--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทักษิณ ชินวัตร: เดินฝ่าพายุ


ที่มา – Siam Intelligence Unit

และแล้ว พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก็เดินทางถึงประเทศกัมพูชาตามคำเชิญของนายฮุนเซ็นในฐานะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและการคลังของประเทศกัมพูชา และคงจะได้บรรยายสรุปผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจกัมพูชาที่ดูแลด้านเศรษฐกิจจำนวน 300 คน ฟังในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้

เนื้อหาการบรรยายของเขา คงไม่พ้นสิ่งที่ถูกเรียบเรียงอยู่ในหนังสือ “Tackling Poverty : The policy that change Thailand, and how they can change the world” เขียนโดยนักเขียนชาวอินเดีย ที่ทำงานกับนิตยสาร CEO ในกลุ่มประเทศอาหรับ

หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “ทักษิณ ชินวัตร : คนไทยหายจน (เสียดายถูกปล้นเสียก่อน)”

เนื้อหาหลักๆ ในหนังสือเล่มนี้ก็ไม่พ้นจากที่เคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้าน, หวยบนดิน, โครงการโอท็อป ตลอดไปจนถึง นโยบายระดับมหภาคที่อยู่ในชื่อ “เศรษฐกิจสองขา” (dual track policy)

พูดกันอย่างเป็นธรรม หลายต่อหลายนโยบายไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถูกคิดขึ้นมาโดยข้าราชการและมือทำงานในหลายๆ กระทรวงที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่แตกต่างกันออกไปคือ พรรคไทยรักไทยนำมาปัดฝุ่น “บรรจุหีบห่อ” และโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างเป็นบูรณาการ ที่สำคัญที่สุด พ.ต.ท. ทักษิณสัญญา แล้วยังทำได้จริง

นี่เป็นเรื่องไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย พ.ต.ท. ทักษิณและพรรคไทยรักไทย เปลี่ยนจารีตของการแข่งขันทางการเมืองจาก การ “แจกเงิน” มาเป็น “แจกนโยบาย”

พรรคการเมืองน้อยใหญ่ต่างต้องรีบปรับตัว เปลี่ยนรูปแบบการหาเสียงที่ยึดติดกับตัวบุคคลหรือหัวคะแนน มาใช้นโยบายเป็นหลัก

จึงไม่แปลกที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ออกมายอมรับในคำให้สัมภาษณ์ว่า “การทำงานการเมือง ไม่ต่างกับการทำธุรกิจ” เขาเพียงแต่ ทำการตลาด, หาเสียง, และขายของ นอกเหนือจากนี้ก็เป็นความสามารถในเชิง “บริหารจัดการ”

สำหรับพรรคประชาธิปัตย์แล้วเขาไม่เคยคิดว่าเป็นศัตรูที่น่าเกรงขามมากมายอะไร

อย่าลืมว่าทักษิณเคยเริ่มต้นด้วย “กำลัง” ที่ติดลบมาก่อน

กับภาพการหาเสียงที่จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2542 เมืองหลวงของพรรคประชาธิปัตย์ยามขณะเรืองอำนาจ เวทีหาเสียงของพรรคไทยรักไทยถูกรื้อ กระแสไฟฟ้าก็ยังถูกตัด ส้วมสาธารณะถูกสั่งปิด แต่ พ.ต.ท. ทักษิณ ยังจุดเทียนปราศรัยท่ามกลางสายฝน

และในเวลาต่อมาพรรคไทยรักไทยก็สามารถเอาชนะเลือกตั้งได้แบบถล่มทลาย!

ด้วยความสำเร็จอย่างท่วมท้น ทั้งในด้านธุรกิจ และการเมือง พ.ต.ท. ทักษิณ ไม่คิดว่าเขาจะ “สะดุดล้มคว่ำ” ทางการเมือง แต่สิ่งที่ทักษิณเห็นอาจเป็นเพียงภาพลวงตา

กระแสการเบื่อหน่ายพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจต่างหาก ที่เป็นตัวหอบหิ้วทักษิณผงาดขึ้นในสนามการเมือง

ถามว่าทักษิณมีความ “ยอดเยี่ยม” ในเชิงเศรษฐกิจและบริหารจัดการหรือไม่ คำตอบคือ “อาจใช่”

แต่ไม่ใช่ในเชิง “การเมือง”!

เอาเข้าจริง เขาก็ยอมรับในคำให้สัมภาษณ์ล่าสุดกับไทมส์ว่า “เขาอ่อนหัดทางการเมือง”

ความผิดพลาดในการ “พูดทางการเมือง” เป็นจุดอ่อนสำคัญของเขา ไม่ว่าจะเป็นคำพูด “โจรกระจอก” กับปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือการพูดว่าเขาจะลาออกหากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่ง แม้จะฟังได้สองมุม แต่ภาพของเขาถูกวาดไว้ว่า “ไม่จงรักภักดี”

ภาพลักษณ์ของเขายังถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ทุจริต, โคตรโกง, ขายชาติ, คบศัตรู, ทรยศชาติ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า “ไม่จงรักภักดี” สำหรับทักษิณแล้ว หากเขาพลาดเมื่อไหร่ เรื่องนี้ “จุดติด” ทุกครั้ง ซึ่งหากจะว่าไปเรื่องอื่นไม่ได้ร้ายแรงเท่ากับข้อกล่าวหาว่า “ไม่จงรักภักดี” และเขาเองก็รู้ดี

ทักษิณต้องลงทุนอย่างมากในการแก้ภาพลักษณ์ความไม่จงรักภักดีของเขา ไม่ว่าจะเป็นการเชิญ นายสมัคร สุนทรเวช เข้าพรรคพลังประชาชน หรือการเชิญ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เข้าพรรคเพื่อไทย เพราะสองคนนี้มีภาพความจงรักภักดีสูง

บทให้สัมภาษณ์ในไทมส์นั้น ปัญหาก็มาจาก “วาจา” ของทักษิณอีกนั่นแหละ การให้สัมภาษณ์ในเชิงโจมตี “ผู้อยู่ใต้เบื้องพระยุคลบาท” และคำพูดที่ก้าวลึกไปยังพื้นที่ต้องห้ามของสังคมไทย ที่แจ่มชัดมากเกินไป สร้างปัญหาให้กับเขา

อันที่จริงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยให้สัมภาษณ์ในลักษณะเดียวกันนี้กับไฟแนนเชียลไทมส์

ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ก็ให้สัมภาษณ์เรื่องที่คล้ายกันนี้กับ Spiegel ของเยอรมัน

แต่ทั้งสองคนนี้ไม่มีปัญหากับคำให้สัมภาษณ์ เพราะรู้ดีว่าจุดที่พูดได้อยู่แค่ไหน สำหรับทักษิณแล้วเขายิ่งต้องระมัดระวัง หากไม่พูดถึงเรื่องเหล่านี้ได้ยิ่งจะเป็นการดี

แต่ด้วยลักษณะนิสัยที่ต้องรู้หมดทุกอย่างของเขา ทำให้ทักษิณอดไม่ได้ที่จะให้ความเห็น และนั่นก็ทำให้ผิดพลาดทางการเมืองอย่างร้ายแรง เมื่อไทมส์พาดหัวด้วยถ้อยคำที่อ่อนไหว ในห้วงเวลาขณะปัจจุบัน

สำหรับสมัครนั้นเขาเคยปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องนี้อย่างเด็ดขาดด้วยการโต้นายบรรหาร ศิลปอาชาว่า ให้ “แหงน” ขึ้นมามองเครื่องราชฯของเขา และหลังจากนั้นเขาต้องแอบไปกราบขอโทษนายบรรหารถึงบ้านภายหลัง สะท้อนให้เห็นว่านายสมัครเข้าใจว่าเรื่องนี้ “อ่อนไหว” และ “ลึกซึ้ง” แค่ไหน

มันคงเป็นเหมือนชะตากรรมของทักษิณ การเล่นการเมืองของเขาก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นการพนัน

ครั้งที่พรรคของเขาได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย แม้ถูกรัฐประหารจนคว่ำไป ก็ยังคว้าชัยชนะกลับเข้าสภาหินอ่อนได้ หรือแม้กระทั่งเลือกตั้งซ่อมครั้งล่าสุด ทักษิณก็ใช้การโฟนอินขอคะแนนจนได้รับชัยชนะ

โชคชะตาดูเหมือนจะล่อให้ทักษิณติดกับในการเมืองทุกขณะ

เพราะยิ่งเล่นการเมืองเขาก็ยิ่งเสีย เมื่อยิ่งเสียเขาก็ยิ่งสู้ต่อ

ใครจะไปเชื่อในช่วงที่เขาเรืองอำนาจที่สุดในปี 2548 หากจะมีคนบอกว่าเขาจะต้องถูกยึดทรัพย์ สูญตำแหน่ง ครอบครัวแตกแยก ไม่มีแผ่นดินอยู่ และต้องคดีถูกจำคุก

แต่เขาก็ยังเชื่อว่าเขาจะได้รับชัยชนะ เหมือนคนวางเดิมพันแล้วเสีย แต่ไม่ยอมรับว่าตัวเองแพ้ สถานการณ์ที่พลิกกลับไปกลับมาทำให้เขาต้องติดพันกับการเมือง

บางทีการที่เขาพูดว่าเขานั้น “ไร้เดียงสา” ทางการเมือง ในใจจริงแล้วเขาอาจไม่เคยยอมรับมันเลยก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

“จักรภพ”ลั่นกลับบ้านเกิดกราบคนไทยแน่ ขอเดินสายจ้อชาวโลกก่อน ปัดโหมใช้กำลังรุนแรงขนอาวุธเสริมกำลังแดง


มติชน : “จักรภพ”โฟนอินปัดสัมภาษณ์สื่อนอกขนอาวุทธยุทโธปกรณ์บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อัดสื่อไทยเล่นข่าวถือว่าเจตนาป้ายสี ยันไม่เคยคิดใช้ความรุนแรง ขอคนสนับสนุนปชต.ฟังหูไว้หูอย่าใช้วิชามารป้ายสี-ลุ่มหลงลัทธิพรรคพวก ขอเวลาอธิบายชาวโลกถึงสถานการณ์การเมืองก่อนกลับมากราบปชช.

ที่ร้าน Red shop ชั้น 5 ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 19 พ.ย. นายจักรภพ เพ็ญแข แกนนำขบวนการประชาธิปไตยและแกนนำกลุ่มแดงสยาม อดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้นัดหมายสื่อมวลชนเพื่อแถลงข่าวผ่านการโฟนอินชี้แจงกรณีที่มีกระแสข่าวที่นายจักรภพให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่างประเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติทางทหารและมีการขนอาวุทธยุทโธปกรณ์บริเวณแนวชายแดนไทยกับกัมพูชา ว่า ขอยืนยันว่า ตนไม่ได้เคยให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวดังกล่าว เพราะนายชอว์น คริสพิน (Shawn Crispin) ของเอเชีย ไทม์ส ออนไลน์ ได้นัดสัมภาษณ์ตนเมื่อวันที่ 11เมษายนที่ผ่านมา ผ่านผู้ประสานงานสื่อต่างประเทศของตนและยังได้ถ่ายภาพที่สัมภาษณ์ตนครั้งนี้เป็นหลักฐานด้วย อีกทั้งได้สนทนาเพียงกว้างๆในประเด็นอนาคตของการต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยและวิสัยทัศน์ของตนต่อการเมืองไทยในอนาคต ทั้งนี้ยืนยันว่าตนไม่ได้ให้สัมภาษณ์และไม่ปรากฎว่ามีประเด็นเกี่ยวกับการสะสมอาวุธ ซึ่งตนได้คุยกับนายชอว์นครั้งนั้นเป็นครั้งสุดท้าย และไม่มีการติดต่ออีกจนบัดนี้

“เมื่อมีประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงนี้ สื่อไทยบางส่วนก็คว้าเอาไปเล่นข่าวกันเสมือนเป็นเรื่องจริง โดยไม่เคยตรวจสอบกับผมเลย ทำให้เกิดคำถามว่าคนเหล่านี้มีแผนอะไรกัน ผมขอตั้งประเด็นไว้ว่าเป็นเจตนาป้ายสีผมโดยหวังให้เกิดผลบางอย่างในทางการเมือง และขอย้ำว่าการเตรียมการใดๆที่ใช้ความรุนแรงไม่ว่าจะสถานที่ใดไม่ใช่แนวทางของผมและผู้สนับสนุนตัวผมเด็ดขาด การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทยจะต้องเกิดจากพลังขับดันภายในประเทศ และเกิดโดยสงบสันติ เมื่อปวงชนชาวไทยมีความพร้อมแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้ฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย โปรดฟังหูไว้หู ก่อนจะเชื่อข่าวดังกล่าว และอย่ากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียบย่ำคนในฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันเพื่อให้ทางศัตรู วิพากษ์วิจารณ์ได้เสมอ และอย่าใช้วิชามารป้ายสีตีตราทำร้ายผู้สนับสนุนอีกกลุ่มหนึ่งเพราะลุ่มหลงในลัทธิพรรคพวกอย่างเกินเลย เป็นต้น พึงละเว้นเสีย” นายจักรภพ กล่าว

นอกจากนี้ นายจักรภพ กล่าวถึงการชุมนุมใหญ่ของเสื้อแดงในวันที่ 28 พฤศจิกายน ว่า การชุมนุมลักษณะใดก็ถือเป็นประโยชน์ต่ออนาคตทั้งสิ้น การรวมมวลชนไม่ว่าจะสถานการณ์ใดๆถือเป็นการประครองประชาธิปไตยไปสู่ระยะยาว และยังเป็นการให้ความรู้ประชาธิปไตยเพื่อจัดตั้งฝ่ายประชาธิปไตยให้มีประสิทธิเหมือนฝ่ายตรงข้ามถึงจะพูดเรื่องชัยชนะได้ ส่วนกลุ่มเสื้อแดงจะล้มรัฐบาลได้หรือไม่นั้น ตนมองว่าไม่ว่าฝ่ายใดก็ถือเป็นฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันเพียงแต่มีหลายแนวทางในการต่อสู้ ซึ่งการล้มรัฐบาลนั้นต้องมองลึกด้วยว่าเมื่อโค่นล้มได้แล้วเราจะได้ประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับมาหรือไม่

นายจักรภพ กล่าวว่า ตนได้พูดคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณตน เป็นนระยะบ้างทางโทรศัพท์ และพ.ต.ท.ทักษิณได้ฟังความเห็นหลายคนในการกำหนดเกมเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงซึ่งไม่ใช่แค่ปรึกษาตนเท่านั้นแต่ฟังเสียงประชาชนด้วยเพราะเป็นที่ปรึกษาที่ใหญ่ที่สุด ส่วนการชุมนุมเสื้อแดงจะจบเกมได้หรือไม่ตนไม่ขอวิจารณ์แต่ขอให้ทำงานด้านมวลชนเต็มที่ เพราะเวลานี้เป็นการสู้กันระหว่างอำมาตย์กับประชาธิปไตยยากที่จะชี้ชัดได้ว่าผลจะเป็นอย่างไร หากจะมีการส่งไม้ต่อให้พวกเราเมื่อไรตนก็พร้อมรับเต็มที่

ผู้สื่อข่าวถามว่า หมายความว่าจะรับไม้ต่อจากนปช.ใช่หรือไม่หากการชุมนุมไม่ประสบผล นายจักรภพ กล่าวว่า ตนไม่กล้าพูดเช่นนั้น แต่บอกแค่ว่าการพัฒนาประชาธิปไตยตอนนี้ระดมมวลชนกัน ซึ่งการต่อสู้ระยะต่อไปต้องรวมถึงการจัดตั้งให้เป็นระบบยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ขอบอกในตอนนี้ได้ และยืนยันไม่ใช่เรื่องการใช้อาวุธหรือความรุนแรงแน่ เพียงแต่ต้องเตรียมที่จะไปแทนที่กลไกอำมาตย์ที่เข้มแข็งกว่าประชาธิปไตยให้ได้

เมื่อถามว่า แดงสยามกับกลุ่มนปช.มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันหรือไม่นายจักรภพ กล่าวว่า ยังเดินสู่ประชาธิปไตยเดียวกัน ก็คือปวงชนชาวไทยมีอำนาจสูงสุด ส่วนเรื่องยุทธวิธีจะเดินไปอย่างไร เราเชื่อว่าจะรวมความคิดออกมาให้ดีที่สุด เพราะเจตนารมณ์ฝ่ายประชาธิปไตยเหมือนกันหมดไม่มีความแตกต่างกัน ไม่มีความแตกร้าวด้านความคิดใดๆ มีแต่ความหลากหลายในยุทธวิธีเท่านั้นไม่ใช่เรื่องที่แปลก และเชื่อว่าเวลาจะสมานเรากลับมาด้วยกัน แต่ทั้งนี้ขอร้องว่าหากเป็นฝ่ายเสื้อแดงหรือประชาธิปไตยด้วยกันอย่าทำร้ายกัน

เมื่อถามถึงคดีความของนายจักรภพที่อัยการได้เลื่อนฟ้องมาหลายครั้งแล้วจะกลับมาสู้คดีหรือไม่ นายจักรภพ กล่าวว่า ได้ติดตามอยู่ แต่ตนไม่แน่ใจว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้นเพราะคดีเลื่อนแล้วเลื่อนอีก และอยากจะให้คดีจบเรื่องเร็วที่สุดไม่ว่าผลออกมาด้านใดตนจะได้ทราบและพร้อมรับทุกอย่างอยู่แล้ว ส่วนจะกลับมาต่อสู้คดีได้เมื่อไรนั้น แต่ตอนนี้ตนขอใช้เวลาในการอธิบายให้ชาวโลกได้รู้ก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นในเมืองไทยเพราะไม่มีประโยชน์ที่จะเดินทางกลับที่จะไปแสดงจุดยืนเพื่อให้ตัวเองรอดพ้นจากคดี แต่ทั้งนี้ ช่วงนี้ตนจะเดินทางไปประเทศทั่วโลกมาแล้ว 10 ประเทศยังพบรัฐบาลและสื่อมวลชน กลุ่มนักธุรกิจ รวมทั้งจะไปบอกองค์การระหว่างประเทศเพื่ออธิบายความผิดของฝ่ายอำมาตย์ โดยเฉพาะเรื่องการยึดสนามบินสุวรรณภูมิ หากหมดเรื่องพวกนี้ตนจะกลับไทยเพื่อไปกราบประชาชนแน่

เขมรแก้ผ้ารัฐบาลชุดนี้ซะล่อนจ้อนให้โลกดู


ที่มา thaifreenews

บทความโดย...ป้าพลอย

ประเทศไทยเรานี่มีมนุษย์หลายรูปแบบ คนที่ไม่ชอบทักษิณไล่กัดทักษิณจนทักษิณต้องระเหเร่ร่อนเหมือนนกขมิ้น แต่พอเดือดร้อนขึ้นมารัฐบาลปัญญานิ่มช่วยเหลือคนของตนไม่ได้ ต้องเดือดร้อนให้ทักษิณช่วย ดูแล้วมันช่าง น่าขันจังนะ

กรณีที่นายศิวรักษ์ โชติพงษ์ ที่ถูกรัฐบาลเขมรจับกุมในข้อหาจารกรรมตารางบิน ทำไมรัฐบาลไทยไม่ไปช่วยเองทำไมต้องทักษิณ? คนของตัวเองปล่อยลอยแพให้ติดคุก ทั้งที่เขาทำเพื่อพวกคุณแท้ๆ

เห็นความเห็นแก่ตัวหรือยัง? ปากบอกจะทำเพื่อประชาชน แต่เมื่อประชาชนอย่างนายศิวรักษ์เขาทำเพื่อรัฐบาล แล้วทำไมรัฐบาลไม่เข้าช่วยเหลือประชาชนของตนละ? ทักษิณไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลย

ใช่แม้ทักษิณจะเป็นคนไทย แต่ในเมื่อคนไทยคิดไม่ซื่อกับทักษิณ ขโมยตารางบินเพื่อทำมิดีมิร้ายต่อทักษิณ สมควรที่ทักษิณจะช่วยเหลือหรือ? หากทักษิณยังหลงเชื่อคารมของคนลิ้นไม่มีกระดูกของพวกปัญญาอ่อนอยู่อีก ทักษิณก็ไม่มีวันชนะพวกนี้ได้

ฉะนั้นทักษิณไม่จำเป็นต้องทำความดีในกรณีนี้ ที่จะขี่ม้าขาวมาช่วยเหลือศัตรู ก็เท่ากับช่วยเหลืองูเห่าให้รอดพ้นจากการติดคุก และหลังจากนั้นก็แว้งกัดทักษิณตามเคย

การที่นายเนวินออกมาพูด บอกให้ทักษิณ ช่วยเหลือนายศิวรักษ์ฐานคนไทยด้วยกัน แต่นายเนวินลืมไปแล้วหรือว่า ทักษิณก็คือคนไทยคนหนึ่งเช่นกัน แล้วที่นายศวิรักษ์ทำเช่นนี้ มันหมายความว่าอย่างไร?เห็นทักษิณไม่ใช่คนไทยหรือ? ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง อยาก จะให้คนไทยบางคนที่มีหัวใจเป็นทาสของเผด็จการได้รับบทเรียน

ฉะนั้นนายศิวรักษ์สมควรได้รับโทษในการกระทำครั้งนี้ ตามกฏหมายประเทศกัมพูชา การช่วยเหลือคนผิดให้พ้นโทษ คงมีแต่ในประเทศไทย ประเทศเดียวที่ทำได้ เพราะกฏหมายไทยเขียนกันขึ้นมาเองและก็ใช้กันเอง ถูกก็เปลี่ยนให้เป็นผิดได้ จากผิดเปลี่ยนให้เป็นถูกได้ เหมือนกรณีนายกษิตและนายสนธิลิ้มเป็นต้นฯ แต่ในประเทศกัมพูชาคงไม่อาจทำเช่นไทย เพราะเป็นคดีในฐานแทรกแซงภายในของประเทศอื่น

กลายเป็นอาชญากรสากล ฐานที่ไปจารกรรมตารางการบินที่เป็นความลับสุดยอดของประเทศกัมพูชา ซึ่งประเทศทั่วโลกไม่อาจยอมรับ เพราะมันอันตราย หากฝ่ายผู้ก่อการ ร้ายทราบว่าเที่ยวบินนั้นๆ จะผ่านน่านฟ้าของไทยเวลาใด ผู้ก่อการร้ายสามารถยิงเครื่องบินลำนั้นได้ตรง เป้าหมาย

ดังนั้นโทษฐานของนายศิวรักษ์คงไม่ใช่เบาแน่นอน

การที่จะให้ทักษิณช่วยเหลือคนกระทำความผิดที่นายเนวินออกมาขอร้อง ทำไมนายเนวินไม่ไปช่วยเหลือด้วยตัวเอง? ทั้งที่ทำงานกอดรัดฟัดเหวี่ยงอยู่กับนายอภิสิทธ์รัฐบาลชุดนี้มิใช่เหรอ? หมดปัญญาที่จะต่อกรกับเขมรแล้วซินะ? เพราะเขมรแก้ผ้ารัฐบาลไทยชุด นี้ซะล่อนจ้อนให้ชาวโลกได้ดู ว่าที่แท้รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่มีอะไรดีซ่อนใว้หลังจากแก้ล่อนจ้อน



นอกจากพบแต่ความตอแหลอยู่ในร่มผ้าที่ปิดบังชาวโลกมา 11 เดือน ว่าไม่มีของดีซ่อนใว้ในการเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ การที่เขมรได้ แก้ผ้ารัฐบาลไทย ให้ชาวโลกได้ดู ทำให้ชาวโลกได้เห็นใบหน้าของแต่ละคนของนักการเมืองกังฉินประชาธิปัตย์

เราชาวประชาธิปไตยแห่งไทยแลนด์ขอขอบคุณรัฐบาลเขมรเป็นอย่างมาก ที่ได้ทำเพื่อพี่น้องคนไทย ที่ได้ช่วยตอบโต้รัฐบาลเส็งเค็งไทยแลนด์ชุดนี้ได้อย่างเจ็บแสบที่สุด ชาวโลกได้สัมผัสกับการตอกกลับของผู้นำเขมรต่อรัฐบาลไทย ที่ว่าทำแต่เรื่องเน่าเฟะให้ประเทศของตัวเองยังไม่พอ ยังจะมาหาเรื่องประเทศ เพื่อนบ้านเขมรอีก

อ่านข่าวแล้วรักน้ำใจคนเขมรมากขึ้น ที่ปกป้องชื่อเสียงคนไทยไม่ให้เสียหน้า เขมรยังรักคนไทย แต่คนไทยกันเองกลับไล่จับคนไทยมาเข้าคุก อายเขมรไหม???

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"จตุพร”แฉกัมพูชามีเทปลับ 2ชิ้น บันทึกเสียงโทรศัพท์ “กษิต” สั่งจัดหาตารางบิน “แม้ว”


มติชน : นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย(พท.) และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงเมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน ที่รัฐสภาว่า ตามที่กัมพูชาได้ควบคุมตัว นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรชาวไทยนั้น ตนทราบมาว่า สาเหตุเพราะทางการกัมพูชามีหลักฐาน 3 ชิ้นที่ปรากฏว่า ประเทศไทยไปกระทำการเข้าข่ายแทรกแซงกิจการภายในและกระทบต่อความมั่นคงของกัมพูชา ซึ่งนอกจากหลักฐานชิ้นแรกคือตารางการบินตามที่ปรากฏเป็นข่าวแล้ว หลักฐานชิ้นที่สองคือเทปบันทึกการพูดคุยทางโทรศัพท์ระหว่างนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศและเลขานุการเอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชา โดยเนื้อหาเป็นลักษณะสั่งการให้จัดหาและส่งตารางบินและกำหนดการต่างๆของพ.ต.ท.ทักษิณ และ ชิ้นที่สามเป็นเทปบันทึกการพูดคุยทางโทรศัพท์ระหว่างเลขานุการเอกอัครราชทูตไทยและนายศิวรักษ์ เรื่องสั่งให้หาตราบิน ซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนเครื่องบินขับไล่เอฟ 16 ไปไว้ที่สนามบินอู่ตะเภา ที่สามารถบินเข้าสู่เมืองเสียมเรียบของกัมพูชาได้ภายใน 20 นาที ซึ่งเป็นระยะหวังผล อย่างนี้จะฆาตกรรมกันชัดๆ โดยสิ่งที่เกิดขึ้นทางการกัมพูชาเห็นว่าเกระทบต่อความปลอดภัยและความมั่นคง จึงได้มีการสับเปลี่ยนเที่ยวบินและโรงแรมที่พักให้พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งหมด

“หากไม่เป็นความจริงก็ขอให้นายกษิต ออกมาปฏิเสธ แต่ถ้าเป็นความจริงนายกฯ จะยังให้นายกษิตอยู่ในตำแหน่งรมว.ต่างประเทศต่อไปได้อย่างไร เพราะทางกัมพูชาเองก็เตรียมจะเปิดเผยเทปเร็วๆ นี้ ที่ผมออกมาพูดเพราะไม่อยากให้คนไทยถลำลึกไปกับการปลุกกระแสชาตินิยมมากไปกว่านี้ พวกผมไม่ได้มีความสุขที่วิศวกรไทยถูกจับกุมและได้พยายามให้ความช่วยแหลือเช่นกันจึงทำให้ทราบข้อมูลดังกล่าว อย่างไรก็ตามทราบว่าทางกัมพูชาจะเร่งพิจารณาและส่งตัวนายศิวรักษ์กลับไทยเร็วๆ นี้ โดยจะประสานมาที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานพรรคเพื่อไทย เป็นผู้ไปรับตัว เหตุเพราะไม่ไว้วางใจรัฐบาลไทย” นายจตุพร กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุใดถึงทราบว่ากัมพูชามีเทปบันทึกการสนทนาทางโทรศัพท์ นายจตุพร กล่าวว่า ตนอยู่ในจุดที่พอรับรู้อะไรพอสมควร เพราะเราเองก็ต้องการเข้าไปช่วยเหลือวิศวกรไทยซึ่งเป็นแค่ปัญหาปลายเหตุ แต่ตัวต้นเหตุหนึ่งคือบริษัทแม่ของวิศวกรรายนี้ที่ได้ผลประโยชน์จากการทำธุรกิจในกัมพูชาจากรัฐบาลปัจจุบัน รวมถึงโครงการอื่น เช่น ผลประโยชน์ในโครงการรถเมลเอ็นจีวี 4,000 คัน และทีวีดาวเทียมบางระบบที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่เมื่อเกิดปัญหาก็ห่วงตัวเองมากกว่าพนักงาน และวิ่งแจ้นมาพบพวกเราในพรรคเพื่อไทยบางคนให้ช่วยเหลือเหมือนกัน ส่วนรัฐบาลก็เล่นละครตบตาปลุกกระแสคลั่งชาติ แต่ความจริงแล้วตัวเองไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่น รัฐบาลนี้กำลังจะมีปัญหากับทุกประเทศเพื่อนบ้านที่ทำดีกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ทักษิณอัดรัฐบาล คุณหนูวีนแตก ผูกขาดรักชาติ


ไทยรัฐ :พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการทอล์ก อะราวด์ เดอะเวิลด์ ทางเว็บไซต์ส่วนตัว www.thaksinlive.com ว่า ตอนออกจากประเทศกัมพูชา ทราบว่าได้มีการเอาเครื่องบินขับไล่เอฟ 16 จากฐานทัพอากาศที่ จ.นครราชสีมาย้ายมาไว้ที่อู่ตะเภา และถ้าเครื่องบินผมบินผ่านน่านฟ้าไทยให้ขับไล่เอาลงมา ลากเข้ามา ถ้าไม่มาก็ยิง ฟังแล้วน่ากลัวมาก เข้าใจว่าคนสั่ง เป็นคนไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร จับพลัดจับผลูมามีตำแหน่ง ทำแบบนี้ประเทศเสียหาย ใช้อารมณ์ความแค้นส่วนตัว ไม่คิดถึงหน้าตาประเทศ แต่อย่างไรก็ตามนักบินเอฟ 16 ไม่ทำ เขารู้ว่าอะไรควรไม่ควร อะไรที่จะทำให้ประเทศเสียหาย อย่างไรก็ตามส่วนตัวรู้สึกเฉย ไม่ได้กลัวอะไร สุดท้ายก็เลยต้องบินอ้อมหน่อยเพื่อเดินทางกลับไปที่ดูไบ

อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัพูชา มีน้ำใจ ทูลเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนโรดมสีหมุนีโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของกัมพูชานั้น ไม่ได้หมายความว่าตัวเองไม่รักชาติ แต่ชาติไม่ให้ผมทำงาน จึงไปช่วยงานกัมพูชาตามที่เขาให้เกียรติผม แต่นายอภิสิทธิ์ไปคิดในทางลบ คิดในทางทำลาย เป็นการคิดแบบโบราณ เห็นว่าเขาได้แล้วเราต้องเสีย มันไม่ใช่แล้วสมัยใหม่มันช่วยเขาแล้วเราได้ จะได้ทั้ง 2 ฝ่าย “วินวิน” วันนี้การเมืองระหว่างประเทศของไทยผ่านมา 1 ปี เสียหาย หรือดีต่อประเทศต้องทบทวนได้แล้ว ต้องอย่าผูกขาดความรักชาติ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลต้องรักชาติฝ่ายเดียว ฝ่ายค้านรักไม่ได้ ไม่ใช่แบบนี้

พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวต่อว่า พวกรักชาติแล้วหากินบนความรักชาติ ทุจริตบนความรักชาติก็มี ดังนั้นอย่ามาเอาประเด็นนี้มาเป็นการเมืองดีกว่า ผมจะทำอะไรต้องคิดว่าให้ประเทศไทย และประเทศกัมพูชาดีด้วยทั้ง 2 ฝ่าย ต้องทำแบบนั้นให้ได้ ขนาดเศรษฐกิจของเขาเล็กมาก เมื่อเทียบกับไทย เขาซื้อสินค้าไทยเยอะมากหลายอย่างเขาไม่มี ไทยได้ดุลการค้าเขาปีละ 6.4 หมื่นล้านบาท เขาเป็นลูกค้าเราอย่าไปไล่ลูกค้า อย่าเอาอารมณ์ส่วนตัวไปใส่ อย่าเห็นตนเองเป็นปฏิปักษ์แล้วไปทำแบบนั้น การเมืองระหว่างประเทศต้องเป็นผู้ใหญ่ จะมาทำตัวเป็นคุณหนูวีนแตกไม่ได้

อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คนไทยถูกทางการกัมพูชาจับว่า เรื่องนี้มีคนบอกให้ตัวเองช่วย ก็ได้ฝากบอกทางกัมพูชาว่า ขอให้ความเป็นธรรมด้วย เมื่อถึงเวลากระบวนการยุติธรรมเดินไปถึงจุดไหน ถ้ามีอะไรที่ตัวเองทำได้ก็จะทำให้ถึงแม้จะเป็นเรื่องจริง จะเป็นสปายทำให้ผมได้รับอันตราย ก็จะช่วยเพราะเขาเป็นคนไทย ตัวเองเป็นคนให้อภัยคนความจริงเรื่องราวนี้ผมมารู้ทีหลัง ตอนนั้นรู้เพียงว่ามีการเปลี่ยนเครื่องบินให้ผม ก็ทำตามเจ้าภาพให้ไปไหนก็ไปตามเขา

พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอีกว่า วันก่อนมีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และก็เอาเรื่องเก่าเล่าใหม่ ใส่ร้ายเสียหายก็ได้มอบเรื่องให้ทางทนายไปฟ้อง อะไรเข้าข้อกฎหมายก็ฟ้องไป แต่พวกนี้แม้จะโดนรอลงอาญา หรือโดนอะไรก็ยังไม่เลิก ตัวเองไม่ได้อาฆาตแค้นอะไร แต่ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่ากรรมการจะเป็นกลางเสียที วันนี้บางอันไม่ไหวเลย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) บางคน ศาลรัฐธรรมนูญบางท่าน บางทีอาจรู้สึกอาย ต้องเป็นกลางเสียที ก็จะรอไปเรื่อยๆ

อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ส่วนที่กล่าวหาว่าผมขว้างระเบิด ก็ตลกดีผมขว้างระเบิดจากดูไบไปถึงสนามหลวงได้ เก่งจริง ก็ขอประณามคนลงมือทำ ความขัดแย้งทางการเมือง ทางประชาธิปไตยเกิดได้ตลอดเวลา แต่อย่าใช้ความรุนแรง วันนี้ทุกคนต้องการความปรองดองในชาติ ไม่อย่างนั้นความสงบสุขไม่มีทางกลับคืนมาได้

จัดอันดับคอร์รัปชั่นโลก ไทยร่วงอันดับ 84 ดีกว่าอินโดนีเซียแย่กว่ามาเลเซีย คะแนนเต็มสิบได้แค่ 3.4

จัดอันดับคอร์รัปชั่นโลกปี 2552 ไทยแย่ลงจากอันดับ 80 ร่วง 84 คะแนน ดีกว่าอินโดนีเซีย แต่แย่กว่ามาเลเซีย เต็มสิบได้ 3.4 คะแนน สถานการณ์ไม่เคยดีขึ้น วูบมาตลอดต่ำสุดเท่ากับปี 50

องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency Thailand) เปิดเผยเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ถึงผลการจัดอันดับดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจำปี พ.ศ.2552 พบว่า ประเทศไทยได้ 3.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน อยู่อันดับที่ 84 จากการจัดอันดับทั้งหมด 180 ประเทศทั่วโลกหลังจากปี 2551 อยู่อันดับ 80 และอยู่อันดับที่ 10 จาก 23 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย


CPI (Corruption Perceptions Index) คือดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) – 10 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด) จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระนานาชาติที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาคอร์รัปชันและมีเครือข่ายใน 120 ประเทศทั่วโลก


ทั้งนี้ ได้จัดทำดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศต่างๆ เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ พ.ศ.2538 ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 นี้ ได้จัดอันดับจากประเทศต่างๆ จำนวน 180 ประเทศ โดยจัดอันดับจากผลสำรวจของสำนักโพลล์ต่างๆ จำนวน 10 แห่ง ที่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ 2551และ 2552


ผลการจัดอันดับประจำปี 2552 พบว่า ประเทศไทยได้ 3.4 คะแนน จัดเป็นอันดับที่ 84 เท่ากับประเทศเอลซาวาดอร์ กัวเตมาลา อินเดีย และปานามา


ขณะที่นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก สิงคโปร์และสวีเดน เป็นกลุ่มประเทศที่ครองตำแหน่งสามอันดับแรก ได้แก่ 9.4, 9.3 และ 9.2 คะแนน (ตามลำดับ) ส่วนประเทศที่ได้อันดับสุดท้าย ได้แก่ ประเทศอิรัก (1.5 คะแนน) ซูดาน (1.5 คะแนน) พม่า (1.4 คะแนน) อัฟกานิสถาน (1.3 คะแนน) และโซมาเลีย (1.1 คะแนน) ซึ่งประเทศที่มีคะแนนน้อยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังอยู่ในภาวะสงครามหรือมีความขัดแย้งภายในประเทศเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งเป็นสภาพการเมืองการปกครองที่มีความเปราะบาง


เมื่อพิจารณาเฉพาะการจัดอันดับของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย พบว่าประเทศที่มีคะแนนเป็นอันดับที่ 1 คือ สิงคโปร์ (9.2 คะแนน) ส่วนประเทศที่มีคะแนนต่ำที่สุดคือ พม่า (1.4 คะแนน)


ผลการจัดอันดับโดยทั่วไปแสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับสูงมักจะมีอันดับที่ดีกว่าประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่น้อยกว่า แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อประเทศกำลังพัฒนาด้วย กล่าวคือ ต้องไม่ให้สินบนเพื่อดำเนินธุรกิจในประเทศที่กำลังพัฒนา หรือต้องไม่สนับสนุนศูนย์กลางการดำเนินธุรกรรม ทางการเงินที่อาจเป็นแหล่งฟอกเงินของผู้กระทำความผิด (Safe haven) เช่น หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน


นอกจากนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านี้ต้องไม่เพิกเฉยโดยปล่อยให้มีกฎหมายภายในประเทศของตนที่ถือว่าข้อมูลทางการเงินเป็นความลับทางธุรกิจ เพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันและความตั้งใจที่จะคืนทรัพย์สินที่ผู้กระทำผิดได้โกงมาจากประเทศของตนแล้วนำไปฝากไว้ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ความพยายามของประเทศที่พัฒนาแล้ว (ซึ่งมีอันดับและคะแนนภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นที่ดี) จะช่วยทำให้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของประเทศที่กำลังพัฒนา (ซึ่งมีคะแนนคอร์รัปชันในระดับต่ำ) ลดความรุนแรงลงและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในประเทศ

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จาตุรนต์ ฉายแสงให้สัมภาษณ์กรณีกัมพูชา


Posted by ภีรเดช โกตมวรีสุรนารถ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา ว่า เหตุการณ์พัฒนามาจนกระทั่งเกิดผลกระทบ เกิดความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศไปมากอย่างน่าตกใจ ทั้งที่ต้นเหตุไม่ได้เป็นเรื่องที่ควรจะทำให้เกิดความเสียหายขนาดนั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐบาลใช้มาตราการที่รุนแรงเกินกว่าเหตุไปมาก จนมองได้รัฐบาลได้คำนึงถึงการทำลายคู่แข่งทางการเมืองมากว่าประเทศชาติ และเป็นสร้างคะแนนนิยมให้กับตนเองบนความเสียหายของบ้านเมือง ทั้งนี้ที่ผ่านมาข้อขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา มีมาโดยตลอดแต่ความขัดแย้งมีมากขึ้นหลังจากการปลุกกระแสความคลั่งชาติ ในการทวงปราสาทเขาพระวิหารคืน รวมถึงการอ้างว่าแผ่นดินใต้เขาพระวิหารยังเป็นของไทยโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รวมถึงการที่สมเด็จฯฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีสร้างบ้านที่กัมพูชาให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ และการตั้งเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า การตอบโต้ที่รุนแรงของรัฐบาลไทยไม่เกิดผลดีใดๆ ทั้งสิ้น กรณีที่รัฐบาลกัมพูชาไม่ส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาให้ทางการไทย ซึ่งประเด็นนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลไทยควรที่จะร้องต่อศาลกัมพูชา เช่น ในกรณีของนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี ที่รัฐบาลไทยร้องต่อศาลแคนนาดา แทนการลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จนกลายเป็นความบาดหมางระหว่างประเทศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

“การตัดความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นการตอบโต้ ทำให้ไปกระทบใจกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นด้วย ว่ามีอะไรไม่ตรงกันนิดหนึ่งคุณก็ตัดความช่วยเหลือเสียแล้ว และนี่เป็นการผลักกัมพูชาให้ไปสนิทกับประเทศอื่นมากกว่า นอกจากนี้ควรที่จะคำนึงด้วยว่ากัมพูชาเป็นมิตรประเทศกับไทยอยู่ ไม่ใช่ศัตรูอย่างที่รัฐบาลกำลังปฎิบัติอยู่ โดยเฉพาะการใช้คำพูดกับประเทศเพื่อนบ้านแบบผิดๆเหมือนที่กล่าวหาว่าพล.อ. ชวลิต (ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานพรรคเพื่อไทย) ชักศึกเข้าบ้าน”นายจาตุรนต์กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามยอมรับว่าสมเด็จฯฮุนเซ็นในฐานะนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ได้พูดถึงประเทศไทยได้พูดเกินกว่าที่ควรจะพูดไป เช่น การวิจารณ์ระบบยุติธรรมประเทศไทย หรือบอกให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งถือเป็นการพูดที่เกินวิสัยของนายกรัฐมนตรีที่จะพูดต่อประเทศอีกประเทศหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันสิ่งที่สมเด็จฯฮุนเซ็นพูดวิจารณ์นายอภิสิทธิ์ รัฐบาลไทย ที่มาของรัฐบาล และระบบยุติธรรมที่ถูกแทรกแซงโดยคมช. ส่วนใหญ่ถือว่าพูดตามความจริงทั้งนั้น

“สิ่งที่รัฐบาลนี้ และพรรคประชาธิปัตย์กำลังพยายามทำอยู่ พูดเหมือนกับว่ากัมพูชาเป็นศัตรูของประเทศไทยไปแล้ว เป็นการฉวยโอกาสจากการที่ประชาชนไทยมักถูกสอนให้เกลียดพม่าดูถูกเขมรดูถูกลาวถือเป็นการใช้พื้นฐานของการที่คนไทยถูกปลุกให้มีความคิดชาติยม คลั่งชาติมาเป็นประโยชน์ทางการเมืองจนลืมประโยชน์ของประเทศ”นายจาตุรนต์กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคประชาธิปัตย์พยายามอธิบายว่าการที่สมเด็จฯฮุนเซ็น ตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่พล.อ.ชวลิต เดินทางไปกัมพูชา นายจาตุรนต์ กล่าวว่า การที่พล.อ.ชวลิต เดินทางไปกัมพูชานั้น เท่าที่ตนได้พูดคุยกับพล.อ.ชวลิตทั้งก่อนและหลังไป พล.อ.ชวลิต ไม่มีความต้องการที่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาหรือแม้แต่การที่สมเด็จฯฮุยกนเซ็นสร้างบ้านให้พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งพล.อ.ชวลิต เข้าพรรคเพื่อไทยมีเงื่อนไขว่าขออย่าให้พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนสั่งว่าให้เป็นอะไร

“พล.อ.ชวลิต ไม่ต้องการให้เป็นเรื่องว่าเข้ามาก็ดี เป็นอะไรก็ดีตามคำสั่งของพ.ต.ท.ทักษิณ ท่านต้องการให้เป็นตามระบบพรรค ท่านแคร์เรื่องนี้มากอยู่แล้ว ไปกัมพูชาก็เป็นกิจกรรมหนึ่งในห้าเรื่องที่พล.อ.ชวลิต ต้องการมาทำ ท่านไม่ต้องการทำเรื่องพ.ต.ท.ทักษิณ กับรัฐบาลกัมพูชา แต่ว่าไปแล้วเกิดมีการต่อสายกันจนกลายเป็นเรื่องที่สมเด็จฯ พูดเรื่องเตรียมบ้านให้พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งท่านชวลิตก็ตกใจอยู่เหมือนกัน เรื่องเลยไปกระทบภาพของพล.อ.ชวลิต ซึ่งเป็นผลเสียอันหนึ่ง”นายจาตุรนต์กล่าว

เมื่อถามว่าพล.อ.ชวลิต เสียใจหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ไม่ทราบต้องไปถามพล.อ.ชวลิต เอง อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยควรจัดระบบพรรคให้เกิดขึ้น ทำงานกันในระบบพรรค และให้พล.อ.ชวลิต เป็นกำลังสำคัญในระบบพรรค แทนที่จะให้เป็นเรื่องว่าพล.อ.ชวลิต จะทำอะไรได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับพ.ต.ท.ทักษิณ ถ้าเราไปทำให้พล.อ.ชวลิต ทำเพียงรอคำสั่งพ.ต.ท.ทักษิณ นั้นน่าเสียดายคุณค่าของพล.อ.ชวลิต เพราะพล.อ.ชวลิตยังสามารถทำได้อีกหลายเรื่อง เพราะท่านมีประสบการณ์และความตั้งใจที่ดี การที่จะให้ยอมรับได้ต้องมีระบบมารองรับให้ท่านสามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า การที่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย 2 คนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การที่พ.ต.ท.ทักษิณ เลือกที่จะมากัมพูชา เปิดเผยว่าจะมีบ้านในกัมพูชา และได้รับการต้อนรับจากรัฐบาลกัมพูชา รวมถึงวิธีการกับจังหวะหรือโอกาสที่เสนอเรื่องนี้มีปัญหา เพราะการเปิดเรื่องนี้ในจังหวะที่ไทยกับกัมพูชาระหองระแหงกันอยู่ โอกาสที่พ.ต.ท.ทักษิณจะเพลี่ยงพล้ำทางการเมืองมีสูงกว่าที่จะได้เปรียบ จนรัฐบาลนี้สามารถฉวยโอกาสในการทำลายคู่แข่งทางการเมือง ทำให้ในที่สุดพ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคเพื่อไทยกลายเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบทางการเมือง ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นภาระต่อไปว่าจะสามารถชี้แจงกับประชาชนอย่างไรว่าเรื่องที่พ.ต.ท.ทักษิณ ทำอยู่ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศ

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องพยายามสุดความสามารถที่รักษาสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาไว้ และเลิกความคิดที่จะยกเลิกเอ็มโอยู ทั้งนี้หากมีการยกเลิกเอ็มโอยูจริง ต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

เมื่อถามว่ามีการวิเคราะห์กันว่าแท้ที่จริงแล้วพ.ต.ท.ทักษิณ ตกเป็นเครื่องมือของสมเด็จฯ นายจาตุรนต์ นิ่งเงียบไปชั่วขณะก่อนตอบว่า ต่างคนต่างมอง ตนยังไม่เห็นประโยชน์อะไรมากที่จะเกิดกับสมเด็จฯฮุนเซ็นในกรณีนี้ แต่โดยรวมๆแล้ว ทำให้เกิดความเสียหายไปทุกฝ่าย ทั้งกัมพูชาและไทยที่ได้รับความเสียหาย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็สึกหรอ

เมื่อถามว่าดูเหมือนว่ากรณีของไทย-กัมพูชา และประเด็นการให้สัมภาษณ์ไทมส์ออนไลน์จะทำให้หนทางการกลับประเทศของพ.ต.ท.ทักษิณ ริบหรี่ลงทุกขณะ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า โอกาสกระทบในทางลบต่อความนิยมของพ.ต.ท.ทักษิณเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเรื่องแบบนี้เกิดเป็นกรณีขึ้นมา เป็นการกล่าวหาแบบฝ่ายเดียว โดยไม่อนุญาติให้ประชาชนเห็นเนื้อหาสาระของสิ่งที่พูด ผู้ถูกกล่าวหาย่อมเสียเปรียบมากทำให้ตกที่นั่งลำบากมากขึ้น ส่วนจะมีผลต่อการเดินทางกลับประเทศของพ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการชี้แจงทำความเข้าใจของพ.ต.ท.ทักษิณ พรรคเพื่อไทย และเสื้อแดง ต่อประชาชนว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นใด

แม่วิศวกร วอนรัฐเร่งช่วยลูกกลับไทย

แม่วิศวกรไทยที่ถูกเขมรจับ วอนรัฐบาลเร่งช่วยเหลือนำตัวลูกชายกลับไทย หวั่นโรคประจำตัวกำเริบ "กษิต" ยันจนท.ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยม ด้าน "บัวแก้ว" จี้ใช้อนุสัญญากรุงเวียนนาดูแล "ศิวรักษ์" ขณะที่เขมรปล่อยข่าวให้เยี่ยมแล้ว

นางสิมารักษ์ ณ นครพนม อายุ 57 ปี ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้าแผนกพณิชยการ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา มารดาของนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ อายุ 31 ปี พนักงานบริษัท กัมพูชาแอร์ ทราฟฟิก เซอร์วิส หรือแคทส์ (CATS) บริษัทในเครือบริษัทสามารถเทลคอม ซึ่งถูกทางการกัมพูชาจับกุมตัว โดยกล่าวหาว่าลอบสำเนาเอกสารเกี่ยวกับกำหนดการเดินทางโดยเครื่องบินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรี กัมพูชา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552 ให้สัมภาษณ์ว่า สิ่งที่เป็นห่วงลูกชายมากที่สุดตอนนี้ก็คือ สภาพร่างกายที่ค่อนข้างอ่อนแอ เพราะลูกชายเป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรัง มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ที่มักจะมีอาการหายใจขาดช่วง เป็นโรคประจำตัว ได้วางแผนไว้ว่าหากว่างจะพาไปผ่าตัดรักษาอาการป่วย แต่มาเกิดเหตุขึ้นเสียก่อน

นางสิมารักษ์ กล่าวว่า ได้รับทราบข่าวจากเพื่อนสนิทของลูกชายและข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตว่า ลูกถูกทางการกัมพูชาจับกุมตัว ก็รู้สึกช็อกและเสียใจมาก ไม่คิดว่าจะมีเหตุอย่างนี้เกิดกับลูกได้ เพราะลูกเป็นคนดี สุขุม เรียบร้อย มีคุณธรรม เป็นที่รักใคร่ของบิดามารดา ญาติสนิท และเพื่อนฝูงทุกคน เป็นเสาหลักของครอบครัว ไม่เคยสร้างปัญหาใดๆ ให้แก่ครอบครัวหรือผู้อื่น ที่ผ่านมาลูกชายจะโทรศัพท์มาหาประจำทุกอาทิตย์ ล่าสุดเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมเพิ่งเดินทางมาพักผ่อนที่บ้าน และกลับไปทำงานเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา บอกว่าจะไปทำงานที่ชายแดนไทย-ลาวแต่ไม่ได้บอกรายละเอียด จากนั้นก็ขาดการติดต่อจนกระทั่งทราบข่าวว่าถูกจับตัวที่เขมร

นางสิมารักษ์ กล่าวว่า อยากให้ลูกชายพ้นข้อกล่าวหาทุกอย่างและกลับมาบ้านอย่างปลอดภัย ส่วนสาเหตุของเรื่องที่เกิดขึ้นหากบอกว่าเป็นเรื่องการเมืองคงเป็นไปไม่ได้ เพราะเขาไม่ใช่คนฝักใฝ่การเมือง จึงขอให้รัฐบาลหรือผู้ที่ดูแลทางด้านนี้ ขอให้ช่วยคนไทยคนหนึ่งที่ไปประสบปัญหาในต่างแดน ทำอย่างไรก็ได้ช่วยกันนำตัวลูกชายกลับมาให้เร็วที่สุด และไม่เชื่อว่าลูกจะทำความผิดอย่างที่ถูกกล่าวหาแน่นอน

"รู้ว่าเขาทุกข์มาก ทั้งตัวเองและทุกข์ห่วงความรู้สึกแม่ เพราะเขาห่วงแม่มากที่สุด หากฝากคำพูดนี้ไปถึงลูกได้ อยากบอกว่าคิดถึงอยากคุยอยากพูดด้วยและไม่ต้องห่วงแม่ เรื่องสภาพจิตใจแม่เข้มแข็ง ห่วงก็แต่ตัวลูกเท่านั้น แม่ห่วงลูกมากกว่า อย่างไรเสียคิดว่ารัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงจะดูแลช่วยเหลือเอาตัวลูกกลับมาโดยเร็วที่สุด" นางสิมารักษ์กล่าว

ประวัติ นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ อายุ 31 ปี ชื่อเล่น เต๋า เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2521 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เมื่อปี พ.ศ. 2541 บิดาชื่อนายสุวิทย์ ชุติพงษ์ อดีตผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ซึ่งถึงแก่กรรมแล้วด้วยโรคอาการหายใจขาดช่วง (ไหลตาย) ตั้งแต่ปี 2538 มารดาชื่อนางสิมารักษ์ อายุ 57 ปี อาชีพครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้าแผนกพณิชยการ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา

นายกฯจี้เขมรยึดหลักสากลดูแลคนไทย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีคนไทยที่ถูกจับในประเทศกัมพูชาว่า ได้รับทราบข้อมูลแล้ว และได้มอบให้กระทรวงต่างประเทศติดตามเรื่องอยู่ ขอวอนไปยังประเทศกัมพูชาว่าให้ปฏิบัติกับคนไทยที่ถูกจับกุมตามหลักสากล ยอมรับว่าตอนนี้ยังไม่ทราบข้อกล่าวหา ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมรจะดีขึ้นหรือไม่นั้น เรื่องนี้อยู่ที่กับประเทศกัมพูชา สำหรับการประชุมครม.ในวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายนนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอเรื่องทบทวนการให้ความช่วยเหลือประเทศกัมพูชา ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่าจะเดินทางมาประเทศกัมพูชาบ่อยๆ นั้น คงจะต้องรอดู ส่วนจะมีมาตรการอย่างไรนั้น คงจะต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

เขมรอ้างให้จนท.ไทยเข้าเยี่ยมแล้ว

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างถ้อยแถลงของนายกอย เกือง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ว่าเจ้าหน้าที่ทูตของไทยคนหนึ่งได้เข้าเยี่ยมนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรชาวไทยวัย 31 ปี ที่เรือนจำเพรย์ซอร์ โดยทางเขมรยอมให้เจ้าหน้าที่ไทยเข้าเยี่ยมนายศิวรักษ์ เมื่อเวลา 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดมากไปกว่านี้

"กษิต"สวนกลับเขมรยังไม่ให้ไทยเยี่ยม

นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ ว่า ขณะนี้กัมพูชายังไม่ได้แจ้งตอบกลับมาจะอนุญาตให้สถานทูตไทยได้เข้าพบนายศิวรักษ์หรือไม่ รวมถึงยังไม่มีหนังสือแจ้งมายังไทย เกี่ยวกับการตั้งข้อกล่าวหาและการดำเนินคดีกับนายศิวรักษ์

เมื่อถามว่ามีรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศอ้างคำกล่าวของโฆษกรัฐบาลของกัมพูชา ที่ว่าทางการกัมพูชาอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยเข้าพบนายศิวรักษ์ได้แล้ว เมื่อเวลา 14.00 น. เป็นการให้ข่าวที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ นายกษิต กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะข่าวที่ออกมาจากฝ่ายกัมพูชาต้องมีการยืนยันกัน เป็นเรื่องการตรวจสอบ แต่ไม่อยากให้มีการตื่นตระหนกตกใจเมื่อได้รับทราบข้อมูลใดๆ และไม่อยากให้เป็นเรื่องร้อน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องความปลอดภัยของตัวบุคคล และต้องการได้รับความยุติธรรมตามกระบวนการกฎหมาย

ส่วนประเด็นที่ว่านายศิวรักษ์มีโรคประจำตัวนั้น ได้รับการยืนยันจากกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชามายังสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ ว่าเขามียาทุกอย่างพร้อม ไม่ว่าจะเป็นโรคใด แต่เราอยากจะมีคนของเราเข้าไปสอบถามอาการ หรือจัดหาแพทย์เข้าไปหรือจัดเตรียมยาประจำที่นายศิวรักษ์ต้องการไว้

นายกษิตกล่าวอีกว่า เมื่อเช้าวันที่ 16 พฤศจิกายน นายชโลธร เผ่าวิบูลย์ อุปทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ ได้เข้าพบอธิบดีกรมเอเชีย กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อแสดงเจตจำนงขอเข้าพบนายศิวรักษ์ รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่า ตนจะโทรศัพท์พูดคุยกับนายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ซึ่งอยู่ในระหว่างขึ้นเครื่องบินเดินทางไปประเทศอิตาลี คาดว่าในเวลา 18.00 น. หรือเวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ตนจะได้พูดคุยกับรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เพื่อแจ้งให้กัมพูชาได้ทราบใน 2 เรื่อง คือต้องการรับทราบข้อกล่าวหาของนายศิวรักษ์และขอให้กัมพูชาอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ไทยเข้าไปพบนายศิวรักษ์โดยเร็ว

กต.จี้ใช้อนุสัญญาเวียนนาดูแลศิวรักษ์

นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ฝ่ายไทยต้องการให้กัมพูชา ทำหนังสือชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ ถึงการจับกุมตัวนายศิวรักษ์ในข้อหาใด รวมถึงต้องรายงานสวัสดิภาพปัจจุบันว่านายศิวรักษ์มีความเป็นอยู่อย่างไรด้วย ซึ่งเป็นข้อบังคับที่กัมพูชาต้องปฏิบัติตามอนุสัญญากรุงเวียนนาที่กำหนดไว้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามกฎหมายระหว่างประเทศข้อ 3 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลฯ ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมคุมขัง มีสิทธิแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่จับกุมคุมขังตน แจ้งให้สถานกงสุลของประเทศที่ผู้ต้องหามีสัญชาติอยู่ทราบเรื่องโดยไม่ชักช้า ผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลมีสิทธิเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาที่เป็นคนชาติของตน รวมทั้งตั้งทนายความและล่ามให้ตลอดกระบวนการต่อสู้คดี เพื่อให้ผู้ต้องหานั้นสามารถต่อสู้คดีได้โดยไม่มีการแปลคำให้การบิดเบือน ผิดพลาด หรือรับสารภาพโดยไม่รู้เรื่อง

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของคำว่า"ธรรมาภิบาล"และพัฒนาการ


ประวัติความเป็นมาของคำว่า"ธรรมาภิบาล"และพัฒนาการ
ธรรมาภิบาลภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์: นัยต่อประเทศไทย (๑)
รศ. ดร.สมบูรณ์ ศิริประชัย : เขียน
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ประวัติความเป็นมาของคำว่า"ธรรมาภิบาล"และพัฒนาการ
ธรรมาภิบาลภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์: นัยต่อประเทศไทย (๑)
รศ. ดร.สมบูรณ์ ศิริประชัย : เขียน
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


บทคัดย่อ

บทความนี้พยายามอธิบายว่า "ธรรมาภิบาล"เป็นแนวความคิดใหม่ที่เข้าใจได้ไม่ง่ายนัก และแท้ที่จริงเป็นเรื่องของสถาบันทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะเป็นนโยบายชุดหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ได้ทันทีเหมือนนโยบายทั่ว ๆ ไป ความซับซ้อนนี้ทำให้มีการตีความธรรมาภิบาลอย่างง่ายๆ เพียงพิจารณาองค์ประกอบทั่วไปของธรรมาภิบาล ซึ่งมักทำให้เราหลงผิดและหลงประเด็น

ความจริงก็คือ "โครงสร้างธรรมาภิบาล"ไม่เคยสมบูรณ์และหยุดนิ่ง แต่มีพลังพลวัตและพัฒนาปรับตัวไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยเฉพาะธรรมาภิบาลแบบตะวันตกนั้น มีเสาหลักที่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นสำคัญ. ในบทความนี้ ผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นว่า การนำแนวความคิดธรรมาภิบาลแบบตะวันตกเข้ามาในสังคมไทย หลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจนับว่ายังห่างไกลจากความสำเร็จ แม้ว่ารัฐไทยได้ตรากฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวกับธรรมาภิบาล ส่วนสำคัญมาจากความเข้าใจอย่างคลาดเคลื่อนต่อแนวความคิดนี้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ "ธรรมาภิบาล"เป็นเรื่องของการปฏิรูปสถาบันในสังคมให้มีประสิทธิผล ซึ่งขึ้นกับความสามารถของรัฐนั้นในการยกระดับการพัฒนาทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะสถาบันแบบไม่เป็นทางการ มักเป็นอุปสรรคสำคัญของการสร้างธรรมาภิบาล

การสร้างระบบการบริหารราชการแผ่นดินของไทยที่มีลักษณะการรับผิด โปร่งใส คาดคะเนได้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา และจำเป็นต้องมาจาก การมีรัฐที่มีเสถียรภาพและความเข้มแข็งเท่านั้น แต่นั่นยังเป็นเรื่องของความฝันมากกว่าความจริง

ธรรมาภิบาลภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ : นัยต่อประเทศไทย

แนวความคิดเรื่องธรรมาภิบาลกับโลกาภิวัฒน์ นับว่าเป็นเรื่องที่เพิ่งมีการกล่าวขวัญกันอย่างจริงจังเมื่อเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะหลังจากเกิดวิกฤติการณ์การเงินในเอเชีย เมื่อปี 1997 (พ.ศ.2540) คือ การกล่าวอ้างขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทั้งสององค์กรมีบทบาทสำคัญในการผลักดันวาระของธรรมาภิบาลให้เป็นวาระของโลก ในแง่ที่ว่า มูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤติการณ์การเงินในเอเชียนั้น ก็เพราะประเทศในภูมิภาคแถบนี้ไร้ซึ่งธรรมาภิบาล ด้วยเหตุนี้ ทั้งธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จึงได้เสนอแนวทาง "ธรรมาภิบาลระดับโลก" (global governance) ที่พยายามผลักดันให้ประเทศในแถบเอเชียและประเทศอื่นๆ พยายามเดินตามกรอบของธรรมาภิบาล เพราะเชื่อว่า ด้วยหนทางนี้เท่านั้น ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากจะสามารถพัฒนาประเทศให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ธนาคารโลกดูเหมือนจะเป็นองค์กรโลกบาลที่เชื่อมั่นดังกล่าวอย่างจริงจัง เพราะก่อนหน้าวิกฤติการณ์ทางการเงินในปี 1997 ธนาคารโลกเองได้ตีพิมพ์เผยแพร่เอกสารจำนวนไม่น้อย ชี้ให้เห็นถึง "ธรรมาภิบาลกับการพัฒนา"

ประวัติความเป็นมาของคำว่า "ธรรมาภิบาล"

แท้ที่จริงการเลือกใช้คำว่า "ธรรมาภิบาล" ในที่นี้เป็นการเลือกแบบอำเภอใจ เพราะเห็นว่าใกล้เคียงกับคำว่า "good governance" มากที่สุด ในความเป็นจริงสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรกคือ การแยกคำว่า "governance" กับคำคุณศัพท์ว่า "good" ออกจากกัน ในวงการวิชาการนั้น รู้จักคำว่า governance มานานมากแล้ว ส่วนการใส่คุณศัพท์เพื่อกำกับคุณค่าบางอย่างนี้เพิ่งเริ่มเมื่อไม่นานมานี้ โดยหลักฐานเท่าที่ปรากฏในหลายๆ แห่ง ระบุตรงกันว่า คำว่า "governance" เพิ่งมีใช้อย่างเป็นทางการในปี 1989 (พ.ศ.2532) เมื่อธนาคารโลกพยายามวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวในการพัฒนาประเทศของประเทศต่างๆ ในแถบตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา อัฟริกา หลังจากนั้นคำนี้ก็เริ่มมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริง ขณะที่ธนาคารโลกเริ่มเผยแพร่

ตามหลักฐานที่ปรากฏในตำราหลายเล่มชี้ว่า คำว่า good governence เพิ่งมีการใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 1989 ในรายงานเรื่อง Sub Sahara Africa : From Crisis to Sustainable Growth ซึ่งเป็นรายงานที่ธนาคารโลกพยายามวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวของรัฐ ในอัฟริกาในการพัฒนาประเทศ. คำว่า good governance เริ่มมีบทบาทในแง่ของโลกาภิวัฒน์ก็เพราะทั้งธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ต่างเชื่อว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนจักทำไม่ได้เลย ถ้าประเทศนั้นๆ ปราศจาก good governance หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มีการผูกโยงคำว่า "การพัฒนา" ให้ควบคู่กับคำว่า good governance นั่นคือการกำหนดกลไกอำนาจของรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งแง่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนา. ในตอนแรกเริ่มนั้น ธนาคารโลกได้เน้นถึงความหมายกว้างๆ 3 ลักษณะคือ

(1) โครงสร้างและรูปแบบของระบอบทางการเมือง (Political regime)
(2) กระบวนการและขั้นตอนที่ผู้มีอำนาจในทางการเมือง ใช้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อพัฒนาประเทศ
(3) ความสามารถของผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศในการวางแผนเพื่อกำหนดนโยบายและการแปลงแผนและนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารประเทศ

สังเกตได้ว่า ธนาคารโลกสร้างลักษณะของธรรมาภิบาลระดับโลกขึ้น เพื่อให้หน่วยงาน และเครือข่ายในองค์กรผลักดันให้ประเทศต่างๆ ดำเนินตามแนวทาง "ธรรมาภิบาล" ซึ่งลักษณะองค์ประกอบที่กว้างขวางนี้ มิได้ชี้ชัดว่า ประเทศนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ระบบการเมืองการปกครองแบบใดแบบหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แม้ว่าอาจมีการแปลความหมายแบบแอบแฝงในคำว่า ระบบการเมือง นั้นน่าจะหมายถึง"ระบอบประชาธิปไตย"ก็ตาม (Democratic good governance) ในตอนแรกๆ ของการใช้คำนี้ ยังมีความไม่ลงรอยระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ แต่เนื่องจากอิทธิพลของธนาคารโลกที่มีอยู่มาก ในไม่ช้า คำว่า "ธรรมาภิบาล" จึงเป็นคำที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะหลังวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในปี 1997 ในประเทศไทยและลามไปสู่ประเทศต่างๆ อย่างรวดเร็ว

UNDP: กลไกประชารัฐ ๓ ด้านที่ดี (ความสมดุลระหว่างองค์กร)

ในแง่บริบทของไทย การสร้างกลไกประชารัฐที่ดีสามารถส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคนในสังคมให้มีความยั่งยืน ซึ่งองค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme-UNDP) ก็เป็นแกนนำในการผลักดันความคิดนี้ในระดับสากล โดยสามารถศึกษาจากเอกสารของ UNDP ในเรื่อง Governance for Sustainable Human Development ซึ่งมีการนิยามกลไกประชารัฐไว้อย่างชัดเจนว่ามี 3 ด้าน คือ

- ด้านประชาสังคม (Civil Society)
- ด้านภาคธุรกิจเอกชน (Private Sector) และ
- ด้านภาครัฐ (State)

"ประชารัฐที่ดี"หรือ"ธรรมาภิบาล" จึงเป็นกลไกฝังลึกอยู่ภายในที่เชื่อมองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านเข้าด้วยกัน กลไกประชารัฐที่ดีหรือธรรมาภิบาลจึงเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ให้ดำรงอยู่อย่างสันติสุขและมีเสถียรภาพ

"ธรรมาภิบาล" ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสืบค้นความหมายของ "ธรรมาภิบาล" จะพบว่า จริงๆ แล้ว คำว่า "ธรรมาภิบาล" ที่ใช้กันแพร่หลายตั้งแต่ปี 1989 นั้น มีนัยแอบแฝงว่าเป็น "ธรรมาภิบาล" ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย (democratic good governance) ในความหมายของชาติตะวันตก เช่น ธนาคารโลก และองค์กรโลกบาลแห่งอื่นๆ หมายถึงระบบการเมืองที่อิงกับแบบจำลองของรัฐที่เน้นประชาธิปไตยเสรีนิยม (liberal democratic polity) ซึ่งมีหน้าที่

- ปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิของประชาชน บวกกับ
- การบริหารราชการที่มีความเข้มแข็ง ปราศจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง และ
- มีระบบการบริการที่มีความรับผิด (accountable)

ในระบบการเมืองเช่นนี้มักเสนอแนะว่า ระบบเศรษฐกิจต้องมีการแข่งขันอย่างเต็มที่ และมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ซึ่งความเชื่อเช่นนี้มิใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด เพียงแต่ใช้ศัพท์ที่ต่างกัน เพราะในทศวรรษ 1960 ก็มีการอ้างอิงถึงสังคมที่ดีในตัวมันเอง (good society itself) ภายใต้แนวความคิดการพัฒนาแบบตะวันตกที่เป็นกระบวนการพัฒนาให้ทันสมัย

"ธรรมาภิบาล" ในวงการวิชาการมีความหมายสองนัย
กำเนิดของคำว่า "ธรรมาภิบาล" ในวงการวิชาการมีความหมายในสองนัย กล่าวคือ

- นัยแรก เป็นความหมายที่จำกัด ซึ่งธนาคารโลกพยายามสื่อสารโดยตีความว่า หมายถึง ในด้านการบริหารหรือการจัดการของรัฐ
- นัยที่สอง เป็นนัยที่รัฐบาลตะวันตกนำมาอ้างอิงคือ เป็นเรื่องทางการเมืองมากกว่า

ด้วยเหตุนี้จึงมักเกิดความสับสนในวงการวิชาการว่า จะหมายถึง นัยแรก หรือนัยที่สอง. แท้ที่จริงแล้ว องค์กรระหว่างประเทศนั้นมิได้ยึดถือ "ธรรมาภิบาล" อย่างเคร่งครัดตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 เพราะทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ก็มักปล่อยเงินกู้แก่ประเทศต่างๆ ที่มีลักษณะเป็น "bad governance" อย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าประเทศนั้นจะเป็นประชาธิปไตยหรืออยู่ภายใต้ระบบเผด็จการทางทหาร ธนาคารโลกก็พร้อมในการปล่อยกู้เสมอมา

ไม่ว่าจะเป็นอาร์เจนติน่า ชิลี สมัยปิโนเช่ อิหร่าน หรือเกาหลีใต้ หรือกรณีของประเทศที่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างกว้างขวาง เช่น อิรัก แซร์ ไฮติ เป็นต้น คำถามที่สำคัญมี่เกี่ยวกับ "ธรรมาภิบาล" คือ เพราะเหตุใด รัฐบาลตะวันตกจึงเริ่มคิดถึงเรื่องนี้อย่างจริงจังในปลายทศวรรษ 1980 ในแง่ของการส่งเสริมสนับสนุนธรรมาภิบาล? คำตอบต่อ คำถามนี้อย่างน้อยมี 4 คำตอบคือ

ประการแรก ประสบการณ์ของการการปล่อยกู้ยืมเงินภายใต้โครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ประการที่สอง การกลับมาอีกครั้งของทุนนิยมเสรีแบบใหม่ในตะวันตก (Neo-liberalism)
ประการที่สาม การล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ และ
ประการที่สี่ กระแสการส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศกำลังพัฒนา

1. การปล่อยเงินกู้ภายใต้โครงการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ทั้งธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ต่างมีประสบการณ์อย่างดีในการปล่อยเงินกู้ในการปรับโครงสร้างให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในช่วงทศวรรษ 1980 การปรับโครงสร้างดังกล่าวนี้มักเป็นการลดบทบาทของรัฐ เพื่อลดการอุดหนุนหรือใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลต่างๆ ในประเทศกำลังพัฒนา โดยต้องการให้มีการลดการบิดเบือนกลไกราคา เพื่อกระตุ้นให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเน้นการส่งออกเป็นยุทธศาสตร์หลัก

การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การปรับโครงสร้างสถาบัน
ในช่วงทศวรรษ 1980s นี้ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ต่างก็พยายามทำให้รัฐในประเทศกำลังพัฒนามีขนาดเล็กลง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจนั้น มักมีผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ยิ่งกว่านั้นการปรับโครงสร้างดังกล่าว ไม่อาจทำได้ถ้าปราศจากความมุ่งมั่นทางการเมืองจากฝ่ายข้าราชการและประชาชน ดังนั้น ทั้งสององค์กรโลกบาลจึงเริ่มตระหนักว่า การปฏิรูปโดยการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่อาจทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าปราศจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสถาบันธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะเป็นการปลดปล่อยการเงินเสรี หรือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

2. การกลับมาอีกครั้งของทุนนิยมเสรีแบบใหม่ในตะวันตก
ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศมีความสนใจว่า การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ทำมาโดยตลอดในช่วงทศวรรษ 1980 ไม่อาจนำไปสู่ความสำเร็จได้ เพราะรัฐในประเทศต่างๆ ยังไม่มีลักษณะของโครงสร้างอภิบาลแบบตะวันตก อิทธิพลของลัทธิเสรีนิยมแบบใหม่นั้นกลับมาเป็นที่นิยมในตะวันตก เมื่อปลายทศวรรษ1970s ซึ่งเน้นให้รัฐดำเนินตามกลไกราคาอย่างเต็มที่ โดยให้มีการลดบทบาทของรัฐลง เน้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และเน้นด้านอุปทานทางเศรษฐกิจที่ส่งเสริมบทบาทของปัจเจกชนและวิสาหกิจเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งแนวความคิดเสรีนิยมใหม่นี้ ซ่อนอยู่ในนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการปล่อยเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ควรพิจารณาควบคู่ไปด้วยก็คือ แนวความคิดเสรีนิยมแบบใหม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องทฤษฏีเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่มีนัยที่เข้มงวดของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาทของการเมืองและของรัฐ ว่าควรมีบทบาทเช่นใด

เสรีนิยมแบบใหม่ เน้นให้รัฐมีบทบาทที่น้อยลง (minimal state)
ในแง่นี้ แนวคิดแบบเสรีนิยมแบบใหม่ที่เน้นให้รัฐมีบทบาทที่น้อยลง (minimal state) นั้นยังมีหน้าที่ทางการเมืองที่เชื่อมต่อระหว่างตลาดกับรัฐผ่านกลไกประชาธิปไตย แนวความคิดนี้ในทางสุดขั้ว เน้นว่า ความล้มเหลวในการพัฒนาของประเทศด้อยพัฒนาจำนวนมาก มีมูลเหตุมาจากการแทรกแซงของรัฐมากเกินไป และขาดกลไกของประชาธิปไตยที่ส่งเสริมให้มีกิจการค้าแบบเสรีนิยมอย่างแท้จริง การมีระบอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีประชาสังคมที่มีความเป็นอิสระและมีความหลากหลาย

แนวความคิดเสรีนิยมสรุปว่า ความล้มเหลวของการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจนั้น มีผลที่เชื่อมโยงโดยตรงกับปัจจัยทางการเมืองที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระบบเผด็จการทางทหาร สิ่งที่แนวความคิดเสรีนิยมเน้นมาโดยตลอดก็คือ ประชาธิปไตยนั้นต้องดำเนินควบคู่กับเศรษฐกิจเสรี ซึ่งมีรัฐบาลที่เข้มแข็งที่มีความรับผิดต่อประชาสังคม มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงน้อย และเน้นการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมนั้นสามารถ "จัดสรรสินค้าสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

3. การล่มสลายของคอมมิวนิสต์เสริมแนวคิดธรรมาภิบาล
การล่มสลายของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ในปลายทศวรรษ 1980 เป็นปรากฏการณ์ที่ช่วยหนุนเสริมให้แนวความคิดธรรมาภิบาลมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการตอกย้ำว่า รัฐคอมมิวนิสต์ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ไม่สามารถสร้างเศรษฐกิจแบบยั่งยืนได้ โดยเฉพาะหากระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้นเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง การจัดการที่ผิดพลาด ความไร้ประสิทธิภาพ และความล้าหลังทางเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลโดยตรงจากการขาดประชาธิปไตย และการไม่มีส่วนรวมของประชาสังคม

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการเสนอว่า การมีเสรีภาพทางการเมืองเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของเสรีภาพทางเศรษฐกิจ และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาและบูรณาการแห่งยุโรปในปี 1991 (พ.ศ.2534) จึงมีหน้าที่ในการช่วยบูรณะและฟื้นฟูประเทศในยุโรปตะวันออก และประเทศในเครือสหภาพโซเวียตให้มีเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมให้มีประชาธิปไตยที่มีหลายภาคการเมือง มีลักษณะพหุนิยม และมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

4. กระแสการส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศกำลังพัฒนา
ประเด็นสุดท้ายในเรื่องการกลับมาใหม่ของธรรมาภิบาลคือ ผลกระทบของกระบวนการเคลื่อนไหวและประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1980s ทั้งในลาตินอเมริกาและในทวีปอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งในกรณี จีน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน บังคลาเทศ และเนปาล ล้วนเป็นกระแสให้ประเทศต่างๆ หันมาสนใจในเรื่อง"ธรรมาภิบาล"กันอย่างจริงจัง

ความหมายของคำว่า "ธรรมาภิบาล" ของธนาคารโลก

ในเอกสารของธนาคารโลกเมื่อปี 1989 (พ.ศ.2532) ให้ความหมายที่เจาะจงของคำนี้ประกอบด้วย

(1) การบริการของรัฐที่มีประสิทธิภาพ (an efficient public service)
(2) ระบบศาลที่เป็นอิสระ (an independent judicial system)
(3) ระบบกฎหมายที่บังคับสัญญาต่างๆ (legal framework to enforce contracts)
(4) การบริหารกองทุนสาธารณะที่มีลักษณะรับผิดต่อประชาสังคม (the accountable administration of public funds)
(5) การมีระบบตรวจสอบทางบัญชีที่เป็นอิสระ (an independent public auditor) ซึ่งรับผิดชอบต่อตัวแทนในรัฐสภา
(6) การเคารพในกฎหมายและสิทธิมนุษยชนทุกระดับของรัฐบาล (respect for the law and human right at all levels of government)
(7) โครงสร้างสถาบันที่มีลักษณะพหุนิยม (a pluralistic institutional structure)
(8) การมีสื่อสารมวลชนที่เป็นอิสระ (a free press)

ความหมายที่แอบแฝงของธรรมาภิบาล

อย่างที่กล่าวไว้ว่า "ธรรมาภิบาล" มิใช่ศัพท์ที่เกิดขึ้นในสูญญากาศ แท้ที่จริงนั้น มีการแอบแฝงแนวความคิดธรรมาภิบาลประชาธิปไตยไว้ ซึ่งมีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในความหมายของธนาคารโลก ซึ่งสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคำศัพท์นี้ก็คือ ปัจจัยสามด้านที่แวดล้อม คำว่า "ธรรมาภิบาล" นั่นคือ ความเป็นระบบ (systematic) ทางการเมือง (political) และการบริหารราชการแผ่นดิน (administrative)

ประการแรก ในแง่ความเป็นระบบ
เป็นที่ยอมรับว่า คำว่า "ธรรมาภิบาล" มีความหมายกว้างกว่าคำว่ารัฐบาล (government) ซึ่งโดยทั่วไปมักหมายถึง โครงสร้างทางสถาบันแบบที่เป็นทางการและเป็นเรื่องการตัดสินใจของฝ่ายบริหารในรัฐสมัยใหม่ทั่วไป แต่คำว่า "ธรรมาภิบาล" นั้นมีนัยที่หลวมกว่าและกว้างกว่าการใช้อำนาจทางการเมืองภายในและภายนอกของระบบการเมือง ในแง่นี้ธรรมาภิบาลจึงมีลักษณะเป็นระบบความสัมพันธ์ทางการเมืองและสังคมเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ในความหมายที่แคบที่มีการใช้กันอยู่นั้น "ธรรมาภิบาล" มีความหมายถึงระบบทุนนิยมแบบประชาธิปไตย (democratic capitalist regime) ที่มีรัฐแบบมีอำนาจน้อยที่สุด คือรัฐมีหน้าที่รักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยเท่านั้น (law and order) ซึ่งเป็นความคิดที่กว้างของธรรมาภิบาลแบบตะวันตก

ประการที่สอง ในด้านการเมือง
ซึ่งมีลักษณะจำกัดและระบุทางการเมืองอย่างชัดเจน ธรรมาภิบาลมีนัยว่า รัฐมีความชอบธรรม (legitimacy) และมีอำนาจหน้าที่ (authority) อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบประชาธิปไตยสร้างขึ้นมา เพื่อแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ทางการเมืองอย่างชัดเจน ในแง่อำนาจของนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ระบบประธานาธิบดีหรือระบบรัฐสภา ระบบสหพันธ์รัฐหรือรัฐเดี่ยว ก็ใช้ระบบเดียวกัน ในแง่ของการมีสังคมแบบพหุนิยมที่มีการเลือกตั้งอย่างเสรี มีการเลือกตัวแทนเข้าไปทำงานในฝ่ายบริหาร โดยที่ต้องมีการตรวจสอบให้มีการใช้อำนาจอย่างถูกต้อง (checks and balances) เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นความหมายธรรมาภิบาลในทางการเมืองที่ประเทศตะวันตกยึดถือตลอดมา

ประการที่สาม ในแง่การบริหารราชการแผ่นดินแบบแคบ
"ธรรมาภิบาล" หมายถึง ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ เปิดเผย มีความรับผิดและมีการตรวจสอบทางบัญชีอย่างถี่ถ้วน โดยมีระบบข้าราชการที่เข้มแข็ง เพื่อออกแบบนโยบายและปฏิบัตินโยบายที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมีระบบตุลาการที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง เพื่อแก้ไขกรณีพิพาทต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจตลาดแบบเสรี

ดังนั้น ในคำนิยามของธนาคารโลกและในสังคมตะวันตก คำว่า "ธรรมาภิบาล" จึงเป็นความคิด "ธรรมาภิบาลประชาธิปไตยภายใต้ระเบียบของโลกใหม่" (new world order) ด้วยเหตุนี้ หากเราเดินตามเส้นทางของธนาคารโลกและองค์กรโลกบาลทั้งหมด "ธรรมาภิบาล" ในความหมายนี้ เราจึงได้เลือกรูปแบบและกลไกแบบประชาธิปไตยตะวันตกพร้อมกันไปด้วย ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาอาจไม่สามารถสร้างขึ้นได้ชั่วข้ามคืน หรืออาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 100 ปี

ธรรมาภิบาลกับสังคมไทย

โดยทั่วไป ความรับรู้ของนักวิชาการไทยและข้าราชการไทยนั้นมีแตกต่างกัน มีบางส่วนที่เห็นว่าแนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลไม่ใช่เรื่องใหม่ หากแต่มีมาช้านานแล้วในสังคมไทย แต่มีบางส่วนชี้ว่าแนวความคิดเป็นของใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในชุมชนวิชาการ และขยายไปสู่วงการข้าราชการชาวไทย แนวความคิดเรื่องนี้มีปัญหาหลายด้านที่ควรนำมาวิเคราะห์ให้ละเอียด ในส่วนนี้จะกล่าวถึงความรับรู้โดยทั่วไปของวงการวิชาการไทย หลังจากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับธรรมาภิบาล 2 ฉบับ

นักวิชาการไทยกับธรรมาภิบาล : Good governance คืออะไร?

ในภาษาไทย มีความพยายามอย่างยิ่งของนักวิชาการไทยที่พยายามจะเข้าใจศัพท์คำว่า "good governance" มากกว่าคำว่า "governance" ดังนั้นในงานวิจัยจำนวนมาก จึงนิยมเรียกว่า "ธรรมาภิบาล" มากที่สุด ส่วนคำว่า "ธรรมรัฐ" นั้นมีการใช้ครั้งแรกโดยชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นอกจากนี้ยังมีการแปลคำว่า good governance เป็นอีก 7 คำ คือ

- สุประศาสนการ โดย ติณ ปรัชญพฤทธิ์,
- ธรรมราษฎร์ โดย อมรา พงศาพิชญ์,
- การกำกับดูแลที่ดี โดย วรภัทร โตธนะเกษม และพูลนิจ ปิยะอนันต์,
- ประชารัฐ โดย สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- รัฐาภิบาล โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช,
- การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ
- กลไกประชารัฐที่ดี โดย อรพินท์ สพโชคชัย

ปัญหาการให้คำนิยามที่แตกต่างกันมากนี้ น่าจะสะท้อนว่า นักวิชาการไทยยังไม่สามารถหาฉันทานุมัติในเรื่องนี้ได้ ผลก็คือ ชาวบ้านก็คงมีความสับสนอีกต่อไปว่า คำว่า "good governance" มีความหมายว่าอย่างไร. แท้ที่จริงก็แปลคำว่า "good" คือ ธรรมะแล้วสมาสกับคำว่า "อภิบาล" เป็น"ธรรมาภิบาล" ก็ไม่ได้สื่อความหมายที่ถูกต้องในวงวิชาการ โดยเฉพาะวงวิชาการตะวันตกที่ใช้คำนี้กันอย่างกว้างขวาง

ปัญหาข้อที่สองที่นักวิชาการไทยเผชิญก็คือ มีการตีความธรรมาภิบาลในความหมายที่แคบมาก โดยมักอธิบายถึงองค์ประกอบของธรรมาภิบาล ซึ่งหน่วยราชการไทยก็นิยมทำเช่นนี้เช่นกัน

องค์ประกอบที่สำคัญของธรรมาภิบาลในงานวิชาการไทย มักประกอบด้วย

- หลักนิติธรรม (The Rule of Laws)
- ความโปร่งใส (Transparency)
- การมีส่วนรวม (Participation) และ
- ความรับผิด (Accountability)

แต่ที่ประหลาดก็คือ มักมีเพิ่มองค์ประกอบอีก 2 ตัวคือ คุณธรรม (Ethics) และความคุ้มค่า (Cost Recovery) ซึ่งทำให้ความหมายที่แท้จริงของธรรมาภิบาลเริ่มสร้างความสับสนในวงการวิชาการ

ธรรมาภิบาลในทัศนะ ธีรยุทธ บุญมี
ธีรยุทธ บุญมี ดูเหมือนจะเป็นนักวิชาการไทยที่พยายามเข้าใจ "ธรรมภิบาล" ที่ปริบทแบบตะวันตกดังที่เขากล่าวว่า "ธรรมรัฐคือ กระบวนการความสัมพันธ์ (Interactive Relation) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาคประชาชน ในการที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีคุณธรรม มีความโปร่งใส มีความยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ การบริหารประเทศที่ดี ควรเป็นการบริหารแบบสองทาง ระหว่างรัฐบาลประชาธิปไตย และฝ่ายสังคม เอกชน องค์กรพัฒนาภาคเอกชน โดยเน้นการมีส่วนร่วม การจัดการตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นธรรมมากขึ้น"

อย่างไรก็ตาม ภายหลังแนวคิดของธีรยุทธมักถูกวิเคราะห์ ตีความ หรือเขียนใหม่ ซึ่งแตกต่างกันออกไปในงานแต่ละชิ้นที่ทำการศึกษาเรื่องธรรมาภิบาล ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่า มีความจำเป็นต้องสรุปแนวคิดเพียงสั้นๆ จึงทำให้ความคิดที่สำคัญบางส่วนตกไป เช่น ในงานของบุษบง และบุญมี ในปี 2544 เลือกอธิบายอย่างกระชับว่า "แนวคิดธรรมรัฐ (ของธีรยุทธ) คือ การเป็นหุ้นส่วนกันในการบริหารและการปกครองประเทศโดยรัฐประชาชน และเอกชน ซึ่งขบวนการอันนี้จะก่อให้เกิดความเป็นธรรม ความโปร่งใสความยุติธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนดี..." แม้ว่างานชิ้นนี้จะมีความสำคัญ และเป็นประโยชน์มากในการประมวลนิยาม องค์ประกอบ และแนวคิดเกี่ยวกับ "ธรรมาภิบาล" อย่างไรก็ดี ผลงานของธีรยุทธชิ้นนี้ นับว่ามีความซับซ้อนมากกว่านั้น กล่าวคือ

ในภาคผนวก 1. ธีรยุทธได้จำแนกความหมายของธรรมรัฐในความคิดของเขาออกเป็น 3 ระดับ คือ

- หนึ่ง ธรรมรัฐในระดับปัจเจกบุคคล หมายถึง ความเข้าใจว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ มีอำนาจในตนเองและกล้าใช้อำนาจนี้
เพื่อประโยชน์ของตนเองและส่วนรวม แต่เป็นไปโดยความรับผิดชอบ

- สอง ธรรมรัฐในระดับกลุ่ม บริษัทและองค์กร หมายถึงการพฤติกรรมขององค์กรทั้งภายในภายนอกที่ถูกต้องเหมาะสม
ต้องมีจริยธรรมทางวิชาชีพ และการบริหารงานที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส และ

- สาม ธรรมรัฐระดับชาติ

นอกเหนือจากนั้น ธีรยุทธ บุญมี ไม่ลืมที่จะเสนอวิธีการเพื่อนำความคิดนี้ไปสู่ความเป็นรูปธรรม โดยเขาเสนอว่า ธรรมรัฐแบบนี้ก็คือ ยุทธศาสตร์แห่งชาติ นั่นเอง ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย

- หนึ่ง ยุทธศาสตร์การเพิ่มทุนทางการเมือง
- สอง ยุทธศาสตร์เพิ่มทุนทางสังคม และ
- สาม ยุทธศาสตร์การเพิ่มทุนทางค่านิยม วัฒนธรรม

ธรรมาภิบาลในทัศนะ อานันท์ ปันยารชุน
ทัศนะของผู้นำของสังคมไทยที่สำคัญมาจากผลงานของ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ท่านได้เขียนและพูดไว้ในหลายที่ ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรมคือ บทความเรื่อง "ธรรมรัฐกับสังคม" หน้า 25-32 (ในงาน สมหมาย ปาริฉัตร (บก) มุมมองของนายอานันท์ สำนักพิมพ์มติชน ปี 2541) ซึ่งงานชิ้นดังกล่าวออกมาในช่วงไล่เลี่ยกับคำให้สัมภาษณ์เรื่อง "เต๋าของ good governance" ในหนังสือพิมพ์เนชั่นรายวัน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2541 หน้า 41-42 กระทั่งมีการตีพิมพ์ มุมมองของนายอานันท์ เล่ม 2 สำนักพิมพ์เดียวกัน ปี 2544

ในผลงานเหล่านี้ อานันท์แสดงความเห็นว่า รัฐต้องจำกัดอำนาจลง มีความโปร่งใส (สะอาด หรือ clear) มีการเปิดเผยข้อมูลและการกระทำมากขึ้น (open) ยิ่งไปกว่านั้น แนวคิดการรับรู้ "ธรรมรัฐ" ของเขาคือ รัฐต้องเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความยุติธรรม เพิ่มการบริการสังคม ในแง่นี้อานันท์หมายถึงการมี "ธรรมรัฐ" โดยบรรษัทเอกชน (corporate sector) มากกว่าส่วนอื่นๆ กล่าวอีกทางหนึ่ง สำหรับอานันท์แล้ว ไม่ว่ารูปแบบการปกครองจะเป็นอย่างไรก็ตาม ขอเพียงมีองค์ประกอบเหล่านี้ สังคม หรือองค์กรนั้น ก็มี "ธรรมรัฐ" เช่น การยกตัวอย่างสิงคโปร์ โดยอานันท์ อ้างว่าสิงคโปร์ปกครองแบบอำนาจนิยม แต่มี "ธรรมรัฐ" ดังนั้น "ธรรมรัฐ" รูปแบบนี้จึงเกี่ยวกับเรื่องเทคนิคการจัดการมากกว่าการเมือง

ธรรมาภิบาลในทัศนะ ประเวศ วะสี
นักคิดอีกคนที่สำคัญต่อการรับรู้เรื่องธรรมาภิบาลคือ นายแพทย์ประเวศ วะสี ซึ่งเริ่มปรากฏเพื่อรำลึกถึง ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 6 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป นายแพทย์ประเวศจะทำการกล่าวถึงลักษณะ ปัญหา หรือทางออกของสังคมไทย โดยภาพรวมมากกว่าจะนำเสนอแต่เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การติดตามความคิดของ นายแพทย์ประเวศวะสี ต่อประเด็นธรรมาภิบาลจึงค่อนข้างซับซ้อน เช่นในเรื่อง "ธรรมรัฐ: จุดเปลี่ยนประเทศไทย?" ปี 2541, และในเรื่อง "ธรรมรัฐกับคอรัปชั่น" ปี 2546, บทความของท่านถูกตั้งชื่ออย่างกว้างๆ ว่า "ระเบียบวาระแห่งชาติ ปฏิรูปสังคมไทย"

นายแพทย์ประเวศ แสดงทัศนะค่อนข้างต่างจากอานันท์ เพราะว่า "ธรรมรัฐ" แบบของท่านไม่อาจแยกออกจากการปกครองประชาธิปไตย ยิ่งไปกว่านั้น นักคิดท่านนี้เสนอให้มีการสร้างเครือข่ายสังคม และพลังสังคม เพื่อสถาปนาสังคมที่มี "สันติประชาธรรม". อย่างไรก็ตาม ความคิดของนายแพทย์ประเวศ ในภายหลังมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นอีก และจำเป็นต้องทำความเข้าใจควบคู่กับข้อเสนอให้ใช้แนวคิดแบบพุทธศาสนา ให้เข้ามามีบทบาทต่อ"ธรรมรัฐ" และสังคม และข้อเสนอให้สร้างสังคมอุดมคติแบบอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอาจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้มีอิทธิพลและบารมีอย่างสูง ในสังคมไทยหรือที่รู้จักกันว่า "สันติประชาธรรม"

"ธรรมรัฐ" ของนายแพทย์ประเวศ จึงมีลักษณะ "รัฐหรือประเทศหรือสังคมที่มีความถูกต้องทุกๆ จุด กล่าวคือ นายแพทย์ประเวศเห็นว่า ภายหลังการปฏิรูปสังคมเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ถูกต้อง เป็นธรรม ในทุกสัดส่วนของสังคม หรือเกิดความเป็นธรรมรัฐ ท่านระบุว่ากระบวนการธรรมาภิบาลคือ "การสร้างเศรษฐกิจมหภาคที่ถูกต้อง มีระบบรัฐที่ถูกต้อง มีการปฏิรูปการศึกษาให้สามารถสร้างความเข้มแข็งทางสติปัญญาให้คนทั้งมวล ปฏิรูปสื่อเพื่อสังคม ตลอดจนปฏิรูปกฎหมายให้เหมาะสม สอดคล้องกับการที่จะสร้างสังคมเข้มแข็งถูกต้องเป็นธรรมทั้งหมด รวมกันคือธรรมรัฐ หรือ good governance อันจะทำให้สังคมไทยมีความเข้มแข็งทุกด้านทั้งทางคุณค่าและจิตสำนึก ทางปัญญา ทางสังคม ทางการเมือง ทางวัฒนธรรม ทางจริยธรรม ทางเศรษฐกิจ มีสมรรถนะ มีความโปร่งใส สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสุข และมีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความจำเริญรุ่งเรืองต่อไปด้วยฐานอันมั่นคง"

ลักษณะของนักคิดไทยที่ยกมาประกอบในบทความนี้ ชี้ให้เห็นว่า ความเข้าใจในเรื่องธรรมาภิบาลยังไม่อาจหาข้อยุติได้ เพราะระหว่างนายอานันท์ ปันยารชุน กับนายแพทย์ประเวศ วะสี ก็ยังมีความแตกต่างในสาระสำคัญ นั่นคือ จำเป็นหรือไม่ที่โครงสร้างของธรรมาภิบาลเกิดขึ้นได้ในสังคมที่ไม่ใช้ระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตก

ธรรมาภิบาลในทัศนะ อรพินท์ สพโชคชัย
ในแง่นักวิชาการที่ศึกษาธรรมาภิบาลตั้งแต่เริ่มต้น อรพินท์ สพโชคชัย (2541) ได้ สังเคราะห์ถึงองค์ประกอบของธรรมาภิบาลไว้อย่างกระชับ ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้านดังนี้คือ

1. การมีส่วนร่วมของสาธารณชน (public participation)
การมีส่วนร่วมของสาธารณชน คือกลไกกระบวนการที่ประชาชน (ชายและหญิง) มีโอกาสและมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่างเท่าเทียมกัน (equity) ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้าร่วมในทางตรงหรือทางอ้อม โดยผ่านกลุ่มผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยชอบธรรม. การเปิดโอกาสให้สาธารณชนมีส่วนร่วมอย่างเสรีนี้ รวมถึงการให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน และให้เสรีภาพแก่สาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ คุณลักษณะสำคัญประการหนึ่งที่สาธารณชนมีส่วนร่วมคือการมีรูปแบบการปกครอง และบริหารที่กระจายอำนาจ (decentralization)

2. ความสุจริตและโปร่งใส (honesty and transparency)
ความสุจริตและโปร่งใส คือกลไกที่มีความสุจริต และโปร่งใสซึ่งรวมถึงการมีระบบกติกาและการดำเนินงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา ประชาชน สามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกำกับดูแลและประชาชนสามารถตรวจสอบและติดตามผลได้

3. พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (accountability)
พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม คือกลไกที่มีความรับผิดชอบในบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นการดำเนินงานเพื่อสนองตอบความต้องการของกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม ในความหมายนี้รวมถึงการที่มี bureaucracy accountability, political accountability ซึ่งจะมีความหมายที่มากกว่าการมีความรับผิดชอบเฉพาะต่อผู้บังคับบัญชา หรือกลุ่มผู้เป็นฐานเสียงที่ให้การสนับสนุนทางการเมือง แต่ครอบคลุมถึงพันธะความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น องค์กรหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพร้อมและสามารถที่จะถูกตรวจสอบและวัดผลการดำเนินงานทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ ประสิทธิภาพ และการใช้ทรัพยากรสาธารณะ ดังนั้น คุณลักษณะของความโปร่งใสของระบบในลำดับที่สองจึงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้าง accountability

4. กลไกการเมืองที่ชอบธรรม (political legitimacy)
กลไกการเมืองที่ชอบธรรม คือกลไกที่มีองค์ประกอบของผู้ที่เป็นรัฐบาลหรือผู้ที่เข้าร่วมบริหารประเทศซึ่งมีความชอบธรรม เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม โดยรวม ไม่ว่าจะโดยการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง แต่จะต้องเป็นรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนว่ามีความสุจริต มีความเที่ยงธรรม และมีความสามารถที่จะบริหารประเทศได้

5. กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (fair legal framework and predictability)
กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน คือมีกรอบของกฎหมายที่ยุติธรรมและเป็นธรรมสำหรับกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์มีการบังคับใช้และสามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนซึ่งคนในสังคมทุกส่วนเข้าใจ สามารถคาดหวังและรู้ว่าจะเกิดผลอย่างไรหรือไม่เมื่อดำเนินการตามกฎเกณฑ์ของสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นการประกันความมั่นคง ศรัทธา และความเชื่อมั่นของประชาชน

6. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (efficiency and effectiveness)
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทำงาน การจัดองค์กร การจัดสรรบุคลากร และมีการใช้ทรัพยากรสาธารณะต่างๆ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีการดำเนินการและการให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์ เป็นที่น่าพอใจและกระตุ้นการพัฒนาของสังคมทุกด้าน (การเมือง สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ)

เสียตำรวจน้ำดี แก๊งยายิงดับขณะล่อซื้อล็อตใหญ่

รองสารวัตรสืบ สน.หัวหมาก นำกำลังล่อซื้อยาไอซ์ในย่านรามคำแหง คนร้ายไหวตัวชัก 11 มม.กระหน่ำยิงเข้ากกหูดับก่อนขึ้นแท็กซี่หนีไปได้ ประวัติทำงานจริงจังคลี่คลายคดีดังหลายคดี ภรรยาเผยทั้งน้ำตาเพิ่งแต่งงานเพียงปีเศษยังไม่มีลูก บก.น.4 ส่งชุดติดตามเร่งล่าตัว

วันนี้ (15 พ.ย.) เมื่อเวลา 04.00 น. ร.ต.ท.ทรงวุฒิ เทพมณี พนักงานสอบสวน สน.บางชัน รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ รพ.เกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 ถนนรามคำแหง แขวงและเขตสะพานสูง กทม.ว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.หัวหมาก ถูกคนร้ายแก๊งค้ายาเสพติดยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตภายหลังนำส่งโรงพยาบาล จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้นและประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.หัวหมาก และบก.น.4 แล้วรุดไปสอบสวน

พ.ต.อ.วัฒนา ยี่จีน ผกก.สน.หัวหมาก เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.หัวหมาก นำโดย ร.ต.อ.อาทิตย์ บุบผา รองสว.สส.สน.หัวหมาก และเป็นหัวหน้าชุดเข้าไปล่อซื้อยาเสพติดประเภท 1 (ยาไอซ์) หลังได้รับแจ้งจากสายว่าจะมีการส่งมอบของจำนวนมากเวลา 23.30 น.ภายในซอยรามคำแหง 127 จึงกำลังเข้าไปซุ่มอยู่บริเวณจุดดังกล่าว กระทั่งถึงเวลานัดหมาย คนร้ายเป็นชาย 2 คนนั่งรถแท็กซี่สีเขียว-เหลือง ไม่ทราบยี่ห้อและรุ่น ทะเบียนไม่ทราบหมวดอักษร 9454 กทม.ขับเข้ามายังจุดนัดหมายก่อนจะส่งมอบยาให้สายไม่ต่ำกว่า 1 กก.ร.ต.อ.อาทิตย์จึงแสดงตัวเพื่อเข้าจับกุม

ขณะที่กำลังเข้าชาร์จตัวคนร้ายนั้น คนร้ายก็ไหวตัวทันชักอาวุธปืนขนาด 11 มม.ออกมายิงสวนเข้าใส่กลุ่มตำรวจจำนวนหลายนัด และถูก ร.ต.อ.อาทิตย์ เข้าที่บริเวณกกหูด้านขวากระสุนฝังใน จากนั้นคนร้ายก็ขึ้นรถแท็กซี่ที่นั่งมาส่งของหลบหนีมุ่งหน้าไปทางมีนบุรีอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงประสานฝ่ายสืบสวน สน.หัวหมาก และบก.น.4 รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ใกล้เคียงช่วยสกัดจับ

“หลังจาก ร.ต.อ.อาทิตย์ถูกยิง ลูกน้องก็ช่วยกันนำโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลใกล้เคียงที่สุด แต่สุดท้ายเราก็ต้องสูญเสียตำรวจฝีมือดีจากการปฏิบัติหน้าที่ล่อซื้อยาไอซ์ครั้งนี้ ที่ผ่านมา ร.ต.อ.อาทิตย์อยู่ในชุดคลี่คลายคดีฆ่าข่มขืนพนักงานโรงแรมที่ป้ายรถเมล์ ตรงข้ามวัดศรีบุญเรือง และคลี่คลายทหารเกณฑ์ควงอาวุธสงครามหวังจะไปปล้นทรัพย์ โดย ร.ต.อ.อาทิตย์ ซึ่งย้ายจากงานด้านสอบสวนมาอยู่งานสืบสวนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 ล้วนแล้วแต่คลี่คลายคดีใหญ่ๆ ทั้งนั้น จากนี้ไปจะได้เสนอปูนบำเหน็จตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” พ.ต.อ.วัฒนากล่าว

ด้าน นางประภาพรรณ เดชะเทศบุปผา อายุ 27 ปี ภรรยา ร.ต.อ.อาทิตย์ ซึ่งอยู่ในอาการเศร้าโศกกล่าวทั้งน้ำตาว่า ตนกับผู้ตายเพิ่งจะแต่งงานได้เพียงปีเศษ ปกติสามีเป็นคนจริงจังกับงาน ค่อนข้างบ้าระห่ำ อาจหาญ แต่ไม่ค่อยจะบอกว่าไปทำงานอะไรมาบ้าง สามีเข้าเวรตั้งแต่บ่ายวานนี้ (14 พ.ย.) แต่วันเดียวกันนั้น ก็ได้ไปซื้อรถยนต์ฮอนด้าแจ๊ซที่ศูนย์ฮอนด้าคริสตัลปาร์คและตนก็ขับมาส่งที่ สน.หัวหมาก กระทั่งเวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง ตนโทร.ไปหาสามีซึ่งก็บอกว่าวันนี้มีงานใหญ่ สายรายงานมาแล้ว แต่ตนก็ไม่ได้ซักถามอะไรเพราะเข้าใจว่าทำงานอยู่ แต่ทราบเพียงว่างานจะเริ่มประมาณ 5 ทุ่มเศษ กระทั่งเวลาประมาณเที่ยงคืนเศษ ลูกน้องของสามีโทร.มาบอกว่าสามีได้รับบาดเจ็บขาหักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 ให้รีบมาดู ตนพร้อมญาติจึงรีบเดินทางที่โรงพยาบาล เมื่อมาถึงก็ทราบว่าสามีเสียชีวิตแล้ว เพราะถูกยิงเข้ากกหูขวากระสุนฝังในจากการปฏิบัติหน้าที่ล่อซื้อยาเสพติดเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ขณะนี้ฉันยังรู้สึกทำใจไม่ได้ เสียใจมากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเพิ่งแต่งงานได้เพียงปีเศษ ยังไม่มีลูกด้วยกัน เขาเป็นเสาหลักของครอบครัวแต่ก็ต้องมาจากไป ไม่รู้ว่าอนาคตฉันจะมีชีวิตอยู่อย่างไร จะโดดเดี่ยวซักแค่ไหน” นางประภาพรรณกล่าวทั้งน้ำตา

ด้าน ร.ต.อ.สุรพล อยู่ชยันตี รองสว.สส.บก.น.4 กล่าวว่า ได้รับการประสานว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.หัวหมาก ถูกคนร้ายแก๊งค้ายาเสพติดยิงเสียชีวิต จึงรีบนำกำลังเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุภายในซอยรามคำแหง 127 และส่งชุดติดตามคนร้ายใช้แท็กซี่เป็นยานพาหนะในการหลบหนี ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามจับกุม ถือว่าเป็นการสูญเสียตำรวจฝีมือดีของ สน.หัวหมาก จากข้อมูลทราบว่าเป็นการล่อซื้อยาไอซ์ล็อตใหญ่ และสามารถยึดของกลางเป็นยาไอซ์อย่างน้อย 1 กก.ไปทำการตรวจสอบ

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"พัลลภ"ชี้ไทยไม่พร้อมรบเขมรยังขาดแคลนเงินหากเปิดศึกถูกโดดเดี่ยวแน่ จวกรบ.มุ่ง "สร้างหนี้-บี้แม้ว"


มี่มา:มติชน

"พัลลภ" ชี้ไทยไม่พร้อมรบเขมรต้องใช้เงินหลายแสนล้านแต่ยังกู้ต่างประเทศมาพัฒนาอีก 8 แสนล้าน หากทำสงครามถูกโดดเดี่ยวแน่ ไร้ชาติอื่นหนุน ลั่น "ทักษิณ-จิ๋ว" ทำเพื่อชาติ จวกรบ.มุ่ง "สร้างหนี้-บี้แม้ว"

"พัลลภ"ชี้ไทยไม่พร้อมรบเขมร ถูกโดดเดี่ยวแน่ ไร้ชาติอื่นหนุน

พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี สมาชิกพรรคเพื่อไทยและอดีตรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กล่าวผ่านรายการ "ลับ ลวง พราง" ทางคลื่นเอฟเอ็ม 100.5 MHz ถึงท่าทีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และสถานการณ์ของพรรคเพื่อไทยว่า สถานการณ์ยังก้ำกึ่งอยู่ ต้องดูนานๆ เพราะสงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร ตอนนี้เป็นแค่ออเดิร์ฟ ส่วนกรณีที่หลายคนที่ออกมาพูดว่า ควรทำสงครามกับกัมพูชา เพราะเราชนะแน่นอนนั้น ในความเห็นของตนไม่อยากพูดว่า จะแพ้หรือชนะ แต่อยากพูดว่า เราไม่พร้อมทำสงคราม เพราะการทำสงครามแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินหลายแสนล้านบาท แต่เราต้องไปกู้เงินมาพัฒนาประเทศ 8 แสนล้านบาท ลองคิดว่าเราจะกู้เงินเขามาทำสงครามอีกหรือ

"ผมประเมินว่าไม่ถึงสงคราม แต่เราไม่พร้อมจริงๆ เพราะการทำสงครามไม่รู้จะใช้อีกกี่แสนล้าน ส่วนปัญหาภาคใต้ 7 ปีมาแล้ว เราใช้เงินหลายแสนล้าน ใช้ทั้งกำลังพล อาสาสมัคร มีคนบาดเจ็บล้มตายเป็นหมื่นคน วันนี้ยังหาข้อยุติไม่ได้ โจรภาคใต้เรายังเอาชนะไม่ได้ ยังคิดจะไปทำสงครามกับเพื่อนบ้านอีกหรือ สมมติว่า เราทำสงครามกับกัมพูชา เราทำสงครามแบบโดดเดี่ยว ประเทศเดียว เราไม่มีมิตรประเทศช่วยเลย ตรงข้ามกับกัมพูชาที่จะมีลาว เวียดนามและจีนสนับสนุน การทำสงครามเราต้องกู้เงิน ทำให้ประเทศชาติตกทุกข์แสนสาหัส อาจถึงล้มละลาย" พล.อ.พัลลภ กล่าว

เมื่อถามว่า เหตุใดพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย และพ.ต.ท.ทักษิณ จึงเดินทางไปกัมพูชา จนทำให้เกิดการยั่วยุ พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า พล.อ.ชวลิตผูกพันกับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชามาก คงจำได้ ช่วงที่เวียดนามใต้แตก สงครามเข้ามาในกัมพูชา พร้อมจะลามมาในไทย เรายกกำลังไปชายแดนเพื่อตั้งรับ กัมพูชาแบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย ช่วงนั้นตนมีโอกาสได้ไปควบคุม เรามองแล้วว่า หากเกิดสงครามและลามมาในไทย จะทำให้เราสูญเสียมหาศาล พล.อ.ชวลิตจึงเสี่ยงเข้าไปอยู่กับกัมพูชาคือฝั่งฮุนเซนไปเจรจาจนเขมร 4 ฝ่าย ยอมตกลงมาร่วมกันตั้งรัฐบาล

"ดังนั้นการที่พล.อ.ชวลิตและพ.ต.ท.ทักษิณเข้าไป เพราะเห็นประโยชน์ของชาติ ไม่อยากให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศ เพราะไทยมีปัญหากับประเทศรอบบ้าน พวกท่านเข้าไปในลักษณะที่ไปสร้าง เพราะมีลักษณะพิเศษเป็นคนสมานฉันท์ ตอนเราทำสงครามกับคอมมิวนิสต์ ท่านออกนโยบาย 66/23 ยุติสงครามคนไทยฆ่าคนไทย ดังนั้น ท่านไปคราวนี้ เห็นชัดว่า ท่านไปขอร้องให้ทหารกัมพูชา ถอนกำลังออกจากเขาพระวิหาร ซึ่งวันนี้เขาทำแล้ว โดยถอนกำลังหลักออกไป แต่ก็มีกำลังบางส่วนที่เขายังอยู่" พล.อ.พัลลภ กล่าว

ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณไปเป็นที่ปรึกษาให้กับสมเด็จฮุน เซนนั้น พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า พ.ต.ท.เป็นคนมีความสามารถด้านธุรกิจ หลายประเทศในอาหรับได้เชิญท่านเป็นที่ปรึกษา หากท่านให้คำปรึกษาแล้วทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาเดินไปได้ดีมาก ผลลัพธ์จะตกมาอยู่ประเทศไทย เพราะปีที่แล้ว เราขายสินค้าให้กัมพูชา 6 หมื่นล้านบาท แต่กัมพูชาขายของให้เราแค่ 3 พันล้านบาท และปีหน้าเราอาจขายของให้กัมพูชาถึงแสนล้านบาท นี่คือผลทางอ้อม

เมื่อถามว่า หลายคนมองว่า พ.ต.ท.ทักษิณทำให้ความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชา ขัดแย้งมากขึ้น พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า ความคิดคนหลากหลาย ถามว่า รัฐบาลอยู่มา 9 เดือนทำอะไรบ้าง ทำอยู่ 2 อย่างคือ สร้างหนี้กับบี้ทักษิณ พ.ต.ท.ทักษิณไปอยู่ไหน ประเทศนั้นต้องเป็นศัตรูกับประเทศไทย


"พัลลภ"ลั่น"ทักษิณ-จิ๋ว"ทำเพื่อชาติ จวกรบ.มุ่ง"สร้างหนี้-บี้แม้ว"

พล.อ.พัลลภ กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เสียคะแนนนิยมไปมากว่า คงเป็นการให้สัมภาษณ์ แต่ท่านยอมรับว่าภาษาอังกฤษไม่เก่ง กลอนพาไป ส่วนจะถูกหรือไม่ถูก ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ขณะนี้คงไม่มีแผนอะไร โดยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย และตนคงเดินเกมการเมืองของเราคือ สร้างความเข้าใจว่า พรรคเพื่อไทยมีอุดมการณ์อย่างไรในการทำให้ประเทศมีความมั่นคง ประชาชนอยู่อย่างสันติสุข

เมื่อถามถึงข่าวว่า พล.อ.ชวลิตจะไปขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ในวันที่ 15 พ.ย.นี้ พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า ตนเพิ่งคุยกับท่าน ซึ่งท่านไม่ได้พูดเรื่องนี้ แค่บอกว่า จะไปเยี่ยมพม่า มาเลเซียและจีน ตนคิดว่าท่านไม่ขึ้นแน่นอน และหากจะขึ้น ก็คิดว่าไม่เหมาะสม

เมื่อถามว่า พล.อ.ชวลิตโทรหานายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ ขอขึ้นเวที เพื่อความสมานฉันท์ พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า เป็นไปได้ เพราะท่านพยายามประนีประนอมให้คนไทยทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนเคยเชิญพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ มาพบครั้งหนึ่ง บอกว่า อย่าแตกแยกกัน

เมื่อถามว่า หากพล.อ.ชวลิตขึ้นเวที อาจโดนโห่หรือขว้างปาสิ่งของ พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า ท่านเป็นคนเสียสละเพื่อประเทศชาติมาตลอด ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ เรื่องแค่นี้คงไม่ทำให้กระเทือน ตนเห็นด้วยหากขึ้นเวทีแล้วทำให้สมานฉันท์ได้ ซึ่งพล.อ.ชวลิตมีความมุ่งมั่น

ส่วนกรณีที่เพื่อไทยเปิดเผยว่า มีแผนลอบทำร้ายพ.ต.ท.ทักษิณ พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า "ไม่ทราบ แต่ฟังจากกัมพูชาที่จับคนไทยที่เป็นสายลับ เอาไฟท์บินของพ.ต.ท.ทักษิณมาให้สถานทูตไทย ซึ่งกัมพูชามองว่าเป็นการจารกรรมความลับ เพราะเขาต้องสร้างความปลอดภัยให้พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะเส้นทางจากกัมพูชาไปดูไบมี 2 เส้นทางบิน คือผ่านน่านฟ้าไทยกับลงไปทางอ่าวไทย ผ่านมาเลเซีย กัมพูชาต้องสร้างความปลอดภัยที่สุดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะหากผ่านน่านฟ้าไทย และเราส่งเครื่องบินรบให้ไปบังคับให้ลงมา ดังนั้นเขาจึงถือว่า เป็นความลับสุดยอด"

ส่วนกรณีที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีค่าหัว 150 ล้านและกลุ่มลอบทำร้ายเป็นกลุ่มเดิม ที่เคยพยายามสังหาร โดยมี "ส." เป็นผู้บงการ พล.อ.พัลลภ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่เป็นเรื่องที่พ.ต.ท.ทักษิณต้องระวังตัว เพราะเขาทำอยู่ 2 อย่าง คือสร้างหนี้กับบี้ทักษิณ

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ร้องก่อนรบ แดงทั้งภูเขา!


ที่มา:บางกอกทูเดย์
4 จุดตายที่คนเสื้อแดงต้องระวังวันนี้กลุ่มคนเสื้อแดงประกาศรวมพลคนนับแสนที่เขาใหญ่ แน่นอนว่าขั้วตรงข้ามต่างๆ ไม่เพียงจับจ้องมอง แต่ต้องมีการหาทางดิสเครดิตให้ได้ด้วย... ถ้างานนี้รับมือพลาด... อันตรายแน่ การทำให้เกิดปรากฏการณ์แดงทั้งขุนเขา เพราะเสื้อแดงมาเยอะร่วมแสนคน มุมหนึ่งไม่เพียงเป็นลางบอกเหตุว่า คนไม่ชอบรัฐบาลนี้มากขึ้น แต่อย่าลืมอีกมุมหนึ่งว่านี่จะเป็นการเตือนขั้วตรงข้ามทั้งหลายว่าจะต้องเร่งมือจัดการกับกลุ่มคนเสื้อแดงให้หนักขึ้นไปอีกฉะนั้นนี่คือ อันตรายอีกจุดหนึ่งที่ไม่อาจจะมองข้าม ซึ่งจะตามมาหลังจากการชุมนุมครั้งนี้อย่างแน่นอน

การนัดชุมนุมพลคนเสื้อแดง ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมไทยอีกต่อไปตราบใดก็ตามที่ความรู้สึกของคนในประเทศนี้ ยังเห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข ยังคงถูกกลุ่มอำมาตยาธิปไตยบิดเบือน จนทำให้เสรีภาพที่แท้จริงทางการเมืองยังไม่มี ตราบใดก็ตามที่ความรู้สึกว่าการบริหารประเทศยังคงมี 2 มาตรฐานตราบใดก็ตามที่ความรู้สึกว่า รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศยังคงแฝงวาระซ่อนเร้นและตราบใดก็ตามที่ความรู้สึกว่าท็อปบูท ปากกระบอกปืน และรถถังยังคงกดหัวคนไทยที่เพรียกหาประชาธิปไตยเมื่อความรู้สึกและสิ่งที่เรียกร้องยังไม่เกิดขึ้นในแผ่นดิน การ

ต่อสู้จะจบสิ้นได้อย่างไรนี่คือ ปัญหาทางการเมืองของไทย ที่ทำให้ยังมีการต่อสู้ มีการเรียกร้อง มีการแสดงพลังจากกลุ่มต่างๆ จนดูเหมือนว่าสังคมไทยไม่ปกติและยากที่จะหาข้อยุติทั้งที่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์เสื้อแดง ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากปรากฏการณ์เรียกร้องทางการเมืองที่เกิดขึ้นมายาวนาน โดยเฉพาะหลังจากการเปลี่ยนแปลงปี 2475 เป็นต้นมาเพียงแต่สถานการณ์ของคนเสื้อแดงนั้น ต้องถือว่ายากลำบากเป็นอย่างมากในการต่อสู้ทางการเมือง เนื่องจากไม่เพียงเกิด

ขึ้นมาภายใต้การแตกแยกทางความคิด ทำให้เหมือนกับมีคู่ปรับทางการเมืองที่เป็นขั้วตรงข้ามแม้ว่าในความเป็นจริงหากตั้งสติให้ดี ประชาชนที่แท้จริง ที่เรียกหาประชาธิปไตยโดยบริสุทธิ์ใจนั้น ไม่ว่าจะสวมเสื้อสีแดง หรือสวมเสื้อสีเหลือง จริงๆ แล้วล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศชาติไม่แตกต่างกันมีความจงรักภักดีเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้แตกต่างกันเลยแต่เมื่อคนเสื้อแดงมาเกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงยิ่งกลายเป็นเพิ่มคู่ปรับมากขึ้น

ไปอีก เพราะทั้งอำมาตยาธิปไตย ทั้งทหาร ถูกโยงใยเข้ามาเป็นขั้วตรงข้าม ที่ต้องหยุดคนเสื้อแดงให้ได้ฉะนั้นแม้กลุ่มคนเสื้อแดงจะเป็นการรวมตัวของคนส่วนใหญ่ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคนรากหญ้าทั้งหลาย แต่เมื่อเจอสารพัดกลุ่มรุมขย้ำแบบนี้ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายในการต่อสู้เลยจริงๆแถมสารพัดคู่ปรับนั้น ล้วนเป็นนักสร้างภาพสร้างข้อกล่าวหาที่ฉกาจฉกรรจ์ได้ทั้งสิ้น กรณีพรรคการเมืองเก่าแก่ที่เล่นเกมตะโกนในโรงหนังบ้าง... เล่นใช้ความสามารถในการพูด

ที่เหนือชั้นสร้างความน่าเชื่อให้กับเอกสารหรือกระดาษแผ่นเดียวได้เป็นวรรคเป็นเวรนั้น ยังต้องถือว่านั่นแค่ประถมเพราะวันนี้ทุกเรื่องทุกประเด็น คนเสื้อแดงโดนโยงเข้าในวังวนของข้อกล่าวหาได้หมดยิ่งคู่ปรับแกนนำระดับเจ้าลัทธิด้วยแล้ว ยิ่งบอกได้เลยว่า เสื้อแดงไม่เพียงตั้งรับแทบไม่ทัน แต่ยังแพ้เกมในเรื่องการใช้ถ้อยคำหยาบคายรุนแรงที่กระตุ้นหรือยั่วยุอารมณ์ดิบของคน โดยเฉพาะบรรดาสาวกได้อย่างฉกาจฉกรรจ์ที่สุดดังนั้นการเดินเกมต่อสู้ของคนเสื้อแดงใน

วันนี้บอกได้เลยว่า เหนื่อยสาหัสอย่างยิ่งยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีนี้ ทำท่าว่าจะร้อนองศาเดือด เพราะกระแส“ล้มคว่ำ”ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีออกมาเป็นระยะๆ อย่างรุนแรงชนิดไม่สามารถที่จะมองข้ามได้และยิ่งหากดูอาการของพรรคร่วมรัฐบาล ที่วันนี้แทบจะหมดความเกรงใจพรรคแกนนำอย่างพรรคประชาธิปัตย์ และนายอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรี แต่พรรคต่างๆ ก็แสดงความเบื่อหน่ายและหมดความอดทนจนทำให้สภา

ต้องออกอาการล่มซ้ำซากรวมทั้งยิ่งหากดูการเร่งเตรียมการเพื่อรับมือการเลือกตั้งที่จะมาถึง แม้แต่พรรคการเมืองใหม่และกลุ่มพันธมิตรฯยังเตรียมจัดงานระดมทุนเพื่อให้ได้เงินเป็นร้อยล้านบาทเอามาใช้เป็นทุนทางการเมือง และการเลือกตั้งที่จะมาถึง ยิ่งสะท้อนชัดว่าสถานการณ์การเมืองในตอนนี้สามารถพลิกผันได้ทุกขณะจิตสถานการณ์เวลาก็กดดัน คู่ปรับทางการเมืองก็สาดโคลนใส่ด้วยสารพัดข้อกล่าวหา เหล่านี้เป็นโจทย์ที่บรรดาแกนนำคนเสื้อแดงจะต้องคิดให้หนัก

และตีโจทย์ให้แตกว่า จะลบล้างข้อกล่าวหาในประเด็นต่างๆ ได้อย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกล่าวหาที่ว่า..... “ทั้งหมดทำเพื่อคนๆ เดียว” แม้ในความเป็นจริงคนเสื้อแดงจะรู้ดีว่า ทั้งหมดทำเพื่อประเทศชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เนื่องจากว่าประสิทธิภาพของการกล่าวหาของกลุ่มที่ต้องการทำลายนั้นมีสูง จึงทำให้คนที่เป็นกลาง คนที่เป็นพลังเงียบของประเทศนี้จึงลังเล และไม่กล้าที่จะแสดงจุดยืนอย่างเปิดเผยดังนั้นการบ้านใหญ่ข้อแรกของคนเสื้อแดง จึงไม่

ใช่เรื่องของการรวมตัวเพื่อแสดงพลัง แต่เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงและประกาศเจตนารมณ์ที่แท้จริงให้คนทั้งแผ่นดินรู้และยอมรับให้ได้ว่า ทำเพื่อประเทศชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริงหากทำได้สำเร็จ ลบล้างข้อกล่าวหาได้สำเร็จก็มีโอกาสชนะใส... แต่หากทำไม่สำเร็จโอกาสพ่ายแพ้ก็มีสูงนี่คือ ความเป็นจริงข้อแรกที่แกนนำและคนเสื้อแดงจะต้องยอมรับ และหาทางกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการรับมือให้ได้ก่อนที่จะสายประเด็นต่อมาเป็นโชคร้ายของกลุ่มคน

เสื้อแดง ที่ไม่ได้มีศัตรูเพียงกลุ่มเดียว แต่กลับมีศัตรูหลายกลุ่ม จึงทำให้การต่อสู้ยืดเยื้อ ซึ่งบุคลิกของสังคมไทยเป็นประเภทเบื่อง่ายหน่ายเร็ว และขี้หงุดหงิดขี้รำคาญเมื่อสถานการณ์การต่อสู้ยืดเยื้อ ทำให้มีคนบางส่วนเริ่มบ่นและเริ่มตั้งคำถามว่า เมื่อไหร่จะจบเสียที เมื่อไหร่จะยุติและกลับมาสงบร่มเย็นเหมือนในอดีตเสียที ประเด็นนี้ก็เป็นประเด็นลบต่อภารกิจการต่อสู้เพื่อทวงประชาธิปไตยที่แท้จริงของคนเสื้อแดงยังดีที่คนเสื้อแดงใช้การรวมตัวที่กระชับ ชัดเจน และรักษา

สัญญา บอกว่าจะรวมพลังวันเดียวก็คือ วันเดียว บอกว่าจะยุติแค่เที่ยงคืน ยืดเยื้ออย่างมากก็แค่ครึ่งค่อนชั่วโมงเท่านั้นนี่คือ เสน่ห์ของการรวมตัวแสดงพลังของคนเสื้อแดงแต่ในยุทธศาสตร์การต่อสู้ทางการเมือง การรวมพลังลักษณะนี้จะเพียงพอต่อการสู้กับกลุ่มที่ต้องการทำลายได้หรือไม่ นี่คือ ปัญหาใหญ่ข้อที่ 2 ของคนเสื้อแดงที่จะต้องตีโจทย์ให้แตกด้วยเช่นกันปัญหาใหญ่ประการที่ 3 ของการรวมพลังของคนเสื้อแดง ก็คือ เนื่องจากเป็นการรวมพลังของคนจำนวนมาก

เรือนหมื่นเรือนแสนที่มากันโดยอิสระ มากันด้วยใจ จึงทำให้การควบคุมดูแล ทำได้ยากมากกว่าการดูแลม็อบจัดตั้งทั้งหลายการถูกแทรกตัวเข้ามาของมือที่ 3 เพื่อสร้างความปั่นป่วน หรือเพื่อทำลายภาพลักษณ์ของคนเสื้อแดง ก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ไม่ยาก ประจักษ์พยานการเสียรู้ของคนเสื้อแดง ก็เคยโดนชัดเจนมาแล้วเมื่อครั้งเมษาเลือด ที่ถูกแผนส่งคนเข้ามาแทรก และชักจูงไปสู่ความรุนแรงบานปลายทำให้คนเสื้อแดงเสียคะแนนไปมากเช่นเดียวกับการเสียรู้ในเหตุ

วุ่นวายที่พัทยา ช่วงการประชุมอาเซียนล่ม ทั้งๆ ที่เหตุปะทะเหตุวุ่นวายรุนแรงมาจากคนเสื้อน้ำเงินแท้ๆ แต่ภาพลักษณ์ของคนเสื้อแดงกลับถูกกระทบ เพราะถูกปรักปรำไปเต็มๆที่สำคัญ ไม่ว่าในการต่อสู้ใดๆ แพ้ก็คือแพ้ ไม่อาจที่จะแก้ตัวได้ ดังนั้น ในเมื่อเมษาเลือดและพัทยาคนเสื้อแดงเป็นฝ่ายแพ้เพราะเสียรู้ ก็ต้องถือว่าแพ้ จะอ้างโน่นอ้างนี้ไม่ได้สิ่งเดียวที่ทำได้คือ จดจำบทเรียนไว้ให้ดี แล้วอย่าให้แพ้อีกการรวมพลแสดงพลังที่หวังจะให้แดงทั้งภูเขา ที่บริเวณโบนันซ่า เขา

ใหญ่คือ การวอร์มอัพกล้ามเนื้อเตรียมพร้อมออกศึกใหญ่ ที่แกนนำเสื้อแดงประกาศอย่างเชื่อมั่นว่า จะมีคนมาร่วมนับล้านคนในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้.....หากถึงวันนั้น มีคนเสื้อแดงมาร่วมกันนับจำนวนล้านจริง การบริหารดูแล ป้องกันมือที่ 3 ยิ่งต้องเข้มงวด อย่าให้ใครเข้ามาป่วนและสร้างความวุ่นวายได้หากคุมไม่อยู่ จำนวนคนเป็นล้าน จะทำให้คนเสื้อแดงถูกสาดโคลนให้เพลี่ยงพล้ำได้ซึ่งที่ผ่านมาการรวมพลคนเสื้อแดง ยืนอยู่ในระดับหมื่นคนแสนคนเป็นหลัก แต่ครั้งนี้

เป็นครั้งแรกที่จะขยับก้าวขึ้นสู่หลักล้าน ฉะนั้นยิ่งต้องรอบคอบและระมัดระวังให้จงหนัก เพราะแม้จะกระหึ่มในการแสดงพลัง แต่ก็แฝงจุดอ่อนอยู่ในทีแกนนำต้องเอาให้อยู่ ต้องกันมือที่ 3 ให้ได้ชะงัดที่สุดและในประการที่ 4 หากคนมานับล้านคนจริงๆ จุดที่จะถูกโจมตีว่าเป็นการจัดตั้งก็คือ เรื่องของงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละวันที่จะต้องมี และขั้วตรงข้ามจะต้องตั้งคำถามว่าแล้วงบสนับสนุนเหล่านี้มาจากไหน??เพราะขนาดสถานที่จัดงานคือโบนันซ่า เขาใหญ่ เป็น

ธุรกิจเอกชนที่ใครมีเงินจ่ายค่าเช่าก็สามารถมาใช้สถานที่ได้ เที่ยวนี้ยังโดนตั้งคำถามว่า สนับสนุนแดงหรือไม่ เลือกข้างหรือไม่?ก็ถ้ากลุ่มพันธมิตรจะไปเช่าเพื่อรณรงค์หาเงินสนับสนุนพรรคการเมืองใหม่บ้าง จะให้เหลืองพรืดบ้าง ก็สามารถทำได้ ใครจะไปว่า หรือแม้แต่ก๊วนเพื่อนเนวินและภูมิใจไทย จะเช่าวางแผนเพื่อผลักดันให้นายเนวิน ชิดชอบ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีดังที่ฝันไว้ จะทำให้เขาใหญ่เกลื่อนไปด้วยสีน้ำเงินก็ได้ด้วยเช่นกัน เพราะนายเนวินมีปัญญาจ่าย มี

ปัญญาเลี้ยงดูปูเสื่อกลุ่มพลังที่มาได้อยู่แล้วในขณะที่กลุ่มเสื้อแดง แกนนำการชุมนุมที่โบนันซาในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นนายวีระ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นายจตุพร พรหมพันธุ์ 3 เกลอแห่งรายการความจริงวันนี้ รวมทั้งแกนนำคนอื่นๆ จะต้องเตรียมพร้อมให้ดีที่สุด จะปล่อยให้เกิดความวุ่นวาย จะเผลอเปิดจุดอ่อนหรือการ์ดตกไม่ได้เลยบอกแล้วว่าถ้าพลาดงานนี้ถูกขย่มแน่การทำให้เกิดปรากฏการณ์แดงทั้งขุนเขา เพราะเสื้อแดงมาเยอะนับจำนวนร่วมแสน คือ

ยุทธศาสตร์ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งของฝ่าย“คนเสื้อแดง”เพราะนั่นคือการ“ทดสอบความพร้อม” ทั้งกำลังคนและสภาพจิตใจ ปฏิบัติการ“เพื่อนร่วมร้อง พี่น้องร่วมรบ” จึงเป็นยุทธวิธีที่“ฝ่ายเสื้อแดง” นำออกมาใช้ชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนวันนี้...ถ้าทั้งภูเขาที่โบนันซ่ากลายเป็น“สีแดงทั้งภูเขา” นั่นย่อมหมายถึงว่า...คนเสื้อแดงก็มี“ความพร้อมสูง” สำหรับเป้าหมายจำนวนล้านที่จะชุมนุมใหญ่ในปลายเดือนนี้ เพื่อ“แตกหัก”กับรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในการเรียกร้อง

ประชาธิปไตยใครจะไป?? ใครจะอยู่??แต่อย่าลืมอีกมุมหนึ่งว่า นี่จะเป็นการเตือนขั้วตรงข้ามทั้งหลายว่าจะต้องเร่งมือจัดการกับกลุ่มคนเสื้อแดงให้หนักขึ้นไปอีกฉะนั้นนี่คือ อันตรายอีกจุดหนึ่งที่ไม่อาจจะมองข้าม ซึ่งจะตามมาหลังจากการชุมนุมครั้งนี้ และการชุมนุมใหญ่ในปลายนี้อย่างแน่นอนดังนั้นเสื้อแดงคงจะต้องใช้เสียงคนนับล้าน ประกาศให้ชัดเจนว่า เป็นการต่อสู้เพื่อทวงคืนประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่จะเกิดขึ้นในปลายดือนนี้ และมีจุดร่วมคือการ “โค่นล้ม ระบอบ

อำนาจอำมาตยาธิปไตย” จึงต้องนำเสนอเนื้อหาหลักการประชาธิปไตยที่ชัดเจนมากกว่าการชูตัวบุคคล เพื่อไม่ให้ขั้วตรงข้ามฉวยโอกาสทำลายความชอบธรรมในการต่อสู้ ป้ายสีว่าขบวนการเสื้อแดงทำเพื่อคนคนเดียวการบ้านครั้งนี้จึงหนักหนาสาหัสและท้าทายอย่างยิ่งว่า กลุ่มคนเสื้อแดงจะทำได้หรือไม่ได้? จะรอดหรือไม่รอด? และจะฝ่อหรือไม่ฝ่อ?เพราะมีทั้งคนรอดู คนรอลุ้น และคนรอซ้ำเติม.....!!