--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

เมาค้าง !!?

คะแนน 399 ต่อ 199 เสียง ของที่ประชุมรัฐสภาที่เห็นชอบในวาระแรกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ แม้จะเป็นเพียงกระบวนการสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แต่ก็ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มสลิ่มที่เป็นขาประจำ ออกอาการเป็น “เจ้าเข้า” ต้องออกมาปลุกกระแสต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้อย่างจริงจัง และอาจกลับมา “สุมหัว” กันสู้อีกครั้ง

อย่างที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุ-ราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอนหนึ่ง ในการสัมมนาพรรคที่หาดใหญ่ว่า ตนฝันร้ายมาตลอด เพราะไม่รู้ว่าหากพวกเสื้อแดง (กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช.) คุมประเทศได้อะไรจะเกิดขึ้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราต้อง “สุมหัว” กันปกป้องประเทศ

ก้าวไม่พ้น “ทักษิณ”

นายสุเทพกล่าวว่า หนักใจหากเรายังไม่ตระหนักว่าประเทศกำลังมีวิกฤต กำลังจะเกิดเหตุร้ายขึ้นในประเทศ และถือว่าประมาทโดยสิ้นเชิง เพราะวิกฤตประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่วันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งพรรคการเมืองและเข้าสู่อำนาจทางการเมือง เพราะไม่ได้เดินมาในแนวทางประชาธิปไตยปรกติ พ.ต.ท.ทักษิณใช้ทรัพย์สินเงินทองที่ได้มาจากการรับสัมปทานผูกขาดจากรัฐในยุคเผด็จการมาเป็นทุนตั้งพรรคการเมือง ซื้อนักการเมืองจนมีอำนาจรัฐและได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯถือว่าตัวเลขที่ออกมาพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนว่า พ.ต.ท.ทักษิณและเครือข่ายมั่นใจว่าทุกอย่างอยู่ในมืออย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้ว ซึ่งเป็น “พิธีกรรม” ประชาธิปไตยสำหรับการ “รัฐประหาร” ฉีกรัฐธรรมนูญรูปแบบใหม่

เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่อภิปรายยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะถือเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 และยกร่างใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้ง เพราะมีวาระแอบแฝง

แม้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยยืนยันว่าจะไม่มีการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ก็ตาม แต่นายอภิสิทธิ์ก็ต้องการให้กำหนดไว้ชัดเจนในการแปรญัตติ เช่นเดียวกับต้องไม่ทำให้ความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐลดลง และต้องไม่ให้รัฐธรรมนูญถูกใช้ไปในลักษณะของการนิรโทษกรรมเพื่อล้มล้างคำพิพากษาของศาลไปเอื้อประโยชน์ให้กับผู้หนึ่งผู้ใด โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ

“สลิ่ม” ประสานเสียง “พันธมิตรฯ”

ขณะที่กลุ่มสยามสามัคคีได้นัดรวมตัวกันในวันที่ 2 มีนาคมนี้ เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย โดยมีนักวิชาการ “ขาประจำ” มาร่วมอภิปราย อาทิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายเสรี วงศ์มณฑา นายแก้วสรร อติโพธิ และนายบรรเจิด สิงคะเนติ แกนนำกลุ่มสยามสามัคคี

นายประสาร มฤคพิทักษ์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มสยามสามัคคี ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นการเรียกแขกที่เคยกระจัดกระจายให้กลับมารวมตัวกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธมิตรฯที่หมายรวมถึงประชาชนที่รักความเป็นธรรมและจงรักภักดีต่อในหลวงจะออกมาเคลื่อนไหว กลุ่มพลังประชาธิปไตยต่างๆจะยกระดับการต่อสู้เป็นการผนึกกำลังเป็นแนวร่วมใหญ่ต้านยันระบอบเผด็จการเสียงข้างมากของทุนนิยมสามานย์ ขณะที่ ส.ส.ร. ในกำกับของพรรคเพื่อไทยจะเป็นจำอวดการเมืองที่ไร้ความไว้วางใจจากประชาชน

“การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นการบั่นทอนกระบวนการยุติธรรมอย่างรุนแรง เพราะมันเป็นการฟอกขาวให้นักโทษจำคุกที่ไม่สำนึกและไม่ยอมรับโทษทัณฑ์ใดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยจะยอมไม่ได้ และถ้ายังใช้อำนาจแบบย่ามใจ ใช้เสียงข้างมากสามานย์อย่างซ้ำซาก สุดท้ายจะกลายเป็นความแค้นเคืองสะสมของประชาชนที่เครือข่ายทักษิณต้องจ่ายคืนอย่างบอบช้ำกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา”

ขณะที่ก่อนหน้านี้กลุ่มพันธมิตรฯได้ออกแถลงการณ์พร้อมจะชุมนุมใหญ่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ โดยจะประชุมในวันที่ 10 มีนาคม เพราะถือว่าเป็นแค่นิติกรรมอำพรางเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ และเปิดทางให้ทุนสามานย์ยึดอำนาจประเทศ รวมถึงลบล้างความผิดในอดีต พร้อมกระชับอำนาจให้เจ้าของพรรค การเมือง ซึ่งนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงพิสูจน์ชัดว่าการเมืองไทยโดยนักการเมืองไม่ว่าจะพรรคไหนก็ตามล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะส่วนใหญ่เป็นคนที่บัดซบ ไม่ได้รักชาติ รักประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เพราะฉะนั้นการตั้ง ส.ส.ร. จึงเป็นการพิสูจน์ชัดเจนว่าทุกอย่างทำเพื่อพวกเขา ทำเพื่อหัวหน้าพวกเขา ทำเพื่อเจ้าของพรรค ไม่ว่าพรรคใดก็เหมือนกันไม่มีผิด เพียงแต่ว่าบางพรรคปล้นกลางแดด บางพรรคใส่เสื้อนอกปล้น แต่สรุปแล้วคือปล้นคนไทยนั่นเอง

ส่วนนายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านการลงประชามติกว่า 14 ล้านเสียง จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญปี 2540 และไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐ-บาลพรรคเพื่อไทยเลย เพราะฉะนั้นเหตุผลที่จะแก้รัฐธรรมนูญมีประการเดียวคือ เพื่อจะแทรกการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และจัดโครงสร้างทางอำนาจใหม่ให้กระชับและรับใช้นักการเมือง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยและกลุ่มทุนของพรรคเพื่อไทยที่อยู่รอบตัว พ.ต.ท.ทักษิณ

แก้เพราะไม่เป็นประชาธิปไตย

การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มสยามสา-มัคคี กลุ่มเสื้อหลากสี หรือพันธมิตรฯ ไม่สามารถใช้วาทกรรม “ความจงรักภักดี” มาโจมตีได้อย่างที่ผ่านมา เพราะพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลรู้ดีว่าเป็นประเด็นร้อนที่แตะต้องไม่ได้ แม้ แต่มาตรา 112 ก็ตาม จึงประกาศยืนยันมาโดยตลอดว่าจะไม่มีการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์โดยเด็ดขาด

แต่ยังมีความพยายามโยงให้สถาบันเกี่ยว ข้องให้ได้ เช่น พรรคประชาธิปัตย์ที่ให้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยต้องระบุไว้ในการแปรญัตติชัดเจนว่าจะไม่แก้ไขใดๆในหมวดพระมหากษัตริย์ หรือนายสนธิที่อ้างว่าพันธมิตรฯออกมาเคลื่อนไหวเพราะมีความจงรักภักดี

ดังนั้น ทุกกลุ่มที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงต้อง “จินตนาการ” ว่าพรรคเพื่อไทยมีวาระแอบแฝงเพื่อกระชับอำนาจให้ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่เป็นเรื่องปรกติของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ทุกพรรคก็ต้องการได้ ส.ส. มากที่สุด เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากที่สุด แต่ก็ต้องเป็นไปตามกฎกติกา ไม่ใช่ซื้อเสียงหรือปล้นจี้เขามาอย่างบางพรรค

ประเด็น พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศนั้น พรรค เพื่อไทยเองไม่ได้ปฏิเสธ เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ประกาศมาโดยตลอดว่าจะนำ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศให้ได้ แต่จะเป็นการนิรโทษกรรมหรือ พ.ร.บ.ปรองดองก็ตาม ก็ไม่ใช่การใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมหรืออำนาจเผด็จการอย่างการทำรัฐประหาร

แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณยังให้ความเห็นถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวิดีโอลิ้งค์มายังเวทีคอนเสิร์ต “การหยุดรัฐประหารเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญ” ที่จัดโดย นปช. เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า เป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่จำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดการถ่วงดุล

“ทำไมต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเนื่องจากการไม่เป็นประชาธิปไตย การไม่มีความยุติธรรม การที่ผู้รักษากติกาขาดความยุติธรรมทำให้บ้านเมืองสับสนวุ่นวาย แล้วมีเรื่องบาดหมาง ทะเลาะเบาะแว้งแตกแยกกันเพราะความไม่มียุติธรรมนั่นเองนะครับ ถ้าทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตัวเองอย่างยุติธรรมนะครับ ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเป็นกลางบ้านเมืองจะไม่เป็นอย่างนี้ บ้านเมืองเป็นอย่างนี้เพราะหลายฝ่ายได้เลือกข้างโดยไม่คำนึงถึงกติกาที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เรามั่นใจว่าถ้าเป็นของประชาชน ทุกอย่างจะเป็นกติกาที่เป็นกลางและเป็นธรรม บ้านเมืองจะได้กลับสู่ภาวะปรกติ ผมไปเห็นแต่ละประเทศมาแล้ว ผมบอกได้เลยว่าศักยภาพประเทศไทยนั้น ถ้าเป็นประชาธิปไตยและทุกอย่างเป็นธรรมจะทำให้ประเทศรุ่งเรืองขนาดไหน”

รัฐธรรมนูญฉบับสุดท้าย

จึงไม่แปลกที่โพลสำรวจความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และเพิ่มอำนาจให้ประชาชนตรวจสอบนักการเมืองมากขึ้น แม้บางส่วนวิตกว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรง เพราะแต่ละฝ่ายมุ่งแต่จะเอาชนะคะคานเพื่อผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าประเทศชาติและประชาชน เช่นเดียวกับความขัดแย้งกว่า 5 ปีที่ผ่านมาที่ไม่มีใครต้องการรัฐประหาร และต้องการให้ประเทศไทยเลิกฉีกรัฐธรรมนูญ

ด้านนายคณิน บุญสุวรรณ อดีต ส.ส.ร. ปี 2540 หวังว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นฉบับสุดท้ายหรือถาวรจริงๆ เพราะ 18 ฉบับมากเกินไปแล้ว ถ้ายังมีการแก้ไขและกลับมาสู่วงจรอุบาทว์อีก คำว่า “ล่มสลายของรัฐ” คงไม่ไกลเกินจริง

นายคณินยังระบุว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ส.ส.ร. จึงต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม กระบวนการ ยกร่างต้องเป็นประชาธิปไตยและเป็นอิสระจากระบบราชการ หรือแม้กระทั่งระบบศาล

ขณะที่นายเดโช สวนานนท์ อดีต ส.ส.ร. ปี 2550 ตั้งคำถามว่า ส.ส.ร. ครั้งนี้ควรจะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่ เพราะประเทศไทยถือว่ามีรัฐธรรมนูญมากที่สุดในโลก เนื่องจากประเทศไทยปฏิวัติมาหลายครั้ง ส.ส.ร.ชุดใหม่จึงต้องไปเขียนและตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะทำให้เป็นรัฐธรรมนูญถาวรอย่างไร

ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตแกนนำพรรคเพื่อไทยและ ส.ส.ร. ปี 2540 ตั้งข้อสังเกตว่า รู้สึกแปลกใจที่พูดกันถึงหมวด 1-2 เพราะโดยปรกติผู้ร่างไม่ว่าชุดไหนก็ตามไม่มีใครคิดจะแก้ไขอยู่แล้ว การอภิปรายในสภาก็มีมาก จึงไม่คิดว่าสภากลัวมีการแก้ไข แต่ต้องการใช้มาปรักปรำคนอื่นมากกว่า เป็นการสร้างความเสื่อมเสียให้แก่ประเทศชาติ ศาล และองค์กรอิสระที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยที่ต้องตรวจสอบซึ่งกันและกัน โดยศาลและองค์กรอิสระ รัฐสภาและรัฐบาล ต้องมีกลไกในการตรวจสอบ หากไม่ดุลและคานเป็นไปไม่ได้เลย แต่ที่เป็นปัญหาเพราะที่มาขององค์กรอิสระไม่มีจุดยึดโยงจากประชาชน จึงทำให้เกิดปัญหา “ผลัดกันเกาหลัง” ระหว่างองค์กรอิสระกับศาล ผู้อยู่ในองค์กร อิสระจึงต้องไปหาจุดว่าที่มาควรจะเป็นอย่างไร

“ส.ส.ร.ชุดใหม่นี้มาจากการเลือกตั้งโดย ตรงของประชาชน ใครจะมาบอกว่าไม่เชื่อถือ เพราะเกรงว่าจะมีพรรคการเมืองครอบงำ ผมคิดว่าท่านคงไม่เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประเทศไหนพัฒนาแล้วเขาก็เชื่อถือประชาชน เพราะฉะนั้นข้ออ้างดังกล่าวผมคิดว่าไม่มีเหตุผล และขัดกับหลักการประชาธิปไตย ผมเชื่อว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเท่าที่จะคิดกันได้ ขณะเดียวกันก็ได้เห็นข้ออ้างที่ฟังแล้วขัดในตัว เช่น ถ้ามีสภาร่างแล้วจะเป็นการให้เช็คเปล่า ขณะเดียวกันถ้าให้ ส.ส. หรือ ส.ว. แก้กันเองก็บอกว่าจะทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง สองอย่างที่พูดมาดูเหมือนว่าจะไปทางไหนไม่ได้”

เมาค้าง-เมาอำนาจ

เห็นได้ว่าการออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มสยามสามัคคี กลุ่มเสื้อหลากสี และพันธมิตรฯครั้งนี้ไม่ได้นำเหตุผลในเรื่องของหลักนิติรัฐ นิติธรรม และประชาธิปไตยมาต่อสู้เลย แม้แต่ประเด็นมาตรา 112 ก็ปิดประตูตาย หลังจากพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลชิงประกาศว่าไม่แตะต้องหมวดพระมหากษัตริย์และมาตรา 112 อย่างเด็ดขาดเพื่อตัดเกมก่อน เพราะรู้ดีว่าเป็น การ “ชิงสุกก่อนห่าม”

พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มที่ต่อต้านจึงต้องพุ่งเป้ามาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และพยายาม “จินตนาการ” ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีวาระแอบแฝง เพื่อยึดโยงให้เกี่ยวข้องกับสถาบันให้มากที่สุด ซึ่งไม่ต่างกับอาการ “เมาค้าง” จากการ เสพติด “อำนาจ” ซึ่งเคยสุมหัวกันปล้นจี้โค่นล้มพรรคเพื่อไทยและยุบพรรคพลังประชาชน

อาการ “เมาค้าง” และ “เมาอำนาจ” จึงอันตรายยิ่งกว่า “เมาเหล้า” หรือ “เมารัก” เพราะ “น้ำอมฤตแห่งอำนาจ” นอกจากจะทำให้คนไม่เป็นคนแล้ว ยังไม่เกรงกลัวหรือละอายต่อบาป แม้แต่การเป็น “ฆาตกรฆ่าคน” ได้อย่างเลือดเย็นและอำมหิต

ขณะที่การดื่มเหล้าและเมามีคำเตือนว่า “ดื่มเหล้าเป็นอันตรายต่อสุขภาพตัวเอง” แต่ “เมาอำนาจ” สามารถทำลายบ้านเมืองให้หายนะได้ในชั่วพริบตา อย่างรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมากว่า 5 ปี ประเทศไทยวันนี้ยังถูกประณามและจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเผด็จการล้าหลัง เพราะพวก “เมาค้าง” จากการเสพติด “อำนาจ”

เช่นเดียวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่รู้จะยกเหตุผลอะไรมาต่อต้าน จึงต้องออกมาปลุกกระแสขับไล่ “ทักษิณ” ออกไปอีกครั้ง ทั้งที่วันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณก็มิได้อยู่ในประเทศไทย และคงรู้ตัวดีว่ายังไม่จำเป็นต้องรีบกลับ อีกทั้งยังทำตัว เป็นทูตพิเศษ เดินทางไปพบปะผู้นำประเทศต่างๆทั่วโลก ไม่ต่างอะไรกับนายกรัฐมนตรีตัวจริง

ดังนั้น หากพรรคประชาธิปัตย์ สลิ่ม และพันธมิตรฯยัง “ดื้อ ดึง ดัน” จะไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งนี้คงต้อง ไล่ให้ไปอยู่ดาวอังคารแล้ว!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

ถ้ากระทู้ถามสด. เป็นประโยชน์ต่อประชาชน !!?




กระทู้ถามสดในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อปชช. อาทิเช่น เรื่องปากท้องของประชาชน ราคามันสำปะหลัง หัวหอม มีราคาตกต่ำถ้าคิดได้อย่างนี้ได้ใจปชช.แน่

บนความเคลื่อนไหว  เกาะติดความเคลื่อนไหวการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ต้องแลกกับการสูญเสียภาษีอากรของประชาชน ราว 4,000-5,000 ล้านบาท เช่นนั่นกระทู้ถามสดหรือหัวข้อในการทำงานควรเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด อาทิเช่น เรื่องปากท้องของประชาชน ไปจนถึงราคาข้าวของที่แพงขึ้น!

- ประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง บอกว่าในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อให้มาแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ กกต.มีงบสำรองไว้ 900 ล้านบาท ส่วนที่เหลือรัฐบาลต้องจัดสรรให้

- แค่เลือกตั้ง ส.ส.ร.ก็ใช้งบ 2,000 ล้านบาทแล้ว และยังจะมีการเปิดให้ประชาชนทั่วประเทศลง "ประชามติ" หลังร่างรัฐธรรมนูญเสร็จอีก ซึ่งคาดว่าคงจะใช้งบอีก 2,000 ล้านบาทเช่นกัน

- นอกจากงบที่ใช้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เมื่อมี "ส.ส.ร." ก็ต้องมีเงินเดือน คูณด้วยระยะเวลาที่ใช้ในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะใช้งบประมาณอีกเท่าไร

- คิดดูแล้ว "ร่างรัฐธรรมนูญใหม่" ที่กำลังจะร่างกันขึ้นมาเพื่อตอบสนอง "พรรคการเมือง" หรืออาจจะตอบสนอง "คนบางคน" ต้องแลกกับการสูญเสียภาษีอากรของประชาชน ราว 4,000-5,000 ล้านบาท

- ในฐานะ "มนุษย์เงินเดือน" ที่เสียภาษีอย่างสม่ำเสมอ ไม่เคยหลีกเลี่ยง ซ่อนเร้น คิดแล้ว "เสียดาย..."

- ขอร่วม "ประณาม" มือชก วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แกนนำคณะนิติราษฎร์ ด้วยคน เพราะไม่เห็นด้วยกับ "วิธีป่าเถื่อน" แบบนี้

- คนเราแม้จะมีความคิดเห็น ทัศนคติ ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะแสดงออกด้วยการลงไม้ลงมือ ใช้กำลัง ปืนผาหน้าไม้ เข้าทำร้ายหรือประหัตประหารกันเยี่ยงนี้

- ในสังคมประชาธิปไตย ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ถือเป็นเรื่องธรรมดา ใครเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องอะไร ต้องแสดงออกด้วยเหตุ ด้วยผล เพื่อหักล้างเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่ง

- เมื่อ "เสียงส่วนใหญ่" เห็นไปในทิศทางใด ฝ่าย "เสียงข้างน้อย" ก็ต้องยอมรับ ขณะที่ฝ่ายเสียงข้างมาก ก็ต้องไม่ "ถากถาง" ละเลยความคิด เหตุผล ของฝ่ายเสียงข้างน้อยด้วยเช่นกัน แบบนี้ถึงจะเรียกว่า "สังคมประชาธิปไตย"

- เห็น จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน บอกว่า ต่อไปนี้จะเอาเวลาไปตั้งกระทู้ถามสดในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน อาทิเช่น เรื่องปากท้องของประชาชน เช่น เรื่องราคามันสำปะหลัง หัวหอม ลำไย เนื่องจากปัจจุบันมีราคาตกต่ำ

- ถ้า "ฝ่ายค้าน" คิดได้อย่างนี้ คงจะเกิดประโยชน์ และได้ใจประชาชนแน่ เพราะปัจจุบันไปไหนมาไหนมีแต่คนบ่นข้าวของแพง โดยเฉพาะราคาอาหาร ที่ประชาชนต้องบริโภควันละ 3 มือ "แพงโคตรๆ"

- ในช่วงปลายสมัยที่ "ประชาธิปัตย์" เป็นรัฐบาล ก็เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสินค้าราคาแพง จนถูกลงโทษด้วยผลการเลือกตั้งมาแล้ว

- มายุครัฐบาล "เพื่อไทย" ประชาชนก็ยังไม่พ้นจากภาวะ "ข้าวยากหมากแพง" หาก "ฝ่ายค้าน" เกาะติดและกระทุ้งรัฐบาลให้หันมาสนใจปัญหาเรื่อง "ปากท้อง" ของประชาชนเป็นพิเศษ ไม่แน่เลือกตั้งสมัยหน้า คะแนนเสียงอาจจะดีขึ้นกว่าเก่าก็เป็นไปได้

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

พี่น้องครู ครับ.. กฎว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ประกาศแล้ว !!?

วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. ๒๕๕๕

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๔) มาตรา ๑๐๓ วรรคห้า และมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.ค.ศ. โดยได้รับอนุมัติ จากคณะรัฐมนตรีออกกฎ ก.ค.ศ. ไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ การสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนกรณีรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา และกรณีถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ. นี้

ข้อ ๒ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๙๘ วรรคสอง วรรคสี่ และวรรคห้า มาตรา ๑๐๐วรรคหก และผู้บังคับ
บัญชาที่ได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๔ แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน

ข้อ ๓ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ จะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการได้ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ และผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการมิได้รับเป็นทนายแก้ต่างให้ และผู้มีอำนาจตามข้อ ๒พิจารณาเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ

(๒) ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณาหรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น

(๓) ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาและได้ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจำคุก เป็นเวลาติดต่อกันเกินสิบห้าวันแล้ว

(๔) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวน หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น และผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ พิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุด ได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๔ การสั่งพักราชการตามข้อ ๓ ให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา เว้นแต่กรณีที่ผู้ถูกสั่งพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ร้องทุกข์คำสั่งพักราชการและผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นว่าคำร้องทุกข์ฟังขึ้น และสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นเนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการ ยังไม่แล้วเสร็จ และผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นได้

ข้อ ๕ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีกรณีถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพถ้าภายในสามสิบวันนับแต่วันที่หน่วยงานการศึกษาของผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานอยู่ได้รับหนังสือแจ้งการพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และผู้บังคับบัญชาหน่วยงานการศึกษานั้น พิจารณาเห็นว่า ผู้นั้นไม่เหมาะสมที่จะเปลี่ยนตำแหน่งหรือย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือผู้นั้นมีความเหมาะสม แต่ไม่อาจเปลี่ยนตำแหน่งหรือย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นได้หรือ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี ไม่อนุมัติ ก็ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ สั่งให้ผู้นั้นพักราชการ

ข้อ ๖ การสั่งพักราชการตามข้อ ๕ ให้สั่งพักตลอดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เว้นแต่กรณีที่ผู้ถูกสั่งพักราชการเนื่องจากเหตุ ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ร้องทุกข์ คำสั่งพักราชการและผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นว่าคำร้องทุกข์ฟังขึ้นและสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติ หน้าที่ราชการก่อนกำหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เนื่องจากมีตำแหน่งอื่นที่ไม่ต้องมี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานการศึกษาพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมีความเหมาะสม ที่จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการอาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนกำหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้

ข้อ ๗ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา หลายคดี เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้น พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวนและทุกคดี

ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้น มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้นอีกเว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ ก็ให้สั่งพักราชการ ในสำนวนหรือคดีอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย

ข้อ ๘ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีเหตุพักราชการตามข้อ ๓ และพักใช้ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามข้อ ๕ ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวนและทุกคดี ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้น มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น หรือถูกฟ้อง คดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้นอีก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ หรือมีกรณี

ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็ให้สั่งพักราชการ
ในสำนวนหรือคดีอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย

ข้อ ๙ การสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ห้ามมิให้สั่งย้อนหลังไปก่อน วันออกคำสั่ง เว้นแต่
(๑) ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการหรือจะถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนอยู่ในระหว่างถูกควบคุม หรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา การสั่งพักราชการหรือการสั่ง ให้ออกจากราชการไว้ก่อนในเรื่องนั้นให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจำคุก

(๒) ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนแล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่ เพราะคำสั่งเดิมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง ให้สั่งพักหรือสั่งให้ออกตั้งแต่วันให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามคำสั่งเดิม หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนในขณะที่ออกคำสั่งเดิม

ข้อ ๑๐ คำสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสั่งพักหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งให้พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเมื่อได้มีคำสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนแล้ว ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งให้ด้วยโดยพลัน ในกรณีที่ผู้ถูกพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งแต่ได้มีการแจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบพร้อมกับมอบสำเนาคำสั่งให้ผู้นั้น รวมทั้งทำบันทึกลงวัน เดือน ปี

เวลาและสถานที่ที่แจ้ง และลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ถือวันที่แจ้งนั้น
เป็นวันที่ผู้นั้นได้รับทราบคำสั่ง

ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งได้โดยตรง แต่ได้มีการแจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้นั้น ณ ที่อยู่ของผู้นั้น ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ โดยส่งสำเนาคำสั่งไปให้สองฉบับเพื่อให้ผู้นั้นเก็บไว้หนึ่งฉบับ และให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อและวัน เดือน ปีที่รับทราบคำสั่งส่งกลับคืนมาเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่าผู้นั้นได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อแลวัน เดือน ปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมา ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับทราบคำสั่งให้พักราชการ
หรือคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้นแล้ว

ข้อ ๑๑ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการและผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ พิจารณาเห็นว่าการสอบสวนพิจารณา หรือการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ ๓ นั้นจะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้

ข้อ ๑๒ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ ๕ เป็นเวลาเกินหนึ่งปี ผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ อาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้

ข้อ ๑๓ ให้นำความในข้อ ๔ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ มาใช้บังคับกับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม

ข้อ ๑๔ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดพักราชการไว้แล้ว หากผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ พิจารณาเห็นว่ามีเหตุตามข้อ ๑๑ หรือข้อ ๑๒ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนอีกชั้นหนึ่งก็ได้

ข้อ ๑๕ ในกรณีที่จะสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อ ๑๔ ให้สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตั้งแต่วันพักราชการเป็นต้นไป

ข้อ ๑๖ การสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าออกจากราชการไว้ก่อน ให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน

ข้อ ๑๗ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นประการใดแล้วให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๐ วรรคสี่
หรือมาตรา ๑๓๔ แล้วแต่กรณี

(๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ แล้วแต่กรณี ในตำแหน่งและวิทยฐานะเดิมหรือตำแหน่งเดียวกับที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและวิทยฐานะ แล้วให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามมาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือมาตรา ๑๓๔ แล้วแต่กรณี

(๓) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการได้เนื่องจาก ผู้ถูกสั่งพักราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการแล้ว หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ซึ่งจะต้องพ้นจาก ราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น แล้วแต่กรณี ก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งงดโทษตามมาตรา ๑๐๒ โดยไม่ต้องสั่ง ให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ และสำหรับผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ


(๔) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งงดโทษตามมาตรา ๑๐๒ แล้วสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ

(๕) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งยุติเรื่อง และสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งและวิทยฐานะเดิมหรือตำแหน่งเดียวกับที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและวิทยฐานะ

(๖) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการได้ เนื่องจากผู้ถูกสั่งพักราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ซึ่งจะต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น แล้วแต่กรณี ก็ให้สั่งยุติเรื่อง และสำหรับผู้ที่ถูกสั่ง

ให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

(๗) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
ข้อ ๑๘ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อ ๕ หรือข้อ ๑๒ ถ้าภายหลังปรากฏผลการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นประการใด หรือพ้นกำหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้วให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไม่มีกรณี จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ แล้วแต่กรณี ในตำ แหน่งและวิทยฐานะเดิมหรือตำแหน่งเดียวกับที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและวิทยฐานะ
(๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นยังคงเป็นผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไปและไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้เป็นไปตามข้อ ๕ หรือข้อ ๑๒ แล้วแต่กรณี

(๓) ในกรณีที่ปรากฏว่าพ้นกำหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว และไม่มีกรณีที่จะต้องออจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
(๔) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกพักใช้หรือพ้นกำหนดเวลาถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการได้ เนื่องจากผู้ถูกสั่งพักราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ซึ่งจะต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น แล้วแต่กรณีก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำหรับกรณีผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

(๕) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกพักใช้ หรือพ้นกำหนดเวลาถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว แต่มีกรณีต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
ข้อ ๑๙ คำสั่งพักราชการ คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือคำสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ ต้องทำเป็นหนังสือระบุชื่อ ตำแหน่ง และวิทยฐานะของผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือผู้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งดังกล่าว โดยให้มีสาระสำคัญตามแบบ พ. ๑ พ. ๒ พ. ๓ พ. ๔ หรือ พ. ๕ แล้วแต่กรณีท้ายกฎ ก.ค.ศ. นี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.ค.ศ.

ที่มา: มติชนออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เทียบ ทักษิณ-จอมพลป.-สฤษดิ์ วิเคราะห์จุดต่าง นิติราษฎร์-คณะราษฎร !!?



นับจากปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475

วันนี้วงล้อประวัติศาสตร์การเมืองไทยหมุนมาบรรจบครบ 80 ปี

"รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" แยกแยะความเหมือน-ความต่าง การเมืองไทยช่วงก่อนและหลัง 2475 กับ 2555 ในเชิงตรรกะทางประวัติศาสตร์ ในวันที่กลุ่มเจ้านายครั้งอดีตถูกลดบทบาท และมีกลุ่มทุนขนาดยักษ์เข้ามาแทนที่

เขายังเปรียบเทียบความเด็ดขาดของ "ทักษิณ" คล้าย 2 ผู้นำเผด็จการ คือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" และ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" ไว้อย่างน่าสนใจ

- ปรากฏการณ์ทางการเมืองก่อนและหลังเปลี่ยนแปลง 2475 กับปัจจุบันเหมือนหรือคล้ายกันอย่างไร
ผมคิดว่าความต่างกันมันมีมากกว่า โดยเฉพาะตัวโครงสร้างของสถาบันการเมืองและโครงสร้างของการปกครอง เรื่องใหญ่ที่สุดก่อน 2475 ประเทศปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นทั้งประมุขของรัฐ และเป็นประมุขฝ่ายบริหารในเวลาเดียวกัน แต่หลัง 2475 พระองค์เป็นประมุขของรัฐเพียงอย่างเดียว พระองค์ท่านปลอดจากการเมืองเชิงบริหาร การตัดสินใจเป็นของนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนตัดสินใจ นี่คือบริบทที่ต่างกันมาก

- จุดโดดเด่นในช่วงก่อน 2475 กลุ่มเจ้านายมีบทบาทอย่างสูง แต่ตอนนี้กลุ่มเจ้านายแทบไม่มีบทบาท
(สวนทันที) แน่นอนคุณก็เห็นชัด กลุ่มเจ้านายเดี๋ยวนี้เป็นกลุ่มที่เล็กมาก เพราะว่าเจ้านายไม่มีบทบาทในเชิงบริหารอีกแล้ว เหลนของสมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ (ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล) เป็นแค่

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เหลนของกรมพระยาดำรงฯ คนก่อตั้งกระทรวงมหาดไทยแท้ ๆ เดี๋ยวนี้ยังเป็นแค่เบี้ยตัวหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นปลัดกระทรวงด้วย รมว.มหาดไทยก็ไม่ใช่ด้วย มาจากฝ่ายการเมือง ธุรกิจการเมืองทั้งหมดแล้ว

- มีคนพูดถึงโครงสร้างกลุ่มอำนาจในปัจจุบันว่าเป็นกลุ่มอำมาตย์ เป็นผู้มีบารมีอยู่นอกรัฐบาลเสมอ
นักประวัติศาสตร์ตีความเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือปีกหนึ่งเชื่อว่าประวัติศาสตร์มีกฎของมัน เมื่อมีพระเจ้าวางแผนการของมันแล้วว่าประวัติศาสตร์จะไปอย่างไร ประวัติศาสตร์มันต้องคลี่คลายไปตามจังหวะจะโคนของมัน แต่ประวัติศาสตร์อีกสกุลหนึ่งต้องมองว่าประวัติศาสตร์มีเหตุการณ์เฉพาะ มีวิวัฒนาการในส่วนของมันเอง

และไม่ซ้ำกันเลย เมื่อมันจบเหตุการณ์ไปแล้วมันก็จบไปเลย เช่น การปฏิวัติ 2475 มันจบไปแล้วก็คือจบไปเลย

แต่บางคนพยายามจะบอกว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมันไม่จบ เพราะมัน

ยังมีบางเรื่องที่ยังทำไม่เสร็จ ซึ่งผมไม่เห็นด้วย

- กลุ่มนิติราษฎร์มีลักษณะเชื่อมโยงให้มีบริบทที่คล้ายกลุ่มคณะราษฎรกับในอดีต
นั่นเป็นสิ่งที่พูดตรง ๆ ว่าผมเห็นต่าง กลุ่มพวกนี้เชื่อว่าประวัติศาสตร์มันยัง

ไม่จบ เพราะว่ายังทำเรื่องนั้นเรื่องนี้

ไม่เสร็จ นี่คือการตีความสายหนึ่งทางประวัติศาสตร์ ที่เขาพยายามเชื่อมโยงเพราะต้องการให้เกิดพลัง

- คณะนิติราษฎร์ กับความเคลื่อนไหวในรัฐสภาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คิดว่าสองภาพนี้ต่อกันได้หรือไม่
มันต่อกันได้หรือไม่ คงต้องดูการเคลื่อนไหวนับจากนี้เป็นต้นไป โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. แต่ผมเข้าใจว่าพรรคเพื่อไทยเขามีแผนการของตัวเอง รัฐบาลคงไม่ต้องการแก้ไขให้มันยุ่งมากมาย ผมคิดว่าคณะนิติราษฎร์มีกรอบที่กว้างใหญ่กว่าวัตถุประสงค์ของแกนนำพรรคเพื่อไทย หรือนักการเมืองในสภา เพราะฉะนั้นมันจะเชื่อมโยงกันหรือไม่ อยู่ที่การจัดตั้ง ส.ส.ร. และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

- มองในกรอบปรากฏการณ์การเมือง ขณะนี้ต่างจากอดีตอย่างไร
มันต่างไปอย่างสิ้นเชิง กลุ่มเจ้านายมันไม่มีอำนาจหรือพลังที่จะกำหนดทิศทางเชิงกลไกทางบริหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงบริหารประเทศเอง ผมคิดว่าเรื่องใหญ่ที่เมืองไทยเปลี่ยนโฉมหน้าไปก็คือนักธุรกิจ คนชั้นกลางในเมืองในกรุงเทพฯ มันมีมหาศาล จึงทำให้สังคมไทยเปลี่ยนไป ส่วนกลุ่มชนชั้นกลางระดับล่างที่เติบโตมาในเขตชนบท ก็ผันตัวมาเป็นนักการเมือง เรามีนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งในสมัยก่อนไม่มี

- ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเป็นทศวรรษของทักษิณหรือเป็นทศวรรษของอะไร
เป็นการเผชิญหน้ากันของค่านิยมสองชุดใหญ่ คือ ค่านิยมของรัฐไทยที่เติบโตมาจากระบบราชการไทย มีขั้นตอน กฎเกณฑ์ หรือมารยาท กับอีกค่านิยมหนึ่งที่เติบโตมาจากกลุ่มทุน หรือกลุ่มธุรกิจซึ่งต้องการความรวดเร็ว ต้องการความคล่องตัว ต้องการประสิทธิภาพในผลสุดท้าย โดยไม่ต้องสนใจวิธีการ ค่านิยมสองชุดนี้เผชิญหน้ากัน คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินรอยตามนี้ เพราะเขามาจากภาคธุรกิจ

- จะทำอย่างไรให้นักธุรกิจปรับตัวเข้ากับค่านิยมในระบบการเมืองไทย
คุณยิ่งลักษณ์ก็เรียนรู้หลายเรื่อง หรือแม้กระทั่งคุณทักษิณจะมีวุฒิภาวะมากขึ้นพอสมควรว่าอะไรจะได้เร็ว อะไรจะได้ช้า อะไรจะทุบโต๊ะเอาได้ อันไหนควรจะแบ่งปันคนอื่น

- ในประวัติศาสตร์ นักการเมืองคนไหนมีอิทธิพลแบบคุณทักษิณ
มันก็มีนะ แต่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองที่ก้าวกระโดด เช่น จอมพล ป. เป็นผู้นำม้ามืดที่ขึ้นมาในปี 2481 เด็ดขาดตัดสินใจรวดเร็ว เปลี่ยนชื่อประเทศ ประกาศเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ตอนนั้นวุ่นวายไปหมด ร่วมรบสงครามโลกกับประเทศญี่ปุ่นอีก โอ้โห...ยิ่งวุ่นวายอีก

จอมพลสฤษดิ์เองก็เป็นม้ามืด ผู้นำม้ามืดในอดีต ไม่ว่าจะเป็นจอมพล ป. หรือจอมพลสฤษดิ์ ส่วนใหญ่จะมีอำนาจทางการเมืองอย่างเดียว เขาไม่ได้ร่ำรวย ผมว่าคุณทักษิณมีคุณสมบัติพิเศษ นอกจากจะมีอำนาจทางการเมืองแล้วยังมีกำลังทรัพย์อันมหาศาล

- หากเทียบคุณสมบัติระหว่างจอมพล ป. จอมพลสฤษดิ์ และทักษิณ มีอะไรที่เหมือนหรือต่างกัน
ความเด็ดขาดที่เหมือนกัน ทั้ง 3 คนมีความคิดความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนประเทศไทย จอมพล ป. จอมพลสฤษดิ์ และคุณทักษิณก็มีความมุ่งมั่นว่าประเทศไทยที่เป็นมาแต่เดิมมันใช้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไป อย่างจอมพลสฤษดิ์เขาใช้อำนาจเผด็จการไม่ต้องแคร์ใครอยู่แล้ว เปลี่ยนประเทศไทยจากหน้ามือเป็นหลังมือ อย่าลืมว่าจอมพลสฤษดิ์เปลี่ยนประเทศไทยไปมหาศาล

- จอมพล ป.กับคุณทักษิณตัดสินใจเด็ดขาดเหมือนกัน ทำให้ทั้ง 2 คนประสบปัญหาทางการเมืองกัน
ก็มีอยู่ ปัญหาของผู้นำที่ใช้อำนาจเด็ดขาดต้องเผชิญหน้าอยู่คือ ปัญหากับผู้ร่วมงานเอง จอมพล ป.มีเรื่องระหองระแหงกับคณะราษฎรทั้งหมด อ.ปรีดีก็แยกไปตั้งวงอื่น คุณทักษิณก็มีปัญหาเหมือนกัน พรรคไทยรักไทยตอนที่รุ่งเรืองที่สุด คุณทักษิณดูใหญ่มาก แต่พอตอนทักษิณสมัยที่สอง คุณทักษิณเหลือคนใกล้ชิดอยู่ 3-4 คน คนอื่น ๆ เขาหนีหมดแล้ว

- รัฐบาลเสียงข้างมาก บวกแนวร่วมมวลชนทั้งในและนอกสภา บวกกับแนวร่วมกลุ่มธุรกิจเสียงข้างมากจะลากประเทศไทยไปทางไหน
ผมตอบไม่ได้นะ แต่คงลากไปอีกสักพักหนึ่ง ตัวที่ทำให้คลายมีความเป็นไปได้สองอย่างคือ 1.การแตกขั้วของมันเอง อาจเป็นเพราะอุดมการณ์และผลประโยชน์ขัดกัน 2.การเกิดพลังของขั้วใหม่ ประทานโทษผมอยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์ปรับตัวมากกว่านี้สักนิดหนึ่งก็อาจเป็นตัวเลือก อยากเห็นพรรคการเมืองใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากกว่านี้ หากเมืองไทยมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งกว่านี้ เราก็อาจมีพรรคแรงงานจริง ๆ เสียที เพราะความรู้สึกของประชาชนอ่อนไหว อย่าคิดว่าผู้ออกเสียงเลือกตั้งเปลี่ยนใจไม่ได้

ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

DSIจ่อสรุปตาย 91ศพย้ำมีคนผิด !!?

ดีเอสไอเตรียมแถลงสรุปคดีการตาย 91 ศพ ช่วงสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเร็วๆนี้ แย้มมีนักการเมืองระดับสั่งการต้องรับผิดชอบกับเรื่องที่เกิดขึ้น “ถวิล” ระบุคดีที่จะส่งฟ้องศาลต้องชี้ชัดสาเหตุการตายแต่ละศพว่าเกิดจากระงับเหตุโดยประมาท เจตนาฆ่า หรืออุบัติเหตุ ย้ำแม้มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุ้มครอง แต่ทำเกินกว่าเหตุไม่ได้ และต้องให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย

+++++++++

นายสุชาติ ลายน้ำเงิน รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่าดีเอสไอได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการตาย 91 ศพ ระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553แล้ว จะแถลงให้ทราบอย่างเป็นทางการในเร็วๆนี้ ซึ่งนักการเมืองที่เป็นผู้สั่งการต้องรับผิดชอบด้วย

“แนวทางการสอบสวนหลักฐานต่างๆชี้ชัดว่ามีการเสียชีวิต 91 ศพจริง มีการยิงจากอาวุธปืนจริง ซึ่งจะต้องดำเนินการไปตามกระบวนการกฎหมายที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะนักการเมืองที่เคยประกาศว่าจะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”

นายถวิล เปลี่ยนศรี ในฐานะอดีตเลขานุการ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กล่าวว่า การสืบสวนสอบสวนคดีทำมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีความคืบหน้าตามสมควร แต่เมื่อมาถึงรัฐบาลปัจจุบันจึงได้ข้อสรุปที่ว่า อาจมีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต

“คดีที่จะส่งสำนวนฟ้องต้องมีการระบุสาเหตุการเสียชีวิตให้ชัด ซึ่งการเสียชีวิตก็มีทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ และสื่อมวลชน เช่น เกิดจากการระงับเหตุโดยประมาท หรือเจตนาฆ่าประชาชน หรือโดยอุบัติเหตุ เป็นต้น เพราะแม้ในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่รัฐได้รับการคุ้มครองจาก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ถ้ากระทำการโดยประมาทอย่างร้ายแรง หรือเจตนาฆ่าผู้ชุมนุม หรือแม้แต่กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนมีอาวุธ ย่อมต้องมีกระบวนการตรวจสอบ และให้ความเป็นธรรมทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่าย”

ที่มา:หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ปชป.เล่นไม่เลิก โยงข้อมูล ยกโต้ง-เศรษฐา หุ้นส่วนธุรกิจ !!?

ปชป.เล่นไม่เลิก โยงข้อมูล ยก “โต้ง-เศรษฐา” หุ้นส่วนธุรกิจ ส่งว.5โฟร์ซีซั่นผลประโยชน์ทับซ้อน

นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี นางสุพัชรี ธรรมเพชร ส.ส.พัทลุง น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล ในฐานะทีมรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงข้อสังเกต น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากกรณีพบนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่น โดยนายอรรถพร กล่าวว่า ยังมีข้อสงสัยว่าวงหารือดังกล่าว มีการคุยเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นได้มีตัวละครที่น่าสนใจคือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงการคลัง เพราะได้ยอมรับว่าร่วมพูดคุยด้วย อีกทั้งข้อมูลจาก “สำนักข่าวอิศรา” ระบุว่า มีการเชื่อมโยงกันระหว่างนายกิตติรัตน์ กับนายเศรษฐา ทวีสิน ผู้บริหารบริษัทแสนสิริ เพราะทั้ง2 รายได้ถือหุ้นในบริษัทเดียวกันอย่างน้อย 3 บริษัทคือ1.บริษัทคาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ 2.บริษัทเอซี.ซีเนียร์ จำกัด 3.บริษัทรัตนโกสินทร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ทั้งนี้ทั้ง 3 บริษัทเป็นบริษัทที่นายกิตติรัตน์ ถือหุ้นมากที่สุด และเมื่อนำหุ้นของนายเศรษฐาและนายกิตติรัตน์ถือหุ้นร่วมกัน ถือว่าเป็นจำนวนหุ้นเกือบทั้งหมด นั่นหมายถึงว่าทั้งสองเป็นเจ้าของบริษัท มีความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจ และน่าจะได้รับประโยชน์จากการหารือครั้งดังกล่าว

น.ส.มัลลิกา กล่าวว่า อยากให้นายกฯมาชี้แจงเรื่องนี้ด้วยตัวเอง และในวันพรุ่งนี้ (1 มี.ค.) พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นกระทู้ถามสด และอยากให้นายกฯมาชี้แจงด้วยตัวเอง โดยอย่าบ่ายเบี่ยงข้อสงสัยหรือมอบให้รองนายกฯชี้แจงแทน เหมือนที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลที่ทีมรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์นั้น นำมาจากสกู๊ปข่าวที่มีชื่อว่า “เปิดหลักฐาน “กิตติรัตน์” หุ้นส่วน “แสนสิริ”-บิ๊กอสังหาฯ โยงปม “ปู ว.5” โฟร์ซีซันส์?” ในเว็ปไซต์สำนักข่าวอิศรา

เตรียมดันกระทู้ถามจริยธรรม “ปู” ว.5
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงกรณีการตั้งกระทู้ถามสดในวันที่ 1 มี.ค. ว่า กรณีการตั้งกระทู้ถามเรื่องภารกิจว .5ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีน.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถามนั้น ทางวิปฝ่ายค้านจะต้องมีการหารือกับประธานสภาฯ ก่อนว่ากระทู้ดังกล่าวได้ตกไปตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.ไปแล้วหรือยัง ซึ่งทางวิปฝ่ายค้านเห็นว่าคงจะต้องมีการถกเถียงเรื่องนี้ในห้องประชุมสภาฯ เพราะคาดว่าประธานสภาฯ คงจะอ้างว่ากระทู้ดังกล่าวได้วินิจฉัยให้ตกไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางวิปจะมีการเตรียมยื่นกระทู้ถามสดสำรองไว้ ซึ่งจะเป็นหัวข้อของเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่เนื้อหาที่จะถามก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับว.5 เหมือนเดิม

ส่วนการยื่นกระทู้ถามสดกรณีของ ร.ต.อ.เฉลิม นั้น นายบุญยอด กล่าวว่า ที่ประชุมของวิปฝ่ายค้านยังคงมีการถกเถียงและยังไม่ได้ข้อสรุป โดยวิปส่วนหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้ได้มีการถ่ายทอดสดให้ประชาชนได้เห็นไปแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องตั้งกระทู้ถามเพื่อให้ร.ต.อ.เฉลิมได้มีโอกาสมาแก้ตัวอีก และบางส่วนเห็นว่าควรจะตั้งกระทู้ถามสดในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องของประชาชน เรื่องของราคาสินค้าแพง น้ำมันแพง หรือเรื่องของการขึ้นค่าแรง 300 บาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจ ทั้งนี้ คงต้องรอข้อสรุปของวิปฝ่ายค้านในช่วงเช้าของวันที่ 1 มี.ค. อีกครั้งหนึ่ง

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทักษิณ. รอมชอม ชนชั้นสูง แก้ รธน. เร่งกลับไทย บนสัญญาณ พล.อ.เปรม. ปรองดอง !!?

“ชนชั้นสูง” เป็นกลุ่ม คนมีอำนาจแวดล้อมสถาบันสูงสุดของสังคม โดยทั่วไปมักเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า “อำมาตย์” ซึ่งมีแนวคิด พื้นฐานเป็นพวกอนุรักษนิยม แต่มักแสดงออกในรูปแบบ “เสรีนิยม”

ในทางการเมืองนับตั้งแต่ช่วงปี 2544 ถึงปัจจุบัน หากใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นเส้นแบ่ง อำนาจแล้ว ชนชั้นสูงจำแนกได้ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ให้กลับมามีอำนาจทางการเมืองอีก ศูนย์กลางอำนาจคนกลุ่มนี้มีกองทัพคอยหนุนหลัง และฝ่ายนี้เกี่ยวพันกับการ แทรกแซงการเมืองอย่างเด่นชัดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

สำหรับฝ่ายที่สอง เป็นพวก “ยืดหยุ่น” แต่ค่อนข้างเอนเอียงมาทาง พ.ต.ท.ทักษิณ คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ทำงาน ด้านเศรษฐกิจให้กับสถาบัน แต่ไร้อำนาจกองทัพสนับสนุนด้วยลักษณะทางอำนาจ กลุ่มชนชั้นสูงทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจผสมส่วน เป็นเนื้อเดียวกันได้ แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มขยับบทบาท มากขึ้น ใช้อำนาจรัฐบาลและมวลชนเสื้อแดงเป็นช่องทางเจรจาต่อรองเป็นระยะๆ กับกลุ่มชนชั้นสูงฝ่ายยืดหยุ่น เพื่อปูลู่ทางไปสู่การรอมชอมกับสถาบัน ในอนาคต แต่ถึงที่สุด กลุ่มชนชั้นสูงฝ่ายนี้ยังไร้พลังอำนาจชี้ขาดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หลุดพ้นจากข้อหาการเมือง แม้เขายืนยันเทิดทูนสถาบันและยื่นข้อเสนอขอ “เป็นพวก” แล้วก็ตาม

>> ลู่ทางเจรจาของ “ทักษิณ”

เมื่อดุลอำนาจประเทศแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มมากฝ่าย ชนชั้นสูงฝ่ายยืดหยุ่น ทำได้แค่เริ่มคิดด้านบวกกับ พ.ต.ท.ทักษิณและกลุ่มเสื้อแดงมากขึ้น พวกเขาแยกแยะมวลชนที่รักพ.ต.ท. ทักษิณ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม นปช.แดง ทั้งแผ่นดิน ภายใต้การนำของนายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ออกจากกลุ่มคนเสื้อแดงสุดขั้วที่เรียก “แดงสยาม” ซึ่งมีแนวคิด “ปฏิรูปสถาบัน”

กลุ่มคนชนชั้นสูงฝ่ายยืดหยุ่น ประเมินคนเสื้อแดงกลุ่มปฏิรูปว่า คือพวกสนับสนุน (เชียร์) พ.ต.ท.ทักษิณ (แต่ไม่เอาสถาบัน) เป็นขบวนการจัดตั้ง ของฝ่ายที่กีดกัน พ.ต.ท.ทักษิณกับสถาบันไม่ให้จูนความคิดเข้าหากันได้ การแยกแยะคนเสื้อแดงกลุ่มปฏิรูปเช่นนี้ พุ่งตรงไปที่ “เนวิน ชิดชอบ” ว่า เป็นหัวหน้าใหญ่ และเป็นผู้อยู่ เบื้องหลังสร้างกลุ่มเสื้อแดงกลุ่มปฏิรูป ขึ้นมา เพื่อมุ่งหวังให้สถาบันเข้าใจ พ.ต.ท. ทักษิณ และนปช.แดงทั้งแผ่นดินไปในทำนองว่า นิยมความรุนแรง มุ่งหวังล้มสถาบัน และต้องการเปลี่ยนระบอบปกครองประเทศ

แน่ล่ะ การสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้น เท่ากับเปิดโอกาสให้ “กลุ่มเนวิน” ได้ประโยชน์กับการโหนอำนาจสถาบันมาเกื้อหนุนอำนาจการเมืองได้แบบไร้กังวลด้วยท่าทีใหม่ของกลุ่มคนชนชั้นสูง ฝ่ายยืดหยุ่นนั้น นับเป็นสัญญาณใหม่ที่เกิดขึ้นและเริ่มเป็นลู่ทางช่วย พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู หลังจากที่ ถูกกลุ่มชนชั้นสูงฝ่ายเกลียด พ.ต.ท. ทักษิณ รุมกระหน่ำทำลายให้ย่อยยับมา นานกว่า 5 ปี แต่ไม่สำเร็จ
สาเหตุที่ช่วย เพราะส่วนหนึ่งเชื่อ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เป็นคนสุดขั้ว สุดโต่ง ไม่ใช่พวกมีแนวคิดจ้องล้มสถาบัน รวมทั้งเล็งเห็นความสำคัญว่า อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ต้องคดีคอร์รัปชั่น หลบลี้ภัยการเมืองยังมีประโยชน์กับประเทศชาติ และมากความสามารถนำประเทศไทย ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้ แต่เหตุผลส่วนสำคัญแล้ว กลับเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงท่าที “ขอเป็นพวก” มากขึ้น

ฝ่ายชนชั้นสูงกลุ่มนี้ มีความเห็นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า เป็นเพียงกลุ่มทุนใหม่ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษนิยมก้าวหน้า โดยสะท้อนความ “ก้าวหน้า” ตามแนว ทางระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนเชื่อ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักประสานประโยชน์ให้ทุกฝ่ายได้รับแบบ “Win-Win” คือ สถาบันก็ชนะ และประชาชนก็ได้ประโยชน์ควบคู่กันไปด้วยการประเมินเช่นนี้ ย่อมเกิดประโยชน์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างยิ่ง ราวกับเป็นการหาเหตุผลมาสร้างความ รอมชอมเพื่อหวังได้ชุบชีวิตขึ้นใหม่อีกครั้งบนผืนดินไทย

>> แก้ รธน.เพื่อรอมชอม

ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายชนชั้นสูงที่เกลียด พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มค่อยๆขาดความน่าเชื่อถือลงไปเรื่อยๆ สาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการจูงใจให้สถาบันเล่นงานพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เป็นไปตาม ที่กล่าวหาไว้ คือ ไม่สามารถทำลายได้ ซ้ำร้ายประชาชนกลับกลายเป็นพลังเสื้อแดงคอยสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เพิ่มมากขึ้น และขยายไปทั่วประเทศ เมื่อโหมแรงต่อสู้แล้วยังไม่ชนะ กลุ่มชนชั้นสูงฝ่ายยืดหยุ่นจึงแทรกตัวมาสร้างแนวทางใหม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณเจรจา โดยหวังดึงมาเป็นพวก เพราะมองว่า พลังของพ.ต.ท.ทักษิณเป็นพวก เทิดทูนสถาบันกษัตริย์ มีรูปแบบประชาธิปไตย ไม่ใช่พลังปฏิวัติ หรือพวกที่จ้อง โค่นล้มระบอบปกครองสังคม ดังนั้น การต่อรองจึงเริ่มด้วยช่องทางใช้การแก้รัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อแยกสลายพลังมวลชนเสื้อแดงกลุ่ม ปฏิรูปออกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ และออก จากกลุ่ม นปช.แดงทั้งแผ่นดิน เป้าหมาย การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ส่วนหนึ่งฝ่ายชนชั้นสูงบางกลุ่มพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นเพื่อลดความ ขัดแย้งกับ พ.ต.ท.ทักษิณ

และที่สำคัญเพื่อต้องการลดการต่อต้านสถาบันที่ถูกจุดพลุด้วยการแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่ง กำลังลุกลามไปทั่วประเทศในบรรดาปัญญาชนและนักวิชาการให้อ่อนแรงลง
แปลความได้ว่า การชูประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อมุ่งหวังไม่ให้มวลชน เสื้อแดงฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณไปร่วมมือกับ มวลชนแดงสยามกลุ่มเร่งให้เกิดการปฏิรูปสถาบันหลักของสังคมด้วยการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั่นเอง

แต่การชูแนวคิดปรองดอง ซึ่งมีแก่นพื้นฐานอยู่ที่ “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550” นั้น กลับทำให้พลังฝ่ายชนชั้นสูงที่เกลียด พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีกองทัพและกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยคอยหนุนหลังอยู่เริ่มตื่นตัวคึกคัก และนัดรวมพลต่อต้านอย่างเข้มข้น

>> พิสูจน์อนาคต

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ เกิดปรากฏการณ์ทางการเมืองดีๆ ที่พรรคเพื่อไทย และฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ แอบเป็นปลื้มและวาดหวังอนาคต “ปรองดอง” อย่างเป็นสุขใจแกนนำพรรคเพื่อไทยยิ้มด้วยแววตาผ่อนคลายทุกข์เมื่อเห็น พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ออกงานวันกองทัพไทยร่วมกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แล้วทักทายด้วยอาการมิตรภาพทางอำนาจไม่เพียงเท่านั้น ในงานปรองดองซึ่งรัฐบาลจัดขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พล.อ.เปรม ได้มาร่วมงานอย่างชื่นมื่นจนสร้างความตกตะลึงให้กับกลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลืองและฝ่ายตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ

พล.อ.เปรม ทักทาย พูดคุยกับยิ่งลักษณ์อย่างกันเองและเต็มไปด้วยอาการ “เอ็นดู” หนำซ้ำ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยผ่าน พ.ร.ก. 2 ฉบับที่เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการแก้ไขเศรษฐกิจของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ด้วยแล้ว
แน่ล่ะ...กลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลือง และพรรคประชาธิปัตย์เมื่อเห็นภาพเยี่ยงนี้ ย่อมเกิดอาการใจหายทางดุลอำนาจยิ่งนัก ใจหายเพราะเกรงว่า พล.อ.เปรม จะหันไปจับมือสร้างสังคมปรองดองกับยิ่งลักษณ์ จนทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทยได้เปรียบในดุลอำนาจ การเมืองใจหายเพราะประเมินกันว่า พล.อ. เปรม ส่งสัญญาณลดการสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลืองและพรรคประชาธิปัตย์ลงแต่การใจหายกับปรากฏการณ์ พล.อ.เปรม นั้น กลับสร้างแรงฮึดเข้มข้น ให้กลุ่มอำนาจ 2 ฝ่ายอย่างน่าสนใจยิ่ง

กลุ่มแรกคือ กลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลืองภายใต้การนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งพลังเกิดอ่อนล้าและเก็บตัวค่อนข้างเงียบมานาน เริ่มก่อหวอดนัดรวมกลุ่มสร้างพลังต่อต้านการแก้ไข รธน. โดยเริ่มนัดประกาศแนวทางในวันที่ 10 มีนาคมนี้

กลุ่มสอง เป็นกลุ่มเสื้อแดงที่ไม่พอใจ “ระบบอำมาตย์” เมื่อเห็นพรรคเพื่อไทยเริ่มแนบสนิทกับพล.อ.เปรม พลังคนกลุ่มนี้ย่อมเกิดอาการบาดหมาง กับพรรคเพื่อไทยได้

รวมความแล้ว ในสถานการณ์แก้ไข รธน. พรรคเพื่อไทยกำลังผจญอุปสรรคอำนาจทั้งกลุ่มเสื้อแดงที่สนับสนุนให้เป็นรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลืองที่จ้องหาโอกาสขับไล่ งานนี้ พรรคเพื่อไทย ยิ่งลักษณ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ คงออกอาการเหนื่อย เป็นแน่...ที่แน่ๆ อาการเหนื่อยนั้น ย่อมมา จากปรากฏการณ์ของพล.อ.เปรม ซึ่งมี ทั้งภาพ “ด้านปรองดองและปลุกพลังต่อต้านรัฐบาล” ไปพร้อมๆ กัน สัญญาณภาพเช่นนี้ หมายถึงสถานการณ์มะรุมมะตุ้ม ปั่นป่วนบนการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วสร้างความยัดเยียด ข้อหาหมิ่นเหม่ให้สังคมหวาดเสียวระทึก ไปกับการผสมโรงของพลัง “ฉีกรัฐธรรมนูญ” อีกครั้งหนึ่ง บทสรุป แนวโน้มสังคมไทยยังวนเวียนไปกับความขัดแย้งของกลุ่มอำนาจ เดิมอีก วนเวียนจนกว่าจะเกิดฝ่ายชนะ เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด แล้วโอกาสปรองดองคงมีลู่ทางเกิดขึ้นได้ลางๆ

ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ก๊กอีสาน เปิดบ้านรับ ยิ่งลักษณ์. ผนึกบารมี พล.ต.อ.ประชา-พายัพ. !!?

งานเลี้ยงต้อนรับ "ครม.สัญจร" ที่จังหวัดอุดรธานี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปี่ยมล้นไปด้วยความสุข

เป็นความสุขจากงานฉลองวันคล้ายวันเกิด "พายัพ ชินวัตร" ประธานภาคอีสาน พี่ชายนายกรัฐมนตรีที่มีอายุครบรอบ 55 ปี

เป็น ความสุขจากการต้อนรับนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หลังจากมาเยือนภาคอีสาน ซึ่งเป็น "ขุมกำลังใหญ่" ของพรรคเพื่อไทย และนับเป็นการมาเยือนครั้งแรกของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี แต่นับเป็นครั้งที่ 3 หลังจากที่ผันชีวิตเข้าสู่สนามการเมือง

การต้อนรับครั้งนี้จึงถูก จัดขึ้นอย่างสมศักดิ์ศรี ทั้งการชุมนุมของมวลชนนับหมื่นที่ "สนามทุ่งศรีเมือง" และงานเลี้ยงต้อนรับแขกอีกนับพันที่ "บ้านอีสาน คันทรี โฮม" บ้านพักส่วนตัวของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม

เมื่อ เจ้าบ้านเป็น "อินทรีอีสาน" ทุกวินาทีในงานเลี้ยงจึงเต็มเปี่ยมไปด้วยไอดินกลิ่นอีสานแท้ ทั้งอาหาร การแสดง แม้กระทั่งการแต่งกายของแขกเจ้าบ้าน ทำให้มีความสุขทั้งผู้มาเยือนและผู้เป็นเจ้าภาพ

โดยเฉพาะผู้มา เยือนอย่าง "ยิ่งลักษณ์" ที่อดใจไม่ไหวขอคว้าไมค์ร้องเพลง "ดาวกระดาษ" ของปนัดดา เรืองวุฒิ ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็เปิดเวทีเรียกขวัญให้มวลชนด้วยเพลง "นึกเสียว่าสงสาร" ของอ้อย กะท้อน เพื่อส่งสัญญาณถึงพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง

"ผมขอบอกกับทุกคนตรงนี้ว่า ร้องเพลงนี้เมื่อไรแล้วนึกถึงประชาธิปัตย์ทุกที และที่พิเศษสุดต้องขอร้องเพลงนี้ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะพรรคเพื่อไทยจะเป็นรัฐบาลอีก 2 ปี"

และคนที่มีความสุขมากยิ่ง กว่ากลับเป็นผู้ที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพอย่าง พล.ต.อ.ประชา "การจัดงานครั้งนี้ต้องละเอียด เพราะชาวอุดรฯมีหลายกลุ่ม เราก็ต้องให้เกียรติทุกกลุ่ม เชิญให้ครบทุกคน และถือเป็นเกียรติที่นายกรัฐมนตรีให้ความเป็นกันเอง ถามผมตอนนี้ ผมก็ดีใจที่ทำให้นายกฯยิ่งลักษณ์มีความสุขได้"

พล.ต.อ.ประชาเล่าถึง การมาเยือนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ทั้ง 3 ครั้ง ต่างวาระ ต่างอารมณ์ "ครั้งแรกคือช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ก็เหนื่อยกันมาก ผมและพรรคยังหนักใจว่าจะชนะหรือไม่ ครั้งที่สองอยู่ในช่วงก่อนโค้งสุดท้าย ก็เบาใจลงหน่อย เพราะเมื่อเช็กเสียงดูแล้ว

เริ่มรู้ว่ามีโอกาสชนะ แต่ครั้งล่าสุดนี้สบายใจที่สุด เพราะเรามาเยือนกันในฐานะที่เป็นรัฐบาล"

พล.ต.อ. ประชาระบุว่า การที่เลือกภาคอีสานเป็นพื้นที่การประชุม ครม.สัญจรครั้งที่ 2 เมื่อผนึกกำลังกับนายพายัพ ชินวัตร ที่เป็นประธานภาคและตนเป็นประธานที่ปรึกษาพรรค จะยิ่งทำให้ฐานการเมืองในภูมิภาคนี้แผ่ขยายออกไปไกลได้มากยิ่งขึ้น

"ฐาน การเมืองเป็นเรื่องของอนาคตก็จริง แต่พรรคจะใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุกพื้นที่ให้มีความเจริญเท่าเทียมกัน อย่างการประชุมครั้งหน้าก็จะเดินทางไปภูเก็ตวันที่ 21-22 มีนาคม เพราะเรามีความคิดว่าจะพัฒนาทุกภูมิภาค เราจะไม่ทอดทิ้งใคร แม้พื้นที่นั้นจะไม่มีเก้าอี้ ส.ส.ของเราก็ตาม"

นอกจากนี้เขายัง ประเมินสถานการณ์ว่า เมื่อฐานที่มั่นยังคงมีคะแนนเสียงมั่นคง และรัฐบาลก็ยังคงเดินหน้าทำนโยบายอย่างต่อเนื่อง ก็ใกล้ถึงเวลาที่จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้าน ในฐานะผู้ให้กำเนิดพรรคเพื่อไทย

"ถาม ว่าเป็นไปได้หรือไม่ มันก็เป็นไปได้ ท่านถือเป็นผู้ให้กำเนิดพรรคเพื่อไทยที่มาจากรากฐานของพรรคไทยรักไทย ท่านเป็นผู้ใหญ่ของพรรค เป็นธรรมดาที่สมาชิกจะต้องการให้ท่านกลับมา แต่ต้องรอจังหวะดี ๆ ต้องรอไทม์มิ่ง (เวลา) เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไทม์มิ่งดี การเมืองนิ่ง ก็น่าสนใจ"

แต่คำว่า "การเมืองนิ่ง" ในอุดมคติของ "อินทรีอีสาน" ไม่ได้มีหมายความแค่เพียงนายกฯพบกองทัพ หรือนายกฯพบประธานองคมนตรี

"คง ไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้นจะนิ่งแล้ว เพราะท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ให้ความสนใจเรื่องงานมาก่อน ไม่อยากให้เอาการเมืองมาเล่นกับบ้านเมือง แต่อยากเห็นบ้านเมืองสงบ มีสันติสุข การเมืองนิ่งก็

หมายถึงสังคมต้องไม่มีความขัดแย้ง และต้องให้เกิดความปรองดองเสียก่อน"

พล.ต.อ. ประชายังขยายความทิ้งท้ายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะทำให้การเมืองนิ่ง แต่จะนิ่งหรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ทั้ง 99 คน

"เรายังไม่รู้ว่าเขาจะคิดอย่างไร จะออกแบบรัฐธรรมนูญเป็นแบบไหน ตอนนี้พรรคก็เลยไม่ได้หวังอะไรมาก แต่ถ้าถามว่า ถ้ามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย นั่นก็หมายความว่าบรรยากาศการเมืองก็กำลังจะเกิดความปรองดองที่ดีขึ้น"


ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทักษิณ.เปิดหน้าชัดเจน ผู้ขับเคลื่อนนโยบาย !!?

เริ่มจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา สำหรับท่าทีของ 'ทักษิณ' ที่ประกาศเตรียมขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลตั้งแต่ มี.ค. 2555 เป็นต้นไป...

เกาะติดความเคลื่อนไหว พ.ต.ท.ทักษิณ เล่าสู่คนเสื้อแดงฟัง ถึงเรื่องความช่วยเหลือไทยในช่วงน้ำท่วมใหญ่จากจีน รวมทั้งโครงการ "รถไฟความเร็วสูง"

- ปมแก้รัฐธรรมนูญ แม้จะผ่านฉลุยวาระแรก ไปด้วยเสียงสมาชิกรัฐสภามากถึง 399 แต่ระหว่างทางจากนี้ไปจนกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นรูปเป็นร่าง มีแนวโน้มว่า อาจจะถูกหลายฝ่ายหลายกลุ่มรุมขวางอย่างหนัก

- จริงอยู่ที่ว่า แม้ "รูปแบบ" จะมองเห็นว่าเป็นประชาธิปไตย แต่หลายฝ่ายก็ไม่มั่นใจใน "เนื้อหา" ว่า จะซ่อนวาระอะไรไว้บ้าง เพราะเหตุผลสำคัญในการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับ 50 ที่ฝ่ายรัฐบาลและมวลชนที่สนับสนุนระบุว่าเป็นมรดกจากเผด็จการทหารนั้น มีประเด็นสำคัญที่ถูกจับตา คือ "องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ" ที่ถูกโจมตีว่ามาจากอำนาจเผด็จการ จะถูกรื้อหรือไม่

- ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง

- งานนี้ ฝ่ายที่อยากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะรัฐบาล จะต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องล้มล้างฉบับเก่าแล้วยกร่างฉบับใหม่ให้กระจ่าง อย่าลืมว่าอีกหลายล้านเสียงที่ไม่ได้เลือกรัฐบาลก็มีสิทธิที่ไม่เห็นด้วย

- เก็บตกบรรยากาศ รวมพลมวลชนคนเสื้อแดง ณ โบนันซ่า เขาใหญ่ เมื่อค่ำคืนวันเสาร์ที่ 25 ก.พ. 2555 คึกคักคลาคล่ำไปด้วยบรรดาแกนนำหัวแถวยันท้ายแถว ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่ช่วงวีดิโอลิงค์ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร มาจากบ้านพัก ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์... ที่ได้เห็นความจริง อย่างไม่ต้องคาดเดาถึงการบริหารผ่านน้องสาว

- เริ่มจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา สำหรับท่าทีของ นายกฯ ดูไบ ที่ประกาศเตรียมขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลตั้งแต่ มี.ค. 2555 เป็นต้นไป ซึ่งความจริงแล้วอดีตนายกฯ ทักษิณ พยายามช่วยงานรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยเฉพาะการประสานสัมพันธ์กับนานาประเทศที่เจ้าตัวมีคอนเนคชั่น ทุกประเทศก่อนที่น้องสาวจะไปเยือน นอกจากจะเป็นหน่วยล่วงหน้าเดินทางไปเจรจาปูทางให้น้องสาวไว้ก่อนแล้วยังตามไปสานต่อ

- ล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ เพิ่งกลับจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน หลังจากไปๆ มาๆ อยู่ระยะหนึ่ง เพื่อเจรจาและประสานกับทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนของจีน ว่าด้วยความร่วมมือกับรัฐบาลไทย ให้รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว อีกทั้งยังประสานทำให้ผู้แทนจากประเทศจีนเข้ามาพบปะกับรัฐมนตรีของไทย

- หลายอย่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เล่าสู่คนเสื้อแดงฟัง ถึงเรื่องความช่วยเหลือไทยในช่วงน้ำท่วมใหญ่จากจีน ที่กำลังจะกลายเป็นโครงการความร่วมมือกันในอนาคตเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะเรื่องแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ทั้งระบบ ให้เสร็จภายในวาระของรัฐบาลนี้

- รวมทั้งโครงการ "รถไฟความเร็วสูง" ภายในประเทศ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คาดว่า จะเริ่มต้นด้วยเส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ และ กทม.-นครราชสีมา ในปลายปีนี้

- นอกจากนี้ อดีตนายกฯ ยังเจรจาเรื่องการจัดหา "แทบเล็ต" จากจีนให้ เด็ก ป. 1 ตามนโยบายของรัฐบาลด้วย ผลเจรจาเรื่องราคาและสเปคเครื่องเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ เตรียมจะให้รัฐบาลเพื่อไทย ขยายนโยบายแจกให้เด็ก ม. 1 เพิ่มอีกเกือบล้านเครื่อง

- ทิ้งท้ายบนเวทีโบนันซ่า นายกฯ ดูไบ แปลงเพลง "เล่าสู่กันฟัง"..."น้ำที่ท่วมทางโน้น หนาวถึงคนทางนี้ ยังอยากได้ยินทุกเรื่องราว เธอเป็นหนี้อยู่หรือเปล่า อย่าลืมเล่าสู่กันฟัง ฉันยังมีน้องสาวเป็นนายกฯ อยู่ทั้งคน"...ได้ใจแฟนคลับจนเคลิ้มไปทั้งคืน!

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เส-นี-ยด !!?

ถ้าเป็นสำนวนกำลังภายในของ...หนังจีน...ฤทธิ์มีดสั้น ที่พูดถึงอิทธิฤทธิ์ของ "มีดบิน" ของพระเอกในเรื่อง...ลี้กิมฮวงก็ต้องแสดงความเสียใจครั้งแล้วครั้งเล่ากับ...พรรคประชาธิปัตย์...

เพราะไม่ว่าจะเขวี้ยงมีดบินไปกี่ครั้ง...มันก็พลาดเป้าไปแทบจะทุกครั้ง

และแทบจะทุกครั้งที่มันพลาดเป้า...มันกลับพุ่งเข้ามาเสียบอกตัวเอง

ใครจะเชื่อว่า...พรรคการเมืองนิยมของคนไทยในยุคพ่อแม่ปู่ย่า...จะตกต่ำได้ถึงเพียงนี้...ใครจะคาดหมายได้...ตัวตลกไม่กี่ตัวของพรรคการเมืองที่มีอายุเนิ่นนานเกินกว่าชั่วอายุคนพรรคนี้...จะสร้างความตกต่ำให้กับพรรคได้ถึงขนาดนี้

มาดของหัวหน้าพรรคที่ไร้ข้อตำหนิ กับวาจาที่สยบคนในสภาและหน้าจอโทรทัศน์ในเงียบงัน คนอย่าง ชวน หลีกภัย หาไม่ได้อีกแล้วหรือในพรรคการเมืองพรรคนี้

การอภิปรายอย่างแม่นยำในเนื้อหา...แสบมันฮา...แบบ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี วันนี้ไม่มีในอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์

หนักแน่นไปด้วยเหตุผลครบครันไปด้วยเรื่องราวข้ออ้าง...คนอย่าง ศุภชัย พานิชภักดิ์ และ สุรินทร์ พิศสุวรรณ ไม่มีหามาทดแทนไม่ได้สักคนเลยหรือ

ใครจะเป็น ถนัด คอร์มันตร์ และ พิชัย รัตตกุล...

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ...อำนาจของคนที่จะนั่งบนเก้าอี้หัวหน้าพรรคการเมืองไม่ใช่อยู่ที่สำนวนโวหาร...ที่สำคัญกว่านั้น...คือความเป็นจริงในเนื้อหา ข้อกล่าวหาที่ปราศจากข้อโต้แย้ง ความเป็นจริงที่ถูกนำเสนออย่างสุภาพเป็นผู้ดี...ไม่ใช่การป้ายสีและพูดจาสองแง่สองง่ามในสิ่งที่พิสูจน์ยืนยันไม่ได้...

หัวหน้าพรรคที่เป็นหัวหน้า...ต้องเป็นมากกว่าหุ่นเชิด ต้องควบคุมทหารราบพลเลวของพรรค...ไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม ต้องให้เกียรติกับศัตรูเท่ากับที่สถานะแห่งตน...หัวหน้าพรรคที่เป็นหัวหน้า ต้องมีบารมีมากกว่าอำนาจ

กรณี ว.5 ของ นายกรัฐมนตรีเพื่อไทย...ในโรงแรมใหญ่กลางกรุงนั้น...กำไรที่คิดว่าจะได้ กลายเป็นขาดทุนอย่างมากมาย ไม่ใช่เพราะเรื่องราว แต่เพราะวิธีการนำเสนอที่ต่ำทรามและแสนสถุล ของตัวตลกไม่กี่ตัวในหมู่พวกท่าน

คนดีๆ ในพรรคท่านนั่นแหละ...เขารู้สึกกัน

โดย:พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ถวายเฮลิคอปเตอร์ !!?

*** สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. เข้าเฝ้าฯน้อมเกล้าฯถวายเฮลิคอปเตอร์เพื่อใช้เป็นพระราชพาหนะ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยังความปลื้มปีติแก่ ผบ.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นล้นพ้น

*** ที่ผ่านมาการปราบปรามยาเสพติดกำลังฮอต มีผลงานออกมาสู่สายตาประชาชนไม่ขาดสาย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ มือปราบรุ่นใหญ่ รวมทั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เลขาธิการ ป.ป.ส. พร้อมด้วย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. สรุปผลงาน 4 เดือนที่ผ่านมานำเข้ายานรกน้อยลง สกัดตั้งแต่ชายแดน ทั้งภาคเหนือ-อีสาน ริมฝั่งโขง แถมมีการร่างกฤษฎีกาพิจารณาการลงโทษ ให้นักโทษคดียาเสพติดถูกประหารชีวิตภายใน 60 วันหลังศาลตัดสิน ไม่เกี่ยวกับคดีอื่น อยู่ในระหว่างร่างตรวจสอบ

*** ยังไม่จบง่ายๆสำหรับคดีแก๊งอิหร่านระเบิดเขย่ากรุง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. ยืนยันแก๊งคนร้ายชาวตะวันออกกลางมีเป้าหมายสังหารบุคคล เพราะการลงมือเหมือนกับระเบิดสังหารเหยื่อที่จอร์เจียและอินเดีย แต่เพื่อความไม่ประมาท ผบ.ตร. สั่งด่วนให้ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร. สอบสวนผู้ต้องหาว่ายังมีเครือข่ายกบดานในไทยอีกหรือไม่ ล่าสุดขยายผลมีคนไทยร่วมขบวนการด้วย จึงกำชับให้ พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผบช.น. วางกำลังคุมเข้มแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ

*** ชาวบ้านฝากชมมาสำหรับ พ.ต.อ.สมชาย ชำนิ ผกก. สภ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย มนุษย์สัมพันธ์ดีเยี่ยม เป็นนายตำรวจนักพัฒนา ชาวบ้านเดือดร้อนเข้าพบปรึกษาหารือได้ทุกเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

*** ฉากมาที่เรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย สัปดาห์ที่ผ่านมา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.ตร. โดยมี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. เสนอวาระสำคัญพิจารณาเพิ่มอัตราระดับผู้บัญชา-ผู้การ-รองผู้การ-ผู้กำกับ-รองผู้กำกับ-สารวัตร-รองสารวัตร และพนักงานสอบสวน รวมแล้วกว่า 2,000 อัตรา ส่งผลให้การแต่งตั้งโยกย้ายโผ พ.ต.อ. ที่จะมีขึ้นในช่วงเดือน มี.ค. นี้โล่งสะดวกขึ้น

*** เยียวยาไฟใต้รายละ 7.5 ล้านบาท พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. พูดชัด จำนวนผู้ที่จะได้รับการเยียวยานั้นได้รวบรวมข้อมูลไว้บางส่วน แต่ยังเปิดเผยจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ส่วนชาวบ้านที่ถูกยิง 4 ศพ ในพื้นที่ปัตตานี หากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็เข้าข่ายที่จะได้รับการเยียวยาตามหลักเกณฑ์ เบื้องต้นได้มอบให้รายละ 500,000 บาท

*** ปิดท้าย พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิ์ รอง ผบช.น. รับผิดชอบงานจราจร นครบาล จัดตรวจสุขภาพให้ตำรวจจราจรเกือบ 5,000 นาย จนถึงวันที่ 5 มี.ค. นี้ ที่โรงพยาบาลตำรวจ

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศาลยังไม่ให้ประกันคดีโทษรุนแรงกลัว‘อากง’วัย62ปีหลบหนี !!?

ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง 7 นักวิชาการยื่นประกัน “อากง” ระบุคดีร้ายแร้ง ข้อต่อสู้คดีไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าไม่ได้ทำผิดจริง หากให้ปล่อยตัวชั่วคราวไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะไม่หลบหนี ด้านทนาย “โจ กอร์ดอน” เผยอัยการยื้อคดีขอยืดเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 3 อีก 30 วัน ทำให้ขอพระราชทานอภัยโทษไม่ได้ทั้งที่สารภาพและศาลตัดสินไปแล้ว แกนนำ ครก. 112 มั่นใจรวบรวมรายชื่อครบหมื่น เสนอแก้ม.112 ได้ทันกำหนด

ความคืบหน้ากรณีที่นักวิชาการ 7 คน ใช้ตำแหน่งพร้อมและหลักทรัพย์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไม่ให้ประกันตัวนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” วัย 62 ปี จำเลยคดีหมิ่นสถาบันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ศาลสั่งจำคุก 20 ปี จากกรณีส่งข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอสเข้าโทรศัพท์มือถือคนใกล้ชิดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์อ่านคำวินิจฉัยสรุปว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีกับพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วนับว่าร้ายแรง ประกอบกับข้อที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หากให้ปล่อยตัวชั่วคราวไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะไม่หลบหนี และที่จำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วยไม่ปรากฏว่าถึงขนาดจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ทั้งทางราชการก็มีโรงพยาบาลที่จะรองรับให้การรักษาจำเลยได้อยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”

นายอานนท์ นำภา ทนายความของโจ กอร์ดอน ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แจ้งว่า อัยการได้ยื่นขอขยายเวลาอุทธรณ์ต่อศาลเป็นครั้งที่ 3 (ครั้งละ 30 วัน) มีกำหนดถึงวันที่ 8 มี.ค. นี้ หลังโจ กอร์ดอน รับสารภาพ และศาลตัดสินลงโทษเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2554 ให้จำคุก 5 ปี สารภาพลดโทษเหลือกึ่งหนึ่งคือ 2 ปี 6 เดือน ส่งผลให้คดีของโจ กอร์ดอน ยังไม่ถึงที่สุด จำเลยยังคงต้องอยู่ในเรือนจำโดยที่ยังไม่สามารถทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษได้ ทั้งนี้ อัยการสามารถขอขยายเวลาอุทธรณ์ไปได้เรื่อยๆไม่มีกำหนด จึงอยากตั้งคำถามว่าเป็นการกลั่นแกล้งให้ต้องติดคุกยาวหรือไม่ เพราะเมื่อคดีไม่สิ้นสุด ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ ทั้งที่สารภาพไปแล้ว

ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แกนนำคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) เปิดเผยความคืบหน้าการรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ว่าที่ผ่านมามีปัญหาทางเทคนิคทำให้ดูเหมือนล่าช้า แต่ตอนนี้แก้ไขแล้ว และพยายามออกไปพบประชาชนให้มากขึ้น มั่นใจว่าจะได้รายชื่อครบ 10,000 ชื่อตามกำหนด 112 วันแน่นอน เพราะประชาชนตื่นตัวเรื่องนี้มาก

ผศ.ดร.ยุกติยอมรับว่า การที่พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลประกาศชัดเจนว่าไม่สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ประกอบกับแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ไม่ได้แสดงท่าทีสนับสนุนชัดเจน ส่งผลให้คนเสื้อแดงเกิดความลังเลพอสมควร แต่กลุ่มที่สนับสนุนให้แก้ไขก็ยังมีความเหนียวแน่น

นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการชุดที่ 2 ในคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ เปิดเผยว่า ตรวจพบการเคลื่อนไหวในลักษณะบ่อนทำลายสถาบันเบื้องสูงใน 9 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา นครสวรรค์ อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย สงขลา และกรุงเทพฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเฝ้าติดตามพฤติกรรม ซึ่งการบ่อนทำลายมีทั้งพวกที่คิดล้มล้างและจาบจ้วง

ที่มา:หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++