จุดอ่อนอันใหญ่ หลวงของนายอภิสิทธิ์ที่เขาไม่รู้ตัวคือ "คารมโวหาร" นี่แหละ เพราะมันขาด "ความน่าเชื่อถือ" โดยสิ้นเชิง
ทุกคนอาจคิดว่า จุดแข็งของนายอภิสิทธิ์คือ คารมโวหาร ที่ดูดีมีหลักการ หรือมีเหตุผลที่ดีเสมอ นั่นแหละ ซึ่งผมก็ไม่ปฎิเสธ ในช่วงแรกของชีวิตของนายอภิสิทธิ์ ที่ไม่ได้มีความรับผิดชอบอะไร การพูดอะไร โดยที่ตัวเองไม่ต้องทำนั้น การพูดดี โวหารดี สำหรับคนหนุ่มที่ัยังไม่มี "ความรับผิดชอบ" ไม่มีหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ" นั้น ดูเหมือนว่าเป็น จุดแข็ง
แต่เมื่อมีตำแหน่ง มีหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ สิ่งที่ต้องมาเป็นอันดับแรก คือ "การทำตามสิ่งที่เราพูดเอาไว้" เพื่อให้คำพูดของเรา "มีความน่าเชื่อถือ"
ไม่ใช่ หาโวหารมาอธิบายว่าทำไม "ไม่ทำตามสิ่งที่พูด" เมื่อทำแรกๆ คนอาจ งงๆ ยังไม่รู้ตัว แต่เมื่อทำเป็นนิสัย คนจะเริ่มไม่ฟัง "คารมโวหาร" ที่ดูดีมีหลักการ แต่มันคือ "การแก้ตัวว่าทำไมไม่ทำตามสิ่งที่เราได้พูดเอาไว้"
ในที่สุด คนก็จะตีตราว่า "คำพูดเราไม่มีความน่าเชื่อถือ" เชื่อถือไม่ได้โดยสิ้นเชิง ในเวลานี้ต่อให้ นายอภิสิทธิ์พูดดี มีหลักการ โวหารน่าฟังขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่มีใครฟังสิ่งที่เขาพูดเพราะมันเป็นแค่ "คำแก้ตัว" ว่า ทำไมทำตามสิ่งที่พูดไม่ได้
ในที่สุด "การรับรู้ของคนทั่วไปคือ "นายอภิสิทธิ์เป็นคนไม่มีความน่าเชื่อถือ "โดยสิ้นเชิง
คำพูดทุกคำเป็นเพียงโวหาร ที่ประดิษฐประดอยขึ้นมาเท่านั้น และไร้สาระที่จะไปฟัง
ผมไม่เคยฟังสิ่งที่นายอภิสิทธิ์พูดมานานแล้ว เพราะผมเบื่อที่จะฟังคำแก้ตัว คำพูดสวยหรู คำแก้ตัวสวยหรูนั้นใครก็ทำได้
ปัญหาของ "คนที่เป็นผู้ใหญ่" คือ รักษาคำพูด และทำตามสิ่งที่เราพูดเอาไว้ เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ
เราต้องเป็นบุคคลที่ "น่าเชื่อถือ" ไม่ใช่คนพูดดี โวหารดี แต่ตลบตะแลง เชื่อถือไม่ได้
สำหรับนายอภิสิทธิ์ แม้จะมีตำแหน่งใหญ่โตเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในสายตาผมคือ คนหน้าตาดี ตลบตะแลง ไม่รักษาคำพูด และแก้ตัวเก่ง เป็นลักษณะของ "ทุรชน" อย่างแท้จริง
คำพูดของเขาที่ติดปากคือ "ผมไม่อยากที่จะแก้ตัวเลย "แต่" แล้ว ก็ Bla bla aaaa แก้ตัวอีกสองชั่วโมง" ช่วงนีหากเราดูโทรทัศน์ ก็กดปิดคำพูด "แก้ตัวของเขาได้"
by ลูกชาวนาไทย ประชาไท
****************************************************
วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553
ระวังปาหี่..!!??
วันนี้คนเสื้อแดงจะนัดชุมนุมใหญ่ เคลื่อนพลทั่ว กทม. กดดันให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ท่ามกลางกระแสข่าว ทหารหมดความอดทน รอไฟเขียวเข้ามาเป็นตาอยู่ ยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จอีกกระทอก อย่างที่เคยเกริ่นไว้แล้วว่า ช่องทางของ รัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลชั่วคราวสุดแล้วแต่จะเรียกขาน เป็นช่องทางออกสุดท้ายของปัญหาวิกฤติการเมืองไทย
ก็มีการวิจารณ์กันว่า บางคนในกองทัพ จะเป็นตัวตั้งตัวตีในการยึดอำนาจ แต่ถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว การยึดอำนาจในบ้านเรา ทุกครั้งจะต้อง มีเอกภาพและมีการรับรอง เพราะฉะนั้น รูปแบบของการปฏิวัติรัฐประหารเมืองไทยมีสูตรสำเร็จที่จะเห็นบรรดา ผบ.เหล่าทัพมานั่งหน้าสลอนแถลงข่าวถึงเหตุผลในการยึดอำนาจและมีโฆษกคณะปฏิวัติที่มานั่งแถลงข่าวโปรดฟังอีกครั้ง ทุกอย่างก็เรียบร้อยโรงเรียนทหาร
จะให้เป็นหน้าที่บางคนในกองทัพคนเดียวคงทำไม่ได้
เนื้อแท้ของการยึดอำนาจในประเทศไทยจบที่ เรื่องของผลประโยชน์ชั่วคราว คนที่เข้ามาร่างกฎหมาย เขียนประกาศคณะปฏิวัติ มาเป็นรัฐบาลชั่วคราว มาเป็นนายกฯ มาเป็นรัฐมนตรี หรือองค์กร ต่างๆในระบบการบริหารก็คนคุ้นเคยกันทั้งนั้น
ในฐานะตาอยู่ ผู้นำกองทัพไม่ได้หวังอะไรมากจากการยึดอำนาจแต่ละครั้ง โชคดีอาจจะมีตำแหน่งติดไม้ติดมือกลับบ้าน หรือมีโบนัสก้อนโต เอาไว้กินไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิตอย่างสุขสบาย ส่วนหน้าที่การตามล้างตามเช็ดต่อไปเป็นหน้าที่ของนักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนที่จะตามน้ำกันต่อไปอย่างไร
การเมืองก็คือเรื่องของผลประโยชน์
จะบนผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น ที่ไม่สลับซับซ้อน การออกมารักษาความสงบของเจ้าหน้าที่ในการชุมนุมของคนเสื้อแดงครั้งนี้ ระดับเด็กๆรับไปวันละ 400 บาท จ่ายสดซะด้วย ส่วนจะถึงมือลูกน้องเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ เป็นอีกเรื่อง
ผลพลอยได้จากการไล่รัฐบาลโดยเฉพาะแกนนำผู้ชุมนุมนั้น คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันให้เมื่อยตุ้ม เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่แทงกั๊กกันอุตลุด ระหว่างแกนนำเสื้อแดง แกนนำพรรคฝ่ายค้าน บ้านเลขที่ 111
วันนี้ถ้าฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตยรวมตัวกันเหนียวแน่นจริงๆ เสียสละเพื่อส่วนรวม กันจริงๆก็คงไม่มีสภาพเหมือนทุกวันนี้ ประเภท รักตัวกลัวตาย อาบน้ำแต่งตัวรอรับตำแหน่ง มีเยอะกว่านักสู้เพื่อประชาธิปไตย ใจไม่ถึงเหมือนลุงนวมทองหรือชาวบ้านที่ไปนั่งทนร้อนทนหนาวอยู่บนถนนราชดำเนิน
ว่ากันว่าจะคิด จะเจรจา จะดำเนินการเคลื่อนไหวอย่างไร เป็น อำนาจของ สามเกลอ แม้แต่ นายใหญ่ ก็ยังพูดอะไรได้ไม่เต็มปาก ถ้าสู้กันแบบมีนอกมีในอย่างนี้ หนทางที่จะเอาชนะรัฐบาลที่เชี่ยวการเมืองเช่นพรรคประชาธิปัตย์ได้ยาก ยิ่งมีตัวช่วย ไม้ค้ำ เป็นกรณีพิเศษ ดังนั้น การเรียกร้องมาตรฐานความเป็นธรรมและเสมอภาค ในสังคมไทยอาจจะเหนื่อยฟรีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีกยาวนาน.
หมัดเหล็ก
ไทยรัฐออนไลน์
โดย หมัดเหล็ก
tags:
คาบลูกคาบดอก หมัดเหล็ก เสื้อแดง Share |
ก็มีการวิจารณ์กันว่า บางคนในกองทัพ จะเป็นตัวตั้งตัวตีในการยึดอำนาจ แต่ถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว การยึดอำนาจในบ้านเรา ทุกครั้งจะต้อง มีเอกภาพและมีการรับรอง เพราะฉะนั้น รูปแบบของการปฏิวัติรัฐประหารเมืองไทยมีสูตรสำเร็จที่จะเห็นบรรดา ผบ.เหล่าทัพมานั่งหน้าสลอนแถลงข่าวถึงเหตุผลในการยึดอำนาจและมีโฆษกคณะปฏิวัติที่มานั่งแถลงข่าวโปรดฟังอีกครั้ง ทุกอย่างก็เรียบร้อยโรงเรียนทหาร
จะให้เป็นหน้าที่บางคนในกองทัพคนเดียวคงทำไม่ได้
เนื้อแท้ของการยึดอำนาจในประเทศไทยจบที่ เรื่องของผลประโยชน์ชั่วคราว คนที่เข้ามาร่างกฎหมาย เขียนประกาศคณะปฏิวัติ มาเป็นรัฐบาลชั่วคราว มาเป็นนายกฯ มาเป็นรัฐมนตรี หรือองค์กร ต่างๆในระบบการบริหารก็คนคุ้นเคยกันทั้งนั้น
ในฐานะตาอยู่ ผู้นำกองทัพไม่ได้หวังอะไรมากจากการยึดอำนาจแต่ละครั้ง โชคดีอาจจะมีตำแหน่งติดไม้ติดมือกลับบ้าน หรือมีโบนัสก้อนโต เอาไว้กินไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิตอย่างสุขสบาย ส่วนหน้าที่การตามล้างตามเช็ดต่อไปเป็นหน้าที่ของนักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนที่จะตามน้ำกันต่อไปอย่างไร
การเมืองก็คือเรื่องของผลประโยชน์
จะบนผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น ที่ไม่สลับซับซ้อน การออกมารักษาความสงบของเจ้าหน้าที่ในการชุมนุมของคนเสื้อแดงครั้งนี้ ระดับเด็กๆรับไปวันละ 400 บาท จ่ายสดซะด้วย ส่วนจะถึงมือลูกน้องเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ เป็นอีกเรื่อง
ผลพลอยได้จากการไล่รัฐบาลโดยเฉพาะแกนนำผู้ชุมนุมนั้น คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันให้เมื่อยตุ้ม เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่แทงกั๊กกันอุตลุด ระหว่างแกนนำเสื้อแดง แกนนำพรรคฝ่ายค้าน บ้านเลขที่ 111
วันนี้ถ้าฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตยรวมตัวกันเหนียวแน่นจริงๆ เสียสละเพื่อส่วนรวม กันจริงๆก็คงไม่มีสภาพเหมือนทุกวันนี้ ประเภท รักตัวกลัวตาย อาบน้ำแต่งตัวรอรับตำแหน่ง มีเยอะกว่านักสู้เพื่อประชาธิปไตย ใจไม่ถึงเหมือนลุงนวมทองหรือชาวบ้านที่ไปนั่งทนร้อนทนหนาวอยู่บนถนนราชดำเนิน
ว่ากันว่าจะคิด จะเจรจา จะดำเนินการเคลื่อนไหวอย่างไร เป็น อำนาจของ สามเกลอ แม้แต่ นายใหญ่ ก็ยังพูดอะไรได้ไม่เต็มปาก ถ้าสู้กันแบบมีนอกมีในอย่างนี้ หนทางที่จะเอาชนะรัฐบาลที่เชี่ยวการเมืองเช่นพรรคประชาธิปัตย์ได้ยาก ยิ่งมีตัวช่วย ไม้ค้ำ เป็นกรณีพิเศษ ดังนั้น การเรียกร้องมาตรฐานความเป็นธรรมและเสมอภาค ในสังคมไทยอาจจะเหนื่อยฟรีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีกยาวนาน.
หมัดเหล็ก
ไทยรัฐออนไลน์
โดย หมัดเหล็ก
tags:
คาบลูกคาบดอก หมัดเหล็ก เสื้อแดง Share |
วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553
เปิดวิวาทะเดือด !! "อภิสิทธิ์-จตุพร" ชง6ประเด็นอัดนายกฯ "มาร์ค"แบะท่าขอเวลา9เดือนแก้รธน.-ยุบสภา
นายกฯเปิดโต๊ะเจรจาวันที่2 "จตุพร"ยิงคำถาม"มาร์ค"เคยบอก"สมัคร"ให้ยุบสภาแก้ปัญหา สื่อบันทึกภาพเพียบ
การเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายระหว่าง รัฐบาล และ 3 แกนนำนปช. ในวันที่ 2 เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 18.20 น. โดยใช้เวลา ประมาณ 2 ชั่วโมง โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ พยายามเสนอระยะเวลาให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน และประชาชนลงประชามติ จากนั้นจึงยุบสภา โดยใช้เวลา 9 เดือน ซึ่งนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำนปช. ก็มีแนวโน้มจะรับไปพิจารณา โดยให้ทั้งฝ่ายไปจัดทำแผนรายละเอียดระยะเวลาร่วมกันของแต่ละฝ่าย และนำกลับมาหารืออีกครั้งในวันพฤหัสฯที่ 1 เมษายน แต่ในตอนท้าย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว โดยกล่าวสรุปว่า ข้อเสนอของนปช.ในวันนี้ให้นายกฯยุบสภาภายใน 15 วันไม่ได้รับการตอบสนอง ส่วนข้อเสนอใหม่ของรัฐบาลในวันนี้ ให้ยุบสภา ใน 9 เดือน ยังไม่ขอรับข้อเสนอ แต่ขอนำไปหารือกับผู้ชุมนุมก่อน จึงค่อยนัดหารือกันในรอบที่ 3 ส่วนฝ่ายรัฐบาลจะทำแผนไว้ตามเดิม คือนัดหารือรอบที่สาม ในวันที่ 1 เมษายน ส่วนนปช.จะร่วมหารืออีกหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่นปช.จะพิจารณาเอง โดยการหารือจบในเวลา 20.20 น.
เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 29 มีนาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ และนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเจรจาเป็นวันที่ 2 กับนายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มเสื้อแดง ที่สถาบันพระปกเกล้าฯ ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยสถานีโทรทัศน์ทุกช่องถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ
ปรากฏว่า มีบรรดาช่างภาพ สื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ ทั้งสื่อไทยและสื่อต่างประเทศ มาตั้งช่องเปิดทางถ่ายทอดสด และถ่ายภาพประวัติศาสตร์ นับร้อยคน ทำให้การเจรจาในวันที่สองต้องล่าช้าไปกว่า 20 นาที
นายวีระ มุสิกพงศ์ : ขอบคุณท่านนายกฯ ชาวบ้านรู้สึกสบายใจ ที่บ้านเมืองจะกลับสู่ปกติ มาถึงข้อเรียกร้อง ก่อนจากกันเมื่อวาน พวกผมได้ขอให้นายกฯ ยุบสภาภายใน 15 วัน ขอถามตรง นายกฯและคณะ มีความเห็นอย่างไร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ขอตอบว่า คงต้องมีเงื่อนไขที่เราต้องช่วยกันทำ ถึงจะมั่นใจว่า เป็นทางออกที่ยอมรับของทุกฝ่าย ของฟันธงได้เลยว่า ยุบวันนี้ หรืออีก 15 วัน ไม่ตรงกัน ว่าจะแก้ปัญหาให้บ้านเมืองกลับไปปกติสุขได้ จากการหารือกันว่า ประชาชน ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการยุบสภาในตอนนี้ วาระของผมเหลือเวลาอีก 1 ปี กับ 9 เดือน ถ้าให้ผมจัดเลือกตั้งก่อนครบวาระคงไม่มีปัญหา โดยการจัดการปัญหาต่างๆ ให้แก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คงจะใช้ระยะเวลาไม่นาน พร้อมจะคุยในกรอบนี้หรือไม่ เพราะถ้าไม่ยอมรับผมก็ขอบอกว่า ทำไม่ได้ แน่นอน แต่ถ้ายอมรับกรอบนี้ เราก็เจรจากันต่อได้
นายจตุพร พรหมพันธุ์ : ตอนนายกฯเป็นฝ่ายค้าน เคยขอให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ยุบสภาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : (โต้ขึ้นทันทีว่า) เหตุการณ์ตอนนั้น เป็นคนละกรณีกับตอนนี้ เพราะตอนนี้ มีการกดดันของผู้ชุมนุม แต่ตอนนั้น ผู้ชุมนุมไม่ต้องการให้ยุบสภา
นายจตุพร พรหมพันธุ์ : คนเสื้อแดง ติดใจเรื่อง 2 มาตรฐาน ทำให้มีคนมาชุมนุมกันจำนวนมาก เป็นบาดแผลร้าวลึกของคนไทย ประเด็นต่อไป ท่านเข้ามาเป็นนายกฯ เข้ามาสู่ในวาระ 1 ปี 4 เดือน ช่วงแรกถ้าจะให้ยุบสภามันเร็วเกินไป แต่ถือว่า เป็นนานกว่า 2 รัฐบาล สมัคร-สมชาย นอกจากนี้ ยังได้เป็นนายกฯโดยไม่ชอบ และล้มเหลวหลายอย่าง ทำให้คนไทยเป็นหนี้ทั้งประเทศ และการกู้เงินมาใช้จ่าย เป็นเงินกว่า 8 แสนล้าน ถือว่าใช้เงินมหาศาลมาใช้นอกงบประมาณแผ่นดิน ทำให้เหนืออำนาจการตรวจของของคณะกรรมาธิการสภา จนมีข่าวการทุจริตจำนวนมาก ถึงกับเรียกว่า กู้มาโกง เช่น โครงการไทยเข้มแข็ง ไทยพอเพียง และการจัดซื้ออาวุธ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการลอกข้อสอบ ในกระทรวงมหาดไทย การสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ
ประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอเรียนว่า เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่มีโอกาสเป็นไปได้ ตั้งแต่ท่านเป็นนายกฯ เคยรับปากพรรคร่วม แต่ก็ไม่ได้ทำตาม โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในหลายๆประเด็น แม้กระทั่งเรื่องการสำเร็จราชการแทน ประเด็นแก้ไขรธน.ไม่เชื่อว่า จะทำได ้และเห็นว่า มันสายไปแล้ว และหมดเวลาไปแล้ว นอกจากนี้ ที่นายกฯบอกว่า จะแก้ไขปัญหาวิกฤตประเทศให้ไปได้ จึงขอให้นายกฯประกาศยุบสภา และจัดเลือกตั้งภายใต้รธน.ปี 2550 ได้ ซึ่งถือว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับประโยชน์มากที่สุด
ที่ลำดับความมา ทั้งหมด เพื่อต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นประชาธิปไตย จะทำให้นายกฯเป็นผู้ยิ่งใหญ่ หากปฏิบัติได้ ผมจึงสรุปว่า ที่พวกผมประเมิน พวกผมไม่ต้องมีข้อขัดแย้ง ที่มาเรียกร้องให้ทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติ ที่ยุบสภาแล้ว จะทำให้บ้านเมืองกลับสู่ปกติได้อย่างไร ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ไม่ต้องการให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือการเข่นฆ่าประชาชน จึงเรียนว่า การเปลี่ยนแปลงด้วยวิถีประชาธิปไตย จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด การอยู่ภายใต้รัฐทหารนั้น ไม่เหมาะสม การเสียสละของนายกฯจะนำประเทศฝ่าวิกฤตไปได้ ถ้าเสียสละและได้รับเลือกตั้งอย่างยิ่งใหญ่ ถ้ายังเป็นนายกฯอยู่ต่อไป อาจจะจบด้วยกันเป็นทรราชได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ที่บอกว่า ได้มาเป็นนายกฯโดยมิชอบ ขอตอบประเด็นนี้ก่อน การเลือกนายกฯ ถือว่าเป็นพิเศษกว่าทุกครั้ง และอยู่ในกระบวนการรัฐสภาทั้งสิ้น ขอเรียนให้เข้าใจที่ทุกต้อง ถ้าท่านบอกรธน.โดยมิชอบ จะลงเลือกตั้งทำไม ประเด็นก็คือว่า เมื่อมีกติกา ก็ต้องเล่นตามกติกา กติกาเขาเล่นตามประสบการณ์ในอดีต ป้องกันทุจริต ได้มาโดยมิชอบ วันนี้ อยู่ดีๆ บอกว่า ทำไมในสภามา 2 ปี บอกว่ามันไม่ถูกต้องแต่ต้น มันก็แปลกอยู่
เรื่องรธน. ผมพูดว่า เคยรับปากว่าจะแก้ แต่เรื่องแก้รธน. อาจจะคิดกันคนละเรื่อง ผมรู้สึกว่า บางทีเราเลือกกันตามชอบ ไม่ชอบ เช่นเมื่อรัฐบาลได้มาจากรธน. ก็เป็น 2 มาตรฐานเหมือนกัน มาเรื่อง 2 มาตรฐาน มีการพูดตั้งแต่เมื่อปี 2544-45 สมัยคุณทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) เรื่องปิดบังทรัพย์สินของภรรยา และมีกรณีของคุณประยุทธ มหากิจศิริที่คล้ายคลึงกัน แต่กลับมีการลงโทษคุณประยุทธ ส่วนคุณทักษิณ ถูกตัดสินว่าไม่ผิด เรื่องนี้ละ 2 มาตรฐาน คดีซุกหุ้นทักษิณ ผมคิดว่าเป็น แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่เรายอมรับ เราต้องยอมรับกระบวนการของศาล ถ้าวันนี้ เลือกคดีโน้นคดีนี้ยอมรับบ้างไม่ยอมรับบ้าง มันก็ไม่มีข้อยุติ
เวลาพูดเรื่อง 2 มาตรฐาน บางคดีไม่ดำเนินการ บางคดีเร่งรัด คดีไหนยากมันก็นาน คดีจักรภพ (จักรภพ เพ็ญแข) ก็นานแล้ว บางคดีไม่ซับซ้อนก็มีการออกหมายจับแล้ว บางคดีก็เสร็จไปแล้ว คุมขังไปแล้ว ทำในยุคผมทั้งนั้น คดีเดือนเมษายน ล้อมกรอบทุบรถผม ก็ว่ากันไปตามปกติ จะเป็นอย่างไรใช้เวลาเท่าไหร่ รัฐบาลไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย ให้รายงานแต่คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน แต่ที่หยิบคดีไหนขึ้นมาพูดนั่น มันเป็นเรื่องที่เกินเลยไป
ประเด็นที่ 4 น่าจะไปอภิปรายไม่ไว้วางในรัฐสภา เช่น เรื่องอาฟต้า เป็นเรื่องที่เกิดมานานแล้ว ถึงขณะนี้ ยังเป็นสินค้าที่สงวนอยู่ กู้เงิน การกู้เงินที่เรียกว่ากู้เงินพิเศษ นอกกรอบงบประมาณ 4 แสนล้าน เพราะรัฐบาลเห็นว่า เป็นเงินเร่งด่วน แต่น่าสนใจว่า มันอาจจะต้องกู้ 8 แสนล้าน จึงแบ่งออกเป็น พรก.4แสนล้าน เป็นพรบ. 4 แสนล้าน แต่สมัยทักษิณ กู้พรบ.ฉบับเดียว 7.5 แสนล้านถือว่ามากที่สุด แต่ขณะนี้ รัฐบาลไม่ได้มีปัญหาเรื่องหนี้สิน ต้องเอาความจริงมาพูดกัน ส่วนเรื่องการทุจริต ผมก็พูดมาตลอดว่า เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย ผมเชื่อว่า สมัยผมเป็นนายกฯ ก็ต้องมีทุจริต ที่สำคัญ จะจัดการปัญหาดังกล่าวหรือไม่ ที่รมต.ลาออก ถือเป็นความรับผิดชอบแสดงสปริต แต่เรื่องคดีที่ศาลตัดสินแล้วทำไมไม่หยิบมาพูด ที่ศาลสั่งยึดทรัพย์
กรณีจีที-200 ซื้อครั้งแรก ในสมัยทักษิณ เรื่องนี้ ต้องพูดความจริง ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละเรื่องทุจริตหรือไม่ มีหลักฐานหรือไม่ แต่หลายเรื่องมีการตั้งกรรมการสอบแล้ว ประเด็นเหล่านี้ หยิบยกขึ้นมาแล้วบอกว่า โกงมากมายมันตรงกันข้าม
เรื่องแก้รธน. ผมบอกว่าแก้ได้ และแก้บางประเด็น ผมพูดมาตลอด อย่าไปแก้ประเด็นที่มีความละเอียด และเอาประโยชน์ให้ตัวเอง แก้แล้วไปล้างทุจริตให้คนที่ทำผิด แต่ประเด็นที่เสนอแก้ก็มุ่งไปแต่เรื่องนี้ เรื่องที่รับปากแก้ไขรธน. ว่าไม่เอานะ นิรโทษกรรม ล้างความผิดเพื่อช่วยตัวเอง แต่ก็เปิดช่องไว้บ้าง
เรื่องแก้ไขรธน.จะไปรู้ดีกว่าผมได้อย่างไร ว่าคุยอะไรกับพรรคร่วมบาง เรื่องนี้ก็เชิญวิปทุกฝ่ายมาคุยกันเพื่อเอาไปทำประชามติ ว่าประชาชนต้องการอะไร แต่ปรากฏว่า คนที่ล้มกระบวนการนี้ คือฝ่ายค้านที่ไม่ยอมร่วมดำเนินการด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : เรื่องวาระในการยุบสภา ผมเหลือวาระ 1 ปี 9 เดือน ถามว่าผมอยากเห็นอะไรก่อนเลือกตั้ง มี 3 เรื่อง 1.เศรษฐกิจ 2.กติกา 3.บรรยากาศ เรื่องแรกเศรษฐกิจ อยู่ที่ปฏิทินของกระบวนการงบประมาณ เพราะถ้ายุบสภา ทำให้มีปัญหาในการบริหารประเทศ เรื่องสอง กติกา ถ้าดูจากการประกาศทำประชามติ เรื่องไหนที่จะแก้รธน. ให้สภาดำเนินการ พอทำเสร็จ ทำกฏหมายเป็นกรอบเวลาหนึ่ง เรื่องที่สาม เรื่องการทำบรรยากาศบ้านเมืองให้เป็นปกติ ให้มีการตรวจสอบได้ การชุมนุมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ไม่มีการปิดล้อมไม่มีการข่มขู่ เอา 3-4 ปัจจัยนี้ มาดูกัน น่าจะประมาณสิ้นปี ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร หรือถ้าจะบอกว่า แค่15วันเท่านั้น
นายวีระ มุสิกพงศ์ : เรื่องปัญหาเศรษฐกิจ เป็นเรื่องความเชื่อ ถ้าจะดีถ้าเชื่อว่าแก้เศรษฐกิจได้ ก็ให้ประชาชนพิสูจน์ด้วยการเลือกตั้ง ส่วนเรื่องกติกา มีปัญหาแน่นอน สภาเป็นที่พึ่งไม่ได้แล้ว รอให้เลือกตั้ง แล้วค่อยมาแก้ไข ส่วนบรรยากาศทางการเมือง เชื่อว่า เราทำได้ เสื้อแดงทำได้
นายวีระ มุสิกพงศ์ : ถ้ากรอบที่นายกฯเสนอมา มันจะยาวไป แต่มีนักวิชาการเสนอมา 3 เดือน ถือว่าเหมาะสม มันไม่ควรจะยาวนานไปถึง 6 เดือน กรอบกติกา ผมว่า 2 เดือนคงจะแก้ไขได้ ถ้ารัฐบาลจริงใจ เพราะถ้าปล่อยสภาคงพึ่งไม่ได้ ปัญหาอยู่ที่ว่า ท่านต้องเสียสละ ให้สิทธิแก่ประชาชน ขอให้นายกฯเสียสละ ยอมให้มีการเลือกตั้ง ตามกรอบเวลาที่เหมาะสม
นายจตุพร : นายกจะขอเวลาสักกี่เดือน
นายอภิสิทธิ์ : ผมขออธิบายว่าที่พูดถึงปฏิทินเราอยู่ในภาวะเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบมากการฟื้นตัวไม่ค่อยแรง เขาพูดกันได้ว่าที่ฟื้นมาได้เพราะหลายประเทศฟื้น พ.ร.บ.กู้เงินสี่แสนล้านคงไม่ได้กู้ตามนั้น สมัยก่อนงบประมาณเพิ่มทุกปี เวลาเกิดมีปัญหาการเมือง กฎหมายให้ใช้ของเก่าได้ งบเพิ่มทุกปีแต่ยังใช้ของเก่าได้ บังเอิญปีที่ผมเข้ามาเจอวิกฤตเศรษฐกิจงบประมาณขาด 2 แสนล้าน ถ้าตรงนี้มันชะงักอาจจะส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน เรื่องรัฐธรรมนูญช้าเร็วไม่ได้อยู่ที่สภา วันนี้เราเอาให้ชัดๆเลยว่าประชาชนเป็นคนทำ ทำประชามติไปเลยจะแก้มาตราไหน ซึ่งมันไม่เหมือนกับการเลือกตั้ง กระบวนการประชามติบวกกับการแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา บรรยยากาศบ้านเมืองที่เราสามารถทำเรื่องยากๆกันได้คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำประชามติ เราไม่สามารถแก้กันได้ลอยๆ
กรอบปลายปี สิ้นปี ผมไม่อยากบอกว่าเสียสละ ตามกฎหมายเหลือ 1 ปี 9 เดือน ตอนนี้เฉือนไปเลย 1 ปีเหลือแค่ 9 เดือน เราเพียงแต่บอกว่ามากำหนดเดินไปข้างหน้าไปกำหนดกรอบ ผมย้ำว่านี่คือสิ่งที่รัฐบาลวางลงได้แต่ถ้ายืนยันว่า 15 วัน ไม่ได้
นายจตุพร : ถ้าจะทำเรื่องใดๆก็ตามต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 90 วันถึง 120 วัน หมายความว่าเรื่องนี้เริ่มปฏิบัติใช้เวลา 3 เดือน หรือเข้าสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าอายุรัฐบาลคงไม่ทัน เงื่อนไขประเด็นเศรษฐกิจจะมาผูกมัดรวมไม่ได้ว่าเศรษฐกิจหลังจากนี้ท่านจะทำให้ดีขึ้นรวมทั้งบรรยากาศด้วย นับจากนี้ไปอีก 9 เดือนจะดีขึ้นได้อย่างไร มันเป็นการซ้ำซาก เวลานี้เรื่องการท่องเที่ยวการชุมนุมไม่กระเทือน ทั้ง 3 อย่างที่จะลากไปถึงสิ้นปีมันยาวไปถึงปีหน้า
การเรียกร้องให้ท่านเสียสละยังเป็นประเด็นหลัก นายกฯประชาชนยังต้องใช้ชีวิตตามปกติ หมายความว่าการเรียกร้องของเราไปวัดที่ผลการเลือกตั้ง คู่แข่งของท่านจะยอมเสียเปรียบ สิ้นปีคงเป็นเรื่องที่จะรับกันไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ : ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องเศรษฐกิจดีไม่ดี ผมเพียงแต่บอกว่าตารางปฏิทินงบประมาณถูกกระทบตั้งแต่ตุลาคม เป็นต้นไปมันคงผิดปกติมากๆ เพราะประชาชนส่วนหนึ่งก็กังวลเรื่องนี้ ผมคิดว่าวิธีที่จะทำคือทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน ประเด็นที่จะแก้ค่อนข้างที่จะแน่ชัด มีการเสนอทำร่าง สรุปสาระให้ประชาชนเข้าใจ
นายจตุพร : แค่เขตเลือกตั้งพรรคร่วมกับรัฐบาลก็เห็นต่างกันแล้ว
นายอภิสิทธิ์ : บอกว่าก็อยู่ที่ประชามติ อันนี้จะเป็นกระบวนการที่ดีมากที่จะยอมรับกระบวนการไปออกคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่การตัดสินใจเรื่องการเลือกตั้งผมเอาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ทุกคนบอกว่าถ้าผมยุบสภาโดยมีการกดดันจากกลุ่มหนึ่งเขาจะไม่เลือกผม แต่ถ้าด้วยเหตุผลอื่นแต่อธิบายได้ว่าได้ฟังคนเสื้อแดงและมีเหตุผลอันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้นอันนี้คือสิ่งที่ผมบอกว่าเป็นประโยชน์สูงสุด
นายจตุพร : ความเห็นผม 15 วันกับสิ้นปี เป็นประเด็นที่ตกลงกันไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ : จะบอกว่าไม่เชื่อกันก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร สิ่งที่ท่านกลัวว่าจะเบี้ยวกันหรือเปล่า ผมยืนยันว่าผมอยู่ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่พูดอะไรออกไปแล้วไม่ทำตาม
นายจตุพร : นี่คือสิ่งที่เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่า 15 วันกับ 1 ปี
นายชำนิ : บอกว่าไม่ได้ต้องการยืดเวลา แต่ถ้าปัญหาที่หลายฝ่ายมีความกังวลทั้ง 3 ประเด็นที่ดำรงอยู่ บางเรื่องเป็นความเชื่อ เป็นความสามารถ โดยกรอบของกติกา การเสนอ 9 เดือน โดยกระบวนการเราต้องทำประชามติต้องใช้เวลาเท่าไร เพราะกฎหมายบังคับระยะเวลา 9 เดือน ถูกกำหนดโดยกฎเกณฑ์กติกา ถ้าเราผ่านกระบวนการนี้จะนำไปสู่ประเด็นที่ 3 การเลือกตั้ง
นายกอร์ปศักดิ์ : เรามาคุยกันตรงนี้เพราะอยากหาข้อยุติไม่มีใครเชื่อใคร บอกว่าเคารพก็ไม่มีใครเคารพใคร ในเมื่อไม่มีใครเชื่อใคร ทำอย่างไรต้องมาลองกัน ท่านบอกไม่ต้องลองหรอกเพราะท่านบอกว่าไม่เชื่อ ผมบอกว่าภายใน 9 เดือนจะเข้ารูปเข้ารอย ท่านก็ไม่เชื่อ เพราะถ้าเชื่อกันก็ไม่มีวันนี้หรอก ยังไม่ต้องเลือกตั้งเอาเรื่องรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็นกลับไปหาประชาชน ใช้เวลา 120 วันใน 4 เดือน ใครจะผิดกติกา แต่การชุมนุมของท่านก็ต้องเป็นไปตามกติกาที่ศาลปกครองได้กำหนดไว้ 4 เดือนทำเสร็จทุกคนโล่งอก ถ้าเบี้ยวกันมันจบตั้งแต่ 2 เดือนแรก ไปไม่รอด จริงๆแล้วไม่อยากให้ Yes หรือ No ตอนนี้ข้อเสนอชัดแล้ว ข้อเสนอท่าน 15 วัน ของผมสิ้นปี อีก 2 วันมาคุยกัน
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ถ้าเกิดบอกว่าเราไม่สนใจอะไรก็ 9 เดือนกันไปพิจารณากันได้
จตุพร พรหมพันธุ์ : ความรู้สึกความร้อนแต่ละคนแตกต่างกัน ผมร้อนมาก 15 วัน แต่ท่านร้อนน้อย 9 เดือน ในทางปฏิบัติคำว่า "ซื้อเวลา" เราได้ยินมานานไม่มีอะไรดีขึ้น ทำให้เจ็บช้ำ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ซื้อเวลาคือไม่ทำอะไร ผมชวนทำหมด ทั้งปัญหาการพูดจามานั่งวางกัน ดังนั้นผมถึงบอกว่าถ้าพูดสิ่งเหล่านี้ทำให้มองเห็นว่าการยุบสภา 15 วันปัญหาก็ไม่หยุด ฉะนั้น ผมคิดว่าตอนนี้อยู่ที่ท่านว่าจะสนใจการพิจารณาก็กลับมาคุยกัน
วีระ มุสิกพงศ์ : เรื่องบ้านเมืองไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ดังนั้นเราต้องพูดจากัน ถ้าตันช่วงนี้ มะรืนนี้ (31 มี.ค.)ก็ได้มาคุยกันอีก
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ระหว่างนี้ที่เราพูดกันหลายเรื่องขอให้กางออกมาทำแผนร่วมกัน รัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร เรื่องคดีความจะทำอย่างไร ผมจะไปบาห์เรนพรุ่งนี้เช้า (30 มี.ค.) วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายนก็ยินดีคุยต่อ ระหว่างนี้ช่วยรักษาบรรยากาศทั้งสองฝ่าย
จตุพร พรหมพันธุ์ : เราต้องยุติกันก่อนตอนนี้ อย่าเพิ่งให้นับกันเลย ขอให้จบลงตรงนี้ เพราะว่าเจรจาสองฝ่ายไม่บรรลุผล จากนี้เป็นเรื่องอนาคต
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : อันนั้นคือตัดสินใจของท่าน (นายจตุพร) เพราะเราต้องรับผิดชอบ 60 ล้านคน หากผมตัดสินใจผมก็ต้องรับผิดชอบคนเสื้อแดงด้วย และท่านต้องรับผิดชอบคนที่ไม่ใช่เสื้อแดงด้วย ฉะนั้นที่พี่วีระเสนอดีแล้ว แต่ข้อเสนอของคุณจตุพรไม่ตอบสนอง ดังนั้นค่อยนัดหมายมาอีกครั้งแล้วค่อยให้คำตอบอีกได้
จตุพร พรหมพันธุ์ : ถ้าพวกเรามาพบกันต้องเปิดเผยไปมุบมิบพบกันไม่ได้ การเจรจาสองวันต่างคนต่างมีข้อเสนอยังไม่บรรลุ ส่วนวันข้างหน้าว่ากันอีกที ผมขอ 15 วันท่านปฏิเสธ ท่านเสนอ 9 เดือน ผมปฏิเสธ ประเด็นขอให้จบลงวันนี้ก็จบข้อเสนอสองฝ่ายไม่ตอบรับกัน ผมต้องไปถามประชาชนว่าจะเอาอย่างไรต่อ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : เอาเป็นว่าฝ่ายผมยินดีจะนัดหมายต่อไม่มีปัญหา
ที่มา.มติชนออนไลน์
****************************************************
การเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายระหว่าง รัฐบาล และ 3 แกนนำนปช. ในวันที่ 2 เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 18.20 น. โดยใช้เวลา ประมาณ 2 ชั่วโมง โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ พยายามเสนอระยะเวลาให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน และประชาชนลงประชามติ จากนั้นจึงยุบสภา โดยใช้เวลา 9 เดือน ซึ่งนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำนปช. ก็มีแนวโน้มจะรับไปพิจารณา โดยให้ทั้งฝ่ายไปจัดทำแผนรายละเอียดระยะเวลาร่วมกันของแต่ละฝ่าย และนำกลับมาหารืออีกครั้งในวันพฤหัสฯที่ 1 เมษายน แต่ในตอนท้าย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว โดยกล่าวสรุปว่า ข้อเสนอของนปช.ในวันนี้ให้นายกฯยุบสภาภายใน 15 วันไม่ได้รับการตอบสนอง ส่วนข้อเสนอใหม่ของรัฐบาลในวันนี้ ให้ยุบสภา ใน 9 เดือน ยังไม่ขอรับข้อเสนอ แต่ขอนำไปหารือกับผู้ชุมนุมก่อน จึงค่อยนัดหารือกันในรอบที่ 3 ส่วนฝ่ายรัฐบาลจะทำแผนไว้ตามเดิม คือนัดหารือรอบที่สาม ในวันที่ 1 เมษายน ส่วนนปช.จะร่วมหารืออีกหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่นปช.จะพิจารณาเอง โดยการหารือจบในเวลา 20.20 น.
เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 29 มีนาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ และนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเจรจาเป็นวันที่ 2 กับนายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มเสื้อแดง ที่สถาบันพระปกเกล้าฯ ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยสถานีโทรทัศน์ทุกช่องถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ
ปรากฏว่า มีบรรดาช่างภาพ สื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ ทั้งสื่อไทยและสื่อต่างประเทศ มาตั้งช่องเปิดทางถ่ายทอดสด และถ่ายภาพประวัติศาสตร์ นับร้อยคน ทำให้การเจรจาในวันที่สองต้องล่าช้าไปกว่า 20 นาที
นายวีระ มุสิกพงศ์ : ขอบคุณท่านนายกฯ ชาวบ้านรู้สึกสบายใจ ที่บ้านเมืองจะกลับสู่ปกติ มาถึงข้อเรียกร้อง ก่อนจากกันเมื่อวาน พวกผมได้ขอให้นายกฯ ยุบสภาภายใน 15 วัน ขอถามตรง นายกฯและคณะ มีความเห็นอย่างไร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ขอตอบว่า คงต้องมีเงื่อนไขที่เราต้องช่วยกันทำ ถึงจะมั่นใจว่า เป็นทางออกที่ยอมรับของทุกฝ่าย ของฟันธงได้เลยว่า ยุบวันนี้ หรืออีก 15 วัน ไม่ตรงกัน ว่าจะแก้ปัญหาให้บ้านเมืองกลับไปปกติสุขได้ จากการหารือกันว่า ประชาชน ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการยุบสภาในตอนนี้ วาระของผมเหลือเวลาอีก 1 ปี กับ 9 เดือน ถ้าให้ผมจัดเลือกตั้งก่อนครบวาระคงไม่มีปัญหา โดยการจัดการปัญหาต่างๆ ให้แก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คงจะใช้ระยะเวลาไม่นาน พร้อมจะคุยในกรอบนี้หรือไม่ เพราะถ้าไม่ยอมรับผมก็ขอบอกว่า ทำไม่ได้ แน่นอน แต่ถ้ายอมรับกรอบนี้ เราก็เจรจากันต่อได้
นายจตุพร พรหมพันธุ์ : ตอนนายกฯเป็นฝ่ายค้าน เคยขอให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ยุบสภาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : (โต้ขึ้นทันทีว่า) เหตุการณ์ตอนนั้น เป็นคนละกรณีกับตอนนี้ เพราะตอนนี้ มีการกดดันของผู้ชุมนุม แต่ตอนนั้น ผู้ชุมนุมไม่ต้องการให้ยุบสภา
นายจตุพร พรหมพันธุ์ : คนเสื้อแดง ติดใจเรื่อง 2 มาตรฐาน ทำให้มีคนมาชุมนุมกันจำนวนมาก เป็นบาดแผลร้าวลึกของคนไทย ประเด็นต่อไป ท่านเข้ามาเป็นนายกฯ เข้ามาสู่ในวาระ 1 ปี 4 เดือน ช่วงแรกถ้าจะให้ยุบสภามันเร็วเกินไป แต่ถือว่า เป็นนานกว่า 2 รัฐบาล สมัคร-สมชาย นอกจากนี้ ยังได้เป็นนายกฯโดยไม่ชอบ และล้มเหลวหลายอย่าง ทำให้คนไทยเป็นหนี้ทั้งประเทศ และการกู้เงินมาใช้จ่าย เป็นเงินกว่า 8 แสนล้าน ถือว่าใช้เงินมหาศาลมาใช้นอกงบประมาณแผ่นดิน ทำให้เหนืออำนาจการตรวจของของคณะกรรมาธิการสภา จนมีข่าวการทุจริตจำนวนมาก ถึงกับเรียกว่า กู้มาโกง เช่น โครงการไทยเข้มแข็ง ไทยพอเพียง และการจัดซื้ออาวุธ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการลอกข้อสอบ ในกระทรวงมหาดไทย การสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ
ประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอเรียนว่า เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่มีโอกาสเป็นไปได้ ตั้งแต่ท่านเป็นนายกฯ เคยรับปากพรรคร่วม แต่ก็ไม่ได้ทำตาม โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในหลายๆประเด็น แม้กระทั่งเรื่องการสำเร็จราชการแทน ประเด็นแก้ไขรธน.ไม่เชื่อว่า จะทำได ้และเห็นว่า มันสายไปแล้ว และหมดเวลาไปแล้ว นอกจากนี้ ที่นายกฯบอกว่า จะแก้ไขปัญหาวิกฤตประเทศให้ไปได้ จึงขอให้นายกฯประกาศยุบสภา และจัดเลือกตั้งภายใต้รธน.ปี 2550 ได้ ซึ่งถือว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับประโยชน์มากที่สุด
ที่ลำดับความมา ทั้งหมด เพื่อต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นประชาธิปไตย จะทำให้นายกฯเป็นผู้ยิ่งใหญ่ หากปฏิบัติได้ ผมจึงสรุปว่า ที่พวกผมประเมิน พวกผมไม่ต้องมีข้อขัดแย้ง ที่มาเรียกร้องให้ทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติ ที่ยุบสภาแล้ว จะทำให้บ้านเมืองกลับสู่ปกติได้อย่างไร ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ไม่ต้องการให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือการเข่นฆ่าประชาชน จึงเรียนว่า การเปลี่ยนแปลงด้วยวิถีประชาธิปไตย จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด การอยู่ภายใต้รัฐทหารนั้น ไม่เหมาะสม การเสียสละของนายกฯจะนำประเทศฝ่าวิกฤตไปได้ ถ้าเสียสละและได้รับเลือกตั้งอย่างยิ่งใหญ่ ถ้ายังเป็นนายกฯอยู่ต่อไป อาจจะจบด้วยกันเป็นทรราชได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ที่บอกว่า ได้มาเป็นนายกฯโดยมิชอบ ขอตอบประเด็นนี้ก่อน การเลือกนายกฯ ถือว่าเป็นพิเศษกว่าทุกครั้ง และอยู่ในกระบวนการรัฐสภาทั้งสิ้น ขอเรียนให้เข้าใจที่ทุกต้อง ถ้าท่านบอกรธน.โดยมิชอบ จะลงเลือกตั้งทำไม ประเด็นก็คือว่า เมื่อมีกติกา ก็ต้องเล่นตามกติกา กติกาเขาเล่นตามประสบการณ์ในอดีต ป้องกันทุจริต ได้มาโดยมิชอบ วันนี้ อยู่ดีๆ บอกว่า ทำไมในสภามา 2 ปี บอกว่ามันไม่ถูกต้องแต่ต้น มันก็แปลกอยู่
เรื่องรธน. ผมพูดว่า เคยรับปากว่าจะแก้ แต่เรื่องแก้รธน. อาจจะคิดกันคนละเรื่อง ผมรู้สึกว่า บางทีเราเลือกกันตามชอบ ไม่ชอบ เช่นเมื่อรัฐบาลได้มาจากรธน. ก็เป็น 2 มาตรฐานเหมือนกัน มาเรื่อง 2 มาตรฐาน มีการพูดตั้งแต่เมื่อปี 2544-45 สมัยคุณทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) เรื่องปิดบังทรัพย์สินของภรรยา และมีกรณีของคุณประยุทธ มหากิจศิริที่คล้ายคลึงกัน แต่กลับมีการลงโทษคุณประยุทธ ส่วนคุณทักษิณ ถูกตัดสินว่าไม่ผิด เรื่องนี้ละ 2 มาตรฐาน คดีซุกหุ้นทักษิณ ผมคิดว่าเป็น แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่เรายอมรับ เราต้องยอมรับกระบวนการของศาล ถ้าวันนี้ เลือกคดีโน้นคดีนี้ยอมรับบ้างไม่ยอมรับบ้าง มันก็ไม่มีข้อยุติ
เวลาพูดเรื่อง 2 มาตรฐาน บางคดีไม่ดำเนินการ บางคดีเร่งรัด คดีไหนยากมันก็นาน คดีจักรภพ (จักรภพ เพ็ญแข) ก็นานแล้ว บางคดีไม่ซับซ้อนก็มีการออกหมายจับแล้ว บางคดีก็เสร็จไปแล้ว คุมขังไปแล้ว ทำในยุคผมทั้งนั้น คดีเดือนเมษายน ล้อมกรอบทุบรถผม ก็ว่ากันไปตามปกติ จะเป็นอย่างไรใช้เวลาเท่าไหร่ รัฐบาลไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย ให้รายงานแต่คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน แต่ที่หยิบคดีไหนขึ้นมาพูดนั่น มันเป็นเรื่องที่เกินเลยไป
ประเด็นที่ 4 น่าจะไปอภิปรายไม่ไว้วางในรัฐสภา เช่น เรื่องอาฟต้า เป็นเรื่องที่เกิดมานานแล้ว ถึงขณะนี้ ยังเป็นสินค้าที่สงวนอยู่ กู้เงิน การกู้เงินที่เรียกว่ากู้เงินพิเศษ นอกกรอบงบประมาณ 4 แสนล้าน เพราะรัฐบาลเห็นว่า เป็นเงินเร่งด่วน แต่น่าสนใจว่า มันอาจจะต้องกู้ 8 แสนล้าน จึงแบ่งออกเป็น พรก.4แสนล้าน เป็นพรบ. 4 แสนล้าน แต่สมัยทักษิณ กู้พรบ.ฉบับเดียว 7.5 แสนล้านถือว่ามากที่สุด แต่ขณะนี้ รัฐบาลไม่ได้มีปัญหาเรื่องหนี้สิน ต้องเอาความจริงมาพูดกัน ส่วนเรื่องการทุจริต ผมก็พูดมาตลอดว่า เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย ผมเชื่อว่า สมัยผมเป็นนายกฯ ก็ต้องมีทุจริต ที่สำคัญ จะจัดการปัญหาดังกล่าวหรือไม่ ที่รมต.ลาออก ถือเป็นความรับผิดชอบแสดงสปริต แต่เรื่องคดีที่ศาลตัดสินแล้วทำไมไม่หยิบมาพูด ที่ศาลสั่งยึดทรัพย์
กรณีจีที-200 ซื้อครั้งแรก ในสมัยทักษิณ เรื่องนี้ ต้องพูดความจริง ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละเรื่องทุจริตหรือไม่ มีหลักฐานหรือไม่ แต่หลายเรื่องมีการตั้งกรรมการสอบแล้ว ประเด็นเหล่านี้ หยิบยกขึ้นมาแล้วบอกว่า โกงมากมายมันตรงกันข้าม
เรื่องแก้รธน. ผมบอกว่าแก้ได้ และแก้บางประเด็น ผมพูดมาตลอด อย่าไปแก้ประเด็นที่มีความละเอียด และเอาประโยชน์ให้ตัวเอง แก้แล้วไปล้างทุจริตให้คนที่ทำผิด แต่ประเด็นที่เสนอแก้ก็มุ่งไปแต่เรื่องนี้ เรื่องที่รับปากแก้ไขรธน. ว่าไม่เอานะ นิรโทษกรรม ล้างความผิดเพื่อช่วยตัวเอง แต่ก็เปิดช่องไว้บ้าง
เรื่องแก้ไขรธน.จะไปรู้ดีกว่าผมได้อย่างไร ว่าคุยอะไรกับพรรคร่วมบาง เรื่องนี้ก็เชิญวิปทุกฝ่ายมาคุยกันเพื่อเอาไปทำประชามติ ว่าประชาชนต้องการอะไร แต่ปรากฏว่า คนที่ล้มกระบวนการนี้ คือฝ่ายค้านที่ไม่ยอมร่วมดำเนินการด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : เรื่องวาระในการยุบสภา ผมเหลือวาระ 1 ปี 9 เดือน ถามว่าผมอยากเห็นอะไรก่อนเลือกตั้ง มี 3 เรื่อง 1.เศรษฐกิจ 2.กติกา 3.บรรยากาศ เรื่องแรกเศรษฐกิจ อยู่ที่ปฏิทินของกระบวนการงบประมาณ เพราะถ้ายุบสภา ทำให้มีปัญหาในการบริหารประเทศ เรื่องสอง กติกา ถ้าดูจากการประกาศทำประชามติ เรื่องไหนที่จะแก้รธน. ให้สภาดำเนินการ พอทำเสร็จ ทำกฏหมายเป็นกรอบเวลาหนึ่ง เรื่องที่สาม เรื่องการทำบรรยากาศบ้านเมืองให้เป็นปกติ ให้มีการตรวจสอบได้ การชุมนุมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ไม่มีการปิดล้อมไม่มีการข่มขู่ เอา 3-4 ปัจจัยนี้ มาดูกัน น่าจะประมาณสิ้นปี ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร หรือถ้าจะบอกว่า แค่15วันเท่านั้น
นายวีระ มุสิกพงศ์ : เรื่องปัญหาเศรษฐกิจ เป็นเรื่องความเชื่อ ถ้าจะดีถ้าเชื่อว่าแก้เศรษฐกิจได้ ก็ให้ประชาชนพิสูจน์ด้วยการเลือกตั้ง ส่วนเรื่องกติกา มีปัญหาแน่นอน สภาเป็นที่พึ่งไม่ได้แล้ว รอให้เลือกตั้ง แล้วค่อยมาแก้ไข ส่วนบรรยากาศทางการเมือง เชื่อว่า เราทำได้ เสื้อแดงทำได้
นายวีระ มุสิกพงศ์ : ถ้ากรอบที่นายกฯเสนอมา มันจะยาวไป แต่มีนักวิชาการเสนอมา 3 เดือน ถือว่าเหมาะสม มันไม่ควรจะยาวนานไปถึง 6 เดือน กรอบกติกา ผมว่า 2 เดือนคงจะแก้ไขได้ ถ้ารัฐบาลจริงใจ เพราะถ้าปล่อยสภาคงพึ่งไม่ได้ ปัญหาอยู่ที่ว่า ท่านต้องเสียสละ ให้สิทธิแก่ประชาชน ขอให้นายกฯเสียสละ ยอมให้มีการเลือกตั้ง ตามกรอบเวลาที่เหมาะสม
นายจตุพร : นายกจะขอเวลาสักกี่เดือน
นายอภิสิทธิ์ : ผมขออธิบายว่าที่พูดถึงปฏิทินเราอยู่ในภาวะเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบมากการฟื้นตัวไม่ค่อยแรง เขาพูดกันได้ว่าที่ฟื้นมาได้เพราะหลายประเทศฟื้น พ.ร.บ.กู้เงินสี่แสนล้านคงไม่ได้กู้ตามนั้น สมัยก่อนงบประมาณเพิ่มทุกปี เวลาเกิดมีปัญหาการเมือง กฎหมายให้ใช้ของเก่าได้ งบเพิ่มทุกปีแต่ยังใช้ของเก่าได้ บังเอิญปีที่ผมเข้ามาเจอวิกฤตเศรษฐกิจงบประมาณขาด 2 แสนล้าน ถ้าตรงนี้มันชะงักอาจจะส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน เรื่องรัฐธรรมนูญช้าเร็วไม่ได้อยู่ที่สภา วันนี้เราเอาให้ชัดๆเลยว่าประชาชนเป็นคนทำ ทำประชามติไปเลยจะแก้มาตราไหน ซึ่งมันไม่เหมือนกับการเลือกตั้ง กระบวนการประชามติบวกกับการแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา บรรยยากาศบ้านเมืองที่เราสามารถทำเรื่องยากๆกันได้คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำประชามติ เราไม่สามารถแก้กันได้ลอยๆ
กรอบปลายปี สิ้นปี ผมไม่อยากบอกว่าเสียสละ ตามกฎหมายเหลือ 1 ปี 9 เดือน ตอนนี้เฉือนไปเลย 1 ปีเหลือแค่ 9 เดือน เราเพียงแต่บอกว่ามากำหนดเดินไปข้างหน้าไปกำหนดกรอบ ผมย้ำว่านี่คือสิ่งที่รัฐบาลวางลงได้แต่ถ้ายืนยันว่า 15 วัน ไม่ได้
นายจตุพร : ถ้าจะทำเรื่องใดๆก็ตามต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 90 วันถึง 120 วัน หมายความว่าเรื่องนี้เริ่มปฏิบัติใช้เวลา 3 เดือน หรือเข้าสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าอายุรัฐบาลคงไม่ทัน เงื่อนไขประเด็นเศรษฐกิจจะมาผูกมัดรวมไม่ได้ว่าเศรษฐกิจหลังจากนี้ท่านจะทำให้ดีขึ้นรวมทั้งบรรยากาศด้วย นับจากนี้ไปอีก 9 เดือนจะดีขึ้นได้อย่างไร มันเป็นการซ้ำซาก เวลานี้เรื่องการท่องเที่ยวการชุมนุมไม่กระเทือน ทั้ง 3 อย่างที่จะลากไปถึงสิ้นปีมันยาวไปถึงปีหน้า
การเรียกร้องให้ท่านเสียสละยังเป็นประเด็นหลัก นายกฯประชาชนยังต้องใช้ชีวิตตามปกติ หมายความว่าการเรียกร้องของเราไปวัดที่ผลการเลือกตั้ง คู่แข่งของท่านจะยอมเสียเปรียบ สิ้นปีคงเป็นเรื่องที่จะรับกันไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ : ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องเศรษฐกิจดีไม่ดี ผมเพียงแต่บอกว่าตารางปฏิทินงบประมาณถูกกระทบตั้งแต่ตุลาคม เป็นต้นไปมันคงผิดปกติมากๆ เพราะประชาชนส่วนหนึ่งก็กังวลเรื่องนี้ ผมคิดว่าวิธีที่จะทำคือทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน ประเด็นที่จะแก้ค่อนข้างที่จะแน่ชัด มีการเสนอทำร่าง สรุปสาระให้ประชาชนเข้าใจ
นายจตุพร : แค่เขตเลือกตั้งพรรคร่วมกับรัฐบาลก็เห็นต่างกันแล้ว
นายอภิสิทธิ์ : บอกว่าก็อยู่ที่ประชามติ อันนี้จะเป็นกระบวนการที่ดีมากที่จะยอมรับกระบวนการไปออกคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่การตัดสินใจเรื่องการเลือกตั้งผมเอาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ทุกคนบอกว่าถ้าผมยุบสภาโดยมีการกดดันจากกลุ่มหนึ่งเขาจะไม่เลือกผม แต่ถ้าด้วยเหตุผลอื่นแต่อธิบายได้ว่าได้ฟังคนเสื้อแดงและมีเหตุผลอันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้นอันนี้คือสิ่งที่ผมบอกว่าเป็นประโยชน์สูงสุด
นายจตุพร : ความเห็นผม 15 วันกับสิ้นปี เป็นประเด็นที่ตกลงกันไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ : จะบอกว่าไม่เชื่อกันก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร สิ่งที่ท่านกลัวว่าจะเบี้ยวกันหรือเปล่า ผมยืนยันว่าผมอยู่ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่พูดอะไรออกไปแล้วไม่ทำตาม
นายจตุพร : นี่คือสิ่งที่เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่า 15 วันกับ 1 ปี
นายชำนิ : บอกว่าไม่ได้ต้องการยืดเวลา แต่ถ้าปัญหาที่หลายฝ่ายมีความกังวลทั้ง 3 ประเด็นที่ดำรงอยู่ บางเรื่องเป็นความเชื่อ เป็นความสามารถ โดยกรอบของกติกา การเสนอ 9 เดือน โดยกระบวนการเราต้องทำประชามติต้องใช้เวลาเท่าไร เพราะกฎหมายบังคับระยะเวลา 9 เดือน ถูกกำหนดโดยกฎเกณฑ์กติกา ถ้าเราผ่านกระบวนการนี้จะนำไปสู่ประเด็นที่ 3 การเลือกตั้ง
นายกอร์ปศักดิ์ : เรามาคุยกันตรงนี้เพราะอยากหาข้อยุติไม่มีใครเชื่อใคร บอกว่าเคารพก็ไม่มีใครเคารพใคร ในเมื่อไม่มีใครเชื่อใคร ทำอย่างไรต้องมาลองกัน ท่านบอกไม่ต้องลองหรอกเพราะท่านบอกว่าไม่เชื่อ ผมบอกว่าภายใน 9 เดือนจะเข้ารูปเข้ารอย ท่านก็ไม่เชื่อ เพราะถ้าเชื่อกันก็ไม่มีวันนี้หรอก ยังไม่ต้องเลือกตั้งเอาเรื่องรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็นกลับไปหาประชาชน ใช้เวลา 120 วันใน 4 เดือน ใครจะผิดกติกา แต่การชุมนุมของท่านก็ต้องเป็นไปตามกติกาที่ศาลปกครองได้กำหนดไว้ 4 เดือนทำเสร็จทุกคนโล่งอก ถ้าเบี้ยวกันมันจบตั้งแต่ 2 เดือนแรก ไปไม่รอด จริงๆแล้วไม่อยากให้ Yes หรือ No ตอนนี้ข้อเสนอชัดแล้ว ข้อเสนอท่าน 15 วัน ของผมสิ้นปี อีก 2 วันมาคุยกัน
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ถ้าเกิดบอกว่าเราไม่สนใจอะไรก็ 9 เดือนกันไปพิจารณากันได้
จตุพร พรหมพันธุ์ : ความรู้สึกความร้อนแต่ละคนแตกต่างกัน ผมร้อนมาก 15 วัน แต่ท่านร้อนน้อย 9 เดือน ในทางปฏิบัติคำว่า "ซื้อเวลา" เราได้ยินมานานไม่มีอะไรดีขึ้น ทำให้เจ็บช้ำ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ซื้อเวลาคือไม่ทำอะไร ผมชวนทำหมด ทั้งปัญหาการพูดจามานั่งวางกัน ดังนั้นผมถึงบอกว่าถ้าพูดสิ่งเหล่านี้ทำให้มองเห็นว่าการยุบสภา 15 วันปัญหาก็ไม่หยุด ฉะนั้น ผมคิดว่าตอนนี้อยู่ที่ท่านว่าจะสนใจการพิจารณาก็กลับมาคุยกัน
วีระ มุสิกพงศ์ : เรื่องบ้านเมืองไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ดังนั้นเราต้องพูดจากัน ถ้าตันช่วงนี้ มะรืนนี้ (31 มี.ค.)ก็ได้มาคุยกันอีก
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ระหว่างนี้ที่เราพูดกันหลายเรื่องขอให้กางออกมาทำแผนร่วมกัน รัฐธรรมนูญจะทำอย่างไร เรื่องคดีความจะทำอย่างไร ผมจะไปบาห์เรนพรุ่งนี้เช้า (30 มี.ค.) วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายนก็ยินดีคุยต่อ ระหว่างนี้ช่วยรักษาบรรยากาศทั้งสองฝ่าย
จตุพร พรหมพันธุ์ : เราต้องยุติกันก่อนตอนนี้ อย่าเพิ่งให้นับกันเลย ขอให้จบลงตรงนี้ เพราะว่าเจรจาสองฝ่ายไม่บรรลุผล จากนี้เป็นเรื่องอนาคต
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : อันนั้นคือตัดสินใจของท่าน (นายจตุพร) เพราะเราต้องรับผิดชอบ 60 ล้านคน หากผมตัดสินใจผมก็ต้องรับผิดชอบคนเสื้อแดงด้วย และท่านต้องรับผิดชอบคนที่ไม่ใช่เสื้อแดงด้วย ฉะนั้นที่พี่วีระเสนอดีแล้ว แต่ข้อเสนอของคุณจตุพรไม่ตอบสนอง ดังนั้นค่อยนัดหมายมาอีกครั้งแล้วค่อยให้คำตอบอีกได้
จตุพร พรหมพันธุ์ : ถ้าพวกเรามาพบกันต้องเปิดเผยไปมุบมิบพบกันไม่ได้ การเจรจาสองวันต่างคนต่างมีข้อเสนอยังไม่บรรลุ ส่วนวันข้างหน้าว่ากันอีกที ผมขอ 15 วันท่านปฏิเสธ ท่านเสนอ 9 เดือน ผมปฏิเสธ ประเด็นขอให้จบลงวันนี้ก็จบข้อเสนอสองฝ่ายไม่ตอบรับกัน ผมต้องไปถามประชาชนว่าจะเอาอย่างไรต่อ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : เอาเป็นว่าฝ่ายผมยินดีจะนัดหมายต่อไม่มีปัญหา
ที่มา.มติชนออนไลน์
****************************************************
ม.เที่ยงคืน ชี้ซื้อเวลาแก้รธน.-ยุบสภาเพิ่มความตึงเครียดม็อบ
นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กล่าวว่า การเจรจาของฝ่ายรัฐบาลและแกนนำ นปช. เป็นสัญญาณที่ดีของการแก้ปัญหา เพื่อทำให้การเมืองไทยพัฒนาต่อไปได้ แต่เห็นว่ารัฐบาลควรมีกรอบของการเจรจาและระยะเวลาดำเนินการ ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการยุบสภาให้แน่ชัด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่กลุ่ม นปช. โดยเห็นว่ารัฐบาลควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นการเลือกตั้ง ก่อนยุบสภาภายใน 3 เดือน หากการเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับ หลังยุบสภาก็จะนำไปสู่จุดเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขความขัดแย้ง หากรัฐบาลไม่กำหนดกรอบที่ชัดเจนจะยิ่งสร้างความตรึงเครียดแก่กลุ่มผู้ชุมนุม
ทั้งนี้การเจรจาที่มีขึ้นจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล หากนายอภิสิทธิ์พูดแต่เพียงว่าแก้รัฐธรรมนูญก่อนแล้วค่อยยุบสภา โดยไม่กำหนดกรอบที่ชัดเขน ก็ถือว่าพรรคประชาธิปัตย์มีความสามารถในการซื้อเวลาเก่งมาก ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ประเด็นสำคัญที่เป็นต้นตอของปัญหาและถูกกล่าวถึงคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 และอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจบันความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ในชนชั้นนำของประเทศเท่านั้น แต่เป็นสังคมทุกระดับชั้น เนื่องจากการที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงอำนาจรัฐ จนเป็นเหตุให้มีการแสดงพลังของกลุ่มมวลชน
ที่มา.เนชั่นทันข่าว
**********************************
ทั้งนี้การเจรจาที่มีขึ้นจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล หากนายอภิสิทธิ์พูดแต่เพียงว่าแก้รัฐธรรมนูญก่อนแล้วค่อยยุบสภา โดยไม่กำหนดกรอบที่ชัดเขน ก็ถือว่าพรรคประชาธิปัตย์มีความสามารถในการซื้อเวลาเก่งมาก ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ประเด็นสำคัญที่เป็นต้นตอของปัญหาและถูกกล่าวถึงคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 และอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจบันความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ในชนชั้นนำของประเทศเท่านั้น แต่เป็นสังคมทุกระดับชั้น เนื่องจากการที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงอำนาจรัฐ จนเป็นเหตุให้มีการแสดงพลังของกลุ่มมวลชน
ที่มา.เนชั่นทันข่าว
**********************************
เพื่อไทยปักหลักสู้ "นอกสภา" ฝ่ายนิติบัญญัติ-คณะรัฐมนตรี รุกชิง-ยึดคืนพื้นที่รัฐสภา-ทำเนียบ
ในที่สุด ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารก็ชิงพื้นที่ในการปฏิบัติงานกลับคืนจาก "เสื้อแดง"
โดยใช้เวลากว่า 13 วันของการชุมนุมของ นปช.ที่กินพื้นที่ครอบคลุมทั่วทั้งเกาะรัตนโกสินทร์
การเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป ของ "ชัย ชิดชอบ" เพื่อหาทางลง-ทางออกให้ฝ่ายรัฐบาล- ฝ่ายค้านมาเจรจา-ตั้งกระทู้-ถกเถียงใน ห้องประชุมสภา แทนการตะโกนด่ากันบนท้องถนน
เหนืออื่นใด รัฐบาลต้องการแสดงสัญลักษณ์ทางการบริหาร ว่าสามารถทำให้โครงสร้างอำนาจและการบริหารบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะ "ปกติ"
ด้วยการรุกคืบจัดประชุมคณะรัฐมนตรี และเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร หลังจากว่างเว้น-กินเวลากว่า 15 วัน
วาระการปะทะกันระหว่างฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้านจึงสร้างสีสันทางการเมืองหลากรูป-หลากแบบ
เมื่อรัฐบาลชิงลงมือสั่งการให้ "ทหาร-ตำรวจ" เข้าปฏิบัติการรุกเงียบตั้งแต่ยามวิกาล ก่อนการประชุม 12 ชั่วโมง เพื่อ วางแนวสกัดกั้นไม่ให้ "เสื้อแดง" เข้าใกล้ "ฝ่ายนิติบัญญัติ"
ทำให้ทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ต้องข้ามเครื่องกีดขวางไม่น้อยกว่า 7 ชั้น และเข้าสู่ถนน ที่ถูกสั่งปิดไม่น้อยกว่า 4 สาย รอบนอกสภา กว่าจะเดินเข้าห้องประชุมได้ ต้องผ่าน จุดตรวจไม่น้อยกว่า 3 จุด
ทว่ามีแต่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเท่านั้นที่สามารถ "ฝ่าด่าน" ของ "ทหาร-ตำรวจ" เข้าสู่สภาได้
ส่วน ส.ส.เพื่อไทยเกือบทั้งหมด นำโดย นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ต้องนำ "รถส่วนตัว" เป็นเครื่องกีดขวาง-ดักทาง-สกัดกั้น ไม่ให้ ส.ส.ที่เหลือเดินทางเข้าสู่สภาได้
การตั้งเวทีส่งเสียงปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงด้วยวาทะ-เหตุผล "ส.ส.ไม่มีศักดิ์ศรี หากต้องเข้าประชุมโดยผ่านแถวทหาร-ตำรวจ"
ระหว่างทางการเข้าสู่พิธีกรรม-การประชุมเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงมีทั้งเสียง-ภาพการทะเลาะ-โต้เถียงกันของบรรดาผู้ทรงเกียรติหลายคู่-หลายตำแหน่ง
ตั้งแต่ระหว่าง ส.ส.พรรคเพื่อไทยกับพรรคร่วมรัฐบาล ไปจนถึงระหว่าง ส.ส.พรรคเพื่อไทยกับประธานรัฐสภา
และยังมี "คู่ผสม" ระหว่างทหารที่ปฏิบัติการด้านจิตวิทยา+ส.ส.ประชาธิปัตย์ กับนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.ปากดี-เพื่อไทย ที่ตั้งวงปราศรัยย่อยท้าทายใกล้ ๆ ราชสำนัก-เขตพระราชฐานหน้าสวนจิตรลดา
ในที่สุด สัญลักษณ์-พิธีกรรมของฝ่ายนิติบัญญัติในสภาผู้แทนราษฎรก็บรรลุผล เมื่อ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ส.ส.พรรคร่วมสามารถเดินทางเข้าประชุมได้จนครบองค์ประชุม
ส่วน ส.ส.เพื่อไทย ที่จัดประชุม "นอกสภา" ก็สลายการชุมนุมจากหน้ารัฐสภา เคลื่อนตัวเข้าสู่เวที นปช.-เสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ หากการปะทะครั้งนี้ทำให้ฝ่ายรัฐบาลได้ภาพ-ได้ความชอบธรรม
ฝ่ายค้านก็ได้ภาพความพยายามในการ "แสดง-โชว์" การต่อสู้ "นอกสภา" และโฆษณา-ชวนเชื่อว่ากำลัง "ทหาร-ตำรวจ" เข้ายึด-ปิดล้อมรัฐสภาจนไม่สามารถฝ่าด่านเข้าสู่ห้องประชุมได้
ตามที่ฝ่ายค้าน "อ้าง" ว่าการประท้วงไม่เข้าร่วมประชุม เพราะรัฐบาลใช้อำนาจฝ่ายบริหารมาดำเนินการแทรกแซงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภา
และการพยายามตอบโต้-ทางสัญลักษณ์-ย้อนศรอย่างรู้ทางฝ่ายรัฐบาล ด้วยคำพูดที่ต้องการกระจายเสียงไปทั่ว ทุกสื่อว่า "ทหารไม่มีสิทธินำกำลังเข้ายึดรัฐสภา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามระบอบประชาธิปไตย"
ข้ออ้างของ "ฝ่ายค้าน" ถูก "ฝ่ายความมั่นคง" ตอบโต้ โดยรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง "สุเทพ เทือกสุบรรณ"
การชี้แจงขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย ระบุต้นเรื่องมาจากประธานสภาผู้แทนราษฎรให้เลขาธิการสำนักงานทำหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี เพื่อหามาตรการป้องกันความปลอดภัยในการประชุมสภาในระหว่างที่มีการชุมนุม
พร้อมกันนี้ ฝ่ายรัฐบาลได้โชว์-สัญลักษณ์ของความสำเร็จในพิธีกรรม การประชุม ด้วยการโหวต-ผ่านกฎหมาย 3 ฉบับ ในชั้นของสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ, ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทราวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่เขตบางเขน เขตสายไหม และเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
และร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ถูกโหวตโดยฝ่ายรัฐบาล ผ่านฉลุย ไร้เงาฝ่ายค้าน
แผนขั้นต่อไปของฝ่ายความมั่นคงที่ผนึกกันแนบแน่นระหว่างฝ่ายรัฐบาล-ทหาร-กองทัพ คือการรุก-บุกเข้ายึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลคืนกลับมาเป็นฐานบัญชาการของฝ่ายบริหาร
การจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่าง "ปกติ" ในอีกไม่นานเกินควร จึงเป็น เป้าหมายต่อไปของฝ่ายรัฐบาล
1 ใน ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา ระบุว่า ส.ส.ควรทำหน้าที่ในสภา โดยเฉพาะวันพุธ-พฤหัสฯ ต้องเข้าประชุมสภาและพูดในสภา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา
"ผมเห็นด้วยกับมาตรการรักษาความปลอดภัย รับมือการชุมนุมรอบสภา แต่ที่ไม่เห็นด้วย คือวิธีการนำกำลังและ สิ่งกีดขวางมาวางรอบรัฐสภา เพราะรู้สึกว่าทำเกินไป เห็นแล้วรู้สึกหดหู่ เหมือนประเทศไม่ได้เป็นประชาธิปไตย แต่อยู่ในภาวะสงคราม หรือกำลังรัฐประหาร" ทายาท-การเมืองของ "สมศักดิ์" กล่าว
เสียงโจษจัน-เล่าขาน การไม่เข้าร่วมสังฆกรรม-พิธีกรรม ที่แสดงสัญลักษณ์ ของฝ่ายนิติบัญญัติ จาก "ไชยันต์ ไชยพร" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่า
"พรรคเพื่อไทยไม่น่าจะตีความไปถึงเรื่องศักดิ์ศรี เพราะถ้าคิดเรื่องศักดิ์ศรี ก็ต้องตอบให้ได้ว่า หากผู้ชุมนุมเดินทางมาล้อมรัฐสภาแล้วจะทำอย่างไร รวมทั้งหากลไกรัฐสภาล้มเหลว ส.ส.ไม่ทำหน้าที่ในสภา กลับมีแต่กลไกการเคลื่อนไหวบน ท้องถนน ก็จะทำให้สถานการณ์แรงขึ้น จนกระทั่งอาจเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร เช่น ในปี 2549 ที่เป็นผลจากการกดดันนอกสภาอย่างมาก"
ส่วน นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการ จากสำนักเดียวกัน ค่ายรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ไปปรากฏตัว "แดง" เห็นต่าง "ไม่ใช่การนำทหาร มาล้อมรัฐสภา แต่เป็นเรื่องความชอบธรรมในการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพราะเหมือนเป็นการประกาศศัตรูภายในประเทศ"
"พวก ส.ส.ที่ไม่เข้าประชุมสภานั้น แม้จะเข้าใจได้ถึงเหตุผลที่แสดงออกมา เช่นนั้น แต่ตัว ส.ส. ก็ต้องตอบประชาชน ให้ได้ ว่าหน้าที่ของเขาอยู่ตรงไหน เพราะการมาดูแลประชาชนของตัวเองบนถนนนั้น ทำได้อยู่แล้ว แต่หน้าที่ในสภา ส.ส.ก็ต้องตรวจสอบรัฐบาลและผลักดันกลไกรัฐสภาให้ทำงานได้ หรือหากไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ก็ควรจะเข้าไปตั้งกระทู้ในสภา"
ความพยายามของฝ่ายรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ "ข้ามกองเลือด" เข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎรซ้ำรอยกับ สมัย "7 ตุลา" ถูกนำไปตีความ-พลิกประเด็น-ยกระดับการต่อสู้ของฝ่ายค้านและฝ่ายเสื้อแดง
การประชุมเพื่อแสดงรูปแบบ-สัญลักษณ์โครงสร้างอำนาจของประเทศเพียงครึ่งวัน โหวตผ่านกฎหมาย 3 ฉบับ ถูกพรรคเพื่อไทยนำเรื่องขึ้นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ และร้องเรียนต่อองค์การสหประชาชาติ และเป็นประเด็นหลักในการอภิปรายริมสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
การต่อสู้ระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล จากนี้ไปไม่จำกัดสถานที่-เวลา-กาละ-เทศะเฉพาะพื้นที่ในสภาผู้แทนราษฎรอีกแล้ว
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
**************************************************
โดยใช้เวลากว่า 13 วันของการชุมนุมของ นปช.ที่กินพื้นที่ครอบคลุมทั่วทั้งเกาะรัตนโกสินทร์
การเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป ของ "ชัย ชิดชอบ" เพื่อหาทางลง-ทางออกให้ฝ่ายรัฐบาล- ฝ่ายค้านมาเจรจา-ตั้งกระทู้-ถกเถียงใน ห้องประชุมสภา แทนการตะโกนด่ากันบนท้องถนน
เหนืออื่นใด รัฐบาลต้องการแสดงสัญลักษณ์ทางการบริหาร ว่าสามารถทำให้โครงสร้างอำนาจและการบริหารบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะ "ปกติ"
ด้วยการรุกคืบจัดประชุมคณะรัฐมนตรี และเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร หลังจากว่างเว้น-กินเวลากว่า 15 วัน
วาระการปะทะกันระหว่างฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้านจึงสร้างสีสันทางการเมืองหลากรูป-หลากแบบ
เมื่อรัฐบาลชิงลงมือสั่งการให้ "ทหาร-ตำรวจ" เข้าปฏิบัติการรุกเงียบตั้งแต่ยามวิกาล ก่อนการประชุม 12 ชั่วโมง เพื่อ วางแนวสกัดกั้นไม่ให้ "เสื้อแดง" เข้าใกล้ "ฝ่ายนิติบัญญัติ"
ทำให้ทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ต้องข้ามเครื่องกีดขวางไม่น้อยกว่า 7 ชั้น และเข้าสู่ถนน ที่ถูกสั่งปิดไม่น้อยกว่า 4 สาย รอบนอกสภา กว่าจะเดินเข้าห้องประชุมได้ ต้องผ่าน จุดตรวจไม่น้อยกว่า 3 จุด
ทว่ามีแต่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเท่านั้นที่สามารถ "ฝ่าด่าน" ของ "ทหาร-ตำรวจ" เข้าสู่สภาได้
ส่วน ส.ส.เพื่อไทยเกือบทั้งหมด นำโดย นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ต้องนำ "รถส่วนตัว" เป็นเครื่องกีดขวาง-ดักทาง-สกัดกั้น ไม่ให้ ส.ส.ที่เหลือเดินทางเข้าสู่สภาได้
การตั้งเวทีส่งเสียงปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงด้วยวาทะ-เหตุผล "ส.ส.ไม่มีศักดิ์ศรี หากต้องเข้าประชุมโดยผ่านแถวทหาร-ตำรวจ"
ระหว่างทางการเข้าสู่พิธีกรรม-การประชุมเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงมีทั้งเสียง-ภาพการทะเลาะ-โต้เถียงกันของบรรดาผู้ทรงเกียรติหลายคู่-หลายตำแหน่ง
ตั้งแต่ระหว่าง ส.ส.พรรคเพื่อไทยกับพรรคร่วมรัฐบาล ไปจนถึงระหว่าง ส.ส.พรรคเพื่อไทยกับประธานรัฐสภา
และยังมี "คู่ผสม" ระหว่างทหารที่ปฏิบัติการด้านจิตวิทยา+ส.ส.ประชาธิปัตย์ กับนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.ปากดี-เพื่อไทย ที่ตั้งวงปราศรัยย่อยท้าทายใกล้ ๆ ราชสำนัก-เขตพระราชฐานหน้าสวนจิตรลดา
ในที่สุด สัญลักษณ์-พิธีกรรมของฝ่ายนิติบัญญัติในสภาผู้แทนราษฎรก็บรรลุผล เมื่อ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ส.ส.พรรคร่วมสามารถเดินทางเข้าประชุมได้จนครบองค์ประชุม
ส่วน ส.ส.เพื่อไทย ที่จัดประชุม "นอกสภา" ก็สลายการชุมนุมจากหน้ารัฐสภา เคลื่อนตัวเข้าสู่เวที นปช.-เสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ หากการปะทะครั้งนี้ทำให้ฝ่ายรัฐบาลได้ภาพ-ได้ความชอบธรรม
ฝ่ายค้านก็ได้ภาพความพยายามในการ "แสดง-โชว์" การต่อสู้ "นอกสภา" และโฆษณา-ชวนเชื่อว่ากำลัง "ทหาร-ตำรวจ" เข้ายึด-ปิดล้อมรัฐสภาจนไม่สามารถฝ่าด่านเข้าสู่ห้องประชุมได้
ตามที่ฝ่ายค้าน "อ้าง" ว่าการประท้วงไม่เข้าร่วมประชุม เพราะรัฐบาลใช้อำนาจฝ่ายบริหารมาดำเนินการแทรกแซงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภา
และการพยายามตอบโต้-ทางสัญลักษณ์-ย้อนศรอย่างรู้ทางฝ่ายรัฐบาล ด้วยคำพูดที่ต้องการกระจายเสียงไปทั่ว ทุกสื่อว่า "ทหารไม่มีสิทธินำกำลังเข้ายึดรัฐสภา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามระบอบประชาธิปไตย"
ข้ออ้างของ "ฝ่ายค้าน" ถูก "ฝ่ายความมั่นคง" ตอบโต้ โดยรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง "สุเทพ เทือกสุบรรณ"
การชี้แจงขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย ระบุต้นเรื่องมาจากประธานสภาผู้แทนราษฎรให้เลขาธิการสำนักงานทำหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี เพื่อหามาตรการป้องกันความปลอดภัยในการประชุมสภาในระหว่างที่มีการชุมนุม
พร้อมกันนี้ ฝ่ายรัฐบาลได้โชว์-สัญลักษณ์ของความสำเร็จในพิธีกรรม การประชุม ด้วยการโหวต-ผ่านกฎหมาย 3 ฉบับ ในชั้นของสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ, ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทราวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่เขตบางเขน เขตสายไหม และเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
และร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ถูกโหวตโดยฝ่ายรัฐบาล ผ่านฉลุย ไร้เงาฝ่ายค้าน
แผนขั้นต่อไปของฝ่ายความมั่นคงที่ผนึกกันแนบแน่นระหว่างฝ่ายรัฐบาล-ทหาร-กองทัพ คือการรุก-บุกเข้ายึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลคืนกลับมาเป็นฐานบัญชาการของฝ่ายบริหาร
การจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่าง "ปกติ" ในอีกไม่นานเกินควร จึงเป็น เป้าหมายต่อไปของฝ่ายรัฐบาล
1 ใน ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา ระบุว่า ส.ส.ควรทำหน้าที่ในสภา โดยเฉพาะวันพุธ-พฤหัสฯ ต้องเข้าประชุมสภาและพูดในสภา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา
"ผมเห็นด้วยกับมาตรการรักษาความปลอดภัย รับมือการชุมนุมรอบสภา แต่ที่ไม่เห็นด้วย คือวิธีการนำกำลังและ สิ่งกีดขวางมาวางรอบรัฐสภา เพราะรู้สึกว่าทำเกินไป เห็นแล้วรู้สึกหดหู่ เหมือนประเทศไม่ได้เป็นประชาธิปไตย แต่อยู่ในภาวะสงคราม หรือกำลังรัฐประหาร" ทายาท-การเมืองของ "สมศักดิ์" กล่าว
เสียงโจษจัน-เล่าขาน การไม่เข้าร่วมสังฆกรรม-พิธีกรรม ที่แสดงสัญลักษณ์ ของฝ่ายนิติบัญญัติ จาก "ไชยันต์ ไชยพร" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่า
"พรรคเพื่อไทยไม่น่าจะตีความไปถึงเรื่องศักดิ์ศรี เพราะถ้าคิดเรื่องศักดิ์ศรี ก็ต้องตอบให้ได้ว่า หากผู้ชุมนุมเดินทางมาล้อมรัฐสภาแล้วจะทำอย่างไร รวมทั้งหากลไกรัฐสภาล้มเหลว ส.ส.ไม่ทำหน้าที่ในสภา กลับมีแต่กลไกการเคลื่อนไหวบน ท้องถนน ก็จะทำให้สถานการณ์แรงขึ้น จนกระทั่งอาจเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร เช่น ในปี 2549 ที่เป็นผลจากการกดดันนอกสภาอย่างมาก"
ส่วน นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการ จากสำนักเดียวกัน ค่ายรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ไปปรากฏตัว "แดง" เห็นต่าง "ไม่ใช่การนำทหาร มาล้อมรัฐสภา แต่เป็นเรื่องความชอบธรรมในการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพราะเหมือนเป็นการประกาศศัตรูภายในประเทศ"
"พวก ส.ส.ที่ไม่เข้าประชุมสภานั้น แม้จะเข้าใจได้ถึงเหตุผลที่แสดงออกมา เช่นนั้น แต่ตัว ส.ส. ก็ต้องตอบประชาชน ให้ได้ ว่าหน้าที่ของเขาอยู่ตรงไหน เพราะการมาดูแลประชาชนของตัวเองบนถนนนั้น ทำได้อยู่แล้ว แต่หน้าที่ในสภา ส.ส.ก็ต้องตรวจสอบรัฐบาลและผลักดันกลไกรัฐสภาให้ทำงานได้ หรือหากไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ก็ควรจะเข้าไปตั้งกระทู้ในสภา"
ความพยายามของฝ่ายรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ "ข้ามกองเลือด" เข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎรซ้ำรอยกับ สมัย "7 ตุลา" ถูกนำไปตีความ-พลิกประเด็น-ยกระดับการต่อสู้ของฝ่ายค้านและฝ่ายเสื้อแดง
การประชุมเพื่อแสดงรูปแบบ-สัญลักษณ์โครงสร้างอำนาจของประเทศเพียงครึ่งวัน โหวตผ่านกฎหมาย 3 ฉบับ ถูกพรรคเพื่อไทยนำเรื่องขึ้นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ และร้องเรียนต่อองค์การสหประชาชาติ และเป็นประเด็นหลักในการอภิปรายริมสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
การต่อสู้ระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล จากนี้ไปไม่จำกัดสถานที่-เวลา-กาละ-เทศะเฉพาะพื้นที่ในสภาผู้แทนราษฎรอีกแล้ว
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
**************************************************
“ทักษิณ”ซัด”มาร์ค” ไร้จริงใจอ้างตั้งธงไม่ยุบ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงค์มายังเวทีคนเสื้อแดงว่า ตนอยู่ต่างประเทศ เห็นภาพการเจรจาแล้วก็คงนานาจิตตัง ตนได้รับโทรศัพท์มากมีความคิดหลากหลาย กลุ่มฮาร์ดคอร์ไม่อยากให้คุยอยากให้ลุยไปเลย บางคนร้องไห้ตนอยากให้ใจเย็น ๆ เรื่องบ้านเมืองเรื่องใหญ่ การออกทีวีเจรจาครั้งนี้เป็นผลกำไร เพราะการชุมนุมไม่เคยออกทีวีปกติ ไม่เคยออกข่าว ไม่เคยถ่ายทอดเพราะถูกอำมาตย์ครอบ
ขณะที่ทุกคนอธิบายความเป็นมาในการออกมาเรียกร้องให้ยุบสภา รัฐบาลขาดความชอบธรรมและให้ประเทศชาติกลับไปสู่ความปรองดอง อภิสิทธิ์พูดเก่งจริงแต่มีมุมหนึ่งที่เขารู้ว่าขาดความจริงใจ หน้าตาน้ำเสียงขาดความจริงใจ แต่ที่ไม่ได้เอามาก็คือธงที่ไม่ได้เอามาปักว่าไม่ยุบสภา ฟังชัดว่าตั้งธงว่าไม่ยุบสภา แม้พยายามรำวงแต่ก็แน่ชัดว่าไม่มีการยุบสภา ตนไม่อยากประเทศไทยหากมีอำมาตย์เช่นนี้กลับไปก็ถูกฆ่าทิ้ง แต่ตนพร้อมกลับไปในฐานะอะไรก็ได้
รัฐบาลขาดความชอบธรรมตั้งแต่ต้นอำมาตย์อยู่บ้านคนเดียวถนัดเรื่องปิด ประตูตี แมวไม่ว่าจะทำอะไรก็ใช้ความคิดแบบประตูตีแมว พวกเราต้องมอบความไว้ใจให้แกนนำเสื้อแดงไปทำงานไม่ต้องห่วงเราสามัคคีกันไว้ รวมพลังเป็นหนึ่งสู้ต่อไป อย่าหวั่นไหว อย่ายอมแพ้ เราจะสู่ด้วยกัน
การยุบสภาเป็นการเริ่มต้นความปรองดอง สานฉันท์ในชาติเพราะเราเริ่มต้นผิด รัฐบาลนี้มีอภิสิทธิ์ทุกอย่างเข้ามาโดยมีทหารและอำมาตย์ คุ้มครอง มีองค์กรอิสระทีเข้าข้างลำเอียง และคงเห็นการแทรกแซงของอำมาตย์ อภิสิทธิ์ก็ไม่เคารพกฎหมายไม่ว่าจะเรื่องการหนีกม. หรือเอาผิดพันธมิตร วันนี้เราต้องเริ่มต้นใหม่
วันนี้มีอาจารย์มหาวิทยาลัย มธ. อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นตรงกับเสื้อแดงให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่และทำหนังสือออกมา ตนเป็นหนี้บุญคุณเสื้อแดงผมจะกลับไปรับใช้พี่น้องในฐานะอะไรก็ได้ขออย่าได้ กังวลเพราะแกนนำเสื้อแดงมีกลไกในการคิดร่วมกัน เขาจะคิดยาวและทำอย่างไรเพื่อให้มีสังคมเพื่อลูกหลาน วันนี้ ณัฐวุฒิจับเด็กก่อกวนที่ส่งมาอาละวาดและรับสารภาพว่าใช้มาเผาอาหารพวกเรา ใจมันดำจริง ๆ ขอให้มันอดอยากเหมือนกัน มีแผนประทุษกรรม เมื่อเดือน เม.ย.เป็นอย่างไร ก็ให้ดู นอกจากนี้มีโรงงานบอกว่ามีการซื้อเสื้อแดง นับหลายหมื่นตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า พรุ่งนี้จะมีการเจรจาอีกครั้งหลังนายกฯกลับจากบรูไนก็คงไปบอกกับสุลต่านว่า อย่าต้อนรับตนเพราะตนไปบ่อยอุตส่าห์ปลีกเวลาไป ตนไปไหนก็พยายามตามไปจนเขารำคาญหมดแล้ว
ที่มา.เดลินิวส์ออนไลน์
*************************************************
ขณะที่ทุกคนอธิบายความเป็นมาในการออกมาเรียกร้องให้ยุบสภา รัฐบาลขาดความชอบธรรมและให้ประเทศชาติกลับไปสู่ความปรองดอง อภิสิทธิ์พูดเก่งจริงแต่มีมุมหนึ่งที่เขารู้ว่าขาดความจริงใจ หน้าตาน้ำเสียงขาดความจริงใจ แต่ที่ไม่ได้เอามาก็คือธงที่ไม่ได้เอามาปักว่าไม่ยุบสภา ฟังชัดว่าตั้งธงว่าไม่ยุบสภา แม้พยายามรำวงแต่ก็แน่ชัดว่าไม่มีการยุบสภา ตนไม่อยากประเทศไทยหากมีอำมาตย์เช่นนี้กลับไปก็ถูกฆ่าทิ้ง แต่ตนพร้อมกลับไปในฐานะอะไรก็ได้
รัฐบาลขาดความชอบธรรมตั้งแต่ต้นอำมาตย์อยู่บ้านคนเดียวถนัดเรื่องปิด ประตูตี แมวไม่ว่าจะทำอะไรก็ใช้ความคิดแบบประตูตีแมว พวกเราต้องมอบความไว้ใจให้แกนนำเสื้อแดงไปทำงานไม่ต้องห่วงเราสามัคคีกันไว้ รวมพลังเป็นหนึ่งสู้ต่อไป อย่าหวั่นไหว อย่ายอมแพ้ เราจะสู่ด้วยกัน
การยุบสภาเป็นการเริ่มต้นความปรองดอง สานฉันท์ในชาติเพราะเราเริ่มต้นผิด รัฐบาลนี้มีอภิสิทธิ์ทุกอย่างเข้ามาโดยมีทหารและอำมาตย์ คุ้มครอง มีองค์กรอิสระทีเข้าข้างลำเอียง และคงเห็นการแทรกแซงของอำมาตย์ อภิสิทธิ์ก็ไม่เคารพกฎหมายไม่ว่าจะเรื่องการหนีกม. หรือเอาผิดพันธมิตร วันนี้เราต้องเริ่มต้นใหม่
วันนี้มีอาจารย์มหาวิทยาลัย มธ. อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นตรงกับเสื้อแดงให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่และทำหนังสือออกมา ตนเป็นหนี้บุญคุณเสื้อแดงผมจะกลับไปรับใช้พี่น้องในฐานะอะไรก็ได้ขออย่าได้ กังวลเพราะแกนนำเสื้อแดงมีกลไกในการคิดร่วมกัน เขาจะคิดยาวและทำอย่างไรเพื่อให้มีสังคมเพื่อลูกหลาน วันนี้ ณัฐวุฒิจับเด็กก่อกวนที่ส่งมาอาละวาดและรับสารภาพว่าใช้มาเผาอาหารพวกเรา ใจมันดำจริง ๆ ขอให้มันอดอยากเหมือนกัน มีแผนประทุษกรรม เมื่อเดือน เม.ย.เป็นอย่างไร ก็ให้ดู นอกจากนี้มีโรงงานบอกว่ามีการซื้อเสื้อแดง นับหลายหมื่นตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า พรุ่งนี้จะมีการเจรจาอีกครั้งหลังนายกฯกลับจากบรูไนก็คงไปบอกกับสุลต่านว่า อย่าต้อนรับตนเพราะตนไปบ่อยอุตส่าห์ปลีกเวลาไป ตนไปไหนก็พยายามตามไปจนเขารำคาญหมดแล้ว
ที่มา.เดลินิวส์ออนไลน์
*************************************************
เจรจารัฐบาล-แกนนำเสื้อแดงยังไร้ข้อสรุป-คุยต่อพรุ่งนี้
กรุงเทพฯ 28 มี.ค.- ที่สถาบันพระปกเกล้า อาคารศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อเวลา 16.30 น. การเจรจาระหว่างรัฐบาล นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ กับแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง นำโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นพ.เหวง โตจิราการ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และทั้งสองฝ่ายได้จับมือก่อนที่จะเริ่มเจรจา สำหรับบรรยากาศการเจรจาทั้งสองฝ่ายยังคงยืนตามข้อเสนอเดิม เสื้อแดงเรียกร้องยุบสภา ขณะที่รัฐบาลเห็นว่ายังไม่ใช่ทางออกที่ดี ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ประนีประนอม
“วีระ” เปิดฉากเสนอยุบสภาและค่อยเจรจาแก้ปัญหาร่วมกัน
นายวีระ มุสิกพงศ์ เป็นฝ่ายเริ่มเจรจาก่อน ว่าจะเสนอให้นายกรัฐมนตรียุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน เป็นผู้ตัดสินใจ ขณะนี้ปัญหาหลายอย่างไม่สามารถแก้ไขได้ และอีกสิ่งหนึ่งที่ยังขัดข้องอยู่คือรัฐธรรมนูญที่ทำให้หลายฝ่ายไม่สบายใจ เพราะขณะนี้ยังไม่ชัดว่าจะมีการแก้ไขหรือทำประชามติอย่างไร และนายกรัฐมนตรีมาทำงานในช่วงที่บ้านเมืองมีปัญหามาก แต่ไม่อาจฝ่าฟันปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จึงคิดว่าการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ เป็นทางออกที่ดี และการมาเจรจาเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน พูดตรง ๆ หากใครชนะก็ไม่มีประโยชน์ถ้ายังแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ถ้าร่วมมือกันประเทศก็จะชนะ และอยากให้เริ่มต้นทำรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นปัญหาแทงใจคน ว่ามีทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีหลายองค์กรในรัฐธรรมนูญ ที่แต่งตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ดังนั้น อย่ารอให้ครบเทอมแล้วมีการแก้ไข
นายกฯ ย้ำไม่เคยปฏิเสธข้อเสนอยุบสภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่าส่วนตัวอยากให้ประเทศชนะ ไม่ใช่ชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตนยืนยันมาตลอด ว่าฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างไม่ใช่ศัตรู เพียงแต่มีความแตกต่างทางการเมือง และมีการแสดงออกที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อบริหารสถานการณ์ไม่ให้มีเหตุที่ทำให้ ใครเสียใจภายหลัง ตนยืนยันไม่เคยปฏิเสธข้อเสนอเรื่องยุบสภา แต่ยังมีเหตุผลหลายอย่างที่ความเห็นไม่ตรงกัน และเมื่อยุบสภาแล้ว ปัญหาจะจบจริงหรือไม่
“ที่ผมมาเจรจาในฐานะนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่หัวหน้าพรรคการเมือง จึงต้องตระหนักมากกว่าการเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งก่อนจะมาพูดคุยได้ใช้เวลาสั้น ๆ หารือกับพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ทุกพรรคก็สนับสนุนกระบวนการพูดคุย แต่เราฟังความเห็นจากทุกฝ่ายว่าการยุบสภา จะแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ ต้องดูพื้นฐานคนทั้งประเทศ วันนี้คนกลุ่มเสื้อแดงไม่ใช่กลุ่มคนผูกขาด ยังมีหลายคนที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนใครเลย ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดก็ได้ ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน ดังนั้นจึงไม่สามารถตัดสินใจแทนใครได้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
“อภิสิทธิ์” ระบุการเลือกตั้งยังไม่ใช่คำตอบขณะนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่ามีหลายคนที่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่เคยได้คำตอบเพราะมีหลายประเด็นที่มีการพูด และไม่ได้ข้อสรุป และยังมีข้อสงสัยว่าถ้าหากมีการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นการแก้เรื่องนิรโทษกรรมหรือไม่ อย่างไรก็ตามสรุปว่าการเลือกตั้งคงไม่ใช่คำตอบที่ตรงนัก เพราะหากมีการหาเสียง แล้วมีคนนำคลิปเสียงที่อ้างว่าตนสั่งฆ่าประชาชนไปใช้หาเสียง เกิดเป็นเรื่องร้องเรียน และถ้าคนนั้นเป็นกรรมการบริหารพรรค แล้วถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรคอีก ปัญหาต่าง ๆ จะวนกลับมาอีกหรือไม่ ดังนั้นต้องมีการตกลงกติกาให้ชัดก่อน
“จตุพร” ย้ำให้ยุบสภา อย่ากลัวปัญหาจะวนกลับมาที่เดิม
นายจตุพร กล่าวว่ารัฐสภาชุดนี้เชื่อว่าไม่มีทางแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ ถ้าวันนี้นายกรัฐมนตรี หาทางออกด้วยการยุบสภา และทุกฝ่ายมาลงสัตยาบัน ไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะไม่มีใครต่อต้าน ถ้ารัฐบาลมั่นใจ ว่าประชาชน ยอมรับแม้เป็นรัฐบาลรักษาการ ก็จะได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามา ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่ากลับมาด้วยความสง่างาม ถ้านายกรัฐมนตรีมั่นใจว่าได้ 280 เสียงเหมือนที่เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระบุ ก็ควรคืนอำนาจให้กับประชาชน ส่วนเรื่องคลิปเสียงที่นายกรัฐมนตรี กล่าวอ้างว่าจะเป็นปัญหาวนกลับมาที่เดิม เชื่อว่าเรื่องทุกอย่างจะเป็นไปตามกระบวนการ ศาลจะเป็นผู้ตัดสิน ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นเหตุให้ยุบพรรคก็ว่ากันไป ถ้านายกรัฐมนตรีดำเนินการตามนี้ ต่างฝ่ายก็ใช้ชีวิตปกติ ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี ใช้ชีวิตในค่ายทหาร แต่ทหารเข้าไปใช้ชีวิตในทำเนียบรัฐบาล
นายชำนิ กล่าวว่ากรณีรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย คงไม่ใช่ปัญหา เพราะตน ได้รับทราบข้อมูลจากการศึกษาปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ พบว่ามีปัญหาที่เกิดจากการใช้น้อยมาก แต่มีเรื่องของความรู้สึก ว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาจากไหน ถ้ายุบสภาแล้ว ได้คำตอบที่ไม่สอดคล้องกับความรู้สึกก็คงแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด
นพ.เหวง กล่าวว่าสิ่งที่เป็นปัญหาคือโครงสร้างของประเทศ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จุดที่ทำให้แตกร้าวคือประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นรัฐอำมาตย์ หากยุบสภาแล้ว สิ่งที่จะได้ คือยุติความขัดแย้งทางการเมืองที่แตกร้าว
นายกฯ เสนอจัดทำโรดแม็ปให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เชื่อว่าการยุบสภาไม่สามารถทำให้ประชาชน เปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่ตกค้างจากความขัดแย้ง จึงควรให้เวลากับการคลายความรู้สึก แล้วหันมาช่วยกันทำกติกาให้ดีขึ้น ดังนั้นทางออกจึงไม่ควรมีทางเลือกเดียวคือการยุบสภา แต่ควรจะสร้างโรดแม็ป เพื่อทำให้บ้านเมืองและความรู้สึกของประชาชนกลับคืนสู่ความเป็นปกติ หากใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการแก้ปัญหาบ้านเมือง จากนั้นจึงค่อยคืนอำนาจให้ประชาชนก็ได้ ตนยังเชื่อว่าการยุบสภาเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ทางออกของสังคม และขอย้ำว่าตนมีจุดยืนที่ชัดเจน ที่จะรับฟังข้อเรียกร้องที่มีเหตุผล และจะให้เกียรติกับทุกฝ่าย
นายจตุพร กล่าวว่าสิ่งที่ยืนยันคือการยุบสภา เพราะการอยู่ของนายกรัฐมนตรีขณะนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ควรให้เจ้าของประเทศช่วยกันตัดสินใจ ไม่ควรตัดโอกาสสังคม และได้สอบถามนายกรัฐมนตรีว่ามีแนวทางอย่างไร
“อภิสิทธิ์” เสนอกรอบเวลาเพื่อให้แก้ปัญหาได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยบอกว่าจะอยู่จนครบวาระ แต่บอกแล้วว่า ถ้าหากใครมีข้อเสนอที่มีเหตุผลก็ต้องรับฟัง ที่ผ่านมาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็มีความพยายาม สรุปออกมาได้ 6 ประเด็นแต่พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วย ดังนั้นหากเดินหน้าไปก็ไม่เกิดประโยชน์ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของประเทศ ต้องค่อย ๆ คุยกัน ซึ่งตนอยากเสนอว่าให้กำหนดกรอบเวลา และมีเหตุมีผล ให้เชื่อได้ ว่าจะสามารถเดินหน้าแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งคนเสื้อแดง อาจจะกลับไปหารือกับผู้ชุมนุมก่อนก็ได้
นายวีระ กล่าวว่าระหว่างทางเลือกว่าจะยุบสภา และทำกติกาใหม่ หรือกติกาแล้วค่อยยุบสภา ตนเห็นว่ามีความแตกต่างกัน คนเสื้อแดงเคยรอกติกาใหม่ แต่แล้วก็ต้องผิดหวัง ดังนั้นจึงเห็นว่าควรยุบสภาก่อน ค่อยทำกติกาใหม่ภายหลัง นายกรัฐมนตรีควรพูดให้ชัดว่าเลือกแบบไหน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเคยมีความพยายามเลือกตั้งแล้วทำกติกาใหม่ แต่ก็ทำไม่ได้ ในวันนี้จึงควรกำหนดตารางเวลาให้ชัดเจน โดยการแก้ไขปัญหาหรือทำกติกา จากนั้นค่อยมาทำประชามติก็ได้
“จตุพร” ชี้กติกาใหม่ทำได้ยาก เสนอไปตายดาบหน้า
นายจตุพร กล่าวว่า เรื่องการทำกติกาใหม่เป็นเรื่องยาก คนเสื้อแดงเห็นว่าสามารถไปตายเอาดาบหน้าได้ ขณะนี้อยู่ที่นายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวที่จะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มั่นใจว่าจะได้เสียงข้างมาก ก็ควรยุบสภา และไปเลือกตั้งใหม่ ซึ่งประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง ตนเห็นว่านายกรัฐมนตรีต้องตกผลึกว่าจะตัดสินใจอย่างไร วันนี้คงคุยกันได้ยาก เพราะมีความเห็นไม่ตรงกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันเมื่อไหร่ค่อยมาคุยกันใหม่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่เคยกังวลว่ายุบสภาแล้วใครจะแพ้หรือชนะ อยู่ที่ว่าแม้มีการเลือกตั้งใหม่ คนก็ยังกลัว ดังนั้นควรมาแก้ปัญหา ถ้าทุกฝ่ายจริงใจปัญหาก็สงบลงได้ “ผมไม่มีสิทธิ์ให้สังคมไปตายดาบหน้า แต่ต้องหาคำตอบให้สังคม”
แต่นายจตุพร ยืนกรานให้รัฐบาลยุบสภา และเลือกตั้งใหม่ เพราะเมื่อยุบสภาเมื่อถึงขั้นตอนการเลือกตั้งทุกฝ่ายจะกลับไปอยู่ในจุดที่ เท่าเทียมกันเพื่อให้ประชาชนตัดสิน
และเมื่อเวลา 19.00 น. ซึ่งการเจรจาผ่านไป 2.30 ชม. นายวีระ ขอหยุดพักการเจรจาเพื่อทำภารกิจส่วนตัว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกนนำคนเสื้อแดงได้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที เพื่อหารือเป็นการส่วนตัวในห้องรับรองฝั่งตรงข้ามกับห้องเจรจา และการเจรจาเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อเวลา 19.15 น. และคุยต่ออีกประมาณไม่ถึง 20 นาทีก่อนจะจบการเจรจาในวันนี้เมื่อเวลาประมาณ 19.25 น. และนัดคุยต่อพรุ่งนี้ .
ที่มา.สำนักข่าวไทย
“วีระ” เปิดฉากเสนอยุบสภาและค่อยเจรจาแก้ปัญหาร่วมกัน
นายวีระ มุสิกพงศ์ เป็นฝ่ายเริ่มเจรจาก่อน ว่าจะเสนอให้นายกรัฐมนตรียุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน เป็นผู้ตัดสินใจ ขณะนี้ปัญหาหลายอย่างไม่สามารถแก้ไขได้ และอีกสิ่งหนึ่งที่ยังขัดข้องอยู่คือรัฐธรรมนูญที่ทำให้หลายฝ่ายไม่สบายใจ เพราะขณะนี้ยังไม่ชัดว่าจะมีการแก้ไขหรือทำประชามติอย่างไร และนายกรัฐมนตรีมาทำงานในช่วงที่บ้านเมืองมีปัญหามาก แต่ไม่อาจฝ่าฟันปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จึงคิดว่าการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ เป็นทางออกที่ดี และการมาเจรจาเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน พูดตรง ๆ หากใครชนะก็ไม่มีประโยชน์ถ้ายังแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ถ้าร่วมมือกันประเทศก็จะชนะ และอยากให้เริ่มต้นทำรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นปัญหาแทงใจคน ว่ามีทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีหลายองค์กรในรัฐธรรมนูญ ที่แต่งตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ดังนั้น อย่ารอให้ครบเทอมแล้วมีการแก้ไข
นายกฯ ย้ำไม่เคยปฏิเสธข้อเสนอยุบสภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่าส่วนตัวอยากให้ประเทศชนะ ไม่ใช่ชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตนยืนยันมาตลอด ว่าฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างไม่ใช่ศัตรู เพียงแต่มีความแตกต่างทางการเมือง และมีการแสดงออกที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อบริหารสถานการณ์ไม่ให้มีเหตุที่ทำให้ ใครเสียใจภายหลัง ตนยืนยันไม่เคยปฏิเสธข้อเสนอเรื่องยุบสภา แต่ยังมีเหตุผลหลายอย่างที่ความเห็นไม่ตรงกัน และเมื่อยุบสภาแล้ว ปัญหาจะจบจริงหรือไม่
“ที่ผมมาเจรจาในฐานะนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่หัวหน้าพรรคการเมือง จึงต้องตระหนักมากกว่าการเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งก่อนจะมาพูดคุยได้ใช้เวลาสั้น ๆ หารือกับพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ทุกพรรคก็สนับสนุนกระบวนการพูดคุย แต่เราฟังความเห็นจากทุกฝ่ายว่าการยุบสภา จะแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ ต้องดูพื้นฐานคนทั้งประเทศ วันนี้คนกลุ่มเสื้อแดงไม่ใช่กลุ่มคนผูกขาด ยังมีหลายคนที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนใครเลย ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดก็ได้ ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน ดังนั้นจึงไม่สามารถตัดสินใจแทนใครได้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
“อภิสิทธิ์” ระบุการเลือกตั้งยังไม่ใช่คำตอบขณะนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่ามีหลายคนที่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่เคยได้คำตอบเพราะมีหลายประเด็นที่มีการพูด และไม่ได้ข้อสรุป และยังมีข้อสงสัยว่าถ้าหากมีการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นการแก้เรื่องนิรโทษกรรมหรือไม่ อย่างไรก็ตามสรุปว่าการเลือกตั้งคงไม่ใช่คำตอบที่ตรงนัก เพราะหากมีการหาเสียง แล้วมีคนนำคลิปเสียงที่อ้างว่าตนสั่งฆ่าประชาชนไปใช้หาเสียง เกิดเป็นเรื่องร้องเรียน และถ้าคนนั้นเป็นกรรมการบริหารพรรค แล้วถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรคอีก ปัญหาต่าง ๆ จะวนกลับมาอีกหรือไม่ ดังนั้นต้องมีการตกลงกติกาให้ชัดก่อน
“จตุพร” ย้ำให้ยุบสภา อย่ากลัวปัญหาจะวนกลับมาที่เดิม
นายจตุพร กล่าวว่ารัฐสภาชุดนี้เชื่อว่าไม่มีทางแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ ถ้าวันนี้นายกรัฐมนตรี หาทางออกด้วยการยุบสภา และทุกฝ่ายมาลงสัตยาบัน ไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะไม่มีใครต่อต้าน ถ้ารัฐบาลมั่นใจ ว่าประชาชน ยอมรับแม้เป็นรัฐบาลรักษาการ ก็จะได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามา ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่ากลับมาด้วยความสง่างาม ถ้านายกรัฐมนตรีมั่นใจว่าได้ 280 เสียงเหมือนที่เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระบุ ก็ควรคืนอำนาจให้กับประชาชน ส่วนเรื่องคลิปเสียงที่นายกรัฐมนตรี กล่าวอ้างว่าจะเป็นปัญหาวนกลับมาที่เดิม เชื่อว่าเรื่องทุกอย่างจะเป็นไปตามกระบวนการ ศาลจะเป็นผู้ตัดสิน ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นเหตุให้ยุบพรรคก็ว่ากันไป ถ้านายกรัฐมนตรีดำเนินการตามนี้ ต่างฝ่ายก็ใช้ชีวิตปกติ ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี ใช้ชีวิตในค่ายทหาร แต่ทหารเข้าไปใช้ชีวิตในทำเนียบรัฐบาล
นายชำนิ กล่าวว่ากรณีรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย คงไม่ใช่ปัญหา เพราะตน ได้รับทราบข้อมูลจากการศึกษาปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ พบว่ามีปัญหาที่เกิดจากการใช้น้อยมาก แต่มีเรื่องของความรู้สึก ว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาจากไหน ถ้ายุบสภาแล้ว ได้คำตอบที่ไม่สอดคล้องกับความรู้สึกก็คงแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด
นพ.เหวง กล่าวว่าสิ่งที่เป็นปัญหาคือโครงสร้างของประเทศ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จุดที่ทำให้แตกร้าวคือประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นรัฐอำมาตย์ หากยุบสภาแล้ว สิ่งที่จะได้ คือยุติความขัดแย้งทางการเมืองที่แตกร้าว
นายกฯ เสนอจัดทำโรดแม็ปให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เชื่อว่าการยุบสภาไม่สามารถทำให้ประชาชน เปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่ตกค้างจากความขัดแย้ง จึงควรให้เวลากับการคลายความรู้สึก แล้วหันมาช่วยกันทำกติกาให้ดีขึ้น ดังนั้นทางออกจึงไม่ควรมีทางเลือกเดียวคือการยุบสภา แต่ควรจะสร้างโรดแม็ป เพื่อทำให้บ้านเมืองและความรู้สึกของประชาชนกลับคืนสู่ความเป็นปกติ หากใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการแก้ปัญหาบ้านเมือง จากนั้นจึงค่อยคืนอำนาจให้ประชาชนก็ได้ ตนยังเชื่อว่าการยุบสภาเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ทางออกของสังคม และขอย้ำว่าตนมีจุดยืนที่ชัดเจน ที่จะรับฟังข้อเรียกร้องที่มีเหตุผล และจะให้เกียรติกับทุกฝ่าย
นายจตุพร กล่าวว่าสิ่งที่ยืนยันคือการยุบสภา เพราะการอยู่ของนายกรัฐมนตรีขณะนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ควรให้เจ้าของประเทศช่วยกันตัดสินใจ ไม่ควรตัดโอกาสสังคม และได้สอบถามนายกรัฐมนตรีว่ามีแนวทางอย่างไร
“อภิสิทธิ์” เสนอกรอบเวลาเพื่อให้แก้ปัญหาได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยบอกว่าจะอยู่จนครบวาระ แต่บอกแล้วว่า ถ้าหากใครมีข้อเสนอที่มีเหตุผลก็ต้องรับฟัง ที่ผ่านมาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็มีความพยายาม สรุปออกมาได้ 6 ประเด็นแต่พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วย ดังนั้นหากเดินหน้าไปก็ไม่เกิดประโยชน์ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของประเทศ ต้องค่อย ๆ คุยกัน ซึ่งตนอยากเสนอว่าให้กำหนดกรอบเวลา และมีเหตุมีผล ให้เชื่อได้ ว่าจะสามารถเดินหน้าแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งคนเสื้อแดง อาจจะกลับไปหารือกับผู้ชุมนุมก่อนก็ได้
นายวีระ กล่าวว่าระหว่างทางเลือกว่าจะยุบสภา และทำกติกาใหม่ หรือกติกาแล้วค่อยยุบสภา ตนเห็นว่ามีความแตกต่างกัน คนเสื้อแดงเคยรอกติกาใหม่ แต่แล้วก็ต้องผิดหวัง ดังนั้นจึงเห็นว่าควรยุบสภาก่อน ค่อยทำกติกาใหม่ภายหลัง นายกรัฐมนตรีควรพูดให้ชัดว่าเลือกแบบไหน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเคยมีความพยายามเลือกตั้งแล้วทำกติกาใหม่ แต่ก็ทำไม่ได้ ในวันนี้จึงควรกำหนดตารางเวลาให้ชัดเจน โดยการแก้ไขปัญหาหรือทำกติกา จากนั้นค่อยมาทำประชามติก็ได้
“จตุพร” ชี้กติกาใหม่ทำได้ยาก เสนอไปตายดาบหน้า
นายจตุพร กล่าวว่า เรื่องการทำกติกาใหม่เป็นเรื่องยาก คนเสื้อแดงเห็นว่าสามารถไปตายเอาดาบหน้าได้ ขณะนี้อยู่ที่นายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวที่จะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มั่นใจว่าจะได้เสียงข้างมาก ก็ควรยุบสภา และไปเลือกตั้งใหม่ ซึ่งประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง ตนเห็นว่านายกรัฐมนตรีต้องตกผลึกว่าจะตัดสินใจอย่างไร วันนี้คงคุยกันได้ยาก เพราะมีความเห็นไม่ตรงกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันเมื่อไหร่ค่อยมาคุยกันใหม่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่เคยกังวลว่ายุบสภาแล้วใครจะแพ้หรือชนะ อยู่ที่ว่าแม้มีการเลือกตั้งใหม่ คนก็ยังกลัว ดังนั้นควรมาแก้ปัญหา ถ้าทุกฝ่ายจริงใจปัญหาก็สงบลงได้ “ผมไม่มีสิทธิ์ให้สังคมไปตายดาบหน้า แต่ต้องหาคำตอบให้สังคม”
แต่นายจตุพร ยืนกรานให้รัฐบาลยุบสภา และเลือกตั้งใหม่ เพราะเมื่อยุบสภาเมื่อถึงขั้นตอนการเลือกตั้งทุกฝ่ายจะกลับไปอยู่ในจุดที่ เท่าเทียมกันเพื่อให้ประชาชนตัดสิน
และเมื่อเวลา 19.00 น. ซึ่งการเจรจาผ่านไป 2.30 ชม. นายวีระ ขอหยุดพักการเจรจาเพื่อทำภารกิจส่วนตัว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกนนำคนเสื้อแดงได้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที เพื่อหารือเป็นการส่วนตัวในห้องรับรองฝั่งตรงข้ามกับห้องเจรจา และการเจรจาเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อเวลา 19.15 น. และคุยต่ออีกประมาณไม่ถึง 20 นาทีก่อนจะจบการเจรจาในวันนี้เมื่อเวลาประมาณ 19.25 น. และนัดคุยต่อพรุ่งนี้ .
ที่มา.สำนักข่าวไทย
วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553
"อภิวันท์"ซัด"ป๋า"อย่าคิดว่ารักชาติมากกว่าคนอื่น ชี้ทุกคนรักสถาบันเหมือนกัน เมินถูกยื่นถอดรองปธ.สภาฯ

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาคนที่ 2 และส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เตรียมล่าชื่อถอดถอนจากตำแหน่งรองประธานสภาฯ หลังขึ้นเวทีคนเสื้อแดงว่า จากการตรวจสอบย้อนหลัง พบว่าตนไม่ได้พูดถ้อยคำหยาบคายโจมตีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ แค่พูดว่าว่านายกฯหลีกเหลี่ยงการเกณฑ์ทหารและยืนยันกับคนเสื้อแดงว่าเป็นรองประธานสภาฯ ที่ขึ้นเวทีคนเสื้อแดงเพื่อปกป้องเกียรติของรัฐสภา เพราะที่สภาฯมีกองกำลังทหารจำนวนมากปิดล้อมอยู่ อีกทั้งยังเข้าไปกินนอนในสภาฯ ซึ่งถือว่าเป็นเป็นการละเมิดฝ่ายนิติบัญญัติ
"ผมในฐานะที่เป็นศิษย์จปร.เป็นรุ่นน้องพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ท่านร่ำเรียนมาอย่างไร ผมก็เรียนมาแบบนั้นเหมือนกัน ซึ่งท่านคงคิดว่าท่านรักชาติมากกว่าคนอื่น แต่ผมไม่เชื่อ เพราะทุกคนรักชาติและสถาบันเหมือนกัน" รองประธานสภาฯ กล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
*************************************************
บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มนปช ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า ในช่วงค่ำเป็นไปอย่างคึกคักขณะที่บนเวทีปราศัย เเกนนำได้ปลุกระดมให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปสมทบที่ทำเน
การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า ในช่วงค่ำเป็นไปอย่างคึกคัก ขณะที่บนเวทีปราศัย เเกนนำได้ปลุกระดมให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปสมทบที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อกดดันให้ทหารออกจากทำเนียบ
บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า ในช่วงหัวค่ำเป็นไปด้วยความคึกคัก ภายหลังที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินทางกลับมาที่บริเวณเวทีปราศัย โดยนายวีระ มุสิกพงศ์ เเกนนำกล่ม นปช.ได้ขึ้นเวทีประกาศชัยชนะ หลังจากที่ได้เดินทางไปกดดันให้มีการถอนกำลังทหารที่ประจำการอยู่ในสถานที่สำคัญ นอกจากนี้ยังได้ขอฉันทามติจากผู้ชุมนุม เดินทางไปกดดันให้มีการถอนกำลังทหารที่ดูเเลความเรียบร้อยออกจากทำเนียบรัฐบาล โดยนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ เเละนายพายัพ ปั้นเกตุ เเกนนำกลุ่ม นปช.ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมากยังคงปักหลักฟังการปราศัยอยู่หน้าเวทีการปราศัย
ส่วนบนเวทีการปราศัยเเกนนำกลุ่ม นปช.ได้ประกาศระดมกลุ่มผู้ชุมนุม ให้เดินทางไปสมทบที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นระยะ หลังจากทราบข่าวว่า ทหารไม่ยอมถอนกำลังออก โดยเมื่อสักครู่ที่ผ่านมา นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง เเกนนำกลุ่มนปช.ได้ขึ้นเวทีปราศัย ระดมผู้ชุมนุมทั้งชายเเละหญิง ขึ้นรถเเทร็กเตอร์เพื่อไปนำสิ่งกีดขวางออกจากบริเวณโดยรอบ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นการกดดันให้ถอนกำลังทหารออก ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้ขึ้นเวทีปราศัยไม่ให้มีการไปสมทบที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมให้ความมั่นใจผู้ชุมนุมว่า จะจบลงด้วยความสงบเเละสันติ
ผู้สื่อข่าว : ลีลีญา อุปพงค์
rewriter : คณิต จินดาวรรณ
***********************************************
บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า ในช่วงหัวค่ำเป็นไปด้วยความคึกคัก ภายหลังที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินทางกลับมาที่บริเวณเวทีปราศัย โดยนายวีระ มุสิกพงศ์ เเกนนำกล่ม นปช.ได้ขึ้นเวทีประกาศชัยชนะ หลังจากที่ได้เดินทางไปกดดันให้มีการถอนกำลังทหารที่ประจำการอยู่ในสถานที่สำคัญ นอกจากนี้ยังได้ขอฉันทามติจากผู้ชุมนุม เดินทางไปกดดันให้มีการถอนกำลังทหารที่ดูเเลความเรียบร้อยออกจากทำเนียบรัฐบาล โดยนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ เเละนายพายัพ ปั้นเกตุ เเกนนำกลุ่ม นปช.ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมากยังคงปักหลักฟังการปราศัยอยู่หน้าเวทีการปราศัย
ส่วนบนเวทีการปราศัยเเกนนำกลุ่ม นปช.ได้ประกาศระดมกลุ่มผู้ชุมนุม ให้เดินทางไปสมทบที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นระยะ หลังจากทราบข่าวว่า ทหารไม่ยอมถอนกำลังออก โดยเมื่อสักครู่ที่ผ่านมา นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง เเกนนำกลุ่มนปช.ได้ขึ้นเวทีปราศัย ระดมผู้ชุมนุมทั้งชายเเละหญิง ขึ้นรถเเทร็กเตอร์เพื่อไปนำสิ่งกีดขวางออกจากบริเวณโดยรอบ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นการกดดันให้ถอนกำลังทหารออก ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้ขึ้นเวทีปราศัยไม่ให้มีการไปสมทบที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมให้ความมั่นใจผู้ชุมนุมว่า จะจบลงด้วยความสงบเเละสันติ
ผู้สื่อข่าว : ลีลีญา อุปพงค์
rewriter : คณิต จินดาวรรณ
***********************************************
“วีระ”จี้มาร์คอย่าบิดพลิ้วพบแดง หวังเรื่องจบพรุ่งนี้
นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกลุ่มนปช.แดงทั้งแผ่นดิน คาดหวังว่า พรุ่งนี้ (27 มี.ค.) จะเป็นจุดสิ้นสุดของความวุ่นวายทางการเมือง หลังจากคนเสื้อแดงเตรียมจะรวมพลังครั้งยิ่งใหญ่ เดินขบวนไปยังกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เพื่อเจรจากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรื่องยุบสภา ซึ่งเป็นเงื่อนไขเดียวของนปช.
นายวีระ กล่าวว่า คนเสื้อแดงนัดรวมพลพรุ่งนี้ ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ คาดว่าใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยเมื่อถึงกรมทหารราบที่ 11 ประมาณ 10.30 – 11.00 น. จะตั้งตัวแทนไปเจรจา หวังว่า นายอภิสิทธิ์จะไม่บิดพลิ้ว ทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ซึ่งหากนปช.ไม่ได้เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ก็ควรลาออกจากตำแหน่ง ไม่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
ที่มา.โลกวันนี้ ออนไลน์
นายวีระ กล่าวว่า คนเสื้อแดงนัดรวมพลพรุ่งนี้ ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ คาดว่าใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยเมื่อถึงกรมทหารราบที่ 11 ประมาณ 10.30 – 11.00 น. จะตั้งตัวแทนไปเจรจา หวังว่า นายอภิสิทธิ์จะไม่บิดพลิ้ว ทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ซึ่งหากนปช.ไม่ได้เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ก็ควรลาออกจากตำแหน่ง ไม่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
ที่มา.โลกวันนี้ ออนไลน์
วันเดียวแก๊งป่วนเมืองวาง-ยิงบึ้ม 4 จุด "ช่อง11-ททบ. 5" โดนระเบิดถล่ม ทหาร -รปภ.-ปชช.บาดเจ็บ
วันเดียวยิง-ปาบึ้ม 4 จุดในกรุงเทพ-เชียงใหม่ ถล่มช่อง11 ททบ.5 ช่วงค่ำ กรมศุลฯโดนแต่เช้ามืด ธนาคารกรุงเทพ สาขาดอกคำใต้เจอทั้งเอ็ม 79 อาก้าเชื่อทุกจุดโยงกัน ทหาร รภป.เจ็บ ชาวบ้านโดนลูกหลงด้วย
บึ้มอีกช่อง 11 ทหาร-รปภ.บาดเจ็บแรงระเบิกเกิดหลุมลึก
เมื่อเวลา 21.00 น. วันที่ 27 มีนาคม เกิดเหตุระเบิดภายในสวนหย่อมหน้าสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 หรือเอ็นบีที ถ.วิภาวดีรังสิต แรงระเบิดทำให้สนามหญ้าเป็นหลุมลึกแรงระเบิดทำให้ทหารที่เข้าเวรรักษาการณ์ได้รับบาดเจ็บ 1 นาย และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของช่อง 11 ได้รับบาดเจ็บอีก 1 ราย ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นระเบิดชนิดใด
คนร้ายขว้างระเบิดใส่ช่อง 5 ทหาร-ปชช.บาดเจ็บ
ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 19.00น. มีรายงานข่าวแจ้งว่าเกิดเหตุคนร้ายพยายามขว้างระเบิดไม่ทราบชนิดเข้าไปภายใน สถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 สนามเป้า ถนนพหลโยธิน เบื้องต้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 คน เป็นพลทหารเจ็บ 2 นาย และประชาชนอีก 2 คน
รายงานข่าวแจ้งว่า คนร้าย 2 คนขี่จักรยานยนต์ คนแรกสวมหมวกกันน็อคสีขาว คนซ้อนท้ายสวมหมวกกันน็อคสีดำ ใส่เสื้อแจ๊คเก็ตสีดำทั้งคู่ โดยคนซ้อนท้ายขว้างระเบิดเข้าใส่ ททบ.5 แต่ติดตาข่ายที่ขึงไว้ด้านหน้าทำให้ระเบิดสะท้อนกลับมาตกที่ฟุธบาทที่เกิดเหตุ พยานในที่เกิดเกิดเหตุระบุว่ามีการขว้างระเบิดเข้ามาในเวลา 18.50 น.
ทราบชื่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บประกอบด้วย พลทหารชัยสิทธิ์ ชาวโพธิเอน, พลทหารนฤพงษ์ อุเทนสุด ทหารสังกัด พล.ม.2 กำลังเข้าเวรยามที่รั้วรอบนอก ททบ.5 นำตัวส่งโรงพยาบาลพระมงกุฏ โดยมีพลเรือน 2 คนคือ นายวีระวัฒน์ สว่างทวีวงศ์ และนายวันชัย ฉัตรชัยชนวัฒน์ ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย นำตัวส่งโรงพยาบาลพญาไท 2
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอ.รส.กล่าว เมื่อเวลา 20.30 น. ว่า ได้รับรายงานในเบื้องต้น ทราบว่ามีรถปิคอัพที่จะมุ่งหน้าไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้ขว้างระเบิดเข้ามาใน ททบ.5 แต่ติดตาข่าย ขณะนี้ยังตรวจสอบไม่ได้ระเบิดชนิดไหน เพราะชิ้นส่วนแตกกระจาย คิดว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ เพราะ ททบ.5 เป็นสัญลักษณ์ของส่วนราชการ และวันนี้กลุ่มผู้ชุมนุมเน้นกดดันทหารเป็นหลัก จึงไม่แน่ใจว่าการที่กลุ่มผู้ชุมนุมเน้นกดดันทหาร เกี่ยวพันกับกรณีนี้หรือไม่ ถือเป็นหน้าที่ตำรวจที่ต้องสืบสวนสอบสวนต่อไป
"สุเทพ"โต้ข่าวยิงระเบิดถล่มราบ 11
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ผอ.ศอ.รส.)ให้สัมภาษณ์ ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร. 11รอ.)สถานที่ตั้งศอ.รส. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ถึงเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นว่า ได้ระมัดระวังเต็มที่ เมื่อคืนวันที่ 26 มีนาคม ผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร แม้แต่ตนก็พยายามที่จะไปให้กำลังใจบรรดาเจ้าหน้าที่ที่ตั้งด่านตรวจสกัด ตามที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และทุกคนทุกหน่วยตื่นตัว ทำให้โอกาสที่คนร้ายจะมาก่อเหตุลดน้อยลงมาก "แต่ยังมีพลาดจนได้ ที่เกิดเหตุคนร้ายลอบปาระเบิด เค 75 ที่อาคาร 120 กรมศุลลากร ตรงนั้นเราไม่คิดว่าจะเป็นจุดที่จะเป็นไปได้ เดิมคิดว่าจะเป็นที่อื่น ๆ ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงต่อไป เพราะเป้าหมายการก่อเหตุวินาศกรรมนั้น เดิมนึกว่าเป็นสถานที่ราชการหากเขาทำได้แล้วจะทำให้รัฐบาลเสียหน้า หรือทำให้ ตำรวจ ทหารรู้สึกโกรธ เป็นการยั่วยุให้มีอารมณ์ เราได้ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายเราอยู่ตลอด"นายสุเทพกล่าว
ส่วนเหตุ ระเบิดตามสถานที่ต่างๆ มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า "ขณะนี้เป็นอย่างนั้น ยกเว้นกรณีที่ใช้ปืนอาก้ายิงใส่บ้านคนที่ซอยทองหล่อ ถนนสุขุมวิทจะไม่เกี่ยวข้อง แต่การสอบสวนยังไมได้ระบุถึงตัวบุคคล ต้องให้เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนไป"
รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงกล่าวว่า เกิดระเบิดที่กรมศุลฯนั้น ได้เห็นภาพจากกล้องวงจรปิดที่บันทึกไว้แล้ว ตอนนี้พยายามที่จะถอดดูอยู่ เรื่องนี้ทางเจ้าหน้าที่คงต้องใช้เวลาอีกนิดหน่อย
นายสุเทพยังกล่าวตอบคำถาม ถึงกระแสข่าว มีการยิงอาร์พีจีและเอ็ม 79 เข้ามาในพื้นที่ ร.11 รอ. เมื่อคืนวันที่ 26 มีนาคมว่า "ไม่มี เขาแกล้งปล่อยข่าวกันไป ข้อเท็จจริงคือเมื่อช่วงใกล้ 21.00 น. มีการจุดพลุที่วัดลาดปลาเค้าซึ่งห่างจาก ร. 11 รอ. ไปประมาณ 3 กิโลเมตร คนที่อยู่ใกล้จะเห็นพลุชัดเจน แต่ปล่อยข่าวกันอ้างว่าเราปิดข่าว "
"กษิต"บอกมีการยิงระเบิดอยู่ตูมๆ
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวตอบคำถาม เรื่องการก่อเหตุวินาศกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในไทย ต่างประเทศมีคำถามถึงเรื่องนี้หรือไม่ว่า " รู้สึกจะมี คำถามที่มีเข้ามายังรัฐบาล ก็มีอยู่ 3-4 ประเด็น มีคำถาม ไม่ว่าจะเป็น สังคมประชาธิปไตย การประท้วงก็ต้องอยู่ในกรอบประชาธิปไตย ไม่มีใครทั้งในและต่างประเทศอยากให้เกิดความรุนแรง ซึ่งเราได้เห็นความรุนแรงมาแล้ว มีการยิงระเบิดตูมๆ กันอยู่"
โฆษกบช.น.ไม่ฟันธงบึ้ม"กรมศุลฯ"เกี่ยวการเมือง
พล.ต.ต. ปิยะ อุทาโย โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงกรณีระเบิดหน้าอาคาร 120 ปี กรมศุลกากร ว่า จากเหตุระเบิดหลายครั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด มีทั้งประเด็นการสร้างสถานการณ์ทางการเมือง และความขัดแย้งส่วนตัว ซึ่งในบริเวณกรมศุลกากร ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นประเด็นใด เพราะกรมศุลกากร ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางการเมือง จึงต้องพิจารณาประเด็นความขัดแย้งอื่นร่วมกันด้วย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างสอบสวนหาพยานหลักฐาน
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เบื้องต้น พบว่า กลางดึกที่ผ่านมา คนร้ายขับจักรยานยนต์มาจากแยกกรมศุลกากร จอดห่างริมรั้วติดถนนใหญ่ประมาณ 30 เมตร จากนั้นขว้างระเบิดลูกเกลี้ยงชนิดขว้าง K-75 ใส่ตัวอาคาร จากนั้นขับรถจักรยานยนต์หนีไปทางท่าเรือคลองเตย
ยิงถล่มธนาคารกรุงเทพ สาขา อ.ดอกคำใต้
ขณะที่อีกเหตุการณ์หนึ่งนั้น เมื่อเวลา 09.00 น. พล.ต.ต.จรินทร์ อินทร์สุวรรณโณ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด(ผบก.ภ.จว.)พะเยา เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก พ.ต.อ.สว่างวิทย์ สุทธหลวง ผกก.สภ.ดอกคำใต้ เกิดเหตุยิงถล่มธนาคารกรุงเทพ สาขา อ.ดอกคำใต้ ตั้งอยู่ติดถนนสายดอกคำใต้-พะเยา ใกล้กับตลาดในเขตชุมชน ภายในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ ห่างจาก สภ.ดอกคำใต้ ประมาณ 100 เมตร เมื่อออกไปตรวจสอบพบบริเวณสัญญลักษณ์ตราครุฑของธนาคาร บริเวณป้ายและกระจกหน้าธนาคาร ถูกยิงด้วยอาวุธชนิดเอ็ม 79 จำนวน 2 นัด เศษกระจก เศษปูน ตกกระเด็นใส่บ้านเรือนประชาชนในระแวกใกล้เคียง เจ้าหน้าที่เก็บหลักฐานได้เบื้องต้น ประกอบด้วย ปลอกกระสุนปืนอาก้า จำนวน 20 ปลอก เอ็ม 15 อีก10 กว่าปลอก
พล.ต.ต.จรินทร์กล่าวว่า นายมนัส ปินใจ ผู้จัดการธนาคารกรุงเทพสาขา อ.ดอกคำใต้ ให้การว่าทางธนาคารติดกล้องวงจรปิดเฉพาะภายในธนาคารเท่านั้น ไม่ได้ติดตั้งด้านนอก เพราะคิดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้ จากการสอบสวนชาวบ้านย่านใหล้เคียงระบุว่า เหตุเกิดเวลาประมาณ 02.15น.วันเดียวกันนี้ ชาวบ้านได้ยินเสียงคล้ายประทัดยักษ์ พอเปิดหน้าต่างบ้านออกไปดู เห็นรถปิคอัพแคปสีครีม ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นพาหนะนำคนร้ายหลบหนีไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อม อ.จุน อ.ปง และอ.เชียงม่วน
"ได้ตั้งทีมงานออกสืบสวนอย่างเร่งด่วนแล้ว เพราะจากหลักฐานในที่เกิดเหตุ พอจะจับกุมผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีได้ เบื้องต้นตั้งประเด็นสาเหตุน่าจะมาจากการสร้างสถานการณ์ทางการเมือง เพราะพะเยาอยู่ในพื้นที่สีแดง"พล.ต.ต.จรินทร์กล่าว
บึ้มกรมศุลฯแต่เช้ามืด กระจกแตกรถตู้เสียหาย
ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 03.50 น. วันที่ 27 มีนาคม ร.ต.ท.อำนาจ ศรีสุวรรณโน ร้อยเวรสอบสวน สน.ท่าเรือ ได้รับแจ้งเหตุระเบิดบริเวณด้านหน้าอาคาร 120 ปี กรมศุลกากร ถนนสุนทรโกษา แขวงและเขตคลองเตย กทม. จึงรุดไปตรวจสอบพร้อม พล.ต.ต.บุญส่ง พานิชอัตรา รองผบช.น. พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง ผบก.น.5 พ.ต.อ.สมบัติ มิลินทจินดา ผกก.สส.บก.น.5 พ.ต.อ.ธนิต เหรียญเจริญ ผกก.สน.ท่าเรือ หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด บก.ตปพ.บช.น. และเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน ที่เกิดเหตุเป็นสวนหย่อมด้านหน้าตัวอาคาร อยู่ห่างจากถนนใหญ่ประมาณ 30 เมตร พบหลุมเป็นวงกว้าง 10 ซม. ลึก 5 ซม. ระแนงอลูมิเนียมบนเพดานพังถล่มลงมา กระจกของตัวอาคารแตก 1 บาน และเกิดรอยร้าวอีก 4 บาน โคมไฟส่องส่วางบนฟุตปาธแตก 1 ดวง และยังมีรถตู้ ยี่ห้อนิสสัน สีบรอนซ์เงิน หมายเลขทะเบียน ฮค 5990 กทม. ของกรมศุลกากร ถูกแรงระเบิดกระจกด้านหลังแตกได้รับความเสียหายเล็กน้อย นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบกระเดื่องระเบิดตกอยู่ที่พื้นถนนหน้าอาคารห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 เมตร
พล.ต.ต.บุญส่ง เปิดเผยว่า สอบสวนทราบว่าช่วงที่เกิดเหตุมี รปภ.ของกรมศุลกากร ได้ยินเสียงดังคล้ายระเบิดจากนั้นจึงรีบวิ่งมาดู เมื่อพบว่าเป็นระเบิดก็รีบโทรแจ้งตำรวจให้มาตรวจสอบ ซึ่งในที่เกิดเหตุพบว่าบริเวณด้านหน้าอาคารดังกล่าวมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้ ส่วนระเบิดที่ใช้ก่อเหตุนั้นจากการตรวจสอบกระเดื่องและสะเก็ดระเบิดพบว่า เป็นระเบิดลูกเกลี้ยงชนิดขว้าง K-75 ซึ่งตนได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนนำภาพจากกล้องวงจรปิดไปตรวจสอบเพื่อหาเบาะแสของคนร้าย เบื้องต้นคาดว่าคนร้ายน่าจะขว้างระเบิดมาจากริมรั้วที่ติดกับถนนใหญ่ เพราะเป็นมุมที่โล่งและมีระยะห่างจากตัวอาคารไม่มากนัก ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการสืบสวน ส่วนจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวายในขณะนี้หรือไม่นั้น ไม่ขอออกความเห็น อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เพิ่มกำลังในการรักษาความปลอดภัยบริเวรโดยรอบกรมศุลกากร พร้อมทั้งเร่งสอบปากคำพยานและรวบรวมหลักฐานทั้งหมด เพื่อติดตามตัวคนร้ายรายนี้มาดำเนินคดีต่อไป
ที่มา.มติชนออนไลน์
***********************************************
บึ้มอีกช่อง 11 ทหาร-รปภ.บาดเจ็บแรงระเบิกเกิดหลุมลึก
เมื่อเวลา 21.00 น. วันที่ 27 มีนาคม เกิดเหตุระเบิดภายในสวนหย่อมหน้าสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 หรือเอ็นบีที ถ.วิภาวดีรังสิต แรงระเบิดทำให้สนามหญ้าเป็นหลุมลึกแรงระเบิดทำให้ทหารที่เข้าเวรรักษาการณ์ได้รับบาดเจ็บ 1 นาย และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของช่อง 11 ได้รับบาดเจ็บอีก 1 ราย ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นระเบิดชนิดใด
คนร้ายขว้างระเบิดใส่ช่อง 5 ทหาร-ปชช.บาดเจ็บ
ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 19.00น. มีรายงานข่าวแจ้งว่าเกิดเหตุคนร้ายพยายามขว้างระเบิดไม่ทราบชนิดเข้าไปภายใน สถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 สนามเป้า ถนนพหลโยธิน เบื้องต้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 คน เป็นพลทหารเจ็บ 2 นาย และประชาชนอีก 2 คน
รายงานข่าวแจ้งว่า คนร้าย 2 คนขี่จักรยานยนต์ คนแรกสวมหมวกกันน็อคสีขาว คนซ้อนท้ายสวมหมวกกันน็อคสีดำ ใส่เสื้อแจ๊คเก็ตสีดำทั้งคู่ โดยคนซ้อนท้ายขว้างระเบิดเข้าใส่ ททบ.5 แต่ติดตาข่ายที่ขึงไว้ด้านหน้าทำให้ระเบิดสะท้อนกลับมาตกที่ฟุธบาทที่เกิดเหตุ พยานในที่เกิดเกิดเหตุระบุว่ามีการขว้างระเบิดเข้ามาในเวลา 18.50 น.
ทราบชื่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บประกอบด้วย พลทหารชัยสิทธิ์ ชาวโพธิเอน, พลทหารนฤพงษ์ อุเทนสุด ทหารสังกัด พล.ม.2 กำลังเข้าเวรยามที่รั้วรอบนอก ททบ.5 นำตัวส่งโรงพยาบาลพระมงกุฏ โดยมีพลเรือน 2 คนคือ นายวีระวัฒน์ สว่างทวีวงศ์ และนายวันชัย ฉัตรชัยชนวัฒน์ ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย นำตัวส่งโรงพยาบาลพญาไท 2
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอ.รส.กล่าว เมื่อเวลา 20.30 น. ว่า ได้รับรายงานในเบื้องต้น ทราบว่ามีรถปิคอัพที่จะมุ่งหน้าไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้ขว้างระเบิดเข้ามาใน ททบ.5 แต่ติดตาข่าย ขณะนี้ยังตรวจสอบไม่ได้ระเบิดชนิดไหน เพราะชิ้นส่วนแตกกระจาย คิดว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ เพราะ ททบ.5 เป็นสัญลักษณ์ของส่วนราชการ และวันนี้กลุ่มผู้ชุมนุมเน้นกดดันทหารเป็นหลัก จึงไม่แน่ใจว่าการที่กลุ่มผู้ชุมนุมเน้นกดดันทหาร เกี่ยวพันกับกรณีนี้หรือไม่ ถือเป็นหน้าที่ตำรวจที่ต้องสืบสวนสอบสวนต่อไป
"สุเทพ"โต้ข่าวยิงระเบิดถล่มราบ 11
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ผอ.ศอ.รส.)ให้สัมภาษณ์ ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร. 11รอ.)สถานที่ตั้งศอ.รส. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ถึงเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นว่า ได้ระมัดระวังเต็มที่ เมื่อคืนวันที่ 26 มีนาคม ผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร แม้แต่ตนก็พยายามที่จะไปให้กำลังใจบรรดาเจ้าหน้าที่ที่ตั้งด่านตรวจสกัด ตามที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และทุกคนทุกหน่วยตื่นตัว ทำให้โอกาสที่คนร้ายจะมาก่อเหตุลดน้อยลงมาก "แต่ยังมีพลาดจนได้ ที่เกิดเหตุคนร้ายลอบปาระเบิด เค 75 ที่อาคาร 120 กรมศุลลากร ตรงนั้นเราไม่คิดว่าจะเป็นจุดที่จะเป็นไปได้ เดิมคิดว่าจะเป็นที่อื่น ๆ ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงต่อไป เพราะเป้าหมายการก่อเหตุวินาศกรรมนั้น เดิมนึกว่าเป็นสถานที่ราชการหากเขาทำได้แล้วจะทำให้รัฐบาลเสียหน้า หรือทำให้ ตำรวจ ทหารรู้สึกโกรธ เป็นการยั่วยุให้มีอารมณ์ เราได้ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายเราอยู่ตลอด"นายสุเทพกล่าว
ส่วนเหตุ ระเบิดตามสถานที่ต่างๆ มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า "ขณะนี้เป็นอย่างนั้น ยกเว้นกรณีที่ใช้ปืนอาก้ายิงใส่บ้านคนที่ซอยทองหล่อ ถนนสุขุมวิทจะไม่เกี่ยวข้อง แต่การสอบสวนยังไมได้ระบุถึงตัวบุคคล ต้องให้เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนไป"
รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงกล่าวว่า เกิดระเบิดที่กรมศุลฯนั้น ได้เห็นภาพจากกล้องวงจรปิดที่บันทึกไว้แล้ว ตอนนี้พยายามที่จะถอดดูอยู่ เรื่องนี้ทางเจ้าหน้าที่คงต้องใช้เวลาอีกนิดหน่อย
นายสุเทพยังกล่าวตอบคำถาม ถึงกระแสข่าว มีการยิงอาร์พีจีและเอ็ม 79 เข้ามาในพื้นที่ ร.11 รอ. เมื่อคืนวันที่ 26 มีนาคมว่า "ไม่มี เขาแกล้งปล่อยข่าวกันไป ข้อเท็จจริงคือเมื่อช่วงใกล้ 21.00 น. มีการจุดพลุที่วัดลาดปลาเค้าซึ่งห่างจาก ร. 11 รอ. ไปประมาณ 3 กิโลเมตร คนที่อยู่ใกล้จะเห็นพลุชัดเจน แต่ปล่อยข่าวกันอ้างว่าเราปิดข่าว "
"กษิต"บอกมีการยิงระเบิดอยู่ตูมๆ
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวตอบคำถาม เรื่องการก่อเหตุวินาศกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในไทย ต่างประเทศมีคำถามถึงเรื่องนี้หรือไม่ว่า " รู้สึกจะมี คำถามที่มีเข้ามายังรัฐบาล ก็มีอยู่ 3-4 ประเด็น มีคำถาม ไม่ว่าจะเป็น สังคมประชาธิปไตย การประท้วงก็ต้องอยู่ในกรอบประชาธิปไตย ไม่มีใครทั้งในและต่างประเทศอยากให้เกิดความรุนแรง ซึ่งเราได้เห็นความรุนแรงมาแล้ว มีการยิงระเบิดตูมๆ กันอยู่"
โฆษกบช.น.ไม่ฟันธงบึ้ม"กรมศุลฯ"เกี่ยวการเมือง
พล.ต.ต. ปิยะ อุทาโย โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงกรณีระเบิดหน้าอาคาร 120 ปี กรมศุลกากร ว่า จากเหตุระเบิดหลายครั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด มีทั้งประเด็นการสร้างสถานการณ์ทางการเมือง และความขัดแย้งส่วนตัว ซึ่งในบริเวณกรมศุลกากร ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นประเด็นใด เพราะกรมศุลกากร ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางการเมือง จึงต้องพิจารณาประเด็นความขัดแย้งอื่นร่วมกันด้วย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างสอบสวนหาพยานหลักฐาน
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เบื้องต้น พบว่า กลางดึกที่ผ่านมา คนร้ายขับจักรยานยนต์มาจากแยกกรมศุลกากร จอดห่างริมรั้วติดถนนใหญ่ประมาณ 30 เมตร จากนั้นขว้างระเบิดลูกเกลี้ยงชนิดขว้าง K-75 ใส่ตัวอาคาร จากนั้นขับรถจักรยานยนต์หนีไปทางท่าเรือคลองเตย
ยิงถล่มธนาคารกรุงเทพ สาขา อ.ดอกคำใต้
ขณะที่อีกเหตุการณ์หนึ่งนั้น เมื่อเวลา 09.00 น. พล.ต.ต.จรินทร์ อินทร์สุวรรณโณ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด(ผบก.ภ.จว.)พะเยา เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก พ.ต.อ.สว่างวิทย์ สุทธหลวง ผกก.สภ.ดอกคำใต้ เกิดเหตุยิงถล่มธนาคารกรุงเทพ สาขา อ.ดอกคำใต้ ตั้งอยู่ติดถนนสายดอกคำใต้-พะเยา ใกล้กับตลาดในเขตชุมชน ภายในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ ห่างจาก สภ.ดอกคำใต้ ประมาณ 100 เมตร เมื่อออกไปตรวจสอบพบบริเวณสัญญลักษณ์ตราครุฑของธนาคาร บริเวณป้ายและกระจกหน้าธนาคาร ถูกยิงด้วยอาวุธชนิดเอ็ม 79 จำนวน 2 นัด เศษกระจก เศษปูน ตกกระเด็นใส่บ้านเรือนประชาชนในระแวกใกล้เคียง เจ้าหน้าที่เก็บหลักฐานได้เบื้องต้น ประกอบด้วย ปลอกกระสุนปืนอาก้า จำนวน 20 ปลอก เอ็ม 15 อีก10 กว่าปลอก
พล.ต.ต.จรินทร์กล่าวว่า นายมนัส ปินใจ ผู้จัดการธนาคารกรุงเทพสาขา อ.ดอกคำใต้ ให้การว่าทางธนาคารติดกล้องวงจรปิดเฉพาะภายในธนาคารเท่านั้น ไม่ได้ติดตั้งด้านนอก เพราะคิดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้ จากการสอบสวนชาวบ้านย่านใหล้เคียงระบุว่า เหตุเกิดเวลาประมาณ 02.15น.วันเดียวกันนี้ ชาวบ้านได้ยินเสียงคล้ายประทัดยักษ์ พอเปิดหน้าต่างบ้านออกไปดู เห็นรถปิคอัพแคปสีครีม ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นพาหนะนำคนร้ายหลบหนีไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อม อ.จุน อ.ปง และอ.เชียงม่วน
"ได้ตั้งทีมงานออกสืบสวนอย่างเร่งด่วนแล้ว เพราะจากหลักฐานในที่เกิดเหตุ พอจะจับกุมผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีได้ เบื้องต้นตั้งประเด็นสาเหตุน่าจะมาจากการสร้างสถานการณ์ทางการเมือง เพราะพะเยาอยู่ในพื้นที่สีแดง"พล.ต.ต.จรินทร์กล่าว
บึ้มกรมศุลฯแต่เช้ามืด กระจกแตกรถตู้เสียหาย
ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 03.50 น. วันที่ 27 มีนาคม ร.ต.ท.อำนาจ ศรีสุวรรณโน ร้อยเวรสอบสวน สน.ท่าเรือ ได้รับแจ้งเหตุระเบิดบริเวณด้านหน้าอาคาร 120 ปี กรมศุลกากร ถนนสุนทรโกษา แขวงและเขตคลองเตย กทม. จึงรุดไปตรวจสอบพร้อม พล.ต.ต.บุญส่ง พานิชอัตรา รองผบช.น. พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง ผบก.น.5 พ.ต.อ.สมบัติ มิลินทจินดา ผกก.สส.บก.น.5 พ.ต.อ.ธนิต เหรียญเจริญ ผกก.สน.ท่าเรือ หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด บก.ตปพ.บช.น. และเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน ที่เกิดเหตุเป็นสวนหย่อมด้านหน้าตัวอาคาร อยู่ห่างจากถนนใหญ่ประมาณ 30 เมตร พบหลุมเป็นวงกว้าง 10 ซม. ลึก 5 ซม. ระแนงอลูมิเนียมบนเพดานพังถล่มลงมา กระจกของตัวอาคารแตก 1 บาน และเกิดรอยร้าวอีก 4 บาน โคมไฟส่องส่วางบนฟุตปาธแตก 1 ดวง และยังมีรถตู้ ยี่ห้อนิสสัน สีบรอนซ์เงิน หมายเลขทะเบียน ฮค 5990 กทม. ของกรมศุลกากร ถูกแรงระเบิดกระจกด้านหลังแตกได้รับความเสียหายเล็กน้อย นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบกระเดื่องระเบิดตกอยู่ที่พื้นถนนหน้าอาคารห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 เมตร
พล.ต.ต.บุญส่ง เปิดเผยว่า สอบสวนทราบว่าช่วงที่เกิดเหตุมี รปภ.ของกรมศุลกากร ได้ยินเสียงดังคล้ายระเบิดจากนั้นจึงรีบวิ่งมาดู เมื่อพบว่าเป็นระเบิดก็รีบโทรแจ้งตำรวจให้มาตรวจสอบ ซึ่งในที่เกิดเหตุพบว่าบริเวณด้านหน้าอาคารดังกล่าวมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้ ส่วนระเบิดที่ใช้ก่อเหตุนั้นจากการตรวจสอบกระเดื่องและสะเก็ดระเบิดพบว่า เป็นระเบิดลูกเกลี้ยงชนิดขว้าง K-75 ซึ่งตนได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนนำภาพจากกล้องวงจรปิดไปตรวจสอบเพื่อหาเบาะแสของคนร้าย เบื้องต้นคาดว่าคนร้ายน่าจะขว้างระเบิดมาจากริมรั้วที่ติดกับถนนใหญ่ เพราะเป็นมุมที่โล่งและมีระยะห่างจากตัวอาคารไม่มากนัก ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการสืบสวน ส่วนจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวายในขณะนี้หรือไม่นั้น ไม่ขอออกความเห็น อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เพิ่มกำลังในการรักษาความปลอดภัยบริเวรโดยรอบกรมศุลกากร พร้อมทั้งเร่งสอบปากคำพยานและรวบรวมหลักฐานทั้งหมด เพื่อติดตามตัวคนร้ายรายนี้มาดำเนินคดีต่อไป
ที่มา.มติชนออนไลน์
***********************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)