โดย.เภรี กุลาธรรม
เละยิ่งกว่าเละอยู่ไปก็ไม่ต่างอะไรกับศพเดินได้ สำหรับสภาพนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะตอนนี้
ไหนจะตราบาปติดตัวชนิดตามหลอกหลอนทุกภพชาติ กรณีใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมเสื้อแดง จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 91 ศพ บาดเจ็บอีกกว่า 2 พัน
ไม่รวมเหยื่อที่เกิดจากการไล่ล่าตามบัญชีดำอีกจำนวนหนึ่ง
กรณีนี้ นายอภิสิทธิ์อาจจะตกเป็นอาชญากรสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ ต้องขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศในเร็วๆ นี้
ยังไม่รวมถึงสัญชาติอังกฤษโดยการเกิด ที่อ้ำอึ้ง กรรเชียงหนี ไม่ยอมชี้แจงให้ชัดเจน
จนเป็นที่สงสัยว่าน่าจะยังไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษจริง
ยังไม่นับศึกในที่คนกันเองที่เคยอุ้มชูกันมา ก่อหวอดม็อบยกระดับถึงขั้นขับไล่ลงจากเก้าอี้
โดยมีเงื่อนไขสุดโต่ง แบบเดียวกับที่ประชาธิปัตย์เคยใช้เป็นอาวุธขับไล่รัฐบาลสมัคร-สมชายมาแล้ว
กงเกวียนกำเกวียนเวียนมาเล่นงานประชาธิปัตย์เสียเอง
นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์กระทบกระทั่งกับประเทศเพื่อนบ้าน จนนำไปสู่การใช้อาวุธหนักตอบโต้กันไปมา
จนประชาชนแนวชายแดนต้องเดือดร้อน พลัดที่นาคาที่อยู่ ระหกระเหิน อพยพหนีกันตายอลหม่าน
สะท้อนความอ่อนด้อยทางการทูตของนายอภิสิทธิ์และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย
ความจริงไทย-กัมพูชามีปัญหาระหองระแหงกัน เปราะบางเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
แค่พูดผิดหูหน่อยก็พร้อมจะมีเรื่องกันได้
แต่ถ้าได้ผู้นำที่ชาญฉลาด รู้จักใช้ลิ้นให้เป็นประโยชน์ การบาดเจ็บล้มตาย ความเสียหายอื่นๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
เช่นเดียวกันกับกรณีข้อเรียกร้องให้ยุบสภาก่อนหน้านี้ ซึ่งก็เป็นข้อเรียกร้องเดียวกันกับที่นายอภิสิทธิ์เคยเรียกร้องรัฐบาลนายสมชาย
แต่นายอภิสิทธิ์ก็ดื้อด้านไม่ยอม จนนำมาสู่การใช้ความรุนแรง ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ที่สำคัญสร้างบาดแผลลึกฝังใจ จนยากเยียวยาจนถึงขณะนี้และอีกหลายสิบปี
ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะนายอภิสิทธิ์เป็นตัวปัญหาและผู้สร้างปัญหาทั้งสิ้น
แถมไม่รู้ตัวเองอีกต่างหาก
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
////////////////////////////////////////////////////////
วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
พันธมิตรฯ เชื่อรัฐบาลเตรียมสลายการชุมนุมเพื่อเอาใจ “ฮุนเซน”
“ปานเทพ” ผิดหวังมาร์คเคยหนุน พธม. - ค้านสลายชุมนุม แต่วันนี้กลับใช้มาตรการเดียวกัน “จำลอง” ลั่นวันใดสลาย มวลชนเข้าร่วมมากมาย ส่วน “ประพันธ์ คูณมี” ชี้เรื่องขอคืนช่องทางจราจร เป็นการอ้างความเดือดร้อนเล็กๆ น้อยๆ ของประชาชน แต่เมินแก้ปัญหาใหญ่ เชื่อฮุนเซนไม่พอใจถูก พธม.โจมตี รัฐบาลจึงรับปากมาสลายการชุมนุมเพื่อเอาใจ
ช่วงบ่ายวันนี้ (9 ก.พ.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ โฆษกพันธมิตรฯ และ นายประพันธ์ คูณมี โฆษกการชุมนุมของพันธมิตรฯ ร่วมแถลงข่าวประจำวันต่อสื่อมวลชน
ปานเทพชี้สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือทวงคืนที่กัมพูชา
โดยนายปานเทพ ได้กล่าวถึงข่าวการขอพื้นที่คืนของทางเจ้าหน้าที่ ว่า ทางแกนนำพันธมิตรฯ และคณะกรรมการรวมพลังปกป้องแผ่นดิน ยังไม่มีผู้ใดได้รับการติดต่อจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ไม่ความชัดเจนในการขอพื้นที่คืน เป็นความประสงค์ของผู้ใด และอ้างอิงอำนาจกฎหมายฉบับใด ที่ผ่านมา มีเพียงการเจรจาปากเปล่า พูดลอยๆ ซึ่งหากจะมีการกระทำใดๆ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรทำหนังสือให้ชัดเจนมาถึงคณะกรรมการรวมพลังปกป้องแผ่นดิน และผู้ชุมนุมด้วย เพราะผู้ชุมนุมไม่ได้ขึ้นอยู่อาณัติของคณะกรรมการ ทุกคนมีอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อให้ทราบว่าได้รับมอบหมายจากใคร และผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ไม่ใช่พูดปากเปล่าตามที่ทำอยู่
นายปานเทพ กล่าวว่า คณะกรรมการ และพันธมิตรฯ เห็นตรงกันว่า สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องทำในขณะนี้ คือ การทวงคืนดินแดนที่กัมพูชา ใช้เป็นฐานทัพโจมตีราษฎรไทย จะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากกว่า การขอคืนพื้นที่ชุมนุมที่นี่ ขอย้ำว่า ที่เราอยู่บริเวณนี้ไม่มีการปิดสถานที่ราชการ ข้าราชการสามารถเข้าทำงานได้ การที่จะมายึดพื้นที่ตรงนี้ต้องตอบให้ได้ว่า เหตุใดรัฐบาลจึงเลือกปฏิบัติ ระหว่างคนไทยกับทหารกัมพูชา เพราะทหารกัมพูชาติดอาวุธสงครามอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และปล่อยให้ยิงราษฎรไทย แต่กับคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งออกมาชุมนุมเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย แทนที่รัฐบาลจะมาร่วมรวมพลัง กลับมีความพยายามที่จะลิดรอนสิทธิของประชาชนเหล่านี้
ผิดหวังมาร์คเคยหนุน พธม. - ค้านสลายชุมนุม แต่วันนี้กลับใช้มาตรการเดียวกัน
“น่าผิดหวังที่นายกฯอภิสิทธิ์ เคยสนับสนุนการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯในการต่อต้านรัฐบาลในระบอบทักษิณ ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในเวลานั้น นายกฯอภิสิทธิ์ มีความเห็นว่า มาตรการที่รัฐบาลใช้สลายผู้ชุมนุมนั้นไม่ชอบธรรม ในวันนี้พอมาเป็นนายกฯกลับใช้มาตรการเดียวกัน จึงพิสูจน์แล้วว่า นายอภิสิทธิ์ ก็ไม่ต่างจาก นายสมัคร หรือ นายสมชาย” นายปานเทพ กล่าว
โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวอีกว่า ในกรณีการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งคณะรัฐมนตรีในการ ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง และจำกัดพื้นที่กระทบความมั่นคงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น พันธมิตรฯได้ศึกษาข้อกฎหมายแล้วเห็นว่า จะยังไม่มีการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองตามที่ได้ประกาศไว้ แต่จะรอมาตรการที่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะทำอะไรกับประชาชน เมื่อเช่นนั้นเกิดความเสียหายใดๆก็จะยื่นต่อศาลปกครองทันที
ลั่นหากรัฐบาลทำให้ผู้ชุมนุมได้รับความเสียหาย จะยื่นคำร้องศาลปกครอง
“ขณะนี้การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ยังไม่มีการกำหนดมาตรการใดๆ ออกมาจากภาครัฐ ทันทีที่รัฐบาลประกาศหรือเริ่มมาตรการใดๆ ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ผู้ชุมนุมได้รับความเสียหาย จะยื่นคำร้องต่อศาลปกครองทันที” นายปานเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่ไม่ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากเห็นว่ากระบวนการประกาศใช้ถูกต้องใช่หรือไม่ โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวตอบว่า กระบวนการประกาศบังคับใช้กฎหมายมีข้อสงสัยอยู่แล้วว่าผิดพลาด เพราะการอ้างเหตุความมั่นคงของรัฐ ต้องเกิดขึ้นเพราะผู้ชุมนุมมีเจตนาหรือเป้าหมายที่ทำให้รัฐเสียหาย แต่พันธมิตรฯ มาเพื่อพิทักษ์รักษาอธิปไตยของชาติ เพียงแต่ถึงชั่วโมงนี้ รัฐบาลยังไม่ได้กำหนดมาตรการที่ชัดเจน โดยในแง่ของข้อกฎหมายการยื่นศาลปกครองต้องมีผู้เสียหายแล้ว
“เหตุในการชุมนุมของเราจะไปเทียบกับคนเสื้อแดงไม่ได้ การชุมนุมของคนเสื้อแดงมีวัตถุประสงค์ เพื่ออำนาจทางการเมือง และการฉีกรัฐธรรมนูญ ต่างจากการชุมนุมของพันธมิตรฯที่ชุมนุมภายใต้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องหน้าที่ของพลเมืองไทยในการรักษาแผ่นดินเป็นหลัก รัฐบาลจะใช้อำนาจใดมาสลายการชุมนุม หรือขอพื้นที่คืน กล้ากับคนไม่มีอาวุธ แต่กับกัมพูชาที่ทำร้ายราษฎรไทยกลับไม่กล้า” โฆษกพันธมิตรฯ กล่าว
ไม่เชื่อชาญวิทย์เพราะฝักใฝ่เสื้อแดง-รับจ้างกระทรวงการต่างประเทศ
และจากกรณีที่มีนักวิชาการกลุ่มนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ ออกมาโจมตีการชุมนุมของพันธมิตรฯ ว่าเพื่อให้เกิดสงคราม นายปานเทพ กล่าวว่า ต้องดูว่า คนที่พูดเป็นใคร เพราะกลุ่มนักวิชาการกลุ่มนี้รับจ้างจากกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเงิน 7.1 ล้านบาท เราจึงขนานนามว่านักวิชาการ 7.1 ล้าน ซึ่งเขาต้องพูดแบบนี้อยู่แล้ว เพราะกลุ่มที่ฝักใฝ่คนเสื้อแดง และมีทัศนคติต่อต้านพันธมิตรฯ ตนไม่เห็นนักวิชาการที่ไม่มีผลประโยชน์คนไหนออกมากล่าวเช่นนี้ ทั้ง ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล หรือ ศ.อดุลย์ วิเชียรเจริญ ก็ไม่เห็นพูดเช่นนั้น
เมื่อถามถึงความเคลื่อนไหวของตำรวจภายในทำเนียบรัฐบาล ที่นำกำลังราว 500 นาย มาออกกำลังกายบริเวณประตูใกล้กับกลุ่มพันธมิตรฯ นายปานเทพ กล่าวว่า น่าจะไปทำที่ชายแดน ไปจับกุมคนกัมพูชาที่เข้ามาอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ไปขับไล่ทหารกัมพูชา เพื่อสำแดงแสนยานุภาพทางการทหาร มาทำในทำเนียบรัฐบาลเสียแรงเปล่า เพราะไม่มีทหารกัมพูชาอยู่
จำลองลั่นวันใดสลายชุมนุม มวลชนจะเข้าร่วมมากมาย
ทางด้าน พล.ต.จำลอง กล่าวเสริมว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการแวะเวียนมาพูดคุยกับตน โดยมีการร้องขอให้คืนพื้นที่เปิดการจราจร ซึ่งตนก็ได้ปฏิเสธไปด้วยไมตรีว่า เรามีความจำเป็นที่ต้องอยู่ที่นี่ เรามาชุมนุมเพื่อปกป้องแผ่นดิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากในช่วง 1-2 วันนี้ รัฐบาลมีมาตรการกดดันมากๆ พันธมิตรฯ จะปรับแผนที่กำหนดไปยังลานพระบรมรูปทรงม้าไปเป็นสถานที่อื่นหรือไม่ พล.ต.จำลอง กล่าวว่า ต้องมีการหารือกัน โดยการเคลื่อนไหวใดๆ ต้องพิจารณาไปตามสถานการณ์ แต่คิดว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเหลือเวลาไม่มาก วันใดที่มีการขอพื้นที่คืนโดยใช้กำลัง ในวันรุ่งขึ้นจะมีมวลชนเข้ามาร่วมอีกมากมาย
ประพันธ์เชื่อ ฮุนเซนไม่พอใจโดน พธม. โจมตี รัฐบาลจึงไปรับปากสลายการชุมนุม
ขณะที่ นายประพันธ์ กล่าวว่า การขอพื้นที่คืนเป็นเพียงกลยุทธ์ที่จะขับเคลื่อนเพียงกดดันผู้ชุมนุมเท่า นั้นเอง ซึ่งจริงๆ ไม่มีความจำเป็น เพียงแค่เจ้าหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่จราจรที่เปิดอยู่ให้ดี ก็จะไม่มีปัญหาการจราจรติดขัดมาก เพราะฉะนั้นการแหย่ขอพื้นที่บางส่วนคืนเป็นกลยุทธ์แบบได้คืบเอาศอก โดยอ้างความเดือดร้อนเล็กๆ น้อยๆ ของประชาชน ทั้งที่ไม่ยอมแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
โฆษกการชุมนุม กล่าวต่อว่า อยากถามรัฐบาลว่าได้ตกลงผลประโยชน์ใดกับนายฮุนเซน ทั้งนายสุเทพ และ พล.อ.ประวิตร ที่ต่อสายตรงกับ นายฮุนเซน จึงพยายามมากดดันผลักดันพี่น้องประชาชนไทย โดย นายฮุนเซน ไม่พอใจที่เวทีพันธมิตรฯกล่าวโจมตีตัวเองโดยตลอด จึงกล่าวหาว่ารัฐบาลไทยรู้กันกับพันธมิตรฯ รัฐบาลจึงต้องไปรับปากมาสลายการชุมนุมโดยอ้างมาตรการทางกฎหมาย เพื่อหวังเอาใจนายฮุนเซน
ที่มา: เรียบเรียงจากเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์
ช่วงบ่ายวันนี้ (9 ก.พ.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ โฆษกพันธมิตรฯ และ นายประพันธ์ คูณมี โฆษกการชุมนุมของพันธมิตรฯ ร่วมแถลงข่าวประจำวันต่อสื่อมวลชน
ปานเทพชี้สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือทวงคืนที่กัมพูชา
โดยนายปานเทพ ได้กล่าวถึงข่าวการขอพื้นที่คืนของทางเจ้าหน้าที่ ว่า ทางแกนนำพันธมิตรฯ และคณะกรรมการรวมพลังปกป้องแผ่นดิน ยังไม่มีผู้ใดได้รับการติดต่อจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ไม่ความชัดเจนในการขอพื้นที่คืน เป็นความประสงค์ของผู้ใด และอ้างอิงอำนาจกฎหมายฉบับใด ที่ผ่านมา มีเพียงการเจรจาปากเปล่า พูดลอยๆ ซึ่งหากจะมีการกระทำใดๆ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรทำหนังสือให้ชัดเจนมาถึงคณะกรรมการรวมพลังปกป้องแผ่นดิน และผู้ชุมนุมด้วย เพราะผู้ชุมนุมไม่ได้ขึ้นอยู่อาณัติของคณะกรรมการ ทุกคนมีอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อให้ทราบว่าได้รับมอบหมายจากใคร และผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ไม่ใช่พูดปากเปล่าตามที่ทำอยู่
นายปานเทพ กล่าวว่า คณะกรรมการ และพันธมิตรฯ เห็นตรงกันว่า สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องทำในขณะนี้ คือ การทวงคืนดินแดนที่กัมพูชา ใช้เป็นฐานทัพโจมตีราษฎรไทย จะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากกว่า การขอคืนพื้นที่ชุมนุมที่นี่ ขอย้ำว่า ที่เราอยู่บริเวณนี้ไม่มีการปิดสถานที่ราชการ ข้าราชการสามารถเข้าทำงานได้ การที่จะมายึดพื้นที่ตรงนี้ต้องตอบให้ได้ว่า เหตุใดรัฐบาลจึงเลือกปฏิบัติ ระหว่างคนไทยกับทหารกัมพูชา เพราะทหารกัมพูชาติดอาวุธสงครามอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และปล่อยให้ยิงราษฎรไทย แต่กับคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งออกมาชุมนุมเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย แทนที่รัฐบาลจะมาร่วมรวมพลัง กลับมีความพยายามที่จะลิดรอนสิทธิของประชาชนเหล่านี้
ผิดหวังมาร์คเคยหนุน พธม. - ค้านสลายชุมนุม แต่วันนี้กลับใช้มาตรการเดียวกัน
“น่าผิดหวังที่นายกฯอภิสิทธิ์ เคยสนับสนุนการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯในการต่อต้านรัฐบาลในระบอบทักษิณ ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในเวลานั้น นายกฯอภิสิทธิ์ มีความเห็นว่า มาตรการที่รัฐบาลใช้สลายผู้ชุมนุมนั้นไม่ชอบธรรม ในวันนี้พอมาเป็นนายกฯกลับใช้มาตรการเดียวกัน จึงพิสูจน์แล้วว่า นายอภิสิทธิ์ ก็ไม่ต่างจาก นายสมัคร หรือ นายสมชาย” นายปานเทพ กล่าว
โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวอีกว่า ในกรณีการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งคณะรัฐมนตรีในการ ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง และจำกัดพื้นที่กระทบความมั่นคงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น พันธมิตรฯได้ศึกษาข้อกฎหมายแล้วเห็นว่า จะยังไม่มีการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองตามที่ได้ประกาศไว้ แต่จะรอมาตรการที่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะทำอะไรกับประชาชน เมื่อเช่นนั้นเกิดความเสียหายใดๆก็จะยื่นต่อศาลปกครองทันที
ลั่นหากรัฐบาลทำให้ผู้ชุมนุมได้รับความเสียหาย จะยื่นคำร้องศาลปกครอง
“ขณะนี้การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ยังไม่มีการกำหนดมาตรการใดๆ ออกมาจากภาครัฐ ทันทีที่รัฐบาลประกาศหรือเริ่มมาตรการใดๆ ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ผู้ชุมนุมได้รับความเสียหาย จะยื่นคำร้องต่อศาลปกครองทันที” นายปานเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่ไม่ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากเห็นว่ากระบวนการประกาศใช้ถูกต้องใช่หรือไม่ โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวตอบว่า กระบวนการประกาศบังคับใช้กฎหมายมีข้อสงสัยอยู่แล้วว่าผิดพลาด เพราะการอ้างเหตุความมั่นคงของรัฐ ต้องเกิดขึ้นเพราะผู้ชุมนุมมีเจตนาหรือเป้าหมายที่ทำให้รัฐเสียหาย แต่พันธมิตรฯ มาเพื่อพิทักษ์รักษาอธิปไตยของชาติ เพียงแต่ถึงชั่วโมงนี้ รัฐบาลยังไม่ได้กำหนดมาตรการที่ชัดเจน โดยในแง่ของข้อกฎหมายการยื่นศาลปกครองต้องมีผู้เสียหายแล้ว
“เหตุในการชุมนุมของเราจะไปเทียบกับคนเสื้อแดงไม่ได้ การชุมนุมของคนเสื้อแดงมีวัตถุประสงค์ เพื่ออำนาจทางการเมือง และการฉีกรัฐธรรมนูญ ต่างจากการชุมนุมของพันธมิตรฯที่ชุมนุมภายใต้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องหน้าที่ของพลเมืองไทยในการรักษาแผ่นดินเป็นหลัก รัฐบาลจะใช้อำนาจใดมาสลายการชุมนุม หรือขอพื้นที่คืน กล้ากับคนไม่มีอาวุธ แต่กับกัมพูชาที่ทำร้ายราษฎรไทยกลับไม่กล้า” โฆษกพันธมิตรฯ กล่าว
ไม่เชื่อชาญวิทย์เพราะฝักใฝ่เสื้อแดง-รับจ้างกระทรวงการต่างประเทศ
และจากกรณีที่มีนักวิชาการกลุ่มนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ ออกมาโจมตีการชุมนุมของพันธมิตรฯ ว่าเพื่อให้เกิดสงคราม นายปานเทพ กล่าวว่า ต้องดูว่า คนที่พูดเป็นใคร เพราะกลุ่มนักวิชาการกลุ่มนี้รับจ้างจากกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเงิน 7.1 ล้านบาท เราจึงขนานนามว่านักวิชาการ 7.1 ล้าน ซึ่งเขาต้องพูดแบบนี้อยู่แล้ว เพราะกลุ่มที่ฝักใฝ่คนเสื้อแดง และมีทัศนคติต่อต้านพันธมิตรฯ ตนไม่เห็นนักวิชาการที่ไม่มีผลประโยชน์คนไหนออกมากล่าวเช่นนี้ ทั้ง ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล หรือ ศ.อดุลย์ วิเชียรเจริญ ก็ไม่เห็นพูดเช่นนั้น
เมื่อถามถึงความเคลื่อนไหวของตำรวจภายในทำเนียบรัฐบาล ที่นำกำลังราว 500 นาย มาออกกำลังกายบริเวณประตูใกล้กับกลุ่มพันธมิตรฯ นายปานเทพ กล่าวว่า น่าจะไปทำที่ชายแดน ไปจับกุมคนกัมพูชาที่เข้ามาอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ไปขับไล่ทหารกัมพูชา เพื่อสำแดงแสนยานุภาพทางการทหาร มาทำในทำเนียบรัฐบาลเสียแรงเปล่า เพราะไม่มีทหารกัมพูชาอยู่
จำลองลั่นวันใดสลายชุมนุม มวลชนจะเข้าร่วมมากมาย
ทางด้าน พล.ต.จำลอง กล่าวเสริมว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการแวะเวียนมาพูดคุยกับตน โดยมีการร้องขอให้คืนพื้นที่เปิดการจราจร ซึ่งตนก็ได้ปฏิเสธไปด้วยไมตรีว่า เรามีความจำเป็นที่ต้องอยู่ที่นี่ เรามาชุมนุมเพื่อปกป้องแผ่นดิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากในช่วง 1-2 วันนี้ รัฐบาลมีมาตรการกดดันมากๆ พันธมิตรฯ จะปรับแผนที่กำหนดไปยังลานพระบรมรูปทรงม้าไปเป็นสถานที่อื่นหรือไม่ พล.ต.จำลอง กล่าวว่า ต้องมีการหารือกัน โดยการเคลื่อนไหวใดๆ ต้องพิจารณาไปตามสถานการณ์ แต่คิดว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเหลือเวลาไม่มาก วันใดที่มีการขอพื้นที่คืนโดยใช้กำลัง ในวันรุ่งขึ้นจะมีมวลชนเข้ามาร่วมอีกมากมาย
ประพันธ์เชื่อ ฮุนเซนไม่พอใจโดน พธม. โจมตี รัฐบาลจึงไปรับปากสลายการชุมนุม
ขณะที่ นายประพันธ์ กล่าวว่า การขอพื้นที่คืนเป็นเพียงกลยุทธ์ที่จะขับเคลื่อนเพียงกดดันผู้ชุมนุมเท่า นั้นเอง ซึ่งจริงๆ ไม่มีความจำเป็น เพียงแค่เจ้าหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่จราจรที่เปิดอยู่ให้ดี ก็จะไม่มีปัญหาการจราจรติดขัดมาก เพราะฉะนั้นการแหย่ขอพื้นที่บางส่วนคืนเป็นกลยุทธ์แบบได้คืบเอาศอก โดยอ้างความเดือดร้อนเล็กๆ น้อยๆ ของประชาชน ทั้งที่ไม่ยอมแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
โฆษกการชุมนุม กล่าวต่อว่า อยากถามรัฐบาลว่าได้ตกลงผลประโยชน์ใดกับนายฮุนเซน ทั้งนายสุเทพ และ พล.อ.ประวิตร ที่ต่อสายตรงกับ นายฮุนเซน จึงพยายามมากดดันผลักดันพี่น้องประชาชนไทย โดย นายฮุนเซน ไม่พอใจที่เวทีพันธมิตรฯกล่าวโจมตีตัวเองโดยตลอด จึงกล่าวหาว่ารัฐบาลไทยรู้กันกับพันธมิตรฯ รัฐบาลจึงต้องไปรับปากมาสลายการชุมนุมโดยอ้างมาตรการทางกฎหมาย เพื่อหวังเอาใจนายฮุนเซน
ที่มา: เรียบเรียงจากเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์
หลบข้างหลัง “กษิต”!!!
ทีกับคนไทยมือเปล่า มีแค่ไม้กับหนังสติ๊ก...ท่านกลับออกฤทธิ์??
“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี ตีขลุมแบบเออเองพูดเอง ศึกไทยเขมรจบแล้ว
ที่ “ฮอ นัม ฮง” รมว.ต่างประเทศกัมพูชา แจ้นฟ้อง ยูเอ็น ไทยเสียเปรียบบานตะโก้แห้ว
จะถูกเรียกฟ้องค่าสินไหมสงครามมหาศาล ประสาทเขาวิหารจะถูกฮุบ พร้อมทั้งพื้นที่ซับซ้อน ๔.๖ กม. “ฮุนเซ็น” จะรวบรัดเป็นเจ้าของ
ฝ่ายไทยได้แต่โอ๋เขมร...พินอบพิเทาเช้าจรดเย็น?...ไม่น่าเป็น พวกที่ขี้ขึ้นไปอยู่บนสมอง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
น้ำต้มผักที่เคยหวาน!!!
เดี๋ยวนี้ขมปี๋ กลืนไม่ลงคอ เสียแล้วล่ะท่าน??
เป็นสหายร่วมรบ เพื่อนร่วมทีม โค่น “รัฐบาลทักษิณ” มาด้วยกัน... “สนธิ ลิ้มทองกุล” กับ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพซีซ่าร์แห่งกองทัพบก
ถูก “สนธิ” ไล่จิกด่า ลดเพดานบิน ให้ไปเล่น “ลิเก” หมดสภาพทหารบูรพาหน้าหยก
ที่เคย “ลิ้งก์” สุงสิงกันมาก็ขาดผลึ่ง ..งานที่ทำเข้าขาด้วยดี..เดี๋ยวนี้กับฉะกันแหลก!
ความสัมพันธ์มีแต่รุ่งริ่ง...แตกคอกันจริง ๆ ...มิได้ปิ้ง แนบอิงกันเหมือนตอนแรก???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เปี๋ยนไป๋!!
นิสัยอัธยาศัยใจคอมิได้ เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนที่ผ่านมาหรอก จะบอกให้??
นับแต่ “รัฐมนตรีก้านยาว” องอาจ คล้ามไพบูลย์ ส้มหล่นทับบาทาบวมส์ เป็น “รมต.ประจำสำนักนายกฯ” ดูแลสื่อ ในสายงานที่ท่านถนัด
เดี๋ยวนี้, พี่ ๆ เพื่อน ๆ น้องนักข่าว โทรศัพท์ติดต่อไป..ท่านก็ไม่รับสาย ทำตัวเป็นเทวดา หลายคนพ่นมา ด้วยความอึดอัด
ผิดกับ “รัฐมนตรีเตี้ยหนามเตย” สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ...ครั้นคุมสื่อของรัฐ มีมิตรไมตรีกับคนข่าวทุกสำนักอย่างมากล้น
“องอาจ”เคยเป็นสื่อมาแท้ ๆ ...ไฉนจึงทำเรื่องแย่ ๆ?..นี่ก็โดนแฉ ซะเสียผู้เสียคน??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็น “ขาใหญ่” อัพเกรด ..ติดอันดับ!!!
“ศิริโชค โสภา” ไม่ใช่ “วอลเปเปอร์” อยู่หลังฉาก “นายกฯอภิสิทธิ์” แล้วนะครับ?
ใคร ๆ พากันยกก้นลอยไม่ติดดินเสียแล้ว..เพราะใคร ๆต่าง เรียกท่านว่า ลูกพี่ทั้งนั้นเลย
ขนาด “ถาวร เสนเนียม” รมช.มหาดไทย เจอะเจอะใต้ถุนสภาฯเมื่อวันพุธ ยังเรียก “ลูกพี่” ด้วยความคุ้นเคย
เดี๋ยวนี้, สส.ประชาธิปัตย์ ทีมงานพรรคแม่ธรณีบีบม้วยผม ปะหน้าเจอตา “ท่านศิริโชค” ต้องรีบทัก และ ย่องยก กันขนานใหญ่!!!
ขืนใครเมิน “ศิริโชค”....ดวงจะตก? “นายกฯอภิสิทธิ์” จะเชิดหน้าใส่??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตำบลกระสุนตก!!!
ล็อคเป้า กันแล้วที่ “น้ามิ่ง” มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ หัวหน้าทีมเปิดอภิปราย...เตรียมฟันนายกฯ
“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มีผลงานล้มเหลว ประชาชนก็ถูกฆ่าตายเป็นเบือ สงครามไทยเขมร เสียหายยับ
ติดโผตามมา “รองสุเทพ เทือกสุบรรณ”, “รัฐมนตรีชวรัตน์ ชาญวีรกูล”
, “รัฐมนตรีโสภณ ซารัมย์” , “รัฐมนตรีพรทิวา นาคาศัย” ติดร่างแหน ถูกจวกจั๋งหนับ
ส่วน “เดอะไก่” จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที..ที่เป็น “หุ่นเชิด” ตุ๊กตายาง ให้ “นายกฯอภิสิทธิ์” สั่งงานเป็น “ร่างทรง” ในกรณี “๓ จี” เห็นที จะต้องโดนอภิปรายโดนฉะ!!
รับใช้ “อภิสิทธิ์”ไม่ลืมหูลืมตา..ถูกเขาขุดขึ้นมาด่า?..ก็สมน้ำหน้าแล้วหล่ะ???
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร,บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี ตีขลุมแบบเออเองพูดเอง ศึกไทยเขมรจบแล้ว
ที่ “ฮอ นัม ฮง” รมว.ต่างประเทศกัมพูชา แจ้นฟ้อง ยูเอ็น ไทยเสียเปรียบบานตะโก้แห้ว
จะถูกเรียกฟ้องค่าสินไหมสงครามมหาศาล ประสาทเขาวิหารจะถูกฮุบ พร้อมทั้งพื้นที่ซับซ้อน ๔.๖ กม. “ฮุนเซ็น” จะรวบรัดเป็นเจ้าของ
ฝ่ายไทยได้แต่โอ๋เขมร...พินอบพิเทาเช้าจรดเย็น?...ไม่น่าเป็น พวกที่ขี้ขึ้นไปอยู่บนสมอง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
น้ำต้มผักที่เคยหวาน!!!
เดี๋ยวนี้ขมปี๋ กลืนไม่ลงคอ เสียแล้วล่ะท่าน??
เป็นสหายร่วมรบ เพื่อนร่วมทีม โค่น “รัฐบาลทักษิณ” มาด้วยกัน... “สนธิ ลิ้มทองกุล” กับ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพซีซ่าร์แห่งกองทัพบก
ถูก “สนธิ” ไล่จิกด่า ลดเพดานบิน ให้ไปเล่น “ลิเก” หมดสภาพทหารบูรพาหน้าหยก
ที่เคย “ลิ้งก์” สุงสิงกันมาก็ขาดผลึ่ง ..งานที่ทำเข้าขาด้วยดี..เดี๋ยวนี้กับฉะกันแหลก!
ความสัมพันธ์มีแต่รุ่งริ่ง...แตกคอกันจริง ๆ ...มิได้ปิ้ง แนบอิงกันเหมือนตอนแรก???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เปี๋ยนไป๋!!
นิสัยอัธยาศัยใจคอมิได้ เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนที่ผ่านมาหรอก จะบอกให้??
นับแต่ “รัฐมนตรีก้านยาว” องอาจ คล้ามไพบูลย์ ส้มหล่นทับบาทาบวมส์ เป็น “รมต.ประจำสำนักนายกฯ” ดูแลสื่อ ในสายงานที่ท่านถนัด
เดี๋ยวนี้, พี่ ๆ เพื่อน ๆ น้องนักข่าว โทรศัพท์ติดต่อไป..ท่านก็ไม่รับสาย ทำตัวเป็นเทวดา หลายคนพ่นมา ด้วยความอึดอัด
ผิดกับ “รัฐมนตรีเตี้ยหนามเตย” สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ...ครั้นคุมสื่อของรัฐ มีมิตรไมตรีกับคนข่าวทุกสำนักอย่างมากล้น
“องอาจ”เคยเป็นสื่อมาแท้ ๆ ...ไฉนจึงทำเรื่องแย่ ๆ?..นี่ก็โดนแฉ ซะเสียผู้เสียคน??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็น “ขาใหญ่” อัพเกรด ..ติดอันดับ!!!
“ศิริโชค โสภา” ไม่ใช่ “วอลเปเปอร์” อยู่หลังฉาก “นายกฯอภิสิทธิ์” แล้วนะครับ?
ใคร ๆ พากันยกก้นลอยไม่ติดดินเสียแล้ว..เพราะใคร ๆต่าง เรียกท่านว่า ลูกพี่ทั้งนั้นเลย
ขนาด “ถาวร เสนเนียม” รมช.มหาดไทย เจอะเจอะใต้ถุนสภาฯเมื่อวันพุธ ยังเรียก “ลูกพี่” ด้วยความคุ้นเคย
เดี๋ยวนี้, สส.ประชาธิปัตย์ ทีมงานพรรคแม่ธรณีบีบม้วยผม ปะหน้าเจอตา “ท่านศิริโชค” ต้องรีบทัก และ ย่องยก กันขนานใหญ่!!!
ขืนใครเมิน “ศิริโชค”....ดวงจะตก? “นายกฯอภิสิทธิ์” จะเชิดหน้าใส่??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตำบลกระสุนตก!!!
ล็อคเป้า กันแล้วที่ “น้ามิ่ง” มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ หัวหน้าทีมเปิดอภิปราย...เตรียมฟันนายกฯ
“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มีผลงานล้มเหลว ประชาชนก็ถูกฆ่าตายเป็นเบือ สงครามไทยเขมร เสียหายยับ
ติดโผตามมา “รองสุเทพ เทือกสุบรรณ”, “รัฐมนตรีชวรัตน์ ชาญวีรกูล”
, “รัฐมนตรีโสภณ ซารัมย์” , “รัฐมนตรีพรทิวา นาคาศัย” ติดร่างแหน ถูกจวกจั๋งหนับ
ส่วน “เดอะไก่” จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที..ที่เป็น “หุ่นเชิด” ตุ๊กตายาง ให้ “นายกฯอภิสิทธิ์” สั่งงานเป็น “ร่างทรง” ในกรณี “๓ จี” เห็นที จะต้องโดนอภิปรายโดนฉะ!!
รับใช้ “อภิสิทธิ์”ไม่ลืมหูลืมตา..ถูกเขาขุดขึ้นมาด่า?..ก็สมน้ำหน้าแล้วหล่ะ???
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร,บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ชี้เป้าพันธมิตรฯ ปิดล้อมรัฐสภาปะทะเร่งปิดเกม
“จตุพร” ระบุเป้าหมายเคลื่อนการชุมนุมของพันธมิตรฯวันที่ 11 ก.พ. นี้อยู่ที่รัฐสภา หวังให้เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ซ้ำรอยเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 เพื่อเร่งปิดเกม เพราะครั้งนี้แนวร่วมน้อย เชื่อได้สัญญาณพิเศษจึงกล้าทำ ผบ.ตร. ชงรัฐบาลขยายใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯเพื่อประกาศเหตุหวงห้าม ยอมรับการข่าวได้กลิ่นยกระดับความรุนแรง
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยว่า ได้แจ้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ถึงความจำเป็นที่ต้องขยายการใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หมวดที่ 2 เพื่อควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในกรอบ เพราะวันที่ 11 ก.พ. นี้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะเริ่มเคลื่อนการชุมนุมกดดันรัฐบาล และในวันที่ 13 ก.พ. จะมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ทั้งนี้ เพื่อให้ตำรวจมีกฎหมายรองรับในการทำหน้าที่
“ได้ขอให้นายกรัฐมนตรีนำเรื่องนี้ขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 8 ก.พ. นี้ เพื่อประกาศพื้นที่ความมั่นคงห้ามไม่ให้รุกล้ำ เช่น ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา ส่วนจะมีพื้นที่อื่นอีกหรือไม่กำลังพิจารณา แต่จะพยายามให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด” ผบ.ตร.กล่าวและว่า หากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเบื้องต้นตำรวจจะขอคืนพื้นที่สาธารณะจากกลุ่มพันธมิตรฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่าการขอให้รัฐบาลขยายการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯแสดงว่าการข่าวได้รับรายงานว่าจะมีความรุนแรง ผบ.ตร. กล่าวว่า มีแนวโน้มที่จะเป็นอย่างนั้น
สำหรับการเจรจาระหว่าง พล.ต.ต.กรีรินทร์ อินทร์แก้ว รอง ผบช.น. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 กับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ขอให้เปิดช่องจราจรบนถนนราชดำเนินในชั่วโมงเร่งด่วนไม่ประสบความสำเร็จ โดย พล.ต.จำลองยืนยันไม่เปิดถนน พร้อมระบุว่ารัฐบาลมีทางเลือก 2 ทางคือ ทำตามข้อเสนอของพันธมิตรฯหรือเข้ามาสลายการชุมนุม
พล.ต.ต.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบก.น.2 กล่าวหลังนำคณะตำรวจเข้าหารือกับนายเกริกฤทธิ์ อิฐรัตน์ เลขานุการศาลอาญา เพื่อเตรียมรับมือการชุมนุมของ นปช. ในวันที่ 13 ก.พ. ว่าจะใช้กำลังตำรวจ 6 กองร้อยดูแลความปลอดภัยในบริเวณศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก และจะมีกำลังอีกส่วนหนึ่งดูแลภายนอกเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจราจร ทั้งนี้ จะไม่ยอมให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในบริเวณศาลเด็ดขาด โดยมีกล้องวงจรปิดบันทึกภาพเพื่อดำเนินคดีกับผู้ละเมิด
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ระบุว่า เป้าหมายเคลื่อนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯในวันที่ 11 ก.พ. มี 2 จุดคือ สถานทูตกัมพูชาและรัฐสภา โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่รัฐสภา
“ทราบว่าเขาต้องการให้มีการปะทะเหมือนการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 เพราะต้องการให้เรื่องจบเร็ว เชื่อว่าน่าจะได้รับสัญญาณพิเศษจากใครมา ไม่อย่างนั้นคงไม่กล้า”
ส่วนการชุมนุมของ นปช. ในวันที่ 13 ก.พ. นั้น นายจตุพรกล่าวว่า เมื่ออ่านจดหมายปรับทุกข์ของแกนนำที่อยู่ในเรือนจำหน้าศาลอาญาแล้วจะเคลื่อนการชุมนุมมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความต่างประเทศของ นปช. จะวิดีโอลิ้งค์มาตอบข้อสงสัยประเด็นการฟ้องร้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ และเรื่องการถือครองสัญชาติ จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะวิดีโอลิ้งค์มาสนทนากับคนเสื้อแดงด้วย
“การชุมใหญ่วันที่ 19 ก.พ. จะเป็นการชุมนุมยืดเยื้อหรือไม่คงไม่สามารถบอกได้ตอนนี้ เพราะสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ต้องดูกันวันต่อวัน” นายจตุพรกล่าว
ที่มา.จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยว่า ได้แจ้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ถึงความจำเป็นที่ต้องขยายการใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หมวดที่ 2 เพื่อควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในกรอบ เพราะวันที่ 11 ก.พ. นี้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะเริ่มเคลื่อนการชุมนุมกดดันรัฐบาล และในวันที่ 13 ก.พ. จะมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ทั้งนี้ เพื่อให้ตำรวจมีกฎหมายรองรับในการทำหน้าที่
“ได้ขอให้นายกรัฐมนตรีนำเรื่องนี้ขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 8 ก.พ. นี้ เพื่อประกาศพื้นที่ความมั่นคงห้ามไม่ให้รุกล้ำ เช่น ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา ส่วนจะมีพื้นที่อื่นอีกหรือไม่กำลังพิจารณา แต่จะพยายามให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด” ผบ.ตร.กล่าวและว่า หากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเบื้องต้นตำรวจจะขอคืนพื้นที่สาธารณะจากกลุ่มพันธมิตรฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่าการขอให้รัฐบาลขยายการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯแสดงว่าการข่าวได้รับรายงานว่าจะมีความรุนแรง ผบ.ตร. กล่าวว่า มีแนวโน้มที่จะเป็นอย่างนั้น
สำหรับการเจรจาระหว่าง พล.ต.ต.กรีรินทร์ อินทร์แก้ว รอง ผบช.น. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 กับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ขอให้เปิดช่องจราจรบนถนนราชดำเนินในชั่วโมงเร่งด่วนไม่ประสบความสำเร็จ โดย พล.ต.จำลองยืนยันไม่เปิดถนน พร้อมระบุว่ารัฐบาลมีทางเลือก 2 ทางคือ ทำตามข้อเสนอของพันธมิตรฯหรือเข้ามาสลายการชุมนุม
พล.ต.ต.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบก.น.2 กล่าวหลังนำคณะตำรวจเข้าหารือกับนายเกริกฤทธิ์ อิฐรัตน์ เลขานุการศาลอาญา เพื่อเตรียมรับมือการชุมนุมของ นปช. ในวันที่ 13 ก.พ. ว่าจะใช้กำลังตำรวจ 6 กองร้อยดูแลความปลอดภัยในบริเวณศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก และจะมีกำลังอีกส่วนหนึ่งดูแลภายนอกเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจราจร ทั้งนี้ จะไม่ยอมให้ผู้ชุมนุมเข้าไปในบริเวณศาลเด็ดขาด โดยมีกล้องวงจรปิดบันทึกภาพเพื่อดำเนินคดีกับผู้ละเมิด
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ระบุว่า เป้าหมายเคลื่อนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯในวันที่ 11 ก.พ. มี 2 จุดคือ สถานทูตกัมพูชาและรัฐสภา โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่รัฐสภา
“ทราบว่าเขาต้องการให้มีการปะทะเหมือนการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 เพราะต้องการให้เรื่องจบเร็ว เชื่อว่าน่าจะได้รับสัญญาณพิเศษจากใครมา ไม่อย่างนั้นคงไม่กล้า”
ส่วนการชุมนุมของ นปช. ในวันที่ 13 ก.พ. นั้น นายจตุพรกล่าวว่า เมื่ออ่านจดหมายปรับทุกข์ของแกนนำที่อยู่ในเรือนจำหน้าศาลอาญาแล้วจะเคลื่อนการชุมนุมมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความต่างประเทศของ นปช. จะวิดีโอลิ้งค์มาตอบข้อสงสัยประเด็นการฟ้องร้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ และเรื่องการถือครองสัญชาติ จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะวิดีโอลิ้งค์มาสนทนากับคนเสื้อแดงด้วย
“การชุมใหญ่วันที่ 19 ก.พ. จะเป็นการชุมนุมยืดเยื้อหรือไม่คงไม่สามารถบอกได้ตอนนี้ เพราะสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ต้องดูกันวันต่อวัน” นายจตุพรกล่าว
ที่มา.จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
คณะมนตรีฯUN ประชุมแก้วิกฤติ"ไทย-กัมพูชา"14กพ.
อินเนอร์ ซิตี้ เพรสส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร มีสำนักงานอยู่ที่เซาธ์ บลองซ์ นครนิวยอร์คของสหรัฐ รายงานว่า เพียงหนึ่งวัน หลังจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ยังไม่ได้จัดการประชุมเร่งด่วน ตามข้อเรียกร้องของกัมพูชานั้น ได้มีผลสรุปออกมาแล้วว่า จะมีการจัดประชุมตามข้อเรียกร้องในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ และเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าสหประชาชาติ กำลังดำเนินการให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของสมาคมอาเซียน จึงได้ให้นายมาร์ตี้ นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ที่กำลังเป็นเจ้าภาพหมุนเวียนของอาเซียน และทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา เข้าร่วมการประชุมด้วย
นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวในระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันอังคารว่า เขาได้หารือกับนายกรัฐมนตรีของไทยและกัมพูชาแล้ว แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดนายบันจึงไม่รับหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเสียเอง หรือไม่ก็เสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 99 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ตามมาตรา 99
แต่ก็มีบางคนให้ความเห็นว่า การที่นายนาตาเลกาวา เคยทำหน้าที่เป็นผู้แทนถาวรอินโดนีเซียประจำสหประชาชาติ ทำให้เขารู้ระบบของสหประชาชาติเป็นอย่างดี เขาได้รับการคาดหมายก่อนหน้านี้ว่า จะไม่ยกประเด็นพิพาทไทย-กัมพูชา เข้าสู่วาระการประชุมอย่างเป็นทางการของคณะมนตรีความมั่นคง ด้วยการถอนข้อเรียกร้องของกัมพูชาออก แบบเดียวกับที่เคยปรากฎเมื่อปี 2551 ตอนที่เวียดนามเป็นประธานหมุนเวียนคณะมนตรีความมั่นคงฯ
ที่มา.เนชั่น
นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวในระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันอังคารว่า เขาได้หารือกับนายกรัฐมนตรีของไทยและกัมพูชาแล้ว แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดนายบันจึงไม่รับหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเสียเอง หรือไม่ก็เสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 99 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ตามมาตรา 99
แต่ก็มีบางคนให้ความเห็นว่า การที่นายนาตาเลกาวา เคยทำหน้าที่เป็นผู้แทนถาวรอินโดนีเซียประจำสหประชาชาติ ทำให้เขารู้ระบบของสหประชาชาติเป็นอย่างดี เขาได้รับการคาดหมายก่อนหน้านี้ว่า จะไม่ยกประเด็นพิพาทไทย-กัมพูชา เข้าสู่วาระการประชุมอย่างเป็นทางการของคณะมนตรีความมั่นคง ด้วยการถอนข้อเรียกร้องของกัมพูชาออก แบบเดียวกับที่เคยปรากฎเมื่อปี 2551 ตอนที่เวียดนามเป็นประธานหมุนเวียนคณะมนตรีความมั่นคงฯ
ที่มา.เนชั่น
วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ขอดเกล็ด ประชาวิวัฒน์ ประชานิยม
“ประชาวิวัฒน์” รวมไปถึง “ประชานิยม” ไม่ต่างจากวาทกรรมทาง การเมือง ที่ต้องยอมรับโดยดุษฎีว่า สังคมยังคงสับสนว่าโดยเนื้อแท้แล้ว นโยบายเหล่านี้สร้างคุณูปการให้กับประชาชนคนไทยอย่างยั่งยืน หรือไม่อย่างไร “โต๊ะข่าวการเมือง” จึงขอนำเสนอมุมมองเชิงวิเคราะห์ถึงแนวนโยบายดังกล่าวผ่านสัมภาษณ์พิเศษ “ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ” คณบดีคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะนักวิชาการที่ค้นคว้าเกี่ยวกับ “รัฐสวัสดิการ” ซึ่งถือเป็นต้นแบบแห่ง “ประชาวิวัฒน์” และ “ประชานิยม” โดยตรง
> ประชานิยม-ประชาวิวัฒน์แค่การตลาดทางการเมือง
“ประชานิยมนั้นมีความหมายหลากหลาย ส่วนประชาวิวัฒน์เป็นเพียงการตลาดทางการเมืองเพื่อทำให้เกิดชื่อเรียกที่ แตกต่างจากประชานิยม ส่วนเนื้อหาทางนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) หลายส่วนเป็นสิ่งเดียวกับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ (ชินวัตร) หรือรัฐบาลที่ผ่านๆ มา ส่วนการ ที่สังคมไทยหรือนโยบายพรรคการเมืองจะ ก้าวข้ามพ้นนโยบายประชานิยมสู่การเป็น รัฐสวัสดิการ ยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลความเป็นจริง สังคมไทยควรเป็นระบบรัฐสวัสดิการ หรือไม่ เป็นประเด็นที่ควรจะได้ศึกษาวิจัย อย่างละเอียดต่อไป”
“การทำให้ไทยเป็นรัฐสวัสดิการ อาจเป็นเรื่องที่ไม่อาจทำได้ในระยะเวลาอันสั้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า รัฐที่เป็นระบบ รัฐสวัสดิการจะต้องมีรายได้จากภาษีอากร ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 25-30 ของจีดีพี เพื่อนำไปจัดระบบสวัสดิการพื้นฐานทั้งหมด ให้กับประชาชนทุกคน ในขณะที่ไทยมีรายได้ ภาษีอากรเพียงร้อยละ 16 ของจีดีพี ขณะที่หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับสูง ส่วนโครงสร้างงบประมาณเป็นงบประจำสูงถึง 70% เมื่อมีค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นอีกย่อมทำให้สัดส่วนของงบประจำเพิ่มสูง ขึ้นในโครงสร้างงบประมาณทำให้ประเทศเหลือเม็ดเงิน เพียงเล็กน้อยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ”
> ยาดำนโยบาย“ลด แลก แจก แถม”
“ประชานิยม หรือประชาวิวัฒน์ หรือ มาตรการบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพ หรือมาตรการเร่งรัด อะไรก็ตาม เท่าที่ศึกษา ค้นคว้า มักจะมีจุดบอดออกมาเป็นองค์ประกอบ 4 ประการดังนี้ 1.มุ่งเน้นผลประโยชน์ และชัยชนะทางการเมืองโดยใช้ฐานมวลชน เป็นเครื่องมือโดยไม่ได้ทำให้ประชาชน เข้มแข็งขึ้นหรือเป็นการเพิ่มอำนาจประชาชน 2.สร้างภาระทางการคลังจำนวนมาก ขาดความยั่งยืนทางการเงินการคลังหรือขาดความมีเหตุมีผลทางเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายหรือมาตรการ 3.ขาดความโปร่งใสในการดำเนินการ และ 4.ทำ ให้ประชาชนและระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอลงด้วยวัฒนธรรมอุปถัมภ์พึ่งพิง”
“นโยบายประชานิยมสามารถนำมา ใช้ร่วมกับนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้โดย ไม่นำประเทศสู่ความหายนะ หากไม่ทำลาย กรอบนโยบายหลักของเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ นโยบายประชานิยมที่ดี จะต้องไม่ทำลายกรอบของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งประกอบด้วย กรอบเป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กรอบเป้าหมายความมีเสถียรภาพ อันได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน เพดานหนี้สาธารณะ การกู้ยืมของ ภาคเอกชน ทั้งจากภายในและต่างประเทศ รวมไปถึงเพดานการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด”
> โมเดลกำจัดจุดอ่อนประชานิยม
“โครงการประชานิยมที่ดีต้องไม่สร้าง ความขัดแย้งใหม่ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้เสียประโยชน์ และผู้รับประโยชน์ นั่นคือควรจะเป็นลักษณะ winwin โครงการประชานิยมจะต้องไม่ทำให้เกิดการบิดเบือนทรัพยากรมากเกินไป คือ ไม่ฝืนกลไกตลาด โครงการประชานิยมไม่ควรจัดให้มีผลประโยชน์แก่ผู้รับมากเกินไป จนผู้รับประโยชน์ เกิดความเกียจคร้าน หรือกล้าเสี่ยงมากเกินไป และไม่เตรียมภูมิคุ้มกันสำหรับตน เอง ดังนั้นการค้ำประกันใดๆ จึงไม่ควร ค้ำประกันแบบ 100% แต่ควรให้ผู้เอาประโยชน์จากการประกันร่วมรับผิดชอบ ฉะนั้น โครงการประชานิยมควรใช้มาตรการที่ใช้แรงจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้มีผู้มาเข้าร่วมโครงการ ไม่ใช่เป็นการบังคับ ที่สำคัญการใช้กลไกแรงจูงใจนี้จะต้องไม่ทำลายกลไกตลาด”
“การนำนโยบายประชานิยมมาใช้ อย่างขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบของนักการเมืองในปัจจุบัน อาจจะนำมาซึ่ง ความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว ลดทอนความสามารถ ในการแข่งขัน สร้างภาระทางการคลังที่อาจนำมาสู่วิกฤติฐานะทางการคลังได้ โดยเฉพาะในระยะยาวการใช้นโยบายประชานิยมโดยขาดการเตรียมพร้อมและการสร้างความเข้าใจที่ดีกับประชาชนก็จะทำให้สังคมอ่อนแอลง ประชาชนที่ได้รับ ความช่วยเหลือ ก็จะขาดความกระตือรือร้นในการช่วยเหลือตนเอง มาตรการการขยายโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อเป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องทำควบคู่กับการบริหารความเสี่ยงและการสร้างวินัยทางการเงินไปพร้อมกัน ดังนั้นรัฐจึงควรหันมาพิจารณาถึงภาษีอื่นๆ ที่สามารถเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้ประชานิยมได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ส่งผลกระทบให้กับฐานะทางการคลัง ในระยะยาว”
> รัฐสวัสดิการที่สุดแห่งความยั่งยืน
“วิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซปี 2552-ปัจจุบัน โครงการประชานิยมจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เสียประโยชน์ (ผู้เสียภาษี) กับผู้รับประโยชน์ โดยผู้เสียประโยชน์จะต่อต้านโดยลดการผลิตลง ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง ภาษีที่รัฐจัดเก็บได้จะลดลงตามไปด้วย ทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมมากขึ้น โครงการประชานิยมทำให้ประชาชนผู้รับประโยชน์ ทำงานน้อยลง เนื่องจากไม่ทำงานก็ไม่เป็นไร รอรับผลประโยชน์ฟรีจากรัฐได้ เป็นผลให้ผลผลิตโดยรวมของชาติลดลง”
“รัฐบาลต้องเพิ่มผลประโยชน์ตาม โครงการประชานิยมขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อคง ไว้ (หรือเพิ่ม) ฐานคะแนนเสียง ในขณะ ที่ประชาชนจะอ่อนแอลง ผลผลิตลดลง ภาษีที่จัดเก็บได้ก็ลดลง รัฐบาลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกู้ยืมเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โครงการประชานิยม ทำให้มีการ จัดสรรทรัพยากรใหม่ โดยการโอนทรัพยากรจากหน่วยผลิตที่มีประสิทธิภาพไปสู่หน่วยบริโภค การที่สังคมไทยจะก้าวข้ามพ้นประชานิยม ต้องสร้างระบบรัฐสวัสดิการเข้ามาแทนที่ หากยัง ไม่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจการคลัง ก็ต้องพัฒนาสังคมสวัสดิการขึ้นมา นอก จากนี้ ยังต้องยึดหลักเสรีนิยม เพื่อออก จากประชานิยม ต้องสร้างประชาสังคม และสำนึกพลเมืองเพื่อออกจากประชานิยม” จากปากคำของ “ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ” คงไม่ต้องอรรถาธิบายเพิ่มเติม ว่า “ประชาวิวัฒน์” และ “ประชานิยม” นั่นบูรณาการประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน มากน้อยเพียงใด
ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
> ประชานิยม-ประชาวิวัฒน์แค่การตลาดทางการเมือง
“ประชานิยมนั้นมีความหมายหลากหลาย ส่วนประชาวิวัฒน์เป็นเพียงการตลาดทางการเมืองเพื่อทำให้เกิดชื่อเรียกที่ แตกต่างจากประชานิยม ส่วนเนื้อหาทางนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) หลายส่วนเป็นสิ่งเดียวกับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ (ชินวัตร) หรือรัฐบาลที่ผ่านๆ มา ส่วนการ ที่สังคมไทยหรือนโยบายพรรคการเมืองจะ ก้าวข้ามพ้นนโยบายประชานิยมสู่การเป็น รัฐสวัสดิการ ยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลความเป็นจริง สังคมไทยควรเป็นระบบรัฐสวัสดิการ หรือไม่ เป็นประเด็นที่ควรจะได้ศึกษาวิจัย อย่างละเอียดต่อไป”
“การทำให้ไทยเป็นรัฐสวัสดิการ อาจเป็นเรื่องที่ไม่อาจทำได้ในระยะเวลาอันสั้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า รัฐที่เป็นระบบ รัฐสวัสดิการจะต้องมีรายได้จากภาษีอากร ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 25-30 ของจีดีพี เพื่อนำไปจัดระบบสวัสดิการพื้นฐานทั้งหมด ให้กับประชาชนทุกคน ในขณะที่ไทยมีรายได้ ภาษีอากรเพียงร้อยละ 16 ของจีดีพี ขณะที่หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับสูง ส่วนโครงสร้างงบประมาณเป็นงบประจำสูงถึง 70% เมื่อมีค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นอีกย่อมทำให้สัดส่วนของงบประจำเพิ่มสูง ขึ้นในโครงสร้างงบประมาณทำให้ประเทศเหลือเม็ดเงิน เพียงเล็กน้อยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ”
> ยาดำนโยบาย“ลด แลก แจก แถม”
“ประชานิยม หรือประชาวิวัฒน์ หรือ มาตรการบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพ หรือมาตรการเร่งรัด อะไรก็ตาม เท่าที่ศึกษา ค้นคว้า มักจะมีจุดบอดออกมาเป็นองค์ประกอบ 4 ประการดังนี้ 1.มุ่งเน้นผลประโยชน์ และชัยชนะทางการเมืองโดยใช้ฐานมวลชน เป็นเครื่องมือโดยไม่ได้ทำให้ประชาชน เข้มแข็งขึ้นหรือเป็นการเพิ่มอำนาจประชาชน 2.สร้างภาระทางการคลังจำนวนมาก ขาดความยั่งยืนทางการเงินการคลังหรือขาดความมีเหตุมีผลทางเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายหรือมาตรการ 3.ขาดความโปร่งใสในการดำเนินการ และ 4.ทำ ให้ประชาชนและระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอลงด้วยวัฒนธรรมอุปถัมภ์พึ่งพิง”
“นโยบายประชานิยมสามารถนำมา ใช้ร่วมกับนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้โดย ไม่นำประเทศสู่ความหายนะ หากไม่ทำลาย กรอบนโยบายหลักของเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ นโยบายประชานิยมที่ดี จะต้องไม่ทำลายกรอบของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งประกอบด้วย กรอบเป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กรอบเป้าหมายความมีเสถียรภาพ อันได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน เพดานหนี้สาธารณะ การกู้ยืมของ ภาคเอกชน ทั้งจากภายในและต่างประเทศ รวมไปถึงเพดานการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด”
> โมเดลกำจัดจุดอ่อนประชานิยม
“โครงการประชานิยมที่ดีต้องไม่สร้าง ความขัดแย้งใหม่ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้เสียประโยชน์ และผู้รับประโยชน์ นั่นคือควรจะเป็นลักษณะ winwin โครงการประชานิยมจะต้องไม่ทำให้เกิดการบิดเบือนทรัพยากรมากเกินไป คือ ไม่ฝืนกลไกตลาด โครงการประชานิยมไม่ควรจัดให้มีผลประโยชน์แก่ผู้รับมากเกินไป จนผู้รับประโยชน์ เกิดความเกียจคร้าน หรือกล้าเสี่ยงมากเกินไป และไม่เตรียมภูมิคุ้มกันสำหรับตน เอง ดังนั้นการค้ำประกันใดๆ จึงไม่ควร ค้ำประกันแบบ 100% แต่ควรให้ผู้เอาประโยชน์จากการประกันร่วมรับผิดชอบ ฉะนั้น โครงการประชานิยมควรใช้มาตรการที่ใช้แรงจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้มีผู้มาเข้าร่วมโครงการ ไม่ใช่เป็นการบังคับ ที่สำคัญการใช้กลไกแรงจูงใจนี้จะต้องไม่ทำลายกลไกตลาด”
“การนำนโยบายประชานิยมมาใช้ อย่างขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบของนักการเมืองในปัจจุบัน อาจจะนำมาซึ่ง ความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว ลดทอนความสามารถ ในการแข่งขัน สร้างภาระทางการคลังที่อาจนำมาสู่วิกฤติฐานะทางการคลังได้ โดยเฉพาะในระยะยาวการใช้นโยบายประชานิยมโดยขาดการเตรียมพร้อมและการสร้างความเข้าใจที่ดีกับประชาชนก็จะทำให้สังคมอ่อนแอลง ประชาชนที่ได้รับ ความช่วยเหลือ ก็จะขาดความกระตือรือร้นในการช่วยเหลือตนเอง มาตรการการขยายโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อเป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องทำควบคู่กับการบริหารความเสี่ยงและการสร้างวินัยทางการเงินไปพร้อมกัน ดังนั้นรัฐจึงควรหันมาพิจารณาถึงภาษีอื่นๆ ที่สามารถเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้ประชานิยมได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ส่งผลกระทบให้กับฐานะทางการคลัง ในระยะยาว”
> รัฐสวัสดิการที่สุดแห่งความยั่งยืน
“วิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซปี 2552-ปัจจุบัน โครงการประชานิยมจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เสียประโยชน์ (ผู้เสียภาษี) กับผู้รับประโยชน์ โดยผู้เสียประโยชน์จะต่อต้านโดยลดการผลิตลง ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง ภาษีที่รัฐจัดเก็บได้จะลดลงตามไปด้วย ทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมมากขึ้น โครงการประชานิยมทำให้ประชาชนผู้รับประโยชน์ ทำงานน้อยลง เนื่องจากไม่ทำงานก็ไม่เป็นไร รอรับผลประโยชน์ฟรีจากรัฐได้ เป็นผลให้ผลผลิตโดยรวมของชาติลดลง”
“รัฐบาลต้องเพิ่มผลประโยชน์ตาม โครงการประชานิยมขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อคง ไว้ (หรือเพิ่ม) ฐานคะแนนเสียง ในขณะ ที่ประชาชนจะอ่อนแอลง ผลผลิตลดลง ภาษีที่จัดเก็บได้ก็ลดลง รัฐบาลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกู้ยืมเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โครงการประชานิยม ทำให้มีการ จัดสรรทรัพยากรใหม่ โดยการโอนทรัพยากรจากหน่วยผลิตที่มีประสิทธิภาพไปสู่หน่วยบริโภค การที่สังคมไทยจะก้าวข้ามพ้นประชานิยม ต้องสร้างระบบรัฐสวัสดิการเข้ามาแทนที่ หากยัง ไม่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจการคลัง ก็ต้องพัฒนาสังคมสวัสดิการขึ้นมา นอก จากนี้ ยังต้องยึดหลักเสรีนิยม เพื่อออก จากประชานิยม ต้องสร้างประชาสังคม และสำนึกพลเมืองเพื่อออกจากประชานิยม” จากปากคำของ “ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ” คงไม่ต้องอรรถาธิบายเพิ่มเติม ว่า “ประชาวิวัฒน์” และ “ประชานิยม” นั่นบูรณาการประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน มากน้อยเพียงใด
ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
กวางกับจระเข้
“หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมี ผลบังคับใช้ รัฐบาลพร้อมจะให้มีการ เลือกตั้งใหม่ โดยไม่ต้องรอให้แก้กฎหมายลูก แม้จะยังมีการชุมนุมอยู่ก็ตาม”
แปลไทยเป็นไทย..นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..ได้เดินทาง มาถึงจุดที่ต้องตัดสินใจแล้ว...ต้องตัดสินใจว่า เขาจะเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ถูกยึดอำนาจ..หรือจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่หรือไปตามเส้นทางประชาธิปไตยและเขาเลือกทางสายประชาธิปไตย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..มองย้อน หลัง..บนเส้นทางประชาธิปไตยที่ท่าน คุ้ยเคยในประเทศไทยนั้น..มันไม่ต่าง อะไรกับฝูงกวางที่ว่ายอยู่บึงจระเข้...ย่อมเสี่ยงอยู่กับการล่มสลายเป็นตายอยู่ทุกชั่วลมหายใจ
กวางน้อยประชาธิปัตย์..แพ้ทาง ให้กับกวางด้วยกัน จึงสังสรรค์กับจระเข้..เข้าจัดการกับกวางไทยรักไทย และได้รับการส่งเสริมให้เป็นเจ้าแห่งบึงร่าเริงกับอำนาจจนลืมไปว่า..ที่เริงร่าอยู่นั้นคือ..บึงจระเข้
ตราบจนถึงวันนี้..เมื่อโดนกล่าว หาเหยียดหยามในทำนองเดียวกันกับ กวางฝูงเก่า..โดยเหล่าสมุนจระเข้.. กวางน้อยถึงเพิ่งนึกได้..ถ้าปล่อยให้เผ่าพันธุ์แหวกว่ายต่อไป..จะไม่มีกวาง สักตัวเหลืออยู่ในบึง
กวางทุกฝูงจะโดนเข่นฆ่า.. จระเข้จะเข้ามาครองบึง ธรรมนูญใหม่ จะไร้ทิศทางสำหรับฝูงกวางไม่ว่ากลุ่ม ไหน ประชาธิปไตยที่พัฒนากันขึ้นมา จะสูญหาย...การเมืองใหม่จะหลั่งไหลเข้ามาแทนที่ สภาแห่งการถกเถียง จะหายไป..สภาที่ประชุมไวและเงียบ เสียงจะกลับมา
ก่อนถึงวันที่จะต้อง..เสียบึงให้ จระเข้..กวางน้อยจึงต้องตัดสินใจ.. กวางจะอยู่ในบึงต่อไปได้..ก็คือการ ยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชนแล้ว เลือกตั้งกันใหม่..ต้องเร็วและไวก่อนที่จระเข้จะกลืนกลุ่ม..
หากกวางทุกฝูงรวมกัน..ก็จะ มีชายฝั่งและบึงกว้างเป็นที่อยู่อาศัย สืบลูกปลูกหลาน..และการเลือกตั้ง เท่านั้น..คือทางอยู่รอดของฝูงกวาง.. แต่ต้องเป็นการเลือกตั้งที่ทันเวลา..
ทันเวลาก่อนที่จระเข้จะลงมือ พระท่านว่า... “คนโกหกเป็น ปกติวิสัยนั้น ที่จะไม่ทำชั่วในโลกไม่มี”
ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แปลไทยเป็นไทย..นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..ได้เดินทาง มาถึงจุดที่ต้องตัดสินใจแล้ว...ต้องตัดสินใจว่า เขาจะเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ถูกยึดอำนาจ..หรือจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่หรือไปตามเส้นทางประชาธิปไตยและเขาเลือกทางสายประชาธิปไตย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..มองย้อน หลัง..บนเส้นทางประชาธิปไตยที่ท่าน คุ้ยเคยในประเทศไทยนั้น..มันไม่ต่าง อะไรกับฝูงกวางที่ว่ายอยู่บึงจระเข้...ย่อมเสี่ยงอยู่กับการล่มสลายเป็นตายอยู่ทุกชั่วลมหายใจ
กวางน้อยประชาธิปัตย์..แพ้ทาง ให้กับกวางด้วยกัน จึงสังสรรค์กับจระเข้..เข้าจัดการกับกวางไทยรักไทย และได้รับการส่งเสริมให้เป็นเจ้าแห่งบึงร่าเริงกับอำนาจจนลืมไปว่า..ที่เริงร่าอยู่นั้นคือ..บึงจระเข้
ตราบจนถึงวันนี้..เมื่อโดนกล่าว หาเหยียดหยามในทำนองเดียวกันกับ กวางฝูงเก่า..โดยเหล่าสมุนจระเข้.. กวางน้อยถึงเพิ่งนึกได้..ถ้าปล่อยให้เผ่าพันธุ์แหวกว่ายต่อไป..จะไม่มีกวาง สักตัวเหลืออยู่ในบึง
กวางทุกฝูงจะโดนเข่นฆ่า.. จระเข้จะเข้ามาครองบึง ธรรมนูญใหม่ จะไร้ทิศทางสำหรับฝูงกวางไม่ว่ากลุ่ม ไหน ประชาธิปไตยที่พัฒนากันขึ้นมา จะสูญหาย...การเมืองใหม่จะหลั่งไหลเข้ามาแทนที่ สภาแห่งการถกเถียง จะหายไป..สภาที่ประชุมไวและเงียบ เสียงจะกลับมา
ก่อนถึงวันที่จะต้อง..เสียบึงให้ จระเข้..กวางน้อยจึงต้องตัดสินใจ.. กวางจะอยู่ในบึงต่อไปได้..ก็คือการ ยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชนแล้ว เลือกตั้งกันใหม่..ต้องเร็วและไวก่อนที่จระเข้จะกลืนกลุ่ม..
หากกวางทุกฝูงรวมกัน..ก็จะ มีชายฝั่งและบึงกว้างเป็นที่อยู่อาศัย สืบลูกปลูกหลาน..และการเลือกตั้ง เท่านั้น..คือทางอยู่รอดของฝูงกวาง.. แต่ต้องเป็นการเลือกตั้งที่ทันเวลา..
ทันเวลาก่อนที่จระเข้จะลงมือ พระท่านว่า... “คนโกหกเป็น ปกติวิสัยนั้น ที่จะไม่ทำชั่วในโลกไม่มี”
ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ประเทศที่ปกครองโดย “ม็อบพันธมิตร”
นักปรัชญาชายขอบ
เราอยู่ในประเทศที่ปกครองโดยม็อบหรืออย่างไร ม็อบกดดันให้ทำรัฐประหาร ผู้มีอำนาจตัวจริงก็ทำ ม็อบขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อไรก็ได้ ม็อบกดดันให้รบกับประเทศเพื่อนบ้านรัฐบาลก็รบ
เมื่อวันก่อนผมเห็น พลตรีจำลอง ศรีเมือง ประกาศเกียรติภูมิของ “ม็อบมืออาชีพ” บนเวทีพันธมิตร ว่าออกมาสู้เมื่อไรก็ชนะทุกที มีสถิติชนะมาแล้ว 8 ครั้ง อาทิเช่น ล้มกฎหมายทำแท้งได้ แต่พลตรีจำลองคงไม่ตระหนักว่า ผลแห่งชัยชนะนั้น ทำให้ผู้หญิงอีกจำนวนเท่าใดที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ต้องทนทุกข์ทรมาน เสี่ยงชีวิตกับการทำแท้งเถื่อนอย่างไร้มาตรฐานความปลอดภัย ไร้ที่ปรึกษา ไม่มีระบบการดูแลที่ถูกต้อง ฯลฯ
หรือในชัยชนะที่ล้มรัฐบาลทักษิณ สมัคร และสมชายได้ แต่พลตรีจำลองและพันธมติรคงไม่เคยตระหนักว่า ผลแห่งชัยชนะนั้นเป็นการฉีกติกาประชาธิปไตย ทำลายหลักนิติรัฐ สร้างระบบสองมาตรฐานให้แข็งแกร่งเข้มข้นที่สุดในประวัติศาสตร์ ดึงสถาบันกษัตริย์มาเล่นการเมืองสร้างความแตกแยกไปทุกหย่อมหญ้า ทำลายความเป็นมนุษย์ของคนชนบทคนชั้นล่างอย่างยับเยิน!
เมื่อเช้านี้ผมเห็นพลตรีจำลอง และเหล่าพันธมิตรแถลงข่าวด้วยใบหน้ายิ้มระรื่น ดวงตาฉายแววของผู้ชนะ ประกาศจะเดินหน้ากดดันให้รัฐบาลพิจารณาตัวเอง ราวกับสะใจที่เกิดการปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาขึ้นสมเจตนารมณ์แล้ว พวกเขาไม่มีแววตาของความโศกเศร้าเจ็บปวดต่อการสูญเสียชีวิตทหารและชาวบ้านตามแนวชายแดนเลย
ไม่น่าเชื่อว่าสีหน้าแววตาของชายชราที่กินมังสวิรัติ แต่งชุดม่อฮ่อม อาบน้ำวันละ 5 ขัน ไม่นอนกับเมีย ถือศีล 8 อย่างเคร่งครัดมาอย่างยาวนาน จะไร้ซึ่งความวิตกกังวลต่อการสูญเสียของเพื่อนมนุษย์ทั้งที่เป็นเพื่อนร่วมชาติและประเทศเพื่อนบ้าน
มาตรฐานทางศีลธรรมที่เคร่งครัดกับตนเองจนตึงเครียดแบบสันติอโศกได้ถูกนำมาบีบเค้นคนอื่นๆ และสังคมให้เคร่งเครียดขัดแย้งอย่างเลือดเย็น พลตรีจำลองและพันธมิตรกำลังประกาศชัยชนะอีกครั้ง บนซากปรักหักพังของมิตรภาพระหว่างประเทศ บนการปะทะตามแนวชายแดนที่อาจนำไปสู่สงครามระหว่างประเทศ
นิ้วมือที่ชี้หน้าคนอื่นๆ ฝ่ายอื่นๆ ให้รับผิดชอบ พลตรีจำลองและพันธมิตรเคยหันกลับไปมองตนเองบ้างไหมว่า พวกเขาควรรับผิดชอบอะไรบ้าง พวกเขาประกาศชัยชนะแต่ละครั้งราวกับว่าได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศนี้
แล้วระบบประชาธิปไตยที่ล้มละลาย ระบบความยุติธรรมที่ล้มเหลว และความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชากำลังพังพินาศ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวย่อยยับ ชีวิตของทหารและประชาชนทั้งไทยและกัมพูชาต้องสูญเสียและต้องอยู่อย่างยากลำบากอีกยาวนาน ใครรับผิดชอบ!
ในสถานการณ์อันตรายเช่นนี้สื่อมวลชนยังเอาแต่เสนอข่าวตามสถานการณ์ นักวิชาการยังรักษา “ความเป็นกลาง” (???) ปล่อยให้พันธมิตร สันติอโศกทำอะไรได้สบายใจ ไม่ตั้งคำถาม ไม่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักแน่นพอ
เหมือนกับเหตุการณ์ปี 53 ที่สื่อต่างเสนอข่าวตามกระแส นักวิชาการต่างเคร่งครัดในความเป็นกลาง ไม่ตั้งคำถามอย่างจริงจังกับวาทกรรม “ขบวนการล้มเจ้า” “ผู้ก่อการร้าย” ฯลฯ ปล่อยให้รัฐบาลใช้วาทกรรมอำมหิตดังกล่าวสร้างความชอบธรรมในการล้อมปราบประชาชนอย่างหน้าตาเฉย
คราวนี้พันธมิตรกำลังใช้วาทกรรม “รักชาติ” จุดชนวนสงครามระหว่างประเทศ และพวกเราต่างนั่งดูกันตาปริบๆ พวกเขากำลังเล่นอะไรกันอยู่หรือ?
พันมิตร ประชาธิปัตย์ กองทัพ อำมาตย์ ต่างมี “ความกลัวร่วม” อย่างเดียวกัน คือกลัว “การเลือกตั้ง” กลัวการกลับมาของพรรคเพื่อไทยและทักษิณ พวกเขากลัวการถูกเช็คบิลจนขี้ขึ้นสมอง ทั้งที่จริงแล้วพรรคการเมืองของคนเสื้อแดงอ่อนแอมาก ยากที่จะได้เสียงข้างมากอย่างการเลือกตั้งคราวที่แล้ว
แต่พวกเขาก็ต้องการความมั่นใจ และไม่มีอะไรจะปลอดภัยสำหรับพวกเขาเท่ากับทำอย่างไรก็ได้ให้อำนาจรัฐยังคงอยู่ในมือของฝ่ายอำมาตย์ แต่คิดไม่ถึงว่าพวกเขาจะทำเช่นนี้ได้แม้ด้วยการนำพาประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม!
แน่นอนว่า 7 คนไทยที่ถูกเขมรจับ ย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ นายชัยวัฒน์ สินธุ์สุวงศ์ ถูกจับ (พอเป็นพิธี) และออกมาแถลงข่าวว่าไปเจรจากับแกนนำเสื้อแดงในคุกเพื่อขอกำลังคนเสื้อแดงล้อมทำเนียบฯ ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องบังเอิญ และแม้แต่การเกิดปะทะระหว่างไทย-กัมพูชา ก็ยากที่จะเข้าใจได้ว่าเป็นเพียง “อุบัติเหตุ”
ถามว่า พันธมิตร-กองทัพ-อำมาตย์-ประชาธิปัตย์ กำลังเล่นอะไรกันอยู่ พวกเขาจะประกาศชัยชนะบนซากปรักหักพังของประเทศกันอีกกี่ครั้ง จะให้พวกเขาสอนบทเรียนอีกกี่บทเรียน สังคมไทย (โดยเฉพาะชนชั้นกลางในเมือง) จึงจะเกิดการเรียนรู้?!
พลังถ่วงดุลอำนาจม็อบพันธมิตร-กองทัพ-อำมาตย์ –ประชาธิปัตย์ หายไปไหน สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชนที่เอาแต่ตรวจสอบและตัดสินคนต่างจังหวัดคนชนบท ยังหลับใหลไม่ยอมตื่น
ฤาพวกเขายินยอมให้ประเทศนี้ปกครองโดย “ม็อบพันธมิตร” อย่างสมบูรณ์แล้ว!
ที่มา.ประชาไท
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เลือกตั้งคงอยู่ไม่ได้นาน เพราะ 111 จะออกมา ขาใหญ่ทั้งนั้น
แม้คลุกอยู่ในครอบครัวนักการเมือง เข้าใจกลเกมการเมืองเป็นอย่างดี
แต่ "พรทิวา" บอกว่า "การเมืองมันโหดร้าย อย่าดี-เด่น เข้าใจว่ามีคนหมั่นไส้ ปรามาส"
เพราะเธอคือคนการเมืองหน้าใหม่ ได้ครอบครองกระทรวงเศรษฐกิจ 1 ใน 5 กระทรวงเกรดเอ
เธอจึงตกเป็น "เป้าหมาย" การถูกขึ้นบัญชีอภิปรายไม่ไว้วางใจแต่หัววัน
"ตัวเราเองเหมือนเป้าจริง ๆ นะ เป็นนักการเมืองใหม่เอี่ยม เพิ่งเป็น ส.ส. มาถึงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ คนหมั่นไส้เยอะ เรารู้ คนปรามาสเยอะแยะ เขาเป็นนักการเมืองมาตั้งนานยังไม่ได้เป็นเลย พอเราคิดได้อย่างนี้ เราจึงไม่อยากโกรธใคร"
เธอบอกว่า ข้ามพ้นการถูกแฉโพยในสภามาได้สมัยแรก เพราะ "พวกเราเยอะ"
"ปีแรกไม่โดนอภิปรายไม่ไว้วางใจนะ ก็เข้าใจเรื่องปกติของกระทรวงพาณิชย์ โดนอยู่แล้ว ถ้าไม่โดนอาจจะสงสัยว่ามีอะไรดี แต่อาจจะด้วยความปรานีก็ได้ว่าเป็นเด็กใหม่"
ด้วยความเป็นเด็กใหม่ แม้อยู่กระทรวงใหญ่ แต่เธอบอกว่าไม่เคย "ตัวพอง ตัวใหญ่" เพราะ "มันไม่ใช่เรา เราก็เป็นนักการเมือง เป็น ส.ส. เวลาหาเสียงเป็นยังไง อยู่ในกระทรวงเราก็คิดว่าคือประชาชนที่ได้รับการยอมรับจากข้าราชการ เพราะเราไม่เรื่องมาก ติดดิน อะไรก็ได้ ฟังเยอะ ให้เครดิตเขา"
เธอเลือกกระทรวงที่ทำงานยาก แทนที่โควตาเก่าในกระทรวงที่ทำงานง่าย ด้วยเหตุผลที่ว่า "กระทรวงนี้ สนุก เหนื่อยด้วย"
อีกเหตุผลหนึ่งเป็นเหตุผลทาง การเมือง ที่มีคนบอกกับเธอว่า "เรานักการเมืองหน้าใหม่ อนาคตยังไปอีกไกล การเมืองมันโหดร้ายนะ ไม่มีปลาดี แต่ทางแกนนำพรรคเรียกเราไปคุย ให้เราเป็น เราจะพูดอะไรได้ มันเป็นการเมือง เป็นระบบพรรค มันคุยกันมาแบบนี้ เราเป็นผู้รับภาระตรงนี้ เป็นตัวแสดง ไม่รู้จะพูดอย่างไร"
เลขาธิการพรรคการเมืองอันดับ 2 ของรัฐบาล "อภิสิทธิ์" วิเคราะห์การเมืองว่า ถ้ากลุ่มคน 111 ได้คืนสิทธิ์การเมือง ช่วง พ.ค. 2555 อาจจะเป็นเงื่อนไขในการจัดรัฐบาลครั้งหน้า
"สมมติเลือกตั้งปีนี้เร็ว ก็ปีหน้าเขาก็กลับมาทัน...แต่เลือกตั้งเที่ยวนี้คงอยู่ ไม่ได้นานหรอก เพราะ 111 จะออกมา ขาใหญ่ทั้งนั้น รับรองว่าการเมืองป่วนแน่นอน ให้เขารออีกเลือกตั้ง รออีก 4 ปีเป็นไปไม่ได้ ไม่มีทาง ฉะนั้น ไม่มีทางเพราะเขารอมาแล้วตั้ง 5 ปี ตาย ไฟหมด คนลืมหมด"
"เลือกตั้งเที่ยวนี้รัฐบาลจะอยู่ได้ไม่นาน จะลำบากมากสุดก็ปีหนึ่ง"
ถามว่า เธอและพวกจะได้กลับมาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอีกหรือไม่ เธอตอบว่า
"พี่สมศักดิ์เขาเคยพูดเสมอเวลาให้สัมภาษณ์ว่าเขาไม่เคยเป็นฝ่ายค้าน ไม่เคยเลย จริง ๆ ท่านสมศักดิ์มองการเมืองเขาวิเคราะห์ขาดเสมอ ไม่เคยอยู่ฝ่ายค้าน แต่เคยแค่สุญญากาศ 3 เดือน"
หากเป็นเช่นนั้น ช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง พรรคต้นสังกัดของเธอจะใช้แคมเปญ "ไซโลกลาง 1 ตำบล 1 โรงสี 1 ธนาคารข้าว" เป็นต้นเรื่อง ในการค้นหาเสียงสนับสนุน
แม้เธอจะออกตัวไว้ว่า "เอาเข้าจริงทำยากมาก ไหนจะหาสถานที่ให้คนในชุมชนดูแลโรงสี เก็บของ เวลาราคาดีค่อยทยอยขาย ราคาไม่ตก หรือติดขัดอะไรก็แบ่งมาขาย เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ไม่ต้องมีโครงการประกัน หรือจำนำ"
"งานกระทรวงพาณิชย์เป็นงาน แก้ปัญหา ไม่ใช่งานแบบถนนไร้ฝุ่น หาเสียงได้ เอาธงฟ้าไปแล้วไง เอาไปหาเสียงไม่ใช่ง่าย จะใช้ผลงานกระทรวงพาณิชย์ อย่างส่งออกดี เอาไปหาเสียงกับรากหญ้ามันไม่เกี่ยวน่ะ จะเอาเรื่องตรึงราคาไปหาเสียง ก็เจอเรื่องขึ้นน้ำมันปาล์ม 9 บาทอีก"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
รู้เขารู้เรา กับ 3 แนวทางยุติปัญหาไทย-กัมพูชา
อัครพงษ์ ค่ำคูณ
วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ถือเป็นโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่งที่เราจะได้พิสูจน์วุฒิภาวะและสติปัญญาของสังคม บทความนี้จึงขอนำเสนอทัศนะบางประการของสื่อสารมวลชนฝ่ายกัมพูชา เท่าที่กระผมได้นั่งสังเกตการณ์อยู่ในกรุงพนมเปญ ดังนี้
1.สื่อสารมวลชนกัมพูชา รายงานสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นว่า ฝ่ายไทยรุกรานดินแดนของกัมพูชา เนื่องจากพื้นที่รอบปราสาทและเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาโดยชอบธรรม ตามแผนที่ปักปัน Dangrek มาตราส่วน 1:200,000 โดยนำเสนอภาพแผนที่ต้นฉบับว่า เป็นผลงานการปักปันของคณะกรรมการผสมสยามและฝรั่งเศส ที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาปี ค.ศ.1904 และสื่อมวลชนโดยเฉพาะโทรทัศน์ของกัมพูชา ได้ขยายรูปแผนที่ฉบับจริงให้สาธารณชนทั่วประเทศได้เห็นและชี้ว่าบริเวณเขาพระวิหารนั้นเส้นเขตแดนเป็นอย่างไร สื่อสารมวลชนกัมพูชาดูเหมือนจะไม่ปิดปังข้อมูลจนทำให้แผนที่เป็นเอกสารลับเหมือนบ้านเมืองของเรา เพราะฝ่ายกัมพูชาได้เปรียบในการใช้แผนที่ดังกล่าว ตามคำพิพากษาของศาลโลกโดยอ่านคำพิพากษาให้ผู้ฟังทางบ้านฟังเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและเขมร
2.มีการนำเสนอภาพความเสียหายหลังจากการถูกจู่โจมของฝ่ายกัมพูชา มีภาพไฟไหม้บ้านเรือน มีภาพเด็กและคนชรา ร้องไห้ วิ่งหนีหลบลูกกระสุน ประชาชนตามแนวชายแดนของทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนไปตามๆ กัน และสถานี Bayon TV ก็มีการตั้งเวทีอภิปรายถึงเรื่องดังกล่าว มีการรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน มีการวิเคราะห์สถานการณ์ภายในประเทศไทยที่กำลังแบ่งเป็นหลายฝ่าย รวมทั้งนำเสนอคำพูดของทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยฯ
3.ผู้ประกาศข่าวรายงานว่า ขณะนี้รัฐบาลกัมพูชาได้ทำหนังสือไปถึงองค์การสหประชาชาติ ให้รับทราบถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพื่อเรียกร้องให้สหประชาชาติและองค์กรโลกบาลต่างๆ เข้ามายุติปัญหาดังกล่าว เพราะฝ่ายกัมพูชาไม่ต้องการให้เกิดสงคราม
4.ผู้ประกาศได้แจ้งเตือนชาวบ้านตามแนวชายแดนให้อพยพออกจากพื้นที่ และเตรียมตัวรับมือกับภาวะสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศของฝ่ายไทยเอง เกิดความขัดแย้งและมีกลุ่มคนไทยบางกลุ่มที่สนับสนุนให้รัฐบาลไทยใช้กำลังทหารเพื่อเข้ามายึดดินแดนของกัมพูชา
ผู้ประกาศรายงานอีกว่า "ตามที่ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายเขมรถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่บริเวณวัดแก้วฯ นั้นเป็นเรื่องที่ทำตามได้ยากและไม่มีเหตุผล เพราะหากทหารเขมรไม่รักษาแผ่นดินของเขาเอาไว้แล้ว จะให้รัฐบาลกัมพูชาอธิบายให้ประชาชนทั้งประเทศเข้าใจว่าอย่างไร”
5.สื่อกัมพูชาจบท้ายการรายงานด้วยภาพธงชาติและเพลงชาติกัมพูชา ซึ่งกระผมขอนำเสนอคำแปลภาษาไทยตามที่ ดร.ศานติ ภักดีคำ แห่งคณะมนุษยศาสตร์ มศว.ประสานมิตรเคยแปลเอาไว้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าชาวกัมพูชามีทัศนะอย่างไรต่อชาติของเขา ดังนี้
“ชนชาติเขมรลือชื่อเก่งที่หนึ่งในโลก มีชัยโชคก่อสร้างปราสาทศิลา
อารยธรรมสูงบวรชาติศาสนา มรดกยายตาไว้ยกภพแผ่นดิน” (อ้างจาก
http://info.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0618010947&srcday=2007/11/01&search=no)
ด้วยเหตุนี้ กระผมขอเสนอ 3 แนวทางในการยุติปัญหาดังกล่าว ดังนี้
1.การเจรจา
เท่าที่ปรากฏตลอดระยะเวลาของการเกิดปัญหาความขัดแย้ง ดูเหมือนว่าความพยายามที่จะเจรจาหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมาไม่ค่อยบังเกิดผลไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีความไว้วางใจกันอีกต่อไป
2.การใช้สงครามและความรุนแรง
ที่ผ่านมาการปะทะกันด้วยกำลังอาวุธและความรุนแรง ได้พิสูจน์แล้วว่ายังแต่จะก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนทั้งสองฝ่าย และไม่ได้ช่วยให้ปัญหาที่มีอยู่ยุติลงไปได้อย่างแท้จริง
3.การระงับข้อพิพาทด้วยองค์กรโลกบาล
แนวทางนี้ฝ่ายกัมพูชาพยายามให้เกิดขึ้น เนื่องจากทราบดีว่าตนเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบ
แต่สำหรับฝ่ายไทย รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ประกาศอย่างชัดเจนว่า ไม่ยอมรับแผนที่
1:200,000 อีกทั้งยืนยันว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นดินแดนของไทย ดังนั้นหากรัฐบาลหรือผู้รักชาติฝ่ายใดก็ตามที่คิดว่า เรามีข้อต่อสู้ ข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่ถูกต้องและชอบธรรม ซึ่งสามารถนำไปใช้อ้างอิงในเวทีระหว่างประเทศหรือสามารถอธิบายต่อนานาชาติให้เข้าใจได้ ก็ควรต้องออกมาช่วยกันร่วมแก้ปัญหานี้ อย่ามัวแต่เล่นการเมืองภายใน เพราะการนำกรณีดังกล่าวมาประเด็นประเด็นการเมืองเพื่อมุ่งล้มรัฐบาลในขณะนี้ ย่อมไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย และไม่ได้ก่อให้เกิดการยุติปัญหาได้
เพราะในท้ายที่สุด หากมีองค์กรโลกบาลใดเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ความจริงก็จะปรากฏให้เราเห็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ท่ามกลางความสับสนวุ่นวาย และความแตกแยกทางความคิดของผู้คนในสังคมไทย
เกี่ยวกับปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา และการกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ขอเสนอแนวทางกว้างๆ ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวดังนี้
หลักการข้อที่ 1 ในการเจรจาและการตกลงเกี่ยวกับปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น
ต่างฝ่ายย่อมมีความเท่าเทียมกันที่จะนำข้อมูลและหลักฐานเพื่อยืนยันถึงผลประโยชน์
โดยต้องคำนึงถึงประเทศชาติของตนให้มากที่สุด ตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารทางกฏหมาย เช่น สนธิสัญญา (treaty) อนุสัญญา (convention) พิธีสาร (protocol) ข้อตกลง (agreement)
บันทึกวาจา (procès-verbal) ปฏิญญา (declaration) บันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding) รวมทั้งเอกสารอื่นๆ อันเป็นผลพวงจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
หลักการข้อที่ 2 ต่างฝ่ายต้องยอมรับในสิทธิและศักดิ์ศรีความเท่าเทียมกันในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะเจรจากันด้วยแนวทางแห่งมิตรภาพ ความจริงใจ และมีเจตนาความบริสุทธิ์ ไม่นำ “อคติ” ที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์นานัปการของฝ่ายตน มาปะปนกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามหลักการในข้อ 1
หลักการข้อที่ 3 หากเกิดปัญหาขึ้นเนื่องจากมีความขัดแย้งในทางความเห็นด้านหลักฐานเอกสารตามหลักการในข้อ 1 และ/หรือ เกิดความระแวงสังสัยและไม่ลงรอยกันตามหลักการในข้อ 2 ควรพิจารณาว่า การเจรจาที่เกิดขึ้นทั้งหลาย มีจุดประสงค์เพื่อสิ่งใด
หากมีจุดประสงค์เพื่อก่อให้เกิดสันติภาพความสงบสุข และความมั่งคงต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งสองประเทศแล้ว ก็ควรยึดหลักการแห่งเหตุและผล เพื่อทำความประสงค์นั้นให้บรรลุเป้าหมายโดยเร็ว ทั้งนี้ต้องเปิดโอกาสให้ “คนท้องถิ่น”เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย
ดังนั้น คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้นำและผู้แทนของประชาชนทั้งประเทศ จักต้องกำหนดจุดยืนและประกาศให้ชัดเจน มั่นคงและตรงไปตรงมามากกว่านี้ อย่ามัวพะวักพะวงกับเรื่องทางการเมือง เพราะหากยังมีท่าทีอย่างที่เป็นอยู่เหตุการณ์จะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และแนวทางที่จะเลือกนั้น ต้องมีจุดมุ่งหมาย "เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์" จึงจะสมกับเป็นรัฐบาลซึ่งเป็นผู้แทนของคนทั้งชาติ ไม่ใช่ตัวแทนของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
คิดให้ดี ๆ ที่จะใช้ กำลังทางอากาศ กับกัมพูชา
1.เครื่องยิง ต่อสู้ อากาศยาน Sa-3
2.Su-27/30 เวียดนาม ภาคีร่วมเขมร
3.Su-32 รัสเซียภาคีร่วมเขมร
2.Su-27/30 เวียดนาม ภาคีร่วมเขมร
3.Su-32 รัสเซียภาคีร่วมเขมร
อ่านสักนิด....ก่อนคิดจะรบ 2
โดย.ฅนไทเสรีชน
การรบระหว่าง ไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า
๑. มูลเหตุของการรบ
ยุทธการ บ้านร่มเกล้า เกิดขึ้นในกรณีพิพาทระหว่าง ไทย-ลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดน ซึ่งไทยและลาวอ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ โดยลาวได้ส่งกำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ส่วนที่เป็นปัญหา ไทยจึงได้ส่งกำลังทหารเข้าผลักดัน และเกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายอย่างหนักหน่วง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๓๐ - กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ และมีการหยุดยิง ของทั้งสองฝ่ายเมื่อ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
๒. ปัญหาเส้นเขตแดน จุดก่อของสงครามตาม สนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ กำหนดให้น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส แต่ปีถัดมาพนักงานสำรวจทำแผนที่พบว่ามีน้ำเหืองสองสาย ฝรั่งเศสตัดสินเอาเอง (เข้าใจว่าไม่ได้แจ้งให้กรุงเทพฯ ทราบ) ว่าเลือกสายน้ำที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนมากขึ้นหน่อย เขตแดนตรงนั้นไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งปี ๒๕๓๐ ทางลาวอ้างว่าบริเวณบ้านร่มเกล้าเป็นของลาว เนื่องจากแผนที่คนละฉบับกับไทย ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการสำรวจครั้งนั้น ภายหลังพบว่าลำน้ำเหืองมี ๒ สาย ซึ่งไม่ตรงกับแนวลำน้ำในปัจจุบัน ซึ่งปรากฏในแผนที่สหรัฐทำให้รัฐบาลไทยช่วงสงครามเวียดนาม อีกทั้งลำน้ำในปัจจุบันเรียกว่าเหืองป่าหมัน ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่เคยปรากฏในเอกสารใด ๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๑
๒.๑ จุดที่น่าสังเกตของเหตุการณ์ครั้งนี้
๒.๑.๒ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวคือปี ๒๕๒๘-๒๕๓๐ ทหารเวียดนาม-เฮงสัมริน ได้ส่งกองกำลังจำนวนมากเข้ากวาดล้างกองกำลังเขมรฝ่ายต่อต้าน ตามแนวชายแดนไทยที่จังหวัดอุบลราชธานี จนเกิดกรณีการรบกันอย่างหนักกับไทยที่ช่องบก ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน ๓ ประเทศ คือ ไทย ลาว และกัมพูชา มีทิวเขาพนมดงรัก กั้นเป็นแนวเขตแดน เนื่องจากพื้นที่ทางฝั่งเขมรเป็นที่ราบต่ำ ทหารเวียดนามจึงได้รุกล้ำเข้ามาตั้งฐานที่มั่นลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ ๕ กม. มีการปรับปรุงดัดแปลงที่ตั้งเพื่อรับการโจมตีจากทางไทยเป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นการตัดการติดต่อระหว่างไทยกับกองกำลังกลุ่มต่อต้านในการสนับสนุน ยุทธปัจจัยการรบที่ช่องบก ที่ช่องบกนั้นมีการปะทะกันอย่างหนักระหว่างไทยและเวียดนาม (ไทยใช้กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ กองพันทหารราบ, ๑ ร้อยลาดตระเวนระยะไกล, ๒๗ กองร้อยทหารพราน, ๑ ร้อยรถถัง สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกำลังทางอากาศ โดยเครื่องบิน เอ ๓๗ และเอฟ ๕) การรบมีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าที่บ้านร่มเกล้า การปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังทหารเวียดนามที่ช่องบก ตั้งแต่ ม.ค.๒๕๒๘-ธ.ค.๒๕๓๐ ทหารไทยสูญเสีย กำลังพล ๑๐๙ นาย บาดเจ็บ ๖๔๔ นาย ยึดอาวุธจากฝ่ายเวียดนามได้จำนวนมาก
(ตัวเลขที่เปิดเผยจากทางการไทย) ทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน จากการรบในเขมรและชายแดนไทยตั้งแต่บุกเข้ามาจนถอนออกไป บางส่วนถูกจับเป็นเชลยและหนีทัพมอบตัวกับไทยประมาณ ๕๐๐ คน จุดที่น่า สังเกตเรื่องหนึ่งก็คือการรบครั้งนี้มีการเตรียมการอย่างดี ทหารเวียดนามมีอาวุธและระบบการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยมาก คาดว่าได้รับมาการสนับสนุนจากรัสเซีย ( ปี ๒๕๒๒ เวียดนามตีเขมรแดงแตกและถอยไปตั้งฐานที่ชายแดนไทย แถบเทือกเขาพนมมาลัย และเกิดการรบเรื่อยมาในเขมร โดยฝ่ายเขมรต่อต้านคือ เขมรแดง ได้จีนสนับสนุน กลุ่มซอนซาน และเจ้าสีหนุ (มีไทย สหรัฐ ฝรั่งเศสให้การสนับสนุน) กับทหารเวียดนาม ผสมกับเขมรกลุ่มเฮงสัมริน มีนายฮุนเซน เป็นผู้นำซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นเขมรแดงมาก่อน แต่แตกคอกันและไปเข้ากับเวียดนาม นำทหารเวียดนามมาขับไล่เขมรแดงออกไป)นอกจากนี้ยังมีรายงานจากบางหน่วย ของกองทัพบกว่าทหารเวียดนามมีการใช้อาวุธเคมีในบริเวณดังกล่าวด้วย ซึ่งมีการยืนยันจากทหารเขมรในการปะทะหลายครั้งว่ามีการโปรยหรือทิ้งสาร บางอย่างลงมา ซึ่งมีผลต่อผิวหนังและระบบหายใจ นอกจากนั้นแหล่งน้ำในบริเวณดังกล่าวยังเต็มไปด้วยสารพิษ จากการปะทะและกวาดล้างทหารเวียดนามในเนิน ๕๖๕,๔๐๘,๕๐๐,๓๘๒ พบหน้ากากและชุดสำหรับป้องกันอาวุธเคมี ด้วย
๒.๑.๓ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ากรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวครั้งนี้เป็นแรงผลักดัน ที่ลาวได้รับจากเวียดนามและโซเวียต ซึ่งพยายามขัดขวางการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ และเป็นหนึ่งในแผนตัดขาดและยึดภาคอีสานของไทยตามยุทธการตัว L (L Operation) และรวมภาคอีสานของไทย ลาว เขมร เวียดนาม เป็นสหพันธ์อินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำลักษณะภูมิประเทศรูปตัวแอลใหญ่คือพื้นที่ป่า ภูเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ทอดตัวยาวลงมาทางใต้ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ มาบรรจบกันบริเวณเขาใหญ่ บริเวณรอยต่อ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ซึ่งทอดตัวยาวมาจากทิศตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก เขาบรรทัด เขากำแพง และบรรจบกันที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
๒.๑.๔ ในช่วงดังกล่าวบางรายงานแจ้งว่ามีทหารเวียดนามในลาวประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน และในเขมรประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งอาจจะต้องการเปิดศึก ๒ ด้าน ให้ไทยพะว้าพะวงทั้งการรุกที่บ้านร่มเกล้าตีเจาะมาทางเหนือ และตีรุกเข้ามาที่ช่องบกทางใต้ เพื่อตัดและยึดภาคอีสาน เลยหากรณีมาอ้าง เพื่อทำการรบ
๒.๑.๕ จากการปะทะกันระหว่างทหารไทยและลาวนั้น มีรายงานจากบางหน่วยแจ้งว่าฝ่ายลาวมีทหารต่างชาติบัญชาการรบ อาจเป็นคนรัสเซีย และถูกทหารไทยยิงตายไปหลายคน (กองทัพไทยไม่ได้ให้ข้อมูลกับเรื่องนี้มากนัก) จากการปะทะหลายครั้งบางหน่วยรายงานว่า ทหารที่เข้าใจว่าเป็นทหารลาว บางคนพูดร้องสั่งการเป็นภาษาเวียดนาม คาดว่าเป็นกองกำลังผสมระหว่างเวียดนามและลาวที่รบกับไทย ในการรบที่บ้านร่มเกล้านี้จึงไม่ใช่กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวธรรมดา
๒.๑.๖ ระบบอาวุธและการติดต่อสื่อสารในการรบที่ทางฝ่ายลาวใช้นั้น ทันสมัยมาก สามารถรู้พิกัดที่ตั้งปืนใหญ่ของไทย และยิงตอบกลับอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการรบกวนระบบการสื่อสารของทหารไทย ซึ่งกองทัพประชาชนลาวคงไม่มีระบบที่ทันสมัยอย่างนี้
๒.๑.๗ ที่ตั้งบนเนิน ๑๔๒๘ มีการดัดแปลงการตั้งรับอย่างดี บังเกอร์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ลักษณะเป็นเนินเขาบีบแคบ ในการเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้าอย่างเดียว ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบ หากจะต้องทำการรบในกรอบปกติ
๒.๑.๘ ข้อกล่าวหาของลาวต่อไทยอีกอย่างหนึ่งคือ ลาวกล่าวหาว่ามีบริษัทคนไทยบุกรุกเข้าไปตัดไม้และชักลากไม้ของลาวเข้ามาใน อาณาเขตไทย ทหารลาวต้องการเงินค่าไม้ เมื่อไม่ได้รับจึงดำเนินการในลักษณะรุกรานดังกล่าว แต่บางรายงานก็กล่าวว่ามีคนไทยบางคนสมคบกับทหารลาวในพื้นที่ทำธุรกิจไม้ เถื่อนจากลาวเข้ามาในไทย มีการติดต่อค้าขายกันมานาน ก่อนเกิดเหตุมีการคดโกงกันขึ้น คือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายไทยไม่ยอมจ่ายค่าไม้เถื่อนให้กับทหารลาวในวงเงิน ประมาณ ๕ ล้านบาท ทหารลาวจึงทำการเผารถแทรกเตอร์ รถบรรทุก และรถจี๊บเป็นการตอบแทน ซึ่งมีหลายฝ่ายของไทยกล่าวว่า การตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าว เพื่อเป็นการเสริมเรื่องไทยรุกล้ำแดนลาว และยังเข้าไปตัดไม้ด้วย เพื่อหาเหตุผลในการรุกราน
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของสงครามบ้านร่มเกล้า
.................. ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๐ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)เคลื่อนไหวรุนแรงที่จะยึดอำนาจรัฐ พื้นที่ติดต่อเขตลาวในเขตนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเผ่าม้ง ใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนและปฏิบัติการ เพราะสามารถข้ามลำน้ำเหืองเข้ามาในเขตไทยได้ง่าย และบริเวณพื้นที่นี้กลายเป็นยุทธบริเวณอันสำคัญระหว่างทหารกับ พคท. ชาวม้งซึ่งเป็นแนวร่วมกับ พคท.ถูกปราบปรามอย่างหนัก หนีข้ามลำน้ำเหืองเข้าไปในเขตลาว
ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานการณ์ในอินโดจีนเปลี่ยนแปลง ประกอบกับนโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ ของรัฐบาลไทยคือใช้ยุทธวิธี “กวนป่า ล้อมบ้าน” ใช้ยุทธศาสตร์ “การเมืองนำทหาร” ทำให้ชาวม้งตัดสินใจกลับเข้ามาตามโครงการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กองทัพภาคที่ ๓ ได้ตัดถนนสายยุทธศาสตร์และแนวชายแดนจาก อ.นาแห้ว จ.เลย ขึ้นไปสิ้นสุดที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นเขตสัมปทานป่าไม้ มีการจัดตั้งชุดทหารพรานคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ ขึ้น
..................๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวยกกำลังเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งไทยอ้างว่าอยู่ในเขต อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ทำลายรถแทรกเตอร์ของบริษัทป่าไม้เอกชนเสียหาย ๓ คัน มีผู้เสียชีวิต ๑ คน หายสาบสูญ ๑ คน ทหารพรานชุด ๓๔๐๕ เข้าปะทะกับทหารลาว
..................๑ มิถุนายน ๒๕๓๐ ทหารลาวเข้าโจมตีม้งที่บ้านร่มเกล้า โดยอ้างว่าเป็นการกวาดล้างม้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านทางการลาว (กลุ่มกองกำลังต่อต้านลาว ซึ่งมีการจัดตั้งในสมัยสงครามเวียดนาม ผู้นำคือนายพลวังเปา เพื่อใช้ต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือและลาวแดง ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวในภาคเหนือของลาว บางพื้นที่ทหารลาวยังไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการปะทะระหว่างทหารลาวและลาวฝ่ายต่อต้านหลายครั้ง เช่น ที่ด่านวังเต่าติดชายแดนไทยเมื่อไม่นานมานี้ และลาวกล่าวหาไทยว่าให้การสนับสนุน บางรายงานแจ้งว่าม้งกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากม้งที่อพยพไป อยู่ต่างประเทศ) และมีทหารลาวอีกชุดหนึ่งยกกำลังข้ามพรมแดนเข้ามาที่เขตบ้านนาผักก้าม และบ้านนากอก อ.นาแห้ว จ.เลย ยิงราษฎรไทยตาย ๑ คน จับกุมตัวไป ๖ คน หนีรอดมา ๑ คน โดยกล่าวหาว่าราษฎรเหล่านั้นลักลอบเข้าไปตัดไม้ในลาว
..................๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวประมาณ ๒๐๐ นาย เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของทหารพรานชุดคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ ที่บ้านร่มเกล้า (บางรายงานแจ้งว่าทหารลาวประมาณ ๑ กองพัน ซึ่งมีประมาณ ๘๐๐ คน เข้าโจมตี โดยการระดมยิงด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดจรวดอาร์พีจี และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังอย่างหนัก ก่อนจะโหมกำลังเข้าตี ตามกลยุทธ์ของคอมมิวนิสต์ ที่จะบุกเข้าตีข้าศึกด้วยกำลังมากกว่า ๑๐ เท่า และกองทัพภาคที่ ๓ ได้รายงานด่วนไปยังกองทัพบกถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น)
..................๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ สถานีวิทยุลาวเสนอบทสัมภาษณ์ประธานคณะปกครองเมืองบ่อแตน แขวงไทรบุรี กล่าวหาบริษัททำไม้เอกชนของไทยกับฝ่ายทหารไทยว่าได้ร่วมกันสร้างเส้นทางเข้า ไปตัดไม้ในลาว และได้เรียกร้องให้ไทยยุติการกะทำดังกล่าว รวมทั้งกล่าวหาฝ่ายไทยว่าใช้กำลังทหารเข้ารุกรานเบียดบังเอาดินแดนของลาวไป
.................. ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๓๐ ทหารไทยเคลื่อนกำลังเข้าประจำการในพื้นที่ที่เกิดปัญหาทั้งจากทหารราบ ทหารม้า ทหารพราน และหน่วยปืนใหญ่ เช่นเดียวกับทางลาวก็มีการเคลื่อนย้ายทหารและอาวุธจำนวนมาก ทหารไทยเข้าตีและทำลายเนินต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ที่ทหารลาวมาตั้งฐานอยู่ เพื่อยึดจุดยุทธศาสตร์
..................๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๓ เปิดยุทธการภูสอยดาว โหมการรบอย่างรุนแรงทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ โดยส่งเครื่องบินขับไล่เอฟ ๕ อี ไปทิ้งระบิดในยุทธภูมิอย่างหนัก การสู้รบยังคงต่อเนื่องและรุนแรงยังคงดำเนินอยู่ ตัวเลขของความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่เป็นที่เด่นชัด บางรายงานแจ้งว่าทางลาวเสียหายอย่างหนักที่โรงพยาบาลเมืองไทรบุรีของลาวเต็ม ไปด้วยทหารที่บาดเจ็บ จนล้นโรงพยาบาล
..................๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐ กระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าลาวมีความประสงค์ที่จะให้มีการเจรจาเพื่อปรับ ปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ หลังจากการเจรจาสองครั้งที่ผ่านมาคือครั้งแรก ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๐ ครั้งที่สอง ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ ประสพความล้มเหลว (หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าทุก ๆ ครั้งที่ฝ่ายลาวเกิดการสูญเสียในการรบอย่างหนัก จะยื่นเจรจา เพื่อให้ทางไทยชะลอการรุก และทำการเสริมกำลังของฝ่ายลาว และปรับปรุงการตั้งรับ)
..................๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๓ ออกปฏิบัติการกวาดล้างเข้าโจมตีฐานทหารลาวเกิดการปะทะกันอย่างหนักของทั้ง สองฝ่าย อย่างหนักหน่วง
..................๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๐ กระทรวงการต่างประเทศลาวเชิญอุปทูตไทยเข้ารับบันทึกช่วยจำ มีเนื้อความว่า เครื่องบินไทยละเมิดน่านฟ้าลาว และทำการทิ้งระเบิดพื้นที่แขวงไทรบุรีของลาว รวมทั้งมีการยิงปืนใหญ่ใส่บริเวณต่างๆของลาวอีกด้วย
สำหรับในกรณีนี้ นั้นจากการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายกล่าวว่า เนื่องจากเนิน ๑๔๒๘ เป็นที่ตั้งที่ดี การเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้า ทางลาวตั้งฐานปืนใหญ่ด้านหลัง ซึ่งเป็นแนวเขาซับซ้อน ยากต่อการค้นหา และยิงตอบกลับ ในช่วงนั้นมีข่าวว่า กองทัพไทยประกาศว่าหากจะทำการบุกข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปก็ต้องทำหากสถานการณ์ ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งมีผู้ใหญ่หลายฝ่ายออกมามาปรามในเรื่องนี้ เพราะไม่อยากให้สถานการณ์รุนแรงจนกลายเป็นสงครามเต็มขั้นระหว่างไทยกับลาว และจากการรบในช่วงแรกที่ทางไทยเข้าตีตามกรอบคือเข้าทางด้านหน้าได้รับการ ต้านทานอย่างหนัก และยากต่อการเคลื่อนกำลัง จึงมีการใช้เครื่องบินรบ เอฟ ๕ เข้าไปทิ้งระเบิดบนเนิน ๑๔๒๘ และที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในเขตลาว จนเสียหายยับเยิน เช่น สนามบินบ้านน้ำทาของลาว จากภาพถ่ายทางอากาศเนิน ๑๔๒๘ ราบเป็นหน้ากลองไม่มีต้นไม่เหลืออยู่เลย เพราะถูกระดมยิงจากปืนใหญ่ และการทิ้งระเบิดจากเอฟ ๕ แต่ทางลาวมีที่ตั้งแข็งแรง และเตรียมการตั้งรับอย่างดี บางรายงานกล่าวว่าเมื่อไม่สามารถเข้าไปตรง ๆ ได้ กองทัพไทย ได้ส่งหน่วยสงครามพิเศษ แทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ของลาว เพื่อทำการโจมตีระบบส่งกำลังบำรุง และค้นหาที่ตั้งปืนใหญ่ ทำให้การปฏิบัติการของลาวถูกกดดันมากยิ่งขึ้น (ซึ่งทางการไทยได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการรบใหม่เนื่องจากมีการสูญเสีย กำลังพล และไม่สามารถรุกคืบหน้าได้)
..................๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ กองทัพบกออกแถลงการณ์ว่าขณะนี้กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวได้เคลื่อนย้ายกำลัง พลและอาวุธอย่างต่อเนื่องเข้ามาในพื้นที่เมืองบ่อแตน แขวงไทรบุรี และได้เข้ามาในพื้นที่ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เพื่อลาดตระเวนวางกับระเบิดและทุ่นระเบิด พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ บินด่วนเพื่อตรวจสถานการณ์ และหาหนทางคลี่คลายสถานการณ์
..................๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ นายกิทอง วงสาย เอกอัครราชทูตลาวประจำองค์การสหประชาชาติ ยื่นหนังสือประท้วงไทยต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยมีใจความว่า ไทยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแขวงไทรบุรี และมีการระดมยิงปืนใหญ่เข้าไปในพื้นที่อย่างรุนแรง ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ ที่ผ่านมา
..................๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๐ สำนักข่าวเอพี รายงานว่าการรบระหว่างไทย-ลาว ในวันที่ ๑๕ ธันวาคมที่ผ่านมา นับเป็นการต่อสู้ที่รุนแรงที่สุดของทั้งสองฝ่าย (มีรายงานจากบางหน่วยที่เข้ายึดฐานทหารลาวได้แจ้งว่าพบชุดป้องกันอาวุธเคมี แบบเดียวกันกับที่ยึดได้จากทหารเวียดนามในช่องบก บางรายงานแจ้งว่าทางการลาวมีแผนจะใช้อาวุธเคมีด้วย และในช่วงนั้นหนึ่งกรมทหารราบของลาว จะมี ๑ กองร้อยอาวุธเคมีประจำการอยู่)
..................๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๐ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกาศยืนยันว่าพื้นที่บ้านร่มเกล้าเป็นของไทย โดยหลักฐานมีแน่ชัด และได้กล่าวถึงเรื่องการเจรจาปรับความสัมพันธ์นั้น ทางไทยตั้งเงื่อนไขให้ลาวเปลี่ยนตัวหัวหน้าผู้แทนการเจรจา เพราะผู้แทนลาวมักไม่มีความจริงใจในการเจรจา เอาการเจรจาเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อทำลายไทย
..................๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๐ รายงานข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า ไทยได้เสนอผ่านประเทศที่สาม ให้ลาวแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศลาวคนใหม่แทนท้าวคำพัน สิมาลาวงศ์ ซึ่งมีพฤติกรรมชัดแจ้งหลายอย่างที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ผู้นำไทย และไม่สร้างบรรยากาศการแก้ไขปัญหาพิพาทให้ดีขึ้น
..................๕ มกราคม ๒๕๓๑ นักศึกษาลาวและพระภิกษุจำนวนหลายร้อยคนเดินขบวนประท้วงไทย ผ่านหน้าสถานทูตไทยประจำเวียงจันทน์ เรียกร้องให้ไทยยุติการโจมตี และให้ไทยถอนกำลังออกจากบ้านร่มเกล้าโดยเร็ว
..................๒๐ มกราคม ๒๕๓๑ ใกล้บริเวณเนิน ๑๔๒๘ ทหารลาวซุ่มโจมตีรถบรรทุกทหารช่างและทหารพรานเกิดความเสียหายครั้งสำคัญยิ่ง ของไทย
..................๒๑ มกราคม ๒๕๓๑ มีการปรับยุทธวิธีการสู้รบครั้งใหญ่ต่อยุทธการภูสอยดาว เพราะไทยเริ่มมีการสูญเสียมากขึ้น และเพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว จึงมีการปรับปรุงยุทธการรบให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อยุทธภูมิที่เป็นอยู่ (ทางไทยเริ่มมีการใช้การรบนอกแบบ และได้ผล สร้างความกดดันต่อการปฏิบัติการของฝ่ายลาวเป็นอย่างมาก)
..................๒๒ มกราคม ๒๕๓๑ พลเอกเปรม ติณสูรานนท์ นายกรัฐมนตรี พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ รมว.กระทรวงกลาโหม พลเอกประจวบ สุนทรางกูร รมว.กระทรวงมหาดไทย พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา รมว.กระทรวงการต่างประเทศ และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ พร้อมทหารระดับสูงอีกหลายนาย เดินทางไปดูสถานการณ์การรบในพื้นที่ และเน้นให้ทหารผลักดันกองกำลังทหารลาวไปให้เร็วที่สุด แต่ก็ให้ทหารทำการรบในขอบเขตจำกัดที่สุด
..................๒๖-๒๗ มกราคม ๒๕๓๑ ได้มีการเคลื่อนไหวของประชาชนนับแสนคน ในประมาณ ๒๐ จังหวัดทั่วประเทศ ทำการเคลื่อนไหวประท้วงลาวอย่างต่อเนื่อง เช่นที่ เลย หนองคาย มุกดาหาร สงขลา ระนอง และลำปาง เป็นต้น
๒๗ มกราคม ๒๕๓๑ กระทรวงการต่างประเทศนำทูตประจำประเทศไทยจาก ๒๒ ประเทศพร้อมทั้งสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ไปดูสถานการณ์ในพื้นที่บ้านร่มเกล้าท่ามกลางการต่อสู้อย่างหนักของกองกำลัง ทั้งสองฝ่าย
๒๙-๓๐ มกราคม ๒๕๓๑ สถานการณ์ตึงเครียดรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณเนินยุทธศาสตร์ ๑๔๒๘นายชีวิน สุทธิสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้มีคำสั่งปิดพรมแดนด้านอำเภอปากชม เชียงคาน ภูเรือ ด่านซ้าย และนาแห้ว เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายลาวลักลอบเข้ามาซื้อสินค้ายุทธปัจจัยอันจะเป็น ประโยชน์ในการรบของลาวต่อไป (ฐานทหารลาวที่ถูกไทยตีแตกพบว่าอาหารมีการซื้อมาจากฝั่งไทย ด้านจังหวัดเลย)
..................๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ การปฏิบัติการทางอากาศของเครื่องบิน เอฟ-๕ อี อย่างหนัก และรุนแรงในวันๆ หนึ่งมีเที่ยวบินไม่ต่ำกว่า ๓๐ เที่ยวบินรบ
..................๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เครื่องบินขับไล่ เอฟ-๕ อี ของไทยลำหนึ่งถูกยิงตกขณะบินปฏิบัติการเหนือยุทธภูมิร่มเกล้า โดยจรวดแซม ๗ ทำจากโซเวียต แต่นักบินปลอดภัย นับเป็นความสูญเสียที่สำคัญอีกครั้งของฝ่ายไทย เครื่องบินถูกยิงที่บริเวณส่วนหางและเครื่องยนต์ด้านขวา ทำให้เครื่องยนต์ระเบิดกลางอากาศ ได้รับความเสียหายอย่างหนักไม่สามารถบังคับเครื่องบินต่อไปได้ จำเป็นต้องสละเครื่องบินเหนือพื้นที่ที่ฝ่ายตรงข้ามครอบครองอยู่และได้ถูก ควบคุมตัวโดยกำลังฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้รับนักบินทั้งสองนายกลับประเทศไทย รายงานบางกระแสแจ้งว่าทหารเวียดนามเป็นคนยิง โดยยิงพร้อมกันทีละ ๗ กระบอก การรบครั้งนี้ไทยยังเสียเครื่อง โอวี๑๐ ไปอีก ๑ เครื่องด้วย และมีเครื่องเอฟ ๕ อีกเครื่องหนึ่งโดนจรวดแซมยิงเข้าที่เครื่องยนต์ท้าย ในการเข้าโจมตีของเครื่องเอฟ ๕ จำนวน ๔ เครื่อง ที่เป้าหมายในการเข้าโจมตีทิ้งระเบิดต่อเป้าหมายครั้งหนึ่ง แต่นักบินสามารถนำเครื่องกลับมาลงที่สนามบินได้อย่างปลอดภัย และกองทัพอากาศทำการแก้ไข ซ่อมแซมนำกลับมาบินได้อีกครั้ง
..................๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ หลังการสูญเสียเครื่องบิน เอฟ - ๕ อี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศกร้าวที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ อีกทั้งย้ำว่าทุกครั้งที่ทหารไทยที่เสียชีวิต ๑ คน ทหารลาวต้องเสียชีวิตอย่างน้อย ๓ คน และกล่าวถึงว่าถ้าหากจำเป็นจะเปิดศึกข้ามโขงก็ต้องทำ นายฮาเวียร์ เปเรซ เดอ เชอลาร์) (Javier Perez de Cuella ) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้มีสาส์นถึง พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ขอให้ฝ่ายไทยและลาวใช้ความอดกลั้นให้ถึงที่สุดเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์ เลวร้ายลงไปอีก และขอให้หาทางยุติปัญหาโดยสันติโดยเร็วที่สุดและพร้อมที่จะช่วยเหลือในการ เจรจายุติปัญหาดังกล่าว
..................๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีการเปิดเผยโดยอ้างแหล่งข่าวระดับสูงของกองทัพบกว่า ลาวและกลุ่มประเทศอินโดจีน มีแผนตั้งสหพันธ์อินโดจีน และจะมีการส่งกำลังรบจากลาวบุก ๑๖ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แล้วตัดส่วนที่อยู่เหนือบริเวณ ๓ จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย เป็นรูปตัว L เพื่อเป็นฐานที่มั่นของขบวนการดาวเขียวที่เวียดนามหนุนอยู่
..................๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีการประชุม และปรับยุทธการการรบของฝ่ายไทยอย่างเต็มที่ หลังจากมีการสูญเสียมากขึ้นโดยเน้นการประสานงานระหว่างหน่วยต่างๆ ในพื้นที่การรบ และที่สำคัญคือกำลังจากไทยเสียเครื่องบินรบไปในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
..................๙-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ คณะผู้แทนฝ่ายไทย นำโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปลาว ซึ่งหลายฝ่ายให้ความเห็นว่าเป็นการเดินทางไปทำงาน ให้รัฐบาลไทยในการหาทางหาข้อยุติในปัญหาพิพาทด้วยการเจรจา
..................๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ นายไกรสอน พรมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาวได้ส่งสาสน์ถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทย เสนอให้ทหารทั้งสองฝ่ายพบแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้โดยเร็ว ลาวพร้อมที่จะส่งคณะผู้แทนทหารมากรุงเทพมหานคร และยินดีที่จะต้อนรับคณะผู้แทนทหารของประเทศไทย ที่จะเดินทางไปนครเวียงจันทน์เพื่อปรึกษาหารือ ดังนี้
๑. ให้ทั้งสองฝ่าย หยุดยิงและแยกกำลังทหารออกไกลจากกันโดยทันทีแล้วตั้งคณะกรรมการทหารผสมของ ทั้ง ๒ ฝ่ายขึ้น เพื่อตรวจตราการหยุดยิง และแยกกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกไกลจากกันโดยเด็ดขาด
๒. ให้ทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงและหาวิธีการ แก้ไขปัญหาชายแดนในบริเวณดังกล่าวนี้ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่อไป
๓. ให้ทั้งสองฝ่ายเสนอข้อร้องเรียนไปยังเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เพื่อขอความอุปถัมภ์ให้แก่การปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้อง กัน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ตอบตกลงตามข้อเสนอของฝ่ายลาว และได้กำหนดวันพบปะหารือระหว่างทหารทั้งสองฝ่ายขึ้น ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
..................๑๖-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ คณะผู้แทนลาวนำโดย พล.อ.สีสะหวาด แก้วบุญพัน พร้อมคณะเดินทางถึงไทยเพื่อเจรจาปัญหากับคณะผู้แทนฝ่ายไทย โดยมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าคณะ หลังการเจรจาตกลงได้มี แถลงการณ์ร่วมไทยลาวดังนี้
๑. ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มหยุดยิงในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
๒. ทั้งสองฝ่ายจะแยกทหารออกจากกันฝ่ายละ ๓ กิโลเมตร ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาหยุดยิง
๓.ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานทางทหารเพื่อพิสูจน์ตรวจตราและประสานการปฏิบัติตาม ข้อตกลง ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ อย่างเคร่งครัด
๔. ให้ทั้งสองฝ่าย สั่งทหารของตนให้หลีกเลี่ยงการปะทะด้วยอย่างเคร่งครัด เน้นการประสานความเข้าใจ
..................๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เริ่มวันแรกของการหยุดยิง และแยกทหารออกจากกัน มีการประชุมฝ่ายปฏิบัติการหยุดยิงทั้งสองฝ่ายที่บ้านร่มเกล้า
..................๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ การแยก และถอนทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่การสู้รบ ๓ กิโลเมตร เริ่มขึ้น
..................๒๓-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และคณะเดินทางไปลาว เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้แทนลาวมาไทย และเป็นการไปปรึกษาหารือเพื่อหาหนทางแก้ไขให้เพิ่มระดับสันติภาพยิ่งขึ้นอีก ด้วย นอกจากจะพบกับผู้บริหารประเทศแล้ว พลเอกชวลิต ยังได้เข้าพบเสด็จเจ้าสุภานุวงศ์ ประธานสมัชชาซึ่งมีสายสัมพันธ์กับตัวท่านเองในฐานะ อา-หลาน และตกลงที่จะเจรจาครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๓-๔ มีนาคม ๒๕๓๑ ที่เวียงจันทน์
..................๓-๔ มีนาคม ๒๕๓๑ คณะผู้แทนไทยนำโดย ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปเจรจากับลาวที่เวียงจันทน์โดยฝ่ายลาวมี พลเอกทองไหล กมมะสิด รองหัวหน้ากรมใหญ่การเมืองกองทัพประชาชนเป็นหัวหน้า แต่ยังตกลงกันไม่ได้ในประเด็นของแผนที่ที่จะนำเอามาอ้างชี้เขตแดน และประเด็นเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันพรมแดน
..................๖-๑๒ มีนาคม ๒๕๓๑ มีการออกเผยแพร่ใบปลิวลงท้ายว่า “ทหารม้า” โจมตีการปฏิบัติการที่ล้มเหลว และการสร้างความสูญเสียของกองทัพอากาศต่อฝ่ายไทยด้วยกันเอง โดยแจ้งว่าครึ่งหนึ่งของความสูญเสียมาจากการโจมตีผิดเป้าหมายของกองทัพอากาศ ไทยเอง (สำหรับการสูญเสียของทหารม้า จากตัวเลขที่เปิดเผยของกองพันทหารม้าที่ ๘ ที่จัดกำลัง กองพันทหารม้าผสม ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศชายแดนไทย - ลาว กรณีบ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกนั้น กำลังพลของหน่วยได้สละชีวิตในการป้องกันอธิปไตยของชาติไทยไว้ จำนวนทั้งสิ้น ๒๔ นาย และมีผู้ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ จำนวน ๓ นาย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ายอดสูญเสียสูงมาก แค่หน่วยเดียวถึง ๒๕% ของยอดสูญเสียที่ช่องบก ถึงแม้จะมีรายงานว่าจำนวนทหารลาวที่เสียชีวิตจากการรบครั้งนี้มีจำนวนหลาย เท่าของทหารไทย กระแสข่าวการสูญเสียดังกล่าวยังคงสร้างความสงสัยให้กับหลายคน)
ในกรณีการทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายเดียวกันเองนี้ เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก มีรายงานหลายกระแส เช่น
๑. เกิดจากความผิดพลาดในการประสานงานระหว่างกองกำลังภาคพื้น และเครื่องบินที่จะเข้าทิ้งระเบิด เช่น ทางภาคพื้นมีการแจ้งยกเลิกการโจมตี แต่กองทัพอากาศไม่ได้รับแจ้ง เมื่อมีการแจ้งยืนยันการทิ้งระเบิดที่เป้าหมาย มีการแจ้งกลับว่าให้ทำการโจมตีได้
๒. เกิดการรบติดพันรุนแรง และประชิด ไม่สามารถระบุเป้าหมายที่แน่นอนได้ (ในสงครามเวียดนามหรือกรณีอิรักครั้งล่าสุดยอดทหารสหรัฐที่เสียชีวิตจากการ ยิงหรือทิ้งระเบิดฝ่ายเดียวกันมีจำนวนมาก)
๓. ทหารไทยยึดฐานทหารลาวได้ก่อนกำหนดการณ์ และมีการเคลื่อนกำลังปะทะติดพัน ไม่สามารถแยกแนวรบที่ชัดเจนได้ ตอนที่นักบินทิ้งระเบิดลงไปโจมตี
๔. ทางลาวทำการรบกวนระบบการสื่อสารของไทย มีการดักฟัง ทำการถอดรหัส และรวมทั้งมีการเลียนเสียงการสั่งการ ซึ่งได้รับอุปกรณ์ที่ทันสมัยจากรัสเซีย
๕. เกิดการขัดแย้งกันในกองทัพ และสายทางการเมือง ที่ต้องการแย่งอำนาจการเมืองจากทางทหาร เลยทำการสร้างความแตกแยกในกองทัพ และมีการให้ข้อมูลแก่ฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับแผนการรบ ๆลๆ เนื่องจากในช่วงนั้น ส.ส. หลายคน อดีตเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาก่อนและมีความสัมพันธ์กับ ทหารบางกลุ่ม บางคนเคยเป็นสมาชิกของเขมรแดง หลังจากนโยบาย ๖๖/๒๓ จึงเข้ามาต่อสู้ทางการเมือง อีกทั้งฝ่ายทหารยังแตกแยกเรื่องการบังคับบัญชา
๖. การวางแผนการรบที่ผิดพลาด ขาดความยืดหยุ่นในการรบและการตั้งรับ และเรื่องยุทโธปกรณ์ที่ไม่พร้อม รวมทั้งการประเมินกำลังและขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้ามต่ำไป
บทเรียนและการเปลี่ยนแปลงที่ได้จากสงครามครั้งนี้
๑. หลังจากที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศนโยบาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า มีการไปเยี่ยมเยียนกันของผู้นำทางทหารของไทย ที่ลาว และเวียดนาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ รวมทั้งลดความตึงเครียดทางการทหารระหว่างกัน ปัจจุบันไทยกับลาวมีการร่วมมือกันมากขึ้นในด้านต่าง ๆ และลาวยึดไทยเป็นแบบอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนการเดินตามเวียดนาม แต่ลาวก็ดำเนินนโยบายกับไทยอย่างระมัดระวัง เพราะกลัวไทยครอบงำและเข้าแทรกแซงทางสังคม และวัฒนธรรม เนื่องจากขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ใกล้เคียงกัน
๒. กองทัพบกได้ทำการปรับปรุงกำลังรบให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เข้าหา พื้นที่ที่เกิดปัญหา ปรับลดกำลังคนลงตามภัยคุกคามที่เปลี่ยนไป และเพิ่มระบบอาวุธให้มีความทันสมัยและคล่องตัวมากขึ้น ตามนโยบาย "จิ๋วแต่แจ๋ว" รวมทั้งมีการจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว
๓. แนวทางในการป้องกันประเทศเปลี่ยนไป มีการดำเนินการของฝ่ายทหารและการเมืองเป็นระบบมากขึ้น ประสานการทำงานกัน โดยฝ่ายทหารทำการรบและสร้างความได้เปรียบและอำนาจการต่อรอง ส่วนฝ่ายการเมืองคือกระทรวงการต่างประเทศจะทำการเจรจา เมื่อมีกรณีปัญหาตามแนวชายแดนกองทัพจะส่งทหารเข้าไปในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหน่วยที่มีความคล่องแคล่ว และมีอำนาจในการยิงสูง ตรวจหาและตอบโต้กลับทันที เข้าตีและยึดพื้นที่ชิงความได้เปรียบในยุทธศาสตร์ก่อน อย่างในกรณีกระเหรี่ยงก็อดอาร์มีที่โดนทางการไทยโจมตีและกดดันจนต้อง สลายกลุ่มและยอมมอบตัว หรือการปะทะกันระหว่างทหารไทยและทหารพม่าผสมว้า กรณีบ้านปางหนุน อ. แม่ฟ้าหลวง และพื้นที่ปั[h
ที่มา.Internet Freedom
การรบระหว่าง ไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า
๑. มูลเหตุของการรบ
ยุทธการ บ้านร่มเกล้า เกิดขึ้นในกรณีพิพาทระหว่าง ไทย-ลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดน ซึ่งไทยและลาวอ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ โดยลาวได้ส่งกำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ส่วนที่เป็นปัญหา ไทยจึงได้ส่งกำลังทหารเข้าผลักดัน และเกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายอย่างหนักหน่วง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๓๐ - กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ และมีการหยุดยิง ของทั้งสองฝ่ายเมื่อ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
๒. ปัญหาเส้นเขตแดน จุดก่อของสงครามตาม สนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ กำหนดให้น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส แต่ปีถัดมาพนักงานสำรวจทำแผนที่พบว่ามีน้ำเหืองสองสาย ฝรั่งเศสตัดสินเอาเอง (เข้าใจว่าไม่ได้แจ้งให้กรุงเทพฯ ทราบ) ว่าเลือกสายน้ำที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนมากขึ้นหน่อย เขตแดนตรงนั้นไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งปี ๒๕๓๐ ทางลาวอ้างว่าบริเวณบ้านร่มเกล้าเป็นของลาว เนื่องจากแผนที่คนละฉบับกับไทย ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการสำรวจครั้งนั้น ภายหลังพบว่าลำน้ำเหืองมี ๒ สาย ซึ่งไม่ตรงกับแนวลำน้ำในปัจจุบัน ซึ่งปรากฏในแผนที่สหรัฐทำให้รัฐบาลไทยช่วงสงครามเวียดนาม อีกทั้งลำน้ำในปัจจุบันเรียกว่าเหืองป่าหมัน ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่เคยปรากฏในเอกสารใด ๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๑
๒.๑ จุดที่น่าสังเกตของเหตุการณ์ครั้งนี้
๒.๑.๒ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวคือปี ๒๕๒๘-๒๕๓๐ ทหารเวียดนาม-เฮงสัมริน ได้ส่งกองกำลังจำนวนมากเข้ากวาดล้างกองกำลังเขมรฝ่ายต่อต้าน ตามแนวชายแดนไทยที่จังหวัดอุบลราชธานี จนเกิดกรณีการรบกันอย่างหนักกับไทยที่ช่องบก ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน ๓ ประเทศ คือ ไทย ลาว และกัมพูชา มีทิวเขาพนมดงรัก กั้นเป็นแนวเขตแดน เนื่องจากพื้นที่ทางฝั่งเขมรเป็นที่ราบต่ำ ทหารเวียดนามจึงได้รุกล้ำเข้ามาตั้งฐานที่มั่นลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ ๕ กม. มีการปรับปรุงดัดแปลงที่ตั้งเพื่อรับการโจมตีจากทางไทยเป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นการตัดการติดต่อระหว่างไทยกับกองกำลังกลุ่มต่อต้านในการสนับสนุน ยุทธปัจจัยการรบที่ช่องบก ที่ช่องบกนั้นมีการปะทะกันอย่างหนักระหว่างไทยและเวียดนาม (ไทยใช้กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ กองพันทหารราบ, ๑ ร้อยลาดตระเวนระยะไกล, ๒๗ กองร้อยทหารพราน, ๑ ร้อยรถถัง สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกำลังทางอากาศ โดยเครื่องบิน เอ ๓๗ และเอฟ ๕) การรบมีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าที่บ้านร่มเกล้า การปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังทหารเวียดนามที่ช่องบก ตั้งแต่ ม.ค.๒๕๒๘-ธ.ค.๒๕๓๐ ทหารไทยสูญเสีย กำลังพล ๑๐๙ นาย บาดเจ็บ ๖๔๔ นาย ยึดอาวุธจากฝ่ายเวียดนามได้จำนวนมาก
(ตัวเลขที่เปิดเผยจากทางการไทย) ทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน จากการรบในเขมรและชายแดนไทยตั้งแต่บุกเข้ามาจนถอนออกไป บางส่วนถูกจับเป็นเชลยและหนีทัพมอบตัวกับไทยประมาณ ๕๐๐ คน จุดที่น่า สังเกตเรื่องหนึ่งก็คือการรบครั้งนี้มีการเตรียมการอย่างดี ทหารเวียดนามมีอาวุธและระบบการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยมาก คาดว่าได้รับมาการสนับสนุนจากรัสเซีย ( ปี ๒๕๒๒ เวียดนามตีเขมรแดงแตกและถอยไปตั้งฐานที่ชายแดนไทย แถบเทือกเขาพนมมาลัย และเกิดการรบเรื่อยมาในเขมร โดยฝ่ายเขมรต่อต้านคือ เขมรแดง ได้จีนสนับสนุน กลุ่มซอนซาน และเจ้าสีหนุ (มีไทย สหรัฐ ฝรั่งเศสให้การสนับสนุน) กับทหารเวียดนาม ผสมกับเขมรกลุ่มเฮงสัมริน มีนายฮุนเซน เป็นผู้นำซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นเขมรแดงมาก่อน แต่แตกคอกันและไปเข้ากับเวียดนาม นำทหารเวียดนามมาขับไล่เขมรแดงออกไป)นอกจากนี้ยังมีรายงานจากบางหน่วย ของกองทัพบกว่าทหารเวียดนามมีการใช้อาวุธเคมีในบริเวณดังกล่าวด้วย ซึ่งมีการยืนยันจากทหารเขมรในการปะทะหลายครั้งว่ามีการโปรยหรือทิ้งสาร บางอย่างลงมา ซึ่งมีผลต่อผิวหนังและระบบหายใจ นอกจากนั้นแหล่งน้ำในบริเวณดังกล่าวยังเต็มไปด้วยสารพิษ จากการปะทะและกวาดล้างทหารเวียดนามในเนิน ๕๖๕,๔๐๘,๕๐๐,๓๘๒ พบหน้ากากและชุดสำหรับป้องกันอาวุธเคมี ด้วย
๒.๑.๓ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ากรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวครั้งนี้เป็นแรงผลักดัน ที่ลาวได้รับจากเวียดนามและโซเวียต ซึ่งพยายามขัดขวางการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ และเป็นหนึ่งในแผนตัดขาดและยึดภาคอีสานของไทยตามยุทธการตัว L (L Operation) และรวมภาคอีสานของไทย ลาว เขมร เวียดนาม เป็นสหพันธ์อินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำลักษณะภูมิประเทศรูปตัวแอลใหญ่คือพื้นที่ป่า ภูเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ทอดตัวยาวลงมาทางใต้ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ มาบรรจบกันบริเวณเขาใหญ่ บริเวณรอยต่อ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ซึ่งทอดตัวยาวมาจากทิศตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก เขาบรรทัด เขากำแพง และบรรจบกันที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
๒.๑.๔ ในช่วงดังกล่าวบางรายงานแจ้งว่ามีทหารเวียดนามในลาวประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน และในเขมรประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งอาจจะต้องการเปิดศึก ๒ ด้าน ให้ไทยพะว้าพะวงทั้งการรุกที่บ้านร่มเกล้าตีเจาะมาทางเหนือ และตีรุกเข้ามาที่ช่องบกทางใต้ เพื่อตัดและยึดภาคอีสาน เลยหากรณีมาอ้าง เพื่อทำการรบ
๒.๑.๕ จากการปะทะกันระหว่างทหารไทยและลาวนั้น มีรายงานจากบางหน่วยแจ้งว่าฝ่ายลาวมีทหารต่างชาติบัญชาการรบ อาจเป็นคนรัสเซีย และถูกทหารไทยยิงตายไปหลายคน (กองทัพไทยไม่ได้ให้ข้อมูลกับเรื่องนี้มากนัก) จากการปะทะหลายครั้งบางหน่วยรายงานว่า ทหารที่เข้าใจว่าเป็นทหารลาว บางคนพูดร้องสั่งการเป็นภาษาเวียดนาม คาดว่าเป็นกองกำลังผสมระหว่างเวียดนามและลาวที่รบกับไทย ในการรบที่บ้านร่มเกล้านี้จึงไม่ใช่กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวธรรมดา
๒.๑.๖ ระบบอาวุธและการติดต่อสื่อสารในการรบที่ทางฝ่ายลาวใช้นั้น ทันสมัยมาก สามารถรู้พิกัดที่ตั้งปืนใหญ่ของไทย และยิงตอบกลับอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการรบกวนระบบการสื่อสารของทหารไทย ซึ่งกองทัพประชาชนลาวคงไม่มีระบบที่ทันสมัยอย่างนี้
๒.๑.๗ ที่ตั้งบนเนิน ๑๔๒๘ มีการดัดแปลงการตั้งรับอย่างดี บังเกอร์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ลักษณะเป็นเนินเขาบีบแคบ ในการเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้าอย่างเดียว ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบ หากจะต้องทำการรบในกรอบปกติ
๒.๑.๘ ข้อกล่าวหาของลาวต่อไทยอีกอย่างหนึ่งคือ ลาวกล่าวหาว่ามีบริษัทคนไทยบุกรุกเข้าไปตัดไม้และชักลากไม้ของลาวเข้ามาใน อาณาเขตไทย ทหารลาวต้องการเงินค่าไม้ เมื่อไม่ได้รับจึงดำเนินการในลักษณะรุกรานดังกล่าว แต่บางรายงานก็กล่าวว่ามีคนไทยบางคนสมคบกับทหารลาวในพื้นที่ทำธุรกิจไม้ เถื่อนจากลาวเข้ามาในไทย มีการติดต่อค้าขายกันมานาน ก่อนเกิดเหตุมีการคดโกงกันขึ้น คือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายไทยไม่ยอมจ่ายค่าไม้เถื่อนให้กับทหารลาวในวงเงิน ประมาณ ๕ ล้านบาท ทหารลาวจึงทำการเผารถแทรกเตอร์ รถบรรทุก และรถจี๊บเป็นการตอบแทน ซึ่งมีหลายฝ่ายของไทยกล่าวว่า การตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าว เพื่อเป็นการเสริมเรื่องไทยรุกล้ำแดนลาว และยังเข้าไปตัดไม้ด้วย เพื่อหาเหตุผลในการรุกราน
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของสงครามบ้านร่มเกล้า
.................. ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๐ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)เคลื่อนไหวรุนแรงที่จะยึดอำนาจรัฐ พื้นที่ติดต่อเขตลาวในเขตนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเผ่าม้ง ใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนและปฏิบัติการ เพราะสามารถข้ามลำน้ำเหืองเข้ามาในเขตไทยได้ง่าย และบริเวณพื้นที่นี้กลายเป็นยุทธบริเวณอันสำคัญระหว่างทหารกับ พคท. ชาวม้งซึ่งเป็นแนวร่วมกับ พคท.ถูกปราบปรามอย่างหนัก หนีข้ามลำน้ำเหืองเข้าไปในเขตลาว
ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานการณ์ในอินโดจีนเปลี่ยนแปลง ประกอบกับนโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ ของรัฐบาลไทยคือใช้ยุทธวิธี “กวนป่า ล้อมบ้าน” ใช้ยุทธศาสตร์ “การเมืองนำทหาร” ทำให้ชาวม้งตัดสินใจกลับเข้ามาตามโครงการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กองทัพภาคที่ ๓ ได้ตัดถนนสายยุทธศาสตร์และแนวชายแดนจาก อ.นาแห้ว จ.เลย ขึ้นไปสิ้นสุดที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นเขตสัมปทานป่าไม้ มีการจัดตั้งชุดทหารพรานคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ ขึ้น
..................๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวยกกำลังเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งไทยอ้างว่าอยู่ในเขต อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ทำลายรถแทรกเตอร์ของบริษัทป่าไม้เอกชนเสียหาย ๓ คัน มีผู้เสียชีวิต ๑ คน หายสาบสูญ ๑ คน ทหารพรานชุด ๓๔๐๕ เข้าปะทะกับทหารลาว
..................๑ มิถุนายน ๒๕๓๐ ทหารลาวเข้าโจมตีม้งที่บ้านร่มเกล้า โดยอ้างว่าเป็นการกวาดล้างม้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านทางการลาว (กลุ่มกองกำลังต่อต้านลาว ซึ่งมีการจัดตั้งในสมัยสงครามเวียดนาม ผู้นำคือนายพลวังเปา เพื่อใช้ต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือและลาวแดง ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวในภาคเหนือของลาว บางพื้นที่ทหารลาวยังไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการปะทะระหว่างทหารลาวและลาวฝ่ายต่อต้านหลายครั้ง เช่น ที่ด่านวังเต่าติดชายแดนไทยเมื่อไม่นานมานี้ และลาวกล่าวหาไทยว่าให้การสนับสนุน บางรายงานแจ้งว่าม้งกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากม้งที่อพยพไป อยู่ต่างประเทศ) และมีทหารลาวอีกชุดหนึ่งยกกำลังข้ามพรมแดนเข้ามาที่เขตบ้านนาผักก้าม และบ้านนากอก อ.นาแห้ว จ.เลย ยิงราษฎรไทยตาย ๑ คน จับกุมตัวไป ๖ คน หนีรอดมา ๑ คน โดยกล่าวหาว่าราษฎรเหล่านั้นลักลอบเข้าไปตัดไม้ในลาว
..................๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวประมาณ ๒๐๐ นาย เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของทหารพรานชุดคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ ที่บ้านร่มเกล้า (บางรายงานแจ้งว่าทหารลาวประมาณ ๑ กองพัน ซึ่งมีประมาณ ๘๐๐ คน เข้าโจมตี โดยการระดมยิงด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดจรวดอาร์พีจี และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังอย่างหนัก ก่อนจะโหมกำลังเข้าตี ตามกลยุทธ์ของคอมมิวนิสต์ ที่จะบุกเข้าตีข้าศึกด้วยกำลังมากกว่า ๑๐ เท่า และกองทัพภาคที่ ๓ ได้รายงานด่วนไปยังกองทัพบกถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น)
..................๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ สถานีวิทยุลาวเสนอบทสัมภาษณ์ประธานคณะปกครองเมืองบ่อแตน แขวงไทรบุรี กล่าวหาบริษัททำไม้เอกชนของไทยกับฝ่ายทหารไทยว่าได้ร่วมกันสร้างเส้นทางเข้า ไปตัดไม้ในลาว และได้เรียกร้องให้ไทยยุติการกะทำดังกล่าว รวมทั้งกล่าวหาฝ่ายไทยว่าใช้กำลังทหารเข้ารุกรานเบียดบังเอาดินแดนของลาวไป
.................. ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๓๐ ทหารไทยเคลื่อนกำลังเข้าประจำการในพื้นที่ที่เกิดปัญหาทั้งจากทหารราบ ทหารม้า ทหารพราน และหน่วยปืนใหญ่ เช่นเดียวกับทางลาวก็มีการเคลื่อนย้ายทหารและอาวุธจำนวนมาก ทหารไทยเข้าตีและทำลายเนินต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ที่ทหารลาวมาตั้งฐานอยู่ เพื่อยึดจุดยุทธศาสตร์
..................๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๓ เปิดยุทธการภูสอยดาว โหมการรบอย่างรุนแรงทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ โดยส่งเครื่องบินขับไล่เอฟ ๕ อี ไปทิ้งระบิดในยุทธภูมิอย่างหนัก การสู้รบยังคงต่อเนื่องและรุนแรงยังคงดำเนินอยู่ ตัวเลขของความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่เป็นที่เด่นชัด บางรายงานแจ้งว่าทางลาวเสียหายอย่างหนักที่โรงพยาบาลเมืองไทรบุรีของลาวเต็ม ไปด้วยทหารที่บาดเจ็บ จนล้นโรงพยาบาล
..................๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐ กระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าลาวมีความประสงค์ที่จะให้มีการเจรจาเพื่อปรับ ปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ หลังจากการเจรจาสองครั้งที่ผ่านมาคือครั้งแรก ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๐ ครั้งที่สอง ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ ประสพความล้มเหลว (หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าทุก ๆ ครั้งที่ฝ่ายลาวเกิดการสูญเสียในการรบอย่างหนัก จะยื่นเจรจา เพื่อให้ทางไทยชะลอการรุก และทำการเสริมกำลังของฝ่ายลาว และปรับปรุงการตั้งรับ)
..................๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๓ ออกปฏิบัติการกวาดล้างเข้าโจมตีฐานทหารลาวเกิดการปะทะกันอย่างหนักของทั้ง สองฝ่าย อย่างหนักหน่วง
..................๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๐ กระทรวงการต่างประเทศลาวเชิญอุปทูตไทยเข้ารับบันทึกช่วยจำ มีเนื้อความว่า เครื่องบินไทยละเมิดน่านฟ้าลาว และทำการทิ้งระเบิดพื้นที่แขวงไทรบุรีของลาว รวมทั้งมีการยิงปืนใหญ่ใส่บริเวณต่างๆของลาวอีกด้วย
สำหรับในกรณีนี้ นั้นจากการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายกล่าวว่า เนื่องจากเนิน ๑๔๒๘ เป็นที่ตั้งที่ดี การเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้า ทางลาวตั้งฐานปืนใหญ่ด้านหลัง ซึ่งเป็นแนวเขาซับซ้อน ยากต่อการค้นหา และยิงตอบกลับ ในช่วงนั้นมีข่าวว่า กองทัพไทยประกาศว่าหากจะทำการบุกข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปก็ต้องทำหากสถานการณ์ ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งมีผู้ใหญ่หลายฝ่ายออกมามาปรามในเรื่องนี้ เพราะไม่อยากให้สถานการณ์รุนแรงจนกลายเป็นสงครามเต็มขั้นระหว่างไทยกับลาว และจากการรบในช่วงแรกที่ทางไทยเข้าตีตามกรอบคือเข้าทางด้านหน้าได้รับการ ต้านทานอย่างหนัก และยากต่อการเคลื่อนกำลัง จึงมีการใช้เครื่องบินรบ เอฟ ๕ เข้าไปทิ้งระเบิดบนเนิน ๑๔๒๘ และที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในเขตลาว จนเสียหายยับเยิน เช่น สนามบินบ้านน้ำทาของลาว จากภาพถ่ายทางอากาศเนิน ๑๔๒๘ ราบเป็นหน้ากลองไม่มีต้นไม่เหลืออยู่เลย เพราะถูกระดมยิงจากปืนใหญ่ และการทิ้งระเบิดจากเอฟ ๕ แต่ทางลาวมีที่ตั้งแข็งแรง และเตรียมการตั้งรับอย่างดี บางรายงานกล่าวว่าเมื่อไม่สามารถเข้าไปตรง ๆ ได้ กองทัพไทย ได้ส่งหน่วยสงครามพิเศษ แทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ของลาว เพื่อทำการโจมตีระบบส่งกำลังบำรุง และค้นหาที่ตั้งปืนใหญ่ ทำให้การปฏิบัติการของลาวถูกกดดันมากยิ่งขึ้น (ซึ่งทางการไทยได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการรบใหม่เนื่องจากมีการสูญเสีย กำลังพล และไม่สามารถรุกคืบหน้าได้)
..................๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ กองทัพบกออกแถลงการณ์ว่าขณะนี้กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวได้เคลื่อนย้ายกำลัง พลและอาวุธอย่างต่อเนื่องเข้ามาในพื้นที่เมืองบ่อแตน แขวงไทรบุรี และได้เข้ามาในพื้นที่ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เพื่อลาดตระเวนวางกับระเบิดและทุ่นระเบิด พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ บินด่วนเพื่อตรวจสถานการณ์ และหาหนทางคลี่คลายสถานการณ์
..................๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ นายกิทอง วงสาย เอกอัครราชทูตลาวประจำองค์การสหประชาชาติ ยื่นหนังสือประท้วงไทยต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยมีใจความว่า ไทยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแขวงไทรบุรี และมีการระดมยิงปืนใหญ่เข้าไปในพื้นที่อย่างรุนแรง ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ ที่ผ่านมา
..................๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๐ สำนักข่าวเอพี รายงานว่าการรบระหว่างไทย-ลาว ในวันที่ ๑๕ ธันวาคมที่ผ่านมา นับเป็นการต่อสู้ที่รุนแรงที่สุดของทั้งสองฝ่าย (มีรายงานจากบางหน่วยที่เข้ายึดฐานทหารลาวได้แจ้งว่าพบชุดป้องกันอาวุธเคมี แบบเดียวกันกับที่ยึดได้จากทหารเวียดนามในช่องบก บางรายงานแจ้งว่าทางการลาวมีแผนจะใช้อาวุธเคมีด้วย และในช่วงนั้นหนึ่งกรมทหารราบของลาว จะมี ๑ กองร้อยอาวุธเคมีประจำการอยู่)
..................๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๐ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกาศยืนยันว่าพื้นที่บ้านร่มเกล้าเป็นของไทย โดยหลักฐานมีแน่ชัด และได้กล่าวถึงเรื่องการเจรจาปรับความสัมพันธ์นั้น ทางไทยตั้งเงื่อนไขให้ลาวเปลี่ยนตัวหัวหน้าผู้แทนการเจรจา เพราะผู้แทนลาวมักไม่มีความจริงใจในการเจรจา เอาการเจรจาเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อทำลายไทย
..................๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๐ รายงานข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า ไทยได้เสนอผ่านประเทศที่สาม ให้ลาวแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศลาวคนใหม่แทนท้าวคำพัน สิมาลาวงศ์ ซึ่งมีพฤติกรรมชัดแจ้งหลายอย่างที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ผู้นำไทย และไม่สร้างบรรยากาศการแก้ไขปัญหาพิพาทให้ดีขึ้น
..................๕ มกราคม ๒๕๓๑ นักศึกษาลาวและพระภิกษุจำนวนหลายร้อยคนเดินขบวนประท้วงไทย ผ่านหน้าสถานทูตไทยประจำเวียงจันทน์ เรียกร้องให้ไทยยุติการโจมตี และให้ไทยถอนกำลังออกจากบ้านร่มเกล้าโดยเร็ว
..................๒๐ มกราคม ๒๕๓๑ ใกล้บริเวณเนิน ๑๔๒๘ ทหารลาวซุ่มโจมตีรถบรรทุกทหารช่างและทหารพรานเกิดความเสียหายครั้งสำคัญยิ่ง ของไทย
..................๒๑ มกราคม ๒๕๓๑ มีการปรับยุทธวิธีการสู้รบครั้งใหญ่ต่อยุทธการภูสอยดาว เพราะไทยเริ่มมีการสูญเสียมากขึ้น และเพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว จึงมีการปรับปรุงยุทธการรบให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อยุทธภูมิที่เป็นอยู่ (ทางไทยเริ่มมีการใช้การรบนอกแบบ และได้ผล สร้างความกดดันต่อการปฏิบัติการของฝ่ายลาวเป็นอย่างมาก)
..................๒๒ มกราคม ๒๕๓๑ พลเอกเปรม ติณสูรานนท์ นายกรัฐมนตรี พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ รมว.กระทรวงกลาโหม พลเอกประจวบ สุนทรางกูร รมว.กระทรวงมหาดไทย พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา รมว.กระทรวงการต่างประเทศ และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ พร้อมทหารระดับสูงอีกหลายนาย เดินทางไปดูสถานการณ์การรบในพื้นที่ และเน้นให้ทหารผลักดันกองกำลังทหารลาวไปให้เร็วที่สุด แต่ก็ให้ทหารทำการรบในขอบเขตจำกัดที่สุด
..................๒๖-๒๗ มกราคม ๒๕๓๑ ได้มีการเคลื่อนไหวของประชาชนนับแสนคน ในประมาณ ๒๐ จังหวัดทั่วประเทศ ทำการเคลื่อนไหวประท้วงลาวอย่างต่อเนื่อง เช่นที่ เลย หนองคาย มุกดาหาร สงขลา ระนอง และลำปาง เป็นต้น
๒๗ มกราคม ๒๕๓๑ กระทรวงการต่างประเทศนำทูตประจำประเทศไทยจาก ๒๒ ประเทศพร้อมทั้งสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ไปดูสถานการณ์ในพื้นที่บ้านร่มเกล้าท่ามกลางการต่อสู้อย่างหนักของกองกำลัง ทั้งสองฝ่าย
๒๙-๓๐ มกราคม ๒๕๓๑ สถานการณ์ตึงเครียดรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณเนินยุทธศาสตร์ ๑๔๒๘นายชีวิน สุทธิสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้มีคำสั่งปิดพรมแดนด้านอำเภอปากชม เชียงคาน ภูเรือ ด่านซ้าย และนาแห้ว เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายลาวลักลอบเข้ามาซื้อสินค้ายุทธปัจจัยอันจะเป็น ประโยชน์ในการรบของลาวต่อไป (ฐานทหารลาวที่ถูกไทยตีแตกพบว่าอาหารมีการซื้อมาจากฝั่งไทย ด้านจังหวัดเลย)
..................๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ การปฏิบัติการทางอากาศของเครื่องบิน เอฟ-๕ อี อย่างหนัก และรุนแรงในวันๆ หนึ่งมีเที่ยวบินไม่ต่ำกว่า ๓๐ เที่ยวบินรบ
..................๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เครื่องบินขับไล่ เอฟ-๕ อี ของไทยลำหนึ่งถูกยิงตกขณะบินปฏิบัติการเหนือยุทธภูมิร่มเกล้า โดยจรวดแซม ๗ ทำจากโซเวียต แต่นักบินปลอดภัย นับเป็นความสูญเสียที่สำคัญอีกครั้งของฝ่ายไทย เครื่องบินถูกยิงที่บริเวณส่วนหางและเครื่องยนต์ด้านขวา ทำให้เครื่องยนต์ระเบิดกลางอากาศ ได้รับความเสียหายอย่างหนักไม่สามารถบังคับเครื่องบินต่อไปได้ จำเป็นต้องสละเครื่องบินเหนือพื้นที่ที่ฝ่ายตรงข้ามครอบครองอยู่และได้ถูก ควบคุมตัวโดยกำลังฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้รับนักบินทั้งสองนายกลับประเทศไทย รายงานบางกระแสแจ้งว่าทหารเวียดนามเป็นคนยิง โดยยิงพร้อมกันทีละ ๗ กระบอก การรบครั้งนี้ไทยยังเสียเครื่อง โอวี๑๐ ไปอีก ๑ เครื่องด้วย และมีเครื่องเอฟ ๕ อีกเครื่องหนึ่งโดนจรวดแซมยิงเข้าที่เครื่องยนต์ท้าย ในการเข้าโจมตีของเครื่องเอฟ ๕ จำนวน ๔ เครื่อง ที่เป้าหมายในการเข้าโจมตีทิ้งระเบิดต่อเป้าหมายครั้งหนึ่ง แต่นักบินสามารถนำเครื่องกลับมาลงที่สนามบินได้อย่างปลอดภัย และกองทัพอากาศทำการแก้ไข ซ่อมแซมนำกลับมาบินได้อีกครั้ง
..................๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ หลังการสูญเสียเครื่องบิน เอฟ - ๕ อี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศกร้าวที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ อีกทั้งย้ำว่าทุกครั้งที่ทหารไทยที่เสียชีวิต ๑ คน ทหารลาวต้องเสียชีวิตอย่างน้อย ๓ คน และกล่าวถึงว่าถ้าหากจำเป็นจะเปิดศึกข้ามโขงก็ต้องทำ นายฮาเวียร์ เปเรซ เดอ เชอลาร์) (Javier Perez de Cuella ) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้มีสาส์นถึง พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ขอให้ฝ่ายไทยและลาวใช้ความอดกลั้นให้ถึงที่สุดเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์ เลวร้ายลงไปอีก และขอให้หาทางยุติปัญหาโดยสันติโดยเร็วที่สุดและพร้อมที่จะช่วยเหลือในการ เจรจายุติปัญหาดังกล่าว
..................๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีการเปิดเผยโดยอ้างแหล่งข่าวระดับสูงของกองทัพบกว่า ลาวและกลุ่มประเทศอินโดจีน มีแผนตั้งสหพันธ์อินโดจีน และจะมีการส่งกำลังรบจากลาวบุก ๑๖ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แล้วตัดส่วนที่อยู่เหนือบริเวณ ๓ จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย เป็นรูปตัว L เพื่อเป็นฐานที่มั่นของขบวนการดาวเขียวที่เวียดนามหนุนอยู่
..................๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีการประชุม และปรับยุทธการการรบของฝ่ายไทยอย่างเต็มที่ หลังจากมีการสูญเสียมากขึ้นโดยเน้นการประสานงานระหว่างหน่วยต่างๆ ในพื้นที่การรบ และที่สำคัญคือกำลังจากไทยเสียเครื่องบินรบไปในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
..................๙-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ คณะผู้แทนฝ่ายไทย นำโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปลาว ซึ่งหลายฝ่ายให้ความเห็นว่าเป็นการเดินทางไปทำงาน ให้รัฐบาลไทยในการหาทางหาข้อยุติในปัญหาพิพาทด้วยการเจรจา
..................๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ นายไกรสอน พรมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาวได้ส่งสาสน์ถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทย เสนอให้ทหารทั้งสองฝ่ายพบแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้โดยเร็ว ลาวพร้อมที่จะส่งคณะผู้แทนทหารมากรุงเทพมหานคร และยินดีที่จะต้อนรับคณะผู้แทนทหารของประเทศไทย ที่จะเดินทางไปนครเวียงจันทน์เพื่อปรึกษาหารือ ดังนี้
๑. ให้ทั้งสองฝ่าย หยุดยิงและแยกกำลังทหารออกไกลจากกันโดยทันทีแล้วตั้งคณะกรรมการทหารผสมของ ทั้ง ๒ ฝ่ายขึ้น เพื่อตรวจตราการหยุดยิง และแยกกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกไกลจากกันโดยเด็ดขาด
๒. ให้ทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงและหาวิธีการ แก้ไขปัญหาชายแดนในบริเวณดังกล่าวนี้ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่อไป
๓. ให้ทั้งสองฝ่ายเสนอข้อร้องเรียนไปยังเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เพื่อขอความอุปถัมภ์ให้แก่การปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้อง กัน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ตอบตกลงตามข้อเสนอของฝ่ายลาว และได้กำหนดวันพบปะหารือระหว่างทหารทั้งสองฝ่ายขึ้น ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
..................๑๖-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ คณะผู้แทนลาวนำโดย พล.อ.สีสะหวาด แก้วบุญพัน พร้อมคณะเดินทางถึงไทยเพื่อเจรจาปัญหากับคณะผู้แทนฝ่ายไทย โดยมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าคณะ หลังการเจรจาตกลงได้มี แถลงการณ์ร่วมไทยลาวดังนี้
๑. ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มหยุดยิงในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
๒. ทั้งสองฝ่ายจะแยกทหารออกจากกันฝ่ายละ ๓ กิโลเมตร ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาหยุดยิง
๓.ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานทางทหารเพื่อพิสูจน์ตรวจตราและประสานการปฏิบัติตาม ข้อตกลง ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ อย่างเคร่งครัด
๔. ให้ทั้งสองฝ่าย สั่งทหารของตนให้หลีกเลี่ยงการปะทะด้วยอย่างเคร่งครัด เน้นการประสานความเข้าใจ
..................๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เริ่มวันแรกของการหยุดยิง และแยกทหารออกจากกัน มีการประชุมฝ่ายปฏิบัติการหยุดยิงทั้งสองฝ่ายที่บ้านร่มเกล้า
..................๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ การแยก และถอนทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่การสู้รบ ๓ กิโลเมตร เริ่มขึ้น
..................๒๓-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และคณะเดินทางไปลาว เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้แทนลาวมาไทย และเป็นการไปปรึกษาหารือเพื่อหาหนทางแก้ไขให้เพิ่มระดับสันติภาพยิ่งขึ้นอีก ด้วย นอกจากจะพบกับผู้บริหารประเทศแล้ว พลเอกชวลิต ยังได้เข้าพบเสด็จเจ้าสุภานุวงศ์ ประธานสมัชชาซึ่งมีสายสัมพันธ์กับตัวท่านเองในฐานะ อา-หลาน และตกลงที่จะเจรจาครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๓-๔ มีนาคม ๒๕๓๑ ที่เวียงจันทน์
..................๓-๔ มีนาคม ๒๕๓๑ คณะผู้แทนไทยนำโดย ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปเจรจากับลาวที่เวียงจันทน์โดยฝ่ายลาวมี พลเอกทองไหล กมมะสิด รองหัวหน้ากรมใหญ่การเมืองกองทัพประชาชนเป็นหัวหน้า แต่ยังตกลงกันไม่ได้ในประเด็นของแผนที่ที่จะนำเอามาอ้างชี้เขตแดน และประเด็นเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันพรมแดน
..................๖-๑๒ มีนาคม ๒๕๓๑ มีการออกเผยแพร่ใบปลิวลงท้ายว่า “ทหารม้า” โจมตีการปฏิบัติการที่ล้มเหลว และการสร้างความสูญเสียของกองทัพอากาศต่อฝ่ายไทยด้วยกันเอง โดยแจ้งว่าครึ่งหนึ่งของความสูญเสียมาจากการโจมตีผิดเป้าหมายของกองทัพอากาศ ไทยเอง (สำหรับการสูญเสียของทหารม้า จากตัวเลขที่เปิดเผยของกองพันทหารม้าที่ ๘ ที่จัดกำลัง กองพันทหารม้าผสม ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศชายแดนไทย - ลาว กรณีบ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกนั้น กำลังพลของหน่วยได้สละชีวิตในการป้องกันอธิปไตยของชาติไทยไว้ จำนวนทั้งสิ้น ๒๔ นาย และมีผู้ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ จำนวน ๓ นาย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ายอดสูญเสียสูงมาก แค่หน่วยเดียวถึง ๒๕% ของยอดสูญเสียที่ช่องบก ถึงแม้จะมีรายงานว่าจำนวนทหารลาวที่เสียชีวิตจากการรบครั้งนี้มีจำนวนหลาย เท่าของทหารไทย กระแสข่าวการสูญเสียดังกล่าวยังคงสร้างความสงสัยให้กับหลายคน)
ในกรณีการทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายเดียวกันเองนี้ เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก มีรายงานหลายกระแส เช่น
๑. เกิดจากความผิดพลาดในการประสานงานระหว่างกองกำลังภาคพื้น และเครื่องบินที่จะเข้าทิ้งระเบิด เช่น ทางภาคพื้นมีการแจ้งยกเลิกการโจมตี แต่กองทัพอากาศไม่ได้รับแจ้ง เมื่อมีการแจ้งยืนยันการทิ้งระเบิดที่เป้าหมาย มีการแจ้งกลับว่าให้ทำการโจมตีได้
๒. เกิดการรบติดพันรุนแรง และประชิด ไม่สามารถระบุเป้าหมายที่แน่นอนได้ (ในสงครามเวียดนามหรือกรณีอิรักครั้งล่าสุดยอดทหารสหรัฐที่เสียชีวิตจากการ ยิงหรือทิ้งระเบิดฝ่ายเดียวกันมีจำนวนมาก)
๓. ทหารไทยยึดฐานทหารลาวได้ก่อนกำหนดการณ์ และมีการเคลื่อนกำลังปะทะติดพัน ไม่สามารถแยกแนวรบที่ชัดเจนได้ ตอนที่นักบินทิ้งระเบิดลงไปโจมตี
๔. ทางลาวทำการรบกวนระบบการสื่อสารของไทย มีการดักฟัง ทำการถอดรหัส และรวมทั้งมีการเลียนเสียงการสั่งการ ซึ่งได้รับอุปกรณ์ที่ทันสมัยจากรัสเซีย
๕. เกิดการขัดแย้งกันในกองทัพ และสายทางการเมือง ที่ต้องการแย่งอำนาจการเมืองจากทางทหาร เลยทำการสร้างความแตกแยกในกองทัพ และมีการให้ข้อมูลแก่ฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับแผนการรบ ๆลๆ เนื่องจากในช่วงนั้น ส.ส. หลายคน อดีตเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาก่อนและมีความสัมพันธ์กับ ทหารบางกลุ่ม บางคนเคยเป็นสมาชิกของเขมรแดง หลังจากนโยบาย ๖๖/๒๓ จึงเข้ามาต่อสู้ทางการเมือง อีกทั้งฝ่ายทหารยังแตกแยกเรื่องการบังคับบัญชา
๖. การวางแผนการรบที่ผิดพลาด ขาดความยืดหยุ่นในการรบและการตั้งรับ และเรื่องยุทโธปกรณ์ที่ไม่พร้อม รวมทั้งการประเมินกำลังและขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้ามต่ำไป
บทเรียนและการเปลี่ยนแปลงที่ได้จากสงครามครั้งนี้
๑. หลังจากที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศนโยบาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า มีการไปเยี่ยมเยียนกันของผู้นำทางทหารของไทย ที่ลาว และเวียดนาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ รวมทั้งลดความตึงเครียดทางการทหารระหว่างกัน ปัจจุบันไทยกับลาวมีการร่วมมือกันมากขึ้นในด้านต่าง ๆ และลาวยึดไทยเป็นแบบอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนการเดินตามเวียดนาม แต่ลาวก็ดำเนินนโยบายกับไทยอย่างระมัดระวัง เพราะกลัวไทยครอบงำและเข้าแทรกแซงทางสังคม และวัฒนธรรม เนื่องจากขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ใกล้เคียงกัน
๒. กองทัพบกได้ทำการปรับปรุงกำลังรบให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เข้าหา พื้นที่ที่เกิดปัญหา ปรับลดกำลังคนลงตามภัยคุกคามที่เปลี่ยนไป และเพิ่มระบบอาวุธให้มีความทันสมัยและคล่องตัวมากขึ้น ตามนโยบาย "จิ๋วแต่แจ๋ว" รวมทั้งมีการจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว
๓. แนวทางในการป้องกันประเทศเปลี่ยนไป มีการดำเนินการของฝ่ายทหารและการเมืองเป็นระบบมากขึ้น ประสานการทำงานกัน โดยฝ่ายทหารทำการรบและสร้างความได้เปรียบและอำนาจการต่อรอง ส่วนฝ่ายการเมืองคือกระทรวงการต่างประเทศจะทำการเจรจา เมื่อมีกรณีปัญหาตามแนวชายแดนกองทัพจะส่งทหารเข้าไปในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหน่วยที่มีความคล่องแคล่ว และมีอำนาจในการยิงสูง ตรวจหาและตอบโต้กลับทันที เข้าตีและยึดพื้นที่ชิงความได้เปรียบในยุทธศาสตร์ก่อน อย่างในกรณีกระเหรี่ยงก็อดอาร์มีที่โดนทางการไทยโจมตีและกดดันจนต้อง สลายกลุ่มและยอมมอบตัว หรือการปะทะกันระหว่างทหารไทยและทหารพม่าผสมว้า กรณีบ้านปางหนุน อ. แม่ฟ้าหลวง และพื้นที่ปั[h
ที่มา.Internet Freedom
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)