แล้วประชาธิปัตย์ก็ชนะ "ศึกใน" สภาผู้แทนราษฎร
ทั้งเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกมในคณะรัฐมนตรี ประชาธิปัตย์อยู่ในฝ่ายได้เปรียบ
อยู่ในฐานะที่ประกาศ-ขีดเส้นวันเลือกตั้งได้ตามใจปรารถนา
ตรงกันข้ามกับพรรคร่วมรัฐบาล
ที่อยู่ในฐานะไม่แน่นอน
ตรงกันข้ามกับพรรคเพื่อไทย-ฝ่ายค้าน ที่อยู่ในฐานะไม่พร้อม
อย่างน้อยพรรคเพื่อไทยต้องได้โหมโรงอภิปรายไม่ไว้วางใจ และได้ความชัดเจนเรื่อง "แหล่งทุน" ที่ยังคลุมเครือจาก 2 ท่อเสียก่อน
อย่างน้อยพรรคร่วมรัฐบาลต้องได้ "โฉนด" เขตเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข พร้อมกับเบี้ยยังชีพจากตารางงบประมาณรายจ่ายกลางปี 2554 วงเงิน 1 แสนล้านเสียก่อน
ตารางเลือกตั้งในใจของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ที่ถูกส่งสัญญาณออกมาจากปาก "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ว่าพร้อมที่สุดตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป
ตามตารางใน-นอกสภาผู้แทนราษฎรที่ "สุเทพ-อภิสิทธิ์" ลงบัญชีไว้ เริ่มจากล็อกมือพรรคร่วมรัฐบาลและล็อกขาวุฒิสมาชิกให้ร่วมโหวตรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม วันที่ 11 กุมภาพันธ์
จากนั้นชุมนุมนับมือโหวตร่าง
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2554 วงเงิน 1 แสนล้านบาท เตรียมพิจารณาวาระ 1 วันที่ 16 กุมภาพันธ์
ต่อด้วยการตั้งรับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่ฝ่ายค้านจะยื่นญัตติในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ถัดไปจนถึงกลางปีราวมิถุนายน อาจมีการเปิดสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 วงเงิน 2.25
ล้านบาท
กรรมการบริหารพรรค
ประชาธิปัตย์เชื่อมั่นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ จะผ่านแบบ "ไม่ยาก" ด้วยคะแนนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไม่น้อยกว่า 20 เสียง
แต่มีเงื่อนไข-ปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ระดับเลวร้ายที่สุด เป็นเงื่อนไขหลัก ที่จะทำให้การเลือกตั้งเกิดหรือดับ คือ "ม็อบสีส้ม" ที่ปะทะกันระหว่างม็อบเหลือง+ม็อบแดง และเกมป่วนของ "มือที่ 3"
การปูดข่าว "ปฏิวัติ-รัฐบาลแห่งชาติ" จึงเป็นช่องระบาย "ข่าวปล่อย" ให้แกนนำพรรคเพื่อไทย และ นปช.ได้ต่อลมหายใจ
การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และสนธิ ลิ้มทองกุล ด้วยเงื่อนไข 3 ข้อ จึงเป็นช่องทางที่จะทำให้พรรคการเมืองใหม่ได้แจ้งเกิด
การประกาศ "ทุบสถิติม็อบเสื้อเหลือง 193 วัน" แม้ไม่ใช่แคมเปญของพรรคการเมืองใหม่ แต่ไม่อาจแยกออกจากแนวร่วมพันธมิตร
การประกาศ "เราต้องการความยุติธรรมที่มีมาตรฐานเดียวและพาเพื่อนออกจากเรือนจำทั่วประเทศ..." ของเสื้อแดงที่จะเริ่มดีเดย์ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไปก็ไม่อาจแยกออกจากแนวร่วมเพื่อไทย
รวมทั้งข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำ นปช.ที่ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และข้อเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบ 90 กว่าศพ
ยังไม่นับรวมอีกหลากหลายเป้าหมายที่ซ่อนในขบวนเสื้อแดง ทั้งต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน และแดงบางเฉดที่ต้องการให้ก้าวข้ามทักษิณ
ฉากเก่า ๆ ระหว่างเหลือง-แดงกำลังหมุนกลับมาฉายอีกครั้ง เมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมรอบทำเนียบรัฐบาล
ในขณะเดียวกัน เสื้อแดงที่นำโดยธิดา โตจิราการ และจตุพร
พรหมพันธุ์ ก็นัดชุมนุมเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อยในจังหวะทับซ้อนกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า การนัดเคลื่อนไหวครั้งนี้ แกนนำเสื้อแดง รีบชี้แจงต่อสู่มวลชนไว้แต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะอารมณ์เตลิดไปปะทะกับพันธมิตรฯ มิตรชั่วคราวในกระดานเวลานี้ โดยระบุท่าที่ต่อเสื้อเหลืองว่า คนเสื้อแดงต้องข้ามพ้นเสื้อเหลืองให้ได้
แม้ชนะศึกในสภาผู้แทนราษฎร แต่พรรคประชาธิปัตย์ ยังต้องตั้งรับ "ม็อบสีส้ม" ด้วยความระทึก
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
น่าหวาดเสียว !!!?
กรณี 2 คนไทยที่ยังติดคุกเปรซอว์ คือ นายวีระ สมความคิด กับ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่โดนข้อหาจารกรรมข้อมูลความมั่นคง
มีกำหนดขึ้นศาลพนมเปญอีกครั้งวันนี้
ที่ต้องลุ้นคือศาลจะไต่สวนแล้วพิพากษาตัดสินเลยหรือไม่
ถ้าตัดสินเลยก็ต้องดูต่อไปว่าจะโดนโทษเท่าไหร่ ติดคุกกี่ปี จะรอลงอาญาแล้วปล่อยตัวกลับประเทศเหมือนนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ และพวกรวม 5 คนก่อนหน้านี้หรือไม่
ไม่ได้แช่งชักหักกระดูก
แต่หลายคนเดาว่าคงยาก โดยเฉพาะนายวีระ ที่เคยเข้าไป 'ลองของ' กัมพูชามาแล้วหลายรอบ
กรณี'วีระ-ราตรี' อยู่นอก 3 เงื่อนไขของกลุ่มพันธ มิตรฯ ที่ยื่นกดดันรัฐบาล
คือ 1.ให้ถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก 2.ยกเลิกเอ็มโอยู 2543 3.ขับไล่คนกัมพูชาออกจากพื้นที่พิพาท
แต่เป็นปมปัญหาเพิ่มเติมที่แกนนำหยิบขึ้นมาประ กาศเตรียมยกระดับความเคลื่อนไหว
โดยยืนยันว่าพื้นที่ที่นายวีระ นายพนิช และคนไทยทั้ง 7 ถูกทหารกัมพูชาจับกุมนั้นอยู่ในเขตแดนไทย
นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นแทรกซ้อนเข้ามา
กรณีธงชาติกัมพูชาไปโผล่ปักอยู่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ในเขตพื้นที่พิพาทเช่นกัน ใกล้ๆ กับป้ายหินที่เคยมีปัญหากันมาก่อนหน้าไม่กี่วัน
ครั้งนั้นนายกฯฮุนเซน ยอมสั่งทหารกัมพูชาทุบป้ายทิ้ง ทำให้คนกัมพูชาไม่พอใจ มองว่าเป็นการสยบยอมต่อไทย
พอมาเรื่องธงเลยต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่ นายกฯฮุนเซน หันมาเอาใจประชาชนของตนเอง ประกาศไม่ยอมปลดธงลงตามที่รัฐบาลไทยต้องการ
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลยตกที่นั่งลำบาก
แทนที่ม็อบพันธมิตรฯ จะเห็นใจ กลับเพิ่มแรงกดดันเข้าใส่นายกฯอภิสิทธิ์ หาว่าไม่ยอมปกป้องผืนแผ่นดินไทย
ทั้งยังยกระดับข่มขู่ว่าหากรัฐบาลไม่ยอมทำตามเงื่อนไข 4-5 ข้อดังกล่าว ม็อบพันธมิตรฯ ตัดสินใจบุกเข้าทำเนียบเมื่อไหร่ นายกฯก็อยู่ไม่ได้เมื่อนั้น
จากนี้ไป ต้องวัดใจนายกฯอภิสิทธิ์ จะทำอย่างไร
ถ้าม็อบบุกจริงต้องประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีกหรือไม่ เพราะลำพังตำรวจคงเอาไม่อยู่
ทีนี้พอเบิกกำลังทหารออกจากกรมกองแล้ว จะกลายเป็น'เข้าแผน'ใครหรือไม่
คำตอบช่างน่าหวาดเสียวจริงๆ
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์เหล็กใน
//////////////////////////////////////////
มีกำหนดขึ้นศาลพนมเปญอีกครั้งวันนี้
ที่ต้องลุ้นคือศาลจะไต่สวนแล้วพิพากษาตัดสินเลยหรือไม่
ถ้าตัดสินเลยก็ต้องดูต่อไปว่าจะโดนโทษเท่าไหร่ ติดคุกกี่ปี จะรอลงอาญาแล้วปล่อยตัวกลับประเทศเหมือนนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ และพวกรวม 5 คนก่อนหน้านี้หรือไม่
ไม่ได้แช่งชักหักกระดูก
แต่หลายคนเดาว่าคงยาก โดยเฉพาะนายวีระ ที่เคยเข้าไป 'ลองของ' กัมพูชามาแล้วหลายรอบ
กรณี'วีระ-ราตรี' อยู่นอก 3 เงื่อนไขของกลุ่มพันธ มิตรฯ ที่ยื่นกดดันรัฐบาล
คือ 1.ให้ถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก 2.ยกเลิกเอ็มโอยู 2543 3.ขับไล่คนกัมพูชาออกจากพื้นที่พิพาท
แต่เป็นปมปัญหาเพิ่มเติมที่แกนนำหยิบขึ้นมาประ กาศเตรียมยกระดับความเคลื่อนไหว
โดยยืนยันว่าพื้นที่ที่นายวีระ นายพนิช และคนไทยทั้ง 7 ถูกทหารกัมพูชาจับกุมนั้นอยู่ในเขตแดนไทย
นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นแทรกซ้อนเข้ามา
กรณีธงชาติกัมพูชาไปโผล่ปักอยู่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ในเขตพื้นที่พิพาทเช่นกัน ใกล้ๆ กับป้ายหินที่เคยมีปัญหากันมาก่อนหน้าไม่กี่วัน
ครั้งนั้นนายกฯฮุนเซน ยอมสั่งทหารกัมพูชาทุบป้ายทิ้ง ทำให้คนกัมพูชาไม่พอใจ มองว่าเป็นการสยบยอมต่อไทย
พอมาเรื่องธงเลยต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่ นายกฯฮุนเซน หันมาเอาใจประชาชนของตนเอง ประกาศไม่ยอมปลดธงลงตามที่รัฐบาลไทยต้องการ
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลยตกที่นั่งลำบาก
แทนที่ม็อบพันธมิตรฯ จะเห็นใจ กลับเพิ่มแรงกดดันเข้าใส่นายกฯอภิสิทธิ์ หาว่าไม่ยอมปกป้องผืนแผ่นดินไทย
ทั้งยังยกระดับข่มขู่ว่าหากรัฐบาลไม่ยอมทำตามเงื่อนไข 4-5 ข้อดังกล่าว ม็อบพันธมิตรฯ ตัดสินใจบุกเข้าทำเนียบเมื่อไหร่ นายกฯก็อยู่ไม่ได้เมื่อนั้น
จากนี้ไป ต้องวัดใจนายกฯอภิสิทธิ์ จะทำอย่างไร
ถ้าม็อบบุกจริงต้องประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีกหรือไม่ เพราะลำพังตำรวจคงเอาไม่อยู่
ทีนี้พอเบิกกำลังทหารออกจากกรมกองแล้ว จะกลายเป็น'เข้าแผน'ใครหรือไม่
คำตอบช่างน่าหวาดเสียวจริงๆ
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์เหล็กใน
//////////////////////////////////////////
วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554
โพลเผยสังคมมอง"ว.วชิรเมธี"เป็นเสื้อเหลือง "พระพยอม"เป็นเสื้อแดง ระบุพระอีสานเลือก นปช. พระใต้เลือก พธม.
ผลวิจัยชี้สื่อและสังคมมอง "ว.วชิรเมธี-พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ" เป็นพระเสื้อเหลือง ส่วน "พระพยอม-พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ" พระเสื้อแดง นอกจากนี้โพลยังระบุว่า พระอีสานเลือกฝ่ายเสื้อแดงมากที่สุด 57.3% ส่วนพระใต้เลือกเสื้อเหลืองมากสุด 27.3%
เมื่อวันที่ 30 มกราคม นายสุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) ศูนย์การศึกษาหัวหิน เปิดเผยว่า ได้ทำโครงการวิจัยเรื่อง "ทำไมพระสงฆ์ส่วนใหญ่เลือกฝ่ายเสื้อแดง" เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม-ธันวาคม 2553 โดยลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นพระสงฆ์ทุกภูมิภาค 512 รูป อาทิ พระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมกับคนเสื้อแดง 75 รูป พระสงฆ์ภาคกลาง 85 รูป ภาคเหนือ 128 รูป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) 122 รูป และภาคใต้ 102 รูป ทั้งนี้ ได้เจาะจงเก็บข้อมูลจากพระนิสิต-นักศึกษา คณาจารย์ และผู้บริหารของวิทยาเขตมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ซึ่งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ
นายสุรพศกล่าวว่า จากผลการสำรวจสรุปได้ว่า ท่าทีและบทบาทของพระสงฆ์แบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 พระสงฆ์ส่วน
ใหญ่ยืนยันว่าไม่ได้เลือกฝ่ายเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง โดยพระสงฆ์ในภาคใต้ไม่เลือกฝ่ายการเมืองมากที่สุด 68% รองลงมาภาคกลาง 60.3% ภาคเหนือ 60.3% และน้อยที่สุด ภาคอีสาน 40%, กลุ่ม 2 กลุ่มพระสงฆ์ที่ยืนยันชัดเจนว่าเลือกฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งมีทั้งที่ออกมาชุมนุม ไม่ออกมาชุมนุม และเป็นพระที่มีชื่อเสียงที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะ ในกลุ่มพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายทางการเมืองนี้ พระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อแดงมีจำนวนมากกว่า โดยพระสงฆ์ภาคอีสานเลือกฝ่ายเสื้อแดงมากที่สุด 57.3% รองลงมา ภาคเหนือ 47% ภาคกลาง 33% และภาคใต้ 4.7%, ส่วนพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง พระสงฆ์ภาคใต้เลือกฝ่ายเสื้อเหลืองมากที่สุด 27.3% รองลงมา ภาคกลาง 6.7% ภาคเหนือ 3.7% และภาคอีสาน 2.7%
"กลุ่ม 3 พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงถูกมองว่าเลือกสีนั้นสีนี้ แต่เมื่อผู้วิจัยไปสัมภาษณ์แล้ว ยืนยันด้วยตัวท่านเองว่าเป็นกลาง ได้แก่ พระสงฆ์ที่ถูกสื่อ และสังคมมองว่า เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง หรือเป็น "พระเสื้อเหลือง" คือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตยาลัย และพระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่, 2.พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสื่อและสังคมมองว่า "เลือกฝ่ายเสื้อแดง" หรือเป็น "พระเสื้อแดง" คือ พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว นนทบุรี และพระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และ 3.พระไพศาล วิสาโล ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย และมีบทบาทเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์นักสันติวิธี นักกิจกรรมสังคม และมีบทบาทในด้านความเป็นกลางอย่างเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะมากที่สุดสำหรับเหตุผลในการเลือกฝ่ายทางการเมือง" นายสุรพศกล่าว
นายสุรพศกล่าวว่า จากการทำวิจัยพบว่า เหตุผลที่พระสงฆ์เลือกฝ่ายทางการเมืองมี 2 ปัจจัย ได้แก่ 1.เหตุผลทางการเมือง พระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมกับคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องการประชาธิปไตย 49.3% และเพื่อต่อต้านรัฐประหารเป็นหลัก 34.7% มีเพียงส่วนน้อย 5.7% ที่เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นนายกฯ อีก ส่วนพระสงฆ์ภาคอีสาน 77.7% ภาคกลาง 68.3% และภาคเหนือ 65.7% ส่วนใหญ่มีเหตุผลทางการเมือง เพื่อต้องการประชาธิปไตย และต่อต้านรัฐประหาร ยกเว้นภาคใต้ที่พระสงฆ์ส่วนใหญ่ 4.7% อ้างเหตุผลเรื่องต้องการประชาธิปไตย ต่อต้านคอร์รัปชัน และไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาเป็นนายกฯ ในสัดส่วนที่สูงกว่าการต่อต้านรัฐประหาร คือมีพระสงฆ์ที่อ้างเหตุผลต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ 18% ขณะที่อ้างเหตุผลต่อต้านรัฐประหาร 15%
นายสุรพศกล่าวว่า 2.เหตุผลทางจริยธรรมพบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ต้องการให้สังคมมีความยุติธรรม ไม่ต้องการสองมาตรฐาน ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ตามลำดับ คือพระสงฆ์ที่ร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง 70% และพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในภาคกลาง 64% ภาคเหนือ 73% และภาคอีสาน 77.7% ต่างยืนยันเหตุผลเรื่องต้องการความยุติธรรม และไม่ต้องการสองมาตรฐาน แต่พระสงฆ์ภาคใต้ส่วนใหญ่ 60% ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
"นอกจากนี้ ได้สัมภาษณ์แนวคิดเชิงลึกของพระสงฆ์ด้วย ได้แก่ พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ รองอธิการบดี มจร.มองว่า ปัจจุบันสังคมไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะพวกอำมาตย์ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นรัฐบาลพรรคเดียวครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย พวกอำมาตย์ใช้กลไกทุกอย่างเพื่อทำลายนักการเมือง และพรรคการเมืองที่มาจากประชาชน ทั้งกลไกองคมนตรี ให้องคมนตรีมาเป็นนายกฯ ใช้กลไกลกองทัพให้ไม่ยอมทำงานในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่เอาจริงเอาจังผิดปกติในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้กลไกศาลที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน์ และใช้กลไกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และสุดท้ายใช้พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โดยการไปฟอร์มรัฐบาลในค่ายทหาร แล้วก็ยอมทำทุกอย่าง แม้จะรู้ว่าทำเช่นนั้นแล้วว่าประชาชนต้องตาย ทั้งหมดก็เพื่อคำตอบสุดท้ายคือ รักษาอำนาจของตัวเอง และพรรคพวก โดยไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน"นายสุรพศกล่าว
นายสุรพศกล่าวว่า ส่วนพระไพศาล วิสาโล มองต่างออกไปว่า "เสื้อแดงไม่ได้พูดชัดเจน เขาบอกว่าจุดยืนคือให้ยุบสภา ไม่ได้บอกว่าไม่เอารัฐประหาร ซึ่งมันไม่เวิร์ค เพราะว่าไม่มีรัฐประหารอยู่แล้ว รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มาจากการเลือกตั้งใช่หรือไม่ อาจจะมีเส้นสนกลในก็แล้วแต่ แต่ว่าเสื้อแดงเขาเรียกร้องยุบสภาใช่หรือไม่ เขาไม่ได้เป็นกลุ่มต่อต้านรัฐประหาร เพราะว่าเขาไม่รู้จะไปต่อต้านกับใคร เพราะรัฐบาลไม่ใช่รัฐประหาร"
นายสุรพศกล่าวว่า เมื่อถามพระมหาโชว์ ทัสสนีโย ว่าเสื้อเหลืองเขาชูประเด็น "เราจะสู้เพื่อในหลวง" หรือเพื่อปกป้องสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พระสงฆ์ที่โดยปกติก็ยอมรับ หรือเป็นกลไกในการปลูกฝังแนวคิดเช่นนี้แก่ประชาชนอยู่แล้ว ทำไมไม่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง พระมหาโชว์ตอบว่า "ถ้าเขาจงรักภักดีจริง ทำไมจึงอ้างสถาบันเพื่อทำลายศัตรูทางการเมือง ดึงสถาบันลงมาเป็นเงื่อนไขในการแบ่งประชาชนออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเอาสถาบัน กับไม่เอาสถาบัน อาตมาว่ามันไม่ถูก สถาบันต้องอยู่เหนือการเมือง ไม่ควรถูกดึงลงมายุ่งการเมือง"
นายสุรพศกล่าวว่า ขณะที่พระครูปริยัติธรรมวงศ์ (สุพล ธมฺมวํโส) อาจารย์ประจำแขนงวิชาศาสนาและปรัชญา มจร.วิทยาเขตขอนแก่น มองว่า "ทุกวันนี้คนมันก็หูตาสว่าง พระเข้าไปดูข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้หมด ก็พอจะแยกแยะได้ในระดับหนึ่งว่าอะไรจริง อะไรเท็จ เรื่องสถาบันเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ ถ้าฟังจากปากคนเสื้อแดง อาตมาก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไร แต่ก็มีคำพูดของฝ่ายเสื้อเหลือง ราก็นำมาคิดตามหลักพุทธ พระพุทธเจ้าท่านเคารพธรรม หมายความว่าพระองค์เคารพหลักการที่ถูกต้อง เพราะการรักษาหลักการที่ถูกต้องจะทำให้ส่วนรวมอยู่ได้ อาตมาก็เลยคิดว่าเสื้อแดงที่พูดจริงจังกับเรื่องนี้ เขาต้องการรักษาหลักการประชาธิปไตย ไม่ใช่ต้องการทำลายสถาบัน"
นายสุรพศกล่าวต่อว่า พระครูปริยัติธรรมวงศ์ยังมองอีกว่า "หลายๆ เรื่องในเกมการเมือง อาตมาไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ ต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันมาไป ใครอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังบ้างก็ไม่รู้ได้ด้วยตนเอง แต่ที่เห็นได้ชัดเลย ที่เป็นข้อเท็จจริงที่เห็นได้เต็มตาเลยคือ ชาวบ้านเขาเสียใจ เขาเป็นเดือดเป็นแค้น หลายๆ คนร้องไห้เสียใจที่รัฐบาลที่เขาเลือกถูกล้มไป พ.ต.ท.ทักษิณจะหลอกให้ชาวบ้านรักคลั่งไคล้ได้ขนาดนี้หรือ ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรให้ชาวบ้านเลย ป้าที่ขายลูกชิ้นปิ้งข้างวัดบอกว่า ไอ้จนนี่มันก็จนมาตั้งแต่พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ก็ไม่ได้อ้างความจนออกมาชุมนุมขอความเมตตาจากใครหรอก แต่ที่ดูถูกประชาชน ปล้นอำนาจประชาชนนี่มันทนไม่ได้ มันไม่ยุติธรรม"
นายสุรพศกล่าวว่า ส่วนพระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) ที่ยืนยันว่าท่านไม่เลือกฝ่าย ก็มองประเด็นเดียวกันนี้ว่า "ตอนนี้มันปิดกันไม่อยู่แล้ว ถ้าสมัยก่อนไม่มีเว็บ ไม่มีหลักฐานอะไรบางอย่างแพร่ออกไปได้ เชื่อว่าสำเร็จ ทำได้ ถ้าเอาสมัย 6 ตุลาฯ ชูสถาบันขึ้นมาแล้วก็ปราบนักศึกษา ปราบประชาชนอะไรเนี่ย มันเป็นเครื่องมือของพวกนั้น แต่ตอนนี้คุณดูแค่เล่มนี้เล่มเดียวก็แย่แล้วไปไม่รอด"
ที่มา.มติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 30 มกราคม นายสุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) ศูนย์การศึกษาหัวหิน เปิดเผยว่า ได้ทำโครงการวิจัยเรื่อง "ทำไมพระสงฆ์ส่วนใหญ่เลือกฝ่ายเสื้อแดง" เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม-ธันวาคม 2553 โดยลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นพระสงฆ์ทุกภูมิภาค 512 รูป อาทิ พระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมกับคนเสื้อแดง 75 รูป พระสงฆ์ภาคกลาง 85 รูป ภาคเหนือ 128 รูป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) 122 รูป และภาคใต้ 102 รูป ทั้งนี้ ได้เจาะจงเก็บข้อมูลจากพระนิสิต-นักศึกษา คณาจารย์ และผู้บริหารของวิทยาเขตมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ซึ่งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ
นายสุรพศกล่าวว่า จากผลการสำรวจสรุปได้ว่า ท่าทีและบทบาทของพระสงฆ์แบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 พระสงฆ์ส่วน
ใหญ่ยืนยันว่าไม่ได้เลือกฝ่ายเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง โดยพระสงฆ์ในภาคใต้ไม่เลือกฝ่ายการเมืองมากที่สุด 68% รองลงมาภาคกลาง 60.3% ภาคเหนือ 60.3% และน้อยที่สุด ภาคอีสาน 40%, กลุ่ม 2 กลุ่มพระสงฆ์ที่ยืนยันชัดเจนว่าเลือกฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งมีทั้งที่ออกมาชุมนุม ไม่ออกมาชุมนุม และเป็นพระที่มีชื่อเสียงที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะ ในกลุ่มพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายทางการเมืองนี้ พระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อแดงมีจำนวนมากกว่า โดยพระสงฆ์ภาคอีสานเลือกฝ่ายเสื้อแดงมากที่สุด 57.3% รองลงมา ภาคเหนือ 47% ภาคกลาง 33% และภาคใต้ 4.7%, ส่วนพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง พระสงฆ์ภาคใต้เลือกฝ่ายเสื้อเหลืองมากที่สุด 27.3% รองลงมา ภาคกลาง 6.7% ภาคเหนือ 3.7% และภาคอีสาน 2.7%
"กลุ่ม 3 พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงถูกมองว่าเลือกสีนั้นสีนี้ แต่เมื่อผู้วิจัยไปสัมภาษณ์แล้ว ยืนยันด้วยตัวท่านเองว่าเป็นกลาง ได้แก่ พระสงฆ์ที่ถูกสื่อ และสังคมมองว่า เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง หรือเป็น "พระเสื้อเหลือง" คือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตยาลัย และพระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่, 2.พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสื่อและสังคมมองว่า "เลือกฝ่ายเสื้อแดง" หรือเป็น "พระเสื้อแดง" คือ พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว นนทบุรี และพระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และ 3.พระไพศาล วิสาโล ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย และมีบทบาทเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์นักสันติวิธี นักกิจกรรมสังคม และมีบทบาทในด้านความเป็นกลางอย่างเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะมากที่สุดสำหรับเหตุผลในการเลือกฝ่ายทางการเมือง" นายสุรพศกล่าว
นายสุรพศกล่าวว่า จากการทำวิจัยพบว่า เหตุผลที่พระสงฆ์เลือกฝ่ายทางการเมืองมี 2 ปัจจัย ได้แก่ 1.เหตุผลทางการเมือง พระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมกับคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องการประชาธิปไตย 49.3% และเพื่อต่อต้านรัฐประหารเป็นหลัก 34.7% มีเพียงส่วนน้อย 5.7% ที่เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นนายกฯ อีก ส่วนพระสงฆ์ภาคอีสาน 77.7% ภาคกลาง 68.3% และภาคเหนือ 65.7% ส่วนใหญ่มีเหตุผลทางการเมือง เพื่อต้องการประชาธิปไตย และต่อต้านรัฐประหาร ยกเว้นภาคใต้ที่พระสงฆ์ส่วนใหญ่ 4.7% อ้างเหตุผลเรื่องต้องการประชาธิปไตย ต่อต้านคอร์รัปชัน และไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาเป็นนายกฯ ในสัดส่วนที่สูงกว่าการต่อต้านรัฐประหาร คือมีพระสงฆ์ที่อ้างเหตุผลต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ 18% ขณะที่อ้างเหตุผลต่อต้านรัฐประหาร 15%
นายสุรพศกล่าวว่า 2.เหตุผลทางจริยธรรมพบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ต้องการให้สังคมมีความยุติธรรม ไม่ต้องการสองมาตรฐาน ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ตามลำดับ คือพระสงฆ์ที่ร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง 70% และพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในภาคกลาง 64% ภาคเหนือ 73% และภาคอีสาน 77.7% ต่างยืนยันเหตุผลเรื่องต้องการความยุติธรรม และไม่ต้องการสองมาตรฐาน แต่พระสงฆ์ภาคใต้ส่วนใหญ่ 60% ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
"นอกจากนี้ ได้สัมภาษณ์แนวคิดเชิงลึกของพระสงฆ์ด้วย ได้แก่ พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ รองอธิการบดี มจร.มองว่า ปัจจุบันสังคมไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะพวกอำมาตย์ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นรัฐบาลพรรคเดียวครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย พวกอำมาตย์ใช้กลไกทุกอย่างเพื่อทำลายนักการเมือง และพรรคการเมืองที่มาจากประชาชน ทั้งกลไกองคมนตรี ให้องคมนตรีมาเป็นนายกฯ ใช้กลไกลกองทัพให้ไม่ยอมทำงานในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่เอาจริงเอาจังผิดปกติในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้กลไกศาลที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน์ และใช้กลไกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และสุดท้ายใช้พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โดยการไปฟอร์มรัฐบาลในค่ายทหาร แล้วก็ยอมทำทุกอย่าง แม้จะรู้ว่าทำเช่นนั้นแล้วว่าประชาชนต้องตาย ทั้งหมดก็เพื่อคำตอบสุดท้ายคือ รักษาอำนาจของตัวเอง และพรรคพวก โดยไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน"นายสุรพศกล่าว
นายสุรพศกล่าวว่า ส่วนพระไพศาล วิสาโล มองต่างออกไปว่า "เสื้อแดงไม่ได้พูดชัดเจน เขาบอกว่าจุดยืนคือให้ยุบสภา ไม่ได้บอกว่าไม่เอารัฐประหาร ซึ่งมันไม่เวิร์ค เพราะว่าไม่มีรัฐประหารอยู่แล้ว รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มาจากการเลือกตั้งใช่หรือไม่ อาจจะมีเส้นสนกลในก็แล้วแต่ แต่ว่าเสื้อแดงเขาเรียกร้องยุบสภาใช่หรือไม่ เขาไม่ได้เป็นกลุ่มต่อต้านรัฐประหาร เพราะว่าเขาไม่รู้จะไปต่อต้านกับใคร เพราะรัฐบาลไม่ใช่รัฐประหาร"
นายสุรพศกล่าวว่า เมื่อถามพระมหาโชว์ ทัสสนีโย ว่าเสื้อเหลืองเขาชูประเด็น "เราจะสู้เพื่อในหลวง" หรือเพื่อปกป้องสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พระสงฆ์ที่โดยปกติก็ยอมรับ หรือเป็นกลไกในการปลูกฝังแนวคิดเช่นนี้แก่ประชาชนอยู่แล้ว ทำไมไม่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง พระมหาโชว์ตอบว่า "ถ้าเขาจงรักภักดีจริง ทำไมจึงอ้างสถาบันเพื่อทำลายศัตรูทางการเมือง ดึงสถาบันลงมาเป็นเงื่อนไขในการแบ่งประชาชนออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเอาสถาบัน กับไม่เอาสถาบัน อาตมาว่ามันไม่ถูก สถาบันต้องอยู่เหนือการเมือง ไม่ควรถูกดึงลงมายุ่งการเมือง"
นายสุรพศกล่าวว่า ขณะที่พระครูปริยัติธรรมวงศ์ (สุพล ธมฺมวํโส) อาจารย์ประจำแขนงวิชาศาสนาและปรัชญา มจร.วิทยาเขตขอนแก่น มองว่า "ทุกวันนี้คนมันก็หูตาสว่าง พระเข้าไปดูข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้หมด ก็พอจะแยกแยะได้ในระดับหนึ่งว่าอะไรจริง อะไรเท็จ เรื่องสถาบันเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ ถ้าฟังจากปากคนเสื้อแดง อาตมาก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไร แต่ก็มีคำพูดของฝ่ายเสื้อเหลือง ราก็นำมาคิดตามหลักพุทธ พระพุทธเจ้าท่านเคารพธรรม หมายความว่าพระองค์เคารพหลักการที่ถูกต้อง เพราะการรักษาหลักการที่ถูกต้องจะทำให้ส่วนรวมอยู่ได้ อาตมาก็เลยคิดว่าเสื้อแดงที่พูดจริงจังกับเรื่องนี้ เขาต้องการรักษาหลักการประชาธิปไตย ไม่ใช่ต้องการทำลายสถาบัน"
นายสุรพศกล่าวต่อว่า พระครูปริยัติธรรมวงศ์ยังมองอีกว่า "หลายๆ เรื่องในเกมการเมือง อาตมาไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ ต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันมาไป ใครอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังบ้างก็ไม่รู้ได้ด้วยตนเอง แต่ที่เห็นได้ชัดเลย ที่เป็นข้อเท็จจริงที่เห็นได้เต็มตาเลยคือ ชาวบ้านเขาเสียใจ เขาเป็นเดือดเป็นแค้น หลายๆ คนร้องไห้เสียใจที่รัฐบาลที่เขาเลือกถูกล้มไป พ.ต.ท.ทักษิณจะหลอกให้ชาวบ้านรักคลั่งไคล้ได้ขนาดนี้หรือ ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรให้ชาวบ้านเลย ป้าที่ขายลูกชิ้นปิ้งข้างวัดบอกว่า ไอ้จนนี่มันก็จนมาตั้งแต่พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ก็ไม่ได้อ้างความจนออกมาชุมนุมขอความเมตตาจากใครหรอก แต่ที่ดูถูกประชาชน ปล้นอำนาจประชาชนนี่มันทนไม่ได้ มันไม่ยุติธรรม"
นายสุรพศกล่าวว่า ส่วนพระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) ที่ยืนยันว่าท่านไม่เลือกฝ่าย ก็มองประเด็นเดียวกันนี้ว่า "ตอนนี้มันปิดกันไม่อยู่แล้ว ถ้าสมัยก่อนไม่มีเว็บ ไม่มีหลักฐานอะไรบางอย่างแพร่ออกไปได้ เชื่อว่าสำเร็จ ทำได้ ถ้าเอาสมัย 6 ตุลาฯ ชูสถาบันขึ้นมาแล้วก็ปราบนักศึกษา ปราบประชาชนอะไรเนี่ย มันเป็นเครื่องมือของพวกนั้น แต่ตอนนี้คุณดูแค่เล่มนี้เล่มเดียวก็แย่แล้วไปไม่รอด"
ที่มา.มติชนออนไลน์
หมอเลี๊ยบ อ่านเกมเลือกตั้ง-วางผัง พท.วัดใจ "มาร์ค" เมื่อ "ทักษิณ" ยังเป็นแฟ็กเตอร์การเมือง
"น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" อดีตผู้จัดการรัฐบาล-นักจัดการเลือกตั้ง แชมป์ 2 สมัยตั้งแต่ไทยรักไทยถึงพลังประชาชน วาดเค้าโครง-แคมเปญเลือกตั้ง วิเคราะห์เกมการเมืองก่อนวันพิพากษา-กากบาทจะมาถึง
............................
เมื่อตารางการเมืองชัดเจน
เมื่อเกมการเมืองนับถอยหลังเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง
ทั้งนักการเมือง-นักเลือกตั้งเข้าประจำที่จุดสตาร์ตในลู่-เลนสนามแข่ง
ทั้งตัวจริง-ตัวแทน และแฟ็กเตอร์ ทุกตัว-เดินเครื่องเต็มสูบ
"น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" อดีตผู้จัดการรัฐบาล-นักจัดการเลือกตั้ง แชมป์ 2 สมัยตั้งแต่ไทยรักไทยถึงพลังประชาชน วาดเค้าโครง-แคมเปญเลือกตั้ง วิเคราะห์เกมการเมืองก่อนวันพิพากษา-กากบาทจะมาถึง
นโยบายจะเป็นตัวชี้วัดผลแพ้-ชนะการเลือกตั้งได้อีกต่อไปหรือไม่
ความคิดของผู้รับผิดชอบในการเลือกตั้งอาจจะมีความรู้สึกว่านโยบายเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่อาจจะไม่ใช่ส่วนสำคัญ ซึ่งก็อาจจะเป็นอย่างนั้น เพราะการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอย่างมากมาย หรืออาจจะเกิดจากการมองไม่ออกว่ามีนโยบายอะไรที่สามารถชูขึ้นมาให้คำตอบกับสังคมไทยได้
พรรคประชาธิปัตย์ประกาศแคมเปญต่อเนื่องนับถอยหลังสู่การเลือกตั้ง
แน่นอนว่าการรณรงค์หาเสียงจะเข้มข้นขึ้น เพื่อเข้าสู่โหมดเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้งได้ ฉะนั้นก็ถึงจุดที่ต้องพูดถึงนโยบายพอสมควร แต่ปัญหาอยู่ตรงที่กระบวนการนำเสนอนโยบายยังไม่สามารถทะลวงจุดกับกรอบแนวคิดเดิม
ประเทศเปลี่ยนไปมาก โลกก็เปลี่ยนไปมาก เรายังติดอยู่กับเรื่องแค่สวัสดิการสังคม โดยที่ไม่มองบริบทอื่น ทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาประเทศไปถึงจุดที่เรามีขีดความสามารถในการแข่งขันได้
ต้องคิดนโยบายชุดใหม่
ใช่ ต้องคิดชุดใหม่ ภาพของอาเซียนกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะที่ของไทยยังไม่ตกผลึก ฉะนั้นหากเราไม่สามารถเตรียมการรองรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ หรือแม้แต่เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้เราสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศไปเลย
ต้องก้าวข้ามพ้นความเป็นประชานิยมหรือเปล่า
ประชานิยมหรือโครงการที่เราใช้ในช่วงปี 2544-2549 มันเปรียบเหมือนเรารักษาโรคที่ฉุกเฉินให้เราก้าวพ้นจากขีดอันตราย จะทำอย่างไรให้เราสามารถออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.ได้
วันนี้ถ้าเราออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.ได้แล้วยังใช้ยาชุดเดิม วิธีการรักษาแบบเดิม เราก็จะไม่มีวันเข้มแข็งได้ ผมเชื่อว่าประชาชนวันนี้ไม่ได้ต้องการเพียงสวัสดิการ แต่ต้องการทำให้เขาเข้มแข็งในชีวิต ถ้าเรายังมาติดและทำอยู่แค่เรื่องสวัสดิการ หรือแค่แก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่ได้มองโครงสร้างทั้งระบบ มันไม่สามารถขับเคลื่อนประเทศได้
ร่างนโยบายใหม่จะออกมายังไง
นโยบายสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นประชานิยมหรือประชาวิวัฒน์ มันก็เป็นแค่ยาแก้ปวด ยาลดไข้ที่ไม่สามารถทำให้ร่างกายเข้มแข็งได้ ผมคิดว่ามี 5 ด้านที่เราต้องพิจารณากันอย่างละเอียด ด้านแรกก็คือ เรื่องการเมืองการปกครอง ด้านที่ 2 คือ ด้านการศึกษา ด้านที่ 3 คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่ 4 คือ เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ด้านที่ 5 คือ การต่างประเทศ
ถ้าเราต้องการที่จะพัฒนาประเทศต่อไปในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า พรรคการเมืองต้องหลุดไปจากการพูดถึงแค่ประชานิยม ประชาสังคม แน่นอนสวัสดิการสังคมต้องมีอยู่ แต่ว่าสวัสดิการสังคมแบบไหนที่เป็นคำตอบให้กับการพัฒนาประเทศ
ผมยังมองว่าเรื่องสวัสดิการสังคมเราไม่มีทางจะให้สวัสดิการกับทุกคนได้ ภายใต้ระบบภาษีปัจจุบัน การที่เราบอกว่าให้เรียนฟรีโดยไม่จำกัด โดยไม่เลือกว่าคนนั้นรวยหรือจน ในทางหนึ่งยิ่งอาจทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งขยายตัวกว้างขวางขึ้น
งบฯลงทุนจะใช้รูปแบบการลงทุนแบบไหน
เรื่องโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องที่ผมให้ความสำคัญนะ แต่วันนี้ให้ความสำคัญกับการเมืองการปกครองเป็นเรื่องแรก เพราะเรื่องนี้เป็นหัวใจใหญ่ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนเรื่องอื่น เรื่องการศึกษา เศรษฐกิจ การต่างประเทศ
ถ้าจะลงทุนในอนาคตรัฐก็ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนทั้งหมด ต้องพูดถึงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างจริงจัง ต้องเป็นวาระสำคัญของรัฐบาลในส่วนกลางและท้องถิ่น ต้องมีหน่วยงานมารับผิดชอบที่เรียกว่า PPP ต้องมีกฎหมายรองรับ มีคนรับผิดชอบเต็มตัว อาจให้นายกฯเป็นประธาน
การเมืองทุกวันนี้รัฐบาลต้องบริหารสถานการณ์วันต่อวัน
ผมคิดว่าวันนี้คนไทยอยากเห็นคำตอบแบบนั้น เพราะสถานการณ์ที่เผชิญอยู่มันทำให้คนตั้งคำถามว่าจะไปต่อยังไง เมื่อตอนมีม็อบอยู่ที่ราชประสงค์ทุกคนก็ถามว่าจะจบยังไง วันนี้ไม่มีม็อบที่ราชประสงค์แล้ว แต่คำถามยังมีแบบเดิมคือจะจบยังไง ประเทศไทยจะไปยังไง ฉะนั้นผมว่าวันนี้ต้องสามารถพูดถึงโรดแมป ทิศทางของประเทศ ว่าประเทศไทยจะก้าวต่อไปอย่างไร
ปัญหานักการเมืองเป็นเรื่องหลัก
บอกหลายคนสมัยเป็นรัฐบาลว่า อยากจะอยู่นานไปเพื่ออะไร เราอยู่นานแล้วไม่มีใครจำได้อีกเลย กับการที่เราอยู่สั้น ๆ แล้วมีคนจำเราได้ตลอดไป อะไรที่น่าเดินไปสู่ทิศทางนั้นมากกว่ากัน นายกรัฐมนตรีบางคนอย่างคุณอานันท์ ปันยารชุน อยู่แค่ 1 ปีกับอีก 4 เดือน แต่คนก็ยังพูดถึงคุณอานันท์ ผ่านมาแล้วตอนนี้เกือบ 20 ปี คนก็ยังพูดถึงคุณอานันท์ เพราะระยะเวลาไม่ใช่ตัวบอกว่ารัฐบาลหรือผู้นำจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลนั้นทำอะไรให้คนรำลึกถึงหรือมีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศหรือไม่
บทบาทคุณทักษิณในสนามการเมือง
ผมชอบที่มีคนบอกว่า ไม่ใช่ก้าวข้ามแต่ก้าวคู่ คุณทักษิณก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งของวงการการเมืองไทย อาจจะไม่ใช่ปัจจัยเดียวและไม่ใช่ปัจจัยหลักด้วย แต่เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะต้องอยู่ในสมการในการพิจารณา
ผมคิดว่าสมการการเมืองไทยมีแฟ็กเตอร์มากมาย คุณทักษิณก็เป็นแฟ็กเตอร์หนึ่ง ถ้าเราไม่ใส่ไปในสมการการเมืองจะทำให้เรามองสมการนั้นไม่ครบ ถ้าเปรียบเทียบวันนี้แฟ็กเตอร์เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ฉะนั้นบทบาทของแฟ็กเตอร์ตัวนี้ บทบาทที่เปลี่ยนแปลงทุกสมการก็จะลดน้อยลง
การกลับมาของ 111 อาจกลับมาได้แค่ 110 คน
วันนี้ไม่มีใครทำนายอนาคตของการเมืองไทยได้ถูกต้องทั้งหมด คิดว่าสมการการเมืองไทยยังมีแฟ็กเตอร์ใหม่ ๆ ออกมาเปลี่ยนตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าจะทำนายอีก 1 ปีจะเกิดอะไรขึ้นเป็นเรื่องยาก แม้แต่วันนี้จะเลือกตั้งเมื่อไรก็ยังทำนายไม่ได้เลย
พรรคเพื่อไทยมีศักยภาพพอที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งด้วยตัวเองหรือไม่
ผมยังคิดว่าพรรคเพื่อไทยมีประสบการณ์ในการรณรงค์เลือกตั้งอยู่ จากเมื่อครั้งเป็นไทยรักไทยหรือพลังประชาชน บทเรียนเหล่านั้นยังใช้ได้สำหรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ แม้จะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเลือกตั้งที่ผ่านมา ฉะนั้นพรรคเพื่อไทยก็น่าจะพร้อมเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ผลลัพธ์ของการเลือกตั้งจะไม่เท่ากับในอดีต เพราะผมเชื่อว่าสถานการณ์ของการเลือกตั้งถ้ามอง ณ วันนี้ความสามารถในการแข่งขันของพรรคเพื่อไทย อาจจะไม่เท่ากับความสามารถในการแข่งขันของพรรคไทยรักไทยหรือพลังประชาชน
ความสามารถไม่เท่าถึงแม้ว่าคนที่อยู่เบื้องหลังเป็นคนกลุ่มเดิม
คนที่อยู่เบื้องหลังการรณรงค์เลือกตั้งในอดีต หลายกลุ่มก็ไม่อยู่ ก็ต้องยอมรับว่า เมื่อก่อนความสำเร็จของพรรคไทยรักไทยไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยเดียว ดังนั้นถ้าหากไม่มีอะไรที่สามารถจะทำให้เกิดความเข้มแข็งในการรณรงค์เลือกตั้งได้เร็ว โอกาสที่จะชนะการเลือกตั้ง ทัดเทียมกับในอดีต ก็อาจจะมีแต่ไม่สูงมาก แต่ผมก็ยังเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยยังจะเป็นพรรคใหญ่ แต่จะได้เสียงมากถึงขนาดใกล้ครึ่งหรือไม่ คงต้องรอดูช่วงใกล้ ๆ เลือกตั้ง
ตอนนี้ผลการเลือกตั้งทำนายยากไหม
ส่วนใหญ่ถ้าหากอีก 45 วันจะเลือกตั้ง ปัจจัยต่าง ๆ จะเปิดเผยมาหมดเลย จะเห็นทั้งตัวบุคคล นโยบาย เห็นทั้งเรื่องสถานการณ์แวดล้อมที่จะวิเคราะห์ว่าผลเลือกตั้งน่าจะออกมายังไง คืออย่างถ้าลองทำโพลช่วงก่อนเลือกตั้งสัก 45 วัน จะแม่นผิดพลาดไม่มาก
ผลการเลือกตั้งตอนนี้ ต่อให้ได้คะแนนอันดับหนึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่
อันนี้ทำนายได้เพียงว่าแต่ละพรรคจะได้เท่าไร แต่ว่ารัฐบาลจะเป็นใคร ทำนายไม่ได้เพราะในอดีตที่ผ่านมาเราอาจจะมีทำเนียมปฏิบัติ คือว่าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะต้องเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ในการเลือกตั้งครั้งหน้าเราคงไม่สามารถที่จะมั่นใจได้ขนาดนั้นว่า ถึงแม้จะชนะเลือกตั้งแต่ก็ไม่ได้เป็น
ทำไมเป็นอย่างงั้น
ผมบอกว่าไม่มั่นใจ แต่อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ ตอนเลือกตั้งปี′50 ถึงแม้พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง ก็ยังมีผู้ที่มองว่าพรรคพลังประชาชนจะจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ด้วยซ้ำไป อาจจะเนื่องจากธรรมเนียมปฏิบัติเริ่มถูกสั่นคลอน ไม่จำเป็นที่พรรคชนะการเลือกตั้งอันดับหนึ่งจะต้องเป็นแกนนำในการตั้งรัฐบาล...แนวคิดอย่างนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ว่าจะสำเร็จหรือเปล่าก็เป็นเรื่องของการพูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่มีใครชนะเด็ดขาดจริง ๆ
มันเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้ แต่ถามว่าจะได้รับการยอมรับไหม นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง...
ประชาธิปัตย์มีความอนุรักษนิยมและเคร่งจารีต คนที่จะสนับสนุนให้ฉีกธรรมเนียมทางการเมืองก็คงไม่ธรรมดา แล้วครั้งนี้จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
ผมคิดว่ากรณีเรื่องเคร่งจารีต คนที่พูดอย่างแข็งขันจริงจังก็คือ ท่านอดีตนายกฯชวน หลีกภัย ถ้าเป็นท่านชวนค่อนข้างเคร่งจารีต แต่ในปัจจุบันผมยังไม่เห็นความเห็นที่พูดออกมาชัดเจนว่า ถ้าไม่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งแล้ว จะให้เวลาผู้ที่ชนะเป็นอันดับหนึ่งได้จัดตั้งรัฐบาล เรายังไม่เห็นความเห็นอันนั้น
การเมืองปกติเลือกตั้งเข้ามาก็ขึ้นเกมใหม่ แต่ตอนนี้เลือกตั้งกี่ครั้งก็ขึ้นเกมใหม่ไม่ได้เพราะอะไร
ก็คงมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยการเมือง ทั้งระบบ และปัจจัยการทำงานการเมืองของพรรคไทยรักไทย ถ้าเรื่องการเมืองทั้งระบบตอนนี้ยังไม่ใช่การเมืองของคนส่วนใหญ่ที่แท้จริง ผมเชื่อว่าวันนี้สำนึกเหล่านั้นเกิดขึ้นมากเป็นลำดับ และปัจจัยของพรรคการเมืองเองก็ไม่ได้เป็นที่รวมของคนที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน ฉะนั้นองค์กรทางการเมืองเองไม่สามารถที่จะสร้างคำตอบให้กับประชาชนในการที่จะพัฒนาประเทศได้
พรรคการเมืองและนักการเมืองทำให้เศรษฐกิจล้าหลังหรือเปล่า
ถ้ามองว่าพรรคการเมืองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเมืองล้าหลัง...ก็ใช่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ระบบเศรษฐกิจอาจจะผูกติดกับการเมืองส่วนหนึ่ง แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่ขึ้นต่อการเมืองร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่เมื่อการเมืองล้มเหลวแล้วเศรษฐกิจจะล้มเหลวด้วย เพราะเศรษฐกิจยังมีจุดแข็งของตัวเองอยู่
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
............................
เมื่อตารางการเมืองชัดเจน
เมื่อเกมการเมืองนับถอยหลังเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง
ทั้งนักการเมือง-นักเลือกตั้งเข้าประจำที่จุดสตาร์ตในลู่-เลนสนามแข่ง
ทั้งตัวจริง-ตัวแทน และแฟ็กเตอร์ ทุกตัว-เดินเครื่องเต็มสูบ
"น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" อดีตผู้จัดการรัฐบาล-นักจัดการเลือกตั้ง แชมป์ 2 สมัยตั้งแต่ไทยรักไทยถึงพลังประชาชน วาดเค้าโครง-แคมเปญเลือกตั้ง วิเคราะห์เกมการเมืองก่อนวันพิพากษา-กากบาทจะมาถึง
นโยบายจะเป็นตัวชี้วัดผลแพ้-ชนะการเลือกตั้งได้อีกต่อไปหรือไม่
ความคิดของผู้รับผิดชอบในการเลือกตั้งอาจจะมีความรู้สึกว่านโยบายเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่อาจจะไม่ใช่ส่วนสำคัญ ซึ่งก็อาจจะเป็นอย่างนั้น เพราะการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอย่างมากมาย หรืออาจจะเกิดจากการมองไม่ออกว่ามีนโยบายอะไรที่สามารถชูขึ้นมาให้คำตอบกับสังคมไทยได้
พรรคประชาธิปัตย์ประกาศแคมเปญต่อเนื่องนับถอยหลังสู่การเลือกตั้ง
แน่นอนว่าการรณรงค์หาเสียงจะเข้มข้นขึ้น เพื่อเข้าสู่โหมดเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้งได้ ฉะนั้นก็ถึงจุดที่ต้องพูดถึงนโยบายพอสมควร แต่ปัญหาอยู่ตรงที่กระบวนการนำเสนอนโยบายยังไม่สามารถทะลวงจุดกับกรอบแนวคิดเดิม
ประเทศเปลี่ยนไปมาก โลกก็เปลี่ยนไปมาก เรายังติดอยู่กับเรื่องแค่สวัสดิการสังคม โดยที่ไม่มองบริบทอื่น ทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาประเทศไปถึงจุดที่เรามีขีดความสามารถในการแข่งขันได้
ต้องคิดนโยบายชุดใหม่
ใช่ ต้องคิดชุดใหม่ ภาพของอาเซียนกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะที่ของไทยยังไม่ตกผลึก ฉะนั้นหากเราไม่สามารถเตรียมการรองรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ หรือแม้แต่เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้เราสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศไปเลย
ต้องก้าวข้ามพ้นความเป็นประชานิยมหรือเปล่า
ประชานิยมหรือโครงการที่เราใช้ในช่วงปี 2544-2549 มันเปรียบเหมือนเรารักษาโรคที่ฉุกเฉินให้เราก้าวพ้นจากขีดอันตราย จะทำอย่างไรให้เราสามารถออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.ได้
วันนี้ถ้าเราออกจากห้อง ไอ.ซี.ยู.ได้แล้วยังใช้ยาชุดเดิม วิธีการรักษาแบบเดิม เราก็จะไม่มีวันเข้มแข็งได้ ผมเชื่อว่าประชาชนวันนี้ไม่ได้ต้องการเพียงสวัสดิการ แต่ต้องการทำให้เขาเข้มแข็งในชีวิต ถ้าเรายังมาติดและทำอยู่แค่เรื่องสวัสดิการ หรือแค่แก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่ได้มองโครงสร้างทั้งระบบ มันไม่สามารถขับเคลื่อนประเทศได้
ร่างนโยบายใหม่จะออกมายังไง
นโยบายสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นประชานิยมหรือประชาวิวัฒน์ มันก็เป็นแค่ยาแก้ปวด ยาลดไข้ที่ไม่สามารถทำให้ร่างกายเข้มแข็งได้ ผมคิดว่ามี 5 ด้านที่เราต้องพิจารณากันอย่างละเอียด ด้านแรกก็คือ เรื่องการเมืองการปกครอง ด้านที่ 2 คือ ด้านการศึกษา ด้านที่ 3 คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่ 4 คือ เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ด้านที่ 5 คือ การต่างประเทศ
ถ้าเราต้องการที่จะพัฒนาประเทศต่อไปในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า พรรคการเมืองต้องหลุดไปจากการพูดถึงแค่ประชานิยม ประชาสังคม แน่นอนสวัสดิการสังคมต้องมีอยู่ แต่ว่าสวัสดิการสังคมแบบไหนที่เป็นคำตอบให้กับการพัฒนาประเทศ
ผมยังมองว่าเรื่องสวัสดิการสังคมเราไม่มีทางจะให้สวัสดิการกับทุกคนได้ ภายใต้ระบบภาษีปัจจุบัน การที่เราบอกว่าให้เรียนฟรีโดยไม่จำกัด โดยไม่เลือกว่าคนนั้นรวยหรือจน ในทางหนึ่งยิ่งอาจทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งขยายตัวกว้างขวางขึ้น
งบฯลงทุนจะใช้รูปแบบการลงทุนแบบไหน
เรื่องโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องที่ผมให้ความสำคัญนะ แต่วันนี้ให้ความสำคัญกับการเมืองการปกครองเป็นเรื่องแรก เพราะเรื่องนี้เป็นหัวใจใหญ่ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนเรื่องอื่น เรื่องการศึกษา เศรษฐกิจ การต่างประเทศ
ถ้าจะลงทุนในอนาคตรัฐก็ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนทั้งหมด ต้องพูดถึงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างจริงจัง ต้องเป็นวาระสำคัญของรัฐบาลในส่วนกลางและท้องถิ่น ต้องมีหน่วยงานมารับผิดชอบที่เรียกว่า PPP ต้องมีกฎหมายรองรับ มีคนรับผิดชอบเต็มตัว อาจให้นายกฯเป็นประธาน
การเมืองทุกวันนี้รัฐบาลต้องบริหารสถานการณ์วันต่อวัน
ผมคิดว่าวันนี้คนไทยอยากเห็นคำตอบแบบนั้น เพราะสถานการณ์ที่เผชิญอยู่มันทำให้คนตั้งคำถามว่าจะไปต่อยังไง เมื่อตอนมีม็อบอยู่ที่ราชประสงค์ทุกคนก็ถามว่าจะจบยังไง วันนี้ไม่มีม็อบที่ราชประสงค์แล้ว แต่คำถามยังมีแบบเดิมคือจะจบยังไง ประเทศไทยจะไปยังไง ฉะนั้นผมว่าวันนี้ต้องสามารถพูดถึงโรดแมป ทิศทางของประเทศ ว่าประเทศไทยจะก้าวต่อไปอย่างไร
ปัญหานักการเมืองเป็นเรื่องหลัก
บอกหลายคนสมัยเป็นรัฐบาลว่า อยากจะอยู่นานไปเพื่ออะไร เราอยู่นานแล้วไม่มีใครจำได้อีกเลย กับการที่เราอยู่สั้น ๆ แล้วมีคนจำเราได้ตลอดไป อะไรที่น่าเดินไปสู่ทิศทางนั้นมากกว่ากัน นายกรัฐมนตรีบางคนอย่างคุณอานันท์ ปันยารชุน อยู่แค่ 1 ปีกับอีก 4 เดือน แต่คนก็ยังพูดถึงคุณอานันท์ ผ่านมาแล้วตอนนี้เกือบ 20 ปี คนก็ยังพูดถึงคุณอานันท์ เพราะระยะเวลาไม่ใช่ตัวบอกว่ารัฐบาลหรือผู้นำจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลนั้นทำอะไรให้คนรำลึกถึงหรือมีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศหรือไม่
บทบาทคุณทักษิณในสนามการเมือง
ผมชอบที่มีคนบอกว่า ไม่ใช่ก้าวข้ามแต่ก้าวคู่ คุณทักษิณก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งของวงการการเมืองไทย อาจจะไม่ใช่ปัจจัยเดียวและไม่ใช่ปัจจัยหลักด้วย แต่เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะต้องอยู่ในสมการในการพิจารณา
ผมคิดว่าสมการการเมืองไทยมีแฟ็กเตอร์มากมาย คุณทักษิณก็เป็นแฟ็กเตอร์หนึ่ง ถ้าเราไม่ใส่ไปในสมการการเมืองจะทำให้เรามองสมการนั้นไม่ครบ ถ้าเปรียบเทียบวันนี้แฟ็กเตอร์เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ฉะนั้นบทบาทของแฟ็กเตอร์ตัวนี้ บทบาทที่เปลี่ยนแปลงทุกสมการก็จะลดน้อยลง
การกลับมาของ 111 อาจกลับมาได้แค่ 110 คน
วันนี้ไม่มีใครทำนายอนาคตของการเมืองไทยได้ถูกต้องทั้งหมด คิดว่าสมการการเมืองไทยยังมีแฟ็กเตอร์ใหม่ ๆ ออกมาเปลี่ยนตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าจะทำนายอีก 1 ปีจะเกิดอะไรขึ้นเป็นเรื่องยาก แม้แต่วันนี้จะเลือกตั้งเมื่อไรก็ยังทำนายไม่ได้เลย
พรรคเพื่อไทยมีศักยภาพพอที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งด้วยตัวเองหรือไม่
ผมยังคิดว่าพรรคเพื่อไทยมีประสบการณ์ในการรณรงค์เลือกตั้งอยู่ จากเมื่อครั้งเป็นไทยรักไทยหรือพลังประชาชน บทเรียนเหล่านั้นยังใช้ได้สำหรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ แม้จะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเลือกตั้งที่ผ่านมา ฉะนั้นพรรคเพื่อไทยก็น่าจะพร้อมเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ผลลัพธ์ของการเลือกตั้งจะไม่เท่ากับในอดีต เพราะผมเชื่อว่าสถานการณ์ของการเลือกตั้งถ้ามอง ณ วันนี้ความสามารถในการแข่งขันของพรรคเพื่อไทย อาจจะไม่เท่ากับความสามารถในการแข่งขันของพรรคไทยรักไทยหรือพลังประชาชน
ความสามารถไม่เท่าถึงแม้ว่าคนที่อยู่เบื้องหลังเป็นคนกลุ่มเดิม
คนที่อยู่เบื้องหลังการรณรงค์เลือกตั้งในอดีต หลายกลุ่มก็ไม่อยู่ ก็ต้องยอมรับว่า เมื่อก่อนความสำเร็จของพรรคไทยรักไทยไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยเดียว ดังนั้นถ้าหากไม่มีอะไรที่สามารถจะทำให้เกิดความเข้มแข็งในการรณรงค์เลือกตั้งได้เร็ว โอกาสที่จะชนะการเลือกตั้ง ทัดเทียมกับในอดีต ก็อาจจะมีแต่ไม่สูงมาก แต่ผมก็ยังเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยยังจะเป็นพรรคใหญ่ แต่จะได้เสียงมากถึงขนาดใกล้ครึ่งหรือไม่ คงต้องรอดูช่วงใกล้ ๆ เลือกตั้ง
ตอนนี้ผลการเลือกตั้งทำนายยากไหม
ส่วนใหญ่ถ้าหากอีก 45 วันจะเลือกตั้ง ปัจจัยต่าง ๆ จะเปิดเผยมาหมดเลย จะเห็นทั้งตัวบุคคล นโยบาย เห็นทั้งเรื่องสถานการณ์แวดล้อมที่จะวิเคราะห์ว่าผลเลือกตั้งน่าจะออกมายังไง คืออย่างถ้าลองทำโพลช่วงก่อนเลือกตั้งสัก 45 วัน จะแม่นผิดพลาดไม่มาก
ผลการเลือกตั้งตอนนี้ ต่อให้ได้คะแนนอันดับหนึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่
อันนี้ทำนายได้เพียงว่าแต่ละพรรคจะได้เท่าไร แต่ว่ารัฐบาลจะเป็นใคร ทำนายไม่ได้เพราะในอดีตที่ผ่านมาเราอาจจะมีทำเนียมปฏิบัติ คือว่าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะต้องเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ในการเลือกตั้งครั้งหน้าเราคงไม่สามารถที่จะมั่นใจได้ขนาดนั้นว่า ถึงแม้จะชนะเลือกตั้งแต่ก็ไม่ได้เป็น
ทำไมเป็นอย่างงั้น
ผมบอกว่าไม่มั่นใจ แต่อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ ตอนเลือกตั้งปี′50 ถึงแม้พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง ก็ยังมีผู้ที่มองว่าพรรคพลังประชาชนจะจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ด้วยซ้ำไป อาจจะเนื่องจากธรรมเนียมปฏิบัติเริ่มถูกสั่นคลอน ไม่จำเป็นที่พรรคชนะการเลือกตั้งอันดับหนึ่งจะต้องเป็นแกนนำในการตั้งรัฐบาล...แนวคิดอย่างนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ว่าจะสำเร็จหรือเปล่าก็เป็นเรื่องของการพูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่มีใครชนะเด็ดขาดจริง ๆ
มันเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้ แต่ถามว่าจะได้รับการยอมรับไหม นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง...
ประชาธิปัตย์มีความอนุรักษนิยมและเคร่งจารีต คนที่จะสนับสนุนให้ฉีกธรรมเนียมทางการเมืองก็คงไม่ธรรมดา แล้วครั้งนี้จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
ผมคิดว่ากรณีเรื่องเคร่งจารีต คนที่พูดอย่างแข็งขันจริงจังก็คือ ท่านอดีตนายกฯชวน หลีกภัย ถ้าเป็นท่านชวนค่อนข้างเคร่งจารีต แต่ในปัจจุบันผมยังไม่เห็นความเห็นที่พูดออกมาชัดเจนว่า ถ้าไม่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งแล้ว จะให้เวลาผู้ที่ชนะเป็นอันดับหนึ่งได้จัดตั้งรัฐบาล เรายังไม่เห็นความเห็นอันนั้น
การเมืองปกติเลือกตั้งเข้ามาก็ขึ้นเกมใหม่ แต่ตอนนี้เลือกตั้งกี่ครั้งก็ขึ้นเกมใหม่ไม่ได้เพราะอะไร
ก็คงมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยการเมือง ทั้งระบบ และปัจจัยการทำงานการเมืองของพรรคไทยรักไทย ถ้าเรื่องการเมืองทั้งระบบตอนนี้ยังไม่ใช่การเมืองของคนส่วนใหญ่ที่แท้จริง ผมเชื่อว่าวันนี้สำนึกเหล่านั้นเกิดขึ้นมากเป็นลำดับ และปัจจัยของพรรคการเมืองเองก็ไม่ได้เป็นที่รวมของคนที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน ฉะนั้นองค์กรทางการเมืองเองไม่สามารถที่จะสร้างคำตอบให้กับประชาชนในการที่จะพัฒนาประเทศได้
พรรคการเมืองและนักการเมืองทำให้เศรษฐกิจล้าหลังหรือเปล่า
ถ้ามองว่าพรรคการเมืองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเมืองล้าหลัง...ก็ใช่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ระบบเศรษฐกิจอาจจะผูกติดกับการเมืองส่วนหนึ่ง แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่ขึ้นต่อการเมืองร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่เมื่อการเมืองล้มเหลวแล้วเศรษฐกิจจะล้มเหลวด้วย เพราะเศรษฐกิจยังมีจุดแข็งของตัวเองอยู่
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554
ไอซีที-ไอซีทรู การบริหารแบบ"ผ้าขาวคลุมศพ"สไตล์ อภิสิทธิ์.
โดย สรกล อดุลยานนท์
ครั้งหนึ่ง ผู้บริหารสูงสุดของ "ปูนซิเมนต์ไทย" ถามลูกน้องว่า ระหว่างนาย ก. กับ นาย ข. ใครทำงานเก่งกว่ากัน
เจอคำถามแบบนี้ ลูกน้องก็ไม่รู้ว่าเจ้านายจะมาทางไหน
เขาไม่ยอมฟันธง แต่ตอบตามความเป็นจริง
เขาบอกว่า ถ้าเทียบฝีมือแล้วนาย ก. ทำงานเก่งกว่า นาย ข.
แต่ถ้าวัดผลงานของหน่วยงาน นาย ข. ดีกว่า นาย ก.
ผู้บริหารคนนั้นพยักหน้าเห็นด้วย แล้วสรุปสั้นๆ ว่า นาย ข. ทำงานเก่งกว่า นาย ก.
เพราะนาย ก. เก่งคนเดียว ส่วนตัวนาย ข. แม้จะไม่เก่งมาก แต่บริหารลูกน้องเก่งกว่าทำให้ผลงานโดยรวมของหน่วยงานดีกว่า
"ผู้บริหาร" นั้น หน้าที่หลักคือ "การบริหาร"
จะเก่งคนเดียวหรือดีคนเดียวไม่ได้
จากเรื่องของบริษัทเอกชน ผมนึกถึงเรื่องการบริหารงานของรัฐบาล
วันนี้ ไม่มีใครกล้าพูดว่า "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ทุจริตคอร์รัปชั่น
ใครๆ ก็ยอมรับว่า นายกรัฐมนตรีคนนี้มือสะอาดจริง
ไม่เคยทุจริตเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเลย
แต่ถามว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นอย่างไร
โพลล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อปลายปี 2553 ระบุเลยว่าการทุจริตของรัฐบาลสูงที่สุดในรอบ 3 ปี
เขาถามนักธุรกิจที่เป็นสมาชิกหอการค้าไทยว่าเคยจ่ายเงินพิเศษให้รัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้ได้โครงการของรัฐหรือไม่
79.7% บอกว่า เคยจ่าย
และจ่ายสูงกว่า 25% ของมูลค่าโครงการ
ถ้า 100 ล้านบาท ต้องจ่ายให้กับนักการเมือง 25 ล้านบาท
ถ้า 1,000 ล้านบาท ต้องจ่ายให้นักการเมือง 250 ล้านบาท
ถ้า 6,000 ล้านบาท ต้องจ่ายให้นักการเมือง 1,500 ล้านบาท
ตัวเลขนี้ไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ซื้อหุ้นฮัทช์ของกลุ่ม "ทรู" นะครับ
คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีมานานกว่า 2 ปี เขาได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่ "มือสะอาด" มากที่สุดคนหนึ่ง
แต่เมื่อพูดถึงรัฐบาลภายใต้การบริหารของ "อภิสิทธิ์" ใครจะไปนึกว่า รัฐบาลชุดนี้จะได้รับการประณามจากนักธุรกิจว่าเป็นรัฐบาลที่ทุจริตมากที่สุดรัฐบาลหนึ่ง
นึกถึงวิธีคิดของผู้บริหารสูงสุดของปูนใหญ่
ผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่ "คนเก่ง" แต่เป็นคนที่บริหารลูกน้องเก่ง
ในมุมกลับ ผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่คนที่ "มือสะอาด" คนเดียว
แต่ต้องเป็นคนที่บริหารลูกน้องไม่ให้ทุจริต
เขาดูกันที่ความเสียหายโดยรวม ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล
ไม่ใช่ที่ "ความสะอาด" ของตัว "นายกรัฐมนตรี"
อย่างล่าสุด ถามจริงๆ ว่า คุณอภิสิทธิ์ไม่ได้กลิ่นอะไรกับกรณีการแอบเซ็นสัญญาเงียบๆ ระหว่างกลุ่มทรูกับบริษัท กสท.โทรคมนาคม เลยหรือ??
กลิ่นนี้แรงกว่าโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันเสียอีก
คุณอภิสิทธิ์ไม่เคยได้ยินเลยหรือว่า คนในแวดวงโทรคมนาคมเขาแปลชื่อกระทรวง "ไอซีที" ยุค "จุติ ไกรฤกษ์" ว่า "ไอซีทรู"
จะหมายถึง "โปร่งใส" แบบ "ซีทรู"
หรือแปลว่า "ฉันเห็นแต่ทรูเจ้าเดียว"
ไม่มีใครรู้ !!!
หลังการเซ็นสัญญาครั้งนี้ มีคนบอกว่า "ประชาธิปัตย์" พร้อมยุบสภาแล้ว
ไม่ต้องรอให้เลยวันที่ 8 มีนาคม เหมือนที่มีคนเคยวิเคราะห์ไว้
เพราะงานระดมทุนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความจำเป็นแล้ว
ที่มา.มติชน
/////////////////////////////////////////////////////////////////
ครั้งหนึ่ง ผู้บริหารสูงสุดของ "ปูนซิเมนต์ไทย" ถามลูกน้องว่า ระหว่างนาย ก. กับ นาย ข. ใครทำงานเก่งกว่ากัน
เจอคำถามแบบนี้ ลูกน้องก็ไม่รู้ว่าเจ้านายจะมาทางไหน
เขาไม่ยอมฟันธง แต่ตอบตามความเป็นจริง
เขาบอกว่า ถ้าเทียบฝีมือแล้วนาย ก. ทำงานเก่งกว่า นาย ข.
แต่ถ้าวัดผลงานของหน่วยงาน นาย ข. ดีกว่า นาย ก.
ผู้บริหารคนนั้นพยักหน้าเห็นด้วย แล้วสรุปสั้นๆ ว่า นาย ข. ทำงานเก่งกว่า นาย ก.
เพราะนาย ก. เก่งคนเดียว ส่วนตัวนาย ข. แม้จะไม่เก่งมาก แต่บริหารลูกน้องเก่งกว่าทำให้ผลงานโดยรวมของหน่วยงานดีกว่า
"ผู้บริหาร" นั้น หน้าที่หลักคือ "การบริหาร"
จะเก่งคนเดียวหรือดีคนเดียวไม่ได้
จากเรื่องของบริษัทเอกชน ผมนึกถึงเรื่องการบริหารงานของรัฐบาล
วันนี้ ไม่มีใครกล้าพูดว่า "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ทุจริตคอร์รัปชั่น
ใครๆ ก็ยอมรับว่า นายกรัฐมนตรีคนนี้มือสะอาดจริง
ไม่เคยทุจริตเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเลย
แต่ถามว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นอย่างไร
โพลล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อปลายปี 2553 ระบุเลยว่าการทุจริตของรัฐบาลสูงที่สุดในรอบ 3 ปี
เขาถามนักธุรกิจที่เป็นสมาชิกหอการค้าไทยว่าเคยจ่ายเงินพิเศษให้รัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้ได้โครงการของรัฐหรือไม่
79.7% บอกว่า เคยจ่าย
และจ่ายสูงกว่า 25% ของมูลค่าโครงการ
ถ้า 100 ล้านบาท ต้องจ่ายให้กับนักการเมือง 25 ล้านบาท
ถ้า 1,000 ล้านบาท ต้องจ่ายให้นักการเมือง 250 ล้านบาท
ถ้า 6,000 ล้านบาท ต้องจ่ายให้นักการเมือง 1,500 ล้านบาท
ตัวเลขนี้ไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ซื้อหุ้นฮัทช์ของกลุ่ม "ทรู" นะครับ
คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีมานานกว่า 2 ปี เขาได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่ "มือสะอาด" มากที่สุดคนหนึ่ง
แต่เมื่อพูดถึงรัฐบาลภายใต้การบริหารของ "อภิสิทธิ์" ใครจะไปนึกว่า รัฐบาลชุดนี้จะได้รับการประณามจากนักธุรกิจว่าเป็นรัฐบาลที่ทุจริตมากที่สุดรัฐบาลหนึ่ง
นึกถึงวิธีคิดของผู้บริหารสูงสุดของปูนใหญ่
ผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่ "คนเก่ง" แต่เป็นคนที่บริหารลูกน้องเก่ง
ในมุมกลับ ผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่คนที่ "มือสะอาด" คนเดียว
แต่ต้องเป็นคนที่บริหารลูกน้องไม่ให้ทุจริต
เขาดูกันที่ความเสียหายโดยรวม ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล
ไม่ใช่ที่ "ความสะอาด" ของตัว "นายกรัฐมนตรี"
อย่างล่าสุด ถามจริงๆ ว่า คุณอภิสิทธิ์ไม่ได้กลิ่นอะไรกับกรณีการแอบเซ็นสัญญาเงียบๆ ระหว่างกลุ่มทรูกับบริษัท กสท.โทรคมนาคม เลยหรือ??
กลิ่นนี้แรงกว่าโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันเสียอีก
คุณอภิสิทธิ์ไม่เคยได้ยินเลยหรือว่า คนในแวดวงโทรคมนาคมเขาแปลชื่อกระทรวง "ไอซีที" ยุค "จุติ ไกรฤกษ์" ว่า "ไอซีทรู"
จะหมายถึง "โปร่งใส" แบบ "ซีทรู"
หรือแปลว่า "ฉันเห็นแต่ทรูเจ้าเดียว"
ไม่มีใครรู้ !!!
หลังการเซ็นสัญญาครั้งนี้ มีคนบอกว่า "ประชาธิปัตย์" พร้อมยุบสภาแล้ว
ไม่ต้องรอให้เลยวันที่ 8 มีนาคม เหมือนที่มีคนเคยวิเคราะห์ไว้
เพราะงานระดมทุนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความจำเป็นแล้ว
ที่มา.มติชน
/////////////////////////////////////////////////////////////////
เพื่อไทย ยันปฏิวัติ ไม่ใช่ข่าวปล่อย ปูดแผนจตุรทิศพิชิตเมือง คล้ายบันได 4 ขั้นล้มรัฐบาล ทรท.
ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรค พท. แถลงว่า คณะที่ปรึกษาด้านการเมือง ความมั่นคง ของพรรค พท. ได้หารือกันถึงกระแสข่าวการเตรียมปฏิวัติว่า ท้ายที่สุดอาจจะไม่ใช่การปล่อยข่าว เพราะที่ผ่านมาคณะที่ปรึกษาพรรค พท. ซึ่งมีเครือข่ายเป็นอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาทั่วประเทศ ส่งรายงานแผนการตามความต้องการของผู้มีอำนาจ แต่เกลียดการเลือกตั้ง โดยมีชื่อว่า "แผนจตุรทิศพิชิตเมือง" โดยจะมีลักษณะคล้ายบันใด 4 ขั้นที่ล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย คือมีการชุมนุม สุดท้ายก็ออกมาปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แผนนี้ใช้มาต่อเนื่องจนล้มรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และมาเข้มข้นในช่วงปี 2552-2553
นายจิรายุกล่าวว่า แผนดังกล่าวคือ 1.ทิศแห่งพลัง คือการสร้างพลังให้แข็งแรงกับเครือข่ายของตัวเอง ด้วยการให้มือไม้และแขนขาทำงานได้อย่างแข็งแรง เช่น การใช้ตุลาการภิวัฒน์เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและมั่นคง เห็นได้จากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทั้ง 2 คดี 2.ทิศแห่งเงินตรา มีการทำคุณให้คนใกล้ชิดด้วยการใช้เงินมหาศาลในทุกระบบ โดยมีรายงานว่าอาจใช้เงินมากกว่างบประมาณของประเทศบางปีด้วยซ้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อาทิ ให้เงินพรรคการเมืองซื้อตัวข้าราชการ ซื้อตัว ส.ส.พรรคอื่นไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลในสมัยหน้าและพร้อมจะคืนกลับให้ในรูปแบบใช้เงินงบประมาณประเทศ
นายจิรายุกล่าวว่า 3.ทิศแห่งกฎเกณฑ์ คือการวางกฎเกณฑ์เพื่อให้คู่ต่อสู้อ่อนแอทุกรูปแบบ และพ่ายแพ้ไปในที่สุดด้วยการเขียนกติกาต่างๆ ในสังคมเอง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรค ปชป.ยอมกลืนน้ำลายตัวเองให้แก้รัฐธรรมนูญ และแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลต่างก็โดนแผนนี้จนอ่อนระทวย ต้องหันไปสนับสนุนสูตร ส.ส. 375+125 และ 4.ทิศแห่งอำนาจ ซึ่งหลังมีการจุดประเด็นการปฏิวัติ ก็มีชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเป็นแผนกันเหนียวหากรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลเบี้ยวข้อตกลงข้างต้น และรวมไปถึงการเตรียมการไว้สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป หากไม่ประสบความสำเร็จก็จะมีการโค่นล้มประชาธิปไตย ด้วยการปั่นกระแสความวุ่นวายในบ้านเมืองแล้วลากรถถังออกมายึดอำนาจ
"แผนจตุรทิศพิชิตเมือง เป็นแผนแม่บท ต้นแบบในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ เห็นได้มาตลอด 2 ปีที่ซึ่งยิ่งใกล้โหมดเลือกตั้ง ก็มีการแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้ดูเข้าเค้าตามแผนนี้มากขึ้น เพราะแม้กระทั่งนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ยืนยันตลอดว่าจะให้ลูกพรรคโหวตสูตร 400+100 ก็ยังต้องยูเทิร์นแบบไม่เปิดไฟเลี้ยว ซึ่งมีข่าวว่านายบรรหารยังได้เอ่ยปากขอโทษกับแกนนำพรรคเพื่อไทยด้วยว่า "ขอโทษครับ ผมก็ถูกหักหลัง" " นายจิรายุกล่าว
นายจิรายุกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ การออกมาปะทะคารมกันของพรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำกลุ่มพันธมิตรอย่างรุนแรงนั้น น่าสังเกตว่าเป็นการขยิบตาเหยียบเท้าช่วยกันเรียกรถถังหรือไม่ แต่หากมีการยึดอำนาจรอบนี้อาจจะไม่ง่าย จะเกิดการต่อต้านอย่างหนัก ข้าราชการและประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจะลุกขึ้นมาสู้ อาจนำไปสู่สงครามกลางเมืองได้
ที่มา.มติชนอออนไลน์
****************************************************
นายจิรายุกล่าวว่า แผนดังกล่าวคือ 1.ทิศแห่งพลัง คือการสร้างพลังให้แข็งแรงกับเครือข่ายของตัวเอง ด้วยการให้มือไม้และแขนขาทำงานได้อย่างแข็งแรง เช่น การใช้ตุลาการภิวัฒน์เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและมั่นคง เห็นได้จากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทั้ง 2 คดี 2.ทิศแห่งเงินตรา มีการทำคุณให้คนใกล้ชิดด้วยการใช้เงินมหาศาลในทุกระบบ โดยมีรายงานว่าอาจใช้เงินมากกว่างบประมาณของประเทศบางปีด้วยซ้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อาทิ ให้เงินพรรคการเมืองซื้อตัวข้าราชการ ซื้อตัว ส.ส.พรรคอื่นไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลในสมัยหน้าและพร้อมจะคืนกลับให้ในรูปแบบใช้เงินงบประมาณประเทศ
นายจิรายุกล่าวว่า 3.ทิศแห่งกฎเกณฑ์ คือการวางกฎเกณฑ์เพื่อให้คู่ต่อสู้อ่อนแอทุกรูปแบบ และพ่ายแพ้ไปในที่สุดด้วยการเขียนกติกาต่างๆ ในสังคมเอง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรค ปชป.ยอมกลืนน้ำลายตัวเองให้แก้รัฐธรรมนูญ และแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลต่างก็โดนแผนนี้จนอ่อนระทวย ต้องหันไปสนับสนุนสูตร ส.ส. 375+125 และ 4.ทิศแห่งอำนาจ ซึ่งหลังมีการจุดประเด็นการปฏิวัติ ก็มีชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเป็นแผนกันเหนียวหากรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลเบี้ยวข้อตกลงข้างต้น และรวมไปถึงการเตรียมการไว้สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป หากไม่ประสบความสำเร็จก็จะมีการโค่นล้มประชาธิปไตย ด้วยการปั่นกระแสความวุ่นวายในบ้านเมืองแล้วลากรถถังออกมายึดอำนาจ
"แผนจตุรทิศพิชิตเมือง เป็นแผนแม่บท ต้นแบบในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ เห็นได้มาตลอด 2 ปีที่ซึ่งยิ่งใกล้โหมดเลือกตั้ง ก็มีการแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้ดูเข้าเค้าตามแผนนี้มากขึ้น เพราะแม้กระทั่งนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ยืนยันตลอดว่าจะให้ลูกพรรคโหวตสูตร 400+100 ก็ยังต้องยูเทิร์นแบบไม่เปิดไฟเลี้ยว ซึ่งมีข่าวว่านายบรรหารยังได้เอ่ยปากขอโทษกับแกนนำพรรคเพื่อไทยด้วยว่า "ขอโทษครับ ผมก็ถูกหักหลัง" " นายจิรายุกล่าว
นายจิรายุกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ การออกมาปะทะคารมกันของพรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำกลุ่มพันธมิตรอย่างรุนแรงนั้น น่าสังเกตว่าเป็นการขยิบตาเหยียบเท้าช่วยกันเรียกรถถังหรือไม่ แต่หากมีการยึดอำนาจรอบนี้อาจจะไม่ง่าย จะเกิดการต่อต้านอย่างหนัก ข้าราชการและประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจะลุกขึ้นมาสู้ อาจนำไปสู่สงครามกลางเมืองได้
ที่มา.มติชนอออนไลน์
****************************************************
ประท้วงในอียิปต์ยอดตายพุ่ง 102 ศพ !!??
ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในอียิปต์เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนเกินระดับ 100 รายแล้ว หลังจากที่เจอกับกระแสการต่อต้านจากประชาชนอย่างหนักในกรุงไคโร ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัค ของอียิปต์ แต่งตั้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ข่าวกรองเป็นรองประธานาธิบดีครั้งแรกเมื่อวาน
หลายฝ่ายมองว่าเรื่องนี้เป็นสัญญาณของการแต่งตั้งทายาททางการเมือง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมและถูกปราบปรามพุ่งขึ้นอย่างมาก โดยในการประท้วงนาน 5 วัน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 102 ราย โดยเฉพาะเมื่อวานนี้วันเดียวมีผู้เสียชีวิต 33 ราย
สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อวาน ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงเกือบ 30 ปีที่มูบารัคอยู่ในอำนาจ
เมื่อวานเมืองหลวงตกอยู่ในความระส่ำสะสายอย่างหนัก เจ้าของบ้านและธุรกิจร้านค้าในย่านคนมีอันจะกิน ต้องป้องกันตนเองกันอย่างเต็มที่จากพวกที่จะบุกมาปล้นทรัพย์สิน โดยคนเหล่านี้ ที่มีมีดและอื่นๆเป็นอาวุธ พากันเดินไปตามท้องถนน และหยิบฉวยทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ นอกจากนั้นก็ยังทำลายรถยนต์ ป้าย และหน้าต่าง ขณะที่มีเหตุเพลิงไหม้ในบางเขต
รถถังและรถหุ้มเกราะกระจายกำลังกันตามจุดต่างๆทั่วเมืองที่ประชากร 18 ล้านคนเพื่อให้การคุ้มครองอาคารที่ทำการของรัฐบาลสำคัญๆ สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญทางโบราณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิพิธภัณฑ์อียิปต์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดเก็บสิ่งของเก่าแก่ล้ำค่าสำคัญของประเทศ และทำเนียบรัฐบาล
แต่ทหารไม่ได้ดำเนินการปราบปรามประชาชนในเมืองหลวงอีกต่อไป แม้กระทั่งหลังจากที่เข้าสู่ช่วงเคอร์ฟิวก็ตาม เมื่อประชาชนต่างก็พากันละเมิดคำสั่งเคอร์ฟิวเป็นวันที่ 2 เพื่อแสดงการปฏิเสธแผนของมูบารัคที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป ด้วยการเสนอให้มีการปฏิรูปการเมืองและให้มีรัฐบาลใหม่ ขณะที่การแต่งตั้งนายโอมาร์ สุไลมาน หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของประธานาธิบดี และคนสนิทของมูบารัค เป็นรองประธานาธิบดี ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ประท้วงพอใจเช่นกัน
การปราบปรามการชุมนุมประท้วง ทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐออกมาวิจารณ์ทางการอียิปต์อย่างหนัก รวมทั้งขู่ที่จะตัดลดความช่วยเหลือมูลค่า 1 พัน 500 ล้านลงด้วย ขณะที่ผู้โดยสารจำนวนมาก ต้องตกค้างอยู่ที่สนามบินกรุงไคโร จากการที่เที่ยวบินมากมายเลื่อนหรือไม่ก็ยกเลิก ขณะที่ชาติอาหรับหลายประเทศ ก็เริ่มอพยพประชาชนของตนเองกลับประเทศ
ที่มา.เนชั่น
หลายฝ่ายมองว่าเรื่องนี้เป็นสัญญาณของการแต่งตั้งทายาททางการเมือง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมและถูกปราบปรามพุ่งขึ้นอย่างมาก โดยในการประท้วงนาน 5 วัน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 102 ราย โดยเฉพาะเมื่อวานนี้วันเดียวมีผู้เสียชีวิต 33 ราย
สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อวาน ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงเกือบ 30 ปีที่มูบารัคอยู่ในอำนาจ
เมื่อวานเมืองหลวงตกอยู่ในความระส่ำสะสายอย่างหนัก เจ้าของบ้านและธุรกิจร้านค้าในย่านคนมีอันจะกิน ต้องป้องกันตนเองกันอย่างเต็มที่จากพวกที่จะบุกมาปล้นทรัพย์สิน โดยคนเหล่านี้ ที่มีมีดและอื่นๆเป็นอาวุธ พากันเดินไปตามท้องถนน และหยิบฉวยทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ นอกจากนั้นก็ยังทำลายรถยนต์ ป้าย และหน้าต่าง ขณะที่มีเหตุเพลิงไหม้ในบางเขต
รถถังและรถหุ้มเกราะกระจายกำลังกันตามจุดต่างๆทั่วเมืองที่ประชากร 18 ล้านคนเพื่อให้การคุ้มครองอาคารที่ทำการของรัฐบาลสำคัญๆ สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญทางโบราณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิพิธภัณฑ์อียิปต์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดเก็บสิ่งของเก่าแก่ล้ำค่าสำคัญของประเทศ และทำเนียบรัฐบาล
แต่ทหารไม่ได้ดำเนินการปราบปรามประชาชนในเมืองหลวงอีกต่อไป แม้กระทั่งหลังจากที่เข้าสู่ช่วงเคอร์ฟิวก็ตาม เมื่อประชาชนต่างก็พากันละเมิดคำสั่งเคอร์ฟิวเป็นวันที่ 2 เพื่อแสดงการปฏิเสธแผนของมูบารัคที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป ด้วยการเสนอให้มีการปฏิรูปการเมืองและให้มีรัฐบาลใหม่ ขณะที่การแต่งตั้งนายโอมาร์ สุไลมาน หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของประธานาธิบดี และคนสนิทของมูบารัค เป็นรองประธานาธิบดี ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ประท้วงพอใจเช่นกัน
การปราบปรามการชุมนุมประท้วง ทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐออกมาวิจารณ์ทางการอียิปต์อย่างหนัก รวมทั้งขู่ที่จะตัดลดความช่วยเหลือมูลค่า 1 พัน 500 ล้านลงด้วย ขณะที่ผู้โดยสารจำนวนมาก ต้องตกค้างอยู่ที่สนามบินกรุงไคโร จากการที่เที่ยวบินมากมายเลื่อนหรือไม่ก็ยกเลิก ขณะที่ชาติอาหรับหลายประเทศ ก็เริ่มอพยพประชาชนของตนเองกลับประเทศ
ที่มา.เนชั่น
วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554
จำลองคือของจริง
เขาชื่อ..จำลอง..แต่เขาเป็น “ของจริง”
หลายปีดีดักที่ประเทศนี้..ใช้คำว่าประชาธิปไตย..เป็นลมหายใจของการปกครองประเทศ..เกินกว่าครึ่งของกาลเวลา..มันเป็นประชาธิปไตยแบบ “บริษัท”
และเป็นบริษัทจำกัด..ไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน
แต่ไม่ว่าในรูปแบบใด..ก็มี.. “เขาชื่อจำลอง”
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง ทุกคราวที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล..บางครั้งเขามาในรูปแบบของ..ขวาจัด..พรางตัวอยู่ในชุดจำยาก..ก่อนจะเปิดม่าน..สร้างตุลาทมิฬขึ้นมา..ลงเอยด้วยการล่มสลายของรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช..จากการกบฏไปเป็นหัวหน้าปฏิวัติของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม..
คราวหนึ่ง.. “เขาชื่อจำลอง”..เดินนำหน้าประชาชนท้าชนกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ของ พลเอก สุจินดา คราประยูร..เกิดเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมาเป็นวันมหาวิปโยคในเวอร์ชั่นของ..พฤษภาทมิฬ..
กองกำลังทหารของฝ่ายรัฐบาล..จับ “เขาชื่อจำลอง” ได้หน้าโรงหนังเฉลิมไทย..ในแวดล้อมของประชาชนที่นิยมในตัวเขา..ฝ่าย..กองเชียร์รัฐบาล
ดีอกดีใจ..แต่ไม่ทันข้ามคืน..
“เขาชื่อจำลอง” ก็สร้างปาฏิหาริย์..พลเอก
สุจินดา คราประยูร..ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี..ไม่นานหลังจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่..องคาพยพแห่งอำนาจของ พลเอก สุจินดา
คราประยูร..ก็ล้มครืนลงมาทั้งยวง..แม่ทัพใหญ่แม่ทัพน้อยทั้งหลายถูก ปลดปล่อยลอยแพ..
สู้กับเผด็จการ..เป็นงานของ “คนชื่อจำลอง”..แต่..ในความเป็นจริงนั้น..เขา
เป็นใคร..??
ประชาธิปไตย..ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่ “เขาชื่อจำลอง” ประคองส่งมอบเก้าอี้ให้ ก็มีอันล้มหายตายพรากไปจาก
แผ่นดินไทย สมัคร สุนทรเวช กับ สมชาย
วงศ์สวัสดิ์ ก็เพราะ...เขาชื่อจำลอง
วันนี้..เขาชื่อจำลอง..กรีฑาพลมา..ยื่นหน้าทำเนียบ..ที่มี..อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี..โดยมีข้อเรียกร้องที่เป็นไปไม่ได้
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..จับรับมืออยู่หรือไม่นั้น..เป็นเรื่องที่ต้องจับตากันดูต่อไป
โดย.พญาไม้ทูเดย์พญาไม้
หลายปีดีดักที่ประเทศนี้..ใช้คำว่าประชาธิปไตย..เป็นลมหายใจของการปกครองประเทศ..เกินกว่าครึ่งของกาลเวลา..มันเป็นประชาธิปไตยแบบ “บริษัท”
และเป็นบริษัทจำกัด..ไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน
แต่ไม่ว่าในรูปแบบใด..ก็มี.. “เขาชื่อจำลอง”
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง ทุกคราวที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล..บางครั้งเขามาในรูปแบบของ..ขวาจัด..พรางตัวอยู่ในชุดจำยาก..ก่อนจะเปิดม่าน..สร้างตุลาทมิฬขึ้นมา..ลงเอยด้วยการล่มสลายของรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช..จากการกบฏไปเป็นหัวหน้าปฏิวัติของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม..
คราวหนึ่ง.. “เขาชื่อจำลอง”..เดินนำหน้าประชาชนท้าชนกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ของ พลเอก สุจินดา คราประยูร..เกิดเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมาเป็นวันมหาวิปโยคในเวอร์ชั่นของ..พฤษภาทมิฬ..
กองกำลังทหารของฝ่ายรัฐบาล..จับ “เขาชื่อจำลอง” ได้หน้าโรงหนังเฉลิมไทย..ในแวดล้อมของประชาชนที่นิยมในตัวเขา..ฝ่าย..กองเชียร์รัฐบาล
ดีอกดีใจ..แต่ไม่ทันข้ามคืน..
“เขาชื่อจำลอง” ก็สร้างปาฏิหาริย์..พลเอก
สุจินดา คราประยูร..ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี..ไม่นานหลังจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่..องคาพยพแห่งอำนาจของ พลเอก สุจินดา
คราประยูร..ก็ล้มครืนลงมาทั้งยวง..แม่ทัพใหญ่แม่ทัพน้อยทั้งหลายถูก ปลดปล่อยลอยแพ..
สู้กับเผด็จการ..เป็นงานของ “คนชื่อจำลอง”..แต่..ในความเป็นจริงนั้น..เขา
เป็นใคร..??
ประชาธิปไตย..ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่ “เขาชื่อจำลอง” ประคองส่งมอบเก้าอี้ให้ ก็มีอันล้มหายตายพรากไปจาก
แผ่นดินไทย สมัคร สุนทรเวช กับ สมชาย
วงศ์สวัสดิ์ ก็เพราะ...เขาชื่อจำลอง
วันนี้..เขาชื่อจำลอง..กรีฑาพลมา..ยื่นหน้าทำเนียบ..ที่มี..อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี..โดยมีข้อเรียกร้องที่เป็นไปไม่ได้
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..จับรับมืออยู่หรือไม่นั้น..เป็นเรื่องที่ต้องจับตากันดูต่อไป
โดย.พญาไม้ทูเดย์พญาไม้
กระแสปฏิวัติแรง‘อภิสิทธิ์’ระทึกบินร่วมประชุม WEF ที่สวิส
กระแสข่าวปฏิวัติยังแรงแม้หลายฝ่ายจะเรียงหน้าออกมาปฏิเสธ “อภิสิทธิ์” ลุ้นระทึกต้องบินร่วมประชุม World Economic Forum ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 28-31 ม.ค. จะได้กลับหรือไม่ เรียก “สุเทพ” เข้ารับนโยบายทำงานช่วงนั่งรักษาการนายกฯ โฆษกวอร์รูมพรรคเพื่อแผ่นดินระบุสถานการณ์ขณะนี้ผิดปรกติหลายอย่าง ทั้งการชุมนุมของหลายกลุ่มและการจับคนร้ายพร้อมอาวุธเตรียมป่วนเมือง แนะนายกฯชิงตัดหน้ายุบสภาเลือกตั้งใหม่ก่อนถูกครหาได้อำนาจเพราะทหารและต้องลงจากตำแหน่งเพราะทหาร “จาตุรนต์” เชื่อมีกลุ่มคนพยายามใช้ความรุนแรงบีบให้เปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยวิธีการที่สลับซับซ้อน ขณะที่ “ประวิตร-อภิสิทธิ์-สุเทพ” ประสานเสียงยืนยันไม่มีปฏิวัติแน่
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงเรื่องการประชุมเตรียมปฏิวัติของนายทหารระดับสูง โดยระบุว่า “ผมไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน หากพวกคุณอยากรู้ให้ไปถามนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่าไปเอาข่าวนี้มาจากไหน”
ซัด “จตุพร” ใส่ร้ายกองทัพ
พล.อ.ประวิตรกล่าวอีกว่า นายจตุพรชอบใส่ร้ายกองทัพและพูดอะไรโดยไม่คิด ไม่มีความรับผิดชอบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะไม่มีการปฏิวัติ เพราะทหารคงไม่คิดเรื่องนี้
“มาร์ค” ยังมั่นใจในตัว “ประวิตร”
ผู้สื่อข่าวถามว่ายังมั่นใจในตัว พล.อ.ประวิตรอยู่ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า มั่นใจ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องการปฏิวัติอยู่ๆก็มีข่าวลือออกมา ไม่รู้ไปเอากันมาจากไหน
“สุเทพ” เชื่อไม่มีปฏิวัติแน่
“ไม่มีหรอกครับ ทำไม่ได้หรอกครับ ผมไม่บ้าไปด้วย ไม่รู้เอามาจากไหน” นายสุเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์มีกำหนดการเดินทางไปร่วมประชุมประจำปี World Economic Forum (WEF) ครั้งที่ 41 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 28-31 ม.ค. นี้ โดยนายกฯได้เรียกนายสุเทพที่จะนั่งรักษาการนายกฯเข้าพบเพื่อมอบหมายภารกิจและนโยบายในการดูแลสถานการณ์การเมือง
“จำลอง” ไม่สนทหารจะปฏิวัติหรือไม่
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืนยันว่า พันธมิตรฯออกมาชุมนุมเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ ไม่ได้หวังเรื่องอื่น
“ใครจะปฏิวัติ ใครจะมาเป็นรัฐบาลเราไม่ได้สนใจ แต่ถ้ามาแล้วทำไม่ถูกต้องเราก็ต้องออกมา เราไม่ได้ชุมนุมให้มีปฏิวัติ เรามีเป้าหมายเดียวคือกดดันให้รัฐบาลออกมาทำหน้าที่ปกป้องแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77” พล.ต.จำลองกล่าว
พผ. ชี้สถานการณ์ชักแปลกๆ
นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ โฆษกวอร์รูมพรรคเพื่อแผ่นดิน ยอมรับว่า เวลานี้มีกระแสข่าวการปฏิวัติออกมาอย่างต่อเนื่อง มีการพูดถึงขั้นว่าปีนี้จะไม่มีการเลือกตั้ง
“สถานการณ์การเมืองเวลานี้ค่อนข้างแปลกๆหลายเรื่อง ทั้งการชุมนุมที่ออกมาพร้อมกันหลายกลุ่มและการจับกุมผู้ที่เตรียมอาวุธก่อความไม่สงบ สถานการณ์ทุกอย่างดูจะเชื่อมโยงกัน ทางที่ดีนายกรัฐมนตรีควรพิจารณาให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว จะได้ไม่ต้องให้คนอื่นเขาพูดดูถูกว่าเป็นรัฐบาลได้ก็เพราะทหาร พ้นจากตำแหน่งก็เพราะทหาร” นพ.ภูมินทร์กล่าว
“จาตุรนต์” ระบุมีความคิดเปลี่ยนแปลง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยและอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า ให้ประชาชนจับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะเชื่อว่าไม่เพียงต้องการให้ไทยกับกัมพูชาขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่อาจแฝงความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงด้วยวัตถุประสงค์ที่ลึกลับซับซ้อนแบบที่หาเหตุผลตามปรกติไม่ได้
“เทพไท” ย้ำไม่มีข้ออ้างให้ปฏิวัติ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กระแสเรื่องการปฏัวัติเป็นเพียงการสร้างข่าว เพราะขณะนี้ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการปฏิวัติ
“คนที่พูดเรื่องปฏิวัติเป็นการคิดเอาเอง และเป็นพวกที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลด้วยวิธีการใดก็ได้จึงออกมาพูดเรื่องปฏิวัติ” นายเทพไทกล่าวและว่า นอกจากไม่มีเหตุผลที่จะทำการปฏิวัติแล้วรัฐบาลยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย พรรคประชาธิปัตย์จึงไม่วิตกกังวลใดๆต่อกระแสการปฏิวัติ มั่นใจว่าทั้งหมดเป็นเรื่องของข่าวลือ อยากให้คนปล่อยข่าวนี้ยุติเสียที
นายเทพไทกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีพูดชัดเจนแล้วว่าจะยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนภายในเดือน เม.ย. หรือ พ.ค. นี้ จึงไม่จำเป็นอะไรที่ต้องปฏิวัติ
ที่มา .หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงเรื่องการประชุมเตรียมปฏิวัติของนายทหารระดับสูง โดยระบุว่า “ผมไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน หากพวกคุณอยากรู้ให้ไปถามนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่าไปเอาข่าวนี้มาจากไหน”
ซัด “จตุพร” ใส่ร้ายกองทัพ
พล.อ.ประวิตรกล่าวอีกว่า นายจตุพรชอบใส่ร้ายกองทัพและพูดอะไรโดยไม่คิด ไม่มีความรับผิดชอบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะไม่มีการปฏิวัติ เพราะทหารคงไม่คิดเรื่องนี้
“มาร์ค” ยังมั่นใจในตัว “ประวิตร”
ผู้สื่อข่าวถามว่ายังมั่นใจในตัว พล.อ.ประวิตรอยู่ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า มั่นใจ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องการปฏิวัติอยู่ๆก็มีข่าวลือออกมา ไม่รู้ไปเอากันมาจากไหน
“สุเทพ” เชื่อไม่มีปฏิวัติแน่
“ไม่มีหรอกครับ ทำไม่ได้หรอกครับ ผมไม่บ้าไปด้วย ไม่รู้เอามาจากไหน” นายสุเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์มีกำหนดการเดินทางไปร่วมประชุมประจำปี World Economic Forum (WEF) ครั้งที่ 41 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 28-31 ม.ค. นี้ โดยนายกฯได้เรียกนายสุเทพที่จะนั่งรักษาการนายกฯเข้าพบเพื่อมอบหมายภารกิจและนโยบายในการดูแลสถานการณ์การเมือง
“จำลอง” ไม่สนทหารจะปฏิวัติหรือไม่
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืนยันว่า พันธมิตรฯออกมาชุมนุมเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ ไม่ได้หวังเรื่องอื่น
“ใครจะปฏิวัติ ใครจะมาเป็นรัฐบาลเราไม่ได้สนใจ แต่ถ้ามาแล้วทำไม่ถูกต้องเราก็ต้องออกมา เราไม่ได้ชุมนุมให้มีปฏิวัติ เรามีเป้าหมายเดียวคือกดดันให้รัฐบาลออกมาทำหน้าที่ปกป้องแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77” พล.ต.จำลองกล่าว
พผ. ชี้สถานการณ์ชักแปลกๆ
นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ โฆษกวอร์รูมพรรคเพื่อแผ่นดิน ยอมรับว่า เวลานี้มีกระแสข่าวการปฏิวัติออกมาอย่างต่อเนื่อง มีการพูดถึงขั้นว่าปีนี้จะไม่มีการเลือกตั้ง
“สถานการณ์การเมืองเวลานี้ค่อนข้างแปลกๆหลายเรื่อง ทั้งการชุมนุมที่ออกมาพร้อมกันหลายกลุ่มและการจับกุมผู้ที่เตรียมอาวุธก่อความไม่สงบ สถานการณ์ทุกอย่างดูจะเชื่อมโยงกัน ทางที่ดีนายกรัฐมนตรีควรพิจารณาให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว จะได้ไม่ต้องให้คนอื่นเขาพูดดูถูกว่าเป็นรัฐบาลได้ก็เพราะทหาร พ้นจากตำแหน่งก็เพราะทหาร” นพ.ภูมินทร์กล่าว
“จาตุรนต์” ระบุมีความคิดเปลี่ยนแปลง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยและอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า ให้ประชาชนจับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะเชื่อว่าไม่เพียงต้องการให้ไทยกับกัมพูชาขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่อาจแฝงความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงด้วยวัตถุประสงค์ที่ลึกลับซับซ้อนแบบที่หาเหตุผลตามปรกติไม่ได้
“เทพไท” ย้ำไม่มีข้ออ้างให้ปฏิวัติ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กระแสเรื่องการปฏัวัติเป็นเพียงการสร้างข่าว เพราะขณะนี้ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการปฏิวัติ
“คนที่พูดเรื่องปฏิวัติเป็นการคิดเอาเอง และเป็นพวกที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลด้วยวิธีการใดก็ได้จึงออกมาพูดเรื่องปฏิวัติ” นายเทพไทกล่าวและว่า นอกจากไม่มีเหตุผลที่จะทำการปฏิวัติแล้วรัฐบาลยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย พรรคประชาธิปัตย์จึงไม่วิตกกังวลใดๆต่อกระแสการปฏิวัติ มั่นใจว่าทั้งหมดเป็นเรื่องของข่าวลือ อยากให้คนปล่อยข่าวนี้ยุติเสียที
นายเทพไทกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีพูดชัดเจนแล้วว่าจะยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนภายในเดือน เม.ย. หรือ พ.ค. นี้ จึงไม่จำเป็นอะไรที่ต้องปฏิวัติ
ที่มา .หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
ปฏิวัตินะจ๊ะ (ฮา) !!??
ปีเถาะ 2554 เป็นปีที่ต้องต่อสู้กันทรหดทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ใครก็ตามที่เป็นรัฐบาลต้องเผชิญวิกฤตการณ์รุนแรงที่สุด ฝ่ายค้านจะแย่งอำนาจ คนในเครื่องแบบจะรอให้ทั้ง 2 ฝ่ายเพลี่ยงพล้ำลง ส่วนประชาชนตาดำๆและยากจนจะหวาดผวา ปัญหาคอร์รัปชันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ต้นปี ถึงขนาดรัฐบาลต้องมีอันเป็นไป เหตุการณ์ของประเทศจะพลิกผันอย่างที่ไม่เคยเห็น และจะเกิดความว่างเปล่า ไม่มีนัก การเมืองพรรคใดหลงเหลืออยู่ในระบบ พรรคการเมืองจะสูญสิ้นไปจากประวัติศาสตร์การเมืองไทย”
คำพยากรณ์ของโหราจารย์ชื่อดัง “โสรัจจะ นวลอยู่” ที่พยากรณ์ดวงเมืองปี 2554 และชี้ว่าดาวสีเลือดได้รับแสงจากดาวมฤตยูในช่วงเดือนมีนาคม 2554 เป็นดาวปฏิวัตินองเลือดในมุมร่วมธาตุ เกิดสภาพการณ์เดือดพลุ่งพล่านไม่สงบ เกิดเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เกิดศึกสงครามทั้งภายในและภายนอก เกิดความยุ่งยากทางการเมืองขนาดหนัก ซึ่งผู้เป็นใหญ่และผู้คนสำคัญจะร่วงหล่นกันมาก อำนาจเก่าๆของคนเก่าๆจะเสื่อมถอย จะเกิดเหตุการณ์นองเลือดรุนแรง กลุ่มชน ฝูงชนอาจจะเคลื่อนไหวโดยการสนับสนุนของผู้มีอำนาจเก่าอย่างเร้นลับ และเกิดการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้ง
“นักการเมืองชั่วพึงระวังเอาไว้ ถึงเวลานั้นประชาชนอาจลุกฮือขึ้นมาฆ่าเองโดยไม่แคร์ขื่อแปบ้านเมือง ดวงของบ้านเมืองใกล้ถึงจุดนี้แล้ว”
“สฤษดิ์ 2” ทหารครองเมือง!
การพยากรณ์ของโหรโสรัจจะจึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากมายในทุกวงการ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เช่นเดียวกับหมอนิด (กิจจา ทวีกุลกิจ) ที่ยืนยันว่าการปฏิวัติรัฐประหารมีโอกาสเกิดสูงมาก ไม่ว่าก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง เพราะการเมืองและบ้านเมืองวุ่นวายหนัก ทั้งเคยพยากรณ์ว่าทหารเกิดการปีนเกลียวกัน แต่ไม่รู้ว่าฝ่ายไหนจะชิงลงมือก่อน ปีสองปีนี้ทหารยังมีบทบาทและมีอำนาจยิ่งกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งอาจได้เห็น “สฤษดิ์ 2” พรรคการเมืองจึงมีสิทธิพักงานยาว
แม้ที่ผ่านมา “ผู้นำรอด แต่ประเทศไม่รอด” เพราะคนรับกรรมคือพ่อค้า ประชาชน ไม่ใช่นักการเมือง หมอนิดยังเตือน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ว่าจะทำการอะไรต้องรอบคอบและระวังจะผิดพลาด หรือทำสำเร็จแล้วแต่ส่งไม้ต่อให้กับคนดวงไม่ดีประเทศก็จะเสียหาย
ขณะที่นายภิญโญ พงศ์เจริญ นายกสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ เตือนให้ระวังจะเกิดความรุนแรงถึงขั้นนองเลือด เช่นเดียวกับนายภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล ประธานกรรมการสถาบันศาสตร์แห่งชีวิตแห่งประเทศไทย พยากรณ์ว่า บ้านเมืองจะปั่นป่วนถึงขั้นมีอาวุธ ระเบิด ปืนไฟ สร้างปัญหาจนคนในเครื่องแบบต้องออกมาดูแลบ้านเมือง แต่ถ้าสถานการณ์รุนแรงถึงขั้นนองเลือดก็หนีไม่พ้นปฏิวัติรัฐประหาร ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่ต้องการให้ถึงขั้นนั้นต้องอดทนและใจเย็น เอาน้ำเย็นเข้าลูบ และให้ผู้มีความสามารถประสานมือทั้งสิบทิศคุยกับทุกฝ่าย
รัฐบาลชนวนวิกฤต?
การพยากรณ์ของโหรดังหลายคนจึงสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ เพราะตั้งแต่ปลายปี 2553 ก็มีสัญญาณความวุ่นวายในบ้านเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่กรณี 7 คนไทยที่ถูกฝ่ายกัมพูชาจับกุมตัวและนำมาสู่การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกเอ็มโอยู 43 ถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก และใช้ความเด็ดขาดผลักดันชาวกัมพูชาออกไปจากแผ่นดินไทย ส่วนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ยังเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมกรณีเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต”
ขณะที่รัฐบาลก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะช่วงใกล้จะหมดวาระของรัฐบาลมีการนำงบประมาณไปใช้หาเสียงและจัดสรรผลประโยชน์ให้กับพรรคร่วมรัฐบาลตามโครงการต่างๆ หรืออย่างที่เห็นล่าสุดก็คือ นโยบายประชาวิวัฒน์ที่เป็นการลดแหลก แจก แถม โดยไม่คิดถึงอนาคตของประเทศ เพราะมัวแต่คิดถึงอนาคตการเลือกตั้งครั้งต่อไปเท่านั้น
แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านวาระ 2 ที่แก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้งเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว และสัดส่วน ส.ส.เลือกตั้งกับ ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็น 375 ต่อ 125 ก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองเองทั้งสิ้น
แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะประกาศแผนปฏิรูปประเทศ โดยตั้งคณะกรรมการต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นคณะของนายอานันท์ ปันยารชุน นายแพทย์ประเวศ วะสี นายคณิต ณ นคร และนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ผ่านมาแล้วหลายเดือนแทบจะไม่มีอะไรคืบหน้า นอกจากข้อเสนอ 6 ข้อของนายสมบัติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลเลือกเฉพาะประเด็นที่เอื้อประโยชน์กับรัฐบาลและพวกพ้องเท่านั้น ประเด็นที่เห็นชัดว่าสวนทางระบอบประชาธิปไตยชัดๆ อย่างเช่น ส.ว.สรรหาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งกลับไม่กล้าแตะต้อง
รักชาติแบบพันธมิตรฯ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯที่เคยให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ แต่กลับมาขับไล่รัฐบาลนั้น ได้ออกมาประณามนายอภิสิทธิ์ว่าเป็นจอมโกหก โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ไล่เรียงมาตั้งแต่ปี 2548 ที่นำพันธมิตรฯออกมาสู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และนายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ล้วนสู้เพื่อหลักการทั้งสิ้น ไม่ได้สู้เพื่อพรรคประชาธิปัตย์ หรือเพื่อใคร แต่มวลชนอีกส่วนหนึ่งต่อสู้เพราะเห็นว่าประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ดีจึงอยากให้ปกครองบ้านเมือง แต่วันนี้คนที่ชูนายอภิ-สิทธิ์เพราะคิดว่ายังขายได้ ขายได้กับคนโง่ๆ ประเทศไทยฉิบหาย นอกจากเพราะนักการเมืองเลวแล้วยังมีคนโง่ๆที่หลงในความหล่อ
“ยังไม่เคยเห็นนายกฯคนไหนโกหกเท่านายกฯคนนี้ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯที่ปลิ้นปล้อนที่สุด แต่นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯที่โกหกมากที่สุด วันนี้นอกจากจะใช้วิชามารเรื่องข่าวแล้วเขายังฝันว่าเราจะมีอยู่แค่หยิบมือเดียว แต่เขาเข้าใจผิด ที่ผ่านมาเราไม่ได้สู้เพื่อประชาธิปัตย์ แต่เราสู้เพื่อชาติบ้านเมือง”
ขณะที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อเป็นสิ่งที่รัฐบาลและนายอภิสิทธิ์ทำได้ง่าย และสามารถทำได้นานแล้วแต่ไม่ยอมทำ อ้างว่าจะเกิดสงคราม ถ้ากลัวก็เปลี่ยนเพลงชาติหรือยกเลิกไปเลย ถ้าจะเป็นประเทศขี้กลัว ทั้งยังพูดถึงบทบาทของกองทัพว่า
“ทหารอย่างพวกผมไม่ได้มีไว้สำหรับอวดเด็กกับอวดผู้ใหญ่เท่านั้น อวดเด็กคือจัดงานวันเด็กให้เด็กไปดูแสนยานุภาพที่ซื้อมาด้วยเงินแพงๆ อวดผู้ใหญ่คือสวนสนาม อวดเด็ก อวดผู้ใหญ่ อวดไป แต่เขามีไว้เพื่อปกป้องดินแดน พวกผมถูกฝึกมากินเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน เพื่อสู้รบทำอย่างเดียวคือปกป้องดินแดน แต่เขมรขู่เอาๆ กำลังที่เราเอามาเป็นกำลังในการต่อรองไม่ต้องใช้อำนาจกองทัพบก กองทัพเรือ ใช้แค่บางส่วนของกองทัพอากาศเขมรก็หงอแล้ว เพราะเครื่องบินรบที่ทันสมัยเขมรมี 4 ลำ มิก 21 ใช้ไม่ได้แล้ว เก่าเกินไป บินไม่ได้ ของเรามีเอฟ 5 เอฟ 16 เป็นร้อยลำ”
ผลประโยชน์แอบแฝง?
ท่าทีของกลุ่มพันธมิตรฯจึงไม่ใช่แค่เรียกร้อง 3 ข้อ แต่ยังต้องการให้รัฐบาลและกองทัพใช้มาตรการที่เด็ดขาดรุนแรงกับฝ่ายกัมพูชาอีกด้วย อย่างที่ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ แกนนำพันธมิตรฯและอดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย ปราศรัยว่า ภาคใต้เคยมีปัญหาชนกลุ่มน้อยกับมาเลเซีย ลาวมีปัญหาม้ง แต่ก็เจรจาส่งกลับและไม่มีปัญหาอะไร ไม่ต้องมีเอ็มโอยูอะไร แต่ประเทศไทยกลับแสดงความอ่อนแอกับการยกเลิกเอ็มโอยู 43 ยิ่งนายอภิสิทธิ์เถียงข้างๆคูๆยิ่งชี้ให้เห็นว่าต้องมีผลประโยชน์แอบแฝงแน่นอน เพราะมีแหล่งทรัพยากรที่ประเทศใหญ่ๆจ้องจะเอา และเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งสิ้น การเป็นสมาชิกยูเนสโกไม่ใช่ออกแล้วจะอดตาย ทุกวันนี้เข้าร่วมแล้วฉิบหายมากกว่า
“พื้นที่บริเวณชายแดนไทย-พม่าน่าเป็นห่วงเช่นกัน ถ้าไม่เลิกเอ็มโอยู 43 พม่าอาจจะคิดแบบกัมพูชาในอนาคตเพื่อจะเอาดินแดนบ้าง เพราะเรามันอ่อนแอ พวกเรามาทำหน้าที่ในวันนี้ถูกต้องแล้ว ยิ่งใหญ่กว่า 193 วันที่ผ่านมาอีก เพราะ 193 วันไล่บุคคลและระบอบที่ชั่วร้ายออกไปแต่ไม่หมดสิ้น ดังนั้น จะกำจัดให้หมดต้องใช้เวลา แต่การรักษาแผ่นดินไทย วันนี้ถ้าไม่ออกมาให้มากเสียดินแดนแน่นอน”
ใครขายชาติ?
แต่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กลับตั้งคำถามถึงข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่มพันธมิตรฯว่าเป็นอันตรายต่อบ้านเมือง และนายกรัฐมนตรีทำตามไม่ได้ สงสัยทำไมจึงยื่นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งฝ่ายพันธมิตรฯก็ถามกลับทันทีว่าใครกันแน่ที่ขายชาติ ท่าทีของนายสุเทพจึงสมควรตำหนิอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะบิดเบือนอย่างร้ายกาจแล้ว หากย้อนหลังบทบาทของนายสุเทพก็มีส่วนสำคัญในการย่ำยีหัวใจคนไทย ยอมอ่อนข้อให้กับต่างชาติจนทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียอธิปไตย
นายสุเทพเคยระบุว่า 7 คนไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาลึกเข้าไปถึง 1.2 กิโลเมตร พร้อมทั้งให้ยอมรับคำตัดสินของศาลกัมพูชา ซึ่งเป็นคำพูดในทำนองเดียวกับผู้นำอื่นๆในรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ไม่มีกองทัพก็อยู่ไม่ได้
จึงเห็นได้ชัดเจนว่าข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯไม่ใช่เพื่อเจรจาและประนีประนอม แต่ต้องการให้รัฐบาลทำตามที่เรียกร้อง จึงไม่แปลกที่จะมีการตั้งคำถามถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯครั้งนี้ว่ามีเบื้องหลังอะไรมากกว่าที่เป็นข่าวหรือไม่
กลุ่มพันธมิตรฯต้องการให้กองทัพเข้ามามีบท บาทในการแก้ปัญหาอย่างไร แค่ไหน?
เพราะในทางปฏิบัติผู้นำกองทัพต้องทำตามคำสั่งของรัฐบาล ยกเว้นแต่จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร อย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า กองทัพต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหนก็แก้ปัญหาชายแดนมาตามลำดับ จนท้ายสุดมาอยู่ที่เอ็มโอยู 43 ทหารก็ต้องทำตามกรอบของการพัฒนา ไม่ใช่ทหารจะไปทำอะไรใครก็ได้ ตรงไหนที่มีความชัดเจนของเส้นเขตแดนก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าตรงไหนมีปัญหาจะมีสัญญาในการดูแลกัน
“ถ้าไม่รักประเทศชาติจะเป็นทหารได้อย่างไร ผมอยากจะรู้นัก ใครอยากจะพูดอะไรต่างๆก็ตาม ให้กลับไปคิดและทบทวนดูสิว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด ที่ทหารไม่พูดเพราะพูดไปแล้วจะทำให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำในการเจรจาพูดคุย มีอะไรต้องมาพูดกันหมดเลยหรือ ซึ่งมันไม่ใช่ รัฐมนตรีกลาโหมก็ทำเต็มที่ กองทัพ
ก็ทำเต็มที่ แล้วท่านมาบอกว่ากองทัพบกกลัวใคร ทำไมไม่ทำ มีผลประโยชน์อะไรหรือเปล่า ท่านเอาอะไรมากล่าวอ้างผมไม่รู้ กองทัพไม่เคยกลัวใคร ซึ่งผมไม่อยากจะพูดคำนี้ แต่ผมเป็น ผบ.ทบ. ทหารบกทั้งกองทัพมีจำนวน 200,000 กว่าคน เขาก็ดูอยู่ว่าผมปกป้องศักดิ์ศรีของเขาหรือเปล่า ผมก็ต้องปกป้องเขา เพราะผมรู้ว่าลูกน้องผมเขาไม่ได้ทำอย่างนั้น เขาสูญเสียอะไรต่างๆมามากมาย ลูกเมียเดือดร้อน ผมพูดไปก็จะหาว่ากองทัพบกทวงบุญคุณอีก และผมจะพูดอะไรได้ ผมต้องปล่อยให้ด่าอยู่ข้างเดียวหรือไง กองทัพถูกด่าข้างเดียวไม่ถูก ผมว่าไม่เป็นธรรม ท่านต้องช่วยกองทัพ วันนี้ถ้าท่านไม่มีกองทัพ ไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีทหาร ไม่มีคนทำงาน ท่านจะอยู่อย่างไร ท่านไปถามตัวของท่านเองก็แล้วกัน”
“เชื้ออุบาทว์” ยังอยู่
คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์เรื่องบทบาทของกองทัพกับนายสุเทพ ซึ่งตั้งคำถามถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯที่รัฐบาลทำไม่ได้นั้น ทำให้มีหลายฝ่ายเห็นด้วยกับคำพูดของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ที่กล่าวก่อนจะมีการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯว่า “ความพยายามก่อการรัฐประหารยังมีเชื้อหลงเหลือ”
โดย พล.อ.ชวลิตยืนยันว่า โอกาสการทำรัฐประหารเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง เพราะอีกฝ่ายต้องการยื้ออำนาจต่อไป จึงมีการปล่อยข่าวรัฐประหารเพื่อโยนหินถามทาง แม้วันนี้จะทำได้ยากเพราะประชาชนตื่นตัว แต่ต้องร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร ซึ่งมีทางเดียวคือต้องให้มวลชนตื่นตัว ใครคิดเปลี่ยนแปลงในทางไม่ถูกต้องประชาชนต้องไม่ยอมรับ
ทำไมต้องรัฐประหาร?
การออกมาเตือนเรื่องการปฏิวัติรัฐประหารของ พล.อ.ชวลิตจึงไม่ใช่การปล่อยข่าวหรือโกหกตอแหลอย่างไร้สาระเหมือนนักการเมืองมากมายขณะนี้ แต่การปฏิวัติรัฐประหารมีความเป็นไปได้ตลอดเวลาสำหรับการเมือง ตราบใดที่บ้านเมืองยังอยู่ในมือของกลุ่มผู้มีอำนาจนอกระบบและผู้นำกองทัพ ขณะที่นักการเมืองยังเป็นแค่ “นักเลือกตั้ง” และ “พวกลากตั้ง” เข้ามา
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ก็เหมือนน้ำท่วมปากกับกระแสข่าวการทุจริตคอร์รัปชันในรัฐบาล แม้จะไม่มี
ใบเสร็จแต่โครงการมากมายก็มีหลักฐานส่อว่าไม่โปร่งใส โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่กล้าแตะต้องหรือเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาเพียงเพื่อไม่ให้รัฐบาลล้มหรือตัวเองยังเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งนายสนธิได้นำมาโจมตีนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด
อย่างการประมูลข้าวมีนักการเมืองได้ประโยชน์หลายพันล้านบาท การอนุญาตนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อให้นักการเมืองของพรรคเก่าแก่ขนน้ำมันปาล์มเถื่อนเข้ามาได้และมีกำไรมากขึ้น การตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทยข้ามลำดับอาวุโสถึง 50 อันดับ การแต่งตั้งตำรวจระดับผู้กำกับก็มีการตั้งโต๊ะในทำเนียบรัฐบาลเก็บเงินหัวละ 3-5 ล้านบาท
แต่ขณะเดียวกันก็มีคำถามว่าพรรคการเมืองใหม่จะมีที่ยืนในเวทีการเมืองหรือไม่ เพราะหลังจากการเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข. ในกรุงเทพมหานครที่พรรคการ เมืองใหม่แจ้งเกิดไม่ได้เลยแม้แต่ที่นั่งเดียว การออกมาของพันธมิตรฯครั้งนี้มีเบื้องหลังเพื่อหาที่ยืนหรือไม่? บทบาทของพันธมิตรฯจะเป็นอย่างไรต่อไปหากมีการเลือกตั้ง แต่ถ้ามีการปฏิวัติรัฐประหารก็เท่ากับว่าทุกพรรคการเมืองถูกบอนไซเหมือนกันหมด หรืออาจถูกล้างไพ่ใหม่ทั้งหมด หรือการออกมาของพันธมิตรฯก็เพื่อปูพรมแดงให้ทหารเดินออกมาปฏิวัติรัฐประหารเหมือน 19 กันยายน 2549 อีกหรือไม่?
ปฏิวัติ...นะจ๊ะ!
ในขณะที่กองทัพก็มักจะอ้างความมั่นคง การหมิ่นสถาบัน และข้อหาฉกาจฉกรรจ์ เพื่อกำจัดนักการเมืองชั่วที่คอร์รัปชันทุกครั้งในการยึดอำนาจ แต่ไม่เคยพูดถึงความโปร่งใส การจัดซื้อในกองทัพ งบลับทหาร หรือแม้แต่การแย่งชิงอำนาจกันเอง โดยเฉพาะนับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งรัฐบาลและนัก การเมืองต่างเอาอกเอาใจกองทัพเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์นับแสนล้าน หรืองบประมาณของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ไม่ยอมเปิดเผย นอกจากนี้ที่ผ่านมายังมีการกล่าวหาเรื่องการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆที่ไม่โปร่งใสหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเรือเหาะที่กลายเป็นเรือเหี่ยวที่บินไม่ได้ ตำนานไม้ล้างป่าช้า-จีที 200 การจัดซื้อรถหุ้มเกราะจากยูเครน หรือการจัดซื้อรถยุทธวิธี (ปิกอัพ) กันกระสุนจำนวน 300 คัน ราคาคันละ 2.5 ล้านบาทที่ยังฝุ่นตลบอยู่
ดังนั้น การปฏิวัติรัฐประหารจึงอาจไม่ใช่แค่การปัดกวาดนักการเมืองและพรรคการเมืองเน่าๆออกจากระบบเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นการจัดสรรผลประโยชน์ต่างๆภายในกองทัพและกลุ่มผู้มีอำนาจต่างๆให้ลงตัว แถมยังสามารถกวาดขยะของกองทัพเองซุกไว้ใต้พรมสีเหลืองอร่ามได้อีกด้วย
นายอภิสิทธิ์จึงต้องพยายามทำทุกวิถีทางไม่ให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อจะอยู่ในอำนาจต่อไปให้นานที่สุด แม้จะเป็นผู้นำที่สั่งการอะไรไม่ได้ก็ตาม แต่อย่างน้อยนายอภิสิทธิ์ยังสามารถเดิน สายสร้างภาพรำป้อ เป็น “พระเอกลิเก” ขวัญใจพ่อยกแม่ยก ต่อไปได้เรื่อยๆ...
จนกว่าจะเกิดการปฏิวัติ...นะจ๊ะ!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
ssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssss
คำพยากรณ์ของโหราจารย์ชื่อดัง “โสรัจจะ นวลอยู่” ที่พยากรณ์ดวงเมืองปี 2554 และชี้ว่าดาวสีเลือดได้รับแสงจากดาวมฤตยูในช่วงเดือนมีนาคม 2554 เป็นดาวปฏิวัตินองเลือดในมุมร่วมธาตุ เกิดสภาพการณ์เดือดพลุ่งพล่านไม่สงบ เกิดเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เกิดศึกสงครามทั้งภายในและภายนอก เกิดความยุ่งยากทางการเมืองขนาดหนัก ซึ่งผู้เป็นใหญ่และผู้คนสำคัญจะร่วงหล่นกันมาก อำนาจเก่าๆของคนเก่าๆจะเสื่อมถอย จะเกิดเหตุการณ์นองเลือดรุนแรง กลุ่มชน ฝูงชนอาจจะเคลื่อนไหวโดยการสนับสนุนของผู้มีอำนาจเก่าอย่างเร้นลับ และเกิดการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้ง
“นักการเมืองชั่วพึงระวังเอาไว้ ถึงเวลานั้นประชาชนอาจลุกฮือขึ้นมาฆ่าเองโดยไม่แคร์ขื่อแปบ้านเมือง ดวงของบ้านเมืองใกล้ถึงจุดนี้แล้ว”
“สฤษดิ์ 2” ทหารครองเมือง!
การพยากรณ์ของโหรโสรัจจะจึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากมายในทุกวงการ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เช่นเดียวกับหมอนิด (กิจจา ทวีกุลกิจ) ที่ยืนยันว่าการปฏิวัติรัฐประหารมีโอกาสเกิดสูงมาก ไม่ว่าก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง เพราะการเมืองและบ้านเมืองวุ่นวายหนัก ทั้งเคยพยากรณ์ว่าทหารเกิดการปีนเกลียวกัน แต่ไม่รู้ว่าฝ่ายไหนจะชิงลงมือก่อน ปีสองปีนี้ทหารยังมีบทบาทและมีอำนาจยิ่งกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งอาจได้เห็น “สฤษดิ์ 2” พรรคการเมืองจึงมีสิทธิพักงานยาว
แม้ที่ผ่านมา “ผู้นำรอด แต่ประเทศไม่รอด” เพราะคนรับกรรมคือพ่อค้า ประชาชน ไม่ใช่นักการเมือง หมอนิดยังเตือน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ว่าจะทำการอะไรต้องรอบคอบและระวังจะผิดพลาด หรือทำสำเร็จแล้วแต่ส่งไม้ต่อให้กับคนดวงไม่ดีประเทศก็จะเสียหาย
ขณะที่นายภิญโญ พงศ์เจริญ นายกสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ เตือนให้ระวังจะเกิดความรุนแรงถึงขั้นนองเลือด เช่นเดียวกับนายภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล ประธานกรรมการสถาบันศาสตร์แห่งชีวิตแห่งประเทศไทย พยากรณ์ว่า บ้านเมืองจะปั่นป่วนถึงขั้นมีอาวุธ ระเบิด ปืนไฟ สร้างปัญหาจนคนในเครื่องแบบต้องออกมาดูแลบ้านเมือง แต่ถ้าสถานการณ์รุนแรงถึงขั้นนองเลือดก็หนีไม่พ้นปฏิวัติรัฐประหาร ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่ต้องการให้ถึงขั้นนั้นต้องอดทนและใจเย็น เอาน้ำเย็นเข้าลูบ และให้ผู้มีความสามารถประสานมือทั้งสิบทิศคุยกับทุกฝ่าย
รัฐบาลชนวนวิกฤต?
การพยากรณ์ของโหรดังหลายคนจึงสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ เพราะตั้งแต่ปลายปี 2553 ก็มีสัญญาณความวุ่นวายในบ้านเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่กรณี 7 คนไทยที่ถูกฝ่ายกัมพูชาจับกุมตัวและนำมาสู่การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกเอ็มโอยู 43 ถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก และใช้ความเด็ดขาดผลักดันชาวกัมพูชาออกไปจากแผ่นดินไทย ส่วนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ยังเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมกรณีเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต”
ขณะที่รัฐบาลก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะช่วงใกล้จะหมดวาระของรัฐบาลมีการนำงบประมาณไปใช้หาเสียงและจัดสรรผลประโยชน์ให้กับพรรคร่วมรัฐบาลตามโครงการต่างๆ หรืออย่างที่เห็นล่าสุดก็คือ นโยบายประชาวิวัฒน์ที่เป็นการลดแหลก แจก แถม โดยไม่คิดถึงอนาคตของประเทศ เพราะมัวแต่คิดถึงอนาคตการเลือกตั้งครั้งต่อไปเท่านั้น
แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านวาระ 2 ที่แก้ไขเรื่องเขตเลือกตั้งเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว และสัดส่วน ส.ส.เลือกตั้งกับ ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็น 375 ต่อ 125 ก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองเองทั้งสิ้น
แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะประกาศแผนปฏิรูปประเทศ โดยตั้งคณะกรรมการต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นคณะของนายอานันท์ ปันยารชุน นายแพทย์ประเวศ วะสี นายคณิต ณ นคร และนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ผ่านมาแล้วหลายเดือนแทบจะไม่มีอะไรคืบหน้า นอกจากข้อเสนอ 6 ข้อของนายสมบัติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลเลือกเฉพาะประเด็นที่เอื้อประโยชน์กับรัฐบาลและพวกพ้องเท่านั้น ประเด็นที่เห็นชัดว่าสวนทางระบอบประชาธิปไตยชัดๆ อย่างเช่น ส.ว.สรรหาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งกลับไม่กล้าแตะต้อง
รักชาติแบบพันธมิตรฯ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯที่เคยให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ แต่กลับมาขับไล่รัฐบาลนั้น ได้ออกมาประณามนายอภิสิทธิ์ว่าเป็นจอมโกหก โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ไล่เรียงมาตั้งแต่ปี 2548 ที่นำพันธมิตรฯออกมาสู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และนายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ล้วนสู้เพื่อหลักการทั้งสิ้น ไม่ได้สู้เพื่อพรรคประชาธิปัตย์ หรือเพื่อใคร แต่มวลชนอีกส่วนหนึ่งต่อสู้เพราะเห็นว่าประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ดีจึงอยากให้ปกครองบ้านเมือง แต่วันนี้คนที่ชูนายอภิ-สิทธิ์เพราะคิดว่ายังขายได้ ขายได้กับคนโง่ๆ ประเทศไทยฉิบหาย นอกจากเพราะนักการเมืองเลวแล้วยังมีคนโง่ๆที่หลงในความหล่อ
“ยังไม่เคยเห็นนายกฯคนไหนโกหกเท่านายกฯคนนี้ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯที่ปลิ้นปล้อนที่สุด แต่นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯที่โกหกมากที่สุด วันนี้นอกจากจะใช้วิชามารเรื่องข่าวแล้วเขายังฝันว่าเราจะมีอยู่แค่หยิบมือเดียว แต่เขาเข้าใจผิด ที่ผ่านมาเราไม่ได้สู้เพื่อประชาธิปัตย์ แต่เราสู้เพื่อชาติบ้านเมือง”
ขณะที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อเป็นสิ่งที่รัฐบาลและนายอภิสิทธิ์ทำได้ง่าย และสามารถทำได้นานแล้วแต่ไม่ยอมทำ อ้างว่าจะเกิดสงคราม ถ้ากลัวก็เปลี่ยนเพลงชาติหรือยกเลิกไปเลย ถ้าจะเป็นประเทศขี้กลัว ทั้งยังพูดถึงบทบาทของกองทัพว่า
“ทหารอย่างพวกผมไม่ได้มีไว้สำหรับอวดเด็กกับอวดผู้ใหญ่เท่านั้น อวดเด็กคือจัดงานวันเด็กให้เด็กไปดูแสนยานุภาพที่ซื้อมาด้วยเงินแพงๆ อวดผู้ใหญ่คือสวนสนาม อวดเด็ก อวดผู้ใหญ่ อวดไป แต่เขามีไว้เพื่อปกป้องดินแดน พวกผมถูกฝึกมากินเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน เพื่อสู้รบทำอย่างเดียวคือปกป้องดินแดน แต่เขมรขู่เอาๆ กำลังที่เราเอามาเป็นกำลังในการต่อรองไม่ต้องใช้อำนาจกองทัพบก กองทัพเรือ ใช้แค่บางส่วนของกองทัพอากาศเขมรก็หงอแล้ว เพราะเครื่องบินรบที่ทันสมัยเขมรมี 4 ลำ มิก 21 ใช้ไม่ได้แล้ว เก่าเกินไป บินไม่ได้ ของเรามีเอฟ 5 เอฟ 16 เป็นร้อยลำ”
ผลประโยชน์แอบแฝง?
ท่าทีของกลุ่มพันธมิตรฯจึงไม่ใช่แค่เรียกร้อง 3 ข้อ แต่ยังต้องการให้รัฐบาลและกองทัพใช้มาตรการที่เด็ดขาดรุนแรงกับฝ่ายกัมพูชาอีกด้วย อย่างที่ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ แกนนำพันธมิตรฯและอดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย ปราศรัยว่า ภาคใต้เคยมีปัญหาชนกลุ่มน้อยกับมาเลเซีย ลาวมีปัญหาม้ง แต่ก็เจรจาส่งกลับและไม่มีปัญหาอะไร ไม่ต้องมีเอ็มโอยูอะไร แต่ประเทศไทยกลับแสดงความอ่อนแอกับการยกเลิกเอ็มโอยู 43 ยิ่งนายอภิสิทธิ์เถียงข้างๆคูๆยิ่งชี้ให้เห็นว่าต้องมีผลประโยชน์แอบแฝงแน่นอน เพราะมีแหล่งทรัพยากรที่ประเทศใหญ่ๆจ้องจะเอา และเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งสิ้น การเป็นสมาชิกยูเนสโกไม่ใช่ออกแล้วจะอดตาย ทุกวันนี้เข้าร่วมแล้วฉิบหายมากกว่า
“พื้นที่บริเวณชายแดนไทย-พม่าน่าเป็นห่วงเช่นกัน ถ้าไม่เลิกเอ็มโอยู 43 พม่าอาจจะคิดแบบกัมพูชาในอนาคตเพื่อจะเอาดินแดนบ้าง เพราะเรามันอ่อนแอ พวกเรามาทำหน้าที่ในวันนี้ถูกต้องแล้ว ยิ่งใหญ่กว่า 193 วันที่ผ่านมาอีก เพราะ 193 วันไล่บุคคลและระบอบที่ชั่วร้ายออกไปแต่ไม่หมดสิ้น ดังนั้น จะกำจัดให้หมดต้องใช้เวลา แต่การรักษาแผ่นดินไทย วันนี้ถ้าไม่ออกมาให้มากเสียดินแดนแน่นอน”
ใครขายชาติ?
แต่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กลับตั้งคำถามถึงข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่มพันธมิตรฯว่าเป็นอันตรายต่อบ้านเมือง และนายกรัฐมนตรีทำตามไม่ได้ สงสัยทำไมจึงยื่นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งฝ่ายพันธมิตรฯก็ถามกลับทันทีว่าใครกันแน่ที่ขายชาติ ท่าทีของนายสุเทพจึงสมควรตำหนิอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะบิดเบือนอย่างร้ายกาจแล้ว หากย้อนหลังบทบาทของนายสุเทพก็มีส่วนสำคัญในการย่ำยีหัวใจคนไทย ยอมอ่อนข้อให้กับต่างชาติจนทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียอธิปไตย
นายสุเทพเคยระบุว่า 7 คนไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาลึกเข้าไปถึง 1.2 กิโลเมตร พร้อมทั้งให้ยอมรับคำตัดสินของศาลกัมพูชา ซึ่งเป็นคำพูดในทำนองเดียวกับผู้นำอื่นๆในรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ไม่มีกองทัพก็อยู่ไม่ได้
จึงเห็นได้ชัดเจนว่าข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯไม่ใช่เพื่อเจรจาและประนีประนอม แต่ต้องการให้รัฐบาลทำตามที่เรียกร้อง จึงไม่แปลกที่จะมีการตั้งคำถามถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯครั้งนี้ว่ามีเบื้องหลังอะไรมากกว่าที่เป็นข่าวหรือไม่
กลุ่มพันธมิตรฯต้องการให้กองทัพเข้ามามีบท บาทในการแก้ปัญหาอย่างไร แค่ไหน?
เพราะในทางปฏิบัติผู้นำกองทัพต้องทำตามคำสั่งของรัฐบาล ยกเว้นแต่จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร อย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า กองทัพต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหนก็แก้ปัญหาชายแดนมาตามลำดับ จนท้ายสุดมาอยู่ที่เอ็มโอยู 43 ทหารก็ต้องทำตามกรอบของการพัฒนา ไม่ใช่ทหารจะไปทำอะไรใครก็ได้ ตรงไหนที่มีความชัดเจนของเส้นเขตแดนก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าตรงไหนมีปัญหาจะมีสัญญาในการดูแลกัน
“ถ้าไม่รักประเทศชาติจะเป็นทหารได้อย่างไร ผมอยากจะรู้นัก ใครอยากจะพูดอะไรต่างๆก็ตาม ให้กลับไปคิดและทบทวนดูสิว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด ที่ทหารไม่พูดเพราะพูดไปแล้วจะทำให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำในการเจรจาพูดคุย มีอะไรต้องมาพูดกันหมดเลยหรือ ซึ่งมันไม่ใช่ รัฐมนตรีกลาโหมก็ทำเต็มที่ กองทัพ
ก็ทำเต็มที่ แล้วท่านมาบอกว่ากองทัพบกกลัวใคร ทำไมไม่ทำ มีผลประโยชน์อะไรหรือเปล่า ท่านเอาอะไรมากล่าวอ้างผมไม่รู้ กองทัพไม่เคยกลัวใคร ซึ่งผมไม่อยากจะพูดคำนี้ แต่ผมเป็น ผบ.ทบ. ทหารบกทั้งกองทัพมีจำนวน 200,000 กว่าคน เขาก็ดูอยู่ว่าผมปกป้องศักดิ์ศรีของเขาหรือเปล่า ผมก็ต้องปกป้องเขา เพราะผมรู้ว่าลูกน้องผมเขาไม่ได้ทำอย่างนั้น เขาสูญเสียอะไรต่างๆมามากมาย ลูกเมียเดือดร้อน ผมพูดไปก็จะหาว่ากองทัพบกทวงบุญคุณอีก และผมจะพูดอะไรได้ ผมต้องปล่อยให้ด่าอยู่ข้างเดียวหรือไง กองทัพถูกด่าข้างเดียวไม่ถูก ผมว่าไม่เป็นธรรม ท่านต้องช่วยกองทัพ วันนี้ถ้าท่านไม่มีกองทัพ ไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีทหาร ไม่มีคนทำงาน ท่านจะอยู่อย่างไร ท่านไปถามตัวของท่านเองก็แล้วกัน”
“เชื้ออุบาทว์” ยังอยู่
คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์เรื่องบทบาทของกองทัพกับนายสุเทพ ซึ่งตั้งคำถามถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯที่รัฐบาลทำไม่ได้นั้น ทำให้มีหลายฝ่ายเห็นด้วยกับคำพูดของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ที่กล่าวก่อนจะมีการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯว่า “ความพยายามก่อการรัฐประหารยังมีเชื้อหลงเหลือ”
โดย พล.อ.ชวลิตยืนยันว่า โอกาสการทำรัฐประหารเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง เพราะอีกฝ่ายต้องการยื้ออำนาจต่อไป จึงมีการปล่อยข่าวรัฐประหารเพื่อโยนหินถามทาง แม้วันนี้จะทำได้ยากเพราะประชาชนตื่นตัว แต่ต้องร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร ซึ่งมีทางเดียวคือต้องให้มวลชนตื่นตัว ใครคิดเปลี่ยนแปลงในทางไม่ถูกต้องประชาชนต้องไม่ยอมรับ
ทำไมต้องรัฐประหาร?
การออกมาเตือนเรื่องการปฏิวัติรัฐประหารของ พล.อ.ชวลิตจึงไม่ใช่การปล่อยข่าวหรือโกหกตอแหลอย่างไร้สาระเหมือนนักการเมืองมากมายขณะนี้ แต่การปฏิวัติรัฐประหารมีความเป็นไปได้ตลอดเวลาสำหรับการเมือง ตราบใดที่บ้านเมืองยังอยู่ในมือของกลุ่มผู้มีอำนาจนอกระบบและผู้นำกองทัพ ขณะที่นักการเมืองยังเป็นแค่ “นักเลือกตั้ง” และ “พวกลากตั้ง” เข้ามา
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ก็เหมือนน้ำท่วมปากกับกระแสข่าวการทุจริตคอร์รัปชันในรัฐบาล แม้จะไม่มี
ใบเสร็จแต่โครงการมากมายก็มีหลักฐานส่อว่าไม่โปร่งใส โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่กล้าแตะต้องหรือเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาเพียงเพื่อไม่ให้รัฐบาลล้มหรือตัวเองยังเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งนายสนธิได้นำมาโจมตีนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด
อย่างการประมูลข้าวมีนักการเมืองได้ประโยชน์หลายพันล้านบาท การอนุญาตนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อให้นักการเมืองของพรรคเก่าแก่ขนน้ำมันปาล์มเถื่อนเข้ามาได้และมีกำไรมากขึ้น การตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทยข้ามลำดับอาวุโสถึง 50 อันดับ การแต่งตั้งตำรวจระดับผู้กำกับก็มีการตั้งโต๊ะในทำเนียบรัฐบาลเก็บเงินหัวละ 3-5 ล้านบาท
แต่ขณะเดียวกันก็มีคำถามว่าพรรคการเมืองใหม่จะมีที่ยืนในเวทีการเมืองหรือไม่ เพราะหลังจากการเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข. ในกรุงเทพมหานครที่พรรคการ เมืองใหม่แจ้งเกิดไม่ได้เลยแม้แต่ที่นั่งเดียว การออกมาของพันธมิตรฯครั้งนี้มีเบื้องหลังเพื่อหาที่ยืนหรือไม่? บทบาทของพันธมิตรฯจะเป็นอย่างไรต่อไปหากมีการเลือกตั้ง แต่ถ้ามีการปฏิวัติรัฐประหารก็เท่ากับว่าทุกพรรคการเมืองถูกบอนไซเหมือนกันหมด หรืออาจถูกล้างไพ่ใหม่ทั้งหมด หรือการออกมาของพันธมิตรฯก็เพื่อปูพรมแดงให้ทหารเดินออกมาปฏิวัติรัฐประหารเหมือน 19 กันยายน 2549 อีกหรือไม่?
ปฏิวัติ...นะจ๊ะ!
ในขณะที่กองทัพก็มักจะอ้างความมั่นคง การหมิ่นสถาบัน และข้อหาฉกาจฉกรรจ์ เพื่อกำจัดนักการเมืองชั่วที่คอร์รัปชันทุกครั้งในการยึดอำนาจ แต่ไม่เคยพูดถึงความโปร่งใส การจัดซื้อในกองทัพ งบลับทหาร หรือแม้แต่การแย่งชิงอำนาจกันเอง โดยเฉพาะนับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งรัฐบาลและนัก การเมืองต่างเอาอกเอาใจกองทัพเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์นับแสนล้าน หรืองบประมาณของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ไม่ยอมเปิดเผย นอกจากนี้ที่ผ่านมายังมีการกล่าวหาเรื่องการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆที่ไม่โปร่งใสหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเรือเหาะที่กลายเป็นเรือเหี่ยวที่บินไม่ได้ ตำนานไม้ล้างป่าช้า-จีที 200 การจัดซื้อรถหุ้มเกราะจากยูเครน หรือการจัดซื้อรถยุทธวิธี (ปิกอัพ) กันกระสุนจำนวน 300 คัน ราคาคันละ 2.5 ล้านบาทที่ยังฝุ่นตลบอยู่
ดังนั้น การปฏิวัติรัฐประหารจึงอาจไม่ใช่แค่การปัดกวาดนักการเมืองและพรรคการเมืองเน่าๆออกจากระบบเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นการจัดสรรผลประโยชน์ต่างๆภายในกองทัพและกลุ่มผู้มีอำนาจต่างๆให้ลงตัว แถมยังสามารถกวาดขยะของกองทัพเองซุกไว้ใต้พรมสีเหลืองอร่ามได้อีกด้วย
นายอภิสิทธิ์จึงต้องพยายามทำทุกวิถีทางไม่ให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อจะอยู่ในอำนาจต่อไปให้นานที่สุด แม้จะเป็นผู้นำที่สั่งการอะไรไม่ได้ก็ตาม แต่อย่างน้อยนายอภิสิทธิ์ยังสามารถเดิน สายสร้างภาพรำป้อ เป็น “พระเอกลิเก” ขวัญใจพ่อยกแม่ยก ต่อไปได้เรื่อยๆ...
จนกว่าจะเกิดการปฏิวัติ...นะจ๊ะ!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
ssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssssss
มาเอาใจช่วย พธม.กันเหอะ !!!!?????
โดย.ใบตองแห้งออนไลน์
เสื้อแดงจัดชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ ตำรวจประเมินว่ามีมวลชน 27,000 คน แต่ไทยรัฐบอกขบวนยาวเป็นกิโล พันธมิตรจัดชุมนุมหญ่ายเมื่อวันอังคาร ถ่ายภาพมุมกว้างดูยังไงก็ไม่เกิน 5,000 (ตอนค่ำนะ ไม่ใช่ตอนเช้าที่เลขศูนย์หายไปตัวนึง) เห็นแล้วใจหาย สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
น่าสังเกตว่า ม็อบเสื้อเหลืองครั้งนี้ มีแต่ชาวสันติอโศกกับแฟนพันธุ์แท้จังหวัดละหยิบมือ ผู้นำที่อยู่ประจำม็อบก็มีแต่ลุงจำลอง น้าปานเทพ ส่วนสนธิ ลิ้ม พี่พิภพ ธงไชย โผล่หน้ามาแวบๆ อ.สมเกียรติได้ข่าวว่าสุขภาพไม่ดี แต่สมศักดิ์ โกศัยสุข ไม่รู้หายไปไหน ยะใสก็เอาแต่พูดอยู่วงนอก
ยิ่งกว่านั้น ขาเก่า NGO ไฮโซไฮซ้อ คุณพ่อคุณแม่สหภาพรัฐวิสาหกิจ คอลัมนิดคอลัมหน่อย หรือนักวิชาการที่เคยเป็นกองเชียร์ก็หายจ้อย (กลายเป็นอธิการรองอธิการกันหมด) แหม มันน่าน้อยใจจริงๆ ไม่มีใครรักชาติเล้ย กระทั่งกษิต ภิรมย์ ที่เคยด่าฮุนเซนเป็นกุ๊ย ก็เปลี่ยนสีแปรพักตร์ไปสวามิภักดิ์ลูกหลานพระยาละแวกซะแล้ว
ที่เหลืออยู่ก็เลยมีแต่คอเดียวกันระดับฮาร์ด เช่น พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน สุนันท์ ศรีจันทรา เป็นต้น
ที่สะพานมัฆวานน่าจะติดประกาศตามหาคนหายนะครับ พี่น้องเอ๊ย กลับมาด่วน! ชาติต้องการ เพราะถ้าวันเสาร์อาทิตย์นี้ พี่น้องเอ๊ยยังไม่คืนสู่เหย้าละก็ ลุงจำลองคงหาทางกลับบ้านไม่ถูก
คงต้องรอความปรานีจากศาลเขมร ถ้าวันที่ 1 ก.พ.นี้ตัดสินปล่อยตัววีระ สมความคิด พันธมิตรขาลงก็ยังพอมีทางลง หยอดกล่องบริจาคให้วีระ แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน แต่ถ้าไม่ล่ะ จะดิ้นทุรังไปทางไหนต่อ
แหม นั่งดู พธม.กับ ปชป.ล่อกันเอง ดูกษิต-ปานเทพ ประปาก ดูพี่เปี๊ยกขุดเรื่อง อ.ปรีดีมาด่าโคตรเหง้าประชาธิปัตย์ แล้วจะไม่ให้ “สะใจ” ได้ไงล่ะ พี่น้องเอ๊ย
เรื่องสนุกของผมก็คือเปิดหนังสือพิมพ์อ่านคอลัมนิดคอลัมหน่อยที่เคยแซ่ซ้องร้องเชียร์พันธมิตรยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน แล้วกาหัวว่าใครบ้างพันธ์แท้ พันธุ์ทาง เอาใจออกห่าง กลับหัวกลับหาง พลิกลิ้นแผล็บๆ
แต่แหม มันน่าน้อยใจดังว่า เพราะใครต่อใครก็ดูเหมือนจะยกตนเป็นผู้รักชาติอย่างมีสติ มีเหตุผล กันไปหมด ปล่อยให้ พธม.ถูกหาว่าคลั่งชาติอยู่หยิบมือเดียว (แล้วตอนนั้นใครวะ บอกว่าพื้นดินใต้ปราสาทพระวิหารยังเป็นของไทย)
แน่นอนว่า ฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเราๆ คงไม่สนับสนุน พธม.หรือเพ้อฝันแบบ “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่มันก็เป็นวโรกาสอันดีงาม ที่ควรทำใจให้สนุกสนานเพลิดเพลิน นั่งดูฝ่ายตรงข้ามรบรากันเอง พร้อมกับศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของทั้งสองข้าง รวมทั้งแยกแยะขุมกำลัง ว่าใครเปลี่ยนขั้วไปอยู่ข้างไหน
และในฐานะที่พันธมิตรเป็นฝ่ายที่มีขุมกำลังอ่อนด้อยกว่า ผมก็อดไม่ได้ตามนิสัยคนไทย คือชอบเชียร์มวยรอง แบบว่าให้ยืนซดกันได้นานๆ หน่อย (จะได้บอบช้ำมากๆ หน่อย ฮิฮิ)
Hidden Agenda
ถามว่าพันธมิตรยื่นข้อเรียกร้องอะไร ก็คือข้อเรียกร้องที่รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งพันธมิตรรู้อยู่แล้ว
แต่เราจะไปสนใจทำไมกับข้อเรียกร้องของพันธมิตร จำได้ไหมว่าข้อเรียกร้องของพวกเขาเมื่อปี 51 คืออะไร คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พอรัฐบาลยอมไม่แก้ ก็ยังเปลี่ยนไปเรื่อย จนชุมนุมอยู่ได้ 193 วัน
ย้อนไปปี 49 ก่อนรัฐประหาร ทักษิณยุบสภาแล้ว พันธมิตรก็ยังเรียกร้องให้ทักษิณลาออก เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่เคยมีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ไหนในโลก
ฉะนั้น ข้อเรียกร้องของพันธมิตรจึงมี hidden agenda ตลอด (แม้แต่ข้อเสนอมาตรา 7)
ครั้งนี้ก็เช่นกัน พธม.พยายามเรียกม็อบมาตั้งแต่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งได้วีระ สมความคิด (และนายตายแน่ มุ่งมาจน กับพวก) เป็นวีรชนพลีชีพ จูง ส.ส.ปชป.เข้าไปให้ทหารเขมรจับ เป็นเรื่องเป็นราวเป็นหอกย้อนแทงอภิสิทธิ์และกษิต ที่พยายามพลิกลิ้นการทูต ตลบถ้อยคำที่ตัวเองเคยพูดไว้สมัยเป็นฝ่ายค้าน เพื่อกลับไปญาติดีกับ “กุ๊ย”
พธม.จึงได้โอกาสพิสูจน์ตัวเองว่าเรา “ขวาแท้” และ “ขวากว่า” กลับมาชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ปลุกระดมลูกหลาน “พระองค์ดำ” ให้เอาเอฟ 16 ไปช่วยวีระ จับพระยาละแวกตัดหัวเอาเลือดล้างเท้า
เพียงเสียดายที่ “สังคมไทย” (อันได้แก่สื่อ นักวิชาการ คนกรุงคนชั้นกลาง) กลับมามีเหตุผลอย่างไร้เหตุผล ทีตอนนี้ละก็เห็นด้วยว่าควรใช้สันติวิธี ไม่ใช่ชาตินิยม อย่าทำสนามการค้าให้เป็นสนามรบ แม้เอาใจช่วยให้เขมรปล่อย 7 คนไทย แม้ไม่พอใจฮุนเซ็นอยู่มั่ง แต่ก็ไม่วายบ่นอุบอิบว่ามันเดินเข้าไปให้เขาจับทำไมวะ
ทีสมัยสมัคร-นพดลละก็ จะเป็นจะตาย ช่วยกันปลุกวิญญาณชาตินิยม ทวงคืนปราสาทพระวิหาร อ้างไปได้เรื่อย ที่แท้ก็เพื่อไล่รัฐบาล (แต่รัฐบาลนี้มันถูกจริตกรูนี่หว่า เลยเก็บชาตินิยมเข้าลิ้นชัก)
งานนี้ พธม.จึงเสียเปรียบตั้งแต่ยกแรก เพราะถูกขวัญใจจริตนิยมช่วงชิงมวลชนไปเกือบหมด (ขณะที่ส่วนหนึ่งก็เป็นมวลชน ปชป.มาแต่ต้น) แต่อย่าประมาทไปนะครับ เพราะพวกเขามีความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธี ในการก่อม็อบยืดเยื้อ แล้วสามารถทำเรื่องไม่เป็นเรื่องให้มันเป็นเรื่องขึ้นมาได้ จนเปลี่ยนประเด็นไปได้เรื่อยใน 193 วัน
โดยเฉพาะปาก ปชป.นี่แหละสำคัญ ถ้ายั่วถูกจุดเข้าหน่อย ดูอย่างกษิตพูด ก็ปลุกพี่น้องเอ๊ยให้คึกคักขึ้นมาไม่น้อย ยื้อไปเหอะ ให้ไอ้เทือกไอ้ไทหลุดออกมาซักคนละคำสองคำ เดี๋ยวเป็นเรื่อง
นอกจากนี้ ผมยังคาดว่าพันธมิตรจะใช้ความผูกพัน ที่มีกับมวลชนเดิมๆ ออดอ้อนให้ซื้อบัตรซื้อตั๋วมาร่วมงานคืนสู่เหย้ากันหน่อย (ซึ่งอาจมีบ้างในช่วงเสาร์อาทิตย์) รวมถึงความผูกพันที่มีกับสื่อ นักวิชาการ ซึ่งอย่างน้อยๆ ก็ไม่กล้าจิกหัวม็อบเสื้อเหลืองเหมือนที่ทำกับม็อบเสื้อแดง จนเดินเกมของพวกเขาไปได้ระยะหนึ่ง แต่จะลงตรงไหนก็ขึ้นกับ hidden agenda เป็นสำคัญ
แน่นอนว่า agenda ของพันธมิตร ไม่ใช่ MOU ปี 43 หรือข้อเรียกร้อง 3 ข้อนั่น แต่น่าจะเป็นความพยายามต่อรอง แย่งชิงอำนาจ ไม่ให้ตัวเองเป็นเพียงนั่งร้าน
hidden agenda ของพันธมิตร ถ้าดูตามคำพูดสนธิ จำลอง ก็มีนัยเรียกหารัฐประหาร-รัฐบาลแห่งชาติ แต่ถามว่ามันเป็นจริงได้หรือ แม้แกนนำพันธมิตรเองก็คงรู้ดีว่า มีโอกาส ไม่ถึงกับ 0% เสียทีเดียว มีโอกาส แต่เป็นจริงได้ยาก พวกเขาเพียงแค่พยายามขยายโอกาสเท่านั้น
ในสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้ “อำนาจพิเศษ” กองทัพ ตุลาการ พึงพอใจกับการอยู่เบื้องหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งปูทางไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งใหม่ กุมอำนาจได้อย่างน้อยอีก 2 ปีข้างหน้า คนที่ไม่พึงพอใจกับสภาพเช่นนี้มีแต่พันธมิตร ซึ่งยิ่งรัฐบาล “มาร์ค-เนวิน” เข้มแข็ง พันธมิตรยิ่งไม่มีที่ยืน พ่อยกแม่ยกหายหมด และหมดอำนาจต่อรอง มองเห็นคุกอยู่ข้างหน้า เหมือนที่ไชยวัฒน์ สมบูรณ์ ลิ้มรสมาแล้ว
หลังมาร์คได้ “ใบอนุญาตฆ่า” ม็อบเสื้อแดง จากมวลชนเฟซบุค คนกรุงคนชั้นกลาง พันธมิตรก็เริ่มหมดความหมาย แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ดึงเอา mentor ของพันธมิตรสาย NGO อย่างหมอประเวศเข้าไปบัญชาการ แต่ต่อมาก็แว่วเสียงบ่นจากแกนนำพันธมิตรว่า “อภิสิทธิ์ไม่จริงใจ” มันคงมีอะไรในกอไผ่ละครับ ที่แสดงออกในเรื่องมาบตาพุด กระทั่งคำตัดสินจำคุก 85 นักรบศรีวิชัยบุก NBT
เหนือสิ่งอื่นใด หลับตานึกภาพไม่ออกว่า ถ้ามาร์คชนะเลือกตั้งกลับมากุมอำนาจมั่นคงอีกอย่างน้อย 2 ปี หรือเผลอๆ 4 ปี พันธมิตรจะอยู่อย่างไร (พรรคการเมืองใหม่สู้ๆ-ฮา) นั่นแหละพวกเขาจึงต้องดิ้น เพื่อรักษาสถานภาพ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะดิ้นไปแบบไหน
อย่างเก่ง วุ่นวายนัก อภิสิทธิ์ก็ยุบสภา ให้มหาจำลองคุยได้ว่า ไล่รัฐบาลสำเร็จอีกครั้ง แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน (อย่าลืมหยอดกล่องบริจาคนะพี่น้อง)
เหลืองแดงรวมกันไม่ได้
ปรากฏการณ์ที่คนสองสีลุกฮือกระหนาบรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำให้มีคนเพ้อฝัน “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่ความจริงมันเป็นไปไม่ได้ แม้ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ จะไปลงนวมซ้อมมวยกับณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ในคุก หรือกลุ่มเส้นทางสีแดง แวะไปเยี่ยมม็อบคนไทยหัวใจรักชาติ
นี่เป็นแค่ “จุดตัด” ของกระแสมวลชนสองสาย ที่หลังจากนี้ก็จะต่างคนต่างไป ส่วนใครจะเดินไปสู่เอวัง ไม่อยากพูด (แค่อ้าปากคนอ่านก็รู้ทัน อิอิ)
อันที่จริงผมก็เคยเพ้อฝันอยู่เหมือนกันว่าซักวัน เพื่อนพ้องน้องพี่สีเหลืองแดงอาจรวมกันได้ เพราะถ้ายึดอุดมการณ์ที่เสื้อแดงต้องการประชาธิปไตยสมบูรณ์ เสื้อเหลืองต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ในหลักการก็ไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกัน
แต่บังเอิ๊ญ ผมลืมไปว่า พันธมิตรไม่มีหลักการ!
พันธมิตรทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปแล้ว ทิ้งความเชื่อที่ว่ามีแต่ความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์เท่านั้นที่จะขจัดลดทอนทุจริตคอรัปชั่น เพราะประชาชนจะตื่นตัวช่วยกันตรวจสอบทุกฝ่ายโดยไม่เว้น
พันธมิตรนำมวลชนคิดตัดตอนเพียงว่าการเลือกตั้งคือการซื้อเสียงและนำไปสู่การถอนทุน ฉะนั้นจึงต้องพึ่งประชาธิปไตยที่มีการเซ็นเซอร์ มีอำนาจพิเศษคอยกำกับดูแล หันไปยกย่องเชิดชูอำนาจพิเศษ แกล้งหลับตาข้างหนึ่ง ไม่มองว่าระบอบอุปถัมภ์ของอำนาจพิเศษซึ่งตรวจสอบไม่ได้ก็เป็นที่มาของการทุจริตคอรัปชั่นเช่นกัน ไม่พูดความจริงว่าขุนนางอำมาตย์ ทหาร ตุลาการ ที่อวดอ้างว่าจงรักภักดี สัตย์ซื่อถือคุณธรรม ที่แท้ก็มีเรื่องเน่าเฟะปกปิดอยู่มากมาย แต่สาธารณชนไม่ได้รับรู้เท่านั้นเอง
ถ้าย้อนไปดูคำสัมภาษณ์ของสุริยะใส กตะศิลา ในโพสต์ทูเดย์ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน เรื่อง “วันหนึ่งพี่น้องจะเข้าใจ พธม.ขาลง?” ยะใสบอกว่า “ถ้าแดงแท้ประกาศปลดแอกจากทักษิณได้ตรงนี้อาจจะเป็นการเกิดใหม่ของ นปช. และสุดท้ายอาจโคจรไปจับมือกับ พธม.ก็ได้ ทั้ง 5 แกนนำ พธม.มีความคิดนี้เสมอ คุณสนธิก็เคยสัมภาษณ์ไม่รู้กี่รอบว่าไม่เคยมองเสื้อแดงเป็นศัตรู ลุงจำลอง (ศรีเมือง) ก็พูดเช่นกัน หลายเรื่องคิดเหมือนกันโดยเฉพาะเรื่องสองมาตรฐานความไม่เป็นธรรม”
แต่ถามว่า “แดงแท้” ของยะใสคืออะไร ก็คือคนเสื้อแดงที่ “ปลดแอก” จากทักษิณและพรรคเพื่อไทย ไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อทักษิณ แต่สู้เพื่อความเป็นธรรมจริงๆ โดยมีแค่ 10% เท่านั้นในแดงทั้งหมด
พูดไปก็เป็นแค่การตีฝีปาก เพราะกระทั่ง บก.ลายจุด ยะใสยังดิสเครดิตว่าไม่ใช่ของแท้ แต่เป็นพวกสร้างกระแสแบบไม่ลงทุน คอยแต่หยิบชิ้นปลามัน เพราะการเคลื่อนไหวยังผูกกับจตุพร
“แดงแท้” ของยะใส คงหมายความว่าถ้าการเคลื่อนไหวอะไรที่ทักษิณ พรรคเพื่อไทย หรือ 3 เกลอมีส่วนร่วม ต้องห้ามเข้าร่วมโดยเด็ดขาด ห้ามสนับสนุน ห้ามส่งเสียงเชียร์ ต้องไปเคลื่อนไหวด้วยตัวเองอยู่ที่ปลายโคกโน้น
แม้กระทั่งใครจะเคลื่อนไหวให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น เช่น ล้ม สว.ลากตั้ง ยะใสก็คงบอกว่าเป็นการแก้ไขเพื่อให้ทักษิณกลับมา
นั่นคือจุดยืนที่ไม่มีทางร่วมกันได้ชัดเจน เพราะในฐานะนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แม้เราจะต้องต่อสู้คัดค้านไม่ให้ทักษิณเป็นผู้นำ ไม่ให้ทักษิณกลับมา แต่เราต้องถือว่าทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในฐานะที่ทักษิณเป็นผู้ถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้เพื่อให้กฎกติกาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ให้บ้านเมืองมีความยุติธรรมมาตรฐานเดียว ถ้ามันจะเอื้อให้ทักษิณได้อานิสงส์ เราก็ต้องพร้อมยอมรับ
พูดไปทำไมมี พันธมิตรอ้างว่าพวกเขาดึง “อำนาจพิเศษ” เข้ามาทั้งที่รู้ว่าเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย เพราะพวกเขาเชื่อว่า “อำนาจพิเศษ” นั้นเปรียบเหมือนอาทิตย์ใกล้อัสดง เดี๋ยวก็หมดพลังแล้ว (แล้วตอนนี้เป็นไงล่ะ)
ถ้าเราบอกว่า ณ วันนี้ ทักษิณยิ่งกว่าอาทิตย์อัสดงล่ะ และมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะทักษิณเป็นเรื่องตัวบุคคล แต่นั่นคือเรื่องของระบอบและหลักการ ที่เอาการรัฐประหารมาทำลายประชาธิปไตย ชูวัฒนธรรมระบอบอุปภัมภ์กลับมาครอบงำสังคม ปิดกั้นย่างก้าวไปสู่ความมีเสรี
พันธมิตรกับนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงไม่มีวันรวมกันได้ เพราะเราไม่ใช่ลิเกย้ายวิก ไม่ใช่นักการเมืองย้ายพรรค ไม่ใช่มาร์ค-เนวิน หรือ “พี่บรรหาร” กับ ปชป.ด่าพ่อล่อแม่แล้วยังร่วมรัฐบาลกันได้ เพราะความ “อดอยากปากแห้ง” สำคัญกว่า
เพียงแต่ตอนนี้ คงไม่ผิดอะไร ที่เราจะเอาใจช่วยพันธมิตร ให้ยืนซดกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ครบสิบยก (จะได้น่วมๆ หน่อย ฮิฮิ) ขออย่างเดียว อย่าเป็นมวยล้มต้มคนดูก็แล้วกัน ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็เตรียมเสียงโห่ได้เลย
เอ้า...หุย....
ที่มา.ประชาไท
-----------------------------------------------------
เสื้อแดงจัดชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ ตำรวจประเมินว่ามีมวลชน 27,000 คน แต่ไทยรัฐบอกขบวนยาวเป็นกิโล พันธมิตรจัดชุมนุมหญ่ายเมื่อวันอังคาร ถ่ายภาพมุมกว้างดูยังไงก็ไม่เกิน 5,000 (ตอนค่ำนะ ไม่ใช่ตอนเช้าที่เลขศูนย์หายไปตัวนึง) เห็นแล้วใจหาย สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
น่าสังเกตว่า ม็อบเสื้อเหลืองครั้งนี้ มีแต่ชาวสันติอโศกกับแฟนพันธุ์แท้จังหวัดละหยิบมือ ผู้นำที่อยู่ประจำม็อบก็มีแต่ลุงจำลอง น้าปานเทพ ส่วนสนธิ ลิ้ม พี่พิภพ ธงไชย โผล่หน้ามาแวบๆ อ.สมเกียรติได้ข่าวว่าสุขภาพไม่ดี แต่สมศักดิ์ โกศัยสุข ไม่รู้หายไปไหน ยะใสก็เอาแต่พูดอยู่วงนอก
ยิ่งกว่านั้น ขาเก่า NGO ไฮโซไฮซ้อ คุณพ่อคุณแม่สหภาพรัฐวิสาหกิจ คอลัมนิดคอลัมหน่อย หรือนักวิชาการที่เคยเป็นกองเชียร์ก็หายจ้อย (กลายเป็นอธิการรองอธิการกันหมด) แหม มันน่าน้อยใจจริงๆ ไม่มีใครรักชาติเล้ย กระทั่งกษิต ภิรมย์ ที่เคยด่าฮุนเซนเป็นกุ๊ย ก็เปลี่ยนสีแปรพักตร์ไปสวามิภักดิ์ลูกหลานพระยาละแวกซะแล้ว
ที่เหลืออยู่ก็เลยมีแต่คอเดียวกันระดับฮาร์ด เช่น พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน สุนันท์ ศรีจันทรา เป็นต้น
ที่สะพานมัฆวานน่าจะติดประกาศตามหาคนหายนะครับ พี่น้องเอ๊ย กลับมาด่วน! ชาติต้องการ เพราะถ้าวันเสาร์อาทิตย์นี้ พี่น้องเอ๊ยยังไม่คืนสู่เหย้าละก็ ลุงจำลองคงหาทางกลับบ้านไม่ถูก
คงต้องรอความปรานีจากศาลเขมร ถ้าวันที่ 1 ก.พ.นี้ตัดสินปล่อยตัววีระ สมความคิด พันธมิตรขาลงก็ยังพอมีทางลง หยอดกล่องบริจาคให้วีระ แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน แต่ถ้าไม่ล่ะ จะดิ้นทุรังไปทางไหนต่อ
แหม นั่งดู พธม.กับ ปชป.ล่อกันเอง ดูกษิต-ปานเทพ ประปาก ดูพี่เปี๊ยกขุดเรื่อง อ.ปรีดีมาด่าโคตรเหง้าประชาธิปัตย์ แล้วจะไม่ให้ “สะใจ” ได้ไงล่ะ พี่น้องเอ๊ย
เรื่องสนุกของผมก็คือเปิดหนังสือพิมพ์อ่านคอลัมนิดคอลัมหน่อยที่เคยแซ่ซ้องร้องเชียร์พันธมิตรยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน แล้วกาหัวว่าใครบ้างพันธ์แท้ พันธุ์ทาง เอาใจออกห่าง กลับหัวกลับหาง พลิกลิ้นแผล็บๆ
แต่แหม มันน่าน้อยใจดังว่า เพราะใครต่อใครก็ดูเหมือนจะยกตนเป็นผู้รักชาติอย่างมีสติ มีเหตุผล กันไปหมด ปล่อยให้ พธม.ถูกหาว่าคลั่งชาติอยู่หยิบมือเดียว (แล้วตอนนั้นใครวะ บอกว่าพื้นดินใต้ปราสาทพระวิหารยังเป็นของไทย)
แน่นอนว่า ฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเราๆ คงไม่สนับสนุน พธม.หรือเพ้อฝันแบบ “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่มันก็เป็นวโรกาสอันดีงาม ที่ควรทำใจให้สนุกสนานเพลิดเพลิน นั่งดูฝ่ายตรงข้ามรบรากันเอง พร้อมกับศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของทั้งสองข้าง รวมทั้งแยกแยะขุมกำลัง ว่าใครเปลี่ยนขั้วไปอยู่ข้างไหน
และในฐานะที่พันธมิตรเป็นฝ่ายที่มีขุมกำลังอ่อนด้อยกว่า ผมก็อดไม่ได้ตามนิสัยคนไทย คือชอบเชียร์มวยรอง แบบว่าให้ยืนซดกันได้นานๆ หน่อย (จะได้บอบช้ำมากๆ หน่อย ฮิฮิ)
Hidden Agenda
ถามว่าพันธมิตรยื่นข้อเรียกร้องอะไร ก็คือข้อเรียกร้องที่รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งพันธมิตรรู้อยู่แล้ว
แต่เราจะไปสนใจทำไมกับข้อเรียกร้องของพันธมิตร จำได้ไหมว่าข้อเรียกร้องของพวกเขาเมื่อปี 51 คืออะไร คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พอรัฐบาลยอมไม่แก้ ก็ยังเปลี่ยนไปเรื่อย จนชุมนุมอยู่ได้ 193 วัน
ย้อนไปปี 49 ก่อนรัฐประหาร ทักษิณยุบสภาแล้ว พันธมิตรก็ยังเรียกร้องให้ทักษิณลาออก เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่เคยมีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ไหนในโลก
ฉะนั้น ข้อเรียกร้องของพันธมิตรจึงมี hidden agenda ตลอด (แม้แต่ข้อเสนอมาตรา 7)
ครั้งนี้ก็เช่นกัน พธม.พยายามเรียกม็อบมาตั้งแต่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งได้วีระ สมความคิด (และนายตายแน่ มุ่งมาจน กับพวก) เป็นวีรชนพลีชีพ จูง ส.ส.ปชป.เข้าไปให้ทหารเขมรจับ เป็นเรื่องเป็นราวเป็นหอกย้อนแทงอภิสิทธิ์และกษิต ที่พยายามพลิกลิ้นการทูต ตลบถ้อยคำที่ตัวเองเคยพูดไว้สมัยเป็นฝ่ายค้าน เพื่อกลับไปญาติดีกับ “กุ๊ย”
พธม.จึงได้โอกาสพิสูจน์ตัวเองว่าเรา “ขวาแท้” และ “ขวากว่า” กลับมาชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ปลุกระดมลูกหลาน “พระองค์ดำ” ให้เอาเอฟ 16 ไปช่วยวีระ จับพระยาละแวกตัดหัวเอาเลือดล้างเท้า
เพียงเสียดายที่ “สังคมไทย” (อันได้แก่สื่อ นักวิชาการ คนกรุงคนชั้นกลาง) กลับมามีเหตุผลอย่างไร้เหตุผล ทีตอนนี้ละก็เห็นด้วยว่าควรใช้สันติวิธี ไม่ใช่ชาตินิยม อย่าทำสนามการค้าให้เป็นสนามรบ แม้เอาใจช่วยให้เขมรปล่อย 7 คนไทย แม้ไม่พอใจฮุนเซ็นอยู่มั่ง แต่ก็ไม่วายบ่นอุบอิบว่ามันเดินเข้าไปให้เขาจับทำไมวะ
ทีสมัยสมัคร-นพดลละก็ จะเป็นจะตาย ช่วยกันปลุกวิญญาณชาตินิยม ทวงคืนปราสาทพระวิหาร อ้างไปได้เรื่อย ที่แท้ก็เพื่อไล่รัฐบาล (แต่รัฐบาลนี้มันถูกจริตกรูนี่หว่า เลยเก็บชาตินิยมเข้าลิ้นชัก)
งานนี้ พธม.จึงเสียเปรียบตั้งแต่ยกแรก เพราะถูกขวัญใจจริตนิยมช่วงชิงมวลชนไปเกือบหมด (ขณะที่ส่วนหนึ่งก็เป็นมวลชน ปชป.มาแต่ต้น) แต่อย่าประมาทไปนะครับ เพราะพวกเขามีความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธี ในการก่อม็อบยืดเยื้อ แล้วสามารถทำเรื่องไม่เป็นเรื่องให้มันเป็นเรื่องขึ้นมาได้ จนเปลี่ยนประเด็นไปได้เรื่อยใน 193 วัน
โดยเฉพาะปาก ปชป.นี่แหละสำคัญ ถ้ายั่วถูกจุดเข้าหน่อย ดูอย่างกษิตพูด ก็ปลุกพี่น้องเอ๊ยให้คึกคักขึ้นมาไม่น้อย ยื้อไปเหอะ ให้ไอ้เทือกไอ้ไทหลุดออกมาซักคนละคำสองคำ เดี๋ยวเป็นเรื่อง
นอกจากนี้ ผมยังคาดว่าพันธมิตรจะใช้ความผูกพัน ที่มีกับมวลชนเดิมๆ ออดอ้อนให้ซื้อบัตรซื้อตั๋วมาร่วมงานคืนสู่เหย้ากันหน่อย (ซึ่งอาจมีบ้างในช่วงเสาร์อาทิตย์) รวมถึงความผูกพันที่มีกับสื่อ นักวิชาการ ซึ่งอย่างน้อยๆ ก็ไม่กล้าจิกหัวม็อบเสื้อเหลืองเหมือนที่ทำกับม็อบเสื้อแดง จนเดินเกมของพวกเขาไปได้ระยะหนึ่ง แต่จะลงตรงไหนก็ขึ้นกับ hidden agenda เป็นสำคัญ
แน่นอนว่า agenda ของพันธมิตร ไม่ใช่ MOU ปี 43 หรือข้อเรียกร้อง 3 ข้อนั่น แต่น่าจะเป็นความพยายามต่อรอง แย่งชิงอำนาจ ไม่ให้ตัวเองเป็นเพียงนั่งร้าน
hidden agenda ของพันธมิตร ถ้าดูตามคำพูดสนธิ จำลอง ก็มีนัยเรียกหารัฐประหาร-รัฐบาลแห่งชาติ แต่ถามว่ามันเป็นจริงได้หรือ แม้แกนนำพันธมิตรเองก็คงรู้ดีว่า มีโอกาส ไม่ถึงกับ 0% เสียทีเดียว มีโอกาส แต่เป็นจริงได้ยาก พวกเขาเพียงแค่พยายามขยายโอกาสเท่านั้น
ในสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้ “อำนาจพิเศษ” กองทัพ ตุลาการ พึงพอใจกับการอยู่เบื้องหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งปูทางไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งใหม่ กุมอำนาจได้อย่างน้อยอีก 2 ปีข้างหน้า คนที่ไม่พึงพอใจกับสภาพเช่นนี้มีแต่พันธมิตร ซึ่งยิ่งรัฐบาล “มาร์ค-เนวิน” เข้มแข็ง พันธมิตรยิ่งไม่มีที่ยืน พ่อยกแม่ยกหายหมด และหมดอำนาจต่อรอง มองเห็นคุกอยู่ข้างหน้า เหมือนที่ไชยวัฒน์ สมบูรณ์ ลิ้มรสมาแล้ว
หลังมาร์คได้ “ใบอนุญาตฆ่า” ม็อบเสื้อแดง จากมวลชนเฟซบุค คนกรุงคนชั้นกลาง พันธมิตรก็เริ่มหมดความหมาย แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ดึงเอา mentor ของพันธมิตรสาย NGO อย่างหมอประเวศเข้าไปบัญชาการ แต่ต่อมาก็แว่วเสียงบ่นจากแกนนำพันธมิตรว่า “อภิสิทธิ์ไม่จริงใจ” มันคงมีอะไรในกอไผ่ละครับ ที่แสดงออกในเรื่องมาบตาพุด กระทั่งคำตัดสินจำคุก 85 นักรบศรีวิชัยบุก NBT
เหนือสิ่งอื่นใด หลับตานึกภาพไม่ออกว่า ถ้ามาร์คชนะเลือกตั้งกลับมากุมอำนาจมั่นคงอีกอย่างน้อย 2 ปี หรือเผลอๆ 4 ปี พันธมิตรจะอยู่อย่างไร (พรรคการเมืองใหม่สู้ๆ-ฮา) นั่นแหละพวกเขาจึงต้องดิ้น เพื่อรักษาสถานภาพ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะดิ้นไปแบบไหน
อย่างเก่ง วุ่นวายนัก อภิสิทธิ์ก็ยุบสภา ให้มหาจำลองคุยได้ว่า ไล่รัฐบาลสำเร็จอีกครั้ง แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน (อย่าลืมหยอดกล่องบริจาคนะพี่น้อง)
เหลืองแดงรวมกันไม่ได้
ปรากฏการณ์ที่คนสองสีลุกฮือกระหนาบรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำให้มีคนเพ้อฝัน “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่ความจริงมันเป็นไปไม่ได้ แม้ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ จะไปลงนวมซ้อมมวยกับณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ในคุก หรือกลุ่มเส้นทางสีแดง แวะไปเยี่ยมม็อบคนไทยหัวใจรักชาติ
นี่เป็นแค่ “จุดตัด” ของกระแสมวลชนสองสาย ที่หลังจากนี้ก็จะต่างคนต่างไป ส่วนใครจะเดินไปสู่เอวัง ไม่อยากพูด (แค่อ้าปากคนอ่านก็รู้ทัน อิอิ)
อันที่จริงผมก็เคยเพ้อฝันอยู่เหมือนกันว่าซักวัน เพื่อนพ้องน้องพี่สีเหลืองแดงอาจรวมกันได้ เพราะถ้ายึดอุดมการณ์ที่เสื้อแดงต้องการประชาธิปไตยสมบูรณ์ เสื้อเหลืองต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ในหลักการก็ไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกัน
แต่บังเอิ๊ญ ผมลืมไปว่า พันธมิตรไม่มีหลักการ!
พันธมิตรทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปแล้ว ทิ้งความเชื่อที่ว่ามีแต่ความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์เท่านั้นที่จะขจัดลดทอนทุจริตคอรัปชั่น เพราะประชาชนจะตื่นตัวช่วยกันตรวจสอบทุกฝ่ายโดยไม่เว้น
พันธมิตรนำมวลชนคิดตัดตอนเพียงว่าการเลือกตั้งคือการซื้อเสียงและนำไปสู่การถอนทุน ฉะนั้นจึงต้องพึ่งประชาธิปไตยที่มีการเซ็นเซอร์ มีอำนาจพิเศษคอยกำกับดูแล หันไปยกย่องเชิดชูอำนาจพิเศษ แกล้งหลับตาข้างหนึ่ง ไม่มองว่าระบอบอุปถัมภ์ของอำนาจพิเศษซึ่งตรวจสอบไม่ได้ก็เป็นที่มาของการทุจริตคอรัปชั่นเช่นกัน ไม่พูดความจริงว่าขุนนางอำมาตย์ ทหาร ตุลาการ ที่อวดอ้างว่าจงรักภักดี สัตย์ซื่อถือคุณธรรม ที่แท้ก็มีเรื่องเน่าเฟะปกปิดอยู่มากมาย แต่สาธารณชนไม่ได้รับรู้เท่านั้นเอง
ถ้าย้อนไปดูคำสัมภาษณ์ของสุริยะใส กตะศิลา ในโพสต์ทูเดย์ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน เรื่อง “วันหนึ่งพี่น้องจะเข้าใจ พธม.ขาลง?” ยะใสบอกว่า “ถ้าแดงแท้ประกาศปลดแอกจากทักษิณได้ตรงนี้อาจจะเป็นการเกิดใหม่ของ นปช. และสุดท้ายอาจโคจรไปจับมือกับ พธม.ก็ได้ ทั้ง 5 แกนนำ พธม.มีความคิดนี้เสมอ คุณสนธิก็เคยสัมภาษณ์ไม่รู้กี่รอบว่าไม่เคยมองเสื้อแดงเป็นศัตรู ลุงจำลอง (ศรีเมือง) ก็พูดเช่นกัน หลายเรื่องคิดเหมือนกันโดยเฉพาะเรื่องสองมาตรฐานความไม่เป็นธรรม”
แต่ถามว่า “แดงแท้” ของยะใสคืออะไร ก็คือคนเสื้อแดงที่ “ปลดแอก” จากทักษิณและพรรคเพื่อไทย ไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อทักษิณ แต่สู้เพื่อความเป็นธรรมจริงๆ โดยมีแค่ 10% เท่านั้นในแดงทั้งหมด
พูดไปก็เป็นแค่การตีฝีปาก เพราะกระทั่ง บก.ลายจุด ยะใสยังดิสเครดิตว่าไม่ใช่ของแท้ แต่เป็นพวกสร้างกระแสแบบไม่ลงทุน คอยแต่หยิบชิ้นปลามัน เพราะการเคลื่อนไหวยังผูกกับจตุพร
“แดงแท้” ของยะใส คงหมายความว่าถ้าการเคลื่อนไหวอะไรที่ทักษิณ พรรคเพื่อไทย หรือ 3 เกลอมีส่วนร่วม ต้องห้ามเข้าร่วมโดยเด็ดขาด ห้ามสนับสนุน ห้ามส่งเสียงเชียร์ ต้องไปเคลื่อนไหวด้วยตัวเองอยู่ที่ปลายโคกโน้น
แม้กระทั่งใครจะเคลื่อนไหวให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น เช่น ล้ม สว.ลากตั้ง ยะใสก็คงบอกว่าเป็นการแก้ไขเพื่อให้ทักษิณกลับมา
นั่นคือจุดยืนที่ไม่มีทางร่วมกันได้ชัดเจน เพราะในฐานะนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แม้เราจะต้องต่อสู้คัดค้านไม่ให้ทักษิณเป็นผู้นำ ไม่ให้ทักษิณกลับมา แต่เราต้องถือว่าทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในฐานะที่ทักษิณเป็นผู้ถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้เพื่อให้กฎกติกาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ให้บ้านเมืองมีความยุติธรรมมาตรฐานเดียว ถ้ามันจะเอื้อให้ทักษิณได้อานิสงส์ เราก็ต้องพร้อมยอมรับ
พูดไปทำไมมี พันธมิตรอ้างว่าพวกเขาดึง “อำนาจพิเศษ” เข้ามาทั้งที่รู้ว่าเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย เพราะพวกเขาเชื่อว่า “อำนาจพิเศษ” นั้นเปรียบเหมือนอาทิตย์ใกล้อัสดง เดี๋ยวก็หมดพลังแล้ว (แล้วตอนนี้เป็นไงล่ะ)
ถ้าเราบอกว่า ณ วันนี้ ทักษิณยิ่งกว่าอาทิตย์อัสดงล่ะ และมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะทักษิณเป็นเรื่องตัวบุคคล แต่นั่นคือเรื่องของระบอบและหลักการ ที่เอาการรัฐประหารมาทำลายประชาธิปไตย ชูวัฒนธรรมระบอบอุปภัมภ์กลับมาครอบงำสังคม ปิดกั้นย่างก้าวไปสู่ความมีเสรี
พันธมิตรกับนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงไม่มีวันรวมกันได้ เพราะเราไม่ใช่ลิเกย้ายวิก ไม่ใช่นักการเมืองย้ายพรรค ไม่ใช่มาร์ค-เนวิน หรือ “พี่บรรหาร” กับ ปชป.ด่าพ่อล่อแม่แล้วยังร่วมรัฐบาลกันได้ เพราะความ “อดอยากปากแห้ง” สำคัญกว่า
เพียงแต่ตอนนี้ คงไม่ผิดอะไร ที่เราจะเอาใจช่วยพันธมิตร ให้ยืนซดกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ครบสิบยก (จะได้น่วมๆ หน่อย ฮิฮิ) ขออย่างเดียว อย่าเป็นมวยล้มต้มคนดูก็แล้วกัน ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็เตรียมเสียงโห่ได้เลย
เอ้า...หุย....
ที่มา.ประชาไท
-----------------------------------------------------
รัฐบาลแห่งชาติ=แดง+เหลือ ฝัน'ไชยวัฒน์ !!??
วาทกรรม“ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร” จะรวมไปถึง"เสื้อเหลือ-เสื้อแดง"จับมือกันได้ ด้วยหรือไม่ แต่เริ่มมีคนคิด แต่จะเป็นจริงได้หรือไม่ หรือแค่ฝันข่มขวัญ
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อวาทกรรม “ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร” ไม่ถูกจำกัดวงสำหรับ “นักการเมือง” อีกต่อไป แต่มันได้ไหลลงมาหลอมรวมอยู่ในหัวสมองของแกนนำม็อบบนท้องถนนเข้าให้แล้ว เมื่อในระยะหลังปรากฎข่าว “เสื้อเหลือง” กับ "เสื้อแดง” กระชับพื้นที่หัวใจใกล้ชิดกันมากขึ้น
ล่าสุดก็มี "ดีลประหลาด” เกิดขึ้นในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อ “ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์” กับ “สมบูรณ์ ทองบุราณ” ถูกจับยัดเข้าไปด้วยข้อหาก่อการร้าย ปรากฎว่าไปปะหน้ากับแกนนำ นปช.ที่ปักหลักอยู่ในนั้นมาครึ่งค่อนปี
ด้วยความที่เป็นผู้นำมวลชนเหมือนๆกัน เมื่อเจอหน้าเจอตากันก็หนีไม่พ้นสนทนาปัญหาบ้านเมือง โดยเฉพาะการเมืองบนท้องถนนของคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง
ครั้งหนึ่ง “ ไชยวัฒน์ ” จะเคยเป็น “เหลืองตัวพ่อ ” ถึงขั้นเคยถูกจับเซ่นสังเวยม็อบมาแล้ว แต่มาวันนี้ เขาแยกตัวจาก “เหลืองบ้านพระอาทิตย์” ออกมาตั้งสำนักของตัวเองในนาม “เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” ด้วยร่องรอยความขัดแย้งร้าวลึกเกินจะเยียวยา ไม่ร้าวลึกธรรมดาแต่ไชยวัฒน์ เคยโดนพวกกันเองจิกหัวด่าว่าเป็น “เหลืองเทียม” มาแล้ว เหตุผลหลักๆก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า “ชิงการนำ” กันเองในหมู่แกนนำ
อีกฟากหนึ่งต้องไม่ลืมว่า “ ไชยวัฒน์ ” ก็มี “ สายสัมพันธ์ ” ที่ดีกับแกนนำเสื้อแดงหลายคนอย่างลึกซึ้ง ยาวนาน อย่างหมอเหวง โตจิราการ หรือจตุพร พรหมพันธุ์ ก็เคยร่วมรบเคียงบ่าเคียงใหล่บนถนนราชดำเนินสมัยพฤษภาทมิฬ
ย้อนกลับไปที่เรือนจำเมื่อวันก่อน แกนนำสีเหลือง สีแดง ได้ใช้เวลาและสถานที่ที่ถูกกันไว้ให้ญาติมาเยี่ยม เป็นพบปะกันทั้งนิสิต สินธุไพร ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หมอเหวง แลกเปลี่ยนสถานการณ์กันอย่างถูกคอ หัวข้อหลักๆคือ “ ด่ารัฐบาลอภิสิทธิ์”
คนที่เข้าขาที่สุดเห็นจะเป็น “นิสิต ” เพราะมาจากดินแดนที่ราบสูงเหมือนกัน " นิสิต" อยู่ขอนแก่น "สมบูรณ์" อยู่ยโสธร ไชยวัฒน์ บุรีรัมย์ เจอะหน้ากันเลยเว้ากันม่วนหลาย
เมื่อพูดคุยภาษาเดียวกัน “ ไชยวัฒน์ ” ได้ยื่นข้อเสนอให้ “ นิสิต ” มาร่วมกันไล่รัฐบาล โดยพูดทีเล่นทีจริงว่าจองพื้นที่สะพานอรทัย ไว้ให้คนเสื้อแดง เพราะทั้งสองมุมสะพานชมัยมรุเชษฐ ก็มีเครือข่ายคนไทยฯ ส่วนสะพานมัฆวานรังสรรค์ ก็มีกลุ่มพันธมิตรฯ ถ้า “ มาตามนัด ” ก็เท่ากับว่าทำเนียบรัฐบาลจะถูก “ตีกระหนาบ” ทุกกำแพงเมือง
“ไชยวัฒน์ ” เผยหลังจากออกจากคุกว่า การเทียบเชิญเสื้อแดงให้เข้าร่วมการชุมนุมของตนครั้งนี้ เหมือนตอนที่เล่าปี่ ต้องไปคุกเข่าอ้อนวอนให้ขงเบ้งมาร่วมวางแผนรบกับโจโฉ
“ยอมรับว่าขณะนี้คุยกับคนเสื้อแดงง่ายกว่าคุยกับแกนนำพันธมิตรฯ ในบางสถานการณ์เราคุยกับศัตรูรู้เรื่องกว่าคุยกับมิตร แต่สุดแล้วทั้งเสื้อแดงและเสื้อแดงก็ยังคุยง่ายกว่าอภิสิทธิ์”
จริงๆแล้วแนวคิดเรื่อง “ผสมสี” แล้วโค่นรัฐบาล ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่ไป เพราะในระยะหลัง “ ไชยวัฒน์” มักจะปฎิบัติการ “ แหวกม่านประเพณี ” ดอดไปจับไม้จับมือกับ “คนเสื้อแดง” อยู่บ่อยครั้ง
เมื่อ “ถอดรหัส” ออกมาดูแล้วส่องดู “แก่นสาร” แล้วก็พบว่า แต่ละจังหวะที่ไชยวัฒน์ เคลื่อนอยู่นี้มาจาก “จินตนาการ” ที่แสนจะสุดเขตเสลดเป็ด ของไชยวัฒน์แอนด์เดอะแก๊ง
โมเดลการเมืองที่ว่านี้ “ เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” มี” พิมพ์เขียว ”เตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนจะมีเรื่องการจับกุม 7 คนไทย ผู้ที่กุมทิศทางของแผนนี้คือ “ทหารเกษียณ ” บวกพลังกับ “นักกฎหมายมือทอง” ซึ่งทั้งหมดถูก ”สนธิ ลิ้มทองกุล” เฉดหัวออกจาก “ จอเหลือง ” ด้วยประกาศิต “ ห้ามออกเด็ดขาด” ต้องย้ายไปสร้างรังใหม่ “ช่อง 13 สยามไท ” ขึ้นมาเป็นกระบอกเสียง
พอปักหลักปักฐานได้ คนกลุ่มนี้ก็วาดฉากการเมืองไทยไปสู่สิ่งที่เรียกว่าการ “ อภิวัฒน์” ซึ่งจะเป็นการปฎิวัติโดยประชาชน ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงการเมืองแบบ “ ถอนรากถอนโคน ” ยึดอำนาจจากนักการเมือง แล้วสถาปนากระบวนการที่เรียกว่า “ราชประชาสมาสัย” หมายถึงการร่วมมือกันระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชน และมี “รัฐบาลแห่งชาติ” เป็นจุดหมายปลายทาง
“ ไชยวัฒน์” เคยเปิดอกถึงสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ว่ามันคือการ “สามัคคีประชาชาติ” คือการหลอมรวมคนทุกสี ทุกอุดมการณ์ในสังคมไทยให้มารวมพลังกันเพื่อผลักดันให้เกิดการอภิวัฒน์ โดยทุกคนต้องหยุดมองผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มตัวเองแล้วมองถึงอนาคตของชาติ
“ผมตั้งเป้าว่าถ้าประชาชนออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาลครั้งนี้ได้ 1 ล้านคน ผมขอแค่ครึ่งวันเราจะเปลี่ยนแปลงการเมืองได้แบบถอนรากถอนโคน ล้างบางนักการเมืองชุดปัจจุบันให้เว้นวรรคทุกคน เพราะถือเป็นต้นเหตุของปัญหา แล้วสร้างบ้านสร้างเมืองกันใหม่”
ต้องจับตาดูว่า “เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” จะผลักสูตรการเมืองนี้ ไปถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่ หรือเป็นแค่ฝันลมๆแล้งๆ ที่ไม่มีวันเป็นจริง !!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------------------------
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อวาทกรรม “ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร” ไม่ถูกจำกัดวงสำหรับ “นักการเมือง” อีกต่อไป แต่มันได้ไหลลงมาหลอมรวมอยู่ในหัวสมองของแกนนำม็อบบนท้องถนนเข้าให้แล้ว เมื่อในระยะหลังปรากฎข่าว “เสื้อเหลือง” กับ "เสื้อแดง” กระชับพื้นที่หัวใจใกล้ชิดกันมากขึ้น
ล่าสุดก็มี "ดีลประหลาด” เกิดขึ้นในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อ “ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์” กับ “สมบูรณ์ ทองบุราณ” ถูกจับยัดเข้าไปด้วยข้อหาก่อการร้าย ปรากฎว่าไปปะหน้ากับแกนนำ นปช.ที่ปักหลักอยู่ในนั้นมาครึ่งค่อนปี
ด้วยความที่เป็นผู้นำมวลชนเหมือนๆกัน เมื่อเจอหน้าเจอตากันก็หนีไม่พ้นสนทนาปัญหาบ้านเมือง โดยเฉพาะการเมืองบนท้องถนนของคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง
ครั้งหนึ่ง “ ไชยวัฒน์ ” จะเคยเป็น “เหลืองตัวพ่อ ” ถึงขั้นเคยถูกจับเซ่นสังเวยม็อบมาแล้ว แต่มาวันนี้ เขาแยกตัวจาก “เหลืองบ้านพระอาทิตย์” ออกมาตั้งสำนักของตัวเองในนาม “เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” ด้วยร่องรอยความขัดแย้งร้าวลึกเกินจะเยียวยา ไม่ร้าวลึกธรรมดาแต่ไชยวัฒน์ เคยโดนพวกกันเองจิกหัวด่าว่าเป็น “เหลืองเทียม” มาแล้ว เหตุผลหลักๆก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า “ชิงการนำ” กันเองในหมู่แกนนำ
อีกฟากหนึ่งต้องไม่ลืมว่า “ ไชยวัฒน์ ” ก็มี “ สายสัมพันธ์ ” ที่ดีกับแกนนำเสื้อแดงหลายคนอย่างลึกซึ้ง ยาวนาน อย่างหมอเหวง โตจิราการ หรือจตุพร พรหมพันธุ์ ก็เคยร่วมรบเคียงบ่าเคียงใหล่บนถนนราชดำเนินสมัยพฤษภาทมิฬ
ย้อนกลับไปที่เรือนจำเมื่อวันก่อน แกนนำสีเหลือง สีแดง ได้ใช้เวลาและสถานที่ที่ถูกกันไว้ให้ญาติมาเยี่ยม เป็นพบปะกันทั้งนิสิต สินธุไพร ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หมอเหวง แลกเปลี่ยนสถานการณ์กันอย่างถูกคอ หัวข้อหลักๆคือ “ ด่ารัฐบาลอภิสิทธิ์”
คนที่เข้าขาที่สุดเห็นจะเป็น “นิสิต ” เพราะมาจากดินแดนที่ราบสูงเหมือนกัน " นิสิต" อยู่ขอนแก่น "สมบูรณ์" อยู่ยโสธร ไชยวัฒน์ บุรีรัมย์ เจอะหน้ากันเลยเว้ากันม่วนหลาย
เมื่อพูดคุยภาษาเดียวกัน “ ไชยวัฒน์ ” ได้ยื่นข้อเสนอให้ “ นิสิต ” มาร่วมกันไล่รัฐบาล โดยพูดทีเล่นทีจริงว่าจองพื้นที่สะพานอรทัย ไว้ให้คนเสื้อแดง เพราะทั้งสองมุมสะพานชมัยมรุเชษฐ ก็มีเครือข่ายคนไทยฯ ส่วนสะพานมัฆวานรังสรรค์ ก็มีกลุ่มพันธมิตรฯ ถ้า “ มาตามนัด ” ก็เท่ากับว่าทำเนียบรัฐบาลจะถูก “ตีกระหนาบ” ทุกกำแพงเมือง
“ไชยวัฒน์ ” เผยหลังจากออกจากคุกว่า การเทียบเชิญเสื้อแดงให้เข้าร่วมการชุมนุมของตนครั้งนี้ เหมือนตอนที่เล่าปี่ ต้องไปคุกเข่าอ้อนวอนให้ขงเบ้งมาร่วมวางแผนรบกับโจโฉ
“ยอมรับว่าขณะนี้คุยกับคนเสื้อแดงง่ายกว่าคุยกับแกนนำพันธมิตรฯ ในบางสถานการณ์เราคุยกับศัตรูรู้เรื่องกว่าคุยกับมิตร แต่สุดแล้วทั้งเสื้อแดงและเสื้อแดงก็ยังคุยง่ายกว่าอภิสิทธิ์”
จริงๆแล้วแนวคิดเรื่อง “ผสมสี” แล้วโค่นรัฐบาล ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่ไป เพราะในระยะหลัง “ ไชยวัฒน์” มักจะปฎิบัติการ “ แหวกม่านประเพณี ” ดอดไปจับไม้จับมือกับ “คนเสื้อแดง” อยู่บ่อยครั้ง
เมื่อ “ถอดรหัส” ออกมาดูแล้วส่องดู “แก่นสาร” แล้วก็พบว่า แต่ละจังหวะที่ไชยวัฒน์ เคลื่อนอยู่นี้มาจาก “จินตนาการ” ที่แสนจะสุดเขตเสลดเป็ด ของไชยวัฒน์แอนด์เดอะแก๊ง
โมเดลการเมืองที่ว่านี้ “ เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” มี” พิมพ์เขียว ”เตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนจะมีเรื่องการจับกุม 7 คนไทย ผู้ที่กุมทิศทางของแผนนี้คือ “ทหารเกษียณ ” บวกพลังกับ “นักกฎหมายมือทอง” ซึ่งทั้งหมดถูก ”สนธิ ลิ้มทองกุล” เฉดหัวออกจาก “ จอเหลือง ” ด้วยประกาศิต “ ห้ามออกเด็ดขาด” ต้องย้ายไปสร้างรังใหม่ “ช่อง 13 สยามไท ” ขึ้นมาเป็นกระบอกเสียง
พอปักหลักปักฐานได้ คนกลุ่มนี้ก็วาดฉากการเมืองไทยไปสู่สิ่งที่เรียกว่าการ “ อภิวัฒน์” ซึ่งจะเป็นการปฎิวัติโดยประชาชน ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงการเมืองแบบ “ ถอนรากถอนโคน ” ยึดอำนาจจากนักการเมือง แล้วสถาปนากระบวนการที่เรียกว่า “ราชประชาสมาสัย” หมายถึงการร่วมมือกันระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชน และมี “รัฐบาลแห่งชาติ” เป็นจุดหมายปลายทาง
“ ไชยวัฒน์” เคยเปิดอกถึงสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ว่ามันคือการ “สามัคคีประชาชาติ” คือการหลอมรวมคนทุกสี ทุกอุดมการณ์ในสังคมไทยให้มารวมพลังกันเพื่อผลักดันให้เกิดการอภิวัฒน์ โดยทุกคนต้องหยุดมองผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มตัวเองแล้วมองถึงอนาคตของชาติ
“ผมตั้งเป้าว่าถ้าประชาชนออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาลครั้งนี้ได้ 1 ล้านคน ผมขอแค่ครึ่งวันเราจะเปลี่ยนแปลงการเมืองได้แบบถอนรากถอนโคน ล้างบางนักการเมืองชุดปัจจุบันให้เว้นวรรคทุกคน เพราะถือเป็นต้นเหตุของปัญหา แล้วสร้างบ้านสร้างเมืองกันใหม่”
ต้องจับตาดูว่า “เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ” จะผลักสูตรการเมืองนี้ ไปถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่ หรือเป็นแค่ฝันลมๆแล้งๆ ที่ไม่มีวันเป็นจริง !!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)