นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มพี่น้องมหิดลนำโดย น.พ.กุศล ประวิชไพบูลย์ ยื่นหนังสือต่อรองเลขาธิการนายกฯโดยได้ประณามการสาดเลือดของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่นำไปเทสถานที่ต่างๆเนื่องจากตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเลือดไวรัสตับซี ไวรัสตับอักเสบบี และเชื้อไวรัสเอดส์และได้มีการผสมเลือดหมู วัว รวมด้วย นั้น อยากถามว่า น.พ.กุศล มีสิทธิ์อะไรมาตรวจสอบเลือดของกลุ่มคนเสื้อแดง ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานใดให้มาทำเช่นนี้ ทั้งนี้ที่บอกว่านำเลือดไปตรวจ นำไปตรวจตอนไหน
เพราะในเมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงไปเทเลือดแล้วมีการทำความสะอาดทันที ยืนยันว่าการกระทำของ น.พ.กุศล เป็นการกระทำที่อัปยศที่สุดในวงการแพทย์ คนกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิ์มาประณามการกระทำของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเรื่องนี้กลุ่มคนเสื้อแดงยอมไม่ได้ เพราะนอกจากบอกว่าเลือดมีเชื้อไวรัสแล้ว ยังระบุว่าเป็นเลือดของสุกรและวัว แสดงว่าเลือดของคนเสื้อแดง เปรียบได้เสมือนกับเลือดของสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น ดังนั้นยังจะถามไปยังมหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ระบุว่าเป็นสถานที่ตรวจผลเลือด ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่ล่าสุด ร.พ.รามาฯ ปฎิเสธว่าไม่เคยตรวจเลือด จึงไม่ใช่เป้าหมาย เหลือแต่ ม.มหิดล หากไม่มีคำตอบ วันที่ 3 เม.ย.เราจะเดินทางไปเยี่ยม
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ในวันที่ 2 เม.ย. ทราบว่ากลุ่มนักวิชาการจุฬาฯจะจัดเสวนา โดยคณาจารย์ที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ถอดเสื้อสีเหลืองออกมาใส่เสื้อสีชมพู รวมทั้งกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ที่จะชุมนุมต่อต้านการยุบสภา ที่สวนลุมพีนี แม้ว่าการชุมนุมจะเป็นสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อตนทราบที่มาของการชุมนุมครั้งนี้ ว่า การเคลื่อนไหวทั้งหมดเป็นการจัดการของ ศอ.รส. ที่พยายามจัดหากลุ่มมวลชนมาต่อต้านกลุ่มเสื้อแดง โดยใช้งบประมาณของราชการ ดังนั้นในวันที่ 2 เม.ย. เวลา 12.00 น. กลุ่มเสื้อแดงจะเดินทางไปยังจุฬาฯ เพื่อทวงถามอธิการบดีว่าจะจัดงานเสวนาจริงหรือไม่ ถ้าหากมีการใช้จุฬาฯเป็นสถานที่เสวนา กลุ่มคนเสื้อแดงก็จะไปรณรงค์ให้ยุบสภาภายในจุฬาฯเช่นกัน ในเมื่อมีประชาชนกลุ่มหนึ่งใช้ได้ ประชาชนอีกกลุ่มก็ต้องใช้ได้เช่นกัน และหลังจากที่ไปที่จุฬาแล้ว จะแวะไปที่ลานหน้าสวนลุมพินีเพื่อไปสังเกตการณ์ชุมนุมของกลุ่มนักธุรกิจโรงแรมเหล่านี้
ด้านนายจตุพร พรมพันธ์ แกนนำ นปช. กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า น.พ.กุศล เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ลงชื่อไม่ยอมรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งเคยเข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ที่บ้านสี่เสาฯก่อนการรัฐประหารไม่กี่วัน จึงถือว่า น.พ.กุศล เป็นเครือข่ายของกลุ่มอำมาตย์ ที่ต่อต้านการเคลื่อนไหวของประชาชน และจากการตรวจสอบ พบว่า น.พ.กุศล ได้เปิดคลีนิกศัลยกรรม อยู่ที่ห้างสรรพสินค้า 2 แห่ง ดังนั้นคนเสื้อแดงที่อยากไปทำศัลยกรรมจมูกกับหมอคนนี้ก็สามารถติดต่อได้ โดยตนได้ประกาศหมายเลขโทรศัพท์ให้ทราบแล้ว อย่างไรก็ตามขณะนี้ทราบว่า ผอ.โรงพยาบาลรามาฯได้แถลงแล้วว่า น.พ.กุศล ไม่ใช่คนของโรงพยาบาลรามาฯ และการตรวจเลือดของบุคคลที่ไม่ยินยอมก็ไม่สามารถดำเนินการ ดังนั้น เป้าหมายที่โรงพยาบาลรามาฯ เราคงไม่จำเป็นต้องไปเยี่ยมอีกแล้ว และหวังว่า ม.มหิดล จะแถลงถึงความชัดเจนว่าการกระทำดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มเพื่อนมหิดล จริงหรือไม่ แต่เท่าที่เห็นคิดว่าเป็นฝีมือในวันโกหกนานาชาติ ที่พยายามสร้างเรื่องมาใส่ร้ายคนเสื้อแดง
ที่มา.เนชั่นทันข่าว
****************************************************
วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553
วิทยุชุมชนคนเสื้อแดง ระบุ รัฐแทรกแซงสื่อ
นายวิโรจน์ มูลสุข ประธานสภาองค์กรวิทยุโทรทัศน์ท้องถิ่นแห่งชาติ(สอทช.) ได้นำกลุ่มนักจัดรายการวิทยุชุมชนคนเสื้อแดงจากทั่วประเทศ กว่า 50 คน โดยเฉพาะคลื่นวิทยุจากภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นเวทีปราศรัยแสดงจุดยืนโดยนายวิโรจน์ กล่าวว่า จะเคียงข้างกลุ่มคนเสื้อแดง
และพร้อมจะนำนักจัดรายการวิทยุชุมชนขึ้นมาสลับกันจัดรายการวิทยุโจมตีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ดูด้านสื่อสารมวลชนแต่ปฏิบัติตนขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 ในการแทรกแซงสื่อ และไม่ยอมเสนอข้อเท็จจริงต่อสังคม ซึ่งพวกเรายืนยันว่าจะเปิดเผยข้อเท็จจริงผ่านวิทยุชุมชนให้คนทั้งประเทศได้เข้าใจ ถึงการชุมนุมของคนเสื้อแดง ทั้งนี้จะเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนเข้ามาชุมนุมใหญ่ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย กลับคืนสู่ประเทศ ไทย
ที่มา.เนชั่นทันข่าว
**********************************************
และพร้อมจะนำนักจัดรายการวิทยุชุมชนขึ้นมาสลับกันจัดรายการวิทยุโจมตีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ดูด้านสื่อสารมวลชนแต่ปฏิบัติตนขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 ในการแทรกแซงสื่อ และไม่ยอมเสนอข้อเท็จจริงต่อสังคม ซึ่งพวกเรายืนยันว่าจะเปิดเผยข้อเท็จจริงผ่านวิทยุชุมชนให้คนทั้งประเทศได้เข้าใจ ถึงการชุมนุมของคนเสื้อแดง ทั้งนี้จะเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนเข้ามาชุมนุมใหญ่ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย กลับคืนสู่ประเทศ ไทย
ที่มา.เนชั่นทันข่าว
**********************************************
ยุบสภาเถิดท่านท้าวอภิสิทธิ์***
ประชาธิปไตยนั่นแล้ ปกครอง
ชนทั่วสากลปอง ไขว่คว้า
ราษฎรฝ่าละออง บาทอุ่น ไท้นา
หวังแต่เพียงเสมอหน้า เพื่อนบ้านวิไล
ประชาไทยต่อต้าน เผด็จการ
ทหารชั่วคอยพาลผลาญ ฆ๋าล้าง
ประชาธิปไตยยาน นำสู่ สุขนา
แจกจ่ายความเจริญกว้าง ทั่วด้าวแดนสยาม
ทุกเขตคามต่างร้อง ประกัน
พืชไร่นาผกผัน ค่าน้อย
ทำทุกวี่วันวัน จนยิ่ง
ควรเพิ่มราคาเข้า เพื่อให้พอกิน
สินทรัพย์ไยปล่อยให้ คนรวย
เป็นกลุ่มคอยฉกฉวย ไพร่ไร้
รัฐควรเร่งอำนวย คุมทั่ว ถึงนา
แจกจ่ายกำไรใช้ จ่ายหนี้เติมทุน
หวังอุดหนุนเพื่อได้ นายก
เลือกส่องพรรคถูกอก เพื่อใช้
บริหารแผ่นดินรก ยากยุ่ง
ผันผ่านจำเริญได้ เก่งด้วยปัญญา
ยุบสภาเถิดท่านท้าว อภิสิทธิ์
ชนไพร่ไปทวงสิทธิ์ ป่าวร้อง
อำนาจใช่ศักดิ์สิทธิ์ ตราบชั่ว ชีพนา
คืนเพื่อเลือกอีกพร้อง อย่างต้องธรรมนูญ
by ปติตันขุนทด
****************************************************
ชนทั่วสากลปอง ไขว่คว้า
ราษฎรฝ่าละออง บาทอุ่น ไท้นา
หวังแต่เพียงเสมอหน้า เพื่อนบ้านวิไล
ประชาไทยต่อต้าน เผด็จการ
ทหารชั่วคอยพาลผลาญ ฆ๋าล้าง
ประชาธิปไตยยาน นำสู่ สุขนา
แจกจ่ายความเจริญกว้าง ทั่วด้าวแดนสยาม
ทุกเขตคามต่างร้อง ประกัน
พืชไร่นาผกผัน ค่าน้อย
ทำทุกวี่วันวัน จนยิ่ง
ควรเพิ่มราคาเข้า เพื่อให้พอกิน
สินทรัพย์ไยปล่อยให้ คนรวย
เป็นกลุ่มคอยฉกฉวย ไพร่ไร้
รัฐควรเร่งอำนวย คุมทั่ว ถึงนา
แจกจ่ายกำไรใช้ จ่ายหนี้เติมทุน
หวังอุดหนุนเพื่อได้ นายก
เลือกส่องพรรคถูกอก เพื่อใช้
บริหารแผ่นดินรก ยากยุ่ง
ผันผ่านจำเริญได้ เก่งด้วยปัญญา
ยุบสภาเถิดท่านท้าว อภิสิทธิ์
ชนไพร่ไปทวงสิทธิ์ ป่าวร้อง
อำนาจใช่ศักดิ์สิทธิ์ ตราบชั่ว ชีพนา
คืนเพื่อเลือกอีกพร้อง อย่างต้องธรรมนูญ
by ปติตันขุนทด
****************************************************
“จตุพร”ขู่เสื้อแดงอาจบุก NBT-กตต.ชี้ม็อบชมพูไม่กลาง
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ระบุว่า ตราบใดที่รัฐบาลยังคงจุดยืนเดิม คือวางกรอบเวลาการยุบสภาไว้ที่ 9 เดือน การเจรจาจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เว้นแต่รัฐบาลจะมีข้อเสนอใหม่แล้วค่อยให้กลุ่มคนเสื้อแดงพิจารณา
ขณะเดียวกัน นายจตุพรเห็นว่า สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือ NBT นำเสนอข่าวใส่ร้ายกลุ่มคนเสื้อแดงในเรื่องหมิ่นสถาบันเบื้องสูง พยายามโยงคำว่า “อำมาตย์” เข้ากับพระมหากษัตริย์ ซึ่งหากยังไม่หยุดการกระทำดังกล่าว คนเสื้อแดงจะเดินทางไปปิดล้อม NBT
นอกจากนี้ ทีมทนายกลุ่มคนเสื้อแดงกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อฟ้องร้อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีล่าช้าในการพิจารณาคดีเงิน 258 ล้านบาท ของพรรคประชาธิปัตย์ และจะเดินทางไปกดดัน กกต. ประมาณวันที่ 5 เมษายนนี้ แต่แกนนำขอหารืออีกครั้ง
นายจตุพรกล่าวโจมตีกลุ่มคนเสื้อสีชมพูที่ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า ไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง เพราะส่วนใหญ่เคยขึ้นเวทีของกลุ่มพันธมิตรฯมาแล้ว
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
************************************************
ขณะเดียวกัน นายจตุพรเห็นว่า สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือ NBT นำเสนอข่าวใส่ร้ายกลุ่มคนเสื้อแดงในเรื่องหมิ่นสถาบันเบื้องสูง พยายามโยงคำว่า “อำมาตย์” เข้ากับพระมหากษัตริย์ ซึ่งหากยังไม่หยุดการกระทำดังกล่าว คนเสื้อแดงจะเดินทางไปปิดล้อม NBT
นอกจากนี้ ทีมทนายกลุ่มคนเสื้อแดงกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อฟ้องร้อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีล่าช้าในการพิจารณาคดีเงิน 258 ล้านบาท ของพรรคประชาธิปัตย์ และจะเดินทางไปกดดัน กกต. ประมาณวันที่ 5 เมษายนนี้ แต่แกนนำขอหารืออีกครั้ง
นายจตุพรกล่าวโจมตีกลุ่มคนเสื้อสีชมพูที่ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า ไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง เพราะส่วนใหญ่เคยขึ้นเวทีของกลุ่มพันธมิตรฯมาแล้ว
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
************************************************
‘พท.’เตรียมยื่นอภิปรายหลังสงกรานต์
ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น ฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ เบื้องต้นวางไว้ว่าจะเป็นวันที่ 19 เมษายน 2553 แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับมติของพรรค และเชื่อว่าจะไม่ขัดกับแนวทางการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ยุบสภาตามข้อเรียกร้อง โดยรายชื่อรัฐมนตรีที่จะถูกยื่นอภิปราย ตนจะเสนอพรรคให้อภิปรายไม่ไว้วางใจ 4 คน คือ 1.นายกรัฐมนตรี 2.นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ 4.รัฐมนตรีอีกคนจากพรรคภูมิใจไทย แต่ยังไม่สามารถบอกชื่อได้เพราะต้องขอมติพรรคก่อน และกำหนดตัวผู้อภิปรายประมาณ 9 คนรวมตนด้วย
และขอฝากไปยังนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ถ้าแน่จริงให้ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะได้รู้ข้อแตกต่างระหว่างคดีพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์
และขอเตือนไปยังนายตำรวจยศ พล.ต.อ.นักเรียนนอก นามสกุลดัง อย่าไปรับใช้รัฐบาลให้มากนัก เพราะเมื่อถึงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะลำบาก ในการอภิปรายครั้งนี้ตนจะกระทืบตำรวจในสภาแน่นอนที่ไม่ดำเนินการกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ข่าวเพื่อไทย
***************************************************
และขอฝากไปยังนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ถ้าแน่จริงให้ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะได้รู้ข้อแตกต่างระหว่างคดีพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์
และขอเตือนไปยังนายตำรวจยศ พล.ต.อ.นักเรียนนอก นามสกุลดัง อย่าไปรับใช้รัฐบาลให้มากนัก เพราะเมื่อถึงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะลำบาก ในการอภิปรายครั้งนี้ตนจะกระทืบตำรวจในสภาแน่นอนที่ไม่ดำเนินการกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ข่าวเพื่อไทย
***************************************************
‘พท.’ชี้หมดเวลาทำโรดแม็พ
นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส. อยุธยา พรรคเพื่อไทย ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงนายกฯ เสนอเงื่อนไขยุบสภาภายใน 9 เดือนว่า นายกฯ ไม่ควรซื้อเวลา เรื่องแก้รัฐธรรมนูญภายใน 9 เดือนก่อนยุบสภานั้น ต้องบอกว่าเกินจุดนั้นไปแล้ว เพราะพรรคประชาธิปัตย์บอกไม่ร่วมแก้ไขกับ 5 พรรคร่วมไปแล้ว พรรคเพื่อไทยรู้ดีว่านายกฯไม่จริงใจแก้รัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์เสนอโรดแม็พขั้นตอนการยุบสภา นายวิทยากล่าวว่า เรื่องโรดแม็พไม่ต้องมาพูดกัน ทางออกของพรรคเพื่อไทยคือคืนอำนาจให้กับประชาชน เรื่องแบบนี้คงไม่ต้องให้คนอื่นสอนเพราะเป็นถึงนายกฯ ต้องแสดงสปิริต เมื่อประชาชนออกมาขับเคลื่อนก็ควรกำหนดท่าทีให้ชัดเจน และไม่มีสิ่งใดที่น่าจะเกิดผลดีมากกว่าคืนอำนาจให้กับเขา
พท.พร้อมให้ ปชช.พิสูจน์
นายวิทยากล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสนอให้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันที่ 19 เมษายน ว่า ร.ต.อ.ดร.เฉลิมคิดว่าขณะนี้อาจจะมีข้อยุติในบางประเด็น และจำเป็นจะต้องยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อทำหน้าที่ต่อจากประชาชนที่ได้ออกมาเคลื่อนไหว แต่เรากำลังรอจังหวะกันอยู่ว่าจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้เมื่อไร เพราะในส่วนของการเคลื่อนไหวของประชาชนก็พยายามที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งถ้าพรรคเพื่อไทยไปขัดจังหวะที่นายกรัฐมนตรีจะต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง อาจจะทำให้เกิดช่องว่างหรือสุญญากาศได้
"ผมได้พูดคุยกับ ร.ต.อ.ดร.เฉลิมแล้ว ร.ต.อ.ดร.เฉลิมก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร เพียงแต่ท่านบอกว่าถ้ามีจังหวะช่วงที่จะเสนอยื่นญัตติเป็นไปได้ก็จะทำหน้าที่ของ ส.ส.ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อทำหน้าที่ต่อจากประชาชน" นายวิทยากล่าว
ข่าวเพื่อไทย
************************************************
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์เสนอโรดแม็พขั้นตอนการยุบสภา นายวิทยากล่าวว่า เรื่องโรดแม็พไม่ต้องมาพูดกัน ทางออกของพรรคเพื่อไทยคือคืนอำนาจให้กับประชาชน เรื่องแบบนี้คงไม่ต้องให้คนอื่นสอนเพราะเป็นถึงนายกฯ ต้องแสดงสปิริต เมื่อประชาชนออกมาขับเคลื่อนก็ควรกำหนดท่าทีให้ชัดเจน และไม่มีสิ่งใดที่น่าจะเกิดผลดีมากกว่าคืนอำนาจให้กับเขา
พท.พร้อมให้ ปชช.พิสูจน์
นายวิทยากล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสนอให้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันที่ 19 เมษายน ว่า ร.ต.อ.ดร.เฉลิมคิดว่าขณะนี้อาจจะมีข้อยุติในบางประเด็น และจำเป็นจะต้องยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อทำหน้าที่ต่อจากประชาชนที่ได้ออกมาเคลื่อนไหว แต่เรากำลังรอจังหวะกันอยู่ว่าจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้เมื่อไร เพราะในส่วนของการเคลื่อนไหวของประชาชนก็พยายามที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งถ้าพรรคเพื่อไทยไปขัดจังหวะที่นายกรัฐมนตรีจะต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง อาจจะทำให้เกิดช่องว่างหรือสุญญากาศได้
"ผมได้พูดคุยกับ ร.ต.อ.ดร.เฉลิมแล้ว ร.ต.อ.ดร.เฉลิมก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร เพียงแต่ท่านบอกว่าถ้ามีจังหวะช่วงที่จะเสนอยื่นญัตติเป็นไปได้ก็จะทำหน้าที่ของ ส.ส.ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อทำหน้าที่ต่อจากประชาชน" นายวิทยากล่าว
ข่าวเพื่อไทย
************************************************
"เสื้อแดง" เจรจาหาทาง "ลง" พรรคร่วมโหนกระแส "แก้ รธน."
ทั้งฝ่ายเสื้อแดง-ฝ่ายรัฐบาล ต่างแสวงหา "ทางลง"
ฝ่ายแกนนำเสื้อแดง-นปช.นั้น ทั้งเหนื่อย ทั้งหมดกำลังต้องการ "จบ" ให้ได้ก่อนเทศกาลสงกรานต์
ฝ่ายเพื่อไทยบางส่วน ก็ต้องการจบเกม "ข้างถนน" แล้วเข้าสู่โหมดการอภิปราย ไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎร และยัง ไม่พร้อมสำหรับการลงสนามเลือกตั้ง ก่อนเวลาอันควร
เช่นเดียวกับฝ่ายรัฐบาล 6 พรรค ที่ไม่ต้องการลงสนาม ในบรรยากาศแดง ทั้ง แผ่นดิน
ข้อเสนอที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ "ผู้จัดการรัฐบาล" ประกาศในนามพรรคร่วมรัฐบาล "ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วยุบสภาปลายปี เลือกตั้งต้นปี 2554" จึงเป็นข้อเสนอที่ไม่มีพรรคไหนอยาก ปฏิเสธ
แกนนำพรรคระดับ "ตัวแปร" ทาง การเมือง อย่างพรรคภูมิใจไทย (ภท.) โดย "กลุ่มเพื่อนเนวิน" จึงเป็นผู้กำหนดวาระพรรคร่วม นำเสนอ "โรดแมป" การกลับไปสู่การเลือกตั้ง
เนวิน ชิดชอบ จึงเสนอทางลงว่า "ถ้าเสื้อแดงต้องการประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความยุติธรรม ทั้งหมดทุกฝ่ายต้อง เข้าสู่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ...จะใช้วิธีตั้งกรรมการร่วมกันกี่ฝ่ายก็ได้ จากนั้นก็ทำประชามติ และยุบสภา แยกย้ายกันไปลงสมัครรับเลือกตั้ง"
แต่ข้อเสนอนี้จะไม่มีทางบรรลุเป้าหมาย หาก "เพื่อไทย" ไม่ถอนกำลังเสื้อแดงออกจากเวที นปช.
พรรคร่วมรัฐบาลจึงเสนอให้ทุกพรรค ทั้งฝ่ายค้าน รัฐบาล เห็นพ้องกัน ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นพรรคเพื่อไทยก็ต้องทิ้งเวที นปช. แล้วกลับเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อร่วมในกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ
ขั้นตอนหลังจากนั้นคือ มีการตั้ง คณะกรรมการร่วมกันเพื่อยกร่างแก้ไข เมื่อยกร่างเรียบร้อยแล้วนำไปลงประชามติ จากนั้นรัฐบาลจึงประกาศยุบสภา เลือกตั้งใหม่
ข้อเสนอนี้ถูกสนองจากมังกรการเมือง หลังเสียงระเบิดการเมืองย่านจรัญสนิทวงศ์ เงียบลงไม่ถึง 24 ชั่วโมง
"ต้องบอกว่าจะแก้กติกาเมื่อไหร่ ภายในเวลาเท่าไหร่ แล้วยุบสภาเมื่อไหร่ อาจจะยุบสภาสิ้นปีนี้ แต่ถ้าให้ยุบใน 15 วัน ทำไม่ได้ ความเสียหายเกิดขึ้น เพราะเศรษฐกิจกำลังดี ไม่ใช่ว่ารัฐซื้อเวลา ตอนนี้การลงทุนไหลเข้ามามากมาย" นายบรรหาร ศิลปอาชา จากพรรคชาติไทยพัฒนา ขีดเส้น-นับถอยหลังรัฐบาล
เพราะ "บรรหาร" และแกนนำอีก 4 พรรคร่วมรัฐบาล ต้องการร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบกระชับ-รวดเร็ว- ปราศจากอุบัติเหตุการเมือง เพียง 2 มาตรา คือเลือกตั้งเขตเดียว เบอร์เดียว และมาตราที่ว่าด้วยอำนาจในการลงนามสนธิสัญญาระหว่างประเทศเท่านั้น
"บรรหาร" จึงเห็นต่างประเด็นเดียวคือเรื่อง "ประชาพิจารณ์" ที่อ้างว่าอาจไม่มีเวลามากพอ
ฝ่ายเสื้อแดง-นปช.นั้นแม้ไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ปฏิเสธ
ข้อเสนอของ "จตุพร พรหมพันธุ์" จึง "ตามน้ำ" กับเงื่อนไขการยุบสภา แต่ "ขีดเส้น" กรอบเวลาไว้ "ต่อรอง"
"ทุกฝ่ายเสนอโดยมีแนวทางเดียวกันคือการยุบสภานั้น ด้วยระยะเวลา 2 สัปดาห์นั้นถือว่าเพียงพอ เพราะว่ารัฐบาลยังสามารถทำหน้าที่รักษาการต่ออีก 45 วัน รวมระยะเวลาทั้งหมดแล้วก็คือ 2 เดือน"
มรรควิธีไปสู่เป้าหมายของฝ่ายเสื้อแดง คือ "สัตยาบัน" ระหว่าง "ตัวแทน" สีเหลือง-สีแดงและสีน้ำเงิน
"กลุ่มสีน้ำเงินของพรรคภูมิใจไทย กลุ่มสีเหลืองจากพรรคการเมืองใหม่และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มเสื้อแดงจากพรรคเพื่อไทย ให้ทุกฝ่ายมาร่วมลงสัตยาบัน ให้นายโคทม อารียา เป็นสักขีพยาน" นายจตุพร-ยื่นเงื่อนไข
ส่วนญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายเสื้อแดงเห็นว่าควรยุบสภาไปเสียก่อน แล้วค่อยกลับมาตั้งหลัก-จัดวาระ
ข้อเสนอที่ "สวนทาง" กับฝ่ายรัฐบาลนี้ ถูกสวนหมัดจากฝ่ายรัฐบาลว่า ฝ่ายค้าน-เพื่อไทย-ไม่ต้องการ "กติกา" แต่ต้องการเพียง "อำนาจ"
ม็อบเสื้อแดงจึงไม่ใช่ม็อบเพื่อประชาธิปไตย แต่กลายเป็นม็อบเพื่อไทย
เมื่อจะหาทางลง จึงต้องมีท่วงทำนอง-ลีลาที่เสียหน้าน้อยที่สุด
แม้ว่ามติของแกนนำ นปช.ส่วนใหญ่ต้องการ "จบ-แตกหัก" แต่เงื่อนไขไม่สุกงอม ทำให้ขบวนของ "ยงยุทธ ติยะไพรัช" ถอนตัวออกไปก่อนเวลาอันควร
แม้ว่าแนวร่วม 111 และ 37 อดีตกรรมการบริหารไทยรักไทยและพลังประชาชน ร่วมขึ้นเวที เพื่อดึงอำนาจนำมาจาก 3 เกลอ
การชิงการนำจึงเกิดขึ้น
การไปเปิดวงเจรจาโดย "วีระ-น.พ.เหวง-จตุพร" จึงถูกแนวร่วมวิพากษ์ว่า พ่ายแพ้-ล้มเหลว และโดน "ข้อหา" อยากจบ-แม้ศพไม่สวย
ญัตติที่จะดึง "ม.ล.ปลื้ม เทวกุล" มาขึ้นเวทีเรียกแขก ชนชั้นกลางในเมือง เข้าเป็นแนวร่วม "เสื้อแดง" จึงถูกโหวตตกจากที่ประชุม "วอร์รูม-นปช."
การปรับเนื้อหา (content) ในการอภิปราย ภายใต้การให้การสนับสนุนของกลุ่มนักวิชาการ-คนเดือนตุลา ทั้งจาตุรนต์ ฉายแสง-น.พ.เหวง โตจิราการ-จรัล ดิษฐาอภิชัย-ธเนศวร์ เจริญเมือง และสหายที่ ไม่ปรากฏตัวบนเวทีอีกจำนวนหนึ่ง จึงถูกแตะเบรกจากแกนนำสาย "ฮาร์ดคอร์"
ส่วนการขับเคลื่อน-จรยุทธ์ในเมือง ใช้ทีมงานที่เรียกกันภายใต้รหัสทีม 66/23 ซึ่งเป็นเครือข่ายของ "บิ๊กจิ๋ว" เป็นมือทำงาน ร่วมกับอดีต "ผู้ร่วม พัฒนาชาติไทย" ก็ต้องหยุดปฏิบัติการชั่วคราว
เพราะนักวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองชี้ว่า เนื้อหาที่มุ่งโจมตีสถาบัน และบี้-ขยี้-ขยายประเด็นเรื่องชนชั้น ในระยะยาวจะถูกจริตกับแนวร่วมที่ไม่ได้ "จัดตั้ง" ในม็อบเสื้อแดง
ประกอบกับความไม่ชัดเจนเรื่อง "แนวทาง" การเคลื่อนไหว เช่น การ ชูประเด็น "ล้มอำมาตย์" แต่ก็มีการจุดเทียนชัย ทำให้แนวร่วมกลุ่ม"คนเดือนตุลา" ไม่เห็นด้วย
นับวันยิ่งยาก ยิ่งกว่ายาก ในการบริหารแกนนำและควบคุมมวลชนเสื้อแดง
การแตกในแนวร่วมจึงเกิดขึ้นเป็นระยะ
การหาทางลงของฝ่ายเสื้อแดง และ การหาทางออกของฝ่ายรัฐบาล อาจบรรลุผลเร็วกว่าเวลาอันควร
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
************************************************
ฝ่ายแกนนำเสื้อแดง-นปช.นั้น ทั้งเหนื่อย ทั้งหมดกำลังต้องการ "จบ" ให้ได้ก่อนเทศกาลสงกรานต์
ฝ่ายเพื่อไทยบางส่วน ก็ต้องการจบเกม "ข้างถนน" แล้วเข้าสู่โหมดการอภิปราย ไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎร และยัง ไม่พร้อมสำหรับการลงสนามเลือกตั้ง ก่อนเวลาอันควร
เช่นเดียวกับฝ่ายรัฐบาล 6 พรรค ที่ไม่ต้องการลงสนาม ในบรรยากาศแดง ทั้ง แผ่นดิน
ข้อเสนอที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ "ผู้จัดการรัฐบาล" ประกาศในนามพรรคร่วมรัฐบาล "ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วยุบสภาปลายปี เลือกตั้งต้นปี 2554" จึงเป็นข้อเสนอที่ไม่มีพรรคไหนอยาก ปฏิเสธ
แกนนำพรรคระดับ "ตัวแปร" ทาง การเมือง อย่างพรรคภูมิใจไทย (ภท.) โดย "กลุ่มเพื่อนเนวิน" จึงเป็นผู้กำหนดวาระพรรคร่วม นำเสนอ "โรดแมป" การกลับไปสู่การเลือกตั้ง
เนวิน ชิดชอบ จึงเสนอทางลงว่า "ถ้าเสื้อแดงต้องการประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความยุติธรรม ทั้งหมดทุกฝ่ายต้อง เข้าสู่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ...จะใช้วิธีตั้งกรรมการร่วมกันกี่ฝ่ายก็ได้ จากนั้นก็ทำประชามติ และยุบสภา แยกย้ายกันไปลงสมัครรับเลือกตั้ง"
แต่ข้อเสนอนี้จะไม่มีทางบรรลุเป้าหมาย หาก "เพื่อไทย" ไม่ถอนกำลังเสื้อแดงออกจากเวที นปช.
พรรคร่วมรัฐบาลจึงเสนอให้ทุกพรรค ทั้งฝ่ายค้าน รัฐบาล เห็นพ้องกัน ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นพรรคเพื่อไทยก็ต้องทิ้งเวที นปช. แล้วกลับเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อร่วมในกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ
ขั้นตอนหลังจากนั้นคือ มีการตั้ง คณะกรรมการร่วมกันเพื่อยกร่างแก้ไข เมื่อยกร่างเรียบร้อยแล้วนำไปลงประชามติ จากนั้นรัฐบาลจึงประกาศยุบสภา เลือกตั้งใหม่
ข้อเสนอนี้ถูกสนองจากมังกรการเมือง หลังเสียงระเบิดการเมืองย่านจรัญสนิทวงศ์ เงียบลงไม่ถึง 24 ชั่วโมง
"ต้องบอกว่าจะแก้กติกาเมื่อไหร่ ภายในเวลาเท่าไหร่ แล้วยุบสภาเมื่อไหร่ อาจจะยุบสภาสิ้นปีนี้ แต่ถ้าให้ยุบใน 15 วัน ทำไม่ได้ ความเสียหายเกิดขึ้น เพราะเศรษฐกิจกำลังดี ไม่ใช่ว่ารัฐซื้อเวลา ตอนนี้การลงทุนไหลเข้ามามากมาย" นายบรรหาร ศิลปอาชา จากพรรคชาติไทยพัฒนา ขีดเส้น-นับถอยหลังรัฐบาล
เพราะ "บรรหาร" และแกนนำอีก 4 พรรคร่วมรัฐบาล ต้องการร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบกระชับ-รวดเร็ว- ปราศจากอุบัติเหตุการเมือง เพียง 2 มาตรา คือเลือกตั้งเขตเดียว เบอร์เดียว และมาตราที่ว่าด้วยอำนาจในการลงนามสนธิสัญญาระหว่างประเทศเท่านั้น
"บรรหาร" จึงเห็นต่างประเด็นเดียวคือเรื่อง "ประชาพิจารณ์" ที่อ้างว่าอาจไม่มีเวลามากพอ
ฝ่ายเสื้อแดง-นปช.นั้นแม้ไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ปฏิเสธ
ข้อเสนอของ "จตุพร พรหมพันธุ์" จึง "ตามน้ำ" กับเงื่อนไขการยุบสภา แต่ "ขีดเส้น" กรอบเวลาไว้ "ต่อรอง"
"ทุกฝ่ายเสนอโดยมีแนวทางเดียวกันคือการยุบสภานั้น ด้วยระยะเวลา 2 สัปดาห์นั้นถือว่าเพียงพอ เพราะว่ารัฐบาลยังสามารถทำหน้าที่รักษาการต่ออีก 45 วัน รวมระยะเวลาทั้งหมดแล้วก็คือ 2 เดือน"
มรรควิธีไปสู่เป้าหมายของฝ่ายเสื้อแดง คือ "สัตยาบัน" ระหว่าง "ตัวแทน" สีเหลือง-สีแดงและสีน้ำเงิน
"กลุ่มสีน้ำเงินของพรรคภูมิใจไทย กลุ่มสีเหลืองจากพรรคการเมืองใหม่และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มเสื้อแดงจากพรรคเพื่อไทย ให้ทุกฝ่ายมาร่วมลงสัตยาบัน ให้นายโคทม อารียา เป็นสักขีพยาน" นายจตุพร-ยื่นเงื่อนไข
ส่วนญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายเสื้อแดงเห็นว่าควรยุบสภาไปเสียก่อน แล้วค่อยกลับมาตั้งหลัก-จัดวาระ
ข้อเสนอที่ "สวนทาง" กับฝ่ายรัฐบาลนี้ ถูกสวนหมัดจากฝ่ายรัฐบาลว่า ฝ่ายค้าน-เพื่อไทย-ไม่ต้องการ "กติกา" แต่ต้องการเพียง "อำนาจ"
ม็อบเสื้อแดงจึงไม่ใช่ม็อบเพื่อประชาธิปไตย แต่กลายเป็นม็อบเพื่อไทย
เมื่อจะหาทางลง จึงต้องมีท่วงทำนอง-ลีลาที่เสียหน้าน้อยที่สุด
แม้ว่ามติของแกนนำ นปช.ส่วนใหญ่ต้องการ "จบ-แตกหัก" แต่เงื่อนไขไม่สุกงอม ทำให้ขบวนของ "ยงยุทธ ติยะไพรัช" ถอนตัวออกไปก่อนเวลาอันควร
แม้ว่าแนวร่วม 111 และ 37 อดีตกรรมการบริหารไทยรักไทยและพลังประชาชน ร่วมขึ้นเวที เพื่อดึงอำนาจนำมาจาก 3 เกลอ
การชิงการนำจึงเกิดขึ้น
การไปเปิดวงเจรจาโดย "วีระ-น.พ.เหวง-จตุพร" จึงถูกแนวร่วมวิพากษ์ว่า พ่ายแพ้-ล้มเหลว และโดน "ข้อหา" อยากจบ-แม้ศพไม่สวย
ญัตติที่จะดึง "ม.ล.ปลื้ม เทวกุล" มาขึ้นเวทีเรียกแขก ชนชั้นกลางในเมือง เข้าเป็นแนวร่วม "เสื้อแดง" จึงถูกโหวตตกจากที่ประชุม "วอร์รูม-นปช."
การปรับเนื้อหา (content) ในการอภิปราย ภายใต้การให้การสนับสนุนของกลุ่มนักวิชาการ-คนเดือนตุลา ทั้งจาตุรนต์ ฉายแสง-น.พ.เหวง โตจิราการ-จรัล ดิษฐาอภิชัย-ธเนศวร์ เจริญเมือง และสหายที่ ไม่ปรากฏตัวบนเวทีอีกจำนวนหนึ่ง จึงถูกแตะเบรกจากแกนนำสาย "ฮาร์ดคอร์"
ส่วนการขับเคลื่อน-จรยุทธ์ในเมือง ใช้ทีมงานที่เรียกกันภายใต้รหัสทีม 66/23 ซึ่งเป็นเครือข่ายของ "บิ๊กจิ๋ว" เป็นมือทำงาน ร่วมกับอดีต "ผู้ร่วม พัฒนาชาติไทย" ก็ต้องหยุดปฏิบัติการชั่วคราว
เพราะนักวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองชี้ว่า เนื้อหาที่มุ่งโจมตีสถาบัน และบี้-ขยี้-ขยายประเด็นเรื่องชนชั้น ในระยะยาวจะถูกจริตกับแนวร่วมที่ไม่ได้ "จัดตั้ง" ในม็อบเสื้อแดง
ประกอบกับความไม่ชัดเจนเรื่อง "แนวทาง" การเคลื่อนไหว เช่น การ ชูประเด็น "ล้มอำมาตย์" แต่ก็มีการจุดเทียนชัย ทำให้แนวร่วมกลุ่ม"คนเดือนตุลา" ไม่เห็นด้วย
นับวันยิ่งยาก ยิ่งกว่ายาก ในการบริหารแกนนำและควบคุมมวลชนเสื้อแดง
การแตกในแนวร่วมจึงเกิดขึ้นเป็นระยะ
การหาทางลงของฝ่ายเสื้อแดง และ การหาทางออกของฝ่ายรัฐบาล อาจบรรลุผลเร็วกว่าเวลาอันควร
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
************************************************
ไร้สัญญาประชาคม คนไทยก็ฆ่ากันตาย
ซึ่งตามแนวคิดนี้โดยทั่วไปมีหลักคิดว่าหากสังคมจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ทุกคนต้องมาตกลงร่วมกันในการยอมรับกติกาของสังคม หากมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น ด้วยการทำข้อตกลงร่วมกัน แต่หากคนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้ ความขัดแย้งก็อาจนำไปสู่สงครามหรือความรุนแรง
แน่นอนว่าเรื่องสัญญาประชาคมเป็นแนวคิดของฝรั่ง และเราก็ไม่ได้คาดหวังว่าการมาทำความตกลงกันนั้นจะเห็นได้บ่อยครั้ง ซึ่งการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) สองครั้งที่ผ่านมา ก็สะท้อนความพยายามที่มาตกลงในกติกาเพื่อยุติความขัดแย้งตามแนวคิดนี้ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกที่หลักการของสัญญาประชาคมยังยืนยงอยู่จนทุกวันนี้ แต่น่าเสียดายที่ว่าการเจรจาไม่อาจหาข้อตกลงกันได้
อันที่จริง สังคมไทยในอดีต เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่ม ก็มักจะมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกัน ซึ่งเราจะเห็นว่าสังคมไทยมีคนไกล่เกลี่ยหรือมาตรการไกล่เกลี่ยตั้งแต่ระดับเล็กๆ จนถึงระดับชาติ และความขัดแย้งที่ผ่านมา สังคมก็จะหาคนกลางเข้ามาช่วยเจรจา และบัดนี้ก็ได้สูญหายไปหมดแล้ว อันเนื่องมาจากสถานการณ์การเมืองที่ผ่านมา แต่การทำความตกลงกันกำลังเริ่มขึ้นจากกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันเอง นั่นคือ ในส่วนของภาคการเมือง
กลุ่ม นปช. ยังยืนยันจุดยืนเดิม เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาภายใน 15 วัน และประกาศเคลื่อนไหวด้วยการชุมนุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งในวันเสาร์ที่ 3 เมษายน นี้ ด้วยเหตุผลสนับสนุนการเรียกร้อง และความเคลื่อนไหวยังเป็นประเด็นเดิม กล่าวคือ รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ และทางออกของการเมืองก็คือการยุบสภาคืนอำนาจให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นจุดยืนที่ฝ่ายรัฐบาลปฏิเสธ แต่เห็นด้วยจะให้ยุบสภาใน 9 เดือน หลังจากแก้ไขกติกาการเมืองของประเทศ
ภายหลังการเจรจาเสร็จสิ้น แม้ว่าจะล้มเหลว เราได้ยินได้ฟังความคิดเห็นจากคนหลายกลุ่มต่อสถานการณ์ทางการเมือง มีมุมมองทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากมองในแง่ดีก็สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยยังมีคนอื่นๆ อีกมากมายที่พยายามหาทางออกให้แก่สถานการณ์การเมือง และต้องการจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำสัญญาประชาคมของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หากเป็นเช่นนั้นก็น่าจะมีทางออกอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกว่าจะตกลงกันได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวล ก็คือ ความขัดแย้งไม่อาจตกลงกันได้ และในทางทฤษฎีแล้วย่อมนำไปสู่ความรุนแรง ทั้งๆ ที่ หากดูการเจรจาทั้งสองครั้ง และแรงสนับสนุนจากกลุ่มอื่นๆ ในสังคมแล้วก็น่าจะจบลงไม่ยาก เนื่องจากประเด็นยุบสภาได้ข้อสรุปตรงกัน เพียงแต่เรื่องกรอบเวลาเท่านั้น ซึ่งหากกลุ่ม นปช. ยังยืนกรานในเงื่อนไขเดิม เราเห็นว่าการเจรจาและยื่นข้อเสนอเช่นนั้น ไม่ถือว่าเป็นลักษณะของสัญญาประชาคม แต่เป็นเงื่อนไขแบบภาวะสงคราม
เราไม่ได้สนับสนุนข้อเสนอของรัฐบาล ที่ต้องการยุบสภาใน 9 เดือน แต่เราสนับสนุนความตกลง ที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันและเป็นข้อตกลงที่จะยุติความขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่าลักษณะของสัญญาประชาคม ก็คือ ไม่ได้เป็นข้อเสนอจากฝ่ายเดียว เพราะข้อเสนอเช่นนั้นมีแต่จะนำไปสู่ความรุนแรง และขณะนี้ทางออกสำหรับความขัดแย้งเริ่มเปิดขึ้นแล้ว คนในสังคมจะช่วยกันอย่างไร แต่ทุกคนพึงตระหนักว่าหากไร้ซึ่งสัญญาประชาคม ก็ถึงคราวที่คนไทยจะต้องฆ่ากันตาย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
************************************************
แน่นอนว่าเรื่องสัญญาประชาคมเป็นแนวคิดของฝรั่ง และเราก็ไม่ได้คาดหวังว่าการมาทำความตกลงกันนั้นจะเห็นได้บ่อยครั้ง ซึ่งการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) สองครั้งที่ผ่านมา ก็สะท้อนความพยายามที่มาตกลงในกติกาเพื่อยุติความขัดแย้งตามแนวคิดนี้ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกที่หลักการของสัญญาประชาคมยังยืนยงอยู่จนทุกวันนี้ แต่น่าเสียดายที่ว่าการเจรจาไม่อาจหาข้อตกลงกันได้
อันที่จริง สังคมไทยในอดีต เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่ม ก็มักจะมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกัน ซึ่งเราจะเห็นว่าสังคมไทยมีคนไกล่เกลี่ยหรือมาตรการไกล่เกลี่ยตั้งแต่ระดับเล็กๆ จนถึงระดับชาติ และความขัดแย้งที่ผ่านมา สังคมก็จะหาคนกลางเข้ามาช่วยเจรจา และบัดนี้ก็ได้สูญหายไปหมดแล้ว อันเนื่องมาจากสถานการณ์การเมืองที่ผ่านมา แต่การทำความตกลงกันกำลังเริ่มขึ้นจากกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันเอง นั่นคือ ในส่วนของภาคการเมือง
กลุ่ม นปช. ยังยืนยันจุดยืนเดิม เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาภายใน 15 วัน และประกาศเคลื่อนไหวด้วยการชุมนุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งในวันเสาร์ที่ 3 เมษายน นี้ ด้วยเหตุผลสนับสนุนการเรียกร้อง และความเคลื่อนไหวยังเป็นประเด็นเดิม กล่าวคือ รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ และทางออกของการเมืองก็คือการยุบสภาคืนอำนาจให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นจุดยืนที่ฝ่ายรัฐบาลปฏิเสธ แต่เห็นด้วยจะให้ยุบสภาใน 9 เดือน หลังจากแก้ไขกติกาการเมืองของประเทศ
ภายหลังการเจรจาเสร็จสิ้น แม้ว่าจะล้มเหลว เราได้ยินได้ฟังความคิดเห็นจากคนหลายกลุ่มต่อสถานการณ์ทางการเมือง มีมุมมองทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากมองในแง่ดีก็สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยยังมีคนอื่นๆ อีกมากมายที่พยายามหาทางออกให้แก่สถานการณ์การเมือง และต้องการจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำสัญญาประชาคมของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หากเป็นเช่นนั้นก็น่าจะมีทางออกอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกว่าจะตกลงกันได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวล ก็คือ ความขัดแย้งไม่อาจตกลงกันได้ และในทางทฤษฎีแล้วย่อมนำไปสู่ความรุนแรง ทั้งๆ ที่ หากดูการเจรจาทั้งสองครั้ง และแรงสนับสนุนจากกลุ่มอื่นๆ ในสังคมแล้วก็น่าจะจบลงไม่ยาก เนื่องจากประเด็นยุบสภาได้ข้อสรุปตรงกัน เพียงแต่เรื่องกรอบเวลาเท่านั้น ซึ่งหากกลุ่ม นปช. ยังยืนกรานในเงื่อนไขเดิม เราเห็นว่าการเจรจาและยื่นข้อเสนอเช่นนั้น ไม่ถือว่าเป็นลักษณะของสัญญาประชาคม แต่เป็นเงื่อนไขแบบภาวะสงคราม
เราไม่ได้สนับสนุนข้อเสนอของรัฐบาล ที่ต้องการยุบสภาใน 9 เดือน แต่เราสนับสนุนความตกลง ที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันและเป็นข้อตกลงที่จะยุติความขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่าลักษณะของสัญญาประชาคม ก็คือ ไม่ได้เป็นข้อเสนอจากฝ่ายเดียว เพราะข้อเสนอเช่นนั้นมีแต่จะนำไปสู่ความรุนแรง และขณะนี้ทางออกสำหรับความขัดแย้งเริ่มเปิดขึ้นแล้ว คนในสังคมจะช่วยกันอย่างไร แต่ทุกคนพึงตระหนักว่าหากไร้ซึ่งสัญญาประชาคม ก็ถึงคราวที่คนไทยจะต้องฆ่ากันตาย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
************************************************
ต้องทำใจ
เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยากว่า เหตุใดการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับเสื้อแดง จึงต้องล้มพับไป เพราะคู่เจรจาทั้งสองฝ่าย ยังไม่มีใครรู้สึกว่า เหนือกว่าใคร จึงยังไม่มีใครยอมถอยให้กันบนโต๊ะเจรจา
จะให้คู่กรณีที่ยืนอยู่กันคนละขั้ว คนละฟาก มานั่งคุยกันแล้วยอมจบปัญหาในฉับพลันทันที ย่อมเป็นไปไม่ได้
และมิได้หมายความว่า โอกาสการเจรจาจะไม่เกิดขึ้นแล้ว สำหรับคู่นี้
โอกาสยังมีอีกแน่นอน
แต่คงต้องผ่านอีกสักระยะหนึ่งก่อน
จนกว่าทั้งสองฝ่าย จะสร้างแรงกดดันต่อกันได้เพิ่มขึ้นอีก
เดี๋ยวคงต้องมานั่งคุยกันใหม่ ภายใต้สถานการณ์ใหม่
แต่พูดในฐานะประชาชนคนดู ขอเรียกร้องว่า อย่าได้ทอดเวลายาวนานเกินไป
ถ้าปัญหาไม่จบ สังคมโดยรวมย่อมได้รับผลกระทบ
ขณะเดียวกัน ที่สังคมอยากให้จบ เพราะสุดท้ายแล้วการยุบสภาจะเป็นทางออกที่ประชาชนได้ประโยชน์ ได้มีโอกาสใช้อำนาจในมือ เพื่อร่วมตัดสินอนาคตการเมือง
ถึงตอนนี้ทั้งรัฐบาลและเสื้อแดง มุ่งไปสู่จุดเดียวกันคือการยุบสภา เพียงแต่เกี่ยงวันเวลา 15 วันกับ 9 เดือน
ล่าสุดเริ่มมีกระแส 6 เดือนเป็นทางเลือกใหม่
ไม่ว่าจะอย่างไร การยุบสภาเป็นทางออกประชาธิป ไตยที่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ปฏิเสธ สำหรับประชาชนเสมือนได้รับอำนาจกลับคืนมา
ส่วนข้อเสนอการปฏิรูปทั้งโครงสร้าง ไม่ใช่ทางออกในสถานการณ์ที่กำลังจะตีกันตายอยู่รอมร่อแล้วนี้
ยิ่งดึงเรื่องให้ยาวออกไป ก็ยิ่งสะท้อนเบื้องหลัง การหวงอำนาจ จากกลุ่มที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลังนายกฯ คนนี้ มากกว่า
เอาเป็นว่า การยุบสภา เป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์นี้ เพียงแต่วันเวลาควรเป็นเมื่อไร คงต้องมาขึ้นโต๊ะเจรจากันอีกรอบ โดยรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายอื่นๆ ประกอบกันไปด้วย
อาจไม่จำเป็นต้องยุบวันนี้ เพราะจังหวะวันเวลาของรัฐบาลก็มีเหตุผลอยู่
เพียงแต่ต้องให้ชัดเจนว่า ใช้เวลาอีกเท่าไร สุด ท้ายต้องยุบไม่สามารถบิดเบี้ยวได้ ถ้ามีบทสรุป ม็อบก็จบ
แต่ในวันนี้เมื่อฝ่ายแดงล้มโต๊ะ คงจะหันมาเคลื่อนมวลชนเพิ่มระดับแรงกดดัน เป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปต้องเตรียมใจเอาไว้
พร้อมกับเสียงระเบิดจากมือลึกลับ จะถี่ยิบขึ้น
เพราะฉะนั้น รีบๆ เจรจากันอีกรอบเถิด
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ ชกไม่มีมุม
โดย.วงค์ ตาวัน
**************************************************
จะให้คู่กรณีที่ยืนอยู่กันคนละขั้ว คนละฟาก มานั่งคุยกันแล้วยอมจบปัญหาในฉับพลันทันที ย่อมเป็นไปไม่ได้
และมิได้หมายความว่า โอกาสการเจรจาจะไม่เกิดขึ้นแล้ว สำหรับคู่นี้
โอกาสยังมีอีกแน่นอน
แต่คงต้องผ่านอีกสักระยะหนึ่งก่อน
จนกว่าทั้งสองฝ่าย จะสร้างแรงกดดันต่อกันได้เพิ่มขึ้นอีก
เดี๋ยวคงต้องมานั่งคุยกันใหม่ ภายใต้สถานการณ์ใหม่
แต่พูดในฐานะประชาชนคนดู ขอเรียกร้องว่า อย่าได้ทอดเวลายาวนานเกินไป
ถ้าปัญหาไม่จบ สังคมโดยรวมย่อมได้รับผลกระทบ
ขณะเดียวกัน ที่สังคมอยากให้จบ เพราะสุดท้ายแล้วการยุบสภาจะเป็นทางออกที่ประชาชนได้ประโยชน์ ได้มีโอกาสใช้อำนาจในมือ เพื่อร่วมตัดสินอนาคตการเมือง
ถึงตอนนี้ทั้งรัฐบาลและเสื้อแดง มุ่งไปสู่จุดเดียวกันคือการยุบสภา เพียงแต่เกี่ยงวันเวลา 15 วันกับ 9 เดือน
ล่าสุดเริ่มมีกระแส 6 เดือนเป็นทางเลือกใหม่
ไม่ว่าจะอย่างไร การยุบสภาเป็นทางออกประชาธิป ไตยที่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ปฏิเสธ สำหรับประชาชนเสมือนได้รับอำนาจกลับคืนมา
ส่วนข้อเสนอการปฏิรูปทั้งโครงสร้าง ไม่ใช่ทางออกในสถานการณ์ที่กำลังจะตีกันตายอยู่รอมร่อแล้วนี้
ยิ่งดึงเรื่องให้ยาวออกไป ก็ยิ่งสะท้อนเบื้องหลัง การหวงอำนาจ จากกลุ่มที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลังนายกฯ คนนี้ มากกว่า
เอาเป็นว่า การยุบสภา เป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์นี้ เพียงแต่วันเวลาควรเป็นเมื่อไร คงต้องมาขึ้นโต๊ะเจรจากันอีกรอบ โดยรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายอื่นๆ ประกอบกันไปด้วย
อาจไม่จำเป็นต้องยุบวันนี้ เพราะจังหวะวันเวลาของรัฐบาลก็มีเหตุผลอยู่
เพียงแต่ต้องให้ชัดเจนว่า ใช้เวลาอีกเท่าไร สุด ท้ายต้องยุบไม่สามารถบิดเบี้ยวได้ ถ้ามีบทสรุป ม็อบก็จบ
แต่ในวันนี้เมื่อฝ่ายแดงล้มโต๊ะ คงจะหันมาเคลื่อนมวลชนเพิ่มระดับแรงกดดัน เป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปต้องเตรียมใจเอาไว้
พร้อมกับเสียงระเบิดจากมือลึกลับ จะถี่ยิบขึ้น
เพราะฉะนั้น รีบๆ เจรจากันอีกรอบเถิด
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ ชกไม่มีมุม
โดย.วงค์ ตาวัน
**************************************************
สวีเดน"ปฏิเสธ กระทรวงต่างประเทศไทยขับ"ทักษิณ
Sweden Did Not Ask Thaksin to Leave
The Swedish Foreign Ministry confirms that the Thai Government on Monday did request the Swedish government to ask Thaksin Shinawatra to leave Sweden. But Sweden did not ask him to leave, says Anders Joerle, head of the press department of the Swedish Ministry for Foreign Affairs.
The contact between the Thai government and the Swedish Ministry for Foreign Affairs was not in writing byt merely a phonecall.
"The contact was made by phone from the Thai Embassy in Stockholm to the Ministry for Foreign Affairs. There was also a similar phone call to the Swedish Embassy in Thailand from the Thai Ministry for Foreign Affairs," he says.
- Did you ask Thaksin to leave Sweden?
"We did not contact him," he says.
Anders Joerle also has no knowledge of anyone else that could have contacted Thaksin and asked him to leave.
"There was no contact between any part of the Swedish government and Thaksin. The only contact he had with official Sweden was with the immigration police upon his entry and his exit," he says.
Anders Joerle does not know which of Thaksin's passports that he had used when entering and leaving Sweden. He did know either if he left by his own private plane or by a commercial airline.
Because Thaksin is not on any international list of wanted criminals, he is free to enter and exit Sweden as long as he has valid travel documents.
- If Thaksin had been making his phone-in to his followers demonstrating in Bangkok while he was still on Swedish soil, would that land him on a black list in Sweden?
"No we have freedom of speech in Sweden. He is free to call and speak to whoever he wants."
Only if Thaksin had agitated for his followers to commit an act of terrorism, it would have been a problem.
"That's a different situation, but that would have been illegal in Sweden, too", he says.
After he left Sweden, Thaksin made a phone-in to his followers on Tuesday, saying that he was now in Russia.
Thaksin speaking to his supporters by videolink from Sweden. "We have freedom of speech in Sweden," says Foreign Ministry spokesman Anders Joerle.
Thaksin speaking to his supporters by videolink from Sweden. "We have freedom of speech in Sweden," says Foreign Ministry spokesman Anders Joerle.
http://www.scandasia.com/viewNews.php?coun_code=th&news_id=6111
sssssssssssssssssssssssssssss
นาย Anders Joerle หัวหน้าโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสวีเดนได้เปิดเผยว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา(29 มี.ค.) ทางการไทยได้ร้องขอให้ทางการสวีเดนขับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรออกจากประเทศ แต่สวีเดนไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว
การ ติดต่อระหว่างรัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศสวีเดนดังกล่าวไม่ได้ติดต่อ ผ่านทางเอกสารใดๆทั้งสิ้น แต่ติดต่อระหว่างกันด้วยการโทรศัพท์เท่านั้น "การติดต่อดังกล่าวทำผ่านการโทรศัพท์จากสถานทูตไทยในกรุงสต็อกโฮมม์ไปยัง กระทรวงการต่างประทศ ทั้งนี้ยังมีการดำเนินการที่คล้ายๆกันนั้นอีกไปยังสถานทูตสวีเดนในประเทศไทย จากกระทรวงการต่างประเทศของไทย" นาย Anders เผย
"เราไม่ได้ติดต่อไป ยังเขา(ทักษิณ)" เขากล่าว
มร.Anders ยังได้เผยว่าเขาเองไม่ทราบว่าจะมีใครคนอื่นที่ได้ติดต่อไปยังคุณทักษิณและ เรียกให้เขาออกจากประเทศ
"ไม่มีการติดต่อจากหน่วยงานใดๆทั้งสิ้นของ รัฐบาลสวีเดนไปยังคุณทักษิณ ถ้าจะมีการติดต่อกันก็มีแค่ที่คุณทักษิณต้องยื่นเอกสารการเดินทางกับทางกอง ตรวจคนเข้าเมืองสวีเดนตอนที่เขาเดินทางเข้าและออก" เขากล่าว
มร. Anders ไม่ทราบว่าคุณทักษิณถือพาสปอร์ตประเทศใดในการเดินทางเข้าและออกสวีเดน เขายังไม่ทราบด้วยว่าคุณทักษิณเดินทางออกไปด้วยเครื่องบินส่วนตัวหรือ เครื่องบินพาณิชย์ เพราะว่าชื่อคุณทักษิณไม่ได้อยู่ในลิสต์รายชื่ออาชญากรระหว่างประเทศ ดังนั้นเขาจึงมีอิสระที่จะเข้าหรือออกประเทศสวีเดนตราบใดที่เอกสารการเดิน ทางของเขาไม่ขาดอายุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าคุณทักษิณได้ทำการโฟนอินไปยังผู้สนับสนุนที่ชุมนุมประท้วงอยู่ในกรุงเทพฯ ระหว่างที่เขายังอยู่ในประเทศสวีเดน การกระทำดังกล่าวจะทำให้คุณทักษิณถูกแบล็กลิสต์หรือไม่?
"ไม่ เรามีเสรีภาพในการพูดในประเทศสวีเดน เขามีอิสระที่จะโทรศัพท์และคุยกับใครก็ได้ที่เขาต้องการ" มร.Anders กล่าว
ผู้ สื่อข่าวแทรกว่า ถ้าทักษิณไปสั่งให้ผู้สนับสนุนเขาดำเนินการในเชิงก่อการร้าย นั่นน่าจะเป็นเรื่องนะ
"นั่นเป็นกรณีที่ต่างกันไป นั่นก็ผิดกฏหมายในสวีเดนเช่นกัน" เขากล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่ม เติมว่า หลังจากเขาออกจากสวีเดนแล้ว คุณทักษิณได้ทำการโฟนอินไปยังผู้สนับสนุนของเขาเมื่อวันอังคารโดยกล่าวว่า เขาอยู่ในประเทศรัสเซีย
***** น่าไม่อาย โกหก ไปวันๆถุยยยยยย
by mr.winny
ที่มา.ประชาไท
***********************************************
The Swedish Foreign Ministry confirms that the Thai Government on Monday did request the Swedish government to ask Thaksin Shinawatra to leave Sweden. But Sweden did not ask him to leave, says Anders Joerle, head of the press department of the Swedish Ministry for Foreign Affairs.
The contact between the Thai government and the Swedish Ministry for Foreign Affairs was not in writing byt merely a phonecall.
"The contact was made by phone from the Thai Embassy in Stockholm to the Ministry for Foreign Affairs. There was also a similar phone call to the Swedish Embassy in Thailand from the Thai Ministry for Foreign Affairs," he says.
- Did you ask Thaksin to leave Sweden?
"We did not contact him," he says.
Anders Joerle also has no knowledge of anyone else that could have contacted Thaksin and asked him to leave.
"There was no contact between any part of the Swedish government and Thaksin. The only contact he had with official Sweden was with the immigration police upon his entry and his exit," he says.
Anders Joerle does not know which of Thaksin's passports that he had used when entering and leaving Sweden. He did know either if he left by his own private plane or by a commercial airline.
Because Thaksin is not on any international list of wanted criminals, he is free to enter and exit Sweden as long as he has valid travel documents.
- If Thaksin had been making his phone-in to his followers demonstrating in Bangkok while he was still on Swedish soil, would that land him on a black list in Sweden?
"No we have freedom of speech in Sweden. He is free to call and speak to whoever he wants."
Only if Thaksin had agitated for his followers to commit an act of terrorism, it would have been a problem.
"That's a different situation, but that would have been illegal in Sweden, too", he says.
After he left Sweden, Thaksin made a phone-in to his followers on Tuesday, saying that he was now in Russia.
Thaksin speaking to his supporters by videolink from Sweden. "We have freedom of speech in Sweden," says Foreign Ministry spokesman Anders Joerle.
Thaksin speaking to his supporters by videolink from Sweden. "We have freedom of speech in Sweden," says Foreign Ministry spokesman Anders Joerle.
http://www.scandasia.com/viewNews.php?coun_code=th&news_id=6111
sssssssssssssssssssssssssssss
นาย Anders Joerle หัวหน้าโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสวีเดนได้เปิดเผยว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา(29 มี.ค.) ทางการไทยได้ร้องขอให้ทางการสวีเดนขับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรออกจากประเทศ แต่สวีเดนไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว
การ ติดต่อระหว่างรัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศสวีเดนดังกล่าวไม่ได้ติดต่อ ผ่านทางเอกสารใดๆทั้งสิ้น แต่ติดต่อระหว่างกันด้วยการโทรศัพท์เท่านั้น "การติดต่อดังกล่าวทำผ่านการโทรศัพท์จากสถานทูตไทยในกรุงสต็อกโฮมม์ไปยัง กระทรวงการต่างประทศ ทั้งนี้ยังมีการดำเนินการที่คล้ายๆกันนั้นอีกไปยังสถานทูตสวีเดนในประเทศไทย จากกระทรวงการต่างประเทศของไทย" นาย Anders เผย
"เราไม่ได้ติดต่อไป ยังเขา(ทักษิณ)" เขากล่าว
มร.Anders ยังได้เผยว่าเขาเองไม่ทราบว่าจะมีใครคนอื่นที่ได้ติดต่อไปยังคุณทักษิณและ เรียกให้เขาออกจากประเทศ
"ไม่มีการติดต่อจากหน่วยงานใดๆทั้งสิ้นของ รัฐบาลสวีเดนไปยังคุณทักษิณ ถ้าจะมีการติดต่อกันก็มีแค่ที่คุณทักษิณต้องยื่นเอกสารการเดินทางกับทางกอง ตรวจคนเข้าเมืองสวีเดนตอนที่เขาเดินทางเข้าและออก" เขากล่าว
มร. Anders ไม่ทราบว่าคุณทักษิณถือพาสปอร์ตประเทศใดในการเดินทางเข้าและออกสวีเดน เขายังไม่ทราบด้วยว่าคุณทักษิณเดินทางออกไปด้วยเครื่องบินส่วนตัวหรือ เครื่องบินพาณิชย์ เพราะว่าชื่อคุณทักษิณไม่ได้อยู่ในลิสต์รายชื่ออาชญากรระหว่างประเทศ ดังนั้นเขาจึงมีอิสระที่จะเข้าหรือออกประเทศสวีเดนตราบใดที่เอกสารการเดิน ทางของเขาไม่ขาดอายุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าคุณทักษิณได้ทำการโฟนอินไปยังผู้สนับสนุนที่ชุมนุมประท้วงอยู่ในกรุงเทพฯ ระหว่างที่เขายังอยู่ในประเทศสวีเดน การกระทำดังกล่าวจะทำให้คุณทักษิณถูกแบล็กลิสต์หรือไม่?
"ไม่ เรามีเสรีภาพในการพูดในประเทศสวีเดน เขามีอิสระที่จะโทรศัพท์และคุยกับใครก็ได้ที่เขาต้องการ" มร.Anders กล่าว
ผู้ สื่อข่าวแทรกว่า ถ้าทักษิณไปสั่งให้ผู้สนับสนุนเขาดำเนินการในเชิงก่อการร้าย นั่นน่าจะเป็นเรื่องนะ
"นั่นเป็นกรณีที่ต่างกันไป นั่นก็ผิดกฏหมายในสวีเดนเช่นกัน" เขากล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่ม เติมว่า หลังจากเขาออกจากสวีเดนแล้ว คุณทักษิณได้ทำการโฟนอินไปยังผู้สนับสนุนของเขาเมื่อวันอังคารโดยกล่าวว่า เขาอยู่ในประเทศรัสเซีย
***** น่าไม่อาย โกหก ไปวันๆถุยยยยยย
by mr.winny
ที่มา.ประชาไท
***********************************************
แกนนำ เตรียมสู้ศึก ยืดเยื้อยาวนาน
การเจรจาของคณะนายกรัฐมนตรี กับคณะแกนนำ นปช.
เป็นไปตามคาดหมายว่านายกฯ ไม่ยอมยุบสภาภายใน15วัน คืนอำนาจให้ประชาชน
ตามข้อเสนอของแกนนำ นปช. แต่อย่างใด
เพราะยังหลงตัวเองว่าได้อำนาจมาด้วยความชอบธรรม
โดยการสนับสนุนกองทัพและพลังที่ยิ่งใหญ่กว่ากองทัพ และทุนสื่อ และทุนเอกชน
มีความมั่นใจในพลังสนับสนุนที่ควบคุมกองทัพและพรรคร่วมรัฐบาล
แกนนำ หลังจากหยั่งเชิง ประลองกำลัง ต้องเตรียมสู้ศึก ยืดเยื้อยาวนาน
จะต้องประเมินศึก หาข่าว วางแผนและยุทธวิธีในการสู้ศึกกับรัฐบาลและกองทัพ
ปัจจัยที่ชี้ขาดชัยชนะของมวลชนเสื้อแดง 5 ประการ
การรวมพลังของมวลชนในเมืองและชนบทให้มากที่สุด จะเป็นพลานุภาพส่งผลต่อรัฐบาล
ขวัญกำลังใจของมวลชนกล้าแกร่ง ไม่หวาดหวั่น มุ่งมั่นต่อประชาธิปไตย
สามารถทะลวงการปิดกั้นช่องทางการสื่อสารของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารตามจริง
การประสานการต่อสู้กับแนวร่วมในสภา และนอกสภา และในระดับสากล
การกุมความชอบธรรมในการต่อสู้โดยวิธีสันติอหิงสา จะชนะใจมวลมหาชนให้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วิธีชนะโดยไม่ต้องรบ การโจมตีทางใจถือว่าเป็นเอก
การสลายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล กองทัพ พรรคร่วมรัฐบาล กับประชาชน
มุ่งประเด็นการทุจริตประพฤติมิชอบ ความไม่ชอบธรรม ความไม่ยุติธรรม
ความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล และความขัดแย้งระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง อื่นๆ
โดยการตรวจสอบ ติดตาม ตีแผ่ความจริง และนำเสนอต่อสาธารณชน
นอกจากนี้ระบบอาวุธที่ไร้ความรุนแรง มีทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
รบคือไม่รบ ไม่รบคือรบ
รับเป็นโอกาสรุก รุกเกิดจากรับ
คนเข้ม องค์กรแข็ง ชัยชนะไม่หนีไปไหน สู่เป้าหมายประชาธิปไตย
by ตุลานิรนาม
ที่มา.ประชาไท
***************************************************
เป็นไปตามคาดหมายว่านายกฯ ไม่ยอมยุบสภาภายใน15วัน คืนอำนาจให้ประชาชน
ตามข้อเสนอของแกนนำ นปช. แต่อย่างใด
เพราะยังหลงตัวเองว่าได้อำนาจมาด้วยความชอบธรรม
โดยการสนับสนุนกองทัพและพลังที่ยิ่งใหญ่กว่ากองทัพ และทุนสื่อ และทุนเอกชน
มีความมั่นใจในพลังสนับสนุนที่ควบคุมกองทัพและพรรคร่วมรัฐบาล
แกนนำ หลังจากหยั่งเชิง ประลองกำลัง ต้องเตรียมสู้ศึก ยืดเยื้อยาวนาน
จะต้องประเมินศึก หาข่าว วางแผนและยุทธวิธีในการสู้ศึกกับรัฐบาลและกองทัพ
ปัจจัยที่ชี้ขาดชัยชนะของมวลชนเสื้อแดง 5 ประการ
การรวมพลังของมวลชนในเมืองและชนบทให้มากที่สุด จะเป็นพลานุภาพส่งผลต่อรัฐบาล
ขวัญกำลังใจของมวลชนกล้าแกร่ง ไม่หวาดหวั่น มุ่งมั่นต่อประชาธิปไตย
สามารถทะลวงการปิดกั้นช่องทางการสื่อสารของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารตามจริง
การประสานการต่อสู้กับแนวร่วมในสภา และนอกสภา และในระดับสากล
การกุมความชอบธรรมในการต่อสู้โดยวิธีสันติอหิงสา จะชนะใจมวลมหาชนให้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วิธีชนะโดยไม่ต้องรบ การโจมตีทางใจถือว่าเป็นเอก
การสลายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล กองทัพ พรรคร่วมรัฐบาล กับประชาชน
มุ่งประเด็นการทุจริตประพฤติมิชอบ ความไม่ชอบธรรม ความไม่ยุติธรรม
ความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล และความขัดแย้งระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง อื่นๆ
โดยการตรวจสอบ ติดตาม ตีแผ่ความจริง และนำเสนอต่อสาธารณชน
นอกจากนี้ระบบอาวุธที่ไร้ความรุนแรง มีทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
รบคือไม่รบ ไม่รบคือรบ
รับเป็นโอกาสรุก รุกเกิดจากรับ
คนเข้ม องค์กรแข็ง ชัยชนะไม่หนีไปไหน สู่เป้าหมายประชาธิปไตย
by ตุลานิรนาม
ที่มา.ประชาไท
***************************************************
ไม่ยุบ-อยู่ต่อ?
การเจรจาระหว่างแกนนำนปช.แดงทั้งแผ่นดินกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทั้ง 2 วัน ซึ่งมีการถ่ายทอดสดทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ไปทั่วประเทศนั้น
แม้จะไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ก็ไม่สูญเปล่า
ถือเป็นมิติใหม่ว่าความขัดแย้งสามารถนำมาพูดคุย เจร จากันได้
นายอภิสิทธิ์ ถึงขนาดฉวยโอกาสข่มว่าไม่มีนายกฯคนใดเคยทำแบบนี้
ส่วนที่มีการพูดจาอย่างกว้างขวาง ก็คือเปิดโอกาสตัวแทน เสื้อแดงได้แสดงจุดยืนและชี้แจงเหตุผลที่ออกมาเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ชาวบ้านทั่วประเทศรับฟังโดยตรง
โดยเฉพาะการอธิบายผลกระทบที่สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549
รวมถึงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลที่มีอำนาจพิเศษเข้าไปเกี่ยวข้อง
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็อ้างเหตุผลที่จะไม่ยุบ และยืนยันว่ามีความชอบธรรม เพราะมีเสียงส.ส.สนับสนุน
ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนฟังว่าจะเชื่อฝ่ายใด
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มนักวิชาการที่ไม่เลือกสี ยังเชื่อว่าการยุบสภาน่าจะเป็นทางออกที่ดีขณะนี้
แต่ภายใน 15 วันตามที่นปช.ขีดเส้นอาจจะไม่เหมาะสม
พร้อมกับระบุระยะเวลาที่น่าจะดำเนินการได้ทันที นั่นคือภายใน 3 เดือน
นั่นก็หมายความว่าที่นายอภิสิทธิ์ขอเวลาถึง 9 เดือนนั้น เป็นการยื้อเวลาให้เนิ่นช้าไป
สุ่มเสี่ยงต่อความไม่พอใจของประชาชนที่อาจบานปลายออกไป
โดยเฉพาะม็อบเสื้อแดง ก็ประกาศสู้ และระดมม็อบใหญ่ออกมาบี้จนกว่าจะยุบสภา
รัฐบาลจะทำงานได้อย่างไร ถ้าหากยังมีผู้คนออกมาชุมนุมเต็มท้องถนน ทนแดด ทนร้อน นอนพื้นคอนกรีต และเคลื่อนขบวนออกมากดดันทุกวัน
อย่าลืมว่าคนที่มาร่วมชุมนุมส่วนใหญ่ เป็นชาวบ้าน เป็นรากหญ้า หรือไม่ก็เป็นคนต่างจังหวัดที่เข้ามาอยู่ในเมือง
วาทกรรม"สงครามไพร่ ขับไล่อำมาตย์" ที่ต่อมามีการขยายผลมาเป็น"สงครามชนชั้น"นั้นโดนใจ ได้ความ รู้สึกร่วมจากมวลชนไม่น้อย
ระยะหลังๆ ก็เริ่มมีคนชั้นกลางที่เห็นความไม่ชอบมาพากล และความดื้อรั้นของผู้นำรัฐบาลพากันออกมาร่วมชุมนุมด้วย
ส่วนเหตุผล 3 ข้อที่รัฐบาลอ้างเพื่ออยู่ต่ออีก 9 เดือนว่าต้องการแก้ไขกฎเกณฑ์กติกา แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการเลือกตั้ง พร้อมกับจัดทำแผนไว้เสร็จสรรพนั้น
เป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่สามารถเจาะเข้าไปในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานได้
พูดง่ายๆ ก็คือถ้ายุบช่วงนี้ ขณะที่รัฐบาลยังไม่ได้เปรียบ
จอมเขี้ยวทางการเมืองไม่มีวันยอมแน่
ล่าสุดประกาศว่าจะยึดให้ได้ถึง 280 เสียง ตั้งรัฐบาลพรรคเดียว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ เหล็กใน
*********************************
แม้จะไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ก็ไม่สูญเปล่า
ถือเป็นมิติใหม่ว่าความขัดแย้งสามารถนำมาพูดคุย เจร จากันได้
นายอภิสิทธิ์ ถึงขนาดฉวยโอกาสข่มว่าไม่มีนายกฯคนใดเคยทำแบบนี้
ส่วนที่มีการพูดจาอย่างกว้างขวาง ก็คือเปิดโอกาสตัวแทน เสื้อแดงได้แสดงจุดยืนและชี้แจงเหตุผลที่ออกมาเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ชาวบ้านทั่วประเทศรับฟังโดยตรง
โดยเฉพาะการอธิบายผลกระทบที่สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549
รวมถึงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลที่มีอำนาจพิเศษเข้าไปเกี่ยวข้อง
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็อ้างเหตุผลที่จะไม่ยุบ และยืนยันว่ามีความชอบธรรม เพราะมีเสียงส.ส.สนับสนุน
ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนฟังว่าจะเชื่อฝ่ายใด
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มนักวิชาการที่ไม่เลือกสี ยังเชื่อว่าการยุบสภาน่าจะเป็นทางออกที่ดีขณะนี้
แต่ภายใน 15 วันตามที่นปช.ขีดเส้นอาจจะไม่เหมาะสม
พร้อมกับระบุระยะเวลาที่น่าจะดำเนินการได้ทันที นั่นคือภายใน 3 เดือน
นั่นก็หมายความว่าที่นายอภิสิทธิ์ขอเวลาถึง 9 เดือนนั้น เป็นการยื้อเวลาให้เนิ่นช้าไป
สุ่มเสี่ยงต่อความไม่พอใจของประชาชนที่อาจบานปลายออกไป
โดยเฉพาะม็อบเสื้อแดง ก็ประกาศสู้ และระดมม็อบใหญ่ออกมาบี้จนกว่าจะยุบสภา
รัฐบาลจะทำงานได้อย่างไร ถ้าหากยังมีผู้คนออกมาชุมนุมเต็มท้องถนน ทนแดด ทนร้อน นอนพื้นคอนกรีต และเคลื่อนขบวนออกมากดดันทุกวัน
อย่าลืมว่าคนที่มาร่วมชุมนุมส่วนใหญ่ เป็นชาวบ้าน เป็นรากหญ้า หรือไม่ก็เป็นคนต่างจังหวัดที่เข้ามาอยู่ในเมือง
วาทกรรม"สงครามไพร่ ขับไล่อำมาตย์" ที่ต่อมามีการขยายผลมาเป็น"สงครามชนชั้น"นั้นโดนใจ ได้ความ รู้สึกร่วมจากมวลชนไม่น้อย
ระยะหลังๆ ก็เริ่มมีคนชั้นกลางที่เห็นความไม่ชอบมาพากล และความดื้อรั้นของผู้นำรัฐบาลพากันออกมาร่วมชุมนุมด้วย
ส่วนเหตุผล 3 ข้อที่รัฐบาลอ้างเพื่ออยู่ต่ออีก 9 เดือนว่าต้องการแก้ไขกฎเกณฑ์กติกา แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการเลือกตั้ง พร้อมกับจัดทำแผนไว้เสร็จสรรพนั้น
เป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่สามารถเจาะเข้าไปในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานได้
พูดง่ายๆ ก็คือถ้ายุบช่วงนี้ ขณะที่รัฐบาลยังไม่ได้เปรียบ
จอมเขี้ยวทางการเมืองไม่มีวันยอมแน่
ล่าสุดประกาศว่าจะยึดให้ได้ถึง 280 เสียง ตั้งรัฐบาลพรรคเดียว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ เหล็กใน
*********************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)