--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

เตือนภัย.นักดื่มช่วงอากาศร้อน เสี่ยงช็อก เสียชีวิต แนะดื่มน้ำให้ได้2ลิตร/วัน !!?


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนให้งดดื่มเหล้าในช่วงหน้าร้อนไม่ว่าจะผสมน้ำแข็งหรือไม่ก็ตาม ชี้มีอันตรายสูง เสี่ยงช็อก เสียชีวิตได้ แนะวิธีคลายร้อน ให้ดื่มน้ำมากๆ ให้ได้วันละอย่างน้อย 2 ลิตร จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวดียิ่งขึ้น

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้สภาพอากาศในประเทศร้อนอบอ้าวมาก โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน อุณหภูมิบางแห่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส เกินอุณหภูมิปกติของร่างกายซึ่งมีระดับที่ 37 องศาเซลเซียส จึงมีความเป็นห่วงสุขภาพประชาชนอาจมีการเจ็บป่วยจากอากาศร้อน โดยหากได้รับความร้อนสูง ร่างกายจะพยายามระบายความร้อนออก โดยการปรับเปลี่ยนอัตราและการหมุนเวียนโลหิต เพื่อทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิปกติ ความร้อนจะมีผลต่อการหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย เกิดการสูญเสียน้ำผ่านทางผิวหนังและต่อมเหงื่อ ทำให้มีอาการหอบหรือใจสั่น เนื่องจากความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพื่อรับการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้น เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังจะระบายความร้อนผ่านทางผิวหนังตอนที่เหงื่อออก

อากาศร้อนจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ 4 ระดับ ตั้งแต่ผิวหนังไหม้ ตะคริว อาการเพลียแดด และที่รุนแรงที่สุดคืออาการของลมร้อน หรือที่เรียกว่าโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินหรือนานเกินไป สมองไม่ทำงาน ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ได้ และสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อาการที่สำคัญได้แก่ตัวร้อนจัดแต่ผิวหนังแห้ง ไม่มีเหงื่อออก กระสับกระส่าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เสียชีวิตได้ ข้อมูลใน 5 ปีที่แล้วมีรายงานพบผู้ป่วยจากสภาพอากาศร้อน 81 ราย

นายแพทย์ชลน่านกล่าวต่อว่า เครื่องดื่มที่ไม่ควรดื่มในช่วงที่สภาพอากาศร้อน ก็คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะดื่มโดยใส่น้ำแข็งหรือไม่ใส่ ก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ถึงขั้นเกิดภาวะช็อกได้ โดยเฉพาะหากเป็นผู้มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก เนื่องจากในสภาวะที่อากาศร้อนอบอ้าว จะทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็ว และจะเพิ่มแรงดันโลหิตให้สูงขึ้นกว่าช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นหรือในช่วงที่มีอากาศปกติ โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ผ่านทางเหงื่อและทางปัสสาวะได้ง่ายขึ้นไปอีก ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำรุนแรง ซึ่งอาจทำให้ช็อกหมดสติ และมีโอกาสเสียชีวิตได้ แม้แต่คนที่ไม่มีโรคประจำตัว ฤทธิ์แอลกอฮอล์ก็ส่งผลกับอวัยวะภายใน ทั้งตับ ไต หัวใจ โดยเฉพาะระบบประสาท สมอง ประกอบกับภาวะอากาศที่ร้อนและแล้งจะมีผลให้ประชาชนเกิดความเครียด อารมณ์หงุดหงิดได้ง่าย หากมีการดื่มสุราร่วมด้วย จะยิ่งส่งเสริมให้มีอาการมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตอยู่แล้ว ได้มอบหมายให้กรมสุขภาพจิตเตรียมบุคลากรไว้รองรับเรื่องนี้ด้วย ประชาชนสามารถขอรับบริการปรึกษาที่สายด่วน 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการป้องกันอันตรายในช่วงที่มีอากาศร้อนที่สำคัญและง่ายที่สุด คือการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ โดยผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งหรือผู้ที่ออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน ส่วนผู้ที่ทำงานในที่ร่มควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับอากาศร้อนได้ เนื่องจากน้ำจะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคือ 37 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ต้องลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ประการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้รถ อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เกิดโรคฮีทสโตรกได้ง่าย

นายแพทย์ชลน่านกล่าวย้ำว่า ไม่มีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัย เพราะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อมในขณะนั้น ทั้งนี้ ในการสังเกตว่าร่างกายตนเอง ได้รับน้ำเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ สามารถสังเกตง่ายๆ จากสีของน้ำปัสสาวะ ถ้ามีสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ แต่ถ้ามีสีเหลืองเข้มคล้ายน้ำชา และปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะต้องดื่มน้ำให้มากๆ

ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
///////////////////////////////////////////////////////

รถไฟความเร็วสูง ดันอสังหาฯเชียงใหม่บูม !!?


ที่ดินเชียงใหม่เผยแนวโน้มอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ปี'56 ขยายตัวต่อเนื่อง ระบุโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกระตุ้นการลงทุน 4 อำเภอในโซนตะวันออก

นายไพรัต เศียรสมาน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงแนวโน้มการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของจังหวัดเชียงใหม่ในปี 56 ว่า ยังไม่อิ่มตัวโดยยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี โดยเฉพาะในพื้นที่ 4 อำเภอโซนตะวันออก คือ อำเภอดอยสะเก็ด, อำเภอสันทราย, อำเภอสันกำแพง และอำเภอแม่ริม โดยมีปัจจัยจากความต้องการที่อยู่อาศัยของคนในพื้นที่ และคนต่างพื้นที่ และการก่อสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่พร้อมกัน 3 แห่ง, อีกทั้งโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง ตลอดจนการเปิดใช้งานศูนย์ประชุม และแสดงสินค้านานาชาติฯ ล้วนแต่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้จังหวัดเชียงใหม่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคการลงทุนอสังหาริมทรัพย์เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการประกาศใช้ผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่แล้ว แต่รายละเอียดของผังเมืองฉบับดังกล่าวไม่สอด คล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันในปลายเดือนเมษายน 2556 กำลังจะมีการประกาศใช้ผังเมืองเมืองเชียงใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์เร่งดำเนินการก่อนที่จะ มีกฎหมายบังคับ แต่ในข้อเท็จจริงคงจะต้องมีการแก้ไขผังเมืองทั้ง 2 ฉบับ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่แต่ละโซนให้มีความเหมาะสม และเอื้อต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเท่าที่ทราบขณะนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่มีแนวคิดจะแบ่งโซนระหว่างเมืองเก่าในฝั่งตะวันตกกับเมืองใหม่ในฝั่งตะวันออกให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อโบราณสถาน และการค้าการลงทุน

นอกเหนือจากนี้ หลังจากที่ทางรัฐบาลต้องการผลักดันให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของภาคเหนือ ด้วยการสนับสนุนโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง จึงทำให้มีผลต่อการตัดสินในใจการเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มทุนขนาดใหญ่จากส่วนกลางไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส, คลอลิตี้เฮ้าส์, ศุภาลัย และแสนสิริ ต่างเข้ามาลงทุนในรูปแบบของบ้านจัดสรร และอาคารชุดกันอย่างคึกคัก ซึ่งในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 มีการยื่นคำขออนุญาตจัดสรรแบ่งเป็นบ้านจัดสรร จำนวน 13 ราย และอาคารชุด 5 ราย ขณะที่ทั้งปี 2555 มีการยื่นคำขออนุญาตจัดสรรแบ่งเป็นบ้านจัดสรร 55 ราย และอาคารชุด 11 ราย

นายไพรัต กล่าวต่อว่า ส่วนการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ในปี 2555 มีการโอนจำนวน 38,000 ราย คิดเป็นเงิน 445 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีจำนวน 37,000 ราย คิดเป็น 352 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2556 ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม พบว่ามีจำนวน 9,608 ราย คิดเป็น 128 ล้านบาท โดยราคาที่ดินสูงสุดยังอยู่ในย่านสำคัฐ เช่นถนนช้างม่อย, ถนนช้างคลาน, ตลาดวโรรส และถนนนิมมานเหมินทร์ ตารางวาละ 250,000 บาท ส่วนราคาที่ดินที่พบว่ามีการปรับตัวสูงขึ้น คือ บริเวณศูนย์การค้ารเซ็นทรัลเชียงใหม่แอร์พอร์ต มีการปรับตัวสูงที่สุดจากเดิมตารางวาละ 3,000 บาท ปรับเป็น 25,000 บาท และ ถนนอัษฎาธร จากเดิมตารางวาละ 20,000 บาท ปรับเป็น 60,000 บาท และในเขตเมืองชั้นในจากเดิมอยู่ที่ตารางวาละ 200,000 บาท ปรับเป็น 250,000 บาท

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

หนี้จีน ระเบิดเวลาที่รอวันระเบิด !!?


โดย สันติธาร เสถียรไทย

เมื่อ ปลายปีที่แล้ว เพื่อนร่วมทีมของผมที่ดูแลเศรษฐกิจจีนของธนาคารเครดิตสวิส กลับไปประเทศจีนเพื่อเยี่ยมญาติ และได้รับโทรศัพท์จากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งของจีน ชักชวนให้ไปซื้อหน่วยลงทุนที่รับรองผลตอบแทนถึง 7.5% (ประมาณสองเท่าของดอกเบี้ยที่ได้จากเงินฝากธนาคาร)

ด้วยความสงสัย และไม่เชื่อว่าของดีแบบนี้มีอยู่จริง เขาจึงโทร.ไปถามผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งคำตอบจากคนแรก คือ "ไม่รู้ ! แต่ประมาณว่าลงในสินทรัพย์หลาย ๆ อย่าง" และส่งสายต่อให้กับฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์การเงิน แต่ท้ายสุดกลับได้ยินเทปม้วนเดิม ว่าหน่วยลงทุนนี้ผลตอบแทนงาม ความเสี่ยงต่ำ เพราะลงทุนในหลาย ๆ อย่างในภาคอสังหาริมทรัพย์ ตามนิสัยนักเศรษฐศาสตร์เพื่อนคนนี้จึงซักถามต่อ โดยจะเอาคำตอบให้ได้ สุดท้ายเขาก็ตามไปถามกับต้นตอคนเดียวที่รู้เรื่อง และแล้วสิ่งที่เขากลัวก็เป็นจริง

เพราะกองทุนลงทุนใน 8 กองทุนทรัสต์ 4 หุ้นกู้ โดยใน 8 กองทุนทรัสต์นี้ 3 กองไปลงในภาคอสังหาริมทรัพย์ 3 กองลงทุนไปที่โครงการของรัฐบาลท้องถิ่น และอีก 2 เป็นอะไรบ้างคนคนนี้ก็ไม่รู้

กองทุนทรัสต์ที่ว่านี้ ส่วนใหญ่ลงทุนในผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการเงินหมุนเวียนใน ยามที่การซื้อขายซบเซา และไม่สามารถกู้จากธนาคารโดยตรงได้ ในขณะที่หุ้นกู้ที่กล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่หุ้นกู้ออกโดยบริษัทเอกชนจริง ๆ แต่โดย "บริษัท" ที่รัฐบาลท้องถิ่น

ตั้งขึ้นมา เพื่อกู้เงินหรือรู้จักกันในชื่อ Local Government Financing Vehicle (LGFV) ส่วนมากเพื่อไปลงทุนในโครงการที่ผลตอบแทนอิงกับราคาอสังหาริมทรัพย์อีก การลงทุนของหน่วยลงทุนนี้จึงพูดได้ว่าไม่ได้กระจายความเสี่ยงเลย

ยิ่ง ไปกว่านั้น ถึงแม้พนักงานฝ่ายขายคนนี้จะบอกมีการการันตีผลตอบแทน แต่พอสืบเข้าจริงกลับพบว่าธนาคารพาณิชย์แห่งนี้มีบทบาทเป็นเพียงผู้จัด จำหน่าย จึงทำให้ยิ่งงงว่าจริง ๆ แล้วใครเป็นคนรับรองผลตอบแทน และใครเป็นผู้แบกความเสี่ยงในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงพวกนี้กันแน่ ในเมื่อกองทุนเหล่านี้ไม่ได้อยู่บนงบดุลของธนาคารด้วยซ้ำ ถ้ากองทุนพวกนี้เจ๊ง ธนาคารผู้จัดจำหน่ายจะเป็นคนออกเงินให้คนซื้อหน่วยลงทุนนั้นหรือไม่

การ นำเอาของแย่ ๆ ความเสี่ยงสูงมามัดรวมกัน ตกแต่งใหม่แล้วขายต่อเหมือนของดีความเสี่ยงต่ำ โดยที่ไม่รู้ใครแบกความเสี่ยงกันแน่ ฟังดูคุ้นหูไหมครับ มันละม้ายคล้ายกับพวกผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างซีดีโอ (CDO หรือ Collateralized Debt Obligation) ที่ทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2551-2552 ไม่มีผิด

ที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้น คือพวกซีดีโอนั้นคนซื้อยังเป็นพวกกองทุนหรือธนาคาร ที่พอจะมีความเข้าใจพวกผลิตภัณฑ์เหล่านี้บ้าง (แต่ก็ไม่เข้าใจลึกซึ้งอยู่ดี) แต่ในกรณีของจีนนั้น ผู้ที่ซื้อกองทุนเหล่านี้เป็นคนเดินถนน ที่นึกว่านี่เป็นการฝากเงินแบบหนึ่ง

ระเบิดเวลาลูกนี้ใหญ่กว่าที่คิดและกำลังขยายตัวขึ้นไปอีก

ที่สำคัญคือระเบิดเวลาที่เป็นหนี้ "นอก" ระบบธนาคาร หรือที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า "ภาคธนาคารเงา" (Shadow Banking) ไม่ได้มีขนาดเล็กอย่างที่หลายคนคิด แม้ตัวเลขจริงจะไม่มีใครรู้แน่ แต่ทางทีมของเครดิตสวิสได้ประมาณการจากตัวเลขของกองทุนทรัสต์ หุ้นกู้ของ LGFV รวมไปถึงการกู้ในตลาดใต้ดิน (Underground Lending) ว่าน่าจะมีขนาดถึง 23 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 45% ของจีดีพี (GDP) เทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของสินเชื่อใหม่ที่ถูกปล่อยออกมาในปีที่แล้วทั้งปี (25% ของสินเชื่อคงค้างในระบบทั้งหมด)

ด้วยเหตุนี้เอง แม้สินเชื่อโดยตรงจากธนาคารจะชะลอตัวลงมาก แต่สินเชื่อทั้งระบบการเงินยังโตเร็วและทำให้ตอนนี้ภาวะหนี้ทั้งระบบของจีน สูงถึง 176% ของ GDP

เหตุที่สินเชื่อของภาคธนาคารเงาโตเร็วมากในสอง ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการเงินของจีน ที่คุมดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์โดยตรง ในขณะที่มีระบบโควตาคอยจำกัดสินเชื่อที่ธนาคารจะปล่อยได้ และการควบคุมสภาพคล่องด้วยการปรับอัตราส่วนสำรองเงินฝากของภาคธนาคาร (Reserve Requirement)

เมื่อรัฐบาลกดดอกเบี้ยไว้ต่ำ นักออมอย่างคนจีนก็ค้นหาวิธีออมที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ลดสภาพคล่องในระบบธนาคารด้วยการปรับอัตราส่วนสำรอง เงินฝากสูงขึ้น ทำให้ธนาคารปล่อยกู้ได้ยาก ต้องเน้นปล่อยให้กับลูกค้า "สำคัญ" ก่อน ส่งผลให้มี

ผู้ประกอบการหลายเจ้าที่ไม่เป็น วี.ไอ.พี.ต้องอดอยากโหยหาสินเชื่อในยามที่เศรษฐกิจไม่ซื้อง่ายขายคล่อง เหมือนเก่า (โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์)

เมื่อมีคนอยากได้เงิน และคนอยากให้เงิน (เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่ดีกว่า) แต่ภาคธนาคารไม่สามารถเป็นท่อต่อเชื่อมได้เต็มที่ ก็ไม่แปลกที่เงินนั้นจะหาช่องทางอื่นไปหาคนที่ต้องการ ไม่ต่างกับธรรมชาติของน้ำ "ย่อมไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ" ปัญหาคือช่องทางนี้ไม่ได้อยู่ใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลและขาดกฎกติกาควบคุม

ทั้งหมดนี้แปลว่าอะไรสำหรับเศรษฐกิจจีนปีนี้และปีต่อ ๆ ไป

โจทย์ ของรัฐบาลท่าน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และ นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง จึงไม่ง่ายเลย หากกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนพื้นฐานและยอมให้ราคาอสังหาฯขึ้นต่อเศรษฐกิจ โตต่อไปได้ และระเบิดเวลาเหล่านี้คงไม่ระเบิดขึ้นมาในเร็ว ๆ นี้ แต่จะขยายตัวต่อไปอีกเป็นปัญหาสะสมที่หนักหนายิ่งขึ้นในวันหน้า

แต่ถ้าจะแตะเบรกด้วยมาตรการที่รุนแรงเกินไปที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอหรือราคาอสังหาฯตก เศรษฐกิจจีนก็อาจหัวทิ่มพลิกควํ่า

เพราะ ระเบิดลูกนี้จะระเบิดขึ้นทันที และเงินเฟ้อคืออีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลต้องระวังอย่างมาก เพราะหากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสูงอย่างมีนัยจนธนาคารกลางของจีนต้องขึ้น ดอกเบี้ย ราคาอสังหาฯก็จะถูกกระทบอย่างหนักทันที จึงไม่น่าแปลกใจที่ในการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติ (National Party Congress) ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการออกมายอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรก ว่าปัญหาหนี้ภาคธนาคารเงานี้ต้องมีการจับตาดูให้ดี

แต่ผมว่าปีนี้เรา คงจะเห็นรัฐบาลจีน เลือกที่จะเน้นให้เศรษฐกิจโตและยอมจำใจปิดตาหนึ่งข้างกับเรื่องนี้ มากกว่าที่จะทำอะไรอย่างจริงจัง เพราะอย่างไรเสีย นี่เป็นช่วงรอยต่อของรัฐบาลที่สำคัญ รัฐบาลคงไม่กล้าเสี่ยงเพราะมันกระทบไม่ใช่แค่ภาคธนาคารและธุรกิจ แต่รวมไปถึงผู้ฝากเงินและแผนการระยะยาวของรัฐบาล ที่จะเร่งการพัฒนาจีนด้วยการสร้างและพัฒนาเมือง (Urbanization) อีกด้วย แม้ล่าสุดรัฐบาลจะมีการทดลองบังคับใช้มาตรการให้ธนาคารต่าง ๆ รายงานหนี้ประเภทนี้มากขึ้นในเซี่ยงไฮ้ ผมเกรงว่านี่อาจไม่เพียงพอ

ผม โชคดีมีโอกาสปรึกษาหารือเรื่องนี้กับอาจารย์เศรษฐศาสตร์ของผม ศาสตราจารย์โจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph E. Stiglitz) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล อดีตประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดีคลินตัน และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของธนาคารโลก (Chief Economist of the World Bank) ซึ่งท่านให้ข้อคิดเห็นว่ามาตรการควบคุมสอดส่องกิจการการเงินประเภทนี้ ในความเป็นจริงทำได้ยาก ยิ่งหากธนาคาร นักลงทุน และผู้กู้ ยังมี "แรงจูงใจ" ที่จะทำธุรกรรมเช่นนี้ เพราะถึงแม้สมมติว่ารัฐบาลสามารถคุมท่อการเงินได้ท่อหนึ่ง (เช่น กองทุนทรัสต์) เงินก็จะหาทางไหลจากคนที่ต้องการผลตอบแทนไปสู่คนที่ต้องการเงินเสมอ และโดยจะหาช่องทางการเงินใหม่ที่ไม่ค่อยมีการดูแลควบคุมมาทำให้หนี้โตขึ้นไป อีกจนได้

ข่าวดีข้อหนึ่ง คือรัฐบาลกลางของจีนนั้นมีฐานะการเงินที่แกร่งมาก โดยที่อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ไม่ถึง 20% เสียด้วยซ้ำ (ของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 44%) เพราะฉะนั้น รัฐบาลจีนน่าจะมีกำลังทางการคลังเพียงพอที่จะช่วยอุ้มภาคธนาคาร และ

ผู้ฝากให้รอดพ้นจากวิกฤตครั้งใหญ่ หากเกิดขึ้น ทำให้ปัญหาไม่น่าจะบานปลายเหมือนที่เราเห็นในวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกาที่ผ่านมา

สรุป คือเศรษฐกิจจีนคงจะต้องวิ่งต่อไปเหมือนรถบัสที่มีระเบิดติดตัว (แบบหนังฮอลลีวูดชื่อดังเรื่อง สปีด-Speed) วิ่งช้าไป (อัตราการเจริญเติบโตของ GDP ประมาณ 5-6% ต่อปี) ก็ไม่ได้ เพราะรถอาจระเบิด แต่ถ้าวิ่งเร็วเกินไป (9-10 เปอร์เซ็นต์) ก็อาจชนแล้วระเบิดขึ้นได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นเราคงเห็นจีนยุคใหม่โตประมาณปีละ 7-8% โดยยังมีการลงทุนภาครัฐเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

ข้อคิดสำคัญสองข้อจากสถานการณ์ของจีน

หนึ่ง-คือ ประเทศในอาเซียนที่อาจจะอยากหันมาพึ่งการส่งออกไปจีนมากขึ้น เมื่อตลาดที่อเมริกาและยุโรปยังไม่ฟื้น อาจจะต้องเข้าใจถึง "ข้อจำกัด" และ "ความเสี่ยง" ต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจีน ที่มาจากปัญหาหนี้นี้

สอง-ผม มองว่าปัญหาภาคธนาคารเงาของจีน ซึ่งก็คล้าย ๆ กับที่เกิดขึ้นที่อเมริกา เป็นข้อเตือนใจว่าหากเศรษฐกิจนั้นอยู่ในสภาพดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ๆ ถึงแม้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมสินเชื่อต่าง ๆ เช่น การจำกัดโควตา

สิน เชื่อ การปรับอัตราส่วนสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อย่างที่รัฐบาลจีนทำ หรือแม้แต่นโยบายที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่ธนาคารกลางหลายประเทศที่ชื่อ "Macro-prudential Measure" พูด

ง่าย ๆ คือการใช้มาตรการควบคุมการเงินแบบเฉพาะเจาะจงไปที่เซ็กเตอร์เป้าหมาย (เช่น การคุมสินเชื่อผู้บริโภค) ทั้งหมดนี้ก็ยังอาจไม่พอเพียงในการที่จะยับยั้งภาวะฟองสบู่และปัญหาหนี้ได้ เพียงแต่ทำให้หนี้ไปโตในที่ที่เห็นยากขึ้น

เพราะฉะนั้น ธนาคารชาติของแต่ละประเทศก็ยังหนีไม่พ้นกับการที่ต้องคอยถามตัวเองอยู่เป็น ช่วง ๆ ว่าตอนนี้ดอกเบี้ยของประเทศเรานั้นต่ำไปหรือไม่ เมื่อเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสินเชื่อของเศรษฐกิจตัวเอง

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จี้ ทบทวน P4P.


ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสการยกเลิกเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และปรับไปใช้แนวทางการจ่ายเงินตามผลงาน หรือ พีฟอร์พี (P4P) ซึ่งประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยที่ยังไม่มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ก่อให้เกิดกระแสการวิจารณ์ จากบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวาง

สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า แนวทางการจ่ายค่าตอบแทนมีผลต่อประชาชน เพราะพื้นที่ห่างไกลมักจะประสบปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพออยู่แล้ว โรงพยาบาลชุมชนบางแห่ง มีหมอ 1-2 คน แต่ต้องดูแลประชาชนทั้งอำเภอหลายหมื่นคน หากการจ่ายค่าตอบแทนแบบนับแต้มตามผลงาน หรือพีฟอร์พี ออกมาใช้ ไม่จูงใจให้บุคลากรอยากจะอยู่ประจำในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่เสี่ยง กระทบต่อการรับบริการของประชาชนแน่นอน

“กลุ่มสนับสนุนแนวทางการใช้นโยบายทางการเงิน เป็นเครื่องมือในการกระจายบุคลากรเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทุกพื้นที่ รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องพื้นที่ คือเรื่องทุรกันดาร ร่วมกับแนวคิดเรื่องภาระงาน และค่าตอบแทนการอยู่นานเป็นเรื่องสุดท้าย และต้องให้ความสำคัญกับทุกวิชาชีพเท่าๆ กัน เนื่องจากการดูแลสุขภาพคนหนึ่งคน ทุกวิชาชีพต่างสำคัญและมีภาระงานในส่วนที่รับผิดชอบต่อชีวิตใกล้เคียงกัน ต้องทำงานเป็นทีม แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้คือ กำหนดการจ่ายตามพื้นที่ส่วนหนึ่ง แล้วเพิ่มเติมด้วยการคิดตามภาระงานเป็นเงินส่วนเพิ่ม (Top up) ไม่ใช่ตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไป และต้องไม่ให้การกำหนดแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนเป็นชนวนให้เกิดความแตกแยกของทีมบุคลากรทางการแพทย์” สุรีรัตน์ กล่าว

สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่าต้องทวงถามเจตนารมณ์ของการนำระบบพีฟอร์พี มาใช้ว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ระหว่างต้องการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการสาธารณสุข หรือต้องการตัดงบประมาณลง หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ก็จะเห็นว่าการตัดสินใจเชิงนโยบายครั้งนี้ รีบร้อน เร่งทำ โดยไม่อาศัยหลักวิชาการ ส่อเจตนาทุจริตเชิงนโยบาย กระทบต่องบประมาณของประเทศ โดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า P4P ทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของประชาชนอย่างชัดเจนและประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้จริงหรือไม่

“การตัดสินใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หลายเรื่องดูรีบร้อน รวบรัด เร่งทำ ไม่มีการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาก่อนเลย รวมถึงวิธีการที่จะปรับใช้ วิธีการปฏิบัติในพื้นที่ก็ยังไม่ชัดเจน ไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ผลการศึกษาจากทั้งในและต่างประเทศก็ชี้ให้เห็นว่า การใช้พีฟอร์พีเพียงมาตรการเดียว เป็นผลเสียมากกว่าผลดี การตัดสินใจใดๆ จึงต้องอยู่บนข้อมูลทางวิชาการ และทำด้วยความรอบคอบรัดกุม ไม่ใช่ไม่มีแนวทางใดๆ ที่ชัดเจน ก็ประกาศออกมาอย่างเร่งรีบ โดยไม่ฟังคำทัดทาน” โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพกล่าว

นอกจากนี้ โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันฯ ยังกล่าวต่อว่า ในต่างประเทศ การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ใช้วิธีการกำหนดเพดานค่าตอบแทน และจำนวนโรงพยาบาลเอกชน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะสมองไหลอย่างเช่นที่ไทยกำลังประสบ แต่นโยบายรัฐบาลชุดนี้กลับสนับสนุนการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชน  ให้มีการนำเรื่องสุขภาพมาซื้อขายในตลาดหุ้นได้ และส่งเสริมนโยบายเมดิคัล ฮับ ให้เป็นโครงการที่นำรายได้เข้าประเทศ แต่ก็เป็นประโยชน์เฉพาะกับแพทย์พาณิชย์ และธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน  ย่อมส่งผลต่อทำให้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในพื้นที่ห่างไกลรุนแรงมากขึ้น  ประกอบกับนโยบายพีฟอร์พี ซึ่งน่าจะเป็นตัวเร่งให้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรในพื้นที่ห่างไกล เข้าสู่จุดวิกฤติเร็วขึ้นอีก

จรรยา แสนสุภา ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ส่วนตัวในฐานะผู้ใช้บริการ มีความกังวลว่าประชาชนจะไม่ได้รับการบริการ เพราะภาพที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ หลายโรงพยาบาลขึ้นป้ายไม่ยอมรับแนวทาง P4P มีข้อความว่าในอนาคต ประชาชนอาจจะต้องรอนานขึ้น เพราะกระทรวงใช้การคิดแต้ม ทำให้ที่นี่ไม่มีบุคลากร

“จากเดิมบุคลากรก็น้อยมากอยู่แล้ว เมื่อมีแนวนโยบายแบบนี้ ทำให้เราเองกังวลจริงๆว่าจะไม่มีหมอ ไม่มีพยาบาลในพื้นที่ พวกเราก็ต้องเดินทางกว่า 100 กิโลเมตร เข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดทั้งที่บางครั้งไม่มีความจำเป็น” จรรยากล่าว

ที่มา.ประชาไท
///////////////////////////////////////////////

กฟผ.ยันพ้นวิกฤติ ไฟดับ-ตก !!?


พลังงาน-กฟผ.การันตี 5-14 เม.ย. พ้นวิกฤติไฟดับ หลังจากพม่าเริ่มหยุดส่งก๊าซฯ ตั้งแต่เที่ยงวันนี้ ยันมีไฟฟ้าสำรองกว่า 1,600 เมกะวัตต์

จากการที่พม่าแจ้งหยุดส่งก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งยาดานาและเยตากุน ระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย. นี้ เนื่องจากต้องซ่อมบำรุงแท่นขุด จำเป็นต้องปิดระบบส่งก๊าซฯ ทั้งหมด และหยุดส่งมาให้กับไทยในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ก๊าซฯ หายไปจากระบบประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัญหาดังกล่าวทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างต้องเร่งหาเชื้อเพลิงสำรอง พร้อมทั้งขอความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนช่วยประหยัดการใช้พลังงาน โดยวันนี้ (5 เม.ย.) เป็นวันแรกที่พม่าหยุดส่งก๊าซฯ

ทั้งนี้ ผู้ผลิตก๊าซฯ ในพม่าแจ้งว่าจะหยุดส่งก๊าซฯ ให้ไทยในเวลาเที่ยงวันนี้ (5 เม.ย.) และจะกลับมาจ่ายก๊าซฯ ในเวลา 14.00 น. ของวันที่ 14 เม.ย.

วานนี้ (4 เม.ย.) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมปิดไฟ ปรับแอร์ ปลดปลั๊ก ตามปฏิบัติการ 3 ป. "รวมใจคนไทยสู้วิกฤติไฟฟ้า" เพื่อขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนช่วยลดการใช้ไฟฟ้า ระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ และส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมปฏิบัติการ 3 ป. ในช่วงเวลา 14.00-15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือ พีค โดยปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศจาก 25 องศาเซลเซียส เป็น 26 องศาเซลเซียส ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ทั้ง 3 มาตรการจะลดการใช้ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 700 เมกะวัตต์

"พงษ์ศักดิ์" เชื่อไม่เกิดปัญหาไฟตก-ไฟดับ

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาไฟตก ไฟดับ ช่วงที่พม่าหยุดจ่ายก๊าซฯ หลังได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงพีควันที่ 5 เม.ย. นี้ ได้ประมาณ 800 เมกะวัตต์ รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะลดการใช้ไฟได้ประมาณ 107 เมกะวัตต์ ทำให้สำรองไฟฟ้าพร้อมใช้เพิ่มขี้นเป็นเกือบ 1,000 เมกะวัตต์ แต่ยอมรับเป็นห่วงวันที่ 9 -10 เม.ย. นี้ ที่โรงงานจะกลับมาเดินเครื่องผลิตทำให้สำรองไฟฟ้าอยู่ที่ 1,440 เมกะวัตต์ จึงขอความร่วมมือให้ประหยัดไฟต่อเนื่อง

สั่ง กฟผ. สร้างความเข้าใจสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ส่วนในระยะยาวรัฐบาลมีแผนจะสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังน้ำและถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้เพียงพอ แต่แผนดังกล่าวอาจทำไม่ได้ในระยะสั้น เพราะมีความเสี่ยงหากเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ระหว่างนี้จึงให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เร่งทำความเข้าใจกับประชาชนให้ยอมรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

ทั้งนี้ ได้ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ. ) ศึกษารูปแบบการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในลักษณะที่ตั้งบริษัทให้คำปรึกษาในการประหยัดไฟฟ้า แก่สถานประกอบการ รวมทั้งหาแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านและสถานประกอบการ หรือ โซลาร์รูฟท็อป โดยจะลดขั้นตอนต่างๆ เช่น การขอใบอนุญาต การติดตั้ง และภาษี รวมถึงการขายไฟฟ้าเข้าระบบ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนพ.ค. นี้

ผู้ว่าการ กฟผ. ยัน 5-14 เม.ย. สำรองไฟฟ้าพ้นวิกฤติ

นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า หากทุกภาคส่วนสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ตามแผน จะช่วยให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) วันนี้ (5 เม.ย.) ลดลงเหลือ 25,600 เมกะวัตต์ จากประมาณการเดิมอยู่ที่ 26,600 เมกะวัตต์ ส่วนวันที่ 9 เม.ย. คาดว่าปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 25,250 เมกะวัตต์ และวันที่ 10 เม.ย. มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดจะอยู่ที่ 25,950 เมกะวัตต์

สำหรับวันที่ 9-10 เม.ย. นี้ กรณีที่มีผู้กังวลว่าอาจเกิดวิกฤติไฟฟ้าได้ เนื่องจากเป็นวันที่โรงงานหลายแห่งยังเดินเครื่องผลิตสินค้าก่อน จะถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งจะมีวันหยุดยาว จากการตรวจสอบทั้ง 2 วัน กฟผ.มีปริมาณสำรองไฟฟ้าสูงกว่า 1,400 เมกะวัตต์ ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณไฟฟ้าสำรองของวันที่ 5 เม.ย.ที่มีปริมาณไฟฟ้าสำรองกว่า 1,661.7 เมกะวัตต์

ขณะนี้ ยังไม่มีการปรับแผนเพิ่มปริมาณไฟฟ้าสำรองช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. เพราะว่าตามสถิติของ กฟผ. ทั้ง 2 วัน ปริมาณการผลิตในภาคอุตสาหกรรมจะไม่สูง เนื่องจากโรงงานบางส่วนได้หยุดผลิต หรือลดกำลังการผลิตลง เนื่องจากคนงานบางส่วนลากลับถิ่นฐานช่วงสงกรานต์ และได้ประสานไปยังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อขอให้ช่วยสนับสนุนลดการใช้พลังงานในช่วงดังกล่าวด้วย

"ช่วง 9-10 เม.ย. นี้ เราไม่สามารถคาดหวังปริมาณที่แน่นอน จากการลดกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากได้ขอความร่วมมือไปก่อนหน้านี้แล้ว กฟผ.คาดว่าจะได้รับความร่วมมือต่อไปจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ที่จะช่วยลดการใช้พลังงาน ในช่วงสูงและพม่าหยุดส่งก๊าซฯ"

กฟผ. ยันสำรอง 1.6 พันเมกะวัตต์ วันนี้เพียงพอ

ทั้งนี้ สมมติฐานเดิมปริมาณสำรองไฟฟ้าช่วงวันนี้อยู่ที่ 467 เมกะวัตต์ หลังจากมีการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนและปรับแผนการผลิตไฟฟ้า ทำให้มีปริมาณสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 1,661.7 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยการขอให้โรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) จำนวน 26 ราย ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นรวมกันได้ 223.8 เมกะวัตต์ จากการลดการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมรวม 124 ราย รวม 970.9 เมกะวัตต์ และกำลังสำรองไฟฟ้าเดิมอีก 467 เมกะวัตต์ ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมความร่วมมือจากภาคประชาชน คาดว่าจะลดการใช้พลังงานได้อีก 500 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สามารถรับสถานการณ์ในกรณีฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี

นายสุทัศน์ กล่าวว่า นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 5-14 เม.ย. นี้ กฟผ.ได้งดการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าทั้งหมด พร้อมประสานกับกรมชลประทาน ขอเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนที่ไม่มีปัญหา เรื่องปริมาณน้ำเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้าโดยไม่กระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ ประสานงานขอซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก และทดสอบ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมโรงไฟฟ้าพลังงานดีเซล

ส.อ.ท.หวั่นวิกฤติไฟ ขอสมาชิกลดใช้ช่วง 9-10 เม.ย.

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า จากการประสานงานเพื่อขอให้โรงงานต่างๆ ประหยัดพลังงานนั้น ได้รับความร่วมมือจากทุกแห่ง ส่วนใหญ่ใช้วิธีปิดซ่อมบำรุงโรงงานช่วงวันนี้ (5 เม.ย.) ส่วนโรงงานที่เปิดก็จะลดการผลิตลงจนถึงเวลา 20.00 น. ของวันนี้ ถือว่ามากกว่าที่ภาครัฐขอความร่วมมือ สำหรับแผนระยะยาวต้องแก้ไขโครงสร้างพลังงาน ปัจจุบันไทยมีอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมาก แต่ให้ประโยชน์ต่อจีดีพีต่ำ ปรับปรุงระบบการทำงานให้ใช้พลังงานต่ำ หรือเลือกใช้เครื่องจักรให้ถูกวิธี

อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท. ได้รับการประสานงานให้ประหยัดพลังงานและลดการผลิตลงวันนี้เท่านั้น แต่ตนก็จะมีการขอความร่วมมือเพิ่มเติม โดยจะส่งหนังสือไปยังโรงงานต่างๆ ที่อยู่ในสังกัด ส.อ.ท. เพื่อให้ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในโรงงานเพิ่มเติมช่วงวันที่ 9-10เม.ย. ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงที่ใช้ไฟฟ้ามากเช่นกัน

เผยภาคธุรกิจร่วมลดใช้ไฟได้กว่า 800 เมกะวัตต์

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธาน ส.อ.ท. และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กล่าวว่า ช่วงระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติพลังงาน ส.อ.ท. ให้ความร่วมมือประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะค่ายรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนกว่า 10 ค่าย ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 360 เมกะวัตต์ เมื่อรวมกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งกลุ่มเหล็ก เคมี ปูนซีเมนต์ ช่วยประหยัดพลังงานได้ 807 เมกะวัตต์ เชื่อว่าหลังจากวันนี้แล้ว จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมขอให้ภาครัฐลดความเสี่ยงด้านพลังงานลง

นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์พลังงาน ช่วงระหว่าง 5-14 เม.ย. ว่า ปตท.ได้ดึงก๊าซธรรมชาติจากผู้ผลิตก๊าซฯ ทั้งในอ่าวไทยฝั่งตะวันตกจากพม่า และฝั่งตะวันออก คือ แอลเอ็นจี สำรองไว้ใช้ ทั้งนี้ มั่นใจว่า ปตท. มีก๊าซฯ ส่วนเกินสำรองไว้เพียงพอ สามารถดึงมาใช้ได้กรณีแหล่งก๊าซฯ ใดมีปัญหา โดยมีสำรองไว้ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะเดียวกันได้สำรองน้ำมันเพื่อจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าในกรณีจำเป็นด้วย ทั้งน้ำมันเตาและดีเซล

"ปิยสวัสดิ์" มั่นใจไม่เกิดเหตุการณ์ไฟดับ

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสังคมและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตนมีความมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ไฟดับ (Black out) ในช่วงที่พม่าหยุดจ่ายให้ไทย เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับทราบสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้ามานานหลายเดือน มีการเตรียมการที่ดี นอกจากนี้ เหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาเป็นระยะๆ ที่สำคัญหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการพลังงาน คือ การไฟฟ้าฝ่ายต่างๆ ก็มีประสบการณ์รับมือกับสถานการณ์วิกฤติไฟฟ้าที่หนักมากกว่าครั้งนี้ เช่น เกิดพายุเกย์ในอ่าวไทย ทำให้การผลิตก๊าซฯ ต้องหยุด ขณะนั้น กฟผ. ก็สามารถที่จะสับเปลี่ยนเชื้อเพลิงอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลไปใช้ผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซฯ ที่ขาดหายไปได้

อย่างไรก็ตาม มองว่าปัจจุบันไทยมีการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติสูงมากในการผลิตไฟฟ้า แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน แต่ยังมีขั้นตอนที่ล่าช้าและติดขัด ทำให้ในสถานการณ์วิกฤติพลังงาน ไม่สามารถมีพลังงานทดแทนมาใช้เสริมระบบได้ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะการนำเอาพลังงานทดแทนมาเสริมระบบเป็นการลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

กฟภ. ตั้งวอร์รูมรับมือพม่าหยุดส่งก๊าซฯ

นายนำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่พม่าหยุดส่งก๊าซฯ ช่วงวันที่ 5-14 เม.ย. นี้ ว่า ได้ทำแผนและวางมาตรการรองรับกรณีเกิดเหตุสุดวิสัยซ้ำซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ (วอร์รูม) ช่วยเหลือสนับสนุนกรณีเหตุการณ์ไม่ปกติ เพื่อติดตามสถานการณ์ขึ้น ที่สำนักงานใหญ่และที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้ง 13 เขต พร้อมจัดเตรียมสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง

อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก เช่น ที่พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ จะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากเกิดเหตุการณ์จะสามารถทราบได้ทันทีว่า มีปัญหาอุปสรรคติดขัดอยู่ที่จุดใด และแก้ไขได้ทันที

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

กสอ. โชว์ 4 กลยุทธ์ด้านไอที เตรียมยกเครื่อง SMEs ไทย !!?


กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมโชว์ความพร้อมรับมือระบบไอทีในการบริหารจัดการกิจการในยุคปัจจุบัน ดันโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (ECIT) ซึ่งถือเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs ไทย ให้ได้รับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันก่อนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัวในปี 2558 โดยส่งเสริมให้ SMEs ใช้ระบบไอทีและโซเชียล มีเดีย สื่อออนไลน์ยุคใหม่เข้าถึงผู้บริโภคได้ทันใจในธุรกิจอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินกิจกรรมด้านไอที 4 ด้านคือ 1. มุ่งเน้นที่ซอฟต์แวร์การบริหารงานครบวงจรและซอฟต์แวร์เฉพาะด้านผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงการส่งเสริมให้ใช้ Mobile Application ที่ใช้งานง่าย 2. การพัฒนาบุคลากร SMEs ด้านไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 3. การพัฒนาระบบ e-Marketplace เพื่อสร้างร้านค้าออนไลน์ให้กับธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วย e-Supply Chain เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มผลิตภาพของกิจการ 4. ส่งเสริม SMEs โดยใช้ Green IT ด้วยระบบ Dead Stock Management เพื่อลดต้นทุนในการเก็บสต็อกสินค้าและเพิ่มมูลค่าของสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้น โดยในปี 2556 กสอ. คาด SMEs มีแนวโน้มให้ความสนใจในเรื่องของการบริหารกิจการด้วยระบบไอทีเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 20พร้อมกันนี้ ได้จัดสัมมนารองรับ SMEs ที่มีแนวโน้มของการเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ภายใต้หัวข้อ “ECIT : SMEs Solutions Day 2013” มิติใหม่แห่งการใช้ IT เพื่อขับเคลื่อน SMEs ไทยสู่ระดับสากล

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-9078 หรือ www.ecitthai.net

นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที ถือเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะกับกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)เนื่องจากไอทีนั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการบริหารจัดการ ตลอดจนสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจอยู่รอดและมีผลกำไรมากขึ้นได้

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้นับวันไอทียิ่งทวีความสำคัญและมีความจำเป็นขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของโซเชียลมีเดีย ที่ในปัจจุบันกำลังเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูง เพราะเป็นสื่อที่คนทั้งโลกสามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับต้นทุนของสื่อเดิม ทำให้แนวโน้มในการพัฒนาสินค้าและบริการของ SMEs สามารถเพิ่มสูงขึ้นได้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการส่งเสริมพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำไอทีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจของ SMEs มากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Enhancing SMEs Competitiveness Through IT: ECIT) หรือโครงการอีซี่ไอทีขึ้น

นายโสภณ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการอีซี่ไอทีเป็นหนึ่งในนโยบายด้านการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยระบบไอทีของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก่อนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs ให้ได้รับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมให้ SMEs ใช้ระบบไอทีในธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง ดังนี้

1. มุ่งเน้นซอฟต์แวร์การบริหารงานครบวงจรและซอฟต์แวร์เฉพาะด้านผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงการส่งเสริมให้ใช้ Mobile Application ที่ใช้งานง่ายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มผลิตภาพของกิจการ

2. การพัฒนาบุคลากร SMEs ด้านไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานผ่านหลักสูตรการอบรมอย่าง การสร้างโอกาสธุรกิจด้วย CRM และ KM การใช้ Social Network เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด โดยกำหนดเป้าหมายอบรม 1,500 รายทั่วประเทศ

3. ส่งเสริมระบบ e-Marketplace และ e-Supply Chain เพื่อสร้างร้านค้าออนไลน์ให้กับธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งหากมีการรวมกันของกลุ่มประเทศอาเซียนจะยิ่งทำให้โอกาสค้าขายทางออนไลน์เปิดกว้างมากขึ้น และขยายโอกาสเข้าสู่คนมากกว่า 600ล้านคน ซึ่งช่องทางออนไลน์ รวมถึงโซเชียล มีเดีย ถือเป็นช่องทางเดียวที่มีศักยภาพ สามารถลดต้นทุน และเพิ่มยอดขายได้ในเวลาเดียวกัน
4. ส่งเสริม SMEs โดยใช้ Green IT ด้วยระบบ Dead Stock Management เพื่อลดต้นทุนในการเก็บสต็อกสินค้าและเพิ่มมูลค่าของสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้น

แนวทางดังกล่าว จะสามารถทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันต่อไปได้ เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยทั้งหมดนี้มุ่งเป้าไปที่การยกระดับ SMEs ไทยสู่ระดับสากลบนพื้นฐานของการทำงานด้วยระบบไอที ซึ่ง กสอ. ได้ริเริ่มและผลักดันให้มีกิจกรรมการให้ความรู้ด้านไอทีแก่ SMEs และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ภายใต้โครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง

ด้านนายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การเติบโตของของเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อกระแสสังคมในปัจจุบัน ซึ่งผู้บริโภคทั้งหลายเริ่มปรับตัว และสามารถเปลี่ยนเข้ามาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้ ซึ่งมีบทบาททั้งต่อความคิด การตัดสินใจ และเกิดเป็นกระแสในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEsไม่ควรมองข้าม เพราะ ตัวเลขการเพิ่มขึ้นของประชากรในโซเชียล มีเดียนั้นกระโดดตัวสูง ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนไทยกว่า 13 ล้านคนใช้Facebook นอกจากนี้ยังมีการใช้งานผ่าน YouTube โดยเฉลี่ยวันละกว่า 5 ครั้ง และตัวเลขผู้ใช้ Twitter ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงช่องทางใหม่อย่างอินสตาแกรมที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนกว่า 50% ต้องมีแอพพลิเคชั่นนี้ ซึ่งทุกช่องทางมีแนวโน้มเติบโตแบบ

ก้าวกระโดดแทบทั้งสิ้น ฉะนั้นสิ่งที่มองข้ามไปไม่ได้ คือการนำโซเชียล มีเดียเหล่านั้นมาบูรณาการและนำไปบริหารจัดการควบคู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆและพัฒนาสินค้าบริการของธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น เพราะการสื่อสารผ่านโซเชียล มีเดีย ถือเป็นการสื่อสารอันทรงอิทธิพล เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีการโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์ และเมื่อมีการโต้ตอบกันไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดความสัมพันธ์ที่คุ้นเคยระหว่างกัน ซึ่งทำให้ธุรกิจ SMEs สามารถนำมาใช้ในการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management)ได้ และที่สำคัญมีต้นทุนไม่สูงนักช่องทางโซเชียล มีเดียจึงเป็นช่องทางสำคัญที่ SMEsสามารถใช้สร้างความคุ้นเคยกับตราสินค้า ให้ผู้บริโภคได้จดจำ รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง พูดคุยกันได้ ทำให้เราทราบความคิดเห็นของผู้บริโภค แต่จุดอ่อนของมันคือ สามารถสร้างความรู้สึกอึดอัดหรือสร้างความรำคาญให้ผู้บริโภคได้โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวดังนั้น ต้องเน้นการสร้างความน่าสนใจ ความชัดเจน ตรงประเด็น และการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสนองตอบและติดตามพฤติกรรมการสื่อสารของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

นายวาที กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันมี SMEs ที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2552 – 2555 เป็นจำนวนมากถึง 360 กิจการ ในหลายหลายอุตสาหกรรมทั้ง ภาคการค้า ภาคการผลิต ภาคการบริการ ที่มีการใช้ระบบไอทีเป็นเครื่องมือในการบริหารงานและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ทั้งในเรื่องของการวางแผนการผลิต การสต๊อกวัตถุดิบการติดตามการส่งของตามคำสั่งซื้อ ตลอดจนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถลดต้นทุนและเพิ่มกำไรโดยรวมได้ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท ต่อปี โดยคาดว่าในปี 2556 นี้ จะมี SMEs ที่ให้ความสนใจในเรื่องของการบริหารกิจการด้วยระบบไอทีเป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งน่าจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 20เพราะเนื่องจากผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยโซเชียล มีเดียมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มของกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะมีการใช้โซเชียล มีเดียมากขึ้นน่าจะเป็นกลุ่ม

สินค้าอุปโภคบริโภคกลุ่มบริการขนส่ง เป็นต้น ซึ่ง กสอ. ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะรองรับ SMEs ที่มีแนวโน้มของการเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ผ่านกิจกรรมด้านไอทีที่เป็นประโยชน์ อาทิ โครงการอบรมโซเชียล มีเดีย สำหรับธุรกิจ SMEs กิจกรรมสัมมนา “ECIT : SMEs Solutions Day 2013” มิติใหม่แห่งการใช้ IT เพื่อขับเคลื่อน SMEs ไทยสู่ระดับสากล พร้อมกิจกรรมการบรรยายพิเศษ อาทิ แอพพลิเคชั่น SMEs กลยุทธ์สร้างกระแสสินค้าและบริการผ่านอินสตาแกรม เป็นต้น

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-9078 หรือ www.ecitthai.net

ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////

เปิดขุมทรัพย์ : เจ๊แดง (กิ่งกาญจน์) VS เจ๊แดง (เยาวภา)


พลิกขุมทรัพย์คู่ชิงเก้าอี้เลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 3 เชียงใหม่ เจ๊แดง-กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ แห่ง ปชป. VS เจ๊แดง-เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ นายกฯสำรอง เพื่อไทย รวยที่ดินทั้งคู่



นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ ว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเจ้าของที่ดินมูลค่านับร้อยล้านบาทเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ขณะที่นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ คู่แข่งจากพรรคเพื่อไทย เป็นเจ้าของที่ดินกว่า 20 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตอนเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังยุครัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ วันที่ 10 พ.ย.2540 นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ คู่สมรส มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 193,622,234.11 บาท ประกอบด้วย

เงินฝากในบัญชีธนาคารพาณิชย์ 1,109,334.11 บาท เงินลงทุนหลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 1,574,900 บาท มีที่ดิน 137,973,000 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ บ้านพักอาศัย 16,000,000 บาท ยานพาหนะ 3,605,000 บาท และทรัพย์สินอื่นๆ อีก 33,360,000 บาท

หนี้สินรวมทั้งสิ้น 149,557,316.50 บาท ประกอบด้วย เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 105,409,503.51 บาท เงินกู้จากสถาบันการเงินอื่น 44,147,812.99 บาท

มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 44,064,917.61 บาท

นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ มีทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 2,273,184.74 บาท ประกอบด้วย เงินฝากในบัญชีธนาคารพาณิชย์ 54,984.74 บาท เงินลงทุนหลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 718,200 บาท มีทรัพย์สินที่ดิน 1,500,000 บาท

มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 2,870,746.06 บาท ประกอบด้วย เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 2,870,746.06 บาท มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 597,561.32 บาท

รวมมีทรัพย์สิน 195,895,418.85 บาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินรวม 43,467,356.35 บาท


ขณะที่นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ตอนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครบ 1 ปี วันที่ 2 ธ.ค.2552 แจ้งว่านางเยาวภา ภรรยา มีทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 40,038,132.49 บาท ประกอบด้วย เงินฝากในบัญชี 731,407.49 บาท ทรัพย์สินที่ดิน 21,755,725 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 2,000,000 บาท ยานพาหนะ 401,000 บาท ทรัพย์สินอื่น 15,150,000 บาท หนี้สินรวมทั้งสิ้น 158,072.58 บาท (เบิกเกินบัญชี)

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 43,281,999.97 บาท ประกอบด้วย เงินฝากในบัญชี 11,926,099.97 บาท ทรัพย์สินที่ดิน 9,255,900 บาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 4,000,000 บาท ทรัพย์สินอื่น(ราคาตั้งแต่สองแสนบาทขึ้นไป) 18,100,000 บาท มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 6,903.95 บาท (เงินเบิกเกินบัญชี)

รวมมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้ 83,320,132.46 บาท

ก่อนหน้านี้ ตอนรับตำแหน่ง นายกฯคนที่ 26 วันที่ 25 กันยายน 2551 นายสมชาย ระบุว่ามีทรัพย์สิน 54,977,816.50 บาท หนี้สิน 89,441.09 บาท นางเยาวภา มีทรัพย์สิน 39,991,512.07 บาท หนี้สิน 54,702.43 บาท

รวมทรัพย์สิน 2 คน 94,969,328.57 บาท หนี้สิน 144,143.52 บาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 94,825,185.05 บาท

นางกิ่งกาญจน์และนางเยาวภามีชื่อเล่นว่า“แดง”ทั้งคู่

นางเยาวภาถูกคาดหมายว่าอาจเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์เกิดอุบัติทางการเมืองต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ

ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้มีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 ในวันที่ 21 เมษายน 2556 และเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 12 เมษายน 2556

ที่มา.สำนักข่าวอิศรา
//////////////////////////////////////////////////////

บิ๊กพาณิชย์ฯ ส่อพันข้าวถุง พบมีชื่อหน้าห้องเคยนั่งบอร์ด 1 ใน 3 บริษัทฯ นายหน้า !!?


บริษัทนายหน้าค้าข้าวถุง อคส.ยอมเปิดปาก ผู้บริหาร"สยามรักษ์" ยันค้าขายปกติ ไม่รู้จักใครในกระทรวงพาณิชย์เป็นพิเศษ พร้อมการันตีมีช่องทางจัดจำหน่ายแน่นอน จับกลุ่มลูกค้าจังหวัดเล็ก  "คอน-ไซน์ เทรดดิ้ง"อ้อมแอ้มโยนลูกอคส.ตอบ อ้างทราบเรื่องทุกอย่าง ขณะผลตรวจสอบข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแย้งคำให้การ  1 ใน 3บริษัทพันหน้าห้องบิ๊กพาณิชย์ โยงใยบอร์ดอคส.

จากที่ได้ติดตามการตรวจสอบเรื่องความไม่ชอบมาพากลในการระบายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลปีการผลิต 2554/55 และปีการผลิตนาปรัง 2555 เพื่อผลิตเป็นข้าวถุงแบรนด์ อคส.ออกจำหน่ายผ่านช่องทางร้านถูกใจ โครงการธงฟ้า และร้านค้าทั่วไปมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพบว่า 1 ใน 3 บริษัท ที่ได้รับการจัดสรรโควตาจำนวน 3 แสนตัน ต่อเดือน ( มกราคม-มิถุนายน 2556) รวมปริมาณทั้งสิ้น 1.8 ล้านตัน คิดเป็นข้าวถุง 360 ล้านถุง(ขนาด 5 กก.)นั้น มีอดีตกรรมการของ 1 ใน 3 บริษัท ปัจจุบันเป็นคณะกรรมการ(บอร์ด) อคส.และเป็นผู้ใกล้ชิดนักการเมือง

-หน้าห้องบิ๊กพณ.พันบริษัทฯค้าข้าว  
   
ล่าสุดได้ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า(พค.)ในสังกัดกระทรวงพาณิชย์(พณ.) พบว่า 1 ใน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท สยามรักษ์ จำกัด (บจก.) ได้แจ้งไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2553 ว่าได้มีกรรมการเข้าใหม่ 4 คน ได้แก่ 1.นางสุภาพร เชิงเอี่ยม 2.พันตรีวีระวุฒิ วัจนะพุกกะ (ปัจจุบันเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) 3.นายกณวรรธน์ อรัญ และ 4.รศ.พ.อ.น.พ.เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์  (ปัจจุบันเป็นรองประธานกรรมการ อคส.)
   
ต่อมาบริษัทได้แจ้งไว้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 ว่า มีกรรมการลาออก ได้แก่ พ.ต.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ ในฐานะกรรมการ โดยมีหนังสือลาออกจากตำแหน่งกรรมการลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2554  ส่วนทางด้าน รศ.พ.อ.น.พ. เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์ ได้ลาออกจากกรรมการ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2555 พร้อมกับอีก 2 คนที่เข้ามานั่งในกรรมการของบริษัท ได้แก่ นางสุภาพร เชิงเอี่ยม และนายกณวรรธน์ อรัญ
   
อย่างไรก็ดีทีมข่าวได้พยายามติดต่อไปยัง รศ.พ.อ.น.พ.เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์  เพื่อขอคำชี้แจง แต่ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ว่า ท่านไม่อยู่ไปทำธุระข้างนอก    ส่วนด้านพ.ต.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พยายามติดต่อไป สายว่างแต่ไม่มีคนรับสาย โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าอาจจะอยู่ที่รัฐสภา
   
อนึ่ง คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555  ได้แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่น ในคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า (อคส.) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อทดแทนตำแหน่งของกรรมการเดิมที่ลาออกไป ประกอบด้วย 1.พ.ต.ท.ไพโรจน์ ปัญจประทีป ประธานกรรมการ 2.รศ.พ.อ. น.พ.เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์ รองประธานกรรมการ 3.นายสุวรรณชาติ สูตรสุวรรณ กรรมการ
   
นอกจากนี้ยังมีกรรมการผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ นางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กรรมการผู้แทนจากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ นายโอฬาร พิทักษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กรรมการผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ได้แก่ นางพรกมล ประยูรสิน ผู้อำนวยการสำนัก สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ (สบร.)  และนายชนุตร์ปกรณ์ วงศ์สีนิล เป็นกรรมการ และเลขานุการรักษาการผู้อำนวยการ อคส.

-สยามรักษ์ยันไม่รู้จักใคร-ค้าขายปกติ
   
ด้านนายทวีศักดิ์ หิรัญรักษ์ ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจลงนามใน บจก.สยามรักษ์  1 ใน 3 บริษัทนายหน้าที่ได้มาซื้อข้าวถุงกับ อคส. เพื่อไปจำหน่ายผ่านช่องทางร้านค้าทั่วไป ได้เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ในเวลาต่อมาว่า ครอบครัวประกอบธุรกิจค้าข้าวมาตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบันกว่า 50 ปีแล้ว อยู่ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลูกคนเล็กอยากจะมีกิจการเป็นของตนเอง  จึงได้มาเปิดบริษัทธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องหอมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา โดยมีพื้นเพค้าขายข้าวอยู่แล้ว มีประสบการณ์ เติบโตมากับธุรกิจค้าข้าวโดยตรง เพียงแต่คนภายนอกมักจะไม่ค่อยทราบ
   
เห็นประกาศองค์การคลังสินค้า (อคส.)ผ่านหน้าเว็บไซต์ จึงเห็นว่าอย่างน้อยน่าจะได้ช่วยเหลือชาวนาทางอ้อม อีกทั้งทราบว่าโกดังกลางของรัฐบาลพื้นที่จำกัด จึงได้สนใจไปสมัครเพื่อที่จะขายข้าวให้กับ อคส.ถุงละไม่เกิน 70 บาท(5 กก.เป็นข้าวขาว 5%)  ยอมรับว่าทางบอร์ดของ อคส.เขี้ยวมากกว่าจะผ่านด่านได้แต่ละขั้นตอน ต้องถูกกลั่นกรองหลายรอบ ที่สำคัญจะต้องจ่ายเป็นเงินสด ซึ่งในตอนแรกคิดว่าเหมือนบริษัทเอกชนทั่วไปที่นำสินค้าไปก่อนแล้วค่อยจ่ายภายใน 15 วันหรือ 30 วัน แต่ไม่ใช่ และคำสั่งซื้อขั้นต่ำอย่างน้อยต้อง 1 รถบรรทุกเล็ก ขออุบไม่บอกปริมาณ"
   
นอกจากนี้นายทวีศักดิ์ ยังกล่าวยอมรับว่า ข้าวขาวของ อคส. คุณภาพจะต่ำกว่าข้าวขาวทั่วไป ดังนั้นช่องทางจัดจำหน่ายของบริษัทนอกจากจะเป็นคนที่เคยค้าขายกับครอบครัวแล้ว ยังมีเครือข่ายที่มารับข้าวถุงอคส.โดยตรงไปจำหน่าย เพราะข้าวขาวคุณภาพดังกล่าวเหมาะสำหรับกับคนต่างจังหวัด ในอำเภอที่อยู่ห่างไกล มากกว่าที่จะค้าขายในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่  แต่ไม่ขอเปิดเผยว่าได้กระจายที่ไหนบ้าง เพราะถือเป็นความลับทางการค้า
   
จริงๆ แล้วมาร์จิน กำไรน้อยมาก หรืออาจจะขาดทุนด้วยซ้ำไป เพราะตอนที่ตกลงกัน ค่าขนส่ง (น้ำมัน) อีกราคาหนึ่ง พอรับจริง น้ำมันปรับราคาขึ้นไปอีก และยิ่งมาโดนข่าวแบบนี้ด้วย คนทางบ้านก็ตกใจใหญ่ โดยเฉพาะคนที่เคยติดต่อด้วย เพราะคิดว่าเราไปทำอะไร เกิดอะไรขึ้น อยากจะใช้เวทีนี้ชี้แจงว่าเป็นการค้าขายปกติ และไม่รู้จักใครที่กระทรวงพาณิชย์ หรือในบอร์ดของอคส.เลย "

- "คอน-ไซน์" โยน อคส.ตอบ
   
ขณะที่นางอันนา เตชะอัครเกษม กรรมการผู้มีอำนาจลงนามในบจก.คอน-ไซน์ เทรดดิ้ง (อีก 1 ใน 3 บริษัท)ทางทีมข่าวได้พยายามติดต่อทางโทรศัพท์ไปหลายครั้ง เพื่อสอบถามถึงเส้นทางการจัดจำหน่ายข้าวถุง อคส.ของบริษัท เธอตอบแบบอ้อมแอ้ม และสุดท้ายได้โยนกลับให้ไปถามที่ อคส. โดยระบุ อคส.ทราบเรื่องเป็นอย่างดี

-บอร์ดย้ำข้าวถุงไม่ได้ล่องหน
   
ส่วนพ.ต.ท. ไพโรจน์ ปัญจประทีป ประธานบอร์ด อคส. กล่าวว่า ข้าวถุงจำนวน 5.8 แสนตัน จาก 6 แสนตันในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.พ.56) ไม่ได้ล่องหนหายไปไหน และที่นายสมศักดิ์ วงศ์วัฒนศานต์ รองผู้อำนวยการ อคส.ที่ได้ชี้แจงเรื่องดังกล่าวไปก่อนหน้านี้มีเหตุผลและน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ ซึ่งตนเองอยู่ในฐานะบอร์ด ไม่อยากจะชี้แจงอะไร เพราะอำนาจนั้นอยู่ที่ฝ่ายบริหารมากกว่า ซึ่งความจริงทางบอร์ดไม่ต้องรับรู้เรื่องดังกล่าวก็ได้ และถ้าหากคณะอนุกรรมาธิการ การเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ตรวจพบอะไร ท้ายสุดแล้วจะต้องแจ้งมายังบอร์ดเพื่อพิจารณาต่อไป

"ขณะนี้กำลังรอทางคณะอนุกรรมาธิการ สรุปผลอีกครั้ง จึงยังไม่อยากจะชี้แจงอะไรมาก"

-ข้าวถุงช่องทางรายได้หนึ่งเลี้ยง อคส.
   
แหล่งข่าวจากกรมการค้าภายใน (คน.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงโครงการโชห่วยช่วยชาติ ร้านค้าถูกใจ ปัจจุบันมีกว่า 7 พันแห่ง จากเดิมมีกว่า 1 หมื่นแห่งทั่วประเทศ โดยสินค้าที่ขายดีที่สุดคือข้าวถุงขนาด 5 กิโลกรัม มีทั้งข้าวขาว 5% และข้าวเหนียว 10% จำหน่ายไม่เกินถุงละ 70 บาท โดยด้านหน้าถุงจะมีโลโก "ร้านถูกใจ" ส่วนด้านหลังจะมีตราสินค้าของ อคส.  และด้านล่างถุงจะพิมพ์ข้อความว่าผลิต และบรรจุโดยบริษัท ... นับเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายและรายได้ของ อคส.อีกช่องทางหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นข้าวถุงยี่ห้อ อคส. เพื่อจำหน่ายในร้านค้าสวัสดิการของ อคส. มีข้าวหลากหลายชนิด อาทิ ข้าวหอมมะลิ เป็นต้น ราคาจะเป็นอีกระดับหนึ่ง แต่หากเป็นข้าวขาว 5% ขนาด 5 กิโลกรัม จะขาย 70 บาทเช่นกัน
   
ปกติร้านถูกใจ จะมีคำสั่งซื้อข้าวถุงขนาด 5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ จำนวน 1 ล้านถุง แต่ทาง อคส.ไม่สามารถผลิตได้ทัน จึงจัดส่งได้สัปดาห์ละ 5 แสนถุงเท่านั้น ปัจจุบันตั้งแต่เริ่มโครงการตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 จนถึง 31 มีนาคม 2556   สามารถส่งข้าวถุงถุงละ 5 กิโลกรัมได้ จำนวน 15.5 ล้านถุง คิดเป็น 67% ของรายได้ร้านถูกใจ รองลงมาเป็นน้ำมันพืช 14% น้ำตาล 7% และอื่นๆ 12%  รวมมูลค่ายอดขายทั้งหมด  1.5 พันล้านบาท ช่วยลดค่าครองชีพให้กับผู้บริโภคได้ 550 ล้านบาท "
   
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินโครงการโชห่วยช่วยชาติ "ร้านถูกใจ" โดยได้รับอนุมัติงบดำเนินการ 1.3 พันล้านบาท เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภคจำเป็นต่อการครองชีพราคาต่ำกว่าท้องตลาด 10-20% ได้เปิดรับสมัครร้านค้า และสหกรณ์ทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดทางกรมการค้าภายในได้เตรียมโอนให้ อคส.เป็นผู้ดำเนินการต่อ

ที่มา:นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////

ความเป็นมาของการให้สัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย !!?


การสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทยเริ่มต้นกันอย่างจริงจังในปี 2510 ซึ่งรัฐบาลขณะนั้นมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เอกชนมาลงทุน จึงได้ร่างกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมขึ้นมาเพื่อใช้กับการให้สัมปทานปิโตรเลียมโดยเฉพาะแทนการใช้กฎหมายเหมืองแร่

และประกาศใช้เรียกว่า พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยมีหลักการให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนและเมื่อมีกำไร ให้แบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทน แก่รัฐผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรในอัตราครึ่งหนึ่ง โดยเรียกระบบการแบ่งปันผลประโยชน์นี้ว่า ระบบ Thailand 1 ที่มีข้อกำหนด ได้แก่ การเก็บค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละ 12.5 ของรายได้จากการขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียม การเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ
   
จะเห็นได้ว่าการแบ่งปันรายได้ตามระบบ Thailand 1 นี้ รัฐจะได้ส่วนแบ่งรายได้สูงกว่า 50% ของกำไรสุทธิของผู้ประกอบการอย่างแน่นอน
   
ต่อมาในปี 2524 ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้พุ่งขึ้นสูงมาก และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยก็มีการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมมากขึ้น ทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ทั้งบนบกและในทะเล จึงเกิดความคิดที่จะเรียกเก็บผลประโยชน์จากการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้มากขึ้น โดยกำหนดให้ผู้ยื่นขอสัมปทานรายใหม่ตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นไป ต้องเสนอผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้รัฐเพิ่มขึ้นจากระบบ Thailand 1 เรียกว่าระบบ Thailand 2 โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ ผู้รับสัมปทานจะหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายได้ในปีนั้น (ของเดิมหักได้ตามจริง)

ผู้รับสัมปทานต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ (นอกเหนือจากค่าภาคหลวง) ตามปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตเพิ่มขึ้นดังนี้ ส่วนที่ผลิตเฉลี่ยวันละ 10,000-20,000 บาร์เรล/วัน จ่ายร้อยละ 27.5 ผลิตเฉลี่ยวันละ 20,000-30,000 บาร์เรล/วัน จ่ายร้อยละ 37.5 แ ละผลิตเฉลี่ยวันละ 30,000 บาร์เรล/วันขึ้นไป จ่ายร้อยละ 43.5
 
 ระบบ Thailand 2 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2525 มีผู้ได้รับสัมปทานภายใต้ระบบนี้ 7 ราย แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้รับสัมปทานรายใดสามารถพัฒนาแหล่งผลิตปิโตรเลียมภายใต้ระบบนี้ได้เลย เนื่องจากแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งขนาดเล็ก (marginal fields) ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยค่อนข้างสูง หลายแหล่งที่สำรวจพบไม่สามารถพัฒนาการผลิตในเชิงพาณิชย์ภายใต้ระบบ Thailand 2 ได้ เนื่องจากผู้รับสัมปทานต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่รัฐมากจนกระทั่งไม่มีกำไร ดังนันจึงไม่มีการเรียกเก็บผลประโยชน์ภายใต้ระบบ Thailand 2 แต่อย่างใด
   
ดังนั้นเพื่อให้ได้ระบบที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดกับลักษณะทางกายภาพของแหล่งสำรองปิโตรเลียมในประเทศไทย รวมทั้งมีระบบแบ่งปันผลประโยชน์ที่ยืดหยุ่นและสามารถจัดสรรผลประโยชน์แก่รัฐและผู้ลงทุนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม จึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายปิโตรเลียมอีกครั้งหนึ่ง
   
โดยในปี 2532 ได้ออกเป็นพ.ร.บ.ปิโตรเลียม และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) หรือที่เรียกว่า ระบบ Thailand 3 ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน มีข้อกำหนดเพื่อกระตุ้นการลงทุน โดยการปรับปรุงอัตราค่าภาคหลวงจากเดิมที่กำหนดในอัตราตายตัวที่ร้อยละ 12.5 เป็นอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันไดตามปริมาณการขาย คือ ผลิต 0-6 หมื่นบาร์เรล/เดือนจ่าย ร้อยละ 5 ผลิต 6 หมื่นบาร์เรล/เดือนถึง 1.5 แสนบาร์เรล/เดือนจ่ายร้อยละ 6.25 ผลิต 1.5-3 แสนบาร์เรล/เดือนจ่าย ร้อยละ 10 ผลิต 3-6 แสนบาร์เรล/เดือนจ่ายร้อยละ 12.50 และผลิต 6 แสนบาร์เรล/เดือนขึ้นไปจ่ายร้อยละ 15

เพิ่มการเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษเข้ารัฐ (Special Remuneration Benefit     หรือ SRB) ในลักษณะของการเรียกเก็บ Windfall Profit Tax โดยมีหลักการว่า เมื่อผู้ลงทุนมีกำไรมากแล้ว รัฐก็ควรได้รับส่วนแบ่งเพิ่มเติม (SRB) ในสัดส่วนที่สูงขึ้น นอกเหนือไปจากค่าภาคหลวงและภาษีที่ได้รับอยู่ตามปกติ ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้จะช่วยให้รัฐได้รับประโยชน์มากขึ้น ในกรณีที่มีการพบแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ หรือราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และในส่วนของภาษีเงินได้ปิโตรเลียมนั้น ยังคงไว้ในอัตราเดิมคือร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ซึ่งระบบ Thailand 3 ที่ใช้มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2532 เป็นต้นมาทำรายได้เข้าประเทศปีที่แล้วเป็นเงิน 161,000 ล้านบาท
   
จะเห็นได้ว่าประเทศไทยไม่ได้เสียเปรียบผู้รับสัมปทาน ตามตัวเลขของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เราได้ส่วนแบ่งรายได้รวมกันทั้งสิ้นถึง 60% ในขณะที่ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดนั้นได้ส่วนแบ่งรายได้ไปเพียง 40% เท่านั้น
   
ดังนั้น การตั้งเงื่อนไขในการขอแบ่งปันผลประโยชน์ก็ต้องตั้งอย่างสมเหตุสมผลไม่ให้เสียเปรียบต่างชาติ แต่ไม่ใช่ตั้งบนสมมติฐานที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เราเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า

 ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
//////////////////////////////////////////

เก็บภาษีที่ดินฯ เพิ่มรายได้โปะหนี้ 2 ล้านล้าน !!?


การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...หรือร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ในวาระที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อ 28-29 มีนาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศเป็นสิ่งจำเป็น และต้องผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

ที่ยังมองต่างมุม และอาจไม่เชื่อมั่นส่วนใหญ่เป็นเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงินกู้ หลักประกันความโปร่งใสในการดำเนินการ รวมทั้งการชำระหนี้ ที่พรรคฝ่ายค้านตลอดจนสาธารณชนหวั่นเกรงว่าจะกลายเป็นภาระหนักกับคนรุ่นลูกหลาน

ผ่านพ้นวาระแรกเข้าสู่การพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ซึ่งคณะกรรมาธิการจะพิจารณารายละเอียดร่างกฎหมาย ก็เริ่มมีกระแสข่าวว่ากระทรวงการคลังกำลังเตรียมปรับอัตราภาษีบางประเภทขึ้นเพื่อหารายได้เพิ่ม นำไปชำระหนี้โครงการ 2 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแวต (VAT) ที่ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 7% จนทำให้รองนายกฯ และ รมว.คลัง กิตติรัตน์ ณ ระนอง ต้องออกมาปฏิเสธ

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสถานการณ์ที่กำลังถูกรุกไล่จากพรรคฝ่ายค้าน จำต้องชี้แจงให้เห็นถึงที่มาของรายได้ที่จะนำไปชำระหนี้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทให้กระจ่างชัด การจะปรับขึ้นแวตหรือหารายได้เพิ่มจากการจัดเก็บภาษีประเภทอื่นอาจเป็นสิ่งจำเป็น แม้ในทางการเมืองรัฐบาลอาจตัดสินใจได้ลำบาก

สิ่งที่รัฐบาลควรจะเร่งดำเนินการในขณะนี้ คือการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการนำทางเลือกในการเพิ่มรายได้หลาย ๆ แนวทางมาพิจารณา ควบคู่กับการทบทวนขยับเพดานอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าฟุ่มเฟือยบางรายการ อาทิ ภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ที่ปัจจุบันจัดเก็บเพียง 0.005 บาท/ลิตร จากอัตราเต็ม 5.31 บาท/ลิตร

ขณะเดียวกันก็ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...ซึ่งค้างเติ่งมาหลายยุคสมัยมาบังคับใช้จากเดิมที่ไม่มีรัฐบาลชุดใดกล้าดำเนินการจริงจัง เพราะหวั่นเกรงจะถูกต่อต้านจากกลุ่มธุรกิจและคนระดับบนที่มีอำนาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองทั้ง ๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ ถนน ทางด่วน ท่าเรือ ตลอดจนเส้นทางการคมนาคมทั้งทางน้ำ อากาศ และโครงสร้างพื้นฐานซึ่งอำนวยความสะดวกสบายอื่น ๆ

ดังนั้น นอกจากจะผลักดันร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย และเดินหน้าลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้สัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่วางไว้ พร้อมกับอุดช่องโหว่รูรั่วการใช้จ่ายงบประมาณไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อให้การลงทุนมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติในรอบหลายสิบปีให้ผลตอบแทนกลับคืนมาคุ้มค่ามากที่สุดแล้ว รัฐบาลอาจต้องตัดสินใจครั้งสำคัญว่า ในส่วนของภาระหนี้ที่เกิดขึ้นจะให้แต่ละภาคส่วนในสังคมรับภาระอย่างไร ให้เหมาะสม และเป็นธรรมมากที่สุดด้วย

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////

ทักษิณ โผล่ ACD ปลุกเอเชียสร้างทางสายไหม !!?


เว็บไซต์คนรัฐบาลโพสต์"ทักษิณโผล่ประชุมACD ที่ทาจิกิสถานปลุกเอเชียสร้างทางสายไหม 8 พันกิโลเมตรอีกครั้ง

ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของบุคคลในรัฐบาลพรรคเพื่อไทยจัดทำขึ้น ได้เผยเเพร่ข้อมูลในเว็บไซต์ดังกล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญจากนายเอมอมาลี ราห์มอน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถาน เป็นแขกเกียรติยศปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมืออาเซีย (ACD) ครั้งที่ 11 ณ เมืองดูชานเบ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556

โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ปาฐกถาตอนหนึ่งว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญมาร่วมการประชุม ACD ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ประเทศซึ่งเปี่ยมล้นไปด้วยแหล่งอารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมอันเลอค่า และขอขอบคุณรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถานที่ให้เกียรติเชิญมาปาฐกถาในวันนี้ ซึ่งในโอกาสที่ได้กลับมาเมืองดูชานเบ ในครั้งนี้ทำให้อดหวนคิดถึงอดีตไม่ได้ โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2549 เป็นวันที่ผมเดินทางมาเยี่ยมเยียน สาธารณรัฐทาจิกิสถานอย่างเป็นทางการประเทศสุดท้าย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งสิบวันหลังจากนั้นก็เกิดการรัฐประหารขึ้นในประเทศไทย ขณะที่ผมยังปฏิบัติราชการในต่างประเทศ

ACD ถือกำเนิดที่ประเทศไทย ในเดือนมิถุนายน 2545 ซึ่งในครั้งนั้นมีประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง ACD 18 ประเทศมาร่วมประชุมด้วยกัน ทำให้บรรยากาศอบอุ่นมากสำหรับความตั้งใจในการที่จะรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากมองย้อนกลับไปเกือบ 10 ปีก่อน ที่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันในภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน ในเวลานั้นประเทศต่างๆ ในทวีปอื่นเริ่มมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้ว แต่ประเทศในทวีปเอเชียยังไม่ได้คิดถึงการรวมตัว โชคดีที่ว่ากลุ่มประเทศอาเซียนมีการรวมศูนย์กันอยู่แล้ว ประกอบกับการยอมรับ และได้รับการสนับสนุนจากมิตรประเทศในแถบเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกกลาง ทำให้เอเชียของเราสามารถหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้จากทุกมุมทวีป จากเหนือจรดใต้ จากตะวันออกจรดตะวันตก และนั่น จึงก่อเกิด ACD ขึ้นมา

นับตั้งแต่วันที่มีความหมายนั้นเป็นต้นมา ผมยินดีที่จะบอกว่าองค์กรของพวกเราเติบโตขึ้นด้วยความมั่นคงและทรงพลัง นับตั้งแต่ปี 2545 มีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว โดยในเวลานี้มีประเทศสมาชิกแล้ว 32 ประเทศ ซึ่งได้แก่ประเทศสมาชิกจากโซนเอเชียตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดครอบคลุมไปทั้งทวีป

ซึ่งการรวมตัวเป็นกลุ่มประเทศ อย่าง ACD มีความจำเป็น สำหรับภูมิภาคของเรา และผมเชื่อว่ามีความสำคัญไม่มากก็น้อยจึงขออนุญาตนำมาพูดซ้ำอีกครั้งในวันนี้

ทวีปเอเชีย มีประชากรมากกว่าสี่พันล้านคน นับเป็น 60% จากจำนวนประชากรทั้งโลก มีตลาดการค้าขายที่ใหญ่ มหึมาและเป็นแหล่งรวมทรัพยากรมนุษย์อันมีค่า ที่นี่คือที่ที่มีดินแดนกว้างใหญ่ ขนาดราว 30% ของเปลือกโลก และที่นี่มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติปริมาณมหาศาล และยังเป็นดินแดนที่เศรษฐกิจเติบโตสูงที่สุดในโลก เป็นภูมิภาคหลักที่ผลักดันความเจริญของโลกในตลอดหลายสิบปีมานี้ ปริมาณการส่งสินค้าของออกของภูมิภาคนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีมานี้ และปัจจุบันมูลค่าการค้าขายของเอเชียมีปริมาณ 30% ของการค้าขายทั้งโลก

ในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้ง ACD เอเชียมีทุนสำรอง สะสมรวมกันประมาณหนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของทุนแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่วันนี้เปอร์เซ็นต์ของจำนวนดังกล่าวสูงขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

ไม่เพียงแต่ขนาดของเศรษฐกิจในเอเชียที่มีการขยายตัวอย่างมาก แต่การขยายตัวยังรวมไปถึงการขยายตัวในมิติอื่นๆ เช่น ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาสำคัญ รวมไปถึงมีสิ่งมหัศจรรย์ของโลกโบราณ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่หลายสิ่ง และเอเชียก็ยังเป็นหนึ่งในดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมโบราณนับย้อนหลังได้หลายพันปี

หากมองข้ามฉากหลังของความมั่งคั่ง เราก็ต้องยอมรับว่าในอีกหลายๆ พื้นที่ในเอเชีย ประชากรของเรายังคงมีฐานะยากจนอยู่ และมันรบกวนความรู้สึกของผมที่ว่าจำนวนประชากรที่ยากจนนั้น มีอยู่จำนวนมากและไม่ได้รับการเอาใจใส่ แม้ว่าเรามีการแลกเปลี่ยนอารยธรรมระหว่างกันและกันมาตั้งแต่โบราณกาล แต่เอเชียก็ยังคงแข่งขันระหว่างกัน และหลายครั้งที่พาให้ประเทศพัวพันกับความขัดแย้งระหว่างกัน ซึ่งน่าเสียดายเพราะเราน่าจะทำให้เกิดความพยายามที่จะร่วมมือกัน และนำพาความเข้มแข็งมาสู่ภูมิภาคนี้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผมเล็งเห็นว่าการรวมตัวเป็นกลุ่มลักษณะนี้จะช่วยทำให้เกิดการเจรจาต่อรองและร่วมมือระหว่างกัน เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง ความแตกต่างไปสู่ผลประโยชน์ที่ต่างฝ่ายต่างยอมรับได้ ซึ่งจะเป็นหนทางสร้างความเข้มแข็งในหมู่ประเทศสมาชิกและขยายฐานพันธมิตรต่อไปยังภูมิภาคอื่น

ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผมมีความภาคภูมิใจที่ได้เห็นการเติบโตก้าวหน้าและการเพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกใน ACD ตลอดระยะเวลาที่ผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย อย่างไรก็ตามหลังจากที่พ้นตำแหน่งในปี 2549 ผมพบว่ามีความกระตือรือร้นลดลงและมีประเทศสมาชิกมาเพิ่มใหม่เพียง 2 ประเทศ ดังนั้นในวันนี้ จึงขอให้พวกท่านทั้งหลายหันมาฟื้นฟู ACD ให้เป็นพลวัตใหม่ให้กับทุกชีวิต

ในช่วงเวลานี้ จะเห็นว่าประเทศหลายๆ ประเทศในภูมิภาคอื่นของโลกประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินอย่างหนัก แต่เอเชียของเรายังคงมีความแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพดีอยู่มาก ดังที่เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจจากเอเชีย แต่ถึงแม้ว่าการขยายตัวในภูมิภาคนี้ของเรายังเป็นไปด้วยดีอยู่ ก็ยิ่งควรที่จะรวมกลุ่มกัน เพราะช่วยกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งระหว่างกัน จะได้เป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันต่อภูมิภาคอื่นด้วย

พวกเราส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้ผลิตสินค้าหลักให้กับผู้บริโภคในภูมิภาคอื่น แต่ก็ต้องยอมรับว่าเรายังอ่อนด้อยเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าที่ส่งออก ดังนั้นแทนที่เราจะต้องมาแข่งขันตัดราคากันเอง การรวมตัวเป็น ACD จะช่วยทำให้ลดการแข่งขันและลดความขัดแย้งในหมู่ประเทศสมาชิกได้

เอกอัครราชทูต ผู้มีเกียรติ สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน สองพันปีก่อน บรรพบุรุษของพวกเราได้ทำการค้าขายตามเส้นทางโบราณอันเลื่องชื่อ เส้นทางสายไหม บนถนนแห่งประวัติศาสตร์ที่มีความยาวกว่า 8,000 กิโลเมตรสายนี้ เริ่มต้นจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทอดผ่านบางส่วนของสาธารณรัฐทาจิกิสถาน ไปสู่ตะวันออกกลาง เมดิเตอร์เรเนียน ยุโรป และแอฟริกา เส้นทางการค้านานาประเทศสายนี้เป็นถนนสำคัญของการแลกเปลี่ยนสินค้า ความรู้และเทคโนโลยี รวมไปถึงศาสนา ปรัชญาและศิลปวัฒนธรรม

การที่เรามีโอกาสพูดคุยเชื่อมโยงกันในภูมิภาคในวันนี้ เปรียบได้กับว่าพวกเรากำลังสร้างเส้นทางสายไหมยุคใหม่ โดยการเชื่อมโยงประเทศสมาชิก ACD แล้วโยงต่อไปยังภูมิภาคอื่น ผ่านระบบถนน ระบบทางรถไฟ การเดินเรือและการเดินทางทางอากาศ ซึ่งถือเป็นฮาร์ดแวร์หลัก อย่างไรก็ตาม ก็ต้องไม่ละเลย ซอฟต์แวร์ ซึ่งมีความสำคัญระดับเดียวกัน คำว่าซอฟต์แวร์ก็หมายถึง วัฒนธรรม ศาสนา อารยธรรมที่สืบเนื่องมาอย่างยาวนานของหมู่ประเทศสมาชิก ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้จะช่วยสร้างให้เราได้เส้นไหมที่สุดพิเศษ ที่มีความยืดหยุ่นสูง สง่าและประเมินค่าได้ยาก

และขอถือโอกาสนี้เรียนเชิญทุกท่านร่วมเดินทางบนเส้นทางสายไหมยุคใหม่ ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งบนถนนแห่งความเกียรติยศ ยิ่งใหญ่ และเจริญรุ่งโรจน์ตลอดไป

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

10สมาชิกอาเซียนร่วมใช้ One ban all ban หนุนไทยผู้นำเดินหน้า ประเทศปลอดแร่ใยหิน !!?


ไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไปแล้ว สำหรับการทะลักเข้ามาของสินค้าหลากหลายชนิด ที่มีสารประกอบของ “แอสเบสตอส” (Asbestos) หรือ “แร่ใยหิน” ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นปัจจัยของการให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับปอด อาทิ ปอดอักเสบ เนื้องอกในเยื่อหุ้มปอด น้ำในเยื่อหุ้มปอด มะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้อง...!!

และ “แร่ใยหิน” ที่วันนี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หลังจากที่พูดกันมามากในช่วงก่อนหน้านี้

เพราะหลากหลายชนิดสินค้า ทั้ง กระเบื้องมุงหลังคา ผ้าเบรกรถ ฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อนท่อน้ำซีเมนต์ กระเบื้องยางไวนิลปูพื้น และอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ไม่เว้นแม้แต่สินค้าใกล้ๆ ตัว อย่าง ไดร์เป่าผมล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมของ “แร่ใยหิน” ทั้งสิ้น!

เป็นสินค้า “มฤตยูเงียบ” ที่แพร่หลายในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียนมานาน จนตัวเลขผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากแร่ใยหินเฉพาะในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น กว่า 1 พันรายต่อปี ในเร็วๆ นี้ หากไม่มีมาตรการใดๆ มาหยุดยั้ง

แม้ว่าจะมีมติ ครม.เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา จะให้มีการยกเลิกการนำเข้า “แร่ใยหิน” เพื่อหวังหยุดยั้งจำนวนผู้ป่วยที่มีสถิติสูงขึ้น แต่ในช่วงปี 2555 ที่ผ่านมาแต่ก็ยังคงมีการนำเข้าแร่ใยหินมากถึงกว่า 8 หมื่นตัน!!

รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ปฏิบัติงานด้านการคัดค้านการใช้แร่ใยหิน เปิดเผยว่า  โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยบริโภคแร่ใยหิน 3 กก.ต่อคนต่อปี นับเป็นอัตราการใช้ต่อประชากรอันดับ 2 ของโลก ซึ่งหากนับรวมทั้งภูมิภาคอาเซียนแล้วตัวเลขของการใช้แร่ใยหินนับว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว

แม้จะมีคำประกาศกรุงเทพฯเพื่อการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ในการประชุมนานาชาติในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2549 และมติ ครม.ในการห้ามใช้ออกมา แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการนำเข้าลงได้

สิ่งที่น่าเป็นห่วงในอนาคต และอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่สุด คือการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้  สมาชิกหลายประเทศยังคงเปิดให้นำเข้าโดยเสรี และยังไม่มีมาตรการรองรับในเรื่องนี้ที่ชัดเจน จึงยากจะหลีกเลี่ยงที่จะมีผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีส่วนผสมของแร่ใยหิน ทะลักเป็นสินค้าเข้าในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยมีอัตราภาษี 0%

ด้วยเหตุผลเพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยซึ่งมีสาเหตุมาจากแร่ใยหิน ทั้งในทางสถิติ        

โดยเฉพาะจากรายงานในผู้ป่วยตามกลุ่มอายุ ที่วันนี้ มีรายงานถึงกลุ่มเด็ก ในหลายประเทศ ที่มีอัตราเสี่ยงที่จะป่วยต่อแร่ใยหินในหลายประเทศ จากสินค้าประเภท กระเบื้อง ผ้าเบรก และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอย่าง “ไดร์เป่าผม” ที่ “เด็กๆ ได้รับผลจากการใช้จากแม่ พี่สาว และญาติๆ ที่เป็น ผู้หญิง”

รวมถึงการต่อเติมบ้านที่เด็กๆ ที่อาศัยอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะรับแร่ใยหินเข้าไปเต็มๆ!!

ด้วยเหตุนี้ ทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน จึงหารือกันเพื่อให้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของแร่ใยหินและสินค้าที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน โดยองค์กรที่เทียบเท่ากับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ.ในประเทศไทย ของทั้ง 10 ประเทศ ภายใต้การดูแลของ Southeast Asian Consumer Council หรือสภาผู้บริโภคอาเซียน ซึ่งมี “รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์” เป็นประธาน ได้กำหนดมาตรการร่วมกันที่จะใช้ระบบ “One ban all ban” ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันในการแบนสินค้าร่วมกันของทุกประเทศ ตามกติกาที่ว่า “หากประเทศใดมีการแบนสินค้าใดแล้ว ทุกประเทศในภูมิภาคก็จะร่วมแบนด้วยกันทั้งหมด” ที่ดูเหมือนจะเป็นทางออกในการหยุดการแพร่ระบาดของสินค้าที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินจากในภูมิภาคอาเซียน

ตามรอยอีกกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ที่ห้ามนำเข้าและห้ามใช้ผลิตภัณฑ์จากแร่ใยหินไปแล้วก่อนหน้านี้

และเป็นอีกหนึ่งในความหวังร่วมกันของชาวอาเซียน ที่ต้องการจะให้ทุกประเทศในภูมิภาค “ปลอดจากแร่ใยหินอย่างสิ้นเชิง หลังการเข้าสู่ AEC”  ในอีก 2 ปี ข้างหน้า

ซึ่งเมื่อ “อาเซียน” ทั้ง 10 ประเทศ ต่างเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า“แร่ใยหิน” มีอันตรายมากมายเพียงใด ประเทศก็น่าจะเดินหน้าให้สินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน “ปลอดแร่ใยหิน” ไปนับตั้งแต่วันนี้ ไม่ต้องรอให้ไปถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558

เพราะย้อนกลับไปดูจากสถิติที่ รศ.ดร.วิทยา ได้กล่าวไว้แล้วเกี่ยวกับผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยง ที่แต่ละปี เพิ่มขึ้นทั้งจำนวน และกลุ่มอายุที่น้อยลง อย่างน้อยหากประเทศไทยนำร่องในการเป็นประเทศปลอดสินค้าแร่ใยหิน นอกจากจะเป็นหนึ่งในผู้นำของประเทศอาเซียนแล้ว ยังช่วยเซฟสุขภาพให้กับเด็กๆ ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงได้อีกมากโข

และควรหรือไม่? ที่ไทยจะเป็นประเทศแรกที่จะเป็น “ประเทศปลอดแร่ใยหิน” เดินหน้าเป็นผู้นำ“One ban all ban” ในฐานะหนึ่งใน “ผู้นำ” ของภูมิภาคอาเซียน ที่ก้าวก่อนใคร ก่อนจะเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
/////////////////////////////////////////////////////