“ขอบคุณ พ.ร.บ.ปรองดอง ที่จะพาผมกลับบ้านแบบเท่ๆ”
“ผมจะกลับบ้านแบบเท่ๆ ใครจะตายผมก็ไม่สน”
ป้าย 2 ข้อความของเครือข่ายเสรีราษฎร แนวร่วมกลุ่มคนเสื้อแดง ที่แต่งตัวเลียนแบบเหตุการณ์สลายการชุมนุมโดยแต่งตัวเป็นทหารใช้ปืนจ่อศรีษะคนเสื้อแดง และมีการสวมหน้ากากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นถึงผู้บริหารและสมาชิกพรรคเพื่อไทย คัดค้านร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิและคณะ โดยระบุว่า เขียนจากคณะบุคคลที่มีส่วนในการทำรัฐประหารซึ่งเนื้อหามุ่งลบล้างผลพวงรัฐประหารที่ปลายเหตุ
ขณะที่เครือข่ายเสรีราษฎร ต้องการให้ตัดข้อความเกี่ยวกับนิรโทษกรรมรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐที่จัดการเรื่องการสลายการชุมนุมจนเป็นเหตุให้มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บละเสียชีวิตออกและต้องผลักดันการค้นหาความจริงว่าใครเป็นผู้กระทำการด้วยความรุนแรง จนทำให้ประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
นอกจากนี้เครือข่ายเสรีราษฎรยังให้เร่งเอานักโทษทางการเมืองที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาออกจากการจองจำทั้งหมดและให้เพิ่มความในร่างพ.ร.บ.ว่า การชุมนุมทางการเมืองเป็นการแสดงออกทางการเมือง รวมทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.การกระทำผิดเนื่องจากคอมพิวเตอร์
“สนธิ”สู้ครั้งสุดท้าย(อีกแล้ว)
ขณะที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ปราศรัยในงาน “คอนเสิร์ตเมืองไทยรายสัปดาห์ภาคพิเศษ” เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า พันธมิตรฯ จะชุมนุมต่อต้านร่างพ.ร.บ.ปรองดองจนถึงที่สุดและครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย
“ถ้าแพ้ ต้องตายคาลูกปืนก็จะตาย แต่ถ้าชนะเมื่อไหร่จะล้างมือในอ่างทองคำ และจะลาออกจากแกนนำไปใช้ชีวิตเงียบๆ ไม่ต้องให้ใครมาหลอกใช้อีก”
นายสนธิกล่าวว่า ตนจำเป็นต้องพูด เพราะไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา วันที่ 30 พฤษภาคมจะเป็นงานเลี้ยงที่สำคัญ ตนจะอยู่เคียงข้างพี่น้องตลอดไปจนกว่าเรื่องราวจะจบ แต่ไม่อยากให้ถามว่าถ้าจบแล้ว ตนหายไปไหน เพราะที่ผ่านมาพี่น้องมีความรู้มากพอแล้ว และเป็นคนคุณภาพแล้ว
“พี่น้องอย่าโกรธผม ขอให้เข้าใจผม ผมสู้มาตั้งแต่อายุ 58 จน 65 แล้ว ไม่ได้มีชีวิตอย่างมนุษย์ธรรมดาเลย สู้ครั้งสุดท้ายครั้งนี้ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ถ้าชนะจะยกประเทศให้เขาดูแลต่อไป ถ้าดูแลไม่ดีไม่ต้องมาเรียกผม ผมจะอยู่ในใจพี่น้องทุกคน ขอเป็นนักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ให้พี่น้องระลึกถึง”
นอกจากนี้แกนนำพันธมิตรฯ ยังออกแถลงการณ์ “การปฏิรูปประเทศไทย” เพื่อ “ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อเรียกร้องเดิม โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่ให้ปลอดจากทุนสามานย์ไม่ให้ครอบงำประเทศในทุกรูปแบบและผู้แทนประชาชนไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง
ร่างพ.ร.บ.ปรองดอง
แต่ร่างพ.ร.บ.ปรองดองขณะนี้มีถึง 4 ร่างที่เสนอเข้าสู่สภา คือ นอกจากร่างพ.ร.บ.ที่เสนอโดยพล.อ.สนธิแล้ว อีก3 ร่างเป็นของส.ส.พรรคเพื่อไทยที่เสนอในนามของกลุ่มบุคคล ซึ่งเนื้อหาไม่ได้แตกต่างจากร่างของพล.อ.สนธิ แต่ที่น่าสนใจคือร่างพ.ร.บ.ปรองดองของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะแกนนำคนเสื้อแดง และส.ส.เสื้อแดง พรรคเพื่อไทย โดยระะบุว่า การนิรโทษกรรมจะเว้นบุคคลที่ต้องคดีก่อการร้ายและคดีความผิดต่อชีวิตที่เกิดขึ้นในการชุมนุมทางการเมือง ระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2548 ถึง 10 พฤษภาคม 2553
นายณัฐวุฒิ ให้เหตุผลว่า หากการกระทำที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ไม่มีกระบวนการเอาผิดและลงโทษ ในอนาคตก็ไม่มีหลักประกันที่จะยืนยันว่า บุคคลที่มีอำนาจจะไม่กระทำการที่ลุแก่อำนาจหรือใช้อำนาจปราบปรามทำลายชีวิตประชาชนอีก การยื่นร่างพ.ร.บ.จึงถือเป็นการทำเพื่อวันนี้และอนาคตของประเทศ
ส่วน นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงเหตุผลที่ต้องเสนอร่างของคนเสื้อแดง เพราะเนื้อหาร่างพ.ร.บ.ปรองดองของพล.อ.สนธินั้น คนสั่งฆ่าประชาชนได้ทั้งขึ้นและล่อง คนเสื้อแดงจึงไม่สามารถปรองดองโดยปล่อยให้ฆาตกรลอยนวลไปได้
“เราไม่ติดใจทหาร แต่ติดใจคนสั่งการ หากคดีบงการฆ่าผ่านไปโดยไม่มีคนรับผิดชอบ ต่อไปก็จะมีการฆ่าอีกนับไม่ถ้วน เมื่อฆ่าแล้วก็จะได้รับการนิรโทษฯ ส่วนตัวสนับสนุนแนวทางปรองดอง แต่ต้องเป็นไปตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม และที่นายสุเทพประกาศสละสิทธิ์ไม่ขอรับการนิรโทษกรรม พวกเราที่เป็นแกนนำเสื้อแดง ก็จะไม่ขอใช้สิทธิได้รับนิรโทษกรรมเช่นกัน แต่ในคดีอื่นเล็กๆ น้อยๆ เช่น ผู้ชุมนุมละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ควรที่จะได้รับการยกเว้น”
“อภิสิทธิ์”ยังดีแต่พูด?
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศคัดค้านร่างพ.ร.บ.ปรองดอง โดยเฉพาะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งคนเสื้อแดงและประชาคมโลกถือเป็น “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” ไม่ต่างกับ “โมฆะบุรุษ” แต่ยังใช้วาทกรรมที่ถนัดโจมตี ร่างพ.ร.บ.ปรองดองของพล.อ.สนธิว่าเหมือน “เขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า” และยืนยันว่า ถ้ากฎหมายนี้ออกมาจริงก็ยุ่งวุ่นวายแน่ เพราะการนิรโทษกรรมความผิดทั้งหมดเสมือนไม่เคยมีการกระทำผิดเลย ใครที่ถูกตัดสินคดีไปแล้วก็ให้พ้นจากความผิด แม้แต่คนเอาเอ็ม 79 ไปยิง ฆ่าคน หมิ่นประมาท เผาและขโมย แทนจะจำกัดแค่เรื่องการเมืองจริงๆ ถือเป็นบรรทัดฐานที่อันตรายมาก เพราะทำลายหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม ซึ่งประชาชนที่สูญเสียก็ไม่ได้ต้องการเช่นกัน แต่ต้องการให้ค้นหาความเป็นจริงก่อนแล้วค่อยใช้หลักการให้อภัย ซึ่งตนและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ประสงค์ให้นิรโทษกรรมเช่นนี้เช่นกัน
นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังกล่าวถึงร่างพ.ร.บ.ปรองดองของส.ส.เสื้อแดงว่า เพียงต้องการลดกระแสต่อต้านจากคนเสื้อแดงที่ไม่พอใจ และหากมีชื่อนายณัฐวุฒิลงนามด้วย ก็ถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากยังมีคดีความต่างๆ อยู่ โดยส่วนตัวจึงเห็นว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวน่าจะขัดกับรัฐธรรมนูญแทบทุกมาตรา แต่การยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต้องรอให้ผ่านออกมาบังคับใช้ก่อน
อย่างไรก็ตาม นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ตอบโต้นายอภิสิทธิ์ว่า พ.ร.บ.ปรองดองเป็นการปลดล็อกความขัดแย้งและนำประเทศไปสู่การปรองดองอย่างแท้จริง ไม่ใช่ “เขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า” อย่างนายอภิสิทธิ์พูด เพราะพ.ร.บ.ปรองดองเป็นการเยียวยาการละเมิดหลักนิติรัฐและนิติธรรมที่เกิดจากการรัฐประหาร จึงเป็นการ “เขียนด้วยเท้า ลบด้วยมือ” มากกว่า
Bad Romance?
อย่างไรก็ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฉบับใดก็ตามก็มีทั้งผู้สนับสนุนและต่อต้าน เพราะการนิรโทษกรรมมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ โดยเฉพาะพ.ต.ท.ทักษิณ ขณะที่คนเสื้อแดงก็ต้องการจะดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพให้ได้
พ.ร.บ.ปรองดองจึงเหมือนการเปิดพื้นที่ความขัดแย้งรอบใหม่ ซึ่งไม่ใช่แค่การต่อสู้ของคนเสื้อแดงและพันธมิตรเสื้อเหลือง แต่ยังเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย โดยฝ่ายอำมาตย์นั่งตีขิมสบายใจอยู่บนกำแพง ไม่ว่าฝ่ายไหนจะชนะหรือแพ้ก็ไม่ส่งผลกระทบ เพราะวันนี้ทั้ง 2 พรรคก็ต้องการเป็นมิตรกับฝ่ายอำมาตย์ โดยเฉพาะพ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทยที่ถูกคนเสื้อแดงและนักวิชาการหัวก้าวหน้าถือว่าวันนี้มีพฤติกรรรมเป็น “อำมาตย์ใหม่” ไม่ใช่ไพร่เสื้อแดงที่ต้องการต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
อย่างที่ นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ตั้งคำถามว่า พ.ร.บ.ปรองดองจะเป็นร่าง พ.ร.บ.จูบปากที่ในที่สุดจะมีจุดจบ “รักขม” แบบเพลงยอดนิยม “Bad Romance” ของ“เลดี้ กาก้า” มาเปิดการแสดงดนตรีที่เมืองไทยหรือไม่ ?
โดยเฉพาะประเด็นว่าร่าง พ.ร.บ.ปรองดองขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 309 หรือไม่ เพราะเป็นการล้มล้างผลทางกฎหมายที่สืบทอดมาจากการรัฐประหารโดยตรง เช่น การใช้อำนาจโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ซึ่งมาตรา 309 รับรองสิ่งที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว (2549) ได้รับรองไว้ และมาตรา 36 หรือมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวยังได้รับรองผลทางกฎหมายของการใช้อำนาจโดย คตส.เช่นกัน หากจะล้างผลดังกล่าวได้ก็ต้องกระทำโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น
คุมนักการเมืองเลวให้ได้?
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าพ.ร.บ.ปรองดองจะเป็นการต่อสู้ของไพร่เสื้อแดง หรือพันธมิตรเสื้อเหลืองที่วันนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับไพร่เช่นกันนั้น ไพร่เองก็ไม่ต่างกับนักกรเมืองที่มีหลายก๊ก หลายมุ้ง ทั้งคนดีและคนเลว ไพร่จึงมีสารพัดไพร่ ไม่ว่าไพร่ที่อยากเป็นอำมาตย์ หรือไพร่ที่ต้องการเป็นอิสระและต้องการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
พ.ร.บ.ปรองดองจึงไม่ใช่สงครามระหว่างไพร่กับไพร่ หรือไพร่กับนักการเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำสงครามระหว่างไพร่กับอำมาตย์อีกครั้ง ซึ่งนับวันจะยิ่งหมกเม็ดมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออำมาตย์เก่าและอำมาตย์ใหม่เกี๊ยะเซี๊ยกันลงตัว ไพร่เสื้อแดงและไพร่เสื้อเหลืองก็เท่ากับถูกหลอกใช้ทั้งคู่และในที่สุดก็ถูกแบ่งแยกและทำลาย ทั้งที่ไพร่เสื้อแดงและไพร่เสื้อเหลืองก็ไม่ต้องการให้ “นิรโทษกรรมเหมาเข่ง”
ปัญหาของไพร่ขณะนี้คือ จะจัดการกับนักการเมืองเลว รวมทั้งอำมาตย์เก่าและอำมาตย์ใหม่อย่างไร อย่างที่ นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ ให้ความเห็นว่า “เราต้องคิดให้ดีว่าเราจะใช้การหย่อนบัตรเพื่อคุมนักการเมืองอย่างไร นักการเมืองส่วนใหญ่เลวทั้งนั้น แต่เราอย่าเกลียดคนเลว คนดีที่คุมไม่ได้อันตรายกว่าคนเลว ปัญหาของเราคือต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำสร้างองค์กรและขบวนการที่ประชาชนอย่างเราสามารถคุมคนชั่วได้ และหนึ่งในการคุมคนชั่วก็คือมีการเลือกตั้ง เราต้องกลับมาคิดเรื่องนี้ให้ดีว่าทำอย่างไรจะคุมนักการเมืองได้”
การต่อสู้ของไพร่จึงต้องทำให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเพื่อเลือกส.ส.หรือส.ว.ที่มีหัวใจเป็นไพร่อย่างแท้จริง ไม่ใช่นักการเมืองที่หลอกใช้ หรือแอบอิงไพร่เพื่อไต่เต้าไปเป็นอำมาตย์ เพราะประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนั้นอำนาจอยู่ที่ประชาชน
ใครหลอกใช้?
แต่วันนี้ไม่มีใครรู้ว่า พ.ร.บ.ปรองดองจะลงท้ายอย่างไร จะนิรโทษกรรมเหมาเข่ง หรือเว้นวรรคทั้งฆาตรกรและนักโษเพื่อตอบแทนบุญคุณ ไม่เหมือนกับบทบาทของ “2 สนธิ” ที่เห็นชัดเจน
“สนธิ” หนึ่งคือหัวหน้าม็อบเสื้อสีเหลือง ผ้าพันคอสีฟ้า ใหญ่คับนภา ชนิดที่เทวดายังต้องกลัว “สนธิ” ผู้เดินหน้าไปส่งเทียบเชิญให้อีก “สนธิ” หนึ่งซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540 เมื่อ 19 กันยายน 2549
“สนธิ” ผู้กล้าประกาศว่า จะรบครั้งสุดท้าย (แล้วสุดท้ายอีก) “จะไม่ยอมให้ใครมาหลอกใช้อีก” และจะขอไปใช้ชีวิตอยู่เงียบๆ โดยเขาแทบไม่ได้เอ่ยถึงคดีความที่ค้างคา ไม่ว่า ล้อมสภา ยึดทำเนียบ ปิดสนามบิน หรือกรณีศาลชั้นต้นสั่งจำคุกถึง 80 ปีจากกรณีเล่นแร่แปรธาตุธุรกิจส่วนตัวที่ล้มละลายไป หรือ “สนธิ” นี้เขารู้ผลล่วงหน้าว่า สุดท้ายก็ไม่มีอะไรในก่อไผ่ เตรียมไปใช้ชีวิตอยู่เงียบๆได้ดังใจปรารถนา?
อีก “สนธิ” หนึ่งเคยเป็นถึงหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง บลา บลา บลา...(ชื่อยาว ยาวมาก ยาวที่สุด จนน่าบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊ก) แต่ต้องผิดคิวถึงกับจุก เมื่อเจอมุข “เสธ.หนั่น” ไม่ทันได้เตี๊ยม ถามว่า “ใคร(หลอก)ใช้ให้ปฏิวัติ” โดยสวนกลับทันควัน (แต่ไม่ทันคิด) ว่า “ตายไปแล้วก็บอกไม่ได้ (ว่าใครใช้ให้รัฐประหาร 19 กันยา)”
จาก “สนธิชุดเขียว” จึงแปลงกายมาใส่สูท สวม “ชฎาเลดี้ กาก้า” ในสภาผู้ทรงเกียรติ เสมือนสำนึกผิด แล้วคิดจะไถ่บาป ยอมเล่นบทหัวคณะปรองดองแห่งชาติ ยื่นร่างพ.ร.บ. “เขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า” (วลีนี้ถูกเปรียบเปรยโดยอดีตนายกฯ หมาดๆ ที่ได้ตำแหน่งอันเนื่องมาจากการปฏิสนธิในค่ายทหาร แต่ก็โดนทั้ง “มือตบ” และ “ตีนถีบ” จึงอาจสับสนว่า อะไรเรียกว่า “มือ” อะไรคือ “เท้า”) เมื่อ “สนธิ” หนึ่งเอ่ยคำว่า “จะไม่ให้ใครหลอกใช้อีก” เขาต้องได้อะไรตอบแทน แล้วไม่ได้กระนั้นหรือ? จึงต้องเผยความในใจว่าถูก “หลอกใช้” ในขณะที่อีก “สนธิ” หนึ่งก็เคยถึงผิดคิวหลุดปาก.. “ตายไปแล้ว ก็บอกไม่ได้” !!
ใครหลอกใช้? ใครถูกหลอก? หรือ ใครหลอกใช้ใคร? คงไม่มีคำตอบจากปากชนชั้น “อำมาตย์เก่า” , “อำมาตย์ใหม่” หรือ “ชนชั้นไพร่ที่ใคร่จะเป็นอำมาตย์” เมื่อ “อำมาตย์” ตอบไม่ได้ ก็ถึงคราข้าไพร่ แลราษฎรทั้งหลายช่วยตอบที !!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555
นิติราษฎร์ชงสูตร นิรโทษฯ ....
คณะนิติราษฎร์เตรียมชงสูตรนิรโทษกรรมให้เป็นทางเลือกใหม่ ไม่แยกความผิดเป็น 2 กรณี ไม่เหมารวมยกเข่ง เชื่อช่วยลดความขัดแย้งและแรงต่อต้านลงได้ เปิดรายละเอียดกลางเดือน มิ.ย. นี้ พร้อมล่า 50,000 ชื่อ เสนอกฎหมายเข้าสภา ประชาธิปัตย์พิมพ์หนังสือปกขาว 100,000 เล่ม ชี้แจงเหตุผลต้าน พ.ร.บ.ปรองดอง “พร้อมพงศ์” เย้ยยุค “อภิสิทธิ์” ทำประชาธิปัตย์ตกต่ำ ไม่ยึดกฎ กติกาประชาธิปไตย
+++++++++++++++
นายปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในแกนนำคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร กล่าวในการเสวนาหัวข้อ “ล้มศาลเตี้ยของชนชั้นสูง ผิดตรงไหนที่รัฐบาลประชาธิปไตยจะลบล้าง คตส. ที่มาจากเผด็จการ” ซึ่งจัดโดยกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลว่า ประมาณกลางเดือน มิ.ย. นี้คณะนิติราษฎร์จะเสนอสูตรนิรโทษกรรมเพื่อเป็นทางเลือกให้กับสังคม นอกเหนือจาก 4 สูตรที่มีผู้เสนอให้สภาพิจารณา
“สูตรนิรโทษกรรมที่เสนอจะแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่มีความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง เรียกว่านิรโทษกรรมขจัดความขัดแย้ง อีกกลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร เช่น คดีความที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เรียกว่าล้มล้างผลพวงรัฐประหาร เชื่อว่าการแยกนิรโทษกรรมแบบไม่เหมารวมยกเข่งจะทำให้แรงต่อต้านมีน้อยลง คนเห็นด้วยจะมีมากขึ้น การเสนอกฎหมายของเรายึดหลักการความถูกต้อง ไม่ได้มองหน้าคนว่าใครจะได้หรือเสียประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือแกนนำเสื้อเหลือง-เสื้อแดง” นายปิยบุตรกล่าวและว่า จะใช้ช่องทางรัฐธรรมนูญให้ประชาชนเข้าชื่อจำนวน 50,000 ชื่อ ร่วมกันยื่นกฎหมายนี้ต่อสภา
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมสภาเพื่อยุติความขัดแย้งเรื่องกฎหมายปรองดอง เพราะหากยังขยายเวลาประชุมออกไปเรื่อยๆอาจมีการลักไก่นำกฎหมายเข้าพิจารณาอีก และอาจนำไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นขยายเป็นสงครามกลางเมืองได้ หากรัฐบาลมีความจริงใจในการสร้างความปรองดองควรดำเนินการสานเสวนาเพื่อให้มีความเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่ายก่อน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้จัดทำหนังสือ “ต้านกฎหมายล้างผิดคนโกง” ซึ่งหน้าปกเป็นสีขาว มีเนื้อหารวม 7 หน้า ให้ ส.ส. นำไปแจกจ่ายประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยพิมพ์ครั้งแรกจำนวน 100,000 เล่ม เนื้อหาในหนังสือเป็นการแสดงจุดยืนของพรรคต่อ พ.ร.บ.ปรองดองที่เห็นว่าสร้างความเสียหายให้บ้านเมือง นอกจากนี้จะมีการจัดเวทีปราศรัยในสถานที่ต่างๆตามความเหมาะสมควบคู่กันไปด้วย
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า รัฐบาลยังไม่ออกพระราชกฤษฎีกาปิดมัยประชุมสภา เพราะยังมีกฎหมายสำคัญรอการพิจารณาอีกหลายฉบับ
“ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์แสดงธาตุแท้ออกมาแล้วว่าไม่ได้เชื่อมั่นในระบบรัฐสภาอย่างที่กล่าวอ้าง เพราะพร้อมทำทุกอย่างเพื่อล้มรัฐบาลนี้ ตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคได้แสดงพฤติกรรมทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนำพรรคบอยคอตการเลือกตั้งเมื่อปี 2548 ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร สั่งสลายการชุมนุมที่มีคนเจ็บ คนตายจำนวนมาก แต่ไม่เคยแม้แต่ขอโทษ และล่าสุดแสดงความถ่อยในสภาด้วยการขว้างปาสิ่งของและคุกคามไม่ให้ประธานสภาทำหน้าที่”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
/////////////////////////////////////////////////////////////////////
+++++++++++++++
นายปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในแกนนำคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร กล่าวในการเสวนาหัวข้อ “ล้มศาลเตี้ยของชนชั้นสูง ผิดตรงไหนที่รัฐบาลประชาธิปไตยจะลบล้าง คตส. ที่มาจากเผด็จการ” ซึ่งจัดโดยกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลว่า ประมาณกลางเดือน มิ.ย. นี้คณะนิติราษฎร์จะเสนอสูตรนิรโทษกรรมเพื่อเป็นทางเลือกให้กับสังคม นอกเหนือจาก 4 สูตรที่มีผู้เสนอให้สภาพิจารณา
“สูตรนิรโทษกรรมที่เสนอจะแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่มีความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง เรียกว่านิรโทษกรรมขจัดความขัดแย้ง อีกกลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร เช่น คดีความที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เรียกว่าล้มล้างผลพวงรัฐประหาร เชื่อว่าการแยกนิรโทษกรรมแบบไม่เหมารวมยกเข่งจะทำให้แรงต่อต้านมีน้อยลง คนเห็นด้วยจะมีมากขึ้น การเสนอกฎหมายของเรายึดหลักการความถูกต้อง ไม่ได้มองหน้าคนว่าใครจะได้หรือเสียประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือแกนนำเสื้อเหลือง-เสื้อแดง” นายปิยบุตรกล่าวและว่า จะใช้ช่องทางรัฐธรรมนูญให้ประชาชนเข้าชื่อจำนวน 50,000 ชื่อ ร่วมกันยื่นกฎหมายนี้ต่อสภา
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมสภาเพื่อยุติความขัดแย้งเรื่องกฎหมายปรองดอง เพราะหากยังขยายเวลาประชุมออกไปเรื่อยๆอาจมีการลักไก่นำกฎหมายเข้าพิจารณาอีก และอาจนำไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นขยายเป็นสงครามกลางเมืองได้ หากรัฐบาลมีความจริงใจในการสร้างความปรองดองควรดำเนินการสานเสวนาเพื่อให้มีความเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่ายก่อน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้จัดทำหนังสือ “ต้านกฎหมายล้างผิดคนโกง” ซึ่งหน้าปกเป็นสีขาว มีเนื้อหารวม 7 หน้า ให้ ส.ส. นำไปแจกจ่ายประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยพิมพ์ครั้งแรกจำนวน 100,000 เล่ม เนื้อหาในหนังสือเป็นการแสดงจุดยืนของพรรคต่อ พ.ร.บ.ปรองดองที่เห็นว่าสร้างความเสียหายให้บ้านเมือง นอกจากนี้จะมีการจัดเวทีปราศรัยในสถานที่ต่างๆตามความเหมาะสมควบคู่กันไปด้วย
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า รัฐบาลยังไม่ออกพระราชกฤษฎีกาปิดมัยประชุมสภา เพราะยังมีกฎหมายสำคัญรอการพิจารณาอีกหลายฉบับ
“ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์แสดงธาตุแท้ออกมาแล้วว่าไม่ได้เชื่อมั่นในระบบรัฐสภาอย่างที่กล่าวอ้าง เพราะพร้อมทำทุกอย่างเพื่อล้มรัฐบาลนี้ ตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคได้แสดงพฤติกรรมทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนำพรรคบอยคอตการเลือกตั้งเมื่อปี 2548 ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร สั่งสลายการชุมนุมที่มีคนเจ็บ คนตายจำนวนมาก แต่ไม่เคยแม้แต่ขอโทษ และล่าสุดแสดงความถ่อยในสภาด้วยการขว้างปาสิ่งของและคุกคามไม่ให้ประธานสภาทำหน้าที่”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
/////////////////////////////////////////////////////////////////////
ปรากฏการณ์112ริกเตอร์สั่นสะเทือนจากดินถึงฟ้า!
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ได้จัดงานที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปการรณรงค์ในรอบ 112 วัน เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชนให้ได้มากกว่า 11,200 รายชื่อ เพื่อขอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ การรณรงค์เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีการรวบรวมรายชื่อประชาชนทั่วไปให้สนับสนุนข้อเสนอปฏิรูปมาตรา 112 ภายใต้หลักการ 6 ประการดังนี้
1.มาตรา 112 มีที่มาจากระบอบเผด็จการ มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
2.ให้แก้ไขบทลงโทษที่รุนแรงกว่าเหตุ
3.ไม่อนุญาตให้ใครก็ได้มีสิทธิฟ้องร้องกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ แต่ควรให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษแทน
4.ให้แยกแยะการวิจารณ์โดยสุจริตออกจากการดูหมิ่นเหยียดหยามและคุกคาม
5.ให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงของข้อความที่ถูกกล่าวหา
6.เปลี่ยนมาตรา 112 จากหมวดความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรเป็นหมวดเฉพาะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ปรากฏว่าการเคลื่อนไหวของ ครก.112 ได้รับความสนใจตอบรับอย่างมากจากมวลประชาชนคนเสื้อแดง แต่ถูกต่อต้านอย่างหนักจากพวกสลิ่ม เสื้อสารพัดสี กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพรรคประชาธิปัตย์ ยิ่งกว่านั้นยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ส่วนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็ไม่เข้าร่วมในการรณรงค์ แม้จะไม่คัดค้าน ทั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายกฯยิ่งลักษณ์ยังแถลงว่ารัฐบาลจะไม่เข้าไปแก้ไขมาตรา 112 หน้าที่ของรัฐบาลในขณะนี้คือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งก่อนหน้านี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็ได้แถลงหลายครั้งว่าไม่สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคม ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า พรรคเพื่อไทยไม่แก้มาตรานี้เด็ดขาด “ใครแก้ ผมค้าน” และว่า “ที่นี่ประเทศไทยมีความสุขสบายมาได้เพราะพระมหากรุณาธิคุณ ไม่มีงานทำกันหรือ”
เป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มที่คัดค้านข้อเสนอของ ครก.112 ไม่เคยมีเหตุผลทางวิชาการที่มีน้ำหนักเลย มีแต่การใส่ร้ายป้ายสีว่าผู้ที่เสนอขอแก้ไขมาตรา 112 เป็นพวกล้มเจ้า ไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน บ้างก็ไล่ไม่ให้อยู่บ้านพ่อ ให้ไปอยู่บ้านคนอื่น บ้างก็อ้างถึงความไม่บังควร เพราะจะละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ที่เป็นแกนนำในการล่ารายชื่อคัดค้าน ครก.112 อธิบายว่า ต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะการแก้ไขมาตรานี้จะก่อให้เกิดการวิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้อย่างเสรี แต่ที่ไปไกลมากคือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวเมื่อวันที่ 28 มกราคมว่า คณะนิติราษฎร์และกลุ่มนักวิชาการกว่าร้อยคนที่ลงชื่อร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 “มีบางคนที่รับเงินจากองค์กรต่างชาติมาเคลื่อนไหวเพื่อล้มสถาบัน” และตั้งคำถามว่า “ทำไมคนพวกนี้ต้องมาทำร้ายในหลวง แทนที่จะซาบซึ้งบุญคุณ แต่กลับมาหาเรื่อง”
จะเห็นได้ว่าการตอบโต้ของพวกฝ่ายขวาล้วนยืนอยู่บนศรัทธาความเชื่อแบบอนุรักษ์นิยมเจ้า ไม่มีระบบเหตุผลรองรับ หลักความคิดเช่นนี้ทำให้มาตรา 112 กลายเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจแก้ไขได้ ข้อกล่าวหาแบบที่นายสนธิอ้างก็มิได้มีหลักฐานรองรับ และจะมีองค์กรต่างชาติไหนอยากจะล้มสถาบันในประเทศไทย ข้อตอบโต้เหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากการตั้งธงไว้ก่อนว่าการแก้มาตรา 112 คือการละเมิดสถาบัน ทั้งที่มาตรา 112 เป็นเพียงกฎหมายข้อหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญา และเห็นได้ว่าทั้ง 6 ข้อของนิติราษฎร์ที่ตั้งมา ไม่มีข้อใดที่จะไปแก้ไขล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เลย
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า มาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใส่ร้ายป้ายสีศัตรูทางการเมืองของรัฐ และเป็นกฎหมายละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเครื่องมือของกระบวนการยุติธรรมในการนำคนบริสุทธิ์มาเข้าคุก ผู้ต้องหาและผู้ถูกตัดสินคดีมาตรา 112 ทั้งหมดคือเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐและสังคม การปฏิรูปมาตรา 112 คือการแก้ไขความผิดของสังคมไทยเช่นนี้ และจะทำให้สังคมไทยก้าวหน้าในทางประชาธิปไตยต่อไป
ในคำแถลงของ ครก.112 อธิบายว่า นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นจำนวนมากจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ด้วยการตีความกฎหมายบนอุดมการณ์ที่ผิดหลักการประชาธิปไตย และตีความการกระทำผิดอย่างกว้างเกินกว่าเหตุ แม้แต่การแปลหนังสือก็กลายเป็นการกระทำผิด
การดำเนินคดีได้ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาและนักโทษคดีการเมืองมาตรา 112 ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น ไม่ได้รับการสืบพยานอย่างเพียงพอ ไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว ไต่สวนคดีโดยปิดลับ เป็นต้น การกระทำเช่นนี้ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้รักความเป็นธรรมและผู้ที่เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยจำนวนมาก จึงมีผู้เรียกร้องให้มีการยุติการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2553 เช่น การเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยกลุ่ม 24 มิถุนายนและกลุ่มแดงสยาม กระทั่งต้นปี 2554 คณะนิติราษฎร์ได้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขึ้นมา และเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยกลุ่มปัญญาชน นักวิชาการ และนักเขียน นำมาสู่การตั้ง ครก.112 จนถึงขณะนี้ ครก.112 สามารถรวบรวมประชาชนที่ลงชื่อได้ 39,185 คน และยื่นรายชื่อต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม
“ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์” จึงเป็นปรากฏการณ์ที่สั่นสะเทือนสังคมไทย เพราะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่การเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้แผ่ซ่านลงลึกไปถึงผู้คนรากหญ้า ประชาชนเข้าใจเรื่องของมาตรา 112 เนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นถึงปัญหาที่ใหญ่กว่าตัวบทกฎหมาย นั่นคือ ปัญหาการดึงเอาสถาบันกษัตริย์ลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ปัญหาการแทรกแซงการเมืองระบอบประชาธิปไตยโดยอำนาจนอกระบบ และปัญหาวงจรอุบาทว์จากการรัฐประหาร ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จึงสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นจากดินถึงฟ้า
ดังนั้น ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จึงสะท้อนความเป็นจริงทางสังคมที่ว่า ประชาชนไทยไม่สามารถยอมรับสถานะไพร่ฟ้าผงธุลีได้อีกต่อไป แม้จะมีการต่อต้านจากชนชั้นนำ และปราศจากการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย ประชาชนก็ยังยืนยันที่จะเดินหน้าร่วมกับ ครก.112 รวบรวมชื่อเสนอให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมาย แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่าประชาชนเป็นตัวของตัวเอง ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จึงแสดงให้เห็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยที่อุดมการณ์สิทธิเสรีภาพได้หยั่งรากลึกลงยิ่งขึ้น นักการเมืองจึงควรเข้าใจด้วยว่าประชาชนไม่ได้เพียงต้องการนโยบายประชานิยม แต่ยังต้องการสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอีกด้วย
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้อธิบายปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ว่า หมายถึงสัญญาณว่าสามัญชนกำลังจะลุกขึ้นยืนตัวตรง โอกาสที่จะแก้ไขหรือปฏิรูปหรือยกเลิกมาตรา 112 เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ใช่แค่เรื่องนักโทษการเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไปด้วย ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นวันนี้จะละเลยมาตรา 112 ไม่ได้ ขณะนี้สังคมไปไกลมากแล้ว และดำเนินมาถึงทางแยกสำคัญ ซึ่งนายวรเจตน์ย้ำว่า
“เราพยายามลุกขึ้นยืนตรง และเรายืนตรงคนเดียวไม่พอ เราต้องพยายามชวนคนในสังคมให้ลุกขึ้น มีคนจำนวนไม่น้อยพอใจที่จะนั่งพับเพียบต่อไป เราอาจจะต้องบอกกับเขาว่านั่งพับเพียบนานๆมันเมื่อย และอธิบายให้เขาเข้าใจถึงการยืนตัวตรง และในที่สุดปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จะได้เปลี่ยนสังคมไทย ปรับทรรศนะสถาบันกษัตริย์ ศาล และกองทัพ ให้อยู่ร่วมกันได้โดยสันติ และปลดวงจรความสูญเสียเสียที”
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
1.มาตรา 112 มีที่มาจากระบอบเผด็จการ มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
2.ให้แก้ไขบทลงโทษที่รุนแรงกว่าเหตุ
3.ไม่อนุญาตให้ใครก็ได้มีสิทธิฟ้องร้องกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ แต่ควรให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษแทน
4.ให้แยกแยะการวิจารณ์โดยสุจริตออกจากการดูหมิ่นเหยียดหยามและคุกคาม
5.ให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงของข้อความที่ถูกกล่าวหา
6.เปลี่ยนมาตรา 112 จากหมวดความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรเป็นหมวดเฉพาะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ปรากฏว่าการเคลื่อนไหวของ ครก.112 ได้รับความสนใจตอบรับอย่างมากจากมวลประชาชนคนเสื้อแดง แต่ถูกต่อต้านอย่างหนักจากพวกสลิ่ม เสื้อสารพัดสี กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพรรคประชาธิปัตย์ ยิ่งกว่านั้นยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ส่วนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็ไม่เข้าร่วมในการรณรงค์ แม้จะไม่คัดค้าน ทั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายกฯยิ่งลักษณ์ยังแถลงว่ารัฐบาลจะไม่เข้าไปแก้ไขมาตรา 112 หน้าที่ของรัฐบาลในขณะนี้คือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งก่อนหน้านี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็ได้แถลงหลายครั้งว่าไม่สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคม ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า พรรคเพื่อไทยไม่แก้มาตรานี้เด็ดขาด “ใครแก้ ผมค้าน” และว่า “ที่นี่ประเทศไทยมีความสุขสบายมาได้เพราะพระมหากรุณาธิคุณ ไม่มีงานทำกันหรือ”
เป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มที่คัดค้านข้อเสนอของ ครก.112 ไม่เคยมีเหตุผลทางวิชาการที่มีน้ำหนักเลย มีแต่การใส่ร้ายป้ายสีว่าผู้ที่เสนอขอแก้ไขมาตรา 112 เป็นพวกล้มเจ้า ไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน บ้างก็ไล่ไม่ให้อยู่บ้านพ่อ ให้ไปอยู่บ้านคนอื่น บ้างก็อ้างถึงความไม่บังควร เพราะจะละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ที่เป็นแกนนำในการล่ารายชื่อคัดค้าน ครก.112 อธิบายว่า ต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะการแก้ไขมาตรานี้จะก่อให้เกิดการวิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้อย่างเสรี แต่ที่ไปไกลมากคือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวเมื่อวันที่ 28 มกราคมว่า คณะนิติราษฎร์และกลุ่มนักวิชาการกว่าร้อยคนที่ลงชื่อร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 “มีบางคนที่รับเงินจากองค์กรต่างชาติมาเคลื่อนไหวเพื่อล้มสถาบัน” และตั้งคำถามว่า “ทำไมคนพวกนี้ต้องมาทำร้ายในหลวง แทนที่จะซาบซึ้งบุญคุณ แต่กลับมาหาเรื่อง”
จะเห็นได้ว่าการตอบโต้ของพวกฝ่ายขวาล้วนยืนอยู่บนศรัทธาความเชื่อแบบอนุรักษ์นิยมเจ้า ไม่มีระบบเหตุผลรองรับ หลักความคิดเช่นนี้ทำให้มาตรา 112 กลายเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจแก้ไขได้ ข้อกล่าวหาแบบที่นายสนธิอ้างก็มิได้มีหลักฐานรองรับ และจะมีองค์กรต่างชาติไหนอยากจะล้มสถาบันในประเทศไทย ข้อตอบโต้เหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากการตั้งธงไว้ก่อนว่าการแก้มาตรา 112 คือการละเมิดสถาบัน ทั้งที่มาตรา 112 เป็นเพียงกฎหมายข้อหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญา และเห็นได้ว่าทั้ง 6 ข้อของนิติราษฎร์ที่ตั้งมา ไม่มีข้อใดที่จะไปแก้ไขล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เลย
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า มาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใส่ร้ายป้ายสีศัตรูทางการเมืองของรัฐ และเป็นกฎหมายละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเครื่องมือของกระบวนการยุติธรรมในการนำคนบริสุทธิ์มาเข้าคุก ผู้ต้องหาและผู้ถูกตัดสินคดีมาตรา 112 ทั้งหมดคือเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐและสังคม การปฏิรูปมาตรา 112 คือการแก้ไขความผิดของสังคมไทยเช่นนี้ และจะทำให้สังคมไทยก้าวหน้าในทางประชาธิปไตยต่อไป
ในคำแถลงของ ครก.112 อธิบายว่า นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นจำนวนมากจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ด้วยการตีความกฎหมายบนอุดมการณ์ที่ผิดหลักการประชาธิปไตย และตีความการกระทำผิดอย่างกว้างเกินกว่าเหตุ แม้แต่การแปลหนังสือก็กลายเป็นการกระทำผิด
การดำเนินคดีได้ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาและนักโทษคดีการเมืองมาตรา 112 ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น ไม่ได้รับการสืบพยานอย่างเพียงพอ ไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว ไต่สวนคดีโดยปิดลับ เป็นต้น การกระทำเช่นนี้ได้สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้รักความเป็นธรรมและผู้ที่เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยจำนวนมาก จึงมีผู้เรียกร้องให้มีการยุติการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2553 เช่น การเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยกลุ่ม 24 มิถุนายนและกลุ่มแดงสยาม กระทั่งต้นปี 2554 คณะนิติราษฎร์ได้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขึ้นมา และเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยกลุ่มปัญญาชน นักวิชาการ และนักเขียน นำมาสู่การตั้ง ครก.112 จนถึงขณะนี้ ครก.112 สามารถรวบรวมประชาชนที่ลงชื่อได้ 39,185 คน และยื่นรายชื่อต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม
“ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์” จึงเป็นปรากฏการณ์ที่สั่นสะเทือนสังคมไทย เพราะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่การเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้แผ่ซ่านลงลึกไปถึงผู้คนรากหญ้า ประชาชนเข้าใจเรื่องของมาตรา 112 เนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นถึงปัญหาที่ใหญ่กว่าตัวบทกฎหมาย นั่นคือ ปัญหาการดึงเอาสถาบันกษัตริย์ลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ปัญหาการแทรกแซงการเมืองระบอบประชาธิปไตยโดยอำนาจนอกระบบ และปัญหาวงจรอุบาทว์จากการรัฐประหาร ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จึงสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นจากดินถึงฟ้า
ดังนั้น ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จึงสะท้อนความเป็นจริงทางสังคมที่ว่า ประชาชนไทยไม่สามารถยอมรับสถานะไพร่ฟ้าผงธุลีได้อีกต่อไป แม้จะมีการต่อต้านจากชนชั้นนำ และปราศจากการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย ประชาชนก็ยังยืนยันที่จะเดินหน้าร่วมกับ ครก.112 รวบรวมชื่อเสนอให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมาย แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่าประชาชนเป็นตัวของตัวเอง ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จึงแสดงให้เห็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยที่อุดมการณ์สิทธิเสรีภาพได้หยั่งรากลึกลงยิ่งขึ้น นักการเมืองจึงควรเข้าใจด้วยว่าประชาชนไม่ได้เพียงต้องการนโยบายประชานิยม แต่ยังต้องการสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอีกด้วย
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้อธิบายปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ว่า หมายถึงสัญญาณว่าสามัญชนกำลังจะลุกขึ้นยืนตัวตรง โอกาสที่จะแก้ไขหรือปฏิรูปหรือยกเลิกมาตรา 112 เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ใช่แค่เรื่องนักโทษการเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไปด้วย ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นวันนี้จะละเลยมาตรา 112 ไม่ได้ ขณะนี้สังคมไปไกลมากแล้ว และดำเนินมาถึงทางแยกสำคัญ ซึ่งนายวรเจตน์ย้ำว่า
“เราพยายามลุกขึ้นยืนตรง และเรายืนตรงคนเดียวไม่พอ เราต้องพยายามชวนคนในสังคมให้ลุกขึ้น มีคนจำนวนไม่น้อยพอใจที่จะนั่งพับเพียบต่อไป เราอาจจะต้องบอกกับเขาว่านั่งพับเพียบนานๆมันเมื่อย และอธิบายให้เขาเข้าใจถึงการยืนตัวตรง และในที่สุดปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จะได้เปลี่ยนสังคมไทย ปรับทรรศนะสถาบันกษัตริย์ ศาล และกองทัพ ให้อยู่ร่วมกันได้โดยสันติ และปลดวงจรความสูญเสียเสียที”
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นิติราษฎร์: แถลงการณ์กรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ !!?
คณะนิติราษฎร์ ออกแถลงการณ์ในประเด็น “ศาลรัฐธรรมนูญ” รับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าศาลไม่มีอำนาจ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม และจะกลายเป็น “องค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ”
ต้นฉบับจาก เว็บไซต์นิติราษฎร์
แถลงการณ์
เรื่อง คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ ไว้พิจารณา
และคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
เรื่อง คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ ไว้พิจารณา
และคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ตามที่มีบุคคลเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๖๘ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้งฉบับ อันเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ดังปรากฏตามข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๖/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ นั้น
คณะนิติราษฎร์พิจารณาแล้ว มีความเห็นต่อคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวในสามประเด็น ดังนี้๑. การกระทำที่เป็นเหตุแห่งการเสนอคำร้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๘
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๘ ให้สิทธิแก่บุคคลผู้ทราบการกระทำอันเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อลบล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจใจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สามารถเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว เหตุแห่งการเสนอคำร้องตามมาตรา ๖๘ ต้องเป็นการกระทำของบุคคลหรือพรรคการเมืองแต่ข้อเท็จจริงในกรณีนี้เป็นการใช้อำนาจของรัฐสภาในฐานะองค์กรตามรัฐธรรมนูญผู้ทรงอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูฐ กรณีนี้จึงไม่ใช่การกระทำของ “บุคคล” หรือ “พรรคการเมือง” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๘
รัฐสภาได้ใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามกระบวนการและขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๑๕ ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จึงเป็นกรณีที่รัฐสภาใช้อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มิใช่การใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้แก่บุคคลและพรรคการเมือง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีนี้เป็นการกระทำตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนหรือทั้งฉบับ ตราบเท่าที่การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมิได้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะถือว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอันมีผลเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับนั้นเคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อคราวที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ และคราวที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ โดยการจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
๒. ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๖๘ วรรคสอง กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำ ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หมายความว่า บุคคลต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดก่อน ภายหลังอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมีมูล อัยการสูงสุดจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญได้ตีความว่า การเสนอคำร้องตามมาตรา ๖๘ วรรคสองนั้น อาจทำได้สองวิธี คือ หนึ่ง บุคคลมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สอง บุคคลมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้โดยตรง โดยไม่ต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
คณะนิติราษฎร์เห็นว่า กรณีตามมาตรา ๖๘ วรรคสอง ไม่อาจตีความตามที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าเฉพาะแต่อัยการสูงสุดเท่านั้น ที่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และอัยการสูงสุดก็ไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้หากปราศจากการเสนอ เรื่องของบุคคลผู้ทราบการกระทำตามมาตรา ๖๘ วรรคแรก กรณีคำร้องตามมาตรา ๖๘ วรรคสอง จึงต้องดำเนินการเป็นสองขั้นตอนตามลำดับได้แก่ บุคคลเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ จะขาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไปมิได้
นอกจากนี้ เมื่อได้ตรวจสอบบันทึกรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๐ เกี่ยวกับบทบัญญัติมาตรา ๖๘ พบว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้าใจตรงกันว่าผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๖๘ วรรคสอง คือ อัยการสูงสุดเท่านั้น
หากพิจารณารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จะเห็นได้ว่าในกรณีที่รัฐธรรมนูญมุ่งประสงค์ให้สิทธิแก่บุคคลทั่วไปในการ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง รัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งดังกรณีปรากฏในมาตรา ๒๑๒ ว่าบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ และไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้ว ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่ง กฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้
คณะนิติราษฎร์เห็นว่าการตีความมาตรา ๖๘ วรรคสองของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ขัดกับหลักการตีความกฎหมายทั้งในแง่ถ้อยคำ ประวัติความเป็นมา เจตนารมณ์ ตลอดจนระบบกฎหมายทั้งระบบ เป็นการตีความกฎหมายที่ส่งผลประหลาดและผิดพลาดอย่างชัดแจ้ง
๓. อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการกำหนด “วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการกำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัย แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้นำเอาวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๖๔ มาใช้ โดยอาศัยข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญฯ ข้อ ๖
วิธีการชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัยเป็นมาตรการสำคัญในกระบวนพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคดีรัฐธรรมนูญ การกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้อำนาจตาม รัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น หากรัฐธรรมนูญมุ่งประสงค์ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจกำหนดวิธีการชั่วคราวก่อน มีคำวินิจฉัย ต้องบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
คณะนิติราษฎร์เห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจก่อตั้งอำนาจกำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัยได้ ด้วยตนเอง โดยอาศัยแต่เพียงข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญฯ ข้อ ๖ เพื่อนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๖๔ มาใช้ เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้นำวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัยมาใช้ระงับยับยั้งกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งในลักษณะดังกล่าว จึงเป็นการเข้าแทรกแซงกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยไม่มีอำนาจกระทำได้
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญก่อตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และทำให้กลไกต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ดำเนินการไปได้ตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ แต่คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้กลับมีผลเป็นการทำลายกลไกการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้มอบอำนาจนี้ไว้ให้แก่รัฐสภาเท่านั้น อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ที่มีลำดับชั้นทางกฎหมายสูงกว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งอำนาจทั้งสามเป็นเพียงอำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญอีกทอดหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจตุลาการ เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการควบคุมตรวจสอบการแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถควบคุมตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังเช่น การควบคุมตรวจสอบพระราชบัญญัติมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญได้
อาศัยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด คณะนิติราษฎร์เห็นว่า
๑. ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจรับคำร้องในกรณีนี้ไว้พิจารณาได้ เนื่องจากการยื่นคำร้องในกรณีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกระบวนการและขั้นตอนตามที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘
๒. คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังนั้น คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้ จึงไม่มีผลผูกพันรัฐสภาให้ต้องรอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ
หากรัฐสภายอมรับให้คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญนี้มีสภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ย่อมส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถขยายแดนอำนาจของตนออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ อยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ และมีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตยลงอย่างสิ้นเชิงในที่สุด
คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
ท่าพระจันทร์, ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
ท่าพระจันทร์, ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
ที่มา.Siam Intelligence Unit
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ยกแรกศึกปรองดอง !!?
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ แต่กลไกการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังคงเดินหน้าไปตามกระบวนการในสภาฯ ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมจะมีทั้งฝ่ายที่ “เห็นด้วย” และ “คัดค้าน”
เช่นกรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่นัดชุมนุมใหญ่เพื่อ “คัดค้าน” ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ รวม 4 ฉบับที่นำเข้าสู่เวทีรัฐสภา ในวันดีเดย์ 30 พฤษภาคม... เป็นที่น่าจับตาใน 8 มาตราร้อน!! ที่ผ่านการชงญัตติโดย “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน กมธ.ปรองดองฯ และคณะรวม 35 รายชื่อ ด้วยเหตุผลเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติ โดย ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
แต่ทั้งนี้ ยังมีร่างของพรรคเพื่อไทยตามประกบอีก 3 ฉบับ กอปรไปด้วย ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองของ “สามารถ แก้วมีชัย” และฉบับที่เสนอโดย “นิยม วรปัญญา” และ คณะรวม 21 รายชื่อ นอกจากนั้นยังมี ร่างปรองดองฯ ฉบับ “เสื้อแดง” ผ่านการ “ผลักดัน” โดย “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มาเป็นแพ็กเกจคู่ เสนอร่วมกับ ส.ส.ในสัดส่วนกลุ่ม นปช.และแนวร่วมฯ
นั่นคือ “จุดเริ่มต้น” แห่งการเคลื่อน ไหวทางการเมืองเที่ยวล่าสุด ซึ่งบรรยากาศ การชุมนุมใหญ่ “กลุ่มพันธมิตรฯ” ในวัน ดังกล่าว... “มวลชนเสื้อเหลือง” ได้ทยอยกันมายัง “จุดนัดหมาย” บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ภายใต้กำกับคิวของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำ พธม. ที่พร้อมนำ “กลุ่มมวลชน” เคลื่อนขบวนไปยังอาคารรัฐสภาในเวลา 15.00 น. เพื่อยื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ถอนร่าง “พ.ร.บ.ปรองดอง” ทุกฉบับออกจากการพิจารณา
แกนนำพันธมิตรฯ ประกาศกร้าว บนเวทีชั่วคราวว่า...การชุมนุมพันธมิตรฯ ถือเป็นการ “ต่อต้าน” กฎหมายทำลายชาติทั้ง 4 ฉบับ และยืนยันว่าจะต่อสู้จนถึงที่สุด พร้อมทั้งวางกรอบให้ผู้ชุมนุมยึดมั่นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 อย่างเคร่งครัด โดย การชุมนุมอย่างสงบ และปราศจากอาวุธ
พร้อมกำชับหนักแน่น ให้ยึดแนวทาง ของเวทีหลักแห่งเดียวเท่านั้น และระวังไม่ให้ “หลงเชื่อ” ผู้ไม่ประสงค์ดีที่จะเชิญชวน ยั่วยุให้ก่อเหตุหรือสร้างสถานการณ์วุ่นวาย ส่วนประการสุดท้าย “พันธมิตรฯ” จะเคลื่อน มวลชนไปหน้ารัฐสภา สุดถนนอู่ทองในเท่านั้น สำหรับพื้นที่อื่นไม่ใช่พื้นที่การรับผิดชอบของ พันธมิตรฯ และหากมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใด จะมีการประกาศบนเวทีเท่านั้น!!!
ว่ากันว่า หากกลุ่มพันธมิตรฯ ยังไม่ได้รับ “สัญญาณ” ที่น่าพอใจ! ก็มีแนวโน้มสูงยิ่งว่า..จะมีการยกระดับการชุมนุม หรือปักหลักชุมนุมยืดเยื้อ ด้วยการปิดล้อมรัฐสภาแกนนำ พธม.ย้ำหัวตะปูว่า...ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์!!!
นอกจากนี้ บริเวณโดยรอบรัฐสภายังถือเป็น “จุดนัดหมาย” ของกลุ่มพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือ “เสื้อหลากสี” ภายใต้การนำของ “น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์” ที่ร่วมเปิดเวที...ล้มร่างปรองดองทั้ง 4 ฉบับ โดยมาพร้อมกับ “ม็อบบลูสกาย” ...กลุ่มมวลชนใต้ปีกพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้แห่กันมา “คัดค้าน” พ.ร.บ.ปรองดอง ด้วยเช่นกัน ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่าง เข้มข้น! โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งได้วางแผง รั้วเหล็ก ลวดหนาม มาปิดกั้นไว้ถึง 3 ชั้น และไม่อนุญาตให้รถทุกชนิดสัญจรผ่านไปมา
เช่นว่านี้...การชักแถว “ปิดล้อมรัฐสภา” ที่เคยเป็นแค่ “สีสัน” ทางการเมือง ทว่าด้วยสถานการณ์ที่สุกงอม ส่อเค้าจะ บานปลาย เมื่อทุกฝ่ายมุ่งเอาชนะคะคาน โดย ไม่คิดถอยกันคนละก้าว นั่นย่อมกลายเป็น “ชนวน” ที่นำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่
ยิ่งด้วย “เงื่อนไข” ในการชุมนุมของทั้งกลุ่มพันธมิตร เสื้อหลากสี หรือม็อบเฉพาะกิจ “บลูสกาย” ที่มาแบบจัดเต็ม ก็ยิ่งดูน่าหวั่นใจว่า อาจก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายในอนาคตอันใกล้นี้ ...ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือเวลานี้ “ประชาธิปัตย์” ได้เปิดไฟเขียว! ปล่อยแถวนักการเมืองให้ทิ้งเวทีสภาฯ แล้วหันมาเล่นเกมการเมืองข้างถนน ด้วยการร่วมขบวน “คัดค้าน” ร่างกฎหมายแก้กรรม ฉบับ “ลืมอดีต” หรือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ที่มีคิวพิจารณา กันในสภาฯ ก็ยิ่งทำให้เกิดแรงไหวเอนทาง การเมือง ที่อยู่ใต้ภาวะ “แขวน..บนเส้นด้าย”
โจทย์ที่ว่าด้วยการ “ปรองดอง” กำลังเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่ใกล้ถึงเวลา จุดชนวนเข้าไปทุกที แน่นอนว่าศึกการเมือง รอบนี้ แม้จะเป็นเพียงการ “เรียกน้ำย่อย” ในยกแรกแห่งสงครามครั้งสุดท้าย ซึ่งว่ากันตาม “เงื่อนไข” คงได้ฟัดกันอีกยาว!?!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เช่นกรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่นัดชุมนุมใหญ่เพื่อ “คัดค้าน” ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ รวม 4 ฉบับที่นำเข้าสู่เวทีรัฐสภา ในวันดีเดย์ 30 พฤษภาคม... เป็นที่น่าจับตาใน 8 มาตราร้อน!! ที่ผ่านการชงญัตติโดย “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน กมธ.ปรองดองฯ และคณะรวม 35 รายชื่อ ด้วยเหตุผลเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติ โดย ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
แต่ทั้งนี้ ยังมีร่างของพรรคเพื่อไทยตามประกบอีก 3 ฉบับ กอปรไปด้วย ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองของ “สามารถ แก้วมีชัย” และฉบับที่เสนอโดย “นิยม วรปัญญา” และ คณะรวม 21 รายชื่อ นอกจากนั้นยังมี ร่างปรองดองฯ ฉบับ “เสื้อแดง” ผ่านการ “ผลักดัน” โดย “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มาเป็นแพ็กเกจคู่ เสนอร่วมกับ ส.ส.ในสัดส่วนกลุ่ม นปช.และแนวร่วมฯ
นั่นคือ “จุดเริ่มต้น” แห่งการเคลื่อน ไหวทางการเมืองเที่ยวล่าสุด ซึ่งบรรยากาศ การชุมนุมใหญ่ “กลุ่มพันธมิตรฯ” ในวัน ดังกล่าว... “มวลชนเสื้อเหลือง” ได้ทยอยกันมายัง “จุดนัดหมาย” บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ภายใต้กำกับคิวของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำ พธม. ที่พร้อมนำ “กลุ่มมวลชน” เคลื่อนขบวนไปยังอาคารรัฐสภาในเวลา 15.00 น. เพื่อยื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ถอนร่าง “พ.ร.บ.ปรองดอง” ทุกฉบับออกจากการพิจารณา
แกนนำพันธมิตรฯ ประกาศกร้าว บนเวทีชั่วคราวว่า...การชุมนุมพันธมิตรฯ ถือเป็นการ “ต่อต้าน” กฎหมายทำลายชาติทั้ง 4 ฉบับ และยืนยันว่าจะต่อสู้จนถึงที่สุด พร้อมทั้งวางกรอบให้ผู้ชุมนุมยึดมั่นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 อย่างเคร่งครัด โดย การชุมนุมอย่างสงบ และปราศจากอาวุธ
พร้อมกำชับหนักแน่น ให้ยึดแนวทาง ของเวทีหลักแห่งเดียวเท่านั้น และระวังไม่ให้ “หลงเชื่อ” ผู้ไม่ประสงค์ดีที่จะเชิญชวน ยั่วยุให้ก่อเหตุหรือสร้างสถานการณ์วุ่นวาย ส่วนประการสุดท้าย “พันธมิตรฯ” จะเคลื่อน มวลชนไปหน้ารัฐสภา สุดถนนอู่ทองในเท่านั้น สำหรับพื้นที่อื่นไม่ใช่พื้นที่การรับผิดชอบของ พันธมิตรฯ และหากมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใด จะมีการประกาศบนเวทีเท่านั้น!!!
ว่ากันว่า หากกลุ่มพันธมิตรฯ ยังไม่ได้รับ “สัญญาณ” ที่น่าพอใจ! ก็มีแนวโน้มสูงยิ่งว่า..จะมีการยกระดับการชุมนุม หรือปักหลักชุมนุมยืดเยื้อ ด้วยการปิดล้อมรัฐสภาแกนนำ พธม.ย้ำหัวตะปูว่า...ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์!!!
นอกจากนี้ บริเวณโดยรอบรัฐสภายังถือเป็น “จุดนัดหมาย” ของกลุ่มพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือ “เสื้อหลากสี” ภายใต้การนำของ “น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์” ที่ร่วมเปิดเวที...ล้มร่างปรองดองทั้ง 4 ฉบับ โดยมาพร้อมกับ “ม็อบบลูสกาย” ...กลุ่มมวลชนใต้ปีกพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้แห่กันมา “คัดค้าน” พ.ร.บ.ปรองดอง ด้วยเช่นกัน ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่าง เข้มข้น! โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งได้วางแผง รั้วเหล็ก ลวดหนาม มาปิดกั้นไว้ถึง 3 ชั้น และไม่อนุญาตให้รถทุกชนิดสัญจรผ่านไปมา
เช่นว่านี้...การชักแถว “ปิดล้อมรัฐสภา” ที่เคยเป็นแค่ “สีสัน” ทางการเมือง ทว่าด้วยสถานการณ์ที่สุกงอม ส่อเค้าจะ บานปลาย เมื่อทุกฝ่ายมุ่งเอาชนะคะคาน โดย ไม่คิดถอยกันคนละก้าว นั่นย่อมกลายเป็น “ชนวน” ที่นำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่
ยิ่งด้วย “เงื่อนไข” ในการชุมนุมของทั้งกลุ่มพันธมิตร เสื้อหลากสี หรือม็อบเฉพาะกิจ “บลูสกาย” ที่มาแบบจัดเต็ม ก็ยิ่งดูน่าหวั่นใจว่า อาจก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายในอนาคตอันใกล้นี้ ...ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือเวลานี้ “ประชาธิปัตย์” ได้เปิดไฟเขียว! ปล่อยแถวนักการเมืองให้ทิ้งเวทีสภาฯ แล้วหันมาเล่นเกมการเมืองข้างถนน ด้วยการร่วมขบวน “คัดค้าน” ร่างกฎหมายแก้กรรม ฉบับ “ลืมอดีต” หรือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ที่มีคิวพิจารณา กันในสภาฯ ก็ยิ่งทำให้เกิดแรงไหวเอนทาง การเมือง ที่อยู่ใต้ภาวะ “แขวน..บนเส้นด้าย”
โจทย์ที่ว่าด้วยการ “ปรองดอง” กำลังเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่ใกล้ถึงเวลา จุดชนวนเข้าไปทุกที แน่นอนว่าศึกการเมือง รอบนี้ แม้จะเป็นเพียงการ “เรียกน้ำย่อย” ในยกแรกแห่งสงครามครั้งสุดท้าย ซึ่งว่ากันตาม “เงื่อนไข” คงได้ฟัดกันอีกยาว!?!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555
คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ...กด LIKE หรือ...กฎ LOW !!?
โดย : ดร.พีระพงษ์ ไพรินทร์
ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 มิได้วางหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งก่อนมีคำวินิจฉัยไว้ชัดเจน
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติรับคำร้องของบุคคล 5 กลุ่ม ซึ่งร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ว่า การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาอาจเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ซึ่งถือเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
โดยชี้แจงว่า เหตุที่ต้องพิจารณารับคำร้องด้วยความรวดเร็วเป็นผลเกี่ยวข้องกับสถานการณ์บ้านเมือง อีกทั้งยังมีคำสั่งไปยังเลขาธิการรัฐสภา ให้ระงับการลงมติในวาระที่ 3 ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาล ขณะเดียวกันก็นัดไต่สวนคู่กรณีในวันที่ 5-6 ก.ค.นี้ จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า
1.มติดังกล่าวอยู่ในขอบเขตอำนาจซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ อย่างไร หรือไม่
2.มติดังกล่าวส่งผลให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระที่ 3 ต้องหยุดไว้ก่อนหรือไม่
ประเด็น..มติดังกล่าวอยู่ในขอบเขตอำนาจซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ อย่างไร หรือไม่
แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญหรือ “Constitutional Court ” จะมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่ากฎหมายใดมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ และขัดกับสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หรือไม่ก็ตาม อำนาจดังกล่าวก็เป็นเพียงการทำหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักการที่เกี่ยวกับ “การทบทวนทางกฎหมาย” หรือ “The Power of Judicial Review” ดังเช่น ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของระบบการตรวจสอบและทบทวนความชอบด้วยกฎหมาย “legality” ทำให้ศาลฯสามารถเข้าไปตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หากระบุได้ว่าการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการออกกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญที่วางหลักไว้ สำหรับเยอรมันก็เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา
แต่การกระทำที่เกี่ยวกับความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศถือเป็นการกระทำในขอบอำนาจของรัฐบาลศาลไม่อาจเข้าไปทำการตรวจสอบได้ หากแต่ในฝรั่งเศส จะไม่มีองค์กรศาล ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย แต่จะมีองค์กรตรวจสอบกฎหมายและรับปรึกษาความชอบด้วยกฎหมายก่อนการบังคับใช้เป็นกฎหมายเท่านั้น
ดังนั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญไทย มีคำสั่งให้เลขาธิการรัฐสภา ระงับการลงมติยกร่างรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 ย่อมต้องถือว่า เป็นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายก่อนการที่รัฐสภา จะประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายซึ่งแตกต่างจากวิธีการของฝรั่งเศส ทั้งนี้ เพราะศาลฯได้ใช้อำนาจออกคำสั่ง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ประกอบมาตรา 112 อันเป็นกรณีที่ได้มีบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพร้องขอต่อศาลว่ามี “บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ” อีกทั้งศาลฯยังได้เร่งรัดให้มีคำสั่งโดยอ้างเหตุผลว่า หากล่าช้าอาจส่งผลต่อปัญหาสถานการณ์บ้านเมืองได้ ศาลฯจึงต้องใช้อำนาจ ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 4 และ ข้อ 17(2) ซึ่งเป็นเพียงการออกคำสั่งตามที่อ้างว่าตนมีอำนาจแต่ก็ยังมิได้มีคำวินิจฉัย ผู้เขียนจึงมีประเด็นที่สงสัยว่า
1. ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วางหลักให้บุคคลผู้ร้องต้องยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนแล้วจึงจะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยได้ หากศาลจะพิจารณาใช้อำนาจตามข้อกำหนด ข้อ 21 ที่ระบุว่า “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้” จึงจำเป็นต้องพิจารณาโดยเคร่งครัดว่า บุคคลผู้ร้องต้องไม่อาจใช้สิทธิด้วยวิธีการอื่นเท่านั้น จึงจะสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 วรรคสอง เหตุใดศาลจึงรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาทั้งที่ ยังมิได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุด
2. ต่อเมื่อข้อกำหนด ข้อ 4 มิได้ให้คำจำกัดความคำว่า “คำสั่ง” ไว้หากศาลจะมีคำสั่งใดๆ ก่อนมีคำวินิจฉัย ย่อมต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดฯ ข้อ 32 ที่วางหลักไว้ว่า “ในการพิจารณาคดีของศาล หากศาลเห็นว่าคดีใดมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ศาลอาจประชุมปรึกษาเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยโดยไม่ทำการไต่สวนก็ได้ ” ดังนั้น กรณีนี้ จึงเป็นประเด็นที่ศาลฯมีคำสั่ง ก่อนการนัดไต่สวนคู่ความ ทั้งที่ยังมิได้มีคำวินิจฉัยใดๆ เลย
3. ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 วางหลักไว้ว่า บุคคลจะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ต้องมีเหตุที่ว่า “การมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ” การยกร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภาในวาระที่ 1 2 และ 3 จึงเป็นการกระทำก่อนที่จะมีกฎหมายบัญญัติมิใช่เป็นการกระทำที่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้แล้ว อีกทั้งตามรัฐธรรมนูญฯ และข้อกำหนดวิธีการพิจารณาและวินิจฉัยของศาล ก็มิได้วางหลักเกี่ยวกับการออกคำสั่งก่อนการที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้แต่อย่างใด เหตุใดศาลจึงใช้ดุลพินิจให้มีการออกคำสั่งดังกล่าว หรือหากจะอ้างเรื่องอื่นมาเทียบเคียงแล้วนำมาปรับใช้ก็ย่อมมีข้อสงสัยว่า เหตุใดศาลจึงไม่พิจารณาถึงความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกวินาที
โดยสรุป เมื่อบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้มีขั้นตอนซึ่งบุคคลผู้ร้องต้องปฏิบัติ ก่อนที่ศาลจะพิจารณาไต่สวนคำร้อง อีกทั้งยังก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญว่า มีอำนาจออกคำสั่งก่อนมีคำวินิจฉัยได้ ประกอบกับข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ก็มิได้วางหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งก่อนมีคำวินิจฉัยไว้อย่างชัดเจน ศาลจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ จึงเป็นเหตุให้ศาลไม่มีอำนาจออกคำสั่งดังกล่าวและยังเป็นการก้าวล่วงต่อกระบวนวิธีพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติอีกด้วย
ประเด็น..มติดังกล่าวส่งผลให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระที่ 3 ต้องหยุดไว้ก่อน หรือไม่
ต่อประเด็นข้างต้น ผู้เขียนจึงเห็นว่า ไม่มีเหตุผลความจำเป็นใดๆ ที่เลขาธิการรัฐสภาจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว
ดังนั้น ท่านผู้อ่านได้โปรดพิจารณาและไตร่ตรองด้วยตนเองเถอะครับว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ท่านจะ...กด LIKE หรือ...กฎ LOW
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 มิได้วางหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งก่อนมีคำวินิจฉัยไว้ชัดเจน
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติรับคำร้องของบุคคล 5 กลุ่ม ซึ่งร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ว่า การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาอาจเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ซึ่งถือเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
โดยชี้แจงว่า เหตุที่ต้องพิจารณารับคำร้องด้วยความรวดเร็วเป็นผลเกี่ยวข้องกับสถานการณ์บ้านเมือง อีกทั้งยังมีคำสั่งไปยังเลขาธิการรัฐสภา ให้ระงับการลงมติในวาระที่ 3 ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาล ขณะเดียวกันก็นัดไต่สวนคู่กรณีในวันที่ 5-6 ก.ค.นี้ จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า
1.มติดังกล่าวอยู่ในขอบเขตอำนาจซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ อย่างไร หรือไม่
2.มติดังกล่าวส่งผลให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระที่ 3 ต้องหยุดไว้ก่อนหรือไม่
ประเด็น..มติดังกล่าวอยู่ในขอบเขตอำนาจซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ อย่างไร หรือไม่
แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญหรือ “Constitutional Court ” จะมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่ากฎหมายใดมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ และขัดกับสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หรือไม่ก็ตาม อำนาจดังกล่าวก็เป็นเพียงการทำหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักการที่เกี่ยวกับ “การทบทวนทางกฎหมาย” หรือ “The Power of Judicial Review” ดังเช่น ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของระบบการตรวจสอบและทบทวนความชอบด้วยกฎหมาย “legality” ทำให้ศาลฯสามารถเข้าไปตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หากระบุได้ว่าการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการออกกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญที่วางหลักไว้ สำหรับเยอรมันก็เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา
แต่การกระทำที่เกี่ยวกับความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศถือเป็นการกระทำในขอบอำนาจของรัฐบาลศาลไม่อาจเข้าไปทำการตรวจสอบได้ หากแต่ในฝรั่งเศส จะไม่มีองค์กรศาล ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย แต่จะมีองค์กรตรวจสอบกฎหมายและรับปรึกษาความชอบด้วยกฎหมายก่อนการบังคับใช้เป็นกฎหมายเท่านั้น
ดังนั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญไทย มีคำสั่งให้เลขาธิการรัฐสภา ระงับการลงมติยกร่างรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 ย่อมต้องถือว่า เป็นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายก่อนการที่รัฐสภา จะประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายซึ่งแตกต่างจากวิธีการของฝรั่งเศส ทั้งนี้ เพราะศาลฯได้ใช้อำนาจออกคำสั่ง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ประกอบมาตรา 112 อันเป็นกรณีที่ได้มีบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพร้องขอต่อศาลว่ามี “บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ” อีกทั้งศาลฯยังได้เร่งรัดให้มีคำสั่งโดยอ้างเหตุผลว่า หากล่าช้าอาจส่งผลต่อปัญหาสถานการณ์บ้านเมืองได้ ศาลฯจึงต้องใช้อำนาจ ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 4 และ ข้อ 17(2) ซึ่งเป็นเพียงการออกคำสั่งตามที่อ้างว่าตนมีอำนาจแต่ก็ยังมิได้มีคำวินิจฉัย ผู้เขียนจึงมีประเด็นที่สงสัยว่า
1. ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วางหลักให้บุคคลผู้ร้องต้องยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนแล้วจึงจะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยได้ หากศาลจะพิจารณาใช้อำนาจตามข้อกำหนด ข้อ 21 ที่ระบุว่า “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้” จึงจำเป็นต้องพิจารณาโดยเคร่งครัดว่า บุคคลผู้ร้องต้องไม่อาจใช้สิทธิด้วยวิธีการอื่นเท่านั้น จึงจะสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 วรรคสอง เหตุใดศาลจึงรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาทั้งที่ ยังมิได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุด
2. ต่อเมื่อข้อกำหนด ข้อ 4 มิได้ให้คำจำกัดความคำว่า “คำสั่ง” ไว้หากศาลจะมีคำสั่งใดๆ ก่อนมีคำวินิจฉัย ย่อมต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดฯ ข้อ 32 ที่วางหลักไว้ว่า “ในการพิจารณาคดีของศาล หากศาลเห็นว่าคดีใดมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ศาลอาจประชุมปรึกษาเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยโดยไม่ทำการไต่สวนก็ได้ ” ดังนั้น กรณีนี้ จึงเป็นประเด็นที่ศาลฯมีคำสั่ง ก่อนการนัดไต่สวนคู่ความ ทั้งที่ยังมิได้มีคำวินิจฉัยใดๆ เลย
3. ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 วางหลักไว้ว่า บุคคลจะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ต้องมีเหตุที่ว่า “การมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ” การยกร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภาในวาระที่ 1 2 และ 3 จึงเป็นการกระทำก่อนที่จะมีกฎหมายบัญญัติมิใช่เป็นการกระทำที่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้แล้ว อีกทั้งตามรัฐธรรมนูญฯ และข้อกำหนดวิธีการพิจารณาและวินิจฉัยของศาล ก็มิได้วางหลักเกี่ยวกับการออกคำสั่งก่อนการที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้แต่อย่างใด เหตุใดศาลจึงใช้ดุลพินิจให้มีการออกคำสั่งดังกล่าว หรือหากจะอ้างเรื่องอื่นมาเทียบเคียงแล้วนำมาปรับใช้ก็ย่อมมีข้อสงสัยว่า เหตุใดศาลจึงไม่พิจารณาถึงความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกวินาที
โดยสรุป เมื่อบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้มีขั้นตอนซึ่งบุคคลผู้ร้องต้องปฏิบัติ ก่อนที่ศาลจะพิจารณาไต่สวนคำร้อง อีกทั้งยังก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญว่า มีอำนาจออกคำสั่งก่อนมีคำวินิจฉัยได้ ประกอบกับข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ก็มิได้วางหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งก่อนมีคำวินิจฉัยไว้อย่างชัดเจน ศาลจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ จึงเป็นเหตุให้ศาลไม่มีอำนาจออกคำสั่งดังกล่าวและยังเป็นการก้าวล่วงต่อกระบวนวิธีพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติอีกด้วย
ประเด็น..มติดังกล่าวส่งผลให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระที่ 3 ต้องหยุดไว้ก่อน หรือไม่
ต่อประเด็นข้างต้น ผู้เขียนจึงเห็นว่า ไม่มีเหตุผลความจำเป็นใดๆ ที่เลขาธิการรัฐสภาจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว
ดังนั้น ท่านผู้อ่านได้โปรดพิจารณาและไตร่ตรองด้วยตนเองเถอะครับว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ท่านจะ...กด LIKE หรือ...กฎ LOW
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จาตุรนต์ ชี้ ศาล รธน. สั่งชะลอแก้ไข รธน. คือรัฐประหารโดยตุลาการ !!?
3 มิถุนายน 2555 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้สภาชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ในวาระที่ 3 ว่า ถือเป็นการรัฐประหารโดยใช้อำนาจตุลาการภิวัฒน์ เข้ามาแทรกแซงการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากตัวแทนของประชาชน
นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีผลผูกพันในทางกฎหมาย และไม่มีอำนาจเข้ามาวินิจฉัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพียงแต่มีหน้าที่ในการวินิจฉัยว่ากฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่จะออกมาบังคับใช้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องของ ส.ส. และประชาชน
"รัฐสภาไม่ควรดำเนินการตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ให้เดินหน้าตามมาตรา 291/5 พิจารณาลงมติในวาระที่ 3 ได้ทันที" นายจาตุรนต์กล่าว
อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ยังเรียกร้องให้ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวเพื่อล่าลายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีการลงมติในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากตุลาการได้ใช้อำนาจขัดรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา 68 ที่จะต้องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเท่านั้น ซึ่งศาลไม่สามารถรับเรื่องจากประชาชนมาพิจารณาได้เอง
"ขณะนี้สิ่งที่ควรทำคือ การทำความเข้าใจกับประชาชนผู้สนใจปัญหาบ้านเมือง และผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายให้ทราบว่าขณะนี้เกิดกระบวนการรัฐประหารโดยตุลาการภิวัฒน์แล้ว ที่เกิดการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญซึ่งจะเป็นภัยร้ายแรงต่อประชาธิปไตยของประเทศ เพื่อที่จะหาทางสกัดกั้นกระบวนการนี้กันใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่ร่วมในกระบวนการนี้เป็นผู้ที่จะมีอำนาจวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ ผลที่ตามมาคือถ้าไม่มีแรงต่อต้าน ไม่มีการแสดงความเห็นเชิงหลักการให้หนักแน่นเพียงพอก็ยากที่จะทัดทานตุลาภิวัฒน์นี้ได้ " นายจาตุรนต์ ระบุ
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีผลผูกพันในทางกฎหมาย และไม่มีอำนาจเข้ามาวินิจฉัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพียงแต่มีหน้าที่ในการวินิจฉัยว่ากฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่จะออกมาบังคับใช้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องของ ส.ส. และประชาชน
"รัฐสภาไม่ควรดำเนินการตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ให้เดินหน้าตามมาตรา 291/5 พิจารณาลงมติในวาระที่ 3 ได้ทันที" นายจาตุรนต์กล่าว
อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ยังเรียกร้องให้ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวเพื่อล่าลายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีการลงมติในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากตุลาการได้ใช้อำนาจขัดรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา 68 ที่จะต้องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเท่านั้น ซึ่งศาลไม่สามารถรับเรื่องจากประชาชนมาพิจารณาได้เอง
"ขณะนี้สิ่งที่ควรทำคือ การทำความเข้าใจกับประชาชนผู้สนใจปัญหาบ้านเมือง และผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายให้ทราบว่าขณะนี้เกิดกระบวนการรัฐประหารโดยตุลาการภิวัฒน์แล้ว ที่เกิดการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญซึ่งจะเป็นภัยร้ายแรงต่อประชาธิปไตยของประเทศ เพื่อที่จะหาทางสกัดกั้นกระบวนการนี้กันใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่ร่วมในกระบวนการนี้เป็นผู้ที่จะมีอำนาจวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ ผลที่ตามมาคือถ้าไม่มีแรงต่อต้าน ไม่มีการแสดงความเห็นเชิงหลักการให้หนักแน่นเพียงพอก็ยากที่จะทัดทานตุลาภิวัฒน์นี้ได้ " นายจาตุรนต์ ระบุ
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555
รัฐสภา ปฏิเสธคำสั่ง ศาลรัฐธรรมนูญ ได้หรือไม่ !!?
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
นักกฎหมายอิสระ
1 มิถุนายน 2555 เป็นวันประวัติศาสตร์ที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ได้อ้างอำนาจตาม “รัฐธรรมนูญ มาตรา 68” เพื่อรับคำร้องมาวินิจฉัยว่า การดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยรัฐสภาและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นกรณีที่ศาลจะสั่งการให้ “เลิกการกระทำ” ได้หรือไม่
นอกจากนี้ ศาลได้มี “คำสั่ง” ไปยังเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อแจ้งให้รัฐสภารอการดำเนินการดังกล่าวจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย โดยข้อมูลจากรายงานข่าวนั้น ไม่ชัดเจนว่าศาลได้สั่งไปยัง “สมาชิกรัฐสภา” โดยเจาะจง หรือเป็นเพียงการสั่งไปยัง “เลขาธิการ” เพื่อ “แจ้งสภาให้ทราบ” เท่านั้น (อ้างอิง http://on.fb.me/LQrM7w)
ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ผู้เขียนขออาศัยวันเดียวกันเขียนเชิญชวนให้เรา โดยเฉพาะ “บรรดาผู้แทนของเรา” ร่วมกันใคร่ครวญว่า “รัฐสภา” ในฐานะ “ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแทนปวงชนชาวไทยเพื่อถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารและตุลาการ” นั้น จะสามารถ “ปฏิเสธคำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ?
ในขั้นแรก รัฐธรรมนูญ ได้กำหนดว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา…” แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่า “คำสั่ง” ของศาลนั้น มีผลผูกพันเด็ดขาดต่อรัฐสภาหรือไม่
ในขั้นต่อมา การที่รัฐสภาจะตัดสินใจปฏิเสธหรือปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ของศาลหรือไม่นั้น รัฐสภาจะต้องปฏิบัติตาม “รัฐธรรมนูญ” อย่างน้อยสี่มาตรา คือ
มาตรา 3 วรรค 2 บัญญัติว่า ทั้งรัฐสภาและศาล ต่างต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม
มาตรา 6 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายอื่นจะมาขัดแย้งมิได้
มาตรา 291 (5) บัญญัติให้ รัฐสภามีหน้าที่ต้องพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่สาม เมื่อพ้น 15 วันหลังเสร็จสิ้นการพิจารณาวาระที่สอง
และที่สำคัญ คือ มาตรา 122 ซึ่งบัญญัติว่า
“สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์”ดังนั้น ประเด็นที่ “รัฐสภา” ต้องพิจารณาก็คือ หาก “รัฐสภา” ปฎิบัติตาม “คำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วไซร้ จะเกิดผลอะไรต่อบทบัญญัติทั้งสี่มาตราที่กล่าวมานี้ ?
กล่าวอย่างตรงไปตรงมาก็คือ หากการปฎิบัติตาม “คำสั่งศาล” ดังกล่าว มีผลเป็นการยอมรับการใช้อำนาจที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นการขัดหลักนิติธรรมทั้งโดยศาลและรัฐสภา เป็นการละเมิดกำหนดเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ อีกทั้งส่งผลให้ผู้แทนปวงชนชาวตกอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำ ของศาลแล้วไซร้ รัฐสภาย่อมมี “หน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญที่จะปฏิเสธ “คำสั่ง” ดังกล่าว !
หาก “รัฐสภา” สำนึกในหน้าที่ของตนได้ดังนี้ ผู้เขียนก็จะขอเสนอคำถามเบื้องต้นที่อาจช่วยตรวจสอบว่า “คำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่านั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
คำถามแรก: ศาลใช้อำนาจ “เกินกรอบ” มาตรา 68 หรือไม่ ?
รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรก บัญญัติว่า“บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้”ถ้อยคำของ มาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเฉพาะการกระทำที่เป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง…ฯ เท่านั้น ซึ่ง “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ย่อมเป็นคนละเรื่องกับ “การใช้อำนาจหน้าที่” เช่น การลงมติสนับสนุนหรือเห็นชอบการแก้ไข มาตรา 291
ลักษณะสำคัญของ “การใช้สิทธิเสรีภาพ” คือ ผู้กระทำได้อ้าง “สิทธิเสรีภาพ” เพื่อประโยชน์ของตนตามที่ตนปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ และจะใช้หรืออ้าง “สิทธิเสรีภาพ” หรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างการกระทำที่อาจเข้าข่าย มาตรา 68 อาจมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การดำเนินนโยบายพรรคการเมืองเพื่อยุยงให้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ การนัดชุมนุมเพื่อทำให้คณะรัฐมนตรี รัฐสภาหรือศาลไม่อาจทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
แต่ “การใช้อำนาจหน้าที่” นั้น หมายถึง ผู้กระทำมิอาจเลือกได้อย่างอิสระว่า ตนจะกระทำหรือไม่กระทำเพื่อประโยชน์ของตนตามที่ปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ แต่เป็นกรณีที่ผู้กระทำถูกกำหนดให้กระทำไปเพราะมีอำนาจหน้าที่ต้องกระทำหรือต้องใช้ดุลพินิจกระทำไปในฐานะส่วนหนึ่งของกลไลตามรัฐธรรมนูญ
เช่น การที่สมาชิกรัฐสภาจะเสนอญัตติ หรือออกเสียงลงคะแนน หรือกระทำการอื่นที่เกี่ยวกับการแก้ไข มาตรา 291 ก็ถือเป็น “การใช้อำนาจหน้าที่” ซึ่งการใช้ดุลพินิจย่อมไม่อิสระ แต่อยู่ภายใต้ มาตรา 122 กล่าวคือ จะอ้างว่ามีเสรีภาพใช้ดุลพินิจเพื่อตนเองหรือผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้ และจะสงวนการใช้สิทธิเสรีภาพว่าขอละเว้น ไม่รับรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการทำหน้าที่ในสภาก็ไม่ได้ เช่นกัน เป็นต้น
ข้อที่สำคัญกว่านั้น คือ หากมี “การตีความปะปน” ว่า “การใช้อำนาจหน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญ กลายเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ตาม มาตรา 68 ไปเสียแล้ว ก็จะส่งผลแปลกประหลาดทำให้ ศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นองค์กรที่มีเขตอำนาจล้นพ้น สามารถรับเรื่องมาวินิจฉัยการใช้อำนาจหน้าที่ได้มากมาย
เช่น การใช้อำนาจของคณะองคมนตรีในการเสนอชื่อผู้สมควรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตาม มาตรา 19 การใช้อำนาจของรัฐสภาในการเห็นชอบการประกาศสงครามตาม มาตรา 189 การใช้อำนาจของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาในการเลือกผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 204 ก็อาจล้วนถูกศาลตรวจสอบได้ เป็นต้น
หรือแม้แต่การเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง หากมีผู้อ้างว่าเป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง…ฯ ก็จะกลายเป็นว่า สามารถถูกตรวจสอบโดยศาลได้ โดยไม่ต้องรอให้มีการพิจารณาตามวาระของรัฐสภาเสียด้วยซ้ำ และอาจนำไปสู่การยุบพรรคหรือตัดสิทธิทางการเมืองได้อีกด้วย !
ยิ่งไปกว่านั้น หาก “สิทธิการยื่นคำร้อง” ตามมาตรา 68 ถูกตีความอย่างพร่ำเพรื่อ เช่น อ้างอำนาจตุลาการมายับยั้งการใช้ดุลพินิจของผู้แทนปวงชนได้ทุกกรณีแล้วไซร้ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” นี้เองอาจกลับกลายมาถูกนำมาใช้ในทางที่เป็น “ปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ” ทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อหลักการใช้สิทธิตาม มาตรา 28 อีกด้วย
(อนึ่ง ผู้เขียนน้อมรับหากมีผู้เห็นต่างเรื่องสิทธิหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและการแยกแยะสถานะของ “เอกชน” และ “รัฐ” ซึ่งก็หวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนในทางวิชาการต่อไป)
คำถามที่สอง: ศาลใช้อำนาจ “ข้ามขั้นตอน” อัยการสูงสุดหรือไม่ ?
รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติว่า“ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว”ศาลตีความว่า ผู้ที่จะนำคดีมาสู่ศาล จะเสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องต่อศาลก็ได้ หรือ จะยื่นคำร้องเองโดยตรงต่อศาลเลยก็ได้ ดังนั้น ศาลจึงรับคำร้องได้โดยไม่ต้องรออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
คำถามก็คือ การตีความที่ว่านี้ ขัดต่อทั้งถ้อยคำและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งสร้างผลประหลาดตามมาหรือไม่
หากพิจารณาถ้อยคำ มาตรา 68 ว่า “มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย” การตีความของศาลทำให้เกิดปัญหาทางภาษาอย่างน้อย 2 ระดับ ระดับแรก คือ เสมือนศาลได้แทนคำว่า “และ” ด้วยคำว่า “หรือ” และระดับที่สอง คือ ศาลได้ใช้ตรรกะภาษาที่ตีความขัดกับรูปประโยค เพราะหากศาลมองคำว่า “และ” ให้แปลว่า “หรือ” ก็จะเท่ากับว่า รูปประโยคไม่ได้ให้อำนาจ “อัยการสูงสุด” เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล
หากพิจารณาในแง่เจตนารมณ์ จะเห็นว่า “อัยการสูงสุด” มีบทบาทจำเป็นในการกรองคดี เพราะศาลไม่มีทรัพยากรที่จะไปตรวจสอบหรือสืบสวนการ “ล้มล้างการปกครองฯ…” ซึ่งอาจมีข้อเท็จจริงและพฤติกรรมที่ต้องอาศัยพยานหลักฐานจำนวนมาก เห็นได้จาก คดีอื่นในทางมหาชน เช่น คดีทุจริต หรือ คดีพรรคการเมือง ก็จะมี อัยการ ป.ป.ช. หรือ กกต. เป็นผู้นำคดีมาสู่ศาล หรือ หากเป็นคดีที่ฟ้องตรงได้ต่อศาล ก็จะต้องเป็นกรณีที่วินิจฉัยข้อกฎหมายและมีข้อจำกัดในเรื่องผู้มีสิทธินำคดีมาสู่ศาล อีกทั้งป้องกันการกล่าวอ้างสารพัดมาเพื่อสร้างภาระคดีต่อศาลโดยตรง
การให้ความสำคัญกับอัยการสูงสุด ยังปรากฏหลักฐานจาก “รายงานการประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ” ครั้งที่ 27/2550 เช่น คำอภิปรายโดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ในหน้าที่ 6-8 และนายจรัญ ภักดีธนากุล (ผู้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในเวลานี้) ในหน้าที่ 32-34 ซึ่งอภิปรายถึงการให้อัยการสูงสุดเป็นผู้นำคดีไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ได้กล่าวถึงการให้สิทธิบุคคลอื่นยื่นเรื่องโดยตรงต่อศาลแต่อย่างใด (อ้างอิง http://bit.ly/Mg9kLY)
นอกจากนี้ การตีความของศาลก็ส่งผลประหลาด คือ ทำให้บทบาทของ “อัยการสูงสุด” ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลนั้นไร้ความหมาย เพราะหากผู้ใดจะนำคดีไปสู่ศาล ก็ย่อมยื่นต่อศาลโดยไม่เสนอเรื่องผ่านอัยการ และหากผู้อื่นเสนอเรื่องเดียวกันให้อัยการในเวลาเดียวกัน ก็จะเกิดคำถามตามมาว่าอัยการต้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไปหรือไม่ เพราะศาลได้รับคำร้องเรื่องเดียวกันจากผู้อื่นที่ยื่นตรงต่อศาลไปแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น การที่ มาตรา 68 ให้ศาลมีอำนาจ “ยุบพรรคการเมือง” หรือ “ตัดสิทธิทางการเมือง” ก็คือการให้ตุลาการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมี “อัยการ” เป็นกลไกในการกรองคดี แต่หากศาลตีความเพิ่มอำนาจให้ตนเองได้อย่างกว้างขวางแล้ว ก็จะเป็นช่องทางให้มีผู้ใช้ตุลาการเป็นอาวุธทางการเมือง ซึ่งก็จะกลับมาทำร้ายตุลาการในที่สุด
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ผู้เขียนไม่ปฏิเสธเลยว่าการแก้ไข มาตรา 291 มีปัญหาและความไม่สง่างามหลายประการ แต่นั่นคือปัญหาที่รัฐสภาเสียงข้างมากต้องรับผิดชอบทางการเมือง และประชาชนก็ต้องจ่ายราคาของประชาธิปไตยที่จะอดทนเรียนรู้และตัดสินใจได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป แต่ประชาชนจะไม่มีวันเรียนรู้โดยตัวเองเลย หากเราปล่อยให้มีเสียงข้างน้อยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนำมาตรฐานจริยธรรมและความพึงพอใจทางการเมืองส่วนตนมาลากประชาชนไปสู่ทางออกที่ตนยังไม่ทันได้เข้าใจดังนั้น หาก “รัฐสภา” พิจารณาได้ว่า “คำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นเพราะ “เกินกรอบ” และ “ข้ามขั้นตอน” ตามตามที่อธิบายมาก็ดี หรือ เพราะขัดหลักนิติธรรม หรือหลักการแบ่งแยกอำนาจ หรือ หลักอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญก็ดี (หรือสภาเห็นช่องทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการอนุโลมกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลกำหนดขึ้นเอง “ระหว่างรอกฎหมาย” จากรัฐสภาก็ดี!) “รัฐสภา” ย่อมมี “หน้าที่” ที่จะต้องปฎิเสธและไม่ปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ดังกล่าว เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญแทนปวงชนชาวไทย อีกทั้งต้องร่วมต่อต้าน ดำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งพิจารณาถอดถอนผู้ใดที่จงใจใช้อำนาจนอกวิถีรัฐธรรมนูญ
แต่หากประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาปฏิบัติตาม “คำสั่ง” อันขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย อีกทั้งยัง “ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่” เมื่อพ้นเวลา 15 วันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้วไซร้ ก็พึงสังวรว่า กลับเป็นประธานและสมาชิกรัฐสภาหรือไม่ ที่ร่วมลงมือละเมิดรัฐธรรมนูญของประชาชน และอาจต้องโทษอาญาเสียเอง
ที่มา.Siam Intelligence Unit
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อดีตคณบดีนิติ มธ. ชี้ ตุลาการ รธน. ละเมิดรธน. เสียเอง เสนอเข้าชื่อถอดถอน !!?
พนัส ทัศนียานนท์ – ปิยบุตร แสงกนกกุลชี้ ตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งสภาผู้แทนราษฎรระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน เป็นคำสั่งที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเองและขัดต่อหลักแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย เสนอล่าชื่อถอดถอน ด้านพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล แจงวุฒิสมาชิกลงคะแนน 3 ใน 5 ถอดตุลาการรัฐธรรมนูญได้
ภายหลังตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติ 5 ต่อ 4 รับคำร้องพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สภาผู้แทนราษฎรกำลังดำเนินนั้นมีลักษณะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งยังมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัยด้วย
โดยนายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ได้ร่วมกันแถลงว่า “เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ศาลมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัย นอกจากนี้ ให้ ครม. , รัฐสภา, พรรคเพื่อไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา, นายสุนัย และนายภราดร มีหนังสือชี้แจงต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งสำเนาคำร้องและนัดคู่กรณีไต่สวนวันที่ 5-6 ก.ค.2555 เวลา 09.30 น. ซึ่งตุลาการจะเป็นการออกนั่งบัลลังก์ และหากไต่สวนได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว คณะตุลาการก็อาจนัดวันฟังคำวินิจฉัยได้เลย แต่หากข้อเท็จจริงยังไม่ครบถ้วนก็อาจไต่สวนเพิ่มเติมได้"
ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ แสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ
วันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 3 ประการคือ
1 ต่อไปนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กุมชะตากรรมของ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ทุกครั้ง
2 ลำดับชั้นของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ จะเสียไปทั้งหมด
3 การสั่งให้สภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ชั่วคราว ไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้เลย แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถไปเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ นั่นหมายความว่า อนาคตอาจมีอีก
“ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นมาเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กลับเป็นองค์กรที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเอง แล้วจะทำอย่างไร?” นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ตั้งคำถาม
ขณะที่นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง แสดงความเห็นว่าการวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และเสนอให้รวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอน และได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กในคืนวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า
“การที่ศาลรธน.มีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบทบัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้น จึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่รธน.บัญญัติไว้”
“รัฐสภาคือตัวแทนอำนาจสูงสุดของประชาชน จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยเรื่องอำนาจกนิติบัญญัติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด ตามหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของอังกฤษ ซึ่งเราถือเป็นแบบอย่าง เขาถือว่ารัฐสภามีอำนาจสูงสุดตามหลัก Supremacy of Parliament”
อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษากฎหมายได้แสดงความเห็นว่า คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเองนั้นย่อมไม่มีผลผูกพันบรรดาองค์กรต่างๆ ของรัฐ และเห็นว่าจะต้องแสดงความไม่ยอมรับต่อคำวินิจฉัยดังกล่าว ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำลายระบบในระยะยาว โดยผู้มีอำนาจในการถอดถอนตุลาการัฐธรรมนุญนั้นทำได้โดยวุฒิสภา ด้วยเสียง 3 ใน 5 ตามมาตรา 209 (6) ประกอบมาตรา 274 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.พ.ศ. 2550
"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ" ตามมาตรา 216วรรคห้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ย่อมหมายถึงเฉพาะ 'คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ' เท่านั้นครับ หากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเองแล้ว ย่อมเป็น "คำวินิจฉัย" ที่ปราศจากฐานรองรับตามรัฐธรรมนูญ (unconstitutional actions) เช่นนี้ "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเช่นว่านั้น" ย่อมไม่ผูกพัน 'บรรดาองค์กรใดๆของรัฐ' ตามมาตรา 216 วรรคห้า ซึ่งการไม่ผูกพันสามารถแสดงออกโดยผ่านวิธี "เพิกเฉย" (ignored) ต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเช่นว่านั้น ไม่ยอมบังคับผูกพันต่อคำวินิจฉัยที่ขัดรัฐธรรมนูญ นี่เป็นวิธีกระทำต่อตัวคำวินิจฉัย (นอกไปจากวิธีลบล้างโดยอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) (efficacy as condition of validity) แต่ถ้ากระทำต่อตัว 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ก็ต้องถอดถอนโดยวุฒิสภา ตามมาตรา 209 (6) ประกอบมาตรา274 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
“นี่เป็นวิธีการอย่างเร็วในการยับยั้งอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนะครับ ถ้าไป "รับตามคำบังคับ" มันจะเป็นคำสั่งที่จะดำรงอยู่ในระบบกฎหมายต่อไป และระบบจะไม่เป็นระบบ จะไม่สามารถอธิบายในทางหลักวิชาได้เลย และทำลายโครงสร้างทั่วไปของ รัฐธรรมนูญในที่สุดครับ”
ที่มาของมติตุลาการรัฐธรรมนุญมาจากคำร้องของ 1.พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว. 2.นายวันธงชัย ชำนาญกิจ 3.นายวิรัตน์ กัลยาศิริ 4. นายวรินทร์ เทียมจรัส 5.นายบวร ยสินทร และคณะ ที่ยื่นหนังสือให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐสภา พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา นายสุนัย จุลพงศธรและคณะ และนายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลทำให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
โดยคำร้องดังกล่าวขอให้ตุลาการวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
สำหรับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน เป็นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ 3 ของไทย จัดตั้งขึ้นตามความในมาตรา 300 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดแรกถูกยุบไปภายหลังจากที่มีจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ภายหลังจากการรัฐประหาร ได้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นชุดที่ 2 โดยมีอำนาจตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งมาตรา 300 ได้กำหนดให้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็น ศาลรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายหลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
หมายเหตุ
รัฐธรรมนูญ มาตรา 209 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(3) ลาออก
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 205
(5) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา207
(6) วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
(7) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใต้บังคับมาตรา 216
รัฐธรรมนูญมาตรา 274 สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลาห้าปี
มติของวุฒิสภาตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อ่านเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ไทยโพสต์: ล้มการปกครอง! มติ5:4รอวินิจฉัยชำเรารัฐธรรมนูญโหวตวาระ3สะดุด
ที่มา:ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โดยนายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ได้ร่วมกันแถลงว่า “เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ศาลมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัย นอกจากนี้ ให้ ครม. , รัฐสภา, พรรคเพื่อไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา, นายสุนัย และนายภราดร มีหนังสือชี้แจงต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งสำเนาคำร้องและนัดคู่กรณีไต่สวนวันที่ 5-6 ก.ค.2555 เวลา 09.30 น. ซึ่งตุลาการจะเป็นการออกนั่งบัลลังก์ และหากไต่สวนได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว คณะตุลาการก็อาจนัดวันฟังคำวินิจฉัยได้เลย แต่หากข้อเท็จจริงยังไม่ครบถ้วนก็อาจไต่สวนเพิ่มเติมได้"
ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ แสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ
วันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 3 ประการคือ
1 ต่อไปนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กุมชะตากรรมของ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ทุกครั้ง
2 ลำดับชั้นของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ จะเสียไปทั้งหมด
3 การสั่งให้สภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ชั่วคราว ไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้เลย แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถไปเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ นั่นหมายความว่า อนาคตอาจมีอีก
“ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นมาเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กลับเป็นองค์กรที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเอง แล้วจะทำอย่างไร?” นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ตั้งคำถาม
ขณะที่นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง แสดงความเห็นว่าการวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และเสนอให้รวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอน และได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กในคืนวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า
“การที่ศาลรธน.มีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบทบัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้น จึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่รธน.บัญญัติไว้”
“รัฐสภาคือตัวแทนอำนาจสูงสุดของประชาชน จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยเรื่องอำนาจกนิติบัญญัติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด ตามหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของอังกฤษ ซึ่งเราถือเป็นแบบอย่าง เขาถือว่ารัฐสภามีอำนาจสูงสุดตามหลัก Supremacy of Parliament”
อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษากฎหมายได้แสดงความเห็นว่า คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเองนั้นย่อมไม่มีผลผูกพันบรรดาองค์กรต่างๆ ของรัฐ และเห็นว่าจะต้องแสดงความไม่ยอมรับต่อคำวินิจฉัยดังกล่าว ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำลายระบบในระยะยาว โดยผู้มีอำนาจในการถอดถอนตุลาการัฐธรรมนุญนั้นทำได้โดยวุฒิสภา ด้วยเสียง 3 ใน 5 ตามมาตรา 209 (6) ประกอบมาตรา 274 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.พ.ศ. 2550
"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ" ตามมาตรา 216วรรคห้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ย่อมหมายถึงเฉพาะ 'คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ' เท่านั้นครับ หากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเองแล้ว ย่อมเป็น "คำวินิจฉัย" ที่ปราศจากฐานรองรับตามรัฐธรรมนูญ (unconstitutional actions) เช่นนี้ "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเช่นว่านั้น" ย่อมไม่ผูกพัน 'บรรดาองค์กรใดๆของรัฐ' ตามมาตรา 216 วรรคห้า ซึ่งการไม่ผูกพันสามารถแสดงออกโดยผ่านวิธี "เพิกเฉย" (ignored) ต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเช่นว่านั้น ไม่ยอมบังคับผูกพันต่อคำวินิจฉัยที่ขัดรัฐธรรมนูญ นี่เป็นวิธีกระทำต่อตัวคำวินิจฉัย (นอกไปจากวิธีลบล้างโดยอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) (efficacy as condition of validity) แต่ถ้ากระทำต่อตัว 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ก็ต้องถอดถอนโดยวุฒิสภา ตามมาตรา 209 (6) ประกอบมาตรา274 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
“นี่เป็นวิธีการอย่างเร็วในการยับยั้งอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนะครับ ถ้าไป "รับตามคำบังคับ" มันจะเป็นคำสั่งที่จะดำรงอยู่ในระบบกฎหมายต่อไป และระบบจะไม่เป็นระบบ จะไม่สามารถอธิบายในทางหลักวิชาได้เลย และทำลายโครงสร้างทั่วไปของ รัฐธรรมนูญในที่สุดครับ”
ที่มาของมติตุลาการรัฐธรรมนุญมาจากคำร้องของ 1.พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว. 2.นายวันธงชัย ชำนาญกิจ 3.นายวิรัตน์ กัลยาศิริ 4. นายวรินทร์ เทียมจรัส 5.นายบวร ยสินทร และคณะ ที่ยื่นหนังสือให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐสภา พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา นายสุนัย จุลพงศธรและคณะ และนายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลทำให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
โดยคำร้องดังกล่าวขอให้ตุลาการวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
สำหรับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน เป็นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ 3 ของไทย จัดตั้งขึ้นตามความในมาตรา 300 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดแรกถูกยุบไปภายหลังจากที่มีจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ภายหลังจากการรัฐประหาร ได้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นชุดที่ 2 โดยมีอำนาจตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งมาตรา 300 ได้กำหนดให้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็น ศาลรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายหลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
หมายเหตุ
รัฐธรรมนูญ มาตรา 209 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(3) ลาออก
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 205
(5) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา207
(6) วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
(7) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใต้บังคับมาตรา 216
รัฐธรรมนูญมาตรา 274 สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลาห้าปี
มติของวุฒิสภาตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อ่านเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ไทยโพสต์: ล้มการปกครอง! มติ5:4รอวินิจฉัยชำเรารัฐธรรมนูญโหวตวาระ3สะดุด
ที่มา:ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักวิชาการชี้พลังแปลกปลอม ไม่ชนะยั่งยืนในระบอบเสรีประชาธิปไตย !!?
ดร.เกษียร เชื่อพลังแปลกปลอมจะไม่สามารถชนะอย่างยั่งยืนในระบอบเสรีประชาธิปไตย ต่อให้ปิดสภา ยึดอำนาจ
ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊คว่า คิดอย่างซีเรียส การปิดล้อมสภาก็คือการปิดล้อมช่องทางการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน และการรัฐประหารก็คือการยึดอำนาจอธิปไตยของประชาชนไป อย่างแรกทำให้ประชาธิปไตยเป็นอัมพาต อย่างหลังเป็นการสังหารประชาธิปไตย ทั้งสองประการมุ่งทำให้อำนาจของประชาชน impotent คือหมดสมรรถภาพ เหมือนบุคคลง่อยเปลี้ยเสียขาพิการ มีชีวิตแต่ไม่มีอำนาจเหนือตนเอง ดูแลจัดการปกครองตนเองไม่ได้
ในทางกลับกัน สภาที่ลงมติผิดพลาด ก็คือการใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนอย่างผิดพลาด เมื่อใดที่ประชาชนตระหนักว่ามันผิดพลาด เมื่อนั้นประชาชนก็จะเลือกคณะพรรคผู้แทนชุดใหม่หรือยึดนโยบายใหม่เข้ามาแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากประชาชนไม่คิดเช่นนั้น กลุ่มเสียงข้างน้อยก็มีสิทธิเสรีภาพจะรณรงค์โฆษณาประชาสัมพันธ์ต่อไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าประชาชนส่วนข้างมากจะเปลี่ยนใจมาเห็นด้วยกับตน
ดร.เกษียร เห็นว่า การที่พันธมิตรฯ กลุ่มเสื้อหลากสีและประชาธิปัตย์เลือกใช้วิธีแรกสะท้อนว่าพวกเขาไม่เชื่อประชาชน (ว่าจะคิดเองเป็นและเปลี่ยนใจได้หากเห็นจริงว่าสิ่งใดถูกต้อง) ไม่เชื่อตนเอง (ว่าจะสามารถใช้เหตุผลข้อเท็จจริงเปลี่ยนใจประชาชนได้) ไม่เชื่อสิทธิเสรีภาพ (ว่าเป็นช่องทางให้ต่อสู้ด้วยเหตุผลเพื่อเปลี่ยนใจประชาชนอย่างสันติ) และไม่เชื่อประชาธิปไตย (ว่าเป็นระบบที่เปิดให้ประชาชนแก้ไขข้อผิดพลาดได้ด้วยการเลือกตัวแทนใหม่หากต้องการ)
ไม่มีทางที่กลุ่มบุคคลที่ไม่เชื่อประชาชน ไม่เชื่อตนเอง ไม่เชื่อสิทธิเสรีภาพและไม่เชื่อประชาธิปไตย จะชนะในระบอบเสรีประชาธิปไตยได้ ต่อให้ปิดสภา ยึดอำนาจ ก็ไม่นานและไม่ยั่งยืน ได้แต่ชะลอวันพ่ายแพ้ราบคาบออกไปด้วยการทำลายตนเอง ทำลายคนอื่น ทำลายระบบเท่านั้นดูเพิ่มเติม
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า !!?
ชิชะ, ดูแล้ว “มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะด่ากระทบชิ่ง เข้าตัวเองเต็มเปา
เมื่อ “ท่านคณิต ณ นคร”ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ “คอป.” สับศอกถวายแหวน ใส่ “อภิสิทธิ์” เสียหน้าเยิ่นเชียว
“คอป.”นั้น “อภิสิทธิ์” เป็นผู้แต่งตั้ง...แต่เสนออะไรไม่เคยฟัง แม้ครั้งเดียว
ไม่รู้จะตั้งเข้ามาทำพันธุ์อะไร?.. เสนอหนทาง “การปรองดอง” ไปก็เงียบฉี่...ผิดกับ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สนองตอบ ต่อคำแนะนำ ของ “ท่านอาจารย์คณิต” ด้วยดี
หรือที่เค้าไม่เอาการปรองดอง..ไม่ใช่ว่าหยิ่งจองหอง..เค้าคิดจองเป็นนายกฯจากค่ายทหารอีกที
----------------------------------
มี “ชนักติดหลัง” เป็นกุรุส
สมควรแล้วหรือ?.. ที่ “ท่านปานเทพ กล้าณรงค์ราญ” ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “ปปช.” จึงร่อนสาส์น เชิญ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มาพูด
อย่าลืมว่า “รัฐบาลประชาธิปัตย์” และ “คุณอภิสิทธิ์” มีบาดแผลยั้วเยี้ย ยุบยับ ถูก “ป.ป.ช.”เพื่อจับเอาผิด
“ให้เกียรติ” คนมีได้มีเสีย มีผลแพ้ชนะทางคดี กับ “ป.ป.ช.” มาเป็น “กูรู” บรรยายให้เช่นนั้น.. เหมือนเป็นการให้ “อภิสิทธิ์”
ยิ่งมีการกล่าวขาน ว่าเป็น “คอหอยกับลูกกระเดือก”ด้วยกันแล้ว...น่าจะเชิญ “นักวิชาการคนกลาง” มาให้ทัศนะ จึงจะโสภา
ดึง “มาร์ค”มาส่งเสียงสังข์...จึงมีเสียงติความหลัง..ถึงกระทั่งมีคนครหา
----------------------------------
ต้อง “อลังการงารสร้าง”
จะให้ “คุณพี่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” มาเป็นหัวหน้าพรรค..นายทุนใหญ่ต้องมีสะตังค์
ว่ากันว่า มีคนผู้กว้างขวาง “ย่านเตาปูน” รับหน้าเสื่อ ที่จะเป็น “นายทุนหลัก” ให้กับ “คุณพี่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” สมาชิกบ้านเลขที่ตองหนึ่ง ที่พ้นโทษการเว้นวรรค ๕ ปี
ไปเอา “พรรคความหวังใหม่” ของ “คุณพี่ชิงชัย มงคลธรรม” มาปัดกวาดอีกดี
เจรจากันเป็นวรรคเป็นเวร สุดท้าย “เสี่ยสมคิด” ก็ต้องแจว ไม่ร่วมสังฆกรรมด้วย
เหตุที่ “คุณสมคิด”ต้องหนีฝุ่นสลบ..เงินที่มาลงทุนมีไม่ครบ..ฉะนั้น,จึงถอยเพราะกลัวว่าจะพบจุดจบไม่สวย
-----------------------------------
“แตกคอ” นับวันส่อว่า จะยิ่งหนัก
ก้อ “ผู้รักประชาธิปไตย” นักรบเสื้อแดง กับ “พรรคเพื่อไทย” ไงล่ะที่รัก
ยิ่งระหองระแหง กินแคลงแหนงใจกันมากเท่าไหร่... “ประชาธิปัตย์” ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ก็รับโบนัสชิ้นใหญ่ไป
สะท้อนให้เห็นผลพวง การ “แทงข้างหลัง” เตะตัดขากันเอง ยิ่งทำให้ การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด “อบจ.” กลุ่มของ “เนวิน ชิดชอบ” ได้ชัย
นัยว่า, “กลุ่มเนวิน” และ “เทพเทือก” เดินเกมเพื่อคว้าเก้าอี้ “นายกฯ อบจ.” ทำลายสร้างเสียง “คนเสื้อแดง” ให้ศูนย์
ทะเลาะกันเอง..ระวังจะเจ๊ง?..พังหงายเก๋งทั้งกระดานนะคุณ
---------------------------------------
ป้ายสีเสื้อแดง
งัดมุกขึ้นมากล่าวหา ว่าร่ำรวยมหาศาล..เป็นสาดโคลน จงใจเพื่อที่จะกลั่นแกล้ว
ทั้ง ๆที่ “อารี ไกรนรา” คนสนิทชิดเชื้อ ของ “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” รมช.เกษตรฯ ยังเป็นคนเก่าหน้าเดิม
ฐานะความเป็นอยู่ มิได้อู้ฟู้ร่ำรวยเพิ่ม
แต่ต้องการโจมตี ให้หัวขบวนแถวหน้าของ “คนเสื้อแดง” ได้เหม็นโฉ่กันเสร็จสรรพ
ขบวนการทำลาย “เสื้อแดง”...กำลังแฝง?..มาแรงจริงๆ ขอรับ
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมื่อ “ท่านคณิต ณ นคร”ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ “คอป.” สับศอกถวายแหวน ใส่ “อภิสิทธิ์” เสียหน้าเยิ่นเชียว
“คอป.”นั้น “อภิสิทธิ์” เป็นผู้แต่งตั้ง...แต่เสนออะไรไม่เคยฟัง แม้ครั้งเดียว
ไม่รู้จะตั้งเข้ามาทำพันธุ์อะไร?.. เสนอหนทาง “การปรองดอง” ไปก็เงียบฉี่...ผิดกับ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สนองตอบ ต่อคำแนะนำ ของ “ท่านอาจารย์คณิต” ด้วยดี
หรือที่เค้าไม่เอาการปรองดอง..ไม่ใช่ว่าหยิ่งจองหอง..เค้าคิดจองเป็นนายกฯจากค่ายทหารอีกที
----------------------------------
มี “ชนักติดหลัง” เป็นกุรุส
สมควรแล้วหรือ?.. ที่ “ท่านปานเทพ กล้าณรงค์ราญ” ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ “ปปช.” จึงร่อนสาส์น เชิญ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มาพูด
อย่าลืมว่า “รัฐบาลประชาธิปัตย์” และ “คุณอภิสิทธิ์” มีบาดแผลยั้วเยี้ย ยุบยับ ถูก “ป.ป.ช.”เพื่อจับเอาผิด
“ให้เกียรติ” คนมีได้มีเสีย มีผลแพ้ชนะทางคดี กับ “ป.ป.ช.” มาเป็น “กูรู” บรรยายให้เช่นนั้น.. เหมือนเป็นการให้ “อภิสิทธิ์”
ยิ่งมีการกล่าวขาน ว่าเป็น “คอหอยกับลูกกระเดือก”ด้วยกันแล้ว...น่าจะเชิญ “นักวิชาการคนกลาง” มาให้ทัศนะ จึงจะโสภา
ดึง “มาร์ค”มาส่งเสียงสังข์...จึงมีเสียงติความหลัง..ถึงกระทั่งมีคนครหา
----------------------------------
ต้อง “อลังการงารสร้าง”
จะให้ “คุณพี่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” มาเป็นหัวหน้าพรรค..นายทุนใหญ่ต้องมีสะตังค์
ว่ากันว่า มีคนผู้กว้างขวาง “ย่านเตาปูน” รับหน้าเสื่อ ที่จะเป็น “นายทุนหลัก” ให้กับ “คุณพี่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” สมาชิกบ้านเลขที่ตองหนึ่ง ที่พ้นโทษการเว้นวรรค ๕ ปี
ไปเอา “พรรคความหวังใหม่” ของ “คุณพี่ชิงชัย มงคลธรรม” มาปัดกวาดอีกดี
เจรจากันเป็นวรรคเป็นเวร สุดท้าย “เสี่ยสมคิด” ก็ต้องแจว ไม่ร่วมสังฆกรรมด้วย
เหตุที่ “คุณสมคิด”ต้องหนีฝุ่นสลบ..เงินที่มาลงทุนมีไม่ครบ..ฉะนั้น,จึงถอยเพราะกลัวว่าจะพบจุดจบไม่สวย
-----------------------------------
“แตกคอ” นับวันส่อว่า จะยิ่งหนัก
ก้อ “ผู้รักประชาธิปไตย” นักรบเสื้อแดง กับ “พรรคเพื่อไทย” ไงล่ะที่รัก
ยิ่งระหองระแหง กินแคลงแหนงใจกันมากเท่าไหร่... “ประชาธิปัตย์” ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ก็รับโบนัสชิ้นใหญ่ไป
สะท้อนให้เห็นผลพวง การ “แทงข้างหลัง” เตะตัดขากันเอง ยิ่งทำให้ การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด “อบจ.” กลุ่มของ “เนวิน ชิดชอบ” ได้ชัย
นัยว่า, “กลุ่มเนวิน” และ “เทพเทือก” เดินเกมเพื่อคว้าเก้าอี้ “นายกฯ อบจ.” ทำลายสร้างเสียง “คนเสื้อแดง” ให้ศูนย์
ทะเลาะกันเอง..ระวังจะเจ๊ง?..พังหงายเก๋งทั้งกระดานนะคุณ
---------------------------------------
ป้ายสีเสื้อแดง
งัดมุกขึ้นมากล่าวหา ว่าร่ำรวยมหาศาล..เป็นสาดโคลน จงใจเพื่อที่จะกลั่นแกล้ว
ทั้ง ๆที่ “อารี ไกรนรา” คนสนิทชิดเชื้อ ของ “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” รมช.เกษตรฯ ยังเป็นคนเก่าหน้าเดิม
ฐานะความเป็นอยู่ มิได้อู้ฟู้ร่ำรวยเพิ่ม
แต่ต้องการโจมตี ให้หัวขบวนแถวหน้าของ “คนเสื้อแดง” ได้เหม็นโฉ่กันเสร็จสรรพ
ขบวนการทำลาย “เสื้อแดง”...กำลังแฝง?..มาแรงจริงๆ ขอรับ
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ซูจี ทวิตเย้ยการเมืองไทย ไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่สมัยอยุธยา !!?
“ออง ซาน ซู จี” ทวิตข้อความเย้ยการเมืองไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลงตั้งแต่สมัยอยุธยาที่มีแต่ความวุ่นวาย แขวะรัฐมนตรีเพื่อไทยเสแสร้งแกล้งทำเป็นรักประชาธิปไตย
นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านพม่า ที่อยู่ระหว่างเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม ออน อีสต์ เอเชีย ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมืองไทยไปในทางเยาะเย้ยถากถางว่า “ฉันมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ได้พบกับรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย พวกเขาเสแสร้งให้เห็นว่ารักประชาธิปไตย การเมืองไทยยังคงวุ่นวาย มันไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยอยุธยา”
ทั้งนี้ นางซู จี เดินทางมาถึงไทยเมื่อช่วงค่ำวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยภารกิจเมื่อวันที่ 30 พ.ค. ได้เดินทางไปพบกับแรงงานพม่าที่ตลาดกุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร ท่ามกลางการโห่ร้องแสดงความยินดีของบรรดาแรงงานพม่า ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังศูนย์พิสูจน์สัญชาติ อำเภอมหาชัย เพื่อพบกับแรงงานอีกกลุ่มหนึ่ง
นางซู จี กล่าวกับแรงงานพม่าว่า เดินทางมาประเทศไทยก็เพื่อรับทราบทุกข์สุขของพี่น้อง และจะนำเรื่องปัญหาทุกข์ร้อนที่พบเจอไปหารือกับรัฐบาลไทยเพื่อแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แต่ขอให้ใช้ความอดทน ใครได้รับมอบหมายหน้าที่จากนายจ้างไว้อย่างไรก็ให้ทำงานอย่างเต็มที่ และขอให้รอเวลา จะพยายามหาทางพัฒนาประเทศพม่าเพื่อให้พวกเราทุกได้เดินทางกลับประเทศ และนำทักษะความรู้ที่มีอยู่ไปพัฒนาชาติ ขอให้ทุกคนทำงานอย่างเต็มที่ อย่าให้เสียชื่อประเทศชาติได้
หลังพบปะกับแรงงานพม่า นางซู จี เดินทางไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันที่บริษัทยูนิลีเวอร์ ย่านลาดกระบัง จากนั้นไปพบปะหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านที่โรงแรมแชงกรี-ลา
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************
นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านพม่า ที่อยู่ระหว่างเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม ออน อีสต์ เอเชีย ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมืองไทยไปในทางเยาะเย้ยถากถางว่า “ฉันมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ได้พบกับรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย พวกเขาเสแสร้งให้เห็นว่ารักประชาธิปไตย การเมืองไทยยังคงวุ่นวาย มันไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยอยุธยา”
ทั้งนี้ นางซู จี เดินทางมาถึงไทยเมื่อช่วงค่ำวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยภารกิจเมื่อวันที่ 30 พ.ค. ได้เดินทางไปพบกับแรงงานพม่าที่ตลาดกุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร ท่ามกลางการโห่ร้องแสดงความยินดีของบรรดาแรงงานพม่า ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังศูนย์พิสูจน์สัญชาติ อำเภอมหาชัย เพื่อพบกับแรงงานอีกกลุ่มหนึ่ง
นางซู จี กล่าวกับแรงงานพม่าว่า เดินทางมาประเทศไทยก็เพื่อรับทราบทุกข์สุขของพี่น้อง และจะนำเรื่องปัญหาทุกข์ร้อนที่พบเจอไปหารือกับรัฐบาลไทยเพื่อแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แต่ขอให้ใช้ความอดทน ใครได้รับมอบหมายหน้าที่จากนายจ้างไว้อย่างไรก็ให้ทำงานอย่างเต็มที่ และขอให้รอเวลา จะพยายามหาทางพัฒนาประเทศพม่าเพื่อให้พวกเราทุกได้เดินทางกลับประเทศ และนำทักษะความรู้ที่มีอยู่ไปพัฒนาชาติ ขอให้ทุกคนทำงานอย่างเต็มที่ อย่าให้เสียชื่อประเทศชาติได้
หลังพบปะกับแรงงานพม่า นางซู จี เดินทางไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันที่บริษัทยูนิลีเวอร์ ย่านลาดกระบัง จากนั้นไปพบปะหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านที่โรงแรมแชงกรี-ลา
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)