--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

'สุเทพ' ยอมรับหาก "เขมร" ยังแข็งกร้าวอาจต้องปิดด่านชายแดน ซัด "แม้ว" อย่าเอาประเทศเป็นของเล่น

"สุเทพ" อัด "ทักษิณ" อย่าเอาประเทศเป็นของเล่น ฝากให้ช่วยพูดดูแลทรัพย์สินไทยในเขมรด้วย ปิดทางเจรจาด้วย ฝากทูตบอก "ฮุนเซน" ทำเพราะจำเป็น คาด "มาร์ค" อาจะได้ถกกันที่ญี่ปุ่น ยืนยันนายกฯ พม่า-ลาวยืนเคียงไทยกรณีลดสัมพันธ์เขมร รับหากเขมรยังแข็งกร้าวต้องปิดด่านแน่

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 6 พฤศจิกายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงมาตรการในการตอบทางการกัมพูชาด้วยการลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต หลังรัฐบาลกัมพูชาแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ว่า ที่ผ่านมาฝ่ายไทยพยายามใช้ความอดทนมาตลอด แต่เมื่อเห็นแถลงการณ์ของทางการกัมพูชาก็ชัดเจนว่าเป็นการก้าวล่วงต่อกิจการภายในของไทย โดยเฉพาะท่าทีเรื่องการไม่ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณให้ทางการไทย โดยให้เหตุผลว่าถูกเล่นงานทางการเมือง ทั้งที่ตนเคยชี้แจงเรื่องนี้ต่อสมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตั้งแต่ต้นแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณหนีคดีอาญา จึงจำเป็นที่ไทยต้องตอบโต้ทางการทูต อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่มีความประสงค์จะทำให้ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านมีปัญหา แต่เมื่อรัฐบาลกัมพูชาทำขนาดนี้ ก็เป็นความจำเป็น ส่วนการลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาจะยืดเยื้อแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับฝ่ายกัมพูชาว่าจะคิดได้หรือไม่


ผู้สื่อข่าวถามว่า ล่าสุด ทางการกัมพูชาได้เรียกเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยกลับประเทศไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าจะไม่มีการปรับท่าทีหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ก็ต้องรอดูกันต่อไป ถ้าเขาไม่ฟังเราก็มีปัญหา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายความมั่นคงจะระมัดระวังไม่ให้การปรับลดความสัมพันธ์ทางการทูต มีผลต่อการแก้ไขปัญหาตามแนวชายแดน ซึ่งจนขณะนี้ยังไม่พบปัญหาอะไร ส่วนกองกำลังทหารกัมพูชาที่ตรึงชายแดนอยู่ก็เป็นกองกำลังเดิม


นายสุเทพกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ดีได้สั่งการให้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไปคอยอารักขาสถานทูตกัมพูชาในประเทศไทยเป็นพิเศษ อีกทั้งยังได้โทรศัพท์พูดคุยกับเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงต่างๆ ให้ฟัง และฝากให้นำความไปเรียนสมเด็จฮุนเซ็นว่าสิ่งที่รัฐบาลกัมพูชาทำกระทบต่อความรู้สึกและจิตใจของคนไทย แต่เราจะทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ให้ความคุ้มครองนักการทูตที่อยู่ในไทยอย่างดีที่สุด


เมื่อถามว่า เป็นห่วงสถานทูตไทยในกัมพูชาหรือไม่ เพราะเคยเกิดเหตุถูกลอบวางเพลิงมาแล้ว นายสุเทพกล่าวว่า "เป็นเรื่องรัฐบาลกัมพูชาจะต้องดูแล ความจริงทั้งหมดเป็นเรื่องของดร.ทักษิณที่อาจจะคิดใช้รัฐบาลกัมพูชา ใช้สถานที่ในกัมพูชาเป็นฐานปฏิบัติการในทางการเมือง จึงคิดว่าดร.ทักษิณควรรู้จักที่จะพูดจาบอกกล่าวให้รัฐบาลกัมพูชาได้ช่วยดูแลกิจการ ทรัพย์สิน และสถานทูตไทยในกัมพูชาด้วย"


เมื่อถามว่า หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าพ.ต.ท.ทักษิณต้องการให้รัฐบาลรบกับเพื่อนบ้าน ขณะนี้ถือว่าเป็นการเดิมตามเกมพ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า มีหลายฝ่ายหลายคนให้ความเห็นตนเช่นนี้ว่าทั้งหมดนี้สงสัยจะเป็นแผนการของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องการทำให้สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีปัญหารุนแรงขึ้น แต่คิดว่า พ.ต.ท. ทักษิณก็เคยเป็นนายกฯ น่าจะมีความรู้ผิดชอบชั่วดี ไม่ทำร้ายประเทศไทยเช่นนั้น


ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พ.ต.ท. ทักษิณวิจารณ์ว่ารัฐบาลโอเวอร์รีแอ็ค นายสุเทพกล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ควรเอาประเทศชาติมาทำเหมือนเป็นของเล่น เหมือนต้องการช่วงชิงอำนาจ ยังใช้วิธีการอื่นได้ตั้งเยอะแยะ


ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่จะนำตัวพ.ต.ท.ทักษิณกลับมาดำเนินคดีในไทย นายสุเทพกล่าวว่า "ก็ต้องดูกันต่อไปครับ ผมคิดว่าอาจจะมีคณะทำงานร่วม 3 ฝ่ายประกอบด้วย อัยการสูงสุด ตำรวจ และกระทรวงการต่างประเทศ มาทำงานเป็นทีมติดตามกรณีการจัดส่งผู้ร้ายข้ามแดน"


เมื่อถามว่า คิดจะพูดคุยกับพ.ต.ท. ทักษิณบ้างหรือไม่ นายสุเทพไม่ตอบแต่แต่ส่ายหน้าแทนคำพูด



เมื่อถามว่า วิเคราะห์ว่าเหตุใดนายกฯ กัมพูชาถึงเลือกซื้อหวยข้างพ.ต.ท.ทักษิณ นายสุเทพได้แต่หัวเราะ แต่ปฏิเสธจะให้ความเห็น เมื่อถามว่า เป็นเพราะผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ไม่ทราบ พูดไม่ได้


เมื่อถามว่า ถึงตอนนึ้คิดว่าจำเป็นต้องเลิกคบกับสมเด็จฮุนเซ็นหรือยัง นายสุเทพกล่าวว่า ยัง ตนมีหน้าที่เจรจา ถ้าไปเลิกคบ ไปตัดสะพานแล้วจะเอาทางไหนเดินล่ะ


เมื่อถามว่า จะเรียกประชุมฝ่ายความมั่นคงเพื่อประเมินสถานการณ์ หลังการออกมาตรการตอบโต้ทางการกัมพูชาหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ก็จะพูดคุยกับฝ่ายความมั่นคงเพื่อเตรียมการทุกอย่าง ซึ่งก่อนนายกฯ จะเดินทางไปร่วมประชุมกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มอบหมายให้ตนปรึกษากับฝ่ายความมั่นคง เพื่อดูแลไม่ให้สถานการณ์ชายแดนเกิดความฉุกเฉิน เพราะเป็นห่วงว่าประชาชนจะตื่นตระหนกตกใจ


ส่วนที่หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา อาจนำมาสู่การยื่นมือเข้ามาจัดการปัญหาของกลุ่มอาเซียนนั้น นายสุเทพกล่าวว่า อันนี้เป็นเรื่องของ 2 ประเทศ ซึ่งต้องพยายามหาทางออกให้ได้ ซึ่งนายกฯ อาจมีโอกาสพูดคุยกับสมเด็จฮุนเซ็นในระหว่างประชุมประเทศลุ่มน้ำโขงที่ประเทศญี่ปุ่น แม้ตามกำหนดการจะไม่มีกำหนดหารือทวิภาคีระหว่างนายก 2 ประเทศ แต่เมื่อไทยแสดงปฏิกิริยาไปเช่นนี้ หากกัมพูชาเห็นว่าควรคุยกันก็น่าจะได้คุยกัน


เมื่อถามว่า คิดว่าประเทศเพื่อนบ้านจะเข้าใจบทบาทของไทยหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า คิดว่าประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่จะเข้าใจ เมื่อคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน ตนมีโอกาสไปต้อนรับนายกฯ พม่าและลาว ทั้ง 2 ประเทศก็ได้แสดงความเข้าใจหลังตนอธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ฟัง ซึ่งตนได้เรียนนายกฯ พม่าและลาวว่าความจริงหลายฝ่ายเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ไม่ให้ไปประชุมกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง เพราะมีสมเด็จฮุนเซ็นอยู่ด้วย แต่นายกฯ อธิบายว่าการประชุมดังกล่าวมีหลายประเทศ และความร่วมมือนี้จะเกิดประโยชน์แก่ลุ่มน้ำโขง แม้แต่โครงการที่รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือกัมพูชา ก็เป็นการช่วยเหลือประชาชน จึงเชื่อว่าผู้นำทั้ง 2 ประเทศจะเข้าใจสถานการณ์ดี


ผู้สื่อข่าวถามว่า มีโอกาสพูดคุยกับสมเด็จฮุนเซ็นบ้างหรือยัง นายสุเทพกล่าวว่า ยังไม่ได้คุย ไม่ได้ติดต่อกัน ตนต้องประเมินท่าทีทุกอย่างให้ชัดเจนก่อน มันเหมือนกับเป็นหวัด ถ้าเป็นน้อยๆ ทานยาก็หาย แต่ถ้าเป็นมากๆ ก็ต้องทำอะไรมากกว่านั้น


ส่วนความเป็นไปได้ในการออกมาตรการตอบโต้ทางการกัมพูชาเพิ่มเติมถึงขั้นปิดด่านชายแดนนั้น นายสุเทพกล่าวว่า ต้องดูท่าที ถ้ากัมพูชาแข็งกร้าวโต้ตอบมาแบบไม่ประนีประนอม ระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ต้องลดไปเรื่อยๆ อาจถึงขั้นต้องปิดด่านชายแดน แต่ยืนยันว่านี่ไม่ใช่การเปิดศึก การยิงกันกับการปิดด่านถือเป็นคนละเรื่องกัน อย่างไรก็ตาม อย่าไปคิดเรื่องนี้สนุกตามอารมรณ์ ไอ้เรื่องรบนั่นไม่ใช่เรื่องยาก แต่รบกันมันมีคนเจ็บคนตาย ซึ่งเป็นทหาร เป็นชาวบ้านที่ถูกลูกหลง เป็นญาติพี่น้องเราทั้งนั้น ดังนั้นเรื่องสงครามต้องหยุดไว้ ต้องใช้วิธีอื่นไปก่อน

เรียกทูตกลับ ...กัมพูชาไม่เดือดร้อน..เพราะเขาไม่ได้พึ่งไทยทั้งหมด

นั่งอ่านข้อความที่นายก ฯ ทักษิณ ท่านพูดว่า ทำไมเด็กจัง ต่อกรณีที่อภิสิทธิ์เรียกทูตไทยกลับ

ผมก็เลยนึกถึงเรื่องสองสามเรื่อง จะมาทวนความจำให้ทุกท่าน

1). สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ ดร.ทักษิณ บินจากฮ่องกง ไปสิงคโปร์ เพื่อไปตีกอล์ฟกับ รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ รัฐบาลสุรยุทธ์โมโหมาก..เลยเรียกทูตสิงคโปร์ไปด่า เขาก็บอกว่า มันเป็นเรื่องของเขา ที่เขาจะให้ใครไปสิงคโปร์ก็ได้..เขาบอกว่า "ขอให้ไทยเคารพในอธิปไตยของเราด้วย"

เสร็จแล้วก็มีการเรียกทูตไทยกลับ..แล้วกระแสเรียกร้องให้เอาดาวเทียมไทยคมกลับมา ก็โหมแรงมากช่วงนั้น แต่จนถึงป่านนี้..น็อตสักตัวก็ยังไม่ได้เลย

ต่อมา..สิงคโปร์มาขอต่อเช่าสนามบิน..

รัฐบาลสุรยุทธ์กระดี๊กระด๊า บอก มันเป็นคนละเรื่องกับที่ด่าเขาไป

ทุกวันนี้ ทูตไทยก็ยังทำงานเป็นปรกติที่สิงคโปร์

2). คุณทักษิณได้รับพาสปอร์ตพิเศษจากมอนตาเนโกร (ใครที่ไม่รู้จัก ให้ไปดู เจมส์ บอนด์ ภาค คาสิโนโรเยล) รัฐบาลชุดนี้ ไม่มีปัญญาจะทำอะไรเขาได้

เพราะตั้งแต่ตอนที่คุณนิตย์ พิบูลสงครามเป็น รมว.ต่างประเทศ เคยถูก สหภาพยุโรป ตั้งแง่ไม่ต้อนรับมาแล้ว อธิบดีกรม ๆ หนึ่งในกระทรวงต่างประเทศ เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ (ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นบางกอกโพสต์) พูดเรื่องโน้นเรื่องนี้ ทำให้ทูตโปรตุเกส (ถ้าจำไม่ผิด) ในฐานะประธาน EU บอกว่า ท่านอธิบดี เข้าใจเสียใหม่ (ลองหาข่าวเก่า ๆ อ่านดู)

ทุำกวันนี้ทักษิณสามารถไปโน่นไปนี่ได้อย่างสบาย ยกตัวอย่างเช่น มาเลยเซีย อย่างที่รู้กัน เพราะทักษิณนั้นเป็นเพื่อนกับอดีตนายก ฯ มหาเธ่ย์

เพียงแต่ว่าเขาอยากจะไปหรือไม่ไปเท่านั้น

เ้อาแค่สองเรื่องนี้..จะสรุปว่า

ที่เรียกทูตกลับมานั้น เป็นการ "แก้เกี้ยว" เพราะเสียหน้ามาก ๆ ของรัฐบาลสัปะรังเคเท่านั้น

้เ้พราะต่อให้ตัดสัมพันธ์กันจริง ๆ เขาก็ไม่สนใจประเทศไทย

ทุกวันนี้ คนไทยเอาเงินไปเล่นในบ่อนเขมร เสียเงินเยอะแยะ มีแต่พวกคุณหญิงคุณนาย ไฮโซไฮซ้อ เมียนายทหารตำรวจ ฯลฯ เขมรไม่ขาดรายได้หรอก

ทุกวันนี้ เขมรได้รับสิทธิพิเศษจากประเทศฝรังเศส ตอนวันชาติครั้งที่ผ่านมา ได้รับเกียรติให้ไปร่วมพิธี จนมีการลงนามให้บริษัทน้ำมัน TOTAL มาทำสัมปทานขุดน้ำมัน ในที่ของเขมร

แถมประเทศเกาหลีใต้ เข้าไปวางระบบสาธารณูปโภค พวกอุปกรณ์ไอที ต่าง ๆ มีพนักงานจากเกาหลีเดินเต็มพนมเปญ

ประเทศไทยน่ะหรือ? แค่สัมปทานสายการบินบางกอกแอร์เวย์ เขายังไม่ต่อสัญญาให้ แล้วใครล่ะเสีย?

ผมว่า จึงเหมาะสมแล้วที่คุณทักษิณเขาบอกว่า "เด็กจัง"
------------------------------------------------


เขมรได้บทเรียน และได้เรียนรู้ว่า การทำสงครามไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงหันมาสร้างชาติ โดยในยุค พล.อ.ชาติชาย ที่มีนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการค้า" ได้ช่วยให้ไทยกับเขมร ไม่ต้องมาไล่ยิงกันแถวชายแดนอรัญประเทศเหมือนเดิม (สมัยก่อนใครจำได้ เขมรยิงกันทีไร เด็กนักเรียนไทยวิ่งกันตับแล่บ..เข้าบังเกอร์หลุบกระสุน)

สมัยบรรหารเป็นนายก ฯ ก็ไปเที่ยวเขมร แล้วไปดึงมือของฮุนเซนกับเจ้ารณฤทธิ์ (ถ้าจำไม่ผิด) มาจับมือกันแล้วหัวเราะฮ่า ๆ ..(สองคนนั้นยิ้มเจื่อน ๆ)

เขมรจึงไม่ใส่ใจมากกับเรื่อง "ศักดิ์ศรี" แต่สนใจเรื่องปากท้องของผู้คน..ถนนหนทางเริ่มปรับปรุงให้ทันสมัย ราดยางมะตอย ไฟฟ้าเริ่มเข้่าถึงทุกหมู่บ้าน

ระบบการศึกษา จากเมื่อก่อน มหาวิทยาลัยพนมเปญ มีชื่อเสียงมาก ได้รับการปรับปรุง ชาวขะแมร์..พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นไฟ ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ชาวเขมรตื่นตัวที่จะปรับตัวให้เข้ากับสังคมโลก..

ผมดูรายการของเกาหลี เห็นชาวเกาหลีใต้รุ่นใหม่ ไปวางรากฐานให้รัฐบาลเขมร ปรับปรุงระบบต่าง ๆ ขนาดจอมอนิเตอร์ ตอนนี้ก็เป็นจอ LCD หมดแล้ว..ไม่เหมือนของไทย งบไทยเข้มแข็ง เห็นกระทรวงหนึ่งบอกว่า เอาไปซื้อคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนสเป๊คราคาเป็น 7-8 หมื่นบาท

เขมรเดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปเร็วมาก

จาก:นายขนมตัม

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เมื่อไหร่จะเลิก....

ผิดอย่างแรงที่รัฐบาลทำการต่อต้านเขมร ถึงกับถอนฑูต ออกกรณีที่แต่งตั้งคุณทักษิณเป็นที่ปรึกษาเศรฐกิจ

มองแล้วเป็นเรื่องไร้สาระ แทนที่จะใช้วิธีทางการฑูตเจรจา หรือปล่อยวาง แล้วคอยดูว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป

กลับใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ ผลที่ตามมาจะไม่คุ้มกับอารมณ์ชั่ววูบที่ตัดสินใจไป ผมชอบคุณทักษิณเพราะ

คุณทักษิณเป็นนักธุรกิจที่เข้ามามีส่วนในการเมือง มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็งของเศรษฐกิจของประเทศ แต่นาย

อภิสิทธิ์ เป็นนักการเมืองมาตลอด มองทุกอย่างเป็นการเมือง ตัดสินใจแบบนักการเมือง ทำให้ไปไม่ถึงไหนซะที



คุณทักษิณ ทำงานบริหารประเทศในลักษณะที่เป็นทั้ง ประธานกรรมการบริหาร และผู้จัดการในบุคคลเดียว แต่

นายอภิสิทธิ์ เป็นแค่ผู้จัดการ ที่ต้องคอยรับฟัง คอยการตัดสินใจจากประธานฯ ก่อน ถึงจะลงมือทำอะไรได้

ดังนั้นไม่ว่าจะทำอะไร คุณทักษิณจะสามารถตัดสินใจได้เร็วกว่า และกล้าตัดสินใน แต่นายอภิสิทธิ์ไม่

แม้แต่การกู้เงินตปท. มาเพื่อแจกชาวบ้านบางส่วน ผมเชื่อว่าคุณทักษิณไม่ทำ แต่ถ้ากู้มาเพื่อการพัฒนาประเทศ

และสร้างงาน กระจายรายได้ เพื่อที่จะได้ ความเจริญ และเงินภาษีกลับมา ผมเชือคุณทักษิณจะทำ และ

ประชาชนก็ได้รับผล ทั้งความเจริญ และการจ้างงาน ถ้าคุณทักษิณไปเริ่มงาน เป็นที่ปรึกษาให้เขมรจริงๆ

เขมรคงจะก้าวกระโดดในเรื่องเทคโนโลยี่ และเศรฐกิจ และประชาชนเขมรก็จะจนน้อยลง เพราะการสร้างงาน

จากการพัฒนาประเทศ...สรุป อย่าไปมัวแต่ทะเลาะกันเลย หันมาร่วมมือ ร่วมใจพัฒนาประเทศกันเถอะ

โอ้..พระเจ้าช่วยกล้วยทอด.....รัฐบาลไทยเรียกทูตไทยประจำกรุงพนมเปญกลับประเทศ..

รัฐบาลไทยเรียกทูตไทยประจำกรุงพนมเปญกลับประเทศ เพื่อตอบโต้กัมพูชาที่แต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของไทย เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกัมพูชา

ไม่ทราบว่าเรื่องนี้เป็นความคิดของใคร...?????

...ใครคิดก็ช่างเถอะ แต่การที่เอาเรื่องนี้นำมาปฏิบัตินี่สิคุณ...

นับเป็นเรื่องที่ตลกโปกฮา ในสายตาชาวโลกอย่างยิ่ง.....ha ha


การที่กัมพูชาที่แต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของไทย เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นเรื่องภายในของเขา ไทยจะไปก้าวก่ายเรื่องภายในประเทศของเขาไม่ได้..

หากไทยไม่พอใจที่ฮุนเซ็นแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของไทย เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกัมพูชา ก็สามารถทำหนังสือทักท้วงไปว่าไม่เหมาะสม...หรือเลือกใช้หนทางการฑูต เข้าพูดคุย..กันก่อน

นับเป็นหนทางออกที่ละมุนละม่อม..และไม่กระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เป็นวิธีการเจรจา..ที่ทั่วโลกเขานำมาใช้ นำมาปฏิบัติกัน



ไม่ใช่ไม่ถูกใจ โดนขัดใจ..งอแง

สั่งด่วน..!! เรียกฑูตกลับประเทศ

พฤติกรรมเช่นว่านั้น....มันเป็นพฤติกรรมของเด็กอนุบาลที่ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม...ต้องการเรียกร้องความสนใจ

ซึ่งระดับผู้นำประเทศที่มีวิสัยทรรศน์ดี เขาไม่ปฏิบัติในพฤติกรรมเช่นว่านั้น.

เขาจะต้องมองหลายๆด้าน ต้องชั่งน้ำหนักก่อน..ว่าได้ ว่าเสียแค่ไหนก่อนที่จะต้ดสินใจ..

และการเลือกตัดความสัมพันธ์ทางการฑูต...เป็นหนทางสุดท้ายที่เขาเลือกปฏิบัติกัน..



ก่อนที่รัฐบาล จะตัดความสัมพันธ์ทางการฑูต...

รัฐบาลจะไม่ลองถามประชาชนก่อนหรือว่า..เขารู้สึกอย่างใดในเรื่องนี้ ..จะส่งผลกระทบต่อประชาชนแค่ไหน ???

โดยเฉพาะประชาชนที่ทำธุรกิจในกัมพูชา รวมถึงประชาชนที่ค้าขายตามแนวขอบชายแดน

ไหนชอบอ้าง กล่าวอยู่เสมอว่า...ประชาชนต้องมาก่อน...!!

แต่สุดท้ายกลับกลายมาเป็นว่า ku..มาก่อนทุกทีไป...!!

มาร์ค ปรี๊ดสั่ง"กษิต"ตอบโต้ทางการฑูต รบ.เขมร ชี้กระทบความรู้สึกคนไทย

ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 15.10 น. วันที่ 5 พ.ย.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีรัฐบาลกัมพูชาแถลงอย่างเป็นทางการตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ว่า คือเนื่องจากว่า การแถลงของรัฐบาลกัมพูชามันมีส่วนที่พาดพิงมาถึงกระบวนการยุติธรรมของเรา ตนก็เชื่อว่ากระทบต่อความรู้สึกของพี่น้องประชาชนพอสมควร ฉะนั้นขณะนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศก็จะดำเนินการมาตรการเพื่อให้กัมพูชารับทราบถึงความรู้สึกของประชาชนไทยและการที่มาพาดพิงกระบวนการภายในของเราอย่างนี้ ซึ่งจะเป็นการดำเนินการตอบโต้ตามขั้นตอนทางการทูต โดยจะให้นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศได้เป็นคนชี้แจงในรายละเอียด



ผู้สื่อข่าวถามว่า จะตอบโต้ถึงขั้นให้ทูตกัมพูชากลับประเทศหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เดี๋ยวนายกษิตจะเป็นคนชี้แจงว่าการดำเนินการแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไร



“แต่มาตรการทั้งหมดเราจะทำไม่ให้กระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน เพราะผมเชื่อว่าประชาชนไทยและประชาชนกัมพูชาต้องการที่จะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน แต่เมื่อรัฐบาลมาทำในสิ่งที่มีปัญหาก็จะเป็นการตอบโต้ในส่วนของรัฐบาล”นายอภิสิทธิ์กล่าว



เมื่อถามว่า ขณะนี้บ่งบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสื่อมทรามลงไปแล้วหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จริงๆแล้วตนจะพยายามดูให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนเป็นไปอย่างราบรื่น แต่ในแง่ของความร่วมมือที่เป็นเรื่องที่รัฐบาลกัมพูชาเคยร้องขอมาอะไรต่างๆ ก็คงจะต้องมาพิจารณา แล้วก็ต้องให้กัมพูชารับทราบ เมื่อถามว่า จะใช้มาตรการถึงขั้นปิดพรมแดนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า “ไม่ครับ เรื่องการค้าขายชายแดนเป็นเรื่องผลประโยชน์ของประชาชนร่วมกัน แต่ในแง่ของที่ไทยจะมีมาตรการ ผมได้คุยกับนายกษิตและหน่วยงาน ก็คิดว่าจะมีมาตรการที่เหมาะสมในการที่จะดำเนินการ และประชาชนคนไทยจะไม่เดือดร้อน”


เมื่อถามว่า ความช่วยเหลือที่ไทยให้กัมพูชาด้านใดบ้างที่จะมีการทบทวน นายกฯกล่าวว่า ในแง่ความช่วยเหลือในกรอบภาพรวมที่เป็นความช่วยเหลือประชาชนชาวกัมพูชารัฐบาลไทยไม่มีปัญหา เมื่อถามว่า แล้วในส่วนของรัฐต่อรัฐ จะมีการขอคืนทูต หรือความร่วมมือด้านต่างๆ อย่างการสร้างถนนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า “อันนี้จะอยู่ในระหว่างที่กระทรวงการต่างประเทศจะค่อยๆดำเนินการต่อไป เพราะในชั้นต้นต้องให้เขารับทราบก่อนถึงท่าทีของเราอย่างเป็นทางการ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการอยู่



เมื่อถามว่า จะมีการเรียกทูตกัมพูชามาตำหนิหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นคนชี้แจงรายละเอียด

เมื่อพญามังกรขยับเกล็ด ตบหน้าสั่งสอน นายกโพเดียม เด็กดีของพญาอินทรี


การเยือนไทยของนาง ฮิลลารี คลินตัน เพื่อนร่วมประชุมอาเซียน ที่ภูเก็ตในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา
สหรัฐได้โปรยยาหอมให้นายกโพเดียมอ่อนหัดของไทยว่า ไทยโดดเด่นในอาเซียน
พร้อมทั้งใช้ไทยเป็นพื้นที่ในการแถลงข่าวประนามพม่า และเกาหลีเหนือ ผ่านที่ประชุมอาเซียน
ในขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินการฑูตแบบสองหน้า โดยส่งคนสนิทเข้าไปพบปะหารือกับพรรคเพื่อไท

นางฮิลลารี กลับไปพร้อมกับให้ความหวังกับนายกอ่อนหัดว่าจะให้ไปเกาะโพเดียมที่ประชุมใหญ่สมัชชาองค์การ
สหประชาชาติ และ G20 ในเดือนกันยา แถมออปชั่นพิเศษให้ไปตีระฆังปิดตลาดหุ้น สร้างความดีอกดีใจกับนายก
โพเดียมเป็นอย่างมาก ปานประหนึ่งเด็กน้อยได้อมยิ้ม เที่ยวฟรีสวนสนุก ทุกเครื่องเล่น

เมื่อพญาอินทรีสยายปีกล้ำเส้นทาง การเลื้อยผ่านของพญามังกร ลุ่มน้ำโขง
มีหรือที่พญามังกร จะยอมให้ผ่านไปง่ายๆ โดยที่ไม่ได้รับบทเรียน

สิ่งที่พญามังกรอยากเห็น และเก็บความในใจเอาไว้ ก็คือ การรวมตัวเป็นปึกแผ่นของเอเซีย เพื่อที่จะต่อกรกับพญาอินทรี
และ อียู เมื่อนายกวิสัยทัศน์กว้างไกลนามว่า ทักษิณ ชินวัตร เห็นว่าถ้ารวมเอเซียเป็นหนึ่งเดียวกันได้ พญาอินทรี อียู
ก็จะเล็กลงไปถนัดตา จึงได้เสนอหลักการ รวมเอเชียเป็นหนึ่ง ผ่านโครงการ เอเชียบอนด์ ซึ่งแน่นอน พญามังกรเห็นดีด้วย
ทุกประเทศเห็นดีด้วย และมองว่านายกทักษิณ มีศักยภาพเพียงพอที่จะประสานสิบทิศ ให้มาร่วมมือกันสร้างเอเซียให้เป็นปึกแผ่น
สร้างความกังวลใจกับพญาอินทรีเป็นอย่างยิ่ง เพราะนั่นหมายถึงสมดุลย์ในอำนาจจะต้องสูญเสีย ถ่ายเทมาให้เอเซียอย่างแน่นอน

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด ที่เราจะไม่เห็นว่าพญาอินทรี ประนาม หรือต่อต้านรัฐประหารที่โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย
ภายใต้การบริหารงานของนายกทักษิณ และเราก็ไม่เห็นว่าพญาอินทรีจะต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของ คมช.
แถมยังให้ท้ายรัฐบาลวิ่งราวในเหตุการณ์สงกรานต์เลือด โดยการออกแถลงการณ์ประนามคนเสื้อแดง
ทั้งหมดนี้ก็คือ พญาอินทรีไม่ต้องการให้เอเซียรวมตัวกันติด และใช้ไทยเป็นฐานการก่อให้เกิดความแตกแยก
ตั้งแต่สมัยอดีตรุ่นสงครามเวียดนาม สงครามเกาหลี จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพื่อที่จะคงอำนาจในภูมิภาคนี้ให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

การเปลี่ยนจากรัฐบาลของนายกวิสัยทัศน์กว้างไกล มาเป็นรัฐบาลวิ่งราวของนายกโพเดียม
ทำให้นโยบายการต่างประเทศของไทย กลับไปสู่ การเป็นเด็กดี เดินตามก้นพญาอินทรีเช่นเดิม
เนื่องจากการสมประโยชน์ระหว่างพญาอินทรีกับอมาตย์ แนบแน่นกันมาเนิ่นนาน มีสะดุดไปบ้างก็ช่วงทักษิณยังอยู่
เมื่อเขี่ยทักษิณไปพ้นทาง ก็รีบหาทางรื้อฟื้นโดยเร็วไว

ครั้นตอนประชุมอาเซียนครั้งต่อมา ก็ได้เวลาพญามังกรเอาคืน ผ่านความร่วมมือของทุกประเทศแทบอาเซียน
เริ่มตั้งแต่การหักหน้าไม่มางานพิธีวันเปิด ทำให้ต้องงดถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันทุกครั้งในการประชุม
และการที่ฮุนเซน มาแถลงการณ์ตีวัวกระทบคราด ว่าในเมื่อที่อาเซียนพูดเรื่องซูจีได้ ทำไมอาเซียนจะพูดเรื่องทักษิณไม่ได้
พร้อมทั้งประกาศสร้างบ้านพักรองรับให้เพื่อน ที่มีชื่อว่า ทักษิณ ชินวัตร ได้พักอาศัยที่กัมพูชา คุมงานก่อสร้างด้วยตนเอง
มิหนำซ้ำยังประกาศชัดเจนแบบไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม หน้าเทวดาตนไหนในพื้นแผ่นดินไทยว่า
ยังไงก็ไม่ส่งตัว ทักษิณกลับในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน เพราะรู้ดีว่าคดีที่ทักษิณโดนเป็น คดีทางด้านการเมือง

เล่นเอารัฐบาลวิ่งราวตั้งรับไม่ถูก นายกโพเดียมก็พลาดไปโต้ตอบผ่านการแถลงการณ์ในที่ประชุมอาเซียน
โดยลืมไปว่า ฮุนเซนมาเยือนในฐานะแขกบ้านแขกเมือง ไม่ใช่นักการเมืองฝ่ายค้าน เป็นการเดินเกมส์ที่ไรัวุฒิภาวะ
อย่างสิ้นเชิง เจอฮุนเซนมามุกนี้ รัฐบาลวิ่งราวก็หาทางเดินแทบไม่เป็น

ที่เด็ดกว่านั้น ซั้าไปอีกดอก ก็คือหลังจากฮุนเซนกลับไปเพียงแค่สองอาทิตย์ ก็ออกมาตีวัวกระทบคราดอีกหน
ด้วยการที่ รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์แต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไืทย
ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาส่วนตัวของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
รวมถึงดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจรัฐบาลกัมพูชา ขณะที่พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันแห่งกัมพูชา ได้ทรงลงพระนามรับรองพระราชกฤษฎีกาแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ
เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งดอกนี้คาดว่า คงจะสร้างความปั่นป่วนให้กับนายกโพเดียม ได้สะเทือนไปทั้งขบวนอย่างแน่นอน
เพราะไหนจะต้องหาทางรับมือ โต้ตอบที่เหมาะสม หลังจากพลาดท่า โชว์ความไร้วุฒิภาวะในครั้งก่อน
และไหนจะต้องตอบคำถามกับเหล่าบรรดาฮาร์ดคอร์ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ กองทัพทำลายล้างประชาธิปไตย
ที่เคยฮึ่มๆ จะส่ง F16 ไปถล่มเอาพระวิหารคืน หวังว่าจะเห็นการโต้ตอบที่รุนแรงจากนายกโพเดียมต่อฮุนเซน

งานนี้ไม่คางเหลืองก็เห็นดวงดาววนอยู่รอบทิศ

แต่ที่อาจจะต้องกระอักเป็นเลือดเหมือนจิวยี่ เห็นที่จะเป็นเหล่าบรรดาอมาตย์ที่อยู่เบื้องหลัง
ถ้าวันใดที่ทักษิณ ย้ายถิ่นจากดูไบ มากัมพูชา หอกข้างแคร่อันนี้ คงทำให้ถึงกินไม่ได้นอนไม่หลับ
กระสับกระส่าย ถ่ายไม่ออกเป็นแน่แท้ เพราะแววแห่งความพ่ายแพ้เริ่มขยับเข้าใกล้เต็มที!

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

'มาตุภูมิ'หนุนบิ๊กจิ๋วตั้ง "นครปัตตานี-นิรโทษโจรใต้" แนะรัฐบาลใจกว้างฟังบ้าง

มติชน : พรรคมาตุภูมิ หนุนแนวคิดตั้ง”นครปัตตานีแก้ไฟใต้ แนะรบ.เปิดใจกว้างรับฟังอย่ามัวแต่ค้าน ชี้”ชวลิต”คงไม่ปัญญาอ่อน”ไม่รู้สิ่งเสนอผิดหรือถูกกม. “อารีเพ็ญ”ชี้นิรโทษกรรมโจรใต้ถ้าคดีอาญาต้องตามกม. “บิ๊กจิ๋ว”แจง3ขั้นตอนสำคัญ ก่อนเริ่มนครปัตตานี “เทพไท”จี้ชัดเจน เย้ยสุดท้ายเหลือแค่อบจ.-อบต.

มาตุภูมิแนะรบ.ใจกว้างรับฟังคตั้ง”นครปัตตานี”

ที่รัฐสภา นายมุข สุไลมาน โฆษกพรรคมาตุภูมิ แถลงถึงกรณีที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เสนอแนวคิดการตั้งนครปัตตานี เพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ถือว่า เป็นการช่วยกันคิดหาทางออกให้ประเทศ รัฐบาลน่าจะฟังมากกว่าจะออกมาคัดค้าน หรือโต้แย้ง เพราะที่ผ่านมาแก้ปัญหาไม่ได้ แก้แบบเดิมๆซ้ำๆจนเสียทรัพย์ เสียชีวิตคน แต่ผลก็ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น รัฐบาลออกมาบอกว่า การแก้ปัญหามาถูกทางแล้ว แต่ถามว่า ที่ยังตายกันอยู่ มาถูกทางตรงไหน ฉะนั้น ต้องเปลี่ยนวิธีการแก้ไข เพราะแต่ละวันเดิมพันด้วยชีวิตประชาชน

“รัฐบาลถ้าใจกว้างรับฟัง จะเป็นสิ่งดี ก่อนหน้านี้ผมเคยเสนอแนวคิด การปกครองตนเอง ทั้งส่วนตัวกับนายกฯและในที่สาธารณะ นายกฯก็รับฟังแต่ไม่นำไปศึกษา นักวิชาการหลายคนก็เสนอแนวคิดต่างๆ วันนี้พล.อ.ชวลิต เสนอมาอีกแนวหนึ่งก็น่าสนใจ รัฐบาลควรไปทำความเข้าใจกับพล.อ.ชวลิต ว่า รายละเอียด โครงสร้างการกระจายอำนาจดังกล่าวเป็นอย่างไร แล้วรัฐบาลก็เอาไปศึกาา ถ้าดูแล้วเป็นประโยชน์ก็นำไปใช้ ถ้ารัฐบาลหวังดี จริงใจแก้ปัญหาจริง อย่าไปคิดว่า พล.อ.ชวลิต มาหาเสียง หรือดิสเครดิตรัฐบาล หรือว่ากันไปถึงการแบ่งแยกดินแดน ขายชาติ ผิดกฎหมาย ซึ่งมันไม่ใช่ ผมเชื่อพล.อ.ชวลิต บริสุทธิ์ใจในการเสนอแนวทางแก้ปัญหา และท่านคงไม่ปัญญาอ่อนถึงขนาดไม่รู้ว่า ที่เสนอมานั้นผิดหรือถูกกฎหมาย” นายมุข กล่าว

โฆษกมาร์คจี้”จิ๋ว”ชัดเจนเย้ยสุดท้ายเหลือแค่อบจ.-อบต.

ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 4 พ.ย. นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แถลงถึงกรณีที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอแนวคิดเรื่องนครปัตตานีมา 3 วันแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดเผยโมเดล พิมพ์เขียวหรือรายละเอียดของแนวคิดนี้เลยว่าเป็นอย่างไร จึงอยากเรียกร้องให้ พล.อ.ชวลิตพูดอะไรมาให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นคนจะโยงได้ว่าเกี่ยวข้องกับแนวคิดสภาเปรซีเดียม แนวคิดล้มปืนล้มทุนล้มเจ้า กับแนวคิดนี้แล้วสงสัยว่า พล.อ.ชวลิตมีเจตนาอะไรกันแน่ การที่พล.อ.ชวลิตเปรียบเทียบว่านครปัตตานีกับการปกครองของนครเชียงใหม่ที่ปกครองแบบเทศบาลนครนั้น หากจะทำจริงก็สามารถทำได้ ไม่จำเป็นต้องออกมาจุดพลุแนวคิดนี้ให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์ เพราะจะเหมือนกับการโยนระเบิด แล้วจากนั้น พล.อ.ชวลิตจะคอยมาเก็บเศษซากที่เหลือ ตนอยากให้ พล.อ.ชวลิตไปพูดคุยกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พท.ที่เคยเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาภาคใต้โดยยกระดับเป็นเขตปกครองตัวเองเช่นเดียวกับมณฑลซินเกียงในประเทศจีน ว่ามีแนวคิดตรงกันไหม แล้วแนวคิดนี้ของร.ต.อ.เฉลิมปัจจุบันหายไปไหน

“การพูดกลับไปกลับมาของ พล.อ.ชวลิตจากเดิมที่เสนอนครรัฐปัตตานี แล้วเป็นนครปัตตานี ทำให้ผมเชื่อว่าสุดท้าย ก็จะเหลือแค่การจัดตั้งอบจ.หรืออบต.เท่านั้น” นายเทพไท กล่าว

“ชวลิต”แจง3ขั้นตอนสำคัญ ก่อนเริ่มนครปัตตานี

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ถึงกรณีนักการเมืองบางคนตีความการตั้งนครปัตตานีอย่างผิดความหมาย โดยแสดงความเป็นห่วงว่าจะทำให้สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงมากขึ้นว่า คนเหล่านั้นไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนพยายามสื่อ การตั้งนครปัตตานีที่ตนพูดนั้น เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอน คือ 1.ตามทฤษฎีดอกไม้หลากสี ที่หมายถึงการให้ผู้คนที่มีความแตกต่างมาอยู่รวมกันเป็นสังคมที่สวยงาม 2.ขั้นตอนการถอยคนละ 3 ก้าว ซึ่งหมายความถึงกลุ่มที่มีความขัดแย้งต้องถอย เพื่อให้เกิดช่องว่างในการพูดคุยกัน และ 3.เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนแล้ว จึงค่อยเริ่มขั้นตอนของการตั้งนครปัตตานี เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร

พล.อ.ชวลิต กล่าวต่อว่า ภายหลังการเดินทางไปเยือนพื้นที่ภาคใต้ ในปลายสัปดาห์นี้พรรคเพื่อไทยมีกำหนดจัดสัมมนาที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายพบประชาชนในภาคอุตสาหกรรม ก่อนเดินทางเยือนมาเลเซีย ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนนี้

“ประวิตร”ชี้แนวคิดต้องทำภายใต้กฎหมาย

ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงข้อเสนอการจัดตั้งนครปัตตานีของ พล.อ.ชวลิต ว่า ถือเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวและทุกอย่างต้องดำเนินการตามกฎหมาย

“อารีเพ็ญ”หนุน”บิ๊กจิ๋ว”เสนอนครปัตตานี แต่พูดตอนนี้ทำให้สับสน

นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคมาตุภูมิ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับรูปแบบการปกครองพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากมีความสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ รูปแบบวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมในพื้นที่ แต่การเสนอจัดตั้งนครปัตตานีขณะนี้ อาจเป็นการไม่เหมาะสม และจะทำให้เกิดความสับสน เพราะพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่รัฐบาลและไม่ใช่เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม หากในอนาคต ภายหลังการเลือกตั้ง พล.อ.ชวลิตและพรรคเพื่อไทยยังยืนยันเรื่องนี้ ก็ควรเสนอเป็นนโยบายและถามความต้องการของคนในพื้นที่ด้วย

ส่วนเสนอแนวคิดการนิรโทษกรรมผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ กล่าวว่า หากเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ก็สามารถดำเนินการได้ แต่หากเป็นคดีอาญาต้องดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตนไม่ทราบกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แต่ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ที่นายกฯ จะนำปัญหาภายในประเทศไปคุยกับต่างประเทศ

“สุเทพ”ซัด”บิ๊กจิ๋ว”ลงใต้ไร้สาระ ยันไม่คิดเจรจา-นิรโทษฯ โจร

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง กล่าวถึงกรณีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีสาระ ขณะที่การเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนั้น ได้มีความพยายามมาหลายยุคหลายสมัย เนื่องจากมีหลายกลุ่ม อีกทั้งมีหลายทีมที่ทำตัวเป็นคนกลางเจรจา ตนขอยืนยันว่า ในฐานะที่ดูแลงานด้านความมั่นคงและดูแลพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตนไม่มีแนวความคิดเจรจา แต่จะทุ่มเทยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีรายได้มากขึ้น

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ส่วนการเสนอให้นิรโทษกรรมผู้ก่อความไม่สงบนั้น คิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะจะให้นิรโทษกรรมผู้ที่เคยฆ่าผู้บริสุทธิ์ เป็นคนละหลักการกับการให้อภัย อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าข้อเสนอต่างๆ ของพล.อ.ชวลิต จะไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย

รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวอีกว่า การเสนอโครงการฮารับปันบารู เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ พล.อ.ชวลิต ตนไม่คิดว่าจะมีสิ่งใด เนื่องจากเป็นแนวความคิดที่มีการเสนอมาแล้วในขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งดำเนินการแล้วไม่เกิดผล

“อาจารย์มธ.”บอกชัดเขตปกครองตนเอง ไม่ใช่แบ่งแยกดินแดน

นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงแนวคิดของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ที่เสนอให้ตั้งนครปัตตานีเพื่อแก้ไขปัญหาไฟใต้ว่า รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เพราะยังมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทางหาออกของปัญหา มี 2 แนวทาง คือ 1.การส่งกำลังทหารเข้าไป ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ และ 2. การยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของทางการเมือง ดังนั้น ทางออกในเรื่องนี้ จึงควรใช้วิธีทางการเมือง ด้วยการจัดความสัมพันธ์ของท้องถิ่นในทางอำนาจใหม่ ซึ่งแนวความคิดของพล.อ.ชวลิต ตนคิดว่าน่าจะอยู่ในแนวทางนี้ ซึ่งจะมีทั้งผลดีและผลเสีย โดยผลเสีย คือ การถูกวิพากษ์วิจารณ์

“แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองตนเองหรือไม่ปกครองตนเองนั้น ผมมีข้อสังเกตอยู่ 2 ประเด็น คือ 1. เราต้องคิดการปกครองตนเองเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง 2.ต้องการปกครองตนเองในบริบทของสังคมการเมืองแบบไทย โดยข้อสรุปในเรื่องนี้ ด้านวิชาการที่มีการศึกษากันมาทั่วโลกนั้น มีความเป็นไปได้ทั้งสองแนวทาง ในกรณีที่มีการเสนอแนวทางให้ปกครองตนเองแล้ว สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด แต่ในบางกรณีก็ได้มีการนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนอยู่เหมือนกัน” นายชัยวัฒน์ กล่าว

เมื่อถามว่า จากข้อสรุปทางวิชาการ เมื่อเปรียบเทียบกับปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากจะมีการแบ่งแยกเป็นนครปัตตานี คิดว่าจะยุติปัญหาความขัดแย้ง หรือจะเป็นการไปเพิ่มความแตกแยก นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าคนที่ต้องการหาเรื่องยังมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ตนขอชี้แจงว่าคำว่าเขตปกครองตนเอง ไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดน

เมื่อถามว่า การใช้คำว่าปกครองตนเอง สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้หรือไม่ นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ตนอยากจะชี้ให้เห็น 3 ข้อ คือ 1. สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา 2.สังคมไทยเป็นรัฐเดียว ที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ 3. สังคมไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหากถามว่าในต่างประเทศมีการใช้ในรูปแบบนี้หรือไม่ คำตอบคือมี เช่น อังกฤษ และญี่ปุ่น ซึ่งสองประเทศดังกล่าวต่างก็มีเขตปกครองตนเอง ดังนั้น การที่จะพูดว่าแนวคิดนี้ทำได้หรือไม่ได้ จะโต้แย้งอยู่บนฐานความรู้และข้อเท็จจริง

“ถาวร”สวน”หมอแว” ไม่เคยรับปากตั้งเขตปกครองพิเศษ

นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าววันที่ 4 พฤศจิกายนตอบโต้กรณีที่นพ.แวมาฮาดี แวดาโอะ ส.ส.นราธิวาส พรรคเพื่อแผ่นดิน ออกมาให้สัมภาษณ์โดยอ้างข้อมูลหนังสือพิมพ์ในมาเลเซีย ที่ระบุว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทยได้รับปากกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ผ่านมา ถึงการปกครองของ 3 จังหวัดภาคใต้ โดยว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง นายอภิสิทธิ์ไม่เคยรับปาก

นายถาวร กล่าวต่อว่า ตนอยากตั้งคำถามถึง พล.อ.ชวลิต ถึงแนวคิดจะหาทางลงให้กลุ่มก่อความไม่สงบ โดยการนิรโทษกรรมว่า จะทำเรื่องให้กับกลุ่มที่ฆ่าชาวบ้านและพระด้วยหรือไม่ ตนขอให้ พล.อ.ชวลิตพูดให้ชัด เพราะที่ผ่านมาพูดไม่ชัดเจนสักเรื่อง ทั้งเรื่องนครปัตตานี ก็พูดไม่ชัดว่ารูปแบบจะเป็นอย่างไร

ส่วนกรณีที่มีการชูนโยบายนำตัวผู้กระทำความผิดในต่างแดนกลับประเทศนั้น นายถาวร กล่าวว่า รัฐบาลดำเนินการมานานแล้ว และไม่รู้ว่า พล.อ.ชวลิต จะทำได้อย่างไร เพราะทำในฐานะฝ่ายค้าน กฎหมายคงไม่รองรับ แต่รัฐบาลจะนำคนไทยในต่างแดนที่ทำผิด ทั้งเรื่องการหลบหนีเข้าเมือง กลับประเทศเอง อีก 400 คนในปีหน้า ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลทำมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งทำอย่างที่พล.อ.ชวลิตพูด

3G ปมปัญหาและระเบิดเวลา มุมมองของนักกฎหมาย มหาชน "วรเจตน์ ภาคีรัตน์"


เปิดมุมมองรศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ต่อกรณีเปิดใบอนุญาต3จี ทั้งประเด็นร้อน"อำนาจกทช."ยังมีอยู่หรือไม่หลังกรรมการกทช.ลาออกไป1ท่าน เรื่องความมั่นคง ข้อกังขาเรื่องต่างด้าวที่จะเข้ามาแข่งขัน ผลประโยชน์ของทีโอที-กสท. การฟ้องร้องทางคดีในอนาคต มุมมองของนักกฎหมายมหาชน(ส่วนน้อย)คนนี้น่าสนใจทุกครั้งที่ออกมาให้ความเห็น

บนโต๊ะกลมของการเสวนา "โอกาสและอุปสรรค 3G ในประเทศไทย" จัดโดยเดอะเนชั่น บรรดาโอเปอเรเตอร์ทั้งเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟต่างฝ่ายต่างย้ำในจุดยืนของตนเองวนไปมา ทั้งเรื่องความมั่นคง ผลประโยชน์ของผู้บริโภค ผลกระทบกับทีโอทีและ กสทฯที่จะเกิดหลังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดประมูลใบอนุญาตความถี่ 2100 MHz เพื่อให้บริการมือถือ 3G
ขณะที่ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้หยิบยกหลายประเด็นทางกฎหมายที่มักมีการอ้างถึงมาเปิดมุมมองอีกด้านจากการตีความในฐานะนักกฎหมายมหาชน

เริ่มที่ประเด็นร้อนว่าด้วยอำนาจของ "กทช." มีอยู่หรือไม่ เมื่อรัฐธรรมนูญระบุให้มีองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่เพียงองค์กรเดียวตามรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ผลักดันให้เกิดขึ้นไม่ทัน 180 วัน ตามบทเฉพาะกาลกำหนด

"ผมมองว่าระยะเวลา 180 วัน ในบทเฉพาะกาล คือ ระยะเวลาเร่งรัด ไม่ใช่ระยะเวลาบังคับ เพราะถ้าเป็นระยะเวลาบังคับจะระบุไว้ว่า ถ้าทำไม่เสร็จแล้วจะให้ยุบไป หรือตั้งต้นกระบวนการใหม่ เหมือนที่ในรัฐธรรมนูญ 2540 เขียนไว้ แต่เมื่อในรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ได้กำหนดไว้จึงเป็นแค่ระยะเวลาเร่งรัด คือ ถ้าทำช้ารัฐบาลก็จะถูกตำหนิทางการเมือง ไม่มีผลทางกฎหมาย ฉะนั้นองค์กรเดิมก็ยังมีอำนาจอยู่"

แม้ กทช.จะลาออกไป 1 คน ไม่ครบ 7 คน ตามกฎหมายเดิม คือ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรฯซึ่งยังใช้อยู่ เพราะยังไม่มีใครบอกให้ยกเลิกในกรณีนี้ ตามกฎหมายเดิมกำหนดให้องค์ประกอบลดเหลือ 6 คน และให้ผู้ทำหน้าที่รักษาการแทนผู้จับฉลากออกทำหน้าที่ต่อไปได้ ฉะนั้นกรณีนี้ กทช.มีอำนาจเต็มที่ที่จะทำได้ แต่ต้องดูว่าแล้วมีความเหมาะสมแค่ไหน

"ถ้าเอาประเด็นเรื่องอำนาจของตัวองค์กร กทช.มีอำนาจให้ใบอนุญาต 3G ได้ แต่ควรรอคนที่วุฒิสภาจะเลือกมาแทนเพื่ออยู่ไปจนกว่า กสทช.จะเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องมาคิดกัน เพราะถ้าจะตีความเรื่องนี้ต่อไปก็จะมองได้ว่าเป็นแค่ชุดชั่วคราวระหว่างรอองค์กรใหม่อีก คือ ถ้าเอาเรื่อง 3G ไปผูกกับตัวองค์กรมากไปก็จะทำอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 1 ปี ก่อนมี กสทช. ฉะนั้นการตีความกฎหมายต้องให้ทุกอย่างไหลลื่นต่อไปได้"

ขณะเดียวกันถ้าเป็นเรื่องของอำนาจขององค์กร ทางปกครองก็มี พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาตรา 19 กำหนดไว้ว่า ถ้าปรากฏในภายหลังว่าเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานที่ไม่มีอำนาจก็ไม่กระทบถึงสิ่งที่ได้ทำไป ฉะนั้นถ้าทำไปแล้วยังคงอยู่ ยกเว้นแต่จะมีเรื่องที่บกพร่องรุนแรงขนาดทำให้เสียเปล่าหรือเป็นโฆฆะไป ซึ่งเกิดขึ้นไม่ง่าย หรือมีปัญหาว่า กทช.ไปฮั้วกับคนประมูลก็เป็นอีกเรื่อง
ดังนั้นการกระทำใด ๆ ของ "กทช." ตอนนี้จะผูกพันต่อเนื่อง เมื่อเอกชนได้ใบอนุญาตเพราะเกิดขึ้นบนฐานของคำสั่ง กทช. ฉะนั้นแม้จะมีองค์กรจัดสรรคลื่นฯใหม่ ทุกอย่างก็ยังคงอยู่ เว้นแต่กฎหมายใหม่จะไปเขียนอะไรที่เปลี่ยนไป ซึ่งก็อาจมีปัญหาว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะได้สิทธิตามใบอนุญาต แต่ถ้า กทช.ส่งเรื่องอำนาจขององค์กรไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็ต้องดูประเด็นที่ส่งถามว่า มีอำนาจหรือเปล่า

ถ้าตั้งคำถามในเชิงขอคำปรึกษา ศาลอาจไม่ตอบ เพราะไม่ได้มีหน้าที่ให้คำปรึกษา มีหน้าที่ตัดสินเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ไปบอกว่า คุณทำได้ ทำไม่ได้ก่อน คุณต้องดูกฎหมายของคุณเองแล้วตัดสินใจไป หากมีคนไม่เห็นด้วยเขาก็จะมาฟ้องศาล

สำหรับประเด็นความมั่นคง "ดร.วรเจตน์" มองว่าอาจตกไปตั้งแต่ให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แล้วยอมให้สัญญาร่วมการงานต่าง ๆ คงอยู่ แถมรัฐธรรมนูญยังระบุให้มีการเปิดเสรีโทรคมนาคม แต่ทุกอย่างสามารถควบคุมได้ด้วยการกำกับดูแลของ กทช.ที่มีอำนาจในการพักใช้ การเพิกถอนใบอนุญาต ฉะนั้นประเด็นเรื่องความมั่นคงสามารถแก้ไขได้ด้วยการกำกับกิจการที่ดี

ขณะที่ข้อกังขาเรื่องรัฐต่างด้าวที่จะเข้ามาแข่งขันว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ขอยืนยันว่า ในรัฐธรรมนูญไทยคำว่า "รัฐ" ย่อมหมายถึงรัฐไทย หากจะหมายถึงรัฐต่างด้าวจะถูกเขียนไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ กรณีนี้หากรัฐต่างด้าวเข้ามาทำธุรกิจในไทยย่อมเข้ามาในฐานะเอกชน ไม่มีสิทธิพิเศษใด ๆ และย่อมถูกควบคุมด้วยกฎหมายเอกชนของไทย ฉะนั้นการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศต้องมีความแน่นอนในกฎหมาย คือ พ.ร.บ. ประกอบกิจการคนต่างด้าว รัฐบาลจะเอาอย่างไร เปิดให้แค่ไหน ถ้าอยากจะปรับก็ไปปรับเงื่อนไขในตัว พ.ร.บ.ต่างด้าว

"การให้ต่างชาติทำธุรกิจโทรคมนาคมได้มากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องนโยบายของรัฐที่ต้องกำหนดขึ้น โดยส่วนตัวไม่ได้กลัวทุนต่างชาติในธุรกิจนี้ เพราะโครงข่ายตั้งอยู่ในประเทศเรา คลื่นความถี่อยู่กับเรา ไม่ได้ไปไหน เรื่องการควบคุมสามารถทำได้เพราะเราเป็นคนออกคำสั่งให้ใบอนุญาต ถ้าเขาไม่ทำตามก็พักใบอนุญาต หุ้นก็ตกระเนระนาด เขาไม่กล้าหรอก เรื่องความมั่นคงผมว่าอยู่หลัง ๆ เลยนะ ไม่ใช่ว่าผมมองไม่เห็นแต่มองว่าประเด็นมันอ่อน เพราะมันเป็นคลื่นพาณิชย์ไม่ใช่คลื่นทหาร"

ดร.วรเจตน์ย้ำว่า เราต้องยอมรับว่า เราไม่มีเงิน และเทคโนโลยีพวกนี้เราไม่ได้สร้างขึ้นได้เอง ฉะนั้นต้องมาดูว่าแล้วรัฐบาลจะเอาอย่างไร ถ้าเห็นว่าเทคโนโลยีพวกนี้ไม่จำเป็น เราไม่มีเงินก็ไม่ใช้ ก็จบ ไปเขียนระบุห้ามต่างชาติไว้ใน พ.ร.บ.ธุรกิจคนต่างด้าว
"ตอนนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต้องการ แต่เราต้องเข้าใจด้วยว่าเมื่อเขาเข้ามาทำธุรกิจในประเทศเรา เขาต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเรา เราไม่ได้สูญเสียอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายไป เขาเข้ามาในฐานะเอกชน นโยบายจะเอาอย่างไรก็เขียนไป"

เรื่อง 3G เป็นเรื่องที่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย เชื่อว่าต้องมีการใช้กระบวนการทางกฎหมายมาเบรกให้กระบวนการให้คลื่น 3G หยุดลง ทีโอทีกับ กสทฯเองก็มีการพูดออกมาแล้วว่า หากมีการให้ใบอนุญาต 3G จะเสียผลประโยชน์ ฉะนั้นการฟ้องคดีจะเกิดขึ้นอยู่แล้ว เป็นเหมือนระเบิดเวลาที่รออยู่ข้างหน้าที่รัฐบาลต้องเตรียมรับมือ ตอนนี้ผมบอกได้แต่มุมมองของผม ตอนที่คดีไปถึงศาลก็ต้องรอดูว่าศาลจะตัดสินอย่างไร

ที่อยากจะบอก คือ เงินจากส่วนแบ่งรายได้ตามสัมปทานที่เข้าทีโอทีกับ กสทฯไม่ใช่เข้ารัฐโดยตรง เพราะถ้าเข้ารัฐโดยตรงต้องส่งเข้าคลัง แล้วรัฐบาลส่งเงินมาอุดหนุนทั้ง 2 องค์กร แต่เงินก้อนนี้เป็นการส่งให้ "ทีโอทีกับ กสทฯ" ใช้ก่อน พอเหลือค่อยส่งเข้ารัฐซึ่งไม่ถูกต้อง แต่ถ้าพูดแบบนี้ทั้ง 2 องค์กรก็ไม่พอใจ แต่หลักเป็นแบบนั้นจริง ๆ

ฉะนั้นหลักการที่ถูกต้อง คือ ต้องหาวิธีการทำอย่างไรให้ทีโอทีกับ กสทฯแข็งแรงที่จะสู้กับเอกชนในตลาด ทั้ง 2 องค์กรต้องปรับตัว อย่าไปหวังเรื่องรายได้สัมปทานอีก เพราะต่อให้เอาผู้รับสัมปทานทั้ง 3 รายออกไปไม่ให้เข้าประมูล แล้วให้บริษัทอื่นเข้ามาให้บริการเลย ลูกค้าก็ต้องย้ายออกอยู่ดี ถ้าเขาเห็นว่าระบบใหม่ดีกว่า เป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขัน การเปลี่ยนถ่ายจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของเทคโนโลยีอยู่แล้ว การที่ผู้ให้บริการจะเป็นใคร ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 100%

จากที่ประเมินดูมีความเป็นไปได้ว่า แม้จะมีใบอนุญาต 3G แต่ไม่ใช่ทุกรายจะอยู่รอดในตลาด อาจมีรายหนึ่งที่อยู่ไม่ได้แล้วออกจากตลาดไป เพราะแม้ต้องจ่ายค่าใบอนุญาตแพงแต่ต้องแย่งลูกค้ากัน

"เราต้องมองในหลายมิติว่า ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ต้องมองว่าจะเกิดการแข่งขันไหม เพราะเมื่อก่อนมือถือแพงมาก เมื่อเกิดการแข่งขัน ราคาถูกลงมาจนถึงหลักสตางค์ นี่คือข้อดีที่ตกกับประชาชน ฉะนั้นจะคิดถึงเฉพาะเม็ดเงินที่รัฐจะได้จากสัมปทานหรือการประมูลใบอนุญาตอย่างเดียว คิดจากตัวเงินอย่างเดียวไม่ครอบคลุม"

ประเด็นใหญ่ของ "3G" คือ การเปลี่ยนระบบจากสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาต แล้วให้ทุกรายแข่งกัน ปัญหาของโทรคมนาคมไทย คือ ตั้งแต่ตอนแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 เป็นบริษัทกลับคงสัญญาสัมปทานไว้จึงเกิดเป็นปัญหา แถมยังเพิ่มปัญหาจากการสร้างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ให้ไปทำลายระบบที่วางเอาไว้แล้ว เป็นการเขียนกฎหมายเพื่อล้มองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีอยู่เดิม ไม่ได้เขียนเพื่อปรับปรุงกฎหมาย

"ถ้าเขียนเพื่อปรับปรุงทุกอย่างยังสืบเนื่องต่อไปได้ แต่เมื่อเขียนเพื่อล้มไปแล้วก็ต้องเกิดองค์กรใหม่ขึ้นมา มีโครงสร้างใหม่ที่มีองค์กรย่อยขึ้นมาข้างใน 2 หน่วย ขณะเดียวกันหากรัฐบาลจะให้มีการแปรสัมปทานในตอนนี้ก็จะมีปัญหาอีก เพราะรัฐธรรมนูญดันไปเขียนเอาไว้ว่า จะต้องไม่มีอะไรไปกระทบสัญญาสัมปทานที่ให้มาอยู่แต่เดิม จนกว่าสัญญาสัมปทานจะสิ้นผล"

ปัญหา คือ สัมปทานจะสิ้นผลอย่างไร สิ้นผลด้วยเงื่อนเวลา คือรอจนกว่าสัญญาจะหมดอายุ ถ้าตีความอย่างนั้นเท่ากับว่าจะไปทำอะไรกับสัญญาสัมปทานไม่ได้เลย

ดังนั้นแม้การแปรสัญญาสัมปทานจะช่วยให้ทุกอย่างชัดเจนขึ้น แต่เชื่อว่าไม่ว่าไปทางไหนจะต้องมีการฟ้องคดี ไม่ว่าจะเป็นสหภาพแรงงานของทั้ง 2 องค์กรที่จะฟ้องว่า ระบบใหม่ทำให้เขาขาดรายได้ แม้รัฐบาลมีนโยบายในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะทำได้แต่ก็จะโดนประท้วงจากอีกฝ่าย รับรองว่ายุ่งเหยิงแน่นอน เหตุเพราะไม่ทำให้เสร็จไปตั้งแต่แปรรูปทั้ง 2 องค์กร แล้วรัฐธรรมนูญก็เขียนแบบให้สร้างปัญหาผูกพันกันมาแทนที่จะแก้ปัญหา

ส่วนที่แผนแม่บทไอซีทีกำหนดไว้ให้มีการแปรรูปสัญญาสัมปทานภายในปี 2553 เป็นแผนที่รัฐบาลกำหนดขึ้น จะทำได้แค่ไหนไม่รู้ ถ้าทำไม่ได้ก็ถูกฝ่ายค้านด่า ถ้าทำก็จะมีคนยกรัฐธรรมนูญมาอ้างว่า รัฐธรรมนูญคุ้มครองอยู่

"พอรัฐธรรมนูญเขียนไว้แบบนี้จะตีความแบบสี่เหลี่ยมได้ว่า คุณต้องให้สัมปทานอยู่เหมือนเดิมจนหมดอายุสัญญา ไม่สนใจว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ต้องให้มันคงอยู่แบบนี้ ผมเห็นว่าการเขียนรัฐธรรมนูญแบบนี้เป็นไปไม่ได้ในความจริง ยิ่งสัญญาสัมปทานที่มีอายุยาว ๆ ไม่มีทางรู้ได้ว่าสภาพเศรษฐกิจ สภาพของโลกจะเป็นอย่างไร ธรรมชาติเปลี่ยนก็จะกลับมามีผลกระทบต่อสัญญาตัวนี้อยู่ดี"
แม้ ครม.จะรับรองให้แผนนี้เป็นกรอบพัฒนาไอซีทีของประเทศแต่ยังอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ฉะนั้นถ้ารัฐบาลจะเดินหน้าแปรสัญญาตามแผนก็ต้องมีการพิจารณาต่อไปว่าจะจัดการอย่างไรกับรัฐธรรมนูญที่มีปัญหากับการตีความ

ปัญหาเหล่านี้การแก้รัฐธรรมนูญสามารถเคลียร์ได้แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้ามีปัญหาเรื่องบทเฉพาะเกี่ยวกับองค์กรจัดสรรฯก็แก้ให้ชัด เรื่องจะแปรสัญญาสัมปทานจะเอาอย่างไรก็กำหนดให้ชัด แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก ทำไม่ได้หรอก ใครผลักดันขึ้นมารับรองตายแน่นอน
เช่นเดียวกับผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานมือถือของทั้ง 3 รายที่มีออกมาก่อนหน้านี้เชื่อว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น

"ผมเองไม่เห็นด้วยกับการตีความ เพราะสัญญาสัมปทานทำขึ้นก่อนมี พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ พอปี 2535 พ.ร.บ.บังคับใช้ก็มีการแก้ไขสัญญาเกิดขึ้น พอมีการรัฐประหารก็มีประเด็นเรื่องทำไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. จนส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความ ผลก็คือก็ยังใช้ได้จนกว่าจะถูกเพิกถอน แต่ปัญหา คือ แล้วจะทำอย่างไร ถ้าไปเพิกถอนสัญญาเขา เอกชนฟ้องเละเลยนะ เอกชนจะไปรู้หรือว่าต้องทำตาม พ.ร.บ. ฝ่ายรัฐต้องรู้ จะปล่อยไว้แบบนี้ แบบลืม ๆ กันบ้าง รื้อ ๆ กันบ้าง ประเทศนี้เป็นแบบนี้

บ้านจุ่มเมืองเย็น เมื่อแดงกับเหลืองพูดคุยกัน


ชำนาญ จันทร์เรือง

นับแต่หลังการยึดสนามบินและสงกรานต์เลือดเป็นต้นมา สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันนับว่าอยู่ในภาวะวิกฤติและร้อนแรงเป็นที่สุด ไม่ว่าการออกมาประกาศตัวชัดเจนของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธว่าต่อนี้ไปไม่เป็นแล้วโซ่ข้อกลางขอเลือกข้างเพื่อไทยดีกว่า พร้อมๆกับการให้สัมภาษณ์ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ที่ได้ส่งคนไปเตือนพลเอกชวลิตว่า

“คือวันนั้นก่อนที่จิ๋วจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ผมก็ให้คนไปบอกเขาว่า จะทำอะไรขอให้คิดให้รอบคอบ ไตร่ตรองให้รอบคอบ ซึ่งผมใช้คำว่า”ไตร่ตรองให้รอบคอบ”ไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นการกระทำที่เป็นการทรยศต่อชาติ” จนกลายเป็นประเด็นทางการเมืองที่เสื้อแดงนำคดีไปฟ้องร้องเพื่อเอาเรื่องเอาราว และ พลเอกชวลิตก็ออกเดินสายพบปะกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้านจนเป็นประเด็นตอบโต้ทางการเมืองระหว่างประเทศบดบังประเด็นสำคัญของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่หัวหินไปเสีย

หลังจากนั้นก็มีประเด็นของการถอดยศและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณที่คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าสามารถทำได้ จนทำให้สื่อของเสื้อแดงทุกแขนงโหมประโคมว่าเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมโดยยกกรณี พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ และ พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ นักโทษประหารว่าก็ยังมิได้มีการดำเนินการถอดยศแต่อย่างใด

ในท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ผู้คนในบ้านเมืองพากันวิตกกังวลว่าเห็นทีจะเลี่ยงความรุนแรงไปไม่ได้เสียแล้วกระมัง แต่อย่างไรก็ตามในความร้อนแรงเช่นนี้ ก็มีความชุ่มเย็นในจิตใจของผู้คนที่ทราบถึงความพยายามของกลุ่มคนกลุ่มที่ถูกจัดอยู่ฝ่ายสายพิราบของทั้งฝ่ายเสื้อแดงและเสื้อเหลือง ที่ได้มีการปรึกษาหารือกันถึงความเป็นไปได้ที่จะหันมาร่วมมือพูดคุยกัน ก่อนที่บ้านเมืองจะพลัดตกหุบเหวของความหายนะจนไม่สามารถกอบกู้ได้

ข่าวคราวของการพูดคุยกันของเสื้อแดงกับเสื้อเหลืองที่มีทั้งการขึ้นเวทีเดียวกันในครั้งแรกที่เพชรบุรี ตามมาด้วยที่พะเยาและมีการดำเนินการอย่างเงียบๆ อย่างต่อเนื่องในจังหวัดเชียงใหม่ที่เรียกว่าเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดง โดยต่างแสวงหาจุดร่วมที่ตรงกันนั่นก็คือความเป็นธรรมในสังคม เพราะทั้งฝ่ายมีสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ต้องออกมาเคลื่อนไหวก็ด้วยเหตุเพราะ "ความอยุติธรรม" ในสังคมที่อำนาจทางการเมืองถูกผูกขาดโดยคนไม่กี่ตระกูล ไม่กี่อาชีพ คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง อำนาจทางธุรกิจ ถูกผูกขาดโดยคนไม่กี่กลุ่มที่แอบอิงอำนาจรัฐ ฯลฯ ซึ่งการเคลื่อนไหวของเสื้อแดงนั้นเน้นไปที่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและการยอมรับในเสียงส่วนใหญ่ที่ประชาชนตัดสินใจ

ส่วนฝ่ายเสื้อเหลืองนั้นเน้นไปที่การเมืองที่มีคุณธรรม ความรักชาติและประชาธิปไตยที่ไม่ให้ความสำคัญเพียงเฉพาะการเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นจุดร่วมที่สามารถพูดคุยกันได้ และทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะงดเว้นการขุดคุ้ยหรือนำประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา อาทิ การปะทะกันด้วยกำลังจนเกิดการบาดเจ็บล้มตาย หรือ ประเด็นของการเอาหรือไม่เอาทักษิณ โดยถือว่าเป็นความชอบหรือไม่ชอบของแต่ละบุคคล ฯลฯ มาเป็นข้อต่อรองในการเจรจา เพราะเห็นว่าหากนำประเด็นดังกล่าวมาพูดคุยกันแล้วย่อมยากที่พูดคุยกันได้

โดยทั้งสองฝ่ายจะเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า “บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ” เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือเปิดเวทีปราศรัย โดยแต่ละฝ่ายไม่ไปคุกคามซึ่งกันและกัน

แน่นอนว่าการพูดคุยเจรจากันดังกล่าวย่อมมีทั้งที่ผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้ที่เห็นด้วยก็ย่อมที่จะโมทนาสาธุว่าบ้านเมืองจะได้เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์เสียที ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็ย่อมออกมาคัดค้านตั้งแต่เบาถึงหนัก ผู้ที่คัดค้านที่เราเรียกว่าเป็นสายเหยี่ยวหรือที่เรียกด้วยภาษาสมัยใหม่ก็คือ พวก “ฮาร์ดคอร์” ก็ย่อมออกมาต่อต้านอย่างหนัก มีการประณามผู้ที่ไปเจรจาหรือพูดคุยกันว่าเป็นผู้ทรยศ เป็นผู้ที่หักหลังเพื่อน ฯลฯ และพวกฮาร์ดคอร์เหล่านี้เชื่อว่าพวกสายพิราบหรือผู้ที่ไปเจรจานั้นตกเป็นเหยื่อของ อีกฝ่ายหนึ่งที่จะถูกอีกฝ่ายกำจัดให้สิ้นซากในภายหลังอย่างแน่นอน

การต่อต้านนอกจากจะมีการประณามหยามเหยียดกันแล้ว ยังมีการที่พยายามสืบเสาะหาความเคลื่อนไหวว่าหากมีการเจรจาหรือจะมีการเปิดตัวกัน ณ ที่ใด ก็จะมีการระดมพลไปคัดค้าน ทำให้ผู้ประสานงานซึ่งก็คือนักวิชาการที่ใฝ่สันติและภาคเอกชนที่ทนเห็นความล่มจมของธุรกิจของตนเองที่เกิดจากความขัดแย้งของทั้งสองสีนี้ไม่ไหว ต้องแสวงหาลู่ทางในการดำเนินงานซึ่งแน่นอนว่าก็คงไม่พ้นองค์กรหรือสถานที่ ที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย อาทิ ศาลากลางจังหวัด เป็นต้น

ความเคลื่อนไหวที่เริ่มต้นจากเพชรบุรี พะเยา และเชียงใหม่ เป็นผลให้หลายๆพื้นที่เริ่มมีการพูดคุยกันในเรื่องนี้ขึ้นบ้างแล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างการสงวนท่าที ซึ่งผมเชื่อว่าหากมีการดำเนินการสำเร็จในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ผลที่ตามมาก็คงเป็นที่หวังได้ว่าไม่ยากเกินกว่าที่จะประสพความสำเร็จ เพราะถึงเวลาแล้วที่เบี้ยทั้งสองฝ่ายจะได้ฉุกคิดว่าจากเหตุการณ์ที่ผ่านๆ มาภายใต้การนำของแกนนำทั้งสองฝ่ายที่ปลุกระดมเข้าห้ำหั่นกันนั้น ผู้ที่บาดเจ็บ ล้มตายก็มีแต่พวกเบี้ยทั้งหลาย ส่วนผู้ชี้นำนั่งอยู่บนภูดูเสือกัดกันอยู่อย่างสบายใจเฉิบ หาได้มีส่วนบาดเจ็บล้มตายไปด้วยไม่ มิหนำซ้ำยังเจริญก้าวหน้ามีลาภยศศฤงคารตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตไปตามๆกัน

ผมเชื่อว่าความพยายามที่กำลังเกิดขึ้นนี้จะประสบความสำเร็จ อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย แม้ว่าผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการในลักษณะของการปิดทองหลังพระครั้งนี้จะต้องใช้ความอดทนและ อดกลั้นต่อการประณามหยามเหยียดว่าเป็นผู้ทรยศหรือเหยื่อผู้ถูกหลอกก็ตาม

ทั้งนี้ ก็เพื่อความสงบสุขสันติของบ้านเมืองดังคำโบราณล้านนาที่ว่า “บ้านชุ่ม เมืองเย็น” นั่นเอง
-------------------------
หมายเหตุ . เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2552

ทุบหุ้นหลังจากที่หุ้นร่วงกระจายไปแล้ว..นี่แหละประเทศไทย

กลายเป็นจอมซัดแฮ็ททริคไปซะแล้ว สำหรับนายกฯเด็กดื้อ จอมสร้างภาพตัวพ่อ เมื่อลงสนามไปทำท่ามือหงิก ตะบันสตั๊ดใส่ลูกฟุตบอล ที่ลิ่วล้อใส่พานป้อนให้จนรับไม่หวาดไม่ไหว ในการแข่งขันฟุตบอลผู้อาวุโส ครม. vs ส.ว. ที่ธันเดอร์โดม เมื่อวันวานที่ผ่านมา

เป็นวันเดียวกัน กับที่รัฐบาลเผด็จการพลเรือน ซัดแฮ็ททริคเข้าใส่หัวใจประชาชน ด้วยการจับแพะชนแกะ มั่วนิ่มรวบตัวชายหนึ่งหญิงหนึ่ง เอามาขึ้นแท่นบูชายัญ

ด้วยข้อหานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ตีปี๊บซะใหญ่โตว่าเป็นตัวการทุบหุ้น หวังกู้หน้าที่โดนต่างชาติปล่อยข่าวใส่แมลงเม่า จนหุ้นร่วงระเนระนาด แล้วจับมือใครดมไม่ได้

จากผู้หญิงตัวเล็กๆคนหนึ่ง ที่รู้จักกันดีในเว็บบอร์ดการเมืองภายใต้นามแฝง bbb ว่าแสนจะสุภาพเรียบร้อย ไม่ค่อยมีปากมีเสียง มีแต่คอยแปลข่าวภาษาอังกฤษให้เพื่อนๆได้อ่านกัน ไม่เคยสร้างปัญหาใดๆให้แก่ใครๆ แม้แต่น้อย

ไม่นึกว่า วันดีคืนร้ายภายใต้รัฐบาลเผด็จการจำแลง เธอจะกลายเป็นอาชญากรสำคัญ ตัวการปล่อยข่าวทุบหุ้น จนเจ๊งกันไปถ้วนหน้า

ถามหน่อยเถอะว่า มันบ้าหรือโง่กันแน่ ถึงคิดกันไม่เป็นว่า ตัวการปล่อยข่าวที่ไหน จะมาโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดอย่างโจ๋งครึ่ม ให้ตำรวจตามแกะรอยจนรวบตัวได้โดยละม่อม

แล้วบ้านมัน เดี๋ยวนี้เขาปล่อยข่าวทุบหุ้นกันในเว็บบอร์ดการเมืองกันแล้วหรือไง อะไรไม่ว่า ยังโง่ถึงขนาดมาปล่อยข่าวเอา หลังจากที่หุ้นร่วงกระจายไปแล้ว ตั้งหลายชั่วโมง

เอาเป็นว่า ถ้าอยากจะหาเรื่องก็แมนๆหน่อย เล่นกันซึ่งๆหน้าอย่ามาทำเหนียมอาย ไหนๆก็ด้านมามากแล้ว จะหน้าด้านอีกซักหน่อยจะเป็นไรไป

รัฐบาลเด็กเวร เมื่อใกล้ตาจน ก็ยิ่งบ้าเลือดขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนอย่างเราๆท่านๆ ที่แม้จะทนมามากแล้ว แต่ยังสามารถทนได้อีก ก็ไม่รู้จะทำยังไง ในเมื่อแบ็คมันแข็งเหลือกำลังลาก

คงได้แต่ส่งกำลังใจไปถึงเหยื่อทางการเมืองทั้ง 2 ราย ในฐานะเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ที่เป็นตายยังไงก็ไม่อาจทอดทิ้งกัน

ขอให้เข้มแข็งเข้าไว้ สู้มันต่อไป จนกว่าจะได้ประชาธิปไตยของเราคืนมา

เชื่อเถอะว่า ถึงที่สุดแล้วก็เอาผิดไม่ได้ แต่พวกมันก็ต้องทำเพื่อเป้าหมายทางการเมือง โดยไม่สนใจว่าใครจะเดือดร้อน วุ่นวายซักแค่ไหน

เพราะเป้าหมายที่แท้จริงนั้น คงกะว่างานนี้ยิงกระสุนนัดเดียว ได้นกเป็นฝูง นอกจากได้แก้หน้าเรื่องถูกทุบหุ้นแล้ว ยังได้ดิสเครดิตเสื้อแดง และที่สำคัญคือป้ายขี้ให้เว็บบอร์ดการเมือง ที่ทรงอิทธิพลในหมู่คนประชาธิปไตย อย่างประชาไท และฟ้าเดียวกัน

เผื่อว่าจะหาช่องปิดเว็บซะ เป็นการจำกัดการสื่อสารของฝ่ายต่อต้านอำมาตย์ไปในตัว

คำว่านิติรัฐชักจะเป็นจริงขึ้นทุกที เมื่อฝ่ายกุมอำนาจรัฐในบ้านนี้เมืองนี้ หายใจเข้าหายใจออกเป็นกฎเหล็กของเผด็จการ แต่แฝงตัวทำเนียนมาในรูปของกฎหมายประชาธิปไตย ที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่าสมัยคมช.ซะอีก

ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่เลือดตาแทบกระเด็นอยู่แล้ว ต้องยุ่งยากหนักเข้าไปอีก ไหนจะต้องรู้กฎหมายระดับเทพแล้ว ยังต้องคอยระวังว่า ใครเป็นคนใช้กฎหมาย และกฎหมายเหล่านั้นมีไว้เพื่อใช้กับใคร หาไม่แล้ว เผลอเมื่อไหร่เป็นถูกรวบเข้าคุกไปโดยไม่รู้ตัว

สมดังสโลแกนที่ว่า เราทำให้ทุกคนรวยเท่ากันไม่ได้ แต่สามารถทำให้ทุกคนมีโอกาสเจอแจ๊คพ็อตเท่ากันหมด

โชคดีของพวกอำมาตย์ ที่เลือกเกิดมาเกาะกินในประเทศนี้ ประเทศที่ปกครองได้ง่ายกว่าปอกกล้วยเข้าปากเป็นไหนๆ เพราะว่า ประชาชนถ้าไม่โง่เป็นทุย ก็อึดเป็นแรด ขนาดทนจนทะลุขีดจำกัดแล้ว ก็ยังทนได้อีก แต่ไม่มีใครรับรองได้ว่า...

ตอนระเบิดออกมา อานุภาพมันจะรุนแรงซักแค่ไหน

วโรทาห์:

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โฆษก รบ.ปูดแกนนำโจรใต้เคยต่อรอง รบ.'สุรยุทธ์' ตั้งผู้สำเร็จราชการเป็น "นครรัฐ" เหมือน สุลต่านแปลงกาย

"ปณิธาน" ระบุแกนนำก่อความไม่สงบชายแดนใต้เคยเสนอให้รวมนครแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าการมณฑลหรือผู้ว่านครรัฐสมัย "สุรยุทธ์"ให้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการในพื้นที่ถือเป็นสุลต่านแปลงกาย

นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย (พท.) ออกมาเสนอให้รวมจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าด้วยกันแล้วสถาปนาเป็น “นครปัตตานี” ว่า เรื่องนี้เป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่สมัยพล.อ. ชวลิตเป็นรัฐบาลแล้ว ต้องถามว่าทำไมตอนเป็นรัฐบาลถึงผลักดันไม่สำเร็จ นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานในพื้นที่มักนำมาสู่การสร้างปัญหาที่ซับซ้อนกว่าเดิม ซึ่งเคยมีบทเรียนมาแล้วจากการยุบศูนย์อำนวยการบริหารราชจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ดังนั้นหากจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างก็ต้องมาจากการยอมรับอย่างกว้างขวางของประชาชนในพื้นที่ ไม่ใช่ผู้นำกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือกองกำลังใดกำลังหนึ่ง อีกทั้งต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่แนวคิดการตั้งนครปัตตานีที่จะให้คนในพื้นที่เก็บภาษีได้เอง เลี้ยงตัวเองได้ และเลือกผู้นำเองได้ เชื่อว่าประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย เพราะเป็นเพียงความต้องการของคนกลุ่มหนึ่ง


"ในอดีตกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเคยพยายามผลักดันแนวคิดนี้ บางยุคมีอดีตส.ส. บางคนถึงขั้นเสนอให้นำระบบสุลต่านกลับมาใช้ จนถูกฝ่ายความมั่นคงเพ่งเล็งเป็นพิเศษมาแล้ว" นายปณิธานกล่าว


ผู้สื่อข่าวถามว่า ตราบใดที่รัฐบาลชุดนี้ยังอยู่ จะไม่มีนครปัตตานีเกิดขึ้นใช่หรือไม่ นายปณิธานกล่าวว่า แนวทางของพล.อ. ชวลิตเป็นการนำแนวคิดของคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมาทดลองทำ ทดลองยุบ ทดลองสร้าง ถ้าทำได้ก็ไปได้ไกล อย่างอีสานเขียวก็บอกว่าไปได้ แต่เรื่องชีวิตคนและเรื่องประเทศไม่สามารถไปทดลองผิดทดลองถูกได้ โดยไม่ฟังเสียงสะท้อนอย่างรอบคอบได้


เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่าข้อเสนอเรื่องการตั้งนครปัตตานีจะเป็นผลจากการที่พล.อ. ชวลิตไปเจรจากับแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบ นายปณิธานกล่าวว่า หลายฝ่ายเชื่อว่าพล.อ. ชวลิตมีข้อมูลจากแกนนำในพื้นที่ ส่วนจะเป็นกลุ่มไหนต้องไปถามเจ้าตัวเอง แต่ถ้าได้ดูข้อมูลจะพบความสอดคล้องกันในเรื่องความพยายามแยกตัวเป็นอิสระจากรัฐไทยในทางหนึ่งทางใด เพราะเชื่อว่าจะแก้ปัญหาได้ดีขึ้น ทั้งที่ความจริงประชาชนในพื้นที่ต้องการได้รับโอกาสจากรัฐมากขึ้น


เมื่อถามว่า ประเมินว่าพล.อ. ชวลิตไปเจรจากับแกนนำผิดตัว หรือผิดกลุ่มหรือไม่ จึงไม่เป็นไปตามที่พล.อ. ชวลิตระบุไว้ว่าจะไม่มีเสียงปืนแตกในช่วง 3 วันที่เดินทางลงพื้นที่ภาคใต้ นายปณิธานกล่าวว่า ก็เป็นไปได้ เพราะยากที่จะเจรจากับทุกกลุ่ม อีกทั้งในแต่ละกลุ่มก็มีปัญหาเรื่องการไม่ยอมคุยกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็น 2 ระดับคือ 1.ระดับอุดมการณ์ ส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสอยู่ในต่างประเทศบ้าง อยู่ในกรุงเพทฯ บ้าง มีคีย์แมน-คีย์วูแมนหลายคน ระยะหลังก็พยายามดึงเอาคนหัวก้าวหน้าที่เรียนจบแพทย์และพยาบาลจากต่างประเทศเข้ามา เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ คนกลุ่มนี้จะเป็นนักเจรจาและนักต่อรอง 2. ระดับปฏิบัติการที่กระจายกำลังกันอยู่ในพื้นที่ เป็นกลุ่มหัวรุนแรงที่ไม่สนใจการเจรจา เพราะคิดว่าการใช้กำลังเท่านั้นที่จะทำให้ตนเป็นฝ่ายชนะ


"ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเมื่อระดับปฏิบัติการไปก่อเหตุ ก็มักถูกระดับอุดมการณ์เคลม (กล่าวอ้าง) ว่าเป็นผลงานของตน ทำให้ 2 กลุ่มนี้ไม่คุยกัน ที่ผ่านมามีคนพยายามจับสองกลุ่มนี้มาคุยกัน แต่ไม่สำเร็จ โดยเฉพาะกลุ่มเอ็นจีโอที่พยายามเข้าไปเป็นตัวกลางในเรื่องนี้ เราเห็นประสบการณ์ในอดีตแล้ว จึงไม่เชื่อว่าจะเจรจากันได้" นายปณิธานกล่าว


เมื่อถามว่า แสดงว่าพล.อ. ชวลิตไปได้ข้อมูลจากระดับอุดมการณ์ใช่หรือไม่ นายปณิธานกล่าวว่า เป็นไปได้ ที่ผ่านมามีข้อเสนอจากฝ่ายกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหลายอย่าง โดยแบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ ยุคแรกมีการเสนอให้กลับไปปกครองโดยสุลต่านรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นโมเดลที่เก่าที่สุด แต่เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง ก็เปลี่ยนมาเสนอให้รวมนครแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าการมณฑล หรือผู้ว่านครรัฐ ซึ่งก็ถือเป็นสุลต่านแปลงกายดีๆ นี่เอง และล่าสุดในยุคพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกฯ มีการเสนอถึงขั้นให้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการในพื้นที่ โดยตั้งจากคนในพื้นที่ขึ้นมา ซึ่งไม่ต่างอะไรจากสุลต่านแปลงกายเหมือนกัน แต่ข้อเสนอเหล่านี้ไม่มีทางเป็นไปได้เลย


"ฝ่ายผู้ก่อการยังพยายามยื่นข้อเสนอผ่านตัวกลางตลอด ซึ่งเราไม่รู้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่ถือเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต้องการต่อรองและกดดันรัฐบาล ไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างแท้จริง ดังนั้นขอยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่มีการเจรจา ตราบใดที่ฝ่ายอุดมการณ์กับฝ่ายปฏิบัติการยังไม่สามารถคุยกันได้ แล้วจะให้เราไปคุยกับใครที่ไหน เพราะคุยอย่างไรมันก็ไม่จบ" นายปณิธานกล่าว

โผรอง ผบ.ตร.ผบช.เด็กนักการเมืองเพียบ ทั้ง 'สุเทพ-พินิจ-ชวน' ขึ้นพรวด ส่งเพื่อน 'พัชรวาท'เข้ากรุ


ก.ตร.ถกตั้ง "รอง ผบ.ตร.-ผบช." นายกฯให้นโยบาย ทำงานได้ เข้าใจสถานการณ์ ลั่นไม่มีเด็กฝากนักการเมือง คาด "สัณฐาน" คนใกล้ชิด "สุเทพ" ข้ามห้วยนั่ง "ผบช.น." ดันพี่ชาย "พินิจ" คุมภาค 8 พร้อมคู่เขย เสธ.ทบ.ผงาด "ผบช.ภ.1ž " เด้งเพื่อน"พัชรวาท" เก็บกรุ ส่ง "พงษ์สันต์" อดีตตำรวจตาม "ชวน" เสียบแทน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 2 พฤศจิกายน นายสุเทพนัดประชุม ก.ตร.เพื่อพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายระดับรองผบ.ตร.-ผบช. มีตำแหน่งรอง ผบ.ตร.ว่าง 3 ตำแหน่ง ผู้ช่วย ผบ.ตร.ว่าง 5 ตำแหน่ง และ ผบช.ว่าง 16 ตำแหน่ง


ทั้งนี้ ก่อนการประชุม ก.ตร. เวลา 09.00 น. จะมีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการตำรวจ หรือ บอร์ดกลั่นกรอง ที่มี นายสมศักดิ์ บุญทอง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธาน พร้อมด้วย ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5คน ร่วมกับ รรท.ผบ.ตร.และรองผบ.ตร. เพื่อพิจารณารายชื่อตำรวจที่คาดว่าจะได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งที่ว่าง


โดยพล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ และหนึ่งในบอร์ดกลั่นกรอง กล่าวว่า การคัดเลือกข้าราชการตำรวจขึ้นดำรงตำแหน่งต่างๆยังยึดหลักเกณฑ์เดิม คือหลักอาวุโส ความรู้ ความสามารถและประวัติการทำงาน นอกจากอาวุโสแล้ว ต้องพิจารณาร่วมกับความรู้ ความสามารถ ประวัติการทำงานจริง ๆ ไม่ใช่มีผลงานทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์อย่างเดียว ตรงนั้นจะเป็นความรู้ความสามารถแบบผักชีโรยหน้า


รายข่าวแจ้งว่าสำหรับ รองผบ.ตร.ที่ว่างลง 2 ตำแหน่ง คาด พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต ที่ปรึกษา(สบ 10) เข้าดำรงตำแหน่ง รองผบ.ตร. ซึ่งเป็นตำแหน่งหลัก ส่วนอีก 1 เก้าอี้ คาดว่าบอร์ดกลั่นกรองจะตั้ง พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผู้ช่วยผบ.ตร.อาวุโสอันดับ 1 ขึ้นนั่งรองผบ.ตร. อย่างไรก็ตามในที่ประชุมก.ตร.อาจเสนอชื่อ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา(สบ 10) แทน พล.ต.ท.วุฒิ หากที่ประชุมก.ตร.มีมติให้ตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) ของพล.ต.อ.วิเชียร และพล.ต.อ.ชลอ ชูวงษ์ เป็นตำแหน่งถาวร ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(สง.ก.ต.ช.)มีความเห็นเสนอสำนักงานกำพลมาก่อนหน้านี้


นอกจากนี้คาดว่า พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว และพล.ต.ท.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผู้ช่วยผบ.ตร. จะได้ขึ้นเป็นที่ปรึกษา(สบ 10) ส่วนระดับผู้ช่วยผบ.ตร.จะเลื่อน พล.ต.ท.ฉัตรชัย โปตระนันทน์ ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น. พล.ต.ท.จิโรจน์ ไชยชิต ผบช.ศ. พล.ต.ท.บรรจง ตันศยานนท์ จเรตำรวจ (สบ8) และพล.ต.ท.ประชิน วารี จเรตำรวจ (สบ 8) ขึ้นผู้ช่วยผบ.ตร.ขณะที่ พล.ต.ท.ธีระเดช รอดโพธิ์ทอง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล(ผบช.ส.) เป็นรองจเรตำรวจแห่งชาติ (สบ9)


ตำแหน่งระดับผบช. สำคัญ คาดว่าจะมีการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.ภ.8 คนสนิทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร กับ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบก ขึ้นเป็น ผบช.น. พล.ต.ต.วิบูลย์ บางท่าไม้ รองผบช.น. คู่เขย พล.อ.ประยุทธ เป็น ผบช.ภ. 1 พล.ต.ต.พิทักษ์ จารุสมบัติ รองผบช.สตม. พี่ชายนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตกรรมการพรรคไทยรักไทย ขึ้นเป็น ผบช.ภ.8 พล.ต.ต.พงษ์สันต์ เจียมอ่อน รองผบช.น. อดีตนายตำรวจติดตามนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็น ผบช.ภ.7 แล้ว พล.ต.ท.ถวิล สุรเชษฐพงษ์ ผบช.ภ.7 เพื่อนร่วมรุ่นพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร. เก็บกรุเป็นจเรตำรวจ (สบ8)


พล.ต.ต.เฉลิมชัย จงศิริ รองผบช.ภ.4 เพื่อนร่วมรุ่น พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทน ผบ.ตร. ขยับ เป็น ผบก.สกพ. พล.ต.ต.เดชาวัต รามสมภพ รองผบช.ภ.3 ขยับเป็น ผบช.ภ.4 พล.ต.ต.ภัทรชัย หิรัญญะเวช รองผบช.กมค. อดีตนายเวร พล.ต.อ.สนอง วัฒนวรางกูร อดีตรองอ.ตร.พ่อตา นายอนุทิน ชาญวีรกูล ขึ้นนั่ง ผบช.สตม. ขณะที่ พล.ต.ต.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล รองผบช.ส. คนสนิทนายสนธิ ลิ้มทองกุล หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คาดหมายว่าจะเป็นผบช.ส. อาจถูกคัดค้านในบอร์ดกลั่นกรอง เนื่องจากอาวุโสน้อย


รายงานข่าวแจ้งว่า นายสุเทพ นัด ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ รับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรมแห่งหนึ่ง แต่มีก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ บางคนไม่ได้เดินทางมา ซึ่งคาดว่าจะหารือเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจระดับ รองผบ.ตร.-ผบช.


ก่อนหน้านี้ ที่สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (สทท. 11) เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) ลงมา ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รายงานว่าจะเรียกประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งคิดว่าน่าจะได้ข้อสรุปในวันดังกล่าว สำหรับคุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งคือต้องทำงานได้ เราก็รู้ว่าสถานการณ์ในขณะนี้ต้องเข้มแข็งในการทำงาน นี่คือนโยบายหลักที่ให้ไป ส่วนผู้ที่มีเรื่องร้องเรียน หรือถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในขั้นตอนไหนอย่างไร



ผู้สื่อข่าวถามว่า รายชื่อที่ปรากฏตามหน้าสื่อส่วนใหญ่เป็นเด็กนักการเมือง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนเห็นว่าพอชื่อไหนโผล่ขึ้นมาก็บอกว่าเป็นเด็กคนนั้นเด็กคนนี้ จึงบอกไปว่าหลักสำคัญที่สุดคือต้องทำงานได้ และต้องรู้ว่าสถานการณ์ขณะนี้ต้องทำงานหนักด้วย โดยเฉพาะในตำแหน่งสำคัญๆ



เมื่อถามว่า การที่ฝ่ายการเมืองเข้าไปฝากคนและได้ตามที่ฝาก จะทำให้ข้าราชการตำรวจเสียขวัญและกำลังใจหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มีหรอกครับ บอกไปแล้วว่าให้ดูเรื่องความสามารถในการทำงาน ไม่ได้ให้ดูว่าใครเป็นคนฝาก เมื่อถามว่า ดูเหมือนวันนี้ตำรวจต้องเป็นคนของใครเท่านั้นถึงจะมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่ง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่ใช่ บอกแล้วว่าให้ดูเรื่องการทำงาน ได้ย้ำเรื่องนี้ไปหลายครั้งเลย



ผู้สื่อข่าวถามว่า ตัวผบ.ตร. คนใหม่จะได้เมื่อไร นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ก็ต้องรอการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) คงจะมีการประชุมกรรมก.ต.ช. โดยตำแหน่งในเร็วๆ นี้ เพื่อพิจารณาเลือกกรรมการก.ต.ช. ผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจากตำแหน่งว่างลงระยะหนึ่งแล้ว ส่วนก.ต.ช. จะประชุมได้เมื่อไหร่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง



เมื่อถามว่า แสดงว่าจะรอให้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งก.ต.ช. ผู้ทรงคุณวุฒิก่อนถึงจะเรียกประชุมก.ต.ช. เพื่อเลือกผบ.ตร. คนใหม่ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่จำเป็น จะดูว่าก.ต.ช. เหมาะสมเมื่อไรก็จะเรียก



"พร้อมพงศ์"เจ้าประจำร้องนายกฯแสดงภาวะผู้นำตั้งผบ.ตร.

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง จะเรียกประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ในวันพรุ่งนี้ (2 พ.ย.) เพื่อพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติลงมาว่า ขอตั้งข้อสังเกตถึงความพยายามแต่งตั้งดังกล่าว เพราะเป็นเรื่องแปลกที่รัฐบาลแต่งตั้งนายตำรวจระดับนายพล ขณะที่ผู้ร่วมพิจารณายังเป็นแค่รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พรรคจึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอย่าซื้อเวลา แต่ควรแสดงภาวะผู้นำในการแต่งตั้ง ผบ.ตร.ให้ได้ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งรอง ผบ.ตร.และระดับผู้บัญชาการ เพื่อรักษากติกาและธรรมเนียมปฏิบัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และยังเป็นการป้องกันการฟ้องร้องต่อศาลว่า การประชุม ก.ตร.เพื่อเสนอบัญชีรายชื่อผู้บริหาร สตช.ครั้งนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ที่นายพร้อมพงศ์ระบุว่า มาตรา 18 ให้อำนาจ นายอภิสิทธิ์ในฐานะประธาน ก.ต.ช.จะต้องแต่งตั้ง ผบ.ตร.คนใหม่ก่อนที่ ผบ.ตร.จะเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมานั้น แต่ในมาตรา 18 ซึ่งอยู่ในลักษณะ 3 ว่าด้วย คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (3) ระบุว่ าพิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ