--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เสื้อแดงประจานรัฐจับขังเกิน 30 วัน-กินข้าวมื้อเดียว-ยึดทรัพย์สิน

จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้

แนวร่วมเสื้อแดงที่ถูกทหารนำมาปล่อยตัวกลางเมืองกาญจนบุรีแฉถูกกวาดต้อนขึ้นรถขณะยืนรอรถกลับบ้านตามประกาศ ศอฉ. ว่าหากออกจากพื้นที่ชุมนุมจะไม่มีความผิด เผยถูกนำเข้าค่ายทหารที่เมืองกาญน์ เวลากลางคืนคนควบคุมไม่แต่งเครื่องแบบยึดทรัพย์สินมีค่าไปหมด ให้กินข้าววันละแค่มื้อเดียว ตอนปล่อยใช้ผ้าดำผูกตาก่อนนำตัวออกมาจึงไม่รู้สถานที่คุมขัง คาดมีเสื้อแดงอีกกว่า 50 คนยังถูกควบคุมอยู่ ที่ปรึกษาองค์การฮิวแมนไรท์วอทช์จี้คณะกรรมการสิทธิฯตรวจสอบเพื่อช่วยเหลือคนที่ยังถูกควบคุมตัวอยู่ ชี้ขังเกิน 30 วันผิดกฎหมาย วิธีการควบคุมผิดหลักสิทธิมนุษยชนร้ายแรง สหรัฐทนเห็นสภาพประเทศไทยไม่ได้ ให้งบ 930 ล้านบาทใช้พัฒนาประชาธิปไตย

ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค พร้อมด้วย พล.ท.มะ โพธิ์งาม ส.ส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย นำประชาชนที่ถูกทหารจับตัวไปคุมขังไว้ที่จังหวัดกาญจนบุรีเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา ประกอบด้วย นายนาม วันดี อายุ 75 ปี อดีตกรรมการห้ามมวย ชาวจังหวัดนนทบุรี นายประยงค์ อยู่เอี่ยม อายุ 61 ปี พนักงานรักษาความปลอดภัย ชาวกรุงเทพฯ นายอุบล สุขโข อายุ 52 ปี ชาวสมุทรปราการ นายประสาท อาจผักปรัง อายุ 49 ปี นายรุ่งโรจน์ เพ็งเส็ง อายุ 35 ปี ชาวพระนครศรีอยุธยา นายอัฒพงษ์ สรรพศรี นายนวล โชคเจริญ และนายพันธ์ศักดิ์ ฉิมพลี ชาวนาจากจังหวัดขอนแก่น ร่วมกันแถลงข่าว

เผยถูกกวาดต้อนไปจากศาลาแดง

นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวที่จังหวัดกาญจนบุรีมาร้องเรียนกับพรรคเพื่อไทยผ่านทางญาติและเพื่อนว่าพวกเขาถูกจับตัวไปตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. จากบริเวณสามแยกศาลาแดงและลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 โดยมีการกวาดต้อนผู้ชุมนุมขึ้นรถไปร้อยกว่าคน และถูกนำไปขังไว้ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีทั้งเด็ก คนแก่ และวัยรุ่น

“มี 8 คนหนีออกมาได้และมาร้องเรียนกับพรรคก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย นายสมชาย วิเชียรศรี ชาวเพชรบูรณ์ นายมนัส สุวรรณโณ ชาวสงขลา นายสุชาติ หลังพุด ชาวพระนครศรีอยุธยา นายชำนาญ พรมมา ชาวหนองบัวลำพู นายเฉลิม ใจงาม ชาวขอนแก่น นายวิเชียร บุญตาหลงชาว ชาวขอนแก่น และอีก 2 คนไม่ขอเปิดเผยชื่อ เกรงว่าจะได้รับอันตราย เขาหนีออกมาได้เพราะมีพระรูปหนึ่งที่ถูกจับไปด้วยให้ความช่วยเหลือ ในส่วนของพรรคเพื่อไทยได้ให้ ส.ส.กาญจนบุรีของพรรคทั้ง 2 คนคือ พล.ท.มะกับ พล.ต.ศรชัย มนตริวัตร ประสานช่วยเหลือ”

30 คนถูกนำมาปล่อยให้กลับบ้านเอง

นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ชุดที่ 2 ที่ออกมาได้เพราะถูกนำมาปล่อยทิ้งไว้ที่หน้าวัดโพธิสัตย์บรรณพต อำเภอเมืองกาญจนบุรี จำนวน 30 คน ทั้งหมดไม่รู้สถานที่คุมขังเนื่องจากถูกปิดตาตลอดการเดินทาง เมื่อทราบข่าวจึงประสานพาตัวมาที่พรรคเพื่อนำไปยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

แฉขังเกิน 30 วันให้กินข้าววันละมื้อ

“ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินให้อำนาจควบคุมตัวได้เพียง 30 วัน แต่นี้จับไปตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. ปล่อยออกมาวันที่ 4 ก.ค. เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ทรัพย์สินที่ติดตัวไป เช่น โทรศัพท์มือถือก็ถูกยึด ให้กินอาหารวันละมื้อ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินเกินความจำเป็น ละเมิดสิทธิอย่างร้ายแรง เป็นการกระทำอันไม่สุจริต น่าจะผิดกฎหมาย ไร้มนุษยธรรม สมควรถูกประณาม พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้องให้ปล่อยตัวประชาชนที่ยังถูกควบคุมอยู่ไม่ว่าที่ไหน เพราะเลยกำหนดควบคุมตัวตามกฎหมายแล้ว หากไม่ปล่อยตัวเกรงว่าคนเหล่านี้อาจถูกทำให้สาบสูญ” นายพร้อมพงศ์กล่าวพร้อมตั้งข้อสังเกตว่าการนำประชาชนที่ถูกควบคุมตัวที่จังหวัดกาญจนบุรีมาปล่อยน่าจะเกิดจากความแตกแยกของคนในกองทัพที่ต้องการประจานรัฐบาล

ถูกจับขณะยืนรอรถกลับบ้าน

ทั้งนี้ หนึ่งในกลุ่มผู้ชุมนุมที่ถูกปล่อยตัวเปิดเผยว่า ถูกจับกุมระหว่างกำลังรอรถกลับบ้าน ตามที่รัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ประกาศให้ออกจากที่ชุมนุมแล้วจะจัดรถให้กลับบ้าน แต่กลับโดนทหารไล่ขึ้นรถและนำไปที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นค่ายทหารใด เพราะช่วงที่ถูกควบคุมไปเป็นเวลากลางคืน และตอนถูกปล่อยตัวก็มีผ้าสีดำปิดตาเอาไว้ แต่คาดว่าระหว่างทางจากค่ายถึงวัดในอำเภอเมืองใช้เวลาเดินทางไม่น่าจะเกิน 1 ชั่วโมง

คนคุมไม่แต่งเครื่องแบบยึดทรัพย์สิน

“คนที่ควบคุมตัวไม่ได้ใส่เครื่องแบบทหารนำทรัพย์สินมีค่าไปทั้งหมด และให้อาหารรับประทานเพียงแค่วันละมื้อเท่านั้น แต่พวกเขาไม่ได้ทำร้ายร่างกายหรือใช้อาวุธข่มขู่ ซึ่งระหว่างที่พวกตนออกมานั้นในค่ายดังกล่าวยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมอีกกว่า 50 คนที่ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว” หนึ่งในผู้ชุมนุมระบุ

พล.ท.มะกล่าวว่า ได้รับแจ้งจากประชาชนในพื้นที่ว่ามีการปล่อยตัวกลุ่มคนเสื้อแดงจึงส่งรถไปรับ คิดว่าการปล่อยตัวครั้งนี้มีเงื่อนงำ เพราะเป็นการปล่อยตัวในที่ชุมชน เสมือนว่าต้องการให้เป็นข่าวว่ายังมีกลุ่มคนเสื้อแดงถูกคุมขังอยู่ที่นั่นอีก การปล่อยตัวแบบนี้อาจแสดงให้เห็นว่ากองทัพกำลังเกิดความแตกแยก

จี้กรรมการสิทธิฯตรวจสอบ

นายสุนัย ผาสุก นักวิชาการอิสระและที่ปรึกษาองค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า การควบคุมผู้ต้องหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นที่สนใจขององค์การฮิวแมนไรท์วอทซ์ เพราะเป็นการควบคุมตัวที่ไม่ได้แจ้งและมีหลักประกันว่าคนเหล่านั้นจะได้พบญาติหรือไม่ การควบคุมตัวก็ไม่ได้ทำโดยเจ้าหน้าที่เฉพาะ ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดหลักมนุษยชน เรื่องนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วน

ต้องปล่อยคนที่ไม่มีข้อหาทั้งหมด

“ผมคิดว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรไปตรวจสอบ เพราะขณะนี้ไม่มีใครรู้เลยว่ามีประชาชนถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายทหารในจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรไปตรวจสอบยอดบุคคลว่ามีผู้ถูกควบคุมตัวอยู่เท่าไร และถูกควบคุมตัวกี่วันแล้ว เพราะการควบคุมตัวหากเกิน 30 วันต้องมีการตั้งข้อหา ไม่เช่นนั้นจะต้องมีการปล่อยตัวออกมา” นายสุนัยกล่าว

สหรัฐยื่นมือช่วยพัฒนาประชาธิปไตย

ด้านสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา (ยูเสด) ที่จะให้งบประมาณสนับสนุนการเสริมสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีที่ไม่ได้ให้งบช่วยเหลือด้านนี้ เนื่องจากมองว่าเหตุการณ์ในประเทศไทยหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกจนเป็นอันตรายต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

ให้ 930 ล้านทำโครงการ 3 ปี

ทั้งนี้ ยูเสดให้ว่าจ้างบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งของสหรัฐรับงานนี้ และบริษัทดังกล่าวกำลังมองหาบริษัทในประเทศไทยรับงานต่ออีกทอดหนึ่ง โดยจะใช้เวลาดำเนินโครงการ 3 ปี ภายใต้วงเงินงบประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 930 ล้านบาท การดำเนินโครงการจะมุ่งไปที่การศึกษาวิจัยองค์กรอิสระที่สำคัญของประเทศไทย เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์กรอิสระอื่นๆที่สำคัญ โดยวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา สิ่งแวดล้อมทางสังคมและการเมือง ตลอดจนเครื่องมือในการทำงานขององค์กรอิสระต่างๆ และการเชื่อมโยงการทำงานกับองค์กรภายนอก

หลายประเทศจะให้งบช่วยเพิ่ม

ส่วนรูปแบบการทำงานจะเป็นการสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนและองค์กรประชาสังคมต่างๆทั่วประเทศ ก่อนสรุปออกมาเป็นแนวทางพัฒนาประชาธิปไตยไทย อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่านอกจากสหรัฐแล้วยังมีประเทศใหญ่ๆอีกหลายประเทศจะให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย

คนฉลาดกับคนปัญญาอ่อนต่างกันยังไง?

ฟุตบอลโลกปีนี้ พิสูจน์ให้ประดาพวกบ้าอำนาจ ที่หลงตัวเองว่า ความเก่งเป็น “สมบัติส่วนตัว” นั้น ย่อมไม่ได้แล้ว?? ป่านนี้ทีมตัวเก็งอย่าง บราซิล –อาร์เจนติน่า-อิตาลี-อังกฤษ และ ฝรั่งเศส กำลังร้องเพลงไทย “น้ำตาหรือจะแก้ปัญหาใจ” หลังเกิด “ดวงตาเห็นธรรม” แพ้โดยไม่เคยคิดว่า “ผู้ชนะ” จะเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเอง!! อนิจจา!!.....๐
ที่สนามบอลโลกแอฟริกาใต้ เวลาเกือบ 4 ทุ่มเมืองไทย ดีเอโก มาราโดนา โค้ชทีมอาร์เจนตินา น้ำตานองหน้า หลังพ่ายแพ้ทีมเยอรมันหมดรูป 4-0 เวลาเดียวกัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เซ็งหรือเครียดไม่รู้? ยกหูถึง ศิริโชค โสภา ช่วงเวลา “อาร์เจนตินา” ถูกยิงนำไป 3 ประตู.....๐

“มาร์คถามวอลเปเปอร์” ทำไม? ดีเอโก มาราโดนา ไม่ส่ง โฮนาส กูเตียร์เรซ ลงเป็น แบ็กขวา?? เพราะลูกที่เสียประตูทั้งหมดมาจากแบ็กขวาทั้งนั้น!!....๐

“ ไม่ได้คิดแทน “กุนซือชื่อมาร์ค” แต่พอรู้ ที่ นายกรัฐมนตรีไทย เชียร์ โฮนาส กูเตียร์เรซ ขนาดนี้ เพราะ “แบ็กขวาอาร์เจนตินา” คนนี้ มาจาก “ทีมนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด” บ้านเกิดของ “มาร์ค” เองแหละ!! พรรคเพื่อไทยมีอะไรจะถามไถ่อีกมั้ย??....๐

ไปๆ มาๆ รายการ “63 ล้านความคิด” จากรายการ “สายด่วนปฏิรูปประเทศ” โทร.0-2304-9999 เกือบจะมี “ความคิดเดียวกันหมด” คนโทรมา 2 พันสาย รุมด่านายกรัฐมนตรี กันเปิดเปิง ทั้งที่ มาร์คอภิสิทธิ์ ลงทุนนั่งรับสายเอง ดีว่า...ลิ่วล้อช่วยกันหืดขึ้นคอ “คอยตัดสายที่รุมกันด่านาย” (ไม่ให้ระคายหู) แล้วหาว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง??......๐

ฉายา “จอมดื้อ” ก็ไม่เข็ดอยู่แล้ว?? มาร์ค เวชชาชีวะ ไปนั่งรับสายในการ 63 ล้านความคิด อีก!! ใครด่าได้ด่าไป นายกฯ ไทย คนที่ 27 ยึดมั่นการปรองดอง แต่ต้องเป็น “การปรองดอง” ตำรับ ศอฉ.?? ขนานเดียวเท่านั้น!!...๐

จึงไม่แปลก!! จนป่านนี้ นายกรัฐมนตรี ยังไม่ยักได้ยินเสียงประชาชนเป็นล้านๆ ที่ต้องการให้รัฐบาล ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินบ้างเลย!! ทั้งที่ทุกวันนี้ ไม่มีอะไรจะฉุกเฉิน และวุ่นวายแล้ว.....๐

สุรนันท์ เวชชาชีวะ พูดถึง “เวชชาชีวะ” อีกคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในเวลานี้ ในรายการ “THE COMMENTATOR” จาก VOICE TV ที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะรับฟังอย่างยิ่ง “กุหลาบพิษ” ติดตามฟัง แล้วเชื่อได้ว่า นั่นคือการทำหน้าที่ “สื่อที่ดี” ตรงไปตรงมา ของคนนามสกุลเดียวกัน .....๐

มติกรรมการสิทธิ จี้ให้ มาร์คสั่งเลิก พ.ร.ก. 2-4 กรกฎาคมที่ผ่านมา แต่ “เทพเทือก” ยื้อขอต่ออีก 1 เดือน ถ้ายื้อแล้วยัง “ไม่ไว้ใจสถานการณ์” ก็จะต่อเวลา พ.ร.ก.ต่อไป อีกนานเท่าไรยังไม่รู้? ใครจะทำไมท่าน ผอ.ศอฉ.ได้??.....๐

สุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะโต้โผ ศอฉ.พูดชัดถ้อย?? ทุกวันนี้ ยังสบายใจดี ใครจะโจมตีอะไรก็เชิญตามใจชอบ!! เพราะ มาตรา 17 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุ้มครอง ไม่ต้องรับผิด วินัย แพ่ง อาญา!! อ้าว!! นี่มัน “กฏหมายเผด็จการ” นี่ครับท่าน??.....๐

อีกคน?? อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันนั่งยัน!! ไม่กลัวการลอบสังหาร!! แต่ในอีกมุม ก็กอด พ.ร.ก.ไว้แน่น?? สั่งเจ้าหน้าที่ คุมเข้ม 68 จุด รวมทั้งที่บ้านสุขุมวิท(ก็ไม่ตกหล่น).....๐

คอลัมน์ บางกอกกอสซิบ“กุหลาบพิษ”
ที่มา.บางกอกทูเดย์

"ดร.นันทวัฒน์"วิพากษ์ ปฏิรูปประเทศไทยต้องยึดมั่นสิทธิเสรีภาพ ปฎิบัติมาตรฐานเดียว ควรปฏิรูปรัฐบาลด้วย

แล้วที่สุดเว็บไซต์กฎหมายมหาชน www.pub-law.net ได้กลับมาให้บริการอีกครั้ง ล่าสุดในบทบรรณาธิการที่เขียนโดย ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ ได้หยิบประเด็นเรื่องการปฎิรูปประเทศไทยมาวิพากษ์วิจารณ์ อย่างแหลมคม 

บรรณาธิการเว็บไซต์กฎหมายมหาชน เปิดประเด็นว่า "หลังจากที่ www.pub-law.net ของเรา “มีปัญหา” ไม่สามารถให้บริการในรูปแบบเดิมเป็นระยะเวลาเกือบ 2 เดือน ในวันนี้ เรากลับมาใหม่อย่างเต็มรูปแบบแล้ว และก็จะพยายามรักษาคุณภาพของเราไว้ให้ดีเช่นเดิมตลอดไปครับ "

@ประชาธิปไตยของไทยอยู่ในสภาวะลุ่มๆ ดอนๆ

ในบทบรรณาธิการครั้งที่ 163 ที่เผยแพร่ไปในระหว่างวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายนถึงวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2550 ผมได้เขียนถึง “75 ปีประชาธิปไตยไทย” เอาไว้ สรุปความได้ว่า แม้เวลาจะผ่านไปถึง 75 ปีแล้วก็ตาม แต่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยก็ยังอยู่ในสภาวะ “ลุ่มๆ ดอนๆ” เนื่องมาจากคนไทยยัง “ขาดความเข้าใจ” และ “ไม่คุ้นเคย” กับระบอบประชาธิปไตยที่ถูกคณะราษฎร “ยัดเยียด” ให้ในขณะนั้น การขาดความเข้าใจและความไม่คุ้นเคยกับระบอบประชาธิปไตยจึงอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ตามความเข้าใจของผมนั้น การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ขาดการเตรียมพร้อมในส่วนที่สำคัญไปส่วนหนึ่งคือ “การสร้างแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย” ให้กับประชาชน จริงอยู่ที่แม้มาตรา 10 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกคือฉบับลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ที่บัญญัติไว้ว่า “เมื่อจำนวนราษฎรทั่วพระราชอาณาเขตต์ได้สอบไล่วิชชาปถมศึกษาได้เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่งและอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น...”

มุ่งหวังที่จะให้คนไทยมีการศึกษาที่สูงขึ้นภายใน 10 ปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อที่จะยกระดับความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยให้ดีขึ้น แต่การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2519 กลับตอกย้ำให้เห็นว่า แม้เวลาผ่านไปกว่า 40 ปี คนไทยก็ยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย โดยคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้กล่าวถึงการขาดความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ว่า

“…แต่เท่าที่ผ่านมาสี่สิบปีเศษ การปกครองในระบอบนี้ก็ยังไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของประชาชนเพราะมิได้มีโครงสร้างที่จะต้องพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับพุทธศักราช 2517 มีอุปสรรคขัดข้องจนไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปโดยเรียบร้อยได้ ทั้งตัวบุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามีส่วนมีเสียงในการปกครองประเทศก็มิได้เคารพต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้นด้วยประการต่าง ๆ และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของชาติบ้านเมือง เป็นเหตุให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา และมีท่าทีว่าชาติบ้านเมืองจะถึงซึ่งความวิบัติ จึงเป็นการจำเป็นที่จะต้องกอบกู้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วยการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินให้เหมาะสม โดยจัดให้มีการพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนไปตามลำดับ”

@แผนพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 12 ปี

ดังนั้นจึงมีการกำหนดระยะเวลาในการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ยาวนานถึง 12 ปีคือ

“ในระยะสี่ปีแรกเป็นระยะฟื้นฟูเสถียรภาพของประเทศทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ในระยะนี้สมควรให้ราษฎรมีส่วนในการบริหารราชการแผ่นดินโดยทางสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งมีสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะเดียวกันก็จะเร่งเร้าให้ประชาชนเกิดความสนใจและตระหนักในหน้าที่ของตน

ในระยะสี่ปีที่สอง สมควรเป็นระยะที่ให้ราษฎรมีส่วนในการบริหารราชการแผ่นดินมากขึ้น โดยจัดให้มีรัฐสภาอันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้ง ทั้งสองสภานี้จะมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินเท่าเทียมกัน

ในระยะสี่ปีที่สาม สมควรขยายอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรให้มากขึ้น และลดอำนาจของวุฒิสภาลงเท่าที่จะทำได้ ต่อจากนั้นไปถ้าราษฎรตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีต่อชาติบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตยดีแล้ว ก็อาจยกเลิกวุฒิสภาให้เหลือแต่สภาผู้แทนราษฎร”

@ ผ่านไป 78 ปี ไปไม่ไกลจาก 2475 เท่าไรนัก ?

ปัจจุบัน แม้เวลาจะผ่านไป 78 ปีแล้วก็ตาม แต่สภาพความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยของเราก็ยังไปไม่ไกลจากปี พ.ศ. 2475 เท่าไรนักทั้ง ๆ ที่ “จำนวนราษฎรทั่วพระราชอาณาเขตต์ได้สอบไล่วิชชาปถมศึกษาได้เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่ง” ไปตั้งนานแล้ว ผมเคยตั้งคำถามกับตัวเองหลายครั้งว่าทำไมเราจึงไม่ “ยอมรับ” และไม่ “ยอมเข้าใจ” การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในแบบที่ประเทศต่าง ๆ เขายอมรับกันแต่ก็ไม่เคยได้คำตอบจากตัวเองสักทีครับ

ลองมองดูสังคมไทยที่เราพูดกันอยู่บ่อยครั้งว่าเป็นสังคมของประชาธิปไตย เป็นสังคมที่เป็นนิติรัฐ กันบ้างว่า สังคมที่ว่านี้มีพัฒนาการมาอย่างไรในรอบ 78 ปีที่ผ่านมา คงพอมองเห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้นอย่างชัดเจนที่สุดก็คือ ชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น เดิมในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกเหนือไปจากกษัตริย์และราชวงศ์แล้ว “ขุนนาง” เป็นกลุ่มบุคคลที่มีสถานะทางสังคมและมีบทบาทสำคัญในการปกครองประเทศ

แต่ต่อมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทหารเข้ามามีบทบาทสูงเพราะเป็น “ผู้สนับสนุน” คณะราษฎรให้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนสำเร็จ จากนั้นก็เกิดนักการเมืองขึ้น ในเวลาต่อมา ทหาร ข้าราชการ นักการเมืองและนักธุรกิจก็กลายเป็นกลุ่มใหม่ที่ผลัดกันเข้ามามีอำนาจ มีอิทธิพลและมีบทบาทในการปกครองประเทศ การปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งเกิดจากนักการเมืองมีปัญหากับข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง “ผลประโยชน์” ทหารซึ่งเข้าใจว่าตนเองเป็น “ผู้พิทักษ์ประเทศไทย” ก็เข้ามา “แก้ไข” ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปกครองประเทศด้วยการปฏิวัติรัฐประหาร

@ ทหารเองก็ “ติดกับ” วังวนเรื่องผลประโยชน์

ซึ่งต่อมาทหารเองก็ “ติดกับ” วังวนเรื่องผลประโยชน์ สังเกตได้จากการยึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นทหารและมาจากการรัฐประหาร 2 คน ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะ สามารถหาอ่านได้ตามหนังสือต่าง ๆ มากมาย เป็นข้อมูลที่ทำให้เราได้ทราบว่า ไม่มีใคร “จริงใจ” กับประเทศเราเท่าไรนัก ใครที่เข้ามามีอำนาจก็จ้องที่จะ “ฉกฉวย” ผลประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น ต่อมาในระยะหลังก็มีคนกลุ่มใหม่เกิดขึ้นอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มที่มองการณ์ไกลมากและเป็นกลุ่มที่ “ได้ประโยชน์” จากการ “สนับสนุน” ทหาร ข้าราชการและนักการเมืองให้เข้าสู่อำนาจ คนกลุ่มใหม่นี้สามารถเปลี่ยนฐานะของตนได้อย่างรวดเร็วมากจนไม่น่าเชื่อว่า ภายในชั่วอายุคนทุกอย่างเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ มีชื่อเสียง เกียรติยศ ความร่ำรวยและสถานะทางสังคม

ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมาจึงเกิด “เศรษฐีใหม่” ขึ้นในสังคมจำนวนมาก และหากศึกษาให้ลึกไปกว่านั้นก็จะพบว่า เศรษฐีใหม่เหล่านี้เกิดขึ้นทุกวัน เพราะเศรษฐีใหม่ “รุ่นเก่า” เป็นตัวอย่างให้คนจำนวนหนึ่งเห็นว่า หากเรา “เลือก” ที่จะให้การ “สนับสนุน” คนที่ถูกต้อง คน ๆ นั้นก็จะนำมาซึ่ง ชื่อเสียง เกียรติยศ ความร่ำรวยและสถานะทางสังคมในวันข้างหน้า ด้วยเหตุนี้เองที่ในปัจจุบัน หากเราเข้าไปในสถานที่ ๆ ประกอบด้วยคนเหล่านี้ เราก็จะรู้สึกคล้าย ๆ กันก็คือ หลุดไปอยู่อีกภพหนึ่ง เป็นภพของคนที่ “มีอำนาจ” เป็นภพที่ทุกคนดูดี แต่งตัวดี ใช้ของดี ๆ ขับรถดี ๆ โดยไม่มีใครสักคนสงสัยว่า “ทรัพย์สินนี้ท่านได้แต่ใดมา”

@ ชาวบ้านเป็นแค่ "เครื่องมือ" ของเศรษฐีใหม่

ในขณะที่สังคมเมืองหลวงเต็มไปด้วยเศรษฐีใหม่และคนกลุ่มใหม่ที่เข้ามากุมอำนาจ คนในชนบทก็ยังคงย่ำอยู่กับที่ คนจนก็ยังคงจนอยู่ ที่ดีขึ้นมาหน่อยก็คือคนชนบทซึ่งมีฐานะดีที่ต่างก็พากันขยับตัวขึ้นมาเป็นนักการเมืองท้องถิ่นเพื่อที่จะสร้างฐานอำนาจเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ความเป็นนักการเมืองระดับชาติในวันข้างหน้า ส่วนชาวบ้านก็เป็นเพียง “เครื่องมือ” ที่จะทำให้คนเหล่านี้ประสบความสำเร็จดังที่ได้วางแผนเอาไว้

78 ปีที่ผ่านมาเกิดช่องว่างระหว่างคนกรุงเทพฯ และคนชนบทมาก แม้การสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยจะยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันการทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยนักการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ด้วยวิธีการที่จะทำให้ตัวเองชนะเลือกตั้งได้เข้าสู่ตำแหน่ง การซื้อสิทธิขายเสียงจึงเกิดขึ้นและขยายตัวออกไปเป็นวงกว้าง เมื่อเกิดปัญหาจากนักการเมือง คนชนบทก็จะถูก “ลงโทษ” ว่าเพราะการขายเสียงจึงทำให้นักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบโดยผู้ลงโทษมิได้มองย้อนกลับไปดูเลยว่าผู้ที่ใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องนั้นต่างหากที่เป็นผู้สร้างวัฒนธรรมที่ผิด ๆ ให้กับคนชนบท

จะว่าไปแล้ว คนชนบทบ้านเรามีความเป็น “ผู้ดี” อยู่มาก ถูกต่อว่า ถูกกล่าวหามาตลอดระยะเวลา 30-40 ปีก็เงียบไม่มีปากไม่มีเสียง ก้มหน้าก้มตาประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวต่อไปอย่างปกติ ด้วยอุปนิสัยนี้เองที่ทำให้คนกลุ่มที่มีอำนาจย่ามใจ ละเลยไม่ให้ความสำคัญกับคนชนบท ช่องว่างระหว่างชนชั้นจึงเกิดขึ้นและขยายออกไปมากขึ้น เมื่อเกิดกรณี “เสื้อแดง” ขึ้นในประเทศไทย จึงทำให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤติอีกครั้งหนึ่ง

@ วิกฤติประเทศที่เกิดขึ้น มาจาก “เสื้อแดง” ?

ผมได้ยินข่าวของการแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศที่เกิดขึ้นจากกรณี “เสื้อแดง” แล้วก็ยังไม่มีความชัดเจนนักว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ทราบแต่เพียงว่าเราจะ “ปฏิรูปประเทศไทย” กันอีกแล้วแต่ก็ไม่ทราบว่า “จะปฏิรูปกันอย่างไร” ครับ จะเหมือนหรือแตกต่างไปจาก “การปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2511 ที่ได้นำเสนอไปแล้วข้างต้นหรือไม่ อย่างไร เพราะถ้าเหมือนหรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน ก็เป็นที่น่าเสียใจมากว่า 40 ปีเศษที่ผ่านมา เราไม่ได้มีพัฒนาการในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเลยครับ!!!

ในความเห็นผมนั้น การปฏิรูปประเทศไทยที่ถูกต้องและควรเป็นคงไม่ใช่การปฏิรูปประเทศไทยด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือด้วยการหาทางปรองดอง แต่การปฏิรูปประเทศไทยควรเริ่มต้นจากการทำให้สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไทยทุกคนอยู่ในสภาพที่เท่าเทียมก่อน

หากเรามองย้อนไปในอดีตทั้งของประเทศไทยและของหลาย ๆ ประเทศ ความวุ่นวายในประเทศส่วนหนึ่งเกิดจากการแบ่งชนชั้นที่ชัดเจนและเกิดการเปรียบเทียบ การเอารัดเอาเปรียบระหว่างชนชั้น หากสภาพสังคมไทยเป็นไปดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ก็คงต้องเริ่มจากการทำให้ตัวแทนประชาชนทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นรู้บทบาท หน้าที่และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งที่ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน

ต่อมา คงต้องทำการ “ปล่อย” คนชนบทหลังจากที่สภาพสังคมของเรา “กด” คนเหล่านี้ไว้เสียนาน ต้องเพิ่มพื้นที่ของการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศให้กับคนชนบทให้มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ต้องเรียนรู้ที่จะ “ดูแล” คนจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันด้วย โดยมีจุดสำคัญคือ ต้องทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นปกติ มิเช่นนั้นก็จะเหมือนทุก ๆ ครั้งที่มีปัญหาขึ้นในประเทศที่ผู้มีอำนาจพยายามหาทาง “แก้ปัญหาเฉพาะหน้า” ให้จบไปอย่างรวดเร็ว แต่ไม่นาน ปัญหาเหล่านั้นก็วนกลับมาอีกเพราะไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขอย่างถาวร ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา “ความเหลื่อมล้ำในสังคม” ที่เกี่ยวกับเรื่องการศึกษา การสาธารณสุข การเกษตร การค้าขาย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

@สองมาตรฐานแพร่หลายออกไปไกลมากเกินกว่าที่จะหยุดยั้งได้แล้ว

ส่วนเรื่องสองมาตรฐานที่กล่าวอ้างอยู่เสมอ ๆ นั้นควรเป็น “จุดเริ่มต้น” ที่สำคัญของระบบราชการของไทยที่ทุกหน่วยงานควรที่จะต้องนำกลับไปทบทวนดูว่า จะหาทางแก้ไขเรื่องดังกล่าวอย่างไร วันนี้ คำว่าสองมาตรฐานแพร่หลายออกไปไกลมากเกินกว่าที่จะหยุดยั้งได้แล้ว การแก้ไขคงไม่สามารถทำได้ด้วย “การปรองดอง” แต่จะต้องมีคำตอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่า กรณีที่ถูกกล่าวหาว่าสองมาตรฐานนั้นอยู่ในระหว่างการดำเนินการอย่างไร มีขั้นตอนที่จะต้องทำต่อไปอย่างไร ใช้เวลาเท่าไร และจะจบเมื่อใด และทำไมถึงได้ถูกนำมากล่าวหาว่าสองมาตรฐาน เรื่องสองมาตรฐานนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะทำให้ข้อขัดแย้งในสังคมลดน้อยลงครับ

การปฏิรูปประเทศไทยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องทำก็คือปฏิรูปความคิดของนักการเมืองและพรรคการเมืองเพื่อให้คนเหล่านี้เข้ามาทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง หยุดละโมบทั้งอำนาจ ทรัพย์สินเงินทอง เข้าใจถึงภารกิจและหน้าที่ที่ถูกต้องของตน หากนักการเมืองดี ประเทศชาติและประชาชนก็ดีตามไปด้วย หากนักการเมืองให้ความสนใจกับประชาชนทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง ช่วยกันผลิตกฎหมายออกมาเพื่อดูแลคุ้มครองคนชนบทให้มากขึ้น วันหนึ่งความเหลื่อมล้ำในสังคมก็จะหมดลงไปเช่นเดียวกันครับ

การปฏิรูปประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553 จึงต้องเป็นการปฏิรูปเพื่อตอบโจทย์ที่สำคัญคือ การทำให้คนไทยทุกคนมีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน ได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองครับ

@ ต้อง “ปฏิรูปรัฐบาล” ไปพร้อม ๆ กันด้วย

การปฏิรูปประเทศไทยจึงไม่ใช่การตั้งคณะกรรมการหรือสมัชชาใด ๆ ขึ้นมาทั้งนั้น แต่การปฏิรูปประเทศคือการ “สั่งการ” ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดมั่นในสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการปฏิรูปอีกองค์กรหนึ่งที่ผมยังไม่ได้ยิน “เสียง” ใด ๆ จากผู้มีอำนาจในขณะนี้กล่าวถึงเลยคือ ต้อง “ปฏิรูปรัฐบาล” ไปพร้อม ๆ กันด้วย ผู้ที่ไม่มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่ง ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่โปร่งใส คนเหล่านี้ต้องถูก “ปฏิรูป” ออกไป เหลือไว้แต่คนดี มีความรู้ความสามารถตรงกับงานที่ตนเองรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต และนึกถึงประเทศชาติเป็นหลัก
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

จับ..ชีพจรประเทศ หลังศึกเลือกตั้งซ่อม

ค่อนข้างฮือฮาพอสมควร สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทยอย่าง ตรงไปตรงมา “ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์” อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สะท้อนแง่มุมผ่านเวทีราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 8 หัวข้อ “แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง” ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชน แห่งประเทศไทย

> ประชาธิปไตยไทยถึงทางตัน

อันมีเนื้อหาใจความพาดพิงไปถึง รัฐบาล ศอฉ. และคนเสื้อแดง ซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งสำคัญที่นำพา ประเทศมาสู่จุดวังเวง ถอดความอย่างกระชับจาก มุมมองของอาจารย์ท่านนี้ตลอดกว่า 1 ชั่วโมง สรุปได้ว่า

“ขณะนี้ประชาธิปไตยกำลังถึงทางตัน จาก 1 ปี หลังสงกรานต์เลือด แสดงให้เห็นว่า มีการล้มเหลว การใช้สมานฉันท์ ไม่สามารถ เกิดการสมานฉันท์ได้ และหากเลือกตั้งจะไม่ สามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากกลไกมาตรการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ศอฉ. จะยังคงอยู่ ต่อไป นอกจากนั้น ยังเกิดประชาธิปไตยไทย มีความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่มากขึ้น ซึ่งแม้ไม่ใช่รัฐประหารแต่ถ้ามีการอิงกันไปด้วยดี ระหว่างรัฐบาลกับทหาร จะเป็นปรากฏการณ์ ความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่ เป็นเผด็จการพลเรือน เลื่อนขั้น”

“ส่วนการแก้ไขนั้นควรที่จะต้องปล่อยนักการเมืองที่ถูกห้ามเล่นการเมืองเข้ามา ไม่เช่นนั้นกลุ่มเสื้อแดงจะไม่มีทางเลือกใหม่ มีเพียงนักการเมืองกลุ่มเก่า สนามการเลือกตั้งก็ไม่เข้มข้นสิ่งที่น่าเป็น ห่วง จะเกิดสภาวการณ์จะเป็นไข่กับไก่มากขึ้น เหตุการณ์จะคงอยู่ต่อไป เป็นภาวะงูกินหาง ศอฉ.จะกลายเป็นอำนาจนิยม ไม่เลิกโดยง่าย แม้กระทั่งกองทัพที่เข้ามาจะไม่ถอย และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะยังขยายไปเรื่อย ซึ่งความเป็นจริงนั้น ไม่ควรจะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะไปละเมิดความเป็นพลเมืองของประเทศไทย และสร้างเป็นความรู้สึกที่ไม่ดี ในความรู้สึกของความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง”

> กลไกเลือกตั้งใหญ่เกิดยาก

“ประชาธิปไตยไทยถึงทางตัน สังเกตได้ว่าทางตันไม่ต้องการเข้าสู่การเลือกตั้งเร็ว คิดว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์อาจอยู่เกือบครบเทอม เพราะผู้สนับสนุนของ รัฐบาลไม่ต้องการให้เลือกตั้ง เร็วๆ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ไม่สามารถทำให้ปรองดองกันได้ อย่างไรก็ตาม ยังมองว่า ถ้าตัว ต่อตัว ประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยยังสูสี ดีไม่ดีอาจแพ้ เพราะเป็นพรรคร่วม เลือกตั้งเป็นทีม พรรคเพื่อไทยกึ่งโดดเดี่ยว อาจชนะได้ นี่คือแผนที่ปฏิบัติอยู่ พยายามจะผลักดันงบประมาณออกมา มีการเยียวยา อัดฉีด มีการเด็ดหัว สูบเลือดท่อน้ำเลี้ยงออก กดแกนนำ กวาดล้างฮาร์ดคอร์บ้าง ขู่บ้าง หวังว่าขบวนการเสื้อแดงอ่อนกำลัง ลง ดีไม่ดีหากมีการเยียวยา เพียงพอ คิดว่าจะทำให้เลือกตั้งเร็วไม่ได้ เขาจะต้องใช้เวลาให้มาก ที่สุด”

จับจากนัยที่ ส่งสัญญาณออกมาจากนักวิชาการท่านนี้ ล้วนบ่งบอกถึงแผน ที่ทางการเมือง ซึ่งยากที่ประ เทศไทยจะคลำทางไปสู่ประชาธิปไตยอันมาจากการเลือกตั้งได้โดยง่าย กระนั้นก็ตาม แม้บ้านเมืองนี้ ยังไม่สามารถปักหมุดการคืนอำนาจให้กับประชาชนอย่างชัดเจน

กลับปรากฏหลักกิโลเมตรแรกแห่ง เทศกาลเข้าคูหา พลันที่ “ทิวา เงินยวง” ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ต้องเสียชีวิตลง ในช่วงหลังการกระชับพื้นที่ราชประสงค์ เพียงไม่กี่วัน กระทั่ง นำไปสู่สมรภูมิยกที่ 3 ระหว่าง ฝ่ายรัฐบาลกับคนเสื้อแดง ก่อนจะนำมาซึ่งปรากฎการณ์สำคัญเชิงสัญลักษณ์

พลันที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจส่งผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายอย่าง “ก่อแก้ว พิกุลทอง” แกนนำ นปช. ลงชิงชัยในเก้าอี้ที่ว่างกับ “พนิช วิกิตเศรษฐ์” ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่เผอิญเกิดขึ้นใกล้เคียงกับสถานการณ์ร้อนทางการเมือง

“ทิวา เงินยวง” ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ต้องเสียชีวิตลง ในช่วงหลังการกระชับพื้นที่ราชประสงค์เพียงไม่กี่วัน กระทั่งนำไปสู่สมรภูมิยกที่ 3 ระหว่าง ฝ่ายรัฐบาลกับคนเสื้อแดง ก่อนจะนำมาซึ่ง ปรากฏการณ์สำคัญเชิงสัญลักษณ์

พลันที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจส่งผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายอย่าง “ก่อแก้ว พิกุลทอง” แกนนำ นปช. ลงชิงชัยในเก้าอี้ ที่ว่างกับ “พนิช วิกิตเศรษฐ์” ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ ที่เผอิญเกิดขึ้นใกล้เคียงกับสถานการณ์ร้อนทางการเมือง อาทิ เหตุการบึ้มพรรคภูมิใจไทย รวมไปถึงการยิงถล่มคลังน้ำมัน ที่มีผ้ายันต์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แปะไว้อย่างอุกอาจ นักวิเคราะห์ทางการเมือง จึงเห็นไปในทิศทาง เดียวกันว่า การเลือกตั้งซ่อมเขต 6 คลองสามวา กทม. จะถือเป็นจุดหักเหทางการเมืองครั้งสำคัญอีกจุดหนึ่ง

ศึกวัดโมเมนตัมคะแนนนิยม

อย่างไรก็ตาม “อัษฎางค์ ปาณิกบุตร” นักวิชาการอิสระ ได้วิเคราะห์สถานการณ์ประเทศหลังการเลือกตั้งซ่อม ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง

“ผมมองว่า ไม่ว่าใครจะชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ ก็ไม่น่ามีอะไรส่งผลต่อทิศทางของประเทศไทย เพราะเป็นแค่การ เลือกตั้งเสียงเดียว ย่อมไม่ส่งผลใดๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการพิสูจน์ว่า ฝ่ายที่ได้เปรียบทุกด้าน ไม่ว่าจะ เป็นการถืออำนาจรัฐในมือ เป็นฐานเสียงเก่า มีเครือข่ายค่อนข้างมาก และสามารถ หาเสียงได้โดยไม่ต้องหวั่น พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะสามารถชนะฝ่ายที่เสียเปรียบทุกด้านได้หรือไม่”

“หากเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ หรือชนะ แบบไม่ขาดลอย ก็จะเป็นเครื่องชี้อะไร หลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องฐานเสียงที่ควรได้ แต่กลับไปเทให้ฝ่ายตรง ข้าม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนในพื้นที่มอง ว่า ที่ผ่านมารัฐบาลดำเนินนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด และเป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยควรใช้ข้อนี้ในการหาเสียง ดีกว่าใช้ประเด็นหลัก หาเสียงโดยอิงเรื่องการสลายการชุมนุมหรือสองมาตรฐาน เพราะอาจไปเข้าข่ายผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และจะทำให้ได้เสียงชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น”

“การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นแค่เสียง เดียว ไม่อาจเป็นตัวชี้วัดหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่สามารถบอกอะไรได้ หลายอย่างเพื่อให้สานต่ออะไรหลายๆ อย่างได้ ภาพจะสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนว่าคนในพื้นที่นี้ ส่วนใหญ่อยู่ฝ่ายใด หากเพื่อไทยแพ้ขาดลอย ก็ต้องไปดูว่าตัวเองตกต่ำหรือไม่ ซึ่งครั้งนี้เป็นการชี้วัดคะแนนนิยมคนเสื้อแดงส่วนหนึ่ง เพราะเขตนั้นเป็นเขตที่มีคนมีฐานะดีค่อนข้างน้อย ส่วนจะลงคะแนนให้คนเสื้อแดงหรือไม่อย่างไร ก็อีกเรื่องหนึ่ง”

> แค่แผนนักการเมือง หาความชอบธรรม

ในขณะเดียวกัน “สมคิด เลิศไพฑูรย์” รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มองไปในทิศทางเดียวกันกับ “อัษฎางค์ ปาณิกบุตร” นอกจาก

“การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่น่ามีผลอะไรไม่ว่าใครเป็นฝ่ายชนะ แต่จะเป็นการพิสูจน์ ว่า คนในพื้นที่นั้น ชอบใครมากกว่ากันระหว่างประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นรัฐบาลกับ เพื่อไทย ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนคนเสื้อแดง ถ้าดูการเลือกตั้งที่ผ่านมา ทั้งสองพรรคต่างมีฐานเสียงใน กทม.ในพื้นที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่มีผลอะไรต่อความเคลื่อนไหว ใดๆ ทางการเมือง”

“อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายพยายามพิสูจน์ว่าถ้าเพื่อไทยชนะ การปราบปรามที่ผ่านมาก็เหมือนกับการทำบกพร่องผิดพลาด แต่หากประชาธิปัตย์ชนะ ก็จะพิสูจน์ว่าสิ่งที่ทำมาทั้งหมดถูกต้อง แล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการพิสูจน์แบบนี้ ในขณะที่คนก็พูดไปในทำนองนี้ แต่ผลมันไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลย ส่วนเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะยกเว้นในบางพื้นที่ให้หา เสียงได้ แต่ก็จะมีเงื่อนไขบางอย่าง เช่น อาจต้องหาเสียงในลักษณะไม่กระทบต่อฝ่ายตรงข้ามหรืออื่นๆ ซึ่งกรอบกว้างมาก”

> คดียุบพรรคจุดเปลี่ยนการเมืองไทย

สุดท้าย “สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์” อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์ (นิด้า) ได้แสดงมุมมองในกรณีเดียวกันไว้ได้น่าสนใจไม่แพ้กัน

“การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกคน เดียว ผลกระทบหรืออะไรจึงค่อนข้างน้อย แต่ประเด็นที่จะส่งผลกระทบมากกว่าเรื่อง การเลือกตั้งครั้งนี้คือคดียุบพรรค ซึ่งหาก มีการยุบพรรคขึ้นมา ประชาธิปัตย์ก็จะได้ รับผลกระทบมาก จนไม่สามารถบริหารประเทศต่อไปได้ ถึงแม้จะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่ก็จะกระทบกับเสถียรภาพของรัฐบาลอยู่ดี”

“ไม่ว่าจะพรรคไหนได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้ ก็จะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศ หากประชาธิปัตย์ได้ก็ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะกระแสในกรุงเทพฯ และด้วยความเป็นรัฐบาลย่อมได้เปรียบอยู่แล้ว ซึ่งก็จะทำให้ประชาธิปัตย์มีความเชื่อมั่นมากขึ้น และเป็นประ โยชน์ต่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป แต่หากเพื่อไทยได้ ในแง่ขวัญกำลังใจก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีกำลังใจในการ เตรียมตัวเลือกตั้งครั้งใหม่ดีขึ้น เพราะมีฐานเสียงในภาคเหนือและอีสานอยู่แล้ว หากได้พื้นที่ในกรุงเทพฯ ด้วยก็จะเป็นผลดีต่อพรรคในอนาคต นอก จากนี้ยังจะแสดงให้เห็นว่า แม้จะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนสนับสนุนในการก่อการร้ายที่ผ่านมา แต่ประชาชนก็ยังสนับสนุนอยู่”

> สมานฉันท์สร้างอนาคตประเทศ

“อย่างไรก็ตาม แม้การเลือกตั้ง ส.ข.ที่ผ่านมา ประชาธิปัตย์จะชนะการ เลือกตั้งแบบขาดลอยในเกือบทุกเขต แต่ต้องไม่ลืมว่าการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นกับระดับชาติมันต่างกัน ส่วนเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่น่าจะกระทบกับการเลือกตั้ง เนื่องจากทางรัฐบาลก็มีความ มั่นใจเช่นนี้ ประกอบกับในภาคใต้ที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็สามารถ เลือกตั้งผ่านมาได้ทุกครั้ง เพราะฉะนั้น อาจมีการใช้กรณีภาคใต้เป็นต้นแบบในการเลือกตั้งครั้งนี้”

นอกจากนี้ อธิการบดีนิด้า ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างมีข้อคิดว่า “ในยามที่บ้านเมืองเป็นแบบนี้ เราต้องไม่เป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมืองใดๆ พี่น้องประชาชนควรสนับสนุนแนวทางที่สร้างความสมานสามัคคีมากกว่าความเป็นเอกภาพเท่านั้น จึงจะทำให้ประเทศมีอนาคต”

ที่มา.สยามธุรกิจ

วิเคราะห์ปัญหาเรื่องสัญชาติ กรณีการขอตัว "พ.ต.ท.ทักษิณ"เป็นผู้ร้ายข้ามแดน

โดย ... วิชัย ศรีรัตน์
ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ดูเหมือนว่าปัญหา "สัญชาติ" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลายเป็นประเด็นปัญหากฎหมายที่ "ชี้เป็นชี้ตาย" ในเรื่องว่าจะนำ พ.ต.ท.ทักษิณมาดำเนินคดีอาญาหรือไม่

บทความนี้ผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นว่าเรากำลังหลงประเด็น สามเรื่องใหญ่ๆ

หนึ่ง การเข้าใจว่าการที่ พ.ต.ท.ไม่มีสัญชาติไทยแล้วทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจพิจารณาคดี

สอง การเข้าใจว่า "ประเด็นสัญชาติ" เป็นประเด็นหลักในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งจริงๆ มิใช่ทั้งหมด

สาม เข้าใจว่าถ้าไม่มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณจะไม่ถูกไต่สวนความผิด

และไม่ต้องรับผิดใดๆ "ถ้า" เขาทำผิด

ความเสียหายเกิดในไทย : ทักษิณจะมีสัญชาติไทยหรือไม่-ไม่ใช่ปัญหา

ประเทศไทยมีอธิปไตยทางศาลมาร้อยกว่าปี การที่บุคคลหนึ่ง (ไม่ว่าจะสัญชาติใดๆ) กระทำความผิดในดินแดนไทย หรือทำความผิดต่อประเทศไทย ศาลไทยย่อมมีอำนาจในการพิพากษาลงโทษต่อบุคคลนั้น

ถ้าเราไปพิจารณาเงื่อนไขสัญชาติก่อน กล่าวคือ ให้ศาลของรัฐผู้ที่บุคคลนั้นมีสัญชาติพิจารณาความผิด (ที่ทำลงในประเทศไทย) เท่ากับว่าเราถอยหลังไปใช้หลักสิทธิสภาพนอกอาณาเขตซึ่งไม่มีประเทศไหนใช้หลักนี้แล้ว

กรณีเช่น คดี ป เป็ด ยืนยันได้เป็นอย่างดี ป เป็ด ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยแต่ทำความผิดในอเมริกา ถือว่ารัฐอเมริกันเสียหาย ศาลอเมริกาย่อมมีอำนาจพิจารณาลงโทษ ป เป็ด โดยไม่ต้องคำนึงว่า ป เป็ด มีกี่สัญชาติ

ดังนั้น ในกรณีนี้ การที่เรากลับไปพิจารณาว่าบุคคลนั้นมีสัญชาติไทย หรือเสียสัญชาติไทย หรือมีกี่สัญชาติ จึง "ผิดประเด็น และไม่มีประโยชน์ใดๆ"

แต่ประเด็นที่ควรพิจารณาอยู่ที่ว่า (1) ประเทศไทย (รัฐ หรือบุคคล) ได้รับความเสียหายหรือไม่ หรือ (2) ความผิดนั้นกระทำลงในแผ่นดินไทยหรือไม่ หรือ (3) เป็นความผิดสากลหรือไม่

ดังนั้น ถ้าเข้าอย่างหนึ่งอย่างใดในสามข้อข้างต้น ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดี "ส่วนทักษิณจะมีกี่สัญชาติ ไม่ใช่ปัญหา"

ประเด็นจึงมีเพียงว่า จะนำตัวมาขึ้นศาลได้อย่างไร เพราะเขาอยู่ในอธิปไตยของอีกประเทศ เราจะบุกไปจับตัวมาขึ้นศาลไทยไม่ได้ เมื่อไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะให้มอนเตเนโกรส่งตัวให้เฉยๆ ก็ไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นศักดิ์ศรีของรัฐที่จะไม่ทำคำบงการของรัฐอื่น

ดังนั้น ทางปฏิบัติจึงมีหลักถ้อยที่ถ้อยอาศัย "เราจะส่งให้ท่าน ถ้าท่านจะส่งให้เรา" (ซึ่งปัจจุบันหลักนี้ได้แปลงมาเป็นข้อสัญญาหมดแล้ว)

สัญชาติมอนเตเนโกรหรือไม่ : ปัญหาของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

คดีนี้ อัยการคงไม่ต้องเสียเวลากับการหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์สัญชาติไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่น่าจะใช้เวลาในการหาข้อมูลว่าทักษิณ "มีสัญชาติมอนเตเนโกรหรือไม่" เนื่องจากรัฐธรรมนูญมอนเตเนโกร มาตรา 12 บัญญัติว่า

"พลเมืองมอนเตเนโกร (Montenegrin citizen) จะไม่ถูกขับไล่ออกนอกประเทศหรือถูกส่งตัวฐานะผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศใด เว้นแต่จะเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ"

ประเด็นนี้ต่างจากการพิจารณาเรื่อง "การมีหรือเสียสัญชาติไทย" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะเป็นประเด็นกฎหมายเรื่อง "การส่งผู้ร้ายข้ามแดน" (ไม่ใช่ประเด็นอำนาจศาลไทยในการพิจารณาคดีอาญา)

นั่นก็คือ รัฐบาลไทยต้องต่อสู้ให้ได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ "ไม่ได้เป็นพลเมืองมอนเตเนโกร" ดังนั้น สิ่งที่อัยการไทยต้องทำคือ พิสูจน์สัญชาติมอนเตเนโกรของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะถ้ารัฐบาลไทยพิสูจน์ได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มีสัญชาติมอนเตเนโกร เขาก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ

นั่นคือ มอนเตเนโกรสามารถที่จะส่งตัวให้รัฐอื่นได้ เนื่องจากเขาไม่เป็นพลเมือง (ส่วนข้ออ้างไม่ส่งเนื่องจากสาเหตุด้านสิทธิมนุษยชนก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง)

สัญชาติมอนเตเนโกร : บนความคลุมเครือ

สัญชาติมอนเตเนโกรของทักษิณ มีความคลุมเครืออยู่พอสมควร ทั้งในแง่ข้อเท็จจริงและแง่กฎหมาย

ในเรื่องข้อเท็จ ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปใด ว่าทักษิณได้สัญชาติมอนเตเนโกรหรือยัง เพราะมีเพียงคำอ้างของรัฐมนตรีว่าการการต่างประเทศมอนเตเนโกรออกมาชี้แจงผ่านสื่อว่าทักษิณเป็นพลเมืองของมอนเตเนโกร ซึ่งเป็นแต่เพียงข้อมูลจาก "แหล่งข่าว"

ซึ่งเราจะได้ข้อสรุปข้อเท็จจริงก็ต่อเมื่อรัฐบาลมอนเตเนโกรได้ทำจดหมายแจ้งอย่างเป็นทางการต่อรัฐบาลไทยหรือองค์การตำรวจสากลว่าจะไม่ส่งตัวให้ เนื่องจากทักษิณเป็น "พลเมือง" และการส่งพลเมืองขัดรัฐธรรมนูญมอนเตเนโกร (จนถึงวันที่เขียนบทความนี้ ผู้เขียนไม่ทราบว่ากระทรวงการต่างประเทศได้รับการปฏิเสธหรือยัง)

ในเรื่องข้อกฎหมาย จากการพิจารณากฎหมายสัญชาติมอนเตเนโกร พบว่ายังมีความคลางแคลงใจในประเด็นนี้ กล่าวคือ ตาม "รัฐบัญญัติแห่งมอนเตเนโกรว่าด้วยสัญชาติ" ค.ศ.1999 (montenegro Citizenship Law, Decree No. 01-1982/2) มาตรา 2 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการได้สัญชาติมอนเตเนโกรไว้ 4 กรณี คือ

(1) โดยสายเลือด (พ่อหรือแม่เป็นคนมอนเต)

หรือ (2) โดยการเกิดในดินแดนของมอนเตเนโกร

หรือ (3) โดยการจดทะเบียน (โดยการขอสัญชาติ)

หรือ (4) โดยสนธิสัญญาพันธไมตรี

จะเห็นได้ว่าข้ออื่นๆ คงไม่เข้าเงื่อนไขกรณีสัญชาติมอนเตเนโกรของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ข้อที่น่าพิจารณาคือ ข้อ (3) อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 9 รัฐบัญญัติฉบับนี้เองได้ตั้งเงื่อนไขด้านระยะเวลาในกรณีการได้สัญชาติโดยการจดทะเบียน ซึ่งมีสาระสำคัญว่า

"การได้สัญชาติโดยการจดทะเบียนนั้น บุคคลนั้นจะต้องมีอายุกว่า 18 ปี และพำนักอยู่ในดินแดนมอนเตเนโกรไม่น้อยกว่า 10 ปี ก่อนการขอจดทะเบียน (have rosiding in the Republic of Montenegro not earlier than 10 years prior to applying for citizenship)"

ประเด็นที่สงสัยคือว่า "ทักษิณได้พำนักในมอนเตเนโกรมาครบ 10 ปีแล้วหรือไม่ และมีหลักฐานการขอจดทะเบียนเมื่อใด"

นอกจากนั้น ปัญหาอาจมีว่าทางปฏิบัติมีการให้สัญชาติเฉพาะกรณีแก่บุคคลที่ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศ หรือให้เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ ยังมีความคลุมเครือทางกฎหมายว่า พลเมืองเหล่านี้ถือว่ามีสัญชาติและได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับการได้มาตามมาตรา 2 หรือไม่

ซึ่งเรื่องนี้คงต้องเป็นการบ้านของอัยการฝ่ายไทยในการหาข้อมูลพิสูจน์

สัญญาผู้ร้ายข้ามแดน?

: ทางออกถ้า พ.ต.ท.ทักษิณมีสัญชาติมอนเตเนโกร

แม้ว่ารัฐธรรมนูญมอนเตเนโกรมีข้อยกเว้นให้ส่งพลเมืองฐานะผู้ร้ายข้ามแดนได้ภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ ดังนั้น ถ้าประเทศไทยทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับมอนเตเนโกร ก็สามารถขอให้มอนเตเนโกรส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนได้

ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าไม่น่าเข้าข่ายการใช้กฎหมายอาญาย้อนหลัง ซึ่งเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะความผิดนั้นได้กระทำลง ขณะที่กฎหมายได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่าเป็นความผิด

แต่การทำสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนหาใช่ทางออกกรณีนี้ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณสามารถคัดค้านการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

(นั่นคือ ข้ออ้างว่าคดีมีเหตุจูงใจทางการเมือง เสี่ยงต่อการถูกทรมาน และสภาพเรือนจำที่เลวร้าย และเสี่ยงต่อโทษประหารชีวิต)

ความเป็นไปได้ : พิจารณาในศาลมอนเตเนโกร

ผู้เขียนเห็นว่าข้อสรุปนี้ "มีความเป็นไปได้มากที่สุด" ด้วยเหตุผลทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัญชาติ หรือเรื่องสิทธิมนุษยชน

คำถามก็คือว่า คดีนี้ศาลมอนเตเนโกรมีอำนาจพิจารณาคดีก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่

คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับกฎหมายมอนเตเนโกรเรื่องอำนาจศาลเหนือคดีอาญา (Montenegro Criminal Code) และความผิดนั้นต้องเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาของมอนเตเนโกรด้วย หรือที่เรียกว่ามีฐานความผิดเหมือนกัน

ซึ่งเท่าที่ผู้เขียนได้ตรวจสอบ Montenegro Criminal Code มีความสอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญาของไทยหลายประการ ไม่ว่าหลักเรื่องอำนาจศาล เหนือดินแดน เหนือตัวบุคคล หรือเหนือความผิดสากล (มาตรา 134-136) หลักในเรื่องเจตนา และองค์ประกอบความผิด ที่สำคัญคือ "การยุยง ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิด" (มาตรา 24-25) เป็นความผิดเช่นเดียวกันกับกฎหมายไทย

แต่ที่แตกต่างกันชัดเจนคือ

หนึ่ง อัตราโทษ โทษร้ายแรงสูงสุดในคดีอาญา คือ จำคุกไม่เกิน 30 ปี (ของไทย ความผิดฐานก่อการร้าย ประหารชีวิต)

สอง ความผิดฐานก่อการร้ายไม่มีในประมวลกฎหมายของมอนเตเนโกร แต่ความผิดที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่กฎหมายไทยเรียกว่า "การก่อการร้าย" บัญญัติอยู่ในมาตราต่างๆ เช่น ฐาน การก่อภยันตรายต่อสาธารณะ โดยการวางเพลิง ฯลฯ หรือความผิดฐานฆ่า หรือทำร้ายร่างกาย

(ข้อแตกต่างทางกฎหมายคือ ไม่ต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อข่มขู่รัฐบาล ผลคือ คดีง่ายขึ้น แต่ไทยต้องเปลี่ยนข้อหาเป็นความผิดพื้นฐาน)

ประเด็นสุดท้าย

เมื่อดูเหตุผลที่ยกมาแล้วจะเห็นได้ว่ามิใช่เรื่องง่ายในการที่จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นบุคคลที่รัฐบาลเชื่อว่าต้องรับผิดชอบในคดีอาญามาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลงโทษในกรณีที่เขากระทำผิด

และถ้านำเหตุผลทั้งหมดมาผนวกกับการที่ พ.ต.ท.ทักษิณจ้าง GJ Alexander Knoops ซึ่งใครๆ บอกว่าจ้างมาเพื่อฟ้องรัฐบาลไทยฐานละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม แต่ถ้าเราได้รู้ว่า Knoops ผู้นี้คือผู้เชี่ยวชาญฝ่าย "จำเลย" ในคดีอาญาระหว่างประเทศ (หนังสือสร้างชื่อของ Knoops คือ Defenses in Contemporary International Criminal Law พิมพ์โดย Martinus Nishoff สำนักพิมพ์ตำรากฎหมายระหว่างประเทศที่ดีที่สุด) ทำให้ผู้เขียนเชื่อว่า ทักษิณเตรียมตัวเป็น "จำเลย" ในศาลมอนเตเนโกรเป็นอย่างดี

นี่คงเป็นคำตอบว่า ทำไมทักษิณเลือกมีสัญชาติมอนเตเนโกร พ.ต.ท.ทักษิณมองเกมได้อย่างทะลุปรุโปร่งและทำการบ้านดี

งานนี้ "ลากยาว"

ที่มา.มติชนออนไลน์

ส.ว.รุกฆาต‘มาร์ค’เลิกพ.ร.ก.!!

ประชานิยม ปชป. ก็แค่ ลับ ลวง พราง!!
อนิจจา!! รัฐบาลอภิสิทธิ์ ระวังจะเป็นเหมือนทีมตกรอบบอลโลก เพราะถูกกระหน่ำหนักขึ้นทุกที วุฒิสภาถึงขึ้นขอภาพสลายการชุมนุม ขณะที่ จาตุรนต์เย้ย ประชานิยมเพียงเพื่อมุ่งกลบเกลื่อน

อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกีฬา หรือเรื่องใดๆ ก็ตาม แม้แต่กระทั่งเรื่องการเมือง
เพราะขณะนี้ 4 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 2010 ชัดเจนแล้วว่า ทีมเต็งทีมดังใช่ว่าจะต้องชนะเสมอไป

วันนี้ (6 ก.ค.) จะเป็นการตัดเชือกรอบรองระหว่าง ทีมอุรุกวัย กับ เนเธอร์แลนด์ ในขณะที่วันพรุ่งนี้ (7 ก.ค.) จะเป็นการชิงกันระหว่าง เยอรมัน กับ สเปน... ผู้ชนะของทั้ง 2 คู่ ก็คือคู่ชิงแชมป์ฟุตบอลโลกในปีนี้นั่นเอง

ส่วนบรรดาทีมที่ตกรอบก็เผชิญชะตากรรมหนักเบาแล้วแต่มุมมองและแฟนบอลของแต่ละประเทศเอง... ยิ่งเต็ง ยิ่งถูกคาดหวังเอาไว้สูงยิ่งโดนหนัก

อย่างเช่นทีมแซมบ้า บราซิล สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ดุงก้า ที่มีชื่อเต็มๆ ว่า คาร์ลอส เคตาโน เบรดอร์น เวอร์รี่ โดนไล่ออกจากตำแหน่งกุนซือทีมชาติบราซิลเรียบร้อยแล้ว โดยสหพันธ์ฟุตบอลบราซิลได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าดุงก้าและสตาฟฟ์โดนขับออกจากตำแหน่ง

สภาพที่เกิดขึ้นกับวงการกีฬาในขณะนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ที่อยากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผู้ที่ประกาศเลิกเชียร์ทีมใดทีมหนึ่งอีกแล้ว เพราะเชียร์ทีมไหน ทีมนั้นพังทุกที... บรรยากาศและสิ่งที่เกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์ น่าจะนำไปย้อนคิดถึงทีมรัฐบาลอภิสิทธิ์ ว่า
ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกัน!!!

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่ ณ วันนี้ผ่านการสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์มาใกล้จะครบ 2 เดือนแล้ว แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลยังอยู่ได้อย่างหน้าชื่นตาบาน ภายใต้เปลือกคุ้มครองที่แข็งแรง คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

แต่ก็อย่าได้ประมาทจนเกินไป เพราะวันนี้เสียงเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก.มีมากขึ้นทุกที พร้อมกับการค้นหาความจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของประชาชนในช่วงสลายการชุมนุมกว่า 80 ศพนั้น ดูเหมือนว่าจะหนักหน่วงมากขึ้นเรื่อยๆ

นางสาวเกศสิณี แขวัฒนะ ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา ถึงกับมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ สว(กมธ2)0010/2773 ส่งไปตามสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์ เพื่อขอข้อมูลภาพนิ่งพร้อมคำบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุม

เพื่อนำไปตรวจสอบหาความจริง
ไม่ว่ารัฐบาลจะมั่นใจสักเพียงใดว่า ทุกอย่างกระทำการตามอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ในสายตาของประชาชน ของสังคม ของนักกฎหมายนั้น อำนาจจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั้นเป็นอำนาจพิเศษเฉพาะกาล ที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายทั่วไป

โดยเฉพาะหมิ่นเหม่อย่างยิ่งต่อเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน!!!
ดังนั้นแม้ในขณะนี้ นายอภิสิทธิ์ จะเน้นในเรื่องของการสร้างความปรองดอง สร้างจุดขายในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็เป็นคนละส่วนกันอยู่ดี กับกรณีการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิต

เป็นดังเช่นหลักการในพุทธศาสนา ที่สอนชาวพุทธมานานกว่า 2,500 ปีแล้วว่า กรรมดีส่วนกรรมดี กรรมชั่วส่วนกรรมชั่ว จะเอามาหักกลบลบล้างกันไม่ได้

ฉะนั้นจะเห็นว่าในระยะนี้ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ โดนวิพากษ์วิจารณ์หนักขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดก็คือการที่บรรดากลุ่มนักวิชาการออกมาคัดค้านการอัดประชานิยมลดแลกแจกแถม และแนวนโยบายรัฐสวัสดิการของนายอภิสิทธิ์

และทำให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ออกมาสะกิดเตือนตรงๆ ว่าสิ่งนี้สะท้อนถึงการที่นายกฯ รู้ว่าตัวเองอยู่ในฐานะที่ลำบากมาก เพราะถ้ามีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกันจริงๆ จนรู้ว่าการปราบหรือสลายการชุมนุมขัดต่อหลักการของสหประชาชาติ ขัดต่อกฎหมายไทยเอง นายกฯ กับพวกก็อยู่ในฐานะลำบาก

ถ้าปล่อยให้มีการพูดกันแต่เรื่องเหล่านี้มากโดยไม่หาเรื่องอื่นมาเบนความสนใจ ก็ไม่ได้ ก็เลยต้องหาเรื่องอื่นมาเบี่ยงเบน

ขณะเดียวกันก็ทำทุกวิธีที่หวังว่าจะอยู่ในอำนาจต่อไป รวมทั้งจะชนะการเลือกตั้งคราวหน้าให้ได้ ก็เลยเอานโยบายลดแหลกแจกแถมดังกล่าวมาใช้โดยไม่ได้คำนึงว่าสอดคล้องกับนโยบายตัวเองหรือไม่ จะเป็นไปได้หรือไม่ และจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดอย่างไร

“นายกฯ รู้อยู่แก่ใจอยู่แล้ว รู้อย่างดีที่สุด เพราะเรียนเศรษฐศาสตร์มาด้วย ดังนั้นการไม่พูดถึงเรื่องการขยายหรือเพิ่มฐานภาษี แล้วมาบอกว่าบริการของรัฐจะไม่เก็บเงิน แต่กลับจะใช้จ่ายเงินของรัฐมากขึ้นเพื่อบริการประชาชน มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับประเทศที่มีรายได้น้อยอย่างประเทศไทย
แต่นายกฯ ก็ต้องพูดเรื่องอย่างนี้ไว้ก่อน เพื่อหวังว่าจะซื้อใจประชาชนได้ ประชาชนคนไทยก็จะฉลาดพอที่จะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เห็นชัดว่าเป็นการพูดเพื่อกลบเรื่องการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน การปราบปรามการชุมนุม

และใช้วีธีนี้มาดึงคะแนนเสียงจากประชาชนในชนบทที่เป็นจุดอ่อนของประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและอีสาน รัฐบาลจะดันทุรังอยู่ไปให้นานที่สุด แต่ในที่สุดคนก็จะเห็นความล้มเหลวในด้านต่างๆ ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ” นายจาตุรนต์ กล่าว

จะมองว่าพรรคฝ่ายค้านก็ต้องค้านไปเรื่อยก็ได้ ... แต่อย่าลืมว่า แม้กระทั่ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นพวกเดียวกันเองกับนายอภิสิทธิ์ด้วยซ้ำ ยังระบุชัดเจนว่าแผนปรองดองของรัฐบาลเป็นแนวคิดที่ดี

แต่คงเป็นเรื่องยากที่รัฐบาลจะทำให้สำเร็จภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด
ที่สำคัญแม้แต่ มหาจำลองเองก็ยังเห็นว่า กระบวนการใต้ดินจะไม่เกิดขึ้นอีก หากรัฐบาลเร่งดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่เหตุการณ์เดือนเมษายน ปี 2552 หากรัฐบาลใช้กระบวนการยุติธรรม ความรุนแรงก็จะไม่บานปลาย จนมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

เหล่านี้คือความจริงที่นายอภิสิทธิ์จะต้องยอมรับ

และความจริงทั้งหมด ก็คือ สิ่งที่จะตัดสินอายุรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์...
หาใช่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างที่บางคนพยายามยื้อเอาไว้สุดฤทธิ์
ที่มา.บางกอกทูเดย์

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ลากกันลงนรก

โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความเห็นเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า” จากประชาชนในทุกภาค เพื่อสำรวจว่าหลังสถานการณ์ใช้ความรุนแรงกับการชุมนุมประท้วงและรัฐบาลได้ประกาศแผนปรองดองแห่งชาติเพื่อดึงทุกภาคส่วนในสังคมปฏิรูปประเทศไทยนั้น จะทำให้บ้านเมืองคืนสู่ความปรกติสุขโดยเร็วได้หรือไม่นั้น

ปรากฏว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศเฉลี่ยเพียง 3.57 คะแนน จาก 10 คะแนน โดยความเชื่อมั่นด้านการเมืองน้อย 3.20 คะแนน มีความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันต่ำที่สุดคือ 2.17 คะแนน ส่วนความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3.16 คะแนน ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีเห็นเหมือนเดิม เพราะเห็นว่าอุปสรรคสำคัญยังอยู่ที่ความแตกแยกและไร้น้ำใจ การทุจริตคอร์รัปชันและนักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีจริยธรรม และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

ผลสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่ประเมินผลงาน 1 ปี 6 เดือนของรัฐบาล โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภาคทั่วประเทศเช่นกัน ซึ่งประชาชนมีความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลเพียง 3.79 คะแนน จาก 10 คะแนน คือรัฐบาลสอบตกทุกด้าน แม้แต่การบริหารงานของนายกรัฐมนตรีก็ลดลง

แม้นายกรัฐมนตรีจะใช้วาทศิลป์ไม่ยอมรับผลสำรวจว่าเป็นเรื่องปรกติของกรุงเทพโพลล์ที่จะให้คะแนนรัฐบาลในแง่ลบ แต่ผลสำรวจที่รัฐบาลสอบตกแบบยกชั้นและประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของรัฐบาลนั้นคงไม่ใช่เรื่องปรกติ แต่กลับเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องสังวรและสำรวจตัวเองอย่างยิ่ง ไม่ใช่ตีฝีปากเหมือนนักโต้เวที โดยเฉพาะในสถานการณ์ทางการเมืองที่รัฐบาลเองก็อ้างความจำเป็นต้องคง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกข่าวว่ายังมีผู้ก่อการร้ายและก่อวินาศกรรม รวมถึงการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองและองค์กรอิสระ ซึ่งรัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเลย นอกจากการกล่าวหาเพื่อใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจัดการกับฝ่ายตรงข้าม

ขณะที่ข่าวการทุจริตคอร์รัปชันในรัฐบาลก็มีออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นความเด็ดขาดหรือความกล้าที่แก้ปัญหาได้เลย แต่ยังคงแก้ปัญหาด้วยคำพูดเหมือนทุกครั้ง ทั้งที่ไม่เคยทำได้เลยก็ตาม แม้แต่นโยบายประชานิยมที่ไม่ต่างอะไรกับการหาเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า และให้ประชาชนหลงเชื่อนโยบายที่เป็นความฝันลมๆแล้งๆ โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปต่างๆที่มีแต่คนหน้าเดิมๆและแนวความคิดเดิมๆมาปฏิรูปประเทศไทย นอกจากไม่มีวันที่จะแก้ปัญหามากมายที่หมักหมมอยู่ได้แล้ว ยังเหมือนการลากเอาคนทั้งประเทศกลับไปลงนรกอีกด้วย

ผลของ‘โมฆะกรรม’

Tags: เรืองไกรฟ้องประชาชนเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

เคยศึกษาหาความรู้จากคำพิพากษาไปพบเรื่อง “โมฆะ” ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะมีการบันทึกหมายเหตุท้ายฎีกาที่ 965/2530 ไว้ว่า...
นิติกรรมที่เป็นโมฆะถือว่าเสียเปล่าใช้ไม่ได้มาแต่ต้นทำอะไรกันไว้ก็เหมือนไม่ได้ทำ ไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิและหน้าที่ ไม่ต้องบอกล้างหรือเพิกถอน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 133 มีว่า...เพียงผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้างขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงการยกขึ้นเพื่ออ้างว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ หรือเป็นวิธีการประกาศให้ทราบเท่านั้น

มิได้หมายความว่า...ถ้าไม่กล่าวขึ้นอ้างแล้วจะไม่เป็นโมฆะ ผลของโมฆะกรรมนั้นกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าคู่กรณีจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรต่อไป

ผู้ที่ได้อะไรไว้จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะถือว่าปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ต้องคืนแก่อีกฝ่ายหนึ่งในฐานลาภมิควรได้

นิติกรรมที่จากความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมอันตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 119 ถือเสมือนว่าไม่มีการนำนิติกรรม ไม่จำต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นอีก

เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะกรรมาธิการคณะหนึ่งของวุฒิสภาจะจัดสัมมนาเรื่องการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ

ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า...การได้อำนาจนั้นไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

เรื่องนี้เขียนเป็นบทความไปแล้ว สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่ง จำนวน 18 คน จึงได้ทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภาเพื่อส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงและส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

กรณีการเลือก “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2551 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปจำนวน 47 คน ไปร่วมโหวตรับรองด้วยนั้น

เกิดประเด็นขึ้นมาว่า...การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันดังกล่าวอาจจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

เพราะ ส.ส. ที่เข้าไปโหวตเลือกนายกฯในวันดังกล่าว เป็น ส.ส. ของพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพไปแล้ว คือ “ถูกยุบไป”

ไม่เคยมีการตีความเรื่องนี้กันมาก่อน เพราะนักการเมืองเร่งรีบที่จะช่วงชิงอำนาจในการบริหารประเทศเลยลืมนึกถึงข้อกฎหมาย

ทั้งที่เรื่องดังกล่าวอาจส่งผลทำให้การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้อง “ตกเป็นโมฆะ” ได้ในที่สุด

กรณีการตีความการได้มาซึ่งตำแหน่งนั้น เคยเกิดมาแล้วกับการที่วุฒิสภาเคยเลือกผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบ

ซึ่งพิจารณาแล้วคงนำไปใช้ในกรณีสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นกัน

เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ในปี 2549 ว่า...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง
ต้องแปลความว่า...คำวินิจฉัยนี้ย่อมเป็นเด็ดขาดผูกพันรัฐสภา พรรคการเมืองต้องมีสภาพอยู่ มิได้สิ้นสภาพไป

ถ้าดูตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทุกคนย่อมเข้าใจตรงกันว่า ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง ต่างจากสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ที่ไม่ต้องสังกัดพรรค

เรื่องนี้สมาชิกวุฒิสภาบางส่วนก็รับรู้ แต่กลับมาพูดคุยในเชิงให้ยุติเรื่องไว้ ไม่ควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถึงกับพยายามที่จะใช้มติของกรรมาธิการอีกคณะให้ระงับการส่งเรื่องกันมาแล้ว

จะว่ากันอย่างไร? เพื่อให้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้น พี่น้องผู้อ่านสามารถติดตามผลการสัมมนาในเรื่อง การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะมีผลเป็นโมฆะหรือไม่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ที่มา.บางกอกทูเดย์

นิธิ เอียวศรีวงศ์: ทำไมการเมืองไทย จึงไม่ลงตัว

“นิธิ” อภิปรายตอบโจทย์ทำไมการเมืองไทยจึงไม่ลงตัว เชื่อใช้เวลาอย่างน้อยเป็นสิบปีปรับดุลยภาพทางการเมือง ชี้ “การปรองดอง” ส่วนต่างๆ ต้องร่วมกันคิด ไม่ใช่รัฐบาลทำ และไม่ใช่การคิดแทนสังคม พร้อมเสนออยากเป็นประชาธิปไตยต้องเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรม “เสวนาวิชาการในดวงใจ” โดยสัปดาห์นี้เป็นการเสวนาหัวข้อ "ทำไมการเมืองไทย จึงไม่ลงตัว” โดยมี ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เป็นวิทยากร
การต่อสู้เพื่อที่ยืนครึ่งขา และการปรับจุดดุลยภาพที่กินเวลานาน

โดยนิธิ เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า มีคนเสนอว่าปรากฏการณ์ในตอนนี้คือการต่อสู้ระหว่างชนชั้นกลางในชนบทและชนชั้นกลางระดับล่างในเมือง กับ ชนชั้นกลางในเมือง ซึ่งผมคิดว่ามันง่ายเกินไปที่จะสรุปเช่นนั้น เพราะในระบบการเมือง ชนชั้นกลางในชนบทและชนชั้นกลางระดับล่างอยู่นอกเวที ถ้าชนชั้นกลางในเมืองเปิดพื้นที่ให้คนกลุ่มนี้ได้ยืนเพียงครึ่งขา ก็จะไปเบียดพื้นที่ของชนชั้นสูง นักวิชาการ กองทัพ ฯลฯ ซึ่งพวกเขาไม่ยอมให้โดนเบียด ดังนั้น มันจึงสะเทือนการจัดรูปแบบของเวทีทั้งหมด

กลุ่มที่ออกหน้าทางการเมืองในปัจจุบันมีทั้งกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องให้ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่าเทียมกัน ไม่มีการใช้อำนาจนอกระบบ กับอีกกลุ่มที่ยังต้องการให้มีเครื่องมือปกป้องตัวเอง จึงไม่ยอมรับความเท่าเทียม เพราะเชื่อว่าถ้าตัวเองยังไม่มีอำนาจในการปกป้องตนเองก็จำเป็นต้องขอยืมอำนาจนอกระบบมาใช้

ถ้าถามว่าจะใช้เวลาเท่าใดในการปรับจุดดุลยภาพทางการเมือง น่าจะกินเวลาประมาณ 5-7 ปี แบบพออยู่ได้ อย่างเช่นในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เวลา 48 ปีในการปรับตัวเองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กว่าจะมาพูดถึงการปกครองระบอบต่างๆ เพราะเห็นข้อบกพร่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ 2475 เมื่อปี 2490 ก็กันกลุ่มเจ้าไม่ให้ขึ้นมาบนเวที แต่พอ 2520 กลับเปิดโอกาสให้กลุ่มเจ้าขึ้นมาบนเวทีแล้วขับพลเรือนกลุ่มนั้นออกไป

แต่ผมคิดว่าเหตุการณ์ตอนนี้กว่าจะปรับเข้าสู่จุดดุลยภาพได้ใช้เวลาค่อนข้างนาน อย่างน้อยเป็น 10 ปี และอาจนานกว่าครั้งอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ เพราะความขัดแย้งครั้งนี้ทุกฝ่ายได้ช่วยกันทำลายสิ่งที่เป็นรากฐานสำคัญบางอย่างของการเมืองไปเยอะมาก การที่เสื้อแดงสามารถลากเอาองคมนตรีมาพูดจาแบบนั้นบนเวทีได้ การที่อาญาสิทธิ์ต่างๆ ถูกท้าทาย ไปจนถึงการฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540 การหาจุดลงตัวคงต้องผ่านความขัดแย้งอีกหลายอย่าง และไม่รู้ว่าจะเห็นตัวกลางใดที่จะมาตัดสิน เช่น ศาล เพราะคนที่สังคมนับถือก็มีสี ส่วนคนที่ไม่มีสีก็ไม่เป็นที่นับถือ

ความยากก็คือเหตุการณ์ “พฤษภาฯ มหาโฉด” ที่เกิดขึ้นมันตัดจุดลงตัวที่ทุกฝ่ายพอจะรับได้ให้น้อยลง เพราะตอนนี้ไม่มีใครไว้วางใจใครได้เลย โอกาสใช้ความสงบมีน้อยมาก แต่ตราบใดก็ตามที่ใช้ความรุนแรง ต้นทุนทางสังคมที่ต้องจ่ายก็ย่อมจะสูงเสมอ

ในทางกลับกัน ถ้ากลุ่มเสื้อแดงชนะ พรรคเพื่อไทยได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาล ผมคิดว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าเสื้อแดงใช้ความรุนแรง ต้นทุนที่จะจ่ายก็จะเสียมาก เพราะคุณอภิสิทธิ์ที่ใช้ความรุนแรงก็เสียต้นทุนที่สูงเช่นกัน

ประชาธิปไตยคือการต่อรองที่เท่าเทียม

หลังนิธิอภิปรายจบ ได้ให้ผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยน ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งได้ตั้งคำถามว่า หากมีพรรคการเมืองจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของชนชั้นนั้นๆ หากขึ้นมาบนเวทีแล้วจะมีหลักประกันอะไรที่เขาจะไม่ขูดรีดเหมือนกับนักการเมืองที่เคยทำมาแล้วในอดีต

นิธิกล่าวว่า “ผมรับประกันเลยว่าเขาทำแน่และถ้าจะคิดเช่นนี้ก็ไม่เป็นไร เพราะประชาธิปไตยคือการต่อรองที่เท่าเทียมกัน แต่ประชาธิปไตยที่แท้จริงคือการยกเลิกระบบกดขี่และให้อำนาจที่มากขึ้นในการต่อรองต่างหาก เราควรมีระบบในการคุมคนชั่วได้มากกว่าได้หวังให้คนดีขึ้นมามีอำนาจ ในขณะเดียวกันก็ให้อำนาจในการต่อรองกับคนชายขอบ คนจนดักดานที่ไม่มีต้นทุนหรือโอกาสในเศรษฐกิจได้ต่อรองได้ด้วยเช่นกัน”

“การวัดว่าเขามีอำนาจในการต่อรองนั้นมีกลไกในการต่อรองหลายอย่าง โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่ให้อำนาจในการต่อรองมากที่สุด อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี แม้จะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดแต่ก็ขาดไม่ได้แต่ตัวมันเองอย่างเดียวก็ไม่พอ อีกอันหนึ่งคือสื่อที่คุณสามารถแสดงออกและใช้ในการต่อรอง อีกประการคือมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถตอบคำถามให้กับคนชายขอบได้ เช่น ไฟฟ้าไม่พอจะทำอย่างไร ไม่ใช่บอกว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้า ควรบอกข้อดีข้อเสียกับคนที่ได้รับผลกระทบด้วย ไม่ใช่แค่บอกแต่ข้อดีอย่างเดียว”

ปรองดองต้องไม่คิดแทนสังคม เสนอเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ต่อมามีผู้ตั้งคำถามว่านิธิ มีมุมมองเรื่องแผนปรองดองและแผนปฏิรูปอย่างไร นิธิตอบว่า ผมคิดว่าควรแบ่งเป็นสองอย่างคือ หนึ่ง แผนปรองดอง มันหมายถึงการที่เราทะเลาะกันแล้วจะมาปรองดองกันได้อย่างไร ผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรมในการปรองดองนอกจากการลาออก สอง แผนปรองดองควรเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาช่วยคิด ไม่ใช่การคิดแทนสังคม คือไม่ใช่รัฐบาลเป็นคนทำ แต่เป็นสังคมต่างหากที่ควรถกเถียงและหาทางออกร่วมกัน

การที่เราชอบพูดว่าเราเป็นเมืองพุทธแต่กลับไม่พูดถึงผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ผมคิดว่าเมื่อไรที่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะเห็นอะไรๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะ เพราะเมื่อคนมันดื้อขึ้นก็จะมีต่อต้านอำนาจมากขึ้น คุณก็ยืดเวลามากขึ้นไปอีก กลายเป็นวงจรอุบาทว์แล้วก็ลงเอยในลักษณะที่ใช้ความรุนแรง

ชี้รัฐธรรมนูญถูกฉีกไปค่อนเล่ม อยากเป็นประชาธิปไตยต้องเลิก พ.รก.ฉุกเฉินโดยเร็ว

นิธิอภิปรายต่อไปว่า ประเทศไทยตอนนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะฉีกรัฐธรรมนูญไปค่อนเล่ม เหลือแค่ราชอาณาจักรแบ่งแยกไม่ได้เพียงมาตราเดียว ถ้าคุณอยากเป็นประชาธิปไตยคุณต้องยกเลิกโดยเร็ว แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่เดือดร้อนกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมทั้งสื่อมวลชน ไม่ไม่ค่อยเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือ ชนชั้นกลางในเมืองอยากได้อำนาจนอกระบบมาคุ้มครองตัวเอง

ผมคิดว่าในกรณีของการจับกุมคุณสมบัติและคุณสมยศ เมื่อไรที่ปล่อยให้ทหารจัดการภายใต้ พ.ร.ก.นี้ ทหารก็จะจัดการแบบไม่รู้เรื่อง การจับกลุ่มคนพวกนี้มันขาดทุน ซึ่งพลเมืองคิดหรือใช้อำนาจจะไม่ทำเช่นนั้น

ตอกทีวีสาธารณะไม่เป็นมืออาชีพ ราวทีวีสมัยอยุธยา

นิธิตอบคำถามเรื่องสื่อว่า สื่อที่ขายในตลาดตอนนี้เป็นธุรกิจชนิดหนึ่ง สิ่งที่คุมสื่อผมคิดว่าไม่ใช่รัฐแต่เป็นทุน อย่างที่ ศอฉ. ส่งหนังสือมาว่าอย่าลงเรื่องนั้นเรื่องนี้ เจ้าของธุรกิจก็จะคำนวณผลลัพธ์ว่าควรจะทะเลาะกับ ศอฉ. ดีหรือไม่ แต่เรามีสื่อแบบใหม่ที่ก็ยังไม่ลงตัวทั้งทางธุรกิจและการจัดการ แต่ก็ทำให้คนตัวเล็ก ๆ สามารถมีพื้นที่ต่อรองหรือสื่อสารได้ ส่วนทีวีธารณะของบ้านเรานอกจากจะไม่เป็นมืออาชีพทางเทคนิคแล้วการทำข่าวและการผลิตรายการก็ยังไม่เป็นมืออาชีพ เช่น การพูดถึงเมืองไทยก็ยังเป็นเมืองไทยในอดีตที่มีวัฒนธรรมหยุดนิ่ง ราวกับว่าเป็นทีวีสมัยกรุงศรีอยุธยา

เชื่อเสื้อแดงไม่ได้ล้มเจ้าตามผัง ศอฉ.

นอกจากนี้มีผู้ถามนิธิ เรื่องแผนผังขบวนการล้มเจ้า ที่ ศอฉ. เคยนำเสนอ นิธิตอบคำถามนี้ว่า ผมคิดว่าเวลาที่ใช้คำว่า “เจ้า” นั้น หมายถึงอะไรกันแน่ ถ้าหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมคิดว่าเสื้อแดงไม่ได้ล้มเจ้า เพราะจะเป็นการเคลื่อนไหวที่โง่ที่สุด แต่คำว่า “เจ้า” ที่ ศอฉ. ใช้ ไม่ได้หมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงองคมนตรีและการใช้อำนาจขององคมนตรีด้วย

การไม่ยอมรับการรัฐประหารแล้วกลุ่มเสื้อแดงต่อต้านสิ่งนี้ไหม ผมคิดว่าเขาต่อต้าน ถ้าเขาจะต่อต้านหรือทำจริงก็คงเก็บไว้ลึกซึ้งภายในจนไม่มีใครรู้ต่างหาก แต่เราไม่สามารถพูดถึงพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่ เพราะคนสับสนระหว่างการอาฆาตมาดร้ายในมาตรา 112 กับการบังคับให้จงรักภักดีซึ่งไม่มีในรัฐธรรมนูญ

ในช่วงท้ายของการเสวนามีผู้ถามนิธิว่า “เราจะอยู่ท่ามกลางคนรอบข้างที่สามารถทะเลาะกันเพราะความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกันนี้ได้อย่างไร” นิธิตอบว่า ว่าเราต้องเรียนรู้ว่าความคิดเห็นทางการเมืองแม้ว่าจะเลิศหรูอย่างไร สักวันหนึ่งความเชื่อนั้นมันก็จะเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่สำคัญคือความเป็นเพื่อนที่อยู่ถาวรมากกว่าความคิดทางการเมือง
ที่มา.ประชาไท

หาเสียงยกแรก "มุมแดง-ฟ้า" ปชป.ออกตัวแรง-พท.เปิดตัวแดง

รายงานพิเศษ

การแข่งขันเพื่อเข้าสู่เส้นทางสภาผู้แทนราษฎร ยังคงเป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 ขั้ว

ยกแรก มีนักวิเคราะห์ฟันธงว่า ประชาธิปัตย์-เป็นต่อ เพื่อไทย-เป็นรอง

แต่ อาจารย์สุขุม นวลสกุล นักรัฐศาสตร์ วิเคราะห์ว่า

"การแข่งขันหาเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ครั้งนี้ว่า ชัดเจนว่าเป็นการแข่งขันกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย แต่ความจริงแล้ว ดูออกจะเป็นการแข่งขันกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับเสื้อแดง มากกว่า พูดง่าย ๆ ว่า ผู้สมัครเป็นคนของกลุ่มคนเสื้อแดง"

การแข่งขันระหว่างคู่ขัดแย้งระดับอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ กับผู้ถูกกล่าวหาในคดีการก่อการร้าย "อ.สุขุม" เห็นว่า เป็นเรื่อง "ไม่เกินคาด เพราะเสื้อแดงครอบพรรคเพื่อไทย พรรคไม่มีทางเลือก ถึงแม้หากอยากส่งคนอื่นลงสมัครพรรคเพื่อไทยก็ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเท่ากับกลุ่มเสื้อแดง ส่วนเสื้อแดงเอง ก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะสวมเสื้อ ของพรรคเพื่อไทยในการลงสมัครรับ เลือกตั้ง"

การ "ครอบ" พรรคเพื่อไทย โดยเสื้อแดงนั้น ไม่ถึงกับทำให้ระบบพรรคอ่อนแอ เพราะ "อ.สุขุม" เฉลยว่า "เมืองไทยก็เป็นอย่างนี้ พรรคการเมืองไทย เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าหนักใจ เพราะหากเดิมทีพรรคการเมืองไทยเคยเข้มแข็งแล้วต่อมาอ่อนแอลง นั่นจึงจะเป็นสิ่งที่น่ากลุ้มใจ"

แม้ในยกแรก หลายฝ่ายอยากวิเคราะห์ให้ฝ่ายเพื่อไทย-เป็นต่อ แต่หากพิจารณาจากพฤติกรรมการหาเสียงแล้ว ทั้งท่าที และภาพลักษณ์ในอดีตของเสื้อแดงเองที่อาจทำให้ "ก่อแก้ว-เพื่อไทย"เพลี่ยงพล้ำ

"ต้องรอดูพฤติกรรมในการหาเสียง ว่าแต่ละฝ่ายจะหาเสียงอย่างไร ถ้าปรากฏว่าฝ่ายเสื้อแดงไปทุบรถผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ก็อาจทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเทคะแนนไปที่พรรคประชาธิปัตย์ ขณะเดียวกันหากนายก่อแก้วยังคงอยู่ในเรือนจำ ก็อาจทำให้มีการเทคะแนน สงสารมาที่พรรคเพื่อไทยได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามยอมรับว่าขณะนี้พรรค ประชาธิปัตย์เป็นต่อ ในแง่ฐานเสียงเก่าจากการเลือกตั้งครั้งก่อน"

บรรยากาศการหาเสียงช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ของพรรคเพื่อไทยคนแรก ที่ติดคุกระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง เริ่มต้นยังตลาดสดคู้บอน เขตคันนายาว บริเวณรามอินทรา ก.ม.8 ในเช้าวันพฤหัสฯที่ 1 ก.ค. เป็นไปอย่างจืดชืด แม้มีสีสัน "ดารา"เข้ามาประชัน

แต่ดาราตัวหลักยังเป็น นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค นางสุณีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรค นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. ประธานภาค กทม. ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงศ์ ส.ส.กทม. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายนที สุทินเผือก หรือกรุง ศรีวิไล ส.ส.สมุทรปราการ น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ ว่าที่ ร.ต.พงศ์พันธุ์ สุนทรชัย ส.ส.หนองคาย

รวมทั้งนายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ แกนนำ นปช. และอาสาสมัครประมาณ 20 คน สวมเสื้อทีมของ "ส.ก.พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ" มาช่วยหาเสียง โดยชูป้ายพื้นสีแดงขนาดใหญ่ ระบุชื่อพรรคเพื่อไทย และมีรูปนายก่อแก้ว พิกุลทอง สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวลายเส้นสีน้ำเงิน

ส.ส.และทีมหาเสียงได้พูดผ่านเครื่องขยายเสียงขอคะแนนให้นายก่อแก้ว รวมทั้งแจกการ์ดแนะนำตัวผู้สมัคร สัญลักษณ์ "สีแดง" เต็มรูปแบบ
มีคีย์เวิร์ด "25 กรกฎาคม 2553 เลือกฝ่ายประชาธิปไตย..."

พร้อมข้อความ-ขอคะแนนสงสาร "กราบเรียน พ่อแม่พี่น้อง ประชาชนชาวกรุงเทพฯเขต 6 ผมไม่สามารถมาพบปะ พี่น้องได้ เพราะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ด้วยเหตุผลที่ผมเรียกร้องให้ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน ผมขอกำลังใจจากพ่อแม่พี่น้อง เพื่อให้ผมมีโอกาสต่อสู้ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และคืน ความเป็นธรรมให้กับพ่อแม่พี่น้องและชาวไทยทุกคน"

สีสันส่วนใหญ่อยู่ที่การตอบรับจากบรรดาแม่ค้าในตลาดสด เมื่อขบวนหาเสียงได้เดินเท้าเคลื่อนจากปากทางเข้าไปในตลาดสด นำโดยนายวิชาญและบรรดา อดีตดาราที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เช่น นายพร้อมพงศ์ และนายสุทิน ได้รับดอกไม้สีแดงจากกองเชียร์ และมีการขอถ่ายรูปด้วยอย่างคึกคักในฐานะดารามากกว่าในฐานะสมาชิกพรรคการเมือง

แม้ความเป็นดาราชื่อดังจะเป็นจุดขายสำคัญที่ทำให้การหาเสียงเข้าถึงชาวบ้าน ได้ง่าย เป็นจุดขายที่ดี แต่กระนั้น "ดนุพร ปุณณกันต์" อดีตดาราและ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย และ "ยุรนันท์ ภมรมนตรี" ก็ไม่ได้มาช่วยหาเสียง สร้างสีสันบรรยากาศในครั้งนี้

ส.ส.เพื่อไทยบางคนที่อยู่ในขบวน ช่วยหาเสียง ยังออกความเห็นไปในทางที่ "เหมือนจะชนะ แต่แพ้"

"ความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่แน่นอน เพราะแม้ว่าจะมีคนเสื้อแดงใน กทม.อยู่จำนวนมาก แต่ปัญหาคือเสื้อแดงส่วนใหญ่มักจะมีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่เลือกตั้งซ่อม..."

จุดอ่อนในศึกยกแรก ถูก ส.ส.กทม. อย่าง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รู้ทัน และหาทางแก้เกม

"จะมีการรณรงค์ให้ผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขต 6 ช่วยหาเสียง โดยหาเพื่อนที่มีสิทธิเลือกตั้งไปลงคะแนนให้"

ส่วนบรรยากาศของค่ายแม่พระธรณี บีบมวยผม สีฟ้า-ประชาธิปัตย์ พนิช วิกิตเศรษฐ์ นั้นลงพื้นที่ตั้งแต่ยังไม่ได้รับหมายเลขต่อเนื่อง เพื่อรักษาเก้าอี้ให้ฝ่ายรัฐบาล

ริมสองข้างทางถนนหลักในพื้นที่เลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ส่วนใหญ่เป็นโปสเตอร์หาเสียงของพนิชถ่ายรูปคู่กับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคหนาตา โดยยังไม่ปรากฏโปสเตอร์หาเสียงของพรรคเพื่อไทยแทรก การเริ่มต้นจากจุดสตาร์ตของพรรคเพื่อไทยอาจช้า แต่หวังพลังสีแดงช่วงโค้งสุดท้าย

ต่างจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังรักษาความแรงและถี่ทุกระยะ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ

ผู้นำกับแมว

สัตว์เลี้ยงประจำบ้านอย่างสุนัขและแมว

นอกจากมีสรรพคุณช่วยจรรโลงจิตใจเจ้านายแล้ว หลายกรณียังสามารถช่วยนักการเมืองได้ด้วย

ประเด็นแรกเป็นที่เข้าใจกัน

ส่วนประเด็นหลังผมวิเคราะห์เองจากการเห็นผู้นำหลายประเทศ “ปลีกวิเวก” เข้าหาสัตว์เลี้ยง

ผู้นำบางคนรักสุนัขหรือแมวจริงๆ ส่วนบางคนคล้ายกับจะอาศัยเป็นตัวสยบความเคลื่อนไหวทางการเมือง

ทำนองเห็นสถานการณ์การเมืองวุ่นวายนัก ก็ขอให้แมวช่วยซะเลย

ล่าสุดท่านดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ตุน ราซัค ผู้นำมาเลเซีย แวบหาแมวเช่นกัน

คงเป็นเรื่องคนรักแมวจริงๆแหละครับ ไม่ใช่หวังผลทางการเมือง

ท่านดาโต๊ะไปเปิดงานแสดงสินค้า รณรงค์ให้ซื้อสินค้าท้องถิ่นชื่อ "Buy Malaysia" แล้วเหลือบเห็นลูกแมวเปอร์เซียสีส้มขาว อุ้มขึ้นตรวจดูคุณลักษณะพักหนึ่งจึงตกลงซื้อในราคา 650 ริงกิต (6,500 บาท)

จากนั้นท่านดาโต๊ะนำเรื่องนี้มาเล่าในบล็อกในเว็บไซต์ www.1malaysia.com.my บอกแฟนคลับว่า มีแมวอยู่แล้วหลายตัว แต่เห็นว่าลูกแมวสวยดี ลูกสาวคงชอบ จึงซื้อมา ปิดท้ายด้วยการขอให้แฟนคลับช่วยกันตั้งชื่อ

คำเชิญชวนของผู้นำมาเลเซียได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เพียง 2 วันแรกมีแฟนคลับเสนอชื่อไป 500 คน

ชื่อที่เสนอไปมีความหมายเกี่ยวกับผู้นำและครอบครัว บางชื่อมีความหมายเกี่ยวกับประเทศ และสิ่งที่ท่านดาโต๊ะทำเพื่อชาติ เช่น ชื่อเมลซินเดีย (Melcindia) ผู้เสนออธิบายว่า ย่อมาจากมะลายู (Melayu) ซินา (Cina) และอินเดีย (India) ที่รวมกันเป็น 1 Malaysia

ขณะผมเขียนต้นฉบับ ผู้นำมาเลย์ยังไม่ประกาศผลการเลือกชื่อ แต่สรุปได้ว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จอาจจะเกินคาดก็ได้ เนื่องจากมีแฟนคลับร่วมเสนอชื่อจำนวนมาก

นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ที่ได้ข่าวก็ไม่นิ่งดูดาย ได้ส่งเสาฝนกงเล็บ (เสาสำหรับให้แมวข่วนเล่น) และบอลของเล่นด่วนจี๋มาเป็นของกำนัล

ฝ่ายสนับสนุนคึกคักกับการลุ้นชื่อ ขณะที่ฝ่ายค้านตำหนิตามระเบียบ มองว่าผู้นำมาเลย์ทำตัวอย่างไม่ดีเพราะซื้อแมวมาเลี้ยงแทนที่จะรับจากสถานสงเคราะห์ที่มีแมวรอเจ้านายใหม่กันอย่างแออัด

ตกลงเรื่องนี้ แมวเป็นตัวช่วยหรือตัวเพิ่มปัญหายังน่าสงสัยครับ

แต่ก็อย่างนี้แหละครับผู้นำขยับไปไหนย่อมไม่เว้นควันหลงตามมา

ถ้าทำอะไรแล้วไม่มีใครทักท้วงผมว่าเหงาแย่เหมือนกัน

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับ 266 วันที่ วันที่ 3 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 51 คอลัมน์ เรื่องเล่าต่างแดน โดย วรวุฒิ สารพันธุ์

เปิดปมเงื่อน 2รัฐมนตรีบิ๊กเนม ถอนเงินสดๆ จากแบงก์40ล้าน ไฉน! แจ้งป.ป.ช. มีทรัพย์สินแค่จิ๊บจ๊อย

กรณีศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีคำสั่งห้ามทำธุรกรรมทางการเงินนักการเมือง 2 คนจากทั้งหมด 152 ราย คือนายสันติ พร้อมพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นายไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการการกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากพบว่ามีความเคลื่อนไหวทางการเงินผิดปกติ

นายสันติ พร้อมพัฒน์ และ นายไชยา สะสมทรัพย์ ต่างปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นท่อน้ำเลี้ยงสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดง

นายสันติ กล่าวภายหลังเข้าชี้แจงธุรกรรมการเงินต้องสงสัยต่อพนักงานสอบสวนดีเอสไอเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม สรุปว่าได้ถอนเงินสดออกมาเก็บไว้กับตัว เพราะรัฐบาลจะทำอะไรก็ได้ จึงต้องมีเงินสดสำรองไว้ที่บ้าน จึงเบิกถอนเงินออกจากธนาคารครั้งละ 1-2 ล้านบาท ประมาณ 3-4 ครั้ง มั่นใจว่าสามารถชี้แจงครบถ้วน แต่พนักงานสอบสวนยังติดใจสงสัยในบัญชีเงินเดือน ส.ส. ซึ่งตนจะรวบรวมหลักฐานส่งเข้าชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร

ขณะที่นายไชยากล่าวว่า มาขอรับประเด็นคำถามเพื่อชี้แจงประเด็นที่พนักงานสอบสวนต้องการทราบในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ อาทิ เรื่องการเบิกถอนเงิน 20 ล้านบาทไม่ใช่เบิกถอนภายในวันเดียวแต่เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน ที่เบิกมาจัดงานวันเกิดและบริจาคสร้างโรงพยาบาล ซื้อคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียน ซึ่งมีใบอนุโมทนาบัตรแต่ต้องใช้เวลาในการจัดเตรียมเอกสารและสอบถามไปยังธนาคารถึงรายละเอียดค่าใช้จ่าย เพราะไม่มีใครจำได้ว่าเมื่อ 9 เดือนที่ผ่านมาใช้จ่ายเงินไปอย่างไร

จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางที่เชื่อมโยงได้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของบุคคลทั้งสองเกี่ยวข้องกับท่อน้ำเลี้ยงขกลุ่มคนเสื้อแดง

กระนั้นถ้าดูบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ทั้งสองคนยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะพบข้อมูลที่น่าสนใจ

นายสันติ ตอนพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ครบ 1 ปี วันที่ 25 กันยายน 2552 แจ้ง ป.ป.ช.มีทรัพย์สิน 7,331,278 บาท ในจำนวนเป็นเงินฝาก 2 บัญชี 1,451,278 บาท หนี้สิน 9,277 บาท ส่วนนางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ คู่สมรส มีทรัพย์สิน 14,077,391 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินฝาก 3 บัญชี 4,943,066 บาท หนี้สิน 220,979 บาท

ก่อนหน้านี้ ตอนรับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551 นายสันติแจ้งต่อ ป.ป.ช.มีทรัพย์สิน 7,583,115 บาท หนี้สิน 121,504,765 บาท มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 113,921,650 บาท ในจำนวนนี้แจ้งว่ามีเงินฝากธนาคารเพียง 603,115 บาท ไม่มีคู่สมรส (แจ้งว่าหย่า นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ อดีตภรรยา)

ตอนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยุครัฐบาล วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 แจ้งว่ามีทรัพย์สิน 7 ล้านบาทเศษ หนี้สิน 121.6 ล้านบาท มีเงินฝาก 2 บัญชีเพียง 114,079 บาท (แจ้งว่าหย่า-นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์อดีตภรรยา)

แสดงว่าขณะยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช.แต่ละครั้ง นายสันติมีเงินฝากเพียง 1 แสนบาทเศษ , 6 แสนบาทเศษ และ 1.4 ล้านบาทเศษตามลำดับ

ขณะที่นายไชยาตอนพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ครบ 1 ปี วันที่ 25 กันยายน 2552 ระบุมีเงินฝาก 5 บัญชีรวม 3,226,644 บาท จากทรัพย์สิน 5,711,901 บาท นางจุไรภรรยามีเงินฝาก 9 บัญชีรวม 4,553,410 บาท จากทรัพย์สินรวม 75,209,410 บาท นางจุไรมีหนี้สิน 1,511,530 บาท

ก่อนหน้านี้ตอนพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขครบ 1 ปี วันที่ 7 มีนาคม 2552 ระบุ มีเงินฝาก 6 บัญชี 1,086,730 บาท ไม่มีหนี้สิน นางจุไรมีเงินฝาก 9 บัญชี 4,878,895 บาท จากทรัพย์สิน 76,034,895 บาท หนี้สิน 2,043,396 บาท

แสดงว่าขณะยื่นบัญชีฯต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช.แต่ละครั้งนายไชยามีเงินฝาก 1 ล้านบาท และ 3.2 ล้านบาทตามลำดับ

และถ้าย้อนไปดูคำสั่ง "แช่แข็ง" ทางการเงินต่อบุคคลทั้งสองคนจะพบว่า

กรณีนายสันติ มีข้อมูลระบุว่าดีเอสไอได้ตรวจสอบพบว่าในช่วงเดือนกันยายน 2552 –พฤษภาคม 2553 มีการโอนเงินเข้าในบัญชีธนาคารของนายสันติประมาณ 21.5 ล้านบาท และถอนเงินออกจากบัญชีภายใน 9 วัน

กรณีนายไชยา ในช่วงเวลาเดียวกัน มีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน โดยมียอดเงินหมุนเวียนประมาณ 40 ล้านบาท (ฝากประมาณ 18 ล้านบาท ถอนประมาณ 19 ล้านบาท) ซึ่งมีการฝากถอนเงินเกือบทุกวัน

ในการยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ ดีเอสไอตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงิน) นายสันติแจ้งว่ามีรายได้ "เงินเดือน" ส.ส.จากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552 จำนวน 1,076,954 บาท ส่วนนางวันเพ็ญมีรายได้ ในช่วงเดียวกัน 1,251,960 บาท

ไม่มีรายได้อื่น

ขณะที่นายไชยาในการยื่นบัญชีฯเดือนมีนาคม 2552 แจ้งว่ามีรายได้เงินเดือนจากเอกชน 2,400,000 บาท

เงื่อนปมที่น่าสนใจก็คือ นายสันติแจ้ง ป.ป.ช.ว่ามีรายได้จากเงินเดือน ส.ส. ประมาณเดือนละ 1 แสนบาท ไม่มีธุรกิจอื่น กลับมีเงินโอนเข้าในบัญชีเงินฝาก 21.5 ล้านบาท

ขณะที่นายไชยา แจ้ง ป.ป.ช.ว่ามีเงินลงทุนเพียงไม่กี่แสนบาท มีรายได้เงินเดือนจากเอกชน 2.4 ล้านบาท แต่บัญชีเงินฝากธนาคารมีกระแสเงินหมุนเวียนมากถึง 40 ล้านบาท

นอกจากถูกดีเอสไอตรวจสอบความเชื่อมโยงกับท่อน้ำเลี้ยงแดงหรือไม่แล้ว

อีกด้านหนึ่งอาจถูกตั้งคำถามด้วยว่า ยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช. ครบถ้วนหรือไม่?

ที่มา. มติชนออนไลน์