"อัศวิน"ส่งคนแจงกมธ.ทหาร ปัดจัดฉากจับจะระเบิดที่ชุมนุม รับคนร้ายยิงปืนไม่เป็น พูดเป็นนัยรอผลใครจ้างมาให้โดนจับ แต่ไม่เข้าข่ายก่อการร้าย
มีการประชุมคณะกรรมาธิการ การทหาร สภาผู้แทนราษฎร พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย เป็นประธานการประชุม พิจารณาข้อเท็จจริงกรณีตำรวจตรวจพบวัตถุระเบิดใกล้ที่ชุมนุมทำเนียบและสะพานมัฆวานรังสรรค์ และขยายผลไปจับกุมได้อีก 4 คน และพบอาวุธสงคราม ปืน เครื่องกระสุน และวัตถุระเบิดจำนวนมาก เมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา ก่อน 1 วันที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) จะจัดชุมนุม
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ที่ปรึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สบ.10 ) ซึ่งถูกเชิญ ได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 พ.ต.อ.ทินกร สมวันดี รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดุสิต พ.ต.อ.เศรษศักดิ์ ยิ้มเจริญ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลบางมด และ พ.ต.ท.พิพัฒน์ บุญเพชร์ รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน สน.บางมด ร่วมชี้แจงด้วย
เมื่อประธาน กมธ.ทหาร ถามถึงสาเหตุความเป็นมาอย่างไร จริงหรือไม่มีการ์ดผู้ชุมนุมไปพบผู้ต้องสงสัยก่อน พล.ต.ต สุวัฒน์ ชี้แจงว่า ไม่ใช่การ์ดกลุ่มพันธมิตรฯพบ แต่อาจจะมีการ์ดพันธมิตรฯ มามุงดู ซึ่งการจับกุมวันดังกล่าว แบ่งเป็น 2 คดี ส่ง สน.ดุสิต และ สน.บางมด โดยที่ สน.ดุสิต ผู้ต้องหาชื่อนายธวัชชัย หรือดำ เอี่ยมนาค จับกุมได้บริเวณสวนมิสกวัน พบระเบิดแสวงเครื่อง 2 ลูก ระเบิดแสง(Flashbang) ต่อวงจรด้วยโทรศัพท์ และยึดรถมอเตอร์ไซค์ไว้
ส่วนของสน.บางมด เจ้าหน้าที่ได้ขยายผลจากการจับกุมนายธวัชชัย เข้าจับกุม นายดร มาตา และพวกอีก 3 คน นำวัตถุระเบิดจำนวนมากไปซุกซ่อนในห้องเก็บของในตลาดนัด อาทิ เครื่องยิงอาร์พีจี 1 เครื่องยิงอาร์พีจี 3 ลูก และเครื่องยิงดินขับชนวน 4 ชุด กระสุนซ้อมยิง 2 นัด ลูกระเบิดยิงขนาด 40 ม.ม. ใช้กับเครื่องยิงเอ็ม 79 จำนวน 34 นัด เป็นแบบลูกปราย 3 นัด แบบเจาะเกราะ 4 นัด และแบบสังหาร 27 นัด เครื่องกระสุนขนาด 7.62 ม.ม. จำนวน 23 นัด เครื่องกระสุนขนาด 5.56 ม.ม. จำนวน 115 นัด เครื่องกระสุนแบบเอ็ม 60 จำนวน 65 นัด เครื่องกระสุนปืนคาร์บิน 117 นัด
พล.ต.ต.สุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ทราบว่านายธวัชชัยเคยทำกิจกรรมทางการเมืองกับคนบางกลุ่ม ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่ากลุ่มไหน ส่วนนายดอนปฏิเสธเป็นเจ้าของวัตถุระเบิด แต่ยอมรับเป็นผู้ครอบครองโดยเพื่อนนำมาฝากไว้ ส่วนอีก 3 คนที่เหลือยอมรับเคยไปชุมนุมกับคนบางกลุ่ม โดยอ้าวว่า นายธวัชชัย และนายดอน เป็นผู้ชวนมาดูของและ นายนพคุณ ศรีวงศ์มงคล เป็นผู้ดูแลตลาดสินทวี นายดอนจึงบอกว่าเอาของไปเก็บไว้ได้หรือไม่ นอกจากนี้ พบประวัตินายธวัชชัยเคยถูกจับข้อหาปล้นรถแท็กซี่ และถูกปล่อยมาเมื่อปี 2548 และเกี่ยวพันกับหลายๆ เหตุการณ์ไม่สงบ โดยวัตถุระเบิดที่ยึดได้ก็มีข้อมูลเชื่อมโยงหลายเหตุการณ์ ส่วนคนอื่นๆ ไม่มีประวัติการถูกจับกุม
ประธาน กมธ.ทหาร ซักย้ำว่า วัตถุระเบิดจับได้มาจากกองทัพหรือไม่ และผู้ต้องหาเชื่อมโยงกับคนกลุ่มใด โดยพล.ต.ต.สุวัฒน์ กล่าวว่า เรื่องการเมืองไม่ขอก้าวล่วง แต่ไม่อยากให้มีผู้คนบาดเจ็บ ล้มตาย และพยายามใช้ทุกวิธีทุกมาตรการจับกุม แม้จะเป็นกลุ่มย่อยแต่มีจำนวนมาก ที่มีความเชื่อทางการเมือง ซึ่งมีอันตรายต่อประเทศมาก คนลักษณะนี้บางกลุ่มเชื่อมโยงกันทางแนวคิด บางกลุ่มประสานงาน บางกลุ่มช่วยเหลือวางแผนร่วมกัน ซึ่งมีจำนวนมาก ส่วนอาวุธที่จับได้นี้ ไม่น่าจะมาจากกองทัพ โดยระเบิดแสวงเครื่องก็ผลิตในประเทศคอมมิวนิสต์ ไม่มีใช้ในกองทัพไทย คงจะมาจากชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน
"ผู้ต้องหาที่จับได้ชุดหลัง เขายิงอะไรไม่เป็นสักคน จึงเป็นภาพส่วนหนึ่งของจิ๊กซอว์ขนาดใหญ่ ความคิดจะไปเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พวกเขาคงได้รับการบอก การปลูกฝังมาจากหัวหน้าขบวนของเขา และผู้ต้องหามีวุฒิภาวะไม่มาก สมมติมีคนกลุ่มหนึ่งบอกว่ามีความคิดเหมือนเขาแล้วบอกให้เขาไปทำ ซึ่งคนนั้นอาจจะไม่คิดเหมือนเขาก็ได้ มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กระทบหลายฝ่ายจึงพูดได้เท่าที่พูด เราเป็นตำรวจริง ๆ ไม่มีการเมือง ไม่หวังผลอะไร ผู้บังคับบัญชาให้ทำอะไรก็ทำ ลูกน้องผมทำคดีนี้ไม่มีใครทำแล้วได้ดิบได้ดี ไปดูคำสั่งได้มีแต่ทรงตัวกับแย่ลง” พล.ต.ต.สุวัฒน์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมาธิการยังคงซักถามตั้งข้อสงสัย เช่น ตั้งข้อหาจับกุมอย่างไร เป็นการจัดฉากหรือไม่ โดย พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นมีบางคนมองว่า คนถูกจับเป็นคนเสื้อแดง แต่ถ้าคนที่ทำไม่ใช่คนเสื้อแดง เจ้าหน้าที่ก็ต้องให้ความเป็นธรรม และต้องให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย ต้องจับคนผิดมาลงโทษ และต้องบอกสังคมอย่างตรงไปตรงมาว่าเกิดอะไรขึ้น
ขณะที่ พลเอก พิชาญเมธ ม่วงมณี ที่ปรึกษา กมธ.ทหาร ถามว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือไม่ เพราะถ้าหากซุ่มยิงขณะแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ขึ้นเวทีก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้น
พล.ต.ต.สุวัฒน์ กล่าวว่า ขอชี้แจงแทน พล.ต.อ.อัศวิน ไม่ได้จัดฉาก ทุกอย่างคือของจริง อยู่ระหว่างการสอบสวนว่ามีใครจ้างมาเพื่อให้ถูกจับหรือไม่ เพราะไม่สามารถฟันธงได้ แต่ข้อมูลมีอยู่ในใจแล้ว กำลังแยกแยะเพื่อให้เกิดความกระจ่าง และตอบไม่ได้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ ส่วนการตั้งข้อหาคือมีอาวุธไม่อาจอนุญาตให้ครอบครอง ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่ไม่ได้ตั้งข้อหาก่อการร้าย ขณะนี้ทุกคนอยู่ในเรือนจำ สามารถประกันตัวได้ แต่ไม่ทราบว่าทั้งหมดได้ขอประกันตัวหรือไม่
ด้าน พ.ต.ท.ทินกร ชี้แจงเพิ่มเติมว่า การจะตั้งข้อหาก่อการร้ายได้ ต้องมีองค์ประกอบ อาทิ ต้องมีพยานหลักฐานควรเชื่อว่า พวกเขาก่อการร้ายโดยใช้กำลังทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะเสียหาย หรือทำลายทรัพย์สิน เป็นอันตรายต่อประเทศชาติ หรือใช้วัตถุข่มขู่รัฐบาล ซึ่งตรงนี้ยังไม่ได้ทำถึงขั้นนั้น ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////
วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
กลุ่มหนุนปธน.มูบารัคพุ่งเป้าเล่นงานผู้สื่อข่าวต่างชาติ !!??
สำนักข่าว CNN รายงานว่า กลุ่มผู้ประท้วงที่ออกมาสนับสนุนประธานาธิบดีฮอสนีย์ มูบารัค ของอิยิปต์ ได้มีเป้าหมายเล่นงานผู้สื่อข่าวที่อยู่ตามท้องถนนในกรุงไคโร โดยเมื่อวันพุธ กลุ่มชายฉกรรจ์ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้สนับสนุนประธานาธิบดีมูบารัค ได้จับตัวผู้สื่อข่าวชาวเบลเยียมรุมทำร้ายและกล่าวหาว่าเป็นสายลับ ที่เมืองโชบรา ติดกับกรุงไคโร ส่วนผู้สื่อข่าวชาวอิยิปต์ ที่ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์จับตัวได้ที่จตุรัสทาห์รีร์ ถูกรุมทุบตีอย่างรุนแรงนานหลายชั่วโมง
มีรายงานว่า ผู้สื่อข่าวของ BBC, ABC News และ CNN ก็ถูกทำร้ายเช่นกัน ในจำนวนนี้ คือแอนเดอร์สัน คูเปอร์ และ ฮาลา โกรานี่ ผู้สื่อข่าวของ CNN ด้านนายโมฮัมเหม็ด อับเดลเดย์เอม ผู้ประสานโครงการในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว ระบุว่า รัฐบาลอิยิปต์อยู่เบื้องหลังการกระทำของคนเหล่านี้ โดยเป็นการใช้ยุทธศาสตร์กำจัดพยานด้วยการกระทำต่าง ๆ ทั้งเซ็นเซอร์สื่อ , การข่มขู่คุกคาม และล่าสุด คือ การส่งม็อบไปเล่นงานผู้สื่อข่าว
คูเปอร์ บอกว่า เขาถูกผู้สนับสนุนประธานาธิบดีมูบารัคคนหนึ่ง ต่อยที่ศีรษะ ส่วนโกรานี่ บอกว่าเธอถูกชายคนหนึ่งตะคอกใส่หน้าในระยะประชิด ขณะพยายามจับภาพและรายงานข่าวความโกลาหล ในช่วงที่ชายกลุ่มหนึ่งขี่ม้าและอูฐเข้าไปในกลุ่มผู้ประท้วงเมื่อเช้าวันพุธ ซึ่งเธอคิดว่าคนกลุ่มนี้ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใคร หรือถูกใครส่งมาก็ตาม แต่เป้าหมายของพวกเขาชัดเจนว่าต้องการเล่นงานช่างภาพ , ผู้สื่อข่าว และใครก็ตามที่อาจจะเป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ความรุนแรง ซึ่งบางคนหยาบคายเหมือนพวกอันธพาล ที่ดูแล้วมีเจตนาเข้าไปหาเรื่อง
คูเปอร์ บอกว่า ตัวเขา กับแมรี่แอนน์ ฟ็อกซ์ โปรดิวเซอร์ และช่างภาพอีกคนหนึ่ง ถูกทำร้ายที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ในขณะที่พวกเขาพยายามจะฝ่าเข้าไปตรงกลางระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและต่อต้านประธานาธิบดีมูบารัค และทั้งที่พวกเขาพยายามเดินกันอย่างสงบ แต่กลุ่มที่สนับสนุนประธานาธิบดีมูบารัค ก็ยังรัวหมัดเข้าใส่ ทั้งยังเตะและยังพยายามจะจับตัวด้วย แต่พวกเขาก็พยายามเดินหนีไปหาที่ปลอดภัยและพยายามเกาะกลุ่มกันไว้
มีผู้สื่อข่าวอีกหลายคนที่ถูกเล่นงานหนักกว่านี้ ในจำนวนนี้คือ อาห์เหม็ด อับดุลลาห์ ผู้สื่อข่าวของอัล อาราบิย่า ที่หายตัวไป 3 ชั่วโมงเมื่อวันพุธ ก่อนที่บรรณาธิการของเขาจะยืนยันว่าพบตัวแล้ว และต้องนำส่งโรงพยาบาลเนื่องจากบาดเจ็บรุนแรง เพราะถูกรุมทำร้าย
ที่มา.เนชั่น
--------------------------------------------------------
มีรายงานว่า ผู้สื่อข่าวของ BBC, ABC News และ CNN ก็ถูกทำร้ายเช่นกัน ในจำนวนนี้ คือแอนเดอร์สัน คูเปอร์ และ ฮาลา โกรานี่ ผู้สื่อข่าวของ CNN ด้านนายโมฮัมเหม็ด อับเดลเดย์เอม ผู้ประสานโครงการในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว ระบุว่า รัฐบาลอิยิปต์อยู่เบื้องหลังการกระทำของคนเหล่านี้ โดยเป็นการใช้ยุทธศาสตร์กำจัดพยานด้วยการกระทำต่าง ๆ ทั้งเซ็นเซอร์สื่อ , การข่มขู่คุกคาม และล่าสุด คือ การส่งม็อบไปเล่นงานผู้สื่อข่าว
คูเปอร์ บอกว่า เขาถูกผู้สนับสนุนประธานาธิบดีมูบารัคคนหนึ่ง ต่อยที่ศีรษะ ส่วนโกรานี่ บอกว่าเธอถูกชายคนหนึ่งตะคอกใส่หน้าในระยะประชิด ขณะพยายามจับภาพและรายงานข่าวความโกลาหล ในช่วงที่ชายกลุ่มหนึ่งขี่ม้าและอูฐเข้าไปในกลุ่มผู้ประท้วงเมื่อเช้าวันพุธ ซึ่งเธอคิดว่าคนกลุ่มนี้ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใคร หรือถูกใครส่งมาก็ตาม แต่เป้าหมายของพวกเขาชัดเจนว่าต้องการเล่นงานช่างภาพ , ผู้สื่อข่าว และใครก็ตามที่อาจจะเป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ความรุนแรง ซึ่งบางคนหยาบคายเหมือนพวกอันธพาล ที่ดูแล้วมีเจตนาเข้าไปหาเรื่อง
คูเปอร์ บอกว่า ตัวเขา กับแมรี่แอนน์ ฟ็อกซ์ โปรดิวเซอร์ และช่างภาพอีกคนหนึ่ง ถูกทำร้ายที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ในขณะที่พวกเขาพยายามจะฝ่าเข้าไปตรงกลางระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและต่อต้านประธานาธิบดีมูบารัค และทั้งที่พวกเขาพยายามเดินกันอย่างสงบ แต่กลุ่มที่สนับสนุนประธานาธิบดีมูบารัค ก็ยังรัวหมัดเข้าใส่ ทั้งยังเตะและยังพยายามจะจับตัวด้วย แต่พวกเขาก็พยายามเดินหนีไปหาที่ปลอดภัยและพยายามเกาะกลุ่มกันไว้
มีผู้สื่อข่าวอีกหลายคนที่ถูกเล่นงานหนักกว่านี้ ในจำนวนนี้คือ อาห์เหม็ด อับดุลลาห์ ผู้สื่อข่าวของอัล อาราบิย่า ที่หายตัวไป 3 ชั่วโมงเมื่อวันพุธ ก่อนที่บรรณาธิการของเขาจะยืนยันว่าพบตัวแล้ว และต้องนำส่งโรงพยาบาลเนื่องจากบาดเจ็บรุนแรง เพราะถูกรุมทำร้าย
ที่มา.เนชั่น
--------------------------------------------------------
วิกฤตประท้วงอียิปต์ระอุหนัก ชนวนอาหาร แพงลามทั่วโลก !!??
เหตุการณ์การชุมนุมประท้วงทั่วประเทศในอียิปต์ได้สร้างความปั่นป่วนไปทั่ว ผลกระทบที่ปรากฏเกิดขึ้นทั้งในตลาดหุ้นโลกและตลาดคอมโมดิตี้ระหว่างประเทศ
ปัจจัยอียิปต์สร้างแรงส่งให้ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ทะเลเหนือกำหนดส่งมอบเดือนมีนาคมในตลาดล่วงหน้าลอนดอนพุ่งแตะระดับใกล้ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (31 ม.ค.) ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 99.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบชนิดเบาของสหรัฐขยับขึ้นมาที่ 90.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
เช่นเดียวกับความปั่นป่วนในตลาดหุ้นโลกที่เผชิญแรงเทขายมาตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่แล้วต่อเนื่องมาถึงสัปดาห์นี้ ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากความวิตกกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจในอียิปต์ และผลกระทบลูกโซ่ที่อาจลุกลามไปยังประเทศคู่ค้าและธุรกิจต่างชาติในประเทศนี้ อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยว ธนาคาร
ความวุ่นวายในอียิปต์มาจากความไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลของ ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ที่นอกจากจะกุมอำนาจเผด็จการมายาวนานเกือบ 30 ปี ยังเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชั่น
กระทั่งปัญหาราคาอาหารที่แพงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายกระตุ้นให้ประชาชนหลายพันคนรวมตัวต่อต้านและขับไล่รัฐบาล
ต้นรากอียิปต์เอฟเฟ็กต์
หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ ของอังกฤษตั้งข้อสังเกตว่า การประท้วงทั่วประเทศในอียิปต์ครั้งนี้ไม่เพียงจะสร้างความประหลาดใจในแง่ของขนาดของการประท้วง แต่ยังตีแผ่ปัจจัยที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ครั้งนี้ว่า มีต้นรากมาจากปัญหาสังคม และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร
ประชากรของอียิปต์ได้เพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านคน เป็น 80 ล้านคน ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงและบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ที่สำคัญ การเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรยังมาพร้อมกับช่องว่างรายได้ ระหว่างคนมีและคนไม่มี ซึ่งจากข้อมูลของธนาคารโลกพบว่าอัตราของประชากรที่ยากจนแบบสมบูรณ์ กล่าวคือ มีการดำเนินชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 16.7% เป็น 19.6% ในช่วงปี 2543 ถึง 2548
นอกจากนี้ยังพบว่า แม้รัฐบาลอียิปต์จะมีนโยบายอุดหนุนเพื่อลดผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาอาหารที่ทะยานขึ้นไปกว่า 17% ตามการทะยานของราคาคอมโมดิตี้โลก แต่ข้อมูลจาก CNNMoney ระบุว่า 40% ของชาวอียิปต์ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยรายได้ที่ไม่ถึง 2 ดอลลาร์ต่อวัน ดังนั้นจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบไปได้
อย่างไรก็ตาม อียิปต์ไม่ใช่ประเทศเดียวที่เผชิญกับการประท้วงทำนองเดียวกันนี้ สื่ออาหรับ "เดอะ เดลี สตาร์" รายงานว่า การประท้วงของประชาชนจำนวนมากที่ไม่พอใจต่อปัญหาการว่างงานที่พุ่งลิ่ว และราคาอาหารแพงได้ก่อตัวขึ้นทั่วไปในตูนิเซีย อียิปต์ แอลจีเรีย จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และเยเมน ขณะที่ CNNMoney รายงานเพิ่มเติมว่า พบการจลาจลในโมร็อกโกและปากีสถาน
วิกฤตอาหาร : ชนวนระเบิด
จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบุว่า ดัชนีราคาอาหารทั่วโลกได้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ พุ่งขึ้น 25% เฉลี่ยตลอดปี 2553 อันเป็น ผลมาจากราคาอาหารที่พุ่งขึ้นอย่างพรวดพราด ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด
สาเหตุที่ทำให้อาหารและสินค้าคอมโมดิตี้แพงลิบลิ่วมาจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ภัยแล้ง อุทกภัย และโรคระบาดที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ
อาทิ สภาพอากาศที่แปรปรวน เกิดฝนตกหนักในเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ผลผลิตข้าวโพดในไอโอวาลดลงประมาณ 9% แต่ความต้องการมีสูงมาก โดยเฉพาะจากโรงงานผลิต เอทานอลภายในรัฐ 41 แห่ง หรือการลดปริมาณฝูงสุกรลงจำนวนมากในแคนาดา เพื่อป้องกันโรคระบาด ทำให้ราคาหมูในสหรัฐพุ่งทะยานขึ้น เช่นเดียวกับราคาเนื้อสัตว์และฝ้ายที่ ปรับราคาขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ภาวะภัยแล้งในรัสเซียส่งผลให้ประเทศนี้ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตธัญพืชรายใหญ่รายหนึ่งของโลก ต้องหายหน้าไปจากตลาด เนื่องจากผลผลิตข้าวสาลีและข้าวโพดลดลง 35%
ในละตินอเมริกา โดยเฉพาะบราซิล กำลังประสบปัญหาการผลิตเอทานอลป้อนตลาด เนื่องจากอ้อยแพงขึ้นมาก
ไล่มาที่เอเชีย โรคมือและเท้าเปื่อยส่งผลให้ปริมาณผลผลิตในส่วนของปศุสัตว์ในเกาหลีใต้ที่ออกสู่ตลาดลดน้อยลงถึง 20% จนต้องเพิ่มการนำเข้าจากต่างประเทศ หรือกรณีที่ราคา ถั่วเหลืองในสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นจนเกือบทำสถิติใหม่ ๆ หลายครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการจากจีนที่เป็นผู้ซื้อ ถั่วเหลืองรายใหญ่ของสหรัฐ คาดการณ์กันว่า หากผลผลิตของอาร์เจนตินาลดลงอย่างฮวบฮาบ ราคาถั่วเหลืองในตลาดโลกจะวิ่งขึ้นอีก เนื่องจากจีนจะต้องนำเข้าถั่วเหลืองจากที่อื่นแทน
ประมวลมาตรการตั้งรับ
ไม่เพียงภัยธรรมชาติที่บั่นทอนผลผลิตอาหารให้ลดลงอย่างน่าตกใจ แต่จากรายงานข่าวของวอลล์สตรีต เจอร์นัล พบว่า ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ทั้งในสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป ทำให้นักลงทุนใช้ต้นทุนการเงินที่ถูกไปลงทุนในตลาดคอมโมดิตี้
ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้าว น้ำตาล ฝ้าย และน้ำมัน ส่งผลให้ราคาสินค้าเหล่านี้ขยับสูงขึ้น ยกตัวอย่างราคาถั่วเหลืองในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาพุ่งขึ้นถึง 46% ในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตร
ล่วงหน้าที่ชิคาโก (CBOT) ส่วนน้ำตาลในตลาดอินเตอร์คอนติเนนตัลเอ็กซ์เชนจ์ (ICE) พุ่ง 34% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ศาสตราจารย์นูเรียล รูบินี นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังจาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ให้สัมภาษณ์ CNNMoney ตอนหนึ่ง โดยเตือนว่า ราคาอาหารที่แพงขึ้นมากมักจะกลายเป็นปัจจัย ที่ก่อให้เกิดปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และกำลังเป็นภัยคุกคามโลกที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่ง โดยเฉพาะต่อเศรษฐกิจ ของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่
คำเตือนของรูบินีสอดรับสถานการณ์ที่หลายชาติในเอเชียกำลังเผชิญ อาทิ จีนที่พบว่าอัตราเงินเฟ้อที่มาจากแรงผลักของราคาอาหารพุ่งทะยาน 9.6% เมื่อเร็ว ๆ นี้ เช่นเดียวกับอินเดียที่เงินเฟ้อประเภทเดียวกันสูงถึง 18%
แรงกดดันดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลต่าง ๆ ในภูมิภาคต้องดิ้นหามาตรการรับมือ อาทิ ในอินโดนีเซียรัฐบาลตัดสินใจจะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้ากว่า 50 รายการ รวมถึงข้าวสาลี ถั่วเหลือง ปุ๋ย และอาหารสัตว์ เพื่อชะลอการปรับขึ้นราคาอาหาร และมีแผนจะขึ้นภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มจาก 20% เป็น 25% ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ รวมทั้งยังจัดสรรงบประมาณ 3 ล้านล้านรูเปียห์ เพื่อนำมาช่วยประชาชน
ในอินเดีย เลือกใช้วิธีขยายเวลาห้ามการส่งออกถั่วและน้ำมันประกอบอาหาร รวมทั้งเซ็นดีลกับเพื่อนบ้านคู่รักคู่แค้น ปากีสถาน เพื่อนำเข้าหัวหอมราว 1,000 ตัน ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในการปรุงอาหารของชาวภารต หลังราคาขึ้นสูงเพราะเหตุน้ำท่วม
แม้แต่จีนและอีกหลายประเทศในตะวันออกกลางใช้แนวทางควบคุมราคาสินค้า โดยเฉพาะจีนยังเพิ่มการเก็บสำรองสินค้าเชิงยุทธศาสตร์ เช่น อาหาร และวัตถุดิบ ส่วนเกาหลีใต้ใช้แนวทางลดภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการแทน เช่น นมผง และเมล็ดกาแฟ นอกเหนือจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย
แม้เกือบทุกประเทศกำลังทำงานแข่งกับเวลา แต่ยากจะคาดคะเนไดว่า เหตุการณ์ประท้วงทำนองเดียวกับที่เกิดขึ้นในอียิปต์และหลายประเทศในอาหรับ และแอฟริกาเหนือ จะ ลุกลามไปยังภูมิภาคใดและเอเชียคือหนึ่งในจำนวนนั้นหรือไม่
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////
ปัจจัยอียิปต์สร้างแรงส่งให้ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ทะเลเหนือกำหนดส่งมอบเดือนมีนาคมในตลาดล่วงหน้าลอนดอนพุ่งแตะระดับใกล้ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (31 ม.ค.) ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 99.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบชนิดเบาของสหรัฐขยับขึ้นมาที่ 90.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
เช่นเดียวกับความปั่นป่วนในตลาดหุ้นโลกที่เผชิญแรงเทขายมาตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่แล้วต่อเนื่องมาถึงสัปดาห์นี้ ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากความวิตกกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจในอียิปต์ และผลกระทบลูกโซ่ที่อาจลุกลามไปยังประเทศคู่ค้าและธุรกิจต่างชาติในประเทศนี้ อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยว ธนาคาร
ความวุ่นวายในอียิปต์มาจากความไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลของ ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ที่นอกจากจะกุมอำนาจเผด็จการมายาวนานเกือบ 30 ปี ยังเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชั่น
กระทั่งปัญหาราคาอาหารที่แพงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายกระตุ้นให้ประชาชนหลายพันคนรวมตัวต่อต้านและขับไล่รัฐบาล
ต้นรากอียิปต์เอฟเฟ็กต์
หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ ของอังกฤษตั้งข้อสังเกตว่า การประท้วงทั่วประเทศในอียิปต์ครั้งนี้ไม่เพียงจะสร้างความประหลาดใจในแง่ของขนาดของการประท้วง แต่ยังตีแผ่ปัจจัยที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ครั้งนี้ว่า มีต้นรากมาจากปัญหาสังคม และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร
ประชากรของอียิปต์ได้เพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านคน เป็น 80 ล้านคน ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงและบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ที่สำคัญ การเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรยังมาพร้อมกับช่องว่างรายได้ ระหว่างคนมีและคนไม่มี ซึ่งจากข้อมูลของธนาคารโลกพบว่าอัตราของประชากรที่ยากจนแบบสมบูรณ์ กล่าวคือ มีการดำเนินชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 16.7% เป็น 19.6% ในช่วงปี 2543 ถึง 2548
นอกจากนี้ยังพบว่า แม้รัฐบาลอียิปต์จะมีนโยบายอุดหนุนเพื่อลดผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาอาหารที่ทะยานขึ้นไปกว่า 17% ตามการทะยานของราคาคอมโมดิตี้โลก แต่ข้อมูลจาก CNNMoney ระบุว่า 40% ของชาวอียิปต์ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยรายได้ที่ไม่ถึง 2 ดอลลาร์ต่อวัน ดังนั้นจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบไปได้
อย่างไรก็ตาม อียิปต์ไม่ใช่ประเทศเดียวที่เผชิญกับการประท้วงทำนองเดียวกันนี้ สื่ออาหรับ "เดอะ เดลี สตาร์" รายงานว่า การประท้วงของประชาชนจำนวนมากที่ไม่พอใจต่อปัญหาการว่างงานที่พุ่งลิ่ว และราคาอาหารแพงได้ก่อตัวขึ้นทั่วไปในตูนิเซีย อียิปต์ แอลจีเรีย จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และเยเมน ขณะที่ CNNMoney รายงานเพิ่มเติมว่า พบการจลาจลในโมร็อกโกและปากีสถาน
วิกฤตอาหาร : ชนวนระเบิด
จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบุว่า ดัชนีราคาอาหารทั่วโลกได้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ พุ่งขึ้น 25% เฉลี่ยตลอดปี 2553 อันเป็น ผลมาจากราคาอาหารที่พุ่งขึ้นอย่างพรวดพราด ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด
สาเหตุที่ทำให้อาหารและสินค้าคอมโมดิตี้แพงลิบลิ่วมาจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ภัยแล้ง อุทกภัย และโรคระบาดที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ
อาทิ สภาพอากาศที่แปรปรวน เกิดฝนตกหนักในเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ผลผลิตข้าวโพดในไอโอวาลดลงประมาณ 9% แต่ความต้องการมีสูงมาก โดยเฉพาะจากโรงงานผลิต เอทานอลภายในรัฐ 41 แห่ง หรือการลดปริมาณฝูงสุกรลงจำนวนมากในแคนาดา เพื่อป้องกันโรคระบาด ทำให้ราคาหมูในสหรัฐพุ่งทะยานขึ้น เช่นเดียวกับราคาเนื้อสัตว์และฝ้ายที่ ปรับราคาขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ภาวะภัยแล้งในรัสเซียส่งผลให้ประเทศนี้ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตธัญพืชรายใหญ่รายหนึ่งของโลก ต้องหายหน้าไปจากตลาด เนื่องจากผลผลิตข้าวสาลีและข้าวโพดลดลง 35%
ในละตินอเมริกา โดยเฉพาะบราซิล กำลังประสบปัญหาการผลิตเอทานอลป้อนตลาด เนื่องจากอ้อยแพงขึ้นมาก
ไล่มาที่เอเชีย โรคมือและเท้าเปื่อยส่งผลให้ปริมาณผลผลิตในส่วนของปศุสัตว์ในเกาหลีใต้ที่ออกสู่ตลาดลดน้อยลงถึง 20% จนต้องเพิ่มการนำเข้าจากต่างประเทศ หรือกรณีที่ราคา ถั่วเหลืองในสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นจนเกือบทำสถิติใหม่ ๆ หลายครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการจากจีนที่เป็นผู้ซื้อ ถั่วเหลืองรายใหญ่ของสหรัฐ คาดการณ์กันว่า หากผลผลิตของอาร์เจนตินาลดลงอย่างฮวบฮาบ ราคาถั่วเหลืองในตลาดโลกจะวิ่งขึ้นอีก เนื่องจากจีนจะต้องนำเข้าถั่วเหลืองจากที่อื่นแทน
ประมวลมาตรการตั้งรับ
ไม่เพียงภัยธรรมชาติที่บั่นทอนผลผลิตอาหารให้ลดลงอย่างน่าตกใจ แต่จากรายงานข่าวของวอลล์สตรีต เจอร์นัล พบว่า ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ทั้งในสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป ทำให้นักลงทุนใช้ต้นทุนการเงินที่ถูกไปลงทุนในตลาดคอมโมดิตี้
ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้าว น้ำตาล ฝ้าย และน้ำมัน ส่งผลให้ราคาสินค้าเหล่านี้ขยับสูงขึ้น ยกตัวอย่างราคาถั่วเหลืองในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาพุ่งขึ้นถึง 46% ในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตร
ล่วงหน้าที่ชิคาโก (CBOT) ส่วนน้ำตาลในตลาดอินเตอร์คอนติเนนตัลเอ็กซ์เชนจ์ (ICE) พุ่ง 34% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ศาสตราจารย์นูเรียล รูบินี นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังจาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ให้สัมภาษณ์ CNNMoney ตอนหนึ่ง โดยเตือนว่า ราคาอาหารที่แพงขึ้นมากมักจะกลายเป็นปัจจัย ที่ก่อให้เกิดปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และกำลังเป็นภัยคุกคามโลกที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่ง โดยเฉพาะต่อเศรษฐกิจ ของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่
คำเตือนของรูบินีสอดรับสถานการณ์ที่หลายชาติในเอเชียกำลังเผชิญ อาทิ จีนที่พบว่าอัตราเงินเฟ้อที่มาจากแรงผลักของราคาอาหารพุ่งทะยาน 9.6% เมื่อเร็ว ๆ นี้ เช่นเดียวกับอินเดียที่เงินเฟ้อประเภทเดียวกันสูงถึง 18%
แรงกดดันดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลต่าง ๆ ในภูมิภาคต้องดิ้นหามาตรการรับมือ อาทิ ในอินโดนีเซียรัฐบาลตัดสินใจจะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้ากว่า 50 รายการ รวมถึงข้าวสาลี ถั่วเหลือง ปุ๋ย และอาหารสัตว์ เพื่อชะลอการปรับขึ้นราคาอาหาร และมีแผนจะขึ้นภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มจาก 20% เป็น 25% ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ รวมทั้งยังจัดสรรงบประมาณ 3 ล้านล้านรูเปียห์ เพื่อนำมาช่วยประชาชน
ในอินเดีย เลือกใช้วิธีขยายเวลาห้ามการส่งออกถั่วและน้ำมันประกอบอาหาร รวมทั้งเซ็นดีลกับเพื่อนบ้านคู่รักคู่แค้น ปากีสถาน เพื่อนำเข้าหัวหอมราว 1,000 ตัน ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในการปรุงอาหารของชาวภารต หลังราคาขึ้นสูงเพราะเหตุน้ำท่วม
แม้แต่จีนและอีกหลายประเทศในตะวันออกกลางใช้แนวทางควบคุมราคาสินค้า โดยเฉพาะจีนยังเพิ่มการเก็บสำรองสินค้าเชิงยุทธศาสตร์ เช่น อาหาร และวัตถุดิบ ส่วนเกาหลีใต้ใช้แนวทางลดภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการแทน เช่น นมผง และเมล็ดกาแฟ นอกเหนือจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย
แม้เกือบทุกประเทศกำลังทำงานแข่งกับเวลา แต่ยากจะคาดคะเนไดว่า เหตุการณ์ประท้วงทำนองเดียวกับที่เกิดขึ้นในอียิปต์และหลายประเทศในอาหรับ และแอฟริกาเหนือ จะ ลุกลามไปยังภูมิภาคใดและเอเชียคือหนึ่งในจำนวนนั้นหรือไม่
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////
พงศ์เทพ : วิเคราะห์เพื่อไทย ไขรหัสแก้รัฐธรรมนูญ
สัมภาษณ์พิเศษ
อีก 16 เดือน คนการเมือง 111 คน จะคืนเวที
ภายใต้สิ่งแวดล้อมทางการเมืองที่ถูกจัดระบบ-วางระเบียบใหม่
หลายคนปรากฏตัวต่อสาธารณะร่วมกับพรรคการเมืองสม่ำเสมอ
บางคนให้ความเห็นทางการเมืองในฐานะ "ที่ปรึกษา"
บางคนคลุกวงใน ล้วงลึกถึงห้องประชุมคณะรัฐมนตรี
"พงศ์เทพ เทพกาญจนา" เคยปรากฏตัวบนเวทีเสื้อแดง และเคียงคู่ "ทักษิณ" ในฐานะ "โฆษกส่วนตัว" เขาปรากฏความเห็นกับ "ประชาชาติธุรกิจ" วิพากษ์รัฐธรรมนูญ-คนกลาง และการกลับมาของ "ทักษิณ"
- มองการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร
ปัญหาหลักของรัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกร่างขึ้นมาหลังการยึดอำนาจ จึงไม่ได้ให้อำนาจอธิปไตยอยู่กับประชาชน แต่ให้ไปอยู่กับคนกลุ่ม เล็ก ๆ เช่น องค์กรอิสระและศาล
กกต. 5 คนแรกหลังการยึดอำนาจ ซึ่งขณะนี้ยังดำรงตำแหน่งอยู่ 4 คน ตั้งโดยคณะปฏิรูปฯ ในเวลานี้หัวหน้าคณะปฏิรูปฯมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ป.ป.ช.ทั้งหมดตั้งโดยคณะปฏิรูปฯ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินได้ดำรงตำแหน่งต่อและยังควบตำแหน่งประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามคำสั่งคณะปฏิรูปฯ บุคคลจาก องค์กรเหล่านี้มีบทบาทเลือกสมาชิกวุฒิสภาถึง 74 คน
ระบบการเลือกตั้งจากเดิม ส.ส.เขตละคน และบัญชีรายชื่อใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ไปเป็นแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ แล้วซอยบัญชีรายชื่อเป็น 8 เขต เพื่อไม่ให้พรรคไทยรักไทยหรือพรรคที่สืบทอดอุดมการณ์และแนวทางการทำงานของไทยรักไทยได้คะแนน
- คน 111 ได้รับสิทธิแล้วจะกลับมาทำงานการเมืองหรือไม่
คนใน 111 จำนวนหนึ่งเท่าที่ผมคุยยังคิดที่จะกลับมาทำงานการเมืองอยู่ สำหรับตัวผมไม่เคยคิดจะทำงานการเมืองไปยาวนาน เพราะเมื่อทำการเมืองไประยะหนึ่ง ก็อยากจะใช้เวลากับสิ่งที่อยากทำ เช่น นั่งเขียนหนังสือ การทำงานการเมืองต้องทุ่มเทเวลาเยอะ
- จะกลับมาอยู่พรรคของคุณทักษิณ
แนวคิดการเมืองของ 111 จำนวนหนึ่งยังยึดมั่นในแนวทางการทำงานแบบพรรคไทยรักไทย ถ้าจะทำงานการเมือง ก็ต้องยึดมั่นในแนวนั้นแหละครับ
- ประเมินการทำงานเพื่อไทยอย่างไร
ถูกตัดบุคลากรไปเยอะ และถูกรุมในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะเมื่อหัวหน้าพรรคไม่ได้เป็น ส.ส. บทบาทในสภาที่เคยปรากฏต่อสังคมอย่างเด่นชัด ก็แตกต่างจากพรรคการเมืองอื่น พรรคเพื่อไทยถือว่าเสียเปรียบในเรื่องนี้
- อดีตไทยรักไทย จะกลับมาเป็นความหวังสำหรับเพื่อไทยหรือไม่
คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไป มีประสบการณ์ในสภาและการบริหาร เมื่อถูกยุบพรรค ทำให้พรรคสร้างบุคลากรทางการเมืองใหม่ ๆ ไม่ทัน
- คุณทักษิณรอดคดีซุกหุ้น ใช้หลักรัฐศาสตร์มากกว่านิติศาสตร์ เหมือนคดี ปชป.รอด
หลักคือกระบวนการยุติธรรมต้องไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ดร.ทักษิณ หรือพรรคประชาธิปัตย์ ศาลต้องไม่คำนึงว่าคนที่มาเป็นคู่ความเป็นใคร ตุลาการแต่ละคนเห็นต่างกันได้ แต่ต้องบริสุทธิ์ คือเห็นจากความรู้ ความคิดมโนสำนึก ไม่ใช่เพราะไปสุมหัวเพื่อช่วยใคร หรือรับใบสั่งใครมา
- ช่วงที่ถูก ศอฉ.แช่แข็งบัญชีเป็น อย่างไรบ้าง
ตอนนั้น ไปกินข้าวไหน ก็มีแต่คนเลี้ยงครับ การที่มีคำสั่งจากตัว ผอ.ศอฉ.ให้แช่แข็งบัญชี คำสั่งนั้นผิดกฎหมายนะครับ ผิด พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะตาม พ.ร.ก.อำนาจในการออกประกาศตามมาตรา 11(6) ที่ ศอฉ. ใช้แช่แข็งบัญชี เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี มอบอำนาจไม่ได้ แต่คุณอภิสิทธิ์ไปมอบอำนาจนี้ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งผิดตั้งแต่ต้น
- จะไปดำเนินคดีในเรื่องนี้หรือไม่
รอให้กระบวนการยุติธรรมกลับ เข้ารูปเข้ารอยตามเดิมยังมีกรณีที่ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิตและบาดเจ็บจากการถูกยิงช่วงเดือนเมษาและพฤษภา 53 ผู้เสียหายเขาก็ทราบดีว่ามีอายุความ 20 ปี
- คุณทักษิณยังมีความหมายกับการเมืองไทย ในฐานะอะไร
ไม่มีใครปฏิเสธได้ ถึงบทบาทและความสำคัญของ ดร.ทักษิณต่อการเมืองไทย เพราะยังมีความสำคัญอยู่มาก จากการเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย มีคนรักมาก แต่ก็มีคนต่อต้านหลายกลุ่มด้วยกัน
- ความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรค ควรจะเป็นอย่างไร
คนเสื้อแดงกับเพื่อไทยมีจุดร่วมในเรื่องแนวคิดทางการเมืองที่เหมือนกัน คือการเน้นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอยู่กับประชาชน
- ถ้าคุณทักษิณได้รับคืนสิทธิเลือก ตั้งแต่ยังอยู่ระหว่างต้องคดี อนาคตของอดีตนายกฯจะเป็นอย่างไร
อนาคตคงต้องดูเรื่องอนาคต การเมืองไทยขณะนี้ อย่าว่าแต่มองไกลเป็นปีเลย มองแค่ 3-4 เดือนต่อไป ก็ยังพยากรณ์ลำบากแล้ว
- ผลการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคเพื่อไทยจะได้เกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
ถ้าประชาชนเห็นกับแนวทางพรรคเพื่อไทยก็อยู่ในซีกนี้ แต่ถ้าเห็นกับแนวทางประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงอย่างแท้จริง ก็มีพรรคอื่น แล้วแต่ประชาชนจะเลือกแนวทางไหน
- คุณทักษิณไม่ได้รอเพียงสิทธิเลือกตั้ง แต่มีคดีติดตัว จะทำอย่างไร
คดีบางอย่างไม่ได้เริ่มจากกลไกกระบวนการยุติธรรมตามปกติ เช่น การตั้ง คตส. เหมือนกลไกจัดการปรปักษ์ของคุณทักษิณ ซึ่งไม่ถูกต้องตั้งแต่ต้น
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
อีก 16 เดือน คนการเมือง 111 คน จะคืนเวที
ภายใต้สิ่งแวดล้อมทางการเมืองที่ถูกจัดระบบ-วางระเบียบใหม่
หลายคนปรากฏตัวต่อสาธารณะร่วมกับพรรคการเมืองสม่ำเสมอ
บางคนให้ความเห็นทางการเมืองในฐานะ "ที่ปรึกษา"
บางคนคลุกวงใน ล้วงลึกถึงห้องประชุมคณะรัฐมนตรี
"พงศ์เทพ เทพกาญจนา" เคยปรากฏตัวบนเวทีเสื้อแดง และเคียงคู่ "ทักษิณ" ในฐานะ "โฆษกส่วนตัว" เขาปรากฏความเห็นกับ "ประชาชาติธุรกิจ" วิพากษ์รัฐธรรมนูญ-คนกลาง และการกลับมาของ "ทักษิณ"
- มองการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร
ปัญหาหลักของรัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกร่างขึ้นมาหลังการยึดอำนาจ จึงไม่ได้ให้อำนาจอธิปไตยอยู่กับประชาชน แต่ให้ไปอยู่กับคนกลุ่ม เล็ก ๆ เช่น องค์กรอิสระและศาล
กกต. 5 คนแรกหลังการยึดอำนาจ ซึ่งขณะนี้ยังดำรงตำแหน่งอยู่ 4 คน ตั้งโดยคณะปฏิรูปฯ ในเวลานี้หัวหน้าคณะปฏิรูปฯมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ป.ป.ช.ทั้งหมดตั้งโดยคณะปฏิรูปฯ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินได้ดำรงตำแหน่งต่อและยังควบตำแหน่งประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามคำสั่งคณะปฏิรูปฯ บุคคลจาก องค์กรเหล่านี้มีบทบาทเลือกสมาชิกวุฒิสภาถึง 74 คน
ระบบการเลือกตั้งจากเดิม ส.ส.เขตละคน และบัญชีรายชื่อใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ไปเป็นแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ แล้วซอยบัญชีรายชื่อเป็น 8 เขต เพื่อไม่ให้พรรคไทยรักไทยหรือพรรคที่สืบทอดอุดมการณ์และแนวทางการทำงานของไทยรักไทยได้คะแนน
- คน 111 ได้รับสิทธิแล้วจะกลับมาทำงานการเมืองหรือไม่
คนใน 111 จำนวนหนึ่งเท่าที่ผมคุยยังคิดที่จะกลับมาทำงานการเมืองอยู่ สำหรับตัวผมไม่เคยคิดจะทำงานการเมืองไปยาวนาน เพราะเมื่อทำการเมืองไประยะหนึ่ง ก็อยากจะใช้เวลากับสิ่งที่อยากทำ เช่น นั่งเขียนหนังสือ การทำงานการเมืองต้องทุ่มเทเวลาเยอะ
- จะกลับมาอยู่พรรคของคุณทักษิณ
แนวคิดการเมืองของ 111 จำนวนหนึ่งยังยึดมั่นในแนวทางการทำงานแบบพรรคไทยรักไทย ถ้าจะทำงานการเมือง ก็ต้องยึดมั่นในแนวนั้นแหละครับ
- ประเมินการทำงานเพื่อไทยอย่างไร
ถูกตัดบุคลากรไปเยอะ และถูกรุมในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะเมื่อหัวหน้าพรรคไม่ได้เป็น ส.ส. บทบาทในสภาที่เคยปรากฏต่อสังคมอย่างเด่นชัด ก็แตกต่างจากพรรคการเมืองอื่น พรรคเพื่อไทยถือว่าเสียเปรียบในเรื่องนี้
- อดีตไทยรักไทย จะกลับมาเป็นความหวังสำหรับเพื่อไทยหรือไม่
คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไป มีประสบการณ์ในสภาและการบริหาร เมื่อถูกยุบพรรค ทำให้พรรคสร้างบุคลากรทางการเมืองใหม่ ๆ ไม่ทัน
- คุณทักษิณรอดคดีซุกหุ้น ใช้หลักรัฐศาสตร์มากกว่านิติศาสตร์ เหมือนคดี ปชป.รอด
หลักคือกระบวนการยุติธรรมต้องไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ดร.ทักษิณ หรือพรรคประชาธิปัตย์ ศาลต้องไม่คำนึงว่าคนที่มาเป็นคู่ความเป็นใคร ตุลาการแต่ละคนเห็นต่างกันได้ แต่ต้องบริสุทธิ์ คือเห็นจากความรู้ ความคิดมโนสำนึก ไม่ใช่เพราะไปสุมหัวเพื่อช่วยใคร หรือรับใบสั่งใครมา
- ช่วงที่ถูก ศอฉ.แช่แข็งบัญชีเป็น อย่างไรบ้าง
ตอนนั้น ไปกินข้าวไหน ก็มีแต่คนเลี้ยงครับ การที่มีคำสั่งจากตัว ผอ.ศอฉ.ให้แช่แข็งบัญชี คำสั่งนั้นผิดกฎหมายนะครับ ผิด พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะตาม พ.ร.ก.อำนาจในการออกประกาศตามมาตรา 11(6) ที่ ศอฉ. ใช้แช่แข็งบัญชี เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี มอบอำนาจไม่ได้ แต่คุณอภิสิทธิ์ไปมอบอำนาจนี้ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งผิดตั้งแต่ต้น
- จะไปดำเนินคดีในเรื่องนี้หรือไม่
รอให้กระบวนการยุติธรรมกลับ เข้ารูปเข้ารอยตามเดิมยังมีกรณีที่ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิตและบาดเจ็บจากการถูกยิงช่วงเดือนเมษาและพฤษภา 53 ผู้เสียหายเขาก็ทราบดีว่ามีอายุความ 20 ปี
- คุณทักษิณยังมีความหมายกับการเมืองไทย ในฐานะอะไร
ไม่มีใครปฏิเสธได้ ถึงบทบาทและความสำคัญของ ดร.ทักษิณต่อการเมืองไทย เพราะยังมีความสำคัญอยู่มาก จากการเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย มีคนรักมาก แต่ก็มีคนต่อต้านหลายกลุ่มด้วยกัน
- ความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรค ควรจะเป็นอย่างไร
คนเสื้อแดงกับเพื่อไทยมีจุดร่วมในเรื่องแนวคิดทางการเมืองที่เหมือนกัน คือการเน้นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอยู่กับประชาชน
- ถ้าคุณทักษิณได้รับคืนสิทธิเลือก ตั้งแต่ยังอยู่ระหว่างต้องคดี อนาคตของอดีตนายกฯจะเป็นอย่างไร
อนาคตคงต้องดูเรื่องอนาคต การเมืองไทยขณะนี้ อย่าว่าแต่มองไกลเป็นปีเลย มองแค่ 3-4 เดือนต่อไป ก็ยังพยากรณ์ลำบากแล้ว
- ผลการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคเพื่อไทยจะได้เกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
ถ้าประชาชนเห็นกับแนวทางพรรคเพื่อไทยก็อยู่ในซีกนี้ แต่ถ้าเห็นกับแนวทางประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงอย่างแท้จริง ก็มีพรรคอื่น แล้วแต่ประชาชนจะเลือกแนวทางไหน
- คุณทักษิณไม่ได้รอเพียงสิทธิเลือกตั้ง แต่มีคดีติดตัว จะทำอย่างไร
คดีบางอย่างไม่ได้เริ่มจากกลไกกระบวนการยุติธรรมตามปกติ เช่น การตั้ง คตส. เหมือนกลไกจัดการปรปักษ์ของคุณทักษิณ ซึ่งไม่ถูกต้องตั้งแต่ต้น
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
"ธิดา"แจกคู่มือปลุกเสื้อแดงลุกต้านรัฐประหาร "จตุพร"แฉ3จุดทหารซุ่มคุยปฏิวัติ เปิดช่องลี้ภัยเข้ายุโรปได้
นางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงว่า มีกระแสข่าวจะเกิดการทำรัฐประหาร จึงขอเรียกร้องให้แกนนำในระดับต่างๆ ที่มีอยู่ในกลุ่มนั้นๆ ปฏิบัติการแทนแกนนำเดิมที่ถูกคุมคามจนไม่อาจทำงานได้ โดยจะใช้รูปธรรมในการต่อสู้ให้สอดคล้องความเป็นจริงของแต่ละพื้นที่ บนพื้นฐานไม่ยอมจำนน ใช้สันติวิธีให้มากที่สุดมาต่อต้านรัฐประหาร ไม่เลือกวิธีเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แต่จะต้องระดมประชาชนออกมาต่อต้านรัฐประหารให้มากที่สุด โดยให้คนเสื้อแดงทุกกลุ่มปฏิบัติตามคู่มือต่อต้านรัฐประหารจากสถาบัน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่แกนนำคนเสื้อแดงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ คือ 1.ออกมายืนตามถนน ถ้ามีการปราบให้สลายตัวแล้วออกมาใหม่ไม่เป็นเป้านิ่ง เคลื่อนไหวเร็วไม่ต้องมีเวที 2.จอดรถ นำสิ่งของมาทิ้งไว้กลางถนน เพื่อขวางการเคลื่อนกำลัง 3.ปฏิเสธคำสั่งหรือประกาศใดๆ ไม่ให้ความร่วมมือกับทางการและคณะรัฐประหาร 4.แสดงท่าทีเป็นมิตรกับทหาร และชวนทหารมาเป็นพวกให้ได้มากที่สุด 5.ยึดมั่นสันติวิธีทุกอย่าง ยกเว้นการใช้อาวุธ
นางธิดากล่าวต่อว่า 6.สร้างสัญลักษณ์การต่อต้านที่เสื้อหรืออาจผูกผ้าสีดำที่แขนเสื้อหรือสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารเป็นสติ๊กเกอร์หรือธง มีข้อความต่อต้านรัฐประหารทุกที่ ถ้าถูกเอาออกก็มาติดใหม่ 7.บันทึกภาพการปราบปรามประชาชนหรือการเคลื่อนย้ายกำลัง บันทึกภาพ เสียง รักษาต้นฉบับเอาไว้ และแจกจ่ายโดยวิธีการต่างๆ ให้กว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านเครือข่ายสังคม เช่น ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก 8.ทำจดหมายจากประชาชนเรียกร้องให้ศาลไม่ให้รับรองคณะรัฐประหาร 9.ต่อต้านกลุ่มที่สนับสนุนการทำรัฐประหารทางเศรษฐกิจ โดยจะประจานและประท้วงธุรกิจนั้นๆ และ 10.หยุดงานและมีการชุมนุมประท้วง เชิญชวนประชาชนให้มาร่วมชุมนุมให้มากที่สุด เพราะเราไม่สามารถเชื่อใจแม่ทัพนายกองที่มีอยู่ในกองทัพปัจจุบันได้
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย (พท.) และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า สำหรับเซฟเฮาส์ที่นายทหารไปแอบหารือกันเพื่อเตรียมการปฏิวัตินั้น จุดที่ 1 คือเซฟเฮาส์ย่านลาดพร้าว ซึ่งใกล้กับศูนย์การค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว จุดที่ 2 ที่ค่ายทหารม้า จ.เพชรบูรณ์ และล่าสุด จุดที่ 3 เป็นการหารือกันในโรงแรมย่านรัชดาฯ มีชื่อเหมือนแม่น้ำ โดยในวงพูดคุยนั้นระบุว่ากำลังรอเพียงสัญญาณการเคลื่อนกำลังพลเพียงอย่างเดียว ซึ่งการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ออกมาปฏิเสธว่าจะไม่ทำการปฏิวัตินั้น ยกเว้นเอาไว้เพียงแต่ว่ามีคนสั่งให้ปฏิวัติ เพราะกำลัง อาวุธ และน้ำมันนั้นถูกเตรียมเอาไว้พร้อมแล้ว
"คณะรัฐประหารชุดนี้จะกระโดดข้ามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และรัฐบาลเพื่อมากระทืบคนเสื้อแดงโดยเฉพาะ ฉะนั้น ขอนัดหมายกับคนเสื้อแดงว่า ทันทีที่มีการยึดอำนาจ ขอให้ทุกคนจากทุกที่ไปรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยโดยทันที และเริ่มต้นแตกหัก ซึ่งผมและแกนนำคนอื่นๆ จะเดินทางไปทันที หากไม่ตายหรือถูกจับไปก่อน ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณสมาชิกรัฐสภาบางประเทศในกลุ่มยุโรปที่ได้ติดต่อประสานงานและแนะนำมาว่า หากเกิดการทำรัฐประหารให้ผมและครอบครัวไปลี้ภัยทางการเมืองได้ แต่ผมจะไม่ไป จะขอสู้ตายในประเทศไทย" นายจตุพรกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////
นางธิดากล่าวต่อว่า 6.สร้างสัญลักษณ์การต่อต้านที่เสื้อหรืออาจผูกผ้าสีดำที่แขนเสื้อหรือสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารเป็นสติ๊กเกอร์หรือธง มีข้อความต่อต้านรัฐประหารทุกที่ ถ้าถูกเอาออกก็มาติดใหม่ 7.บันทึกภาพการปราบปรามประชาชนหรือการเคลื่อนย้ายกำลัง บันทึกภาพ เสียง รักษาต้นฉบับเอาไว้ และแจกจ่ายโดยวิธีการต่างๆ ให้กว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านเครือข่ายสังคม เช่น ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก 8.ทำจดหมายจากประชาชนเรียกร้องให้ศาลไม่ให้รับรองคณะรัฐประหาร 9.ต่อต้านกลุ่มที่สนับสนุนการทำรัฐประหารทางเศรษฐกิจ โดยจะประจานและประท้วงธุรกิจนั้นๆ และ 10.หยุดงานและมีการชุมนุมประท้วง เชิญชวนประชาชนให้มาร่วมชุมนุมให้มากที่สุด เพราะเราไม่สามารถเชื่อใจแม่ทัพนายกองที่มีอยู่ในกองทัพปัจจุบันได้
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย (พท.) และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า สำหรับเซฟเฮาส์ที่นายทหารไปแอบหารือกันเพื่อเตรียมการปฏิวัตินั้น จุดที่ 1 คือเซฟเฮาส์ย่านลาดพร้าว ซึ่งใกล้กับศูนย์การค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว จุดที่ 2 ที่ค่ายทหารม้า จ.เพชรบูรณ์ และล่าสุด จุดที่ 3 เป็นการหารือกันในโรงแรมย่านรัชดาฯ มีชื่อเหมือนแม่น้ำ โดยในวงพูดคุยนั้นระบุว่ากำลังรอเพียงสัญญาณการเคลื่อนกำลังพลเพียงอย่างเดียว ซึ่งการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ออกมาปฏิเสธว่าจะไม่ทำการปฏิวัตินั้น ยกเว้นเอาไว้เพียงแต่ว่ามีคนสั่งให้ปฏิวัติ เพราะกำลัง อาวุธ และน้ำมันนั้นถูกเตรียมเอาไว้พร้อมแล้ว
"คณะรัฐประหารชุดนี้จะกระโดดข้ามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และรัฐบาลเพื่อมากระทืบคนเสื้อแดงโดยเฉพาะ ฉะนั้น ขอนัดหมายกับคนเสื้อแดงว่า ทันทีที่มีการยึดอำนาจ ขอให้ทุกคนจากทุกที่ไปรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยโดยทันที และเริ่มต้นแตกหัก ซึ่งผมและแกนนำคนอื่นๆ จะเดินทางไปทันที หากไม่ตายหรือถูกจับไปก่อน ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณสมาชิกรัฐสภาบางประเทศในกลุ่มยุโรปที่ได้ติดต่อประสานงานและแนะนำมาว่า หากเกิดการทำรัฐประหารให้ผมและครอบครัวไปลี้ภัยทางการเมืองได้ แต่ผมจะไม่ไป จะขอสู้ตายในประเทศไทย" นายจตุพรกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////
พยานทหารนิรนามปากที่ 22 กล่าวหารัฐบาล
โดย หนังสือพิมพ์สปีเกิ้ล
ภาพถ่ายของเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคมปี 2553 ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครได้ถูกเผยแพร่ไปทั่งโลก แต่เรื่องราวของการต่อสู้นท้องถนนยังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ ทนายชาวแคนาดาผู้ซึ่งพยายามดำเนินคดีกับนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แบ่งปันหลักฐานที่เขารวบรวมกับสปีเกิ้ล
ธงแดงของฝ่ายตรงข้ามโบกสบัดอีกครั้ง เมื่อผู้ชุมนุมราว 40,000 คนรวมตัวกันในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร พวกเขาโบกภาพอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและสวมเสื้อสีแดงซึ่งเป็นกลายชื่อของการเคลื่อนไหวพวกเขา
ผู้ชุมนุมต่างรู้สึกโกรธแค้น พวกเขาร้องเพลงและโบกธงขับไล่ “อำมาตย์” กลุ่มผู้นำซึ่งรวมถึงชนชั้นสูง ทหาร และรัฐบาล ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ฝ่ายตรงข้ามเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่ “ทำลายเสรีภาพ” ของประเทศ พวกเขาเรียกร้องให้อธิบายถึงเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นช่วงหลังการประท้วงรัฐบาลเมื่อเกือบปีก่อน
“รัฐบาลพูดถึงเรื่องการสมานฉันท์ปรองดอง แต่สำหรับพวกเราแล้วเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงเป็นเรื่องที่สุดจะทน ” วรชัย เหมะ หนึ่งในผู้นำคนเสื้อแดงกล่าว “ผู้นำส่วนใหญ่ของเรายังอยู่ในคุกและรัฐบาลไม่ดำเนินการสอบสวนถึงอาชญากรรมที่กองทัพกระทำเลย”
ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันที่แยกราชประสงค์สองครั้งในเดือนมกราคม แยกราชประสงค์เป็นที่ที่ผู้ชุมนุมเลือกให้เป็นสถานที่สัญลักษณ์ ซึ่งเป็นจุดที่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหลายสิบรายเสียชีวิตจากการสาดกระสุนของทหาร และยังใกล้กับห้องเซ็นทรัลเวิร์ล ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้งสิ้นค้าต่างๆและเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพงถูกเผาวอดวาย
ความรุนแรงครั้วล่าสุดตั้งแต่ยุค 70
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางเมืองมากกว่าสองเดือน แสดงให้เห็นถึงการปะทุของความรุนแรงทางการเมืองตั้งแต่ยุค 70 ที่รัฐบาลบดขยี้การชุมนุมประท้วงของนักศึกษา
รูปถ่ายที่สร้างความสนใจให้ชาวโลกเหตุการณ์ปี 2553 อย่างมากคือภาพถ่ายนอกพื้นที่สงคราม –พลซุ่มยิงพรางตัว และฝ่ายตรงข้ามที่ถูกสังหารเพราะถูกยิงศรีษะ ผู้ชุมนุมที่ไม่อาจป้องกันตัวเองได้รู้สึกโกรธแค้นทันที ในขณะที่อีกหลายคนเสียชีวิตต่อหน้ากล้อง
ประชาชนราว 1,900 ได้รับบาดเจ็บ ในระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 และราว 90 รายเสียชีวิต ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ไม่สมน้ำสมเนื้อ–เพราะมีทหารเสียชีวิต 9นาย แต่มีพลเรือนกว่า 80 รายเสียชีวิต รวมถึงพยาบาล และนักข่าวต่างชาติสองราย
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยังคงดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล แต่ได้ย้ายที่พักอาศัยไปยังกรมทหารราบที่ 11 ในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน เขาได้รับการสนับสนุนโดยทหารที่ทำรัฐประหารขับไล่ทักษิณซึ่งนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่งและต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีหลายคนเชื่อว่านายอภิสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนจาก....
การสอบสวนไม่ค่อยมีความคืบหน้า
ไม่น่าแปลกใจที่ การสอบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของคนเสื้อแดงไม่มีความคืบหน้า “กองทัพและตำรวจแทบจะไม่ให้ความร่วมมือกับเรา” สมชาย หอมลออ หนึ่งในคณะกรรมการค้นหาความจริงและปรองดองสมานฉันท์ที่ตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้วหลังจากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง กำหนดการเผยแพร่รายงานสรุปถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเปิดเผยความจริงโดยไม่ที่ไม่มีการตั้งคำถามกับทหารที่เกี่ยวข้อง สมชายกล่าว
แต่สถานการณ์อาจเปลี่ยนไป เมื่อทนายชาวแคนาดา นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมได้รวบรวมหลักฐาน ซึ่งเขานำไปแสดงต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในอาทิตย์นี้ และสปีเกิ้ลมีโอกาสได้อ่านแล้ว
เอกสารนี้ไม่เพียงแต่กล่าวหากองทัพไทย แต่ยังกล่าวหานายกรัฐมนตรีอีกด้วย หากข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล รัฐบาลอภิสิทธิ์มีหน้าที่ที่จะต้องอธิบายเรื่องราวคอคาดบาดตายหลายเรื่อง หลักฐานหลักของนายอัมสเตอร์ดัมคือคำให้การภายใต้คำสาบานของนายทหารตำแหน่งสูงในกองทัพ ซึ่งในเอกสารของทนายแคนาดาระบุว่าเป็นคำให้การของ “พยานนิรนามปากที่ 22”
คำให้การเหล่านี้ระบุว่า ทหารรู้ว่าหลังการทำรัฐประหารปี 2549 –ซึ่งเป็นการทำรัฐประหารครั้งที่ 18 ตั้งแต่ปี 2475—จะมีการชุมนุมต่อต้านครั้งใหญ่จากกลุ่มคนที่สนับสนุนทักษิณจะเกิดขึ้นไม่เร็วก็ช้า ผู้นำทหารเริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆที่จะใช้ความรุนแรงทำลายการชุมนุม และเป็นการกระทำที่ “รัฐบาลรับรู้และให้อนุญาติ” พยานเล่าต่อว่า พวกเขาได้จำลองถนนในกรุงเทพ “ขนาดเท่าจริง” ภายในกรมทหารราบที่ 11 เพื่อเข้ารับฝึกฝนจากพลแม่นปืนติดอาวุธ
การตอบโต้โดยการสังหารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์
หลังจากการชุมนุมประท้วงในปี 2552 พยานอ้างว่า อดีตนายทหารระดับสูง พลเอก ป. ได้สั่งการเป็นการส่วนตัวให้คนกลุ่มนี้ “ สังหารแกนนำคนเสื้อแดงบางคน” เพื่อตอบโต้การประท้วงหน้าบ้านของเขา ผู้ชุมนุมอย่างน้อย 6รายถูกสังหาร และพวกเขากล่าวว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 100 คน เมื่อไม่มีสื่อต่างชาติให้ความสนใจกับการสังหารนี้ ผู้นำทหารไม่รู้สึกผิดต่อการกระทำของตน พยานกล่าว
ในระหว่างนั้น พวกเขายังใช้ยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อสร้าง “ภาพลักษณ์ที่ผิดๆ” ของคนเสื้อแดงต่อสาธารณชนว่า “เป็นกลุ่มหัวรุนแรง” อันตรายและเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ และส่ง “กลุ่มผู้ยั่วยุ” ออกไป “สร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชนและโทษว่าเป็นฝีมือของคนเสื้อแดง” โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 กลุ่มเหล่านี้จะวางระเบิดในหลายพื้นที่–และโทษว่าเป็นความผิดของคนเสื้อแดง
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและคนเสื้อแดงไต่ขึ้นสู่จุดสูงสุดในวันที่ 10 เมษายน 2553 คนเสื้อแดงยึดพื้นที่ราชประสงค์หนึ่งอาทิตย์ก่อนหน้านั้น และทำให้ศูนย์กลางค้าและโรงแรมบางแห่งในใจกลางกรุงเทพมหานครต้องปิดตัวลง เมื่อมีการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินได้ราวสามวัน ทหารได้จัดจุดของพลซุ่มยิงและอาวุธปืนสงครามในจุดสำคัญเพื่อไม่ให้การชุมนุมขยายบริเวณ
สิ่งที่ยังไม่รู้คือ รัฐบาลมีบทบาทใดในการเตรียมการกำจัดผู้ชุมนุม หรือนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์รู้เรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
หากพยานนายอัมสเตอร์ดัมน่าเชื่อถือ เขากล่าว่านายกรัฐมนตรีมีส่วนรู้เห็นเกือบทั้งหมด “นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์อยู่ในที่ประชุมกับผู้นำรัฐบาล ผู้นำทหาร และศอฉ. (ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) เกี่ยวกับการดำเนินการต่อคนเสื้อแดง ” พยานยืนกรานว่า “เขาอนุมัติถูกคำสั่งแก่กองทัพ”
การสังหารอย่างไม่เจาะจง
ในวันที่ 10 เมษานย ผู้ชุมนุมหลายพันคนได้รวมกลุ่มกันชุมนุมบริเวณที่ทำการรัฐบาล ตามคำให้การของพยานนิรนามปากที่ 22 ระบุว่า พลซุ่มยิงยิงใส่ประชาชนแถวแยกคอกวัวเวลาประมาณ 17.00 น.ซึ่งเป็นการกระทำที่รัฐบาลระบุว่าเป็นการ “ป้องกันตัว” แต่พยานทหารอ้างว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ยั่วยุให้ประชาชนทำร้ายทหาร
หนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น พลซุ่มยิงบนดาดฟ้าโรงเรียนสตรีวิทยาได้ยิงคนเสื้อแดงและทหารจากกรมทหารที่ 2 ยิงใส่ฝูงชนใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กระสุนปืนได้คร่าชีวิตของช่างภาพชาวญี่ปุ่น ฮิโร มูราโมโต
พยานนิรนามปากที่ 22 กล่าวว่า ผู้ชุมนุมแทบจะไม่ตอบโต้กับทหารเลยในตอนนั้น “แต่อย่างไรก็ตามประชาชนไม่ได้วางเฉยต่อภัยอันตราย” พยานปากที่ 22 ระบุว่า “ประชาชนเพียงแค่จุดปะทัดและโยนขวดน้ำพลาสติกใส่ทหาร”
“ราว 19:15 น. เกิดเหตุระเบิดสองลูกด้านหลังที่ตั้งของกรมทหารราบที่ 2” พยานกล่าวต่อว่า มีทหารหลายนายเสียชีวิตในการโจมตีนั้น พยานของนายอัมสเตอร์ดัมจึงไม่รู้ว่าทหารถูกสังหารโดยคนเสื้อแดงหรือกลุ่มผู้ยั่วยุจากกองทัพ การโจมตีนำไปสู่การนองเลือด เพราะกรมทหารราบที่ 2 ยิงรัวแบบไม่เลือก ลงท้ายด้วยการเสียชีวิตของประชาชน 25ราย และอีก 800 รายได้รับบาดจ็บ
นักข่าวตกเป็นเป้าสังหาร
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ภารกิจของทหารยังไม่ประสบความสำเร็จ รูปภาพความโหดร้ายของทหารทำให้ผู้นำทหารรู้สึกกระวนกระวาย พยานปากที่ 22 กล่าวว่า มีคำสั่งให้ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพและวิดีโอของเหตุการณ์ ซึ่งทำให้กรมทหารราบที่ 2 ต้อง “ตั้งเป้าทำร้ายนักข่าวที่เข้ามาในบริเวณดังกล่าว” นอกจากนี้พยานยังระบุว่ากองทัพได้รับคำสั่งให้ “ยิงทุกคนที่พยายามเคลื่อนย้ายศพ”
พวกเขา (พยาน) กล่าวว่าปฏิบัติการที่คล้ายกันนี้สำเร็จเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่แยกราชประสงค์ถูกกวาดล้าง รถถังได้พังเขาไปในรั้วที่ลุกโชนด้วยเปลวไฟของฝ่ายตรงข้ามในตอนเช้า พลซุ่มยิงยิงลงมาจากดาดฟ้า และทหารเข้สไปประจำการบนรางรถไฟฟ้า ไล่ให้ลุ่มคนเสื้อแดงเข้าไปอยู่ในลานวัด
พยานของทนายอัมสเตอร์ดัมระบุว่า ทหารได้รับคำสั่งให้ยิงผู้ต้องสงสัยที่ถืออาวุธ ซึ่งไม่ใช่อะไรนอกจากหนังสติ๊ก และให้สังหารแกนนำเสื้อแดงด้วย
มีประชาชนอย่างน้อย 14 รายเสียชีวิตในวันนั้น รวมถึงพยาบาลสองราย และช่างภาพนักข่าวนายฟาบิโอ โปเลงกี ผู้ซึ่งส่งภาพให้สปีเกิ้ลเป็นประจำ
พยานปากที่ 22 ได้ระบุถึงข้อกล่าวหาที่ร้ายร้าง โดยกล่าวว่าราว 17:45 น. หลังจากที่ทหารบุกเข้าไปในรั้วกั้นของคนเสื้อแดงรั้วสุดท้าย และแกนนำเสื้อแดงได้มอบตัวกับตำรวจแล้ว มีกลุ่มบุคคลร่วมกับทหารได้บุกเข้าไปในห้างเซ็นทรัลเวิร์ลและจุดไฟเผาห้าง เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงความโกรธแค้นของคนเสื้อแดง
อัมสเตอร์ดัมได้ว่าจ้างผู้เชียวชาญทางการทหาร โจ วิทตี้ ซึ่งเป็นทหารหน่วยรบพิเศษ เพื่อเป็นทหารผู้เชี่ยวชาญในคดีนี้ หลังจากศึกษาปากคำให้การของพยานและวิดีโอเหตุการณ์ วิทตี้สรุปว่า “กองทัพตั้งเป้าสังหารประชาชนที่ไม่มีอาวุธครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงวันที่ 10 เมษายนและ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งไม่ใช่การใช้กำลังร้ายแรงตามหลักมาตราฐานของกฎการใช้กำลัง แต่เป็นการใช้กำลังที่ไม่มีเหตุร้ายประชิดตัว อย่างไม่ชอยธรรม จงใจ และเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรม”
ที่มา.ประเทศไทย Robert Amsterdam
คำเตือน 5 ข้อ สำหรับประเทศไทย เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร
โดย อัครพงษ์ ค่ำคูณ
เตือนที่ 1 ศาลโลกตัดสินยกแต่เฉพาะตัวปราสาท ไม่รวมพื้นดินใต้ปราสาท จริงหรือ?
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.)
"อย่างไรก็ดี ศาลมีความเห็นว่าประเทศไทยใน ค.ศ.1908-09 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ศาลมีความเห็นต่อไปว่า เมื่อพิจารณาโดยทั่วๆ ไป การกระทำต่อๆ มาของไทยมีแต่ยืนยันและชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่าการกระทำของไทยในเขตท้องที่ก็ไม่เพียงพอที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง ได้รับรองเส้นแผนที่นี้และดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้เป็นเส้นเขตแดน" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 45)
"การระบุเส้นสันปันน้ำในข้อ 1 ของสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 มิได้หมายความอะไรนอกไปจากว่าเป็นวิธีที่สะดวกและแจ่มแจ้งที่จะบรรยายเส้นเขตแดนอย่างให้เห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าจะเป็นการกล่าวเพียงกว้างๆ ก็ตาม แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะให้คิดว่าคู่กรณีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่เส้นสันปันน้ำโดยเจาะจง เมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญที่เหนือกว่าของการยึดถือเส้นเขตแดนในแผนที่ซึ่งได้ปักปันกันในเวลาต่อมาและเป็นที่ยอมรับแก่คู่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เรื่องได้เป็นที่ยุติกันไป ฉะนั้น อาศัยหลักในการตีความสนธิสัญญา ศาลจึงจำต้องลงความเห็นให้ถือเส้นเขตแดนตามแผนที่ของบริเวณพิพาท" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 49-50)
"ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วนี้ ศาล โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
โดยเหตุนี้ จึงพิพากษา โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ว่าประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 51)
คำเตือนพิเศษ โปรดสังเกตว่า ไม่มีข้อความใดในคำพิพากษาที่ระบุว่า ศาลตัดสินยกแต่เฉพาะตัวปราสาทไม่รวมพื้นดินใต้ปราสาท หรือ ไม่มีข้อความใดระบุว่า พื้นดินใต้ปราสาทยังเป็นของประเทศไทย
เตือนที่ 2 แผนที่ 1 : 200,000 ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว จริงหรือ?
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.)
"คณะกรรมการผสมชุดที่จัดตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 ได้มีการประชุมครั้งแรกในเดือนมกราคม ค.ศ.1905 แต่ก็มิได้ปฏิบัติงานจนถึงเขตแดนทางทิศตะวันออกของทิวเขาดงรักกระทั่งเดือนธันวาคม ค.ศ.1906 ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะได้ระบุไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการในการประชุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ว่า สมาชิกฝ่ายฝรั่งเศสผู้หนึ่งของคณะกรรมการ ร้อยเอก ทิกซีเอ ได้เดินทางผ่านไปตามเขาดงรักในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1905 เช่นนั้นก็ตาม ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ซึ่งจัดให้มีขึ้นที่นครวัดได้มีการตกลงกันว่าคณะกรรมการจะขึ้นไปบนเขาดงรักจากที่ราบต่ำของกัมพูชา โดยผ่านขึ้นทางช่องเกนซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระวิหารและเดินทางไปยังทิศตะวันออกตามทิวเขาโดยอาศัยเส้นทางเดียวกัน (หรือตามเส้นเดียวกัน) กับเส้นที่ร้อยเอก ทิกซีเอ ได้ตระเวนสำรวจไว้ในปี ค.ศ.1905 ที่ประชุมตกลงกันว่า การสำรวจที่จำเป็นทั้งหมดระหว่างเส้นทางนี้และเส้นยอดเขา (ซึ่งเกือบจะขนานกัน) สามารถทำได้โดยวิธีนี้ เพราะเหตุว่าเส้นทางนี้อยู่ในด้านไทยห่างจากยอดเขาอย่างมากที่สุดประมาณ 10 ถึง 15 กิโลเมตรเท่านั้น คู่ความมิได้โต้แย้งว่าประธานฝ่ายฝรั่งเศสและประธานฝ่ายสยามในฐานะผู้แทนของคณะกรรมการได้เดินทางมาตามนี้ และได้ไปที่ปราสาทพระวิหาร แต่ทั้งนี้ ก็ไม่มีบันทึกหลักฐานใด แสดงให้เห็นว่าประธานทั้งสองได้ให้คำวินิจฉัยไว้แต่ประการใด
ในการประชุมครั้งเดียวกันคือเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ได้มีการตกลงกันด้วยว่า ร้อยเอกอุ่ม กรรมการผู้หนึ่งในฝ่ายฝรั่งเศสจะเป็นผู้สำรวจทิวเขาดงรักด้านตะวันออกทั้งหมด ซึ่งเป็นเขตที่พระวิหารตั้งอยู่โดยเริ่มต้นสำรวจจากจุดปลายด้านตะวันออก และว่าร้อยเอกอุ่มจะออกเดินทางเพื่อการนี้ในวันรุ่งขึ้น
จึงเป็นที่แจ้งชัดว่า คณะกรรมการผสมเจตนาอย่างเต็มที่ที่จะปักปันเขตแดนในเขตภูเขาดงรักและจะได้จัดทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อเตรียมการในเรื่องงานปักปัน งานปักปันนี้ย่อมต้องสำเร็จแล้ว เพราะว่าในปลายเดือนมกราคม ค.ศ.1907 อัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ได้รายงานต่อรัฐมนตรีต่างประเทศในกรุงปารีสว่า เขาได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากประธานฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการผสมว่า การปักปันทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงแล้วโดยไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น และว่าได้มีการกำหนดเส้นเขตแดนขึ้นเป็นที่แน่นอนแล้วนอกจากในอาณาบริเวณเสียมราฐ นอกจากนั้น ในรายงานเกี่ยวกับการปักปันทั้งหมด ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1907 ซึ่งประธานได้ส่งไปให้รัฐบาลของตนก็ได้ระบุไว้ว่า "ตลอดแนวเขาดงรักจนถึงแม่น้ำโขงการกำหนดเขตแดนไม่ได้ปรากฏความยุ่งยากใดๆ เลย" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 21-22)
งานขั้นสุดท้ายในการดำเนินการปักปันเขตแดนได้แก่การตระเตรียมและการจัดพิมพ์แผนที่เพื่อจะทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จ รัฐบาลสยามซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้เพียงพอ จึงได้ร้องขอเป็นทางการให้พนักงานสำรวจพื้นที่ของฝรั่งเศสจัดทำแผนที่อาณาบริเวณเขตแดนนี้ขึ้น ดังจะเห็นได้ชัดจากข้อความวรรคเริ่มต้นของรายงานการประชุมคณะกรรมการผสมชุดแรก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.1905 คำร้องขอนี้ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายสยามในคณะกรรมการซึ่งอาจเป็นผู้ให้ความดำรินี้เพราะว่าในหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1908 อัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษฎากร) ได้ติดต่อแจ้งผลงานเกี่ยวกับการทำแผนที่ไปยังรัฐบาลของตนมีความตอนหนึ่งอ้างถึง "คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม โดยคำขอร้องของกรรมการฝ่ายสยามได้มอบหมายให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศส จึงทำแผนที่บริเวณเขตแดนส่วนต่างๆ ขึ้น" ที่ว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายเจาะจงของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสยาม....(ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 25)
รัฐบาลฝรั่งเศสได้มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสรวม 4 คน เป็นผู้จัดทำงานนี้ เจ้าหน้าที่ 3 คนในจำนวนนี้ ได้แก่ ร้อยเอก ทิกซีเอ แคร์เล และ เดอ บาทซ์ ซึ่งได้เคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการผสมชุดแรก เจ้าหน้าที่ชุดนี้ทำงานภายใต้ความควบคุมของพันเอกแบร์นาร์ด และในปลายฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ.1907 ก็ได้จัดทำแผนที่ขึ้นสำเร็จรวม 11 ฉบับ ซึ่งคลุมถึงเขตแดนส่วนใหญ่ระหว่างสยามกับอินโดจีน...แผนที่เหล่านี้ได้พิมพ์ขึ้นและจำหน่ายโดยบริษัทพิมพ์แผนที่มีชื่อของฝรั่งเศสชื่อว่า อาช บาร์แรร์ (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 25)
อนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904 ระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ทำให้เกิดการตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขึ้น คือ "คณะกรรมการเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม (COMMISSION DE DELIMITATION ENTRE L′ INDO-CHINE ET LE SIAM)" โดยมีประธานร่วมสองคน คือ พลตรีหม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายสยาม และมี พันเอก แบร์นาร์ด เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส ทำให้เกิดแผนที่ 11 ฉบับ มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งตามเอกสารราชการ เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร อัครราชทูตสยามประจำฝรั่งเศส มีข้อความในจดหมายว่า "ในเรื่องที่คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม ตามคำร้องขอของกรรมการฝ่ายสยามให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศสช่วยจัดทำแผนที่ในเขตแดนต่างๆ ขึ้นนั้น บัดนี้ คณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว" จึงได้ส่งมอบให้ สมเด็จกรมพระยาเทวะ วงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ โดยระบุรายชื่อแผนที่ทั้ง 11 ระวาง จำนวนอย่างละ 50 แผ่น ซึ่งได้แก่ แผนที่ส่วนเหนือ (Map for the north region) จำนวน 5 ระวาง คือ 1.Meakhop and Chianglom 2.rivers in the north 3.Muang Nan 4.Paklai 5.Huang River ซึ่งปัจจุบันคือ เส้นเขตแดนกับลาว และแผนที่ส่วนใต้ (Map for the south region) จำนวน 6 ระวาง คือ 6.Pasak 7.Mekong 8.Dangrek 9.Phnom Kulen 10.Lake และ 11.Muang Trat ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนกับกัมพูชา
อัครราชทูตลงท้ายว่า ได้เก็บแผนที่ไว้ที่สถานอัครราชทูตฝรั่งเศสอย่างละ 2 ชุด และจะได้ส่งแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา จึงเหลือส่งมายังราชสำนักสยามเพียงระวางละ 44 แผ่น รวมทั้งสิ้น 484 แผ่น แผนที่ชุดนี้ปัจจุบันมีอยู่ที่กระทรวงต่างประเทศของไทย พิมพ์โดย H.BARRERE, Editeur Geographe.21 Rue du Bac, PARIS
เตือนที่ 3 เราไม่มีเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการทำแผนที่จึงถูกฝรั่งเศสโกงและเอาเปรียบ
(เอกสารอ้างอิง แผนที่ทหาร, กรม. ที่ระลึก ครบรอบวันสถาปนา 100 ปี กรมแผนที่ทหาร 3 กันยายน 2528. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2528.)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411/ค.ศ.1868 พระองค์ก็ดำเนินพระบรมราชวิเทโศบายเพื่อนำพาพระราชอาณาจักรให้รอดพ้นจากอำนาจและอิทธิพลของเจ้าอาณานิคม ดังนั้น จึงทรงริเริ่ม "แบบแผนตะวันตก" เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้สยามมีความทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ หนึ่งในพระราชกรณียกิจเหล่านั้นคือ ทรงก่อตั้ง "กองทำแผนที่" ครั้งแรกในปี พ.ศ.2418/ค.ศ.1875 ต่อมาจึงตั้ง "โรงเรียนแผนที่" เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2425/ค.ศ.1882 และตั้ง "กรมทำแผนที่" ในวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ.2428/ค.ศ.1885 โดยมี พระวิภาคภูวดล (James Fitzroy McCarthy) ชาวอังกฤษ เป็นเจ้ากรมคนแรกผู้วางรากฐานหลักวิชาการทำแผนที่ตามเทคนิคและวิธีการแบบตะวันตก และมีผู้บัญชาการกำกับดูแลเมื่อเริ่มตั้งกรมทำแผนที่ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (แผนที่ทหาร 2528, 1-2)
โปรดสังเกตว่า สยามได้มีการก่อตั้ง "กรมทำแผนที่" อย่างเป็นทางการมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2428/ค.ศ.1885 แสดงให้เห็นว่า ราชอาณาจักรสยามก็ได้เตรียมองค์กรรับผิดชอบกิจการด้านการทำ "แผนที่" แบบสมัยใหม่เป็นเวลากว่า 23 ปี หรือ ถ้านับตั้งแต่การเริ่มทดลองตั้ง "กองทำแผนที่" พ.ศ.2418/ค.ศ.1875 ก็เป็นเวลากว่า 33 ปี และล่วงมาแล้วกว่า 25 ปีของการสถาปนา "โรงเรียนแผนที่" พ.ศ.2425/ค.ศ.1882 ก่อนที่จะมีการทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จำนวน 11 ระวางแล้วเสร็จ อันเป็นผลจากอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904
เตือนที่ 4 ต้องยึดหลักสากลใช้ "สันปันน้ำ" ในการแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.
ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด อรุณการพิมพ์, 2545.)
เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส เกิดขึ้นตามข้อกำหนดในมาตรา 1 ของอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904 ที่มี "เขตร์แดนเนื่องไปตามแนวยอดภูเขาปันน้ำ" ซึ่งเป็น "ความประสงค์...ที่จะมีเส้นเขตแดนที่เป็นธรรมชาติและเห็นได้ง่าย....โดยเลือกถือเอาเส้นใดเส้นหนึ่งที่มองเห็นเป็นแนวเส้นได้ชัดเจนตามทิวเขาใหญ่ๆ ในหมู่เขาดงรัก เส้นนั้นอาจเป็นเส้นสันเขา เส้นสันปันน้ำ หรือชะง่อนหน้าผา.....ดังจะเห็นได้ว่า....ได้ตกลงที่จะถือตามเส้นสันปันน้ำ ในการทำเช่นนี้จะต้องสันนิษฐานว่า....ได้ทราบดีแล้วว่า ในท้องถิ่นบางแห่ง เส้นสันปันน้ำนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเส้นเดียวกันกับเส้นสันเขาหรือชะง่อนหน้าผา...." (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 17-18)
คำว่า "สันปันน้ำ (watershed) หมายถึง บริเวณที่สูงหรือสันเขา ซึ่งแบ่งน้ำที่อยู่แต่ละด้านของสันเขา ให้ไหลออกไป 2 ฟาก (หรือมีทิศทางตรงกันข้าม) ไปสู่แม่น้ำลำธาร แต่สันปันน้ำในการกำหนดเขตแดนนั้น หมายถึง ที่สูงหรือส่วนใหญ่คือสันเขาที่ต่อเนื่องกัน และจะปันน้ำหรือน้ำฝนที่ตกลงมา ให้แบ่งออกเป็น 2 ฟากโดยไม่มีการไหลย้อนกลับ ในกรณีที่มีสันเขาแยกออกเป็นหลายสันจะยึดถือสันเขาที่มีความต่อเนื่องมากที่สุด นั่นคือ สันเขาที่สูงที่สุดไม่จำเป็นต้องเป็นสันปันน้ำเสมอไป แต่สันเขาที่สูงและมีความต่อเนื่องมากที่สุดมักจะได้รับการพิจารณาให้เป็นสันปันน้ำ" (ราชบัณฑิตยสถาน 2545, 11)
เตือนที่ 5 ชาตินิยม กับ คลั่งชาติ
ปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า "เป็นความจำเป็นและผลประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนชาวไทย ที่จะต้องอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติ ไม่ควรตกเป็นเหยื่อของสงครามเย็นและสงครามประสาท
"เราไม่ควรมีความคิดเรื่องถือผิวหรือเชื้อชาติ แต่ควรยึดมั่นในความคิดที่ชนทุกชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติในโลกได้"
จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า "สำหรับข้าพเจ้า ความรู้สึกชาตินิยมกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์นั้น รู้สึกว่าบางครั้งก็อาจจะขัดกัน; ในบทความนี้จึงเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์, มิได้เริ่มต้นจากความรู้สึกชาตินิยม, มิได้ปิดประตูตายสำหรับความหมายที่ร้าย และเปิดประตูต้อนรับเฉพาะความหมายที่ดีด้านเดียว."
ขงจื๊อกล่าวว่า "เรียนแล้วไม่คิด เป็นการเสียแรงเสียเวลา แต่คิดโดยไม่เรียน เป็นการเสี่ยงอันตราย"
ที่มา.มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////
เตือนที่ 1 ศาลโลกตัดสินยกแต่เฉพาะตัวปราสาท ไม่รวมพื้นดินใต้ปราสาท จริงหรือ?
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.)
"อย่างไรก็ดี ศาลมีความเห็นว่าประเทศไทยใน ค.ศ.1908-09 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ศาลมีความเห็นต่อไปว่า เมื่อพิจารณาโดยทั่วๆ ไป การกระทำต่อๆ มาของไทยมีแต่ยืนยันและชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่าการกระทำของไทยในเขตท้องที่ก็ไม่เพียงพอที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง ได้รับรองเส้นแผนที่นี้และดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้เป็นเส้นเขตแดน" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 45)
"การระบุเส้นสันปันน้ำในข้อ 1 ของสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 มิได้หมายความอะไรนอกไปจากว่าเป็นวิธีที่สะดวกและแจ่มแจ้งที่จะบรรยายเส้นเขตแดนอย่างให้เห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าจะเป็นการกล่าวเพียงกว้างๆ ก็ตาม แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะให้คิดว่าคู่กรณีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่เส้นสันปันน้ำโดยเจาะจง เมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญที่เหนือกว่าของการยึดถือเส้นเขตแดนในแผนที่ซึ่งได้ปักปันกันในเวลาต่อมาและเป็นที่ยอมรับแก่คู่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เรื่องได้เป็นที่ยุติกันไป ฉะนั้น อาศัยหลักในการตีความสนธิสัญญา ศาลจึงจำต้องลงความเห็นให้ถือเส้นเขตแดนตามแผนที่ของบริเวณพิพาท" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 49-50)
"ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วนี้ ศาล โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
โดยเหตุนี้ จึงพิพากษา โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ว่าประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 51)
คำเตือนพิเศษ โปรดสังเกตว่า ไม่มีข้อความใดในคำพิพากษาที่ระบุว่า ศาลตัดสินยกแต่เฉพาะตัวปราสาทไม่รวมพื้นดินใต้ปราสาท หรือ ไม่มีข้อความใดระบุว่า พื้นดินใต้ปราสาทยังเป็นของประเทศไทย
เตือนที่ 2 แผนที่ 1 : 200,000 ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว จริงหรือ?
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.)
"คณะกรรมการผสมชุดที่จัดตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 ได้มีการประชุมครั้งแรกในเดือนมกราคม ค.ศ.1905 แต่ก็มิได้ปฏิบัติงานจนถึงเขตแดนทางทิศตะวันออกของทิวเขาดงรักกระทั่งเดือนธันวาคม ค.ศ.1906 ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะได้ระบุไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการในการประชุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ว่า สมาชิกฝ่ายฝรั่งเศสผู้หนึ่งของคณะกรรมการ ร้อยเอก ทิกซีเอ ได้เดินทางผ่านไปตามเขาดงรักในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1905 เช่นนั้นก็ตาม ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ซึ่งจัดให้มีขึ้นที่นครวัดได้มีการตกลงกันว่าคณะกรรมการจะขึ้นไปบนเขาดงรักจากที่ราบต่ำของกัมพูชา โดยผ่านขึ้นทางช่องเกนซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระวิหารและเดินทางไปยังทิศตะวันออกตามทิวเขาโดยอาศัยเส้นทางเดียวกัน (หรือตามเส้นเดียวกัน) กับเส้นที่ร้อยเอก ทิกซีเอ ได้ตระเวนสำรวจไว้ในปี ค.ศ.1905 ที่ประชุมตกลงกันว่า การสำรวจที่จำเป็นทั้งหมดระหว่างเส้นทางนี้และเส้นยอดเขา (ซึ่งเกือบจะขนานกัน) สามารถทำได้โดยวิธีนี้ เพราะเหตุว่าเส้นทางนี้อยู่ในด้านไทยห่างจากยอดเขาอย่างมากที่สุดประมาณ 10 ถึง 15 กิโลเมตรเท่านั้น คู่ความมิได้โต้แย้งว่าประธานฝ่ายฝรั่งเศสและประธานฝ่ายสยามในฐานะผู้แทนของคณะกรรมการได้เดินทางมาตามนี้ และได้ไปที่ปราสาทพระวิหาร แต่ทั้งนี้ ก็ไม่มีบันทึกหลักฐานใด แสดงให้เห็นว่าประธานทั้งสองได้ให้คำวินิจฉัยไว้แต่ประการใด
ในการประชุมครั้งเดียวกันคือเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 ได้มีการตกลงกันด้วยว่า ร้อยเอกอุ่ม กรรมการผู้หนึ่งในฝ่ายฝรั่งเศสจะเป็นผู้สำรวจทิวเขาดงรักด้านตะวันออกทั้งหมด ซึ่งเป็นเขตที่พระวิหารตั้งอยู่โดยเริ่มต้นสำรวจจากจุดปลายด้านตะวันออก และว่าร้อยเอกอุ่มจะออกเดินทางเพื่อการนี้ในวันรุ่งขึ้น
จึงเป็นที่แจ้งชัดว่า คณะกรรมการผสมเจตนาอย่างเต็มที่ที่จะปักปันเขตแดนในเขตภูเขาดงรักและจะได้จัดทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อเตรียมการในเรื่องงานปักปัน งานปักปันนี้ย่อมต้องสำเร็จแล้ว เพราะว่าในปลายเดือนมกราคม ค.ศ.1907 อัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ได้รายงานต่อรัฐมนตรีต่างประเทศในกรุงปารีสว่า เขาได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากประธานฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการผสมว่า การปักปันทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงแล้วโดยไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น และว่าได้มีการกำหนดเส้นเขตแดนขึ้นเป็นที่แน่นอนแล้วนอกจากในอาณาบริเวณเสียมราฐ นอกจากนั้น ในรายงานเกี่ยวกับการปักปันทั้งหมด ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1907 ซึ่งประธานได้ส่งไปให้รัฐบาลของตนก็ได้ระบุไว้ว่า "ตลอดแนวเขาดงรักจนถึงแม่น้ำโขงการกำหนดเขตแดนไม่ได้ปรากฏความยุ่งยากใดๆ เลย" (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 21-22)
งานขั้นสุดท้ายในการดำเนินการปักปันเขตแดนได้แก่การตระเตรียมและการจัดพิมพ์แผนที่เพื่อจะทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จ รัฐบาลสยามซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้เพียงพอ จึงได้ร้องขอเป็นทางการให้พนักงานสำรวจพื้นที่ของฝรั่งเศสจัดทำแผนที่อาณาบริเวณเขตแดนนี้ขึ้น ดังจะเห็นได้ชัดจากข้อความวรรคเริ่มต้นของรายงานการประชุมคณะกรรมการผสมชุดแรก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.1905 คำร้องขอนี้ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายสยามในคณะกรรมการซึ่งอาจเป็นผู้ให้ความดำรินี้เพราะว่าในหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1908 อัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษฎากร) ได้ติดต่อแจ้งผลงานเกี่ยวกับการทำแผนที่ไปยังรัฐบาลของตนมีความตอนหนึ่งอ้างถึง "คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม โดยคำขอร้องของกรรมการฝ่ายสยามได้มอบหมายให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศส จึงทำแผนที่บริเวณเขตแดนส่วนต่างๆ ขึ้น" ที่ว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายเจาะจงของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสยาม....(ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 25)
รัฐบาลฝรั่งเศสได้มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสรวม 4 คน เป็นผู้จัดทำงานนี้ เจ้าหน้าที่ 3 คนในจำนวนนี้ ได้แก่ ร้อยเอก ทิกซีเอ แคร์เล และ เดอ บาทซ์ ซึ่งได้เคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการผสมชุดแรก เจ้าหน้าที่ชุดนี้ทำงานภายใต้ความควบคุมของพันเอกแบร์นาร์ด และในปลายฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ.1907 ก็ได้จัดทำแผนที่ขึ้นสำเร็จรวม 11 ฉบับ ซึ่งคลุมถึงเขตแดนส่วนใหญ่ระหว่างสยามกับอินโดจีน...แผนที่เหล่านี้ได้พิมพ์ขึ้นและจำหน่ายโดยบริษัทพิมพ์แผนที่มีชื่อของฝรั่งเศสชื่อว่า อาช บาร์แรร์ (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 25)
อนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904 ระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ทำให้เกิดการตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขึ้น คือ "คณะกรรมการเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม (COMMISSION DE DELIMITATION ENTRE L′ INDO-CHINE ET LE SIAM)" โดยมีประธานร่วมสองคน คือ พลตรีหม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายสยาม และมี พันเอก แบร์นาร์ด เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส ทำให้เกิดแผนที่ 11 ฉบับ มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งตามเอกสารราชการ เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร อัครราชทูตสยามประจำฝรั่งเศส มีข้อความในจดหมายว่า "ในเรื่องที่คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม ตามคำร้องขอของกรรมการฝ่ายสยามให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศสช่วยจัดทำแผนที่ในเขตแดนต่างๆ ขึ้นนั้น บัดนี้ คณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว" จึงได้ส่งมอบให้ สมเด็จกรมพระยาเทวะ วงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ โดยระบุรายชื่อแผนที่ทั้ง 11 ระวาง จำนวนอย่างละ 50 แผ่น ซึ่งได้แก่ แผนที่ส่วนเหนือ (Map for the north region) จำนวน 5 ระวาง คือ 1.Meakhop and Chianglom 2.rivers in the north 3.Muang Nan 4.Paklai 5.Huang River ซึ่งปัจจุบันคือ เส้นเขตแดนกับลาว และแผนที่ส่วนใต้ (Map for the south region) จำนวน 6 ระวาง คือ 6.Pasak 7.Mekong 8.Dangrek 9.Phnom Kulen 10.Lake และ 11.Muang Trat ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนกับกัมพูชา
อัครราชทูตลงท้ายว่า ได้เก็บแผนที่ไว้ที่สถานอัครราชทูตฝรั่งเศสอย่างละ 2 ชุด และจะได้ส่งแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา จึงเหลือส่งมายังราชสำนักสยามเพียงระวางละ 44 แผ่น รวมทั้งสิ้น 484 แผ่น แผนที่ชุดนี้ปัจจุบันมีอยู่ที่กระทรวงต่างประเทศของไทย พิมพ์โดย H.BARRERE, Editeur Geographe.21 Rue du Bac, PARIS
เตือนที่ 3 เราไม่มีเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการทำแผนที่จึงถูกฝรั่งเศสโกงและเอาเปรียบ
(เอกสารอ้างอิง แผนที่ทหาร, กรม. ที่ระลึก ครบรอบวันสถาปนา 100 ปี กรมแผนที่ทหาร 3 กันยายน 2528. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2528.)
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411/ค.ศ.1868 พระองค์ก็ดำเนินพระบรมราชวิเทโศบายเพื่อนำพาพระราชอาณาจักรให้รอดพ้นจากอำนาจและอิทธิพลของเจ้าอาณานิคม ดังนั้น จึงทรงริเริ่ม "แบบแผนตะวันตก" เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้สยามมีความทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ หนึ่งในพระราชกรณียกิจเหล่านั้นคือ ทรงก่อตั้ง "กองทำแผนที่" ครั้งแรกในปี พ.ศ.2418/ค.ศ.1875 ต่อมาจึงตั้ง "โรงเรียนแผนที่" เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2425/ค.ศ.1882 และตั้ง "กรมทำแผนที่" ในวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ.2428/ค.ศ.1885 โดยมี พระวิภาคภูวดล (James Fitzroy McCarthy) ชาวอังกฤษ เป็นเจ้ากรมคนแรกผู้วางรากฐานหลักวิชาการทำแผนที่ตามเทคนิคและวิธีการแบบตะวันตก และมีผู้บัญชาการกำกับดูแลเมื่อเริ่มตั้งกรมทำแผนที่ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (แผนที่ทหาร 2528, 1-2)
โปรดสังเกตว่า สยามได้มีการก่อตั้ง "กรมทำแผนที่" อย่างเป็นทางการมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2428/ค.ศ.1885 แสดงให้เห็นว่า ราชอาณาจักรสยามก็ได้เตรียมองค์กรรับผิดชอบกิจการด้านการทำ "แผนที่" แบบสมัยใหม่เป็นเวลากว่า 23 ปี หรือ ถ้านับตั้งแต่การเริ่มทดลองตั้ง "กองทำแผนที่" พ.ศ.2418/ค.ศ.1875 ก็เป็นเวลากว่า 33 ปี และล่วงมาแล้วกว่า 25 ปีของการสถาปนา "โรงเรียนแผนที่" พ.ศ.2425/ค.ศ.1882 ก่อนที่จะมีการทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จำนวน 11 ระวางแล้วเสร็จ อันเป็นผลจากอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904
เตือนที่ 4 ต้องยึดหลักสากลใช้ "สันปันน้ำ" ในการแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ
(เอกสารอ้างอิง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, สำนัก. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2505.
ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด อรุณการพิมพ์, 2545.)
เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส เกิดขึ้นตามข้อกำหนดในมาตรา 1 ของอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446/ค.ศ.1904 ที่มี "เขตร์แดนเนื่องไปตามแนวยอดภูเขาปันน้ำ" ซึ่งเป็น "ความประสงค์...ที่จะมีเส้นเขตแดนที่เป็นธรรมชาติและเห็นได้ง่าย....โดยเลือกถือเอาเส้นใดเส้นหนึ่งที่มองเห็นเป็นแนวเส้นได้ชัดเจนตามทิวเขาใหญ่ๆ ในหมู่เขาดงรัก เส้นนั้นอาจเป็นเส้นสันเขา เส้นสันปันน้ำ หรือชะง่อนหน้าผา.....ดังจะเห็นได้ว่า....ได้ตกลงที่จะถือตามเส้นสันปันน้ำ ในการทำเช่นนี้จะต้องสันนิษฐานว่า....ได้ทราบดีแล้วว่า ในท้องถิ่นบางแห่ง เส้นสันปันน้ำนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเส้นเดียวกันกับเส้นสันเขาหรือชะง่อนหน้าผา...." (ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505, 17-18)
คำว่า "สันปันน้ำ (watershed) หมายถึง บริเวณที่สูงหรือสันเขา ซึ่งแบ่งน้ำที่อยู่แต่ละด้านของสันเขา ให้ไหลออกไป 2 ฟาก (หรือมีทิศทางตรงกันข้าม) ไปสู่แม่น้ำลำธาร แต่สันปันน้ำในการกำหนดเขตแดนนั้น หมายถึง ที่สูงหรือส่วนใหญ่คือสันเขาที่ต่อเนื่องกัน และจะปันน้ำหรือน้ำฝนที่ตกลงมา ให้แบ่งออกเป็น 2 ฟากโดยไม่มีการไหลย้อนกลับ ในกรณีที่มีสันเขาแยกออกเป็นหลายสันจะยึดถือสันเขาที่มีความต่อเนื่องมากที่สุด นั่นคือ สันเขาที่สูงที่สุดไม่จำเป็นต้องเป็นสันปันน้ำเสมอไป แต่สันเขาที่สูงและมีความต่อเนื่องมากที่สุดมักจะได้รับการพิจารณาให้เป็นสันปันน้ำ" (ราชบัณฑิตยสถาน 2545, 11)
เตือนที่ 5 ชาตินิยม กับ คลั่งชาติ
ปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า "เป็นความจำเป็นและผลประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนชาวไทย ที่จะต้องอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติ ไม่ควรตกเป็นเหยื่อของสงครามเย็นและสงครามประสาท
"เราไม่ควรมีความคิดเรื่องถือผิวหรือเชื้อชาติ แต่ควรยึดมั่นในความคิดที่ชนทุกชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติในโลกได้"
จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า "สำหรับข้าพเจ้า ความรู้สึกชาตินิยมกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์นั้น รู้สึกว่าบางครั้งก็อาจจะขัดกัน; ในบทความนี้จึงเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์, มิได้เริ่มต้นจากความรู้สึกชาตินิยม, มิได้ปิดประตูตายสำหรับความหมายที่ร้าย และเปิดประตูต้อนรับเฉพาะความหมายที่ดีด้านเดียว."
ขงจื๊อกล่าวว่า "เรียนแล้วไม่คิด เป็นการเสียแรงเสียเวลา แต่คิดโดยไม่เรียน เป็นการเสี่ยงอันตราย"
ที่มา.มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////
น้องเบิร์ดเหยื่อ10เมษาชวดไปอังกฤษอีกราย
นายสันติพงษ์ อินจันทร์ (น้องเบิร์ด) เหยื่อจากการสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน 2553 จนทำให้ตาบอด ไม่ได้รับการออกวีซ่าจากสถานทูต ชวดไปนำเสนอข้อเท็จจริงที่สภาสูงอังกฤษอีกราย อ้างเหตุผลเดิมเงินน้อย เจ้าตัวระบุแนบกองทุน ธ.กรุงไทย1ล้านบาทแต่ไม่ผ่าน
17.00 น. 1 กุมภาพันธ์ 2554 นายสันติพงษ์ อินจันทร์ (น้องเบิร์ด) เหยื่อจากการสลายการชุมนุมที่บริเวณสี่แยกคอกวัว ถูกยิงด้วยกระสุนยางจนเป็นเหตุให้ตาบอดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 จากเหตุการสลายการชุมนุมขอกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษว่าทางสถานทูตไม่สามารถอนุมัติการออกวีซ่าให้เข้าประเทศอังกฤษได้เนื่องจากมีเงินในบัญชีเงินฝากน้อย
น้องเบิร์ดได้แสดงความรู้สึกต่อการตัดสินใจของสถานทูตครั้งนี้ว่า "ผมคิดว่าการที่ไม่อนุมัติวีซ่าให้ในครั้งนี้ทั้งๆที่มีหนังสือเชิญจาก House of Lord ของประเทศอังกฤษค่อนข้างเป็นที่น่าสงสัย เหตุผลที่ไม่อนุมัติวีซ่าคือ "เงินไม่พอ" เงินในบัญชีผมมีไม่พอ แต่ผมยื่นในกองทุนเปิดซึ่งผมซื้อไว้มูลค่า 1 ล้านบาทไป ไม่เพียงพอหรือ แล้วการที่ีมีหนังสือเชิญมาจากทางอังกฤษซึ่งระบุชื่อไว้ชัดเจน ซึ่งการเชิญไปครั้งนี้เป็นการเชิญส่วนบุุคคลแล้วพวกผมจำเป็นต้องหาเงินมาเพื่อให้อนุมัติวีซ่าครั้งนี้หรือ ทั้งๆที่ทางอังกฤษก็ดำเนินการทุกอย่างทั้งเรื่องเงินและตั๋วเครื่องบินให้เรียบร้อย แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติวีซ่า เหตุผลเพราะเงินในบัญชีไม่พอนั้นผมว่ามันไม่make senseเลยครับ"
อนึ่งก่อนหน้านี้ นางพะเยาว์ อัคฮาด และ นายณัทพัช อัคฮาด มารดาและน้องชายของ น.ส.กมลเกด อัคฮาด อาสาพยาบาลที่เสียชีวิตเนื่องจากการถูกเจ้าหน้าที่ทหารยิงด้วยอาวุธสงครามเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ที่วัดปทุมวนาราม ก็ได้ถูกปฏิเสธการออกวีซ่าโดยให้เหตุผลเดียวกัน
สำหรับในงานแถลงข้อเท็จจริงถึงการถูกละเมิดสิทฺธิโดยรัฐจากการสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่จะจัดขึ้นที่ สภาสูง ประเทศอังกฤษ ในวันนี้ยังคงเหลือแต่เพียง น.ส.ขวัญระวี วังอุดม จากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม( ศปช.) เท่านั้นที่ได้เดินทางล่วงหน้าไปและเป็นตัวแทนของผู้อยู่ในเหตุการณ์ทำหน้าที่เสนอข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดเพียงคนเดียว
ที่มา.ประชาไท
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
เสื้อแดงกับมาม่า !!??
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ผมพลอยตื่นเต้นกับปฏิบัติการบอยคอตมาม่าของเสื้อแดง มีการตั้งเป้าของผู้เข้าร่วมที่สูงถึง 20 ล้านคน ใช้ระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือน
ที่ตื่นเต้นก็เพราะอยากจะรู้ผลว่าสามารถทำได้จริงตามเป้าหรือไม่ เพียงใด แต่แม้ติดตามฟังข่าวอย่างใกล้ชิด ก็ยังไม่รู้ผลอยู่ดีจนถึงบัดนี้ แน่นอนว่าบริษัทย่อมไม่แถลง เพราะมีแต่เสียทั้งขึ้นทั้งล่อง เช่นหากแถลงว่าไม่เกิดผลกระเทือนแก่บริษัท ก็เท่ากับท้าทายคนเสื้อแดงให้ยิ่งรณรงค์หนักมือขึ้น แถลงว่าเป็นผลกระเทือนอย่างรุนแรง ก็ยิ่งช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเสื่อมความนิยมในตลาดลงไปอีก
และก็อย่างเคย คือไม่มีสื่อใดตามเจาะเรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้แต่สื่อของเสื้อแดงเอง ก็ตามข่าวในเชิงรณรงค์มากกว่าพยายามประเมินว่าได้ผลมากน้อยเพียงไร ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มีนัยยะสำคัญมากกว่าการต่อสู้ทางการเมืองเฉพาะหน้า
ในประเทศไทย (เหมือนกับอีกหลายประเทศทั่วโลก) ทุนได้เติบใหญ่จนกลายเป็นพลังมหึมาที่สามารถเข้าไปกำหนดวิถีชีวิตของคนอย่างเบ็ดเสร็จ โดยอาศัยสิ่งที่เรียกกันว่า "กลไกตลาด" นับวันพลังอื่นๆ ก็ไม่สามารถถ่วงดุลทุนด้วยการกำกับตลาดให้มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อความเป็นธรรมและความสงบสุขของผู้คนได้
พลังอื่นๆ ที่สำคัญคือรัฐ แต่ในประเทศไทย รัฐจำนนต่อทุนอย่างค่อนข้างราบคาบ ชนชั้นนำทางการเมืองของไทยมีความสัมพันธ์กับทุนอย่างแนบแน่น ไม่แต่เพียงรับการสนับสนุนทางการเงินจากทุนเท่านั้น บางส่วนก็ผันตนเองเป็นทุนไปเต็มตัว จนกระทั่งไม่สามารถแยกรัฐกับทุนออกจากกันได้
ฉะนั้น แทนที่รัฐไทยจะเป็นอีกพลังหนึ่งที่คอยสร้างและรักษาระเบียบกฎเกณฑ์ของตลาด รัฐกลับใช้สิ่งที่เรียกว่า "กลไกตลาด" เข้าไปจัดการทรัพยากรทุกชนิด จนทำให้คนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงทรัพยากร แม้แต่ทรัพยากรพื้นฐานในการดำรงชีวิตซึ่งไม่ควรถือเป็นสินค้า รัฐจึงกลายเป็นเครื่องมือของทุน ไม่ใช่พลังอิสระอีกอันหนึ่งที่จะคอยถ่วงดุลอานุภาพของทุน
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรัฐไทยไม่ใช่รัฐประชาชาติที่แท้จริง กล่าวคือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการรัฐ มีคนส่วนน้อยเพียงหยิบมือเดียวที่ยึดรัฐไปเป็นสมบัติส่วนตัว และในบรรดาคนส่วนน้อยนั้น ล้วนอยู่ภายใต้การครอบงำของทุน
อย่างไรก็ตาม "ภาคประชาชน" ของไทยก็ค่อยๆ เติบโตขึ้น และมีบทบาทมากขึ้นในการเข้าไปควบคุมรัฐและทุนตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้า, การวางท่อก๊าซ, การทำเหมืองโพแทส, การทำโรงถลุงเหล็ก, การปล่อยมลพิษอย่างร้ายกาจของโรงงาน ฯลฯ ที่ประสบความสำเร็จจนทำให้รัฐและทุนต้องระงับหรือปรับเปลี่ยนโครงการก็มี ที่พ่ายแพ้เพราะทุนอาศัยอำนาจรัฐใช้ความรุนแรงในการปราบปรามประชาชนก็มี ความเคลื่อนไหวเหล่านี้กำลังขยายตัวมากระทบต่อนโยบายระดับมหภาคมากขึ้น เช่น สิทธิบนที่ดินของทุนและรัฐจะถูกจำกัดมากขึ้นในกรณีการเคลื่อนไหวของชาวสลัมและคนไร้ที่ดินในชนบท, นโยบายพลังงานโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์
แต่ในขณะเดียวกัน น่าสังเกตด้วยว่า ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่ผ่านมา เป็นการเผชิญหน้ากับรัฐและทุนโดยตรง จำกัดประเด็นและจำกัดพื้นที่ ทำให้รัฐและทุนสามารถยักย้ายถ่ายเทหลบหลีกการกำกับควบคุมได้ง่าย เช่น ประท้วงโรงไฟฟ้าอย่างได้ผลในพื้นที่หนึ่ง ก็ย้ายโรงไฟฟ้าไปสร้างอีกที่หนึ่ง ต่อต้านการทำลายแม่น้ำด้วยเขื่อน ก็อ้างว่าสร้างฝาย ภาคประชาชนใช้ "ตลาด" เป็นเวทีการต่อสู้น้อยมาก จากเมื่อครั้งต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นตั้งแต่ก่อน 14 ตุลา ดูเหมือนยังไม่มีการต่อสู้เพื่อกำกับรัฐและทุนในลักษณะเช่นนั้นอีกเลย จนถึงกรณีมาม่าครั้งนี้
แม้ว่า "ตลาด" ไม่ใช่เวทีการต่อสู้เพียงอย่างเดียว แต่ก่อนจะไปถึงขั้นที่ภาคประชาชนจะมีพรรคการเมืองซึ่งใส่ใจรับมติของตนไปเป็นนโยบาย จนนำไปสู่กฎหมายและการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ "ตลาด" เป็นเวทีที่ดูจะได้ผลในการกำกับควบคุมทุนที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ในขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับด้วยว่า สัดส่วนที่ใหญ่มากของทุนในประเทศไทย คือทุนที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก นั่นก็คือไม่อาจใช้ "ตลาด" ภายในเป็นเวทีต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพของภาคประชาชนในทุกกรณีไป แม้กระนั้นก็ยังใช้ได้ผลในอีกหลายกรณีดังเช่นกรณีมาม่า และแม้ "ตลาด" ภายในอาจไม่ใช่เป้าหมายโดยตรงของการผลิต แต่เมื่อมีฐานในประเทศไทย การรักษาภาพพจน์ที่ดีในประเทศก็มีความสำคัญเหมือนกัน
นอกจากนี้ หากการรณรงค์ในตลาดมีความเข้มแข็ง ก็อาจเชื่อมโยงกับความเคลื่อนไหวระดับโลกได้ ซึ่งจะทำให้ยิ่งมีพลังในการกำกับควบคุมทุนได้มากขึ้น
ดังนั้น การกำกับควบคุมทุนของภาคประชาชนโดยผ่าน "ตลาด" จึงมีความสำคัญ เพราะเมื่อรัฐไม่สามารถหรือไม่อยากกำกับควบคุมทุน ภาคประชาชนจึงต้องเข้ามาทำหน้าที่นี้แทน และอย่างมีประสิทธิภาพกว่าด้วย
แม้สร้างความหวั่นไหวให้แก่ทุนในระยะแรกที่เริ่มการรณรงค์ แต่ผมไม่ทราบว่าการรณรงค์ของเสื้อแดงในครั้งนี้ประสบความสำเร็จแค่ไหน อีกทั้งพลังที่แท้จริงของการบอยคอตไม่ได้มาจากการจัดองค์กรเพื่อการนี้โดยตรง แต่อาศัยเครือข่ายและประเด็นทางการเมืองของเสื้อแดงเป็นเครื่องมือมากกว่า ดังนั้นไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว จึงดูไม่ส่อว่าจะเป็นกระบวนการที่อาจดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน และจริงจังในอนาคต
อย่างไรก็ตาม หากคิดว่านี่เป็นการฝึกระยะแรก ซึ่งต้องเปิดกว้างสองอย่าง หนึ่งคือต้องเปิดการเรียนรู้ และสองคือเปิดตัวเองแก่คนที่มีความคิดเห็นอันแตกต่างหลากหลายในสังคม เพียงแต่มีความพยายามร่วมกันที่จะกำกับควบคุมทุน มิให้ทำร้ายผู้คนจนเกินไป ก็จะสร้างพลังของภาคประชาชนที่ยิ่งใหญ่เพื่อการนี้ขึ้นมาได้
ขบวนการของภาคประชาชนสามารถใช้พลังของตนในการกำกับควบคุมทุนผ่านตลาดได้อีกหลายอย่าง อันล้วนเป็นเรื่องที่รัฐไทยละเลยตลอดมา
เรื่องของมาบตาพุดคงง่ายขึ้น หากมีขบวนการประชาชนที่มีเครือข่ายใหญ่ขนาดเสื้อแดง ออกมารณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือกันลงพรหมทัณฑ์แก่บริษัทที่ก่อมลภาวะ แน่นอนว่าหากสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มพลังอื่นๆ เช่น สหภาพแรงงานของบริษัทเหล่านั้น ก็จะยิ่งทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
โรงงานที่ไร้ความปลอดภัยและเสียสุขภาพแก่แรงงาน, บริษัทที่เอาเปรียบแรงงานด้วยวิธีต่างๆ ฯลฯ ควรถูกนำมาเปิดเผย และถูกขบวนการภาคประชาชนกดดัน นับตั้งแต่บอยคอตสินค้า ไปจนถึงการไม่ร่วมมือ เช่นสหภาพการขนส่งปฏิเสธที่จะขนสินค้าของบริษัทดังกล่าว
บริษัทที่ขาดความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ควรได้รับการกดดันทำนองเดียวกัน
คิดไปเถิดครับ ขบวนการที่มีประสิทธิภาพของภาคประชาชนสามารถเข้าไปกำกับควบคุมทุนได้อีกมาก
แต่จะทำอย่างนั้นได้ดี จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ข้อมูลที่สมบูรณ์สักหน่อย จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบพอสมควร งานเช่นนี้หากขบวนการของประชาชนทำได้เองก็ดี และหากวงวิชาการจะเข้ามาช่วยก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก
สื่อควรมีหน้า "ผู้บริโภค" ซึ่งจะติดตามเฝ้าระวัง ไม่ใช่เฉพาะในแง่ของคุณภาพสินค้าเพียงอย่างเดียว เพราะผู้บริโภคในยุคใหม่ต้องมีความรับผิดชอบทางสังคมด้วย จึงมีประเด็นที่ผู้บริโภคควรต้องตระหนักรู้อีกหลายอย่าง เช่นสินค้าตัวเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อนั้น ใช้วัตถุดิบภายในมากน้อยต่างกันเท่าไร ผลิตด้วยวัสดุหมุนเวียนมากน้อยต่างกันอย่างไร ใช้พลังงานในการผลิตต่างกันมากน้อยเพียงไร ปฏิบัติต่อคนงานของตนดีมากดีน้อยต่างกันอย่างไร ฯลฯ (อย่างเดียวกับที่สื่อมักรายงานเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออก ซึ่งเป็นเพียงมิติเดียวของการประกอบการเท่านั้น)
(แต่แน่นอนว่า สื่อจะต้องไม่ขาสั่นกับการสูญเสียโฆษณาของบริษัทห้างร้านจนเกินไป)
มีคนพูดมานานแล้วว่า การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ไม่เคยมีในเมืองไทยมาก่อน แต่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อาจจะโดยไม่ได้เจตนา การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขา ในบางครั้งก็เป็นการริเริ่มสิ่งสำคัญๆ ให้แก่สังคมไทย ซึ่งหากมองเห็นคุณประโยชน์ ทั้งคนเสื้อแดงหรือไม่ใช่ก็อาจเข้ามาช่วยพัฒนาให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเทศไทยจะอยู่รอดต่อไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าความเหลื่อมล้ำก็คือ เราต้องกำกับควบคุมทุนและตลาดให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนทุกกลุ่ม ทุนและตลาดไม่ควรมีอำนาจอันไร้ขีดจำกัดเสียเลย เรายังไม่อาจหวังพึ่งรัฐให้เป็นผู้กำกับควบคุมได้ในระยะนี้ ประชาชนจึงต้องรับเป็นภาระในการสร้างอำนาจของตนเอง เพื่อกำกับควบคุมทุนและตลาดให้ได้
ที่มา.มติชนออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////
ผมพลอยตื่นเต้นกับปฏิบัติการบอยคอตมาม่าของเสื้อแดง มีการตั้งเป้าของผู้เข้าร่วมที่สูงถึง 20 ล้านคน ใช้ระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือน
ที่ตื่นเต้นก็เพราะอยากจะรู้ผลว่าสามารถทำได้จริงตามเป้าหรือไม่ เพียงใด แต่แม้ติดตามฟังข่าวอย่างใกล้ชิด ก็ยังไม่รู้ผลอยู่ดีจนถึงบัดนี้ แน่นอนว่าบริษัทย่อมไม่แถลง เพราะมีแต่เสียทั้งขึ้นทั้งล่อง เช่นหากแถลงว่าไม่เกิดผลกระเทือนแก่บริษัท ก็เท่ากับท้าทายคนเสื้อแดงให้ยิ่งรณรงค์หนักมือขึ้น แถลงว่าเป็นผลกระเทือนอย่างรุนแรง ก็ยิ่งช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเสื่อมความนิยมในตลาดลงไปอีก
และก็อย่างเคย คือไม่มีสื่อใดตามเจาะเรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้แต่สื่อของเสื้อแดงเอง ก็ตามข่าวในเชิงรณรงค์มากกว่าพยายามประเมินว่าได้ผลมากน้อยเพียงไร ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มีนัยยะสำคัญมากกว่าการต่อสู้ทางการเมืองเฉพาะหน้า
ในประเทศไทย (เหมือนกับอีกหลายประเทศทั่วโลก) ทุนได้เติบใหญ่จนกลายเป็นพลังมหึมาที่สามารถเข้าไปกำหนดวิถีชีวิตของคนอย่างเบ็ดเสร็จ โดยอาศัยสิ่งที่เรียกกันว่า "กลไกตลาด" นับวันพลังอื่นๆ ก็ไม่สามารถถ่วงดุลทุนด้วยการกำกับตลาดให้มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อความเป็นธรรมและความสงบสุขของผู้คนได้
พลังอื่นๆ ที่สำคัญคือรัฐ แต่ในประเทศไทย รัฐจำนนต่อทุนอย่างค่อนข้างราบคาบ ชนชั้นนำทางการเมืองของไทยมีความสัมพันธ์กับทุนอย่างแนบแน่น ไม่แต่เพียงรับการสนับสนุนทางการเงินจากทุนเท่านั้น บางส่วนก็ผันตนเองเป็นทุนไปเต็มตัว จนกระทั่งไม่สามารถแยกรัฐกับทุนออกจากกันได้
ฉะนั้น แทนที่รัฐไทยจะเป็นอีกพลังหนึ่งที่คอยสร้างและรักษาระเบียบกฎเกณฑ์ของตลาด รัฐกลับใช้สิ่งที่เรียกว่า "กลไกตลาด" เข้าไปจัดการทรัพยากรทุกชนิด จนทำให้คนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงทรัพยากร แม้แต่ทรัพยากรพื้นฐานในการดำรงชีวิตซึ่งไม่ควรถือเป็นสินค้า รัฐจึงกลายเป็นเครื่องมือของทุน ไม่ใช่พลังอิสระอีกอันหนึ่งที่จะคอยถ่วงดุลอานุภาพของทุน
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรัฐไทยไม่ใช่รัฐประชาชาติที่แท้จริง กล่าวคือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการรัฐ มีคนส่วนน้อยเพียงหยิบมือเดียวที่ยึดรัฐไปเป็นสมบัติส่วนตัว และในบรรดาคนส่วนน้อยนั้น ล้วนอยู่ภายใต้การครอบงำของทุน
อย่างไรก็ตาม "ภาคประชาชน" ของไทยก็ค่อยๆ เติบโตขึ้น และมีบทบาทมากขึ้นในการเข้าไปควบคุมรัฐและทุนตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้า, การวางท่อก๊าซ, การทำเหมืองโพแทส, การทำโรงถลุงเหล็ก, การปล่อยมลพิษอย่างร้ายกาจของโรงงาน ฯลฯ ที่ประสบความสำเร็จจนทำให้รัฐและทุนต้องระงับหรือปรับเปลี่ยนโครงการก็มี ที่พ่ายแพ้เพราะทุนอาศัยอำนาจรัฐใช้ความรุนแรงในการปราบปรามประชาชนก็มี ความเคลื่อนไหวเหล่านี้กำลังขยายตัวมากระทบต่อนโยบายระดับมหภาคมากขึ้น เช่น สิทธิบนที่ดินของทุนและรัฐจะถูกจำกัดมากขึ้นในกรณีการเคลื่อนไหวของชาวสลัมและคนไร้ที่ดินในชนบท, นโยบายพลังงานโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์
แต่ในขณะเดียวกัน น่าสังเกตด้วยว่า ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่ผ่านมา เป็นการเผชิญหน้ากับรัฐและทุนโดยตรง จำกัดประเด็นและจำกัดพื้นที่ ทำให้รัฐและทุนสามารถยักย้ายถ่ายเทหลบหลีกการกำกับควบคุมได้ง่าย เช่น ประท้วงโรงไฟฟ้าอย่างได้ผลในพื้นที่หนึ่ง ก็ย้ายโรงไฟฟ้าไปสร้างอีกที่หนึ่ง ต่อต้านการทำลายแม่น้ำด้วยเขื่อน ก็อ้างว่าสร้างฝาย ภาคประชาชนใช้ "ตลาด" เป็นเวทีการต่อสู้น้อยมาก จากเมื่อครั้งต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นตั้งแต่ก่อน 14 ตุลา ดูเหมือนยังไม่มีการต่อสู้เพื่อกำกับรัฐและทุนในลักษณะเช่นนั้นอีกเลย จนถึงกรณีมาม่าครั้งนี้
แม้ว่า "ตลาด" ไม่ใช่เวทีการต่อสู้เพียงอย่างเดียว แต่ก่อนจะไปถึงขั้นที่ภาคประชาชนจะมีพรรคการเมืองซึ่งใส่ใจรับมติของตนไปเป็นนโยบาย จนนำไปสู่กฎหมายและการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ "ตลาด" เป็นเวทีที่ดูจะได้ผลในการกำกับควบคุมทุนที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ในขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับด้วยว่า สัดส่วนที่ใหญ่มากของทุนในประเทศไทย คือทุนที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก นั่นก็คือไม่อาจใช้ "ตลาด" ภายในเป็นเวทีต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพของภาคประชาชนในทุกกรณีไป แม้กระนั้นก็ยังใช้ได้ผลในอีกหลายกรณีดังเช่นกรณีมาม่า และแม้ "ตลาด" ภายในอาจไม่ใช่เป้าหมายโดยตรงของการผลิต แต่เมื่อมีฐานในประเทศไทย การรักษาภาพพจน์ที่ดีในประเทศก็มีความสำคัญเหมือนกัน
นอกจากนี้ หากการรณรงค์ในตลาดมีความเข้มแข็ง ก็อาจเชื่อมโยงกับความเคลื่อนไหวระดับโลกได้ ซึ่งจะทำให้ยิ่งมีพลังในการกำกับควบคุมทุนได้มากขึ้น
ดังนั้น การกำกับควบคุมทุนของภาคประชาชนโดยผ่าน "ตลาด" จึงมีความสำคัญ เพราะเมื่อรัฐไม่สามารถหรือไม่อยากกำกับควบคุมทุน ภาคประชาชนจึงต้องเข้ามาทำหน้าที่นี้แทน และอย่างมีประสิทธิภาพกว่าด้วย
แม้สร้างความหวั่นไหวให้แก่ทุนในระยะแรกที่เริ่มการรณรงค์ แต่ผมไม่ทราบว่าการรณรงค์ของเสื้อแดงในครั้งนี้ประสบความสำเร็จแค่ไหน อีกทั้งพลังที่แท้จริงของการบอยคอตไม่ได้มาจากการจัดองค์กรเพื่อการนี้โดยตรง แต่อาศัยเครือข่ายและประเด็นทางการเมืองของเสื้อแดงเป็นเครื่องมือมากกว่า ดังนั้นไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว จึงดูไม่ส่อว่าจะเป็นกระบวนการที่อาจดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน และจริงจังในอนาคต
อย่างไรก็ตาม หากคิดว่านี่เป็นการฝึกระยะแรก ซึ่งต้องเปิดกว้างสองอย่าง หนึ่งคือต้องเปิดการเรียนรู้ และสองคือเปิดตัวเองแก่คนที่มีความคิดเห็นอันแตกต่างหลากหลายในสังคม เพียงแต่มีความพยายามร่วมกันที่จะกำกับควบคุมทุน มิให้ทำร้ายผู้คนจนเกินไป ก็จะสร้างพลังของภาคประชาชนที่ยิ่งใหญ่เพื่อการนี้ขึ้นมาได้
ขบวนการของภาคประชาชนสามารถใช้พลังของตนในการกำกับควบคุมทุนผ่านตลาดได้อีกหลายอย่าง อันล้วนเป็นเรื่องที่รัฐไทยละเลยตลอดมา
เรื่องของมาบตาพุดคงง่ายขึ้น หากมีขบวนการประชาชนที่มีเครือข่ายใหญ่ขนาดเสื้อแดง ออกมารณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือกันลงพรหมทัณฑ์แก่บริษัทที่ก่อมลภาวะ แน่นอนว่าหากสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มพลังอื่นๆ เช่น สหภาพแรงงานของบริษัทเหล่านั้น ก็จะยิ่งทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
โรงงานที่ไร้ความปลอดภัยและเสียสุขภาพแก่แรงงาน, บริษัทที่เอาเปรียบแรงงานด้วยวิธีต่างๆ ฯลฯ ควรถูกนำมาเปิดเผย และถูกขบวนการภาคประชาชนกดดัน นับตั้งแต่บอยคอตสินค้า ไปจนถึงการไม่ร่วมมือ เช่นสหภาพการขนส่งปฏิเสธที่จะขนสินค้าของบริษัทดังกล่าว
บริษัทที่ขาดความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ควรได้รับการกดดันทำนองเดียวกัน
คิดไปเถิดครับ ขบวนการที่มีประสิทธิภาพของภาคประชาชนสามารถเข้าไปกำกับควบคุมทุนได้อีกมาก
แต่จะทำอย่างนั้นได้ดี จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ข้อมูลที่สมบูรณ์สักหน่อย จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบพอสมควร งานเช่นนี้หากขบวนการของประชาชนทำได้เองก็ดี และหากวงวิชาการจะเข้ามาช่วยก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก
สื่อควรมีหน้า "ผู้บริโภค" ซึ่งจะติดตามเฝ้าระวัง ไม่ใช่เฉพาะในแง่ของคุณภาพสินค้าเพียงอย่างเดียว เพราะผู้บริโภคในยุคใหม่ต้องมีความรับผิดชอบทางสังคมด้วย จึงมีประเด็นที่ผู้บริโภคควรต้องตระหนักรู้อีกหลายอย่าง เช่นสินค้าตัวเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อนั้น ใช้วัตถุดิบภายในมากน้อยต่างกันเท่าไร ผลิตด้วยวัสดุหมุนเวียนมากน้อยต่างกันอย่างไร ใช้พลังงานในการผลิตต่างกันมากน้อยเพียงไร ปฏิบัติต่อคนงานของตนดีมากดีน้อยต่างกันอย่างไร ฯลฯ (อย่างเดียวกับที่สื่อมักรายงานเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออก ซึ่งเป็นเพียงมิติเดียวของการประกอบการเท่านั้น)
(แต่แน่นอนว่า สื่อจะต้องไม่ขาสั่นกับการสูญเสียโฆษณาของบริษัทห้างร้านจนเกินไป)
มีคนพูดมานานแล้วว่า การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ไม่เคยมีในเมืองไทยมาก่อน แต่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อาจจะโดยไม่ได้เจตนา การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขา ในบางครั้งก็เป็นการริเริ่มสิ่งสำคัญๆ ให้แก่สังคมไทย ซึ่งหากมองเห็นคุณประโยชน์ ทั้งคนเสื้อแดงหรือไม่ใช่ก็อาจเข้ามาช่วยพัฒนาให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเทศไทยจะอยู่รอดต่อไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าความเหลื่อมล้ำก็คือ เราต้องกำกับควบคุมทุนและตลาดให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนทุกกลุ่ม ทุนและตลาดไม่ควรมีอำนาจอันไร้ขีดจำกัดเสียเลย เรายังไม่อาจหวังพึ่งรัฐให้เป็นผู้กำกับควบคุมได้ในระยะนี้ ประชาชนจึงต้องรับเป็นภาระในการสร้างอำนาจของตนเอง เพื่อกำกับควบคุมทุนและตลาดให้ได้
ที่มา.มติชนออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////
4x100 เมตรชาย !!!?
โบราณท่านว่า “วันเวลาไม่เคยคอยท่า กาลเวลาไม่เคยคอยใคร”ดูทรงนักเลือกตั้งเมืองไทยก็คงเห็นตามเช่นนั้น นั่นก็เป็นเหตุให้ประชาชนคนไทยมักประสบพบเจอ อาการ “น้ำขึ้นให้รีบตัก” ที่นักการเมืองนิยมใช้เสพผลประ โยชน์กันอย่างแพร่หลาย กลายเป็นยาดำขี้ฉ้อ เสพติดผิดวัตถุประสงค์..“วิญญาณบรรพบุรุษ ปู่ ยา ตา ทวด” นอนสะดุ้งตายตาไม่หลับ!!!
ยิ่งจับจากอาการระส่ำเที่ยวล่าสุดของ “รัฐบาลเทพประทาน” ของ “ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”..มองไปทางซ้าย “ม็อบแดงโห่ไล่ทวงอิสรภาพ 7 แกนนำแดง” มองไปทางขวา “ม็อบเหลือง+กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ” ขย่มกระแสรักชาติ ลากไส้ภาพสีเทาทางอธิปไตยที่ทับซ้อนอยู่บนกอง ผลประโยชน์
สองมือจุดประทัดไล่ส่ง “เทพประทาน” ปากไม่ว่างเรียกร้องปล่อยแกนนำกลุ่มคน ไทยหัวใจรักชาติ ที่ต้องสิ้นอิสรภาพอยู่ทั้ง ในคุกไทยและคุกเขมรงานเข้า 3 ม็อบรุมสกรัม กอปรกับ เพื่อไทยใกล้ตกผลึก สะบัดหลุดอาการผีหัวขาด “นักรบห้องแอร์มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” บารมีเอิบอิ่มเด่นชัดขึ้นมาท่าม กลางไฟฟอนที่กำลังสุมขอน “รัฐบาลเทพ ประทาน”
แนวร่วมหัวกลับ แตกเซลล์ไปทุกหย่อมหญ้า การเมืองในรัฐสภาและข้างถนน ก่อตัวก่อหวอดไล่ “นายกฯ อภิสิทธิ์” ได้อย่างน่าประหวั่นพรั่นพรึงยิ่ง ว่ากันว่าภายใต้ แรงบีบ วอร์รูมทั้งรัฐบาลและกองทัพ ต้องประเมินสถานการณ์กันแบบละเอียดถี่ยิบ
นี่ขนาดเหล่าทีมที่ปรึกษาระดมสมอง ระดับเพชรอย่างเข้มข้น แต่ “นายกฯ รูปหล่อ” และทีมงานพรรคร่วม ยังมิวายถูก สารพัด “หมัด เข่า ศอก ประเคนแข้งให้รับประทานแบบเช้าถึงเย็นถึง”
เหลี่ยมเซียนเขี้ยวหน้าโพเดี้ยมของประชาธิปัตย์และพรรคร่วม เริ่มแป้กเมื่อต้องมาเจอมวยเชิงสูงที่รู้ทันทุกกระบวนท่า ส่งผลให้ทุกวลีที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์รองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณศิริโชค โสภา” รวมไปถึงสารพัด โทรโข่งที่ออกมาแก้เกี้ยว
กลายเป็นว่า..ยิ่งพูดยิ่งขาดทุน!!!ในเมื่อยืนอยู่บนชัยภูมิสเปก “สู้อาจ ตาย หนีอาจรอด” มันจึงทอดยอดมาเป็น วงเจรจาหูฉลามกาวใจปากมันชามเบ้อเร้อ อันมีพิกัดนัดถกอนาคตที่ โรงแรมหรูย่านมักกะสัน “พลาซ่า แอธทินี” เนรมิตภาพ ปรากฏการณ์ “ข้าวต้มมัดลุยไฟ” ฝ่าดงบาทาได้อย่างน่าสุ่มเสี่ยงยิ่ง
“นายกฯ อภิสิทธิ์” ประกาศสัญญา ประชาคมนักเลือกตั้ง ล็อกตัวเลขลุยถั่ว 4 เดือน ก่อนสลายขั้วผลประโยชน์และคืนอำนาจให้ประชาชน “หูฉลามกาวใจ” ออกฤทธิ์ว่องไวประหนึ่ง “กามนิตหนุ่ม”
เข็มนาฬิกาเดินผ่านแค่ชั่วข้ามคืน มหกรรมแก้รัฐธรรมนูญมาตราร้อนในวาระ 2 ที่พรรคประชาธิปัตย์และซีกพรรคร่วมรัฐบาล สู้ทุ่มเถียงกันมาอย่างยาวนานใน เรื่องสูตรตัวเลข “327+125” และ “400+100” สุดท้าย ฝุ่นที่เคยตลบเจือจางทันตาเห็น ฝักถั่วรัฐบาลเคาะผ่านประสานเสียง ตัวเลข “375+125” นิ่งอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ที่สำคัญมันเกิดขึ้น บนไฮไลต์ม้วนเดียวจบ ไม่ต้องต่อเวลา ข้ามวัน เว้นช่วงให้นักวิ่งนักล็อบบี้ ยิสต์ป่วนมติ
ในเมื่อวาระ 2 ฟันธง วาระ 3 ย่อมคอนเฟิร์ม ผ่านทางแยกนี้ไปได้ โค้งอันตรายถัดไปคงไม่พ้นเกมซักฟอกคา สภา ตรงนี้แม้จะดูเหมือนว่า พรรคเพื่อไทยจะเริ่มตั้งหลักได้ แต่ด้วยวาระฝักถั่วสมานฉันท์ มันก็คงไม่เกินกำลัง ของทีมงานพวกมากลากไป จะสไลด์ตัว หนีปัญหาฝ่าวงล้อมสมรภูมิน้ำลายได้อย่าง อยู่รอดปลอดภัย
อย่างขี้เหร่ ในกรณีบาดแผลเหวะ หวะเต็มตัว “นายกฯ อภิสิทธิ์” ก็ยังเหลือ ตัวช่วยต่ออายุขัยด้วยการแต่งหน้าทาปาก ซื้อเวลาปรับ ครม. ตกรางวัลให้ชมรมคนอกหักเป็นการปลอบใจส่งท้าย สมประ โยชน์ได้อีกนี่แหล่ะเซียนเขี้ยวตัวจริง
กระนั้น เงื่อนไข ครม.ใหม่ จะ “หล่อ” หรือ “ขี้เหร่” นักเลือกตั้งคงไม่แยแส เนื่องด้วย หัวจิตหัวใจของท่านๆ เหล่านั้น กำลังจดจ่ออยู่กับวาระปันผลในงบกลางปี 54 ที่เผอิญจะไหลซับไหลซ้อนมาพร้อมกับสาย น้ำแห่งกระสุนดินดำซึ่งจะหลากมาในฤดูกาลโยกย้าย!!!
และหากสมมติฐานดังกล่าวเกิดขึ้นจริง เงื่อนเวลาและเงื่อนไขที่ถูกล็อกไว้ นำ พา “เรือโนอาร์หนีกรรมติดจรวด” ที่มีสารพัดสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “นักเลือกตั้ง” มาถึงฟากฝั่ง เวลานั้นมาเยือนเมื่อไหร่ ปี่กลองเลือกตั้งประเทศไทยย่อมกระหึ่มดังในบัดดล
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก และเรื่องน่าแปลกใจที่ ประชาธิปัตย์ผนึกกำลังพรรคร่วมฯ ส่งไม้วิ่งหนีตาย 4X100 เมตรชาย อย่างไม่คิดชีวิต แต่มูลเหตุที่น่าสนใจไปกว่า นั้น มันน่าจะอยู่ที่ว่า..ป้อมค่ายไหนจะเป็นไม้สุดท้าย เบียดเข้าวินหลังเลือกตั้ง ใครกันแน่ระหว่าง..ฟ้าหรือน้ำเงิน!!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////
ยิ่งจับจากอาการระส่ำเที่ยวล่าสุดของ “รัฐบาลเทพประทาน” ของ “ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”..มองไปทางซ้าย “ม็อบแดงโห่ไล่ทวงอิสรภาพ 7 แกนนำแดง” มองไปทางขวา “ม็อบเหลือง+กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ” ขย่มกระแสรักชาติ ลากไส้ภาพสีเทาทางอธิปไตยที่ทับซ้อนอยู่บนกอง ผลประโยชน์
สองมือจุดประทัดไล่ส่ง “เทพประทาน” ปากไม่ว่างเรียกร้องปล่อยแกนนำกลุ่มคน ไทยหัวใจรักชาติ ที่ต้องสิ้นอิสรภาพอยู่ทั้ง ในคุกไทยและคุกเขมรงานเข้า 3 ม็อบรุมสกรัม กอปรกับ เพื่อไทยใกล้ตกผลึก สะบัดหลุดอาการผีหัวขาด “นักรบห้องแอร์มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” บารมีเอิบอิ่มเด่นชัดขึ้นมาท่าม กลางไฟฟอนที่กำลังสุมขอน “รัฐบาลเทพ ประทาน”
แนวร่วมหัวกลับ แตกเซลล์ไปทุกหย่อมหญ้า การเมืองในรัฐสภาและข้างถนน ก่อตัวก่อหวอดไล่ “นายกฯ อภิสิทธิ์” ได้อย่างน่าประหวั่นพรั่นพรึงยิ่ง ว่ากันว่าภายใต้ แรงบีบ วอร์รูมทั้งรัฐบาลและกองทัพ ต้องประเมินสถานการณ์กันแบบละเอียดถี่ยิบ
นี่ขนาดเหล่าทีมที่ปรึกษาระดมสมอง ระดับเพชรอย่างเข้มข้น แต่ “นายกฯ รูปหล่อ” และทีมงานพรรคร่วม ยังมิวายถูก สารพัด “หมัด เข่า ศอก ประเคนแข้งให้รับประทานแบบเช้าถึงเย็นถึง”
เหลี่ยมเซียนเขี้ยวหน้าโพเดี้ยมของประชาธิปัตย์และพรรคร่วม เริ่มแป้กเมื่อต้องมาเจอมวยเชิงสูงที่รู้ทันทุกกระบวนท่า ส่งผลให้ทุกวลีที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์รองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณศิริโชค โสภา” รวมไปถึงสารพัด โทรโข่งที่ออกมาแก้เกี้ยว
กลายเป็นว่า..ยิ่งพูดยิ่งขาดทุน!!!ในเมื่อยืนอยู่บนชัยภูมิสเปก “สู้อาจ ตาย หนีอาจรอด” มันจึงทอดยอดมาเป็น วงเจรจาหูฉลามกาวใจปากมันชามเบ้อเร้อ อันมีพิกัดนัดถกอนาคตที่ โรงแรมหรูย่านมักกะสัน “พลาซ่า แอธทินี” เนรมิตภาพ ปรากฏการณ์ “ข้าวต้มมัดลุยไฟ” ฝ่าดงบาทาได้อย่างน่าสุ่มเสี่ยงยิ่ง
“นายกฯ อภิสิทธิ์” ประกาศสัญญา ประชาคมนักเลือกตั้ง ล็อกตัวเลขลุยถั่ว 4 เดือน ก่อนสลายขั้วผลประโยชน์และคืนอำนาจให้ประชาชน “หูฉลามกาวใจ” ออกฤทธิ์ว่องไวประหนึ่ง “กามนิตหนุ่ม”
เข็มนาฬิกาเดินผ่านแค่ชั่วข้ามคืน มหกรรมแก้รัฐธรรมนูญมาตราร้อนในวาระ 2 ที่พรรคประชาธิปัตย์และซีกพรรคร่วมรัฐบาล สู้ทุ่มเถียงกันมาอย่างยาวนานใน เรื่องสูตรตัวเลข “327+125” และ “400+100” สุดท้าย ฝุ่นที่เคยตลบเจือจางทันตาเห็น ฝักถั่วรัฐบาลเคาะผ่านประสานเสียง ตัวเลข “375+125” นิ่งอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ที่สำคัญมันเกิดขึ้น บนไฮไลต์ม้วนเดียวจบ ไม่ต้องต่อเวลา ข้ามวัน เว้นช่วงให้นักวิ่งนักล็อบบี้ ยิสต์ป่วนมติ
ในเมื่อวาระ 2 ฟันธง วาระ 3 ย่อมคอนเฟิร์ม ผ่านทางแยกนี้ไปได้ โค้งอันตรายถัดไปคงไม่พ้นเกมซักฟอกคา สภา ตรงนี้แม้จะดูเหมือนว่า พรรคเพื่อไทยจะเริ่มตั้งหลักได้ แต่ด้วยวาระฝักถั่วสมานฉันท์ มันก็คงไม่เกินกำลัง ของทีมงานพวกมากลากไป จะสไลด์ตัว หนีปัญหาฝ่าวงล้อมสมรภูมิน้ำลายได้อย่าง อยู่รอดปลอดภัย
อย่างขี้เหร่ ในกรณีบาดแผลเหวะ หวะเต็มตัว “นายกฯ อภิสิทธิ์” ก็ยังเหลือ ตัวช่วยต่ออายุขัยด้วยการแต่งหน้าทาปาก ซื้อเวลาปรับ ครม. ตกรางวัลให้ชมรมคนอกหักเป็นการปลอบใจส่งท้าย สมประ โยชน์ได้อีกนี่แหล่ะเซียนเขี้ยวตัวจริง
กระนั้น เงื่อนไข ครม.ใหม่ จะ “หล่อ” หรือ “ขี้เหร่” นักเลือกตั้งคงไม่แยแส เนื่องด้วย หัวจิตหัวใจของท่านๆ เหล่านั้น กำลังจดจ่ออยู่กับวาระปันผลในงบกลางปี 54 ที่เผอิญจะไหลซับไหลซ้อนมาพร้อมกับสาย น้ำแห่งกระสุนดินดำซึ่งจะหลากมาในฤดูกาลโยกย้าย!!!
และหากสมมติฐานดังกล่าวเกิดขึ้นจริง เงื่อนเวลาและเงื่อนไขที่ถูกล็อกไว้ นำ พา “เรือโนอาร์หนีกรรมติดจรวด” ที่มีสารพัดสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “นักเลือกตั้ง” มาถึงฟากฝั่ง เวลานั้นมาเยือนเมื่อไหร่ ปี่กลองเลือกตั้งประเทศไทยย่อมกระหึ่มดังในบัดดล
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก และเรื่องน่าแปลกใจที่ ประชาธิปัตย์ผนึกกำลังพรรคร่วมฯ ส่งไม้วิ่งหนีตาย 4X100 เมตรชาย อย่างไม่คิดชีวิต แต่มูลเหตุที่น่าสนใจไปกว่า นั้น มันน่าจะอยู่ที่ว่า..ป้อมค่ายไหนจะเป็นไม้สุดท้าย เบียดเข้าวินหลังเลือกตั้ง ใครกันแน่ระหว่าง..ฟ้าหรือน้ำเงิน!!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////
ปชป.ชนะศึกชิงมือในสภา รับศึกมือที่ 3 ในม็อบ เหลือง-แดง
แล้วประชาธิปัตย์ก็ชนะ "ศึกใน" สภาผู้แทนราษฎร
ทั้งเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกมในคณะรัฐมนตรี ประชาธิปัตย์อยู่ในฝ่ายได้เปรียบ
อยู่ในฐานะที่ประกาศ-ขีดเส้นวันเลือกตั้งได้ตามใจปรารถนา
ตรงกันข้ามกับพรรคร่วมรัฐบาล
ที่อยู่ในฐานะไม่แน่นอน
ตรงกันข้ามกับพรรคเพื่อไทย-ฝ่ายค้าน ที่อยู่ในฐานะไม่พร้อม
อย่างน้อยพรรคเพื่อไทยต้องได้โหมโรงอภิปรายไม่ไว้วางใจ และได้ความชัดเจนเรื่อง "แหล่งทุน" ที่ยังคลุมเครือจาก 2 ท่อเสียก่อน
อย่างน้อยพรรคร่วมรัฐบาลต้องได้ "โฉนด" เขตเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข พร้อมกับเบี้ยยังชีพจากตารางงบประมาณรายจ่ายกลางปี 2554 วงเงิน 1 แสนล้านเสียก่อน
ตารางเลือกตั้งในใจของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ที่ถูกส่งสัญญาณออกมาจากปาก "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ว่าพร้อมที่สุดตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป
ตามตารางใน-นอกสภาผู้แทนราษฎรที่ "สุเทพ-อภิสิทธิ์" ลงบัญชีไว้ เริ่มจากล็อกมือพรรคร่วมรัฐบาลและล็อกขาวุฒิสมาชิกให้ร่วมโหวตรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม วันที่ 11 กุมภาพันธ์
จากนั้นชุมนุมนับมือโหวตร่าง
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2554 วงเงิน 1 แสนล้านบาท เตรียมพิจารณาวาระ 1 วันที่ 16 กุมภาพันธ์
ต่อด้วยการตั้งรับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่ฝ่ายค้านจะยื่นญัตติในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ถัดไปจนถึงกลางปีราวมิถุนายน อาจมีการเปิดสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 วงเงิน 2.25
ล้านบาท
กรรมการบริหารพรรค
ประชาธิปัตย์เชื่อมั่นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ จะผ่านแบบ "ไม่ยาก" ด้วยคะแนนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไม่น้อยกว่า 20 เสียง
แต่มีเงื่อนไข-ปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ระดับเลวร้ายที่สุด เป็นเงื่อนไขหลัก ที่จะทำให้การเลือกตั้งเกิดหรือดับ คือ "ม็อบสีส้ม" ที่ปะทะกันระหว่างม็อบเหลือง+ม็อบแดง และเกมป่วนของ "มือที่ 3"
การปูดข่าว "ปฏิวัติ-รัฐบาลแห่งชาติ" จึงเป็นช่องระบาย "ข่าวปล่อย" ให้แกนนำพรรคเพื่อไทย และ นปช.ได้ต่อลมหายใจ
การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และสนธิ ลิ้มทองกุล ด้วยเงื่อนไข 3 ข้อ จึงเป็นช่องทางที่จะทำให้พรรคการเมืองใหม่ได้แจ้งเกิด
การประกาศ "ทุบสถิติม็อบเสื้อเหลือง 193 วัน" แม้ไม่ใช่แคมเปญของพรรคการเมืองใหม่ แต่ไม่อาจแยกออกจากแนวร่วมพันธมิตร
การประกาศ "เราต้องการความยุติธรรมที่มีมาตรฐานเดียวและพาเพื่อนออกจากเรือนจำทั่วประเทศ..." ของเสื้อแดงที่จะเริ่มดีเดย์ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไปก็ไม่อาจแยกออกจากแนวร่วมเพื่อไทย
รวมทั้งข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำ นปช.ที่ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และข้อเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบ 90 กว่าศพ
ยังไม่นับรวมอีกหลากหลายเป้าหมายที่ซ่อนในขบวนเสื้อแดง ทั้งต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน และแดงบางเฉดที่ต้องการให้ก้าวข้ามทักษิณ
ฉากเก่า ๆ ระหว่างเหลือง-แดงกำลังหมุนกลับมาฉายอีกครั้ง เมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมรอบทำเนียบรัฐบาล
ในขณะเดียวกัน เสื้อแดงที่นำโดยธิดา โตจิราการ และจตุพร
พรหมพันธุ์ ก็นัดชุมนุมเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อยในจังหวะทับซ้อนกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า การนัดเคลื่อนไหวครั้งนี้ แกนนำเสื้อแดง รีบชี้แจงต่อสู่มวลชนไว้แต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะอารมณ์เตลิดไปปะทะกับพันธมิตรฯ มิตรชั่วคราวในกระดานเวลานี้ โดยระบุท่าที่ต่อเสื้อเหลืองว่า คนเสื้อแดงต้องข้ามพ้นเสื้อเหลืองให้ได้
แม้ชนะศึกในสภาผู้แทนราษฎร แต่พรรคประชาธิปัตย์ ยังต้องตั้งรับ "ม็อบสีส้ม" ด้วยความระทึก
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////
ทั้งเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกมในคณะรัฐมนตรี ประชาธิปัตย์อยู่ในฝ่ายได้เปรียบ
อยู่ในฐานะที่ประกาศ-ขีดเส้นวันเลือกตั้งได้ตามใจปรารถนา
ตรงกันข้ามกับพรรคร่วมรัฐบาล
ที่อยู่ในฐานะไม่แน่นอน
ตรงกันข้ามกับพรรคเพื่อไทย-ฝ่ายค้าน ที่อยู่ในฐานะไม่พร้อม
อย่างน้อยพรรคเพื่อไทยต้องได้โหมโรงอภิปรายไม่ไว้วางใจ และได้ความชัดเจนเรื่อง "แหล่งทุน" ที่ยังคลุมเครือจาก 2 ท่อเสียก่อน
อย่างน้อยพรรคร่วมรัฐบาลต้องได้ "โฉนด" เขตเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข พร้อมกับเบี้ยยังชีพจากตารางงบประมาณรายจ่ายกลางปี 2554 วงเงิน 1 แสนล้านเสียก่อน
ตารางเลือกตั้งในใจของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ที่ถูกส่งสัญญาณออกมาจากปาก "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ว่าพร้อมที่สุดตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป
ตามตารางใน-นอกสภาผู้แทนราษฎรที่ "สุเทพ-อภิสิทธิ์" ลงบัญชีไว้ เริ่มจากล็อกมือพรรคร่วมรัฐบาลและล็อกขาวุฒิสมาชิกให้ร่วมโหวตรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม วันที่ 11 กุมภาพันธ์
จากนั้นชุมนุมนับมือโหวตร่าง
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2554 วงเงิน 1 แสนล้านบาท เตรียมพิจารณาวาระ 1 วันที่ 16 กุมภาพันธ์
ต่อด้วยการตั้งรับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่ฝ่ายค้านจะยื่นญัตติในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ถัดไปจนถึงกลางปีราวมิถุนายน อาจมีการเปิดสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 วงเงิน 2.25
ล้านบาท
กรรมการบริหารพรรค
ประชาธิปัตย์เชื่อมั่นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ จะผ่านแบบ "ไม่ยาก" ด้วยคะแนนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไม่น้อยกว่า 20 เสียง
แต่มีเงื่อนไข-ปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ระดับเลวร้ายที่สุด เป็นเงื่อนไขหลัก ที่จะทำให้การเลือกตั้งเกิดหรือดับ คือ "ม็อบสีส้ม" ที่ปะทะกันระหว่างม็อบเหลือง+ม็อบแดง และเกมป่วนของ "มือที่ 3"
การปูดข่าว "ปฏิวัติ-รัฐบาลแห่งชาติ" จึงเป็นช่องระบาย "ข่าวปล่อย" ให้แกนนำพรรคเพื่อไทย และ นปช.ได้ต่อลมหายใจ
การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และสนธิ ลิ้มทองกุล ด้วยเงื่อนไข 3 ข้อ จึงเป็นช่องทางที่จะทำให้พรรคการเมืองใหม่ได้แจ้งเกิด
การประกาศ "ทุบสถิติม็อบเสื้อเหลือง 193 วัน" แม้ไม่ใช่แคมเปญของพรรคการเมืองใหม่ แต่ไม่อาจแยกออกจากแนวร่วมพันธมิตร
การประกาศ "เราต้องการความยุติธรรมที่มีมาตรฐานเดียวและพาเพื่อนออกจากเรือนจำทั่วประเทศ..." ของเสื้อแดงที่จะเริ่มดีเดย์ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไปก็ไม่อาจแยกออกจากแนวร่วมเพื่อไทย
รวมทั้งข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำ นปช.ที่ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และข้อเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบ 90 กว่าศพ
ยังไม่นับรวมอีกหลากหลายเป้าหมายที่ซ่อนในขบวนเสื้อแดง ทั้งต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน และแดงบางเฉดที่ต้องการให้ก้าวข้ามทักษิณ
ฉากเก่า ๆ ระหว่างเหลือง-แดงกำลังหมุนกลับมาฉายอีกครั้ง เมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมรอบทำเนียบรัฐบาล
ในขณะเดียวกัน เสื้อแดงที่นำโดยธิดา โตจิราการ และจตุพร
พรหมพันธุ์ ก็นัดชุมนุมเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อยในจังหวะทับซ้อนกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า การนัดเคลื่อนไหวครั้งนี้ แกนนำเสื้อแดง รีบชี้แจงต่อสู่มวลชนไว้แต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะอารมณ์เตลิดไปปะทะกับพันธมิตรฯ มิตรชั่วคราวในกระดานเวลานี้ โดยระบุท่าที่ต่อเสื้อเหลืองว่า คนเสื้อแดงต้องข้ามพ้นเสื้อเหลืองให้ได้
แม้ชนะศึกในสภาผู้แทนราษฎร แต่พรรคประชาธิปัตย์ ยังต้องตั้งรับ "ม็อบสีส้ม" ด้วยความระทึก
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////
น่าหวาดเสียว !!!?
กรณี 2 คนไทยที่ยังติดคุกเปรซอว์ คือ นายวีระ สมความคิด กับ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่โดนข้อหาจารกรรมข้อมูลความมั่นคง
มีกำหนดขึ้นศาลพนมเปญอีกครั้งวันนี้
ที่ต้องลุ้นคือศาลจะไต่สวนแล้วพิพากษาตัดสินเลยหรือไม่
ถ้าตัดสินเลยก็ต้องดูต่อไปว่าจะโดนโทษเท่าไหร่ ติดคุกกี่ปี จะรอลงอาญาแล้วปล่อยตัวกลับประเทศเหมือนนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ และพวกรวม 5 คนก่อนหน้านี้หรือไม่
ไม่ได้แช่งชักหักกระดูก
แต่หลายคนเดาว่าคงยาก โดยเฉพาะนายวีระ ที่เคยเข้าไป 'ลองของ' กัมพูชามาแล้วหลายรอบ
กรณี'วีระ-ราตรี' อยู่นอก 3 เงื่อนไขของกลุ่มพันธ มิตรฯ ที่ยื่นกดดันรัฐบาล
คือ 1.ให้ถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก 2.ยกเลิกเอ็มโอยู 2543 3.ขับไล่คนกัมพูชาออกจากพื้นที่พิพาท
แต่เป็นปมปัญหาเพิ่มเติมที่แกนนำหยิบขึ้นมาประ กาศเตรียมยกระดับความเคลื่อนไหว
โดยยืนยันว่าพื้นที่ที่นายวีระ นายพนิช และคนไทยทั้ง 7 ถูกทหารกัมพูชาจับกุมนั้นอยู่ในเขตแดนไทย
นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นแทรกซ้อนเข้ามา
กรณีธงชาติกัมพูชาไปโผล่ปักอยู่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ในเขตพื้นที่พิพาทเช่นกัน ใกล้ๆ กับป้ายหินที่เคยมีปัญหากันมาก่อนหน้าไม่กี่วัน
ครั้งนั้นนายกฯฮุนเซน ยอมสั่งทหารกัมพูชาทุบป้ายทิ้ง ทำให้คนกัมพูชาไม่พอใจ มองว่าเป็นการสยบยอมต่อไทย
พอมาเรื่องธงเลยต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่ นายกฯฮุนเซน หันมาเอาใจประชาชนของตนเอง ประกาศไม่ยอมปลดธงลงตามที่รัฐบาลไทยต้องการ
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลยตกที่นั่งลำบาก
แทนที่ม็อบพันธมิตรฯ จะเห็นใจ กลับเพิ่มแรงกดดันเข้าใส่นายกฯอภิสิทธิ์ หาว่าไม่ยอมปกป้องผืนแผ่นดินไทย
ทั้งยังยกระดับข่มขู่ว่าหากรัฐบาลไม่ยอมทำตามเงื่อนไข 4-5 ข้อดังกล่าว ม็อบพันธมิตรฯ ตัดสินใจบุกเข้าทำเนียบเมื่อไหร่ นายกฯก็อยู่ไม่ได้เมื่อนั้น
จากนี้ไป ต้องวัดใจนายกฯอภิสิทธิ์ จะทำอย่างไร
ถ้าม็อบบุกจริงต้องประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีกหรือไม่ เพราะลำพังตำรวจคงเอาไม่อยู่
ทีนี้พอเบิกกำลังทหารออกจากกรมกองแล้ว จะกลายเป็น'เข้าแผน'ใครหรือไม่
คำตอบช่างน่าหวาดเสียวจริงๆ
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์เหล็กใน
//////////////////////////////////////////
มีกำหนดขึ้นศาลพนมเปญอีกครั้งวันนี้
ที่ต้องลุ้นคือศาลจะไต่สวนแล้วพิพากษาตัดสินเลยหรือไม่
ถ้าตัดสินเลยก็ต้องดูต่อไปว่าจะโดนโทษเท่าไหร่ ติดคุกกี่ปี จะรอลงอาญาแล้วปล่อยตัวกลับประเทศเหมือนนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ และพวกรวม 5 คนก่อนหน้านี้หรือไม่
ไม่ได้แช่งชักหักกระดูก
แต่หลายคนเดาว่าคงยาก โดยเฉพาะนายวีระ ที่เคยเข้าไป 'ลองของ' กัมพูชามาแล้วหลายรอบ
กรณี'วีระ-ราตรี' อยู่นอก 3 เงื่อนไขของกลุ่มพันธ มิตรฯ ที่ยื่นกดดันรัฐบาล
คือ 1.ให้ถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก 2.ยกเลิกเอ็มโอยู 2543 3.ขับไล่คนกัมพูชาออกจากพื้นที่พิพาท
แต่เป็นปมปัญหาเพิ่มเติมที่แกนนำหยิบขึ้นมาประ กาศเตรียมยกระดับความเคลื่อนไหว
โดยยืนยันว่าพื้นที่ที่นายวีระ นายพนิช และคนไทยทั้ง 7 ถูกทหารกัมพูชาจับกุมนั้นอยู่ในเขตแดนไทย
นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นแทรกซ้อนเข้ามา
กรณีธงชาติกัมพูชาไปโผล่ปักอยู่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ในเขตพื้นที่พิพาทเช่นกัน ใกล้ๆ กับป้ายหินที่เคยมีปัญหากันมาก่อนหน้าไม่กี่วัน
ครั้งนั้นนายกฯฮุนเซน ยอมสั่งทหารกัมพูชาทุบป้ายทิ้ง ทำให้คนกัมพูชาไม่พอใจ มองว่าเป็นการสยบยอมต่อไทย
พอมาเรื่องธงเลยต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่ นายกฯฮุนเซน หันมาเอาใจประชาชนของตนเอง ประกาศไม่ยอมปลดธงลงตามที่รัฐบาลไทยต้องการ
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลยตกที่นั่งลำบาก
แทนที่ม็อบพันธมิตรฯ จะเห็นใจ กลับเพิ่มแรงกดดันเข้าใส่นายกฯอภิสิทธิ์ หาว่าไม่ยอมปกป้องผืนแผ่นดินไทย
ทั้งยังยกระดับข่มขู่ว่าหากรัฐบาลไม่ยอมทำตามเงื่อนไข 4-5 ข้อดังกล่าว ม็อบพันธมิตรฯ ตัดสินใจบุกเข้าทำเนียบเมื่อไหร่ นายกฯก็อยู่ไม่ได้เมื่อนั้น
จากนี้ไป ต้องวัดใจนายกฯอภิสิทธิ์ จะทำอย่างไร
ถ้าม็อบบุกจริงต้องประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีกหรือไม่ เพราะลำพังตำรวจคงเอาไม่อยู่
ทีนี้พอเบิกกำลังทหารออกจากกรมกองแล้ว จะกลายเป็น'เข้าแผน'ใครหรือไม่
คำตอบช่างน่าหวาดเสียวจริงๆ
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์เหล็กใน
//////////////////////////////////////////
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)