--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รัฐบาลยุคไร้ผู้จัดการ

ข่าวสดรายวัน
เหล็กใน

ไม่ทันที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะก้าวพ้นเก้าอี้รองนายกฯ ไปไหนไกล

ลูกพรรคประชาธิปัตย์ ก็ขยับเล่นเกมการเมืองภายในกับพรรคร่วมทันควัน

มีการจุดพลุเรื่องความสามารถของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ว่าเหมาะสมกับมท.1 มากน้อยแค่ไหน

สมควรต้องเปลี่ยนตัวได้แล้ว?

เป็นอย่างที่มีการวิเคราะห์กันไว้ก่อนหน้าว่านอกเหนือจากหน้าที่เป็นผู้จัดการรัฐบาลแล้ว

นายสุเทพยังเหมือนเป็น "กันชน" ระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับซีกภูมิใจไทยของนายเนวิน ชิดชอบ

ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่ค่อยหวานชื่น เหมือนเมื่อครั้งก่อตั้งรัฐบาล

นายอภิสิทธิ์-นายเนวินกอดกันกลม หัวเราะเอิ๊กอ๊าก ให้สื่อมวลชนถ่ายภาพ

แค่เรื่องรถเมล์เช่า 4 พันคันเรื่องเดียว ระดับรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลยังแสดงอาการฉุนขาดมาแล้ว

ในแง่ที่ครหากันว่าประชาธิปัตย์คบยาก จะเห็นว่าพฤติการณ์ต่างๆ มันก็เข้าเค้า

แต่หากมองในมุมของคนที่เป็นห่วงในเรื่องความโปร่งใสของโครงการ ก็อาจมองว่า

จะคบยากบ้าง ก็ไม่เห็นเป็นไร

นาทีนี้ รัฐบาลกำลังอยู่ในช่วงสุญญากาศ ขาด "ผู้จัดการรัฐบาล"

จะหาใครมีบารมีในหมู่นักการเมืองอาชีพด้วยกัน ตลอดจนลูกล่อลูกชนแพรวพราวอย่าง "เทพเทือก" ก็นับว่ายาก

ที่ผ่านมา ท่ามกลางมรสุมการเมืองสารพัดเรื่อง

หากปล่อยแต่นายกฯ อายุน้อยอย่างอภิสิทธิ์รับมือคนเดียว จะเอาอยู่หรือเปล่า ยังน่าสงสัย?

คล้อยหลังนายสุเทพ ยังมีข่าวลือเรื่องนายกรณ์ จาติกวณิช ไปต่อสายกับพรรคเพื่อแผ่นดิน

จะดึงมาเสียบแทนภูมิใจไทย

ซึ่งล้วนแต่เป็นข่าวที่บั่นทอนความสัมพันธ์ ระหว่างประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย

จะเห็นว่าพอนายสุเทพขอลาชั่วคราว ไปหาตำแหน่งส.ส. แต่งตัวรอเป็นหนึ่งในกลุ่ม "นายกฯ สำรอง"

หัวหน้าพรรคเหมือนไม่ยินดียินร้ายเท่าใด

ทั้งบีบให้ลาออกจากตำแหน่งในรัฐบาล ก่อนจะไปทำอะไร

ซึ่งว่าไปแล้ว ก็ต้องบอกว่าตามหลักการ ถือว่าถูกต้องแล้ว

ภาพมันคงพิลึก หากคนที่ยังมีตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี จะไปลงสมัครส.ส.

นอกจากปล่อยให้ตีนลอยแล้ว นายอภิสิทธิ์ก็ไม่การันตีด้วย

จะยอมให้นายสุเทพ กลับมาเป็นรองนายกรัฐมนตรีต่อหรือไม่?

ทางหนึ่งอาจเหมือนนายอภิสิทธิ์พอใจ ที่นายสุเทพหลุดจากวงโคจรไปเสียที

มั่นใจว่าประคองรัฐนาวาด้วยตัวเองได้

แต่อีกทางหนึ่ง นายอภิสิทธิ์อาจยึดตามตำรานักการเมืองเขี้ยวลากดิน

ไม่ปล่อยให้คำพูดเป็นนาย

สิ่งที่ต้องจับตานับจากนี้ ไม่แคล้วเป็นความระหองระแหง ระหว่างประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย

ขาดกันชนเก๋าเกม จะมีอะไรปะทุหรือไม่?

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รัสเซียงัดมะกัน ไทยเจ็บสาหัส!

คดี ‘บูท’ ทำ ‘มาร์ค’มึนตึ๊บ
ต้องถือว่าขณะนี้รัฐบาลไทยตกอยู่ในสภาพระหว่างเขาควายที่สาหัสสากรรจ์ที่สุด

เพราะเป็นเขาควายของระดับมหาอำนาจโลก รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา

จากเหตุเพียงแค่เรื่องของการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน กรณีของคดีนายวิคเตอร์ บูท ที่ทางรัฐบาลสหรัฐต้องการให้ประเทศไทยส่งตัวไปให้ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน

ในขณะที่รัฐบาลรัสเซีย ไม่ต้องการให้มีการส่งตัวไปให้สหรัฐอเมริกา

แต่เพราะรัฐบาลไทยที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เป็นรัฐบาล ดูเหมือนว่ากระบวนการทางการทูต และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับมิตรประเทศต่างๆ นั้น

มีลักษณะขาดๆ เกินๆ มาโดยตลอด

จะเพราะความไม่ประสีประสา เพราะการทำงานไม่เป็น หรือเพราะใครบางคนมุ่งแต่จะใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้บรรลุ Hidden Agenda ของตนเองก็แล้วแต่

แต่ที่แน่ๆคือประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์ Weak point อยู่เป็นประจำ อย่างเช่นกรณีของนายวิคเตอร์ บูท ในขณะนี้นั่นเอง

วิคเตอร์ บูท ถูกเรียกขานว่า เป็น “พ่อค้าขายความตาย” หรือ Merchant of Death ซึ่งเป็นชื่อหนังสือที่เขียนโดย ดักลาส ฟาราห์ และสตีเฟ่น บราวน์

บูทถูกกล่าวหาจากองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกาและยุโรปว่า เป็นผู้ขายอาวุธสงครามรายใหญ่ที่สุดของโลก ที่ขายอาวุธให้กับ “ลูกค้า” ที่เป็นกลุ่มก่อการร้ายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอาฟกานิสถาน โคลัมเบียหรือเลบานอน และขายอาวุธให้กับประเทศในอาฟริกาหลายประเทศ เช่น เซียร่า ลีโอน ไลบีเรีย ซูดาน คองโก รวันดา ฯลฯ ซึ่งอาวุธเหล่านี้ ถูกนำไปใช้ในลักษณะของความรุนแรงและการก่อการร้าย

และเพราะนายบูทเคยเป็นเคจีบี มาก่อน จึงทำให้มีการตั้งข้อสังเกตุว่า นี่เป็นเหตุผลลึกๆเหตุผลหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องการตัวนายบูท มาเป็นพิเศษใช่หรือไม่?

แม้ว่านายบูทอาจจะไม่ได้เป็นเคจีบีแล้ว เพราะหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย เขาซื้อเครื่องบินแอนโตนอฟ- 8 สี่ลำ จากกองทัพ มาดัดแปลงเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าทางอากาศ และตั้งบริษัท Aircess ขึ้น โดยมีสำนักงานใหญ่อยุ่ที่ สหรัฐอาหรับอามิเรสต์ หรือ ยู.เอ.อี.

แต่แน่นอนว่า ข้อมูลต่างๆที่นายบูทเคยมี ย่อมยังคงมีอยู่ในตัวของนายบูท

ที่สำคัญบริการขนส่งทางอากาศของบูทเหนือกว่า เฟดเดกซ์ ดีเอชแอล หรือยูพีเอส ตรงที่ต้นทุนต่ำกว่า ไม่มีข้อจำกัดว่าห้ามขนสินค้าประเภทไหน และส่งถึงทุกที่ ที่ลูกค้าต้องการ ไม่ว่าจะทุรกันดาร และเสี่ยงภัยแค่ไหน

และที่ไม่ธรรมดาก็คือ บริการของนายบูทไม่เลือกฝ่ายเลือกข้าง แม้แต่องค์กรสหประชาชาติ แม้แต่รัฐบาลสหรัฐ หรือแม้แต่คนระดับรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาบางคนก็เคยใช้บริการขนส่งทางอากาศของนายบูทมาแล้วทั้งนั้น

อย่างไรก็ตามสุดท้ายนายบูทก็ยังคงถูกกล่าวหาว่า นอกจากจะรับจ้างขนสินค้าแล้ว ยังรับจัดหาสินค้าคือ อาวุธสงครามด้วย นั่นเป็นที่มาของสมญานาม พ่อค้าขายความตาย และถูกล่าตัวจากรัฐบาลสหรัฐฯ และหลายประเทศในยุโรป

ถึงขนาดที่เรื่องราวของบูทถูกฮอลลีวู้ด นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ Lord of War ซึ่งนิโคลัส เคจ รับบทเป็นพ่อค้าอาวุธสงคราม ชื่อ ยูริ โอลอฟ ออกฉายเมื่อปี 2005

และฟาราห์ ผู้เขียนหนังสือพ่อค้าขายความตาย เคยให้สัมภาษณ์ว่า การที่บูท สามารถขนอาวุธจำนวนมาก บินออกจารัสเซียได้ น่าจะต้องมีการรู้เห็นเป็นใจจากผู้มีอำนาจหรือ กลไกของรัฐ เพราะจะเป็นไปได้หรือที่ทางรัฐบาลรัสเซียจะไม่รู้เรื่องรู้ราวเกี่ยวกับนายบูท

ในเมื่อทั่วโลกรู้เรื่องของบูทขนาดเอาไปสร้างเป็นหนังฮอลีวูดฉายไปทั่วโลกขนาดนั้น

อย่างไรก็ตามในเว็บไซต์ victorbout.com บูทระบุว่า เขาถูกใส่ร้ายจากคู่แข่งในธุรกิจขนส่งทางอากาศซึ่งไม่สามารถแข่งขันกับเขาได้ เขาบอกว่า ไม่ได้เป็นเคจีบี แต่รับราชการในกองทัพ ในฐานะล่าม และการที่ธุรกิจส่วนใหญ่ของเขาอยู่ที่อาฟริกา เพราะแองโกลา เป็นประเทศเดียวที่ยอมออกใบอนุญาตการบินพาณิชย์ให้กับเครื่องบินของเขาซึ่งเป็นเครื่องบินทหาร

ประเทศไทยเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของนายบูท ก็เพราะว่านายบูทถูกจับที่โรงแรมโซฟีเทล สีลม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ปีที่แล้ว โดยถูกเจ้าหน้าที่หน่วยปราบปรามยาเสพย์ติดของ สหรัฐฯ หรือ DEA ส่งสายลับ 2 คนอ้างตัวว่า เป็นสมาชิกขบวนการ ฟาร์กในโคลอมเบีย ซึ่งหาเงินจากการขายโคเคน แล้วเอาเงินไปซื้ออาวุธ ต่อสู้กับรัฐบาลโคลอมเบีย ไปล่อซื้ออาวุธจากบูท

การติดต่อล่อซื้อนี้ ทำกันมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2007 ผ่านทางโทรศัพท์ สายลับทั้งสอง พยายามล่อให้บูทออกจากมอสโคว์มาพบกัน เพราะตั้งแต่สหประชาชาติเผยแพร่รายงานเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2000 ที่ระบุว่า เขาคือ ผู้ค้าอาวุธรายใหญ่ของโลก และขึ้นบัญชีเป็นผู้ต้องห้ามในการเดินทางข้ามประเทศ บูทก็ระมัดระวังตัว ไม่เดินทางไปไหน จะใช้ชีวิตอยู่แต่ในรัสเซีย

แต่ครั้งนี้ เหมือนจะเป็นชะตาลิจขิตเพราะบูทยอมางมาพบสายลับทั้ง 2 คนที่กรุงเทพ จนถูกจับตัวในที่สุด

ในเอกสารที่อัยการสหรัฐฯยื่นฟ้องต่อ ศาล นิวยอร์ก หลังบูทถูกจับ ระบุว่า ในระหว่างการพบกับสายลับ DEA ที่ปลอมตัวเป็นสมาชิกฟาร์ก เป็นเวลา 2 ชั่วโมง บูทบอกกับสายลับทั้งสองว่า จะขายจรวดแซมให้ 700-800 ลูก กระสุนปืนอีกนับล้านๆนัด ปืน อาร์ก้า -47 เครื่องบินขนส่ง 2 ลำ และเครื่องบินที่บังคับด้วยคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องใช้นักบิน เพื่อทิ้งระเบิดทำลายสถานีเรดาร์ที่สหรัฐฯสร้างไว้ในโคลอมเบีย

ซึ่งบูทต่อสู้ว่า เขาเป็นนักธุรกิจ เดินทางเข้าไทยเพื่อเจรจาขายเครื่องบิน และถูกเข้าหน้าที่สหรัฐฯและไทยหลายคนเข้าจับกุม และแจ้งข้อหาก่อการร้าย เขาถูกเกลี้ยกล่อมให้เดินทางไปขึ้นศาลที่สหรับฯ แต่ไม่ยอม ส่วนข้อหาที่ว่า เขาขายอาวุธให้กับขบวนการ ฟาร์ก ก็ไม่เป็นความจริง

ในเว็บไซต์ของเขา บูทยังอ้างว่า ตอนที่เจ้าหน้าที่ DEA จับตัวเขานั้น ไม่มีหมายจับมาด้วย หมายจับเพิ่งจะมาถึงหลังจากนั้น 4 วัน

ศาลชั้นต้นตัดสินเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมปีที่แล้ว ว่า คดีนี้เป็นคดีการเมือง เพราะขบวนการ ฟาร์ก เป็นขบวนการทางการเมือ งจึงต้องห้าม ตาม พรบ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 นอกจากนี้ ฝ่ายโจทก์ไม่มีหลักฐานมายืนยันว่า จำเลยร่วมมือกับขบวนการฟาร์ก มีแต่เพียงข้อกล่าวหาลอยๆ จึงยกคำร้อง

เมื่อสหรัฐฯไม่พอใจ แรงกดดันจึงเกิดขึ้นกับประเทศไทยทันที

โดยมีรายงานข่าวว่า สหรัฐฯ ได้มีการส่งหนังสือถีงนายดอน ปรมัตถ์วินัย เอกกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำตัวนายบูทไปดำเนินคดี

ขณะที่สมาชิกรัฐสภาสหรัฐ ฯกลุ่มหนึ่งเตือนนายดอนว่า ถ้าไทยไม่ส่งตัวนายบูทกลับไป อาจจะกระทบกระเทือนความสมัมพัน์ของทั้งสองประเทศ

แน่นอนว่านั่นคือบุคลิกของสหรัฐฯที่ชอบแสดงท่าที่คุกคามชาติที่เล็กกว่า เพื่อปกป้องประโยชน์ของตน แต่มักจะใช้การกระทำต่อฝ่ายบริหาร โดยจะไม่ใช่การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือกระบวนการศาลของประเทศนั้นๆโดยตรง

อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นสู่ในชั้นของอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยเห็นว่า ไม่ใช่คดีการเมือง แต่เป็นคดีอาญา เพราะนายบุทไม่ใช่สมาชิกขบวนการฟาร์ค ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่ติดอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลโคลอมเบีย แต่นายบูทถูกตั้งข้อหาว่า ขายอาวุธให้ขบวนการฟาร์ค

นอกจากนั้น รัฐบาลโคลอมเบีย ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งกับขบวนการฟาร์ก ไม่ได้เป็นผู้ขอให้สังตัว แต่เป็นรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งไม่ใช่คู่กรณีของฟาร์ก จึงไม่เข้าข่ายต้องห้ามตามกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน

อารมณ์ของ 2 ประเทศพลิกกลับทันที โดยครั้งนี้กลายเป็นฝ่ายรัสเซียที่ผิดหวังบ้าง และฝ่ายสหรัฐฯ กลับมาเป็นฝ่ายดีใจแทนบ้าง

แต่ประเทศไทยกลับซวย เพราะก่อนหน้าเกิดกรณีนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ มุดคุกไปหานายบูท จนกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว

ซ้ำร้ายสหรัฐฯได้มีการส่งเครื่องบินมารอรับตัวนายบูทในวันที่จะมีการตัดสินคดี จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า สหรัฐฯรู้ได้อย่างไร จึงมีการส่งเครื่องบินมารอ

ยิ่งเมื่อศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องสำนวนคดีที่ 2 ที่พนักงานอัยการขอให้ส่งตัวนายบูท พ่อค้าอาวุธชาวรัสเซีย เป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปดำเนินคดีที่สหรัฐอเมริกา ส่งผลให้นายบูท ต้องถูกส่งตัวไปดำเนินคดีที่สหรัฐในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ตามคำพิพากษาของศาลอาญาในสำนวนคดีที่ 1 นั้น

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ก็ยิ่งเข้าสู่สภาวะ Dilemma หรือเขาควายของ 2 มหาอำนาจมากขึ้นไปอีก

เพราะสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ว่า นายเซรเกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เปิดเผยว่า รัสเซียไว้วางใจในฝ่ายตุลาการของประเทศไทยในการดูแลคดีของวิคเตอร์ บูท และไม่ต้องการที่จะเข้าไปแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของไทย และเชื่อว่า จะไม่มีใครพยายามที่จะเข้าไปโน้มน้าวเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้นายลาฟรอฟ ยังหวังว่า ข้อความที่สหรัฐส่งถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะไม่ส่งผลต่อชะตากรรมของนายวิคเตอร์ บูท และนายลาฟรอฟ ยังได้ปฏิเสธข่าวที่ว่า มีการตกลงแลกเปลี่ยนกันระหว่างรัฐบาลสหรัฐกับรัสเซียกรณีที่สหรัฐต้องการตัวนายวิคเตอร์ บูท ไปดำเนินคดีก่อการร้าย โดยยืนยันว่า ความคิดที่ว่า รัสเซียและสหรัฐได้ตกลงกันบางอย่างเกี่ยวกับกรณีนี้นั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเลย

ส่วน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งอยู่ระหว่างการร่วมประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ครั้งที่ 8 ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม กล่าวว่า ได้มีโอกาสพบกับ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย และได้แจ้งถึงกระบวนการพิจารณาคดีและข้อกฎหมายคดีที่สหรัฐฟ้องนายวิคเตอร์ บูท ในสำนวนคดีที่ 2 ข้อหาฉ้อโกงและฟอกเงิน ซึ่งศาลได้ยกคำร้อง ดังนั้นต้องดูว่ากระบวนการอุทธรณ์จะใช้เวลานานแค่ไหน หากเกินวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งครบกำหนด 3 เดือนที่จะต้องส่งตัวนายวิคเตอร์ บูท ไปให้สหรัฐฯ ตามคำพิพากษาของศาลในคดีแรก ก็ต้องยื่นต่อศาลเพื่อขอขยายเวลาในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน

“รัสเซียไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และไม่เกี่ยวกับประเทศไทย เพราะทราบถึงการตัดสินใจเรื่องนี้ว่า ได้ดำเนินการบนพื้นฐานของข้อกฎหมายและคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยืนยันว่า รัฐบาลไทยจะทำให้ดีที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการที่มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ถ้าเลือกได้ ก็คงไม่มีใครอยากอยู่ในสถานการณ์แบบนี้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

เรื่องของวิคเตอร์ บูท ที่ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ส่งตัวกลับไปให้ สหรัฐฯ สุดท้ายจะจบลงอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป เพราะไม่ว่าอย่างไรข้อสังเกตที่ว่า อาจะเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประทเศ ที่ รัฐบาลไทยถูก รัฐบาลอเมิรกันกดดัน และทำให้รัฐบาลรัสเซียไม่พอใจ เป็นเรื่องที่ยากจะปฏิเสธ

งานนี้ที่เจ็บตัวก็คือประเทศไทย

ที่มา.บางกอกทูเดย์

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นอก – ใน แยกกันไม่ออก

ในสัปดาห์นี้ มีสองเรื่องที่ต้องนำมาวิเคราะห์เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติ เรื่องหนึ่งคือกรณีศาลอุทรณ์มีคำพิพากษาสุดท้ายให้ส่ง นายวิคเตอร์ บูท ชาวรัสเซีย นักค้าอาวุธสงครามข้ามชาติ หรือ “นายหน้าค้าความตาย” ให้สหรัฐตามที่ร้องขอ ในฐานะเป็นคดีอาชญากรรม ไม่ใช่เป็นเรื่องการเมือง กับเรื่องที่สองคือ กรณีฮุนเซนประกาศว่า ทักษิณถอนตัวออกจากการเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลกัมพูชาและที่ปรึกษาส่วนตัวของฮุนเซน ทำให้บรรยากาศทางการเมืองระหว่างสองประเทศดีขึ้น บางคนอาจมองว่า สองเหตุการณ์เป็นคนละเรื่อง แต่ในเชิงการเมืองระหว่างประเทศ ไม่มีอะไรที่แยกจากกันอย่างเด็ดขาด สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นคนละเรื่องเดียวกันก็ได้

ในกรณีของนายวิคเตอร์ บูทนั้น แม้เป็นคดีอาชญากรรมข้ามชาติ แต่กลายเป็นเกมศักดิ์ศรีระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย ไทยเป็นประเทศเล็ก ๆ อยู่ระหว่างเขาควายซี่งถูกกดดันจากยักษ์ใหญ่ทั้งสอง ไทยจะทำอย่างไร วิธีที่ดีที่สุดคือปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการไปจนคดีสิ้นสุด แน่นอน ไม่ว่าศาลจะตัดสินสุดท้ายออกมาอย่างไร ย่อมมีฝ่ายหนึ่งพอใจและอีกฝ่ายไม่พอใจ แต่ทุกฝายต้องเคารพคำตัดสินของศาลสถิตยุติธรรมของไทยซึ่งมีมาตรฐานสากลที่ไม่มีใครสามารถแทรกแซง หรือกดดันได้

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในระยะหลังนี้ รัสเซียค่อนข้างเอาใจประเทศไทยและมีความใกล้ชิดกับไทยมาก เพราะรัสเซียต้องการมี “ที่ยืน” ในภูมิภาคนี้ รัสเซียต้องการกลับมามีบทบาทในภูมิภาคนี้อีกครั้งหลังจัดการปัญหาภายในประเทศได้เรียบร้อยพอสมควรแล้ว รัสเซียแสวงหาการสนับสนุนจากไทยโดยเฉพาะช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน นี่เป็นผลประโยชน์สำคัญยิ่งกว่ากรณีของนายบูท แต่ สิ่งที่ต้องวิเคราะห์กันต่อไปคือ เมื่อรัสเซียเสียหน้าเช่นนี้ รัสเซียจะทำอะไรกับไทยหรือไม่อย่างไร

บางคนอาจตั้งคำถามว่า รัสเซียจะใช้คุณทักษิณซึ่งบินไปรัสเซียบ่อยครั้งและมีความใกล้ชิดกับรัสเซียระดับหนึ่ง เป็นเบี้ยกดดันรัฐบาลไทยได้หรือไม่ วิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัสเซียไม่น่าทำเพราะรัสเซียน่าจะให้ความสำคัญกับรัฐบาลไทยมากกว่าคุณทักษิณที่โอกาสจะกลับมายิ่งใหญ่ในไทยนั้นน้อยมาก ดีไม่ดีถ้ารัสเซียดีดลูกคิดแล้วตกลงใจว่า ต้องเอารัฐบาลอภิสิทธิ์มากกว่าคุณทักษิณ รัสเซียอาจกดดันไม่ให้คุณทักษิณก่อกวนรัฐบาลไทยต่อไปหากยังคิดทำธุรกิจหรือไปรักษาตัวในรัสเซียด้วยซ้ำ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ละประเทศรวมทั้งรัสเซียมีทางเลือกหลายทาง ผู้นำจะคิดถึงผลประโยชน์ที่ได้มากกว่า และผลเสียที่น้อยกว่า ทั้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต

สำหรับปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น มีสองเรื่องหลัก คือ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา (2) ปัญหาปราสาทพระวิหาร ในเรื่องแรกนั้น ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์เกิดขึ้นเมื่อฮุนเซนแต่งตั้งคุณทักษิณเป็นที่ปรึกษาและไม่ยอมส่งตัวคุณทักษิณตามกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งรัฐบาลไทยถือว่า รัฐบาลกัมพูชาไม่เคารพต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงเรียกเอกอัครราชทูตไทยประจำพนมเปญกลับกรุงเทพ รัฐบาลไทยได้ตั้งเงื่อนไขไว้ว่า หากต้องการให้ไทยส่งทูตกลับพนมเปญ ฮุนเซนต้องเลิกการแต่งตั้งคุณทักษิณเป็นที่ปรึกษา การที่คุณทักษิณไม่ได้เป็นที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาและฮุนเซนอีกต่อไปจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการริเริ่มโดยฮุนเซนหรือคุณทักษิณก่อนก็ตาม แต่สุดท้ายทั้งสองคนก็เห็นพ้องกัน เท่ากับทำให้เงื่อนไขของรัฐบาลไทยหมดไป ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศกำลังได้รับการฟื้นฟูเข้าสู่ระดับปกติ

มีความเป็นไปได้มากว่า ฮุนเซนน่าจะถูกกดดันจากชาติมหาอำนาจที่มีอิทธิพลต่อกัมพูชาไม่มากก็น้อย และเป็นมหาอำนาจที่ฮุนเซนหรือคุณทักษิณ หรือทั้งสองคนต้องให้ความเกรงใจ เพราะการที่คุณทักษิณเงียบหายไปเป็นเวลานานซึ่งผิดปกติ กับการที่ฮุนเซนประกาศให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษา เกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน มหาอำนาจที่ว่านั้นอาจเป็นชาติเดียวหรือมากกว่าหนึ่งชาติ และอาจเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคหรือนอกภูมิภาคที่ได้ประโยชน์จากความร่วมมือของรัฐบาลไทยในการปราบปรามกลุ่มอาชญากรรมของประเทศนั้นที่มาใช้ไทยเป็นฐานและสร้างความเสียหายให้กับประเทศของเขา ย่อมคิดช่วยเหลือไทยไม่มากก็น้อยในประเด็นที่เป็นปัญหาของไทยหรือที่ไทยร้องขอเป็นการตอบแทน

ดังนั้น ปัญหาระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์และฮุนเซนจึงเหลืออยู่เพียงเรื่องเดียว คือ ปัญหาปราสาทพระวิหาร หากคุณอภิสิทธิ์และฮุนเซนซึ่งจะไปประชุมสุดยอดอาเซมที่กรุงบรัสเซล มีโอกาสที่จะพบปะเจรจากันสองต่อสอง เราหวังว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศน่าจะดีขึ้นอีก หากฮุนเซนมีความจริงใจที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นจริง ฮุนเซนต้องเคารพต่อกระบวนการยุติธรรมของไทยด้วยการส่งตัวผู้ก่อการร้ายที่ถูกออกหมายจับโดยศาลไทยและหลบหนีไปอยู่กัมพูชากลับมาดำเนินคดีในไทย หรือผลักดันให้ออกจากเขมร

สำหรับเขาพระวิหารนั้น รัฐบาลและคนไทยต้องมีจุดยืนเดียวกัน เขาพระวิหารเป็น “มรดกบาป” ที่ตกทอดมาจากยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส จุดยืนของรัฐบาลไทยและคนไทย คือ (1) ประเทศไทยและประชาชนไม่เคยยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ไทยเพียงยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติที่จะต้องปฏิบัติตามพันธะกรณีในกฎบัตรสหประชาชาติเท่านั้น (2) ไทยต้องไม่ละทิ้งข้อสงวนสิทธิ์อันชอบธรรมในเรื่องนี้ ที่จะดำเนินการตามกฎหมายที่จำเป็นที่อาจจะมีขึ้นในภายหน้าเพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ตัวปราสาทกลับมาอีกในโอกาสอันควร (3) ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนเพราะไม่มีการทับซ้อนของอำนาจอธิปไตย ไทยยืนยันว่า พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของไทย (4) หาทางผลักดันชุมชนเขมรออกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม. (5) ไม่ยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเขตแดนทางบกอื่น ๆ และเขตแดนทางทะเล (6) ยืนยันการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีในรูปแบบทวิภาคี (6) เผยแพร่ข้อเท็จจริงและจุดยืนให้คนไทยได้รับทราบ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ช่วงฝรั่งเศสคุกคามประเทศไทยแบบหมาป่ากับลูกแกะ อันส่งผลมายังความอยุติธรรมที่ตามมาหลายประการ

คนไทยควรตระหนักว่า ไทยไม่ได้สู้กับเขมร แต่เราสู้กับฝรั่งเศส และเจ้าลัทธิอาณานิคมทั้งหลายตั้งแต่ปี 2505 และปี 2553 ที่ศาลโลกตัดสินในทางที่เป็นประโยชน์แก่เขมรก็เป็นฝีมือของฝรั่งเศสและนักล่าอาณานิคมทั้งหลาย ภาคประชาชนต้องเปิดโปงพฤติกรรมของฝรั่งเศสซึ่งรังแกไทย ข่มขู่ไทยชนิดที่มหาอำนาจยุโรปอื่นในขณะนั้นยังรับไม่ได้ ให้โลกได้รับรู้ และเรียกร้องให้ฝรั่งเศสขอโทษคนไทย เหมือนที่ญี่ปุ่นขอโทษประชาชนเกาหลีใต้และจีน ที่ได้ฆ่า ข่มขืนคนเกาหลีและคนจีนอย่างเหี้ยมโหดระหว่างสงคราม หรือคล้ายกับออสเตรเลียขอโทษพวกอะบอริจิน แม้ฝรั่งเศสไม่ได้ฆ่าคนไทยอย่างเหี้ยมโหด แต่ฝรั่งเศสข่มขืนใจคนไทยอย่างเหี้ยมโหดโดยเอาดินแดนไปจากคนไทยตามอำเภอใจ

ที่มา.ไทยนิวส์

ฆาตกรรมอำพราง.....สมัย...วงศ์สุวรรน....เสื้อแดงต้องระวัง..

ที่มา.DemocraticThai News


เหตุเกิดที่....สมานเมตตาแมนชั่น.....บางบัวทอง....5 ตค 53 ประมาณ 18.00น
ชั้น2....ห้อง 201 มีชายชาวไทย-มุสลิม อาศัยอยู่ เข้าออกเป็นประจำ
ชั้น2....ห้อง 202...ติดกับ 201 มีนายสมัย วงศ์สุวรรน เป็นผู้เช่าอาศัย
ชั้น2....ห้อง 203...ติดกับห้อง 202...ไม่มีการพูดถึงและรายงานความเสียหาย............
ห้อง 202...ของนายสมัย...ถูกตั้งข้อกล่าวหาจากเจ้าหน้ารัฐและสื่อต่างๆว่าเป็นต้นเหตุ
ของการระเบิดอย่างรุนแรง...บ้างบอกว่าเป็น ทีเอ็นที 10 กก...หรือซีโฟร...ซี่งมีอานุภาค
ร้ายแรงอย่างที่เห็น...ยังมีหลักฐาน ซีดี รัฐไทยใหม่ และหลักฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเสื้อแดง
พูดง่ายๆโยนความผิดให้คุณสมัยเสื้อแดง...........ทั้งหมดเร็วปานจรวด

จับโกหกได้เต็มๆ.....ระเบิดเทวดาหรือบังคับทิศทางได้....ดันจากห้อง 202 ไป 201 และ
ต่อออกไปถึงภายนอกอาคาร...ทำให้แพปลา ทาวน์เฮ้าส์ และรถยนต์เสียหายยับเยิน..........
แต่ห้องติดกัน 203 กลับไม่เป็นไร.....??? ดูหลักฐานจากรูปจากคลิป...ห้องต้นเหตุเป็นอื่นไม่ได้
คือ ห้อง 201...มีชายชาวไทย-มุสลิม อาศัยแน่น่อน...เพราะจะมีแรงดันทำลายห้อง 202
ส่วนอีกด้านออกไปทำลายด้านนอกเสียหายยับเยิน....โง่เสียอย่างนี้จึงโอนคดีไปให้ DSI ว่าต่อ
จึงวิเคราะห์ได้ว่า..........น่าจะเป็นฆาตกรรมอำพราง.............ดังนี้

1..ได้มีการสะกดรอยติดตามนายสมัย ซื่งเป็นฮาร์ดคอร์เสื้อแดงและยังมีคดีติดตัวอยู่
2. เพื่อให้เนียนน่าจะมีการว่าจ้างนักฆ่ามืออาชีพมือระเบิดโจรใต้ ซึ่งมีความชำนาญใน
    การใช้ระเบิดเป็นอย่างดี
3.เป็นการจุดชนวนด้วย รีโมทมือถือ...กำหนดเวลาตายได้แน่นอน ต่างจากระเบิดเวลา
  อาจพลาดได้เพราะความไม่แน่นอนของคน
4.เป็นการฆาตกรรมตามเก็บคนเสื้อแดงแบบเทคนิคชั่วชั้นสูง ให้สิ้นซาก
5.ปรองดองเป็นภาพหลอกเพื่อดูดีชอบธรรม.....แต่ตามเก็บลูกเดียว
6.เพื่ออ้างขยาย..พรก...เลยไปถึงรัฐประหาร...ปิดประเทศ...เพราะสถานการณ์ปกติ
เอาเสื้อแดงไว้ไม่อยู่แล้ว
7.แผนปิดประเทศคือ กวาดล้างเสื้อแดงให้สิ้นซาก จัดระเบียบประเทศใหม่ เมื่อทุกอย่าง
นิ่งตามเป้าหมาย.....แล้วเปิดประเทศ.......เริ่มต้นระบอบอำมาตย์ใหม่อีกครั้ง
สรุป...1 กวาดล้างเสื้อแดง...2. ใส่ร้ายร้ายเสื้อแดง 3.ทำลายเครือข่ายทักษิณ
เพราะฉะนั้นเครือข่ายเสื้อแดงที่อ่อนแอมาก...ไม่มีการจัดตั้งที่ดี...ไร้ผู้นำ..ไม่มีทุนสนับ
สนุน...ก็ขอให้ทุกท่านระวังตัว ประคองตัวให้ปลอดภัยจากการตามล่า และรักษาแนวทางไว้
ขยายแนวร่วมให้เร็วและมากที่สุด...และเมื่อถึงเวลาระบอบอำมาตย์จะล่มสลาย

โดยน้ำมือของประชาชนคนเสื้อแดงเอง......ระยะทางยังเหลืออีก 50 % อดทนไว้...



โดย. คุณอบอริจิ้น

เรื่องฉาวโฉ่สนามบินสุวรรณภูมิ ผลประโยชน์อยู่ไหน ทุจริตอยู่ที่นั่น

ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ในการจัดเก็บค่าจอดรถของสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินแห่งชาติของประเทศไทย ที่มีผลประโยชน์เฉลี่ยวันละเกือบ 5 แสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเกือบ 25 ล้านบาท อันถือเป็นผลประโยชน์จำนวนมาก จึงไม่แปลกที่ผลประโยชน์ดังกล่าวจะทำให้เกิดภาพชายฉกรรจ์จำนวนมากพร้อมอาวุธบุกเข้ายึดพื้นที่บริเวณลานจอดรถเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อันถือเป็นเรื่องฉาวโฉ่อย่างมากที่เกิดภาพเช่นนี้ขึ้นในสนามบินสุวรรณภูมิที่เป็นด่านแรกในการเข้าสู่ประเทศไทย

โดยล่าสุด มีคำให้สัมภาษณ์ของนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกมาบอกว่า รู้สึกไม่พอใจที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาในการแย่งชิงผลประโยชน์ของการจัดเก็บเงินค่าที่จอดรถสนามบินสุวรรณภูมิ ในฐานะเป็น รมว.คมนาคม กำกับดูแล บริษัท ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) กลับไม่เคยรู้เรื่อง และไม่เคยได้รับรายงานเรื่องนี้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้น จนถึงกับมีการแจ้งความ-ฟ้องร้องกันไปมาของบริษัทเอกชนกับทาง ทอท. แต่นายโสภณก็ได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องที่เกิดขึ้นโดยให้นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน

เรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นความบกพร่องของนายโสภณอย่างเห็นได้ชัด และไม่ควรออกมาปัดเรื่องนี้พ้นตัวง่ายๆ ว่าไม่เคยได้รับรายงาน ยิ่งเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลจากคนในบริษัท ทอท.ออกมาว่า นับแต่มีการให้บริษัทเอกชนรับสัมปทาน ปรากฏว่ามีการจัดเก็บเงินได้น้อยกว่าตอนที่ทาง ทอท.เป็นผู้จัดเก็บเอง จึงจะมีการเสนอให้ ทอท.เป็นผู้บริหารการจัดเก็บเงินค่าที่จอดรถเสียเอง โดยใช้เงินลงทุน 100 ล้านบาท และคาดว่าเพียงแค่หนึ่งปีก็สามารถคุ้มทุนได้แล้ว

สิ่งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ผลประโยชน์ในสนามบินสุวรรณภูมิมีมากมายมหาศาล จึงไม่แปลกที่นับแต่มีการคิดโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ หรือหนองงูเห่า ในตอนแรกจนกระทั่งถึงเริ่มมีการก่อสร้าง การประมูลงานโครงการต่างๆ จนมีการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิมาหลายปี ก็มีแต่ข่าวในทางลบ การทุจริตคอรัปชั่น การแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการหลายต่อหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการถมทรายสนามบินสุวรรณภูมิ การประมูลก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ โครงการท่อร้อยสายภายในสนามบินสุวรรณภูมิ การประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสนามบินสุวรรณภูมิ ปัญหาการให้บริการของแท็กซี่ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ และยังมีอีกหลายสิบเรื่องที่ล้วนแต่มีเรื่องในทางลบออกมาอย่างต่อเนื่อง

อันเป็นความอื้อฉาวที่มีทั้งนักการเมือง บริษัทเอกชนทั้งของไทยและต่างชาติ ข้าราชการ รวมถึงพวกกลุ่มผู้มีอิทธิพลทั้งทหาร ตำรวจ เข้ามามีส่วนพัวพันกับเรื่องนี้ ซึ่งส่วนใหญ่สุดท้ายก็ไม่สามารถเอาผิดหรือจัดการกับคนที่มาแสวงหาผลประโยชน์ในสนามบินสุวรรณภูมิได้ โดยการตักตวงเอาผลประโยชน็ในทางมิชอบดังกล่าวจากโครงการสนามบินสุวรรณภูมิโครงการแล้วโครงการเล่า ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การก่อสร้างและเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นถึงหลายปี

ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเรื่องการเก็บเงินค่าที่จอดรถสนามบินสุวรรณภูมิ จึงเป็นบทสะท้อนให้เห็นอีกครั้งว่า ยังคงมีกลุ่มจ้องเอาผลประโยชน์จากโครงการและการบริหารงานต่างๆ ในสนามบินอยู่อย่างต่อเนื่อง และคาดว่ายังมีอีกหลายโครงการที่คงต้องมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นเพียงแต่มันได้ถูกปกปิดไว้ จึงควรที่ทางกระทรวงคมนาคม ทอท. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมการ ป.ป.ช.จะต้องมีการจับตาและเข้าตรวจสอบเพื่อไม่ให้ผลประโยชน์ของชาติไปเข้ากระเป๋าเงินคนไม่กี่คนที่จ้องจะกินทุกอย่างที่กินได้ในสนามบินแห่งนี้.

ที่มา.ไทยโพสต์

ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา

ที่มา.มติชนออนไลน์
โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

ชัดเจนแล้วว่า บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด ได้รับการคัดเลือกให้ชนะการประกวดราคาเพื่อทำสัญญาซื้อข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลเกือบ 2 ล้านตัน  มูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท แบ่งเป็นข้าวในโกดังขององค์การตลาดเพื่อการเกษตร(อ.ต.ก.) จำนวน 1,024,403 ตัน  ข้าวในโกดังขององค์การคลังสินค้า(อคส.)จำนวน  845,873 ตัน

ตัวเลขดังกล่าวมาจากการแถลงของนายจุ้งเชียง เฉิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553(ขณะที่คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร นางพรทิวา นาคาสัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจต่างปกปิดข้อมูลตัวเลขกันสุดฤทธิ์โดยอ้างว่า จะกระทบกับราคาข้าวในตลาด) หลังจากที่ถูกเปิดโปงว่า น.ส.ภาวินี  จารุมนต์ หนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรด มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับครอบครัว"เทพสุทิน"ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่มวังน้ำยม พรรคภูมิใจไทย ต้นสังกัดของนางพรทิวา นาคาสัย

กล่าวคือ  น.ส.ภาวินี และครอบครัว"จารุมนต์"เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัทของครอบครัว"เทพสุทิน" อย่างน้อย 2 แห่ง คือ บริษัท ดี แลนด์  เพอร์เฟค และบริษัท เมก้า แลนด์

ดังนั้น บริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรด ซึ่งเป็นบริษัทโนเนม จึงถูกมองจากวงการค้าข้าวว่า น่าจะเป็น"ร่างทรง"ของนักการเมือง ซึ่งเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน(conflict of interest)และอาจมีการใช้อิทธิพลทางการเมืองทำให้บริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรดกวาดข้าวสารในสต็อกของรัฐไปถึง 35% (จากที่มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 5.6 ล้านตัน)

 คาดกันว่า ถ้าปฏิบัติการปิดประตูตีแมวของกระทรวงพาณิชย์สำเร็จ บริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรด(และเครือข่าย)จะฟาดกำไรไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท

ขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการส่งออกข้าว 3 บริษัทได้รับการคัดเลือกจากคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสารที่มีนายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเพียง 4-5 แสนตันเท่านั้น

ความจริงเหตุการณ์ที่มีการปล่อยให้บริษัทเอกชนเพียงรายเดียวคือ บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง ผูกขาดการซื้อข้าวสารของรัฐเคยเกิดขึ้นมาแล้วในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนสร้างความปั่นป่วนให้แก่วงการค้าข้าวอย่างหนัก และยังมีการใช้อำนาจทางการเมืองเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทดังกล่าวอย่างมากมาย

แต่ในที่สุด บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯก็ถึงกาลอวสาน ต้องล้มละลาย และถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงธนาคารพาณิชย์กว่า 12,000 ล้านบาทและยังพัวพันการทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรอีกด้วย

คำถามคือ เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดซ้ำรอยกับกรณีบริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรดหรือไม่

ตามเงื่อนไขการขายข้าวสารในสต็อกของรัฐ  บริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรด ต้องวางเงินค้ำประกัน 5% หรือกว่า 1,000 ล้านบาท ขนข้าวออกจากโกดังและส่งไปจำหน่ายต่างประเทศภายใน 5 เดือน

แต่เมื่อถึงเวล าทางบริษัทยังไม่ยอมวางเงินค้ำประกันในการทำสัญญาตามเงื่อนไขโดยอ้างว่า ข้าวสารที่ประมูลได้มีปริมาณมากไม่สามารถดำเนินการได้ทันและทำหนังสือขอขยายระเวลาออกไปเป็น 18 เดือน

การไม่ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขการประมูลดังกล่าว ทั้งๆที่กำหนดไว้ก่อนการประมูลแล้ว ส่อพิรุธอย่างชัดเจน จึงต้องจับตาดูว่า  คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวที่มีนางพรทิวา นาคาสัย เป็นประธานและคณะกรรมการนโยบายข้าว(กขช.)ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะยอมตามข้อต่อรองอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท หรือไม่

เพราะถ้ายอมเท่ากับเป็นการเอาเปรียบบริษัทผู้ส่งออกรายอื่นที่เข้าร่วมประมูลที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งเป็นที่รับรู้กันทั่วไปอยู่แล้ว

แม้จะมีผลประโยชน์ทับซ้อนและข้อพิรุธในการประมูลข้าวสารครั้งนี้อย่างชัดเจน แต่ดูเหมือนว่า ทั้งกระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลทำเป็นไขสือเหมือนต้องการปล่อยมีการทำหากินกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันต่อไป

อย่างไรก็ตามมีข่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวและสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปรวบรวมข้อเท็จจริงขึ้นมาว่า มีการกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนโดยด่วนแล้ว

ขณะเดียวกันในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรม ของผู้ตรวจการแผ่นดิน มีการหยิบยกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเห็นว่า เข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งขัดต่อจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงรับที่จะตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วเช่นกัน

จริงอยู่ บรรดานักการเมืองอาจไม่เห็นการตรวจสอบของทั้งสององค์กรอิสระอยู่ในสายตา

แต่อย่าลืมว่า นักการเมืองที่เคยคิดแบบเดียวกันนี้จำนวนมาก(ไม่ว่าหญิงหรือชาย) ต้องพบจุดจบที่น่าอเนจอนาถมาแล้ว

ปิดฉากลานจอดฉาวสุวรรณภูมิ กู้วิกฤต ทอท.รักษารายได้กว่าพันล.

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ

ผลจากการที่ เปิดประเด็นชำแหละสัมปทานโครงการ "ลานจอดรถสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ" 2 โปรเจ็กต์ใหญ่ มูลค่ารายได้รวมกันตลอดอายุสัมปทานเกือบ 1,200 ล้านบาท ตามที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." อนุมัติให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ 2 กลุ่ม

สัมปทานฉาวจากแป้งร่ำถึงปาร์คกิ้ง

กลุ่มแรก บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด กำลังจะได้สัมปทานพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว (longterm parking) ขนาด 62,380.50 ตารางเมตร สัญญา 15 ปี พ.ศ. 2553-2568 กำลังจะเริ่มเข้าพื้นที่ 1 กันยายน 2553 แต่ถูกตรวจสอบภายในเวลาอันรวดเร็ว จนกระทั่งที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.ชุด นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธาน ต้องเปิดประชุมด่วน

พร้อมมีมติยกเลิกฟ้าผ่าเมื่อ 6 กันยายน 2553 และสั่งย้ายผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง คือ นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณา รายได้ ทอท.ลดตำแหน่งเหลือแค่กรรมการคนหนึ่งเท่านั้น ย้ายนายนิรันดรา ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ กับนางดวงใจ คอนดี ผู้ช่วย ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ ออกจากพื้นที่ แต่งตั้งนายอนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร ผู้อำนวยการดอนเมืองไปรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553

ระหว่างนั้น "ประชาชาติธุรกิจ" เดินหน้าตรวจสอบสัมปทานโครงการลานจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสารเอและบีสุวรรณภูมิ พื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร ซึ่งเดิม ทอท.เคยบริหารจัดการเก็บรายได้เองเป็นเวลา 3 ปีเศษ ระหว่างปี 2549-มีนาคม 2553 ภายหลังเปลี่ยนนโยบายเมื่อปลายกุมภาพันธ์ 2553 เปิดให้เอกชนยื่นประมูล โดยมีผู้ชนะคือ กลุ่มร่วมทุน 2 บริษัท คือบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท สแตนดาร์ด ดีพรอมพ์ จำกัด สัญญา 5 ปี ระหว่าง 30 เมษายน 2553-31 มีนาคม 2558 ตามข้อตกลงจะต้องจ่ายรายได้ขั้นต่ำค่าบริการรับจอดรถเดือนละ 17.5 ล้านบาท ค่าสมาชิกรายเดือน เดือนละ 4.5-5 ล้านบาท และค่าเช่าพื้นที่อีกประมาณเดือนละ 3-5 ล้านบาท

ช่วงก่อนผู้ชนะประมูลเข้าทำสัญญากับ ทอท.เกิดปมขัดแย้งกันภายในระหว่างกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (ผู้ถือหุ้น) 3 คน ได้แก่ นายธนกฤต เจตกิตติโชค จับคู่กับนายจุมพล ญาณวินิจฉัย มีปัญหากับนายธรรศน์ พจนประพันธ์ ผู้ที่ทำหนังสือแจ้งความตำรวจราชาเทวะกล่าวหานายธนกฤตปลอมแปลงลายมือชื่อตอน นำบริษัทไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เพื่อนำมาทำสัญญากับ ทอท. เมื่อ 30 เมษายน 2553 แต่นายธรรศน์ทำหนังสือคัดค้านมายัง ทอท.และขอให้สำนักทะเบียนธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตรวจสอบพร้อมมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัทดังกล่าว

บทเรียนล้ำค่า ทอท.สูญรายได้นับ 100 ล.

ขณะที่มีปมปัญหาขัดแย้งกันภายในบริษัทของกรรมการ 3 คน ทอท.ได้เซ็นสัญญาให้บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด นำคนเข้ามาบริหารลานจอดรถสุวรรณภูมิ ซึ่งเกิดการแบ่งขั้วปาร์คกิ้งฯเป็น 2 ทีม ทีมแรก นายธนกฤตนำคนเข้าไปเก็บเงินสดจากลูกค้าที่นำรถเข้ามาจอดทุกวัน มีรายได้เฉลี่ยวันละ 8 แสนบาท-1 ล้านบาท ทีมสอง นายธรรศน์เป็นเจ้าของเงินที่นำไปค้ำประกันไว้กับธนาคารกสิกรไทย มูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท (ตามข้อตกลงปาร์คกิ้งฯ จะต้องนำเงินไปค้ำประกันสัญญารายได้ 105,930,000 บาท พร้อมหลักประกันสัญญาเช่าพื้นที่อีก 13,568,880 บาท) แต่กลับไม่มีสิทธิ์เข้าไปเกี่ยวข้องและรับรู้รายได้ตั้งแต่แรกที่เริ่มดำเนินงาน

เป็นชนวนให้นายธรรศน์ยกพวกเข้าไปค้นสำนักงานปาร์คกิ้งฯซึ่งตั้งอยู่ในสุวรรณภูมิ เปิดช่องให้นายธนกฤตไปแจ้งความที่สถานีตำรวจราชาเทวะ อ้างถูกชายฉกรรจ์บุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สิน จึงถือโอกาสนี้ฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายนายธรรศน์พ่วงเข้าไปด้วยเป็นเงิน 55 ล้านบาท จากนั้นปัญหาความขัดแย้งยิ่งปะทุแรงขึ้น ทุกวัน และถูกนำมาเป็นข้ออ้างในการไม่จ่ายเงินรายได้รายเดือนให้ ทอท.ตามสัญญา แถมยังระงับไม่ให้ ทอท.คืนเงินค่ามัดจำแก่นายธรรศน์ 20 ล้านบาท แต่นายธรรศน์มอบอำนาจให้สำนักงานกฎหมายอรุณอมรินทร์ทำหนังสือขอเงินดังกล่าวคืน หากไม่คืนจะดำเนินคดีกับ ทอท. ขณะนั้น ผอ.นิรันดร์เองโดนหางเลขถูกนายธนกฤตฟ้องด้วยเช่นกัน

ในอีกทางหนึ่งก็มีกลุ่มบริษัท ซันไชน์ คอปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประกาศจะซื้อหุ้นบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด มาตั้งแต่ช่วงเมษายนและพร้อมจ่ายเงินในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยนำบริษัทในเครือ อาทิ บริษัท เจเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด เข้ามาซื้อด้วยเงินประมาณ 40 ล้านบาท โดยรวมแล้วกลุ่มนี้นำเงินมาลงในปาร์คกิ้งเกือบ 200 ล้านบาท แต่จนถึงขณะนี้ไม่มีรายงานว่า ได้รับผลตอบแทนกลับคืนหรือไม่

กระทั่งเมื่อ 23 กรกฎาคม 2553 ผอ.นิรันดร์นำมติของคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ซึ่งเสนอให้ส่งหนังสือถึงธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ ในฐานะผู้ค้ำประกันเงินโครงการลานจอดรถสุวรรณภูมิ ให้โอนเงินจากบัญชีธนาคารเลขที่ ๕๓-๕๒-๐๐๐๘-๐ จ่ายเป็นเงินรายได้รายเดือนแก่ ทอท.รวม 66,928,310.83 บาท เนื่องจากบริษัท ปาร์คกิ้งฯ ไม่เคยโอนรายได้ดังกล่าวให้ ทอท.ตามข้อตกลงสัญญา และเงินที่โอนมาทั้งหมดนี้ก็ครอบคลุมเฉพาะเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2553 เท่านั้น ยังคงค้างจ่ายเดือนสิงหาคม-กันยายน 2553

ตั้งแต่เริ่มให้เอกชนรับสัมปทานโครงการลานจอดรถอาคาร ผู้โดยสารเอและบีสุวรรณภูมิ ปัญหาความขัดแย้งภายในระหว่างกรรมการ 2 คน คือ นายธนกฤตกับนายธรรศน์ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับ ทอท.มาตลอดทุกเดือน เพราะคู่สัญญาไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงแม้สักข้อเดียว

แต่นายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานบอร์ด ยังยืนยันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 30 เมษายน 2553 มาจนถึงกลางเดือนกันยายน 2553 เป็นเรื่องภายในของบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด ทอท. จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

บอร์ดเจอต้นตอสั่งเลิกสัมปทาน

ต่อมาในการประชุมบอร์ดเมื่อ 23 กันยายน 2553 นายปิยะพันธ์ ประธานบอร์ด แถลงข้อมูลด้วยท่าทีดุดันถึงนโยบายของบอร์ดที่มีต่อสัมปทานโครงการลานจอดรถสุวรรณภูมิที่ให้แก่บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด ยังคงเป็นเรื่องถูกต้องตามระเบียบ เพราะเอกชนได้ทำตามข้อตกลง อาทิ จ่ายรายได้คืนมาจนถึงเดือนกรกฎาคม 2553 เริ่มติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบรายงานยอด รายได้ลานจอดรายวันบ้างแล้ว ยกเว้นการนำเงินค้ำประกันไปใส่ในธนาคารให้ครบตามสัญญา หลังจากถูกหักบางส่วนไป (จาก 105 ล้านบาท โดนหักไป 66 ล้านบาท)

เหตุการณ์มาลุกลามใหญ่โต เริ่มจากวันที่ 24 กันยายน 2553 มีกลุ่มชายฉกรรจ์มาล้อมลานจอดสุวรรณภูมิจำนวนนับ 100 คน ซึ่งถูกระบุว่า เป็นทีมของเสธ.ทหารค่ายใหญ่อย่างน้อย 2 ขั้ว คือ เสธ.ห.กับ เสธ.ย.ได้รับคำสั่งจากกรรมการคนละข้างเข้ามายึดกิจการซึ่งกันและกัน และทีมชายฉกรรจ์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เรื่อย ๆ ทุกวัน

รวมถึงมีตัวละครกลุ่มใหม่ของเสธ.อีก 3 กลุ่ม (ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับ 2 กลุ่มแรก) คือ เสธ.ข, เสธ.ฮ.และ เสธ.ต.ในจำนวนนี้เป็นตัวแทนของกลุ่มที่อ้างว่า ได้ซื้อหุ้นปาร์คกิ้งจากกรรมการคนหนึ่งไปหมดแล้ว แถมสูญเงินไปเกือบ 200 ล้านบาท โดยไม่ได้อะไรกลับคืน จึงเข้ามาทวงสิทธิ์ด้วยการยึดเคาน์เตอร์เก็บเงินรายวันเสียเองแทนพนักงานปาร์คกิ้งฯของนายธนกฤต

ช่วงวันที่ 28 กันยายน 2553 นายปิยะพันธ์มีคำสั่งให้ฝ่ายบริหาร ทอท.ทำหนังสือเชิญนายธนกฤตกับนายธรรศน์มาชี้แจงพร้อมกัน แต่ทั้งคู่ไม่มา นายธรรศน์ส่งนางแพรว พจนประพันธ์ มารดา มาเป็นตัวแทนเจรจา จากนั้นวันที่ 29 กันยายน นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต นำคณะเดินทางไปเชียงรายได้เจอกับเหล่าชายฉกรรจ์ในลานจอดด้วยตนเอง

จึงเป็นเหตุให้ต้องมีคำสั่งให้ฝ่ายบริหาร ทอท.ประชุมด่วนเพื่อสรุปการยกเลิกสัมปทานลานจอดของบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด มีผล 11 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป

รัฐไทยใหม่

ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ เหล็กใน

เหตุระเบิดแมนชั่นที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต สร้างความหวาดผวาแก่ประชาชนอย่างมาก

เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเกิดจากความผิดพลาดมือระเบิดเอง

นั่นคือ นายสมัย วงศ์สุวรรณ์ ชาว จ.เชียงใหม่ ก็เป็นศพเละคาที่

จากการสืบสวนทราบว่า นายสมัยเคยร่วมชุมนุมกับม็อบเสื้อแดง และมีคดีติดตัวอยู่หลายคดี

หลังสิ้นเสียงกัมปนาทของระเบิด เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ

พบหลักฐานจำนวนมาก ทั้งอุปกรณ์ประกอบระเบิด อาวุธปืน

รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนายสมัยผู้ตายด้วย

ขณะนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตัวเชื่อมที่จะนำไปสู่การคลี่คลายคดีแล้ว ซึ่งพบว่าเชื่อมโยงกับเหตุระเบิดหลายแห่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังได้พบแผ่นซีดี 1 แผ่นตกอยู่ หน้าแผ่นเขียนด้วยปากกาหมึกน้ำเงินว่า "รัฐไทยใหม่"

จนทำให้มีการโยงไปถึงแผนการเคลื่อนไหวของการชุมนุมของม็อบเสื้อแดงก่อนหน้านี้

แต่จากการตรวจสอบ พบว่าซีดีแผ่นนี้ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ไม่ได้เป็นหลักฐานอะไรมาก และไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดด้วยซ้ำ

คำว่า "รัฐไทยใหม่" เป็นคำที่น่ากลัว และถูกนำมาขยายผลทางการเมือง เพื่อดิสเครดิตแกนนำม็อบเสื้อแดงอย่างได้ผล

และใช้ทิ่มแทงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้อย่างชะงัด

มีการนำสติ๊กเกอร์ระบุว่าเป็นประมุขรัฐไทยใหม่ติดทั่วพื้นที่สีลม รอบราชประสงค์ ในช่วงก่อนจะใช้กำลังทหารเข้าสลาย

การขยายผลจากวาทกรรมรัฐไทยใหม่ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขออนุญาตฆ่าผู้ชุมนุมด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน ก็ยังมีพรรคการเมืองใช้วาทกรรมนี้นำไปขึ้นป้ายทั่วประเทศ

"เทิดทูนสถาบัน ต้านรัฐไทยใหม่ พรรคภูมิใจไทย"

ถ้าไม่ใช่มันสมองก้อนโตของนายเนวิน ชิดชอบ แล้วจะเป็นใครได้

จริงๆ แล้วคำว่า "รัฐไทยใหม่" ดูเหมือนว่านายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการนปช.เป็นคนเสนอขึ้นมา

เป็นการเสนอขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบกับ "การเมืองใหม่" ของกลุ่มพันธมิตร

นายณัฐวุฒิเคยให้สัมภาษณ์อธิบายข้อเสนอใหม่ดังกล่าวนี้ว่า

"พันธมิตรเสนอเรื่องการเมืองใหม่ สัดส่วน 70-30 ผมเสนอเรื่องรัฐไทยใหม่ คือประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มีความเป็นธรรม ไม่มีการแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบ และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อยากถามว่าข้อเสนอของใครส่งผลเสียหายต่อระบอบประชาธิปไตยกว่ากัน"

ต่อมาคำๆ นี้ เป็นคำที่ถูกขยายความเพื่อหวังผลทางการเมือง

จนกลายเป็นเรื่องใหญ่โตและน่ากลัว

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อัดนโยบายรัฐทำสสว.สับสน

มึนหน้าที่ตัวเอง‘ที่ปรึกษา’หรือ‘สถาบันการเงิน’กันแน่

สสว.ล้มกระดาน 4 บริษัทลูก อ้างบริหารงานล้มเหลว ล่าสุด เตรียมปิดฉากอุตสาหกรรมขนมไทยหลังมีหนี้ผูกพันกว่า 100 ล้าน ทั้งที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลคาดหวัง ปั้นแบรนด์ “สวัสดี” ตีตลาดทั่วโลก ระบุที่ผ่านมาสับสนหน้าที่จะเป็น “ที่ปรึกษา” หรือ “สถาบันการเงิน” สนับสนุนผู้ประกอบการ

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเอสเอ็มอี หรือ สสว. เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่าที่ผ่านมา สสว.พยายาม เป็นแกนกลางเข้าไปช่วยเหลือขับเคลื่อนธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ทั้งระบบ ทั้งการให้ความรู้ด้านวิชาการ การสนับสนุนด้านการเงิน รวมถึงการเข้าไปร่วมทุนทำธุรกิจในรูปแบบจอยต์เวนเจอร์ในธุรกิจที่ควรสนับสนุน เมื่อธุรกิจนั้นอยู่ได้ด้วยตัวเอง สสว.ก็จะถอนหุ้นออกมาเพื่อให้เจ้าของธุรกิจดำเนินการด้วยตัวเองต่อไป

อย่างไรก็ตาม นอกจากการจอยต์เวนเจอร์กับธุรกิจภาคเอกชนแล้ว ยังมีธุรกิจบางเซ็กเตอร์ที่ สสว.จัดตั้งขึ้นในลักษณะบริษัทลูก แต่ถ้าผลการดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จก็จะอาจจะปิดตัว ซึ่งที่ผ่านมาปิดไปแล้ว 2 บริษัท และกำลังจะปิดอีก 2 บริษัท คือบริษัท อุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด และ บริษัท ส่งเสริมการค้าเอสเอ็มอี จำกัด โดย 2 บริษัทดังกล่าวมีปัญหาขาดทุนมานาน รวมถึงมีภาระหนี้ผูกพันที่รอการชดเชยไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

นายยุทธศักดิ์กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาผลงานการทำงานของ สสว.ไม่เข้าเป้า ทำให้การประเมินผลงานที่จัดประเมินโดยทริสได้ต่ำกว่ามาตรฐาน ในฐานะที่ตนได้รับความไว้วางใจให้เข้ามาดูแลจะพยายามพลิกฟื้นสถานการณ์ให้กลับมาเป็นบวกให้ได้

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ทิศทางการทำงานของ สสว.วันนี้ยังค่อนข้างขาดความชัดเจนว่าจะเดินทางไปในทิศทางไหน จะเข้าไปช่วยเหลือ SMEs ในรูปแบบการผลักดันแบบเต็มตัวกึ่งๆสถาบันการเงินหรือจะเป็นองค์กรให้ความเห็นด้านข้อมูล คำแนะนำ วิธีการแก้ไขปัญหาธุรกิจ SMEs แก่รัฐบาล เหมือนกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

“นโยบายของ สสว.เวลานี้เหมือนกับขาดความเป็นเอกภาพ ขาดแรงขับเคลื่อน โครงการอะไรที่รัฐบาลในอดีตเคยดำเนินการไว้ถูกโละทิ้งหมด อย่างเช่นบริษัทอุตสาหกรรมขนมไทยซึ่งน่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตได้ในตลาดโลก เพราะขนมไทยมีจุดเด่นมากมาย แต่กลับต้องโดนปิดตัวเพราะผลประกอบการขาดทุน” แหล่งข่าวแสดงความเห็น

สำหรับบริษัท อุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด จัดตั้งขึ้นโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม ตามมติของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่เล็งเห็นถึงการส่งเสริมการผลิตขนมไทยทุกประเภท เพื่อส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ และเพื่อยกระดับขนมไทยให้มีศักยภาพในการส่งออก เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ผลิตในทุกระดับชั้น เป็นการหารายได้เข้าประเทศ ภายใต้แบรนด์ “สวัสดี” อีกทั้งยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาราคาอ้อยและน้ำตาลตกต่ำได้อีกทางหนึ่ง นำมาซึ่งการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในประเทศ

ดังนั้นทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงได้จัดตั้ง บริษัท อุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด ขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 1 ล้านบาทและได้มีการจดทะเบียนเพิ่มทุนอีก 3 ล้านบาท ในเดือนมิถุนายน 2546 รวมเป็น ทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท

“ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในวันนี้มีราคาดีขึ้นเพราะอ้อยถูกนำไปผลิตเป็นเอธานอลมากขึ้นหรือเปล่าทำให้รัฐบาลไม่ต้องเข้าแบกรับเรื่องราคา เลย นำมาสู่การปิดบริษัทอุตสาหกรรมขนมไทย ในขณะที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก็ไม่รู้ว่ามีผลงานอะไรบ้าง” แหล่งข่าวคนเดิม กล่าว

ที่มา.สยามธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

"ทนายวิคเตอร์ บูท" ยื่นอุทธรณ์ ค้านคำสั่งศาลชั้นต้น

เมื่อเวลา 13.00 น. นายลักษณ์ นิติวัฒนวิจารณ์ ทนายความของนายวิคเตอร์ อนาโตลเจวิช บูท สัญชาติรัสเซีย อดีตสายลับเคจีบี และนักค้าอาวุธชื่อดังที่ถูกทางการสหรัฐอเมริกา ร้องขอส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน เดินทางมายื่นคำร้องอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยานคู่ความทั้งสองฝ่าย และยกคำร้องของอัยการคดีหมายเลขดำ อผ.4/2553 ที่ร้องขอส่งผู้ร้ายแดนนายวิคเตอร์ กลับสหรัฐ ฯ สำนวนที่ 2 ฐานฉ้อโกงทางอิเล็คทรอนิคส์ และฟอกเงิน รวม 6 ข้อหา

โดยคำร้องของนายวิคเตอร์ ระบุว่า จำเลยต่อสู้เสมอมาว่า สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นรัฐผู้ร้องขอ และพนักงานอัยการ ดำเนินคดีโดยละเมิดประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 เพราะไม่ได้มีการสอบสวนความผิดที่ได้ยื่นฟ้องคดีอาญามาก่อน จึงเท่ากับว่าไม่มีคำขอหรือคำฟ้องคดีนี้เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะคำขอโดยผ่านวิถีทางการทูตก็ไม่มีผลให้เกิดการยกเว้นที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย ขณะที่คดีนี้เป็นเรื่องที่กลุ่มผลประโยชน์ของนักการเมืองกลุ่มใหญ่ ในประเทศสหรัฐ ฯ ต่อสู้ช่วงชิงและแข่งขันทางผลประโยชน์ที่จะบริหารประเทศ จึงเป็นการทำไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่มีลักษณะเป็นทางการเมือง โดยการต่อสู้คดีจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของส่งตัว และบัญชีพยานจำนวน 17 ปาก อาทิ จำเลย นางอัลลา บูท ภรรยา กงสุลสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย และผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะอธิบายว่าใครทำความผิด หรือไม่ได้ทำความผิดตามคำกล่าวหาของทางการสหรัฐ ฯ เพื่อนำเข้าไต่สวน รวมทั้งเอกสารที่นางอัลลา ได้ยื่นถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ก.ย.53 ให้เข้าใจความจริงในการเมืองที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้วย

ขณะที่นายลักษณ์ กล่าวว่า เมื่อยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอน ศาลจะพิจารณาว่าจะรับอุทธรณ์ไว้หรือไม่ ซึ่งเราเชื่อว่าจะรับอุทธรณ์ เพราะเราพยายามชี้ให้ศาลเห็นว่าอัยการไม่มีสิทธิ์ที่จะยื่นฟ้อง เนื่องจากคดีไม่มีการสอบสวนความผิดมาก่อนตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา คำขอต่างๆ ของอัยการจึงถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ขณะที่เราแสดงให้เห็นว่าก็มีพยานที่จะไต่สวนในการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่แต่ศาลได้สั่งงดไปเพราะไม่มีการไต่สวนอัยการโจทก์ อย่างไรก็ดีตามขั้นตอนถ้าศาลรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาก็ต้องส่งสำเนาคำอุทธรณ์ให้ฝ่ายพนักงานอัยการ ทราบเพื่อแก้อุทธรณ์ต่อไป

ที่มา.เนชั่น

2 จำเลย

สยามธุรกิจ

เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ สำหรับชาวประชาธิปัตย์พันธุ์แท้และชาวประชาผู้สนับสนุนประชาธิปัตย์ทั้งหลาย..เพราะพืชพันธุ์ประชาธิปัตย์ที่ท่านทั้งหลายช่วยกันเพาะหว่านกันมาเนิ่นนานกว่า 60 ปีนั้น

ท่านทั้งหลายหวังว่า..มันจะผลิดอกออก ผลขึ้นมาในผืนนาของท่าน ท่านทั้งหลายจึงผิดหวัง ที่พืชพันธุ์ประชาธิปัตย์ที่ท่านหว่านพันธุ์และบำรุงปุ๋ยนั้น..มันไปงอกงามอยู่ ในผืนนาแปลงอื่น..

พวกท่าน..มัวมองไปแต่ในแปลงนาของคน อื่น..ท่านมัวแต่อิจฉาคนอื่นๆ จนลืมมองเข้าไปใน แปลงนาของท่าน..ว่ามันก็ผลิดอกออกผลเช่นเดียว กัน..ถึงมันจะน้อยกว่า มันก็เป็นพืชพันธุ์เดียวกันพันธุ์ประชาธิปไตย

พันธุ์ประชาธิปไตย ไม่ใช่ไม้ใหญ่ยืนต้นเช่นพันธุ์เผด็จการ..แต่มันเป็นพืชพันธุ์รากหญ้าที่ไหลเลื่อนไปตามกรากเชี่ยวของสายน้ำ..มันจะละล่อง ปลิวลมออกไปทุกทิศทุกทาง..มันเรี่ยรายหกหล่นไป ตามเส้นทางถนนและท้องน้ำ..มันจึงไม่มีวันสิ้นสุด มัน จึงไม่มีจุดจบ..มันมีแต่แพร่ขยายกระจายพันธุ์ออกไป.. เกรอะแห้งเมื่อแล้งน้ำ หยั่งรากเพาะพันธุ์เมื่อความ ชุ่มฉ่ำกรายผิว

พืชพันธุ์ประชาธิปไตยที่ชาวประชาธิปัตย์ ช่วยกันหว่านไถ..จึงไม่งอกงามบานใหญ่อยู่ในเฉพาะภาคใต้ แต่มันงอกงามอยู่ในพื้นผิวของแผ่นดินไทย..ถึงอย่างไรมันก็เป็นพันธุ์ประชาธิปไตย เช่นเมื่อมันกำเนิดมา..

ไม้ใหญ่เผด็จการนั้น..โค่นล้มไปนานแล้ว.. เช่นเดียวกับประชาธิปไตยที่กล้าแข็ง..อำนาจของประชาชนนั้นยิ่งใหญ่..แต่ผู้ที่เขา เอาอำนาจไปมอบให้ต่างหากที่ล้มเหลว..เพียงเพราะ จิตใจของพวกท่านมันคับแคบ..เผด็จการถึงฟื้นคืน อำนาจพาชาติพินาศย่อยยับลงมาถึงปานนี้

วันนี้พืชพันธุ์ประชาธิปไตยบานสะพรั่ง..เพียง ชวน หลีกภัย กับ ทักษิณ ชินวัตร จับมือกันเป็น รัฐบาล..ประชาธิปไตยก็เจิดจรัส..เพียง 2 ท่านปฏิเสธ การคอร์รัปชั่นและสอดส่องดูแล..แผ่นดินนี้ก็เติบใหญ่ประชาไทยก็มั่งคั่ง

แล้วพวกท่านทำอะไร..ท่านแย่งกันเป็นใหญ่.. ทำลายประชาธิปไตยของประชาชนส่วนใหญ่ ไปอิงแอบประชาธิปไตยจัญไร..ของพวกขายตัวซื้อ เสียง..พวกท่านยอมให้แมงดาหัวหน้าซ่อง.. ต่อรองเรื่องอำนาจท่านขี้ขลาดต่อการเอาชนะตัวเองเพียง 2 ท่าน...ชวน หลีกภัย กับ ทักษิณ ชินวัตร ใช่หรือไม่???

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความรุนแรงจากการฆ่าทางการเมือง

 ที่มา.มติชนออนไลน์

นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์  นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์รุ่นใหม่และผู้บรรยายหลักสูตรสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้เขียนตำราวิชาการหนังสือวิชาการ "ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเรา" และหนังสือ "รัฐศาสตร์ไม่ฆ่า"ปาฐกถา หัวข้อ "ความรุนแรงและอำนาจรัฐ" ในโอกาสครบรอบ 34 ปีเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ที่ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์

นายศิโรตม์ กล่าวถึงความรุนแรงว่า มีความหมายกว้างการทำร้ายร่างกาย ฆ่าผู้อื่น แต่หมายถึง ความรุนแรงชนิดอื่นๆ เช่น ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ หรือ ความรุนแรงทางการเมือง

1. ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ

ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีช่องว่างในการทำงานนับตั้งแต่มีการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่ 19 ตัวเลขที่น่าสนใจ คือ คนจำนวนมากในประเทศมีช่องว่างทางรายได้มาก ในช่วง ค.ศ. 1960 ช่องว่างทางรายได้ของสังคมไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.3 หลังจากที่มีพัฒนาไปเรื่อยๆ ช่องว่างทางรายได้เพิ่มตามไปด้วย
ตัวเลขที่ 2 คือ รายได้ของคนภาคเกษตรกร ในรอบ 30-40 ปี ที่ผ่านมาแทบไม่เคยขึ้นเลย ทำให้คนในภาคเกษตรออกมาเป็นคนงาน แรงงานในเขตเมืองและโรงงานอุตสาหกรรม  และตัวเลขเศรษฐกิจยังบอกอีกว่ารายได้ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมรายได้ของคนจนเมืองในรอบ 30-40 ปี รายได้รวมเพิ่มขึ้นแต่รายได้ที่แท้จริงไม่เพิ่มขึ้น หมายความว่า ในรอบ 30-40 ปีที่ผ่านมา แรงงานขั้นต่ำมีรายได้ที่สูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้นรายได้แรงงานไทยไม่เพิ่มขึ้นเลย นี่คือตัวอย่างความรุนแรงทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาอย่างอื่นตามมาอีก เช่น ปัญหาคนไม่มีที่อยู่อาศัยในเมือง 

2. ความรุนแรงของภาษา


ภาษาเป็นความรุนแรงชนิดหนึ่ง เมื่อ 2-3 วันก่อน ส.ส.มีการประชุมเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เรื่องความขัดแย้งกับกลุ่มกระเทย คือ ผู้ชายที่อยากแปลงเพศ ทุกครั้งที่มีการเกณฑ์ทหารกระทรวงกลาโหมจะบอกว่าคนเหล่านี้เป็นคนโรคจิต  เป็นประเด็นที่คนเหล่านี้ถกเถียงตลอดว่าเขาไม่ใช่คนโรคจิต ถ้าระบุว่าพวกเขาเป็นคนโรคจิต สิทธิตามกฎหมายที่จะทำนิติกรรมบางอย่างจึงทำไม่ได้ จึงเกิดความพยายามของกระเทยในสังคมไทยที่อยากจะให้กระทรวงกลาโหมยกเลิกการเรียกเขาว่าพวกโรคจิต มีความพยายามในการรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส.ส.มีการประชุมกันในเรื่องนี้ระหว่างแพทย์ ทหารจากกระทรวงกลาโหม กรรมาธิการ ส.ส. ตัวแทนสื่อ  เพื่อคุยกันว่า "กระเทย" เป็นโรคจิตหรือไม่

วิธีการของทหารจากกระทรวงกลาโหมที่ให้คำนิยามว่ากระเทยเป็นโรคจิตมีความน่าสนใจโดยยกเอานิยามขององค์การอนามัยโลกที่บอกว่าเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งความจริงมันเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการเมือง ในประเทศตะวันตก เช่น ถ้ากลุ่มรักร่วมเพศมีอำนาจในการต่อรองทางการเมืองสูงก็สามารถในการกดดันว่าองค์กรอนามัยโลกหรือรัฐบาลไม่มีอำนาจที่นิยาม ว่า กระเทยโรคจิต แต่ในสังคมไทยอ้างอิงองค์กรอนามัยโลกจึงมีการถกเถียงกันว่ากระเทยเป็นโรคจิตหรือไม่เป็นในที่สุดทางกระทรวงกลาโหมก็ยอมที่จะกลับไปแก้ไขว่ากระเทยไม่ใช่โรคจิต เพราะการระบุ ว่า กระเทยเป็นโรคจิตไม่มีข้อมูลทางการแพทย์มายืนยัน

ประเด็นที่จะชี้ให้เห็นความรุนแรงจากภาษา การบอก ว่า กระเทยเป็นโรคจิตเป็นนิยามที่จะทำให้กระเทยต้องเผชิญปัญหาชีวิตไปอีกยาวนาน 

3.ความรุนแรงของกฎหมาย

กฎหมายเป็นความรุนแรงชนิดหนึ่ง อาจจะเป็นเรื่องที่อยากต่อการทำความเข้าใจเพราะประเทศไทยอยู่ภายใต้การบังคับใช้พระราชกำหนดมายาวนานประมาณ 6 เดือน หลายคนมองว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นกฎหมายปกติที่รัฐบาลออกมาเพราะว่ามีความจำเป็นต้องออกเนื่องจากมีเหตุบางอย่าง แต่พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษหลายข้อ

ข้อแรก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้การกระทำในหลายๆเรื่องในสภาวะปกติไม่ผิดกลายเป็นการกระทำที่ผิดแล้วถูกลงโทษได้ เช่น คนที่ถูกจับและถูกดำเนินคดีในช่วง พฤษภาคม 2553 มีแม่ค้าคนหนึ่งขนข้าวออกจากตลาดไทยมาให้ผู้ชุมนุมจนถึงตอนนี้แม่ค้าคนนี้ยังติดคุกอยู่ การกระทำเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่พอการกระทำนี้เกิดในช่วงที่มีพ.ร.ก.ฉุกเฉินกลายเป็นความผิดขึ้นมา

คนจำนวนมากที่ถูกยิง บาดเจ็บเสียชีวิตในช่วงเหตุการณ์ที่ผ่านมา พฤษภาคม 53  ทุกคนใช้สิทธิในการชุมนุมตามปกติบางคนไม่ได้เกี่ยวกับการชุมนุมโดยตรงด้วยซ้ำ ในหลายพื้นที่คนจำนวนมากถูกจับโดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย แต่กฎหมายระบุว่าผิดเพราะเขาไปอยู่ผิดที่ผิดเวลาในสถาการณ์ที่กฎหมายระบุว่าการกระทำแบบนั้นผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นตัวอย่างความรุนแรงของกฎหมายเพราะโดยการกระทำในตัวมันเองไม่ผิดเลย ผลจากการกระทำดังนี้ทำให้คนจำนวนมากติดคุก เสียชีวิต บาดเจ็บโดยไม่มีใครรับผิดชอบจนปัจจุบัน

4.ความรุนแรงผ่านวาทกรรมและอุดมการณ์ 

ความรุนแรงผ่านวาทกรรมและอุดมการณ์ เป็นความรุนแรงชนิดหนึ่งที่คนไม่คิดว่าเป็นปัญหา  ในช่วงที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งทางการเมืองหลังปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา มีประเด็นที่เห็นว่าเป็นข้อขัดแย้งในกลุ่มต่างๆ  ตัวอย่าง  กรณีการจับคนด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งประเด็นส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับความเชื่อและความคิดว่า การเมืองไทยหรือการปกครองไทยคือการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นเรื่องน่าสนใจว่าในประเทศไทยขณะนี้การนิยามคำว่า ประชาธิปไตยไทย คืออะไร  การเอาประมุขของรัฐเป็นศูนย์กลาง กระทั่งนำไปสู่การจับกุมดำเนินคดีกับคนจำนวนมาก ซึ่งหลายกรณีอาจจะไม่มีความผิด หลายกรณีถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง หลายกรณีอาจจะเป็นการถูกลงโทษเกินกว่าเหตุก็เป็นได้

กรณีแบบนี้น่าสนใจว่าประเทศไทยทำไมไม่เป็นประเทศที่ถูกนิยามว่าคำว่าประชาธิปไตยแยกออกจากประมุขของรัฐเช่น ประชาธิปไตยที่มีมวลชนเป็นแกนกลาง ที่มีความเชื่อว่าต้องยึดเอาสิทธิเสรีภาพของประชาชนขั้นพื้นฐานเป็นการเมืองการปกครองที่เคารพในสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ความยุติธรรม

"ความรุนแรงทางวาทกรรม ถ้าดูนิยามประชาธิปไตยทั่วโลกจะเห็นว่านิยามประชาธิปไตยมีเยอะแยะเต็มไปหมด แต่ประชาธิปไตยของไทยถูกนิยามผ่านมุมมอง กรอบบางเรื่อง ในที่สุดแล้วสร้างปัญหาสร้างสถานการณ์บางอย่าง ประชาชนบางกลุ่มได้รับความเดือดร้อนโดยไม่มีเหตุอันควร" 

ยกตัวอย่าง  "ดา ตอร์ปิโด" ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบความเห็นในสิ่งที่ดา ตอร์ปิโด พูดก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าสิ่งที่ดา ตอปิโด ถูกลงโทษ คือ ติดคุก 18 ปี มันมากเกินไป ถ้าใช้นโนธรรมสำนึกพิจารณาดูว่านักโทษข่มขืน ค้ายาเสพติด ติดคุกไม่ถึง 18 ปี แต่ในกรณีนี้มีคนติดคุก 18 ปีได้ นี่คือ ตัวอย่างความรุนแรงทางวาทกรรมโดยตรง

งานวิจัยของอาจารย์ไครสเลอร์  นักวิชาการจากประเทศออสเตรเลีย พูดถึงความรุนแรงในสังคมไทย 2 ช่วง คือ
1. สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  อดีตนายกรัฐมนตรี
2. เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519


1.1  กรณีของจอมพลสฤษดิ์ คนจำนวนมากถูกจับกุมโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา โดยเฉพาะคนที่ถูกกล่าวหาเป็นภัยสังคมตามที่จอมพลสฤษดิ์เห็นว่า เป็น "ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์" คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีบางฉบับยอมให้เจ้าหน้าที่สามารถกักขังผู้ต้องสงสัยได้ 30 วัน และการต่ออายุสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตโดยไม่มีกำหนดเวลา คล้ายกับกรณีที่คนเสื้อแดงถูกจับในสถานการณ์พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือว่า เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมกักขังคนเหล่านี้ได้ เพียงแต่ว่าในประเทศไทยปัจจุบันมีวิธีการที่ซับซ้อนว่าเป็นการจับกุมและกักขังโดยผ่านการพิจารณาของศาล อันนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นวิวัฒนาการที่ดีขึ้นหรือแย่ลง 

คำสั่งที่ให้กักขังของจอมพลสฤษดิ์ถูกยกเลิกไปเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กลายเป็นว่าประเทศเรามีคนถูกจับกุมกักขังจำนวนมากโดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและไม่ต้องผ่านการพิจารณาของศาลเป็นเวลา 16 ปี

ในคำสั่งยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า เพราะกฎหมายนี้ขัดต่อหลักประชาธิปไตย คนที่ถูกจับไปนับร้อยคนจนถึงขณะนี้มีคนชดเชยให้พวกเขาแล้วหรือยัง หมายความว่าในเวลาต่อมาเรารู้ว่ากฎหมายแบบนี้ผิด แล้วถามว่าคนที่ถูกจับไปฟรีๆ ได้มีการชดเชยความยุติธรรมให้พวกเขาแล้วหรือยัง ซึ่งไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น

1.2  เหตุการณ์ 6 ตุลาคม มีคำสั่งคณะปฏิรูปให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการจับกุมและต่ออายุการจับกุมไปเรื่อยๆ เพื่อให้บุคคลเป็นพลเมืองดี ผู้มีอำนาจในการจับกุม ผู้บัญชาการ หทาร ตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถจับได้ ตัวเลขผู้ที่ถูกจับกุม 6 ตุลาคม ค่อยข้างหลากหลายบางตัวเลขบอกว่า 2 พันบางตัวเลขบอก 1 หมื่นคน แต่นี่คือสภาพของสังคมที่เกิดขึ้น

ในงานวิจัยของอาจารย์ไครสเลอร์  พูดถึงตัวเลขการอบรมคนเป็นพลเมืองดี สัมภาษณ์คนที่ถูกจับกุมในช่วง 6 ตุลาคม ว่าถูกทำอะไรบ้างเพื่อให้เป็นพลเมืองดี คนที่ถูกจับกุมบอกว่าไม่ได้ถูกซ้อมหรือถูกทรมาน โดยไม่ได้มองว่าการซ้อมหรือการทรมานเป็นปัญหาคุกคามมากเท่ากับการถูกอบรมเป็นเรื่องซ้ำๆซากๆ ในเรื่องเอกลักษณ์ของชาติ ประวัติศาสตร์ชาติคืออะไร คนจำนวนมากที่ถูกจับกุมในช่วงเดือน 6 ตุลาคม แม้ผู้ถูกจับกุมทั้งหมดไม่รู้สึกว่าเขาเผชิญปัญหาถูกซ้อมหรือทรมานแต่ทุกคนรู้สึกหวาดกลัวว่าจะถูกซ้อมและถูกทรมานได้ทุกเมื่อ

นี่สะท้อนให้เห็นว่าความรุนแรงทำงานอย่างไร ในอีกด้านหนึ่ง คือ  แสดงให้เห็นว่าคนหวาดกลัวว่าจะถูกทำร้ายซึ่งเป็นเรื่องคุกคามตลอดเวลา เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบันคล้ายกับกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการจับคนในลักษณะแบบเดียวกัน คือ จับคนเข้าอบรมการเป็นพลเมืองดี ชาติไทย ศาสนาอิสลาม ที่ถูกต้องคืออะไร ส่วนใหญ่ได้รับการอบรม 30-45 วัน จนกระทั่งทหารจะมองว่าถึงเวลาแล้วที่คนเหล่านี้จะออกไปเป็นพลเมืองดี นี่คือวิธีการที่คล้ายกับเหตุการณ์ 6 ตุลา

5. ความรุนแรงที่เกิดจากอำนาจรัฐโดยตรง

ความรุนแรงที่เกิดจากอำนาจรัฐโดยตรง หรือ ความรุนแรงเรื่องการกดขี่ปราบปราม คือ  ยกตัวอย่างเหตุการณ์ 6 ตุลาคม เดือนพฤษภา 2553 กรือเซะ ตากใบ คงมีภาพคล้ายกัน การกดขี่ปราบปราม  คือ การบังคับข่มขู่เพื่อให้ประชาชนอ่อนแอและอยู่ภายใต้ผู้มีอำนาจตลอดเวลา อาจจะหมายถึงการทำร้ายทางกายภาพ การ ทรมาน การจับกุม การคุมขัง การติดตาม การสอดแนม การดักฟังโทรศัพท์ การเตือน การข่มขู่

กรณีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกจับขังจาก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  เล่าให้ฟังว่าตอนที่ถูกเชิญไป ศอฉ. 3 สัปดาห์ถูกใครไม่รู้ติดตามไปตลอด

การกดขี่ปราบปรามไม่ได้หมายถึง การกระทำโดยใช้กำลังทำร้ายอย่างเดียว การสร้างสภาพที่ทำร้ายจิตใจประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ฉะนั้นความกลัวเป็นการกดขี่อย่างหนึ่ง การส่งจดหมายเตือนให้หยุดพูดอย่างนั้นอย่างนี้เป็นการกดขี่อย่างหนึ่ง  เช่น เว็บไซต์ประชาไทดอทคอมเป็นเว็บไซต์ที่ถูกปิดอย่างถาวรโดยไม่มีผู้รับผิดชอบทางกฎหมายในการปิด พอเกิดเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคม ศอฉ.ก็สั่งปิดโดยไม่ทราบสาเหตุอ้างว่าข้อมูลในเว็บไซต์ประชาไทกระทบต่อความสงบเรียบร้อย แต่จนถึงขณะนี้เว็บไซต์ประชาไทก็ยังถูกปิดอยู่ไม่ทราบสาเหตุเพราะอะไร

"นี่คือตัวอย่างการกดขี่ปราบปรามที่คนปกติไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ต้องทำงานภายใต้ความหวาดกลัว เว็บไซต์ที่ถูกกฎหมายกลายเป็นเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย นี่คือการข่มขู่ทางอ้อม"

การปราบปรามโดยรัฐ ในที่สุดแล้วเป็นเรื่องใหญ่เพราะแสดงออกถึงพฤติกรรมทางการเมืองให้คนคิดมากขึ้นเรื่องการใช้สิทธิเสรีภาพ คนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆมีความรับผิดชอบระวัง การข่มขู่มีความรุนแรงมากขึ้นอาจจะใช้กฎหมายบังคับหรือไม่ใช้ ซึ่งการข่มขู่อาจทำให้คนในสังคมตัดสินใจปิดปากเงียบ  แต่สิ่งหนึ่งที่รัฐไม่คิด คือการข่มขู่และปราบปรามในสังคมที่มีความขัดแย้งสูงๆ จะส่งผลให้ประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐและประท้วงรัฐด้วยวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไป

"สังคมไทยเป็นประเทศที่รัฐยังใช้ความรุนแรงกับประชาชนโดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ทั้งความรุนแรงทางกฎหมาย ทางการทหาร ทางการเมือง มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ"


โจทย์ที่รัฐควรคิดคืออะไร 

เมื่อรัฐใช้ความรุนแรง รัฐจะสามารถควบคุมสถานการณ์ควบคุมความเคลื่อนไหวพฤติกรรมของประชาชนได้ทั้งหมด ถ้าไปดูแบบแผนการต่อสู้ของกลุ่มการเมืองต่างๆเราจะเห็นว่า การควบคุมโดยรัฐและการปราบปรามโดยรัฐเป็นตัวแปรหนึ่งที่ส่งผลต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนจริง ขณะเดียวกันก็เป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ประชาชนที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ที่เป็นเผด็จการสูงต้องคิดวิธีที่จะตอบโต้รัฐออกมาด้วย รัฐไทยไม่ค่อยมีความเข้าใจและคิดว่าการใช้อำนาจที่เบ็ดเสร็จมากขึ้นสังคมจะไม่กล้าพูดอะไรมากขึ้น 

"แน่นอนว่าสังคมทุกแห่งที่ผ่านการปราบปรามครั้งใหญ่มาอย่างสังคมไทยผ่านเหตุการณ์พฤษภา 53 , พฤษภา 35 , 6 ตุลาคม 19 , 14 ตุลา 16 ในช่วงต้นๆจะมีภาวะความเงียบในเมื่อประชาชนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ในสังคมฝ่ายที่อยู่รอดจากการปราบปรามและถูกมองข้ามโดยรัฐจะค่อยๆฟื้นขึ้นมาเพื่อรักษาในอุดมการณ์การต่อต้านเผด็จการและในที่สุดกลุ่มคนเหล่านี้จะมีอิทธิพลในการประท้วงเพื่อนำไปสู่สังคมที่มีประชาธิปไตยมากขึ้น "

จากสังคมไทยในช่วงตุลาคม 2519  ที่มีการฆ่านักศึกษาโดยเชื่อว่านักศึกษาจะหยุดและมีการเปลี่ยนแปลงสังคมไปอีกแบบหนึ่งได้ แต่ปรากฎว่าเมื่อฆ่าแล้วพรรคคอมมิวนิสต์ขยายอิทธิพลขึ้น การต่อต้านรัฐขยายกว้างขวางมากขึ้น คนที่ทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ในสังคมเมืองมีมากขึ้น จะเห็นการฟื้นตัวของขบวนการนักศึกษา มีการจัดทำนิตยสารใต้ดินจำนวนมากส่งผลทางการเมืองอย่างรุนแรง

เหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ก็เช่นเดียวกัน ฝ่ายที่ปราบปรามมีความเชื่อว่า หากทำการปราบปรามประชาชนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ได้แล้วการชุมนุมและการต่อต้านอำนาจรัฐจะยุติลง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้ามแน่นอนว่าพฤษภาคม 2553 เรามีระยะเวลาหนึ่งที่คนไม่กล้าออกมาพูดอะไร  ในที่สุดแล้วประชาชนฝ่ายที่ถูกปราบปรามค่อยๆพัฒนาหลักในการต่อต้านขึ้นมา กรณีของ บก.ลายจุด (สมบัติ บุญงามอนงค์) เป็นปรากฎการณ์ที่สำคัญต่อให้ถูกปราบไปแล้วแต่ยังลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ละคนจะมีความถนัดและความชำนาญต่างกัน

"กรณีแม่ค้าใส่รองเท้าที่มีรูปหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แล้วถูกจับ จริงๆแล้วว่าการที่ใส่รองเท้าซึ่งเป็นหน้าของคนที่เกลียดมีนานมาแล้ว สมัยที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็มีหน้าพ.ต.ท.ทักษิณและภรรยาปรากฏบนร้องเท้าที่วางขายในที่ชุมนุมเช่นกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการดำเนินคดีกับคนที่ใส่รองเท้าหน้าพ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยเกิด ปัจจุบันในสมัยของนายกฯอภิสิทธิ์การใส่รองเท้ารูปหน้านายกฯมีความผิด ไม่รู้ว่าแสดงถึงอะไรบ้าง อาจจะมีความอดทนและความใจกว้างทางการเมืองที่ไม่เท่ากัน แต่ประเด็นคือแม่ค้าใส่รองเท้าแบบนี้และถูกฟ้องดำเนินคดีว่ารองเท้าคืออาวุธ ถ้าคำตอบในทางกฎหมายคือไม่ผิดเชื่อว่าในอนาคตคงมีร้องเท้าหลากหลายหน้ามากขึ้น"

นายศิโรตม์ อธิบายว่า รัฐไทยไม่เข้าใจเรื่องนี้ และเห็นว่าการปราบจะหยุดการต่อต้านได้ รูปแบบการปราบปรามต่อคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐเป็นเรื่องที่น่าสนใจ การปราบปรามจะพุ่งไปที่คนบางกลุ่มและมีลักษณะการผ่อนผันประนีประนอมกับคนอีกกลุ่ม เช่น ในสังคมไทยถ้ามีการประท้วงรัฐบาลโดยอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยการประท้วงจะได้รับการมองจากรัฐและได้รับการปฏิบัติในลักษณะประนีประนอมผ่อนผันเห็นอกเห็นใจหรือไม่กล้าทำอะไร แต่ถ้าเป็นการประท้วงโดยประชาชนกลุ่มอื่นๆ นอกมหาวิทยาลัยทำโดยประชาชนที่ต่างจังหวัดการประท้วงอาจจะถูกทำร้ายและถูกจับกุมได้

"รูปแบบการประท้วงแบบเดียวกันแต่คนต่างกลุ่มอาจจะทำได้หรือทำไม่ได้ขึ้นอยู่กับกลุ่มคนที่ทำการต่อต้านทำการประท้วงเป็นคนกลุ่มไหน  ในสังคมที่เผชิญปัญหาแบบนี้ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับอำนาจรัฐหรือฝ่ายที่แตกต่างจากอำนาจรัฐ ควรพยายามประเมินให้ออกหรือประเมินให้ได้ว่ารัฐในแต่ละช่วงมีพฤติกรรมหรือวิธีการในควบคุมประชาชนอย่างไรบ้าง เพื่อกำหนดกิจกรรมในการต่อสู้ให้อยู่กึ่งกลางระหว่างการต่อต้านกับการต่อสู้ที่จะไม่นำผู้ชุมนุมไปเผชิญปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม" 

6. ความรุนแรงจากการฆ่าทางการเมือง

ความรุนแรงจากการฆ่าทางการเมือง  เกี่ยวข้องกับ 6 ตุลาคม 2519 กับ พฤษภาคม 2553 ด้วย ในแต่ละสังคมที่มีการฆ่ากันทางการเมืองไม่ใช่สังคมที่มีความแตกต่างกันอย่างเดียว ความเห็นที่แตกต่างกันเป็นประเด็นหนึ่ง แต่ปัจจัยที่ทำให้สังคมหนึ่งมีการฆ่า คือ สังคมนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจฝ่ายฆ่ากับฝ่ายที่ถูกฆ่าเท่ากันหรือไม่ ในสังคมที่มีความเห็นแตกต่างกันอย่างรุนแรง แต่บังเอิญฝ่ายถูกฆ่าและฝ่ายฆ่ามีอำนาจเท่ากันการฆ่าจะไม่เกิดขึ้น

การฆ่าทางการเมืองเกิดขึ้นในสังคมที่เห็นแตกต่างกันและฝ่ายฆ่ากับฝ่ายถูกฆ่ามีอำนาจแตกต่างกันมาก ฉะนั้นการฆ่าทางการเมืองเกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางอำนาจทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันถ้าเป็นสังคมที่มีความเท่าเทียมกันทางอำนาจการฆ่าจะไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม

ความสำคัญของอำนาจที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดการฆ่ากันได้อย่างไร  ผู้ที่จะลงมือฆ่าคนอื่นต้องคิดแล้วว่าจะต้องได้ชัยชนะจากการฆ่าหรือกรณีกลับกันการฆ่าทางการเมืองเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกว่าฝ่ายตัวเองถูกกดขี่หรือรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อยกว่ามากเห็นว่าการต่อสู้อย่างสันติไม่มีทางทำให้ชีวิตของเขาดีขึ้นอีกต่อไปได้แล้ว

ดังนั้นการฆ่าทางการเมืองเกิดได้จากทางฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่ากระทำหรือฝ่ายที่มีอำนาจน้อยกว่ากระทำก็ได้  ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่าสั่งก่อน มีไม่กี่สังคมที่ฝ่ายมีอำนาจน้อยกว่าเป็นคนทำ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันมี

รัฐควรมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้การฆ่าทางการเมืองเกิดขึ้น มี 2 เรื่อง

1.ไม่ทำให้สังคมอยู่ในจุดที่ว่ามีช่องว่างทางอำนาจระหว่างฝ่ายที่มีอำนาจมากกับฝ่ายที่ไม่มีอำนาจมากจนคุยกันต่อไปไม่ได้อีกแล้ว สังคมไหนก็ตามที่เกิดภาวะแบบนี้ขึ้นมาแสดงว่าสังคมนั้นเข้าใกล้สภาพสังคมที่จะเกิดการฆ่าทางการเมือง เพราะช่องว่างทางอำนาจมันมากมายมหาศาลการต่อสู้อย่างสันติไม่มีประโยชน์ ฝ่ายที่มีอำนาจมองว่าฝ่ายที่ไม่มีอำนาจด้อยกว่ามากมันเป็นฝุ่นละอองเป็นชีวิตที่ไม่มีราคามาก ดังนั้นรัฐต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแบบนี้ขึ้นมา

2.ป้องกันไม่ให้คนที่อยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าถูกกดขี่ในสังคมรู้สึกว่าเขาไม่สามารถต่อสู้ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นได้ จากกระบวนการทางการเมืองแบบปกติ สิ่งที่รัฐควรป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่ากันทางการเมือง คือ การทำให้คนที่รู้สึกว่าด้อยกว่าเห็นว่าการต่อสู้ทางการเมืองแบบปกติมันมีเงื่อนไขสามารถทำได้ หรือกรณีฝ่ายที่มีอำนาจน้อยกว่าตัดสินใจใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ทางการเมืองรู้สึกว่าสู้แล้วจะมีคนอื่นมาช่วย สู้ไปแล้วต่อให้วันนี้แพ้วันหน้าก็ชนะ เป็นประเด็นหนึ่งในช่วงพฤษภาคม 2553 ที่มีคนจำนวนหนึ่งคิดแบบนี้ว่าสู้ไปเรื่อยๆจะมีคนอื่นมาช่วยหรือมีปัจจัยบางอย่างให้เราชนะในภายหลัง พอเวลาผ่านไปพบว่าเรื่องแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นจริง

ฉะนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าที่ดีที่สุดคือการขจัดเงื่อนไขที่ทำให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายเห็นว่ามันไม่มีทางออกจากสถานการณ์ที่พวกเขาเผชิญอยู่เลย การขจัดเงื่อนไขเป็นเรื่องที่จำเป็น การทำให้คู่กรณีเห็นว่ามีทางอื่นที่จะออกจากโจทย์ความรุนแรงครั้งนี้โดยไม่ต้องใช้พลกำลังเพื่อออกจากปัญหา

ส่วนใหญ่จะมองว่าการฆ่าทางการเมืองจะเกิดขึ้นจากรัฐฝ่ายเดียวแต่ในบางสังคมความรุนแรงและการฆ่าทางการเมืองเกิดขึ้นจากชนชั้นนำหรือฝ่ายที่นิยมความรุนแรงต่างๆก็ได้ ซึ่งเป็นได้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและผู้ชุมนุม ความรุนแรงในหลายสังคม บางครั้งเกิดโดยรัฐบางครั้งเกิดโดยผู้ชุมนุมที่นิยมความรุนแรง โดยมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นมา การใช้กลไกระดมมวลชนจำนวนมากจนนำไปสู่การใช้ความรุนแรงทางการเมืองได้

สิ่งที่น่าสนใจในกรณีการฆ่าทางการเมือง คือ ทำอย่างไรที่จะป้องกันการฆ่าทางการเมืองในสังคม ทำอย่างไรไม่ให้เกิดฝ่ายที่นิยมความรุนแรง ทำอย่างไรไม่ให้เกิดการต่อสู้โดยมีกองกำลังติดอาวุธ ทำอย่างไรไม่ให้กลไกระดมมวลชนนำไปสู่การฆ่าทางการเมืองอย่างที่ไม่จำเป็นเพื่อไม่ให้เกิดการฆ่ากันทางการเมืองด้วยวิธีรุนแรง

การทำความเข้าใจวิธีการที่สังคมจดจำความรุนแรงเป็นอย่างไร ปกติเรามักจะคิดกันว่าสังคมไม่ค่อยจดจำความรุนแรงที่ถูกรัฐกระทำ แต่นอกจากประเด็นสังคมจะจดจำหรือไม่จดจำแล้ว วิธีการที่สังคมเลือกจดจำก็ถือเป็นสิ่งที่ท้าทาย

คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจดจำความรุนแรงที่สอดคล้องกับอคติผลประโยชน์ทางการเมืองในปัจจุบัน หรือว่าสอดคล้องกับความต้องการทางการเมือง ไม่ค่อยเกิดขึ้นเพราะเห็นว่าความรุนแรงเป็นปัญหาของมันเองแต่เราจะจดจำเฉพาะความรุนแรงที่เป็นประโยชน์ทางการเมือง

คนที่ตายในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จำนวนมากถูกจดจำว่าเขาเป็นคนตายในเหตุการณ์ 6 ตุลา มากกว่าเขาเป็นใคร เขาทำอะไร มีความสำคัญอย่างไรกับครอบครัว ความทรงจำต่อเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่เราใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อวิจารณ์อะไรบางอย่างที่เราไม่เห็นด้วยในปัจุบัน แต่ความทรงจำในตัวของคนเหล่านี้หายไป

ฉะนั้นในแง่มุมความรุนแรงทางการเมืองต้องยอมรับว่าเราเป็นสังคมที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่ความรุนแรงในรูปแบบที่เราจดจำตัวบุคคล เราจดจำแค่ความรุนแรงเท่านั้น หรืออย่างผู้ที่พูดถึงกรณีราชประสงค์ปี 53 จะมีความกล้าพูดถึงความรุนแรงกรณีตากใบที่มีผู้เสียชีวิต 85 ศพ ได้อย่างไร เพื่อจะได้ให้เห็นว่าเหตุการณ์เหล่านี้เป็นเรื่องความรุนแรงจริงๆ ที่หลุดออกจากกรอบ เหตุผล หรืออคติในทางการเมืองของตัวผู้พูด