แก้พ.ร.บ.บีโอไอ-ลงทุนต่างด้าว-ทวงหนี้ ชง สนช.วาระแรกทันที
คสช.พิจารณาร่างกฎหมาย 42 ฉบับวันนี้ พร้อมเสนอ สนช. ในวาระแรก แบ่ง 4 กลุ่ม "แก้คอร์รัปชัน-ปัญหาความเดือดร้อน-เศรษฐกิจ-แรงงาน" พร้อมเตรียมล้างท่อทั้งหมดรวมกว่า 100 ฉบับ ขณะด้านเศรษฐกิจ เตรียมแก้กฎหมายบีไอ -การประกอบธุรกิจต่างด้าว-ทวงหนี้บัตรเครดิต
การประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อบริหารราชการแผ่นดินที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นประธาน พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จะนำร่างกฎหมายที่ค้างการพิจารณาอยู่กว่า 42 ฉบับเข้าสู่การพิจารณา
หากที่ประชุมคสช.เห็นชอบ ก็จะส่งร่างกฎหมายให้กับสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างก่อนจะเตรียมบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะจัดตั้งขึ้นตามขั้นตอนตามกฎหมาย โดยการแต่งตั้งสนช.จะดำเนินการภายในเดือนก.ค.นี้ตามโรดแมพที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้
นอกจากร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว สนช.กำหนดจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ในวันที่ 6 ส.ค.นี้
วานนี้ (21 ก.ค.) พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยทุกส่วนงานได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานในหลายส่วนงาน
ฝ่ายความมั่นคงได้รายงานการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ซึ่งได้มีการเปิดศูนย์จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จไปแล้วนั้น ล่าสุดมีแรงงานต่างด้าวมาลงทะเบียนแล้วกว่า 180,000 คน ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ได้มีการเตรียมที่จะจัดทำโรดแมพแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่วิกฤติ
นอกจากนี้ ฝ่ายเศรษฐกิจที่ได้รายงานความคืบหน้าการประชุมของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามแผนงานในปี 2558-2562
ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ระบุจะได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจำนวนกว่า 42 ร่างเข้าสู่ที่ประชุมคณะ คสช. ในวันอังคารที่ 22 ก.ค.นี้
ทั้งนี้ส่วนขึ้นตรงหัวหน้า คสช.ที่ได้แจ้งความก้าวหน้าการดำเนินการตามคำสั่ง คสช.ที่ 64/66 ว่าล่าสุดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานสามารถนำผู้บุกรุกพื้นที่ป่าออกมาได้ 100% ส่วนในพื้นที่ป่าดงใหญ่ ซึ่งเป็นผืนป่าผืนเดียวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกที่ถูกบุกรุกกว่า 23,000 ไร่ นั้น ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้ใช้มาตรการละมุนละม่อมจนสามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายแล้ว ขณะที่ในส่วนของอุทยานแห่งชาติปางสีดาอยู่ระหว่างดำเนินการ
เคาะร่างก.ม.42ฉบับเข้า สนช.ล็อตแรก
แหล่งข่าวจาก คสช. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. โดย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ผู้ช่วย ผบ.ทบ.) ได้ประชุมร่วมกับฝ่ายกฎหมาย และได้มอบนโยบายเกี่ยวกับกฎหมายที่ คสช.มีนโยบายเร่งผลักดัน รวมถึงให้ตรวจสอบร่างกฎหมายที่ค้างการพิจารณาของรัฐสภาชุดที่ผ่านมา เพื่อดูว่ามีร่างกฎหมายใดที่เป็นประโยชน์กับประชาชน สมควรหยิบขึ้นมาเร่งผลักดันบ้าง
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ร่างกฎหมายที่ คสช.ให้ทีมงานเข้าไปพิจารณา มีทั้งสิ้นราว 140 ฉบับ และได้คัดกรองเหลือประมาณ 40-50 ฉบับที่มีความจำเป็นเร่งด่วน น่าจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทันทีในวาระแรกเมื่อมี สนช. ซึ่งล่าสุดมีการเคาะตัวเลขเหลือ 42 ฉบับ
สั่งกฤษฎีกา-องค์กรอิสระทบทวนร่าง ก.ม.
อย่างไรก็ดี คสช.ยังได้มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปตรวจสอบร่างกฎหมายที่สำคัญที่ยังคั่งค้างหรือเคยศึกษาว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมอีกด้วย พร้อมทั้งมอบหมายให้องค์กรอิสระต่างๆ เสนอแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับขอบเขตงานของตนเพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นต้น โดยกฎหมายที่องค์กรอิสระเสนอ บางส่วนที่เป็นประเด็นทางการเมือง เช่น ร่างกฎหมายเลือกตั้ง จะถูกส่งไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติก่อน
ขณะที่กฎหมายอีกบางส่วนอาจสอดคล้องกับร่างกฎหมายที่ คสช.จะเร่งผลักดันอยู่แล้ว ก็จะนำมารวมกันเพื่อเสนอต่อสนช.ทันที เช่น ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นต้น
เปิดร่าง ก.ม.4กลุ่มจ่อเข้าสนช.
สำหรับร่างกฎหมายที่ คสช.จะเร่งผลักดัน รวมกับร่างกฎหมายที่คณะกรรมการกฤษฎีกาไปตรวจสอบเพิ่มเติม แบ่งเป็นกลุ่มๆ อย่างน้อย 4-5 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน เสนอแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542, แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ให้คดีทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐและข้าราชการการเมืองไม่มีอายุความ, แก้ไข พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และยกร่าง พ.ร.บ.พิสูจน์หลักฐานทางการเงินและบัญชี ซึ่งในส่วนนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะรวมกับกฎหมายฟอกเงินหรือไม่
2.กลุ่มบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน เช่น เสนอให้ยกร่าง พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ เพื่อแก้ปัญหาการทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสม ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง หรือการใช้กำลังประทุษร้าย, ยกร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อจัดระบบการค้ำประกันและการจำนองเสียใหม่ เพื่อแก้ปัญหาเจ้าหนี้ใช้ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจบังคับทำสัญญาให้ผู้ค้ำประกันหรือจำนองต้องรับผิดในลักษณะลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับลูกหนี้ ทั้งที่ฐานะทางกฎหมายของผู้ค้ำประกันกับผู้จำนองต้องเป็นลูกหนี้ลำดับรอง
นอกจากนั้นยังมี ร่าง พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ เพื่อควบคุมงานการให้ใบอนุญาตแก่ภาคเอกชนในเรื่องต่างๆ ด้วยการตั้งศูนย์รับคำขออนุญาต เพื่ออำนวยความสะดวกแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ลดความซ้ำซ้อน ลดปัญหาการเรียกรับสินบน โดยจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ควบคู่กันไป เพื่อควบคุมให้ผู้มีอำนาจต้องพิจารณาคำขอของภาคเอกชนอย่างรวดเร็ว
3.กลุ่มเศรษฐกิจ เช่น เสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520, แก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เป็นต้น และ 4.กลุ่มแรงงาน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไทยถูกขึ้นบัญชีค้ามนุษย์ ได้แก่ ยกร่าง พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล เพื่ออนุวัตรตามอนุสัญญาแรงงานทางทะเลที่จะก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเดินเรือทางทะเลที่ใช้ธงชาติไทย พร้อมสร้างมาตรฐานคุ้มครองแรงงานในกิจการทางทะเลให้มีมาตรฐานไม่น้อยกว่าการคุ้มครองแรงงานในภาคอื่นๆ ขณะเดียวกัน ยังมี ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาแรงงานที่ทำงานอันเป็นอันตรายต่อสาธารณะด้วย
วางกรอบพิจารณาทุกสัปดาห์
ทั้งนี้ คสช. ได้ใช้แนวทางในการพิจารณาร่างกฎหมาย คือ 1.กฎหมายที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีการนำมาพิจารณาและออกเป็นประกาศหรือคำสั่งของคสช.เท่าที่จำเป็น
2.กฎหมายที่ค้างอยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ หมายถึงกฎหมายที่เคยนำเสนอผ่านมติ ครม.และค้างอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา หรือการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา โดยได้มีการสั่งการให้ทุกส่วนราชการจัดทำข้อมูลมาอีกครั้งเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ประเด็นที่อาจมีการแก้ไข ก่อนที่จะนำขึ้นสู่กระบวนการนิติบัญญัติต่อไป
3.กฎหมายที่อยู่ในส่วนราชการที่เตรียมการยกร่างเสนอ ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการขอให้ทุกส่วนราชการได้จัดเตรียมข้อเสนอเหตุผลและความจำเป็นในการออกกฎหมาย หลักการและสาระสำคัญของร่างกฎหมายมาเสนอถึงความจำเป็นอีกครั้ง โดย คสช.จะพิจารณาร่างกฎหมายที่มีความจำทุกสัปดาห์ในการประชุม คสช.เพื่อบริหารราชการผ่านดินเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมก่อนเสนอให้ สนช.พิจารณาเห็นชอบต่อไป
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////
คสช.พิจารณาร่างกฎหมาย 42 ฉบับวันนี้ พร้อมเสนอ สนช. ในวาระแรก แบ่ง 4 กลุ่ม "แก้คอร์รัปชัน-ปัญหาความเดือดร้อน-เศรษฐกิจ-แรงงาน" พร้อมเตรียมล้างท่อทั้งหมดรวมกว่า 100 ฉบับ ขณะด้านเศรษฐกิจ เตรียมแก้กฎหมายบีไอ -การประกอบธุรกิจต่างด้าว-ทวงหนี้บัตรเครดิต
การประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อบริหารราชการแผ่นดินที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นประธาน พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จะนำร่างกฎหมายที่ค้างการพิจารณาอยู่กว่า 42 ฉบับเข้าสู่การพิจารณา
หากที่ประชุมคสช.เห็นชอบ ก็จะส่งร่างกฎหมายให้กับสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างก่อนจะเตรียมบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะจัดตั้งขึ้นตามขั้นตอนตามกฎหมาย โดยการแต่งตั้งสนช.จะดำเนินการภายในเดือนก.ค.นี้ตามโรดแมพที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้
นอกจากร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว สนช.กำหนดจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ในวันที่ 6 ส.ค.นี้
วานนี้ (21 ก.ค.) พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยทุกส่วนงานได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานในหลายส่วนงาน
ฝ่ายความมั่นคงได้รายงานการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ซึ่งได้มีการเปิดศูนย์จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จไปแล้วนั้น ล่าสุดมีแรงงานต่างด้าวมาลงทะเบียนแล้วกว่า 180,000 คน ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ได้มีการเตรียมที่จะจัดทำโรดแมพแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่วิกฤติ
นอกจากนี้ ฝ่ายเศรษฐกิจที่ได้รายงานความคืบหน้าการประชุมของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามแผนงานในปี 2558-2562
ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ระบุจะได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจำนวนกว่า 42 ร่างเข้าสู่ที่ประชุมคณะ คสช. ในวันอังคารที่ 22 ก.ค.นี้
ทั้งนี้ส่วนขึ้นตรงหัวหน้า คสช.ที่ได้แจ้งความก้าวหน้าการดำเนินการตามคำสั่ง คสช.ที่ 64/66 ว่าล่าสุดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานสามารถนำผู้บุกรุกพื้นที่ป่าออกมาได้ 100% ส่วนในพื้นที่ป่าดงใหญ่ ซึ่งเป็นผืนป่าผืนเดียวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกที่ถูกบุกรุกกว่า 23,000 ไร่ นั้น ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้ใช้มาตรการละมุนละม่อมจนสามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายแล้ว ขณะที่ในส่วนของอุทยานแห่งชาติปางสีดาอยู่ระหว่างดำเนินการ
เคาะร่างก.ม.42ฉบับเข้า สนช.ล็อตแรก
แหล่งข่าวจาก คสช. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. โดย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ผู้ช่วย ผบ.ทบ.) ได้ประชุมร่วมกับฝ่ายกฎหมาย และได้มอบนโยบายเกี่ยวกับกฎหมายที่ คสช.มีนโยบายเร่งผลักดัน รวมถึงให้ตรวจสอบร่างกฎหมายที่ค้างการพิจารณาของรัฐสภาชุดที่ผ่านมา เพื่อดูว่ามีร่างกฎหมายใดที่เป็นประโยชน์กับประชาชน สมควรหยิบขึ้นมาเร่งผลักดันบ้าง
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ร่างกฎหมายที่ คสช.ให้ทีมงานเข้าไปพิจารณา มีทั้งสิ้นราว 140 ฉบับ และได้คัดกรองเหลือประมาณ 40-50 ฉบับที่มีความจำเป็นเร่งด่วน น่าจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทันทีในวาระแรกเมื่อมี สนช. ซึ่งล่าสุดมีการเคาะตัวเลขเหลือ 42 ฉบับ
สั่งกฤษฎีกา-องค์กรอิสระทบทวนร่าง ก.ม.
อย่างไรก็ดี คสช.ยังได้มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปตรวจสอบร่างกฎหมายที่สำคัญที่ยังคั่งค้างหรือเคยศึกษาว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมอีกด้วย พร้อมทั้งมอบหมายให้องค์กรอิสระต่างๆ เสนอแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับขอบเขตงานของตนเพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นต้น โดยกฎหมายที่องค์กรอิสระเสนอ บางส่วนที่เป็นประเด็นทางการเมือง เช่น ร่างกฎหมายเลือกตั้ง จะถูกส่งไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติก่อน
ขณะที่กฎหมายอีกบางส่วนอาจสอดคล้องกับร่างกฎหมายที่ คสช.จะเร่งผลักดันอยู่แล้ว ก็จะนำมารวมกันเพื่อเสนอต่อสนช.ทันที เช่น ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นต้น
เปิดร่าง ก.ม.4กลุ่มจ่อเข้าสนช.
สำหรับร่างกฎหมายที่ คสช.จะเร่งผลักดัน รวมกับร่างกฎหมายที่คณะกรรมการกฤษฎีกาไปตรวจสอบเพิ่มเติม แบ่งเป็นกลุ่มๆ อย่างน้อย 4-5 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน เสนอแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542, แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ให้คดีทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐและข้าราชการการเมืองไม่มีอายุความ, แก้ไข พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และยกร่าง พ.ร.บ.พิสูจน์หลักฐานทางการเงินและบัญชี ซึ่งในส่วนนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะรวมกับกฎหมายฟอกเงินหรือไม่
2.กลุ่มบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน เช่น เสนอให้ยกร่าง พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ เพื่อแก้ปัญหาการทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสม ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง หรือการใช้กำลังประทุษร้าย, ยกร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อจัดระบบการค้ำประกันและการจำนองเสียใหม่ เพื่อแก้ปัญหาเจ้าหนี้ใช้ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจบังคับทำสัญญาให้ผู้ค้ำประกันหรือจำนองต้องรับผิดในลักษณะลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับลูกหนี้ ทั้งที่ฐานะทางกฎหมายของผู้ค้ำประกันกับผู้จำนองต้องเป็นลูกหนี้ลำดับรอง
นอกจากนั้นยังมี ร่าง พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ เพื่อควบคุมงานการให้ใบอนุญาตแก่ภาคเอกชนในเรื่องต่างๆ ด้วยการตั้งศูนย์รับคำขออนุญาต เพื่ออำนวยความสะดวกแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ลดความซ้ำซ้อน ลดปัญหาการเรียกรับสินบน โดยจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ควบคู่กันไป เพื่อควบคุมให้ผู้มีอำนาจต้องพิจารณาคำขอของภาคเอกชนอย่างรวดเร็ว
3.กลุ่มเศรษฐกิจ เช่น เสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520, แก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เป็นต้น และ 4.กลุ่มแรงงาน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไทยถูกขึ้นบัญชีค้ามนุษย์ ได้แก่ ยกร่าง พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล เพื่ออนุวัตรตามอนุสัญญาแรงงานทางทะเลที่จะก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเดินเรือทางทะเลที่ใช้ธงชาติไทย พร้อมสร้างมาตรฐานคุ้มครองแรงงานในกิจการทางทะเลให้มีมาตรฐานไม่น้อยกว่าการคุ้มครองแรงงานในภาคอื่นๆ ขณะเดียวกัน ยังมี ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาแรงงานที่ทำงานอันเป็นอันตรายต่อสาธารณะด้วย
วางกรอบพิจารณาทุกสัปดาห์
ทั้งนี้ คสช. ได้ใช้แนวทางในการพิจารณาร่างกฎหมาย คือ 1.กฎหมายที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีการนำมาพิจารณาและออกเป็นประกาศหรือคำสั่งของคสช.เท่าที่จำเป็น
2.กฎหมายที่ค้างอยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ หมายถึงกฎหมายที่เคยนำเสนอผ่านมติ ครม.และค้างอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา หรือการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา โดยได้มีการสั่งการให้ทุกส่วนราชการจัดทำข้อมูลมาอีกครั้งเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ประเด็นที่อาจมีการแก้ไข ก่อนที่จะนำขึ้นสู่กระบวนการนิติบัญญัติต่อไป
3.กฎหมายที่อยู่ในส่วนราชการที่เตรียมการยกร่างเสนอ ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการขอให้ทุกส่วนราชการได้จัดเตรียมข้อเสนอเหตุผลและความจำเป็นในการออกกฎหมาย หลักการและสาระสำคัญของร่างกฎหมายมาเสนอถึงความจำเป็นอีกครั้ง โดย คสช.จะพิจารณาร่างกฎหมายที่มีความจำทุกสัปดาห์ในการประชุม คสช.เพื่อบริหารราชการผ่านดินเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมก่อนเสนอให้ สนช.พิจารณาเห็นชอบต่อไป
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////