โดย.กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
ในตอนนี้ คงมีคนที่ใช้งานโลกอินเตอร์เน็ตน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักระบบ เครือข่ายทางสังคม (Social Network) ที่เรียกว่า ‘facebook’ (สามารถเข้าไป ดู ชม หรือใช้ได้จาก http://www.facebook.com – นี่คือการโฆษณาที่ไม่ได้รับเงินตอบแทนใดๆ) โดยนับวัน คนที่ “ติด” facebook นี้ก็ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าสงสัยว่าทำไม ทำไม ทำไม...
ผมอยากจะเสนอลงไปอย่างชัดเจนในที่นี้ว่า ผมมองว่าแท้จริงแล้ว “การเล่น facebook นั้นมันก็คือ การสำเร็จความใคร่ทางจิต และสังคมของผู้ใช้” นั่นแหละ ฉะนั้นสภาพการ “ติด” facebook จึงไม่ได้ต่างอะไรจากการที่คุณ “ติดรสมือขวา (หรือซ้าย) ของตน ในการสำเร็จความใคร่ทางกายภาพ” เลย
หากเราลองเปรียบเทียบด้วยฐานคิดที่ว่า การเข้าสังคม และปะทะสังสรรค์กันด้วยการพบปะกันโดยตรงนั้น เสมือนกับ “การร่วมเพศ” ที่คนอย่างน้อย 2 คนต้องมีการ “เข้าถึง” กันทั้งทางกายภาพ และทางผัสสะอื่นๆ แล้ว การเล่น facebook ที่ทำให้คุณเต็มตื้นทางจิต และสังคมได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือทำอะไรอื่น แม้แต่การก้าวออกจากปริมณฑลแห่งอำนาจของตนเองนั้น จึงทำให้ การเล่น facebook ไม่ได้ต่างอะไรไปจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ที่ทำให้คุณประสบกับความสุข ซูอาเว่ ของคุณได้ ภายในปริมณฑลแห่งอำนาจของคุณอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะด้วยแขนซ้าย หรือแขนขวา หรือสองแขนพร้อมๆ กันไป
ไม่เพียงเท่านั้น หากเรามาลองมองบทบาทของการร่วมเพศผ่านกระบวนทัศน์แบบสายจิตพิเคราะห์ที่มองว่าแท้จริงแล้วการร่วมเพศนั้นก็คือ การเข้าสู่จุดสุดยอดด้วยตนเอง ซึ่งว่ากันในเชิงหลักการแล้วก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเลย หรือก็คือ หากมองบนฐานนี้การเล่น facebook ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการไปพบเพื่อนที่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยนัก ตราบเท่าที่มันยังนำไปสู่จุดสุดยอดได้ดุจเดียวกัน หรือก็คือ บนฐานของ The end justifies the means. นั่นเอง
นอกไปจากนี้สภาวะที่เป็นดั่งการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของ facebook นี้นั่นเอง ที่ทำให้ผมได้มานั่งนึกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเรียกได้ว่าเป็นแฟชั่นในทางวิชาการในระยะหลังๆ มานี้เลย นั่นก็คือ บทความที่มีเนื้อหาหลักๆ เกี่ยวกับการที่ facebook มัน “ให้นิยามใหม่ (Redefine)” ต่อ “พื้นที่ส่วนบุคคล” ของเรา แน่นอนว่า โดยมากแล้วงานเหล่านี้จะบ่งชี้ว่า facebook เข้าไปบุกทำลายความเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลต่างๆ นาๆ ... แต่ นั่นน่ะ จริงหรือ?
หากเรามองว่าการสำเร็จความใคร่นั้นเป็นสัญญะแห่งการดำดิ่งสู่พื้นที่ความเป็นส่วนตัวอย่างเป็นที่สุดแล้ว (ซึ่งผมเชื่อว่าโดยทั่วไป ก็คงจะทำให้มันอยู่ในปริมณฑลส่วนตัวมากที่สุดอยู่แล้ว นอกจากจะถ่ายหนังโป๊อยู่) การใช้ facebook ในฐานะการสำเร็จความใคร่ทางสังคม ก็ย่อมหมายถึงการดำดิ่งสู่พื้นที่ส่วนบุคคลอย่างเต็มที่ แทนที่จะเป็นการลดทอนอย่างที่พยายามบ่นด่ากันไม่ใช่หรือ?
ในโลกของ facebook ผู้ใช้จะได้เสพสุข, ดำดิ่งกับการกลายเป็นเจ้าอำนาจในการสื่อสารนั้นๆ ตัวผู้ใช้มีสิทธิอุปโลกน์ “โลกส่วนตัว ที่มีรูปธรรม” ของตนขึ้นมา และเลือกกรองเอาเฉพาะสิ่งที่ตนอนุมัติให้เข้ามาได้ ในดินแดนแห่งนี้ตัวผู้ใช้จะดำเนินการสนทนากับ “โลก” ในระนาบที่ผิดแปลกไป จากเดิมที่อยู่ในระนาบที่ “เท่าเทียมกัน” ก็จะกลายมาเป็นการอยู่ในระนาบที่ “ตัวผู้ใช้เหนือกว่าโดยสัมบูรณ์” ดังการใช้มือกับอวัยวะเพศของตนเองที่ตัวเจ้าของร่างกายมีอำนาจ และกรรมสิทธิ์เหนือร่างกายตนอย่างเต็มที่ ผิดกับการร่วมเพศที่เป็นการประลองอำนาจระหว่างบุคคล
นั่นทำให้ใน facebook คุณสามารถเลือกที่จะ “สร้างตัวตนโดยสัมบูรณ์ที่ตัดขาดจากการรับรู้ภายนอก” ได้ คุณสามารถด่าทอในสิ่งที่คุณไม่กล้าที่จะทำเมื่ออยู่ในระนาบความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน, กด “ชอบ (like)” ข้อความที่คุณคิดว่าดูโก้เก๋ แม้ว่าคุณอาจจะไม่เคยเข้าใจมันเลย, หรือแสดงออกทางอารมณ์อย่างสุดฤทธิ์ ด้วยใบหน้าที่เรียบเฉยดังแก้มก้นเด็ก, ฯลฯ กล่าวคือ facebook ได้ทำให้เกิด “พื้นที่ส่วนบุคคล ที่คุณสามารถสร้างตัวตนโดยสัมบูรณ์ที่คุณต้องการ” จากนั้นก็สัมผัสกับความใคร่ทางสังคมเมื่อมีคนมาปฏิสัมพันธ์กับ “ตัวตนส่วนตัวสัมบูรณ์” ของคุณนั้น...”ซูอาเว่” กันไปข้างหนึ่ง
ด้วยระนาบความสัมพันธ์ที่ทำให้คุณกลายเป็นเจ้าอำนาจนี้เองที่ทำให้คนเราเสพติด facebook กันมากขึ้นอย่างล้นหลาม จริงๆ แล้วก็เป็น irony อย่างหนึ่งทีเดียว ที่การเข้าถึงจุดสุดยอดทางสังคม – วัฒนธรรม มีลักษณะที่สวนทางกับการเข้าถึงจุดสุดยอดทางกายภาพ ที่ความนิยมนั้นจะพัฒนาไปจาก “การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เข้าไปสู่การร่วมเพศ” แต่ในทางสังคมแล้ว กลับกลายเป็น “การร่วมเพศ เข้าสู่การสำเร็จความใคร่” ซึ่งจะว่าไปแล้ว ส่วนหนึ่งนั้นก็อาจจะมาจาก “ทางเลือก” ก็เป็นได้ ในขณะที่ทางกายภาพนั้น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ถูกบีบให้เป็นทางเลือกหลักเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งจะหาคู่ร่วมรักได้ (หากไม่นับข่มขืน) ในทางตรงกันข้าม ก่อนการมีระบบ
social network อย่าง facebook เรากลับถูกบีบให้ร่วมเพศทางสังคม – วัฒนธรรม โดยไม่มีตัวเลือกในการสำเร็จความใคร่เลย ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ ที่แม้จะดูมีความเป็นส่วนตัว แต่ระนาบความสัมพันธ์ก็ยังคงไม่ได้แตกต่างอะไรจากเดิม และยังไม่ใช่การตัดขาดโดยสัมบูรณ์ระหว่างตัวผู้ใช้ กับโลกภายนอก มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเป็นตัวตนในจินตกรรมอันแท้จริงมากำกับ เช่น น้ำเสียง ที่แม้จะเบื่อแสนเบื่อ แต่ก็ต้องทำสดใสร่าเริง ไปจนถึง MSN ที่แม้จะดูส่วนตัวมากขึ้น แต่ระนาบความสัมพันธ์ก็ไม่ได้แตกต่างเช่นกัน ปัจจัยอื่นๆ อันนำมาสู่ความไม่สมบูรณ์ของตัวตนในจินตกรรมก็คงอยู่เช่นกัน เช่น ความไวในการตอบสนอง หรือแม้แต่ท่าทีผ่านการตอบ อย่างการที่อีกฝ่ายพิมพ์มายืดยาว และตอบกลับแค่ “อืม” เป็นต้น กล่าวคือ ด้วยสภาพที่ถูกบีบคั้น และจำเจ ของการมีตัวเลือกเดียวมาโดยตลอดในระยะแรก (การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ในกรณีเชิงกายภาพ และการร่วมเพศ ในกรณีเชิงสังคม – วัฒนธรรม) ที่ทำให้เกิดการถ่ายเท ของการเสพติดมาสู่อีกทางเลือกหนึ่งได้อย่างง่ายดาย เมื่อได้ครอบครองอำนาจในการเลือกทางเลือกใหม่นั่นเอง
สุดท้าย...ก็ขอให้ชาว facebook ทุกท่าน จงถึงจุดสุดยอดโดยทั่วกันเทอญ
ที่มา.ประชาไท
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บทเรียนไอร์แลนด์เหนือ...จากมิคสัญญีสู่สันติภาพ
ท่ามกลางบรรยากาศการคลำทางสู่ความปรองดอง สมานฉันท์ และสันติภาพในสังคมไทย ทั้งจากปมปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในส่วนกลาง และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แทบมองไม่เห็นแสงสว่าง ยังคงมีตัวอย่างความขัดแย้งขนาดใหญ่ที่จบลงได้ด้วยกระบวนการเจรจาให้ศึกษาและถอดบทเรียน
เมื่อกลางเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ในการเรียนการสอนหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข หรือ "4 ส." รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้าได้จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ และอดีตสมาชิกขบวนการไอร์อาร์เอ (Irish Republican Army) ซึ่งเคยมีปัญหาขัดแย้งถึงขั้นเข่นฆ่ากันมาก่อน แต่ปัจจุบันได้หันหน้ามาร่วมมือกันสร้าง "กระบวนการสันติภาพ" อันนำมาสู่การยุติความรุนแรงยืดเยื้อในไอร์แลนด์เหนือได้ในที่สุด
ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอังกฤษ ปัญหาบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมื่อชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จำนวนมากได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ ทำให้ประชากรดั้งเดิมซึ่งเป็นชาวไอริชนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกรู้สึกว่าถูกขโมยดินแดนไป และเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านเพื่อเรียกร้องอิสระในการปกครองตนเอง
กระทั่งปี ค.ศ.1921 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้ลงนามในสนธิสัญญา Government of Ireland Act โดยอังกฤษยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป
การแบ่งประเทศครั้งนั้นทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรโปรแตสแตนท์ประมาณร้อยละ 60 และประชากรคาทอลิกราวร้อยละ 40 กลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นชาวโปรแตสแตนท์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก และต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษเพื่อไปผนวกกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์
กลุ่ม Unionist เป็นเสียงส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือ กุมอำนาจทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมานานเกือบ 50 ปี กระทั่งปี ค.ศ.1968 ได้เกิดการเดินขบวนประท้วงเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม และยุติการกดขี่ชาวคาทอลิก
การประท้วงขยายตัวเป็นความรุนแรงถึงขั้นปะทะกันระหว่างกองกำลังประชาชนทั้งสองฝ่าย หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Troubles กินเวลานานถึง 30 ปี ก่อให้เกิดความสูญเสียกว่า 3,600 ชีวิต บาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจหลายหมื่นคน ทั้งยังมีผู้ถูกจับกุม 36,000 คน
แต่แล้วสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ก็เริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อมีกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างไออาร์เอกับรัฐบาลอังกฤษ รวมทั้งกลุ่มที่ไม่มีอำนาจรัฐ (Non State Holder) ในปี ค.ศ.1994 นำไปสู่สัญญาณที่ดีของการเริ่มหยุดยิงในบางช่วง
กระทั่งปี ค.ศ.1998 ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพจากความพยายามแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยสันติวิธี โดยให้อังกฤษถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้แก่คณะผู้บริหารและสภาของไอร์แลนด์เหนือ ในลักษณะของการแบ่งสรรอำนาจระหว่างพรรคการเมืองหลักของทั้งสองฝ่าย
ผลจากข้อตกลงสันติภาพ ทำให้วันนี้คนที่เคยอยู่คนละขั้วคนละฝ่ายกัน และเคยไล่เข่นฆ่ากัน กลับมานั่งอยู่บนเวทีเดียวกันได้!
"ฟัง"เพื่อสันติภาพ
วิทยากรจากไอร์แลนด์เหนือที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประกอบด้วย Alex Maskey สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Sinn Fein มีอุดมการณ์แยกดินแดนจากอังกฤษเพื่อตั้งรัฐอิสระ, Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Democratic Unionist มีจุดยืนต้องการอยู่กับอังกฤษต่อไป, Michael Culbert อดีตสมาชิกขบวนการไออาร์เอ และนักโทษการเมือง ซึ่งวันนี้เป็นผู้อำนวยการ Coiste องค์กรที่ดูแลนักโทษการเมืองของไออาร์เอ และ Ian White ผู้อำนวยการศูนย์ Glencree ซึ่งเป็นเอ็นจีโอไอร์แลนด์เหนือ ทำหน้าที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายสามารถพูดคุยกันได้
ความน่าทึ่งก็คือ คนเหล่านี้มานั่งบนเวทีเดียวกัน และพูดกันเรื่องสันติภาพ!
Ian White ถอดประสบการณ์ให้ฟังว่า ปัจจัยสำคัญของกระบวนการสันติภาพคือทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพราะทุกฝ่ายล้วนมีคุณูปการต่อกระบวนการสันติภาพ แต่การสร้างกระบวนการสันติภาพนั้น เขาใช้คำว่า "Easy to say but difficult to do" หรือ “พูดง่ายแต่ทำยาก” เพราะมักจะมีคำถามว่าไปคุยกับคนที่ฆ่าเราได้อย่างไร
"ความยากคือการดึงคนที่ไม่ใช่เพื่อนเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ" เขาบอก และว่า การส่งกำลังทหารเข้าไปแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ใช่คำตอบอย่างแน่นอน เพราะเป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วจากหลายๆ พื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น รากเหง้าของปัญหาที่ไอร์แลนด์เหนือคือความไม่เท่าเทียม ความพยายามปลูกฝังให้ยอมรับอัตลักษณ์ของอีกฝ่าย ฉะนั้นทางแก้จึงไม่ใช่อาวุธปืน
Alex Maskey เสริมว่า เคล็ดลับความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพ คือประชาชนต้องรู้ว่ากำลังเจรจาเรื่องอะไร มีความเข้าใจ และต้องเป็นรูปธรรม ผลของกระบวนการต้องทำให้ชีวิตของประชาชนทุกฝ่ายดีขึ้น
ขณะที่ Jimmy Spratt อดีตตำรวจ ให้ทัศนะว่า กระบวนการสันติภาพใช้เวลายาวนาน ฉะนั้นแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือประชาชนทั่วไปต้องแสดงให้เห็นว่าต้องการสันติภาพจริงๆ ก่อน การจะแสวงหาทางออกต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องรู้จักรับฟังความเห็นของคนอื่นที่ไม่เหมือนกับเรา ต้องฟังว่าคนอื่นมีปัญหาอะไรบ้าง จะได้ช่วยกันแก้ แม้ปัญหาที่เจอจะไม่เหมือนกับเราก็ตาม
"การแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธ แต่ใช้จิตใจ การดึงทุกฝ่ายมานั่งด้วยกันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดการถ่วงดุลและได้รับการยอมรับในที่สุด"
ในฐานะอดีตตำรวจ เขาบอกว่า "จุดเปลี่ยน" ในทัศนะของเขาเอง คือการที่ได้ไปงานศพแล้วเห็นน้ำตาของผู้สูญเสีย ไม่ว่าจะฝ่ายไหนทุกคนก็ร้องไห้เหมือนกัน ความสูญเสียร่วมกันทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ ขณะที่กฎหมายควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินแก้ไขได้ชั่วคราว แต่ไม่ยั่งยืน
Michael Culbert อดีตสมาชิกไออาร์เอ ซึ่งเคยติดคุกนานถึง 16 ปี บอกว่า ในอดีตรัฐบาลอังกฤษไม่เคยรู้เลยว่าอะไรทำให้ ไออาร์เอ ต้องต่อสู้และต้องการประกาศเอกราชจากอังกฤษ หนำซ้ำอังกฤษยังแก้ปัญหาด้วยการสนับสนุนให้คนไอริชบางกลุ่มมีอำนาจปกครอง ประชาชนส่วนที่เหลือจึงต้องต่อสู้
"อังกฤษมองไม่ออกว่าอะไรเป็นปัญหาหลัก อะไรเป็นปัญหารอง อังกฤษมองแบบผู้ปกครอง สร้างโรงเรียนให้ สร้างบ้านจัดสรรให้ แต่ไม่รู้ว่าอะไรที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง เมื่อคนโดนกดขี่ ก็ต้องหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้ เป็นความคิดทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ประเทศ ฉะนั้นการใช้กำลังทหารตำรวจเข้าแก้ปัญหา จะทำให้ปัญหายิ่งหนักและบานปลาย”
อดีตสมาชิกไออาร์เอ เสนอว่า แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนคือต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการเจรจา และเอื้อต่อกระบวนการสร้างสันติภาพด้วย สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องฟังกันและกัน...
หลายประโยคจากวิทยากรที่สะท้อนปัญหาความขัดแย้ง บางมุมก็ไม่ต่างอะไรกับที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะในบริบทของม็อบเสื้อแดง หรือสามจังหวัดภาคใต้ก็ตาม แต่ความต่างก็คือประเทศอื่นเขาเริ่มสร้างกระบวนการสันติภาพกันแล้ว หลายชาตินับไปถึงสิบแล้วด้วยซ้ำ...
เมื่อไหร่ไทยจะเริ่มนับหนึ่ง?!?
( หมายเหตุ รายงานชิ้นนี้ ผลิตโดย ทีมข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา )
ที่มา.มติชนออนไลน์
เมื่อกลางเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ในการเรียนการสอนหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข หรือ "4 ส." รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้าได้จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ และอดีตสมาชิกขบวนการไอร์อาร์เอ (Irish Republican Army) ซึ่งเคยมีปัญหาขัดแย้งถึงขั้นเข่นฆ่ากันมาก่อน แต่ปัจจุบันได้หันหน้ามาร่วมมือกันสร้าง "กระบวนการสันติภาพ" อันนำมาสู่การยุติความรุนแรงยืดเยื้อในไอร์แลนด์เหนือได้ในที่สุด
ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอังกฤษ ปัญหาบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมื่อชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จำนวนมากได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ ทำให้ประชากรดั้งเดิมซึ่งเป็นชาวไอริชนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกรู้สึกว่าถูกขโมยดินแดนไป และเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านเพื่อเรียกร้องอิสระในการปกครองตนเอง
กระทั่งปี ค.ศ.1921 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้ลงนามในสนธิสัญญา Government of Ireland Act โดยอังกฤษยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป
การแบ่งประเทศครั้งนั้นทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรโปรแตสแตนท์ประมาณร้อยละ 60 และประชากรคาทอลิกราวร้อยละ 40 กลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นชาวโปรแตสแตนท์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก และต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษเพื่อไปผนวกกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์
กลุ่ม Unionist เป็นเสียงส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือ กุมอำนาจทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมานานเกือบ 50 ปี กระทั่งปี ค.ศ.1968 ได้เกิดการเดินขบวนประท้วงเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม และยุติการกดขี่ชาวคาทอลิก
การประท้วงขยายตัวเป็นความรุนแรงถึงขั้นปะทะกันระหว่างกองกำลังประชาชนทั้งสองฝ่าย หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Troubles กินเวลานานถึง 30 ปี ก่อให้เกิดความสูญเสียกว่า 3,600 ชีวิต บาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจหลายหมื่นคน ทั้งยังมีผู้ถูกจับกุม 36,000 คน
แต่แล้วสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ก็เริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อมีกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างไออาร์เอกับรัฐบาลอังกฤษ รวมทั้งกลุ่มที่ไม่มีอำนาจรัฐ (Non State Holder) ในปี ค.ศ.1994 นำไปสู่สัญญาณที่ดีของการเริ่มหยุดยิงในบางช่วง
กระทั่งปี ค.ศ.1998 ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพจากความพยายามแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยสันติวิธี โดยให้อังกฤษถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้แก่คณะผู้บริหารและสภาของไอร์แลนด์เหนือ ในลักษณะของการแบ่งสรรอำนาจระหว่างพรรคการเมืองหลักของทั้งสองฝ่าย
ผลจากข้อตกลงสันติภาพ ทำให้วันนี้คนที่เคยอยู่คนละขั้วคนละฝ่ายกัน และเคยไล่เข่นฆ่ากัน กลับมานั่งอยู่บนเวทีเดียวกันได้!
"ฟัง"เพื่อสันติภาพ
วิทยากรจากไอร์แลนด์เหนือที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประกอบด้วย Alex Maskey สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Sinn Fein มีอุดมการณ์แยกดินแดนจากอังกฤษเพื่อตั้งรัฐอิสระ, Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Democratic Unionist มีจุดยืนต้องการอยู่กับอังกฤษต่อไป, Michael Culbert อดีตสมาชิกขบวนการไออาร์เอ และนักโทษการเมือง ซึ่งวันนี้เป็นผู้อำนวยการ Coiste องค์กรที่ดูแลนักโทษการเมืองของไออาร์เอ และ Ian White ผู้อำนวยการศูนย์ Glencree ซึ่งเป็นเอ็นจีโอไอร์แลนด์เหนือ ทำหน้าที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายสามารถพูดคุยกันได้
ความน่าทึ่งก็คือ คนเหล่านี้มานั่งบนเวทีเดียวกัน และพูดกันเรื่องสันติภาพ!
Ian White ถอดประสบการณ์ให้ฟังว่า ปัจจัยสำคัญของกระบวนการสันติภาพคือทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพราะทุกฝ่ายล้วนมีคุณูปการต่อกระบวนการสันติภาพ แต่การสร้างกระบวนการสันติภาพนั้น เขาใช้คำว่า "Easy to say but difficult to do" หรือ “พูดง่ายแต่ทำยาก” เพราะมักจะมีคำถามว่าไปคุยกับคนที่ฆ่าเราได้อย่างไร
"ความยากคือการดึงคนที่ไม่ใช่เพื่อนเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ" เขาบอก และว่า การส่งกำลังทหารเข้าไปแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ใช่คำตอบอย่างแน่นอน เพราะเป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วจากหลายๆ พื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น รากเหง้าของปัญหาที่ไอร์แลนด์เหนือคือความไม่เท่าเทียม ความพยายามปลูกฝังให้ยอมรับอัตลักษณ์ของอีกฝ่าย ฉะนั้นทางแก้จึงไม่ใช่อาวุธปืน
Alex Maskey เสริมว่า เคล็ดลับความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพ คือประชาชนต้องรู้ว่ากำลังเจรจาเรื่องอะไร มีความเข้าใจ และต้องเป็นรูปธรรม ผลของกระบวนการต้องทำให้ชีวิตของประชาชนทุกฝ่ายดีขึ้น
ขณะที่ Jimmy Spratt อดีตตำรวจ ให้ทัศนะว่า กระบวนการสันติภาพใช้เวลายาวนาน ฉะนั้นแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือประชาชนทั่วไปต้องแสดงให้เห็นว่าต้องการสันติภาพจริงๆ ก่อน การจะแสวงหาทางออกต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องรู้จักรับฟังความเห็นของคนอื่นที่ไม่เหมือนกับเรา ต้องฟังว่าคนอื่นมีปัญหาอะไรบ้าง จะได้ช่วยกันแก้ แม้ปัญหาที่เจอจะไม่เหมือนกับเราก็ตาม
"การแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธ แต่ใช้จิตใจ การดึงทุกฝ่ายมานั่งด้วยกันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดการถ่วงดุลและได้รับการยอมรับในที่สุด"
ในฐานะอดีตตำรวจ เขาบอกว่า "จุดเปลี่ยน" ในทัศนะของเขาเอง คือการที่ได้ไปงานศพแล้วเห็นน้ำตาของผู้สูญเสีย ไม่ว่าจะฝ่ายไหนทุกคนก็ร้องไห้เหมือนกัน ความสูญเสียร่วมกันทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ ขณะที่กฎหมายควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินแก้ไขได้ชั่วคราว แต่ไม่ยั่งยืน
Michael Culbert อดีตสมาชิกไออาร์เอ ซึ่งเคยติดคุกนานถึง 16 ปี บอกว่า ในอดีตรัฐบาลอังกฤษไม่เคยรู้เลยว่าอะไรทำให้ ไออาร์เอ ต้องต่อสู้และต้องการประกาศเอกราชจากอังกฤษ หนำซ้ำอังกฤษยังแก้ปัญหาด้วยการสนับสนุนให้คนไอริชบางกลุ่มมีอำนาจปกครอง ประชาชนส่วนที่เหลือจึงต้องต่อสู้
"อังกฤษมองไม่ออกว่าอะไรเป็นปัญหาหลัก อะไรเป็นปัญหารอง อังกฤษมองแบบผู้ปกครอง สร้างโรงเรียนให้ สร้างบ้านจัดสรรให้ แต่ไม่รู้ว่าอะไรที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง เมื่อคนโดนกดขี่ ก็ต้องหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้ เป็นความคิดทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ประเทศ ฉะนั้นการใช้กำลังทหารตำรวจเข้าแก้ปัญหา จะทำให้ปัญหายิ่งหนักและบานปลาย”
อดีตสมาชิกไออาร์เอ เสนอว่า แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนคือต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการเจรจา และเอื้อต่อกระบวนการสร้างสันติภาพด้วย สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องฟังกันและกัน...
หลายประโยคจากวิทยากรที่สะท้อนปัญหาความขัดแย้ง บางมุมก็ไม่ต่างอะไรกับที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะในบริบทของม็อบเสื้อแดง หรือสามจังหวัดภาคใต้ก็ตาม แต่ความต่างก็คือประเทศอื่นเขาเริ่มสร้างกระบวนการสันติภาพกันแล้ว หลายชาตินับไปถึงสิบแล้วด้วยซ้ำ...
เมื่อไหร่ไทยจะเริ่มนับหนึ่ง?!?
( หมายเหตุ รายงานชิ้นนี้ ผลิตโดย ทีมข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา )
ที่มา.มติชนออนไลน์
เสาหลักที่หักโค่นของประชาธิปไตย
นับกาลล่วงเลยผ่านยาวนานถึง 78 ปีแห่งการปฏิวัติสยามประเทศ ก้าวข้ามการเปลี่ยนระบบสังคมเก่า เข้าสู้อุดมคติแห่งการปกครองของเสรีชนผู้ใฝ่ฝัน “ประชาธิปไตย” โดยนักปกครองหัวสมัยใหม่ขณะนั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “คณะราษฎร” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475
เป็นที่ทราบกันดีเหตุการณ์ในวัน นั้นเต็มไปด้วยความสุ่มเสี่ยงล่อแหลม มากมายเพราะอาจซ้ำรอย “กบฏ ร.ศ. 130” ซึ่งจะว่าไปก็ถือเป็นเหตุการณ์ที่สืบเนื่องกันมานั่นเอง
แต่แล้วเหตุการณ์ต่างๆ กลับผ่านพ้นไปด้วยดี ไพร่ฟ้าได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองตามสิทธิเสรีภาพในแบบประชา ธิปไตย
ซึ่งภายหลังคณะราษฎรได้ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรขึ้น โดยปรากฏอยู่ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และถือเป็นนโนบายของคณะกรรมการ ราษฎรชุดแรกในระบอบประชาธิปไตยของ ประเทศสยาม
และหลัก 6 ประการนี้ มีสรุปคำ ใจความหลักคือ “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา”
หลัก 6 ประการสามารถประมวลได้ดังนี้
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้ง หลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะ พยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่า ราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6.จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
หลัก 6 ประการที่กล่าวมานี้คือแบบแผนของประชาธิปไตย ที่เชื่อว่าจะนำมาซึ่งความสงบสุขของประชาชนตามแนวคิด ของผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยในสมัยนั้น ก่อนที่จะถูกปล้นโดยรัฐบาลทหารใน ยุคต่อมา
ซึ่งนับเวลาที่ล่วงเลยมา 78 ปีที่ผ่านมานี้หลัก 6 ประการแห่งประชา ธิปไตยกลับเลือนหายไปอย่างสิ้นเชิง เพราะประชาธิปไตยที่เรารู้จักกันอยู่ เช่นตอนนี้กลับเหลือแค่เสรีภาพ... อิสระในการสนองความต้องการส่วนตัว โดยอ้างว่า... “เพื่อประชาธิปไตย” จนทำให้งงกันไปหมดแล้วว่าไอ้ประชาธิป ไตยที่ว่าอยู่บนพานใบเดียวกันหรือเปล่า
ทุกวันนี้เราจะเห็นหลัก 6 ประการก็แต่เพียงที่เป็นสัญลักษณ์ทางประติมากรรมเท่านั้นอย่างเช่นการออกแบบป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยให้มีประตู 6 ช่องและพระขรรค์ 6 เล่ม หรือศาลากลางจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร มีเสาใหญ่หกเสาด้านหน้า ซึ่งอ้างอิงถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
แต่เสาหลักของประชาธิปไตยได้ ถูกหักโค่นไปนานแล้วโดยที่เราเองกลับ ไม่รู้ตัว เพราะสำคัญผิดแต่ความต้องการ สนองอารมณ์ตัวเอง
ที่มา.สยามธุรกิจ
เป็นที่ทราบกันดีเหตุการณ์ในวัน นั้นเต็มไปด้วยความสุ่มเสี่ยงล่อแหลม มากมายเพราะอาจซ้ำรอย “กบฏ ร.ศ. 130” ซึ่งจะว่าไปก็ถือเป็นเหตุการณ์ที่สืบเนื่องกันมานั่นเอง
แต่แล้วเหตุการณ์ต่างๆ กลับผ่านพ้นไปด้วยดี ไพร่ฟ้าได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองตามสิทธิเสรีภาพในแบบประชา ธิปไตย
ซึ่งภายหลังคณะราษฎรได้ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรขึ้น โดยปรากฏอยู่ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และถือเป็นนโนบายของคณะกรรมการ ราษฎรชุดแรกในระบอบประชาธิปไตยของ ประเทศสยาม
และหลัก 6 ประการนี้ มีสรุปคำ ใจความหลักคือ “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา”
หลัก 6 ประการสามารถประมวลได้ดังนี้
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้ง หลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะ พยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่า ราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6.จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
หลัก 6 ประการที่กล่าวมานี้คือแบบแผนของประชาธิปไตย ที่เชื่อว่าจะนำมาซึ่งความสงบสุขของประชาชนตามแนวคิด ของผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยในสมัยนั้น ก่อนที่จะถูกปล้นโดยรัฐบาลทหารใน ยุคต่อมา
ซึ่งนับเวลาที่ล่วงเลยมา 78 ปีที่ผ่านมานี้หลัก 6 ประการแห่งประชา ธิปไตยกลับเลือนหายไปอย่างสิ้นเชิง เพราะประชาธิปไตยที่เรารู้จักกันอยู่ เช่นตอนนี้กลับเหลือแค่เสรีภาพ... อิสระในการสนองความต้องการส่วนตัว โดยอ้างว่า... “เพื่อประชาธิปไตย” จนทำให้งงกันไปหมดแล้วว่าไอ้ประชาธิป ไตยที่ว่าอยู่บนพานใบเดียวกันหรือเปล่า
ทุกวันนี้เราจะเห็นหลัก 6 ประการก็แต่เพียงที่เป็นสัญลักษณ์ทางประติมากรรมเท่านั้นอย่างเช่นการออกแบบป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยให้มีประตู 6 ช่องและพระขรรค์ 6 เล่ม หรือศาลากลางจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร มีเสาใหญ่หกเสาด้านหน้า ซึ่งอ้างอิงถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
แต่เสาหลักของประชาธิปไตยได้ ถูกหักโค่นไปนานแล้วโดยที่เราเองกลับ ไม่รู้ตัว เพราะสำคัญผิดแต่ความต้องการ สนองอารมณ์ตัวเอง
ที่มา.สยามธุรกิจ
ความเหมือนบนความแตกต่าง
ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองยุคใหม่ที่ผ่านมา แทบไม่มีความแตกต่างจากสมัยนี้เท่าไรนัก จะต่างกันตรงที่แค่การสื่อสาร วิทยาการ และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น แต่จิตใจของคนที่ถืออำนาจในมือกลับตกต่ำเหมือนเดิม มุ่งหวังแต่จะหวงอำนาจ กอบโกยผลประโยชน์ เงินทอง ลาภ ยศ สรรเสริญเข้าตัวและพวกพ้อง
โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งถ้านับเหตุการณ์การเมืองที่ เกิดขึ้นกับสังคมไทย นับวันจะยิ่งเหมือนเราหมุนกงล้อประวัติศาสตร์กลับมาที่เดิม ที่สำคัญบางช่วงบางตอนก็ไปคล้ายคลึงกับประวัติศาสตร์การเมืองของต่างประเทศ อย่างไม่ตั้งใจ
เหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ในการเมืองไทย ต่างสะท้อนมุมมองออกมาอย่างเด่นชัดในหลายเรื่อง อาทิ เรื่องของผลประโยชน์ อำนาจ และเงินตรา รวมไปถึงการยกเอาสถาบัน หรือลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาเกี่ยว และสุดท้ายมักจะจบลงด้วยประเด็นก่อการร้าย ที่ผ่านมามีหลายเรื่องราวที่คล้ายกับในอดีต
ไล่ตั้งแต่การเมืองยุคใหม่สมัยการปราบปรามนักศึกษา ประชาชน เมื่อ 14 ต.ค.2516 และ 6 ต.ค.2519 สมัยนั้นคนถืออำนาจก็อ้างว่า กลุ่มต่อต้านมีอาวุธร้ายแรง เป็นกลุ่มผู้ก่อการร้าย โอ!!! ชั่งคล้ายกับยุคนี้เสียนี่กระไร เช่นเดียวกันกับยุคพฤษภาทมิฬ ที่ผู้มีอำนาจก็กล่าวหาในทำนองเดียวกัน และนี่คือหนึ่งในหนัง ม้วนเดียวกัน ที่ตอนหน้าท่านจะได้พบกับวัฏจักรทางการเมืองตั้งแต่ยุคเปลี่ยนแปลง การปกครอง 2475
สำหรับส่วนที่ไปคล้ายคลึงกับสถานการณ์ในต่างประเทศ คงต้องยกให้กับเหตุการณ์นองเลือดในเกาหลีเมื่อ 18 พฤษภาคม 1980 ครั้งนั้นรัฐบาลชุนดูฮวาน หลังจากเข้าควบคุมสภาและจับกุมนักการเมืองหลายคน รวมไปถึงนักประชาธิปไตย หัวเอียงซ้ายอย่างคิมแดจุง ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของเกาหลีระหว่างปี 1998-2003 โดยครั้งนั้นเขาได้รับการตัดสินโทษประหารชีวิต แต่ก็รอดมาได้
สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้นักศึกษาและประชาชนรวมตัวกันต่อต้านกว่า 300,000 คน และจัดตั้งเป็นกองทัพประชาชนต่อสู้กับรัฐบาลทรราช ต่อมารัฐบาล ก็ได้ส่งกองกำลังทหารทั้งทางบกและทางอากาศมากกว่า 200,000 นาย กวาดล้างกลุ่มผู้ชุมนุมในย่านใจกลางเมือง โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 90 นาที
ว่ากันว่าทหารเกาหลีถือโอกาสยิงขณะที่ประชาชนและนักศึกษาเคารพธงชาติ โดยท้ายที่สุดก็ยัดเยียดให้ผู้ถูกสังหารเป็นผู้ก่อการร้ายและกบฏคอมมิวนิสต์ไปตามระเบียบ จนกระทั่งในปี 2003 จากข้อมูลในเหตุการณ์ครั้งนั้น พบว่ามีผู้เสียชีวิต 207 คน บาดเจ็บ 2,392 คน และเหยื่อทั่วๆ ไป อีกกว่า 987 คน ซึ่งคาดกันว่าผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตน่าจะมากกว่านี้
เหตุการณ์นี้แทบจะคล้ายกับหลายๆ เหตุสงครามกลางเมืองในบ้านเรา ที่ต่างกันแค่บทสรุปสุดท้าย ที่จอมบงการมือเปื้อนเลือดถูกดำเนินคดี แต่ในเมืองไทยคนสั่งการโดยตรงและคนที่เกี่ยวข้องก็ยังคงลอยนวล..???
แต่ในใจผมเชื่อลึกๆ ว่า บาปกรรมมีจริง และไม่แน่อีกไม่นาน เราอาจจะเหมือนเกาหลีอย่างน้อยอีก 2 อย่างคือ มีการลงโทษจอมเผด็จการตัวจริง และมี การชำระความคืนความเป็นธรรมให้กับผู้บริสุทธิ์ทุกชีวิต ที่ต้องปลิดปลิว
วันนั้นใกล้มาถึงแล้ว เตรียมตัวเตรียมใจได้เลย เมื่อความจริงปรากฏ ท่านจะรู้ว่า การเสวยสุขบนกองเลือด คือ “ความสุขจอมปลอม”
ที่มา.สยามธุรกิจ
โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งถ้านับเหตุการณ์การเมืองที่ เกิดขึ้นกับสังคมไทย นับวันจะยิ่งเหมือนเราหมุนกงล้อประวัติศาสตร์กลับมาที่เดิม ที่สำคัญบางช่วงบางตอนก็ไปคล้ายคลึงกับประวัติศาสตร์การเมืองของต่างประเทศ อย่างไม่ตั้งใจ
เหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ในการเมืองไทย ต่างสะท้อนมุมมองออกมาอย่างเด่นชัดในหลายเรื่อง อาทิ เรื่องของผลประโยชน์ อำนาจ และเงินตรา รวมไปถึงการยกเอาสถาบัน หรือลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาเกี่ยว และสุดท้ายมักจะจบลงด้วยประเด็นก่อการร้าย ที่ผ่านมามีหลายเรื่องราวที่คล้ายกับในอดีต
ไล่ตั้งแต่การเมืองยุคใหม่สมัยการปราบปรามนักศึกษา ประชาชน เมื่อ 14 ต.ค.2516 และ 6 ต.ค.2519 สมัยนั้นคนถืออำนาจก็อ้างว่า กลุ่มต่อต้านมีอาวุธร้ายแรง เป็นกลุ่มผู้ก่อการร้าย โอ!!! ชั่งคล้ายกับยุคนี้เสียนี่กระไร เช่นเดียวกันกับยุคพฤษภาทมิฬ ที่ผู้มีอำนาจก็กล่าวหาในทำนองเดียวกัน และนี่คือหนึ่งในหนัง ม้วนเดียวกัน ที่ตอนหน้าท่านจะได้พบกับวัฏจักรทางการเมืองตั้งแต่ยุคเปลี่ยนแปลง การปกครอง 2475
สำหรับส่วนที่ไปคล้ายคลึงกับสถานการณ์ในต่างประเทศ คงต้องยกให้กับเหตุการณ์นองเลือดในเกาหลีเมื่อ 18 พฤษภาคม 1980 ครั้งนั้นรัฐบาลชุนดูฮวาน หลังจากเข้าควบคุมสภาและจับกุมนักการเมืองหลายคน รวมไปถึงนักประชาธิปไตย หัวเอียงซ้ายอย่างคิมแดจุง ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของเกาหลีระหว่างปี 1998-2003 โดยครั้งนั้นเขาได้รับการตัดสินโทษประหารชีวิต แต่ก็รอดมาได้
สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้นักศึกษาและประชาชนรวมตัวกันต่อต้านกว่า 300,000 คน และจัดตั้งเป็นกองทัพประชาชนต่อสู้กับรัฐบาลทรราช ต่อมารัฐบาล ก็ได้ส่งกองกำลังทหารทั้งทางบกและทางอากาศมากกว่า 200,000 นาย กวาดล้างกลุ่มผู้ชุมนุมในย่านใจกลางเมือง โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 90 นาที
ว่ากันว่าทหารเกาหลีถือโอกาสยิงขณะที่ประชาชนและนักศึกษาเคารพธงชาติ โดยท้ายที่สุดก็ยัดเยียดให้ผู้ถูกสังหารเป็นผู้ก่อการร้ายและกบฏคอมมิวนิสต์ไปตามระเบียบ จนกระทั่งในปี 2003 จากข้อมูลในเหตุการณ์ครั้งนั้น พบว่ามีผู้เสียชีวิต 207 คน บาดเจ็บ 2,392 คน และเหยื่อทั่วๆ ไป อีกกว่า 987 คน ซึ่งคาดกันว่าผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตน่าจะมากกว่านี้
เหตุการณ์นี้แทบจะคล้ายกับหลายๆ เหตุสงครามกลางเมืองในบ้านเรา ที่ต่างกันแค่บทสรุปสุดท้าย ที่จอมบงการมือเปื้อนเลือดถูกดำเนินคดี แต่ในเมืองไทยคนสั่งการโดยตรงและคนที่เกี่ยวข้องก็ยังคงลอยนวล..???
แต่ในใจผมเชื่อลึกๆ ว่า บาปกรรมมีจริง และไม่แน่อีกไม่นาน เราอาจจะเหมือนเกาหลีอย่างน้อยอีก 2 อย่างคือ มีการลงโทษจอมเผด็จการตัวจริง และมี การชำระความคืนความเป็นธรรมให้กับผู้บริสุทธิ์ทุกชีวิต ที่ต้องปลิดปลิว
วันนั้นใกล้มาถึงแล้ว เตรียมตัวเตรียมใจได้เลย เมื่อความจริงปรากฏ ท่านจะรู้ว่า การเสวยสุขบนกองเลือด คือ “ความสุขจอมปลอม”
ที่มา.สยามธุรกิจ
สงครามสาดโคลนประชาชนต้องฟังดีๆ
สำนัก(ข่าว)พระพยอม
โดย.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 กำลังเป็นที่จับจ้องว่าเป็นสนามหนึ่งที่มีการสาดโคลนเข้าใส่กันมากที่สุด ฉะนั้นคนฟังจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ ถี่ถ้วน ไม่ว่าจะฟังฝ่ายไหนมาก็ตาม
และแล้วเทศกาลสาดโคลนก็มาถึง ซึ่งจะใช้สนามเลือกตั้ง กทม. เขต 6 เป็นเวทีระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ 2 พรรคใหญ่นี้ยากที่จะยอมให้แก่กัน ถึงแม้ผู้สมัครจากฝ่ายหลังบอกว่าจะไม่กล่าวโจมตีใคร จะหาเสียงโดยเสนอเพียงนโยบาย แต่เชื่อเถอะว่าบรรดาลิ่วล้อหรือคนในพรรคคงไม่เป็นเช่นนั้นแน่ ต้องมีออกมาอัด ออกมาสวน เพราะอย่างไรการปราศรัยย่อมหนีไม่พ้นการพาดพิง ถ้าการเมืองไทยมีแต่การหาเสียงเชิงนโยบายอย่างเดียวจริง ไม่โจมตีใคร ไม่ใส่ร้ายป้ายสีใคร ไม่มีการสาดโคลนใส่ใคร ป่านนี้ประเทศไทยก้าวหน้ากว่านี้เยอะแล้ว ไม่ต้องมีปัญหาอย่างที่เคย
เราก็ได้รู้ได้เห็นกันอยู่ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะที่ผ่านก็มีแต่การสาดโคลนเข้าใส่กันในยามใดที่มีการเลือกผู้แทน สำหรับเวทีนี้ประชาชนเขาวิจารณ์กันว่าฝ่ายค้านคงเอาเรื่องรัฐบาลมือปื้นเลือดมาเป็นประเด็นสาดใส่กันแน่ๆ ส่วนรัฐบาลก็คงจะหยิบเรื่องผู้ก่อการร้าย คนเผาบ้านเผาเมืองมาพูดปราศรัยเช่นกัน ถ้าเป็นอย่างนี้ประชาชน ประเทศชาติก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ถ้าการเมืองมีแต่เรื่องการกลั่นแกล้งประเทศก็จะไม่ไปไหน และก็ดูจะหนักกว่าเก่า จะพากันลงเหวลงนรกกันมากกว่าเก่า กลายเป็นว่าการเลือกตั้งเป็นการเลือกนรกกันไปเลย ไม่ใช่เลือกคนแต่เป็นการเลือกนรกให้กับชาติบ้านเมือง แต่ถ้าผู้สมัครแต่ละพรรคมีการพูดกันแต่นโยบายและอาศัยความประนีประนอมรอมชอมกัน ทุกคนช่วยกันเสนอแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองกลับมามีความสงบ เพื่อประชาชนจะได้มาร่วมมือกันเดินหน้าสร้างสรรค์ประเทศไทย ไม่ล้าหลัง ไม่ตกหล่มของความขัดแย้ง ไม่เป็นแผ่นเสียงตกร่องเหมือนอย่างที่แล้วๆมา บ้านเมืองเราก็จะกลับมามีความสุข
มีคนกล่าวว่าหากเรายังคิดจะสู้กันเหมือนเดิมก็คงมีแต่จะตายกันแบบเดิม เมื่อก่อนเราเคยสู้กันในป่าในสมัยที่ยังมีคอมมิวนิสต์ ก็จะมีคนตายในป่าเพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ล่าสุดมาสู้กันในเมืองก็ถูกยกตำแหน่งให้เป็นผู้ก่อการร้าย อันนี้ก็มาตายกันในเมืองกันเกือบร้อย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหันมาสู้กันแบบใหม่ ที่เห็นแย่ที่สุดคือสู้แบบอารยะขัดขืน ยังดีที่สู้แบบนี้ไม่มีใครเป็นอะไร แต่อาจเสียอยู่บ้างตรงที่อารยะขัดขืนบางครั้งก็พาประชาธิปไตยไปอยู่ใต้เครื่องมือของกองทัพ อย่าเพิ่งถามว่าใครฆ่าประชาชน เชื่อเถอะว่าไม่มีใครกล้ายอมรับหรอก
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหันกลับมานำพาประเทศหนีให้พ้นจากวิกฤตนี้กันเสียที อย่าสร้างวิกฤตให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้นเลย เพราะจะเป็นบาปเป็นกรรมกับทุกฝ่ายที่ทำให้บ้านเมืองบอบซ้ำ จะเป็นแบบที่ฝรั่งวิจารณ์หรือไม่ว่าประเทศไทยเสียโอกาส เพราะมีระบบการเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาต่อความเจริญก้าวหน้า
ทำอย่าไรพวกนักการเมืองถึงจะได้รู้สึกตัว โดยไม่หลงมัวเมาทำตัวเป็นอุปสรรค ทำตัวเป็นต้นเหตุขัดขวางความเจริญของบ้านเมือง เพราะจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย และยังจะไม่ได้เป็นการแสดงความฉลาดของคนที่เป็นนักการเมือง
สำหรับประชาชนก็เช่นเดียวกัน เห็นกันบ้างหรือไม่ว่านักการเมืองแต่ละคนพูดจากันอย่างไร พูดจากลับกลอกไปวันๆอย่างไรบ้าง ด่ากันไปด่ากันมา ฟ้องกันมาฟ้องกันไปคนละสองสามที อย่างล่าสุดได้ยินคนระดับแกนนำพันธมิตรฯเม้งใส่กันเรื่องเงินบริจาค แต่ตอนนี้ท่าจะยอมความกันแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นประชาชนก็ได้ฟังอยู่ แต่ยังไม่รู้ว่าใครพูดจริง อาจจะเป็นการฮั้วกันหรือเปล่า เขายอมปรองดองด้วยหรือเปล่า เขายอมประนีประนอมคดี คงไม่ใช่ว่าเขาปรองดองเพราะความรู้ถึงดีต่อกัน หรือเขาปรองดองด้วยความรู้สึกผิด เพราะกลัวติดคุกติดตะรางทั้งคู่ จึงไม่เกิดประโยชน์อะไรถ้าเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราในฐานะประชาชนทั่วไป ถ้าได้ฟังอะไรมาอย่าเพิ่งคล้อยตามหรืออารมณ์ขึ้น หากได้ฟังการปราศรัยโจมตีด่ากันด่าไปด่ากันมา
ทั้งหมดน่าจะพอกันได้แล้ว มีเวทีหนึ่งเขาจะนำคนถูกเผากับคนจัดม็อบมาเจอกัน ตรงนี้น่าจะมีหลายทีม คือเอาพวกเสียหายมานั่งคุยกับพวกจัดม็อบ ม็อบสนามบินมาด้วย มาฟังความทุกข์ร้อนเสียหายของคนที่สูญเสียจะได้ฉุกคิดว่าไม่ใช่เรื่องสนุก อาจจะคิดกันได้ว่าไม่น่าทำเลย จนต้องมาวิปฏิสารกันต่อไป
เพราะฉะนั้นการเมืองคราวนี้อย่าให้ต้องมีวิปฏิสารในภายหลัง คือต้องมานั่งเสียใจต่อการกระทำในช่วงที่มีการสาดโคลนใส่กันไม่เกิดประโยชน์
สู้มาช่วยกันสร้างคนโดยไม่เป็นตัวต้นเหตุของความวุ่นวาย แต่เข้ามาเป็นต้นเหตุแห่งความประสานรอยร้าว ให้สมัครสมานสามัคคีปรองดองกันเหมือนเดิมดีกว่า
เจริญพร
โดย.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 กำลังเป็นที่จับจ้องว่าเป็นสนามหนึ่งที่มีการสาดโคลนเข้าใส่กันมากที่สุด ฉะนั้นคนฟังจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ ถี่ถ้วน ไม่ว่าจะฟังฝ่ายไหนมาก็ตาม
และแล้วเทศกาลสาดโคลนก็มาถึง ซึ่งจะใช้สนามเลือกตั้ง กทม. เขต 6 เป็นเวทีระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ 2 พรรคใหญ่นี้ยากที่จะยอมให้แก่กัน ถึงแม้ผู้สมัครจากฝ่ายหลังบอกว่าจะไม่กล่าวโจมตีใคร จะหาเสียงโดยเสนอเพียงนโยบาย แต่เชื่อเถอะว่าบรรดาลิ่วล้อหรือคนในพรรคคงไม่เป็นเช่นนั้นแน่ ต้องมีออกมาอัด ออกมาสวน เพราะอย่างไรการปราศรัยย่อมหนีไม่พ้นการพาดพิง ถ้าการเมืองไทยมีแต่การหาเสียงเชิงนโยบายอย่างเดียวจริง ไม่โจมตีใคร ไม่ใส่ร้ายป้ายสีใคร ไม่มีการสาดโคลนใส่ใคร ป่านนี้ประเทศไทยก้าวหน้ากว่านี้เยอะแล้ว ไม่ต้องมีปัญหาอย่างที่เคย
เราก็ได้รู้ได้เห็นกันอยู่ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะที่ผ่านก็มีแต่การสาดโคลนเข้าใส่กันในยามใดที่มีการเลือกผู้แทน สำหรับเวทีนี้ประชาชนเขาวิจารณ์กันว่าฝ่ายค้านคงเอาเรื่องรัฐบาลมือปื้นเลือดมาเป็นประเด็นสาดใส่กันแน่ๆ ส่วนรัฐบาลก็คงจะหยิบเรื่องผู้ก่อการร้าย คนเผาบ้านเผาเมืองมาพูดปราศรัยเช่นกัน ถ้าเป็นอย่างนี้ประชาชน ประเทศชาติก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ถ้าการเมืองมีแต่เรื่องการกลั่นแกล้งประเทศก็จะไม่ไปไหน และก็ดูจะหนักกว่าเก่า จะพากันลงเหวลงนรกกันมากกว่าเก่า กลายเป็นว่าการเลือกตั้งเป็นการเลือกนรกกันไปเลย ไม่ใช่เลือกคนแต่เป็นการเลือกนรกให้กับชาติบ้านเมือง แต่ถ้าผู้สมัครแต่ละพรรคมีการพูดกันแต่นโยบายและอาศัยความประนีประนอมรอมชอมกัน ทุกคนช่วยกันเสนอแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองกลับมามีความสงบ เพื่อประชาชนจะได้มาร่วมมือกันเดินหน้าสร้างสรรค์ประเทศไทย ไม่ล้าหลัง ไม่ตกหล่มของความขัดแย้ง ไม่เป็นแผ่นเสียงตกร่องเหมือนอย่างที่แล้วๆมา บ้านเมืองเราก็จะกลับมามีความสุข
มีคนกล่าวว่าหากเรายังคิดจะสู้กันเหมือนเดิมก็คงมีแต่จะตายกันแบบเดิม เมื่อก่อนเราเคยสู้กันในป่าในสมัยที่ยังมีคอมมิวนิสต์ ก็จะมีคนตายในป่าเพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ล่าสุดมาสู้กันในเมืองก็ถูกยกตำแหน่งให้เป็นผู้ก่อการร้าย อันนี้ก็มาตายกันในเมืองกันเกือบร้อย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหันมาสู้กันแบบใหม่ ที่เห็นแย่ที่สุดคือสู้แบบอารยะขัดขืน ยังดีที่สู้แบบนี้ไม่มีใครเป็นอะไร แต่อาจเสียอยู่บ้างตรงที่อารยะขัดขืนบางครั้งก็พาประชาธิปไตยไปอยู่ใต้เครื่องมือของกองทัพ อย่าเพิ่งถามว่าใครฆ่าประชาชน เชื่อเถอะว่าไม่มีใครกล้ายอมรับหรอก
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหันกลับมานำพาประเทศหนีให้พ้นจากวิกฤตนี้กันเสียที อย่าสร้างวิกฤตให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้นเลย เพราะจะเป็นบาปเป็นกรรมกับทุกฝ่ายที่ทำให้บ้านเมืองบอบซ้ำ จะเป็นแบบที่ฝรั่งวิจารณ์หรือไม่ว่าประเทศไทยเสียโอกาส เพราะมีระบบการเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาต่อความเจริญก้าวหน้า
ทำอย่าไรพวกนักการเมืองถึงจะได้รู้สึกตัว โดยไม่หลงมัวเมาทำตัวเป็นอุปสรรค ทำตัวเป็นต้นเหตุขัดขวางความเจริญของบ้านเมือง เพราะจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย และยังจะไม่ได้เป็นการแสดงความฉลาดของคนที่เป็นนักการเมือง
สำหรับประชาชนก็เช่นเดียวกัน เห็นกันบ้างหรือไม่ว่านักการเมืองแต่ละคนพูดจากันอย่างไร พูดจากลับกลอกไปวันๆอย่างไรบ้าง ด่ากันไปด่ากันมา ฟ้องกันมาฟ้องกันไปคนละสองสามที อย่างล่าสุดได้ยินคนระดับแกนนำพันธมิตรฯเม้งใส่กันเรื่องเงินบริจาค แต่ตอนนี้ท่าจะยอมความกันแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นประชาชนก็ได้ฟังอยู่ แต่ยังไม่รู้ว่าใครพูดจริง อาจจะเป็นการฮั้วกันหรือเปล่า เขายอมปรองดองด้วยหรือเปล่า เขายอมประนีประนอมคดี คงไม่ใช่ว่าเขาปรองดองเพราะความรู้ถึงดีต่อกัน หรือเขาปรองดองด้วยความรู้สึกผิด เพราะกลัวติดคุกติดตะรางทั้งคู่ จึงไม่เกิดประโยชน์อะไรถ้าเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราในฐานะประชาชนทั่วไป ถ้าได้ฟังอะไรมาอย่าเพิ่งคล้อยตามหรืออารมณ์ขึ้น หากได้ฟังการปราศรัยโจมตีด่ากันด่าไปด่ากันมา
ทั้งหมดน่าจะพอกันได้แล้ว มีเวทีหนึ่งเขาจะนำคนถูกเผากับคนจัดม็อบมาเจอกัน ตรงนี้น่าจะมีหลายทีม คือเอาพวกเสียหายมานั่งคุยกับพวกจัดม็อบ ม็อบสนามบินมาด้วย มาฟังความทุกข์ร้อนเสียหายของคนที่สูญเสียจะได้ฉุกคิดว่าไม่ใช่เรื่องสนุก อาจจะคิดกันได้ว่าไม่น่าทำเลย จนต้องมาวิปฏิสารกันต่อไป
เพราะฉะนั้นการเมืองคราวนี้อย่าให้ต้องมีวิปฏิสารในภายหลัง คือต้องมานั่งเสียใจต่อการกระทำในช่วงที่มีการสาดโคลนใส่กันไม่เกิดประโยชน์
สู้มาช่วยกันสร้างคนโดยไม่เป็นตัวต้นเหตุของความวุ่นวาย แต่เข้ามาเป็นต้นเหตุแห่งความประสานรอยร้าว ให้สมัครสมานสามัคคีปรองดองกันเหมือนเดิมดีกว่า
เจริญพร
วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ได้กิ๊วก๊าวดาราสาวไง
ผมเขียนบอกท่านโฆษกพรรคเพื่อไทย “พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์” ไปว่า เวียนเทียนบัตรเหลืองที่เป็นห่วงว่าจะเอามาใช้ในการเลือกตั้งซ่อมที่เขต 6 กรุงเทพฯ มันไม่แน่นอนเท่าเปลี่ยนหีบคะแนน กับกาบัตรยัด
พอวันจันทร์ ท่าน ส.ส.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ก็ให้สัมภาษณ์โครมออกมาว่า คนที่จะเปลี่ยนหีบบัตร
ก็คือทหาร
ร.ต.ท.เชาวริน บอกว่า เคยเจอตอนเลือกตั้งล่วงหน้าปี 2550 ดังนั้นในการเลือกตั้งล่วงหน้าเขต 6 ลงคะแนน 3 วัน 16-17-18 ก.ค.53 พรรคเพื่อไทยจะตั้งการ์ดเฝ้าหีบคะแนน 4 ชุด ๆ ละ10 คน กะละ 6 ชั่วโมง
ท่านรัฐมนตรีเชาวรินครับ เฝ้า 24 ชั่วโมงก็เอาไม่อยู่หรอกครับ เพราะท่านไม่มีอำนาจรัฐในมือ
และที่ไประบุว่าทหารจะทำนั้นไม่กลัวทหารเขาโกรธเอาหรือครับ
ก็อย่างว่าแหละนะครับ เลือกตั้งซ่อมเขต 6 กรุงเทพฯ มันยิ่งใหญ่มาก ผมเชื่อว่าฝ่ายรัฐบาลคงไม่มืออ่อนปล่อยให้ตัวเองแพ้ ถ้าแพ้ละก็ฝ่ายแดงหยันตายเลย ผมเชื่อว่าปชป.จะหาเสียงเต็มที่อย่างถูกกฎหมาย
ได้อ่านข้อเขียนในหน้า 5 บ้านเมืองของ “นายสบาย” ที่เขียนรายงานเรื่อง ประชาชนประเทศกินี ได้เลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่แล้ว เมื่อวันอาทิตย์ 27 มิ.ย.53 และวันเดียวกัน ประชาชนประเทศคีร์กีซสถาน ก็ได้ออกเสียงประชาติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังการโค่นล้มระบอบครอบครัวของประธานาธิบดีบาคิเยฟ เรียบร้อยแล้ว
ทหารกินี ฆ่าหมู่ประชาชน และข่มขืนผู้หญิง ในสนามฟุตบอลเมื่อวันที่ 28 ก.ย.52 หลังจากนั้นแค่ 9 เดือน 27 มิ.ย.53 ทหารก็แพ้ ยอมให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตย
ส่วนคีร์กีซสถานเร็วกว่า สู้แค่ 3 วันจบ ชาวบ้านเริ่มชุมนุมไล่ประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 6 กับ 7 มีนาฯ 53 บาคิเยฟก็เผ่นหนีออกนอกประเทศ แล้วมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ไม่อ้อยอิ่ง เร็วมากราวๆ 3 เดือนก็เสร็จ
ข้อเขียนในหน้า 5 ถามตบท้ายไว้ว่า ประชาชนกินีกับคีร์กีซสถานถูกทหารฆ่าเสียก่อนจึงได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แล้วประชาชนไทยล่ะ ถูกฆ่าเหมือนกันแล้วได้อะไร
ผมตอบให้เอามั้ย ได้มาเยอะนะครับ
1.ได้คณะค้นหาความจริงของคุณปู่คณิต ณ นคร
2.ได้คณะกำกับการปฏิรูปประเทศของคุณปู่อานันท์ ปันยารชุน
3.ได้สมัชชาปฏิรูปประเทศของคุณปู่ประเวศ วะสี
4.ได้คณะแก้รัฐธรรมนูญของว่าที่คุณปู่สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
5.วันที่ 1 กรกฎาฯ นี้ ก็จะได้กิ๊วก๊าวกับดาราสาวๆ ที่จะมาเป็นอาสาสมัครรับโทรศัพท์รับบริจาคความคิด
ชอบมั้ยกิ๊วก๊าวกับดาราสาวๆ ถ้าชอบ เช้าวันพฤหัสฯ ก็เชิญไปทำข่าวที่ทำเนียบรัฐบาล
คอลัมน์ :ฉลามเขียว
พอวันจันทร์ ท่าน ส.ส.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ก็ให้สัมภาษณ์โครมออกมาว่า คนที่จะเปลี่ยนหีบบัตร
ก็คือทหาร
ร.ต.ท.เชาวริน บอกว่า เคยเจอตอนเลือกตั้งล่วงหน้าปี 2550 ดังนั้นในการเลือกตั้งล่วงหน้าเขต 6 ลงคะแนน 3 วัน 16-17-18 ก.ค.53 พรรคเพื่อไทยจะตั้งการ์ดเฝ้าหีบคะแนน 4 ชุด ๆ ละ10 คน กะละ 6 ชั่วโมง
ท่านรัฐมนตรีเชาวรินครับ เฝ้า 24 ชั่วโมงก็เอาไม่อยู่หรอกครับ เพราะท่านไม่มีอำนาจรัฐในมือ
และที่ไประบุว่าทหารจะทำนั้นไม่กลัวทหารเขาโกรธเอาหรือครับ
ก็อย่างว่าแหละนะครับ เลือกตั้งซ่อมเขต 6 กรุงเทพฯ มันยิ่งใหญ่มาก ผมเชื่อว่าฝ่ายรัฐบาลคงไม่มืออ่อนปล่อยให้ตัวเองแพ้ ถ้าแพ้ละก็ฝ่ายแดงหยันตายเลย ผมเชื่อว่าปชป.จะหาเสียงเต็มที่อย่างถูกกฎหมาย
ได้อ่านข้อเขียนในหน้า 5 บ้านเมืองของ “นายสบาย” ที่เขียนรายงานเรื่อง ประชาชนประเทศกินี ได้เลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่แล้ว เมื่อวันอาทิตย์ 27 มิ.ย.53 และวันเดียวกัน ประชาชนประเทศคีร์กีซสถาน ก็ได้ออกเสียงประชาติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังการโค่นล้มระบอบครอบครัวของประธานาธิบดีบาคิเยฟ เรียบร้อยแล้ว
ทหารกินี ฆ่าหมู่ประชาชน และข่มขืนผู้หญิง ในสนามฟุตบอลเมื่อวันที่ 28 ก.ย.52 หลังจากนั้นแค่ 9 เดือน 27 มิ.ย.53 ทหารก็แพ้ ยอมให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตย
ส่วนคีร์กีซสถานเร็วกว่า สู้แค่ 3 วันจบ ชาวบ้านเริ่มชุมนุมไล่ประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 6 กับ 7 มีนาฯ 53 บาคิเยฟก็เผ่นหนีออกนอกประเทศ แล้วมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ไม่อ้อยอิ่ง เร็วมากราวๆ 3 เดือนก็เสร็จ
ข้อเขียนในหน้า 5 ถามตบท้ายไว้ว่า ประชาชนกินีกับคีร์กีซสถานถูกทหารฆ่าเสียก่อนจึงได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แล้วประชาชนไทยล่ะ ถูกฆ่าเหมือนกันแล้วได้อะไร
ผมตอบให้เอามั้ย ได้มาเยอะนะครับ
1.ได้คณะค้นหาความจริงของคุณปู่คณิต ณ นคร
2.ได้คณะกำกับการปฏิรูปประเทศของคุณปู่อานันท์ ปันยารชุน
3.ได้สมัชชาปฏิรูปประเทศของคุณปู่ประเวศ วะสี
4.ได้คณะแก้รัฐธรรมนูญของว่าที่คุณปู่สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
5.วันที่ 1 กรกฎาฯ นี้ ก็จะได้กิ๊วก๊าวกับดาราสาวๆ ที่จะมาเป็นอาสาสมัครรับโทรศัพท์รับบริจาคความคิด
ชอบมั้ยกิ๊วก๊าวกับดาราสาวๆ ถ้าชอบ เช้าวันพฤหัสฯ ก็เชิญไปทำข่าวที่ทำเนียบรัฐบาล
คอลัมน์ :ฉลามเขียว
แยกขังแกนนำนปช.ศาลไม่รับอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
เจ้าหน้าที่เรือนจำจับแกนนำ นปช. 11 คนแยกขังตามแดนต่างๆแล้ว หลังศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว ระบุเป็นคดีร้ายแรงมีอัตราโทษสูงหากให้ประกันเกรงว่าจะหลบหนี รัฐบาลเล็งหาวิธีกระชับอำนาจให้อยู่ในมือต่อไป จ่อส่งทหารออกมาปฏิบัติการอีกครั้งหลังเกิดเหตุยิงอาร์พีจีใส่คลังน้ำมัน แย้มอาจงัด พ.ร.บ.ความมั่นคงฯขึ้นมาใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินในบางพื้นที่ที่จะยกเลิก สั่งจับตากลุ่มข้าราชการฝักใฝ่เสื้อแดงหลังพบฝ่ายตรงข้ามรับรู้ความเคลื่อนไหวหน่วยงานรัฐตลอด “หมอพรทิพย์” ตรวจจักรยานยนต์ที่คนร้ายใช้ยิงอาร์พีจีพบเขม่าดินปืน
ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งกรณีที่ทนายความของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน พร้อมพวกรวม 10 คน ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวในข้อหาร่วมกันก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1-3
ศาลไม่รับอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว
ศาลมีคำสั่งว่า หลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่าข้อหาร่วมกันหรือใช้ผู้อื่นให้กระทำความผิดฐานก่อการร้ายมีอัตราโทษสูงถึงประหารชีวิตและเป็นภัยแก่ประชาชนโดยส่วนรวม หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเกรงผู้ต้องหาหลบหนี มีคำสั่งให้ยกคำร้อง
นายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช. กล่าวว่า ขณะนี้แกนนำ นปช. 11 คนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพได้ถูกแยกขังกระจัดกระจายตามแดนต่างๆแล้ว ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ไม่สมควร ดังนั้น จะไปยื่นเรื่องต่อนายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้นำทั้งหมดมาขังอยู่ในแดนเดียวกัน
ครม. ถกต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินวันที่ 6 ก.ค.
นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการขยายเวลาการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ศอฉ. ยังมีเวลาพิจารณาอีก 5 วัน ก่อนส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 6 ก.ค.
“กำลังพิจารณาเรื่องการเพิ่มกำลังทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย เพราะได้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นหลายครั้งหลังจากที่สั่งให้ทหารกลับเข้ากรมกอง เมื่อมีเหตุต่างๆเกิดขึ้นจึงต้องมาพิจารณาเรื่องการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะการใช้ที่ผ่านมาได้ผล และจะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น” นายถวิลกล่าวพร้อมยอมรับว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเรื่องสิทธิเสรีภาพกับความปลอดภัย หากทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อยได้ก็ถือว่าคุ้มค่า
“สุเทพ” ไม่พูดใครยิงอาร์พีจี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการ ศอฉ. กล่าวว่า ที่ยังเกิดเหตุร้ายอยู่เพราะว่ามีรอยรั่วในการดูแล เนื่องจากสถานที่สำคัญมีมากแต่กำลังเจ้าหน้าที่มีน้อย
“เรื่องยิงถังน้ำมันกรมพลาธิการทหารบกผมยังไม่อยากพูดว่าเป็นฝีมือของใคร เดี๋ยวจะเป็นประเด็นโต้แย้งกันอีก ความรุนแรงไม่ใช่เพิ่งจะมาเกิดแต่มีมาต่อเนื่อง” นายสุเทพกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนว่าจะต่อเวลาการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งทาง ศอฉ. กำลังพิจารณาอยู่ ส่วนความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็ต้องไม่ประมาท ศอฉ. ประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
สัปดาห์หน้ารู้โฟกัสพื้นที่ไหน
“เมื่อมีความชัดเจนเรื่องพื้นที่ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเราจะทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่ลงไปในจุดไหน อย่างไร” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ขณะนี้มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการให้บ้านเมืองมีปัญหา ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่แก้ไขและมีหลายมาตรการที่ช่วยป้องปรามได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเครือข่ายที่สร้างความวุ่นวายก็มีทรัพยากรมากพอสมควร แต่เชื่อมั่นว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าอย่างปรกติสุข แม้จะมีอุปสรรคแต่หากหลายฝ่ายร่วมมือกันก็จะทำให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะเข้าตรวจสอบถังบรรจุน้ำมันภายในกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี ที่ถูกคนร้ายยิงจรวดอาร์พีจีเข้าใส่เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุ
พบรถคนร้ายใช้ยิงอาร์พีจี
พ.ต.อ.กิตติ สุขสมภักดิ์ ผกก.กลุ่มงานสืบสวน พ.ต.ท.ฐิติพงศ์ สุริยะฉาย รอง ผกก. พ.ต.ท.สมชาย ขำสัจจา สว.สส.กลุ่มงานสืบสวน ภ.จว.นนทบุรี พร้อมกำลังได้ออกตรวจสอบจุดเกิดเหตุอีกครั้งอย่างละเอียด จนกระทั่งมาถึงบริเวณปากซอยทรายทอง 20 พบรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าสีน้ำเงิน ทะเบียน วขก 235 กทม. จอดทิ้งอยู่ ชาวบ้านให้ข้อมูลว่ามีผู้นำมาจอดทิ้งไว้ตั้งแต่วันเกิดเหตุยิงอาร์พีจี ซึ่งเมื่อคณะของ พญ.คุณหญิงพรทิพย์รับทราบจึงเดินทางมาตรวจสอบ พบบริเวณเบาะนั่งมีกระเป๋าเป้สีน้ำตาลพาดอยู่ ภายในไม่พบหลักฐานอะไร เบื้องต้นได้เก็บรอยนิ้วมือตามรถและกระเป๋าเป้ ทำให้พบคราบเขม่าดินปืนติดอยู่เป็นจำนวนมาก คาดว่าน่าจะเป็นรถที่คนร้ายใช้ก่อเหตุ
ตัวแทน “อ้อ-เอม-โอ๊ค” แจงธุรกรรม
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตัวแทนคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หรือ ณ ป้อมเพชร นายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อสอบถามข้อมูลที่ต้องการเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน
นายกิตติพร อรุณรัศม์ ทนายความนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ได้นำเอกสารบัญชีธนาคารของผู้เกี่ยวข้อง 6 บัญชีที่ถูก ศอฉ. อายัดมาชี้แจงเป็นการเบื้องต้น
“เงินของคนในครอบครัวชินวัตรถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) อายัดมาตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2550 ถึงวันที่ 28 เม.ย. 2553 ไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรได้ และเงินส่วนใหญ่ก็ถูกศาลสั่งยึดไปแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวจะเป็นท่อนำเลี้ยงให้คนเสื้อแดงตามข้อกล่าวหา”
“ทักษิณ” ต้องมาชี้แจงด้วยตัวเอง
นายกิตติพรกล่าวอีกว่า การชี้แจงวันนี้ชี้แจงในนามตัวแทนนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คงชี้แจงแทนไม่ได้ เพราะติดข้อหาก่อการร้ายคงต้องมาชี้แจงด้วยตัวเอง ส่วนกรณีของคุณหญิงพจมานมอบอำนาจให้นายสมพร พงษ์สุวรรณ เป็นทนายความเข้าชี้แจงแทน
ว่าที่ พ.ต.สมบัติ วงศ์คำแหง โฆษกสภาทนายความ แถลงว่า ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาสามารถร้องขอความช่วยเหลือทางคดีกับสภาทนายความได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งขณะนี้มีผู้ขอความช่วยเหลือ 400 รายแล้ว ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการบริเวณที่ชุมนุม เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงพบมูลค่าความเสียหายกว่า 144 ล้านบาท
ศอฉ. ยังไม่ถกใช้กำลังทหารคุมพื้นที่
ด้านการประชุม ศอฉ. ที่มีนายสุเทพเป็นประธานเมื่อช่วงเย็นวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่กองบัญชาการองทัพบก มีรายงานว่ายังไม่มีการพิจารณานำกำลังทหารออกมาปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย โดยให้ตำรวจแต่ละพื้นที่รับผิดชอบไปก่อน แต่หากเกินกำลังตำรวจจึงจะพิจารณานำทหารออกมาช่วย ที่ประชุมยังรับทราบรายงานจากฝ่ายข่าวที่พบการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในหลายจังหวัด โดยมีการรวมตัวกันในรูปแบบต่างๆจึงต้องเฝ้าติดตามพฤติกรรมต่อไป
สั่งฟัน “ทักษิณ” เบี้ยวแจงธุรกรรม
ส่วนกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ไม่เข้าชี้แจงการทำธุรกรรมการเงินให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปของกฎหมาย นอกจากนี้ยังรับทราบความคืบหน้าคดีความที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงที่อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ 205 คดี และความคืบหน้าการติดตามคนร้ายที่ลอบยิงอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันของกรมพลาธิการทหารบกด้วย
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลักการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะดูว่าเมื่อยกเลิกพื้นที่ใดแล้วตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยได้หรือไม่ และต้องดูด้วยว่าหากไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้นสามารถสนธิกำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าทำได้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินกลัวตำรวจรับมือไม่ได้
“รัฐบาลกำลังรอการรายงานจาก ศอฉ. โดยดูจากเรื่องการชุมนุมทางการเมือง การทำธุรกรรมทางการเงิน การปลุกระดมยั่วยุ และการก่อวินาศกรรม ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพิจารณาว่าจะต้องคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้หรือไม่ ซึ่งเรื่องการก่อวินาศกรรมถือเป็นเรื่องสำคัญที่ ศอฉ. พิจารณา รวมถึงเรื่องการปลุกระดมทางการเมืองที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง การปล่อยข่าวลือ การชุมนุมแฝงอะไรต่างๆ ส่วนเรื่องธุรกรรมทางเงินและเรื่องคดีก่อการร้ายดีเอสไอกำลังดำเนินการอยู่ หลักคิดคือในพื้นที่เปราะบางถ้ายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วต้องมั่นใจว่าคุมสถานการณ์ได้ โดยเฉพาะใน กทม. และพื้นที่รอบๆ ส่วนต่างจังหวัดอย่างอุดรธานี เชียงใหม่ ต้องดูว่าตำรวจสามารถทำงานได้หรือไม่ถ้ามีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าตำรวจดูแลได้ก็สามารถยกเลิกได้” นายปณิธานกล่าว
สั่งจับตาเจ้าหน้าที่รัฐสายข่าวเสื้อแดง
ส่วนการยิงอาร์พีจีใส่คลังน้ำมันของกรมพลาธิการนั้น นายปณิธานกล่าวว่า กลุ่มที่ปฏิบัติการมีศักยภาพและดูเหมือนว่ากลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลบางอย่างที่นำมาใช้ในการปฏิบัติการเป็นอย่างดี รับรู้ความเคลื่อนไหวของภาครัฐตลอดเวลา ชัดเจนว่ากลุ่มที่ปฏิบัติการเชื่อมโยงกับการชุมนุมที่ผ่านมา และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการก่อวินาศกรรม เชี่ยวชาญเรื่องการใช้อาวุธ มีผู้ให้ความช่วยเหลือในการหลบหนี ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ
เล็งงัด พ.ร.บ.มั่นคงฯใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“ขณะนี้กำลังจับตาดูพฤติกรรมเจ้าหน้าที่รัฐบางกลุ่มที่มีศักยภาพในการก่อวินาศกรรมอยู่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีไม่มากแต่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ผ่านมา” นายปณิธานกล่าวและว่า หากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินอาจเสนอให้กลับไปใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาราจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ) ส่วนแรกที่ให้มีการเฝ้าระวังร่วมกันของตำรวจและพลเรือน โดยให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (กอ.รมน.จังหวัด) เป็นเจ้าภาพดูแล และมีทหารเป็นผู้ช่วยพนักงาน และหากใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯส่วนที่สองที่มีการประกาศพื้นที่ความมั่นคงและมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่มีอำนาจเหมือน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ไม่มีการคุ้มครองการกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อเสนอให้ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เพราะมีแต่เสนอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือให้คงไว้เท่านั้น
เจ้าหน้าที่เรือนจำจับแกนนำ นปช. 11 คนแยกขังตามแดนต่างๆแล้ว หลังศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว ระบุเป็นคดีร้ายแรงมีอัตราโทษสูงหากให้ประกันเกรงว่าจะหลบหนี รัฐบาลเล็งหาวิธีกระชับอำนาจให้อยู่ในมือต่อไป จ่อส่งทหารออกมาปฏิบัติการอีกครั้งหลังเกิดเหตุยิงอาร์พีจีใส่คลังน้ำมัน แย้มอาจงัด พ.ร.บ.ความมั่นคงฯขึ้นมาใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินในบางพื้นที่ที่จะยกเลิก สั่งจับตากลุ่มข้าราชการฝักใฝ่เสื้อแดงหลังพบฝ่ายตรงข้ามรับรู้ความเคลื่อนไหวหน่วยงานรัฐตลอด “หมอพรทิพย์” ตรวจจักรยานยนต์ที่คนร้ายใช้ยิงอาร์พีจีพบเขม่าดินปืน
ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งกรณีที่ทนายความของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน พร้อมพวกรวม 10 คน ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวในข้อหาร่วมกันก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1-3
ศาลไม่รับอุทธรณ์คำสั่งห้ามประกันตัว
ศาลมีคำสั่งว่า หลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่าข้อหาร่วมกันหรือใช้ผู้อื่นให้กระทำความผิดฐานก่อการร้ายมีอัตราโทษสูงถึงประหารชีวิตและเป็นภัยแก่ประชาชนโดยส่วนรวม หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเกรงผู้ต้องหาหลบหนี มีคำสั่งให้ยกคำร้อง
นายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช. กล่าวว่า ขณะนี้แกนนำ นปช. 11 คนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพได้ถูกแยกขังกระจัดกระจายตามแดนต่างๆแล้ว ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ไม่สมควร ดังนั้น จะไปยื่นเรื่องต่อนายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้นำทั้งหมดมาขังอยู่ในแดนเดียวกัน
ครม. ถกต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินวันที่ 6 ก.ค.
นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการขยายเวลาการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ศอฉ. ยังมีเวลาพิจารณาอีก 5 วัน ก่อนส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 6 ก.ค.
“กำลังพิจารณาเรื่องการเพิ่มกำลังทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย เพราะได้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นหลายครั้งหลังจากที่สั่งให้ทหารกลับเข้ากรมกอง เมื่อมีเหตุต่างๆเกิดขึ้นจึงต้องมาพิจารณาเรื่องการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะการใช้ที่ผ่านมาได้ผล และจะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น” นายถวิลกล่าวพร้อมยอมรับว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเรื่องสิทธิเสรีภาพกับความปลอดภัย หากทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อยได้ก็ถือว่าคุ้มค่า
“สุเทพ” ไม่พูดใครยิงอาร์พีจี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการ ศอฉ. กล่าวว่า ที่ยังเกิดเหตุร้ายอยู่เพราะว่ามีรอยรั่วในการดูแล เนื่องจากสถานที่สำคัญมีมากแต่กำลังเจ้าหน้าที่มีน้อย
“เรื่องยิงถังน้ำมันกรมพลาธิการทหารบกผมยังไม่อยากพูดว่าเป็นฝีมือของใคร เดี๋ยวจะเป็นประเด็นโต้แย้งกันอีก ความรุนแรงไม่ใช่เพิ่งจะมาเกิดแต่มีมาต่อเนื่อง” นายสุเทพกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนว่าจะต่อเวลาการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งทาง ศอฉ. กำลังพิจารณาอยู่ ส่วนความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็ต้องไม่ประมาท ศอฉ. ประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
สัปดาห์หน้ารู้โฟกัสพื้นที่ไหน
“เมื่อมีความชัดเจนเรื่องพื้นที่ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเราจะทุ่มเททรัพยากรที่มีอยู่ลงไปในจุดไหน อย่างไร” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ขณะนี้มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการให้บ้านเมืองมีปัญหา ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่แก้ไขและมีหลายมาตรการที่ช่วยป้องปรามได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเครือข่ายที่สร้างความวุ่นวายก็มีทรัพยากรมากพอสมควร แต่เชื่อมั่นว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าอย่างปรกติสุข แม้จะมีอุปสรรคแต่หากหลายฝ่ายร่วมมือกันก็จะทำให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะเข้าตรวจสอบถังบรรจุน้ำมันภายในกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี ที่ถูกคนร้ายยิงจรวดอาร์พีจีเข้าใส่เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุ
พบรถคนร้ายใช้ยิงอาร์พีจี
พ.ต.อ.กิตติ สุขสมภักดิ์ ผกก.กลุ่มงานสืบสวน พ.ต.ท.ฐิติพงศ์ สุริยะฉาย รอง ผกก. พ.ต.ท.สมชาย ขำสัจจา สว.สส.กลุ่มงานสืบสวน ภ.จว.นนทบุรี พร้อมกำลังได้ออกตรวจสอบจุดเกิดเหตุอีกครั้งอย่างละเอียด จนกระทั่งมาถึงบริเวณปากซอยทรายทอง 20 พบรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าสีน้ำเงิน ทะเบียน วขก 235 กทม. จอดทิ้งอยู่ ชาวบ้านให้ข้อมูลว่ามีผู้นำมาจอดทิ้งไว้ตั้งแต่วันเกิดเหตุยิงอาร์พีจี ซึ่งเมื่อคณะของ พญ.คุณหญิงพรทิพย์รับทราบจึงเดินทางมาตรวจสอบ พบบริเวณเบาะนั่งมีกระเป๋าเป้สีน้ำตาลพาดอยู่ ภายในไม่พบหลักฐานอะไร เบื้องต้นได้เก็บรอยนิ้วมือตามรถและกระเป๋าเป้ ทำให้พบคราบเขม่าดินปืนติดอยู่เป็นจำนวนมาก คาดว่าน่าจะเป็นรถที่คนร้ายใช้ก่อเหตุ
ตัวแทน “อ้อ-เอม-โอ๊ค” แจงธุรกรรม
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตัวแทนคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หรือ ณ ป้อมเพชร นายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อสอบถามข้อมูลที่ต้องการเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน
นายกิตติพร อรุณรัศม์ ทนายความนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ได้นำเอกสารบัญชีธนาคารของผู้เกี่ยวข้อง 6 บัญชีที่ถูก ศอฉ. อายัดมาชี้แจงเป็นการเบื้องต้น
“เงินของคนในครอบครัวชินวัตรถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) อายัดมาตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2550 ถึงวันที่ 28 เม.ย. 2553 ไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรได้ และเงินส่วนใหญ่ก็ถูกศาลสั่งยึดไปแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวจะเป็นท่อนำเลี้ยงให้คนเสื้อแดงตามข้อกล่าวหา”
“ทักษิณ” ต้องมาชี้แจงด้วยตัวเอง
นายกิตติพรกล่าวอีกว่า การชี้แจงวันนี้ชี้แจงในนามตัวแทนนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คงชี้แจงแทนไม่ได้ เพราะติดข้อหาก่อการร้ายคงต้องมาชี้แจงด้วยตัวเอง ส่วนกรณีของคุณหญิงพจมานมอบอำนาจให้นายสมพร พงษ์สุวรรณ เป็นทนายความเข้าชี้แจงแทน
ว่าที่ พ.ต.สมบัติ วงศ์คำแหง โฆษกสภาทนายความ แถลงว่า ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาสามารถร้องขอความช่วยเหลือทางคดีกับสภาทนายความได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งขณะนี้มีผู้ขอความช่วยเหลือ 400 รายแล้ว ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการบริเวณที่ชุมนุม เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงพบมูลค่าความเสียหายกว่า 144 ล้านบาท
ศอฉ. ยังไม่ถกใช้กำลังทหารคุมพื้นที่
ด้านการประชุม ศอฉ. ที่มีนายสุเทพเป็นประธานเมื่อช่วงเย็นวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่กองบัญชาการองทัพบก มีรายงานว่ายังไม่มีการพิจารณานำกำลังทหารออกมาปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย โดยให้ตำรวจแต่ละพื้นที่รับผิดชอบไปก่อน แต่หากเกินกำลังตำรวจจึงจะพิจารณานำทหารออกมาช่วย ที่ประชุมยังรับทราบรายงานจากฝ่ายข่าวที่พบการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในหลายจังหวัด โดยมีการรวมตัวกันในรูปแบบต่างๆจึงต้องเฝ้าติดตามพฤติกรรมต่อไป
สั่งฟัน “ทักษิณ” เบี้ยวแจงธุรกรรม
ส่วนกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ไม่เข้าชี้แจงการทำธุรกรรมการเงินให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปของกฎหมาย นอกจากนี้ยังรับทราบความคืบหน้าคดีความที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงที่อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ 205 คดี และความคืบหน้าการติดตามคนร้ายที่ลอบยิงอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันของกรมพลาธิการทหารบกด้วย
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลักการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะดูว่าเมื่อยกเลิกพื้นที่ใดแล้วตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยได้หรือไม่ และต้องดูด้วยว่าหากไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้นสามารถสนธิกำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าทำได้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินกลัวตำรวจรับมือไม่ได้
“รัฐบาลกำลังรอการรายงานจาก ศอฉ. โดยดูจากเรื่องการชุมนุมทางการเมือง การทำธุรกรรมทางการเงิน การปลุกระดมยั่วยุ และการก่อวินาศกรรม ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพิจารณาว่าจะต้องคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้หรือไม่ ซึ่งเรื่องการก่อวินาศกรรมถือเป็นเรื่องสำคัญที่ ศอฉ. พิจารณา รวมถึงเรื่องการปลุกระดมทางการเมืองที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง การปล่อยข่าวลือ การชุมนุมแฝงอะไรต่างๆ ส่วนเรื่องธุรกรรมทางเงินและเรื่องคดีก่อการร้ายดีเอสไอกำลังดำเนินการอยู่ หลักคิดคือในพื้นที่เปราะบางถ้ายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วต้องมั่นใจว่าคุมสถานการณ์ได้ โดยเฉพาะใน กทม. และพื้นที่รอบๆ ส่วนต่างจังหวัดอย่างอุดรธานี เชียงใหม่ ต้องดูว่าตำรวจสามารถทำงานได้หรือไม่ถ้ามีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าตำรวจดูแลได้ก็สามารถยกเลิกได้” นายปณิธานกล่าว
สั่งจับตาเจ้าหน้าที่รัฐสายข่าวเสื้อแดง
ส่วนการยิงอาร์พีจีใส่คลังน้ำมันของกรมพลาธิการนั้น นายปณิธานกล่าวว่า กลุ่มที่ปฏิบัติการมีศักยภาพและดูเหมือนว่ากลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลบางอย่างที่นำมาใช้ในการปฏิบัติการเป็นอย่างดี รับรู้ความเคลื่อนไหวของภาครัฐตลอดเวลา ชัดเจนว่ากลุ่มที่ปฏิบัติการเชื่อมโยงกับการชุมนุมที่ผ่านมา และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการก่อวินาศกรรม เชี่ยวชาญเรื่องการใช้อาวุธ มีผู้ให้ความช่วยเหลือในการหลบหนี ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ
เล็งงัด พ.ร.บ.มั่นคงฯใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“ขณะนี้กำลังจับตาดูพฤติกรรมเจ้าหน้าที่รัฐบางกลุ่มที่มีศักยภาพในการก่อวินาศกรรมอยู่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีไม่มากแต่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ผ่านมา” นายปณิธานกล่าวและว่า หากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินอาจเสนอให้กลับไปใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาราจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ) ส่วนแรกที่ให้มีการเฝ้าระวังร่วมกันของตำรวจและพลเรือน โดยให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (กอ.รมน.จังหวัด) เป็นเจ้าภาพดูแล และมีทหารเป็นผู้ช่วยพนักงาน และหากใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯส่วนที่สองที่มีการประกาศพื้นที่ความมั่นคงและมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่มีอำนาจเหมือน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ไม่มีการคุ้มครองการกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อเสนอให้ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เพราะมีแต่เสนอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือให้คงไว้เท่านั้น
‘เติ้ง’!!ไม่คิดไถ่บาปบ้างหรือ?
‘
นอนกอด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน! เอาแต่พูด!! ปรองดองยาก!!
เป็นเพราะท่าทีของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ท่าทีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) หรือไม่??? ที่ทำให้สังคมไทยจับตามองและเชื่อว่า…
รัฐบาลยังไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
และสุดท้ายก็น่าจะคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ทุกเหตุการณ์ของความรุนแรงต่างๆ จะถูกตั้งข้อสงสัยเอาไว้ก่อนว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่ตั้งใจจะป่วนสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
การระเบิดข้างๆ พรรคภูมิใจไทย ทางนายเนวิน ชิดชอบ ซีอีโอตัวจริงเสียงจริง นายใหญ่ภูมิใจไทยของแท้ ก็ระบุออกมาเลยว่า มีเจตนามุ่งร้ายตนเองแน่
สุดท้ายก็เข้าล็อคเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะสามารถสรุปเหตุจูงใจได้ง่ายเหมือนกินขนม ว่า เป็นเหตุทางการเมือง
เช่นกันกับที่ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) มีการเรียกนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.น.) ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (ผบก.น.) เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ บ้านพักบุคคลสำคัญในพื้นที่กรุงเทพฯ กันชนิดพรึ่บเต็มพื้นที่
ชนิดที่ว่าหากเห็นว่ากำลังตำรวจมีไม่เพียงพอ ก็จะประสานขอกำลังจากฝ่ายทหารมาร่วมด้วย
ด้วยเหตุผลว่า เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีก่อเหตุลักษณะเดียวกับที่คลังน้ำมัน กรมพลาธิการทหารบก
แถม พล.ต.ท.สัณฐาน ยืนยันชัดเจนว่า ขณะนี้มีผู้ไม่ต้องการให้บ้านเมืองสงบจริง
อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ถือโอกาสชงลูกป้อน ศอฉ. และรัฐบาล ให้ชนิดเหน่งๆ หน้าประตูกันเลยทีเดียวว่า ขณะนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังมีความจำเป็น
อ้างว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่สำหรับคนคิดไม่ดีต่อบ้านเมือง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะเป็นเครื่องมือช่วยดูแลความสงบเรียบร้อย...
ซึ่งก็เข้าใจ เพราะ พล.ต.ท.สัณฐาน ไม่ได้มีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศ จึงเป็นธรรมดาที่จะไม่รู้ว่า ประเทศอื่นๆ นั้นมองประเทศไทยที่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วยสายตาอย่างไร รวมทั้งว่าธุรกิจท่องเที่ยวของไทยนั้นได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
มุมมองของ พล.ต.ท.สัณฐาน ดูจะสอดรับกันพอดิบพอดีกับมุมมองของนายสุเทพ ที่ระบุว่า การพิจารณาตัดสินใจเรื่องการต่ออายุ พ.ร.ก. หรือยกเลิกการประกาศใช้มีหลายทางเลือก
อย่างเช่นว่า อาจจะต่ออายุ 24 จังหวัดเลยก็ได้ ลดเหลือ 21 จังหวัดก็ได้ หรือแม้แต่จะเหลือแค่ 7 จังหวัดก็ได้เช่นกัน
เรียกว่า ลดแรงกดดันจากสายตาของไทยและต่างชาติที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ก็ไม่มีการพูดถึงเรื่องที่จะยกเลิกทั้งหมด เพียงแค่ลดจำนวนจังหวัดลงเท่านั้นล่ะพอได้
ฉะนั้นก็คงต้องรอลุ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 6 ก.ค. ที่จะถึงนี้ เพราะนายสุเทพจะชงเรื่องนี้เข้า ครม. ให้พิจารณาตัดสินใจว่า จะต่ออายุโดยควบคุมกี่จังหวัดดี
ท่าที วัตถุประสงค์ของรัฐบาล ตลอดจนแนวคิดในการที่จะต้องหาทาง “สยบทางการเมือง” กับพรรคการเมือง กลุ่มคนทางการเมืองที่เกี่ยวข้องโยงใย ผูกพัน หรือศรัทธาในตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ถือเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ต้องตีให้แตกกระจุยให้ได้... ไม่เช่นนั้นภารกิจถือว่ายังไม่บรรลุ
ด้วยเหตุนี้หรือไม่ ที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาพูดชัดเจนว่า ขณะนี้แม้ถือว่าเรียบร้อยดี แต่เชื่อว่า รัฐบาลคงไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้
เพราะหากยกเลิกไปแล้วก็ไม่แน่ใจว่า จะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่??
ซึ่งส่วนตัวคงตอบไม่ได้ว่าควรยกเลิกเมื่อใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่หากมีการเลือกตั้งใหญ่ ก็ต้องถึงเวลาที่จะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“หากมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็กระทบกับการท่องเที่ยว เรื่องนี้มันแย้งกันกับเรื่องความมั่นคง เพราะต่างประเทศเขาไม่มั่นใจ ถ้า พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังอยู่” นายบรรหาร กล่าว
รวมทั้งเรื่องการตั้งคณะกรรมการที่จะมาสร้างความปรองดอง นายบรรหาร กล่าวอย่างน่าคิดว่า
“ยากจังเลยเรื่องปรองดอง กรรมการที่ตั้งไว้ก็ต้องเหนื่อย ไม่รู้ว่าชาตินี้ จะปรองดองได้หรือเปล่า ชาตินี้คงปรองดองยาก”
ซึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงมองว่าปรองดองไม่ได้นั้น นายบรรหาร มองว่าเป็นเพราะ ถ้าหากความคิดเห็นต่างกัน ก็ปรองดองกันไม่ได้
คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่ ก็ต้องกลับไปถามรัฐบาลว่า ตั้งขึ้นมาทำไม แล้วจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่
“ต้องไปถามรัฐบาลเอง ถามผมไม่ได้ ถ้าความคิดเห็นแตกต่างกันก็ยากจะสร้างความปรองดอง ถ้ายอมๆ เขาหมด ใครว่าอย่างไรมาก็ยอมกันหมด ก็โอเคอย่างนั้นปรองดองได้” นายบรรหารระบุ
นั่นคือ มุมมองของนายบรรหาร ที่เชื่อว่า จนถึงวันนี้ สถานการณ์ยังปรองดองยาก
ตรงนี้จึงเป็นคำถามที่ต้องพุ่งกลับเข้าหารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ว่า ยังมุ่งมั่นในการสร้างความปรองดองจริงหรือไม่... หากคิดจะปรองดอง สิ่งสำคัญที่สุดไม่น่าจะใช่อย่างที่นายบรรหาร คิด คือ ยอมๆ กันไป
แต่น่าจะเป็นการทำให้สังคมเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมว่าไม่มี 2 มาตรฐานแล้ว
และพิสูจน์ความจริงในเรื่องของผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม โดยเฉพาะที่บริเวณวัดปทุมวนาราม ซึ่งรัฐบาล ศอฉ. สภาความมั่นคงฯ และหน่วยข่าวกรอง ควรจะต้องรู้ดีว่า กรณีพฤษภาอำมหิต ไม่เพียงก่อให้เกิดความเจ็บช้ำ ก่อให้เกิดรอยบาดหมาง
แต่ยังก่อให้เกิดการ “พูดต่อ” กันไม่รู้จบ และทำให้การปรองดองสมานฉันท์ที่แท้จริงเกิดขึ้นได้ยาก
และเช่นกันคำถามก็คงต้องย้อนพุ่งใส่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ด้วยเช่นกันว่า ในฐานะนักการเมืองผู้คร่ำหวอด ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และในฐานะนายใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา
ต้องการให้เกิดการปรองดองจริงๆ หรือไม่???
หากต้องการให้เกิดการปรองดอง นายบรรหารควรจะรู้ดีกว่าใครว่าควรผลักดันอย่างไร ให้ความรู้สึกกฎหมาย 2 มาตรฐานหมดไป ให้ความรู้สึกการมุ่งทำลายล้างกันทางการเมืองหมดไป
ทั้งหมดนายบรรหารรู้ดีอยู่แก่ใจ... ว่าพรรคร่วมรัฐบาลเป็นต้นเหตุสำคัญต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้ยังเกิดการขึงพืดเผชิญหน้ากันใช่หรือไม่
นายบรรหาร ซึ่งบอกเองว่า ชาตินี้ไม่รู้ว่าจะปรองดองได้หรือไม่...
ไม่คิดที่จะ “ไถ่บาป” บ้างหรือ???
ที่มา.บางกอกทูเดย์
นอนกอด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน! เอาแต่พูด!! ปรองดองยาก!!
เป็นเพราะท่าทีของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ท่าทีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) หรือไม่??? ที่ทำให้สังคมไทยจับตามองและเชื่อว่า…
รัฐบาลยังไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
และสุดท้ายก็น่าจะคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ทุกเหตุการณ์ของความรุนแรงต่างๆ จะถูกตั้งข้อสงสัยเอาไว้ก่อนว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่ตั้งใจจะป่วนสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
การระเบิดข้างๆ พรรคภูมิใจไทย ทางนายเนวิน ชิดชอบ ซีอีโอตัวจริงเสียงจริง นายใหญ่ภูมิใจไทยของแท้ ก็ระบุออกมาเลยว่า มีเจตนามุ่งร้ายตนเองแน่
สุดท้ายก็เข้าล็อคเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะสามารถสรุปเหตุจูงใจได้ง่ายเหมือนกินขนม ว่า เป็นเหตุทางการเมือง
เช่นกันกับที่ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) มีการเรียกนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.น.) ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (ผบก.น.) เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ บ้านพักบุคคลสำคัญในพื้นที่กรุงเทพฯ กันชนิดพรึ่บเต็มพื้นที่
ชนิดที่ว่าหากเห็นว่ากำลังตำรวจมีไม่เพียงพอ ก็จะประสานขอกำลังจากฝ่ายทหารมาร่วมด้วย
ด้วยเหตุผลว่า เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีก่อเหตุลักษณะเดียวกับที่คลังน้ำมัน กรมพลาธิการทหารบก
แถม พล.ต.ท.สัณฐาน ยืนยันชัดเจนว่า ขณะนี้มีผู้ไม่ต้องการให้บ้านเมืองสงบจริง
อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ถือโอกาสชงลูกป้อน ศอฉ. และรัฐบาล ให้ชนิดเหน่งๆ หน้าประตูกันเลยทีเดียวว่า ขณะนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังมีความจำเป็น
อ้างว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่สำหรับคนคิดไม่ดีต่อบ้านเมือง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะเป็นเครื่องมือช่วยดูแลความสงบเรียบร้อย...
ซึ่งก็เข้าใจ เพราะ พล.ต.ท.สัณฐาน ไม่ได้มีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศ จึงเป็นธรรมดาที่จะไม่รู้ว่า ประเทศอื่นๆ นั้นมองประเทศไทยที่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วยสายตาอย่างไร รวมทั้งว่าธุรกิจท่องเที่ยวของไทยนั้นได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
มุมมองของ พล.ต.ท.สัณฐาน ดูจะสอดรับกันพอดิบพอดีกับมุมมองของนายสุเทพ ที่ระบุว่า การพิจารณาตัดสินใจเรื่องการต่ออายุ พ.ร.ก. หรือยกเลิกการประกาศใช้มีหลายทางเลือก
อย่างเช่นว่า อาจจะต่ออายุ 24 จังหวัดเลยก็ได้ ลดเหลือ 21 จังหวัดก็ได้ หรือแม้แต่จะเหลือแค่ 7 จังหวัดก็ได้เช่นกัน
เรียกว่า ลดแรงกดดันจากสายตาของไทยและต่างชาติที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ก็ไม่มีการพูดถึงเรื่องที่จะยกเลิกทั้งหมด เพียงแค่ลดจำนวนจังหวัดลงเท่านั้นล่ะพอได้
ฉะนั้นก็คงต้องรอลุ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 6 ก.ค. ที่จะถึงนี้ เพราะนายสุเทพจะชงเรื่องนี้เข้า ครม. ให้พิจารณาตัดสินใจว่า จะต่ออายุโดยควบคุมกี่จังหวัดดี
ท่าที วัตถุประสงค์ของรัฐบาล ตลอดจนแนวคิดในการที่จะต้องหาทาง “สยบทางการเมือง” กับพรรคการเมือง กลุ่มคนทางการเมืองที่เกี่ยวข้องโยงใย ผูกพัน หรือศรัทธาในตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ถือเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ต้องตีให้แตกกระจุยให้ได้... ไม่เช่นนั้นภารกิจถือว่ายังไม่บรรลุ
ด้วยเหตุนี้หรือไม่ ที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาพูดชัดเจนว่า ขณะนี้แม้ถือว่าเรียบร้อยดี แต่เชื่อว่า รัฐบาลคงไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้
เพราะหากยกเลิกไปแล้วก็ไม่แน่ใจว่า จะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่??
ซึ่งส่วนตัวคงตอบไม่ได้ว่าควรยกเลิกเมื่อใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่หากมีการเลือกตั้งใหญ่ ก็ต้องถึงเวลาที่จะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“หากมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็กระทบกับการท่องเที่ยว เรื่องนี้มันแย้งกันกับเรื่องความมั่นคง เพราะต่างประเทศเขาไม่มั่นใจ ถ้า พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังอยู่” นายบรรหาร กล่าว
รวมทั้งเรื่องการตั้งคณะกรรมการที่จะมาสร้างความปรองดอง นายบรรหาร กล่าวอย่างน่าคิดว่า
“ยากจังเลยเรื่องปรองดอง กรรมการที่ตั้งไว้ก็ต้องเหนื่อย ไม่รู้ว่าชาตินี้ จะปรองดองได้หรือเปล่า ชาตินี้คงปรองดองยาก”
ซึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงมองว่าปรองดองไม่ได้นั้น นายบรรหาร มองว่าเป็นเพราะ ถ้าหากความคิดเห็นต่างกัน ก็ปรองดองกันไม่ได้
คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่ ก็ต้องกลับไปถามรัฐบาลว่า ตั้งขึ้นมาทำไม แล้วจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่
“ต้องไปถามรัฐบาลเอง ถามผมไม่ได้ ถ้าความคิดเห็นแตกต่างกันก็ยากจะสร้างความปรองดอง ถ้ายอมๆ เขาหมด ใครว่าอย่างไรมาก็ยอมกันหมด ก็โอเคอย่างนั้นปรองดองได้” นายบรรหารระบุ
นั่นคือ มุมมองของนายบรรหาร ที่เชื่อว่า จนถึงวันนี้ สถานการณ์ยังปรองดองยาก
ตรงนี้จึงเป็นคำถามที่ต้องพุ่งกลับเข้าหารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ว่า ยังมุ่งมั่นในการสร้างความปรองดองจริงหรือไม่... หากคิดจะปรองดอง สิ่งสำคัญที่สุดไม่น่าจะใช่อย่างที่นายบรรหาร คิด คือ ยอมๆ กันไป
แต่น่าจะเป็นการทำให้สังคมเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมว่าไม่มี 2 มาตรฐานแล้ว
และพิสูจน์ความจริงในเรื่องของผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม โดยเฉพาะที่บริเวณวัดปทุมวนาราม ซึ่งรัฐบาล ศอฉ. สภาความมั่นคงฯ และหน่วยข่าวกรอง ควรจะต้องรู้ดีว่า กรณีพฤษภาอำมหิต ไม่เพียงก่อให้เกิดความเจ็บช้ำ ก่อให้เกิดรอยบาดหมาง
แต่ยังก่อให้เกิดการ “พูดต่อ” กันไม่รู้จบ และทำให้การปรองดองสมานฉันท์ที่แท้จริงเกิดขึ้นได้ยาก
และเช่นกันคำถามก็คงต้องย้อนพุ่งใส่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ด้วยเช่นกันว่า ในฐานะนักการเมืองผู้คร่ำหวอด ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และในฐานะนายใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา
ต้องการให้เกิดการปรองดองจริงๆ หรือไม่???
หากต้องการให้เกิดการปรองดอง นายบรรหารควรจะรู้ดีกว่าใครว่าควรผลักดันอย่างไร ให้ความรู้สึกกฎหมาย 2 มาตรฐานหมดไป ให้ความรู้สึกการมุ่งทำลายล้างกันทางการเมืองหมดไป
ทั้งหมดนายบรรหารรู้ดีอยู่แก่ใจ... ว่าพรรคร่วมรัฐบาลเป็นต้นเหตุสำคัญต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้ยังเกิดการขึงพืดเผชิญหน้ากันใช่หรือไม่
นายบรรหาร ซึ่งบอกเองว่า ชาตินี้ไม่รู้ว่าจะปรองดองได้หรือไม่...
ไม่คิดที่จะ “ไถ่บาป” บ้างหรือ???
ที่มา.บางกอกทูเดย์
"นพดล"โผล่วิดิโอลิงค์สายตรงจาก อเมริกา อ้างได้รับเชิญไปชี้แจงเหตุ"พฤษภามหาโหด จาก จนท.นิติบัญญัติมะกัน
"นพดล"โผล่อเมริกา แก้ตัว"เสื้อแดง-แม้ว" ก่อการร้าย วีดีโอลิ้งค์ ตีปี๊บได้รับเชิญไปชี้แจงเหตุ"พฤษภามหาโหด"อ้าง รัฐสภาสหรัฐฯเตรียมออกมติหนุนเจรจา ระบุ"แม้ว"อยู่ยุโรปตะวันออก
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวผ่านระบบวีดีโอลิ้งค์มายังพรรคเพื่อไทยจากกรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างการเดินทางไปพบปะกับกลุ่มคนไทยในสหรัฐอเมริกา นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อชี้แจงเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศไทยว่า การเดินทางมาครั้งนี้เป็นการเดินทางตามคำเชิญเพื่อเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมา เพราะทางสหรัฐอเมริกาได้ฟังข้อมูลจากฝ่ายรัฐบาลไทยมาพอสมควรแล้ว อาทิข้อกล่าวหาเรื่อง โดยยืนยันว่าผู้ชุมุนุมไม่ได้ผู้ก่อการร้าย แต่มาเรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรม และประเด็นของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย รวมไปถึงกรณีที่เราเห็นว่าประเทศไทยต้องปรองดองอย่างแท้จริง ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นพันธมิตรที่ดีกับประเทศไทย ซึ่งถ้าประเทศไทยเข้มแข็งก็สามารถเกื้อกูลกันได้
นายนพดล กล่าวว่า ตนได้นำเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองระหว่างกลุ่มต่างๆในประเทศไทย ด้วยการเจรจาแบบ พีช ทอล์ค เพราะแผนการปรองดองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ นั้นไม่ใช่แผนการปรองดองอย่างแท้จริง แต่เป็นแผนการปฏิรูปประเทศในระยะยาว และเป็นห่วงว่าในการนำโร้ดแม็ปไปปฏิบัติ เพราะในขณะที่รัฐบาลต้องการที่จะปฏิรูปสื่อมวลชน แต่ก็ยังมีการปิดสื่อมวลชนต่างๆ รวมไปถึงเว็บไซด์หลายๆแห่ง ซึ่งเข้าใจว่าในวันที่ 1 ก.ค.ทางรัฐสภาสหรัฐฯ จะพิจารณาออกมติหลายๆ ข้อ ซึ่งมีข้อสำคัญ 2 ข้อคือ
1.สนับสนุนการเจรจาแก้ไขปัญหาภายในประเทศไทยด้วยการพูดคุยกันทุกฝ่ายและ
2.สนับสนุนเป้าหมายของโร้ดแม็ปของรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ไม่ได้สนับสนุนเนื้อหาของโร้ดแม็ป แม้มติของรัฐสภาสหรัฐฯ อาจจะไม่มีผลผูกมัดกับใครให้ปฏิบัติตาม แต่ก็น่ายินดีที่ทางสหรัฐฯ สนใจปัญหาในประเทศไทย
“เราได้เสนอการเจรจาแบบ พีชทอล์ค ให้ทางสหรัฐอเมริกาได้เข้าใจว่า คนเสื้อแดงที่มีจำนวนมากในประเทศไทยนั้นพร้อมและต้องการที่จะปรองดองกับทุกคนในชาติ เพื่อให้ชาติเดินต่อไปได้ โดยฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารของสหรัฐอเมริกา ก็ห่วงใยสถานการณ์ในไทยและอยากเห็นการปรองดองของคนในชาติ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าถ้าใครกระทำผิด ในตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาก็ต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งผมคิดว่าประเทศไทยสามารถปรองดองกันได้ หากรัฐบามีควมจริงใจหรืออย่างน้อยก็ควรพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาทางการเมือง หรืออย่างน้อยก็ควรแจ้งข้อกล่าวหาที่ชัดเจนโดยเร็วที่สุด ไม่ใช่การกักขังไว้โดยไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ” นายนพดลกล่าว
นายนพดล กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้ไม่ได้เป็นการมาเพื่อเชื้อเชิญให้สหรัฐฯ แทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย แต่เป็นการมาชี้แจงเหตุการณ์ในประเทศไทยให้ทุกคนเข้าใจถึงจุดยืนสิ่งที่คนเสื้อแดงได้เรียกร้อง รวมไปถึงจุดยืนและท่าทีของพ.ต.ท.ทักษิณ และสถานการณ์ล่าสุดในประเทศไทย เกี่ยวกับการคง พรก.ฉุกเฉิน และการละเมิดสิทธิ์ของประชาชน ซึ่งประชาธิปัตย์ อาจจะกล่าวหาว่าเรามาเพื่อชักศึกเข้าบ้าน แต่ยืนยันได้ว่าเป็นการมาสร้างความมั่นใจให้กับชาวต่างประเทศ ซึ่งก็มีฟี๊ดแบ็คกลับมาชัดเจนว่าหลายคนเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยมาก และรับทราบเกี่ยวกับตัวละครต่างๆดีพอๆกับคนไทยที่อยู่ในประเทศไทย แม้จะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนบ้างก็ได้ชี้แจงไป โดยภาพรวมคือทางสหรัฐอเมริกาอยากเห็นความปรองดองของแต่ละฝ่าย โดยควรจะหาทางเจรจากันด้วยการที่ทุกฝ่ายโอนอ่อนผ่อนปรนบางเรื่อง และอย่าถือว่าอีกฝ่ายคือผู้ก่อการร้ายและตั้งป้อมว่าจะไม่มีการเจรจาพูดคุยกับผู้ก่อการร้าย โดยยังไม่มีการพิสูจน์ความผิด และพี่น้องคนไทยไม่ใช่ศัตรูของชาติ แต่เป็นคนที่พร้อมจะคุยและพัฒนาบ้านเมืองร่วมกัน ที่สำคัญคือทุกฝ่ายสามารถเดินหาเสียงได้ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้โดยไม่มีปัญหา
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รับทราบการเดินทางมาชี้แจงกับทางสหรัฐฯ หรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้อยู่ในสหรัฐฯ แต่คงอยู่แถวๆ ยุโรปตะวันออก ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ทราบการเดินทางมาสหรัฐฯของตนเป็นอย่างดี แต่ไม่ได้สั่งการอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่ขอให้พูดความจริง เพราะกระบวนการนี้เป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างความปรองดองในชาติ ซึ่งยืนยันได้ว่าเราไม่ได้มาด่าทอประเทศ แต่เป็นการมาเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่หลายส่วนยังถูกปิดเบือน
“ผมเดินทางมาเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานกฎหมายอัมเตอร์ดัม ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าจ้างให้ว่าความคดีก่อการร้ายเลย โดยไม่ได้มีการประสานงานกัน ด้วยความสัตจริง และที่มาก็ไม่ได้หวังผลเกี่ยวกับคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะคดีๆ ต่างในศาลไทยก็ต้องว่าไปตามกฎหมายไทย เราไม่ได้มาที่นี่เพื่อขอให้ใครช่วยเหลืออะไร เพียงแต่หวังว่าศาลจะพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย” นายนพดลกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวผ่านระบบวีดีโอลิ้งค์มายังพรรคเพื่อไทยจากกรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างการเดินทางไปพบปะกับกลุ่มคนไทยในสหรัฐอเมริกา นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อชี้แจงเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศไทยว่า การเดินทางมาครั้งนี้เป็นการเดินทางตามคำเชิญเพื่อเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมา เพราะทางสหรัฐอเมริกาได้ฟังข้อมูลจากฝ่ายรัฐบาลไทยมาพอสมควรแล้ว อาทิข้อกล่าวหาเรื่อง โดยยืนยันว่าผู้ชุมุนุมไม่ได้ผู้ก่อการร้าย แต่มาเรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรม และประเด็นของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย รวมไปถึงกรณีที่เราเห็นว่าประเทศไทยต้องปรองดองอย่างแท้จริง ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นพันธมิตรที่ดีกับประเทศไทย ซึ่งถ้าประเทศไทยเข้มแข็งก็สามารถเกื้อกูลกันได้
นายนพดล กล่าวว่า ตนได้นำเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองระหว่างกลุ่มต่างๆในประเทศไทย ด้วยการเจรจาแบบ พีช ทอล์ค เพราะแผนการปรองดองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ นั้นไม่ใช่แผนการปรองดองอย่างแท้จริง แต่เป็นแผนการปฏิรูปประเทศในระยะยาว และเป็นห่วงว่าในการนำโร้ดแม็ปไปปฏิบัติ เพราะในขณะที่รัฐบาลต้องการที่จะปฏิรูปสื่อมวลชน แต่ก็ยังมีการปิดสื่อมวลชนต่างๆ รวมไปถึงเว็บไซด์หลายๆแห่ง ซึ่งเข้าใจว่าในวันที่ 1 ก.ค.ทางรัฐสภาสหรัฐฯ จะพิจารณาออกมติหลายๆ ข้อ ซึ่งมีข้อสำคัญ 2 ข้อคือ
1.สนับสนุนการเจรจาแก้ไขปัญหาภายในประเทศไทยด้วยการพูดคุยกันทุกฝ่ายและ
2.สนับสนุนเป้าหมายของโร้ดแม็ปของรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ไม่ได้สนับสนุนเนื้อหาของโร้ดแม็ป แม้มติของรัฐสภาสหรัฐฯ อาจจะไม่มีผลผูกมัดกับใครให้ปฏิบัติตาม แต่ก็น่ายินดีที่ทางสหรัฐฯ สนใจปัญหาในประเทศไทย
“เราได้เสนอการเจรจาแบบ พีชทอล์ค ให้ทางสหรัฐอเมริกาได้เข้าใจว่า คนเสื้อแดงที่มีจำนวนมากในประเทศไทยนั้นพร้อมและต้องการที่จะปรองดองกับทุกคนในชาติ เพื่อให้ชาติเดินต่อไปได้ โดยฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารของสหรัฐอเมริกา ก็ห่วงใยสถานการณ์ในไทยและอยากเห็นการปรองดองของคนในชาติ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าถ้าใครกระทำผิด ในตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาก็ต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งผมคิดว่าประเทศไทยสามารถปรองดองกันได้ หากรัฐบามีควมจริงใจหรืออย่างน้อยก็ควรพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาทางการเมือง หรืออย่างน้อยก็ควรแจ้งข้อกล่าวหาที่ชัดเจนโดยเร็วที่สุด ไม่ใช่การกักขังไว้โดยไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ” นายนพดลกล่าว
นายนพดล กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้ไม่ได้เป็นการมาเพื่อเชื้อเชิญให้สหรัฐฯ แทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย แต่เป็นการมาชี้แจงเหตุการณ์ในประเทศไทยให้ทุกคนเข้าใจถึงจุดยืนสิ่งที่คนเสื้อแดงได้เรียกร้อง รวมไปถึงจุดยืนและท่าทีของพ.ต.ท.ทักษิณ และสถานการณ์ล่าสุดในประเทศไทย เกี่ยวกับการคง พรก.ฉุกเฉิน และการละเมิดสิทธิ์ของประชาชน ซึ่งประชาธิปัตย์ อาจจะกล่าวหาว่าเรามาเพื่อชักศึกเข้าบ้าน แต่ยืนยันได้ว่าเป็นการมาสร้างความมั่นใจให้กับชาวต่างประเทศ ซึ่งก็มีฟี๊ดแบ็คกลับมาชัดเจนว่าหลายคนเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยมาก และรับทราบเกี่ยวกับตัวละครต่างๆดีพอๆกับคนไทยที่อยู่ในประเทศไทย แม้จะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนบ้างก็ได้ชี้แจงไป โดยภาพรวมคือทางสหรัฐอเมริกาอยากเห็นความปรองดองของแต่ละฝ่าย โดยควรจะหาทางเจรจากันด้วยการที่ทุกฝ่ายโอนอ่อนผ่อนปรนบางเรื่อง และอย่าถือว่าอีกฝ่ายคือผู้ก่อการร้ายและตั้งป้อมว่าจะไม่มีการเจรจาพูดคุยกับผู้ก่อการร้าย โดยยังไม่มีการพิสูจน์ความผิด และพี่น้องคนไทยไม่ใช่ศัตรูของชาติ แต่เป็นคนที่พร้อมจะคุยและพัฒนาบ้านเมืองร่วมกัน ที่สำคัญคือทุกฝ่ายสามารถเดินหาเสียงได้ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้โดยไม่มีปัญหา
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รับทราบการเดินทางมาชี้แจงกับทางสหรัฐฯ หรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้อยู่ในสหรัฐฯ แต่คงอยู่แถวๆ ยุโรปตะวันออก ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ทราบการเดินทางมาสหรัฐฯของตนเป็นอย่างดี แต่ไม่ได้สั่งการอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่ขอให้พูดความจริง เพราะกระบวนการนี้เป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างความปรองดองในชาติ ซึ่งยืนยันได้ว่าเราไม่ได้มาด่าทอประเทศ แต่เป็นการมาเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่หลายส่วนยังถูกปิดเบือน
“ผมเดินทางมาเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานกฎหมายอัมเตอร์ดัม ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าจ้างให้ว่าความคดีก่อการร้ายเลย โดยไม่ได้มีการประสานงานกัน ด้วยความสัตจริง และที่มาก็ไม่ได้หวังผลเกี่ยวกับคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะคดีๆ ต่างในศาลไทยก็ต้องว่าไปตามกฎหมายไทย เราไม่ได้มาที่นี่เพื่อขอให้ใครช่วยเหลืออะไร เพียงแต่หวังว่าศาลจะพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย” นายนพดลกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
ทนาย "เอม" ยันเงินไม่เคลื่อนไหว
ทนาย "เอม" ยันเงินไม่เคลื่อนไหว แจงโอน 2.2 หมื่นล้าน ให้กรมบัญชีกลาง
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่สำนักการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ นายกิตติพร อรุณรัตน์ ทนายความ ซึ่งเป็นตัวแทนของ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร เดินทางเข้าชี้แจงธุรกรรมการเงินต้องสงสัยต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หลังจากนั้นเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การสอบสวนเป็นไปทำนองเดียวกับเมื่อวาน ที่ตนเป็นตัวแทนของนายพานทองแท้ โดยได้นำบัญชีเงินฝากทั้ง 4 บัญชีของธนาคารต่าง ๆ มาชี้แจง เพื่อยืนยันว่า ไม่ได้มีการทำธุรกรรมใด ๆ นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 50 จนถึงปัจจุบัน
การเคลื่อนของเงินในบัญชีรายการใหญ่ มีเพียงครั้งเดียว คือการโอนเงิน 2.2 หมื่นล้านไปยังกรมบัญชีกลาง ตามคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ทางพนักงานสอบสวนไม่ได้มีการสอบถามถึงบัญชีเงินฝากในต่างประเทศ ส่วนตัวเชื่อว่า การชี้แจงในส่วนของ น.ส.พิณทองทอง น่าจะสิ้นข้อสงสัยแล้ว คงไม่จำเป็นต้องมาชี้แจงเพิ่มเติมอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางกาญจนาภา หงส์เหิน ยังได้มอบหมายให้ทนายความนำเอกสารทางการเงินเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษด้วย ขณะที่ นางเยาวเรศ ชินวัตร์ ส่งหนังสือขอเลื่อนนัดในการเข้าให้ข้อมูล แต่ในส่วนของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ กับ นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนด้วยตัวเอง ทั้งยังมีรายงานว่า พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร จะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนในช่วงบ่ายด้วยตัวเอง
นายวิชาญ กล่าวว่า วันนี้นำเอกสารทางการเงินเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวน แต่เพราะดีเอสไอ ยังมีคำถามที่ต้องการให้ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการเงินในอดีต โดยตนได้ขอเวลาจัดเตรียมเอกสาร แล้วจะเข้าชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 21 ก.ค. นี้ ส่วนตัวยืนยันว่าที่ผ่านมาแทบไม่ได้มีการถอนเงินสดออกจากธนาคารเลย จึงมั่นใจว่าจะสามารถชี้แจงให้พนักงานสอบสวนสิ้นข้อสงสัยได้ทั้งหมด.
ที่มา.เดลินิวส์
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่สำนักการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ นายกิตติพร อรุณรัตน์ ทนายความ ซึ่งเป็นตัวแทนของ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร เดินทางเข้าชี้แจงธุรกรรมการเงินต้องสงสัยต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หลังจากนั้นเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การสอบสวนเป็นไปทำนองเดียวกับเมื่อวาน ที่ตนเป็นตัวแทนของนายพานทองแท้ โดยได้นำบัญชีเงินฝากทั้ง 4 บัญชีของธนาคารต่าง ๆ มาชี้แจง เพื่อยืนยันว่า ไม่ได้มีการทำธุรกรรมใด ๆ นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 50 จนถึงปัจจุบัน
การเคลื่อนของเงินในบัญชีรายการใหญ่ มีเพียงครั้งเดียว คือการโอนเงิน 2.2 หมื่นล้านไปยังกรมบัญชีกลาง ตามคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ทางพนักงานสอบสวนไม่ได้มีการสอบถามถึงบัญชีเงินฝากในต่างประเทศ ส่วนตัวเชื่อว่า การชี้แจงในส่วนของ น.ส.พิณทองทอง น่าจะสิ้นข้อสงสัยแล้ว คงไม่จำเป็นต้องมาชี้แจงเพิ่มเติมอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ และนางกาญจนาภา หงส์เหิน ยังได้มอบหมายให้ทนายความนำเอกสารทางการเงินเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษด้วย ขณะที่ นางเยาวเรศ ชินวัตร์ ส่งหนังสือขอเลื่อนนัดในการเข้าให้ข้อมูล แต่ในส่วนของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ กับ นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนด้วยตัวเอง ทั้งยังมีรายงานว่า พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร จะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนในช่วงบ่ายด้วยตัวเอง
นายวิชาญ กล่าวว่า วันนี้นำเอกสารทางการเงินเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวน แต่เพราะดีเอสไอ ยังมีคำถามที่ต้องการให้ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการเงินในอดีต โดยตนได้ขอเวลาจัดเตรียมเอกสาร แล้วจะเข้าชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 21 ก.ค. นี้ ส่วนตัวยืนยันว่าที่ผ่านมาแทบไม่ได้มีการถอนเงินสดออกจากธนาคารเลย จึงมั่นใจว่าจะสามารถชี้แจงให้พนักงานสอบสวนสิ้นข้อสงสัยได้ทั้งหมด.
ที่มา.เดลินิวส์
ความผิดพลาดของประเทศไทย
โดย กานดา นาคน้อย
แปลโดย สรินณา อารีธรรมศิริกุล
ที่มา: บทบรรณาธิการจดหมายข่าว สมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ
(Overseas Thai Economic and Finance Association : OTEFA) Volume 2 Issue 1
"กานดา นาคน้อย" เขียนบทบรรณาธิการจดหมายข่าว สมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ โดยระบุว่า ประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี 2540
ขณะที่ฉันกำลังรวมเล่มจดหมายข่าวฉบับนี้ได้ตั้งคำถามกับตัวเองว่าควรเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองไทยหรือไม่? วิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตการเมืองซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจุดประสงค์ของสมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ทำให้เกิดความสูญเสียทางมนุษยชนและทางเศรษฐกิจมากเป็นประวัติการณ์ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 90 คน บาดเจ็บ 2,000 คน [1] และคาดว่าผลผลิตประชาชาติ (จีดีพี) จะปรับตัวลดลง 2.5% [2] ในเชิงปริมาณผลกระทบเหล่านี้เป็นตัวเลขที่ใหญ่มากจนฉันตัดสินใจเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองครั้งนี้ บทความนี้ตอบคำถามจากเพื่อนร่วมงานและมิตรสหายที่มักถามว่า
เกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นกับประเทศไทย?
ฉันคิดว่าประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี2540
ประการแรก ขอเริ่มอธิบายปัญหาการกระจายรายได้ก่อน การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย เพียงแต่ไม่เคยมีกลุ่มมวลชนนำมาเป็นประเด็นเพื่อเดินขบวนต่อต้าน แล้วทำไมถึงเกิดขึ้นตอนนี้? แม้ว่าเศรษฐกิจไทยได้เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันกลับแย่ลง จากการอ้างอิงด้วยดัชนีจินี (Gini Coefficient) เมื่อ 40 ปีที่แล้วไทยมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกว่ามาเลเซียและฟิลิปปินส์ แต่ปัจจุบันอันดับดัชนีจินีของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวได้กลับตาลปัตรแม้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมได้บรรเทาลงชั่วคราวในปีแรกๆของรัฐบาลทักษิณ [3] ในทางภูมิศาสตร์ดัชนีจินีบ่งชี้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นสาหัสกว่าภาคอื่นๆ [4] ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นฐานเสียงที่แข็งแกร่งให้พรรคการเมืองของอดีตนายกฯ ทักษิณ
ประการต่อมา วิกฤตเงินบาทในปี2540 ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในหลายอุตสาหกรรม หลังจากที่บางบริษัทล้มหายตายจากไปในช่วงวิกฤต บริษัทใหม่ได้เกิดขึ้นมาแทน กลุ่มธุรกิจของอดีตนายกฯ ทักษิณและเพื่อนพ้องกลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการสื่อสารและสื่อมวลชน การแข่งขันในภาคธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่นำความร่ำรวยมาสู่ผู้ประกอบการใหม่แต่ยังทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาที่ถูกลงด้วย ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ เหล่านี้ทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงในต่างจังหวัดได้ตระหนักถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาถูกผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงที่ไม่พอใจ [กับการเมืองที่ผ่านมา-ผู้แปล] สามารถรวมตัวกันอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
นอกจากนี้ประชาชนจำนวนมากมองว่าวิกฤตเงินบาทเป็นผลมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดโดยกลุ่มข้าราชการ ด้วยเหตุนี้เองวิกฤตเงินบาทจึงกลายเป็นใบเบิกทางไปสู่การปฎิรูปหน่วยราชการและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้กลายเป็นเอกชน ตั้งแต่ปี 2543 รัฐบาลทักษิณได้ดำเนินนโยบายปฎิรูปหน่วยราชการและแปรรูปรัฐวิาสหกิจทำให้เกิดการต่อต้านจากข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผลสุดท้ายข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจกลายเป็นเครื่องมือรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลทักษิณให้กับนักธุรกิจด้านสื่อมวลชนที่ธุรกิจล่มสลายในช่วงวิกฤตเงินบาท ความขัดแย้งที่ยังไม่ยุติระหว่าง “กลุ่มข้าราชการที่ต่อต้านการปฎิรูป” กับ “กลุ่มที่สนับสนุนการปฎิรูป” สะท้อนชัดเจนจากการจลาจลต่อต้านข้าราชการในหลายจังหวัดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุปคือ วิกฤตเงินบาทส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่สั่งสมมานาน ปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้เสนอนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ด้วยการปฎิรูประบบภาษี กล่าวคือด้วยการเริ่มจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า รัฐบาลอภิสิทธิ์จะจริงจังกับการปฎิรูประบบภาษีหรือไม่นั้นเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไป
เอกสารต้นฉบับภาคภาษาอังกฤษ
http://www.krannert.purdue.edu/faculty/knaknoi/otefa/OTEFA_Newsletter_June_2010.pdf
อ้างอิง:
[1] See “Toll from Thai crisis rises to 88 since March,” Press Trust of India May 24 (2010): http://www.ptinews.com/news/665679_Toll-from-Thai-crisis-rises-to-88-since-March
[2] See “Thai Growth Positive, for Now,” Wall Street Journal, May 24 (2010):
http://online.wsj.com/article/SB10001424052748704226004575263520169821394.html?mod=googlenews_wsj
[3] See Figure 3.7 in Thailand Human Development Report (2009), United Nations Development Programme:
http://hdr.undp.org/en/reports/nationalreports/asiathepacific/thailand/NHDR_2009_Thailand.pdf
[4] See Table A1.4 in Thailand Human Development Report (2009), United Nations Development Programme:
http://hdr.undp.org/en/reports/nationalreports/asiathepacific/thailand/NHDR_2009_Thailand.pdf
แปลโดย สรินณา อารีธรรมศิริกุล
ที่มา: บทบรรณาธิการจดหมายข่าว สมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ
(Overseas Thai Economic and Finance Association : OTEFA) Volume 2 Issue 1
"กานดา นาคน้อย" เขียนบทบรรณาธิการจดหมายข่าว สมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ โดยระบุว่า ประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี 2540
ขณะที่ฉันกำลังรวมเล่มจดหมายข่าวฉบับนี้ได้ตั้งคำถามกับตัวเองว่าควรเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองไทยหรือไม่? วิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตการเมืองซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจุดประสงค์ของสมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ทำให้เกิดความสูญเสียทางมนุษยชนและทางเศรษฐกิจมากเป็นประวัติการณ์ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 90 คน บาดเจ็บ 2,000 คน [1] และคาดว่าผลผลิตประชาชาติ (จีดีพี) จะปรับตัวลดลง 2.5% [2] ในเชิงปริมาณผลกระทบเหล่านี้เป็นตัวเลขที่ใหญ่มากจนฉันตัดสินใจเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองครั้งนี้ บทความนี้ตอบคำถามจากเพื่อนร่วมงานและมิตรสหายที่มักถามว่า
เกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นกับประเทศไทย?
ฉันคิดว่าประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี2540
ประการแรก ขอเริ่มอธิบายปัญหาการกระจายรายได้ก่อน การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย เพียงแต่ไม่เคยมีกลุ่มมวลชนนำมาเป็นประเด็นเพื่อเดินขบวนต่อต้าน แล้วทำไมถึงเกิดขึ้นตอนนี้? แม้ว่าเศรษฐกิจไทยได้เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันกลับแย่ลง จากการอ้างอิงด้วยดัชนีจินี (Gini Coefficient) เมื่อ 40 ปีที่แล้วไทยมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกว่ามาเลเซียและฟิลิปปินส์ แต่ปัจจุบันอันดับดัชนีจินีของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวได้กลับตาลปัตรแม้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมได้บรรเทาลงชั่วคราวในปีแรกๆของรัฐบาลทักษิณ [3] ในทางภูมิศาสตร์ดัชนีจินีบ่งชี้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นสาหัสกว่าภาคอื่นๆ [4] ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นฐานเสียงที่แข็งแกร่งให้พรรคการเมืองของอดีตนายกฯ ทักษิณ
ประการต่อมา วิกฤตเงินบาทในปี2540 ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในหลายอุตสาหกรรม หลังจากที่บางบริษัทล้มหายตายจากไปในช่วงวิกฤต บริษัทใหม่ได้เกิดขึ้นมาแทน กลุ่มธุรกิจของอดีตนายกฯ ทักษิณและเพื่อนพ้องกลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการสื่อสารและสื่อมวลชน การแข่งขันในภาคธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่นำความร่ำรวยมาสู่ผู้ประกอบการใหม่แต่ยังทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาที่ถูกลงด้วย ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ เหล่านี้ทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงในต่างจังหวัดได้ตระหนักถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาถูกผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงที่ไม่พอใจ [กับการเมืองที่ผ่านมา-ผู้แปล] สามารถรวมตัวกันอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
นอกจากนี้ประชาชนจำนวนมากมองว่าวิกฤตเงินบาทเป็นผลมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดโดยกลุ่มข้าราชการ ด้วยเหตุนี้เองวิกฤตเงินบาทจึงกลายเป็นใบเบิกทางไปสู่การปฎิรูปหน่วยราชการและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้กลายเป็นเอกชน ตั้งแต่ปี 2543 รัฐบาลทักษิณได้ดำเนินนโยบายปฎิรูปหน่วยราชการและแปรรูปรัฐวิาสหกิจทำให้เกิดการต่อต้านจากข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผลสุดท้ายข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจกลายเป็นเครื่องมือรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลทักษิณให้กับนักธุรกิจด้านสื่อมวลชนที่ธุรกิจล่มสลายในช่วงวิกฤตเงินบาท ความขัดแย้งที่ยังไม่ยุติระหว่าง “กลุ่มข้าราชการที่ต่อต้านการปฎิรูป” กับ “กลุ่มที่สนับสนุนการปฎิรูป” สะท้อนชัดเจนจากการจลาจลต่อต้านข้าราชการในหลายจังหวัดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุปคือ วิกฤตเงินบาทส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่สั่งสมมานาน ปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้เสนอนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ด้วยการปฎิรูประบบภาษี กล่าวคือด้วยการเริ่มจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า รัฐบาลอภิสิทธิ์จะจริงจังกับการปฎิรูประบบภาษีหรือไม่นั้นเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไป
เอกสารต้นฉบับภาคภาษาอังกฤษ
http://www.krannert.purdue.edu/faculty/knaknoi/otefa/OTEFA_Newsletter_June_2010.pdf
อ้างอิง:
[1] See “Toll from Thai crisis rises to 88 since March,” Press Trust of India May 24 (2010): http://www.ptinews.com/news/665679_Toll-from-Thai-crisis-rises-to-88-since-March
[2] See “Thai Growth Positive, for Now,” Wall Street Journal, May 24 (2010):
http://online.wsj.com/article/SB10001424052748704226004575263520169821394.html?mod=googlenews_wsj
[3] See Figure 3.7 in Thailand Human Development Report (2009), United Nations Development Programme:
http://hdr.undp.org/en/reports/nationalreports/asiathepacific/thailand/NHDR_2009_Thailand.pdf
[4] See Table A1.4 in Thailand Human Development Report (2009), United Nations Development Programme:
http://hdr.undp.org/en/reports/nationalreports/asiathepacific/thailand/NHDR_2009_Thailand.pdf
เวทีถกร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เห็นพ้องคว่ำทั้งฉบับ ชี้ละเมิดสิทธิ-ขัด รธน.
โดย Niwat Puttaprasart
ภาคประชาชนลั่นค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด ระบุเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญ-จำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึง สิทธิต่างๆ การจำกัดเสรีภาพการชุมนุมตาม พ.ร.บ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้าย แรง ด้านที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิลาออก เหตุสนับสนุนร่างกฎหมายจำกัดเสรีภาพ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ที่ห้องประชุม 12 ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีภาคประชาชนจากหลายเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็น
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอไปเมื่อวันที่ 4 พ.ค.
สาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวสรุปสาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอสู่สภาฯ ว่า พ.ร.บ.นี้จะบังคับเฉพาะการชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ ไม่มีองค์ประกอบด้านจำนวนว่าผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าใดจึงจะเป็นการชุมนุม อย่างไรก็ตาม มีองค์ประกอบคือ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เปิดให้บุคคลอื่นเข้าฟัง เข้าร่วม สนับสนุนการชุมนุมได้ ส่วน “ที่สาธารณะ” หมายถึงที่ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมในการ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับการชุมนุมที่กฎหมายนี้ยกเว้น ได้แก่ งานพระราชพิธี งานศาสนา การแสดงกิจกรรมมหรสพ การชุมนุมในสถานศึกษา การชุมนุมตามกฎหมาย สัมมนาวิชาการ ข้อยกเว้นตามกฎหมายเฉพาะ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และการชุมนุมในสถานการณ์การเลือกตั้ง
การชุมนุมในที่สาธารณะที่เข้าองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งจะกระทบความสะดวกของประชาชน ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ หรือบุคคลตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ วิธีรับแจ้งไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ. แจ้งก่อนจัดการชุมนุม 72 ชั่วโมง กรณีฉุกเฉินสามารถผ่อนผันได้ โดยผู้รับแจ้งต้องพิจารณาภายใน 24 ชั่วโมง หากขอผ่อนผันแล้วเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ โดยคำสั่งศาลเป็นที่สุด
การชุมนุมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสะดวกของประชาชน ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมได้แก่ การชุมนุมสาธารณะที่ขัดขวางความสะดวกของประชาชนที่จะใช้หรือเข้าออกที่ สาธารณะนั้นตามปกติ หรือขัดขวางการให้บริการหรือใช้บริการท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ระบบการขนส่งสาธารณะ หรือการสื่อสารสาธารณะอื่น หรือกีดขวางทางเข้าออกตามสถานที่ตามมาตรา 8 (การชุมนุมต้องห้ามตามกฎหมาย) ได้แก่ สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ คือ ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรตุลาการ และประชาชนทั่วไป โดยผู้จัดการชุมนุม คือ ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ เป็นผู้เชิญชวนผู้อื่นให้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีหน้าที่ต้องอยู่ร่วมการชุมนุมโดยตลอด ประกาศให้ผู้ชุมนุมทำตามหน้าที่ในการชุมนุม ไม่ส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมไม่ปฎิบัติตามมาตรา 17 นั่นคือ ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ไม่ก่อความไม่สะดวกกับประชาชนทั่วไป ไม่ปิดหน้า ไม่พกอาวุธ ไม่บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น ไม่ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ไม่ประทุษร้าย ไม่ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน และปฎิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาของเจ้าพนักงาน
การชุมนุมต้องแจ้งระยะเวลาในการชุมนุม และชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้งไว้ การเดินขบวน ต้องแจ้งล่วงหน้าและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน
ขณะที่ รัฐมีหน้าที่คุ้มครองความสะดวกของประชาชนและผู้ชุมนุม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจะมีการชุมนุม อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ดูแล รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกตามที่ผู้จัดการชุมนุมร้องขอ ควบคุมการชุมนุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ สามารถดำเนินการให้เลิกการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวาย
จินตนาระบุมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว ชี้รัฐบาลกลัวผีการเมือง
จินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายชุมนุมสาธารณะ เพราะมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องมี ก็ต้องเลือกใช้กับเฉพาะกลุ่ม เพราะภาคประชาชนที่ต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ เรื่องสิทธิที่ทำกินนั้นไม่มีผู้มีบารมีช่วยเหลือ ขณะที่กลุ่มที่ต่อสู้ทางการเมือง เช่นเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัฐบาล หรือการเลือกตั้ง มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ
เธอวิจารณ์ว่า รัฐบาลกลัวผีการเมือง อยากจัดการทั้งสองสีให้อยู่ในระเบียบตามกรอบคิดของรัฐบาล จึงออกกฎหมายเช่นนี้ แต่ทั้งสองสีมีคนที่มีบารมีอยู่เบื้องหลัง กฎหมายนี้จึงจัดการได้แต่กับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีบารมีอย่างพวกเธอเท่านั้น
ใน รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. เธอระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการต้องแจ้งล่วงหน้าว่าจะจัดการชุมนุม เพราะบางครั้งการชุมนุมเป็นเรื่องเฉพาะหน้า เช่น เมื่อคืนเราเพิ่งรู้ว่าวันนี้จะมีการขุดดิน จึงต้องรีบชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนอีกหลายประการเช่น บางครั้งก็ต่างคนต่างไปชุมนุม จะเอาอะไรมาวัดว่าใครเป็นผู้จัดการชุมนุม ชาวบ้านเพิ่งมาจากสวน มีมีดพร้าติดตัวมาด้วยจะถือว่าเป็นอาวุธหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่ให้หยุดการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมมีความวุ่นวาย ถามว่าเอาอะไรมาวัดว่าวุ่นวาย การชุมนุมของชาวบ้านไม่มีใครนั่งพับเพียบ ทุกคนชูธง ใช้เสียง เอะอะ เดินขวักไขว่ แล้วอะไรที่เรียกว่าเรียบร้อย
ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิฯ ลาออก หลังสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวถึงการอ้างความเดือดร้อนจากการชุมนุมว่า ส่วนใหญ่เป็นความเดือดร้อนของคนกรุงเทพฯ โดยไม่คำนึงเลยว่า ที่อยู่ได้ทุกวันนี้มาจากการแย่งชิงทรัพยากรจากคนชั้นล่าง เมื่อชนชั้นล่างมาเรียกร้องคัดค้าน ชนชั้นกลางก็โวยวาย ขณะที่เราพลัดที่นาคาที่อยู่ ถูกจับ ถูกตีให้ชนชั้นกลางได้รับประโยชน์ นี่เป็นการเอาเปรียบทางชนชั้น นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการคุกคามผู้ชุมนุม รวมถึงอาจนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์ด้วย
บารมี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกในการชุมนุมเลย ไม่ว่าเรื่องน้ำดื่ม หรือห้องน้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังเข้าไปประกบแกนนำ ข่มขู่ไม่ให้มา โดยบอกว่าจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ดังนั้น เสนอว่า ก่อนออกกฎหมายแบบนี้ รัฐควรไปฝึกคนให้มีประสิทธิภาพในการเจรจาต่อรองและแก้ปัญหาก่อน รวมถึงควรออก พ.ร.บ.ส่งเสริมเสรีภาพในการชุมนุมด้วย
ทั้งนี้ เขาวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ออกมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ด้วยว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ควรมีหน้าที่ปกป้องการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่จำกัดเสรีภาพ โดยเขาได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ลาออกจากตำแหน่ง
โอด แจ้งก่อนชุมนุม 3 วัน หนักกว่า กม.แรงงาน
สมศักดิ์ สุขยอด กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มองว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ การต้องแจ้งก่อนจัดชุมนุม 72 ชั่วโมงนั้น มากกว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งให้แจ้งการนัดหยุดงานก่อน 24 ชั่วโมงเสียอีก
เขาระบุด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดสถานที่ห้ามชุมนุม โดยมองว่า ไม่ว่าผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร ก็ต้องเดินทางไปเรียกร้องต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ร่างนี้กลับห้ามการชุมนุมในที่ต่างๆ เช่น หน้าสถานทูต เขายกตัวอย่างว่า หากมีผู้มาลงทุน แล้วกดขี่ประชาชน ก็ต้องไปชุมนุมที่สถานทูตประเทศนั้น แต่กฎหมายกลับไม่ให้ชุมนุม การทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเรียก ร้องแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนต่างชาติมาทำลายคนไทยอีกด้วย
พร้อม เข้าสู่กระบวนการ กม. หากละเมิดสิทธิผู้อื่น
กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวถึงกรณีที่มีผู้แย้งว่า หากไม่มี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผู้ชุมนุมอาจละเมิดสิทธิของประชาชนที่ไม่ได้ชุมนุมได้ว่า พวกเธอไม่เคยปฎิเสธกฎกติกาของบ้านเมือง ตลอดเวลาที่ต่อสู้ เจอคดีจำนวนมาก ซึ่งพวกเธอก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพราะเข้าใจว่าการต่อสู้จำเป็นต้องแลก
“เมื่อคิดว่าเรากระทบ สิทธิคนอื่น ก็ดำเนินคดีอาญากับเราได้ เราพร้อมเข้าสู่การพิจารณา” กรณ์อุมา กล่าวและว่า ไม่ว่ากฎหมายนี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับกลุ่มใดก็ไม่เห็นด้วยทั้งนั้น โดยตั้งคำถามว่า หากมีกฎหมายนี้แล้ว วันหนึ่งมีรัฐบาลที่ทุจริตโกงกิน ใช้อำนาจเกินขอบเขต จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงมองว่า ทุกวันนี้มีกฎหมายอาญาที่ใช้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรมีซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก
ชี้ กม.ช่วยรัฐบาลได้เปรียบ ไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รอม็อบกลับ
พงษ์อนันต์ ช่วงธรรม เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะทั้งฉบับ โดยระบุว่า การออกกฎหมายแบบนี้ คนที่ได้เปรียบคือรัฐบาล เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อผู้จัดการชุมนุมแจ้งว่าจะมีการชุมนุม รัฐมนตรีก็เตรียมหนีไปแล้ว หากผู้ชุมนุมไม่ชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้ง ก็จะถูกสลาย สุดท้ายรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแก้ปัญหา
เขามองว่า แนวคิดนี้น่าจะมาจากทหาร ตำรวจ ที่ขี้เกียจตากแดดฝน รัฐบาลที่กลัวคนอยู่ตรงข้ามจะมาล้มตัวเอง เลยพยายามผลักกฎหมายออกมา ทำให้ความเดือดร้อนตกกับคนจน ทั้งนี้ การต้องแจ้งว่าจะชุมนุมกี่วันนั้นทำได้ยากเพราะผู้ชุมนุมเองก็ไม่อาจทราบ ได้ว่า ปัญหาของพวกเขาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด รวมถึงสถานที่ต่างๆ ที่ห้ามชุมนุมนั้นก็ล้วนแต่เป็นที่ที่ประชาชนต้องไปชุมนุมเพราะต้องการให้คน ที่อยู่ในที่เหล่านั้นแก้ปัญหาให้ หากไม่อนุญาตให้ชุมนุม จะมีอะไรที่เอื้อให้ปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไข
นอกจากนี้ เขายังมองว่า การชุมนุมทางการเมืองก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน พวกเขามีสิทธิบอกว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้ มองว่า ตำรวจ ทหาร มีหน้าที่เพียงควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในขอบเขต ไม่ลิดรอนสิทธิจนเกินเหตุ ส่วนเรื่องการชุมนุมที่อาจขัดขวางการใช้บริการท่าอากาศยานหรือท่าเรือนั้นก็ มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละที่ควบคุมอยู่แล้ว
จี้ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ชี้ขัด รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนที่เข้าร่วมมีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนจะคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
ทั้ง นี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตาม ประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
*************************
คำแถลงองค์กรภาคประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……
สืบเนื่องจากการจัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ขึ้นในวันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๑๒ ตึก ๓ (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……นำเสนอมุมมองของภาคประชาชนต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเป็นไปใน ทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น
จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนดังมีรายชื่อท้ายคำแถลง มีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตามประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
ด้วยจิตคารวะ
วัน ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
๑. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๒. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
๔. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๕. กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก
๖. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
๗. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
๘. สมัชชาคนจน
๙. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (อิสาน)
๑๐. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
๑๑. เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๒. กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
๑๓. กลุ่มอนุรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย
๑๔. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๕. ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงาน
๑๖. กลุ่มแรงงานภาคตะวันออก
๑๗. กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจภาคตะวันออก
๑๘. สมานฉันท์แรงงานไทย
๑๙. กลุ่มเพื่อนประชาชน (F.O.P)
๒๐. RSA.
๒๑. เครือข่ายแรงงานตรวจสอบผลกระทบเงินกู้ของรัฐ (ALNI)
๒๒. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน
๒๓. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
๒๔. สหภาพแรงงานรถไฟไทย
๒๕. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
๒๖. สมานฉันท์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
๒๗. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)
----------------------------------------------------------------------------------------------------
Filed under การเมือง, สังคม Tagged with การเมือง, ประชาไท, พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ, พรก.ฉุกเฉิน, ระบอบอภิสิทธิ์, สิทธิมนุษยชน, สื่อมวลชน, เผด็จการ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาคประชาชนลั่นค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด ระบุเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญ-จำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึง สิทธิต่างๆ การจำกัดเสรีภาพการชุมนุมตาม พ.ร.บ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้าย แรง ด้านที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิลาออก เหตุสนับสนุนร่างกฎหมายจำกัดเสรีภาพ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ที่ห้องประชุม 12 ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีภาคประชาชนจากหลายเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็น
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอไปเมื่อวันที่ 4 พ.ค.
สาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวสรุปสาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอสู่สภาฯ ว่า พ.ร.บ.นี้จะบังคับเฉพาะการชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ ไม่มีองค์ประกอบด้านจำนวนว่าผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าใดจึงจะเป็นการชุมนุม อย่างไรก็ตาม มีองค์ประกอบคือ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เปิดให้บุคคลอื่นเข้าฟัง เข้าร่วม สนับสนุนการชุมนุมได้ ส่วน “ที่สาธารณะ” หมายถึงที่ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมในการ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับการชุมนุมที่กฎหมายนี้ยกเว้น ได้แก่ งานพระราชพิธี งานศาสนา การแสดงกิจกรรมมหรสพ การชุมนุมในสถานศึกษา การชุมนุมตามกฎหมาย สัมมนาวิชาการ ข้อยกเว้นตามกฎหมายเฉพาะ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และการชุมนุมในสถานการณ์การเลือกตั้ง
การชุมนุมในที่สาธารณะที่เข้าองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งจะกระทบความสะดวกของประชาชน ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ หรือบุคคลตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ วิธีรับแจ้งไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ. แจ้งก่อนจัดการชุมนุม 72 ชั่วโมง กรณีฉุกเฉินสามารถผ่อนผันได้ โดยผู้รับแจ้งต้องพิจารณาภายใน 24 ชั่วโมง หากขอผ่อนผันแล้วเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ โดยคำสั่งศาลเป็นที่สุด
การชุมนุมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสะดวกของประชาชน ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมได้แก่ การชุมนุมสาธารณะที่ขัดขวางความสะดวกของประชาชนที่จะใช้หรือเข้าออกที่ สาธารณะนั้นตามปกติ หรือขัดขวางการให้บริการหรือใช้บริการท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ระบบการขนส่งสาธารณะ หรือการสื่อสารสาธารณะอื่น หรือกีดขวางทางเข้าออกตามสถานที่ตามมาตรา 8 (การชุมนุมต้องห้ามตามกฎหมาย) ได้แก่ สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ คือ ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรตุลาการ และประชาชนทั่วไป โดยผู้จัดการชุมนุม คือ ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ เป็นผู้เชิญชวนผู้อื่นให้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีหน้าที่ต้องอยู่ร่วมการชุมนุมโดยตลอด ประกาศให้ผู้ชุมนุมทำตามหน้าที่ในการชุมนุม ไม่ส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมไม่ปฎิบัติตามมาตรา 17 นั่นคือ ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ไม่ก่อความไม่สะดวกกับประชาชนทั่วไป ไม่ปิดหน้า ไม่พกอาวุธ ไม่บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น ไม่ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ไม่ประทุษร้าย ไม่ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน และปฎิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาของเจ้าพนักงาน
การชุมนุมต้องแจ้งระยะเวลาในการชุมนุม และชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้งไว้ การเดินขบวน ต้องแจ้งล่วงหน้าและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน
ขณะที่ รัฐมีหน้าที่คุ้มครองความสะดวกของประชาชนและผู้ชุมนุม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจะมีการชุมนุม อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ดูแล รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกตามที่ผู้จัดการชุมนุมร้องขอ ควบคุมการชุมนุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ สามารถดำเนินการให้เลิกการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวาย
จินตนาระบุมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว ชี้รัฐบาลกลัวผีการเมือง
จินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายชุมนุมสาธารณะ เพราะมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องมี ก็ต้องเลือกใช้กับเฉพาะกลุ่ม เพราะภาคประชาชนที่ต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ เรื่องสิทธิที่ทำกินนั้นไม่มีผู้มีบารมีช่วยเหลือ ขณะที่กลุ่มที่ต่อสู้ทางการเมือง เช่นเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัฐบาล หรือการเลือกตั้ง มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ
เธอวิจารณ์ว่า รัฐบาลกลัวผีการเมือง อยากจัดการทั้งสองสีให้อยู่ในระเบียบตามกรอบคิดของรัฐบาล จึงออกกฎหมายเช่นนี้ แต่ทั้งสองสีมีคนที่มีบารมีอยู่เบื้องหลัง กฎหมายนี้จึงจัดการได้แต่กับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีบารมีอย่างพวกเธอเท่านั้น
ใน รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. เธอระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการต้องแจ้งล่วงหน้าว่าจะจัดการชุมนุม เพราะบางครั้งการชุมนุมเป็นเรื่องเฉพาะหน้า เช่น เมื่อคืนเราเพิ่งรู้ว่าวันนี้จะมีการขุดดิน จึงต้องรีบชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนอีกหลายประการเช่น บางครั้งก็ต่างคนต่างไปชุมนุม จะเอาอะไรมาวัดว่าใครเป็นผู้จัดการชุมนุม ชาวบ้านเพิ่งมาจากสวน มีมีดพร้าติดตัวมาด้วยจะถือว่าเป็นอาวุธหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่ให้หยุดการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมมีความวุ่นวาย ถามว่าเอาอะไรมาวัดว่าวุ่นวาย การชุมนุมของชาวบ้านไม่มีใครนั่งพับเพียบ ทุกคนชูธง ใช้เสียง เอะอะ เดินขวักไขว่ แล้วอะไรที่เรียกว่าเรียบร้อย
ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิฯ ลาออก หลังสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวถึงการอ้างความเดือดร้อนจากการชุมนุมว่า ส่วนใหญ่เป็นความเดือดร้อนของคนกรุงเทพฯ โดยไม่คำนึงเลยว่า ที่อยู่ได้ทุกวันนี้มาจากการแย่งชิงทรัพยากรจากคนชั้นล่าง เมื่อชนชั้นล่างมาเรียกร้องคัดค้าน ชนชั้นกลางก็โวยวาย ขณะที่เราพลัดที่นาคาที่อยู่ ถูกจับ ถูกตีให้ชนชั้นกลางได้รับประโยชน์ นี่เป็นการเอาเปรียบทางชนชั้น นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการคุกคามผู้ชุมนุม รวมถึงอาจนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์ด้วย
บารมี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกในการชุมนุมเลย ไม่ว่าเรื่องน้ำดื่ม หรือห้องน้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังเข้าไปประกบแกนนำ ข่มขู่ไม่ให้มา โดยบอกว่าจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ดังนั้น เสนอว่า ก่อนออกกฎหมายแบบนี้ รัฐควรไปฝึกคนให้มีประสิทธิภาพในการเจรจาต่อรองและแก้ปัญหาก่อน รวมถึงควรออก พ.ร.บ.ส่งเสริมเสรีภาพในการชุมนุมด้วย
ทั้งนี้ เขาวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ออกมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ด้วยว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ควรมีหน้าที่ปกป้องการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่จำกัดเสรีภาพ โดยเขาได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ลาออกจากตำแหน่ง
โอด แจ้งก่อนชุมนุม 3 วัน หนักกว่า กม.แรงงาน
สมศักดิ์ สุขยอด กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มองว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ การต้องแจ้งก่อนจัดชุมนุม 72 ชั่วโมงนั้น มากกว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งให้แจ้งการนัดหยุดงานก่อน 24 ชั่วโมงเสียอีก
เขาระบุด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดสถานที่ห้ามชุมนุม โดยมองว่า ไม่ว่าผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร ก็ต้องเดินทางไปเรียกร้องต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ร่างนี้กลับห้ามการชุมนุมในที่ต่างๆ เช่น หน้าสถานทูต เขายกตัวอย่างว่า หากมีผู้มาลงทุน แล้วกดขี่ประชาชน ก็ต้องไปชุมนุมที่สถานทูตประเทศนั้น แต่กฎหมายกลับไม่ให้ชุมนุม การทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเรียก ร้องแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนต่างชาติมาทำลายคนไทยอีกด้วย
พร้อม เข้าสู่กระบวนการ กม. หากละเมิดสิทธิผู้อื่น
กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวถึงกรณีที่มีผู้แย้งว่า หากไม่มี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผู้ชุมนุมอาจละเมิดสิทธิของประชาชนที่ไม่ได้ชุมนุมได้ว่า พวกเธอไม่เคยปฎิเสธกฎกติกาของบ้านเมือง ตลอดเวลาที่ต่อสู้ เจอคดีจำนวนมาก ซึ่งพวกเธอก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพราะเข้าใจว่าการต่อสู้จำเป็นต้องแลก
“เมื่อคิดว่าเรากระทบ สิทธิคนอื่น ก็ดำเนินคดีอาญากับเราได้ เราพร้อมเข้าสู่การพิจารณา” กรณ์อุมา กล่าวและว่า ไม่ว่ากฎหมายนี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับกลุ่มใดก็ไม่เห็นด้วยทั้งนั้น โดยตั้งคำถามว่า หากมีกฎหมายนี้แล้ว วันหนึ่งมีรัฐบาลที่ทุจริตโกงกิน ใช้อำนาจเกินขอบเขต จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงมองว่า ทุกวันนี้มีกฎหมายอาญาที่ใช้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรมีซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก
ชี้ กม.ช่วยรัฐบาลได้เปรียบ ไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รอม็อบกลับ
พงษ์อนันต์ ช่วงธรรม เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะทั้งฉบับ โดยระบุว่า การออกกฎหมายแบบนี้ คนที่ได้เปรียบคือรัฐบาล เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อผู้จัดการชุมนุมแจ้งว่าจะมีการชุมนุม รัฐมนตรีก็เตรียมหนีไปแล้ว หากผู้ชุมนุมไม่ชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้ง ก็จะถูกสลาย สุดท้ายรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแก้ปัญหา
เขามองว่า แนวคิดนี้น่าจะมาจากทหาร ตำรวจ ที่ขี้เกียจตากแดดฝน รัฐบาลที่กลัวคนอยู่ตรงข้ามจะมาล้มตัวเอง เลยพยายามผลักกฎหมายออกมา ทำให้ความเดือดร้อนตกกับคนจน ทั้งนี้ การต้องแจ้งว่าจะชุมนุมกี่วันนั้นทำได้ยากเพราะผู้ชุมนุมเองก็ไม่อาจทราบ ได้ว่า ปัญหาของพวกเขาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด รวมถึงสถานที่ต่างๆ ที่ห้ามชุมนุมนั้นก็ล้วนแต่เป็นที่ที่ประชาชนต้องไปชุมนุมเพราะต้องการให้คน ที่อยู่ในที่เหล่านั้นแก้ปัญหาให้ หากไม่อนุญาตให้ชุมนุม จะมีอะไรที่เอื้อให้ปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไข
นอกจากนี้ เขายังมองว่า การชุมนุมทางการเมืองก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน พวกเขามีสิทธิบอกว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้ มองว่า ตำรวจ ทหาร มีหน้าที่เพียงควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในขอบเขต ไม่ลิดรอนสิทธิจนเกินเหตุ ส่วนเรื่องการชุมนุมที่อาจขัดขวางการใช้บริการท่าอากาศยานหรือท่าเรือนั้นก็ มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละที่ควบคุมอยู่แล้ว
จี้ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ชี้ขัด รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนที่เข้าร่วมมีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนจะคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
ทั้ง นี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตาม ประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
*************************
คำแถลงองค์กรภาคประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……
สืบเนื่องจากการจัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ขึ้นในวันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๑๒ ตึก ๓ (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……นำเสนอมุมมองของภาคประชาชนต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเป็นไปใน ทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น
จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนดังมีรายชื่อท้ายคำแถลง มีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตามประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
ด้วยจิตคารวะ
วัน ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
๑. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๒. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๓. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
๔. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๕. กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก
๖. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
๗. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
๘. สมัชชาคนจน
๙. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (อิสาน)
๑๐. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
๑๑. เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๒. กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
๑๓. กลุ่มอนุรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย
๑๔. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
๑๕. ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงาน
๑๖. กลุ่มแรงงานภาคตะวันออก
๑๗. กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจภาคตะวันออก
๑๘. สมานฉันท์แรงงานไทย
๑๙. กลุ่มเพื่อนประชาชน (F.O.P)
๒๐. RSA.
๒๑. เครือข่ายแรงงานตรวจสอบผลกระทบเงินกู้ของรัฐ (ALNI)
๒๒. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน
๒๓. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
๒๔. สหภาพแรงงานรถไฟไทย
๒๕. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
๒๖. สมานฉันท์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
๒๗. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)
----------------------------------------------------------------------------------------------------
Filed under การเมือง, สังคม Tagged with การเมือง, ประชาไท, พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ, พรก.ฉุกเฉิน, ระบอบอภิสิทธิ์, สิทธิมนุษยชน, สื่อมวลชน, เผด็จการ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)