--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รอดหรือร่วง ลุ้นศาลรธน.

คดีหุ้น44ส.ส.-ส.ว.
ต้องบอกเลยว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในยามนี้ ยิ่งกว่าเผชิญกับภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่เสียอีก เพราะเปียกปอนกระเซอะกระเซิงอย่างยิ่งกับกรณีคลิปฉาว

ทำให้มีทั้งคำถาม มีทั้งการจับตามองการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างมากมาย จนทำให้หลายฝ่ายต่างรู้สึกไม่สบา ยใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ล่าสุดนอกจากจะโดนกดดันเรื่องความพยายามเบี่ยงประเด็นไปเน้นถึงที่มาของคลิปดังกล่าว พร้อมกับพยายามที่จะเอาผิดกับคนที่เอาคลิปมาเปิดเผย
โดยเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงเนื้อหาและข้อเท็จจริงภายในคลิป
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างมาก

เพราะคำถามก็คือ หากมีการเผยแพร่คลิปนักการเมืองมีการทุจริตคอรัปชั่น มีภาพปรากฏว่ามีการหารือเจรจากันว่าต้องจ่าย 30% หรือ 35% แล้วมีการจ่ายเงินกัน บังเอิญมีผู้พบเห็นแล้วถ่ายคลิปเอาไว้
แต่บังเอิญเป็นที่รู้กันว่านักการเมืองรายนี้เป็นผู้มีอิทธิพล ผู้ที่มีหลักฐานไม่อยากเสี่ยงออกมาแฉพฤติกรรมอย่างเปิดเผย เพราะเกรงอันตรายจะมาถึงตัว จึงใช้วิธีเอาภาพทุจริตออกมาเผยแพร่
แล้วจะกลายเป็นว่ามาเอาผิดกับคนเผยแพร่คลิป โดยที่ไม่พูดถึงพฤติกรรมของนักการเมืองในคลิปเลย ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ตลกอย่างมาก

ซึ่งกรณีของคลิปที่เกี่ยวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่น่าที่จะแตกต่างกันแต่อย่างใด
ก็เพราะแบบนี้แหละที่สังคมทุกฝ่ายพากันจับตามองในเรื่องนี้อย่างเขม็ง ว่าสุดท้ายจะมีความกระจ่างให้กับสังคมอย่างไร

สำคัญที่สุดหากสังคมเชื่อในสิ่งที่เห็นจากคลิปว่ามีมูล ตรงนี้จะกระทบกับภาพลักษณ์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุด

เนื่องจากขณะนี้ทางตำรวจกลับไปเน้นประเด็นที่ว่า คลิปที่ออกมานั้น ใช้กล้องอะไรถ่าย???
โดยเมื่อหลายวันก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้ามาตรวจดูแลทำเหตุการณ์จำลองเหมือนในคลิป ก็ยังไม่เข้าใจกันอยู่ว่าถ่ายมาจากอะไร ทางตำรวจจึงพยายามที่จะไขปริศนาว่าใช้วิธีการทางเทคนิคอย่างไรในการแอบถ่ายครั้งนี้

จนทำให้มีการตั้งข้อสังเกคุว่า ที่อยากรู้ว่าใช้เทคนิกอะไรถ่าย เพื่อจะเอาไว้ใช้ในการป้องกันในอนาคต จะได้ไม่ถูกแอบถ่ายอีกเช่นนั้นหรือ!!!

ยิ่งกลายเป็นสิ่งที่สะท้อนให้คนมีความเชื่อในคลิปเหบ่านั้นมากขึ้นไปอีก ว่าแบบนี้น่าจะเป็นคลิปจริง เพราะขนาดตำรวจยังจัดฉากไม่ได้เลย

ดังนั้นต่อให้แม้ว่าจะจับตัวนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กลับมาได้ และยอมรับมีการดำเนินคดีว่าแอบถ่ายคลิปดังกล่าวก็ตาม แต่ถ้านายพสิษฐ์ยืนยันว่า แม้จะเป็นการแอบถ่ายแต่ก็เป็นคลิปที่ถ่ายจากเหตุการณ์จริงๆ

ตรงนี้แหละจะยิ่งกระเทือนภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหนักขึ้นไปอีก
จึงไม่แปลกที่เริ่มมีเสียงสะท้อนให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกเกิดขึ้นมาเป็นระยะๆแล้วในขณะนี้

และยิ่งภายในองค์กรศาลรัฐธรรมนูญเริ่มมีปัญหากันเอง เช่นกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกมาโวยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องรีบออกมาชี้แจงรายละเอียดเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญต่อองค์กรมาก

การนิ่งเฉยของนายเชวนะจึงถูกนายวสันต์มองว่าไม่ปกป้องสถาบัน

ก็ยิ่งกลายเป็นเรื่องไฟในนำออก ไฟนอกนำเข้า... หนักยิ่งขึ้นไปอีก

ขณะเดียวกันคดียุบพรรคประชาธิปัตย์นอกจะงวดใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว จากรกร๊คลิปที่เกิดขึ้น จึงทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมตื่นตัวและหันมาจับตามองในเรื่องนี้อย่างใก้ชิด ว่าสุดท้ายแล้วคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรกันแน่

อย่างไรก็ตาม ได้มีการออกเอกสารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมาชี้แจงว่า กรณีคลิปวีดิโอพาดพิงศาลรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดำเนินคดีกับผู้หมิ่นประมาท ข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ ดำเนินการเพิกถอนหนังสือเดินทางราชการนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และการแจ้งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่คลิปวีดิโอ

และขณะนี้ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้สั่งให้เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ บล็อกเว็บไซต์ยูทูบ เพื่อไม่ให้บุคคลที่อยู่ในบริเวณศาลรัฐธรรมนูญเข้าเว็บไซต์ยูทูบผ่านเซิร์ฟเวอร์ของศาลรัฐธรรมนูญ ทำผู้ที่เข้าไปดูคลิปลับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ผ่านเว็บไซต์ยูทูบไม่ได้ตลอดทั้งวัน

เลยทำให้ข้าราชการของศาลรัฐธรรมนูญวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันมากว่า เป็นการปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของคนในศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะที่นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง และทีมกฎหมายคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้ปรากฏตัวอยู่ในคลิปเกี่ยวข้องกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ว่า หากดูทั้งหมดจะเห็นว่าคลิปดังกล่าวไม่เกี่ยวกับพรรค เพราะนายวิรัชไปพบนายพสิฐษ์เป็นการส่วนตัว ไม่ได้บอกให้คนในพรรคทราบแม้แต่คนเดียว จึงไม่มีผลต่อการพิจารณาในคดียุบพรรคแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯได้มีการสรุปออกมาว่านายวิรัช มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทำไม่ถูก ไม่ควรไปพบกับนายพสิษฐ์ และเมื่อถูกถามนำก็ไม่ควรตอบให้เกี่ยวพัน โยงใยถึง ขนาดนั้น เพราะรู้อยู่แล้วว่านายพสิษฐ์ เป็นเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่ตัวเองเป็นทีมกฎหมายของพรรค ยิ่งไม่ควรไป เพราะผูกโยงกันอยู่

สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดผลกระทบต่อพรรค ทำให้คนรู้สึกคลางแคลงใจสับสนในพรรคว่าเป็นอย่างไรกันแน่
ส่วนบทลงโทษจะกระทบต่อตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคของนายวิรัชหรือไม่นั้นอยู่ที่ดุลพินิจของหัวหน้าพรรคที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับพรรคข้อที่ 79 คือ การตักเตือน หรือภาคทัณฑ์

ดังนั้นไม่ว่างานนี้สุดท้ายแล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละที่จะถูกกระทบในเรื่องภาพลักษณมากที่สุด

ดังนั้นสังคมจึงมีการจับตามองว่า สำหรับคดีดังอีกคดีหนึ่งที่จะมีการตัดสินในวันนี้ ( 3 พ.ย.) เวลา 15.00 น. นั่นจะเป็นการทดสอบภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่จะถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

นั่นก็คือ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธาน จะร่วมกันลงมติและแถลงผลการวินิจฉัยคดีหุ้นสัมปทานของรัฐของ ส.ส.และ ส.ว. ซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่งที่สังคมไทยจับตามองมาตลอด

โดยคดีดังกล่าวยื่นโดยประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้ร้องส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ศาลวินิจฉัยความเป็นสมาชิกภาพของ ส.ส.และ ส.ว. 44 ราย ใน
ฐานะผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

เนื่องจากกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 (2) และ (4) ถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อและบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ

ทั้งนี้ ส.ส. ผู้ที่มีชื่อเข้าข่ายจะถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพมีทั้งสิ้น 28 ราย โดยเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ 12 ราย พรรคชาติไทยพัฒนา 1 ราย และพรรคภูมิใจไทย 2 ราย รวม 15 ราย

โดยมี ส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรีรวมอยู่ด้วย คือนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก และรมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วนและรองนายกรัฐมนตรี นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา และ รมช. มหาดไทย นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม 

อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ต้องพ้นสภาพ ส.ส. ก็ไม่มีผลทำให้ 4 รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีผลผูกพันต่อการเป็นรัฐมนตรี เป็นแค่การสิ้นสภาพ ส.ส.เท่านั้น ขณะที่ฝ่ายค้านมี ส.ส .จากพรรคเพื่อไทย 8 ราย พรรคเพื่อแผ่นดิน 3 ราย โดยเป็น ส.ส.ในกลุ่มสามพี พรรคประชาราช 2 ราย

ดังนั้น จึงเท่ากับว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ ส.ส.ทั้งหมดต้องพ้นสมาชิกสภาพ เสียง ส.ส.ซีกรัฐบาลจะหายไป 15 เสียง ส่วนเสียง ส.ส.ซีกฝ่ายค้านจะหายไป 13 เสียง จึงไม่มี ผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลในสภาฯมากนัก

ขณะที่ในส่วนของ ส.ว. ซึ่งมีชื่อถูก กกต.ส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มีทั้งสิ้น 16 ราย โดยมีทั้ง ส.ว.สรรหา และ ส.ว.เลือกตั้ง อาทิ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา นางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา นายถาวร ลีนุตพงษ์ ส.ว.สรรหา นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธ์ุ เป็นต้น

ทั้งนี้ บริษัทที่ กกต.เคยมีมติว่า เข้าข่ายเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อ และเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐตามนัยมาตรา 265 (2) (4) มีทั้งสิ้น 22 บริษัท อาทิ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัททีพีไอโพลีน จำกัด มหาชน บริษัทชินคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัททรูคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ยื่นคำร้องขอให้ กกต.ตรวจสอบการสิ้นสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.และ ส.ว. กล่าวว่า แม้จะเป็นผู้ยื่นคำร้องแต่คงไม่เดินทางไปฟังคำตัดสิน เนื่องจากถือว่าไม่ใช่คู่กรณีโดยตรง การตัดสินกรณีดังกล่าวจะถือเป็นบรรทัดฐานตลอดนับจากนี้ไป เพราะกรณีเรื่องการถือครองหุ้นของ ส.ส.และ ส.ว. เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีการวางบรรทัดฐานมาก่อน อีกทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการถือครองหุ้น โดยเฉพาะมาตรา 265 และมาตรา 267 จะได้มีความชัดเจน
โดยเฉพาะกรณีการถือครองหุ้นมาก่อนหรือหลังรับตำแหน่ง

เพราะเดิมมีเนื้อหาระบุเพียงว่า ห้ามมิให้ ส.ส.และ ส.ว.ถือครองหุ้นที่เป็นสัมปทานกับรัฐโดยเด็ดขาด ไม่ได้มีการระบุข้อยกเว้นเหมือนกับมาตรา 269 ที่บังคับกับบุคคลที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ที่ยกเว้นให้สามารถถือครองได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถโอนฝากไว้ที่ลูกหลานและเครือญาติได้

"ถ้าศาลตัดสินว่ามีความผิด ส.ส.ที่เป็นระบบสัดส่วน ถ้าพรรคการเมืองนั้นไม่มีให้เลื่อนขึ้นมา ก็จะต้องเว้นว่าง แต่ถ้าเป็น ส.ส.ปกติก็ต้องจัดเลือกตั้งหลายเขต ซึ่งจะมีวาระเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น ส่วนถ้าเป็น ส.ว.สรรหา ก็ต้องมาเริ่มกระบวนการคัดเลือกกลั่นกรองตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติมาดำรงตำแหน่งกันใหม่ ซึ่งก็มีวาระอยู่ได้ไม่ถึง 6 เดือน ดังนั้น จึงอาจไม่คุ้มค่ากับงบประมาณของหลวง หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแบบนี้ผมเห็นว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรจะประหยัดงบประมาณแผ่นดิน ด้วยการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ไปในคราวเดียวกันเลย" นายเรืองไกรกล่าว

ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยยันต์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน 1 ใน 28 ส.ส. กล่าวว่า ในวันที่ 3 พ.ย. คงขอลาประชุมสภาฯหนึ่งวันเพื่อไปพักผ่อนต่างจังหวัด เพราะรู้สึกเครียดมากกับคดีนี้ หากไปร่วมฟังด้วยอาจจะช็อกคาศาลรัฐธรรมนูญก็ได้

ที่มา:บางกอกทูเดย์

******************************************************************

ความยุติธรรมหลังเม.ย.-พ.ค.53

คอลัมน์ รายงานพิเศษ
ข่าวสดรายวัน

หมายเหตุ - ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค.2553 (ศปช.) จัดเสวนาเรื่อง "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านหลังกรณี เม.ย.-พ.ค.2553 : การแสวงหาความจริง การรับผิด ความยุติธรรม ความปรองดอง" ที่ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.

ศรีประภา เพชรมีศรี

ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนา

มหาวิทยาลัยมหิดล

ความยุติธรรมในระยะหลังการเปลี่ยนผ่านกรณี เม.ย. -พ.ค.2553 รัฐไทยยังไม่มีความพยายามหามาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน และวันนี้เหยื่อที่เกิดจากการละเมิดสิทธิ์ยังมีอยู่

นอกจากนี้ รัฐไทยยังมีเครื่องมือละเมิดสิทธิมนุษยชน ในส่วนมาตรการทางกฎหมายโดยเฉพาะพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.ความมั่นคง

ขณะที่การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงที่รัฐบาลตั้งขึ้น เช่น คอป. (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ) โดยระบุหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ยังดูเหมือนว่ามีข้อจำกัด ไม่มีการดำเนินการอย่างกว้างขวาง

สิ่งที่หาอยู่ในปัจจุบันเป็นเพียงการหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่หาความจริง

อุปสรรคสำคัญของคอป. คือที่ผ่านมารัฐไทยไม่มีความพยายามจะลงโทษผู้กระทำผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่อดีตจนถึงสถานการณ์ล่าสุด

ส่วนการเยียวยาเหยื่อผู้เสียหาย ซึ่งดูเหมือนจะง่ายที่สุด แต่ยืนยันได้ว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด โดยเฉพาะการคิดว่าการเยียวยาต้องเป็นรูปของตัวเงิน

แต่ความจริงแล้วการเยียวยาที่ดีที่สุดคือการเยียวยาจิตใจ ที่ผ่านมาไม่มีการทำกันมากนัก

ต้องเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ยอมรับ คือสิทธิ์ที่ต้องได้รับรู้ความจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกครั้ง แต่ตรงนี้กลับขาดหายไป ครอบครัวเหยื่อยังไม่ได้รับสิทธิ์ในการรับรู้ความจริง รวมทั้งการเข้าถึงความยุติธรรม

มีการพูดกันมากว่าคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นต้องแก้ไขความแตกแยกในสังคม จึงมีคำถามว่าจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้หรือไม่

เพราะการยอมรับคณะกรรมการนั้นยากมาก เพราะเป็นกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเอง ส่วนการสมานบาด แผลในสังคมก็ไม่น่าเกิดขึ้นได้

น่าสังเกตว่า 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วย เหยื่อ คณะกรรม การ และรัฐบาล ยังไม่มีการพูดคุยหรือหารือแลกเปลี่ยนอะไรกันเลย

และที่บอกว่าเมื่อลงพื้นที่เพื่อพบปะผู้ชุมนุมบางกลุ่มจะเกิดความปรองดองได้นั้น ตรงนี้มันไม่ใช่ เพราะขณะนี้ความคิดต่างแตกแยกเกิดทั่วไปหมด

ขณะที่รัฐไทยไม่เคยปฏิรูปสถาบันที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ถ้าไม่มีการปฏิรูปตรงนี้จะไม่มีหลักประกันเลยว่าจะไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอีก ตรงนี้คือจุดที่รัฐบาลต้องทบทวน

สิ่งสำคัญเช่นกันคือ การขอให้อภัย หรือการขอโทษที่มาจากผู้กระทำ ตรงนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่มีการขอ โทษก็ไม่มีการให้อภัยเช่นกัน

คณะกรรมการแต่ละชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้น ควรเลือกหา ความจริงให้เข้ากับคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่เลือกหาความจริงกับผู้ที่มีอำนาจ และคณะกรรมการต้องหาความจริงในส่วนของผู้กระทำผิด

และต้องประณามผู้กระทำผิดนั้นด้วย

พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ

ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์

เดือน เม.ย.-พ.ค.2553

ความผิดพลาดของรัฐบาลอภิสิทธิ์ กรณีสั่งการสลายการชุมนุม เปรียบได้กับบาป 7 ประการ

บาปที่ 1 การใช้ความกลัวครอบงำประชาชน โดยผ่าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วนำมาข่มขู่คนเสื้อแดง ทำให้คนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ตรงกลาง รวมถึงคนที่ไม่เห็นด้วยกับคนเสื้อแดงอยู่ใกล้ชิดทหารมากขึ้น ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก

บาปที่ 2 การเลือกปฏิบัติในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย ที่ผ่านมามีการเลือกปฏิบัติชัดเจน อยากให้แยกว่าคนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ เขาทำความรุนแรงหรือไม่ ที่ผ่านมาพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเท่าที่ควร

บาปที่ 3 การสร้างความเคียดแค้นชิงชังผ่านข้อ ความการรณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น "ขอความสงบสุขคืนมา" "ห้างถูกเผา" หรือ "ถ้าไม่เกิดกับครอบครัวตัวเองคงไม่รู้"

บาปที่ 4 การผลักไสให้เป็นอื่น โดยผ่านคณะกรรม การที่รัฐบาลตั้งขึ้น พูดแต่ทุกข์และความสูญเสีย แต่ไม่ยอมพูดความจริงเลย

บาปที่ 5 การข่มขู่ไล่ล่า

บาปที่ 6 การสมคบคิดสร้างหลักฐานเท็จทำลายหลักฐานและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

และบาปที่ 7 การปฏิเสธความรับผิดชอบของรัฐ บาลที่ผ่านมา อย่างน้อยๆ ไม่เคยได้ยินคำขอโทษจากรัฐบาลเลย

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์

ปลัดกระทรวงยุติธรรม และคอป.

สิ่งที่เป็นปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยขณะนี้ หลายฝ่ายไม่แน่ใจว่ารัฐบาล ที่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบหาความจริง จะทำได้หรือไม่และเป็นที่ยอมรับมากน้อยแค่ไหน

ด้วยเหตุนี้ทำให้ความไว้ใจของคณะกรรมการชุดต่างๆ ติดลบมาตั้งแต่ต้นเพราะตั้งมาจากผู้ขัดแย้ง

ยอมรับว่าแม้แต่นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนว ทางปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เองก็ยังไม่อยากชี้นิ้วว่าใครผิด

การตั้งคอป.ขึ้นมาจึงยากตั้งแต่ต้นและยอมรับว่าคอป. ทำอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ ทุกเรื่องราวไม่มีใครมีคำตอบให้

ถามว่าใครเป็นคนฆ่าผู้ชุมนุม เรื่องนี้ผมรวมทั้งคอป.ก็อยากทราบ หากใครหรือหน่วยงานไหนมีข้อมูลขอให้มาพูดคุยให้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง แล้วสังคมจะเดินหน้าต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม คอป.จะพยายามค้นหาความจริง เยียว ยาและสร้างพื้นที่ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการหารากเหง้าของปัญหาในสังคมไทย

โดยตั้งเป้าหมายว่าจะลดการฆ่ากันให้ได้

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย

ตั้งแต่เคยรับราชการมา เข้าใจว่าความยุติธรรมในประเทศนี้ไม่เคยมี เพราะถูกกำหนดโดยกติกาจากกลุ่มคนที่เขียนกติกาขึ้นโดยเฉพาะอำมาตยาธิปไตย ทุกอย่างล้วนเป็นการแสวงประโยชน์

การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อแสวงประโยชน์กับกลุ่มคนเสื้อแดง ใช้ช่องว่างตรงนี้ทำให้อีกฝ่ายผิดกฎหมาย และนำทหารออกมา นำอาวุธสงครามมาปราบปรามผู้ชุมนุม

พรรคเพื่อไทยแสดงความเห็นกรณีทหารนำอาวุธออกมาใช้ตั้งแต่ต้น การอ้างว่าเป็นฝีมือจากชายชุดดำ มันมีกระบวนการบิดเบือน เราสูญเสียวีรชน เขาเหล่านั้นต้องเสียชีวิต

หลังการเสียชีวิตนำไปสู่กระบวนการก็ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ฉะนั้น เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นจนจบการสลายการชุมนุม เข้าใจว่าหลายหน่วยงานพยายามเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง ถือเป็นเรื่องเหมาะสม

พรรคเพื่อไทยได้รับสิ่งที่รัฐบาลทำออกมา ทั้งภาพ คลิป ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ตรงกับเรา แต่วันข้างหน้าเชื่อว่าความจริงจะปรากฏ ฉะนั้น การแสวงหาความจริงจากวันนี้ ยังเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การมีประชาธิปไตยที่แท้จริง

จุดยืนพรรคยืนยันว่าเราไม่เคยพูดเรื่องนิรโทษกรรม เรื่องนี้มีแต่คนพูดแทนเรา ยืนยันว่าเราจะเรียกร้องความยุติธรรมคืนให้กับ 91 ชีวิตที่เสียสละ

ถ้าหาความยุติธรรมตรงนี้ไม่ได้ ความปรองดองในบ้านเมืองไม่มีวันเกิดขึ้นแน่นอน

เชื่อว่าพี่น้องเสื้อแดงทุกคนมีอารมณ์ มีความเคียด แค้น แต่เราต้องร่วมมือกันแสวงหาความจริงให้ได้ และน่ายินดียิ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่ตอนนี้เขารู้อะไรมากมาย เขาพัฒนาเรื่องการรับรู้ความจริงไปมาก เขารู้ว่าเหตุเกิดจากอะไร

การเปลี่ยนผ่านเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง คงไม่ไกลเกินไป แต่ต้องใช้เวลา

****************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สุ่มตรวจของรับบริจาคอยุธยาหลังมีร้องเรียนกั๊กของให้พวก

นายประยงค์ ปรียาจิตต์ รองเลขาธิการคณะการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบตามที่มีประชาชนร้องเรียนมายังป.ป.ท. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มีนโยบายให้เร่งดำเนินการทันทีหากมีประชาชนร้องเรียน จึงได้ลงพื้นที่จังหวัดอยุธยา และจังหวัดสิงห์บุรีเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการแจกถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย พบว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานกันอย่างเต็มที่ แม้จะมีประชาชนบางส่วนที่ระบุว่าถุงยังชีพที่ภาครัฐและภาคเอกชนแจกมายังได้รับไม่ทั่วถึงก็ตาม แต่ในการลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นเพียงการป้องปรามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งแจกจ่ายถุงยังชีพให้กับประชาชนทันทีที่ได้รับแจกมาเท่านั้น เพราะหากไม่เร่งดำเนินการและมีประชาชนร้องเรียนมาอีกก็จะตรวจสอบหาหลักฐานดำเนินคดี พร้อมทั้งส่งเรื่องให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมถึงจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

“ถ้าประชาชนพบเห็นการทุจริต และพบเห็นว่ามีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดทุจริต ไม่นำสิ่งของที่ได้มาแจกจ่ายให้กับประชาชนขอให้แจ้งมายังกระทรวงยุติธรรมหรือป.ป.ท.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอลทันที โดยยืนยันการลงพื้นที่ครั้งนี้ไม่ใช่การกดดันหรือจับผิดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด” นายประยงค์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงสายนายประยงค์ เจ้าหน้าที่ ปปท.และเจ้าหน้าที่ตำรวจสภอ.อินทร์บุรีได้เข้าตรวจสอบจุดที่ประชาชนมาเข้าคิวรับของบริจาคพื้นที่บริเวณเขต ต.ท่างาม จ.สิงห์บุรี ซึ่งพบว่าถนนเส้นดังกล่าวยังคงมีปริมาณน้ำท่วมสูง การเดินทางจะต้องใช้เรือแม้ว่าขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงบ้างแล้วก็ตาม แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่สามารถเดินทางออกมาได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ด้านใน ขณะที่ทางอบต.ท่างามซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะต้องกระจายของบริจาคไปให้ประชาชนนั้นได้ตั้งจุดให้บริการและประกาศให้ชาวบ้านมารับบัตรคิวพร้อมทั้งนำบัตรประชาชนมาลงทะเบียนเพื่อรอรับของที่จะแจกให้ในเวลา 15.00 น.ของทุกวัน

ชาวบ้าน ต.ท่างามที่มาเข้าคิวรับของบริจาค กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ยังได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากเพราะน้ำท่วมมานาน 2 สัปดาห์แล้ว อย่างไรก็ตามแม้ที่ผ่านมาจะได้รับความช่วยเหลือจากการมีผู้นำของบริจาคมามอบให้ รวมทั้งสิ่งของพระราชทานจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯแต่ชาวบ้านก็ได้รับไม่ทั่วถึง เนื่องจากส่วนใหญ่บ้านน้ำท่วมสูงระดับอกไม่สามารถออกมาได้เนื่องจากไม่มีเรือ และทางอบต.ก็ไม่ได้จัดเจ้าหน้าที่ลงไปแจกของให้ นอกจากนี้บางครั้งออกมาเพื่อรับของแจกแต่ปรากฏว่าของหมด

ขณะที่นายวิชัย บุญเข็ม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี กล่าวว่า หมู่บ้านของตนได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย 6 หมู่บ้าน จำนวน 183 หลังคาเรือน โดยสิ่งของที่ได้รับบริจาคจะมาจากภาคเอกชนเป็นหลัก และยังไม่ได้รับของบริจาคจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งเมื่อได้รับของแล้ว ตนจะประกาศให้ชาวบ้านนำคูปองและบัตรประชาชนมาลงทะเบียนรับของ ในกรณีที่ชาวบ้านอยู่ไกลไม่สามารถเดินทางออกมาได้ ก็จะพายเรือนำของไปแจกให้ถึงบ้าน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการไม่ได้รับของแจกหรือการไม่ได้รับความช่วยเหลือ โดยประชาชนในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบได้รับของแจกมา 7-8 รอบแล้ว

“ชาวบ้านเดือดร้อนกันทุกครอบครัว ผมเองแม้บ้านจะอยู่ข้างนอกน้ำไม่ท่วม แต่ทุกคืนนับตั้งแต่มีปัญหาน้ำท่วมชาวบ้านต้องมาตั้งเต๊นท์พักบนถนน ผมก็มานอนกับลูกบ้านทุกคืน มันทิ้งกันไม่ได้ ทุกวันนี้เครียดมากอยากให้น้ำลงเร็วๆ” นายวิชัย กล่าว

นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้วปปท.ยังเข้าไปตรวจสอบบริเวณเขตพื้นที่ ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงหมู่บ้านชีน้ำร้าย หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่ามีการยักยอกสิ่งของบริจาค และนำของที่ได้รับบริจาคไปคัดแยกแจก จนสร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านนั้น

จากการสอบถามชาวบ้านหลายคน กล่าวว่า ในช่วงน้ำท่วมระยะแรกได้รับสิ่งของบริจาคแจกน้ำท่วมเป็นถุง แต่ระยะหลังพบว่าของแจกมีเพียงบะหมี่สำเร็จรูป และปลากระป๋องเท่านั้น ส่วนผ้าห่มแม้จะมีข่าวว่าได้มีผู้นำมาบริจาคแล้วแต่ชาวบ้านยังไม่ได้รับและยังเคยไม่เห็น บางรายได้รับของแจกมา 4 ครั้ง ซึ่งก็ได้แต่น้ำกับบะหมี่สำเร็จรูป ส่วนข้าวสารไม่เคยได้รับ

นายเจริญ ศรีกล่อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก ชี้แจงเรื่องการแจกจ่ายถุงยังชีพและของช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ว่า ในส่วนของต.ประศุก มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน 999 ครัวเรือน 3,214 คน โดยขั้นตอนหลังได้รับบริจาคถุงยังชีพจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว จะมอบให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับไปแจกจ่ายแก่ลูกบ้าน และจะมีการประกาศเสียงตามสายเพื่อให้ประชาชนรับทราบวันเวลาที่ต้องมารับถุงยังชีพ โดยผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านจะมีบัญชีรายชื่อประชาชนและจำนวนครัวเรือนที่ชัดเจน และสามารถจัดสรรถุงยังชีพได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งในการแจกถุงยังชีพทุกครั้งจะกำชับว่าหากได้รับมาแล้วจำเป็นต้องแจกจ่ายประชาชนให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว โดยที่ผ่านมาในพื้นที่ต.ประศุกได้มีการแจกถุงยังชีพไปแล้ว 4 ครั้ง และตนไม่เคยได้รับการร้องเรียนจากประชาชนรายใดว่าไม่ได้รับถุงยังชีพ

“ในพื้นที่ไม่มีพฤติกรรมผิดปกติเกี่ยวกับการแจกจ่ายถุงยังชีพ ทั้งเรื่องการแยกของบริจาคออกจากถุง และนำบางส่วนไปเก็บไว้เป็นส่วนตัว หรือการแจกจ่ายถุงยังชีพไม่ทั่วถึง โดยมองว่ากรณีที่เกิดการร้องเรียนไปยังหน่วยงานรัฐนั้น อาจมาจากกรณีที่มีหน่วยงานเอกชนเสนอความช่วยเหลือมายังพื้นที่ แต่เนื่องจากจำนวนสิ่งของที่หน่วยงานเหล่านั้นนำมาไม่ครบกับจำนวนครัวเรือนในพื้นที่ เช่น นำถุงยังชีพมาเพียง 200 ชุด ขณะที่ในพื้นที่มีถึง 999 ครัวเรือน ในกรณีนี้ผมจะหลีกเลี่ยงไม่เป็นตัวแทนในการจัดสรรสิ่งของแต่จะให้หน่วยงานเอกชนเหล่านั้นนำของไปมอบให้ชาวบ้านที่เดือดร้อนเอง เพราะเกรงถูกมองว่าเลือกปฏิบัติ” นายเจริญ กล่าว

นายไกรลาศ รัตนโอฬาร นายอำเภออินทร์บุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแจกจ่ายถุงยังชีพแน่นอน พร้อมกันนี้ยังได้นำบัญชีรายชื่อหมู่บ้านและจำนวนประชาชนในพื้นที่ต.ประศุกมาชี้แจงด้วย โดยยืนยันทำทุกอย่างตามขั้นตอน ไม่มีการลักลอบนำสิ่งของออกจากถุงยังชีพ เพื่อนำไปเก็บไว้ส่วนตัว เนื่องจากไม่เห็นว่าจำเป็นต้องทำเช่นนั้นในเมื่อมีผู้บริจาคให้คนเดือดร้อนก็ต้องแจกจ่ายไปตามหน้าที่ ย้ำว่าไม่มีสิ่งของใดถูกนำมากักเก็บ สามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาะที่ทำการอบต. ซึ่งถูกน้ำท่วมเช่นกันคงไม่สามารถใช้เป็นที่ลักลอบกักเก็บสิ่งของใดได้ ส่วนกรณีที่มีอ้างว่าในพื้นที่แจกจ่ายถุงยังชีพไม่ทั่วถึงก็ขอผู้ที่ร้องเรียนย้อนกลับไปมองตัวเองว่าได้ติดตามข่าวสารจากในพื้นที่บ้างรึเปล่า เพราะทุกครั้งที่แจกจ่ายประชาชนส่วนใหญ่ก็ได้รับสิ่งของครบถ้วน

ทั้งนี้ระหว่างการชี้แจงข้อสงสัยกับเจ้าหน้าที่ป.ป.ท.และสื่อมวลชน นายกอบต. ประศุก พยายามจะสอบถามถึงรายชื่อผู้ที่ร้องเรียนไปยังป.ป.ท.ด้วย

ที่มา.เนชั่น
************************************************************

ทำไมต้องขึ้นศาลโลก


ข่าวสด,คอลัมน์ เหล็กในกระบวนการการทวงความยุติธรรมของคนเสื้อแดงเริ่มชัดเจนขึ้นแล้ว
หลัง นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของ นปช.ได้ทำรายงานเบื้องต้นส่งถึงอัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ

รายงานดังกล่าวเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่นายโรเบิร์ตพยายามโน้มน้าวให้อัยการเห็นว่าแม้ไทยไม่ได้ลงสัตยาบันไว้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ

แต่เหตุการณ์การสลายม็อบแดงเมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.ที่ผ่านมาจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบสองพันราย ไม่ใช่เหตุการณ์ที่ปกติ
เป็นการใช้อำนาจรัฐในการปราบปรามประชาชน
เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรง
เข้าข่ายขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ

อีก ทางหนึ่ง แกนนำ นปช.นำโดย นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด 1 ในเหยื่อสังหารหมู่ภายในวัดปทุมวนาราม ได้เข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนของ นายบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติไปในเวลาไล่เลี่ยกัน
การร้องเลขาฯ ยูเอ็นเพื่อต้องการให้ยูเอ็นหันมาให้ความสนใจต่อคดีปราบปรามประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย

หลักฐานสำคัญที่นายจตุพรมอบให้เป็นซีดีเหตุการณ์สลายการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เรื่อยไปจนถึงวันที่ 19 พ.ค.
เป็นซีดีที่ไม่มีการตัดต่อ
เชื่อว่า นายบัน คีมุน จะได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ภาพประชาชนถูกสไนเปอร์กระหน่ำยิงตายศพแล้วศพเล่า
ภาพอาสาพยาบาลถูกยิงดิ้นทุรนทุรายในเต็นท์กาชาด
ภาพนักข่าวต่างประเทศโดนฆ่ากลางถนน
ภาพคนเสื้อแดงใช้หนังสติ๊กยิงสู้กับปืนสงครามของเจ้าหน้าที่ สู้กับรถหุ้มเกราะ
ภาพเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบอยู่บนรางบีทีเอสเล็งปืนใส่ประชาชน
นอกจากคนเสื้อแดงแล้ว ยังมีองค์กรสิทธิมนุษยชนโลก เช่น ฮิวแมนไรต์ วอชต์ ก็ยื่นหนังสือถึงเลขาฯ ยูเอ็นเช่นกัน

เรียกร้องให้ยูเอ็นเร่งรัดให้รัฐบาลไทยตอบรับคณะทำงานของยูเอ็นที่ต้องการเข้าไปสังเกตการณ์การสอบสวนเหตุสลายม็อบในเมืองไทย

เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลนายกฯ มาร์คปฏิเสธข้อเรียกร้อง ดังกล่าว
การเคลื่อนไหวทั้งหมดจะไม่มีผลเลย หากกระบวนการสอบ สวนของไทยเป็นไปด้วยความเที่ยงตรงและโปร่งใส

แต่ที่ผ่านมาเกือบครึ่งปี รัฐบาลไม่ได้สร้างความมั่นใจให้กับญาติพี่น้องของผู้สูญเสียชีวิตเลย
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาไม่มีความคืบหน้าใดๆ
ขนาดตัวประธานยังบ่นอุบ หน่วยงานรัฐไม่ให้ความร่วมมือ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ก็อืดอาดล่าช้า ล่าสุดยังขยายเวลาการชันสูตร 91 ศพออกไปไม่มีกำหนดเสียอีก

นายกฯ มาร์คที่ประกาศปาวๆ ว่าอยากจะปรองดอง แต่กลับปล่อยให้ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ออกมาตอกย้ำความแตกแยก
กล่าวหาเสื้อแดงฆ่ากันเอง
ทั้งหมดนี้เป็นข้อยืนยันได้ชัดเจนว่าการทวงความยุติในเมืองไทยไม่มีวี่แววเลยว่าจะบรรลุผล
ทั้งหมดนี้ยังตอกย้ำว่าหนทางเดียวก็คือต้องพึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องพึ่งสหประชาชาติ
ในเมื่อนายกฯ มาร์คยืนยันมาตลอดว่าไม่ใช่คนสั่งฆ่าประชาชน
ก็ต้องยอมรับการตรวจสอบในศาลโลกและยูเอ็น
ยังจะมัวบิดพลิ้วอยู่ทำไม

ผบ.ตร.แย้มฟ้องกราวรูด114พธม.ปิดสนามบิน

ผบ.ตร. ระบุรู้ผลสั่งคดี 114 พันธมิตรฯชุมนุมปิดสนามบินสัปดาห์หน้าแน่นอน แย้มสั่งฟ้องทั้งหมดตามความเห็นของพนักงานสอบสวน สั่งตรวจสอบภาพถ่าย วิดีโอ บันทึกการชุมนุมที่หน้าสภาเมื่อวันที่ 2 พ.ย. เบื้องต้นพบผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ห้ามใช้เครื่องขยายเสียง ส่วนปิดถนนอาจอนุโลมให้เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเนื่องจากมีผู้ชุมนุมจำนวนมาก

หลังใช้เวลาทำสำนวนมานานเกือบ 2 ปี ในที่สุดคดีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมปิดสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิก็ถูกสรุปส่งถึงมือของ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) แล้วตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อให้ใช้ดุลยพินิจว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่

พล.ต.อ.วิเชียรเปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังพิจารณาสำนวนที่พนักงานสอบสวนส่งมา เบื้องต้นคาดว่าจะสรุปความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่พนักงานสอบสวนเสนอมา คือสั่งฟ้องดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้ง 114 ราย ซึ่งจะทราบผลชัดเจนภายในสัปดาห์หน้า

ส่วนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อคัดค้านบันทึกข้อตกลงคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ซึ่งเป็นการชุมนุมภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ผบ.ตร. กล่าวว่า เบื้องต้นพบการทำความผิดคือการใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่ ส่วนจะมีความผิดอื่นเพิ่มเติมอีกหรือไม่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กำลังพิจารณาอย่างละเอียดจากภาพถ่ายและวิดีโอบันทึกการชุมนุม ส่วนกรณีการปิดกั้นการจราจรนั้นเรื่องนี้คงต้องดูที่เจตนา บางครั้งเป็นไปตามสภาพเพราะเมื่อมีผู้มาชุมนุมจำนวนมากก็ต้องล้นลงไปบนพื้นผิวจราจรบ้าง

จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้

**********************************************************************

ฆ่าด้วยความรัก

โดย:นักปรัชญาชายขอบ

ผมไม่ตั้งใจจะ แซงคิว ท่านพี่ ใบต้องแห้ง นะครับ ที่เขียนบ่อยก็ไม่ใช่เพราะว่างมาก แต่เจียดเวลานอนบ้าง วันหยุดบ้างมาเขียน แล้วมันก็อยากเขียนๆ เพราะความโศกเศร้ายังเกาะกินหัวใจ กลัวจะเป็นโรคซึมเศร้าเลยต้องระบายออกด้วยการเขียน ไม่ทราบว่าเมื่อไรเราจะก้าวผ่าน ประวัติศาสตร์แห่งความโศกเศร้า ไปได้
ประวัติศาสตร์แห่งความโศกเศร้าคือ ประวัติศาสตร์แห่งการฆ่าด้วยความรัก ผมครุ่นคิดซ้ำซากกับเรื่องที่พี่ (ขออนุญาตเรียก พี่ นะครับ) ใบตองแห้ง พูดออกทีวีเมื่อช่วงรำลึก 6 ตุลา ที่ผ่านมาว่า โมเดลที่ใช้ปราบคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ก็คือโมเดลเดียวกันกับที่ใช้ปราบนักศึกษาเมื่อ 6 ตุลา แต่ทำไมอดีตนักศึกษา 6 ตุลาที่อยู่ฟากเสื้อเหลืองจึงเชียร์ให้ใช้โมเดลนี้กับคนเสื้อแดง ทั้งที่ตัวเองเคยเป็นฝ่ายถูกระทำมาก่อน คุณทำได้ยังไงๆๆ (พูดถึงตรงนี้พี่ใบตองแห้งร้องให้สะอื้นออกมาอย่างระงับอารมณ์ไม่อยู่)

ถ้าไม่มีการอ้างความรักสถาบัน รัฐประหาร 19 กันยา 49 ไม่น่าจะเกิดขึ้น ถ้าไม่อ้างความรักสถาบัน การเรียกร้อง การเชียร์ การสั่งใช้กำลังทหารปราบประชาชนช่วง เมษา-พฤษภา 53 ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น และถ้าไม่ใช่การฆ่าในนามของความรักสถาบัน ผู้ฆ่า ผู้สั่งให้ฆ่า คงถูกคนทั้งสังคมประณามในทางศีลธรรม และถูกดำเนินการทางกฎหมายไปแล้ว

ความโศกเศร้าจาก การฆ่าด้วยความรัก มีแง่มุมซับซ้อน เช่น

หนึ่ง ความรักเป็นสิ่งงดงาม ความรักสถาบันใดสถาบันหนึ่งทางสังคมก็เป็นสิ่งงดงาม และ ความรัก ย่อมตรงข้ามกับ ความอำมหิต หากรักอย่างมีเหตุผลย่อมเข้าใจสัจธรรมที่ว่าสถาบันใดๆ จะดำรงอยู่ได้ก็ด้วย บุญคุณ ของประชาชน ฉะนั้น เมื่อเรารักสถาบันใดๆ ในสังคม เราต้องรักประชาชนที่ค้ำจุนสถาบันนั้นๆ ด้วย (เช่น ด้วยการเสียภาษี ฯลฯ)

ประชาชนคือเจ้าของสถาบันทางสังคม อย่าคิดว่าสถาบันใดๆ จะมีบุญคุณกับประชาชน เช่น รัฐบาลแจกถุงยังชีพ จ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ไม่ใช่รัฐบาลมีบุญคุณต่อประชาชน เพราะสิ่งของ เงินที่ใช้ทั้งหมดมาจากการบริจาคและภาษีของประชาชน

จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่สังคมเรามีการเรียกร้องให้รัก ให้สำนึกบุญคุณต่อสถาบันใดสถาบันหนึ่ง แต่ละเลยที่จะเรียกร้องให้รัก ให้สำนึกในบุญคุณของประชาชน!

แถมยังยอมให้อ้างความรักอ้างบุญคุณของสถาบันเพื่อใช้ กำลังทหาร (ที่เลี้ยงชีวิต/มีชีวิตอยู่ได้/ไม่ตาย เพราะอาศัยเงินเดือนจากภาษีประชาชน) ปราบปรามประชาชนที่มาเรียกร้องสิทธิ อำนาจของเขา แค่ขอ เลือกตั้ง เท่านั้นเอง โดยผู้สั่งใช้กำลังทหารไม่ต้องแคร์ว่าใช้กองกำลังและอาวุธมากขนาดนั้น จัดการกับประชาชนมากขนาดนั้น เขาจะต้องบาดเจ็บล้มตายกันเท่าไร

สอง โศกเศร้ากับ ข้อเท็จจริง ที่เห็น คือ นักวิชาการ สื่อ อาจารย์มหาวิทยาลัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ตบเท้าเข้ารับตำแหน่งที่ตั้งโดยคณะรัฐประหาร ออกทีวี เดินสายทั้งในและต่างประเทศไปอธิบายความชอบธรรมของรัฐประหาร

แต่คนขับแท็กซี่พลีชีพเพื่อต้านรัฐประหาร คนขับมอเตอร์ไชค์รับจ้าง แม่ค้า กรรมกร ชาวนา ป้าแก่ๆ จากชนบทจำนวนมากออกมาเสี่ยงตายเรียกร้องประชาธิปไตย ประชาชนพวกนี้ก็ถูกประณามว่าไม่เอาสถาบัน เป็นทาสของคนที่จ้องล้มสถาบัน โดยสื่อ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ปัญญาชนชั้นนำนิ่งเฉยต่อการที่ประชาชนเหล่านี้ถูกประณาม!

สาม เศร้าโศกกับข้อตัดสินของคนมีการศึกษาในสังคมนี้ที่ว่า ระบอบทักษิณคือเผด็จการในคราบประชาธิปไตย แต่ระบอบอำมาตย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ตรวจสอบไม่ได้เป็นประชาธิปไตย มีความชอบธรรมที่จะขจัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

สี่ เศร้าโศกกับวิธีคิดของปัญญาชนชั้นนำของประเทศ อย่างเช่น ประเวศ วะสี ยุค ศรีอาริยะ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ฯลฯ ที่พยายามประดิษฐ์ นวัตกรรมทางปัญญาพุทธ มาใช้อธิบายปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เช่น อ้าง กฎอิทัปปัจจยตา ว่า สรรพสิ่งล้วนมีเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันเกิดขึ้น อ้างเหตุปัจจัยไปถึง ระบบโลก ทุนข้ามชาติ กระแสโลกาภิวัตน์ ฯลฯ เพื่อสรุปว่า รัฐประหาร 19 กันยา จำเป็นต้องเกิด เพราะมีเหตุปัจจัยหนุนเนื่องอย่างซับซ้อนและประจวบพร้อมให้ต้องเกิด

แต่จริงๆ คือ กฎอิทัปปัจจยตาในพุทธศาสนาหมายถึง กฎทั่วไป ที่บรรยายว่า สรรพสิ่งในธรรมชาติมีความสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันและกัน เมื่อนำกฎนี้มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา กฎประยุกต์นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือ กฎที่ระบุสาเหตุที่เด่นชัดหรือแน่นอนในการเกิดทุกข์ (หรือการดับทุกข์) ในชีวิต ถ้าจะแก้ก็ต้องเจาะจงแก้ที่สาเหตุนั้น ไม่ใช่ต้องไปแก้เหตุปัจจัยอื่นๆ ครอบจักรวาล (เช่น อวิชชา ตัณหา เป็นสาเหตุที่แน่นอนหรือโดดเด่นของการเกิดทุกข์ในชีวิต ถ้าจะแก้ทุกข์ก็ต้องแก้ตรงๆ ที่สาเหตุนี้เป็นหลัก)

ฉะนั้น เมื่อประยุกต์กฎอิทัปปัจจยตา (ปฏิจจสมุปบาท) กับปัญหาประชาธิปไตย ก็ต้องระบุ สาเหตุที่โดดเด่นหรือแน่นอนที่เป็นอุปสรรคหรือหยุดยั้งพัฒนาการประชาธิปไตย ซึ่งสาเหตุที่โดดเด่นก็คือ รัฐประหาร โดยใช้โมเดลสถาบัน หรือการอ้างความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ใช่ไปอ้างเหตุปัจจัยครอบจักรวาล แต่ไม่แตะสาเหตุจริงๆ ที่เป็นอุปสรรคประชาธิปไตยมาตลอด แล้วก็พยายามจะปฏิรูปอะไรต่ออะไรครอบจักรวาล แต่ไม่ชัดเจนว่า จะปฏิรูปกองทัพอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการใช้โมเดลสถาบันเพื่อทำรัฐประหาร และปราบปรามประชาชนอีก!

ห้า สุดท้ายก็เศร้าอย่างยิ่งกับสังคมนี้ที่เอาแต่ประณามว่า นาย ก นาย ข จาบจ้วง หรือหมิ่นสถาบัน แต่ไม่ประณาม ไม่คิดจะเอาผิดกับคนที่นำสถาบันมาเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง อ้างสถาบันเพื่อแบ่งแยกคนในประเทศเป็นฝักฝ่าย

นาย ก นาย ข ที่บอกว่าเขาจาบจ้วงหรือหมิ่นฯ ก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม ถ้ามีใครเห็นว่ากฎหมายหมิ่นฯ ไม่ยุติธรรม ก็ต้องเอามาเถียงกันได้เพื่อแก้ไขปรับปรุง ไม่ใช่อ้างการกระทำของนาย ก นาย ข เพื่อจะปิดปาก หรือใช้อำนาจควบคุมคนทั้งประเทศแบบเหมารวม หรืออ้างเพื่อยื่ดเวลาไม่ให้มีการเลือกตั้ง ฯลฯ
พูดอย่างตรงไปตรงมาถ้า นาย ก นาย ข หมิ่นฯ ก็จัดการตามกฎหมายเป็นรายๆ ไป ไม่ได้สร้างความแตกแยกแก่สังคมเหมือนกับการใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมือง ไม่ได้ทำให้เกิดรัฐประหาร การปราบประชาชน
แต่การอ้างความจงรักภักดีเพื่อใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมืองมักนำไปสู่รัฐประหาร และการปราบปรามประชาชน เป็นความเสียหายมากกว่าการกระทำของ นาย ก นาย ข อย่างเทียบกันไม่ได้ มันจึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนในสังคมไม่ประเมินปัญหาสองเรื่องนี้อย่างเที่ยงธรรม!

ฉะนั้น แทนที่จะปฏิรูปจิตสำนึกใหม่ เราควร ปฏิรูปความรัก เพื่อหาแนวทางป้องกันอย่างถาวรว่า จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ ฆ่าด้วยความรัก ในประเทศของเราอีกต่อไป!

ปล. คำขวัญปฏิรูปความรัก คือ เรารักประชาชน : เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ !” (อย่าลืมติดสติ๊กเกอร์คำขวัญนี้ที่รถของคุณด้วยนะครับ!)

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คลิปฉาวกับขบวนการล้มศาล ที่แท้...สนิมแต่เนื้อในตน!

โดย : ปกรณ์ พึ่งเนตร

ตะลึงตึงตังกันไปตามคาดสำหรับคลิปฉาวภาค 2 เกี่ยวกับบุคคลในศาลรัฐธรรมนูญที่เพิ่งเผยแพร่ทางโลกไซเบอร์
คราวนี้พุ่งเป้าไปที่พฤติกรรมของตุลาการโดยตรง ไม่ได้เชื่อมโยงกับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

ว่ากันว่าผู้พิพากษาหลายคนที่ได้ชมคลิป แม้แต่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมเองยัง "อึ้ง" ไปตามๆ กัน และถามกันให้แซ่ดว่า ตุลาการที่เกี่ยวพันกับเนื้อหาในคลิปจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างไร?

คลิปฉาวภาค 2 นี้มี 3 ตอน ใช้ชื่อว่า "พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญไทย" เป็นภาพและเสียงการพูดคุยกันของบุคคล 3 คน โดย 2 ใน 3 ถูกระบุว่าเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ "นาย พ." ซึ่งเคยตกเป็นข่าวพัวพันคลิปฉาวภาค 1 ที่โยงถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และถูกปล่อยออกมาเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้า

เนื้อหาหลักๆ ของคลิปฉาวภาค 2 เป็นการหารือกันเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับคลิปอีกชุดหนึ่งที่คนเหล่านี้เชื่อว่าถูกบันทึกภาพการเจรจาตกลงระหว่างตุลาการกลุ่มหนึ่งในการนำข้อสอบที่ใช้สอบบรรจุเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญไปแจกจ่ายให้กับคนใกล้ชิดของตุลาการเหล่านั้น ซึ่งก็มีทั้งคนที่เล่นด้วยและไม่เล่นด้วย เมื่อมีข่าวว่าคลิปดังกล่าวหลุดออกไปและอาจตกไปอยู่ในมือของพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ทำให้กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องมานั่งหารือกันเพื่อหาทางแก้เกมและแก้ข้อครหาที่จะตามมา

ภาพและเสียงที่ปรากฏในคลิปฉาวภาค 2 ทำให้พอมองเห็น "เรื่องราว" เบื้องหลังคลิป และ "เรื่องลับๆ" ในศาลรัฐธรรมนูญชัดเจนมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ

1.ข้อสันนิษฐานที่เคยคาดกันว่าพรรคเพื่อไทยอยู่เบื้องหลังการถ่ายทำ หรือ "จัดฉาก" ให้เกิดคลิปเหล่านี้ อาจไม่จริงทั้งหมด เพราะจากเนื้อหาในคลิปชัดเจนว่ามีการ "แอบถ่าย" กันเองระหว่างบุคคลในศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้วเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพื่อต่อรองอะไรกันบางอย่างในลักษณะ "กำความลับของอีกฝ่าย"

2.คลิปฉาวไม่ได้มีแค่ 2 ภาคหรือ 2 ชุดที่ถูกปล่อยออกมาแล้ว แต่น่าจะยังมีอีกอย่างน้อย 1 ชุด คือคลิปที่เชื่อกันว่าเป็นการบันทึกภาพการเจรจาตกลงระหว่างตุลาการกลุ่มหนึ่งเกี่ยวกับการโกงข้อสอบบรรจุเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทว่ายังไม่ถูกเผยแพร่

3.จากภาพและเสียงที่ปรากฏในคลิป ยากที่จะปฏิเสธว่ามีความไม่ชอบมาพากลหลายเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารงานภายในศาลรัฐธรรมนูญจริง ไม่ว่าจะเป็นการสอบบรรจุเจ้าหน้าที่ศาล โครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ หรือการต่อรองตำแหน่งสำคัญในหมู่ตุลาการ

4.พฤติกรรมของตุลาการบางคนที่เอ่ยถึงบุคคลที่สามอย่างไม่ให้เกียรติ ซึ่งบางรายเป็นพยานในคดียุบพรรคด้วย ทำให้ความน่าเชื่อถือที่สังคมมีต่อตุลาการลดลง แม้ว่าจะเป็นการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการในห้องที่ปิดลับก็ตาม

แน่นอนว่าเมื่อคลิปฉาวชุดที่ 2 ถูกแพร่ออกมา ได้ส่งผลให้เครดิตของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตกต่ำอย่างน่าใจหายอยู่แล้วก่อนหน้านี้ อยู่ในภาวะ "ดับวูบ" กันเลยทีเดียว และผลสะเทือนของมันน่าจะกระทบทั้งในมิติที่เกี่ยวกับอนาคตของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองซึ่งอาจเกี่ยวโยงถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ด้วย และมิติทางการเมืองที่มีความพยายาม "เล่นงาน" กระบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" มาตลอด

เริ่มจากอนาคตของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก่อน แนวโน้มที่เป็นไปได้มี 3 ประการ คือ

1.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแสดงสปิริตลาออกทั้งคณะ ซึ่งจะทำให้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ต้องหยุดชะงักลง
2.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนตัดสินใจลาออก จนอาจกระทบกับองค์คณะที่ทำหน้าที่วินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งต้องมีไม่ต่ำกว่า 5 คน
3.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งคณะอยู่ในตำแหน่งต่อไป ซึ่งก็จะกระทบกับความน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่ โดยเฉพาะในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

ส่วนในมิติทางการเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครดิตและความน่าเชื่อถือของตุลาการชุดนี้แทบจะหมดสิ้นแล้ว จนอาจ "เข้าทาง" กลุ่มการเมืองบางกลุ่ม ทั้งที่ต้องการยุบเลิกองค์กรศาลรัฐธรรมนูญไปเสีย หรือต้องการให้เริ่มกระบวนการสรรหาตุลาการชุดใหม่ และอาจลามไปถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสรรหาตลอดจนองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา และถึงที่สุดคือการ "ล้วงมือ" เข้าไปตรวจสอบศาล ในฐานะหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยที่แทบไม่เคยถูกตรวจสอบจากฝ่ายอื่นๆ เลย

ต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้านี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางรายได้ออกมาพูดถึงข่าวการพยายามยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่พรรคเพื่อไทยและอดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองกลุ่มบ้านเลขที่ 111 และ 109 ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก็เคยแสดงท่าทีหลายครั้งที่จะ "รื้อใหญ่" รัฐธรรมนูญ เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะกระบวนการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ อาทิเช่น ประธานศาลสูง โดยยกตัวอย่างเทียบเคียงกับสหรัฐอเมริกาที่อัยการและประธานศาลสูงต้องผ่านการตรวจสอบจากสภาในฐานะตัวแทนประชาชนก่อน

ที่สำคัญผลสะเทือนที่ว่านี้ย่อมส่งถึงศาลยุติธรรมด้วย เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน 7 ใน 9 คนเคยเป็นผู้พิพากษาศาลยุติธรรม มี 3 คนที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา และอีก 4 คนก็มาจากคณะกรรมการสรรหาที่มีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน

การปฏิเสธความเกี่ยวข้องหรือความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิงจะเป็นไปได้หรือ?

หากแนวโน้มดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจริง องค์กรศาลจะถูก "ตรวจสอบ" โดยฝ่ายการเมืองที่อ้างความเป็นตัวแทนประชาชน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย"

ประเด็นที่ต้องจับตาก็คือ หากการตั้งตำแหน่งสำคัญๆ ในวงการตุลาการ อาทิเช่น ประธานศาลฎีกาต้องผ่านความเห็นชอบโดยฝ่ายการเมือง ย่อมหมายถึงสถาบันศาลเกือบทั้งสถาบันมีโอกาสถูกจัดแถวโดย "มือ" จากนอกศาล เพราะตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม ประธานศาลฎีกาคือผู้เสนอชื่อเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจคุมงานธุรการศาลทั่วประเทศ รวมทั้งจัดทำบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายตุลาการ

ขณะที่ประธานศาลฎีกาก็เป็นประธานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) และประธานคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (กบศ.) โดยตำแหน่ง

ถึงตรงนี้คงพอนึกภาพออกแล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น...

กระบวนการที่เรียกว่า "ตุลาการภิวัตน์" ซึ่งบุคลากรจากศาลออกมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายการเมือง กำลังถึงคราวพังทลาย และลุกลามไปถึงองค์กรต้นธารของบุคคลเหล่านี้

วันแห่งการเปลี่ยนแปลงกำลังก้าวมาถึงแล้ว แต่ไม่ใช่ด้วยปัจจัยทำลายล้างจากฝ่ายการเมืองผู้เสียประโยชน์แต่เพียงด้านเดียว ทว่าปัจจัยหลักมาจากสนิมแต่เนื้อในตน...

ถึงเวลาที่ฝ่ายตุลาการต้องกวาดบ้านตัวเองอย่างจริงจัง หากไม่อยากให้คนนอกบ้านมาช่วยกวาด!

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ

แกะธุรกิจ100ล."ศิริโชค โสภา"วอลล์เปเปอร์"มาร์ค" คู่ปรับ"พท.-วิสุทธิ์" ไขคำตอบโยงน้ำมันเถื่อนหรือไม่?

กรณี พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร  รองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี (รองผบช.กมค.) แถลงข่าว(รอบ 2)ระบุนักการเมืองใกล้ชิดนายกฯ "ล้วงโผตำรวจ-รับเคลียร์"และกล่าวถึงนักการเมืองชื่อ "สระอิ สระอา" ไม่พอใจโดนปราบอิทธิพล นอกจากนี้ยังโจมตีนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ว่าเป็นวอลล์เปเปอร์เน่าทำให้คนในบ้านติดโรค

ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน นายศิริโชค โสภา เลขานุการส่วนตัว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ออกมาปฏิเสธว่ามิได้เกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์ทั้งในเรื่องของเถื่อน น้ำมันเถื่อน การเรียกรับผลประโยชน์จากการวิ่งเต้นโยกย้ายตำรวจด้วยนาฬิกายี่ห้อปาเต๊ะฟิลลิป และขอใช้สิทธิ์ฟ้องร้องพล.ต.ต.วิสุทธิ์ในข้อหาหมิ่นประมาท

"เมื่อครั้งที่ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกผมก็ไม่ได้ติดใจ ถือว่าให้อภัยกันได้แต่พอมาพาดพิงครั้งที่สองผมคิดว่ามันเป็นการละเมิดสิทธิผมมากเกินไปก็ต้องใช้สิทธิในการฟ้องร้องคุณวิสุทธิ์และขอยืนยันว่าไม่ได้เป็นการฟ้องแก้เกี้ยวและจะฟ้อง 3 ศาลเลย ขอให้คุณวิสุทธิ์เตรียมไปพิสูจน์ตัวเองในศาลเลย"นายศิริโชคกล่าว

หากใครติดตามข้อหล่าวหาที่มีต่อนายศิริโชคอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ถูกกล่าวหามาหลายครั้ง

ครั้งแรก ถ้าจำกันได้เมื่อครั้งที่เขาอภิปรายเปิดโปงการหลบเลี่ยงภาษีของบริษัท ชินแซทเทลไลท์ และบริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เขาถูกเครือข่ายอดีตนายกฯขุดคุ้ยละเอียดยิบทั้งเรื่องส่วนตัวและครอบครัว

ถัดมาถูกเล่นงานกรณีเปิดโปงกรณีซื้อขายตำแหน่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติและออกมาเล่นบทพระเอกกรณีคลิปฉาวตัดต่อของนายกฯ(กรณีถูกพรรคเพื่อไทยกล่าวหาสั่งปราบประชาชน) 

กระทั่งถูกนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ตรวจสอบภูมิหลังนายศิริโชคโดยอ้างว่าบริษัทพี่ชายนายศิริโชคมีคดีความเกี่ยวกับการทุจริตรวมทั้งขอให้ตรวจสอบสัญชาติบิดาของนายศิริโชคอีกด้วย

ขณะที่เจ้าตัวออกมาโต้ว่าเป็นเรื่องเก่า ไร้สาระ หากทำให้เสียหายก็จะฟ้องดำเนินคดี และบอกทำนองว่านายพร้อมพงศ์ไปเล่นหนังโป๊ หากเป็นนักการเมืองที่ไม่มีคุณธรรมก็คงเอาซีดีที่นายพร้อมพงศ์แสดงเป็นพระเอกออกมาเผยแพร่แล้ว 

และบอกอีกว่าการทำธุรกิจของพี่ชายถ้าจะเกิดปัญหาก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกันและคดีดังกล่าวก็เป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย

แม้ว่าข้อกล่าวหาต่อนายศิริโชคกับคู่กรณีน่าจะไปพิสูจน์กันในชั้นศาล 

ถึงกระนั้น คำถามที่หลายคนจำนวนไม่น้อยอยากรู้ความจริงก็คือ ธุรกิจของเขาและครอบครัวเกี่ยวโยงกับธุรกิจน้ำมันหรือไม่?

ตรวจสอบข้อมูลมาและนำมาเสนอดังนี้

ครอบครัวนายศิริโชคมีธุรกิจกว่า 10 บริษัทมูลค่านับ100 ล้านบาท

ปี 2508 ก่อตั้งหจก.บัวไล ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ขายส่งสินค้า เช่น ข้าว แร่ ยาง ไม้ ข้าวโพดออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

ปี 2516 ก่อตั้งบริษัท โอเวอร์ซี เมอร์แคนไทล์ จำกัด (ปิดกิจการแล้ว) ทุน 1 ล้านบาท

ปี 2524 ก่อตั้งบริษัท สหะโสภา จำกัด ทุน 8 ล้านบาท ขายอาหารทะเล ที่อยู่เดียวกับบริษัท โอเวอร์ซี เมอร์แคนไทล์

ปี 2530 ก่อตั้ง บริษัท โอเวอร์ซีส์ มารีนและห้องเย็น จำกัด ทุน 100 ล้านบาท ส่งออกอาหารทะเล อยู่ในซอยทรงสะอาด ถนนวิภาวดีรังสิต 

ปี 2535 ก่อตั้ง บริษัท โสภา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ทุน 10 ล้านบาท

ปี 2536 ก่อตั้งบริษัท ระยองพรอน จำกัด (ปิดกิจการปี 2547) ทุน 1 ล้านบาท และบริษัท ปราณบุรี  จำกัด (ปิดกิจการปี 2547) ทุน 1 ล้านบาท ส่งออกอาหารทะเล

ปี 2538 ก่อตั้งบริษัท อินโด-ไทย ฟู้ด เทรด จำกัด ทุน 10 ล้านบาท ขายสินค้าอุปโภค บริโภค อยู่ในซอยเอกมัย
บริษัท โอแมค ปิโตรเลี่ยม จำกัด (ปิดกิจการปี 2546)  ทุน 1 ล้านบาท ขายน้ำมันเชื้อเพลิง
บริษัท ไอพีดี แลนด์ จำกัด ทุน 46 ล้านบาท รับเหมาก่อสร้าง  (ล้มละลาย 29 พ.ค.2551)

 กิจการเกือบทั้งหมดนายศิริโชคถือหุ้นร่วมกับแม่คือนางเสาวรส โสภา  น.ส.นุชนาฎ โสภา พี่สาว และ นายศิริพจน์ โสภา พี่ชาย  

  ที่น่าสนใจคือนายศิริโชคเริ่มผ่องถ่ายหุ้นให้แม่และพี่ชายตั้งแต่ปี 2541 (เป็น ส.ส.ครั้งแรกปี 2544) 

วันที่ 10 สิงหาคม 2541 โอนหุ้นบริษัท สหะโสภา จำกัด ให้นางเสาวรส 40 หุ้น และ นายศิริพจน์ 39 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10,000 บาท รวม  790,000 บาท และ โอนหุ้น บริษัท โอเวอร์ซีส์ มารีนและห้องเย็น จำกัด ให้นางเสาวรส และ นายศิริพจน์คนละ 5,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท รวม 10 ล้านบาท 

 วันที่ 10 เมษายน 2545 โอนหุ้นบริษัท โอแมค ปิโตรเลี่ยม  ให้นางเสาวรส 2,800 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวม 280,000 บาท  ,โอนหุ้นบริษัท ระยองพรอน  ให้นางเสาวรส 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวม 1 แสนบาท  และ โอนหุ้น บริษัท ปราณบุรี พรอน ให้นางเสาวรส 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวม 1 แสนบาท      

นายศิริโชคจึงไม่มีหุ้นในธุรกิจอีกต่อไป  และ แจ้ง ป.ป.ช.ว่าไม่มีแม้กระทั่งรถยนต์ 

 ทั้งนี้ นายศิริโชคยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตอนรับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551 ระบุว่ามีทรัพย์สินเพียง 2 รายการ คือเงินฝากแบงก์ 1.1 ล้านบาทเศษ ที่ดินในต.ปากพลี จ.นครนายก  1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่เศษ มูลค่า 3 แสนบาท  รวม 1.4 ล้านบาทเศษ  ไม่มีทรัพย์สินอื่น 

  ถ้าเทียบกับ ส.ส.ประชาธิปัตย์ จำนวน 172  คน ทรัพย์สินของนายศิริโชครั้งท้ายอยู่อันดับ 165

  นายศิริโชคระบุว่ามีหนี้สิน 119.2 ล้านบาท จำแนกเป็นหนี้ธนาคารไทยธนาคาร 27.5 ล้านบาท  บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 31.8 ล้านบาท กองทุนรวมไทยรีสตรัคเจอริ่ง 4 รายการ  59.8 ล้านบาท

  หักลบกลบหนี้มี "หนี้สิน" มากกว่า "ทรัพย์สิน" 117.8 ล้านบาท (เป็น 1 ใน 6 ส.ส. ประชาธิปัตย์ที่มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน)

หนี้สินทั้งหมดเป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งศาลตัดสินตั้งแต่ปี 2543 - 2546 ซึ่งนายศิริโชคเป็นจำเลยร่วมกับ บริษัท โอเวอร์ซีส์ มารีนและห้องเย็น บริษัท สหะโสภา นางเสาวรส โสภา (นามสกุลเดิม จันทนะปุญญา) นายศิริพจน์ โสภา พี่ชาย และ เครือญาติ รวม 6 ราย 

  จากข้อมูลอาจเห็นได้ว่าครอบครัวนายศิริโชคทำธุรกิจ "ปิโตรเลียม" อยู่ด้วย

ด้วยเหตุนี้กระมังที่ถูกฝ่ายตรงข้ามหยิบมาเป็น"จุดอ่อน"โจมตี

กระนั้นก็ต้องยอมรับความจริง ณ ขณะนี้ ยังไม่มีข้อพิสูจน์ใดว่า ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย? 


ที่มา : มติชนออนไลน์
**************************************************************

“ให้มาทำงาน ไม่ใช่มาช่วยกันโกง”!!

เอกซเรย์ ฉายรังสี ดูจุดเสื่อมแล้ว เห็นว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” งาบกันปากมันส์...จน “ลูกพี่นายกฯ” ท่านชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาประชาธิปัตย์ ต้องเอ็ดตะโร จนเสียงหลง???

ประกอบกับ “รัฐบาลร้อยศพ” ไม่มีไอเดียบูรณาการ แก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ..หนำซ้ำ ยังปล่อยให้เหลือบ “ทุจริต-คอรัปชั่น” ในการแก้วิกฤติน้ำท่วม อีกกระทอก

“ผู้คุมอำนาจประเทศไทย” ชักเป็นเตี้ยอุ้มค่อม “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ไม่ไหวแล้วขอบอก

จับตาดูช่วงน้ำลง ระหว่างวันที่ ๖-๑๐ เดือนพฤศจิกายนนี้ ให้ดี....ประเทศไทยจะเปลี่ยน “นายกฯคนใหม่?”.. เพราะไม่อาจแก้ชนักติดหลัง “การคอรัปชั่น” ที่เฟื่องฟู!!!

คนที่จะมาเป็นนายกฯ...ก็บูรพาพยัคฆ์หน้าหยก?..ผู้ฝีมือไม่ตก “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไงล่ะเท่าที่รู้???.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ประวัติศาสตร์ให้ “ความจริง”!!!

ขุนศึก นักรบใหญ่ ที่โตกันแบบยกแผง.. สุดท้ายก็ต้องตกเป็น “เป้านิ่ง”??

ในฐานะที่ท่าน เป็นเลือดนักรบ แห่งเตรียมทหารรุ่นที่ ๑๒ อยากให้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซีซาร์ใหญ่แห่งกองทัพสยาม แลดู เข้าไปในอดีตบ้าง ก็จะดี

“จอมพลถนอม กิตติขจร”, “จอมพลประภาส จารุเสถียร”, “พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร” ครองกองทัพเอาไว้หมด สุดท้ายเหลืออำนาจ ที่ไหนกันล่ะนี่

เหมือนกับ “จปร.รุ่น๕” และ “จปร.รุ่น ๗” ของ “พล.อ.สุจินดา คราประยูร” และ ยังเติร์ก รุ่นใหญ่“พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร” ที่ใหญ่ยกแผง แต่ต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน เมื่อโดนพิชิต

ยามนี้“ตท.รุ่น ๑๒” ใหญ่สุด .ขอเตือนไปยัง. “บิ๊กประยุทธิ์”...อย่าให้เครื่องสะดุด ดับสนิท????

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เป็น “ไอดอล” ต้นแบบชั้นดี!!

ทั้ง “ชวน หลีกภัย”, “บัญญัติ บรรทัดฐาน”..ลอกมาตรฐาน “เทพไท เสนพงศ์” โทรโข่งปากตำแย มาได้เป๊ะ เชียวล่ะพี่

ท่านชวนโบ้ยใบ้ ว่า เสื้อแดงฆ่ากันเอง อย่างปู้ยี่ปู้ย่ำ

พณะทั่นบัญญัติ ก็ฟันธง มหากาพย์ “คลิปฉาว” เรื่องยาว..ของตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นการจัดฉาก เพื่อทำลายกระบวนการยุติธรรม

โดยไม่สนเนื้อหาอันอัดแน่น ด้วยความเจ้าเล่ห์ สร้างหลักฐานเท็จเพื่อปรักปรำคนอื่น?...ไม่น่าเชื่อ “๒ ผู้ยิ่งใหญ่” จะเอาสไตล์ “พ่อค้าแม่ค้าปากตลาด” มาพูดเป็นตุเป็นตะ!!!

“เทพไท”ต้องดีงาม..ไม่เช่นนั้น“ชวน-บัญญัติ”ไม่เดินตาม?...ให้พบความตกต่ำหรอกจ๊ะ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

งานหลวงไม่เคยขาด..งานราษฎร์ ไม่เคยบกพร่อง!!

ชีวิตนี้, ของ “ฉลาด ขามช่วง” สส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ทำงานรับใช้พี่น้อง??

๗ อำเภอ ของจังหวัดร้อยเอ็ด จมเป็นเมืองใต้บาดาล.. ทั้ง จังหาร-เชียงขวัญ-โพธิ์ชัย-ธวัชบุรี-ท่าเขาหลวง และ อาจสามารถ ซึ่งติดกับแม่น้ำชี น้ำจึงหลากจากชัยภูมิ ท่วมไร่นาเสียหายป่นปี้

เสร็จภารกิจ ประชุมสภา วันพุธ -วันพฤหัสบดี แล้ว.. “สส.ฉลาด ขามช่วง” ก็ดิ่งไปช่วยชาวบ้านกันอย่างทันที

ด้วยความเป็น “สส.ติดดิน” รู้ใจชาวบ้านอย่างแน่นแฟ้น..
“ ฉลาด ขามช่วง” จึงเป็นผู้แทนราษฎรมาแล้ว ถึง ๗ สมัยซ้อน!!

เป็นนักการเมือง ที่ไม่ทิ้งประชาชน...จะเลือกตั้งกี่หน?...ก็ติดลมบน เดินเข้าสภาฯแน่นอน

++++++++++++++++++++++++++++++++

ผลงาน “จิบ ๆ”.. หยิบขึ้นมาโชว์ไม่ได้!!

ฝีมือสอบตกด้านการบริหาร สำหรับ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีเมืองไทย??

รู้ทั้งรู้พื้นที่ ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ๒๙ จังหวัด..เป็นพื้นที่การเกษตร เพาะปลูก ไร่นากันทั้งนั้น...

ไม่ยักหิ้วเอา “ธีระ วงศ์สมุทร” รมว.เกษตรฯ ออกไปพบชาวบ้านคู่กัน

เวลา “อภิสิทธิ์” ไม่ตรวจสภาพน้ำ พบปะชาวบ้าน.. ก็มักจะตีฆ้องร้องป่าว ให้ข้าราชการมาต้อนรับ...กว่าความช่วยเหลือจะไปถึงมือชาวบ้าน ก็สายเกินเพล!!!!

นอกจากทำงานร่วมกับ “รัฐมนตรีเกษตร”ไม่ได้... “อภิสิทธิ”ทำตัวเหลวไหล?..ฝีมือบ่มิไก๊ แถมทำงานไม่เป็น????

***********************************************
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
บางกอกทูเดย์

ทำไมต้องขึ้นศาลโลก

ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ เหล็กใน

กระบวนการการทวงความยุติธรรมของคนเสื้อแดงเริ่มชัดเจนขึ้นแล้ว

หลัง นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของ นปช.ได้ทำรายงานเบื้องต้นส่งถึงอัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ

รายงานดังกล่าวเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่นายโรเบิร์ตพยายามโน้มน้าวให้อัยการเห็นว่าแม้ไทยไม่ได้ลงสัตยาบันไว้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ

แต่เหตุการณ์การสลายม็อบแดงเมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.ที่ผ่านมาจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบสองพันราย ไม่ใช่เหตุการณ์ที่ปกติ

เป็นการใช้อำนาจรัฐในการปราบปรามประชาชน

เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรง

เข้าข่ายขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ

อีกทางหนึ่ง แกนนำ นปช.นำโดย นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด 1 ในเหยื่อสังหารหมู่ภายในวัดปทุมวนาราม ได้เข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนของ นายบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติไปในเวลาไล่เลี่ยกัน

การร้องเลขาฯ ยูเอ็นเพื่อต้องการให้ยูเอ็นหันมาให้ความสนใจต่อคดีปราบปรามประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย

หลักฐานสำคัญที่นายจตุพรมอบให้เป็นซีดีเหตุการณ์สลายการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เรื่อยไปจนถึงวันที่ 19 พ.ค.

เป็นซีดีที่ไม่มีการตัดต่อ

เชื่อว่า นายบัน คีมุน จะได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ภาพประชาชนถูกสไนเปอร์กระหน่ำยิงตายศพแล้วศพเล่า

ภาพอาสาพยาบาลถูกยิงดิ้นทุรนทุรายในเต็นท์กาชาด

ภาพนักข่าวต่างประเทศโดนฆ่ากลางถนน

ภาพคนเสื้อแดงใช้หนังสติ๊กยิงสู้กับปืนสงครามของเจ้าหน้าที่ สู้กับรถหุ้มเกราะ

ภาพเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบอยู่บนรางบีทีเอสเล็งปืนใส่ประชาชน

นอกจากคนเสื้อแดงแล้ว ยังมีองค์กรสิทธิมนุษยชนโลก เช่น ฮิวแมนไรต์ วอชต์ ก็ยื่นหนังสือถึงเลขาฯ ยูเอ็นเช่นกัน

เรียกร้องให้ยูเอ็นเร่งรัดให้รัฐบาลไทยตอบรับคณะทำงานของยูเอ็นที่ต้องการเข้าไปสังเกตการณ์การสอบสวนเหตุสลายม็อบในเมืองไทย

เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลนายกฯ มาร์คปฏิเสธข้อเรียกร้อง ดังกล่าว

การเคลื่อนไหวทั้งหมดจะไม่มีผลเลย หากกระบวนการสอบ สวนของไทยเป็นไปด้วยความเที่ยงตรงและโปร่งใส

แต่ที่ผ่านมาเกือบครึ่งปี รัฐบาลไม่ได้สร้างความมั่นใจให้กับญาติพี่น้องของผู้สูญเสียชีวิตเลย

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ขนาดตัวประธานยังบ่นอุบ หน่วยงานรัฐไม่ให้ความร่วมมือ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ก็อืดอาดล่าช้า ล่าสุดยังขยายเวลาการชันสูตร 91 ศพออกไปไม่มีกำหนดเสียอีก

นายกฯ มาร์คที่ประกาศปาวๆ ว่าอยากจะปรองดอง แต่กลับปล่อยให้ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ออกมาตอกย้ำความแตกแยก

กล่าวหาเสื้อแดงฆ่ากันเอง

ทั้งหมดนี้เป็นข้อยืนยันได้ชัดเจนว่าการทวงความยุติธรรม 91 ศพในเมืองไทยไม่มีวี่แววเลยว่าจะบรรลุผล

ทั้งหมดนี้ยังตอกย้ำว่าหนทางเดียวก็คือต้องพึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องพึ่งสหประชาชาติ

ในเมื่อนายกฯ มาร์คยืนยันมาตลอดว่าไม่ใช่คนสั่งฆ่าประชาชน

ก็ต้องยอมรับการตรวจสอบในศาลโลกและยูเอ็น

ยังจะมัวบิดพลิ้วอยู่ทำไม

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คลิปจริงยาว1ชั่วโมง‘จตุพร’พร้อมส่งให้ประธานศาลรธน.

“จตุพร” ระบุมีคลิปที่ไม่ได้ตัดต่อความยาว 1 ชั่วโมงเกี่ยวกับการโกงสอบเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ศาล ภาพเห็นชัดเด็กเส้น 2 ใน 15 คนรับข้อสอบจากใคร แถมยังมีบันทึกคำสารภาพเอาไว้หลังจากสอบเข้าไปแล้วอีกด้วย ยืนยันจะไม่นำมาเปิดเผยเอง พร้อมส่งให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญหากต้องการ ย้ำไม่ได้เป็นคนทำและไม่รู้ใครส่งมาให้ ด้านตุลาการส่ง “จรัญ” ชี้แจง เชื่อทำกันเป็นขบวนการเพื่อกดดันให้ผลคดีเป็นไปตามที่ตัวเองต้องการ เผยมีการติดต่อทางลับข่มขู่ก่อนคลิปแพร่บนยูทูบแต่ไม่ได้รับการตอบรับจึงปล่อยคลิปออกมา โต้ไม่เคยฝากลูกหลานเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ศาลและไม่มีใครเคยมาสอบแข่งขัน มติตุลาการไม่โต้ผ่านสื่อจะใช้กฎหมายจัดการ มั่นใจทั้ง 9 คนไม่มีใครเป็นโสเภณี “มาร์ค” แย้มผลสอบ ปชป. พบความเชื่อมโยงการเดินทางของคนทำคลิปกับคนอยู่เบื้องหลัง ตำรวจได้หลักฐานครบเตรียมหมายจับ ประสานไอซีทีบล็อกทั้ง 8 คลิปห้ามดู อ้างเพื่อไม่ให้บ้านเมืองวุ่นวาย

วันที่ 1 พ.ย. 2553 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รับมอบหมายจากคณะตุลาการแถลงชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่คลิปเกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า คณะตุลาการมีมติให้เลขาธิการสำนักงานเข้าแจ้งความเอาผิดกับผู้กระทำและเผยแพร่คลิปชุดใหม่ เพื่อเป็นการท้าพิสูจน์ความจริง

คลิปแรกไม่เข้าเป้าจึงมีชุดสอง

“คลิปชุดใหม่ที่เผยแพร่ออกมาสร้างความเสื่อมเสียให้ศาลรัฐธรรมนูญมากกว่าคลิปชุดเดิม ถือเป็นระเบิดอีกลูกที่ต้องการทำลายศาล หลังจากระเบิดลูกแรกไม่เป็นผลเท่าไร การดำเนินการของคนกลุ่มนี้เป็นการทำเพื่อบีบบังคับให้ศาลดำเนินการตามความประสงค์ เป็นการให้ข้อมูลสาธารณะเพื่อข่มขู่ จากการวิเคราะห์เชื่อว่าเป็นการจัดทำของคนคนเดียวกับที่ล่อนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มาติดกับในคลิปก่อนหน้านี้ ผู้กระทำการใช้คำถามนำซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าคลิปชุดล่าสุดนี้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างไร เป็นการจงใจวางแผนให้คนที่เป็นคู่สนทนาติดกับเพื่อเก็บข้อมูลไว้บีบบังคับตุลาการที่อยู่ในภาพเหตุการณ์เพื่อให้จำยอมทางคดี และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งทำลายความน่าเชื่อถือตุลาการชุดนี้” นายจรัญกล่าว

อ้างมีเจรจาทางลับข่มขู่ก่อนแล้ว

นายจรัญกล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเจรจาทางลับว่าหากการพิจารณาคดีไม่เป็นไปตามที่กลุ่มนี้ต้องการก็จะเปิดเผยข้อมูลที่ทำเอาไว้เป็นระยะ การข่มขู่ไม่สำเร็จจึงมีการเปิดเผยออกมาเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือโดยใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เช่น กรณีที่บอกว่าโกงข้อสอบ เอาข้อสอบไปให้ลูกดูจนสอบเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ของศาลได้เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งไม่จริง ขอให้ไปดูพยานหลักฐานได้ว่าไม่เคยมีลูกหรือหลานเข้าสอบในครั้งนั้นแต่อย่างใด เป็นการใช้ข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน

“จรัญ” ยังไม่เคยฝากลูกเข้าทำงาน

“ถือเป็นโชคดีที่เกิดเหตุการณ์นี้เพราะได้มีโอกาสชี้แจง ผมมีลูก 4 คน คนโตเป็นทันตแพทย์ คนที่ 2 ทำงานบริษัทกฎหมาย คนที่ 3 เป็นวิสัญญีแพทย์ และคนสุดท้องก็เป็นแพทย์ ลูกผมทั้งหมดไม่เคยมีใครสอบเป็นข้าราชการระดับ 3 ที่ไหนเลย” นายจรัญกล่าวและว่า ในที่ประชุมตุลาการ 2 คนที่ปรากฏภาพในคลิปยืนยันว่ามีข้อมูล พร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเอง แต่ไม่ต้องการชี้แจงผ่านสื่อเพราะไม่อยากให้โต้เถียงกันไปมา โดยจะขอไปพิสูจน์กันในกระบวนการของกฎหมาย

ยืนยันไม่มีตุลาการคนใดลาออก

นายจรัญกล่าวว่า เป้าหมายของคนที่ดำเนินการเรื่องนี้คือต้องการบีบให้ตุลาการลาออกจากการพิจารณาคดีสำคัญหรือให้ออกจากเป็นตุลาการไปเลย จึงพยายามเจาะทำลายทีละคน ซึ่งในที่ประชุมไม่มีตุลาการท่านใดบอกว่าจะลาออก และส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็นต้องลาออก หากออกตอนนี้จะทำให้เกิดกระบวนการใส่ร้ายไปเรื่อยๆเพื่อโค่นล้มศาลรัฐธรรมนูญ จึงอยากขอโอกาสให้ตุลาการที่ถูกกล่าวหาได้พิสูจน์ตัวเอง เมื่อความจริงปรากฏหากมีใครต้องได้รับโทษหรือต้องมีใครลาออกก็ว่ากันไป

ไม่ผิดประมวลจริยธรรมศาล

นายจรัญยืนยันว่า สิ่งที่ปรากฏไม่เป็นการผิดประมวลจริยธรรมตุลาการ เรื่องความเชื่อเราไปบังคับใครไม่ได้ แต่ต้องไม่รับสินบน ไม่รับใบสั่ง หรือสยบสมยอมต่ออำนาจมืด หากใครไปทำเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แค่ผิดประมวลจริยธรรม แต่เป็นการทรยศต่อกฎหมาย และไม่เพียงเป็นตุลาการไม่ได้ต้องได้รับการลงโทษด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบคลิปใหม่หรือไม่ นายจรัญกล่าวว่า คณะกรรมการของศาลถูกทำลายความน่าเชื่อถือไปหมดแล้ว จึงต้องพึ่งกระบวนการทางกฎหมายเป็นหลัก

ได้ใจทำกับองค์กรอื่นสำเร็จมาแล้ว

“ขบวนการทั้งหมดนี้ปิดล้อมศาลเกือบไม่มีทางออกเหมือนที่เคยสำเร็จมาแล้วกับองค์กรอิสระอื่น แต่โชคดีที่ตุลาการไม่สยบยอม และทำให้เรามั่นใจได้ว่าตุลาการทั้ง 9 คนไม่มีใครขายตัวเป็นโสเภณี” นายจรัญกล่าว

ที่พรรคเพื่อไทย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน แถลงว่า บันทึการสนทนาที่เคยเห็นยาวกว่านี้นานประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อไปอาจมีใครนำมาเผยแพร่อีก

“จตุพร” มีภาพ 2 เด็กเส้นรับข้อสอบ

“ข้อมูลที่ผมได้รับมาไม่รู้ว่ามาจากใคร เพราะตอนไปปราศรัยมีคนเอาซีดีอะไรก็ไม่รู้มาให้เยอะแยะ เมื่อเอามาตรวจสอบดูจึงเห็นเรื่องนี้ เรื่องโกงข้อสอบยังมีภาพบันทึก 2 คน ใน 15 คนที่เป็นเด็กเส้นได้รับข้อสอบก่อนเข้าห้องสอบ เมื่อสอบได้เป็นเจ้าหน้าที่แล้วยังมีการบันทึกภาพและเสียงรับสารภาพว่ารับข้อสอบจากใคร ด้วยวิธีอะไร ผมคงไม่เอามาเปิดเผยแต่อยากมอบให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จะได้ไปปัดกวาดบ้านตัวเองให้สะอาด” นายจตุพรกล่าว

วอนผู้เข้าสอบแจ้งความดำเนินคดี

ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวอีกว่า การกระทำของตุลาการและอดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นความผิดอาญาและผิดจริยธรรม จึงอยากให้ผู้ที่สมัครสอบทั้ง 12,000 คน เข้าแจ้งความดำเนินคดี หรืออาจไปฟ้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือศาลปกครองก็สุดแท้แต่ เนื่องจากเป็นการสอบที่ไม่ชอบ

ไม่เคยมีใครบอก “จรัญ” ฝากลูกชาย

“ที่นายจรัญออกมาบอกว่าไม่เคยฝากลูกชายเพราะจบแพทย์ ผมก็ไม่เห็นข้อความในคลิปว่ามีตอนไหนบอกว่านายจรัญฝากลูกชาย แค่บอกว่ามีคนฝากเด็กไว้ 3 คนเท่านั้น และหากนายจรัญจะฟ้องร้องก็ต้องฟ้องร้องดำเนินคดีกับตุลาการและเลขานุการประธานศาล เพราะเป็นคนที่พูดถึงตัวนายจรัญเอง” นายจตุพรกล่าวพร้อมเรียกร้องให้นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานรัฐธรรมนูญ หรือใครก็ตามที่มีข้อมูลอยู่ในมือนำออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชน และเราต้องชื่นชมว่าคนเหล่านี้เป็นพลเมืองดี เปรียบเหมือนโจรขึ้นบ้านแล้วมีคนถ่ายคลิปไว้ได้ก็นำมาใช้เป็นหลักฐาน หากโจรไปแจ้งดำเนินคดีกับคนถ่ายคลิปแล้วต้องคิดคุกอย่างนี้จะอยู่กันได้อย่างไร

เปิดชื่อตุลาการตั้งลูกเป็นเลขานุการ

นายจตุพรกล่าวอีกว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตั้งลูกเป็นเลขานุการส่วนตัว กินเงินเดือน 40,000 บาทคือ นายบุญส่ง กุลบุปผา เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้วไม่ค่อยอยู่ประเทศไทยเพราะไปเรียนต่างประเทศ การออกมาอ้างว่าต้องเอาคนไว้วางใจได้มาทำงานก็อยากถามว่าเมื่อตัวไม่อยู่แล้วจะทำงานได้อย่างไร หากออกมาปฏิเสธจะเอาตั๋วเครื่องบินของลูกนายบุญส่งมาแสดงให้ดู

ให้ทำใจเป็นกลางอย่ารีบเชื่อ

ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องทำใจเป็นกลางเพราะยังไม่มีใครรู้ว่าข้อเท็จจริงของเรื่องเป็นอย่างไร จัดฉากกันหรือไม่ คงต้องผลการสอบสวนออกมาก่อน

“สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือเป็นความบกพร่องของการบริหารจัดการในศาลรัฐธรรมนูญที่ปล่อยให้มีเรื่องอย่างนี้ออกมา โดยปรกติคนที่เป็นเลขาส่วนตัวจะไม่ให้เข้าไปยุ่งในที่ประชุมเด็ดขาด” ศาสตราจารย์พิเศษวิชากล่าวและว่า มีคนมาร้องต่อ ป.ป.ช. ให้สอบสวนเรื่องโกงข้อสอบแล้ว ซึ่งเราต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่จำเป็นก็ไม่อยากออกความเห็น

ตำรวจเสนอไอซีทีบล็อก 8 คลิป

ที่กองบัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.) พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ที่ปรึกษา (สบ 10) พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก. ประชุมร่วมกับพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเกี่ยวกับคดีการเผยแพร่คลิปล็อบบี้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์

พล.ต.ต.ปัญญากล่าวหลังประชุมว่า ได้มอบหมายให้กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ทำหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้บล็อกคลิปทั้ง 8 คลิป (ของเก่า 3 คลิป ของใหม่ 5 คลิป) เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยนำคลิปที่เผยแพร่ใหม่มารวมเป็นคดีเดียวกันเพราะเป็นเรื่องเดียวกัน

หลักฐานพร้อมขอหมายจับ

“ขณะนี้การรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อจะขออนุมัติหมายจับผู้ดำเนินการพร้อมแล้ว แต่ติดตรงที่สถานะผู้ที่ถูกแจ้งความร้องทุกข์ว่าเป็นตัวการ ผู้สนับสนุนว่าเป็นเจ้าพนักงาน ตามที่เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมาแจ้งความเอาไว้หรือไม่ จึงได้ส่งเรื่องไปให้ฝ่ายกฎหมายสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณา หากเป็นเจ้าพนักงานต้องส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการ” พล.ต.ต.ปัญญากล่าวและว่า สำหรับผู้โพสต์คลิปได้ประสานกับทางยูทูบแล้ว ยังไม่มีคำตอบกลับมาจึงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

“ในส่วนของผู้ดำเนินการนั้นมีหลักฐานพอที่จะออกหมายจับ แต่ทราบว่าได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว” พล.ต.ต.ปัญญากล่าว

“มาร์ค” ให้ชี้แจงตามข้อเท็จจริง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งเรามี พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่

“เรื่องของคดีความก็ต้องว่ากันไป เรื่องที่ประชาชนติดใจสงสัยผู้เกี่ยวข้องก็ต้องชี้แจงตามข้อเท็จจริง แน่นอนว่าเป็นความพยายามลดความน่าเชื่อถือของศาล แต่ทั้งหมดอยู่ที่การอธิบาย” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า หากมีคำตัดสินคดีความอะไรเกี่ยวกับการเมืองก็ต้องอธิบายที่มาที่ไปของคำตัดสิน หากสังเกตระยะหลังศาลจะอ่านคำตัดสินละเอียดมาก

ผลสอบ ปชป. เห็นความเชื่อมโยง

นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า ภายใน 1-2 วันนี้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของพรรคเกี่ยวกับคลิปที่มี ส.ส. ของพรรคเข้าไปเกี่ยวข้องจะส่งรายงานมาให้ ทราบว่าในรายงานจะมีรายละเอียดชัดเจนว่าคนที่ดำเนินการนั้นเดินไปไหนมาบ้างระหว่างดำเนินการ ใช้เวลากี่วัน และอยู่ในประเทศกี่วัน

นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ให้ความเห็นว่า ไม่อยากให้ด่วนสรุปอะไร รอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ดีกว่าว่าอะไรจริง อะไรเท็จ

“ภาพลักษณ์ของศาลรัฐธรรมนูญในสายตาประชาชนขณะนี้มีหลายมิติ พวกที่ชื่นชมก็ไม่มีปฏิกิริยาอะไร พวกที่ไม่เห็นด้วยก็ออกมาต่อต้าน แต่หากจะถึงขนาดให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญคงไม่ถูกต้อง ควรหาวิธีควบคุมการทำงานมากกว่า เรื่องนี้หากเป็นจริงก็เป็นเรื่องตัวบุคคล ไม่เกี่ยวกับองค์กร” นายชุมพลกล่าวและว่า คลิปฉาวต่างๆที่ถูกนำออกมาเผยแพร่จะมีผลทางการเมืองหลังเลือกตั้งครั้งหน้าแน่นอน เพราะคงจะมีพรรคการเมืองเอาไปชูเป็นประเด็นหาเสียงว่าจะเข้ามาแก้ไข ส่วนจะทำได้หรือไม่ได้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ที่มา.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้

**********************************************************************

สัมภาษณ์พิเศษ : ผ่าโครงสร้างการเมืองไทย ผ่าน"คลิปฉาว"..ล็อบบี้ยิสต์แห่งอำนาจ

โดย อริน เจียจันทรพงษ์, ทองนากศิริวิ เหล่าวงษ์โคตร
การวิ่งเต้น ล็อบบี้ (Lobby) และการต่อรอง (Negotiate) ในสังคมไทย ความหมายของคำเหล่านี้ที่ผ่านสื่อ ค่อนข้างออกไปในทางลบ เพราะมีการรายงานปรากฏการณ์การวิ่งเต้นตั้งแต่ระดับเล็กไปถึงระดับใหญ่ ตั้งแต่ลูกเข้าโรงเรียนจนถึงงานประมูลโครงการต่างๆ
คนกลาง (Mediator) ที่จะต้องวิ่งเข้าหาเพื่อแลกผลประโยชน์ของตนเองนั้น มักจะเป็น เจ้าพ่อ ผู้ใหญ่ ผู้มีอิทธิพล หรือผู้ที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ

ล่าสุด กรณี "คลิปหลุด" ซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีระดับประวัติศาสตร์การเมืองไทย กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีการพูดคุยที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งระหว่างเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และคนของพรรคประชาธิปัตย์ จนกลายเป็นเรื่อง ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์

ในเวทีเมืองของนานาอารยประเทศ การล็อบบี้ การผลักดัน (Advocacy) ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง เพียงแต่เงื่อนไขในการล็อบบี้และบริบทของระบอบการเมือง มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมนั้นๆ ด้วย

เวียงรัฐ เนติโพธิ์" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมไทยที่มีตัวกลางทำหน้าที่ขับเคลื่อนกลไกทางการเมือง ได้ช่วยอธิบายถึงกลไกดังกล่าว พร้อมกับฉายภาพให้เห็นความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจในขณะนี้...

การล็อบบี้ในสังคมการเมืองไทย อะไรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลไกนี้แตกต่างกับต่างประเทศ และติดลบตลอด

การล็อบบี้ การผลักดัน (Advocacy) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการเมืองปกติในสังคมพหุนิยม (pluralism) ทั้งกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non-profit Organization) เช่น กลุ่มสิทธิมนุษยชน กลุ่มสิ่งแวดล้อมจะใช้วิธีนี้ผลักดันประเด็นทางสังคม เขาต้องมีนักล็อบบี้ เพื่อไปผลักดันนโยบายกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งก็ไม่ได้มีความหมายในทางลบ อย่างที่เราเห็นว่าในอเมริกาก็มีอาชีพล็อบบี้ยิสต์ ล็อบบี้ในไทย ในความหมายที่เป็นกลางไม่ใช่ลบก็มี เช่น กลุ่มภาคธุรกิจ กลุ่มเอ็นจีโอ หรือองค์กรที่ทำงานสาธารณะ เช่น สสส. ก็มีการผลักดันสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ก็พยายามเข้าถึงผู้กำหนดนโยบาย และนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายตัดสินใจ

"การวิ่งเต้น" ก็เป็นอีกคำหนึ่งของการล็อบบี้ ซึ่งมันก็อยู่ในกระบวนการทางการเมืองทุกขั้นตอนของไทย เกี่ยวพันทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับกระบวนการทางการเมืองอื่นๆ เช่น ไปใช้สิทธิลงคะแนน การแสดงความคิดเห็นในเวทีสาธารณะ แถมเป็นส่วนสำคัญสุดของกลไกทางการเมืองของไทยด้วยซ้ำไป การวิ่งเต้นในแบบนี้ไม่จำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบาย แต่การวิ่งเต้นหมายถึงว่าจะเข้าถึง "ใคร" และอ้างอิงถึง "ใคร" ต่างหาก เวลานักการเมืองขององค์กรปครองส่วนท้องถิ่นหาเสียง เขาก็บอกว่า ผมมีความสามารถในการ "วิ่งงบ" เพราะมีความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ในกรม ในกระทรวง หรือแม้แต่ในพรรคการเมืองที่ดูและกระทรวงนั้นๆ ส่วนหนึ่งที่ทำให้ ส.ส.ได้รับความนิยม ก็ดึงบญมาลงในพื้นที่ได้มาก ที่เราบอกว่ามันมีความหมายในทางลบ โดยเฉพาะในสายตาของสื่อ ก็เพราะว่ามันไม่โปร่งใส เราไม่รู้ว่าเขาคุยกันอย่างไร และมองว่ามันอาจจะมีการแลกเปลี่ยนกันโดยที่สังคมไม่อาจรู้ได้ เช่น ผมให้คุณ 50% นะ ถ้าเรื่องนี้ผ่าน หรือรับประกันคะแนนเสียงครั้งหน้าให้ หรือแม้แต่ได้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ซึ่งเรื่องที่ขออาจจะเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจหรือผิดกฎหมายก็ได้ หรือบางครั้งเลวร้ายยิ่งกว่า แต่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือ การต่อรองอาจจะแลกด้วยการปกป้องให้พ้นผิด หรือลบล้างความผิดให้ทั้งๆ ที่เป็นความผิดในทางกฎหมาย ซึ่งอันนี้แตกต่างจากล็อบบี้ในความหมายของประเทศพหุนิยมอื่นๆ
ของไทยไม่ใช่พหุนิยม และคนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนในการเข้าไปตัดสินใจในเรื่องใดๆ กับรัฐด้วย

ใช่ การวิ่งเต้นแบบที่รู้จักใคร หรือ "เส้นใคร" นั้น มันสะท้อนว่า คนกำหนดนโยบาย หรือคนกำหนดตัดสินชะตาของประเทศ มีอยู่ไม่มาก คือ สามารถวิ่งกับผู้ใหญ่บางคน ผู้มีอำนาจบางคน หรืออ้างอิงคนบางคน แล้วก็ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ทำให้สังคมมันข้ามกฎหมายหรือมาตรฐานบางอย่างได้ ซึ่งการล็อบบี้ที่ไม่โปร่งใส ต่อรองแบบที่สังคมรับไม่ได้แบบนี้ สะท้อนว่าการตัดสินใจในการเมืองไทยอยู่ที่คนไม่กี่คน

คนจำนวนไม่น้อยคิดว่านี่เป็นเรื่องวัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์

ไม่ใช่ซะทีเดียว ดิฉันเองเชื่อว่าเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างอำนาจรัฐกับสังคมมากกว่า คือตั้งแต่พัฒนามาเป็นรัฐสมัยใหม่ รัฐไทยไม่ได้สร้างขึ้นจากกฎหมาย ไม่ได้สร้างรัฐขึ้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสังคมแบบปฏิวัติถอนรากถอนโคน ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อการปลดแอกจากอาณานิคม แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้อำนาจรัฐโดยกลุ่มผู้มีอำนาจเป็นแวดวงเล็กๆ เท่านั้น ตั้งแต่สมัยรัฐในแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา จนมาถึงการเปลี่ยนรูปแบบเป็นประชาธิปไตยในปี 2475 คือเริ่มจากการทำให้เป็นรัฐสมัยใหม่ สร้างกลไกระบบราชการ การตัดสินใจอยู่ในวงจำกัด และพัฒนามาเรื่อยๆ มีกฎหมายที่ยุติธรรมขึ้น มีการให้ส่วนร่วมประชาชนมากขึ้น แต่วิธีการปฏิบัติการทางการเมืองก็ยังอยู่ในวงจำกัดเช่นเดิม สังคมแบบนี้ที่มันดำรงอยู่ได้เพราะคนจำนวนมากถูกทำให้อยู่ห่างศูนย์กลางอำนาจรัฐ เป็นโครงสร้างที่มีผู้เกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐจำนวนจำกัด และคนเหล่านั้นสามารถที่จะบรรลุผลทางการเมืองได้อย่างราบรื่น เพราะมีผู้มีอำนาจอยู่ไม่กี่คน แต่ปัจจุบันการเมืองไทยมันเปลี่ยนแปลงไปมาก จึงมีความขัดแย้งระหว่างการเมืองแบบเก่าซึ่งขอเรียกว่าแบบสถิต กับ การเมืองแบบที่คนจำนวนมากมีส่วนในอำนาจทางการเมืองผ่านทางการเลือกตั้ง ซึ่งขอเรียกว่าแบบพลวัต
จุดแบ่งของการเมืองแบบนี้คืออะไร และต่างกันอย่างไร

จุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคือ กระบวนการเลือกตั้งที่เกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตประชาชนกับการกระจายอำนาจ การเมืองแบบเลือกตั้งมันไปเปลี่ยน ไอ้การเมืองที่มีกลไกแบบคนตัดสินใจเพียงไม่กี่คน สิ่งแรกเลยการลงคะแนนเสียงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองที่ตรงข้ามกับการวิ่งเต้น ทั้งจำนวนคน ความโปร่งใส การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร และการมีตัวเลือกมากกว่าหนึ่ง แม้ว่าเราจะยังใช้วิธีการแบบวิ่งเต้นอยู่ในการเมืองแบบนี้ แต่การต่อรองแลกเปลี่ยน หรือการอ้างอิง มันจะต้องพ่วง ฐานคะแนนเสียง จำนวนคนเลือกตั้ง มวลชน อะไรแบบนี้เข้าไปในการต่อรองด้วยเสมอ ส่วนประชาชนก็มีตัวเลือก วิ่งหัวคะแนนคนนี้ไม่ได้ก็ไปวิ่งอีกคน ถ้าครั้งนี้ไม่มีตัวเลือก การเลือกตั้งครั้งหน้าก็ต้องมีตัวเลือก ประชาชนเหล่านั้นจึงเห็นว่าตัวเขาเองเป็นตัวกำหนด ไม่ใช่นั่งรอความปรานีจากผู้มีอำนาจ ผลสำเร็จทางการเมืองที่เห็นได้จากอำนาจของผู้เลือกตั้งคือพลวัตที่สำคัญ อย่างไรก็ดี เมื่อการเมืองแบบพลวัตแบบนี้มันใหม่มากแค่ 10 กว่าปี เทียบกับการเมืองแบบสถิตที่มีมากว่าร้อยปี จึงยังมีคนจำนวนหนึ่งอยากใช้วิธีแบบเก่า เพราะมันเร็ว ราบรื่น ไม่วุ่นวาย สำหรับคนที่มีส่วนในการตัดสินใจ จึงยังคงเป็นแนวโน้มของการต่อสู้ที่เราเห็นอยู่ในทุกวันนี้
การล็อบบี้ที่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้ระบบการเมืองแบบใหม่ เพราะเงื่อนไขที่ว่าผลประโยชน์มันถูกแบ่งไปที่ประชาชนมากกว่าเดิมหรือเปล่า

แน่นอน เพราะการต่อรองนั้นมันมีการอ้างอิงถึงผลประโยชน์ที่ตกแก่คนจำนวนมาก แม้จะไม่ใช่ผลประโยชน์จำนวนมากนะ แต่มันเกี่ยวกับคนจำนวนมากแน่ๆ กลไกแบบนี้มันไม่ได้เปลี่ยนแบบฉับพลัน มันมีเจรจาผ่านผู้ใหญ่ในแบบเดิมๆ อยู่ แต่ในการเจรจามันจะต้องอ้างอิงถึงคะแนนเสียงด้วย ซึ่งอันนี้แหละที่เรียกว่าพลวัต เพราะมันไม่ได้ง่ายๆ และมั่นคงแบบเดิม มันต้องมีการประเมินมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในที่สุดมันจะนำไปสู่การเจรจาที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่ต้องใช้เวลาระดับหนึ่ง ยกตัวอย่าง เรื่อง การใช้งบประมาณตัดถนน ที่ผ่านการล็อบบี้ของนักการเมือง บริษัทที่ได้งานเป็นของพรรคพวก แต่การก่อสร้างสิ่งสาธารณะ หลักการต้องทำให้ดี เพราะถ้าสร้างไม่ดี 4 ปีข้างหน้าอาจจะไม่ได้รับเลือก นี่ถือว่าเกิดพลวัต ฐานคะแนนเสียง 5 พัน หรือ หมื่นคนถือว่าไม่น้อยถ้าไม่ตอบสนองฐานตรงนี้ การเลือกตั้งภายใน 2 หรือ 4 ปีข้างหน้ามีปัญหาแน่ นี่เป็นคำตอบที่ว่าผลประโยชน์มันถูกแบ่งให้ประชาชนมากกว่าเดิม

อย่างไรเสียการเมืองไทยก็ยังต้องอาศัย"คนกลาง"อยู่ดี

แน่นอน ในความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐกับประชาชน มันมีตัวกลางมาตลอด ตัวกลางคือ ผู้ใหญ่ ผู้มีอิทธิพล เจ้าพ่อ เสี่ย คนที่มีเส้นสายเยอะ ฯลฯ พวกนี้จะทำหน้าที่ตลอดเวลา สมมุติเรามีปัญหาคดีความ เราไม่ได้เดินขึ้นไปโรงพัก ไปคุยกับตำรวจ แต่เรากลับไปต้องคิดจะพึ่งใครได้บ้าง จะหาใครไปช่วยคุยกับตำรวจให้ เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยตัวแทน และต้องรู้ด้วยนะว่าจะพึ่งใครได้ สำหรับ "ตัวกลาง" ที่ถนัดจะทำแบบเดิม ก็ต้องรักษาอำนาจแบบเดิมไว้ กันไม่ให้คนจำนวนมาก เข้าไปมีส่วนร่วมในอำนาจทางการเมืองแข่งกับเขา อำนาจการเจรจาจะต้องไม่ถูกแชร์ไปให้คนอื่น เพราะจะเท่ากับตัวเองสูญเสียอำนาจ ซึ่งการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในทุกระดับ ทำให้ความสัมพันธ์ของคนกลางกับประชาชนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เพราะรู้ว่าเขามีอำนาจในการเลือกคนและแน่นอนเขาเลือกที่จะใช้คนที่เขาพึ่งพิงได้มากกว่าพึ่งพิงคนกลางในระบอบเดิมๆ การเมืองได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตของพวกเขา และประชาชนเริ่มมีอำนาจต่อรองมากขึ้น
กรณีคลิปฉาวของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการพูดถึงการล็อบบบี้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ล่ะ

ในสมัยหนึ่งเราเคยคิดว่าพึ่งศาลได้ เป็นธรรมกับทุกคน เราเคารพในความศักดิ์สิทธิ์นั้น คนไทยเคยต้องการที่พึ่งพิง ที่เป็นอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์ เปรียบเหมือนกับศาลเจ้าพ่อ คุณถือธูปเทียนดอกไม้ไปไหว้ คุณไม่รู้ว่าท่านจะให้ประโยชน์อะไร ได้แต่รออย่างมีความหวังว่าท่านศักดิ์สิทธิ์จริงจะดลบันดาลให้เกิดสิ่งที่เราขอได้ ศาลยุติธรรมสมัยก่อนเราก็คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ คำตัดสินของศาลเราจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม เราจะไม่ตั้งคำถาม แต่ตอนนี้มันเริ่มเปิดเผยมากขึ้นว่ามันอาจมีอะไรที่ไปทำให้ผลมันเปลี่ยนแปลงได้ คดีเดียวกัน ตัดสินใจคนละแบบ ฉะนั้นจึงเริ่มเสื่อม ความเสื่อมถอยของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หากเกิดขึ้นแล้ว ยากจะกลับไปปลุกเสกให้กลับมาศักดิ์สิทธิ์ได้อีก หากจะฟื้นฟูก็ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมใหม่

เรื่องคลิปที่ว่านี้ มันควรจะเป็นความผิดที่ร้ายแรง เพราะคนที่เป็นคู่กรณีในศาลมาคุยกัน น่าจะเป็นอาญาแผ่นดิน แต่บางท่านบอกว่า คนปล่อยคลิปเป็นอาญาแผ่นดิน เฮ้อ.. (เสียงถอนหายใจ) ถ้าเป็นอยางนี้ ต่อให้มีอีกกี่คลิปก็คงไม่สะเทือน เรื่องนี้ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในปี 2553 บางคนบอกว่าเป็นการจัดฉาก แต่ดิฉันเห็นว่าจัดฉากยังไง คนที่มีคดีในศาลก็ไม่ควรมาเจอกันและหารือกันอย่างนี้

แล้วเราจะตรวจสอบการ"ล็อบบี้"ได้ไหม

ในสังคมที่ส่วนแบ่งอำนาจอยู่กับคนจำนวนมาก อะไรๆ ก็ไม่ได้มาด้วยการวิ่งเต้นหรือล็อบบี้แบบง่ายๆ มันต้องคุยกันเยอะ ความวุ่นวาย ความไม่ลงตัวก็เกิดขึ้น ไม่รู้จะเอาอะไรตัดสิน ในที่สุดก็ต้องหากฎเกณฑ์ที่ใช้ได้ทั่วไปนั่นคือ กฎหมายที่ใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่เช่นนั้นสังคมอยู่ไม่ได้ การแสวงหากฎระเบียบและกฎหมายที่ใช้ได้แบบมีมาตรฐานเดียวกันเป็นคำตอบว่าทำไมในการเมืองแบบสถิตมันถึงข้ามเรื่องกฎหมายไปได้ เพราะมันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อะไรเป็นมาตรฐานในเมื่อการตัดสินใจมันอยู่ที่ ใคร เป็นคนตัดสินเท่านั้นเอง ถ้าการเลือกตั้งเป็นแหล่งที่มาของอำนาจแบบนี้ การล็อบบี้มันก็เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองแบบนี้ได้ เพราะประชาชนก็ต้องรู้ว่า ทำไมคุณไปล็อบบี้เรื่องนี้ เมื่อสำเร็จแล้วใครจะได้ประโยชน์ เพราะคนผลักดันก็ต้องไปหาเสียงกับประชาชนด้วย เช่น ล็อบบี้ให้เกิดกฎหมายนี้แล้วจะเป็นประโยชน์กับคุณ หรือเราล็อบบี้เพื่อให้เกิดการค้าคล่องตัวเป็นประโยชน์กับสมาคมอุตสาหกรรม แม้ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจ แต่มีผลดีกับคนในวงกว้าง การเจรจาต่อรองมันก็ต้องเปิดเผย และท้ายที่สุดข้อเรียกร้องต่อรองก็จะไม่ใช่สิ่งที่เป็นทางลบหรือไม่ชอบมาพากล เพราะการต่อรองในสังคมที่เปิดกว้างแบบนี้ แม้ว่าผลประโยชน์จะตกกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องมีความพยายามไม่ให้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบด้วย หากจะมีเพราะการปกปิดข้อมูลข่าวสาร สุดท้ายก็ต้องถูกเปิดเผยออกมาอยู่ดี

แต่ทำไมแนวโน้มแบบนั้นจึงไม่ค่อยเห็นในสังคมไทย

ก่อนที่เราจะได้เห็นการเมืองแบบนั้น ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กลับมีความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะคงการเมืองแบบเดิมเอาไว้ เพื่อที่คนจำนวนน้อยจะคุมอำนาจได้ เอ็นจอยที่จะใช้การเมืองแบบเดิมอย่างสนุกสนาน ใช้คนไม่กี่คน ...เอ้าไปเรียกนักวิชาการของเรามาซัก 2 คน เอ้าไปเอาประธาน กกต.มาให้ได้ โอ้โห... พูดกันเหมือนพูดในครอบครัวไม่กี่คน หรืองบฯทหารจำนวนมหาศาล ใครตรวจสอบ เรารู้กันหมด แต่เราทำอะไรไม่ได้ เพราะมันไม่ได้อ้างอิงอะไรกับเราเลย
สังคมไทยก็ผ่านกระบวนการเลือกตั้งและมีพัฒนาการด้านประชาธิปไตยมาเรื่อยๆ แล้วทำไมจึงมีแนวโน้มแบบเก่าอีก

ความพยายามที่จะใช้การเมืองแบบสถิตในบริบทที่กลไกการเลือกตั้งมีผลต่อชีวิตของประชาชนจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการใช้สถาบันหลักๆ ทางสังคมที่ศักดิ์สิทธิ์ สูงส่ง และแตะต้องไม่ได้ให้เข้ามามีบทบาททางการเมืองให้มากที่สุด เหมือนเอาข้าวสารปลุกเสกมาซัดให้ไพร่ผีแตกกระเจิงออกจากวงจรอำนาจ สถาบันศักดิ์สิทธิ์ที่การเมืองแบบเก่าเอามาใช้ และเป็นปัญหาที่สุดตอนนี้ เช่น ใช้ศาลยุติธรรม ในนามของการ หมิ่นศาล ต่อให้คำตัดสินนั้นกระทบต่อชีวิตประชาชนเพียงไรก็ไม่อาจมีการตรวจสอบหรือเรียกร้องอะไรได้ หรือการใช้สถาบันทางจารีตประเพณี เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพุทธศาสนา เอามาใช้เพื่อกีดกันประชาชนออกไป ในนามผู้ไม่จงรักภักดี กีดกันนักการเมืองด้วยวาทกรรมที่ว่าคนเหล่านี้ไร้ศีลธรรม คอร์รัปชั่นโกงกิน ใช้กองทัพมาควบคุมความรุนแรง ดังนั้น การเมืองแบบสถิตจึงต้องถูกนำกลับมา

แนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมไทยจะเป็นอย่างไร

ถ้าให้มีการเลือกตั้งต่อไปในบริบทที่อำนาจรัฐกับประชาชนแนบชิดกันแบบที่ผ่านมานั้น แน่นอน มันมีพลวัตมหาศาล แต่มันมีความวุ่นวาย เพราะมีคนมหาศาลที่ต้องการมาต่อรอง มันไม่ง่ายอีกแล้ว นักการเมืองจะแข่งกันมากขึ้น ชาวบ้านก็จะต่อรองหนักขึ้น ยากขึ้น การเลือกตั้งแข่งสูงขึ้น รุนแรงขึ้น แต่ไม่ใช่แบบเดิมที่คนคนเดียวคุมทั้งภาค แต่จะแชร์ แย่งกัน การแข่งจะไม่ใช่แค่เลือกตั้งแล้ว จะแข่งนโยบาย ต้องแข่งให้คนรู้สึกว่า ได้มากกว่าคู่แข่งอีกคน ณ เวลานี้ มันคือการเมืองแบบสถิต กับการเมืองแบบพลวัต กำลังช่วงชิงกัน จากรัฐประหาร กันยายน 2549 เป็นต้นมา การเมืองพลวัตกำลังถูกทำให้อ่อนแอลงเรื่อยๆ ถูกกีดกันออกจากพื้นที่ทางอำนาจ ได้แค่จำนวนคนที่ออกมามากมายแต่ไม่ได้มีส่วนแบ่งในพื้นที่ทางอำนาจ โดยพื้นที่ทางอำนาจกลายเป็นการปิดห้องคุยกันในแบบเดิม และพยายามกดการเมืองแบบเลือกตั้งให้มากที่สุด แต่คนที่โดนกดก็ยอมไม่ได้ คู่ขัดแย้งในเวลานี้จึงกลายเป็นคู่ขัดแย้งระหว่างอำนาจรัฐกับสังคม ซึ่งไม่ใช่คู่ขัดแย้งที่เท่าเทียมกันเลย
มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดการปะทะกันของคน2กลุ่มนี้ไหม

คำถามนี้น่ากลัวมาก แต่สงสัยจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ (หัวเราะขื่นๆ) มันอาจต้องมีการถอนรากถอนโคนสักครั้งนึง สมมุติว่าถ้าเราเชื่อว่า วัฒนธรรมไทยชอบประนีประนอม มันก็อาจมีทางออกแบบประนีประนอม เจรจาได้ แต่เนื้อหาสาระอาจถอนรากถอนโคนก็ได้ จริงๆ แล้ว การประนีประนอมครั้งสำคัญมีให้เห็นเช่น รัฐธรรมนูญ 2540 ที่หลายฝ่าย หลายกลุ่มพึงพอใจกับการได้มีส่วนร่วม ชนชั้นกลางพอใจที่มี ส.ส.จบปริญญาตรี นักการเมืองก็พอใจที่พรรคการเมืองเข้มแข็ง ทำให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็ง ฯลฯ ซึ่งในรายละเอียดของมันก็ถอนรากถอนโคนโครงสร้างหลายอย่าง และท้าทายการเมืองแบบสถิตมากพอสมควร แต่ถ้าประนีประนอมไม่ได้ ก็คงเกิดการปะทะกัน เพราะขณะนี้ความขัดแย้งมันสูง ฝ่ายหนึ่งไม่มีอำนาจทางการเมืองเลยแต่มีคนจำนวนมหาศาล อีกฝ่ายมีอำนาจจัดการทุกอย่างแล้วไปอ้างอิงกับสถาบัน ..นี่อันตราย การเมืองแบบกล่องดำเช่นนี้จึงเต็มไปด้วยข่าวลือ ความไม่ชอบมาพากล และ conspiracy (การสมคบคิด) นับวันความความขัดแย้งมันก็ยิ่งสูงขึ้นแบบไม่อาจประนีประนอมได้
ความเป็นไปได้ของการปะทะนั้นเพราะคนจำนวนมากไม่อยากกลับไปเป็นแบบเดิม เขาเคยตัดสินอำนาจรัฐด้วยตัวเอง เขาก็ต้องการอำนาจของเขาต่อไป ถามว่า ปรากฏการณ์ที่คนออกมาบอกว่ายอมตายเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งนั้นฟังดูเหมือนโง่ แต่มันเกิดขึ้นแล้ว เขายอมตายเพื่อไม่ให้สูญเสียอำนาจรัฐที่เขามีอยู่ในมือ อำนาจที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของเขาและลูกหลานในอนาคต เราอาจจะต้องเริ่มนับถอยหลังการปะทะกันแล้วมั้ง