กว่า 113 ปีแห่งความสัมพันธ์ของ 2 ราชอาณาจักรไทยกับรัสเซีย ตั้งแต่ยุคสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ได้สานสัมพันธ์กับราชวงศ์โรมานอฟ ในยุคแห่งพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ของรัสเซีย
แม้ว่าในช่วงระยะเวลา 113 ปีที่ผ่านมา อาจจะมีบางช่วงบางเวลาที่ห่างเหินกันบ้างด้วยเงื่อนไขของระบบการปกครองที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยให้สอดรับกับกระแสการเมืองภาย ในของแต่ละประเทศ และสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นภาพของความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองรัฐ
คือในช่วงที่ต่างฝ่ายต่างเปลี่ยนแปลง การปกครอง คือในช่วงปี 2460 เมื่อรัสเซีย เกิดการปฏิวัติสังคมนิยม และสถาปนาประเทศสหภาพโซเวียต ก่อนที่เราจะเปลี่ยน ตัวเองมาเป็นประชาธิปไตย 15 ปี ไทยได้ถอนการมีผู้แทนทางการทูตที่ดูแลรัสเซีย และยุติความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ลงชั่วคราว หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายต่างดำเนิน ความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยความระมัดระวัง
แม้ว่าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือช่วงปี 2482 จะมีความพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ แต่ด้วยเรื่องของสงครามเย็นระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจทางโลกเสรี และคอมมิวนิสต์บีบบังคับให้กลุ่มโลกที่ 3 อย่างเราต้องเลือก ฝ่าย และมันก็ชัดเจนในคำตอบอยู่แล้วที่ประเทศไทยต้องยืนอยู่มุมขวา
แต่ภายหลังการล่มสลายของสหภาพ โซเวียต ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-รัสเซียกลับเจริญงอกงามขึ้นตามลำดับ มาจนถึงปัจจุบันลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างไทย-รัสเซียในปัจจุบัน เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ซึ่งงานนี้ต้องยกผลประโยชน์ให้อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยมีการเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการเมื่อ 2545
การเยือนรัสเซียของคุณทักษิณในครั้งนั้นก่อให้เกิดการกระชับความร่วมมือในทุกมิติและทุกสาขาในเวลาต่อมา โดยมีกลไกความสัมพันธ์ทวิภาคีด้านการเมืองเป็น เครื่องผลักดัน และนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในสาขาอื่นๆ ที่ลึกและรอบด้านยิ่งขึ้น
ก่อนที่จะเกิดข้อพิพาทของ “ลอร์ด ออฟ วอร์”....มร.วิคเตอร์ บูต อดีตสายลับ KGB ผู้กุมความลับขององค์กร ชายที่ได้ชื่อว่า “พ่อค้าแห่งความตาย” เชื่อกันว่าชายผู้นี้สามารถค้าขายได้กับทุกๆ คนที่พร้อม จะควักสตางค์จ่าย โดยไม่คำนึงถึงแนวคิด ทางการเมือง แม้กระทั่งกับกลุ่มที่ไม่น่าคบค้าอย่างตาลีบัน และชาร์ลส์ เทเลอร์ แห่งไลบีเรีย ยูเอ็น และสหรัฐ ก็เคยใช้ บริการการบินของลอร์ด ออฟ วอร์ ผู้นี้
และด้วยเหตุและผลนี้ ทำให้สหรัฐ อยากได้ตัว และต้องการตัวนายคนนี้มาก แต่ทว่า รัสเซียก็ต้องการนายคนนี้กลับ ไปที่รัสเซีย เพราะเชื่อได้ว่าหากสหรัฐได้ตัวไป สหรัฐจะเค้นข้อมูลทุกสิ่งอย่าง จากนายบูต ในเรื่องขององค์กรลับๆ หรือหน่วยงานในรัสเซียที่หนุนหลังอยู่ อย่างแน่นอน
และหลังจากที่ประเทศไทยตัดสินใจส่งตัวนายวิคเตอร์ บูต ให้กับ สหรัฐอเมริกา แน่นอนว่าทางรัสเซีย ต้องไม่พอใจเป็นอย่างมาก ถึงขนาดคำรามข้ามโลกมาว่าจะลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย และยกเลิก โครงการร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าเรื่องนี้ไม่จบ ง่ายๆ เพียงเท่านี้แน่ ทางรัสเซียต้องมีมาตรการตอบโต้ไทยให้ถึงที่สุดแน่
แม้ข่าวนี้จะเงียบหายไปจากกระแส ข่าวบ้านเราไปแล้ว...แต่อย่าลืมว่ายังมี นักลงทุนชาวไทยอีกหลายคนที่เข้าไปลงทุนในรัสเซีย และเชื่อว่างานนี้เขาเหล่านั้นอาจต้องตกเป็นเหยื่อของการ เมืองอย่างยากที่จะหนีพ้น...
ที่มา.สยามธุรกิจ
วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553
พี่สาวช่างภาพอิตาลีประณามทางการไทยฐานใช้เงินปิดปาก
จากเวปไซต์ข่าวมติชน
สำนัก ข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พี่สาวของช่างภาพชาวอิตาเลี่ยน ซึ่งเสียชีวิตในเหตุการณ์ความวุ่นวายในกรุงเทพฯเมื่อช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม ที่ผ่านมา กล่าวหาทางการไทยต่อความพยายามในการ “ยัดเยียดเงิน” เพื่อ “ปิดปาก”ตนเอง ในจดหมายซึ่งมีการเปิดเผยในวันนี้ (3 ธค.)
น.ส.เอลิซาเบทต้า โปเลนกี พี่สาวของนายฟาบิโอ โปเลนกี ซึ่งเป็นช่างภาพอิสระ ที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา จากเหตุการสลายการชุมนุมของกลุ่ม “คนเสื้อแดง” ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เขียนในจดหมายฉบับดังกล่าวว่า
“แน่นอนที่สุด สถาบันต่างๆในประเทศไทยได้เสนอเงินช่วยเหลือเราอย่างที่ทุกคนรู้กัน” นส.เอลิซาเบทต้า กล่าวในจดหมายซึ่งจ่าหน้าถึงนายสมศักดิ์ สุริยวงศ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม โดยเธออธิบายเพิ่มเติมว่า คนเหล่านั้นได้เสนอเงินให้เธอ “อย่างไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง” และกล่าวว่า “เราเชื่อว่านี่เป็นความพยายามอย่างชัดเจนในการปิดปากของเรา และตอบแทนศักดิ์ศรีให้กับฟาบิโอของเราด้วยเงินเพียงเล็กน้อย”
นายฟาบิโอ โปเลนชี ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างทำงานในฐานะช่างภาพ อิสระ ในระหว่างการชุมนุมประท้วงโดยกลุ่ม “คนเสื้อแดง” ในย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งกินเวลานานถึง 2 เดือน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 ราย และบาดเจ็บอีกเกือบ 1,900 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือน
โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้กล่าวว่า กองทัพน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนจำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงนายฮิโร มุราโมโตะ ช่างภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์ แต่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตรายอื่นๆยังคงมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ
จดหมายของนส.เอลิซาเบทต้า โปเลนชี ซึ่งถูกส่งไปยังสถานทูตไทยในกรุงโรม หลังที่เธอได้รับจดหมายเชิญให้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันพระ ราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในประเทศไทย กล่าวในตอนหนึ่งว่า ทางการไทย “ไม่แม้แต่เพียงนิดเดียวที่จะตระหนักถึงความร้ายแรงของสถานการณ์” ที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอ
“หลังจากผ่านมามากกว่า 6 เดือน เราก็ยังคงไม่ทราบถึงเหตุการณ์การเสียชีวิตของฟาบิโอ และผลการสืบสวนโดยทางการไทยแต่อย่างใด”
“ความพยายามของทางการไทย ในความรู้สึกของฉัน ยังไม่นับว่าเป็นที่น่าพอใจ และละเอียดถี่ถ้วนพอ” นส.เอลิซาเบทต้ากล่าว
อย่างไรก็ตาม เธอได้ถวายพระพรแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในโอกาสเนื่องในวันที่ 5 ธันวาคมด้วย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
น.ส.เอลิซาเบทต้า โปเลนกี พี่สาวของนายฟาบิโอ โปเลนกี ซึ่งเป็นช่างภาพอิสระ ที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา จากเหตุการสลายการชุมนุมของกลุ่ม “คนเสื้อแดง” ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เขียนในจดหมายฉบับดังกล่าวว่า
“แน่นอนที่สุด สถาบันต่างๆในประเทศไทยได้เสนอเงินช่วยเหลือเราอย่างที่ทุกคนรู้กัน” นส.เอลิซาเบทต้า กล่าวในจดหมายซึ่งจ่าหน้าถึงนายสมศักดิ์ สุริยวงศ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม โดยเธออธิบายเพิ่มเติมว่า คนเหล่านั้นได้เสนอเงินให้เธอ “อย่างไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง” และกล่าวว่า “เราเชื่อว่านี่เป็นความพยายามอย่างชัดเจนในการปิดปากของเรา และตอบแทนศักดิ์ศรีให้กับฟาบิโอของเราด้วยเงินเพียงเล็กน้อย”
นายฟาบิโอ โปเลนชี ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างทำงานในฐานะช่างภาพ อิสระ ในระหว่างการชุมนุมประท้วงโดยกลุ่ม “คนเสื้อแดง” ในย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งกินเวลานานถึง 2 เดือน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 ราย และบาดเจ็บอีกเกือบ 1,900 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือน
โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้กล่าวว่า กองทัพน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนจำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงนายฮิโร มุราโมโตะ ช่างภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์ แต่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตรายอื่นๆยังคงมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ
จดหมายของนส.เอลิซาเบทต้า โปเลนชี ซึ่งถูกส่งไปยังสถานทูตไทยในกรุงโรม หลังที่เธอได้รับจดหมายเชิญให้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันพระ ราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในประเทศไทย กล่าวในตอนหนึ่งว่า ทางการไทย “ไม่แม้แต่เพียงนิดเดียวที่จะตระหนักถึงความร้ายแรงของสถานการณ์” ที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอ
“หลังจากผ่านมามากกว่า 6 เดือน เราก็ยังคงไม่ทราบถึงเหตุการณ์การเสียชีวิตของฟาบิโอ และผลการสืบสวนโดยทางการไทยแต่อย่างใด”
“ความพยายามของทางการไทย ในความรู้สึกของฉัน ยังไม่นับว่าเป็นที่น่าพอใจ และละเอียดถี่ถ้วนพอ” นส.เอลิซาเบทต้ากล่าว
อย่างไรก็ตาม เธอได้ถวายพระพรแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในโอกาสเนื่องในวันที่ 5 ธันวาคมด้วย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553
4 ปัจจัยบวก 4 ปัจจัยฉุด การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย ในสายตา "ดร.โกร่ง" วีรพงษ์ รามางกูร
"อย่าคิดว่าเรามีแต่ปัจจัยลบ ทั้งที่เรามีปัจจัยบวกที่ดีกว่าประเทศอื่นอยู่มาก"
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมโรงแรมสยามซิตี้ นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นักการเมืองรุ่นใหม่-กับแนวทางพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน และมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์
นายวีรพงษ์ หรือ ดร.โกร่ง กล่าวถึงความสำคัญในส่วนของการเมืองที่เป็นปัจจัยในการพัฒนาประเทศไปสู่ระบบประชาธิปไตย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในด้านการผลิต การโทรคมนาคม และสื่อสารมวลชน ที่ได้ทำลายกำแพงของระบอบประชาธิปไตยแบบปิด และทำให้สังคมที่พยายามฝืนกระแสโลกาภิวัฒน์จะประสบกับปัญหาต่างๆ ทั้งในเรื่องการชะงักงันทางเศรษฐกิจ และการต่อต้านจากสังคมโลก จึงไม่แปลกที่จะรู้สึกว่าทั่วโลกมีความตระหนักถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
นายวีรพงษ์ กล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการเปลี่ยนระบอบการปกครองของไทย จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี 2475 ซึ่งถูกต่อต้านมาโดยตลอดว่า “สังคมไทยไม่สามารถพัฒนาประเทศตามแนวทางประชาธิปไตย” ซึ่งในความเห็นส่วนตัว นายวีระพงษ์ ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยในขณะนั้น “เอื้อ” ต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไม่แพ้ชาติอื่นๆในโลก นั่นคือคุณลักษณะ 4 ประการที่คนไทยไม่เหมือนชาติ
1) ความอดทนอดกลั้น ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันความเป็นคนไทยที่ไม่มีความขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติ ภูมิภาค เช่นคนจีนที่เข้ามาในเมืองไทยและได้รับการยอมรับ ความอดทนต่อความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ และภาษา รวมทั้งการยอมรับในคำตัดสินของศาลโดยปราศจากกาสรต่อต้าน
2) คนไทยรู้จักประสานผลประโยชน์ เพราะในยุคที่มีการล่าอาณานิคม สิ่งที่คนไทยทำคือเราพยายามสร้างความประนีประนอมต่อต่างชาติ ในขณะที่ชาติประเทศเพื่อนบ้านของเราและอีกหลายประเทศทั่วโลกจับอาวุธขึ้นต่อต้าน จึงทำให้ไม่เกิดความรุนแรงขึ้นง่ายๆในสังคมไทย นอกเสียจากว่าสถานการณ์จะมีความสุกงอมจริงๆ และด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีเขียนไว้ในแบบเรียนของประเทศเพื่อนบ้านของเราว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่เดินตามมหาอำนาจ” คือเวลาที่จีนเป็นใหญ่ เราก็เดินตามจีน สหรัฐเป็นใหญ่ เราก็เดินตามสหรัฐ ซึ่งเราทำเช่นนั้นมาโดยตลอด แม้ว่าทุกวันนี้เราจะยังไม่แน่ใจว่าควรจะเดินตามใครก็ตาม
3) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งสิ่งที่สะท้อนออกมาชัดเจนที่สุดคือ ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดการใช้เวลาไม่ถึง 100 ปี ก็มีความกลมกลืนกันมากในประเทศ ซึ่งต่างจากประเทศเพื่อนของเราหลายๆประเทศที่ยังมีการแบ่งเขตภูมิภาค และการสู้รบตามแนวชายแดน รวมทั้งการไต่เต้าในสังคมด้วยการศึกษาและระบบอาชีพที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนชั้นปกครองเท่านั้น จึงทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้คนทุกระดับได้สร้างทางเดินให้ตัวเอง แม้ว่าจะมีการใช้ฐานะและลักษณะอาชีพเป็นตัวแบ่ง แต่ก็ยังไม่สร้างความเสียหายรุนแรง ยกเว้นจะมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีเรื่องที่เป่าให้ฟุ้งขึ้นมาจนรู้ถึงความไม่ชอบธรรม แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ถูกโหมจนรุนแรงและลุกลาม เหมือนกับการ เหยียดสีผิวหรือศาสนาในต่างประเทศ
4) สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดตัวต่อวัฒนธรรมของโลก ที่จะเห็นได้จากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ทำให้เราได้เปิดหู เปิดตา และโอนอ่อนต่อวัฒนธรรมต่างๆที่เข้ามา จึงทำให้เราสามารถเทียบตัวเองให้เท่ากับนานาอารยประเทศ และหมายความว่าเราเองไม่ได้ยึดติดกับสิ่งต่างมากนักซึ่งจะส่งผลให้การปิดกั้นทางความคิด ข้อมูลข่าวสาร และการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ทำได้ยาก หรือทำไม้ได้นาน เพราะสังคมไทยเปลี่ยนตัวเองเป็นสังคมเปิดแล้ว
ทั้งนี้ นายวีระพงษ์ รามางกูร ยืนยันว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะทั้ง 4 ประการนั้น เป็นปัจจัยที่มีอยู่จริง และเป็นสิ่งที่ยืนยันความเหมาะต่อการพัฒนาสังคมไทยไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
ปัจจัยต่อมาที่นายวีระพงษ์ ชี้ให้เราเห็นคือ การพัฒนาการเมืองที่เราทำได้ง่ายกว่าประเทศอื่น เพราะเป็นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุการณ์หลังการปฏิวัติของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่หลายคนมองว่าเป็นการทำให้การเมืองไทยเดินถอยหลัง แต่ในข้อเท็จจริงคือ การปฏิวัติครั้งนั้นทำให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และมีการแบ่งแยกไม่ให้รัฐกับเอกชนแข่งขันกันเอง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการยกเว้นภาษีขาออกในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทำให้สินค้าเกษตรของไทยมีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากการอิงราคาตลาดโลก รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการเปลี่ยนในชนบทซึ่งเป็นผลจากการทำงานของ 4 กระทรวงในสมัยนั้น โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขที่มีบทบาทมากที่ในการพัฒนาด้านความเป็นอยู่ต่างๆ ในขณะที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความล่าช้าและไม่สามารถทำตามเป้าประสงค์ต่างๆที่วางไว้ได้ แต่ถึงอย่างนั้นการส่งเสริมการลงทุนให้เกิดเปลี่ยนแปลงในชนบทครั้งนั้น ทำให้พื้นที่ชนบทหายไปกว่า 90% รวมทั้งการนำไฟฟ้าเข้าไปสู่ชนบท ทำให้การไหลของข้อมูลเริ่มกระจายมากขึ้น การขนส่งต่างๆมีความทันสมัย และนำไปสู่การล่มสลายของชีวิตชนบทแบบเดิม โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้นในภาคธุรกิจและการค้าขาย
นอกจากนี้ นายวีระพงษ์ ยังกล่าวถึงเหตุการณ์ในปี พ.ศ.2475 ว่าการปกครองในขณะนั้นยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง อีกทั้งสภาในยุคนั้นยังถูกครอบงำโดยคณะราษฎร แม้ว่าสิ่งที่คณะราษฎรพยายามทำในขณะนั้นคือการทำให้คนไทยมีความยึดมั่นในรัฐธรรมนูญ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน แต่ก็มาถูกจอมพลผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจอีกครั้ง จนต้องกลับไปเริ่มต้นกันใหม่ แม้ว่าจะยังมีรัฐธรรมนูญแต่ก็เหมือนไม่มี และแม้แต่ว่าในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เราก็ยังมีรัฐธรรมนูญแบบครึ่งใบ เพื่อคานอำนาจระหว่างรัฐบาลและทหาร จนกระทั้งเกิดการปฏิวัติขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 ที่หลายคนคิดว่าจะเป็นครั้งซสุดท้าย แต่ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เหตุการณ์เดิมก็เกิดขึ้นอีก
สิ่งที่นายวีระพงษ์ รามางกูรตั้งข้อสังเกตไว้คือ "ทั้งที่เรามีความพร้อมทุกอย่าง ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ แต่ทำไมเราจึงยังไม่สามารถพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยได้"?
นายวีระพงษ์ไขข้อสงสัยดังกล่าว โดยปัจจัยที่เป็นเหมือนตัวฉุดการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยว่า ประกอบด้วย
1) กลุ่มปัญญาชน ซึ่งถ้าพูดถึงปัญญาชนในอดีตนั้น เป็นเหมือนผู้กล้า เป็นผู้นำทางความคิดและจิตวิญญาณของประชาธิปไตย แต่หลังจากในปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน ปัญญาชนของเรามีความอ่อนแอลง ไม่มีความกล้าและขาดจริยธรรมทางความคิดที่ต้องมีการทบทวนถึงบทบาทของตนเองอีกครั้ง
2) พรรคการเมือง ที่เป็นเฟืองจักรสำคัญในการพัฒนาและผลักดันกลไกของประชาธิปไตย แต่ที่ผ่านมาพรรคการเมืองไทยนั้นล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด ส่วนที่ไม่ล้มไม่ลุกก็เป็นพรรคที่ไม่มีความกล้าที่จะแสดงออกทางการเมือง อีกทั้งการใช้ระบบการเมืองเพื่อทำลายกันเอง ส่งผลให้วัฒนธรรมทางการเมืองที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาการเมืองและประชาธิปไตยอ่อนแอลง
3) สื่อมวลชน ที่เป็นผู้ถ่ายทอดความคิดของปัญญาชนและนโยบายของฝ่ายการเมืองให้ประชาชนรับรู้ แต่ที่ผ่านมาเราไม่เห็นบทบาทดังกล่าวของสื่อในปัจจุบัน ยิ่งเมื่อเทียบกับสื่อในสมัยรัฐกาลที่ 6-7 ที่มีความกล้าหาญและมีอุดมการณ์มากกว่านี้
4) กองทัพ ในปัจจุบันที่มีความอนุรักษ์นิยมมากเกินไป มองอนาคตใกล้เกินไป ทั้งในเรื่องการเมืองและสังคม ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการอบรม หล่อหลอมทางการศึกษา
นายวีระพงษ์ รามางกูร ได้กล่าวทิ้งท้ายถึงการพัฒนาการเมืองในกระแสประชาธิปไตยว่า อย่าคิดว่าเรามีแต่ปัจจัยลบ ทั้งที่เรามีปัจจัยบวกที่ดีกว่าประเทศอื่นอยู่มาก แต่ด้วยกลไกต่างๆที่กล่าวมา คนรุ่นใหม่ต้องรับรู้ในบทบาทเหล่านี้ และนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมาปรับเพื่อการพัฒนาและผลักดันระบอบประชาธิปไตยในประเทศ
ทีามา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมโรงแรมสยามซิตี้ นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นักการเมืองรุ่นใหม่-กับแนวทางพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน และมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์
นายวีรพงษ์ หรือ ดร.โกร่ง กล่าวถึงความสำคัญในส่วนของการเมืองที่เป็นปัจจัยในการพัฒนาประเทศไปสู่ระบบประชาธิปไตย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในด้านการผลิต การโทรคมนาคม และสื่อสารมวลชน ที่ได้ทำลายกำแพงของระบอบประชาธิปไตยแบบปิด และทำให้สังคมที่พยายามฝืนกระแสโลกาภิวัฒน์จะประสบกับปัญหาต่างๆ ทั้งในเรื่องการชะงักงันทางเศรษฐกิจ และการต่อต้านจากสังคมโลก จึงไม่แปลกที่จะรู้สึกว่าทั่วโลกมีความตระหนักถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
นายวีรพงษ์ กล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการเปลี่ยนระบอบการปกครองของไทย จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี 2475 ซึ่งถูกต่อต้านมาโดยตลอดว่า “สังคมไทยไม่สามารถพัฒนาประเทศตามแนวทางประชาธิปไตย” ซึ่งในความเห็นส่วนตัว นายวีระพงษ์ ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยในขณะนั้น “เอื้อ” ต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไม่แพ้ชาติอื่นๆในโลก นั่นคือคุณลักษณะ 4 ประการที่คนไทยไม่เหมือนชาติ
1) ความอดทนอดกลั้น ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันความเป็นคนไทยที่ไม่มีความขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติ ภูมิภาค เช่นคนจีนที่เข้ามาในเมืองไทยและได้รับการยอมรับ ความอดทนต่อความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ และภาษา รวมทั้งการยอมรับในคำตัดสินของศาลโดยปราศจากกาสรต่อต้าน
2) คนไทยรู้จักประสานผลประโยชน์ เพราะในยุคที่มีการล่าอาณานิคม สิ่งที่คนไทยทำคือเราพยายามสร้างความประนีประนอมต่อต่างชาติ ในขณะที่ชาติประเทศเพื่อนบ้านของเราและอีกหลายประเทศทั่วโลกจับอาวุธขึ้นต่อต้าน จึงทำให้ไม่เกิดความรุนแรงขึ้นง่ายๆในสังคมไทย นอกเสียจากว่าสถานการณ์จะมีความสุกงอมจริงๆ และด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีเขียนไว้ในแบบเรียนของประเทศเพื่อนบ้านของเราว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่เดินตามมหาอำนาจ” คือเวลาที่จีนเป็นใหญ่ เราก็เดินตามจีน สหรัฐเป็นใหญ่ เราก็เดินตามสหรัฐ ซึ่งเราทำเช่นนั้นมาโดยตลอด แม้ว่าทุกวันนี้เราจะยังไม่แน่ใจว่าควรจะเดินตามใครก็ตาม
3) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งสิ่งที่สะท้อนออกมาชัดเจนที่สุดคือ ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดการใช้เวลาไม่ถึง 100 ปี ก็มีความกลมกลืนกันมากในประเทศ ซึ่งต่างจากประเทศเพื่อนของเราหลายๆประเทศที่ยังมีการแบ่งเขตภูมิภาค และการสู้รบตามแนวชายแดน รวมทั้งการไต่เต้าในสังคมด้วยการศึกษาและระบบอาชีพที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนชั้นปกครองเท่านั้น จึงทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้คนทุกระดับได้สร้างทางเดินให้ตัวเอง แม้ว่าจะมีการใช้ฐานะและลักษณะอาชีพเป็นตัวแบ่ง แต่ก็ยังไม่สร้างความเสียหายรุนแรง ยกเว้นจะมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีเรื่องที่เป่าให้ฟุ้งขึ้นมาจนรู้ถึงความไม่ชอบธรรม แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ถูกโหมจนรุนแรงและลุกลาม เหมือนกับการ เหยียดสีผิวหรือศาสนาในต่างประเทศ
4) สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดตัวต่อวัฒนธรรมของโลก ที่จะเห็นได้จากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ทำให้เราได้เปิดหู เปิดตา และโอนอ่อนต่อวัฒนธรรมต่างๆที่เข้ามา จึงทำให้เราสามารถเทียบตัวเองให้เท่ากับนานาอารยประเทศ และหมายความว่าเราเองไม่ได้ยึดติดกับสิ่งต่างมากนักซึ่งจะส่งผลให้การปิดกั้นทางความคิด ข้อมูลข่าวสาร และการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ทำได้ยาก หรือทำไม้ได้นาน เพราะสังคมไทยเปลี่ยนตัวเองเป็นสังคมเปิดแล้ว
ทั้งนี้ นายวีระพงษ์ รามางกูร ยืนยันว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะทั้ง 4 ประการนั้น เป็นปัจจัยที่มีอยู่จริง และเป็นสิ่งที่ยืนยันความเหมาะต่อการพัฒนาสังคมไทยไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
ปัจจัยต่อมาที่นายวีระพงษ์ ชี้ให้เราเห็นคือ การพัฒนาการเมืองที่เราทำได้ง่ายกว่าประเทศอื่น เพราะเป็นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุการณ์หลังการปฏิวัติของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่หลายคนมองว่าเป็นการทำให้การเมืองไทยเดินถอยหลัง แต่ในข้อเท็จจริงคือ การปฏิวัติครั้งนั้นทำให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และมีการแบ่งแยกไม่ให้รัฐกับเอกชนแข่งขันกันเอง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการยกเว้นภาษีขาออกในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทำให้สินค้าเกษตรของไทยมีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากการอิงราคาตลาดโลก รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการเปลี่ยนในชนบทซึ่งเป็นผลจากการทำงานของ 4 กระทรวงในสมัยนั้น โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขที่มีบทบาทมากที่ในการพัฒนาด้านความเป็นอยู่ต่างๆ ในขณะที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความล่าช้าและไม่สามารถทำตามเป้าประสงค์ต่างๆที่วางไว้ได้ แต่ถึงอย่างนั้นการส่งเสริมการลงทุนให้เกิดเปลี่ยนแปลงในชนบทครั้งนั้น ทำให้พื้นที่ชนบทหายไปกว่า 90% รวมทั้งการนำไฟฟ้าเข้าไปสู่ชนบท ทำให้การไหลของข้อมูลเริ่มกระจายมากขึ้น การขนส่งต่างๆมีความทันสมัย และนำไปสู่การล่มสลายของชีวิตชนบทแบบเดิม โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้นในภาคธุรกิจและการค้าขาย
นอกจากนี้ นายวีระพงษ์ ยังกล่าวถึงเหตุการณ์ในปี พ.ศ.2475 ว่าการปกครองในขณะนั้นยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง อีกทั้งสภาในยุคนั้นยังถูกครอบงำโดยคณะราษฎร แม้ว่าสิ่งที่คณะราษฎรพยายามทำในขณะนั้นคือการทำให้คนไทยมีความยึดมั่นในรัฐธรรมนูญ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน แต่ก็มาถูกจอมพลผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจอีกครั้ง จนต้องกลับไปเริ่มต้นกันใหม่ แม้ว่าจะยังมีรัฐธรรมนูญแต่ก็เหมือนไม่มี และแม้แต่ว่าในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เราก็ยังมีรัฐธรรมนูญแบบครึ่งใบ เพื่อคานอำนาจระหว่างรัฐบาลและทหาร จนกระทั้งเกิดการปฏิวัติขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 ที่หลายคนคิดว่าจะเป็นครั้งซสุดท้าย แต่ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เหตุการณ์เดิมก็เกิดขึ้นอีก
สิ่งที่นายวีระพงษ์ รามางกูรตั้งข้อสังเกตไว้คือ "ทั้งที่เรามีความพร้อมทุกอย่าง ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ แต่ทำไมเราจึงยังไม่สามารถพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยได้"?
นายวีระพงษ์ไขข้อสงสัยดังกล่าว โดยปัจจัยที่เป็นเหมือนตัวฉุดการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยว่า ประกอบด้วย
1) กลุ่มปัญญาชน ซึ่งถ้าพูดถึงปัญญาชนในอดีตนั้น เป็นเหมือนผู้กล้า เป็นผู้นำทางความคิดและจิตวิญญาณของประชาธิปไตย แต่หลังจากในปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน ปัญญาชนของเรามีความอ่อนแอลง ไม่มีความกล้าและขาดจริยธรรมทางความคิดที่ต้องมีการทบทวนถึงบทบาทของตนเองอีกครั้ง
2) พรรคการเมือง ที่เป็นเฟืองจักรสำคัญในการพัฒนาและผลักดันกลไกของประชาธิปไตย แต่ที่ผ่านมาพรรคการเมืองไทยนั้นล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด ส่วนที่ไม่ล้มไม่ลุกก็เป็นพรรคที่ไม่มีความกล้าที่จะแสดงออกทางการเมือง อีกทั้งการใช้ระบบการเมืองเพื่อทำลายกันเอง ส่งผลให้วัฒนธรรมทางการเมืองที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาการเมืองและประชาธิปไตยอ่อนแอลง
3) สื่อมวลชน ที่เป็นผู้ถ่ายทอดความคิดของปัญญาชนและนโยบายของฝ่ายการเมืองให้ประชาชนรับรู้ แต่ที่ผ่านมาเราไม่เห็นบทบาทดังกล่าวของสื่อในปัจจุบัน ยิ่งเมื่อเทียบกับสื่อในสมัยรัฐกาลที่ 6-7 ที่มีความกล้าหาญและมีอุดมการณ์มากกว่านี้
4) กองทัพ ในปัจจุบันที่มีความอนุรักษ์นิยมมากเกินไป มองอนาคตใกล้เกินไป ทั้งในเรื่องการเมืองและสังคม ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการอบรม หล่อหลอมทางการศึกษา
นายวีระพงษ์ รามางกูร ได้กล่าวทิ้งท้ายถึงการพัฒนาการเมืองในกระแสประชาธิปไตยว่า อย่าคิดว่าเรามีแต่ปัจจัยลบ ทั้งที่เรามีปัจจัยบวกที่ดีกว่าประเทศอื่นอยู่มาก แต่ด้วยกลไกต่างๆที่กล่าวมา คนรุ่นใหม่ต้องรับรู้ในบทบาทเหล่านี้ และนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมาปรับเพื่อการพัฒนาและผลักดันระบอบประชาธิปไตยในประเทศ
ทีามา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
"บัญญัติ"ปูดแผน"คนบางกลุ่ม"บี้ตุลาการถอนตัวคดี258ล้าน ยกปมดีเอสไอสั่งไม่ฟ้อง"ไซฟ่อนเงิน"สู้
"บัญญัติ"รับคดี258ล.ไม่ง่าย
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค กล่าวถึงกระแสข่าวเปลี่ยนแปลงหัวหน้าทีมกฎหมายเพื่อต่อสู้คดียุบพรรคว่า ไม่มี คิดว่านายชวนเหมาะสมกว่าใคร มีความรอบรู้ในเรื่องนี้อย่างดี จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนตัวแต่อย่างใด เมื่อถามถึงแนวทางสู้คดี 258 ล้านบาท นายบัญญัติกล่าวว่า ต้องรอฟังศาลวันที่ 9 ธันวาคมนี้ ซึ่งจะกำหนดประเด็นของคดี รวมถึงพยาน หลักฐานใครจะสืบประเด็นใด เข้าใจว่าคดี 258 ล้านบาท พยานหลักฐานมีส่วนเกี่ยวพันกับคดี 29 ล้านบาทอยู่แล้ว แต่ก็คงไม่ได้ช่วยให้การทำคดีง่าย แต่อาจทำให้ระยะเวลาของคดีสั้นลง เพราะหลายเรื่องมีการนำสืบพยานบางส่วนไปแล้ว
แจงแทนศาลรธน.รีบชี้ข้อกม.
นายบัญญัติยังกล่าวถึงที่มีการพูดว่าทำไมศาลถึงรีบรวบรัดตัดความวินิจฉัยประเด็นปัญหาเรื่องข้อกฎหมายเสียก่อน อยากทำความเข้าใจว่าศาลจะวินิจฉัยข้อกฎหมายก่อน เพราะจะช่วยร่นระยะเวลา ส่วนที่บางคนสงสัยว่าในเมื่อข้อกฎหมายมีอยู่แล้ว ทำไมไม่เร่งวินิจฉัยตั้งแต่ต้น เรื่องนี้ศาลจำเป็นที่จะต้องเปิดโอกาสให้การชี้แจงข้อเท็จจริงก่อน ก็จะไม่ทราบว่ามีความเกี่ยวข้องกับอายุความอย่างไร ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงที่มีการนำสืบกัน นายทะเบียนพรรคการเมืองให้ความเห็นแล้วหรือยัง แล้วเห็นว่ามีความผิดตั้งแต่เมื่อใด กรณีเช่นนี้ถ้าไม่สืบข้อเท็จจริงก่อน ศาลก็ไม่มีทางทราบ ดังนั้น จึงไม่อยากให้ไปตำหนิศาล เพราะถ้าไปทำให้ประชาชนไม่เข้าใจก็จะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ทางการเมือง
ปูดแผนคนบี้ตุลาการถอนตัว
นายบัญญัติยังกล่าวว่า ความรู้สึกของ กกต.ลักษณะลงโทษซึ่งกันและกัน เรื่องแบบนี้ไม่เป็นประโยชน์ ทำไม กกต.ไม่มีความรู้สึกว่าตัวเองกำลังทำหน้าที่คล้ายกับพนักงานอัยการคือคนที่มีหน้าที่ฟ้องคดีอาญาต่อศาล ซึ่งแน่นอนว่าทุกคดีที่ฟ้องไม่ได้ชนะทุกคดี คือถ้าคิดว่าตัวเองทำดีแล้ว เมื่อศาลไม่เห็นด้วยก็ต้องจบกัน ซึ่งดีกว่าการมานั่งตีโพยตีพาย เพราะนอกเหนือจะมีปัญหากันเองแล้ว ยังทำให้คนสับสนมากขึ้น และดีไม่ดีอาจกระทบไปถึงสถานะของ กกต.ในฐานะที่เป็นองค์กรอิสระเองด้วย
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวกดดันตุลาการที่ตัดสินคดี 29 ล้านบาทถอนตัวออกจากคดี 258 ล้านบาท นายบัญญัติกล่าวว่า ตราบใดที่คดียังไม่จบ การเรียกร้องให้ตุลาการถอนตัว บางส่วนอาจจะมีความคิดในทางสุจริตอยู่บ้าง ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นแผนการทางการเมืองของคนบางกลุ่ม ซึ่งมีความพยายามที่จะให้ตุลาการถอนตัวตั้งแต่ต้น อยากให้ระมัดระวัง
ยกปมดีเอสไอไม่ฟ้องไซฟ่อนสู้
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมากรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เคยสั่งไม่ฟ้องคดีบริษัท ทีพีไอฯ ไซฟ่อนเงิน จะเป็นโอกาสที่ ปชป.ชนะคดีได้หรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า จะบอกว่าชนะเสียทีเดียวคงพูดไม่ได้ จนกว่าศาลจะวินิจฉัย แต่ในทางคดีถือว่ามีน้ำหนักเหมือนกัน ส่วนพรรคจะใช้ประเด็นไหนไปสู้ ตนขอให้คณะผู้ว่าคดีได้คุยกันเสียก่อน ที่สำคัญต้องรอศาลวันที่ 9 ธันวาคมนี้
ที่มา.มติชน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค กล่าวถึงกระแสข่าวเปลี่ยนแปลงหัวหน้าทีมกฎหมายเพื่อต่อสู้คดียุบพรรคว่า ไม่มี คิดว่านายชวนเหมาะสมกว่าใคร มีความรอบรู้ในเรื่องนี้อย่างดี จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนตัวแต่อย่างใด เมื่อถามถึงแนวทางสู้คดี 258 ล้านบาท นายบัญญัติกล่าวว่า ต้องรอฟังศาลวันที่ 9 ธันวาคมนี้ ซึ่งจะกำหนดประเด็นของคดี รวมถึงพยาน หลักฐานใครจะสืบประเด็นใด เข้าใจว่าคดี 258 ล้านบาท พยานหลักฐานมีส่วนเกี่ยวพันกับคดี 29 ล้านบาทอยู่แล้ว แต่ก็คงไม่ได้ช่วยให้การทำคดีง่าย แต่อาจทำให้ระยะเวลาของคดีสั้นลง เพราะหลายเรื่องมีการนำสืบพยานบางส่วนไปแล้ว
แจงแทนศาลรธน.รีบชี้ข้อกม.
นายบัญญัติยังกล่าวถึงที่มีการพูดว่าทำไมศาลถึงรีบรวบรัดตัดความวินิจฉัยประเด็นปัญหาเรื่องข้อกฎหมายเสียก่อน อยากทำความเข้าใจว่าศาลจะวินิจฉัยข้อกฎหมายก่อน เพราะจะช่วยร่นระยะเวลา ส่วนที่บางคนสงสัยว่าในเมื่อข้อกฎหมายมีอยู่แล้ว ทำไมไม่เร่งวินิจฉัยตั้งแต่ต้น เรื่องนี้ศาลจำเป็นที่จะต้องเปิดโอกาสให้การชี้แจงข้อเท็จจริงก่อน ก็จะไม่ทราบว่ามีความเกี่ยวข้องกับอายุความอย่างไร ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงที่มีการนำสืบกัน นายทะเบียนพรรคการเมืองให้ความเห็นแล้วหรือยัง แล้วเห็นว่ามีความผิดตั้งแต่เมื่อใด กรณีเช่นนี้ถ้าไม่สืบข้อเท็จจริงก่อน ศาลก็ไม่มีทางทราบ ดังนั้น จึงไม่อยากให้ไปตำหนิศาล เพราะถ้าไปทำให้ประชาชนไม่เข้าใจก็จะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ทางการเมือง
ปูดแผนคนบี้ตุลาการถอนตัว
นายบัญญัติยังกล่าวว่า ความรู้สึกของ กกต.ลักษณะลงโทษซึ่งกันและกัน เรื่องแบบนี้ไม่เป็นประโยชน์ ทำไม กกต.ไม่มีความรู้สึกว่าตัวเองกำลังทำหน้าที่คล้ายกับพนักงานอัยการคือคนที่มีหน้าที่ฟ้องคดีอาญาต่อศาล ซึ่งแน่นอนว่าทุกคดีที่ฟ้องไม่ได้ชนะทุกคดี คือถ้าคิดว่าตัวเองทำดีแล้ว เมื่อศาลไม่เห็นด้วยก็ต้องจบกัน ซึ่งดีกว่าการมานั่งตีโพยตีพาย เพราะนอกเหนือจะมีปัญหากันเองแล้ว ยังทำให้คนสับสนมากขึ้น และดีไม่ดีอาจกระทบไปถึงสถานะของ กกต.ในฐานะที่เป็นองค์กรอิสระเองด้วย
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวกดดันตุลาการที่ตัดสินคดี 29 ล้านบาทถอนตัวออกจากคดี 258 ล้านบาท นายบัญญัติกล่าวว่า ตราบใดที่คดียังไม่จบ การเรียกร้องให้ตุลาการถอนตัว บางส่วนอาจจะมีความคิดในทางสุจริตอยู่บ้าง ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นแผนการทางการเมืองของคนบางกลุ่ม ซึ่งมีความพยายามที่จะให้ตุลาการถอนตัวตั้งแต่ต้น อยากให้ระมัดระวัง
ยกปมดีเอสไอไม่ฟ้องไซฟ่อนสู้
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมากรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เคยสั่งไม่ฟ้องคดีบริษัท ทีพีไอฯ ไซฟ่อนเงิน จะเป็นโอกาสที่ ปชป.ชนะคดีได้หรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า จะบอกว่าชนะเสียทีเดียวคงพูดไม่ได้ จนกว่าศาลจะวินิจฉัย แต่ในทางคดีถือว่ามีน้ำหนักเหมือนกัน ส่วนพรรคจะใช้ประเด็นไหนไปสู้ ตนขอให้คณะผู้ว่าคดีได้คุยกันเสียก่อน ที่สำคัญต้องรอศาลวันที่ 9 ธันวาคมนี้
ที่มา.มติชน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม)
นิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หมายเหตุจากผู้เขียน:
ความเห็นฉบับนี้เขียนขึ้นช่วงข้ามคืน ยังพร่องในความสมบูรณ์และหวังจะได้ปรับปรุงต่อไปในอนาคต หากผู้อ่านมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อติติง ขอน้อมรับฟังที่ verapat@post.harvard.edu. ประเด็นวิชาการบางส่วนความเห็นในฉบับนี้ ได้เคยนำเสนอไว้แล้วในวิทยานิพนธ์ สืบค้นได้ที่ Google: “Verapat Harvard Paper” อนึ่ง “มาตรา” และ “กฎหมาย” ที่กล่าวถึงในความเห็นนี้ หมายถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ (สำเนาดูได้ที่ http://www.parliament.go.th/mp2550/asset/law_party.pdf) เว้นแต่บริบทจะแสดงเป็นอื่น
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ http://sites.google.com/site/verapat/ (ดูฉบับเต็มและภาคผนวกในเว็บไซต์นี้)
บทนำ
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก โดยมติ ๔ ต่อ ๒ เสียงให้ยกคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย และรายงานการใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง (“กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท”) โดยให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขณะที่ทำความเห็นนี้ ศาลได้เผยแพร่คำวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประชาชนอย่างไม่เป็นทางการ บนเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ (http://www.constitutionalcourt.or.th/) มีทั้งสิ้น ๑๕ หน้า ซึ่งมีใจความตรงกับคำวินิจฉัยที่ศาลได้อ่าน และสื่อมวลชนได้รายงานต่อประชาชนไปเมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย. ๒๕๕๓ แล้ว ต่อมาในวันที่ ๓๐ พ.ย. ๒๕๕๓ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ข่าวที่ ๒๔/๒๕๕๓ โดยอธิบายถึงวิธีการลงมติของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็นสองกลุ่ม ซึ่งมิได้มีการระบุไว้ในคำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ
ด้วยความอัศจรรย์ใจในคำวินิจฉัยและความเคารพอย่างแท้จริงต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผู้ทำความเห็นน้อมและยอมรับคำวินิจฉัยดังกล่าว อีกด้วยสำนึกในสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา ๔๕, ๖๙ และ ๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำความเห็น ดังมีประการต่อไปนี้
๑. วิธีการกำหนดประเด็นเพื่อลงมติเป็นที่กังขา
ศาลวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก โดยมติ ๔ ต่อ ๒ เสียงให้ยกคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย และรายงานการใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง โดยให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ที่มาจองตุลาการเสียงข้างมากนั้นมีแยกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก ๓ เสียง เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มที่สอง ๑ เสียง เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนด
หากเราพิจารณาในสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรกแล้ว จะเห็นว่าตุลาการทั้งสามมิได้ติดใจที่จะรับหรือปฏิเสธเรื่องการพ้นระยะเวลาสิบห้าวัน เพราะมองว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในทางกลับกัน สาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มที่สองมีความเห็นชัดเจนว่านายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ นับตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ไปแล้ว หากพิจารณา ตุลาการทั้งหกที่ลงมติอย่างระเอียด จะพบข้อสังเกตว่ามีตุลาการถึง ๓ เสียงที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไปเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มที่สอง ๑ เสียงบวกกับตุลาการเสียงข้างน้อยอีก ๒ เสียง ซึ่งเป็นผลทำให้มีเสียงมติที่ค้านกับเหตุผลของเท่ากับตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรกอีก ๓ เสียงที่เห็น ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
ในทางหนึ่งอาจมีผู้ให้เหตุผลว่า การกำหนดวิธีการลงมติเป็นไปถูกต้องแล้ว เพราะไม่จำเป็นต้องเข้าไปดูรายละเอียดของเหตุผล แต่ควรพิจารณาถึงผลสุดท้ายของการลงมติ ดังนั้น เมื่อตุลาการเสียงข้างมากทั้งสองกลุ่ม แม้จะมีเหตุผลต่างกัน แต่ท้ายที่สุดตุลาการทั้งสี่ก็ได้ข้อสรุปเดียวกันว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นมติข้างมากที่ชอบแล้วไม่ ผู้ทำความเห็นขอไม่ทักถ้วงถึงปัญหาเชิงตรรกะของการให้เหตุผลลักษณะดังกล่าวในรายละเอียด การกำหนดวิธีการลงมติที่น่ากังขาเช่นนี้ เคยมีนักวิชาการแสดงความเห็นถ้วงไว้แล้ว เช่น ในคดีซุกหุ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในปี ๒๕๔๔
ผู้ทำความเห็นเพียงแต่จะย้อนถามว่า หากเราอาศัยตรรกะเดียวกันนี้เอง ที่ว่าแม้สาระแห่งเหตุผลต่างกันแต่หากสุดท้ายได้ข้อสรุปตรงกัน ก็นับรวมกันได้แล้วฉันใด ข้อสรุปที่ได้จากตุลาการเสียงข้างมาก ๑ เสียงบวกกับตุลาการเสียงข้างน้อยอีก ๒ เสียง ก็คือข้อสรุปที่ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไปแล้ว อันจะหักล้างตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรกอีก ๓ เสียง โดยมติที่เท่ากัน โดยฉันนั้น มิใช่หรือ?
หากจะลองเปลี่ยนจากตรรกะที่ยึดข้อสรุป มาเป็นตรรกะที่ยึดสาระแล้ว ผู้ทำความเห็นจะแสดงให้เห็นต่อไปว่า สาระแห่งเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากทั้งสี่ที่มีความเห็นเป็นสองกลุ่ม แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม ก็ยังขัดแย้งและหักล้างกันเองโดยสิ้นเชิง จนมิอาจถือได้ว่าเป็นมติตุลาการเสียงข้างมากที่ชอบธรรมได้
อนึ่ง มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจข่าวสารที่สื่อมวลชนรายงานหลังจากมีการอ่านคำวินิจฉัยไปแล้ว ข้อวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่ ดูจะเกี่ยวข้องกับประเด็นมติตุลาการ ๑ เสียง ที่เห็นว่าการยื่นคำร้องต่อศาลพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนดก่อน โดยประชาชนทั่วไปไม่ได้ทราบมาก่อนว่าเรื่องระยะเวลาเป็นเพียงมติ ๑ เสียง อีกทั้งคำวินิจฉัยลายลักษณ์อักษร อย่างไม่เป็นทางการที่ศาลได้เผยแพร่ต่อประชาชน บนเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มิได้กล่าวไว้ชัด จนกระทั่งวันต่อมาได้มีการเผยแพร่ข่าวโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและมีการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนโดยตุลาการท่านหนึ่งเพื่อขยายความ คงหวังแต่เพียงว่าในอนาคต คำวินิจฉัยที่เผยแพร่ก็ดี หรือที่อ่านก็ดี คงจะชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการแต่ละคนซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องทำให้เสร็จสิ้นและแถลงเป็นวาจาก่อนลงมติในคำวินิจฉัยกลางนั้น ก็น่าจะเผยแพร่ในเอกสารไปพร้อมกัน เพื่อช่วยให้ตุลาการไม่ต้องลำบากใจ ถูกเข้าใจผิดว่ามติใดเป็นของใคร อีกทั้งเพื่อให้ตุลาการไม่ต้องถูกตั้งคำถามว่า แรงตอบรับของสังคมต่อคำวินิจฉัยกลาง ได้กระทบต่อคำวินิจฉัยส่วนตนที่เปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลังหรือไม่ อย่างไร
๒. เหตุผลทางกฎหมายไม่เป็นที่กระจ่างชัด
ไม่ว่าวิธีการลงมติเสียงข้างมากที่ปรากฏจะชอบธรรมหรือไม่ เหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากทั้งสองกลุ่ม ก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดอีกทั้งขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง โดยผู้ทำความเห็นจะแสดงข้อคิดเห็นต่อเหตุผลของตุลาการ ๑ เสียงที่เห็นว่า ระยะเวลายื่นคำร้องต่อศาลต้องนับจากวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ก่อน จากนั้นจึงจะแสดงข้อคิดเห็นต่อเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากอีก ๓ เสียง ที่เห็นว่าในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
๒.๑ เหตุผลเรื่องระยะเวลายื่นคำร้อง
ประเด็นหนึ่งที่ศาลใช้วินิจฉัยการยกคำร้องในคดีนี้คือ เหตุความผิดที่จะนำไปสู่การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๙๓ วรรคสองนั้น ได้ปรากฏต่อนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อใด
มาตรา ๙๓ วรรคสองบัญญัติว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง” (เหตุในคดีนี้คือมาตรา ๘๒ กรณีการได้รับเงินและจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองอย่างไม่ถูกต้อง) “ให้นายทะเบียนโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน”
ศาลวินิจฉัยว่า เหตุความผิดได้ปรากฏต่อนายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ดังนั้นเมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ จึงเป็นการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
คำถามคือ ศาลนำหลักหรืออะไรมาสรุปว่าระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒
หากพิจารณาคำวินิจฉัย หน้า ๑๒-๑๓ ศาลอธิบายว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ ๑๔๔/ ๒๕๕๒ ในส่วนกรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคดีนี้ (กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท) คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งตามรวมกันไปกับอีกข้อหา (กรณีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) ว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก่อนว่า แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการปรับบทบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้นเท่านั้น
ศาลอธิบายต่อว่า ในการประชุมครั้งที่ ๔ ๑/๒๕๕๓ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งเสียงข้างมากให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงทั้งสองข้อกล่าวหาเกี่ยวพันกัน จึงยังคงมีมติให้แจ้งนายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการตามมาตรา ๙๕ (กรณีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) เช่นเดิม โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองและนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง (กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท) และต่อมาในการประชุมครั้งที่ ๔๓/ ๒๕๕๓ วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเอกฉันท์ (นายอภิชาต มิได้เข้าประชุม) ยืนยันเห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง
ศาลอธิบายต่อว่า เหตุการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ แล้ว โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่จำต้องเสนอความเห็นก่อนอย่างใด กรณีถือได้ว่าคดีนี้ ความได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกรณีตามมาตรา ๙๓ วรรคแรกแล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้แล้ว และระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติดังกล่าว
นอกจากนี้ ในคำวินิจฉัยหน้า ๑๔ ศาลกล่าวต่อว่า วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่นายอิสระ ลิ้มศิริวงศ์ เป็นประธาน ในครั้งแรก และถือเป็นวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง
จากการให้เหตุผลของศาล ผู้ทำความเห็นตั้งข้อสังเกตดังนี้
๒.๑.๑ ผู้ทำความเห็นเข้าใจว่า ระยะเวลาสิบห้าวันจะเริ่มนับได้ต่อเมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้เห็นว่าเหตุความผิดปรากฏต่อตัวนายทะเบียน แล้วจึงอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะประชาชนที่ไม่อาจเข้าถึงเอกสารแห่งคดีได้ทั้งหมด ผู้ทำความเห็นย่อมต้องอาศัยข้อเท็๋จจริงที่ศาลอธิบายในคำวินิจฉัย แต่หากอ่านจากคำวินิจฉัยแล้ว ไม่มีส่วนใดเลยที่ศาลยกพยานหลักฐานมาแสดงอย่างชัดเจนว่า ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ให้การรับว่าตนได้เห็นเหตุความผิดปรากฏขึ้นต่อตนแล้วหรือยัง
๒.๑.๒ ในทางตรงกันข้าม ข้อเท็จจริงที่ศาลรับฟังในคำวินิจฉัย หน้า ๖ ระบุว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ นายอภิชาตในฐานะประธาน กรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นว่า จากการตรวจสอบรายงานเอกสารการใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่พบความผิดปกติในระบบเอกสารแต่อย่างใด และในวันเดียวกันนั้นเอง ย่อมหมายความว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมิได้เห็นเหตุความผิดปรากฏขึ้นต่อตน (ในฐานะประธาน กรรมการการเลือกตั้ง) แต่อย่างใด
จริงอยู่ ศาลควรพิจารณาข้อกฎหมายที่กำหนดให้นายอภิชาต ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองในเวลาเดียวกัน ดังนั้นแม้เป็นคนเดียวกันแต่มีบทบาทหน้าที่ต่างกัน ซึ่งศาลก็ได้อธิบายไว้ในคำวินิจฉัยอย่างดี เช่น ในหน้า ๑๐-๑๑ ว่า การลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งนายอภิชาตเข้าร่วมด้วยในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ การลงมติดังกล่าวจึงแตกต่างจากการสั่งที่ให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะของนายทะเบียนพรรคการเมือง หรือที่ว่า การที่กฎหมายให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำร้องในคดีนี้ต่อศาลย่อมหมายความว่า ประธานกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นคดีนี้ฉันใด การทำความเห็นส่วนตนของนายอภิชาตในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ จึงมิใช่การทำความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองฉันนั้น
แต่คำอธิบายอันฟังสละสลวยดังกล่าวก็เพียงแต่คำอธิบายในเรื่องบทบาทหน้าที่ โดยศาลพยายามจะอธิบายว่าวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมิได้ให้ความเห็น (และไม่สามารถให้ความเห็น) ในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับเรื่องว่าเหตุความผิดปรากฏต่อนายทะเบียนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ แล้วหรือไม่แต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะมาตรา ๙๓ วรรคสอง เองก็ได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องได้รับความเห็นชอบด้วยกันในเรื่องเดียวกันจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แม้บทบาทหน้าที่จะต่างกัน แต่ กฎหมายก็ให้ตัวนายทะเบียน และประธานกรรมการการเลือกตั้งผู้เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีบทบาทในการพิจารณาประเด็นในเรื่องเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือต้องอาศัยมโนสำนึกในทางกฎหมายของนักนิติศาสตร์คนหนึ่งที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ท้ายที่สุด ศาลก็สรุปว่าเหตุความผิดปรากฏต่อนายทะเบียนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ แล้ว การวินิจฉัยของศาลลักษณะนี้ ทำให้เกิดความแปลกประหลาด กล่าวคือ นายอภิชาต ผู้เคยเป็นถึงประธานแผนกคดีในศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเป็นนักนิติศาสตร์ที่กฎหมายให้ความไว้วางใจสวมหมวกสำคัญสองใบในเวลาเดียวกันเพื่อสามารถดำเนินภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมกัน สามารถมีมโนสำนึกในทางกฎหมายแยกเป็นสองมาตรฐาน มาใช้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีเดียวกัน ให้ปรากฏผลต่างกันในเวลาเดียวกันได้ กล่าวคือ ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ศาลรับฟังว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นว่า จากการตรวจสอบรายงานเอกสารการใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่พบความผิดปกติในระบบเอกสารแต่อย่างใด และในวันเดียวกันนั้นเอง ศาลกำลังบอกว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีมโนสำนึกแยกเป็นอีกหนึ่งมาตรฐาน โดยเห็นว่า เหตุความผิดกรณีพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเงินและจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ปรากฏขึ้นให้ตนเห็นแล้ว กระนั้นหรือ?
๒.๑.๔ ที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งกว่านั้น คือตุลาการเสียงข้างมากผู้ทำคำวินิจฉัยเอง ก็ดูเหมือนจะมีมโนสำนึกในทางกฎหมายที่แยกเป็นสองมาตรฐานในวันเดียวกันที่เขียนคำวินิจฉัยเดียวกัน แม้จะร่วมกันเป็นเสียงข้างมากศาลจะสวมหมวกแต่เพียงใบเดียวในฐานะศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม ดังนี้
ในช่วงแรกของคำวินิจฉัย ในส่วนที่เกี่ยวกับตุลาการเสียงข้างมาก ๓ เสียง ที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ (หน้า ๘-๑๐) ศาลได้อธิบายว่า กฎหมายบัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ในส่วนมาตรา ๙๓ วรรคสอง ที่เป็นประเด็นในคดีนี้ กฎหมายได้บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ซึ่งรวมถึงประธานกรรมการการเลือกตั้ง) และนายทะเบียนพรรคการเมือง ใช้อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมมือ หรือถ่วงดุลกัน กฎหมายบัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้วินิจฉัยว่า มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ หรือไม่ เนื่องมาจากนายทะเบียนพรรคการเมืองมีหน้าที่ดูแลการปฏิบัติพรรคการเมืองให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นผู้ที่ทราบรายละเอียดการปฏิบัติของพรรคการเมืองเป็นอย่างดี กล่าวคือ ศาลได้อธิบายหลักว่าแม้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ซึ่งรวมถึงนายอภิชาตในฐานะประธานด้วย) ไม่สามารถบังคับให้นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ตราบใดที่นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่พบเหตุการกระทำความผิด (เช่น ตามมาตรา ๘๒) คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมไม่สามารถมีมติให้ยื่นคำร้องตามมาตรา ๙๓ วรรคสองได้
ผู้ทำความเห็นก็เห็นพ้องด้วยกับหลักที่ศาลได้อธิบายไว้ในส่วนนี้ อีกทั้งหากพิจารณามาตรา ๘๒ ประกอบกับ มาตรา ๔๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนจะไปสู่การยื่นเรื่องในมาตรา ๙๓ วรรคสองแล้ว จะเห็นว่ากฎหมาย บัญญัติให้พรรคการเมืองไม่ได้รายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้ถูกต้องตามความเป็นจริงภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปแล้ว ก็ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง มีอำนาจสั่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาแล้วยังมิได้รายงาน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น จึงเห็นได้ว่ากฎหมายได้ให้ความสำคัญกับนายทะเบียนพรรคการเมือง เป็นผู้มีดุลยพินิจพิจารณาระยะเวลากับเหตุผลอันสมควร ซึ่งอาจเป็นเพราะนายทะเบียนต้องอาศัยการพินิจพิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนจะวินิจฉัยว่ามีเหตุปรากฏอย่างแท้จริงอันนำไปสู่ขั้นตอนการยื่นคำร้องตามมาตรา ๙๓ วรรคสองได้ มิเช่นนั้นแล้ว ก็อาจมี ผู้อ้างได้โดยง่ายว่า ตนได้ส่งข้อมูลแสดงเหตุความผิดให้นายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับทราบไปเมื่อสิบห้าวันก่อน และถือว่าเหตุได้ปรากฏต่อนายทะเบียนแล้ว
อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังของคำวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลของตุลาการ ๑ เสียง (หน้า ๑๑) ศาลกลับอธิบายทำนองเป็นเหตุผลทางเลือกว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจที่จะควบคุมและกำกับการดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด และต่อมา (หน้า ๑๓) ว่ามติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ (โดยมีนายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วย) ที่เห็นชอบให้อภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เป็นกรณีที่ถือได้ว่า เหตุได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าตาม มาตรา ๙๓ แล้ว และต่อมา (หน้า ๑๔) ว่าวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่นายอิสระ ลิ้มศิริวงศ์ เป็นประธาน ในครั้งแรกและถือเป็นวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว
การให้เหตุผลเช่นนี้ ฟังประหนึ่งว่า นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองจะเห็นเหตุตามมาตรา ๙๓ วรรคสองปรากฏต่อตนเมื่อใด ย่อมต้องพิจาราณาตามเวลาที่มีมติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือตามวันที่ได้มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ถึงแม้ในเวลานั้น มโนสำนึกในทางกฎหมายของนายอภิชาตในฐานะนักนิติศาสตร์คนหนึ่งขณะนั้น เองจะไม่เห็นเหตุปรากฏต่อตนก็ตาม หากเป็นเช่นนี้แล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมมือหรือถ่วงดุลกันระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง ดังที่ศาลเองได้อธิบายไว้ ในช่วงแรกของคำวินิจฉัย (หน้า ๘-๑๐) ก็จะไม่เกิดขึ้น ส่งผลที่แปลกประหลาดคือนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องยอม ตามมติหรือความเห็นของผู้อื่น ทั้งที่กฎหมายจะบัญญัติบทบาท หน้าที่ อำนาจและดุลยพินิจหลายประการให้แก่นายทะเบียนพรรคการเมืองก็ตาม
อีกทั้งหากกลับไปพิจารณาตรรกะของวิธิในการลงมติแล้ว โดยพิจารณาสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็นสองกลุ่ม ที่หักล้างกันเองเสียแล้ว แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม ก็ยังขัดแย้งและหักล้างกันเองโดยสิ้นเชิง
๒.๑.๕ หากเราเห็นด้วยว่าการยื่นคำร้องในคดีนี้พ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดจริง มโนสำนึกในทางกฎหมายย่อมนำพาให้พิเคราะห์ว่า ระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าว มีเจตนารมณ์และความมุ่งหมายเพื่อการใด
หากลองเปรียบเทียบข้อกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาที่พอคุ้นเคย เช่นอายุความการฟ้องคดีแพ่ง หากผู้เสียหายไม่ฟ้องในระยะเวลาที่กำหนด เช่นภาย ๑ ปีก็ดี หรือใน ๑๐ ปีก็ดี แล้วแต่กรณี และคู่ความอีกฝ่ายยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ผู้ฟ้องคดีย่อมเสียสิทธิ ทั้งนี้เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายแพ่งส่วนหนึ่งก็เพื่อสนับสนุนให้ผู้เสียหายระมัดระวังและไม่เพิกเฉยดูดายต่อความเสียหายต่อสิทธิของตน รีบหาทางป้องกัน เยียวยาแก้ปัญหา ไม่ใช่สะสมความเสียหายไว้มาตั้งเป็นคดีหากได้เปรียบภายหลัง อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไปนาน พยานหลักฐานอาจสูญหายยากต่อการพิสูจน์
หากพิจารณาในบริบทคดีปกครองทั่วไป กฎหมายปกครองกำหนดระยะเวลาฟ้องคดีที่กระชับพอเหมาะ เช่น ต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี เพราะการเพิกถอนการกระทำทางปกครองที่ดำเนินการไปนานและมีผลเป็นการทั่วไปแล้วอาจเกิดความวุ่นวายได้ กระนั้นก็ดี ในบางกรณีที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่น ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้ ทั้งนี้เพราะเจตนารมณ์และความมุ่งหมายสำคัญของกฎหมายปกครองก็คือการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ
หากพิจารณาในบริบทวิธีบัญญัติทั่วไป ข้อกฎหมายที่บังคับให้คู่ความในคดีต้องยื่นเอกสารให้ศาลและคู่ความอีกฝ่ายภายในเวลาที่กำหนด ก็เพื่อให้ศาลและคู่ความอีกฝ่ายสามารถมีเวลาตรวจสอบเอกสารและเตรียมตัวได้ทันการ มิใช่นำหลักฐานหรือข้อหาใหม่มากล่าวหาโดยอีกฝ่ายมิได้ตั้งตัว เป็นต้น
หรือหากจะพิจารณาในบริบทของหลักความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของหลักนิติธรรมที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว กฎหมายย่อมป้องกันมิให้ผู้ใช้อำนาจสามารถใช้อำนาจละเมิดกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อได้มาซึ้งเป้าหมายที่อาจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม เช่น การลักลอบนำหลักฐานการกระทำผิดที่ตำรวจได้มาโดยการใช้อำนาจตรวจค้นที่ผิดกฎหมาย เพื่อมาดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแม้ผู้ต้องหาจะกระทำผิดจริงก็ตาม เพราะหากปล่อยให้วิธีการที่ผิดนำไปสู่ผลที่อาจจะถูกแล้ว ก็จะเปิดช่องให้มีการใช้อำนาจริดรอนสิทธิเสรีภาพได้ไม่จำกัด เพียงแค่อ้างในเป้าหมายเป็นสำคัญ
จากตัวอย่างเหล่านี้ หากหันมาพิจารณาเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของระยะเวลาสิบห้าวันในบริบทกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองที่ศาลวินิจฉัยในคดีนี้แล้ว พิเคราะห์ได้ว่า การสอดส่องติดตามกิจกรรมและการเงินของพรรคการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย กฎหมายจึงกำหนดระยะเวลาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบ หากพบว่ามีเหตุความผิดปรากฏต่อนายทะเบียน นายทะเบียนย่อมต้องหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณายื่นคำร้องต่อศาลโดยไม่ชักช้า เช่น จะอ้างว่ากรรมการการเลือกตั้งติดธุระไม่ได้
ดั้งนั้น ระยะเวลาสิบห้าวันซึ่งสั้นมากจึงมุ่งบังคับให้กระบวนการตรวจสอบอันสำคัญต่อกระบวนการประชาธิปไตยและประโยชน์ส่วนรวมเกิดขึ้น ซึ่งต่างจากลักษณะของอายุความที่มีระยะเวลาเป็นปีในคดีแพ่ง หรือระยะเวลาในบริบทกฎหมายอื่น และที่สำคัญย่อมไม่ใช่ กรณีที่ความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมายจะเสียไป เพราะแม้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะยื่นคำร้องเกินไปอีกเดือน หรือ อีกปี ก็มิได้เป็นกรณีที่ นายทะเบียนและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ใช้อำนาจโดยมิชอบต่อพรรคประชาธิปัตย์เพื่อได้มาซึ่งการเอาผิด แต่เป็นการทำผิดพลาดภายในองค์กรเสียเอง เว้นเสียแต่จะมีข้อเสียเปรียบที่ปรากฏ เช่น ยื่นคำร้องเกินไปสิบปีจนพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เก็บหลักฐานไว้สู้คดีแล้ว จริงอยู่ว่าผลของการยื่นคำร้องเกินกำหนดสิบห้าวันอาจนำไปสู่การต้องรับผิดของผู้มีหน้าที่ยื่นคำร้องตามกฎหมาย แต่ก็จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้สู้คดีโดยสง่างามอย่างเต็มที่ ก็ไม่สมควรเป็นเหตุให้ศาลต้องล้มเลิกกระบวนการเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ระยะเวลาสิบห้าพยายามทำให้เกิดเสียแต่แรก
ในทางกลับกัน หากเรายึดระยะเวลาสิบห้าวันดังที่ปรากฏในคำวินิจฉัยแล้ว อาจเกิดข้อโต้เถียงในอนาคตว่า แท้จริงแล้ว เหตุตามมาตรา ๙๓ วรรคแรก ได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่มีปริมาณพยานหลักฐานมาก ซ้ำร้ายยังจะเป็นการกดดันให้นายทะเบียนและ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ลังเลที่จะใช้เวลาเพื่อพิจารณาเหตุความผิดโดยละเอียดในที่สุด
๒.๒ เหตุผลเรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
ศาลอธิบายในคำวินิจฉัย (หน้า ๙-๑๑) ว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ ๑๔๔/ ๒๕๕๒ ในส่วนกรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคดีนี้ (กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท) คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งตามรวมกันไปกับอีกข้อหา (กรณีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) ว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก่อนว่า แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการปรับบทบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้นเท่านั้น การที่นายอภิชาตได้ทำความเห็นส่วนตนในการลงมติเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นการกระทำในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง ความเห็นของนายอภิชาตในการลงมติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมติที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ศาลอธิบายต่อว่าการลงมติดังกล่าวแตกต่างจากการสั่งที่ให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ได้มีความเห็น เช่นนั้นก่อนแล้ว จึงเสนอความเห็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบความเห็นของนายอภิชาตในการลงมติ ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ จึงไม่อาจถือได้ว่า เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง
ศาลสรุปว่า เมื่อนายทะเบียนพรรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ตามมาตรา ๙๓ การให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้
ผู้ทำความเห็นตั้งข้อสังเกตดังนี้
๒.๒.๑ การให้เหตุผลดังกล่าว แท้จริงแล้วเป็นการเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ
ศาลให้เหตุผลว่า นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ต้องแสดงความเห็นในรูปแบบที่เฉพาะที่แยกชัดเจนจากการลงมติในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ทำความเห็นไม่แน่ใจว่าศาลนำหลักอะไรมาตีความว่า มาตรา ๙๓ วรรคสองที่บัญญัติว่า “ให้นายทะเบียนโดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน” หมายความว่า นายอภิชาต ต้องสวมสถานะนายทะเบียนพรรคการเมืองในรูปแบบเฉพาะที่ศาลพอใจ เพื่อแจ้งความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน โดยศาลก็มิได้ระบุว่ารูปแบบมีกฎเกณฑ์อย่างไร เช่นต้องทำเป็นหนังสือ หรือกล่าวโดยวาจาในที่ประชุมโดยแจ้งให้ทราบว่าตนกำลังแสดงความเห็นใน ฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง จากนั้นจึงกลับไปสนทนาในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ข้อเท็จจริงสำคัญในคำวินิจฉัย (หน้า ๗-๘) ศาลรับฟังว่า ในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติสำหรับกรณีคำร้องในคดีนี้ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ (มีนายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งรวมอยู่ด้วย) ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิชาต ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง ศาลอธิบายต่อว่า ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มิได้เข้าประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ตามมาตรา ๙๓ โดยถือว่าความเห็นส่วนตนของนายอภิชาตที่ลงมติไว้ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง
ผู้ทำความเห็นจำต้องนำประเด็นเรื่องมโนสำนึกในทางกฎหมายกลับมาถามว่า นายอภิชาตซึ่งเป็นนักนิติศาสตร์ที่กฎหมายให้ความไว้วางใจสวมหมวกสำคัญสองใบในเวลาเดียวกันเพื่อสามารถดำเนินภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมกัน สามารถมีมโนสำนึกในทางกฎหมายแยกเป็นสองมาตรฐาน มาใช้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีเดียวกัน ให้ปรากฏผลต่างกันในเวลาเดียวกันได้ กล่าวคือ ในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ศาลรับฟังว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง และในวันเดียวกันนั้นเอง ศาลกำลังบอกว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีมโนสำนึกแยกเป็นอีกหนึ่งมาตรฐาน โดยเห็นว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กระนั้นหรือ?
๒.๒.๒ การเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ นอกจากจะก่อให้เกิดผลประหลาดแล้ว ยังเป็นการใช้อำนาจตุลาการเข้าไปกำหนดการทำงานภายในของคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ระบบปฎิบติภายในองค์กรก็เพียงพอที่จะเข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๙๓ วรรคสองแล้ว กล่าวคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นตรงกัน โดยมโนสำนึกของนายทะเบียนพรรคการเมืองปรากฎชัดต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ แล้ว และต่อมาในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง มีมติเห็นชอบยืนยันอีกครั้ง
๒.๒.๓ ในขณะเดียวกัน ศาลไม่ได้ให้คำอธิบายเลยว่า หากปล่อยให้การดำเนินการดังกล่าวดำเนินต่อไปแล้ว จึงถือเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญด้วยเหตุใด เช่น หากพิจารณาตามหลักความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) แล้วการดำเนินการดังกล่าวโดยผู้ใช้อำนาจคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ใช้อำนาจละเมิดกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อได้มาซึ้งเป้าหมายที่อาจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม โดยริดรอนสิทธิเสรีภาพ สร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไร หรือ การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อระบบการใช้อำนาจระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างไร และที่สำคัญเมื่อพิจารณาตามหลักความได้สัดส่วน (proptionality principle) แล้ว การนำข้อขัดข้องที่ศาลพบเห็นและไม่ได้มีระบุไว้ชัดในกฎหมาย มาเป็นเหตุให้กระบวนการยุติธรรมชะงักงันและเดินต่อไปไม่ได้ ดูประหนึ่งเป็นการทอดทิ้งเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหวังให้มีการตรวจสอบพรรคการเมืองยิ่งนัก
๒.๒.๔ สมมติว่าเรายอมรับตรรกะของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรก ๓ เสียง ที่เน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบมากกว่าสาระนี้ ผู้ทำความเห็นก็อดคิดไม่ได้ว่า ณ วันนี้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะอาศัยเหตุผลที่เข้มงวดในทางรูปแบบดังกล่าวกลับไปให้ความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งได้หรือไม่ โดยตีความตามคำวินิจฉัยของศาลว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ นายทะเบียนพรรคการเมืองเอง ก็ยังไม่เคยแจ้งให้ใครทราบโดยชัดเจนว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์ได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนแล้ว หรือไม่ เมื่อใด มีแต่แสดงออกผ่านการลงมติและความเห็นในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง อีกทั้งการยื่นคำร้องให้ศาลในคดีนี้ ศาลเองก็วินิจฉัยว่ากระบวนการไม่ชอบ ก็ย่อมต้องตีความโดยเน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์แม้อาจจะได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนในทางสาระ แต่ก็มิได้ปรากฏโดยชอบในทางรูปแบบ ดังนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมกลับไปเริ่มกระบวนการใหม่ ได้หรือไม่?
๒.๒.๕ สิ่งน่าอัศจรรย์ปรากฏอีกครั้งเมื่อตุลาการเสียงข้างมากผู้ทำคำวินิจฉัยเองได้มีมโนสำนึกในทางกฎหมายที่แยกเป็นสองมาตรฐานในคำวินิจฉัยเดียวกัน เพราะตุลาการเสียงข้างมาก ๓ เสียง เห็นว่านายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องแสดงความเห็นเป็นรูปแบบเฉพาะนั้น ต่อมาในการให้เหตุผลในส่วนตุลาการเสียงข้างมาก ๑ เสียง ที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนด กลับให้เหตุผลที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้
ในคำวินิจฉัยหน้า ๑๑-๑๒ ศาลกล่าวว่า มีเหตุผลให้วินิจฉัยอีกทางหนึ่ง กล่าวคือกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา ๙๓ วรรคแรกนั้น มาตรา ๙๓ วรรคสอง มิได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเข้าเสนอความเห็นด้วยว่า พรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคแรกต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง ต่างจากกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา ๙๔ ที่มาตรา ๙๕ บัญญัติว่า เรื่องปรากฏต่อนายทะเบียน พรรคการเมืองและนายทะเบียนได้ตรวจสอบแล้ว กล่าวคือนายทะเบียนต้องตรวจสอบ แล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมความเห็นว่า พรรคการเมืองใดกระทำตามมาตรา ๙๔ หรือไม่
สมควรเน้นอีกครั้งว่า หากกลับไปพิจารณาตรรกะของวิธิในการลงมติแล้ว หากเราลองพิจารณาสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็นสองกลุ่ม แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม แต่สาระในทางเหตุผลไม่ใช่แค่ไม่ตรงกันบางประเด็น แต่กลับหักล้างกันเองในทุกประเด็นหลักเสียแล้ว มติทั้งสี่เสียงอันขัดแย้งกันในสาระอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ ยากที่จะถือว่าเป็นมติเสียงข้างมากโดยชอบธรรมได้
๓. ศาลควรปรับปรุงระบบการบริหารคดี
ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือไม่ ผลจากคำวินิจฉัยก็เป็นตัวอย่างอันดีให้ผู้เกี่ยวข้องควรหันมาทบทวนระบบการบริหารคดีของศาลว่า พอจะมีวิธีใดที่สามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรของชาติที่ทุ่มเทไปกับกระบวนการทั้งหมดได้หรือไม่ เช่น การพิจารณาคดีอาจแยกเป็นส่วน ส่วนแรกเรื่องเขตอำนาจและความชอบของกระบวนการยื่นคำร้อง ซึ่งพึงพิจารณาให้เสร็จก่อนที่จะทุ่มเวลากับการสืบพยานหลักฐานที่เป็นเนื้อหาสาระของคดี แน่นอนว่าการบริหารคดีที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ ศาลเองย่อมอาศัยความช่วยเหลือจากบรรดาเลขานุการและนิติกรที่มีความรู้กฎหมายและมาทำงานประจำได้เป็นแน่ อนึ่ง ผู้ทำความเห็นอดคิดไม่ได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ หากนายทะเบียนพรรคการเมืองได้สืบสวนหรือค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจทำให้ปรากฏซึ่งเหตุอันเป็นความผิด แต่เผอญข้อมูลดังกล่าวไม่ได้อยู่รวมเป็นส่วนหนึ่งในสำนวนของคดีที่ฟ้องอยู่ทั้งสองคดีเสียแล้ว ก็อาจมีการเริ่มกระบวนการให้ถูกต้องเสียใหม่ โดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา ๘๒ ก็ดี ๙๔ (๔) ก็ดี ซึ่งกินความกว้างพอสมควร
๔. คู่ความต้องมีโอกาสในการสู้คดีอย่างเต็มที่
ผู้ทำความเห็นไม่ติดใจว่าประเด็นระยะเวลาสิบห้าวัน ศาลยกขึ้นพิจารณาเองได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือ การพิจารณาประเด็นดังกล่าวควรเป็นกรณีศึกษาว่า เมื่อศาลไม่ได้เปิดโอกาสให้คู่ความในคดีทราบได้แน่ชัดว่าในใจตุลาการแต่ละท่านคิดเห็นหรือสงสัยถึงประเด็นใดอยู่เป็นพิเศษ อีกทั้งการพิจารณาคดีโดยตุลาการตั้งคำถามสดก็มิอาจพบเห็นบ่อยนัก จึงน่าพิเคราะห์ว่า คู่ความในคดี ได้มีโอกาสนำเสนอข้อต่อสู้และตรวจสอบพยานหลักฐานในประเด็นเฉพาะเจาะจงที่อยู่ในใจตุลาการอันเป็นประเด็นตัดสินคดีมากน้อยเพียงใด เพราะหากสุดท้ายกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินมาทั้งหมดติดอยู่กับเพียงประเด็นว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่และเมื่อเวลาใด หรือทำไปในฐานะใด ศาลก็สมควรให้คู่ความได้ทราบถึงความสำคัญของประเด็นเฉพาะเจาะจงดังกล่าว และคู่ความก็สมควรได้ซักถามนายทะเบียนพรรคการเมืองผู้นั้นต่อหน้าศาลอย่างละเอียด และนำเสนอข้อโต้แย้งในการตีความกฎหมายเรื่องระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับประชาชนที่จะได้ติดตามรับฟัง เพื่อสุดท้ายศาลสามารถรับฟังความอย่างรอบด้านและนำความจริงในห้องเปิดมาอธิบายให้ปรากฏ
แต่หากสุดท้ายความยุติธรรมคือกรณีที่หารือถือเอาได้แต่เพียงในห้องปิด ซ้ำโดยอาศัยพยานสำคัญที่ตัวไม่ปรากฏแต่ส่งมาเพียงเอกสารเสียแล้ว ก็คงเป็นชะตากรรมของเรา ประชาชนชาวไทย ที่ต้องเลือกระหว่างการยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ หรือเรียกร้องสังคมที่ไม่เขินอายต่อความจริง
ไม่แน่ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ภาคต่อไป เราอาจได้เห็นกัน!
บทส่งท้าย
เหตุแห่งกระแสความใส่ใจในความเป็นกลางและจริยธรรมของตุลาการนั้น ปรากฏพบเป็นครั้งคราว แต่เหตุอันพึงปรากฏโดยมิต้องอาศัยกระแส คือเรื่องความละเอียด แม่นยำ และแยบยลในนิติวิธีและหลักกฎหมาย ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการต่างเป็นผู้ใช้อำนาจของเรา แต่เราไม่อาจอาศัยกระบวนการทางการเมืองเพื่อคัดเลือก สนับสนุนหรือลงโทษตุลาการได้ดั่งที่เราพึงทำต่อนักการเมืองได้ อีกทั้ง การตรวจสอบตุลาการที่ผ่านมาปรากฏไม่ชัด ส่วนหนึ่งอาจด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญให้ตุลาการมีบทบาทสำคัญในการได้มาซึ่งส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบตุลาการเสียเอง
สิ่งที่เราประชาชนพึงทำได้ คือติดตาม ใคร่ครวญ และกล้าหาญที่จะหวงแหนในเหตุผลและความยุติธรรมของคำวินิจฉัย เพราะความยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตยมิอาจดำรงได้ด้วยมาตรฐานทางเหตุผลหรือคุณธรรมจำเพาะของคนบางกลุ่ม แต่ต้องฟูมฟักและงอกเงยจากสำนึกและประสบการณ์ของปวงชนที่สะท้อนผ่านกระบวนการและกฎหมายที่เรามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน
ครอบครัว คุณครู และมิตรสหาย ต้องร่วมกันกระตุ้นสำนึกดังกล่าวผ่านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน อย่างน้อยก็โดยปฎิเสธความมักง่ายที่จะนิ่งเฉยดูดายภายใต้เงาของความเป็นกลางอันว่างเปล่า เราต้องเรียกร้องสถาบันวิชาการและสื่อมวลชนให้ยึดมั่นและกล้าหาญในการทำหน้าที่เพื่อสังคม และต่อต้านการนำเสนอที่มอมเมาหรือตื้นเขิน พร้อมสนับสนุนการถ่ายถอดหลักการและสิ่งที่ปรากฏจากคำวินิจฉัยผ่านผลงานในระดับนานาชาติ ให้ทราบไปถึงบรรดาผู้นำทางความคิด อาจารย์นิติศาสตร์ หรือ ผู้พิพากษาในต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นการช่วยสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ที่ดีสำหรับตุลาการไทยอีกทางหนึ่ง
เราต้องจดจำใบหน้าของผู้แทนที่พร้อมจะเชื่อมโยงมโนสำนึกที่เรามีต่อคำวินิจฉัยไปสู่ศาลและตัวบทกฎหมาย ไม่ว่าจะผ่านการตรวจสอบทางรัฐสภา การแก้กฎหมาย หรือการรณรงค์ทางการเมือง และไม่ลืมชื่อหรือนามสกุลของผู้แทนที่พร้อมทอดทิ้งหลักการ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของตนเอง
และสุดท้าย เราต้องร่วมกันจรรโลงความหวังและเป็นกำลังใจให้ตุลาการผู้เปี่ยมด้วยใจอันเป็นธรรม รวมไปถึงผู้พิพากษาในศาลอื่น ที่อาจพลอยต้องพิจารณาคดีที่เป็นผลพวงจากคดีนี้ ให้คงใจที่เปิดกว้างและรับฟังเสียงของปวงชน ให้สมดั่งเป็นตุลาการที่มาจากปวงชน โดยปวงชน และเพื่อปวงชน
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม)
นิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หมายเหตุจากผู้เขียน:
ความเห็นฉบับนี้เขียนขึ้นช่วงข้ามคืน ยังพร่องในความสมบูรณ์และหวังจะได้ปรับปรุงต่อไปในอนาคต หากผู้อ่านมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อติติง ขอน้อมรับฟังที่ verapat@post.harvard.edu. ประเด็นวิชาการบางส่วนความเห็นในฉบับนี้ ได้เคยนำเสนอไว้แล้วในวิทยานิพนธ์ สืบค้นได้ที่ Google: “Verapat Harvard Paper” อนึ่ง “มาตรา” และ “กฎหมาย” ที่กล่าวถึงในความเห็นนี้ หมายถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ (สำเนาดูได้ที่ http://www.parliament.go.th/mp2550/asset/law_party.pdf) เว้นแต่บริบทจะแสดงเป็นอื่น
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ http://sites.google.com/site/verapat/ (ดูฉบับเต็มและภาคผนวกในเว็บไซต์นี้)
บทนำ
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก โดยมติ ๔ ต่อ ๒ เสียงให้ยกคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย และรายงานการใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง (“กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท”) โดยให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขณะที่ทำความเห็นนี้ ศาลได้เผยแพร่คำวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประชาชนอย่างไม่เป็นทางการ บนเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ (http://www.constitutionalcourt.or.th/) มีทั้งสิ้น ๑๕ หน้า ซึ่งมีใจความตรงกับคำวินิจฉัยที่ศาลได้อ่าน และสื่อมวลชนได้รายงานต่อประชาชนไปเมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย. ๒๕๕๓ แล้ว ต่อมาในวันที่ ๓๐ พ.ย. ๒๕๕๓ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ข่าวที่ ๒๔/๒๕๕๓ โดยอธิบายถึงวิธีการลงมติของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็นสองกลุ่ม ซึ่งมิได้มีการระบุไว้ในคำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ
ด้วยความอัศจรรย์ใจในคำวินิจฉัยและความเคารพอย่างแท้จริงต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผู้ทำความเห็นน้อมและยอมรับคำวินิจฉัยดังกล่าว อีกด้วยสำนึกในสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา ๔๕, ๖๙ และ ๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำความเห็น ดังมีประการต่อไปนี้
๑. วิธีการกำหนดประเด็นเพื่อลงมติเป็นที่กังขา
ศาลวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก โดยมติ ๔ ต่อ ๒ เสียงให้ยกคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย และรายงานการใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง โดยให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ที่มาจองตุลาการเสียงข้างมากนั้นมีแยกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก ๓ เสียง เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มที่สอง ๑ เสียง เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนด
หากเราพิจารณาในสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรกแล้ว จะเห็นว่าตุลาการทั้งสามมิได้ติดใจที่จะรับหรือปฏิเสธเรื่องการพ้นระยะเวลาสิบห้าวัน เพราะมองว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในทางกลับกัน สาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มที่สองมีความเห็นชัดเจนว่านายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ นับตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ไปแล้ว หากพิจารณา ตุลาการทั้งหกที่ลงมติอย่างระเอียด จะพบข้อสังเกตว่ามีตุลาการถึง ๓ เสียงที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไปเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มที่สอง ๑ เสียงบวกกับตุลาการเสียงข้างน้อยอีก ๒ เสียง ซึ่งเป็นผลทำให้มีเสียงมติที่ค้านกับเหตุผลของเท่ากับตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรกอีก ๓ เสียงที่เห็น ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
ในทางหนึ่งอาจมีผู้ให้เหตุผลว่า การกำหนดวิธีการลงมติเป็นไปถูกต้องแล้ว เพราะไม่จำเป็นต้องเข้าไปดูรายละเอียดของเหตุผล แต่ควรพิจารณาถึงผลสุดท้ายของการลงมติ ดังนั้น เมื่อตุลาการเสียงข้างมากทั้งสองกลุ่ม แม้จะมีเหตุผลต่างกัน แต่ท้ายที่สุดตุลาการทั้งสี่ก็ได้ข้อสรุปเดียวกันว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นมติข้างมากที่ชอบแล้วไม่ ผู้ทำความเห็นขอไม่ทักถ้วงถึงปัญหาเชิงตรรกะของการให้เหตุผลลักษณะดังกล่าวในรายละเอียด การกำหนดวิธีการลงมติที่น่ากังขาเช่นนี้ เคยมีนักวิชาการแสดงความเห็นถ้วงไว้แล้ว เช่น ในคดีซุกหุ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในปี ๒๕๔๔
ผู้ทำความเห็นเพียงแต่จะย้อนถามว่า หากเราอาศัยตรรกะเดียวกันนี้เอง ที่ว่าแม้สาระแห่งเหตุผลต่างกันแต่หากสุดท้ายได้ข้อสรุปตรงกัน ก็นับรวมกันได้แล้วฉันใด ข้อสรุปที่ได้จากตุลาการเสียงข้างมาก ๑ เสียงบวกกับตุลาการเสียงข้างน้อยอีก ๒ เสียง ก็คือข้อสรุปที่ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไปแล้ว อันจะหักล้างตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรกอีก ๓ เสียง โดยมติที่เท่ากัน โดยฉันนั้น มิใช่หรือ?
หากจะลองเปลี่ยนจากตรรกะที่ยึดข้อสรุป มาเป็นตรรกะที่ยึดสาระแล้ว ผู้ทำความเห็นจะแสดงให้เห็นต่อไปว่า สาระแห่งเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากทั้งสี่ที่มีความเห็นเป็นสองกลุ่ม แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม ก็ยังขัดแย้งและหักล้างกันเองโดยสิ้นเชิง จนมิอาจถือได้ว่าเป็นมติตุลาการเสียงข้างมากที่ชอบธรรมได้
อนึ่ง มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจข่าวสารที่สื่อมวลชนรายงานหลังจากมีการอ่านคำวินิจฉัยไปแล้ว ข้อวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่ ดูจะเกี่ยวข้องกับประเด็นมติตุลาการ ๑ เสียง ที่เห็นว่าการยื่นคำร้องต่อศาลพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนดก่อน โดยประชาชนทั่วไปไม่ได้ทราบมาก่อนว่าเรื่องระยะเวลาเป็นเพียงมติ ๑ เสียง อีกทั้งคำวินิจฉัยลายลักษณ์อักษร อย่างไม่เป็นทางการที่ศาลได้เผยแพร่ต่อประชาชน บนเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ ก็มิได้กล่าวไว้ชัด จนกระทั่งวันต่อมาได้มีการเผยแพร่ข่าวโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและมีการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนโดยตุลาการท่านหนึ่งเพื่อขยายความ คงหวังแต่เพียงว่าในอนาคต คำวินิจฉัยที่เผยแพร่ก็ดี หรือที่อ่านก็ดี คงจะชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการแต่ละคนซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องทำให้เสร็จสิ้นและแถลงเป็นวาจาก่อนลงมติในคำวินิจฉัยกลางนั้น ก็น่าจะเผยแพร่ในเอกสารไปพร้อมกัน เพื่อช่วยให้ตุลาการไม่ต้องลำบากใจ ถูกเข้าใจผิดว่ามติใดเป็นของใคร อีกทั้งเพื่อให้ตุลาการไม่ต้องถูกตั้งคำถามว่า แรงตอบรับของสังคมต่อคำวินิจฉัยกลาง ได้กระทบต่อคำวินิจฉัยส่วนตนที่เปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลังหรือไม่ อย่างไร
๒. เหตุผลทางกฎหมายไม่เป็นที่กระจ่างชัด
ไม่ว่าวิธีการลงมติเสียงข้างมากที่ปรากฏจะชอบธรรมหรือไม่ เหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากทั้งสองกลุ่ม ก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดอีกทั้งขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง โดยผู้ทำความเห็นจะแสดงข้อคิดเห็นต่อเหตุผลของตุลาการ ๑ เสียงที่เห็นว่า ระยะเวลายื่นคำร้องต่อศาลต้องนับจากวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ก่อน จากนั้นจึงจะแสดงข้อคิดเห็นต่อเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากอีก ๓ เสียง ที่เห็นว่าในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
๒.๑ เหตุผลเรื่องระยะเวลายื่นคำร้อง
ประเด็นหนึ่งที่ศาลใช้วินิจฉัยการยกคำร้องในคดีนี้คือ เหตุความผิดที่จะนำไปสู่การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๙๓ วรรคสองนั้น ได้ปรากฏต่อนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อใด
มาตรา ๙๓ วรรคสองบัญญัติว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง” (เหตุในคดีนี้คือมาตรา ๘๒ กรณีการได้รับเงินและจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองอย่างไม่ถูกต้อง) “ให้นายทะเบียนโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน”
ศาลวินิจฉัยว่า เหตุความผิดได้ปรากฏต่อนายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ดังนั้นเมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ จึงเป็นการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
คำถามคือ ศาลนำหลักหรืออะไรมาสรุปว่าระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒
หากพิจารณาคำวินิจฉัย หน้า ๑๒-๑๓ ศาลอธิบายว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ ๑๔๔/ ๒๕๕๒ ในส่วนกรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคดีนี้ (กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท) คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งตามรวมกันไปกับอีกข้อหา (กรณีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) ว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก่อนว่า แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการปรับบทบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้นเท่านั้น
ศาลอธิบายต่อว่า ในการประชุมครั้งที่ ๔ ๑/๒๕๕๓ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งเสียงข้างมากให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงทั้งสองข้อกล่าวหาเกี่ยวพันกัน จึงยังคงมีมติให้แจ้งนายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการตามมาตรา ๙๕ (กรณีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) เช่นเดิม โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองและนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง (กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท) และต่อมาในการประชุมครั้งที่ ๔๓/ ๒๕๕๓ วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเอกฉันท์ (นายอภิชาต มิได้เข้าประชุม) ยืนยันเห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง
ศาลอธิบายต่อว่า เหตุการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ แล้ว โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่จำต้องเสนอความเห็นก่อนอย่างใด กรณีถือได้ว่าคดีนี้ ความได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกรณีตามมาตรา ๙๓ วรรคแรกแล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้แล้ว และระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติดังกล่าว
นอกจากนี้ ในคำวินิจฉัยหน้า ๑๔ ศาลกล่าวต่อว่า วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่นายอิสระ ลิ้มศิริวงศ์ เป็นประธาน ในครั้งแรก และถือเป็นวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง
จากการให้เหตุผลของศาล ผู้ทำความเห็นตั้งข้อสังเกตดังนี้
๒.๑.๑ ผู้ทำความเห็นเข้าใจว่า ระยะเวลาสิบห้าวันจะเริ่มนับได้ต่อเมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้เห็นว่าเหตุความผิดปรากฏต่อตัวนายทะเบียน แล้วจึงอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะประชาชนที่ไม่อาจเข้าถึงเอกสารแห่งคดีได้ทั้งหมด ผู้ทำความเห็นย่อมต้องอาศัยข้อเท็๋จจริงที่ศาลอธิบายในคำวินิจฉัย แต่หากอ่านจากคำวินิจฉัยแล้ว ไม่มีส่วนใดเลยที่ศาลยกพยานหลักฐานมาแสดงอย่างชัดเจนว่า ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ให้การรับว่าตนได้เห็นเหตุความผิดปรากฏขึ้นต่อตนแล้วหรือยัง
๒.๑.๒ ในทางตรงกันข้าม ข้อเท็จจริงที่ศาลรับฟังในคำวินิจฉัย หน้า ๖ ระบุว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ นายอภิชาตในฐานะประธาน กรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นว่า จากการตรวจสอบรายงานเอกสารการใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่พบความผิดปกติในระบบเอกสารแต่อย่างใด และในวันเดียวกันนั้นเอง ย่อมหมายความว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมิได้เห็นเหตุความผิดปรากฏขึ้นต่อตน (ในฐานะประธาน กรรมการการเลือกตั้ง) แต่อย่างใด
จริงอยู่ ศาลควรพิจารณาข้อกฎหมายที่กำหนดให้นายอภิชาต ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองในเวลาเดียวกัน ดังนั้นแม้เป็นคนเดียวกันแต่มีบทบาทหน้าที่ต่างกัน ซึ่งศาลก็ได้อธิบายไว้ในคำวินิจฉัยอย่างดี เช่น ในหน้า ๑๐-๑๑ ว่า การลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งนายอภิชาตเข้าร่วมด้วยในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ การลงมติดังกล่าวจึงแตกต่างจากการสั่งที่ให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะของนายทะเบียนพรรคการเมือง หรือที่ว่า การที่กฎหมายให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำร้องในคดีนี้ต่อศาลย่อมหมายความว่า ประธานกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นคดีนี้ฉันใด การทำความเห็นส่วนตนของนายอภิชาตในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ จึงมิใช่การทำความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองฉันนั้น
แต่คำอธิบายอันฟังสละสลวยดังกล่าวก็เพียงแต่คำอธิบายในเรื่องบทบาทหน้าที่ โดยศาลพยายามจะอธิบายว่าวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมิได้ให้ความเห็น (และไม่สามารถให้ความเห็น) ในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับเรื่องว่าเหตุความผิดปรากฏต่อนายทะเบียนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ แล้วหรือไม่แต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะมาตรา ๙๓ วรรคสอง เองก็ได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องได้รับความเห็นชอบด้วยกันในเรื่องเดียวกันจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แม้บทบาทหน้าที่จะต่างกัน แต่ กฎหมายก็ให้ตัวนายทะเบียน และประธานกรรมการการเลือกตั้งผู้เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีบทบาทในการพิจารณาประเด็นในเรื่องเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือต้องอาศัยมโนสำนึกในทางกฎหมายของนักนิติศาสตร์คนหนึ่งที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ท้ายที่สุด ศาลก็สรุปว่าเหตุความผิดปรากฏต่อนายทะเบียนในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ แล้ว การวินิจฉัยของศาลลักษณะนี้ ทำให้เกิดความแปลกประหลาด กล่าวคือ นายอภิชาต ผู้เคยเป็นถึงประธานแผนกคดีในศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเป็นนักนิติศาสตร์ที่กฎหมายให้ความไว้วางใจสวมหมวกสำคัญสองใบในเวลาเดียวกันเพื่อสามารถดำเนินภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมกัน สามารถมีมโนสำนึกในทางกฎหมายแยกเป็นสองมาตรฐาน มาใช้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีเดียวกัน ให้ปรากฏผลต่างกันในเวลาเดียวกันได้ กล่าวคือ ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ศาลรับฟังว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นว่า จากการตรวจสอบรายงานเอกสารการใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่พบความผิดปกติในระบบเอกสารแต่อย่างใด และในวันเดียวกันนั้นเอง ศาลกำลังบอกว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีมโนสำนึกแยกเป็นอีกหนึ่งมาตรฐาน โดยเห็นว่า เหตุความผิดกรณีพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเงินและจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ปรากฏขึ้นให้ตนเห็นแล้ว กระนั้นหรือ?
๒.๑.๔ ที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งกว่านั้น คือตุลาการเสียงข้างมากผู้ทำคำวินิจฉัยเอง ก็ดูเหมือนจะมีมโนสำนึกในทางกฎหมายที่แยกเป็นสองมาตรฐานในวันเดียวกันที่เขียนคำวินิจฉัยเดียวกัน แม้จะร่วมกันเป็นเสียงข้างมากศาลจะสวมหมวกแต่เพียงใบเดียวในฐานะศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม ดังนี้
ในช่วงแรกของคำวินิจฉัย ในส่วนที่เกี่ยวกับตุลาการเสียงข้างมาก ๓ เสียง ที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ (หน้า ๘-๑๐) ศาลได้อธิบายว่า กฎหมายบัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ในส่วนมาตรา ๙๓ วรรคสอง ที่เป็นประเด็นในคดีนี้ กฎหมายได้บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ซึ่งรวมถึงประธานกรรมการการเลือกตั้ง) และนายทะเบียนพรรคการเมือง ใช้อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมมือ หรือถ่วงดุลกัน กฎหมายบัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้วินิจฉัยว่า มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ หรือไม่ เนื่องมาจากนายทะเบียนพรรคการเมืองมีหน้าที่ดูแลการปฏิบัติพรรคการเมืองให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นผู้ที่ทราบรายละเอียดการปฏิบัติของพรรคการเมืองเป็นอย่างดี กล่าวคือ ศาลได้อธิบายหลักว่าแม้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ซึ่งรวมถึงนายอภิชาตในฐานะประธานด้วย) ไม่สามารถบังคับให้นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ตราบใดที่นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่พบเหตุการกระทำความผิด (เช่น ตามมาตรา ๘๒) คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมไม่สามารถมีมติให้ยื่นคำร้องตามมาตรา ๙๓ วรรคสองได้
ผู้ทำความเห็นก็เห็นพ้องด้วยกับหลักที่ศาลได้อธิบายไว้ในส่วนนี้ อีกทั้งหากพิจารณามาตรา ๘๒ ประกอบกับ มาตรา ๔๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนจะไปสู่การยื่นเรื่องในมาตรา ๙๓ วรรคสองแล้ว จะเห็นว่ากฎหมาย บัญญัติให้พรรคการเมืองไม่ได้รายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้ถูกต้องตามความเป็นจริงภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปแล้ว ก็ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง มีอำนาจสั่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาแล้วยังมิได้รายงาน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น จึงเห็นได้ว่ากฎหมายได้ให้ความสำคัญกับนายทะเบียนพรรคการเมือง เป็นผู้มีดุลยพินิจพิจารณาระยะเวลากับเหตุผลอันสมควร ซึ่งอาจเป็นเพราะนายทะเบียนต้องอาศัยการพินิจพิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนจะวินิจฉัยว่ามีเหตุปรากฏอย่างแท้จริงอันนำไปสู่ขั้นตอนการยื่นคำร้องตามมาตรา ๙๓ วรรคสองได้ มิเช่นนั้นแล้ว ก็อาจมี ผู้อ้างได้โดยง่ายว่า ตนได้ส่งข้อมูลแสดงเหตุความผิดให้นายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับทราบไปเมื่อสิบห้าวันก่อน และถือว่าเหตุได้ปรากฏต่อนายทะเบียนแล้ว
อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังของคำวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลของตุลาการ ๑ เสียง (หน้า ๑๑) ศาลกลับอธิบายทำนองเป็นเหตุผลทางเลือกว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจที่จะควบคุมและกำกับการดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด และต่อมา (หน้า ๑๓) ว่ามติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ (โดยมีนายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วย) ที่เห็นชอบให้อภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เป็นกรณีที่ถือได้ว่า เหตุได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าตาม มาตรา ๙๓ แล้ว และต่อมา (หน้า ๑๔) ว่าวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่นายอิสระ ลิ้มศิริวงศ์ เป็นประธาน ในครั้งแรกและถือเป็นวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองแล้ว
การให้เหตุผลเช่นนี้ ฟังประหนึ่งว่า นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองจะเห็นเหตุตามมาตรา ๙๓ วรรคสองปรากฏต่อตนเมื่อใด ย่อมต้องพิจาราณาตามเวลาที่มีมติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือตามวันที่ได้มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ถึงแม้ในเวลานั้น มโนสำนึกในทางกฎหมายของนายอภิชาตในฐานะนักนิติศาสตร์คนหนึ่งขณะนั้น เองจะไม่เห็นเหตุปรากฏต่อตนก็ตาม หากเป็นเช่นนี้แล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมมือหรือถ่วงดุลกันระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง ดังที่ศาลเองได้อธิบายไว้ ในช่วงแรกของคำวินิจฉัย (หน้า ๘-๑๐) ก็จะไม่เกิดขึ้น ส่งผลที่แปลกประหลาดคือนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องยอม ตามมติหรือความเห็นของผู้อื่น ทั้งที่กฎหมายจะบัญญัติบทบาท หน้าที่ อำนาจและดุลยพินิจหลายประการให้แก่นายทะเบียนพรรคการเมืองก็ตาม
อีกทั้งหากกลับไปพิจารณาตรรกะของวิธิในการลงมติแล้ว โดยพิจารณาสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็นสองกลุ่ม ที่หักล้างกันเองเสียแล้ว แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม ก็ยังขัดแย้งและหักล้างกันเองโดยสิ้นเชิง
๒.๑.๕ หากเราเห็นด้วยว่าการยื่นคำร้องในคดีนี้พ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดจริง มโนสำนึกในทางกฎหมายย่อมนำพาให้พิเคราะห์ว่า ระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าว มีเจตนารมณ์และความมุ่งหมายเพื่อการใด
หากลองเปรียบเทียบข้อกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาที่พอคุ้นเคย เช่นอายุความการฟ้องคดีแพ่ง หากผู้เสียหายไม่ฟ้องในระยะเวลาที่กำหนด เช่นภาย ๑ ปีก็ดี หรือใน ๑๐ ปีก็ดี แล้วแต่กรณี และคู่ความอีกฝ่ายยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ผู้ฟ้องคดีย่อมเสียสิทธิ ทั้งนี้เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายแพ่งส่วนหนึ่งก็เพื่อสนับสนุนให้ผู้เสียหายระมัดระวังและไม่เพิกเฉยดูดายต่อความเสียหายต่อสิทธิของตน รีบหาทางป้องกัน เยียวยาแก้ปัญหา ไม่ใช่สะสมความเสียหายไว้มาตั้งเป็นคดีหากได้เปรียบภายหลัง อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไปนาน พยานหลักฐานอาจสูญหายยากต่อการพิสูจน์
หากพิจารณาในบริบทคดีปกครองทั่วไป กฎหมายปกครองกำหนดระยะเวลาฟ้องคดีที่กระชับพอเหมาะ เช่น ต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี เพราะการเพิกถอนการกระทำทางปกครองที่ดำเนินการไปนานและมีผลเป็นการทั่วไปแล้วอาจเกิดความวุ่นวายได้ กระนั้นก็ดี ในบางกรณีที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่น ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้ ทั้งนี้เพราะเจตนารมณ์และความมุ่งหมายสำคัญของกฎหมายปกครองก็คือการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ
หากพิจารณาในบริบทวิธีบัญญัติทั่วไป ข้อกฎหมายที่บังคับให้คู่ความในคดีต้องยื่นเอกสารให้ศาลและคู่ความอีกฝ่ายภายในเวลาที่กำหนด ก็เพื่อให้ศาลและคู่ความอีกฝ่ายสามารถมีเวลาตรวจสอบเอกสารและเตรียมตัวได้ทันการ มิใช่นำหลักฐานหรือข้อหาใหม่มากล่าวหาโดยอีกฝ่ายมิได้ตั้งตัว เป็นต้น
หรือหากจะพิจารณาในบริบทของหลักความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของหลักนิติธรรมที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว กฎหมายย่อมป้องกันมิให้ผู้ใช้อำนาจสามารถใช้อำนาจละเมิดกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อได้มาซึ้งเป้าหมายที่อาจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม เช่น การลักลอบนำหลักฐานการกระทำผิดที่ตำรวจได้มาโดยการใช้อำนาจตรวจค้นที่ผิดกฎหมาย เพื่อมาดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแม้ผู้ต้องหาจะกระทำผิดจริงก็ตาม เพราะหากปล่อยให้วิธีการที่ผิดนำไปสู่ผลที่อาจจะถูกแล้ว ก็จะเปิดช่องให้มีการใช้อำนาจริดรอนสิทธิเสรีภาพได้ไม่จำกัด เพียงแค่อ้างในเป้าหมายเป็นสำคัญ
จากตัวอย่างเหล่านี้ หากหันมาพิจารณาเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของระยะเวลาสิบห้าวันในบริบทกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองที่ศาลวินิจฉัยในคดีนี้แล้ว พิเคราะห์ได้ว่า การสอดส่องติดตามกิจกรรมและการเงินของพรรคการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย กฎหมายจึงกำหนดระยะเวลาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบ หากพบว่ามีเหตุความผิดปรากฏต่อนายทะเบียน นายทะเบียนย่อมต้องหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณายื่นคำร้องต่อศาลโดยไม่ชักช้า เช่น จะอ้างว่ากรรมการการเลือกตั้งติดธุระไม่ได้
ดั้งนั้น ระยะเวลาสิบห้าวันซึ่งสั้นมากจึงมุ่งบังคับให้กระบวนการตรวจสอบอันสำคัญต่อกระบวนการประชาธิปไตยและประโยชน์ส่วนรวมเกิดขึ้น ซึ่งต่างจากลักษณะของอายุความที่มีระยะเวลาเป็นปีในคดีแพ่ง หรือระยะเวลาในบริบทกฎหมายอื่น และที่สำคัญย่อมไม่ใช่ กรณีที่ความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมายจะเสียไป เพราะแม้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะยื่นคำร้องเกินไปอีกเดือน หรือ อีกปี ก็มิได้เป็นกรณีที่ นายทะเบียนและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ใช้อำนาจโดยมิชอบต่อพรรคประชาธิปัตย์เพื่อได้มาซึ่งการเอาผิด แต่เป็นการทำผิดพลาดภายในองค์กรเสียเอง เว้นเสียแต่จะมีข้อเสียเปรียบที่ปรากฏ เช่น ยื่นคำร้องเกินไปสิบปีจนพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เก็บหลักฐานไว้สู้คดีแล้ว จริงอยู่ว่าผลของการยื่นคำร้องเกินกำหนดสิบห้าวันอาจนำไปสู่การต้องรับผิดของผู้มีหน้าที่ยื่นคำร้องตามกฎหมาย แต่ก็จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้สู้คดีโดยสง่างามอย่างเต็มที่ ก็ไม่สมควรเป็นเหตุให้ศาลต้องล้มเลิกกระบวนการเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ระยะเวลาสิบห้าพยายามทำให้เกิดเสียแต่แรก
ในทางกลับกัน หากเรายึดระยะเวลาสิบห้าวันดังที่ปรากฏในคำวินิจฉัยแล้ว อาจเกิดข้อโต้เถียงในอนาคตว่า แท้จริงแล้ว เหตุตามมาตรา ๙๓ วรรคแรก ได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่มีปริมาณพยานหลักฐานมาก ซ้ำร้ายยังจะเป็นการกดดันให้นายทะเบียนและ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ลังเลที่จะใช้เวลาเพื่อพิจารณาเหตุความผิดโดยละเอียดในที่สุด
๒.๒ เหตุผลเรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
ศาลอธิบายในคำวินิจฉัย (หน้า ๙-๑๑) ว่า เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ ๑๔๔/ ๒๕๕๒ ในส่วนกรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคดีนี้ (กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท) คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งตามรวมกันไปกับอีกข้อหา (กรณีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) ว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก่อนว่า แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการปรับบทบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้นเท่านั้น การที่นายอภิชาตได้ทำความเห็นส่วนตนในการลงมติเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นการกระทำในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง ความเห็นของนายอภิชาตในการลงมติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมติที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ศาลอธิบายต่อว่าการลงมติดังกล่าวแตกต่างจากการสั่งที่ให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ได้มีความเห็น เช่นนั้นก่อนแล้ว จึงเสนอความเห็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบความเห็นของนายอภิชาตในการลงมติ ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ จึงไม่อาจถือได้ว่า เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง
ศาลสรุปว่า เมื่อนายทะเบียนพรรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ตามมาตรา ๙๓ การให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้
ผู้ทำความเห็นตั้งข้อสังเกตดังนี้
๒.๒.๑ การให้เหตุผลดังกล่าว แท้จริงแล้วเป็นการเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ
ศาลให้เหตุผลว่า นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ต้องแสดงความเห็นในรูปแบบที่เฉพาะที่แยกชัดเจนจากการลงมติในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ทำความเห็นไม่แน่ใจว่าศาลนำหลักอะไรมาตีความว่า มาตรา ๙๓ วรรคสองที่บัญญัติว่า “ให้นายทะเบียนโดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน” หมายความว่า นายอภิชาต ต้องสวมสถานะนายทะเบียนพรรคการเมืองในรูปแบบเฉพาะที่ศาลพอใจ เพื่อแจ้งความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน โดยศาลก็มิได้ระบุว่ารูปแบบมีกฎเกณฑ์อย่างไร เช่นต้องทำเป็นหนังสือ หรือกล่าวโดยวาจาในที่ประชุมโดยแจ้งให้ทราบว่าตนกำลังแสดงความเห็นใน ฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง จากนั้นจึงกลับไปสนทนาในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ข้อเท็จจริงสำคัญในคำวินิจฉัย (หน้า ๗-๘) ศาลรับฟังว่า ในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติสำหรับกรณีคำร้องในคดีนี้ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ (มีนายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งรวมอยู่ด้วย) ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิชาต ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง ศาลอธิบายต่อว่า ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มิได้เข้าประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ตามมาตรา ๙๓ โดยถือว่าความเห็นส่วนตนของนายอภิชาตที่ลงมติไว้ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง
ผู้ทำความเห็นจำต้องนำประเด็นเรื่องมโนสำนึกในทางกฎหมายกลับมาถามว่า นายอภิชาตซึ่งเป็นนักนิติศาสตร์ที่กฎหมายให้ความไว้วางใจสวมหมวกสำคัญสองใบในเวลาเดียวกันเพื่อสามารถดำเนินภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมกัน สามารถมีมโนสำนึกในทางกฎหมายแยกเป็นสองมาตรฐาน มาใช้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีเดียวกัน ให้ปรากฏผลต่างกันในเวลาเดียวกันได้ กล่าวคือ ในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ ศาลรับฟังว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา ๙๓ วรรคสอง และในวันเดียวกันนั้นเอง ศาลกำลังบอกว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีมโนสำนึกแยกเป็นอีกหนึ่งมาตรฐาน โดยเห็นว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กระนั้นหรือ?
๒.๒.๒ การเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ นอกจากจะก่อให้เกิดผลประหลาดแล้ว ยังเป็นการใช้อำนาจตุลาการเข้าไปกำหนดการทำงานภายในของคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ระบบปฎิบติภายในองค์กรก็เพียงพอที่จะเข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๙๓ วรรคสองแล้ว กล่าวคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นตรงกัน โดยมโนสำนึกของนายทะเบียนพรรคการเมืองปรากฎชัดต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ แล้ว และต่อมาในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง มีมติเห็นชอบยืนยันอีกครั้ง
๒.๒.๓ ในขณะเดียวกัน ศาลไม่ได้ให้คำอธิบายเลยว่า หากปล่อยให้การดำเนินการดังกล่าวดำเนินต่อไปแล้ว จึงถือเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญด้วยเหตุใด เช่น หากพิจารณาตามหลักความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) แล้วการดำเนินการดังกล่าวโดยผู้ใช้อำนาจคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ใช้อำนาจละเมิดกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อได้มาซึ้งเป้าหมายที่อาจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม โดยริดรอนสิทธิเสรีภาพ สร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไร หรือ การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อระบบการใช้อำนาจระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างไร และที่สำคัญเมื่อพิจารณาตามหลักความได้สัดส่วน (proptionality principle) แล้ว การนำข้อขัดข้องที่ศาลพบเห็นและไม่ได้มีระบุไว้ชัดในกฎหมาย มาเป็นเหตุให้กระบวนการยุติธรรมชะงักงันและเดินต่อไปไม่ได้ ดูประหนึ่งเป็นการทอดทิ้งเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหวังให้มีการตรวจสอบพรรคการเมืองยิ่งนัก
๒.๒.๔ สมมติว่าเรายอมรับตรรกะของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรก ๓ เสียง ที่เน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบมากกว่าสาระนี้ ผู้ทำความเห็นก็อดคิดไม่ได้ว่า ณ วันนี้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะอาศัยเหตุผลที่เข้มงวดในทางรูปแบบดังกล่าวกลับไปให้ความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งได้หรือไม่ โดยตีความตามคำวินิจฉัยของศาลว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ นายทะเบียนพรรคการเมืองเอง ก็ยังไม่เคยแจ้งให้ใครทราบโดยชัดเจนว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์ได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนแล้ว หรือไม่ เมื่อใด มีแต่แสดงออกผ่านการลงมติและความเห็นในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง อีกทั้งการยื่นคำร้องให้ศาลในคดีนี้ ศาลเองก็วินิจฉัยว่ากระบวนการไม่ชอบ ก็ย่อมต้องตีความโดยเน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์แม้อาจจะได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนในทางสาระ แต่ก็มิได้ปรากฏโดยชอบในทางรูปแบบ ดังนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมกลับไปเริ่มกระบวนการใหม่ ได้หรือไม่?
๒.๒.๕ สิ่งน่าอัศจรรย์ปรากฏอีกครั้งเมื่อตุลาการเสียงข้างมากผู้ทำคำวินิจฉัยเองได้มีมโนสำนึกในทางกฎหมายที่แยกเป็นสองมาตรฐานในคำวินิจฉัยเดียวกัน เพราะตุลาการเสียงข้างมาก ๓ เสียง เห็นว่านายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องแสดงความเห็นเป็นรูปแบบเฉพาะนั้น ต่อมาในการให้เหตุผลในส่วนตุลาการเสียงข้างมาก ๑ เสียง ที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่กฎหมายกำหนด กลับให้เหตุผลที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้
ในคำวินิจฉัยหน้า ๑๑-๑๒ ศาลกล่าวว่า มีเหตุผลให้วินิจฉัยอีกทางหนึ่ง กล่าวคือกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา ๙๓ วรรคแรกนั้น มาตรา ๙๓ วรรคสอง มิได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเข้าเสนอความเห็นด้วยว่า พรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคแรกต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง ต่างจากกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา ๙๔ ที่มาตรา ๙๕ บัญญัติว่า เรื่องปรากฏต่อนายทะเบียน พรรคการเมืองและนายทะเบียนได้ตรวจสอบแล้ว กล่าวคือนายทะเบียนต้องตรวจสอบ แล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมความเห็นว่า พรรคการเมืองใดกระทำตามมาตรา ๙๔ หรือไม่
สมควรเน้นอีกครั้งว่า หากกลับไปพิจารณาตรรกะของวิธิในการลงมติแล้ว หากเราลองพิจารณาสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็นสองกลุ่ม แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม แต่สาระในทางเหตุผลไม่ใช่แค่ไม่ตรงกันบางประเด็น แต่กลับหักล้างกันเองในทุกประเด็นหลักเสียแล้ว มติทั้งสี่เสียงอันขัดแย้งกันในสาระอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ ยากที่จะถือว่าเป็นมติเสียงข้างมากโดยชอบธรรมได้
๓. ศาลควรปรับปรุงระบบการบริหารคดี
ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือไม่ ผลจากคำวินิจฉัยก็เป็นตัวอย่างอันดีให้ผู้เกี่ยวข้องควรหันมาทบทวนระบบการบริหารคดีของศาลว่า พอจะมีวิธีใดที่สามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรของชาติที่ทุ่มเทไปกับกระบวนการทั้งหมดได้หรือไม่ เช่น การพิจารณาคดีอาจแยกเป็นส่วน ส่วนแรกเรื่องเขตอำนาจและความชอบของกระบวนการยื่นคำร้อง ซึ่งพึงพิจารณาให้เสร็จก่อนที่จะทุ่มเวลากับการสืบพยานหลักฐานที่เป็นเนื้อหาสาระของคดี แน่นอนว่าการบริหารคดีที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ ศาลเองย่อมอาศัยความช่วยเหลือจากบรรดาเลขานุการและนิติกรที่มีความรู้กฎหมายและมาทำงานประจำได้เป็นแน่ อนึ่ง ผู้ทำความเห็นอดคิดไม่ได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ หากนายทะเบียนพรรคการเมืองได้สืบสวนหรือค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจทำให้ปรากฏซึ่งเหตุอันเป็นความผิด แต่เผอญข้อมูลดังกล่าวไม่ได้อยู่รวมเป็นส่วนหนึ่งในสำนวนของคดีที่ฟ้องอยู่ทั้งสองคดีเสียแล้ว ก็อาจมีการเริ่มกระบวนการให้ถูกต้องเสียใหม่ โดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา ๘๒ ก็ดี ๙๔ (๔) ก็ดี ซึ่งกินความกว้างพอสมควร
๔. คู่ความต้องมีโอกาสในการสู้คดีอย่างเต็มที่
ผู้ทำความเห็นไม่ติดใจว่าประเด็นระยะเวลาสิบห้าวัน ศาลยกขึ้นพิจารณาเองได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือ การพิจารณาประเด็นดังกล่าวควรเป็นกรณีศึกษาว่า เมื่อศาลไม่ได้เปิดโอกาสให้คู่ความในคดีทราบได้แน่ชัดว่าในใจตุลาการแต่ละท่านคิดเห็นหรือสงสัยถึงประเด็นใดอยู่เป็นพิเศษ อีกทั้งการพิจารณาคดีโดยตุลาการตั้งคำถามสดก็มิอาจพบเห็นบ่อยนัก จึงน่าพิเคราะห์ว่า คู่ความในคดี ได้มีโอกาสนำเสนอข้อต่อสู้และตรวจสอบพยานหลักฐานในประเด็นเฉพาะเจาะจงที่อยู่ในใจตุลาการอันเป็นประเด็นตัดสินคดีมากน้อยเพียงใด เพราะหากสุดท้ายกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินมาทั้งหมดติดอยู่กับเพียงประเด็นว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่และเมื่อเวลาใด หรือทำไปในฐานะใด ศาลก็สมควรให้คู่ความได้ทราบถึงความสำคัญของประเด็นเฉพาะเจาะจงดังกล่าว และคู่ความก็สมควรได้ซักถามนายทะเบียนพรรคการเมืองผู้นั้นต่อหน้าศาลอย่างละเอียด และนำเสนอข้อโต้แย้งในการตีความกฎหมายเรื่องระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับประชาชนที่จะได้ติดตามรับฟัง เพื่อสุดท้ายศาลสามารถรับฟังความอย่างรอบด้านและนำความจริงในห้องเปิดมาอธิบายให้ปรากฏ
แต่หากสุดท้ายความยุติธรรมคือกรณีที่หารือถือเอาได้แต่เพียงในห้องปิด ซ้ำโดยอาศัยพยานสำคัญที่ตัวไม่ปรากฏแต่ส่งมาเพียงเอกสารเสียแล้ว ก็คงเป็นชะตากรรมของเรา ประชาชนชาวไทย ที่ต้องเลือกระหว่างการยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ หรือเรียกร้องสังคมที่ไม่เขินอายต่อความจริง
ไม่แน่ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ภาคต่อไป เราอาจได้เห็นกัน!
บทส่งท้าย
เหตุแห่งกระแสความใส่ใจในความเป็นกลางและจริยธรรมของตุลาการนั้น ปรากฏพบเป็นครั้งคราว แต่เหตุอันพึงปรากฏโดยมิต้องอาศัยกระแส คือเรื่องความละเอียด แม่นยำ และแยบยลในนิติวิธีและหลักกฎหมาย ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการต่างเป็นผู้ใช้อำนาจของเรา แต่เราไม่อาจอาศัยกระบวนการทางการเมืองเพื่อคัดเลือก สนับสนุนหรือลงโทษตุลาการได้ดั่งที่เราพึงทำต่อนักการเมืองได้ อีกทั้ง การตรวจสอบตุลาการที่ผ่านมาปรากฏไม่ชัด ส่วนหนึ่งอาจด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญให้ตุลาการมีบทบาทสำคัญในการได้มาซึ่งส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบตุลาการเสียเอง
สิ่งที่เราประชาชนพึงทำได้ คือติดตาม ใคร่ครวญ และกล้าหาญที่จะหวงแหนในเหตุผลและความยุติธรรมของคำวินิจฉัย เพราะความยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตยมิอาจดำรงได้ด้วยมาตรฐานทางเหตุผลหรือคุณธรรมจำเพาะของคนบางกลุ่ม แต่ต้องฟูมฟักและงอกเงยจากสำนึกและประสบการณ์ของปวงชนที่สะท้อนผ่านกระบวนการและกฎหมายที่เรามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน
ครอบครัว คุณครู และมิตรสหาย ต้องร่วมกันกระตุ้นสำนึกดังกล่าวผ่านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน อย่างน้อยก็โดยปฎิเสธความมักง่ายที่จะนิ่งเฉยดูดายภายใต้เงาของความเป็นกลางอันว่างเปล่า เราต้องเรียกร้องสถาบันวิชาการและสื่อมวลชนให้ยึดมั่นและกล้าหาญในการทำหน้าที่เพื่อสังคม และต่อต้านการนำเสนอที่มอมเมาหรือตื้นเขิน พร้อมสนับสนุนการถ่ายถอดหลักการและสิ่งที่ปรากฏจากคำวินิจฉัยผ่านผลงานในระดับนานาชาติ ให้ทราบไปถึงบรรดาผู้นำทางความคิด อาจารย์นิติศาสตร์ หรือ ผู้พิพากษาในต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นการช่วยสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ที่ดีสำหรับตุลาการไทยอีกทางหนึ่ง
เราต้องจดจำใบหน้าของผู้แทนที่พร้อมจะเชื่อมโยงมโนสำนึกที่เรามีต่อคำวินิจฉัยไปสู่ศาลและตัวบทกฎหมาย ไม่ว่าจะผ่านการตรวจสอบทางรัฐสภา การแก้กฎหมาย หรือการรณรงค์ทางการเมือง และไม่ลืมชื่อหรือนามสกุลของผู้แทนที่พร้อมทอดทิ้งหลักการ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของตนเอง
และสุดท้าย เราต้องร่วมกันจรรโลงความหวังและเป็นกำลังใจให้ตุลาการผู้เปี่ยมด้วยใจอันเป็นธรรม รวมไปถึงผู้พิพากษาในศาลอื่น ที่อาจพลอยต้องพิจารณาคดีที่เป็นผลพวงจากคดีนี้ ให้คงใจที่เปิดกว้างและรับฟังเสียงของปวงชน ให้สมดั่งเป็นตุลาการที่มาจากปวงชน โดยปวงชน และเพื่อปวงชน
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คดี258ล้านปชป.ไม่รอดอัยการ-กกต.มั่นใจศาลใช้เทคนิคเดิมตัดสินไม่ได้
อัยการและ กกต. แสดงความมั่นใจคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ไซฟ่อนเงิน 258 ล้านบาท จะไม่ถูกยกคำร้องเหมือนคดีใช้เงิน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์แน่เพราะยื่นฟ้องคนละข้อกฎหมาย เผยส่งฟ้องคดีไปนานแล้วแต่ยังไม่ได้รับการติดต่อจากศาลรัฐธรรมนูญว่าจะให้ทำอย่างไร จะนัดพร้อมคู่ความและเปิดไต่สวนคดีได้เมื่อไร ส.ว.สรรหาจี้ตุลาการเสียงข้างน้อยชี้แจงเหตุผลไม่ยกคดี ตั้งคำถามเรื่องเงื่อนเวลาเป็นข้อกำหนดของกฎหมายทำไมเสียงไม่เป็นเอกฉันท์ เพื่อไทยเตรียมประชุมทีมกฎหมายหาช่องยื่นถอดถอน 6 ตุลาการ ด้านเลขาธิการสถาบันพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองขีดเส้นภายใน 1 เดือน กกต. ทั้ง 5 คนต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด หนึ่งในคณะทำงานอัยการคดีอัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคประชาธิปัตย์ข้อหารับเงินบริจาคจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) อย่างผิดกฎหมายจำนวน 258 ล้านบาท ยืนยันว่า คดี 258 ล้านบาทจะไม่ซ้ำรอยคดีเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องเพราะยื่นฟ้องไม่ทันกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดแน่นอน แม้ขั้นตอนการฟ้องคดีจะเหมือนกันแต่รูปคดีต่างกัน เพราะเรื่องนี้เป็นการทำนิติกรรมอำพราง ไซฟ่อนเงินในตลาดหลักทรัพย์ฯผ่านพรรคการเมือง เป็นความผิดคนละมาตรากับคดี 29 ล้านบาท
รอเมื่อไรศาลจะนัดพิจารณาคดี
“คดี 258 ล้านบาท อัยการสูงสุดเป็นคนลงนามส่งฟ้องเองและส่งเรื่องไปที่ศาลนานหลายเดือนแล้ว กำลังรอว่าศาลจะนัดฟังว่าจะรับคำร้องหรือไม่เมื่อไร หรือว่าจะนัดสืบพยานกันวันไหน ซึ่งอัยการเตรียมทีมงานเอาไว้หมดแล้วแต่ยังไม่ได้รับการติดต่ออะไรจากศาลรัฐธรรมนูญ” โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดระบุ
นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด หนึ่งในคณะทำงานคดี 258 ล้านบาท กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์มีสิทธิที่จะเอาบรรทัดฐานคำตัดสินจากคดี 29 ล้านบาท ไปยื่นเพื่อขอให้ศาลจำหน่ายคดี 258 ล้านบาทได้ หากยื่นจริงอัยการก็ต้องคัดค้าน ส่วนผลจะเป็นอย่างไรอยู่ที่ดุลยพินิจของศาล
คดี 258 ล้านเงื่อนเวลาไม่เหมือนกัน
“เรื่องนี้ต้องโต้แย้งกันในข้อกฎหมายเพราะเป็นการฟ้องเอาผิดคนละมาตรากัน เรื่องเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองกำหนดให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำร้องยุบพรรคต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน แต่กรณีไซฟ่อนเงินอัยการสูงสุดเป็นคนเซ็นส่งฟ้อง ซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาฟ้องภายใน 30 วัน” นายวัยวุฒิกล่าว
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การจะยื่นเรื่องให้ศาลจำหน่ายคดี 258 ล้านบาท ได้หรือไม่ต้องดูที่ข้อกฎหมาย จากนั้นจึงดูข้อเท็จจริง ซึ่งที่สุดแล้วต้องอยู่ที่ดุลยพินิจของศาลว่าจะเห็นอย่างไร
ปชป. เล็งใช้ประโยชน์จากคำตัดสิน
นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายเพื่อต่อสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จะต้องรอดูรายละเอียดคำตัดสินของศาลรัฐธณรมนูญในคดี 29 ล้านบาท ก่อนว่าจะมีส่วนไหนเป็นคุณกับคดี 258 ล้านบาทหรือไม่ ซึ่งทั้ง 2 คดีมีความคาบเกี่ยวกันอยู่
“คดี 258 ล้านบาท พรรคได้ยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาไปตั้งแต่เดือน ต.ค. ที่ผ่านมา กำลังรออยู่ว่าศาลจะนัดพร้อมคู่ความเมื่อไร ระหว่างนี้หากศึกษาคำวินิจฉัยคดี 29 ล้านบาท แล้วเห็นว่ามีประเด็นที่เป็นคุณก็จะยื่นเอกสารเพิ่มเติมไปอีก”
ขีดเส้น 1 เดือน 5 กกต. ต้องลาออก
นายตุลย์ ประเสริฐศิลป์ เลขาธิการสถาบันพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยกรรมการสถาบัน เข้ายื่นหนังสือผ่านคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จังหวัดขอนแก่นถึง กกต. กลางทั้ง 5 คน ขอให้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีศาลยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะถือว่าเป็นความผิดพลาดของ กกต. ที่ฟ้องคดีไม่ทันเงื่อนเวลาตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะให้เวลา 1 เดือน หากไม่ลาออกจะเป็นผู้รวบรวมรายชื่อเพื่อยื่นถอดถอนต่อไป
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยหลังการประชุม กกต. ว่าที่ประชุมรับทราบคำวินิฉัยของศาลรัฐธรมนูญ และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ทำคดีนี้ว่าทำดีที่สุดแล้ว จากนี้จะรอคำวินิจฉัยฉบับเต็มเพื่อพิจารณาหาข้อบกพร่องต่อไป
กกต. ชี้เป็นเรื่องที่เห็นไม่ตรงกัน
“คดีนี้เป็นคดีแรกที่ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องใช้ดุลยพินิจ ซึ่งเมื่อรับเรื่องเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2552 ท่านชี้ว่าให้ยกคำร้องทั้งคดี 29ล้านบาท และคดี 258 ล้านบาท ท่านอื่นทักท้วงจึงมีการตั้งกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริง และได้หลักฐานเพิ่มเติมจึงเปลี่ยนใจส่งฟ้อง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไปนับเงื่อนเวลาจากการตัดสินใจครั้งแรก ตรงนี้เป็นข้อบกพร่องของกฎหมายที่ต้องไปแก้ไข เพราะในข้อเท็จจริงเวลา 15 วัน ถือว่าน้อยเกินไป” นายประพันธ์กล่าวและว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เห็นไม่ตรงกันในข้อกฎหมาย แต่เมื่อตัดสินมาแล้วต้องยอมรับ นายทะเบียนพรรคการเมืองทำเต็มที่แล้ว เรื่องจะให้ลาออกไม่สมเหตุสมผล
มั่นใจคดี 258 ล้านไม่ซ้ำรอยเดิม
นายประพันธ์กล่าวว่า คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท จะไม่ซ้ำรอยคดีเงิน 29 ล้านบาท แน่นอนเพราะเป็นการฟ้องคนละมาตรา ซึ่งมีเงื่อนเวลาต่างกัน มั่นใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องกรอบเวลาส่งฟ้องศาลแน่นอน
นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา เรียกร้องให้นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และนายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อย ออกมาชี้แจงเหตุผลว่าทำไมไม่ให้ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
จี้ 2 ตุลาการเสียงข้างน้อยแจงเหตุผล
“ตามหลักแล้วหากจะยกคำร้องเพราะว่ายื่นฟ้องไม่ทันตามกำหนดเสียงต้องเป็นเอกฉันท์ เพราะเป็นเรื่องของข้อกฎหมาย แต่เมื่อมี 2 คนที่เห็นแตกต่างก็ต้องออกมาชี้แจงกับสังคม นอกจากนี้ยังต้องชี้แจงด้วยว่าเหตุใดเมื่อเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วจึงให้มีการไต่สวนพยานและเรียกเอกสารไปดูเป็นแสนๆแผ่น เรื่องนี้ต้องชี้แจงให้สังคมหายความเคลือบแคลงใจ” นายประสารกล่าว
นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีต ส.ว.จังหวัดตาก ให้ความเห็นว่า นายทะเบียนอาจมีความเห็นค้านคำวินิจฉัยของศาลได้ว่า วันที่ 17 ธ.ค. 2552 ยังไม่พบความผิดจึงได้ตั้งกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริง เรื่องนี้ต้องยึดตามมติสุดท้ายของ กกต. แต่คงไปแก้อะไรไม่ได้เพราะตัดสินไปแล้ว
คดี 258 ล้านใช้มุขเดิมตัดสินไม่ได้แล้ว
“คดี 258 ล้านบาท คงใช้เหตุผลเดิมไม่ได้แล้ว คดีนี้ต้องตัดสินในเนื้อหาสาระของคดี ศาลจะหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน คดี 29 ล้านบาท กับคดี 258 ล้านบาท เป็นข้อเท็จจริงชุดเดียวกัน เพราะคดีทั้ง 2 เรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์เอาไปใช้มั่วกัน ซึ่งทางอัยการแถลงสรุปได้ชัดเจนมากว่ามีการรายงานเรื่องการใช้จ่ายเงินเป็นเท็จ ไม่ตรงกับความจริงและไม่ได้ไปทำตามที่ กกต. อนุมัติให้ไปทำ เพราะเรื่องพรรคประชาธิปัตย์เอาไปอ้างว่าทำตามที่ กกต. อนุมติให้ทำ ความจริงได้ทำเสร็จไปแล้วก่อนหน้านี้ ดังนั้น ประเด็นเรื่องคดี 258 ล้านบาท คิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ดิ้นอย่างไรก็ลำบาก เพราะถึงอย่างไรศาลได้พิจารณาคดีนี้แน่ๆว่าผิดหรือไม่ผิด เพียงแต่เงื่อนไขเวลาในการพิจารณาของศาลอาจจะช้าบ้าง” นายพนัสกล่าว
เพื่อไทยหาช่องฟ้อง 6 ตุลาการ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงหลังการประชุมแกนนำพรรคว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาต่อสู้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
“แม้ผลของคำตัดสินจะถือว่าสิ้นสุดทางกฎหมาย แต่ไม่ได้สิ้นสุดในหัวใจของคนที่รักความยุติธรรม พรรคต้องขอร้องว่าให้คนที่ไม่พอใจแสดงออกอย่างสงบ” นายพร้อมพงศ์กล่าวและว่า วันที่ 1 ธ.ค. ทีมกฎหมายของพรรคจะหารือกันว่าจะยืนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญในคดีเงิน 29 ล้านบาทได้หรือไม่ และหารือถึงคดียุบพรรคกรณีเงิน 258 ล้านบาทด้วย
อาจถึงขั้นยื่นถอดถอน
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตามกระบวนการยุติธรรมแล้วเมื่อศาลจะไม่รับฟ้องคดีก็ไม่ควรจะต้องเปิดไต่สวนคดีโดยใช้เวลานานหลายเดือน ถือว่าเรื่องนี้ไม่ปรกติ ซึ่งพรรคจะได้หารือข้อกฎหมายเพื่อดำเนินการยื่นถอดถอนตุลาการ 6 คน ที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดีต่อไป
ที่โรงแรมเรดิสัน นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้ความเห็นว่า การตัดสินยุบหรือไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่เรื่องสำคัญคือความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญยังมีอยู่หรือไม่ การตัดสินเรื่องข้อกฎหมายที่เป็นเงื่อนเวลาทำให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยว่าสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ทำไปผิดหรือถูก เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยประเด็นนี้
แย้งความเห็นนายทะเบียนพรรคการเมือง
นายจาตุรนต์กล่าวอีกว่า กรณีที่วินิจฉัยว่าการยื่นฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะยื่นฟ้องหลังจากความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเกิน 15 วันนั้น ในอดีตเคยมีกรณีที่เหมือนกันคือ กกต. ในฐานะผู้ร้องให้ยุบพรรคการเมืองพรรคหนึ่งได้ระบุว่า วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองคือวันที่ผู้ร้องได้พิจารณาและเห็นชอบให้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งในขณะนั้นผู้ร้องคือนายทะเบียนพรรคการเมืองก็คือนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. คนเดียวกับที่ร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ แต่กรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่าวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนคือวันที่ 17 ธ.ค. 2552 แต่ข้อเท็จจริงคือในช่วงนั้น กกต. ยังไม่มีมติให้ยื่นคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์และยังถกเถียงกันอยู่ ขณะที่ตัวนายอภิชาตเองมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง การนับจากวันที่ 17 ธ.ค. 2552 จึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือต้องนับจากวันที่ 21 เม.ย. 2553 ที่ กกต. ทั้งคณะเห็นชอบให้ฟ้องตามมาตรา 93 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง สรุปคือการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และไม่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยที่เคยยุบพรรคการเมืองอื่นๆมาแล้ว
“ผลของคดีนี้จะทำให้คนจำนวนมากเลิกเชื่อถือระบบที่มีอยู่ และอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ แต่ส่วนตัวไม่อยากให้เกิด อยากให้ประชาชนศึกษาคำวินิจฉัยและวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทำทุกอย่างโดยสันติวิธีเพื่อตามหาความยุติธรรม”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************
นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด หนึ่งในคณะทำงานอัยการคดีอัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคประชาธิปัตย์ข้อหารับเงินบริจาคจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) อย่างผิดกฎหมายจำนวน 258 ล้านบาท ยืนยันว่า คดี 258 ล้านบาทจะไม่ซ้ำรอยคดีเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องเพราะยื่นฟ้องไม่ทันกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดแน่นอน แม้ขั้นตอนการฟ้องคดีจะเหมือนกันแต่รูปคดีต่างกัน เพราะเรื่องนี้เป็นการทำนิติกรรมอำพราง ไซฟ่อนเงินในตลาดหลักทรัพย์ฯผ่านพรรคการเมือง เป็นความผิดคนละมาตรากับคดี 29 ล้านบาท
รอเมื่อไรศาลจะนัดพิจารณาคดี
“คดี 258 ล้านบาท อัยการสูงสุดเป็นคนลงนามส่งฟ้องเองและส่งเรื่องไปที่ศาลนานหลายเดือนแล้ว กำลังรอว่าศาลจะนัดฟังว่าจะรับคำร้องหรือไม่เมื่อไร หรือว่าจะนัดสืบพยานกันวันไหน ซึ่งอัยการเตรียมทีมงานเอาไว้หมดแล้วแต่ยังไม่ได้รับการติดต่ออะไรจากศาลรัฐธรรมนูญ” โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดระบุ
นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด หนึ่งในคณะทำงานคดี 258 ล้านบาท กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์มีสิทธิที่จะเอาบรรทัดฐานคำตัดสินจากคดี 29 ล้านบาท ไปยื่นเพื่อขอให้ศาลจำหน่ายคดี 258 ล้านบาทได้ หากยื่นจริงอัยการก็ต้องคัดค้าน ส่วนผลจะเป็นอย่างไรอยู่ที่ดุลยพินิจของศาล
คดี 258 ล้านเงื่อนเวลาไม่เหมือนกัน
“เรื่องนี้ต้องโต้แย้งกันในข้อกฎหมายเพราะเป็นการฟ้องเอาผิดคนละมาตรากัน เรื่องเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองกำหนดให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำร้องยุบพรรคต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน แต่กรณีไซฟ่อนเงินอัยการสูงสุดเป็นคนเซ็นส่งฟ้อง ซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาฟ้องภายใน 30 วัน” นายวัยวุฒิกล่าว
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การจะยื่นเรื่องให้ศาลจำหน่ายคดี 258 ล้านบาท ได้หรือไม่ต้องดูที่ข้อกฎหมาย จากนั้นจึงดูข้อเท็จจริง ซึ่งที่สุดแล้วต้องอยู่ที่ดุลยพินิจของศาลว่าจะเห็นอย่างไร
ปชป. เล็งใช้ประโยชน์จากคำตัดสิน
นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายเพื่อต่อสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จะต้องรอดูรายละเอียดคำตัดสินของศาลรัฐธณรมนูญในคดี 29 ล้านบาท ก่อนว่าจะมีส่วนไหนเป็นคุณกับคดี 258 ล้านบาทหรือไม่ ซึ่งทั้ง 2 คดีมีความคาบเกี่ยวกันอยู่
“คดี 258 ล้านบาท พรรคได้ยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาไปตั้งแต่เดือน ต.ค. ที่ผ่านมา กำลังรออยู่ว่าศาลจะนัดพร้อมคู่ความเมื่อไร ระหว่างนี้หากศึกษาคำวินิจฉัยคดี 29 ล้านบาท แล้วเห็นว่ามีประเด็นที่เป็นคุณก็จะยื่นเอกสารเพิ่มเติมไปอีก”
ขีดเส้น 1 เดือน 5 กกต. ต้องลาออก
นายตุลย์ ประเสริฐศิลป์ เลขาธิการสถาบันพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยกรรมการสถาบัน เข้ายื่นหนังสือผ่านคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จังหวัดขอนแก่นถึง กกต. กลางทั้ง 5 คน ขอให้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีศาลยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะถือว่าเป็นความผิดพลาดของ กกต. ที่ฟ้องคดีไม่ทันเงื่อนเวลาตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะให้เวลา 1 เดือน หากไม่ลาออกจะเป็นผู้รวบรวมรายชื่อเพื่อยื่นถอดถอนต่อไป
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยหลังการประชุม กกต. ว่าที่ประชุมรับทราบคำวินิฉัยของศาลรัฐธรมนูญ และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ทำคดีนี้ว่าทำดีที่สุดแล้ว จากนี้จะรอคำวินิจฉัยฉบับเต็มเพื่อพิจารณาหาข้อบกพร่องต่อไป
กกต. ชี้เป็นเรื่องที่เห็นไม่ตรงกัน
“คดีนี้เป็นคดีแรกที่ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องใช้ดุลยพินิจ ซึ่งเมื่อรับเรื่องเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2552 ท่านชี้ว่าให้ยกคำร้องทั้งคดี 29ล้านบาท และคดี 258 ล้านบาท ท่านอื่นทักท้วงจึงมีการตั้งกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริง และได้หลักฐานเพิ่มเติมจึงเปลี่ยนใจส่งฟ้อง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไปนับเงื่อนเวลาจากการตัดสินใจครั้งแรก ตรงนี้เป็นข้อบกพร่องของกฎหมายที่ต้องไปแก้ไข เพราะในข้อเท็จจริงเวลา 15 วัน ถือว่าน้อยเกินไป” นายประพันธ์กล่าวและว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เห็นไม่ตรงกันในข้อกฎหมาย แต่เมื่อตัดสินมาแล้วต้องยอมรับ นายทะเบียนพรรคการเมืองทำเต็มที่แล้ว เรื่องจะให้ลาออกไม่สมเหตุสมผล
มั่นใจคดี 258 ล้านไม่ซ้ำรอยเดิม
นายประพันธ์กล่าวว่า คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท จะไม่ซ้ำรอยคดีเงิน 29 ล้านบาท แน่นอนเพราะเป็นการฟ้องคนละมาตรา ซึ่งมีเงื่อนเวลาต่างกัน มั่นใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องกรอบเวลาส่งฟ้องศาลแน่นอน
นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา เรียกร้องให้นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และนายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อย ออกมาชี้แจงเหตุผลว่าทำไมไม่ให้ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
จี้ 2 ตุลาการเสียงข้างน้อยแจงเหตุผล
“ตามหลักแล้วหากจะยกคำร้องเพราะว่ายื่นฟ้องไม่ทันตามกำหนดเสียงต้องเป็นเอกฉันท์ เพราะเป็นเรื่องของข้อกฎหมาย แต่เมื่อมี 2 คนที่เห็นแตกต่างก็ต้องออกมาชี้แจงกับสังคม นอกจากนี้ยังต้องชี้แจงด้วยว่าเหตุใดเมื่อเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วจึงให้มีการไต่สวนพยานและเรียกเอกสารไปดูเป็นแสนๆแผ่น เรื่องนี้ต้องชี้แจงให้สังคมหายความเคลือบแคลงใจ” นายประสารกล่าว
นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีต ส.ว.จังหวัดตาก ให้ความเห็นว่า นายทะเบียนอาจมีความเห็นค้านคำวินิจฉัยของศาลได้ว่า วันที่ 17 ธ.ค. 2552 ยังไม่พบความผิดจึงได้ตั้งกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริง เรื่องนี้ต้องยึดตามมติสุดท้ายของ กกต. แต่คงไปแก้อะไรไม่ได้เพราะตัดสินไปแล้ว
คดี 258 ล้านใช้มุขเดิมตัดสินไม่ได้แล้ว
“คดี 258 ล้านบาท คงใช้เหตุผลเดิมไม่ได้แล้ว คดีนี้ต้องตัดสินในเนื้อหาสาระของคดี ศาลจะหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน คดี 29 ล้านบาท กับคดี 258 ล้านบาท เป็นข้อเท็จจริงชุดเดียวกัน เพราะคดีทั้ง 2 เรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์เอาไปใช้มั่วกัน ซึ่งทางอัยการแถลงสรุปได้ชัดเจนมากว่ามีการรายงานเรื่องการใช้จ่ายเงินเป็นเท็จ ไม่ตรงกับความจริงและไม่ได้ไปทำตามที่ กกต. อนุมัติให้ไปทำ เพราะเรื่องพรรคประชาธิปัตย์เอาไปอ้างว่าทำตามที่ กกต. อนุมติให้ทำ ความจริงได้ทำเสร็จไปแล้วก่อนหน้านี้ ดังนั้น ประเด็นเรื่องคดี 258 ล้านบาท คิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ดิ้นอย่างไรก็ลำบาก เพราะถึงอย่างไรศาลได้พิจารณาคดีนี้แน่ๆว่าผิดหรือไม่ผิด เพียงแต่เงื่อนไขเวลาในการพิจารณาของศาลอาจจะช้าบ้าง” นายพนัสกล่าว
เพื่อไทยหาช่องฟ้อง 6 ตุลาการ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงหลังการประชุมแกนนำพรรคว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาต่อสู้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
“แม้ผลของคำตัดสินจะถือว่าสิ้นสุดทางกฎหมาย แต่ไม่ได้สิ้นสุดในหัวใจของคนที่รักความยุติธรรม พรรคต้องขอร้องว่าให้คนที่ไม่พอใจแสดงออกอย่างสงบ” นายพร้อมพงศ์กล่าวและว่า วันที่ 1 ธ.ค. ทีมกฎหมายของพรรคจะหารือกันว่าจะยืนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญในคดีเงิน 29 ล้านบาทได้หรือไม่ และหารือถึงคดียุบพรรคกรณีเงิน 258 ล้านบาทด้วย
อาจถึงขั้นยื่นถอดถอน
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตามกระบวนการยุติธรรมแล้วเมื่อศาลจะไม่รับฟ้องคดีก็ไม่ควรจะต้องเปิดไต่สวนคดีโดยใช้เวลานานหลายเดือน ถือว่าเรื่องนี้ไม่ปรกติ ซึ่งพรรคจะได้หารือข้อกฎหมายเพื่อดำเนินการยื่นถอดถอนตุลาการ 6 คน ที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดีต่อไป
ที่โรงแรมเรดิสัน นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้ความเห็นว่า การตัดสินยุบหรือไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่เรื่องสำคัญคือความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญยังมีอยู่หรือไม่ การตัดสินเรื่องข้อกฎหมายที่เป็นเงื่อนเวลาทำให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยว่าสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ทำไปผิดหรือถูก เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยประเด็นนี้
แย้งความเห็นนายทะเบียนพรรคการเมือง
นายจาตุรนต์กล่าวอีกว่า กรณีที่วินิจฉัยว่าการยื่นฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะยื่นฟ้องหลังจากความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเกิน 15 วันนั้น ในอดีตเคยมีกรณีที่เหมือนกันคือ กกต. ในฐานะผู้ร้องให้ยุบพรรคการเมืองพรรคหนึ่งได้ระบุว่า วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองคือวันที่ผู้ร้องได้พิจารณาและเห็นชอบให้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งในขณะนั้นผู้ร้องคือนายทะเบียนพรรคการเมืองก็คือนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. คนเดียวกับที่ร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ แต่กรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่าวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนคือวันที่ 17 ธ.ค. 2552 แต่ข้อเท็จจริงคือในช่วงนั้น กกต. ยังไม่มีมติให้ยื่นคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์และยังถกเถียงกันอยู่ ขณะที่ตัวนายอภิชาตเองมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง การนับจากวันที่ 17 ธ.ค. 2552 จึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือต้องนับจากวันที่ 21 เม.ย. 2553 ที่ กกต. ทั้งคณะเห็นชอบให้ฟ้องตามมาตรา 93 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง สรุปคือการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และไม่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยที่เคยยุบพรรคการเมืองอื่นๆมาแล้ว
“ผลของคดีนี้จะทำให้คนจำนวนมากเลิกเชื่อถือระบบที่มีอยู่ และอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ แต่ส่วนตัวไม่อยากให้เกิด อยากให้ประชาชนศึกษาคำวินิจฉัยและวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทำทุกอย่างโดยสันติวิธีเพื่อตามหาความยุติธรรม”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************
"สดศรี" ยัน กกต.ทำงานตามขั้นตอน ปัดละเลยจนศาลยกคำร้อง
รายงานว่าที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสกดดันหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัยให้ยกคำร้องคดียุบพรรคประ ชาธิปัตย์ไปอยู่ที่ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ความจริงคงต้องไปดูช่วงประเดือนธ.ค.2552 ที่มีการนำเรื่องเข้าสู่ กกต.ทางประธาน และกรรมการ กกต.พิจารณากันอย่างไร เป็นจุดที่เป็นปมอยู่ แต่ก็ต้องบอกว่ากรณีแบบนี้ที่ไม่เคยเกิดกับพรรคอื่นๆก็เพราะมันไม่เคยมีที่ อนุกรรมการฯที่เขาไปสอบสรุปมาแล้วว่ามันไม่ผิดก็ยังให้สอบแล้วสอบอีก 2-3 หน ก็มีเฉพาะกรณีพรรคประชาธิปัตย์ ก็เลยเกิดปัญหาขึ้น
เมื่อถามว่าคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท พรรคจะดำเนินการอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องรอทางศาลจะนัดพร้อมและกำหนดกระบวนวิธีพิจารณาอีกที เพราะศาลเพิ่งให้ยื่นคำแก้คำร้องไปเท่านั้นเอง เมื่อถามว่า ที่มีการพูดว่าเป็นกรณีเดียวกับกับคดีเงิน 29 ล้านบาทนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ใช่ ข้อกฎหมายก็คงต่างกันเพราะเป็นการร้องให้ยุบพรรคตามมาตรา 94 มาตรา 95 ส่วนคดีเงิน 29 ล้านบาทนั้นเป็นกฎหมายในมาตรา 92 มาตรา 93 เป็นคนละกระบวนการกัน
เมื่อถามถึงกรณีที่ฝ่ายค้านบอกว่าจะเสนอให้ถอดถอนถ้าพิจารณาเห็นว่า กกต.ทำผิดก็จะถอดถอน กกต. แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญทำผิดก็จะเสนอให้ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็เป็นสิทธิของใครที่เห็นว่าถ้ามีบุคคลในองค์กรอิสระทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง มีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายต่างๆก็เป็นกลไกการถ่วงดุลตรวจสอบที่รัฐธรรมนูยกำหนดไว้ ใครเห็นเช่นนั้นก็สามารถไปดำเนินการได้ ก็ต้องพิสูจน์กันไป
"สดศรี"ยันกกต.ทำงานตามขั้นตอน ปัดละเลยจนศาลยกคำร้องยุบปชป.
นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่หลายคนตั้งข้อสงสัยในการตีความเรื่องหมดอายุความจากการยื่นคำร้องว่า ที่ผ่านมา นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เคยออกความเห็นในการประชุมครั้งแรกว่า ให้ยกคำร้องในคดีดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมสอบถามว่า เป็นความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่ ครั้งนั้นนายอภิชาตยืนยันว่า เป็นการออกความเห็นในฐานะประธาน กกต. ซึ่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบเพิ่มในกรณีนี้ และใช้เวลาในการสอบ 3 เดือน จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2552 จึงสอบเสร็จและเสนอกลับมาว่า สมควรฟ้องร้องให้มีการยุบพรรค และนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ จึงเสนอให้มีการลงมติร่วมกันของ กกต. น่าจะถือว่าวันที่ 12 เมษายน 2552 เป็นวันที่ให้ความเห็น ซึ่งยืนยันได้ว่า กกต.ไม่ได้ละเลยเรื่องของกำหนดเวลาแต่อย่างใด และถือว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุด
ส่วนกรณีเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้านบาท ที่ยังเหลืออีก 1 คดีนั้น นางสดศรี กล่าวว่า เป็นความผิดคนละมาตรา ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นความผิด มาตรา 95 ที่ไม่มีเงื่อนไขเวลา เป็นเรื่องที่ กกต.ต้องยื่นผ่านอัยการไม่ได้ยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง และทางอัยการได้รับเรื่องแล้วว่า การยื่นเรื่องของ กกต.ยังอยู่ในกำหนด 30 วัน
ที่มาข่าว:
"มาร์ค"ชี้คดีเงินบริจาค258ล้าน ใช้กม.คนละมาตรากับคดีเงิน29ล้าน "สดศรี"ยันกกต.ทำงานตามขั้นตอน ปัดละเลยเงื่อนเวลา (มติชนออนไลน์, 1-12-2553)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291175505&grpid=00&catid=&subcatid=
เมื่อถามถึงกรณีที่ฝ่ายค้านบอกว่าจะเสนอให้ถอดถอนถ้าพิจารณาเห็นว่า กกต.ทำผิดก็จะถอดถอน กกต. แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญทำผิดก็จะเสนอให้ถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็เป็นสิทธิของใครที่เห็นว่าถ้ามีบุคคลในองค์กรอิสระทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง มีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายต่างๆก็เป็นกลไกการถ่วงดุลตรวจสอบที่รัฐธรรมนูยกำหนดไว้ ใครเห็นเช่นนั้นก็สามารถไปดำเนินการได้ ก็ต้องพิสูจน์กันไป
"สดศรี"ยันกกต.ทำงานตามขั้นตอน ปัดละเลยจนศาลยกคำร้องยุบปชป.
นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่หลายคนตั้งข้อสงสัยในการตีความเรื่องหมดอายุความจากการยื่นคำร้องว่า ที่ผ่านมา นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เคยออกความเห็นในการประชุมครั้งแรกว่า ให้ยกคำร้องในคดีดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมสอบถามว่า เป็นความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่ ครั้งนั้นนายอภิชาตยืนยันว่า เป็นการออกความเห็นในฐานะประธาน กกต. ซึ่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบเพิ่มในกรณีนี้ และใช้เวลาในการสอบ 3 เดือน จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2552 จึงสอบเสร็จและเสนอกลับมาว่า สมควรฟ้องร้องให้มีการยุบพรรค และนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ จึงเสนอให้มีการลงมติร่วมกันของ กกต. น่าจะถือว่าวันที่ 12 เมษายน 2552 เป็นวันที่ให้ความเห็น ซึ่งยืนยันได้ว่า กกต.ไม่ได้ละเลยเรื่องของกำหนดเวลาแต่อย่างใด และถือว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุด
ส่วนกรณีเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้านบาท ที่ยังเหลืออีก 1 คดีนั้น นางสดศรี กล่าวว่า เป็นความผิดคนละมาตรา ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นความผิด มาตรา 95 ที่ไม่มีเงื่อนไขเวลา เป็นเรื่องที่ กกต.ต้องยื่นผ่านอัยการไม่ได้ยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง และทางอัยการได้รับเรื่องแล้วว่า การยื่นเรื่องของ กกต.ยังอยู่ในกำหนด 30 วัน
ที่มาข่าว:
"มาร์ค"ชี้คดีเงินบริจาค258ล้าน ใช้กม.คนละมาตรากับคดีเงิน29ล้าน "สดศรี"ยันกกต.ทำงานตามขั้นตอน ปัดละเลยเงื่อนเวลา (มติชนออนไลน์, 1-12-2553)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291175505&grpid=00&catid=&subcatid=
ถาม'กกต.'
น่าจะเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ไปอีกพักใหญ่
กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 4 ต่อ 2 ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
ด้วยเหตุผลที่ว่ากระบวนการยื่นคำร้อง จากจุดเริ่มต้นคือนายทะเบียนพรรคการเมือง กว่าจะกระดืบๆ ถึงมือศาลรัฐธรรมนูญนั้น กินเวลาเกิน 15 วัน
คดีจึงขาดอายุความไปโดยปริยาย
ก่อนหน้าการวินิจฉัยของศาลฯ แวดวงคอการ เมืองวิเคราะห์คาดเดากันไปต่างๆ นานาถึงแนวทางคำวินิจฉัยว่าจะออกมาอย่างไร
เท่าที่ได้ยินมีอยู่หลายแนว
เช่น ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคทั้งหมด ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์บางคน ยุบพรรคแต่ไม่ตัดสิทธิ์ใครเลย หรือไม่ยุบพรรค-ไม่ตัดสิทธิ์ เป็นต้น
ไม่มีใครเอะใจเรื่อง 'อายุความ' ตามที่ตุลาการหยิบ ยกขึ้นมาเป็นเหตุผลในการยกคำร้องภายหลังเลยแม้แต่น้อย
ด้วยเหตุที่หลายคนเข้าใจว่าเรื่องของคดีจะขาดหรือไม่ขาดอายุความนั้น
คือปัญหาเบื้องต้นที่ศาลฯ ต้องวินิจฉัยก่อนเข้าสู่การวินิจฉัยเนื้อหาของคดี
ทีนี้เมื่อศาลฯ ปล่อยให้ทั้งสองฝ่ายสืบพยานต่อสู้หักล้างกันมานานหลายเดือนแล้วจู่ๆ เกิดยกคำร้อง หักมุมจบแบบดื้อๆ
เลยทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอื้ออึง
บางคนเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นการตัดสินแบบไม่ตัดสิน
ทั้งยังเป็นการเสียโอกาสที่สังคมจะได้รับรู้ร่วมกันถึงเนื้อหาข้างในของคดีว่า แท้จริงแล้วพรรคประชาธิปัตย์กระทำผิดกฎหมายหรือไม่
บางคนใช้คำว่าประชาธิปัตย์ชนะฟาวล์บ้าง กกต.แพ้ฟาวล์บ้าง ความหมายเดียวกันแล้วแต่ใครจะมองในมุมไหน
แต่ในส่วนที่บอกว่ากกต.แพ้ฟาวล์นั้น ก็มีปมให้เก็บเอาไปคิดต่อได้ว่า
เป็นการแกล้งแพ้หรือแพ้จริง
นักวิชาการด้านกฎหมายอย่าง นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ไว้น่าสนใจ
"การที่คำวินิจฉัยออกมาแบบนี้ แต่เดิมภาระรับผิดชอบทั้งหมดอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตอนนี้กลับเป็นการแบ่งภาระมาที่กกต.ด้วยว่า เป็นเพราะกกต.และนายทะเบียนพรรคการเมือง ทำให้คดีนี้ตกไป"
ซึ่งตีความไปได้ 2 แบบ
แบบแรกคือ กกต. โดยเฉพาะประธานกกต.ที่สวมหมวกอีกใบเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง มีส่วนรู้เห็นเรื่องขาดอายุความนี้มาตั้งแต่ต้น
แบบที่สอง คือกกต.ไม่รู้จริงๆ
แต่ถูกลากมาช่วยแบ่งเบาภาระศาลรัฐธรรมนูญในภายหลัง
ข่าวสดรายวัน คอลัมน์เหล็กใน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 4 ต่อ 2 ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
ด้วยเหตุผลที่ว่ากระบวนการยื่นคำร้อง จากจุดเริ่มต้นคือนายทะเบียนพรรคการเมือง กว่าจะกระดืบๆ ถึงมือศาลรัฐธรรมนูญนั้น กินเวลาเกิน 15 วัน
คดีจึงขาดอายุความไปโดยปริยาย
ก่อนหน้าการวินิจฉัยของศาลฯ แวดวงคอการ เมืองวิเคราะห์คาดเดากันไปต่างๆ นานาถึงแนวทางคำวินิจฉัยว่าจะออกมาอย่างไร
เท่าที่ได้ยินมีอยู่หลายแนว
เช่น ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคทั้งหมด ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์บางคน ยุบพรรคแต่ไม่ตัดสิทธิ์ใครเลย หรือไม่ยุบพรรค-ไม่ตัดสิทธิ์ เป็นต้น
ไม่มีใครเอะใจเรื่อง 'อายุความ' ตามที่ตุลาการหยิบ ยกขึ้นมาเป็นเหตุผลในการยกคำร้องภายหลังเลยแม้แต่น้อย
ด้วยเหตุที่หลายคนเข้าใจว่าเรื่องของคดีจะขาดหรือไม่ขาดอายุความนั้น
คือปัญหาเบื้องต้นที่ศาลฯ ต้องวินิจฉัยก่อนเข้าสู่การวินิจฉัยเนื้อหาของคดี
ทีนี้เมื่อศาลฯ ปล่อยให้ทั้งสองฝ่ายสืบพยานต่อสู้หักล้างกันมานานหลายเดือนแล้วจู่ๆ เกิดยกคำร้อง หักมุมจบแบบดื้อๆ
เลยทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอื้ออึง
บางคนเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นการตัดสินแบบไม่ตัดสิน
ทั้งยังเป็นการเสียโอกาสที่สังคมจะได้รับรู้ร่วมกันถึงเนื้อหาข้างในของคดีว่า แท้จริงแล้วพรรคประชาธิปัตย์กระทำผิดกฎหมายหรือไม่
บางคนใช้คำว่าประชาธิปัตย์ชนะฟาวล์บ้าง กกต.แพ้ฟาวล์บ้าง ความหมายเดียวกันแล้วแต่ใครจะมองในมุมไหน
แต่ในส่วนที่บอกว่ากกต.แพ้ฟาวล์นั้น ก็มีปมให้เก็บเอาไปคิดต่อได้ว่า
เป็นการแกล้งแพ้หรือแพ้จริง
นักวิชาการด้านกฎหมายอย่าง นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ไว้น่าสนใจ
"การที่คำวินิจฉัยออกมาแบบนี้ แต่เดิมภาระรับผิดชอบทั้งหมดอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตอนนี้กลับเป็นการแบ่งภาระมาที่กกต.ด้วยว่า เป็นเพราะกกต.และนายทะเบียนพรรคการเมือง ทำให้คดีนี้ตกไป"
ซึ่งตีความไปได้ 2 แบบ
แบบแรกคือ กกต. โดยเฉพาะประธานกกต.ที่สวมหมวกอีกใบเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง มีส่วนรู้เห็นเรื่องขาดอายุความนี้มาตั้งแต่ต้น
แบบที่สอง คือกกต.ไม่รู้จริงๆ
แต่ถูกลากมาช่วยแบ่งเบาภาระศาลรัฐธรรมนูญในภายหลัง
ข่าวสดรายวัน คอลัมน์เหล็กใน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553
จับตาคดี 258ล้าน 'ฟอกขาว'ประชาธิปัตย์
ชัยชนะในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นการ"ชนะฟาวล์"จากชั้นเชิงและเทคนิคทางกฎหมายที่จับตาคดีเงินบริจาค 258ล้าน เข้าข่ายเดียวกัน
คำวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ ที่ปรากฏออกมาแล้วเมื่อวานนี้ แม้ผลของคดีจะไม่ได้เหนือความคาดหมาย กล่าวคือพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ แต่คำอธิบายและเหตุผลในคำวินิจฉัยถือว่าผิดคาดของหลายๆ คนไปเยอะทีเดียว
ชัยชนะในคดียุบพรรคของประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นการ "ชนะฟาวล์" จากชั้นเชิงและเทคนิคทางกฎหมายที่พรรคมีความช่ำชองและแพรวพราว
รูรั่วเล็กๆ ของกระบวนการในคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นจนกระทั่งท้ายที่สุดศาลไม่ทันต้องเข้าไปพิจารณาข้อเท็จจริงทางคดีด้วยซ้ำ
ข้ออ้างที่ตอนแรกคาดกันว่าจะเป็นจุดตายคือ การที่ อภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ไม่ได้ทำความเห็นตามที่กฎหมายกำหนด แต่ประเด็นนี้กลับพลิกความคาดหมายเมื่อศาลตีความว่าแม้จะไม่ได้ทำความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ กกต.ก็ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ควบคุมนายทะเบียนพรรคการเมือง คาดว่าตอนที่อ่านคำวินิจฉัยถึงตรงนี้ พลพรรค ปชป.คงอกสั่นขวัญแขวนว่า "ยุบชัวร์"
แต่เรื่องดัวกล่าวกลับถูกตีความว่าวันที่ กกต.มีมติเสียงข้างมากให้ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ดำเนินการเสนอยุบพรรคตามมาตรา 95 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 นั้น เป็นวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนว่ามีการกระทำผิดแล้ว
และนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน ในกรณีที่ยื่นคำร้องให้ยุบพรรคตามมาตรา 93 ด้วย (ว่าด้วยเรื่องเงินบริจาค) ซึ่ง ณ ที่นี้หมายถึงวันที่ 17 ธ.ค.2552
แต่กว่าที่ประธาน กกต.จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาก็ปาเข้าไปถึงเดือน เม.ย.2553 แปลความภาษาบ้านๆคือ "คดีขาดอายุความ" จะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือการตีความที่ไม่ตรงกัน แต่การตัดสินเช่นนี้สร้างความเคลือบแคลงต่อสังคมไม่น้อย เพราะอย่างน้อยข้อเท็จจริงที่สงสัยก็ยังไม่ถูกทำให้คลายสงสัยไป
ข้อเท็จจริงที่ว่าด้วยการออกใบเสร็จย้อนหลัง การออกเช็คที่ยังน่าสงสัย การว่าจ้างทำป้ายโฆษณาก่อนวันที่กำหนดให้ใช้เงิน หรือกระทั่งการออกใบเสร็จให้คนที่ไม่ได้ทำสัญญา ไม่มีการหยิบขึ้นมาพิจารณา เพราะคดีตกไปด้วยประเด็น "ข้อกฎหมาย" คือ "ฟ้องมิชอบ"
มาถึงขณะนี้ไม่ว่าเรื่องที่น่าสงสัยจะกลายเป็นสิ่งลึกลับยังไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริง แต่งานนี้ถือว่าคดีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญได้ "ฟอกขาว" ให้พรรคประชาธิปัตย์โดยอาศัยกระบวนการทางกฎหมายไปเรียบร้อย
ส่วนข้อเท็จจริงอีกเรื่องที่ต้องรอดูกันนั้นคือ กรณีการไซฟ่อนเงิน 258 ล้านบาทที่รับบริจาคจากบริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทกับคดีการใช้จ่ายเงินผิดประเภทในครั้งนี้ มีข้อเท็จจริงที่เหลื่อมกันอยู่ไม่น้อย แทบจะเรียกได้ว่าเป็นคดีพี่คดีน้องกันเลยทีเดียว
และว่ากันว่าคดีการใช้จ่ายเงินผิดวัตถุประสงค์นี้ เป็นคดีที่เอาผิดได้ง่ายกว่า จึงถูกหยิบยกขึ้นมาก่อน ด้วยคาดว่าจะไม่ต้องไปเหนื่อยต่อสู้กันในกรณีหลัง
เมื่อมาถึงขั้นนี้ สิ่งที่ต้องจับตาดูคือ "คดี 258 ล้านบาท" นั้น จะทันได้ต่อสู้กันทางข้อเท็จจริงหรือเปล่า หรือจะถูกหยิบข้อกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ มาตีตกไปจนข้อเท็จจริงที่ใหญ่กว่ากลายเป็นความลับดำมืดต่อไป เพราะล่าสุดก็เริ่มมีเสียงมาจากทางทีมกฎหมายปชป.แล้ว ทั้งวิรัช ร่มเย็น และบัณฑิต ศิริพันธ์ ว่า จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้จำหน่ายคดี 258 ล้าน เนื่องจากน่าจะขาดอายุความฟ้องเช่นกัน
อย่างไรก็ดี มีบางเสียงแสดงทัศนะว่า คดี 258 ล้านอาจไม่จบลงด้วยเหตุผลง่ายๆ แบบเดียวกัน เพราะข้อกฎหมายที่นำมาใช้นั้นมีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ และต้องไม่ลืมว่าคดีนี้ กกต.เป็นคนทำแทบจะทั้งหมดด้วยตัวเอง ขณะที่ "กิตินันท์ ธัชประมุข" อัยการพิเศษฝ่ายคดี เป็นเพียงผู้เข้ามาช่วยว่าคดีในช่วงหลัง แต่คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทนั้น ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด และจะกลายมาเป็นผู้ทำคดีนี้ด้วยตนเอง
แม้ว่าเบื้องต้นตอนที่ กกต.ยื่นเรื่องมา อัยการสูงสุดจะตีกลับความเห็นของ กกต. แต่นั่นก็เป็นเพียงพิธีการเพื่อที่จะมาหารือกันและทำความตกลงเรื่องการดำเนินคดี ซึ่งที่ผ่านมาหลายคดีก็เป็นเช่นนี้ และต้องไม่ลืมว่าแทบทุกครั้งที่ทางอัยการมาว่าคดีให้นั้น ความได้เปรียบของ กกต.จะสูงขึ้นมาก และคดีมักจะเป็นไปตามที่ตั้งข้อหาเอาไว้
หากทางอัยการสูงสุดเห็นข้อบกพร่องทางกฎหมายย่อยๆ แบบครั้งนี้ คงไม่ยอมมาว่าคดีให้อย่างแน่นอน หลายฝ่ายจึงเชื่อมั่นว่าในคดี 258 ล้านบาทนั้น เราคงได้เห็นชั้นเชิงการต่อสู้ทางกฎหมายและข้อเท็จจริงที่มากกว่านี้และสนุกกว่าคดี 29 ล้านอย่างแน่นอน
ซ้ำยังน่าเชื่อว่าเราจะได้เห็นกระบวนการการกดดันศาลรัฐธรรมนูญที่หนักกว่านี้ ไม่ว่าจากทางมวลชน หรือจากทางมือที่มองไม่เห็น หลังจากวันนี้คาดว่าตุลาการเสียงข้างมาก 4 คนคงจะถูกวิจารณ์ไม่น้อย และหนักขึ้นเรื่อยๆ
แต่หากพิจารณาอีกทางหนึ่งก็ไม่แน่ว่าสุดท้าย "คดี 258 ล้าน" อาจจะเป็นคดีที่ "ฟอกขาว" ประชาธิปัตย์อย่างสมบูรณ์แบบก็เป็นได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าอาจเป็นการต่อสู้หักล้างในเชิงข้อเท็จจริงว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีพฤติการณ์ไซฟ่อนเงินจริงๆ ซึ่งจะทำให้สังคม "สิ้นความสงสัย" ก็เป็นไปได้
ขณะเดียวกันหากประชาธิปัตย์เลือกที่จะใช้ประเด็นหักล้างในประเด็น "ข้อกฎหมาย" ซ้ำอีก เหมือนที่เตรียมจะดำเนินการยื่นต่อศาลให้จำหน่ายคดี 258 ล้านด้วยเหตุว่าคดีขาดอายุความ เพราะยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลา 30 วันตามที่กฎหมายระบุไว้
น่าคิดว่าแทนที่กระแสกดดันจะหมดไป พรรคประชาธิปัตย์อาจเจอแรงกดดันรอบใหม่จากสังคมที่ตั้งหน้าตั้งตารอฟังเหตุผลและคำแก้ต่างที่สมน้ำสมเนื้อ เพื่อพรรคประชาธิปัตย์จะได้พ้นจากข้อครหาทางการเมืองได้อย่างขาวสะอาด
ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงควรใช้โอกาสในการสู้คดี 258 ล้านด้วยข้อเท็จจริงทั้งหมดที่มี เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะและตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้!
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คำวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ ที่ปรากฏออกมาแล้วเมื่อวานนี้ แม้ผลของคดีจะไม่ได้เหนือความคาดหมาย กล่าวคือพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ แต่คำอธิบายและเหตุผลในคำวินิจฉัยถือว่าผิดคาดของหลายๆ คนไปเยอะทีเดียว
ชัยชนะในคดียุบพรรคของประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นการ "ชนะฟาวล์" จากชั้นเชิงและเทคนิคทางกฎหมายที่พรรคมีความช่ำชองและแพรวพราว
รูรั่วเล็กๆ ของกระบวนการในคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นจนกระทั่งท้ายที่สุดศาลไม่ทันต้องเข้าไปพิจารณาข้อเท็จจริงทางคดีด้วยซ้ำ
ข้ออ้างที่ตอนแรกคาดกันว่าจะเป็นจุดตายคือ การที่ อภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ไม่ได้ทำความเห็นตามที่กฎหมายกำหนด แต่ประเด็นนี้กลับพลิกความคาดหมายเมื่อศาลตีความว่าแม้จะไม่ได้ทำความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ กกต.ก็ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ควบคุมนายทะเบียนพรรคการเมือง คาดว่าตอนที่อ่านคำวินิจฉัยถึงตรงนี้ พลพรรค ปชป.คงอกสั่นขวัญแขวนว่า "ยุบชัวร์"
แต่เรื่องดัวกล่าวกลับถูกตีความว่าวันที่ กกต.มีมติเสียงข้างมากให้ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ดำเนินการเสนอยุบพรรคตามมาตรา 95 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 นั้น เป็นวันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนว่ามีการกระทำผิดแล้ว
และนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน ในกรณีที่ยื่นคำร้องให้ยุบพรรคตามมาตรา 93 ด้วย (ว่าด้วยเรื่องเงินบริจาค) ซึ่ง ณ ที่นี้หมายถึงวันที่ 17 ธ.ค.2552
แต่กว่าที่ประธาน กกต.จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาก็ปาเข้าไปถึงเดือน เม.ย.2553 แปลความภาษาบ้านๆคือ "คดีขาดอายุความ" จะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือการตีความที่ไม่ตรงกัน แต่การตัดสินเช่นนี้สร้างความเคลือบแคลงต่อสังคมไม่น้อย เพราะอย่างน้อยข้อเท็จจริงที่สงสัยก็ยังไม่ถูกทำให้คลายสงสัยไป
ข้อเท็จจริงที่ว่าด้วยการออกใบเสร็จย้อนหลัง การออกเช็คที่ยังน่าสงสัย การว่าจ้างทำป้ายโฆษณาก่อนวันที่กำหนดให้ใช้เงิน หรือกระทั่งการออกใบเสร็จให้คนที่ไม่ได้ทำสัญญา ไม่มีการหยิบขึ้นมาพิจารณา เพราะคดีตกไปด้วยประเด็น "ข้อกฎหมาย" คือ "ฟ้องมิชอบ"
มาถึงขณะนี้ไม่ว่าเรื่องที่น่าสงสัยจะกลายเป็นสิ่งลึกลับยังไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริง แต่งานนี้ถือว่าคดีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญได้ "ฟอกขาว" ให้พรรคประชาธิปัตย์โดยอาศัยกระบวนการทางกฎหมายไปเรียบร้อย
ส่วนข้อเท็จจริงอีกเรื่องที่ต้องรอดูกันนั้นคือ กรณีการไซฟ่อนเงิน 258 ล้านบาทที่รับบริจาคจากบริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทกับคดีการใช้จ่ายเงินผิดประเภทในครั้งนี้ มีข้อเท็จจริงที่เหลื่อมกันอยู่ไม่น้อย แทบจะเรียกได้ว่าเป็นคดีพี่คดีน้องกันเลยทีเดียว
และว่ากันว่าคดีการใช้จ่ายเงินผิดวัตถุประสงค์นี้ เป็นคดีที่เอาผิดได้ง่ายกว่า จึงถูกหยิบยกขึ้นมาก่อน ด้วยคาดว่าจะไม่ต้องไปเหนื่อยต่อสู้กันในกรณีหลัง
เมื่อมาถึงขั้นนี้ สิ่งที่ต้องจับตาดูคือ "คดี 258 ล้านบาท" นั้น จะทันได้ต่อสู้กันทางข้อเท็จจริงหรือเปล่า หรือจะถูกหยิบข้อกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ มาตีตกไปจนข้อเท็จจริงที่ใหญ่กว่ากลายเป็นความลับดำมืดต่อไป เพราะล่าสุดก็เริ่มมีเสียงมาจากทางทีมกฎหมายปชป.แล้ว ทั้งวิรัช ร่มเย็น และบัณฑิต ศิริพันธ์ ว่า จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้จำหน่ายคดี 258 ล้าน เนื่องจากน่าจะขาดอายุความฟ้องเช่นกัน
อย่างไรก็ดี มีบางเสียงแสดงทัศนะว่า คดี 258 ล้านอาจไม่จบลงด้วยเหตุผลง่ายๆ แบบเดียวกัน เพราะข้อกฎหมายที่นำมาใช้นั้นมีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ และต้องไม่ลืมว่าคดีนี้ กกต.เป็นคนทำแทบจะทั้งหมดด้วยตัวเอง ขณะที่ "กิตินันท์ ธัชประมุข" อัยการพิเศษฝ่ายคดี เป็นเพียงผู้เข้ามาช่วยว่าคดีในช่วงหลัง แต่คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทนั้น ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด และจะกลายมาเป็นผู้ทำคดีนี้ด้วยตนเอง
แม้ว่าเบื้องต้นตอนที่ กกต.ยื่นเรื่องมา อัยการสูงสุดจะตีกลับความเห็นของ กกต. แต่นั่นก็เป็นเพียงพิธีการเพื่อที่จะมาหารือกันและทำความตกลงเรื่องการดำเนินคดี ซึ่งที่ผ่านมาหลายคดีก็เป็นเช่นนี้ และต้องไม่ลืมว่าแทบทุกครั้งที่ทางอัยการมาว่าคดีให้นั้น ความได้เปรียบของ กกต.จะสูงขึ้นมาก และคดีมักจะเป็นไปตามที่ตั้งข้อหาเอาไว้
หากทางอัยการสูงสุดเห็นข้อบกพร่องทางกฎหมายย่อยๆ แบบครั้งนี้ คงไม่ยอมมาว่าคดีให้อย่างแน่นอน หลายฝ่ายจึงเชื่อมั่นว่าในคดี 258 ล้านบาทนั้น เราคงได้เห็นชั้นเชิงการต่อสู้ทางกฎหมายและข้อเท็จจริงที่มากกว่านี้และสนุกกว่าคดี 29 ล้านอย่างแน่นอน
ซ้ำยังน่าเชื่อว่าเราจะได้เห็นกระบวนการการกดดันศาลรัฐธรรมนูญที่หนักกว่านี้ ไม่ว่าจากทางมวลชน หรือจากทางมือที่มองไม่เห็น หลังจากวันนี้คาดว่าตุลาการเสียงข้างมาก 4 คนคงจะถูกวิจารณ์ไม่น้อย และหนักขึ้นเรื่อยๆ
แต่หากพิจารณาอีกทางหนึ่งก็ไม่แน่ว่าสุดท้าย "คดี 258 ล้าน" อาจจะเป็นคดีที่ "ฟอกขาว" ประชาธิปัตย์อย่างสมบูรณ์แบบก็เป็นได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าอาจเป็นการต่อสู้หักล้างในเชิงข้อเท็จจริงว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีพฤติการณ์ไซฟ่อนเงินจริงๆ ซึ่งจะทำให้สังคม "สิ้นความสงสัย" ก็เป็นไปได้
ขณะเดียวกันหากประชาธิปัตย์เลือกที่จะใช้ประเด็นหักล้างในประเด็น "ข้อกฎหมาย" ซ้ำอีก เหมือนที่เตรียมจะดำเนินการยื่นต่อศาลให้จำหน่ายคดี 258 ล้านด้วยเหตุว่าคดีขาดอายุความ เพราะยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลา 30 วันตามที่กฎหมายระบุไว้
น่าคิดว่าแทนที่กระแสกดดันจะหมดไป พรรคประชาธิปัตย์อาจเจอแรงกดดันรอบใหม่จากสังคมที่ตั้งหน้าตั้งตารอฟังเหตุผลและคำแก้ต่างที่สมน้ำสมเนื้อ เพื่อพรรคประชาธิปัตย์จะได้พ้นจากข้อครหาทางการเมืองได้อย่างขาวสะอาด
ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงควรใช้โอกาสในการสู้คดี 258 ล้านด้วยข้อเท็จจริงทั้งหมดที่มี เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะและตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้!
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จรัญบอกศาลรธน.ยังไม่นัดวันชี้ขาด258ล.
นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้ตัดสินยกคำร้องในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยคะแนน 4 ต่อ 2 โดยตนเป็นหนึ่งในตุลาการฯ เสียงข้างมาก และทางนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลอารักขามากยิ่งขึ้นนั้น เรื่องดังกล่าวตนได้ตอบปฏิเสธทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไปแล้ว ว่าไม่ต้องถึงขนาดมาอารักขา เพราะจะดูเอิกเกริกเกินไป แต่ขอให้ไปดูแลประชาชนแทนดีกว่า โดยส่วนตัวถือว่า ได้ปฏิบัติตามหน้าที่ไปเท่านั้น และยังใช้ชีวิตตามปกติ ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
นอกจากนี้ นายจรัญ ยังกล่าวอีกว่า กำหนดในการพิจารณาคดีเงินบริจาคพรรคการเมือง จำนวน 258 ล้านบาท ที่อยู่ ระหว่างขั้นตอนของศาลนั้น คงต้องประชุมหารือ กับองค์คณะทั้งหมดก่อน ว่าจะพิจารณาเมื่อไหร่ เพราะตนเองคนเดียว คงตอบไม่ได้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ จะทำงานเป็นองค์คณะ ส่วนกรณีที่ว่าองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่เหลือเพียง 6 ท่านนั้น จะต้องเพิ่นเป็น 9 ท่าน หรือไม่นั้น ก็ต้องประชุมหารือกันในองค์คณะที่เหลือก่อนว่า จะตัดสินใจอย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้ ยังไม่ได้กำหนดว่าจะมีการประชุมหารือกันวันที่เท่าใด
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
********************************************
นอกจากนี้ นายจรัญ ยังกล่าวอีกว่า กำหนดในการพิจารณาคดีเงินบริจาคพรรคการเมือง จำนวน 258 ล้านบาท ที่อยู่ ระหว่างขั้นตอนของศาลนั้น คงต้องประชุมหารือ กับองค์คณะทั้งหมดก่อน ว่าจะพิจารณาเมื่อไหร่ เพราะตนเองคนเดียว คงตอบไม่ได้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ จะทำงานเป็นองค์คณะ ส่วนกรณีที่ว่าองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่เหลือเพียง 6 ท่านนั้น จะต้องเพิ่นเป็น 9 ท่าน หรือไม่นั้น ก็ต้องประชุมหารือกันในองค์คณะที่เหลือก่อนว่า จะตัดสินใจอย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้ ยังไม่ได้กำหนดว่าจะมีการประชุมหารือกันวันที่เท่าใด
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
********************************************
คดี258ล้านปชป.ไม่รอดอัยการ-กกต.มั่นใจศาลใช้เทคนิคเดิมตัดสินไม่ได้
อัยการและ กกต. แสดงความมั่นใจคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ไซฟ่อนเงิน 258 ล้านบาท จะไม่ถูกยกคำร้องเหมือนคดีใช้เงิน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์แน่เพราะยื่นฟ้องคนละข้อกฎหมาย เผยส่งฟ้องคดีไปนานแล้วแต่ยังไม่ได้รับการติดต่อจากศาลรัฐธรรมนูญว่าจะให้ทำอย่างไร จะนัดพร้อมคู่ความและเปิดไต่สวนคดีได้เมื่อไร ส.ว.สรรหาจี้ตุลาการเสียงข้างน้อยชี้แจงเหตุผลไม่ยกคดี ตั้งคำถามเรื่องเงื่อนเวลาเป็นข้อกำหนดของกฎหมายทำไมเสียงไม่เป็นเอกฉันท์ เพื่อไทยเตรียมประชุมทีมกฎหมายหาช่องยื่นถอดถอน 6 ตุลาการ ด้านเลขาธิการสถาบันพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองขีดเส้นภายใน 1 เดือน กกต. ทั้ง 5 คนต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
---------------------------------------------
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
---------------------------------------------
ทูตอังกฤษส่งตัวแทนขอข้อมูลคดียุบพรรคจาก ปชป.
เอกอัครราชทูตอังกฤษ ส่งตัวแทนฝ่ายการเมืองขอข้อมูลคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ห่วงไทยวุ่นวายหลังศาลตัดสินไม่ยุบพรรค
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยภายหลังหารือกับเจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ฝ่ายการเมือง ที่ร้านกาแฟประจำพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ตัวแทนทูตฯ ได้สอบถามถึงการวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาท ซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าไม่รับคำร้อง เพราะคดีขาดอายุความ ซึ่งได้อธิบายถึงขั้นตอนและความเป็นมาที่เกิดขึ้นให้รับทราบ ทั้งนี้ ตัวแทนทูตฯ ได้สอบถามถึงอนาคตของสถานการณ์บ้านเมือง เพราะเป็นห่วงว่าสถานการณ์การชุมนุมจะรุนแรงเหมือนที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งได้ชี้แจงไปว่า การชุมนุมที่สร้างความวุ่นวายคงไม่เกิดขึ้น เพราะทุกฝ่ายได้มุ่งหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง ซึ่งชัดเจนแล้วว่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากมีกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องพิสูจน์
นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยกรณีคดีขาดอายุความตั้งแต่ช่วงแรกก่อนจะสืบพยานต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะการดำเนินการไม่ว่าจะเป็นศาลแพ่งหรือศาลอาญา จะให้สืบพยานจบหมดทุกปากก่อน จากนั้นจึงยกข้อกฎหมายมาวินิจฉัยตัดสิน และประเด็นคดีขาดอายุความก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการรับเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาล เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญจะดูว่า เรื่องที่ร้องมาอยู่ในอำนาจของศาลหรือไม่ ถ้าอยู่ในอำนาจจะรับเรื่องและเริ่มนัดสืบพยาน เสร็จแล้วก็จะตัดสินในข้อกฎหมาย.
ที่มา. สำนักข่าวไทย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยภายหลังหารือกับเจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ฝ่ายการเมือง ที่ร้านกาแฟประจำพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ตัวแทนทูตฯ ได้สอบถามถึงการวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาท ซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าไม่รับคำร้อง เพราะคดีขาดอายุความ ซึ่งได้อธิบายถึงขั้นตอนและความเป็นมาที่เกิดขึ้นให้รับทราบ ทั้งนี้ ตัวแทนทูตฯ ได้สอบถามถึงอนาคตของสถานการณ์บ้านเมือง เพราะเป็นห่วงว่าสถานการณ์การชุมนุมจะรุนแรงเหมือนที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งได้ชี้แจงไปว่า การชุมนุมที่สร้างความวุ่นวายคงไม่เกิดขึ้น เพราะทุกฝ่ายได้มุ่งหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง ซึ่งชัดเจนแล้วว่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากมีกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องพิสูจน์
นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยกรณีคดีขาดอายุความตั้งแต่ช่วงแรกก่อนจะสืบพยานต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะการดำเนินการไม่ว่าจะเป็นศาลแพ่งหรือศาลอาญา จะให้สืบพยานจบหมดทุกปากก่อน จากนั้นจึงยกข้อกฎหมายมาวินิจฉัยตัดสิน และประเด็นคดีขาดอายุความก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการรับเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาล เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญจะดูว่า เรื่องที่ร้องมาอยู่ในอำนาจของศาลหรือไม่ ถ้าอยู่ในอำนาจจะรับเรื่องและเริ่มนัดสืบพยาน เสร็จแล้วก็จะตัดสินในข้อกฎหมาย.
ที่มา. สำนักข่าวไทย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)