โดย ณกฤช เศวตนันทน์
ข่าวใหญ่ของสัปดาห์นี้คงหนีไม่พ้นการที่คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป หรือ European Union (EU) ได้แถลงผลการประชุมเกี่ยวกับประเทศไทยในการประชุม ณ กรุงลักเซมเบิร์ก ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา
โดยมีใจความว่า คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเรียกร้องให้ผู้นำทหารของไทยดำเนินการเรื่องที่เร่งด่วนที่สุดในการคืนสู่กระบวนการทางประชาธิปไตย และคืนการปกครองตามหลักรัฐธรรมนูญผ่านทางการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทหารปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจับกุมที่มีเหตุผลมาจากทางการเมือง และยกเลิกการควบคุมสื่อ
ซึ่งภายใต้สถานการณ์ของไทยในปัจจุบัน อียูมีความจำเป็นที่จะต้องระงับการเยือนระหว่างกันอย่างเป็นทางการ และอียูกับประเทศสมาชิกจะไม่ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็น หุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Cooperation Agreement : PCA) กับประเทศไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านการรัฐประหาร
ซึ่ง PCA นี้เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการกระชับความสัมพันธ์ทั้งทางการเมืองและธุรกิจกับไทย ประกอบกับประเทศสมาชิกอียูได้เริ่มทบทวนความร่วมมือทางทหารกับประเทศไทยแล้ว ดังนั้นคณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปจึงตัดสินใจที่จะดำเนินการทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทยเช่นกัน และอาจพิจารณาดำเนินมาตรการอื่น ๆ ตามสถานการณ์ต่อไป
จากผลการประชุมดังกล่าวทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องของไทยหลายท่าน อาทิ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่แข็งไทย ออกมาแสดงความคิดเห็นที่ตรงกันว่า อียูอาจจะชะลอการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี หรือ FTA ที่อยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศไทยจนกว่าไทยจะมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
แม้ว่าจะไม่ได้กล่าวไว้โดยตรงในแถลงการณ์ก็ตาม ท้ายที่สุดก็เป็นไปตามที่มีการคาดการณ์กันไว้ เพราะในเวลาต่อมาสำนักข่าว AP รายงานเพิ่มเติมถึงแถลงการณ์ของอียูว่า ได้ยกเลิกการเจรจา FTA กับประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งตามกำหนดเดิมจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีนี้
สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทความสำคัญในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก มีประเทศสมาชิกที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป 28 ประเทศ อาทิ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี สเปน เป็นต้น
การเจรจา FTA ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรปเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556 กำหนดแนวทางเจรจาเป็นแบบ Comprehensive คือรวมเรื่องการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจไว้ในความตกลงฉบับเดียว
ในเบื้องต้นตั้งเป้าการเจรจาให้เสร็จภายใน 2 ปี แบ่งเป็น 7 รอบการเจรจา และได้ดำเนินการเจรจาไปแล้ว 3 รอบ โดยเริ่มเจรจารอบที่ 1 เมื่อวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2556 รอบที่ 2 วันที่ 16-20 กันยายน 2556
เนื้อหาในการเจรจาทั้ง 2 รอบ ส่วนใหญ่เป็นการอภิปรายเพื่อทำความเข้าใจในร่าง ข้อ บทที่ทางสหภาพยุโรปเสนอ และประเทศไทยได้เสนอ สำหรับการเจรจารอบที่ 3 ในระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2556 นั้นรัฐบาลไทยได้ประกาศยุบสภาทำให้การเจรจาในรอบที่ 3 เป็นการอภิปรายกันระหว่าง 2 ฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในเชิงเทคนิค โดยไม่เจรจาในเรื่องที่ผูกพันในเชิงนโยบาย
การทำ FTA กับอียูเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้อยู่ในระดับโลก เพราะสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และขยายตลาดการค้าการลงทุนระหว่างกันได้ รวมถึงดึงดูดการลงทุนเข้าประเทศไทยและขยายการค้าการลงทุนไปยังอียู
ประการสำคัญ เป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ โดยไม่ต้องพึ่งพิงสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของอียู (Generalized System of Preference : GSP) ซึ่งไทยจะถูกตัดสิทธิทั้งหมดในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 และจะมีผลกระทบทำให้สินค้าส่งออกของไทยไม่ได้รับการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีนำเข้า ในอันที่จะเป็นแต้มต่อในการแข่งขัน ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ในตลาดสหภาพยุโรปได้
โดยในปี 2554 สินค้าส่งออกของไทยที่ใช้สิทธิพิเศษ GSP ของสหภาพยุโรปมีมูลค่ากว่า 2.97 แสนล้านบาท สินค้าที่สำคัญ เช่น รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลสด อาหารแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง ถุงมือยาง และยางรถยนต์ เป็นต้น สินค้าเหล่านี้จะไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งสินค้าจากประเทศอาณานิคมเดิมของสหภาพยุโรปที่ยังคงได้รับสิทธิพิเศษ GSP
ทำให้ประเทศไทยอาจสูญเสียตลาดส่งออกที่สำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำ FTA กับอียูเพื่อจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเป็นแบบถาวร ทดแทนการได้รับสิทธิพิเศษ GSP ซึ่งเป็นการให้สิทธิชั่วคราว
ดังนั้น เมื่อมีการชะลอการเจรจา FTA ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรปเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยลงนาม FTA ช้ากว่าประเทศคู่แข่งอื่น ๆ อย่างน้อย 1 ปี-1 ปีครึ่ง
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอียูอย่างรุนแรง เนื่องจากตามที่ได้กล่าวข้างต้นว่า ในวันที่ 1 มกราคม 2558 ไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษ GSP ทั้งหมด 100% ทำให้สินค้าจากประเทศไทยสู้คู่แข่งไม่ได้ เพราะคู่แข่งยังได้สิทธิพิเศษอยู่และบางประเทศได้ลงนาม FTA กับอียูไปแล้ว เช่น ประเทศสิงคโปร์ ทำให้มีการประเมินว่าการที่ประเทศไทยถูกตัดสิทธิพิเศษ GSP จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นมูลค่า 84,840.27 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบรายสินค้าร้อยละ 3 ผลกระทบจากการถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งร้อยละ 95
อย่างไรก็ดี หากประเทศไทยสามารถปฏิรูปประเทศ กับจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาประเทศได้เช่นเดิม
การเจรจา FTA ของไทยกับอียูย่อมดำเนินได้ต่อไป และสามารถสรุปผลการเจรจากับนำไปสู่การลงนามได้ในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////
ข่าวใหญ่ของสัปดาห์นี้คงหนีไม่พ้นการที่คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป หรือ European Union (EU) ได้แถลงผลการประชุมเกี่ยวกับประเทศไทยในการประชุม ณ กรุงลักเซมเบิร์ก ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา
โดยมีใจความว่า คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเรียกร้องให้ผู้นำทหารของไทยดำเนินการเรื่องที่เร่งด่วนที่สุดในการคืนสู่กระบวนการทางประชาธิปไตย และคืนการปกครองตามหลักรัฐธรรมนูญผ่านทางการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทหารปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจับกุมที่มีเหตุผลมาจากทางการเมือง และยกเลิกการควบคุมสื่อ
ซึ่งภายใต้สถานการณ์ของไทยในปัจจุบัน อียูมีความจำเป็นที่จะต้องระงับการเยือนระหว่างกันอย่างเป็นทางการ และอียูกับประเทศสมาชิกจะไม่ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็น หุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Cooperation Agreement : PCA) กับประเทศไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านการรัฐประหาร
ซึ่ง PCA นี้เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการกระชับความสัมพันธ์ทั้งทางการเมืองและธุรกิจกับไทย ประกอบกับประเทศสมาชิกอียูได้เริ่มทบทวนความร่วมมือทางทหารกับประเทศไทยแล้ว ดังนั้นคณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปจึงตัดสินใจที่จะดำเนินการทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทยเช่นกัน และอาจพิจารณาดำเนินมาตรการอื่น ๆ ตามสถานการณ์ต่อไป
จากผลการประชุมดังกล่าวทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องของไทยหลายท่าน อาทิ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่แข็งไทย ออกมาแสดงความคิดเห็นที่ตรงกันว่า อียูอาจจะชะลอการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี หรือ FTA ที่อยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศไทยจนกว่าไทยจะมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
แม้ว่าจะไม่ได้กล่าวไว้โดยตรงในแถลงการณ์ก็ตาม ท้ายที่สุดก็เป็นไปตามที่มีการคาดการณ์กันไว้ เพราะในเวลาต่อมาสำนักข่าว AP รายงานเพิ่มเติมถึงแถลงการณ์ของอียูว่า ได้ยกเลิกการเจรจา FTA กับประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งตามกำหนดเดิมจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีนี้
สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทความสำคัญในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก มีประเทศสมาชิกที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป 28 ประเทศ อาทิ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี สเปน เป็นต้น
การเจรจา FTA ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรปเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556 กำหนดแนวทางเจรจาเป็นแบบ Comprehensive คือรวมเรื่องการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจไว้ในความตกลงฉบับเดียว
ในเบื้องต้นตั้งเป้าการเจรจาให้เสร็จภายใน 2 ปี แบ่งเป็น 7 รอบการเจรจา และได้ดำเนินการเจรจาไปแล้ว 3 รอบ โดยเริ่มเจรจารอบที่ 1 เมื่อวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2556 รอบที่ 2 วันที่ 16-20 กันยายน 2556
เนื้อหาในการเจรจาทั้ง 2 รอบ ส่วนใหญ่เป็นการอภิปรายเพื่อทำความเข้าใจในร่าง ข้อ บทที่ทางสหภาพยุโรปเสนอ และประเทศไทยได้เสนอ สำหรับการเจรจารอบที่ 3 ในระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2556 นั้นรัฐบาลไทยได้ประกาศยุบสภาทำให้การเจรจาในรอบที่ 3 เป็นการอภิปรายกันระหว่าง 2 ฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในเชิงเทคนิค โดยไม่เจรจาในเรื่องที่ผูกพันในเชิงนโยบาย
การทำ FTA กับอียูเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้อยู่ในระดับโลก เพราะสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และขยายตลาดการค้าการลงทุนระหว่างกันได้ รวมถึงดึงดูดการลงทุนเข้าประเทศไทยและขยายการค้าการลงทุนไปยังอียู
ประการสำคัญ เป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ โดยไม่ต้องพึ่งพิงสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของอียู (Generalized System of Preference : GSP) ซึ่งไทยจะถูกตัดสิทธิทั้งหมดในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 และจะมีผลกระทบทำให้สินค้าส่งออกของไทยไม่ได้รับการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีนำเข้า ในอันที่จะเป็นแต้มต่อในการแข่งขัน ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ในตลาดสหภาพยุโรปได้
โดยในปี 2554 สินค้าส่งออกของไทยที่ใช้สิทธิพิเศษ GSP ของสหภาพยุโรปมีมูลค่ากว่า 2.97 แสนล้านบาท สินค้าที่สำคัญ เช่น รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลสด อาหารแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง ถุงมือยาง และยางรถยนต์ เป็นต้น สินค้าเหล่านี้จะไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งสินค้าจากประเทศอาณานิคมเดิมของสหภาพยุโรปที่ยังคงได้รับสิทธิพิเศษ GSP
ทำให้ประเทศไทยอาจสูญเสียตลาดส่งออกที่สำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำ FTA กับอียูเพื่อจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเป็นแบบถาวร ทดแทนการได้รับสิทธิพิเศษ GSP ซึ่งเป็นการให้สิทธิชั่วคราว
ดังนั้น เมื่อมีการชะลอการเจรจา FTA ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรปเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยลงนาม FTA ช้ากว่าประเทศคู่แข่งอื่น ๆ อย่างน้อย 1 ปี-1 ปีครึ่ง
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอียูอย่างรุนแรง เนื่องจากตามที่ได้กล่าวข้างต้นว่า ในวันที่ 1 มกราคม 2558 ไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษ GSP ทั้งหมด 100% ทำให้สินค้าจากประเทศไทยสู้คู่แข่งไม่ได้ เพราะคู่แข่งยังได้สิทธิพิเศษอยู่และบางประเทศได้ลงนาม FTA กับอียูไปแล้ว เช่น ประเทศสิงคโปร์ ทำให้มีการประเมินว่าการที่ประเทศไทยถูกตัดสิทธิพิเศษ GSP จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นมูลค่า 84,840.27 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบรายสินค้าร้อยละ 3 ผลกระทบจากการถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งร้อยละ 95
อย่างไรก็ดี หากประเทศไทยสามารถปฏิรูปประเทศ กับจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาประเทศได้เช่นเดิม
การเจรจา FTA ของไทยกับอียูย่อมดำเนินได้ต่อไป และสามารถสรุปผลการเจรจากับนำไปสู่การลงนามได้ในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น