บริหารระดับสูงของ สตง. ได้ร่วมประชุมพิจารณาข้อกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา และหนังสือคำสั่ง 3 ฉบับที่คุณหญิงเป็ดออกมาในวันที่ 18 ส.ค.
ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าข้อกฎหมายที่กฤษฎีกาอ้าง มีเหตุผลรับฟังได้ว่าคุณหญิงจารุวรรณ ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
และการที่คุณหญิงจารุวรรณไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าได้ หมายความว่าปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไม่ได้เช่นกัน
“ดังนั้นหนังสือ 3 ฉบับที่ออกมาโดยใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จึงไม่มีผลบังคับใช้ได้ ประกอบกับหนังสือทั้งหมด อาศัยการตีความจากคุณหญิงจารุวรรณเอง จึงไม่มีน้ำหนักเหตุผลที่จะรับฟังได้ ดังนั้น เราจะต้องปฏิบัติตามแนวทางของกฤษฎีกาโดยเคร่งครัด เพราะผู้รักษาการเป็นข้าราชการประจำ อย่างไรจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ”
งานนี้ สตง.ร้อนฉ่าอย่างแน่นอน เพราะคุณหญิงเป็ด เปิดเกมสู้ทันที
โดยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม คุณหญิงจารุวรรณ ตอบโต้โดยใช้อำนาจผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ว่าการ สตง. ลงนามในบันทึกส่งไปยังผู้บริหารระดับสูงทั้ง 7 คน ว่าจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยขึ้นมาเอาผิด ในฐานะที่ไปร่วมประชุมและลงมติทำบันทึกแย้งอำนาจของตน ทั้งที่ไม่มีอำนาจ
“การกระทำครั้งนี้ ชัดเจนว่าคุณหญิงจารุวรรณต้องการขู่ข้าราชการทั้ง 7 คน แต่ทั้ง 7 คนได้หารือร่วมกันแล้ว และเห็นว่า จะไม่สนใจบันทึกฉบับดังกล่าว ที่คุณหญิงทำออกมา เพราะมองว่าเป็นเพียงแค่เศษกระดาษ เนื่องจากคุณหญิงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการ”
ซึ่งขณะนี้กลุ่มข้าราชการระดับสูงของ สตง. ทั้ง 7 คน กำลังปรึกษาว่า จะดำเนินการอย่างไรกับการกระทำครั้งนี้ของคุณหญิงจารุวรรณ ทั้งการออกคำสั่งยกเลิกตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการ สตง. หรือการออกบันทึกแจ้งเวียนการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่มากเกินไป
เนื่องจากที่ผ่านมากลุ่มข้าราชการทั้ง 7 คน พยายามหาทางประนีประนอม เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณหญิงจารุวรรณมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นส่งตัวแทนเข้าไปเจรจา ยึดหลักกฎหมายที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับมาใช้ประกอบการแก้ปัญหา ไม่มีการทำอะไรที่เกินกว่าเหตุ เพราะยังให้ความเคารพคุณหญิงอยู่ ห้องทำงานผู้ว่าการ สตง.ก็ยอมให้ใช้ รวมถึงรถประจำตำแหน่งและโทรศัพท์มือถือ
แต่แทนที่คุณหญิงจารวุรรณ จะยอมรับความจริง ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย ปล่อยวางจากตำแหน่งผู้ว่าการ สตง. แต่คุณหญิงจารุวรรณกลับทำแบบนี้ ถือเป็นเรื่องที่เกินจะยอมรับได้ และคงจะมีการหามาตรการขั้นเด็ดขาด มาใช้แก้ไขปัญหานี้โดยเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตามในขั้วของนายพิศิษฐ์เองก็น่าเป็นห่วง เพราะเกมที่คุณหญิงเป็ดจะใช้สู้ต่อไปก็คือ จะใช้โอกาสที่ในวันที่ 30 กันยายน ซึ่งข้าราชการระดับ 10 จะเกษียณอายุราชการ 6 คน เหลือนายพิศิษฐ์คนเดียว และคุณหญิงเป็ดสามารถจะใช้อำนาจในฐานะประธานคตง. แต่งตั้งข้าราชการระดับ 10 ขึ้นมาทดแทนได้เอง
รวมทั้งระดับ 9 ที่จะเลื่อนขึ้นมาจากระดับ 8 ก็สามารถแต่งตั้งคนที่ต้องการให้ขึ้นมาได้
เท่ากับเป็นการโดดเดี่ยวนายพิศิษฐ์ ซึ่งสามารถอยู่ได้ถึงปี 55 ให้ยอมจำนนได้ไม่ยาก
นี่แหละจะเรียกเป็นอาถรรพ์เก้าอี้ หรือตัณหาเก้าอี้ก็แล้วแต่ ที่แน่ๆ วันนี้ภาพลักษณ์ สตง.เละไปแล้ว
ทั้งๆ ที่ สตง.ควรเป็นที่พึ่งที่เชื่อถือได้ ในการตรวจสอบการการใช้จ่ายงบประมาณ มาเจอพิษการเมืองแทรกจนป่วนเช่นนี้ ย่อมน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
เช่นเดียวกับอีกเก้าอี้หนึ่ง ที่น่าจะเป็นเก้าอี้ที่เป็นภาพลักษณ์หน้าตาให้กับสถาบัน และเป็นที่พึ่งพิงของสังคมไทยด้วยเช่นกัน
นั่นก็คือ “เก้าอี้อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
ที่งวดเข้าใกล้โค้งสุดท้ายเต็มทีแล้วว่า ใครจะเป็นคนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งจะหมดวาระลงในเดือนกันยายนนี้
การที่เก้าอี้อธิการบดี มธ. งวดนี้ได้รับความสนใจจากสังคมมากเป็นพิเศษ ก็เป็นเพราะผลงานในการแสดงจุดยืนว่าเอนเอียงไปในการรับใช้ทหาร รับใช้รัฐบาล ของ ดร.สุรพล นั่นเองที่เป็นสาเหตุใหญ่
ซึ่งในวันพุธที่ 25 สิงหาคมนี้ เวลา 9.00 น.-15.00 น. จะมีการหยั่งเสียงอธิการบดี มธ. คนใหม่ ใน 3 สาย คือ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา... ถ้าใครชนะ เก้าอี้อธิการบดี มธ. ก็น่าจะอยู่ใกล้แค่เอื้อมแล้ว
ซึ่ง 3 ผู้ลุ้นชิงตำแหน่ง ซึ่งประกอบด้วย ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ รองอธิการบดี ฝ่ายการคลัง ที่มี ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ หนุนหลัง อีกคนหนึ่งก็คือ รศ.ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์ และคนสุดท้ายที่น่าสนใจก็คือ
รศ.ดร.กําชัย จงจักรพันธ์ อดีตรองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ท้าชิง 2 สมัยซ้อน
ดูเผินๆ อาจจะคิดว่า เป็นการสลับเปลี่ยนตัวบุคคลไปตามวาระปกติ และทั้ง 3 คนก็เป็นสายเลือด มธ.ด้วยกันทั้งสิ้น จนอาจจะคิดไปว่า ใครจะขึ้นมาก็คงไม่แตกต่างกัน... ซึ่งจริงๆ แล้วต้องบอกว่า
ใช้ไม่ได้กับการเลือกตั้งอธิการบดี มธ.ในครั้งนี้
เพราะมีร่องรอยและเงื่อนงำให้เห็นว่า ระยะหลังๆ เครือข่ายของ “ระบบอุปถัมภ์” ที่นักวิชาการและผู้บริหารของ มธ. บางคนเลือกที่จะทำงานรับใช้ชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง เพื่อที่จะได้รับรางวัลตอบแทนเป็นตำแหน่งทางการเมืองบ้าง ในรัฐวิสาหกิจต่างๆ บ้าง
ทั้งๆ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นที่พึ่งพิงของสังคม เป็นผู้นำทางความคิด
แต่กลับกลายเป็นว่ายุคนี้มีผู้บริหารบางคน สามารถเข้าสู่ตำแหน่งภายนอกได้ ก็โดยที่มีตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยเป็นตัวรองรับ หรือเป็นจั๊มพ์ปิ้ง บอร์ด ให้ จนแทนที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะวางตัวเพื่อเป็นเสาหลักให้แก่สมาชิกของประชาคม กลับเลือกที่จะเป็นเสาค้ำยันให้กับชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มการเมือง อันเป็นการสร้างค่านิยมผิด ๆ ให้กับนักวิชาการรุ่นหลังว่า
ความสำเร็จของการเป็นนักวิชาการคือ การได้รับตำแหน่งใหญ่ๆ ภายนอก!!!
ดังนั้นความสำคัญในการเลือกตั้งอธิการบดี มธ.คนใหม่ ในครั้งนี้จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะดูเหมือนว่าจะมีแรงหนุนทางการเมืองเข้ามาช่วย บุคคลบางคนมากเป็นพิเศษ
ซึ่งล่าสุด แม้แต่คนในมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์เอง ยังยอมรับว่า ดร.สมคิด ค่อนข้างที่จะได้เปรียบคู่แข่ง เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากอธิการบดีคนปัจจุบัน
เพราะความเป็นเพื่อนร่วมรุ่น นิติศาสตร์ ปี 2521
แน่นอนว่า มีแบ็คดีหนุนหลัง ก็ช่วยให้ไม่ต้องหาเสียงมาก เพราะมีต้นทุนที่สุรพลเพื่อนรัก วางแผนจัดการเอาไว้ให้อย่างเพียงพอ แต่สิ่งที่น่าคิด และเป็นสิ่งที่ ประชาคม มธ.ทั้งหลายจะต้องคิดให้หนัก ก้คือ การสืบทอดอำนาจ เป็นสิ่งที่สมควรให้เกิดขึ้นในสถาบันที่เชิดชูประชาธิปไตยมายาวนานหรือไม่???
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการสืบทอดอำนาจจาก ดร.สุรพล ซึ่งเมื่อเป็นอธิการบดี มธ. และใกล้ชิดการเมือง ก็ได้ไปเป็นใหญ่เป็นโต ในตำแหน่ง ประธานกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ด้วย
ซึ่ง อสมท. คุมทั้งสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ เคเบิลทีวี และแม้แต่กระทั่ง สัมปทานช่อง 3 ของตระกูลมาลีนนท์ ที่ถูกจับตาว่าโปร่งใสเพียงใดหรือไม่ ก็เกิดขึ้นในช่วงที่ ดร.สุรพล นั่งเป็นประธานบอร์ด อสมท
ขณะเดียวกัน ดร. สมคิด เองก็ได้เข้าไปร่วมร่างและเป็นอดีตเลขานุการกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 รัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งวันนี้เห็นชัดแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับใช้อำนาจใด
ในขณะที่ รศ.ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ แม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปในวงจรเหล่านั้น แต่ก็ยังคงต้องเหนื่อยไม่น้อย เพราะแม้แต่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีเอง ซึ่งควรเป็นฐานสนับสนุนหลักก็กลับยังมีความไม่แน่นอนอยู่
ส่วน รศ.ดร.กำชัย นั้น แม้ว่าจะเคยเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ และเคยเป็นรองธิการบดี มาแล้ว แต่ในการชิงชัยตำแหน่ง อธิการบดี มธ. มา 2 ครั้ง ล้วนถูกบล็อกให้พ่ายแพ้มาแล้ว ครั้งนี้ไม่รู้ว่าจะฝ่ากระแสอำนาจที่เชี่ยวกรากขึ้นมาได้หรือไม่
เนื่องจาก รศ.ดร.กำชัย ไม่เคยรับใช้เผด็จการทหาร หรืออำนาจการเมืองปัจจุบันมาก่อน จึงต้องเผชิญกับแรงเสียดทานของอำนาจอย่างช่วยไม่ได้
เพราะมุมมองที่น่าสนใจของ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ที่กล่าวว่า
“ผมยังไม่รู้เลยว่าผมจะไปเลือกหรือเปล่า รู้ไหมครับว่าทำไม เพราะว่าในที่สุดผมทราบว่า มันไม่มีผลอะไรเลย การตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย และทุกวันนี้สภามหาวิทยาลัย ถูกยึดกุมโดยกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง"
ดังนั้นสุดท้ายจึงอยู่ประชาคม มธ. นั่นแหละว่า จะหยุดการใช้ตำแหน่งอธิการบดีไต่เต้าทางการเมือง
และจะให้อธิการบดีคนใหม่สัญญากับประชาคมว่า จะไม่ควบตำแหน่งการเมือง ได้หรือไม่?
ที่มา.บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553
สมัชชาหนู 600 ล้าน จะสู้แมวได้หรือ ถามจริงๆ ประเทศไทยมี "super mouse"สักกี่ตัว
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ศ.อมร จันทรสมบูรณ์ กูรูกฎหมายมหาชนรุ่นใหญ่ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เปรียบเทียบนิทานอีสป เรื่อง “ แมวกับหนู” กับการปฎิรูปการเมือง การปฎิรูปประเทศไทย และสมัชชาปฎิรูป อย่างน่าสนใจ ดังนี้
...เราคงจำนิทานอีสป เรื่อง แมวกับหนู ได้ เรื่องแมวกับหนูนี้ ภาษาอังกฤษ เขา เรียกว่า the Bell and the Cat – กระดิ่งกับแมว หรือ บางทีก็เรียกว่า Belling the Cat หรือบางทีก็เรียกว่า the Mice in Council
เรื่องมีอยู่ว่า บรรดาหนูมักจะถูกแมวแอบมาจับไปกินอยู่เสมอ โดยเวลาที่แมวมา พวกหนูไม่รู้ตัวว่าแมวจะมาเมื่อไร หนูจึงไม่สามารถหลบหลีกหรือหนีได้ทัน
"สมัชชาหนู the Mice in Council"
ดังนั้น หัวหน้าหนู ก็เรียกประชุม(หนู) เรียกว่า เป็น "สมัชชาหนู - the Mice in Council " เพื่อให้หนูทุกตัวได้มีส่วนร่วมในการออกความเห็นว่า หนูจะทำอย่างไรดี จึงจะหนีอันตรายจาก เจ้าแมวตัวนี้ได้ ซึ่งวิธีการนี้ ดูคลับคล้ายคลับคลาว่า จะเหมือน ๆ กับ "วิธีการ" ที่รัฐบาลของเราใช้แก้ปัญหาการเมืองของเราอยู่ในขณะนี้
โดยรัฐบาลของเรา ก็ตั้งคณะกรรมการ ( Council ) ขึ้นมาหลายคณะ เพื่อให้ประชาชนได้มีร่วมในการแก้ปัญหา และ แม้แต่รัฐบาลเอง เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ก็ยังอุตส่าห์ จัดโครงการรับฟังความเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ เรียกว่า " 6 วัน 63 ล้านความคิด ร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย" และแม้แต่ท่านนายกรัฐมนตรีเอง ก็สละเวลาไปนั่งรับโทรศัพท์ ฟังความเห็นจากประชาชน
ในการสัมมนาหนู บรรดาหนูต่าง ๆ ก็ได้ให้ข้อคิดเห็นกันมาอย่างหลากลายมากมาย และมี เจ้าหนูตัวหนึ่งเสนอ "ความคิด" ขึ้นมาว่า ถ้าเอากระดิ่งไปแขวนคอแมวไว้ แมวมาเมื่อไร เราพวกหนูก็จะรู้ตัวล่วงหน้า และเราก็จะได้หนีทัน
ความคิดนี้ พวกหนูต่างก็ดีใจ และเห็นด้วยกันทุกตัว และต่างยกย่องสรรเสริญ เจ้าหนูตัวที่เสนอความคิดนี้ว่า เป็นหนูที่มีความเป็นอัจฉริยะ ฉลาดที่สุด ที่คิดออกมาได้ แต่ทว่า ในขณะที่บรรดาหนูกำลังดีใจและสรรเสริญเยินยอเจ้าหนูตัวนี้กันยกใหญ่นี้เอง ก็บังเอิญมีหนูตัวหนึ่ง ยกมือ(หาง)ขึ้นและถามขึ้นมาว่า หนูตัวไหน ที่จะเอากระดิ่งไปผูกคอแมว
ความจึงปรากฏว่า คำถามนี้ ไม่มีหนูตัวใด ตอบ และเงียบกันไปทั้ง Council
นิทานเรื่องนี้ สอนอะไรให้เรา : ฝรั่งเขาบอกว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า It is one thing to suggest and another thing to do หรือ It is easy to propose impossible remedies
เราลองเอานิทานเรื่องนี้ มาเป็นอุทาหรณ์ เพื่อเปรียบเทียบดูกับสถานการณ์ของสังคมไทยในขณะนี้ดูบ้าง ว่า the Mice in Council กับ the Thai Elite in Council ของเรา มีความเหมือนกัน หรือ แตกต่างกันอย่างไร
600 ล้าน ปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูปการเมือง ได้หรือ
เราคงจำได้ว่า ในปลายเดือนมิถุนายน 2553 หลังเหตุการณ์ สลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม นายกรัฐมนตรีของเรา ได้ ประกาศแผนปรองดอง หรือโรดแมป 5 ประการ เพื่อนำไปสู่ "การปฏิรูปประเทศ" และได้แต่งตั้งคณะกรรมการ council ขึ้นมาหลายคณะ และในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ ก็จะมี คณะกรรมการ councils ถึง 3 คณะ คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ , คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป และ คณะกรรมการพิจารณาแนวทางในการแก้รัฐธรรมนูญ
โดยในคณะกรรมการแต่ละชุด มี "ประธาน" ที่เป็นบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากสังคม และรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ให้ เป็นจำนวน 600 ล้านบาท ใช้เวลา 3 ปี และตามข่าวที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์จนถึงขณะนี้ คณะกรรมการ - council ดังกล่าวแต่ละคณะ ก็ได้เรียกประชุมกันมาแล้วหลายครั้ง และ ก็มีข้อเสนอ suggestions ขึ้นมาแล้วหลายประการ
ในที่นี้ เราคงจะไม่พูดถึงประเด็นว่า โรดแมป 5 ประการ เพื่อนำไปสู่ "การปฏิรูปประเทศ" ของรัฐบาลนี้ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาล มีความจริงใจที่จะปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูปการเมืองหรือไม่ และเราก็จะไม่พิจารณาว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลควรจะรู้หรือไม่รู้ ว่า วิธีการเหล่านี้ จะทำให้เราปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูปการเมือง ได้หรือไม่
เราจะลองมาพิจารณาดูว่า "ชนนั้นนำ" ที่ได้รับมอบหมายจากนักการเมืองให้มีส่วนร่วมในการให้ความเห็น to suggest ในการปฏิรูปประเทศ ว่า the Thai Elite in Council (คณะกรรมการ)ที่รัฐบาลแต่งตั้งมานั้น ได้เสนอความเห็น (one thing to suggest) โดยคณะกรรมการดังกล่าว ได้คิดต่อไปด้วยหรือไม่ ว่า ความเห็นของตนที่เสนอมานั้น จะทำให้เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ได้หรือไม่ อย่างไร ( another thing to do)
จริงอยู่ ขณะนี้ อาจจะเร็วเกินไปที่จะมองเห็นถึงผลงานของคณะกรรมการเหล่านี้ เพราะเพิ่งจะเริ่มต้นของระยะเวลา 3 ปี ที่นายกรัฐมนตรีกำหนดให้คณะกรรมการเหล่านี้ทำหน้าที่เสนอความเห็น to suggest ในการ "ปฏิรูปประเทศ" แต่ผมคิดว่า ข้อเสนอเท่าที่ปรากฏขึ้นในระยะต้นของการทำงานของคณะกรรมการนี้ ก็น่าจะทำให้เราพอมองเห็น “แนวทาง”และ “ความคิด”ในการทำงานของคณะกรรมการเหล่านี้ได้ว่า การทำงานของคณะทำงานอยู่ใน“แนวทาง” ที่จะนำเราไปสู่การปฏิรูปประเทศและการปรองดองได้ หรือไม่
ปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าว “ผลงาน”ของคณะกรรมการ 2 คณะ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น คือ “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ – คปร. ”และ “คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป”
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ – คปร. ประธานคณะกรรมการฯ)ได้แถลงข่าวว่า " คณะกรรมการฯเห็นควร เสนอให้รัฐบาลพิจารณายกเลิก พรก. ฉุกเฉินโดยเร็ว ส่วนรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล แต่อย่างน้อย เราก็ทำหน้าที่ของเราแล้ว ” และ “คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป” ซึ่งกำหนดเรื่องที่จะต้องปฏิรูปไว้ 5-6 เรื่องด้วยกัน (คือ ปฏิรูปสังคม / ปฏิรูปการเมือง / ปฏิรูปกฎหมาย / ปฏิรูปการศึกษา / ฯลฯ)
ประธานคณะกรรมการสมัชชา ก็ได้แถลงข่าวในปลายเดือนกรกฎาคมเช่นเดียวกันว่า คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ไว้ 14 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป / คณะกรรมการเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนและสภาผู้นำชุมชนเพื่อการปฏิรูป / คณะกรรมการเครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูป / คณะกรรมการเครือข่ายผู้ใช้แรงงานและคนจนเมืองเพื่อการปฏิรูป / และ ฯลฯ
ผมไม่ทราบว่า เมื่อท่านได้อ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์แล้ว ท่านผู้อ่านจะ มีความเห็นอย่างไร กับข้อเสนอของ คณะกรรมการทั้ง 2 คณะ แต่สำหรับผม คงต้องขออนุญาต ที่จะมีความเห็นที่แตกต่างไปจากท่านคณะกรรมการ ทั้งสอง เพราะผมไม่คิดว่า ข้อเสนอของคณะกรรมการการทั้งสองจะทำให้มีการปฏิรูปการเมืองหรือการปรองดองได้
ต้องวิเคราะห์ “สาเหตุ”ความแตกแยกเสียก่อน
ผมมีความเห็นว่า ในการที่จะทำการปฏิรูปประเทศนั้น คณะกรรมการปฏิรูปประเทศก็ดี หรือคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปก็ น่าจะต้องเริ่มต้น ด้วยการวิเคราะห์หา “สาเหตุ”ของปัญหา ที่ทำให้คนไทยต้องแตกแยกกัน อันเป็นต้นเหตุของความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปประเทศ เสียก่อน
ผมเคยแสดงความเห็นว่า “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา”(ประเทศเดียวในโลก) ได้เป็นสาเหตุของความเลวร้าย - vice ทั้งหลายที่คนไทยเป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ไม่ว่าท่านคณะกรรมการทั้งสองคณะ จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความเห็นของผมก็ตาม ผมก็เห็นว่า การจะแก้ “ปัญหา”ใดๆก็ตาม ก็คงต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หา “สาเหตุ”ของปัญหาอยู่ดี เพราะมิฉะนั้นแล้ว ถ้าเราไม่ทราบสาเหตุของปัญหาที่ถูกต้องแล้ว เรา ก็คงไม่สามารถกำหนดวิธีการแก้ปัญหา (ให้ตรงกับสาเหตุ)ได้
ผมไม่คิดว่า ข้อเสนอของ “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ” ที่ทำงานเริ่มต้นด้วยเสนอให้รัฐบาล ยกเลิกการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินโดยเร็วนั้น เป็นข้อเสนอที่มีสาระพอ และอยู่ใน “แนวทาง”ที่จะนำไปสู่การ ปฏิรูปประเทศ ; การที่จะประกาศใช้ หรือไม่ประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินในท้องที่ใด เป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็น(เพียง) “ผล”ที่เกิดขึ้นจากความแตกแยกของคนไทย และเป็น “หน้าที่” ของรัฐบาลที่จะต้องรับผิดชอบเอง
ข้อเสนอของคณะกรรมการในเรื่องนี้ จึงเป็นข้อเสนอที่แก้ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ และเป็นการปัญหา ที่ปลายเหตุ ดังนั้น ย่อมไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อันเป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงของประเทศได้ ภาระหน้าที่ของ “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ” คือ การเสนอวิธีการ เพื่อการปฏิรูปประเทศ ผมเห็นว่า คณะกรรมการฯน่าจะต้องหาสาเหตุของความแตกแยกของคนไทยให้พบก่อน ก่อนที่จะเสนอข้อเสนอ - to suggest
ทั้งนี้ ไม่ว่าคณะกรรมการจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับสาเหตุของความแตกแยกของคนไทย ตามความเห็นของผมหรือไม่ ก็ตาม
ประเทศไทย จะมี super mouse สักกี่ตัว
และเช่นเดียวกัน ผมก็ไม่คิดว่า วิธีการแก้ปัญหาของ “คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป” ที่เริ่มต้นทำงานด้วยการตั้งสมัชชา – councils อย่างมากมาย ถึง 14 สมัชชา ถ้าหากหนู Mice in one Council แก้ปัญหาแมวไม่ได้ Mice in 14 Councils ก็แก้ปัญหาแมวไม่ได้เช่นกัน เพราะ “หนู”ก็คือหนู สู้แมวไม่ได้อยู่ดี
ผมเคยแสดงความเห็นว่า การแก้ปัญหาการเมืองของประเทศในปัจจุบัน ต้องการ “ความรู้”ในระดับผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ จะต้องรู้ถึง another thing to do ไม่ใช่รู้เพียงแต่ one thing to suggest เท่านั้น และดังนั้น การที่จะแก้ปัญหาด้วยการปฏิรูปประเทศหรือหาทางปรองดอง ก็ต้องหา “สมัชชาของผู้เชี่ยวชาญ” (เท่าที่เราจะมีได้ ) ให้พบเสียก่อน คือ ต้องหา super mouse ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่า ในประเทศไทย จะมี super mouse สักกี่ตัว
ผมเห็นว่า การแก้ปัญหาการปฏิรูปประเทศไม่ได้อยู่ที่ “จำนวน”ของสมัชชา ถ้าเราไม่สามารถหา“สมัชชาของผู้เชี่ยวชาญฯ”ได้ ผมก็คาดหมายว่า สิ่งที่คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป จะได้จากสมัชชาทั้ง 14 สมัชชา ก็คือ ความคิดเห็น (suggestions)ที่หลากหลาย จนจับสาระและเหตุผลไม่ได้ - many things to suggest แต่ผู้เสนอเองอาจไม่รู้ว่าจะทำให้ข้อเสนอของตนนี้ เกิดเป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร - how to do
และในที่สุด “ ความคิดเห็น” ที่รวบรวมได้จากสมัชชา 14 ชุดเหล่านี้ ในอีก 3 ปีข้างหน้า คือ ในปีพ.ศ. 2556 ( พร้อมกับหมดเงินงบประมาณของแผ่นดินไปแล้ว 600 ล้านบาท ตามที่รัฐบาลให้มาสำหรับ “การซื้อเวลา” เพื่อให้ Eliteของเรา มีอะไรทำ -ให้วุ่น ๆ บ้าง เพื่อที่รัฐบาลจะได้อยู่ในตำแหน่งและแสวงหาประโยชน์ต่อไป ) ก็คงจะเหมือนกับ “ความคิด”ที่รัฐบาลรวบรวมได้ในโครงการของรัฐบาล “ 6 วัน 63 ล้านความคิด”เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2553 ที่ท่านนายกรัฐมนตรีกรุณาไปนั่งรับโทรศัพท์ด้วยตนเอง คือ รัฐบาลจะทำหรือไม่ทำ ก็แล้วแต่รัฐบาลจะ “เลือก” และพร้อม ๆ กับการเลือก ก็คือ การคงอยู่ของ “การคอร์รัปชั่น” และการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองนายทุน เจ้าของพรรคการเมือง ในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา – ประเทศเดียวในโลก
ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ถ้าจะเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง the Mice in Council กับ the Thai Elite in Council ผมก็มีความเห็นว่า ในนิทานอิสปนั้น Mice ( in Council) นั้น พวกหนูรู้ว่า “แมว”มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร คือ หนูยังรู้ว่า แมวมี “คอ” พอที่จะสามารถเอากระดิ่งไปผูกห้อยไว้ได้ เพียงแต่พวกหนูหาหนูตัวที่จะยอมตายเพื่อเอากระดิ่งไปผูกคอแมว ไม่ได้ เท่านั้น (เพราะหนูตัวนั้น รู้ตัวว่าต้องตายแน่ ๆ โดยเอากระดิ่งไปผูกคอแมวไม่ได้ )
แต่สำหรับชนชั้นนำของคนไทย - the Thai Elite in Council นั้น ปรากฏว่า คณะกรรมการเหล่านี้ไม่ได้วิเคราะห์หา“สาเหตุ”ของความแตกแยกของคนไทย ว่า เกิดจากอะไร ; ดังนั้น ชนชั้นนำของเราจึงยังไม่รู้จัก “แมว” คือ ไม่รู้ว่า “ระบบสถาบันทางการเมือง - form of government”(แมว) คือ อะไร และ ระบบสถาบันการเมืองของไทย (ระบบเผด็จการโดย พรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา) แตกต่างกับระบบสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญของต่างประเทศทั่วโลก อย่างไร
ด้วยเหตุนี้ the Thai Elite in Council ก็เลยไม่รู้ว่า จะเอา “กระดิ่ง”ไปผูกไว้ที่ส่วนไหน ของแมว คือ ไม่รู้ว่า จะปรับเปลี่ยน rationalize system - ระบบ สถาบันการเมือง ได้อย่างไร
ผู้เขยื้อนภูเขา อยู่ใต้ภูเขา ไม่ได้
ผมคิดว่า ชนชั้นนำ - Elite ที่มี”เจตนาดี” และมีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็น “เงื่อนไข” ที่เพียงพอสำหรับการปฏิรูปประเทศให้คนไทย
ผู้ที่จะปฏิรูปประเทศได้ จะต้องเป็นทั้ง ผู้มี “เจตนาดี” ที่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้มี “ความรู้” และมีความรอบรู้ พอที่จะวิเคราะห์ปัญหาและทำความเข้าใจกับคนไทย ตลอดจนสามารถชี้นำคนไทย (ด้วยเหตุด้วยผลและตรรก) ให้ไปสู่ การปฏิรูปประเทศ และ การปฏิรูปการเมือง ได้
ใครก็ตามที่คิดจะ “เขยื้อนภูเขา” ผมไม่คิดว่า ผู้นั้นจะสามารถเขยื้อนภูเขาได้ ถ้าผู้นั้นยังอยู่ใต้ภูเขาหรือถูกภูเขาทับอยู่ และหนูก็คือหนู ไม่ว่าจะเป็นหนูตัวเดียว หรือ หนู in Council ; It is one thing to suggest and another thing to do.
ถ้าเราจะพิจารณาความเป็นมาของรัฐธรรมนูญของเราย้อนหลังไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ( ซึ่ง เป็นปีต้นกำเนิดของ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา – parliamentary system”ในประเทศไทย - ประเทศเดียวในโลก) และตลอดเวลาที่ผ่านมา โดยเรามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 เราก็จะพบว่า ผู้ที่อาสาเข้ามา “ปฏิรูปประเทศ”ให้คนไทยในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น นักการเมืองนายทุนที่มาจากการเลือกตั้งก็ดี หรือชนชั้นนำ - Elite ที่ไม่ใช่นักการเมืองก็ดี ก็ดูเหมือนว่า ล้วนเป็น “ บุคคลเดิม ๆ” ที่ได้สร้างระบบนี้ให้คนไทย และรักษาระบบนี้ไว้ เป็นเวลา 17 ปีมาแล้วนั่นเอง
สรุป ก็คือ ผมมีความเห็นว่า ถ้าหาก “ชนชั้นนำ”ของประเทศไทย (นักการเมือง / นักกฎหมายและนักวิชาการ / Elite ที่ไม่ใช่นักการเมือง) ยังอยู่ในสภาพเช่นนี้ ผมก็ไม่คิดว่า ประเทศไทยจะปฏิรูปประเทศ และทำความปรองดองให้เกิดขึ้นได้
“อีสป” เป็นบุคคลในยุคเดียวกับพระพุทธเจ้า และได้เล่านิทาน เรื่อง แมวกับหนูและกระดิ่ง - Belling the Cat เพื่อสอนให้เรารู้จัก “วิธีคิด - It is one thing to suggest and another thing to do”นี้ไว้เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว และทั่วโลก ได้ใช้นิทานของอีสปนี้ในการเรียนการสอนเด็ก ๆ กันมาเป็นเวลานาน
สำหรับประเทศไทยเรา กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้จัดให้มีผู้แปลเป็นภาษาง่าย ๆ สำหรับใช้สอน “เด็ก”ในชั้นมูลศึกษาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 แต่บางทีเมื่อเวลาผ่านไปและเราโตขึ้น เราอาจจะลืม ๆ กันไปบ้าง ผมก็เลยขออนุญาตเอานิทานเรื่องแมวกับหนูนี้ มาเล่าเพื่อเตือนความทรงจำของพวกเราอีกครั้งหนึ่ง
( จากบทสรุปของการอภิปราย ว่าด้วย ข้อคิดจากนิทานอีสป เรื่อง “ แมวกับหนู” โดย ศ.อมร จันทรสมบูรณ์ www.pub-law.net )
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ศ.อมร จันทรสมบูรณ์ กูรูกฎหมายมหาชนรุ่นใหญ่ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เปรียบเทียบนิทานอีสป เรื่อง “ แมวกับหนู” กับการปฎิรูปการเมือง การปฎิรูปประเทศไทย และสมัชชาปฎิรูป อย่างน่าสนใจ ดังนี้
...เราคงจำนิทานอีสป เรื่อง แมวกับหนู ได้ เรื่องแมวกับหนูนี้ ภาษาอังกฤษ เขา เรียกว่า the Bell and the Cat – กระดิ่งกับแมว หรือ บางทีก็เรียกว่า Belling the Cat หรือบางทีก็เรียกว่า the Mice in Council
เรื่องมีอยู่ว่า บรรดาหนูมักจะถูกแมวแอบมาจับไปกินอยู่เสมอ โดยเวลาที่แมวมา พวกหนูไม่รู้ตัวว่าแมวจะมาเมื่อไร หนูจึงไม่สามารถหลบหลีกหรือหนีได้ทัน
"สมัชชาหนู the Mice in Council"
ดังนั้น หัวหน้าหนู ก็เรียกประชุม(หนู) เรียกว่า เป็น "สมัชชาหนู - the Mice in Council " เพื่อให้หนูทุกตัวได้มีส่วนร่วมในการออกความเห็นว่า หนูจะทำอย่างไรดี จึงจะหนีอันตรายจาก เจ้าแมวตัวนี้ได้ ซึ่งวิธีการนี้ ดูคลับคล้ายคลับคลาว่า จะเหมือน ๆ กับ "วิธีการ" ที่รัฐบาลของเราใช้แก้ปัญหาการเมืองของเราอยู่ในขณะนี้
โดยรัฐบาลของเรา ก็ตั้งคณะกรรมการ ( Council ) ขึ้นมาหลายคณะ เพื่อให้ประชาชนได้มีร่วมในการแก้ปัญหา และ แม้แต่รัฐบาลเอง เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ก็ยังอุตส่าห์ จัดโครงการรับฟังความเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ เรียกว่า " 6 วัน 63 ล้านความคิด ร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย" และแม้แต่ท่านนายกรัฐมนตรีเอง ก็สละเวลาไปนั่งรับโทรศัพท์ ฟังความเห็นจากประชาชน
ในการสัมมนาหนู บรรดาหนูต่าง ๆ ก็ได้ให้ข้อคิดเห็นกันมาอย่างหลากลายมากมาย และมี เจ้าหนูตัวหนึ่งเสนอ "ความคิด" ขึ้นมาว่า ถ้าเอากระดิ่งไปแขวนคอแมวไว้ แมวมาเมื่อไร เราพวกหนูก็จะรู้ตัวล่วงหน้า และเราก็จะได้หนีทัน
ความคิดนี้ พวกหนูต่างก็ดีใจ และเห็นด้วยกันทุกตัว และต่างยกย่องสรรเสริญ เจ้าหนูตัวที่เสนอความคิดนี้ว่า เป็นหนูที่มีความเป็นอัจฉริยะ ฉลาดที่สุด ที่คิดออกมาได้ แต่ทว่า ในขณะที่บรรดาหนูกำลังดีใจและสรรเสริญเยินยอเจ้าหนูตัวนี้กันยกใหญ่นี้เอง ก็บังเอิญมีหนูตัวหนึ่ง ยกมือ(หาง)ขึ้นและถามขึ้นมาว่า หนูตัวไหน ที่จะเอากระดิ่งไปผูกคอแมว
ความจึงปรากฏว่า คำถามนี้ ไม่มีหนูตัวใด ตอบ และเงียบกันไปทั้ง Council
นิทานเรื่องนี้ สอนอะไรให้เรา : ฝรั่งเขาบอกว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า It is one thing to suggest and another thing to do หรือ It is easy to propose impossible remedies
เราลองเอานิทานเรื่องนี้ มาเป็นอุทาหรณ์ เพื่อเปรียบเทียบดูกับสถานการณ์ของสังคมไทยในขณะนี้ดูบ้าง ว่า the Mice in Council กับ the Thai Elite in Council ของเรา มีความเหมือนกัน หรือ แตกต่างกันอย่างไร
600 ล้าน ปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูปการเมือง ได้หรือ
เราคงจำได้ว่า ในปลายเดือนมิถุนายน 2553 หลังเหตุการณ์ สลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม นายกรัฐมนตรีของเรา ได้ ประกาศแผนปรองดอง หรือโรดแมป 5 ประการ เพื่อนำไปสู่ "การปฏิรูปประเทศ" และได้แต่งตั้งคณะกรรมการ council ขึ้นมาหลายคณะ และในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ ก็จะมี คณะกรรมการ councils ถึง 3 คณะ คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ , คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป และ คณะกรรมการพิจารณาแนวทางในการแก้รัฐธรรมนูญ
โดยในคณะกรรมการแต่ละชุด มี "ประธาน" ที่เป็นบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากสังคม และรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ให้ เป็นจำนวน 600 ล้านบาท ใช้เวลา 3 ปี และตามข่าวที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์จนถึงขณะนี้ คณะกรรมการ - council ดังกล่าวแต่ละคณะ ก็ได้เรียกประชุมกันมาแล้วหลายครั้ง และ ก็มีข้อเสนอ suggestions ขึ้นมาแล้วหลายประการ
ในที่นี้ เราคงจะไม่พูดถึงประเด็นว่า โรดแมป 5 ประการ เพื่อนำไปสู่ "การปฏิรูปประเทศ" ของรัฐบาลนี้ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาล มีความจริงใจที่จะปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูปการเมืองหรือไม่ และเราก็จะไม่พิจารณาว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลควรจะรู้หรือไม่รู้ ว่า วิธีการเหล่านี้ จะทำให้เราปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูปการเมือง ได้หรือไม่
เราจะลองมาพิจารณาดูว่า "ชนนั้นนำ" ที่ได้รับมอบหมายจากนักการเมืองให้มีส่วนร่วมในการให้ความเห็น to suggest ในการปฏิรูปประเทศ ว่า the Thai Elite in Council (คณะกรรมการ)ที่รัฐบาลแต่งตั้งมานั้น ได้เสนอความเห็น (one thing to suggest) โดยคณะกรรมการดังกล่าว ได้คิดต่อไปด้วยหรือไม่ ว่า ความเห็นของตนที่เสนอมานั้น จะทำให้เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ได้หรือไม่ อย่างไร ( another thing to do)
จริงอยู่ ขณะนี้ อาจจะเร็วเกินไปที่จะมองเห็นถึงผลงานของคณะกรรมการเหล่านี้ เพราะเพิ่งจะเริ่มต้นของระยะเวลา 3 ปี ที่นายกรัฐมนตรีกำหนดให้คณะกรรมการเหล่านี้ทำหน้าที่เสนอความเห็น to suggest ในการ "ปฏิรูปประเทศ" แต่ผมคิดว่า ข้อเสนอเท่าที่ปรากฏขึ้นในระยะต้นของการทำงานของคณะกรรมการนี้ ก็น่าจะทำให้เราพอมองเห็น “แนวทาง”และ “ความคิด”ในการทำงานของคณะกรรมการเหล่านี้ได้ว่า การทำงานของคณะทำงานอยู่ใน“แนวทาง” ที่จะนำเราไปสู่การปฏิรูปประเทศและการปรองดองได้ หรือไม่
ปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าว “ผลงาน”ของคณะกรรมการ 2 คณะ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น คือ “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ – คปร. ”และ “คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป”
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ – คปร. ประธานคณะกรรมการฯ)ได้แถลงข่าวว่า " คณะกรรมการฯเห็นควร เสนอให้รัฐบาลพิจารณายกเลิก พรก. ฉุกเฉินโดยเร็ว ส่วนรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล แต่อย่างน้อย เราก็ทำหน้าที่ของเราแล้ว ” และ “คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป” ซึ่งกำหนดเรื่องที่จะต้องปฏิรูปไว้ 5-6 เรื่องด้วยกัน (คือ ปฏิรูปสังคม / ปฏิรูปการเมือง / ปฏิรูปกฎหมาย / ปฏิรูปการศึกษา / ฯลฯ)
ประธานคณะกรรมการสมัชชา ก็ได้แถลงข่าวในปลายเดือนกรกฎาคมเช่นเดียวกันว่า คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ไว้ 14 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป / คณะกรรมการเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนและสภาผู้นำชุมชนเพื่อการปฏิรูป / คณะกรรมการเครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูป / คณะกรรมการเครือข่ายผู้ใช้แรงงานและคนจนเมืองเพื่อการปฏิรูป / และ ฯลฯ
ผมไม่ทราบว่า เมื่อท่านได้อ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์แล้ว ท่านผู้อ่านจะ มีความเห็นอย่างไร กับข้อเสนอของ คณะกรรมการทั้ง 2 คณะ แต่สำหรับผม คงต้องขออนุญาต ที่จะมีความเห็นที่แตกต่างไปจากท่านคณะกรรมการ ทั้งสอง เพราะผมไม่คิดว่า ข้อเสนอของคณะกรรมการการทั้งสองจะทำให้มีการปฏิรูปการเมืองหรือการปรองดองได้
ต้องวิเคราะห์ “สาเหตุ”ความแตกแยกเสียก่อน
ผมมีความเห็นว่า ในการที่จะทำการปฏิรูปประเทศนั้น คณะกรรมการปฏิรูปประเทศก็ดี หรือคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปก็ น่าจะต้องเริ่มต้น ด้วยการวิเคราะห์หา “สาเหตุ”ของปัญหา ที่ทำให้คนไทยต้องแตกแยกกัน อันเป็นต้นเหตุของความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปประเทศ เสียก่อน
ผมเคยแสดงความเห็นว่า “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา”(ประเทศเดียวในโลก) ได้เป็นสาเหตุของความเลวร้าย - vice ทั้งหลายที่คนไทยเป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ไม่ว่าท่านคณะกรรมการทั้งสองคณะ จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความเห็นของผมก็ตาม ผมก็เห็นว่า การจะแก้ “ปัญหา”ใดๆก็ตาม ก็คงต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หา “สาเหตุ”ของปัญหาอยู่ดี เพราะมิฉะนั้นแล้ว ถ้าเราไม่ทราบสาเหตุของปัญหาที่ถูกต้องแล้ว เรา ก็คงไม่สามารถกำหนดวิธีการแก้ปัญหา (ให้ตรงกับสาเหตุ)ได้
ผมไม่คิดว่า ข้อเสนอของ “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ” ที่ทำงานเริ่มต้นด้วยเสนอให้รัฐบาล ยกเลิกการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินโดยเร็วนั้น เป็นข้อเสนอที่มีสาระพอ และอยู่ใน “แนวทาง”ที่จะนำไปสู่การ ปฏิรูปประเทศ ; การที่จะประกาศใช้ หรือไม่ประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินในท้องที่ใด เป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็น(เพียง) “ผล”ที่เกิดขึ้นจากความแตกแยกของคนไทย และเป็น “หน้าที่” ของรัฐบาลที่จะต้องรับผิดชอบเอง
ข้อเสนอของคณะกรรมการในเรื่องนี้ จึงเป็นข้อเสนอที่แก้ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ และเป็นการปัญหา ที่ปลายเหตุ ดังนั้น ย่อมไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อันเป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงของประเทศได้ ภาระหน้าที่ของ “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ” คือ การเสนอวิธีการ เพื่อการปฏิรูปประเทศ ผมเห็นว่า คณะกรรมการฯน่าจะต้องหาสาเหตุของความแตกแยกของคนไทยให้พบก่อน ก่อนที่จะเสนอข้อเสนอ - to suggest
ทั้งนี้ ไม่ว่าคณะกรรมการจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับสาเหตุของความแตกแยกของคนไทย ตามความเห็นของผมหรือไม่ ก็ตาม
ประเทศไทย จะมี super mouse สักกี่ตัว
และเช่นเดียวกัน ผมก็ไม่คิดว่า วิธีการแก้ปัญหาของ “คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป” ที่เริ่มต้นทำงานด้วยการตั้งสมัชชา – councils อย่างมากมาย ถึง 14 สมัชชา ถ้าหากหนู Mice in one Council แก้ปัญหาแมวไม่ได้ Mice in 14 Councils ก็แก้ปัญหาแมวไม่ได้เช่นกัน เพราะ “หนู”ก็คือหนู สู้แมวไม่ได้อยู่ดี
ผมเคยแสดงความเห็นว่า การแก้ปัญหาการเมืองของประเทศในปัจจุบัน ต้องการ “ความรู้”ในระดับผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ จะต้องรู้ถึง another thing to do ไม่ใช่รู้เพียงแต่ one thing to suggest เท่านั้น และดังนั้น การที่จะแก้ปัญหาด้วยการปฏิรูปประเทศหรือหาทางปรองดอง ก็ต้องหา “สมัชชาของผู้เชี่ยวชาญ” (เท่าที่เราจะมีได้ ) ให้พบเสียก่อน คือ ต้องหา super mouse ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่า ในประเทศไทย จะมี super mouse สักกี่ตัว
ผมเห็นว่า การแก้ปัญหาการปฏิรูปประเทศไม่ได้อยู่ที่ “จำนวน”ของสมัชชา ถ้าเราไม่สามารถหา“สมัชชาของผู้เชี่ยวชาญฯ”ได้ ผมก็คาดหมายว่า สิ่งที่คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป จะได้จากสมัชชาทั้ง 14 สมัชชา ก็คือ ความคิดเห็น (suggestions)ที่หลากหลาย จนจับสาระและเหตุผลไม่ได้ - many things to suggest แต่ผู้เสนอเองอาจไม่รู้ว่าจะทำให้ข้อเสนอของตนนี้ เกิดเป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร - how to do
และในที่สุด “ ความคิดเห็น” ที่รวบรวมได้จากสมัชชา 14 ชุดเหล่านี้ ในอีก 3 ปีข้างหน้า คือ ในปีพ.ศ. 2556 ( พร้อมกับหมดเงินงบประมาณของแผ่นดินไปแล้ว 600 ล้านบาท ตามที่รัฐบาลให้มาสำหรับ “การซื้อเวลา” เพื่อให้ Eliteของเรา มีอะไรทำ -ให้วุ่น ๆ บ้าง เพื่อที่รัฐบาลจะได้อยู่ในตำแหน่งและแสวงหาประโยชน์ต่อไป ) ก็คงจะเหมือนกับ “ความคิด”ที่รัฐบาลรวบรวมได้ในโครงการของรัฐบาล “ 6 วัน 63 ล้านความคิด”เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2553 ที่ท่านนายกรัฐมนตรีกรุณาไปนั่งรับโทรศัพท์ด้วยตนเอง คือ รัฐบาลจะทำหรือไม่ทำ ก็แล้วแต่รัฐบาลจะ “เลือก” และพร้อม ๆ กับการเลือก ก็คือ การคงอยู่ของ “การคอร์รัปชั่น” และการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองนายทุน เจ้าของพรรคการเมือง ในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา – ประเทศเดียวในโลก
ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ถ้าจะเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง the Mice in Council กับ the Thai Elite in Council ผมก็มีความเห็นว่า ในนิทานอิสปนั้น Mice ( in Council) นั้น พวกหนูรู้ว่า “แมว”มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร คือ หนูยังรู้ว่า แมวมี “คอ” พอที่จะสามารถเอากระดิ่งไปผูกห้อยไว้ได้ เพียงแต่พวกหนูหาหนูตัวที่จะยอมตายเพื่อเอากระดิ่งไปผูกคอแมว ไม่ได้ เท่านั้น (เพราะหนูตัวนั้น รู้ตัวว่าต้องตายแน่ ๆ โดยเอากระดิ่งไปผูกคอแมวไม่ได้ )
แต่สำหรับชนชั้นนำของคนไทย - the Thai Elite in Council นั้น ปรากฏว่า คณะกรรมการเหล่านี้ไม่ได้วิเคราะห์หา“สาเหตุ”ของความแตกแยกของคนไทย ว่า เกิดจากอะไร ; ดังนั้น ชนชั้นนำของเราจึงยังไม่รู้จัก “แมว” คือ ไม่รู้ว่า “ระบบสถาบันทางการเมือง - form of government”(แมว) คือ อะไร และ ระบบสถาบันการเมืองของไทย (ระบบเผด็จการโดย พรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา) แตกต่างกับระบบสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญของต่างประเทศทั่วโลก อย่างไร
ด้วยเหตุนี้ the Thai Elite in Council ก็เลยไม่รู้ว่า จะเอา “กระดิ่ง”ไปผูกไว้ที่ส่วนไหน ของแมว คือ ไม่รู้ว่า จะปรับเปลี่ยน rationalize system - ระบบ สถาบันการเมือง ได้อย่างไร
ผู้เขยื้อนภูเขา อยู่ใต้ภูเขา ไม่ได้
ผมคิดว่า ชนชั้นนำ - Elite ที่มี”เจตนาดี” และมีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็น “เงื่อนไข” ที่เพียงพอสำหรับการปฏิรูปประเทศให้คนไทย
ผู้ที่จะปฏิรูปประเทศได้ จะต้องเป็นทั้ง ผู้มี “เจตนาดี” ที่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้มี “ความรู้” และมีความรอบรู้ พอที่จะวิเคราะห์ปัญหาและทำความเข้าใจกับคนไทย ตลอดจนสามารถชี้นำคนไทย (ด้วยเหตุด้วยผลและตรรก) ให้ไปสู่ การปฏิรูปประเทศ และ การปฏิรูปการเมือง ได้
ใครก็ตามที่คิดจะ “เขยื้อนภูเขา” ผมไม่คิดว่า ผู้นั้นจะสามารถเขยื้อนภูเขาได้ ถ้าผู้นั้นยังอยู่ใต้ภูเขาหรือถูกภูเขาทับอยู่ และหนูก็คือหนู ไม่ว่าจะเป็นหนูตัวเดียว หรือ หนู in Council ; It is one thing to suggest and another thing to do.
ถ้าเราจะพิจารณาความเป็นมาของรัฐธรรมนูญของเราย้อนหลังไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ( ซึ่ง เป็นปีต้นกำเนิดของ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา – parliamentary system”ในประเทศไทย - ประเทศเดียวในโลก) และตลอดเวลาที่ผ่านมา โดยเรามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 เราก็จะพบว่า ผู้ที่อาสาเข้ามา “ปฏิรูปประเทศ”ให้คนไทยในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น นักการเมืองนายทุนที่มาจากการเลือกตั้งก็ดี หรือชนชั้นนำ - Elite ที่ไม่ใช่นักการเมืองก็ดี ก็ดูเหมือนว่า ล้วนเป็น “ บุคคลเดิม ๆ” ที่ได้สร้างระบบนี้ให้คนไทย และรักษาระบบนี้ไว้ เป็นเวลา 17 ปีมาแล้วนั่นเอง
สรุป ก็คือ ผมมีความเห็นว่า ถ้าหาก “ชนชั้นนำ”ของประเทศไทย (นักการเมือง / นักกฎหมายและนักวิชาการ / Elite ที่ไม่ใช่นักการเมือง) ยังอยู่ในสภาพเช่นนี้ ผมก็ไม่คิดว่า ประเทศไทยจะปฏิรูปประเทศ และทำความปรองดองให้เกิดขึ้นได้
“อีสป” เป็นบุคคลในยุคเดียวกับพระพุทธเจ้า และได้เล่านิทาน เรื่อง แมวกับหนูและกระดิ่ง - Belling the Cat เพื่อสอนให้เรารู้จัก “วิธีคิด - It is one thing to suggest and another thing to do”นี้ไว้เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว และทั่วโลก ได้ใช้นิทานของอีสปนี้ในการเรียนการสอนเด็ก ๆ กันมาเป็นเวลานาน
สำหรับประเทศไทยเรา กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้จัดให้มีผู้แปลเป็นภาษาง่าย ๆ สำหรับใช้สอน “เด็ก”ในชั้นมูลศึกษาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 แต่บางทีเมื่อเวลาผ่านไปและเราโตขึ้น เราอาจจะลืม ๆ กันไปบ้าง ผมก็เลยขออนุญาตเอานิทานเรื่องแมวกับหนูนี้ มาเล่าเพื่อเตือนความทรงจำของพวกเราอีกครั้งหนึ่ง
( จากบทสรุปของการอภิปราย ว่าด้วย ข้อคิดจากนิทานอีสป เรื่อง “ แมวกับหนู” โดย ศ.อมร จันทรสมบูรณ์ www.pub-law.net )
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สะท้านวงการศาล ร้องผู้พิพากษาอุทธรณ์เรียก70ล้านคดีตระกูลนักการเมืองดังไซ่ฟ่อนเงินบริษัท-หลักฐานเพียบ
มติชนออนไลน์
สะท้านวงการตุลาการ ร้องเรียนคณะกรรมการตุลาการผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เรียกเงิน70ล้านคดีตระกูลนักการเมืองไซ่ฟ่อนเงินบริษัทจดทะเบียน ใช้หญิงสาวที่มีสัมพันธ์สวาทเป็นเครื่องมือเรียกสินบนอีกหลายคดี หลักฐานเพียบ
แหล่งข่าวจากสำนักงานศาลยุติธรรมเปิดเผย"มติชนออนไลน์"ว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการทำหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมการตุลาการ(ก.ต.)กล่าวโทษผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายหนึ่งว่า นอกจากมีพฤติการณ์ฉันท์ชู้สาวกับหญิงที่มีสามีแล้ว ยังอาศัยหญิงรายดังกล่าวใช้ในการเรียกร้องสินบนในการตัดสินพิพากษาคดีต่างๆหลายคดีเป็นเงินรวมหลายสิบล้านบาทขึ้นอยู่กับความสำคัญของคดี เช่น
1. มีการเรียกสินบนเป็นเงิน 70 ล้านบาทในการพิจารณาคดีบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งที่กลุ่มผู้บริหารบริษัท ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในการยักยอกทรัพย์หรือไซ่ฟ่อนเงินของบริษัทและเกี่ยวพันกับตระกูลนักการเมืองระดับรัฐมนตรี ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งยกฟ้อง
2.คดีโรงแรมชื่อดังย่านสุขุมวิท
3. คดีการประกันตัว เจ้าของบริษัทที่เปิดขึ้นบังหน้าเป็นจำเลยในคดีตาม พ.ร.บ. การกู้เงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ลูกโซ่มีการเรียกเงินสินบน 2 ล้านบาท หลังจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วจำเลยได้ซื้อรถยนต์ Benz รุ่น S 280 ปี 2002 ในราคา2.1 ล้านบาท ที่เหลืออีก 1.5 ล้านบาทบาท จัดไฟแนนซ์ให้อีกด้วย
4.เรียกสินบน 3.5 ล้านบาทในการสั่งอนุญาตการปล่อยชั่วคราวชาวต่างประเทศรายหนึ่ง โดย ทนายความหญิงของจำเลยได้ยื่นคำร้องประกอบการขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลอาญาและศาลอุทธรณ์มาหลายครั้งแล้วแต่ก็ไม่ได้รับการอนุญาตทนายความจึงติดต่อผ่านหญิงที่มีสัมพันธ์กับผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งตกลงเรื่องเงินสินบนเป็นเงิน3.5 ล้านบาท
จากนั้นเมื่อเดือนกันยายน 2552 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายดังกล่าวมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราวจำเลยตามข้อตกลง
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการร้องเรียนครั้งนี้ผู้ร้องได้เปิดเผยชื่อตนเองพร้อมส่งพยานหลักฐานเอกสาร ภาพถ่ายประกอบการพิจารณาของ ก.ต.อย่างค่อนข้างชัดเจน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบพบว่า ก.ต.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อร้องเรียนกรณีดังกล่าวแล้ว
*******************************************************************
สะท้านวงการตุลาการ ร้องเรียนคณะกรรมการตุลาการผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เรียกเงิน70ล้านคดีตระกูลนักการเมืองไซ่ฟ่อนเงินบริษัทจดทะเบียน ใช้หญิงสาวที่มีสัมพันธ์สวาทเป็นเครื่องมือเรียกสินบนอีกหลายคดี หลักฐานเพียบ
แหล่งข่าวจากสำนักงานศาลยุติธรรมเปิดเผย"มติชนออนไลน์"ว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการทำหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมการตุลาการ(ก.ต.)กล่าวโทษผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายหนึ่งว่า นอกจากมีพฤติการณ์ฉันท์ชู้สาวกับหญิงที่มีสามีแล้ว ยังอาศัยหญิงรายดังกล่าวใช้ในการเรียกร้องสินบนในการตัดสินพิพากษาคดีต่างๆหลายคดีเป็นเงินรวมหลายสิบล้านบาทขึ้นอยู่กับความสำคัญของคดี เช่น
1. มีการเรียกสินบนเป็นเงิน 70 ล้านบาทในการพิจารณาคดีบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งที่กลุ่มผู้บริหารบริษัท ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในการยักยอกทรัพย์หรือไซ่ฟ่อนเงินของบริษัทและเกี่ยวพันกับตระกูลนักการเมืองระดับรัฐมนตรี ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งยกฟ้อง
2.คดีโรงแรมชื่อดังย่านสุขุมวิท
3. คดีการประกันตัว เจ้าของบริษัทที่เปิดขึ้นบังหน้าเป็นจำเลยในคดีตาม พ.ร.บ. การกู้เงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ลูกโซ่มีการเรียกเงินสินบน 2 ล้านบาท หลังจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วจำเลยได้ซื้อรถยนต์ Benz รุ่น S 280 ปี 2002 ในราคา2.1 ล้านบาท ที่เหลืออีก 1.5 ล้านบาทบาท จัดไฟแนนซ์ให้อีกด้วย
4.เรียกสินบน 3.5 ล้านบาทในการสั่งอนุญาตการปล่อยชั่วคราวชาวต่างประเทศรายหนึ่ง โดย ทนายความหญิงของจำเลยได้ยื่นคำร้องประกอบการขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลอาญาและศาลอุทธรณ์มาหลายครั้งแล้วแต่ก็ไม่ได้รับการอนุญาตทนายความจึงติดต่อผ่านหญิงที่มีสัมพันธ์กับผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งตกลงเรื่องเงินสินบนเป็นเงิน3.5 ล้านบาท
จากนั้นเมื่อเดือนกันยายน 2552 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายดังกล่าวมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราวจำเลยตามข้อตกลง
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการร้องเรียนครั้งนี้ผู้ร้องได้เปิดเผยชื่อตนเองพร้อมส่งพยานหลักฐานเอกสาร ภาพถ่ายประกอบการพิจารณาของ ก.ต.อย่างค่อนข้างชัดเจน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบพบว่า ก.ต.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อร้องเรียนกรณีดังกล่าวแล้ว
*******************************************************************
นิธิ เอียวศรีวงศ์: ปฏิรูปสื่อ
นิธิ เอียวศรีวงศ์
ครั้งที่แล้ว ผมได้พูดถึงว่าหากมองจากสังคม อะไรคือปัญหาของสื่อที่น่าจะปฏิรูป
ในครั้งนี้ ผมขอเสนอว่า หากสังคม (ไม่ใช่รัฐ) สามารถกำกับการปฏิรูปสื่อได้
เส้นทางปฏิรูปสื่อควรเป็นอย่างไร
1/ รัฐต้องโปร่งใสมากขึ้น โปร่งใสหมายความว่าเปิดตัวเองให้คนอื่นๆ สามารถมองเห็นได้ทะลุปรุโปร่ง เพื่อเขาจะได้สามารถตรวจสอบรัฐได้ในทุกแง่ ไม่เฉพาะแต่แง่โกงเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงแง่โง่, แง่หาประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่ใส่ใจต่อประโยชน์ของส่วนรวม, ฯลฯ
นอกจากต้องแก้กฎหมายและระเบียบราชการ ที่จะเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐได้สะดวกขึ้นกว่าที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.ข่าวสารข้อมูลของรัฐในปัจจุบันแล้ว รัฐและหน่วยงานของรัฐก็ต้องกระตือรือร้นในการให้ข้อมูลเองด้วย ไม่ต้องตามจี้กันไปทุกเรื่อง เคยมีความคิดกันว่า เอกสารราชการส่วนใหญ่ควรเอาลงในเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพราะถึงอย่างไรในปัจจุบัน ก็เตรียมเอกสารเหล่านี้ในระบบดิจิตอลหมดแล้ว ไม่ได้เพิ่มแรงงานอะไรขึ้นมา ที่จะเปิดให้ประชาชนเข้าถึงได้ด้วยปลายนิ้วอยู่แล้ว
แน่นอนว่า พ.ร.บ.ข่าวสารข้อมูลของรัฐก็ควรปรับ ปรุงแก้ไข เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ต้องการข้อมูลที่ถูกปิดกั้นโดยหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐร่วมกับเอกชน ในเวลาอันรวดเร็วพอสมควร
สื่อมีหน้าที่ต้องฉายแสงไปให้ประชาชนได้เห็นหลังบ้านของรัฐอย่างโจ่งแจ้ง การจ้องมองและเห็นคืออำนาจ ในยุคสมัยที่รัฐมีความสามารถในการจ้องมองและเห็นประชาชนแต่ละคนได้มากขึ้น
ประชาชนก็ต้องมีความสามารถไม่น้อยไปกว่ากันที่จะจ้องมองและเห็นรัฐได้ไม่น้อยกว่ากันบ้าง
2/ จำเป็นต้องทบทวน พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์กันใหม่
จุดมุ่งหมายหลักของกฎหมายประเภทนี้ คือทำให้ทุกคนปลอดภัยจากการขโมย, ละเมิด และถูกรังแก เพราะอินเตอร์เน็ตสร้างตลาดชนิดใหม่ ซึ่งนับวันก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้า, บริการ, ข้อมูลข่าวสาร, และความคิดในปริมาณมากขึ้นทุกที จนกระทั่งในอนาคตอันใกล้ ตลาดออนไลน์จะเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของการแลกเปลี่ยนดังกล่าว รัฐนับตั้งแต่โบราณมามีหน้าที่ปกป้องให้ตลาดปลอดภัยและเป็นธรรม รัฐก็ต้องทำอย่างนั้นกับตลาดออนไลน์เหมือนกัน
แต่ความคิดที่มีกฎหมายเพื่อปกป้องระบอบปกครอง และระบบสังคม-วัฒนธรรมในตลาดประเภทนี้ เป็นความคิดที่ไม่อาจทำได้ในความเป็นจริง เพราะมีวิธีการร้อยแปดที่จะเล็ดลอดเข้าสู่พื้นที่ไซเบอร์ (อย่าลืมว่าโดยธรรมชาติแล้วพื้นที่นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นพื้นที่เปิด)
คงถึงเวลาเสียทีที่ต้องคิดถึงการปกป้องคุณค่าของระบอบการปกครองก็ตาม ของระบบสังคม-วัฒนธรรมก็ตาม ด้วยสติปัญญาแทนการใช้อำนาจ ถึงอย่างไรก็ไม่มีเทคโนโลยีอะไร หรืออำนาจอะไรที่จะสามารถปิดกั้นการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลและความคิดเห็นกันอย่างเสรีได้เสียแล้ว แทนที่จะเสียกำลังทรัพย์และกำลังคนไปนั่งคอยจับผิดผู้คน ใช้เงินและทรัพย์นั้นไปในทางที่จะทำให้การถกเถียงอภิปรายกันบนพื้นที่นี้ เป็นไปด้วยเหตุผลและข้อมูลที่เป็นจริงดีกว่า
สิ่งที่มีคุณค่าจริง ย่อมยืนยงได้ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง ไม่ใช่อำนาจดิบ
อำนาจที่รัฐได้ไปจาก พ.ร.บ.ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ รัฐใช้มันอย่างที่ไม่มีใครสามารถตรวจสอบถ่วงดุลได้เลย เป็นอันตรายต่อการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลอย่างยิ่ง กฎหมายใหม่เพื่อการปฏิรูปสื่อจึงต้องลดอำนาจรัฐลง และสร้างกระบวนการที่อำนาจรัฐในการใช้ดุลพินิจ ต้องถูกตรวจสอบหรือยับยั้งได้ตลอดเวลา
3/ หนังสือพิมพ์ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของตนมานาน กว่าสังคมจะยอมรับว่าเสรีภาพของหนังสือพิมพ์มีความสำคัญ สื่อทางเลือกซึ่งเป็นสื่อชนิดใหม่ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้น ก็ควรได้เสรีภาพของตัว โดยไม่ต้องใช้เวลาต่อสู้ยาวนานอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์, วิทยุชุมชน, โทรทัศน์ชุมชน, หรือสื่อประเภทอื่น ต้องได้รับหลักประกันเรื่องเสรีภาพเหมือนกัน ต้องเข้าใจว่า เราอาจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่สื่อจะมีขนาดเล็กลง และครอบคลุมตอบสนองต่อผู้คนในวงแคบกว่าเดิม แต่ทุกคนกลับเข้าถึงสื่อได้ง่ายกว่า
หากคิดถึงเสรีภาพของสื่อเฉพาะแต่สื่อขนาดใหญ่ เช่น หนังสือพิมพ์และทีวีในทุกวันนี้ เสรีภาพนั้นก็อาจไม่เป็นหลักประกันเสรีภาพในการรับรู้ของผู้คนมากนัก เพราะจะมีคนใช้สื่อประเภทนี้น้อยลงไปเรื่อยๆ
4/ ถึงแม้ปัจจุบัน อำนาจรัฐตามกฎหมายที่จะใช้ในการควบคุมสื่ออาจลดน้อยลง แต่สื่อซึ่งกลายเป็นธุรกิจเต็มตัวแล้ว กลับอ่อนไหวต่อการคุกคามและกำกับของรัฐ (ที่จริงคือนักการเมืองที่ใช้อำนาจรัฐ) ได้มากกว่าเดิม เพราะรัฐกุมงบฯโฆษณาก้อนใหญ่ ซึ่งเป็นของกระทรวงทบวงกรมและรัฐวิสาหกิจ (รวมบริษัทมหาชนที่รัฐถือหุ้นใหญ่ด้วย) จึงอาจลงหรือถอนโฆษณาเพื่อกำกับสื่อได้ด้วย
การเข้าถึงแหล่งข่าว ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่รัฐเลือกจะเปิดหรือปิดแก่สื่อได้ และย่อมกระทบต่อการแข่งขันทางธุรกิจของสื่ออย่างแน่นอน
จนถึงที่สุด มาตรการนอกกฎหมาย เช่น การคุกคามด้วยการออกหนังสือขอความร่วมมือ ไปจนถึงปาระเบิดข่มขู่ ก็เป็นสิ่งที่รัฐยังใช้อยู่
เราควรกลับมาคิดถึงกระบวนการที่จะควบคุมรัฐ มิให้ใช้มาตรการในกฎหมายและนอกกฎหมายเหล่านี้ในการควบคุมสื่อ เช่น จะทำอย่างไร รัฐจึงจะไม่อาจใช้อำนาจการวางโฆษณาเป็นเครื่องมือควบคุมสื่อได้ เป็นต้น
การเข้าถึงแหล่งข่าวควรถือว่าเป็นสิทธิเสมอภาคแก่สื่อทุกชนิด อย่างน้อยก็ในบรรดาหน่วยงานของรัฐทั้งหมด จะไม่มีสื่อใดถูกกีดกันจากการให้ข่าวที่เป็นทางการของหน่วยงาน
การคุกคามสื่อในทางลับจะเกิดขึ้นไม่ได้ หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในด้านนี้ ต้องเอาจริงเอาจังกับอาชญากรรมประเภทนี้อย่างไม่ไว้หน้า หากสื่อฟ้องร้องถึง ผู้บังคับบัญชา รัฐต้องดูแลว่าผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นพร้อมจะสืบสวนสอบสวน เพื่อลงโทษบุคคลที่คุกคามสื่อ
5/ ควรมีหน่วยงานในภาคสังคม ที่มีความเป็นกลางจริง ในการเฝ้าติดตามตรวจสอบสื่อ และรายงานผลให้สังคมได้รับรู้อยู่เป็นประจำ ต้องหาทางให้หน่วยงานนี้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ โดยไม่ต้องอยู่ในอาณัติของผู้ให้ทุนจนไม่สามารถให้ความเห็นที่เป็นกลางได้จริง ในขณะเดียวกันก็ควรสร้างหน่วยงานให้มีสมรรถภาพในการเฝ้าติดตาม และประเมินได้ดีด้วย
หน่วยงานประเภทนี้ สามารถให้ความรู้ด้านสื่อแก่ประชาชนได้มาก
ในขณะเดียวกัน ก็เท่ากับช่วยทำให้สังคมมีความสามารถในการอ่านสื่อ "ออก" (media literacy)
6/ ประเด็นสุดท้ายเท่าที่ผมจะนึกออกก็คือ การศึกษาวิชาสื่อ (ในชื่อ เช่น นิเทศศาสตร์, สื่อสารมวลชน หรือวารสารศาสตร์) ในระดับมหาวิทยาลัย ควรได้รับการทบทวนปรับปรุงเสียที วิชานี้สอนกันในมหาวิทยาลัยมาหลายสิบปีแล้ว และผลิตนักทำสื่อประเภทต่างๆ ป้อนตลาดแรงงานที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น จึงควรมีส่วนรับผิดชอบต่อคุณภาพของสื่อที่อาจไม่ได้ดีขึ้นในหลายด้านด้วย
ประเด็นที่น่าทบทวนมีมาก เช่น ยังควรรักษาหลักสูตรปริญญาตรีไว้ต่อไปหรือไม่ เพราะคนทำสื่อน่าจะมีวุฒิภาวะสูงกว่าความรู้ด้านเทคนิคเพียงอย่างเดียว หากเปิดสอนแต่ระดับหลังปริญญาตรีอย่างเดียวจะดีกว่าหรือไม่ มหาวิทยาลัยควรมีภาระหน้าที่ด้านการผลิตคนด้านนี้ หรือผลิตความรู้ด้านนี้ โดยปล่อยให้สื่อผลิตคนของตนเอง หรือสื่ออาจร่วมมือกันในการผลิตคน (เช่น สมาคมสื่อทำหลักสูตรของตนเอง และฝึกเอง เป็นต้น) โดยมหาวิทยาลัยหาทางเชื่อมต่อความรู้ที่ตนสร้างขึ้นได้กับสื่อที่ทำงานอยู่จริง
ผมเชื่อว่า คนที่มีความรู้ด้านสื่อกว่าผม คงสามารถคิดถึงเส้นทางปฏิรูปได้อีกมาก โดยมีสังคมเป็นผู้นำการปฏิรูป ไม่ใช่รัฐเป็นผู้นำ
ที่มา: มติชนออนไลน์
*********************************************************************
ครั้งที่แล้ว ผมได้พูดถึงว่าหากมองจากสังคม อะไรคือปัญหาของสื่อที่น่าจะปฏิรูป
ในครั้งนี้ ผมขอเสนอว่า หากสังคม (ไม่ใช่รัฐ) สามารถกำกับการปฏิรูปสื่อได้
เส้นทางปฏิรูปสื่อควรเป็นอย่างไร
1/ รัฐต้องโปร่งใสมากขึ้น โปร่งใสหมายความว่าเปิดตัวเองให้คนอื่นๆ สามารถมองเห็นได้ทะลุปรุโปร่ง เพื่อเขาจะได้สามารถตรวจสอบรัฐได้ในทุกแง่ ไม่เฉพาะแต่แง่โกงเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงแง่โง่, แง่หาประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่ใส่ใจต่อประโยชน์ของส่วนรวม, ฯลฯ
นอกจากต้องแก้กฎหมายและระเบียบราชการ ที่จะเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐได้สะดวกขึ้นกว่าที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.ข่าวสารข้อมูลของรัฐในปัจจุบันแล้ว รัฐและหน่วยงานของรัฐก็ต้องกระตือรือร้นในการให้ข้อมูลเองด้วย ไม่ต้องตามจี้กันไปทุกเรื่อง เคยมีความคิดกันว่า เอกสารราชการส่วนใหญ่ควรเอาลงในเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพราะถึงอย่างไรในปัจจุบัน ก็เตรียมเอกสารเหล่านี้ในระบบดิจิตอลหมดแล้ว ไม่ได้เพิ่มแรงงานอะไรขึ้นมา ที่จะเปิดให้ประชาชนเข้าถึงได้ด้วยปลายนิ้วอยู่แล้ว
แน่นอนว่า พ.ร.บ.ข่าวสารข้อมูลของรัฐก็ควรปรับ ปรุงแก้ไข เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ต้องการข้อมูลที่ถูกปิดกั้นโดยหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐร่วมกับเอกชน ในเวลาอันรวดเร็วพอสมควร
สื่อมีหน้าที่ต้องฉายแสงไปให้ประชาชนได้เห็นหลังบ้านของรัฐอย่างโจ่งแจ้ง การจ้องมองและเห็นคืออำนาจ ในยุคสมัยที่รัฐมีความสามารถในการจ้องมองและเห็นประชาชนแต่ละคนได้มากขึ้น
ประชาชนก็ต้องมีความสามารถไม่น้อยไปกว่ากันที่จะจ้องมองและเห็นรัฐได้ไม่น้อยกว่ากันบ้าง
2/ จำเป็นต้องทบทวน พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์กันใหม่
จุดมุ่งหมายหลักของกฎหมายประเภทนี้ คือทำให้ทุกคนปลอดภัยจากการขโมย, ละเมิด และถูกรังแก เพราะอินเตอร์เน็ตสร้างตลาดชนิดใหม่ ซึ่งนับวันก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้า, บริการ, ข้อมูลข่าวสาร, และความคิดในปริมาณมากขึ้นทุกที จนกระทั่งในอนาคตอันใกล้ ตลาดออนไลน์จะเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของการแลกเปลี่ยนดังกล่าว รัฐนับตั้งแต่โบราณมามีหน้าที่ปกป้องให้ตลาดปลอดภัยและเป็นธรรม รัฐก็ต้องทำอย่างนั้นกับตลาดออนไลน์เหมือนกัน
แต่ความคิดที่มีกฎหมายเพื่อปกป้องระบอบปกครอง และระบบสังคม-วัฒนธรรมในตลาดประเภทนี้ เป็นความคิดที่ไม่อาจทำได้ในความเป็นจริง เพราะมีวิธีการร้อยแปดที่จะเล็ดลอดเข้าสู่พื้นที่ไซเบอร์ (อย่าลืมว่าโดยธรรมชาติแล้วพื้นที่นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นพื้นที่เปิด)
คงถึงเวลาเสียทีที่ต้องคิดถึงการปกป้องคุณค่าของระบอบการปกครองก็ตาม ของระบบสังคม-วัฒนธรรมก็ตาม ด้วยสติปัญญาแทนการใช้อำนาจ ถึงอย่างไรก็ไม่มีเทคโนโลยีอะไร หรืออำนาจอะไรที่จะสามารถปิดกั้นการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลและความคิดเห็นกันอย่างเสรีได้เสียแล้ว แทนที่จะเสียกำลังทรัพย์และกำลังคนไปนั่งคอยจับผิดผู้คน ใช้เงินและทรัพย์นั้นไปในทางที่จะทำให้การถกเถียงอภิปรายกันบนพื้นที่นี้ เป็นไปด้วยเหตุผลและข้อมูลที่เป็นจริงดีกว่า
สิ่งที่มีคุณค่าจริง ย่อมยืนยงได้ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง ไม่ใช่อำนาจดิบ
อำนาจที่รัฐได้ไปจาก พ.ร.บ.ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ รัฐใช้มันอย่างที่ไม่มีใครสามารถตรวจสอบถ่วงดุลได้เลย เป็นอันตรายต่อการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลอย่างยิ่ง กฎหมายใหม่เพื่อการปฏิรูปสื่อจึงต้องลดอำนาจรัฐลง และสร้างกระบวนการที่อำนาจรัฐในการใช้ดุลพินิจ ต้องถูกตรวจสอบหรือยับยั้งได้ตลอดเวลา
3/ หนังสือพิมพ์ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของตนมานาน กว่าสังคมจะยอมรับว่าเสรีภาพของหนังสือพิมพ์มีความสำคัญ สื่อทางเลือกซึ่งเป็นสื่อชนิดใหม่ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้น ก็ควรได้เสรีภาพของตัว โดยไม่ต้องใช้เวลาต่อสู้ยาวนานอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์, วิทยุชุมชน, โทรทัศน์ชุมชน, หรือสื่อประเภทอื่น ต้องได้รับหลักประกันเรื่องเสรีภาพเหมือนกัน ต้องเข้าใจว่า เราอาจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่สื่อจะมีขนาดเล็กลง และครอบคลุมตอบสนองต่อผู้คนในวงแคบกว่าเดิม แต่ทุกคนกลับเข้าถึงสื่อได้ง่ายกว่า
หากคิดถึงเสรีภาพของสื่อเฉพาะแต่สื่อขนาดใหญ่ เช่น หนังสือพิมพ์และทีวีในทุกวันนี้ เสรีภาพนั้นก็อาจไม่เป็นหลักประกันเสรีภาพในการรับรู้ของผู้คนมากนัก เพราะจะมีคนใช้สื่อประเภทนี้น้อยลงไปเรื่อยๆ
4/ ถึงแม้ปัจจุบัน อำนาจรัฐตามกฎหมายที่จะใช้ในการควบคุมสื่ออาจลดน้อยลง แต่สื่อซึ่งกลายเป็นธุรกิจเต็มตัวแล้ว กลับอ่อนไหวต่อการคุกคามและกำกับของรัฐ (ที่จริงคือนักการเมืองที่ใช้อำนาจรัฐ) ได้มากกว่าเดิม เพราะรัฐกุมงบฯโฆษณาก้อนใหญ่ ซึ่งเป็นของกระทรวงทบวงกรมและรัฐวิสาหกิจ (รวมบริษัทมหาชนที่รัฐถือหุ้นใหญ่ด้วย) จึงอาจลงหรือถอนโฆษณาเพื่อกำกับสื่อได้ด้วย
การเข้าถึงแหล่งข่าว ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่รัฐเลือกจะเปิดหรือปิดแก่สื่อได้ และย่อมกระทบต่อการแข่งขันทางธุรกิจของสื่ออย่างแน่นอน
จนถึงที่สุด มาตรการนอกกฎหมาย เช่น การคุกคามด้วยการออกหนังสือขอความร่วมมือ ไปจนถึงปาระเบิดข่มขู่ ก็เป็นสิ่งที่รัฐยังใช้อยู่
เราควรกลับมาคิดถึงกระบวนการที่จะควบคุมรัฐ มิให้ใช้มาตรการในกฎหมายและนอกกฎหมายเหล่านี้ในการควบคุมสื่อ เช่น จะทำอย่างไร รัฐจึงจะไม่อาจใช้อำนาจการวางโฆษณาเป็นเครื่องมือควบคุมสื่อได้ เป็นต้น
การเข้าถึงแหล่งข่าวควรถือว่าเป็นสิทธิเสมอภาคแก่สื่อทุกชนิด อย่างน้อยก็ในบรรดาหน่วยงานของรัฐทั้งหมด จะไม่มีสื่อใดถูกกีดกันจากการให้ข่าวที่เป็นทางการของหน่วยงาน
การคุกคามสื่อในทางลับจะเกิดขึ้นไม่ได้ หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในด้านนี้ ต้องเอาจริงเอาจังกับอาชญากรรมประเภทนี้อย่างไม่ไว้หน้า หากสื่อฟ้องร้องถึง ผู้บังคับบัญชา รัฐต้องดูแลว่าผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นพร้อมจะสืบสวนสอบสวน เพื่อลงโทษบุคคลที่คุกคามสื่อ
5/ ควรมีหน่วยงานในภาคสังคม ที่มีความเป็นกลางจริง ในการเฝ้าติดตามตรวจสอบสื่อ และรายงานผลให้สังคมได้รับรู้อยู่เป็นประจำ ต้องหาทางให้หน่วยงานนี้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ โดยไม่ต้องอยู่ในอาณัติของผู้ให้ทุนจนไม่สามารถให้ความเห็นที่เป็นกลางได้จริง ในขณะเดียวกันก็ควรสร้างหน่วยงานให้มีสมรรถภาพในการเฝ้าติดตาม และประเมินได้ดีด้วย
หน่วยงานประเภทนี้ สามารถให้ความรู้ด้านสื่อแก่ประชาชนได้มาก
ในขณะเดียวกัน ก็เท่ากับช่วยทำให้สังคมมีความสามารถในการอ่านสื่อ "ออก" (media literacy)
6/ ประเด็นสุดท้ายเท่าที่ผมจะนึกออกก็คือ การศึกษาวิชาสื่อ (ในชื่อ เช่น นิเทศศาสตร์, สื่อสารมวลชน หรือวารสารศาสตร์) ในระดับมหาวิทยาลัย ควรได้รับการทบทวนปรับปรุงเสียที วิชานี้สอนกันในมหาวิทยาลัยมาหลายสิบปีแล้ว และผลิตนักทำสื่อประเภทต่างๆ ป้อนตลาดแรงงานที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น จึงควรมีส่วนรับผิดชอบต่อคุณภาพของสื่อที่อาจไม่ได้ดีขึ้นในหลายด้านด้วย
ประเด็นที่น่าทบทวนมีมาก เช่น ยังควรรักษาหลักสูตรปริญญาตรีไว้ต่อไปหรือไม่ เพราะคนทำสื่อน่าจะมีวุฒิภาวะสูงกว่าความรู้ด้านเทคนิคเพียงอย่างเดียว หากเปิดสอนแต่ระดับหลังปริญญาตรีอย่างเดียวจะดีกว่าหรือไม่ มหาวิทยาลัยควรมีภาระหน้าที่ด้านการผลิตคนด้านนี้ หรือผลิตความรู้ด้านนี้ โดยปล่อยให้สื่อผลิตคนของตนเอง หรือสื่ออาจร่วมมือกันในการผลิตคน (เช่น สมาคมสื่อทำหลักสูตรของตนเอง และฝึกเอง เป็นต้น) โดยมหาวิทยาลัยหาทางเชื่อมต่อความรู้ที่ตนสร้างขึ้นได้กับสื่อที่ทำงานอยู่จริง
ผมเชื่อว่า คนที่มีความรู้ด้านสื่อกว่าผม คงสามารถคิดถึงเส้นทางปฏิรูปได้อีกมาก โดยมีสังคมเป็นผู้นำการปฏิรูป ไม่ใช่รัฐเป็นผู้นำ
ที่มา: มติชนออนไลน์
*********************************************************************
91 ศพที่คาใจ
ข่าวสดรายวัน
เหล็กใน
ดีเอสไอหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในยุค นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นอธิบดี และ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็น รมว.ยุติธรรม
ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรณีเป็นมือไม้เป็นมือรับใช้ทางการเมืองให้รัฐบาล ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ
ล่าสุด สามารถยื่นต่ออัยการให้สั่งฟ้องแกนนำผู้ชุมนุมม็อบเสื้อแดงรวม 19 ราย เป็นผู้ต้องหาก่อการร้าย
ขณะเดียวกัน ก็สรุปว่าเหตุการณ์การตายรวม 91 ศพ ก็เป็นการฆ่ากันเอง
รวมทั้งการเผาทำลายอาคาร ยิงถล่มสถานที่ต่างๆ ก็เป็นผลพวงมาจากก่อการร้ายทั้งสิ้น
หลายประเด็นตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริง และหลักฐานต่างๆ ที่ประชาชนรับรู้อย่างสิ้นเชิง
เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ลูกสาวและญาติๆ ทำบุญครบรอบ 100 วัน ที่พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก ถูกยิงตาย
คดีเสธ.แดงโดนสไนเปอร์ยิงเจาะกะโหลก จนถึงบัดนี้ไม่มีความคืบหน้า หาคนก่อเหตุไม่พบ
ขณะเดียวกัน วันที่ 28 ส.ค.นี้ ก็จะเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของ "น้องเกด"น.ส.เกดกมน อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงในวัดปทุมวนาราม
พร้อมกับเพื่อนๆ และม็อบเสื้อแดงรวม 6 ศพ
คดีความก็ยังไปไม่ถึงไหน ทวงถามเท่าไรก็ไม่มีคำตอบ
หนักๆ เข้า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ตอบแบบขอไปทีว่า
คดีคืบหน้าลำบากอยู่แล้ว แม้แต่คดีที่เจ้าหน้าที่ถูกยิงก็ยังไม่มีความคืบหน้า
นอกจากนี้ ยังมีคดีที่รัฐบาลชุดนี้ไม่อาจตอบคำถามชาวโลกได้เต็มปาก
นั่นคือการเสียชีวิตของนายฮิโรยูมิ มูราโมโตะ ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น ของสำนักข่าวรอยเตอร์
นายฟาบิโอ โพเลนกี ช่างภาพอิสระชาวอิตาลี
คดีของนายมูราโมโตะนั้น มีพยานให้การอย่างชัดเจนว่าแนวกระสุนมาจากไหน
ส่วนคดีของนายโพเลนกี ก็ไม่น่าจะไม่มีพยานให้การยืนยัน
รวมถึงผลจากการชันสูตรศพ
แต่ตอนนี้ก็ยังไม่คืบหน้าเช่นกัน
ทั้งสองคดีนี้จะเป็นเรื่องใหญ่ในสายตาชาวโลก
ถ้ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีคำตอบอย่างชัดเจนว่าทั้งสองคนตายด้วยเหตุใด
ใครทำให้ตาย
ในส่วนของเหยื่อทั้ง 91 ศพที่ถูกยิงตายกลางถนน เมื่อมีการไปขอความช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล
ก็กลับถูกทับถม เหยียบย่ำ เยาะเย้ยจากปากโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ว่าให้ไปขอที่อื่น
ตอนนี้คนเสื้อแดงกำลังเหลือทน ไหนจะถูกยิงตายอย่างทารุณบนท้องถนน
กลับบ้านก็ถูกตามไล่ล่า หนีหัวซุกหัวซุนจนแทบไม่มีที่อยู่
ขณะที่คนสั่งฆ่า คนลงมือฆ่า ยังลอยนวล
******************************************************
เหล็กใน
ดีเอสไอหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในยุค นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นอธิบดี และ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็น รมว.ยุติธรรม
ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรณีเป็นมือไม้เป็นมือรับใช้ทางการเมืองให้รัฐบาล ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ
ล่าสุด สามารถยื่นต่ออัยการให้สั่งฟ้องแกนนำผู้ชุมนุมม็อบเสื้อแดงรวม 19 ราย เป็นผู้ต้องหาก่อการร้าย
ขณะเดียวกัน ก็สรุปว่าเหตุการณ์การตายรวม 91 ศพ ก็เป็นการฆ่ากันเอง
รวมทั้งการเผาทำลายอาคาร ยิงถล่มสถานที่ต่างๆ ก็เป็นผลพวงมาจากก่อการร้ายทั้งสิ้น
หลายประเด็นตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริง และหลักฐานต่างๆ ที่ประชาชนรับรู้อย่างสิ้นเชิง
เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ลูกสาวและญาติๆ ทำบุญครบรอบ 100 วัน ที่พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพบก ถูกยิงตาย
คดีเสธ.แดงโดนสไนเปอร์ยิงเจาะกะโหลก จนถึงบัดนี้ไม่มีความคืบหน้า หาคนก่อเหตุไม่พบ
ขณะเดียวกัน วันที่ 28 ส.ค.นี้ ก็จะเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของ "น้องเกด"น.ส.เกดกมน อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงในวัดปทุมวนาราม
พร้อมกับเพื่อนๆ และม็อบเสื้อแดงรวม 6 ศพ
คดีความก็ยังไปไม่ถึงไหน ทวงถามเท่าไรก็ไม่มีคำตอบ
หนักๆ เข้า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ตอบแบบขอไปทีว่า
คดีคืบหน้าลำบากอยู่แล้ว แม้แต่คดีที่เจ้าหน้าที่ถูกยิงก็ยังไม่มีความคืบหน้า
นอกจากนี้ ยังมีคดีที่รัฐบาลชุดนี้ไม่อาจตอบคำถามชาวโลกได้เต็มปาก
นั่นคือการเสียชีวิตของนายฮิโรยูมิ มูราโมโตะ ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น ของสำนักข่าวรอยเตอร์
นายฟาบิโอ โพเลนกี ช่างภาพอิสระชาวอิตาลี
คดีของนายมูราโมโตะนั้น มีพยานให้การอย่างชัดเจนว่าแนวกระสุนมาจากไหน
ส่วนคดีของนายโพเลนกี ก็ไม่น่าจะไม่มีพยานให้การยืนยัน
รวมถึงผลจากการชันสูตรศพ
แต่ตอนนี้ก็ยังไม่คืบหน้าเช่นกัน
ทั้งสองคดีนี้จะเป็นเรื่องใหญ่ในสายตาชาวโลก
ถ้ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีคำตอบอย่างชัดเจนว่าทั้งสองคนตายด้วยเหตุใด
ใครทำให้ตาย
ในส่วนของเหยื่อทั้ง 91 ศพที่ถูกยิงตายกลางถนน เมื่อมีการไปขอความช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล
ก็กลับถูกทับถม เหยียบย่ำ เยาะเย้ยจากปากโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ว่าให้ไปขอที่อื่น
ตอนนี้คนเสื้อแดงกำลังเหลือทน ไหนจะถูกยิงตายอย่างทารุณบนท้องถนน
กลับบ้านก็ถูกตามไล่ล่า หนีหัวซุกหัวซุนจนแทบไม่มีที่อยู่
ขณะที่คนสั่งฆ่า คนลงมือฆ่า ยังลอยนวล
******************************************************
วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ตร.สรรพาวุธไม่รู้ จนท.รัฐใช้ "สไนเปอร์" สลายเสื้อแดงหรือไม่ แต่ไม่ใช่ ตร.แน่นอน
วันจันทร์ ที่ 23 ส.ค. 2553 รัฐสภา 23 ส.ค. - กรรมการติดตามเหตุสลายม็อบเสื้อแดง ส.ว. เรียกตำรวจสรรพาวุธแจงการใช้สไนเปอร์ พบสั่งซื้อมาให้หน่วย "นเรศวร-อรินทราช" ใช้ปราบก่อการร้าย-ชิงตัวประกัน ระบุหน่วยงานอื่นก็มีใช้ ยอมรับเป็นอาวุธที่น่ากลัว ยืนยันตำรวจไม่ได้นำมาใช้สลายม็อบเพราะกระสุนคนละชนิด แต่ตรวจสอบไม่ได้ว่าคนใช้ปืนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (23 ส.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง โดยมีนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน โดยได้เชิญ พ.ต.อ.รณกร ศุภสมุทร รองผู้บังคับการกองสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้อาวุธปืนสไนเปอร์ และแก๊สน้ำตา ในการสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ค.ที่ผ่านมา
พ.ต.อ.รณกร ชี้แจงว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สั่งซื้ออาวุธปืนสไนเปอร์เพียง 2 กระบอก คือ เมื่อปี 2542 สั่งซื้อสไนเปอร์ ยี่ห้อเรมิงตัน เอ็ม.24 ขนาด 7.62 ให้กับหน่วยนเรศวร 261 และในปี 2552 ซื้อให้กับหน่วยอรินทราชของตำรวจนครบาล ยี่ห้อ เอชเค ทีเอชคิว 1 ขนาด 7.62 เพื่อใช้ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายและชิงตัวประกัน ซึ่งภายหลังได้รับอาวุธก็ได้จัดส่งอาวุธดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่ต้องการแล้ว และหน่วยงานได้ลงบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ขณะที่หน่วยงานอื่น เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กองทัพบก กองทัพเรือ ทราบว่า มีสไนเปอร์ใช้ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่ทราบข้อมูลที่แน่นอน ยอมรับว่าการนำอาวุธปืนวิถีไกล อย่างสไนเปอร์มาใช้ ถือเป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะอาวุธดังกล่าวสามารถใช้ก่อเหตุได้ตลอดเวลา
ส่วนการสลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ค. ที่ผ่านมา เป็นอาวุธของตำรวจหรือไม่นั้น พ.ต.อ.รณกร กล่าวว่า เบื้องต้นได้ตรวจสอบกระสุนแล้วพบว่าเป็นยี่ห้อลากัวร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เคยใช้กระสุนยี่ห้อดังกล่าว และผู้ใช้ปืนจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐด้วยหรือไม่ ยังไม่มีใครตรวจสอบได้ เพราะการแต่งกายคล้ายกัน คือ สวมเสื้อผ้าสีดำ สวมหมวกปิดหน้า. - สำนักข่าวไทย
***********************************************************************
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (23 ส.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง โดยมีนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน โดยได้เชิญ พ.ต.อ.รณกร ศุภสมุทร รองผู้บังคับการกองสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้อาวุธปืนสไนเปอร์ และแก๊สน้ำตา ในการสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ค.ที่ผ่านมา
พ.ต.อ.รณกร ชี้แจงว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สั่งซื้ออาวุธปืนสไนเปอร์เพียง 2 กระบอก คือ เมื่อปี 2542 สั่งซื้อสไนเปอร์ ยี่ห้อเรมิงตัน เอ็ม.24 ขนาด 7.62 ให้กับหน่วยนเรศวร 261 และในปี 2552 ซื้อให้กับหน่วยอรินทราชของตำรวจนครบาล ยี่ห้อ เอชเค ทีเอชคิว 1 ขนาด 7.62 เพื่อใช้ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายและชิงตัวประกัน ซึ่งภายหลังได้รับอาวุธก็ได้จัดส่งอาวุธดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่ต้องการแล้ว และหน่วยงานได้ลงบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ขณะที่หน่วยงานอื่น เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กองทัพบก กองทัพเรือ ทราบว่า มีสไนเปอร์ใช้ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่ทราบข้อมูลที่แน่นอน ยอมรับว่าการนำอาวุธปืนวิถีไกล อย่างสไนเปอร์มาใช้ ถือเป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะอาวุธดังกล่าวสามารถใช้ก่อเหตุได้ตลอดเวลา
ส่วนการสลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ค. ที่ผ่านมา เป็นอาวุธของตำรวจหรือไม่นั้น พ.ต.อ.รณกร กล่าวว่า เบื้องต้นได้ตรวจสอบกระสุนแล้วพบว่าเป็นยี่ห้อลากัวร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เคยใช้กระสุนยี่ห้อดังกล่าว และผู้ใช้ปืนจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐด้วยหรือไม่ ยังไม่มีใครตรวจสอบได้ เพราะการแต่งกายคล้ายกัน คือ สวมเสื้อผ้าสีดำ สวมหมวกปิดหน้า. - สำนักข่าวไทย
***********************************************************************
ความเหลื่อมล้ำ
โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยนั้นพูดกันมาโดยตลอด แต่ไม่มีรัฐบาลใดสามารถแก้ไข นับวันยิ่งมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องว่างด้านรายได้ ช่องว่างทางการเมือง หรือช่องว่างทางชนชั้น
ล่าสุดการสัมมนาวิชาการประจำปีในหัวข้อ “ยกเครื่องเศรษฐกิจการคลัง ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม” ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ปัญหาการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำในสังคมนับจากปี 2535 ถือว่าแตกต่างกันสูงมาก หากดูในแง่รายได้ของคนรวย 20% แรก แต่มีเม็ดเงินรายได้สูงถึง 54% ของรายได้ของประเทศ ขณะที่คนจน 20% สุดท้ายของประเทศมีรายได้รวมกันเพียง 4.8% ของรายได้รวม
ขณะที่ฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากรพบว่ามีผู้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเพียง 9 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 64 ล้านคน ในจำนวนที่ยื่นแบบเสียภาษีมีผู้เสียภาษีจริงเพียง 2.3 ล้านคน อีกประมาณ 7 ล้านคนไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีต่างๆที่มีจำนวนมาก และในผู้เสียภาษีจริงนั้นมีเพียง 60,000 คนเท่านั้นที่ต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุด 37% สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่ามีการกระจุกตัวของรายได้ในกลุ่มคนรวยเพียงไม่กี่คน และเพียงไม่กี่คนที่เลี้ยงคนทั้งประเทศเช่นกัน
นอกจากนี้การจัดอันดับการกระจายรายได้ของไทยอยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมในสังคมยังมีมาก รวมทั้งความเหลื่อมล้ำด้านโครงสร้างภาษี โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตที่ไม่เป็นธรรมสูงมาก ทั้งยังมีอุปสรรคในข้อกฎหมายและการตีความต่างๆ
สอดคล้องกับผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2535 การกระจายรายได้ของประเทศไทยแย่มากขึ้น โดยประชาชน 50-60% ทำงานนอกระบบ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงและมีรายได้ไม่แน่นอน การกระจายการถือครองที่ดินกระจุกอยู่กับคนส่วนน้อย คือ 10% ของคนทั้งประเทศเป็นผู้ถือครองที่ดินมากว่า 100 ไร่ ส่วนที่เหลือ 90% เป็นผู้ถือครองที่ดินน้อยกว่าหรือ 1 ไร่เท่านั้น
เช่นเดียวกับตัวชี้วัดความมั่งคั่งจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า 42% ของเงินฝาก 70,000 บัญชี มีเงินมากกว่า 10 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.09% ของจำนวนบัญชีทั้งหมดในประเทศไทย หรือเท่ากับ 42% ของเงินฝากทั้งหมดมีคนเพียง 35,000 คนเป็นเจ้าของ ส่วนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯระหว่างปี 2538-2547 พบว่า 11 ตระกูลเท่านั้นที่ผลัดกันเป็นเจ้าของหุ้นที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก
นี่คือความจริงที่สังคมไทยไม่ยอมรับคำว่า “ไพร่-อำมาตย์” เหมือนความอยุติธรรมหรือ 2 มาตรฐานที่อยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการที่ฆ่าประชาชนโดยไม่มีความผิด
**********************************************************************
ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยนั้นพูดกันมาโดยตลอด แต่ไม่มีรัฐบาลใดสามารถแก้ไข นับวันยิ่งมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องว่างด้านรายได้ ช่องว่างทางการเมือง หรือช่องว่างทางชนชั้น
ล่าสุดการสัมมนาวิชาการประจำปีในหัวข้อ “ยกเครื่องเศรษฐกิจการคลัง ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม” ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ปัญหาการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำในสังคมนับจากปี 2535 ถือว่าแตกต่างกันสูงมาก หากดูในแง่รายได้ของคนรวย 20% แรก แต่มีเม็ดเงินรายได้สูงถึง 54% ของรายได้ของประเทศ ขณะที่คนจน 20% สุดท้ายของประเทศมีรายได้รวมกันเพียง 4.8% ของรายได้รวม
ขณะที่ฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากรพบว่ามีผู้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเพียง 9 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 64 ล้านคน ในจำนวนที่ยื่นแบบเสียภาษีมีผู้เสียภาษีจริงเพียง 2.3 ล้านคน อีกประมาณ 7 ล้านคนไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีต่างๆที่มีจำนวนมาก และในผู้เสียภาษีจริงนั้นมีเพียง 60,000 คนเท่านั้นที่ต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุด 37% สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่ามีการกระจุกตัวของรายได้ในกลุ่มคนรวยเพียงไม่กี่คน และเพียงไม่กี่คนที่เลี้ยงคนทั้งประเทศเช่นกัน
นอกจากนี้การจัดอันดับการกระจายรายได้ของไทยอยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมในสังคมยังมีมาก รวมทั้งความเหลื่อมล้ำด้านโครงสร้างภาษี โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตที่ไม่เป็นธรรมสูงมาก ทั้งยังมีอุปสรรคในข้อกฎหมายและการตีความต่างๆ
สอดคล้องกับผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2535 การกระจายรายได้ของประเทศไทยแย่มากขึ้น โดยประชาชน 50-60% ทำงานนอกระบบ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงและมีรายได้ไม่แน่นอน การกระจายการถือครองที่ดินกระจุกอยู่กับคนส่วนน้อย คือ 10% ของคนทั้งประเทศเป็นผู้ถือครองที่ดินมากว่า 100 ไร่ ส่วนที่เหลือ 90% เป็นผู้ถือครองที่ดินน้อยกว่าหรือ 1 ไร่เท่านั้น
เช่นเดียวกับตัวชี้วัดความมั่งคั่งจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า 42% ของเงินฝาก 70,000 บัญชี มีเงินมากกว่า 10 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.09% ของจำนวนบัญชีทั้งหมดในประเทศไทย หรือเท่ากับ 42% ของเงินฝากทั้งหมดมีคนเพียง 35,000 คนเป็นเจ้าของ ส่วนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯระหว่างปี 2538-2547 พบว่า 11 ตระกูลเท่านั้นที่ผลัดกันเป็นเจ้าของหุ้นที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก
นี่คือความจริงที่สังคมไทยไม่ยอมรับคำว่า “ไพร่-อำมาตย์” เหมือนความอยุติธรรมหรือ 2 มาตรฐานที่อยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการที่ฆ่าประชาชนโดยไม่มีความผิด
**********************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)