
เขียนโดย ลั่นทมขาว
นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายในไทยต้องศึกษาและเปรียบเทียบปรากฏการณ์สมัยใหม่ที่กำลัง เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะที่ฮอนดูรัส อิหร่าน และ อัฟริกาใต้... เพราะมันมีบทเรียนสำคัญสำหรับประเทศไทยที่เราต้องมาสรุปเป็นคลังความรู้ของ ทฤษฏีมาร์คซิสต์
จุดร่วมของทั้งสี่ประเทศที่กล่าวถึงคือ เรากำลังเห็นการต่อสู้ทางชนชั้น ระหว่างชนชั้นนายทุนซึ่งเป็นชนชั้นปกครอง และ ชนชั้นที่ถูกกดขี่ขูดรีด คือกรรมาชีพและคนจน แต่ที่น่าสนใจและแปลกคือในบริบทที่พรรคฝ่ายซ้ายอ่อนแอ หรือไม่ยอมนำการต่อสู้(กรณีอัฟริกาใต้) นักการเมืองนายทุนสามารถเข้ามานำกรรมาชีพและคนจนมาเป็นพวก เพื่อสู้กับอีกซีกหนึ่งของชนชั้นปกครองภายใต้นโยบายประชานิยม และเมื่อเราเข้าใจตรงนี้ว่ามันเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นชนิดหนึ่ง เราต้องตัดสินใจว่านักสังคมนิยมจะมีท่าทีอย่างไรในรูปธรรม เพื่อผลักดันการต่อสู้ไปในทิศทางก้าวหน้า
ในฮอนดูรัส ประธานาธิบดี เซลายา ที่พึ่งถูกล้มในรัฐประหาร เป็นสมาชิกพรรคเสรีนิยม Liberal ซึ่งเป็นพรรคนายทุนเก่าแก่ ไม่ใช่พรรคฝ่ายซ้าย แต่ตัว เซลายา เองได้เปลี่ยนจุดยืนมาเข้าข้างคนจนและคนพื้นเมืองที่ถูกกีดกันจากอำนาจและ ทรัพยากรมาตลอด พร้อมกันนั้น เซลายา ก็สร้างมิตรภาพกับ ฮูโกชาเวส ในเวนเนสเวลาด้วย และเขาต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยแท้ เพราะรัฐธรรมนูญเดิมสร้างอำนาจผูกขาดให้อภิสิทธิ์ชน นี่คือสาเหตุที่มีการทำรัฐประหารโดยฝ่ายอภิสิทธิ์ชน และพวกที่ทำลายประชาธิปไตยก็ใช้ข้ออ้างที่คุ้นหูคือ “คนจนไม่มีวุฒิภาวะที่จะลงคะแนนเสียง เขาไม่เข้าใจประชาธิปไตย เราต้องมีรัฐประหารเพื่อปกป้องประชาธิปไตย” ในกรณีนี้ฝ่ายซ้ายมีทางเลือกสองทางคือ ร่วมกับมวลชนที่สนับสนุนเซลายา หรือใช้จุดยืน “สองไม่เอา” เพื่อรักษาความบริสุทธิ์และนอนอยู่บ้าน
ใน ช่วงนี้ดูเหมือน เซลายา กำลังประนีประนอมกับทหารผ่านการพูดคุยกับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งอาจทำให้ความฝันที่จะสร้างประชาธิปไตยแท้ที่มีความเป็นธรรมทางสังคมหมด หายไป มันคล้ายไทยไหม? แล้วจะทำอย่างไร?
ใน อิหร่าน เราเห็นการต่อสู้ระหว่างสองซีกของชนชั้นปกครอง คือซีกอนุรักษ์นิยมของ อามาดินจาดกับคะเมนี่ และซีกปฏิรูปของ มุซาวิ สิ่งที่น่าสนใจคือ การที่มวลชนชั้นล่างออกมาสนับสนุนทั้งสองซีก มันสะท้อนความไม่พอใจทางชนชั้นของคนธรรมดาในหลายรูปแบบคือ ฝ่าย อามาดินจาด มีนโยบายบางอย่างที่ช่วยคนจน และฝ่าย มุซาวี มีจุดยืนขยายประชาธิปไตยตามความต้องการของนักศึกษา ขบวนการสตรี และขบวนการแรงงาน ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจและการตกงานที่ อามาดินจาดและมุสซาวีไม่อยากแก้เต็มที่เพราะสนับสนุนแนวเสรีนิยมกลไกตลาด ในสถานการณ์แบบนี้ฝ่ายซ้ายกลุ่มที่ออกมาอยู่นอกประเทศอิหร่านมาเป็นสิบๆปี ก็ได้แต่ท่องสูตรนามธรรมว่า “กรรมกรต้องสู้เพื่อสังคมนิยม” โดยไม่พยายามเชื่อมติดกับมวลชนแต่อย่างใด ดูเหมือนแค่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ แต่ฝ่ายซ้ายอีกส่วน คลุกคลีกับมวลชนของ มุสซาวี และพยายามหาทางดึงคนจนที่อาจเคยชื่นชม อามาดินจาด มาเป็นพวกภายใต้ข้อเรียกร้องรูปธรรมเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการตกงานและความยาก จน พร้อมๆ กับการชูประเด็นสิทธิเสรีภาพ
ในอัฟริกาใต้ มีพรรคฝ่ายซ้ายที่ใหญ่โตคือพรรคคอมมิวนิสต์ SACP แต่พรรคนี้ใช้นโยบายสร้างแนวร่วมกับนักการเมืองนายทุนในพรรค African National Congress (ANC) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของคนผิวดำ ส.ส.ของพรรคคอมมิวนิสต์ถึงกับลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค ANC นี่คือตัวอย่างคลาสสิกของแนวร่วมข้ามชนชั้นของพรรคแนว สตาลิน... ในไทย พ.ค.ท. เคยพยายามทำแนวร่วมกับสฤษดิ์! ผลของแนวร่วมแบบนี้คือการยับยั้งการต่อสู้ของคนชั้นล่างเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับนักการเมืองนายทุน มันเป็นแนวร่วมฉวยโอกาส
ปัญหาคือรัฐบาลANC หลังยุค เนลสัน แมนเดลา ใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดสุดขั้ว ซึ่งทำให้มีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยสูงมาก และคนจนในอัฟริกาใต้คือคนผิวดำ แต่เมื่อต้นปีนี้ ANC ทำท่าว่าจะเปลี่ยนทิศทางภายใต้ผู้นำพรรคและประธานาธิบดีใหม่คือ ซูมา (Zuma) ซูมา ชนะเพราะสัญญาว่าจะใช้นโยบายที่ช่วยคนจน และคนจนจำนวนมากก็ไปลงคะแนนเสียงให้ ประเด็นสำคัญสำหรับฝ่ายซ้ายที่ยังอยากสู้เพื่อสังคมนิยมและไม่ได้ประนี ประนอมกับทุนนิยมแบบผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์คือ คุณจะมีท่าทีอย่างไรต่อ ซูมา คุณจะด่าซูมาว่ากำลังจะหักหลังคนจน (ซึ่งจริง) และด่ามวลชนจำนวนมากที่ฝากความหวังใน ซูมา ซึ่งเป็นการประกาศจุดยืนบริสุทธิ์ หรือคุณจะวิจารณ์ ซูมา พร้อมๆ กับทำงานแนวร่วมกับคนจนที่เลือกเขา เพื่อสร้างพลังการต่อสู้ในขบวนการแรงงานที่คัดค้านนโยบายการแปรรูปรัฐ วิสาหกิจและการตัดสวัสดิการที่รัฐบาล ซูมา จะนำมาใช้?
พอ ถึงจุดนี้คงต้องดึงอีกประเทศหนึ่งเข้ามาเป็นตัวอย่างคือ อินโดนีเซีย ซึ่งพึ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรก ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ฝ่ายซ้าย PRD นำโดย ดีทา สารี เลือกที่จะทำแนวร่วมกับนักการเมืองนายทุนอย่าง เมกะวัทที และนายพลวิรานโต้ ซึ่งวิรานโต้มีผลงานในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนัก และ เมกะวัททีก็พยายามปราบปรามฝ่ายซ้ายในอดีต การทำแนวร่วมแบบนี้ของ PRD เป็น “แนวร่วมฉวยโอกาส” เพราะ PRD มองว่าตนเองอ่อนแอเกินไปที่จะรักษาจุดยืนอิสระ จุดจบคือการไม่มีอุดมการณ์เลย และในไม่ช้าพวกนี้คงจะยุบองค์กรและเข้าไปในพรรคนายทุน
ประเด็น ที่นักมาร์คซิสต์ต้องเข้าใจคือ การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างคนจนกับคนรวย หรือกรรมาชีพ/เกษตรกรกับนายทุน/อำมาตย์ ไม่เคยหายไป แต่ในโลกจริงรูปแบบมันอาจออกมาแปลกๆ โดยเฉพาะถ้าฝ่ายซ้ายอ่อนแอหรือไม่ยอมนำการต่อสู้ ในสถานการณ์แบบนี้เราต้องเลือกข้างเมื่อมวลชนออกมาสู้เพื่อผลประโยชน์ของคน จนหรือประชาธิปไตย การยืนอยู่บนเนินเขาเพื่อท่องสูตรความบริสุทธิ์เป็นการละทิ้งหน้าที่ในการ ต่อสู้เคียงข้างคนจนเพื่อสังคมนิยม ในขณะเดียวกันเราต้องไม่สลายองค์กรมาร์คซิสต์เพื่อไปเข้าพรรคนายทุนภายใต้ แนวร่วมฉวยโอกาส
เล นิน นักปฏิวัติรัสเซีย มักจะวิจารณ์ฝ่ายซ้ายที่หาข้ออ้าง “ความบริสุทธิ์” เพื่อไม่ร่วมสู้กับมวลชน (ดูงาน “ฝ่ายซ้ายไร้เดียงสา”) ในขณะเดียวกัน เลนิน ให้ความสำคัญในการสร้างและปกป้องพรรคสังคมนิยมและอุดมการณ์ของพรรค พวกฝ่ายซ้าย “สองไม่เอา” ในไทยที่ไม่ยอมเข้ากับมวลชนเสื้อแดง แต่พร้อมจะท่องสูตรบอลเชวิค กำลังหันหลังกับการต่อสู้ทางชนชั้น และกำลังหันหลังกับการช่วงชิงการนำในขบวนการเสื้อแดงอีกด้วย เพราะในขณะที่ วีระ กับ ทักษิณ กำลังหาทางประนีประนอมกับอำมาตย์ ซึ่งจะทำให้เราไปไม่ถึงประชาธิปไตยแท้ โดยอ้างว่าเสื้อแดงสู้ตรงๆ ไม่ได้ เราที่เข้าไปในขบวนการคนเสื้อแดงมีสิทธิ์ที่จะเถียงกับมวลชนว่านั้นไม่ใช่ แนวทางที่ถูกต้อง เราต้องขยายแนวคิดเสื้อแดงไปสู่ขบวนการแรงงานอันมีพลังซ่อนเร้น แต่ถ้าคุณไม่ใช่คนเสื้อแดงคุณก็หมดสิทธิ์แสดงความเห็น เพราะคุณไม่ได้พิสูจน์ว่าคุณจริงใจในการสู้กับอำมาตย์ในรูปธรรม
ฝ่าย ซ้ายสองไม่เอา เป็นคนที่ไม่สนใจการสร้างพรรคอย่างจริงจัง ไม่สนใจการจัดกลุ่มศึกษาเพื่อเข้าใจประเด็นชนชั้นที่ซับซ้อน ไม่สนใจการขายหนังสือพิมพ์ฯลฯ หรือการขยายสมาชิกไปสู่พลเมืองธรรมดา เพราะพอใจที่จะเป็นกลุ่มเล็กๆ มือสะอาดบริสุทธิ์ แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับเลี้ยวซ้ายที่เข้าใจว่าเราต้องสร้างพรรคมาร์คซิสต์ เพราะมันเป็นเครื่องมือในการเข้าไปร่วมสู้และช่วงชิงการนำในขบวนการคนจนและกรรมาชีพ... คนเสื้อแดงนั้นเอง
นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายในไทยต้องศึกษาและเปรียบเทียบปรากฏการณ์สมัยใหม่ที่กำลัง เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะที่ฮอนดูรัส อิหร่าน และ อัฟริกาใต้... เพราะมันมีบทเรียนสำคัญสำหรับประเทศไทยที่เราต้องมาสรุปเป็นคลังความรู้ของ ทฤษฏีมาร์คซิสต์
จุดร่วมของทั้งสี่ประเทศที่กล่าวถึงคือ เรากำลังเห็นการต่อสู้ทางชนชั้น ระหว่างชนชั้นนายทุนซึ่งเป็นชนชั้นปกครอง และ ชนชั้นที่ถูกกดขี่ขูดรีด คือกรรมาชีพและคนจน แต่ที่น่าสนใจและแปลกคือในบริบทที่พรรคฝ่ายซ้ายอ่อนแอ หรือไม่ยอมนำการต่อสู้(กรณีอัฟริกาใต้) นักการเมืองนายทุนสามารถเข้ามานำกรรมาชีพและคนจนมาเป็นพวก เพื่อสู้กับอีกซีกหนึ่งของชนชั้นปกครองภายใต้นโยบายประชานิยม และเมื่อเราเข้าใจตรงนี้ว่ามันเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นชนิดหนึ่ง เราต้องตัดสินใจว่านักสังคมนิยมจะมีท่าทีอย่างไรในรูปธรรม เพื่อผลักดันการต่อสู้ไปในทิศทางก้าวหน้า
ในฮอนดูรัส ประธานาธิบดี เซลายา ที่พึ่งถูกล้มในรัฐประหาร เป็นสมาชิกพรรคเสรีนิยม Liberal ซึ่งเป็นพรรคนายทุนเก่าแก่ ไม่ใช่พรรคฝ่ายซ้าย แต่ตัว เซลายา เองได้เปลี่ยนจุดยืนมาเข้าข้างคนจนและคนพื้นเมืองที่ถูกกีดกันจากอำนาจและ ทรัพยากรมาตลอด พร้อมกันนั้น เซลายา ก็สร้างมิตรภาพกับ ฮูโกชาเวส ในเวนเนสเวลาด้วย และเขาต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยแท้ เพราะรัฐธรรมนูญเดิมสร้างอำนาจผูกขาดให้อภิสิทธิ์ชน นี่คือสาเหตุที่มีการทำรัฐประหารโดยฝ่ายอภิสิทธิ์ชน และพวกที่ทำลายประชาธิปไตยก็ใช้ข้ออ้างที่คุ้นหูคือ “คนจนไม่มีวุฒิภาวะที่จะลงคะแนนเสียง เขาไม่เข้าใจประชาธิปไตย เราต้องมีรัฐประหารเพื่อปกป้องประชาธิปไตย” ในกรณีนี้ฝ่ายซ้ายมีทางเลือกสองทางคือ ร่วมกับมวลชนที่สนับสนุนเซลายา หรือใช้จุดยืน “สองไม่เอา” เพื่อรักษาความบริสุทธิ์และนอนอยู่บ้าน
ใน ช่วงนี้ดูเหมือน เซลายา กำลังประนีประนอมกับทหารผ่านการพูดคุยกับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งอาจทำให้ความฝันที่จะสร้างประชาธิปไตยแท้ที่มีความเป็นธรรมทางสังคมหมด หายไป มันคล้ายไทยไหม? แล้วจะทำอย่างไร?
ใน อิหร่าน เราเห็นการต่อสู้ระหว่างสองซีกของชนชั้นปกครอง คือซีกอนุรักษ์นิยมของ อามาดินจาดกับคะเมนี่ และซีกปฏิรูปของ มุซาวิ สิ่งที่น่าสนใจคือ การที่มวลชนชั้นล่างออกมาสนับสนุนทั้งสองซีก มันสะท้อนความไม่พอใจทางชนชั้นของคนธรรมดาในหลายรูปแบบคือ ฝ่าย อามาดินจาด มีนโยบายบางอย่างที่ช่วยคนจน และฝ่าย มุซาวี มีจุดยืนขยายประชาธิปไตยตามความต้องการของนักศึกษา ขบวนการสตรี และขบวนการแรงงาน ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจและการตกงานที่ อามาดินจาดและมุสซาวีไม่อยากแก้เต็มที่เพราะสนับสนุนแนวเสรีนิยมกลไกตลาด ในสถานการณ์แบบนี้ฝ่ายซ้ายกลุ่มที่ออกมาอยู่นอกประเทศอิหร่านมาเป็นสิบๆปี ก็ได้แต่ท่องสูตรนามธรรมว่า “กรรมกรต้องสู้เพื่อสังคมนิยม” โดยไม่พยายามเชื่อมติดกับมวลชนแต่อย่างใด ดูเหมือนแค่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ แต่ฝ่ายซ้ายอีกส่วน คลุกคลีกับมวลชนของ มุสซาวี และพยายามหาทางดึงคนจนที่อาจเคยชื่นชม อามาดินจาด มาเป็นพวกภายใต้ข้อเรียกร้องรูปธรรมเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการตกงานและความยาก จน พร้อมๆ กับการชูประเด็นสิทธิเสรีภาพ
ในอัฟริกาใต้ มีพรรคฝ่ายซ้ายที่ใหญ่โตคือพรรคคอมมิวนิสต์ SACP แต่พรรคนี้ใช้นโยบายสร้างแนวร่วมกับนักการเมืองนายทุนในพรรค African National Congress (ANC) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของคนผิวดำ ส.ส.ของพรรคคอมมิวนิสต์ถึงกับลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค ANC นี่คือตัวอย่างคลาสสิกของแนวร่วมข้ามชนชั้นของพรรคแนว สตาลิน... ในไทย พ.ค.ท. เคยพยายามทำแนวร่วมกับสฤษดิ์! ผลของแนวร่วมแบบนี้คือการยับยั้งการต่อสู้ของคนชั้นล่างเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับนักการเมืองนายทุน มันเป็นแนวร่วมฉวยโอกาส
ปัญหาคือรัฐบาลANC หลังยุค เนลสัน แมนเดลา ใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดสุดขั้ว ซึ่งทำให้มีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยสูงมาก และคนจนในอัฟริกาใต้คือคนผิวดำ แต่เมื่อต้นปีนี้ ANC ทำท่าว่าจะเปลี่ยนทิศทางภายใต้ผู้นำพรรคและประธานาธิบดีใหม่คือ ซูมา (Zuma) ซูมา ชนะเพราะสัญญาว่าจะใช้นโยบายที่ช่วยคนจน และคนจนจำนวนมากก็ไปลงคะแนนเสียงให้ ประเด็นสำคัญสำหรับฝ่ายซ้ายที่ยังอยากสู้เพื่อสังคมนิยมและไม่ได้ประนี ประนอมกับทุนนิยมแบบผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์คือ คุณจะมีท่าทีอย่างไรต่อ ซูมา คุณจะด่าซูมาว่ากำลังจะหักหลังคนจน (ซึ่งจริง) และด่ามวลชนจำนวนมากที่ฝากความหวังใน ซูมา ซึ่งเป็นการประกาศจุดยืนบริสุทธิ์ หรือคุณจะวิจารณ์ ซูมา พร้อมๆ กับทำงานแนวร่วมกับคนจนที่เลือกเขา เพื่อสร้างพลังการต่อสู้ในขบวนการแรงงานที่คัดค้านนโยบายการแปรรูปรัฐ วิสาหกิจและการตัดสวัสดิการที่รัฐบาล ซูมา จะนำมาใช้?
พอ ถึงจุดนี้คงต้องดึงอีกประเทศหนึ่งเข้ามาเป็นตัวอย่างคือ อินโดนีเซีย ซึ่งพึ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรก ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ฝ่ายซ้าย PRD นำโดย ดีทา สารี เลือกที่จะทำแนวร่วมกับนักการเมืองนายทุนอย่าง เมกะวัทที และนายพลวิรานโต้ ซึ่งวิรานโต้มีผลงานในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนัก และ เมกะวัททีก็พยายามปราบปรามฝ่ายซ้ายในอดีต การทำแนวร่วมแบบนี้ของ PRD เป็น “แนวร่วมฉวยโอกาส” เพราะ PRD มองว่าตนเองอ่อนแอเกินไปที่จะรักษาจุดยืนอิสระ จุดจบคือการไม่มีอุดมการณ์เลย และในไม่ช้าพวกนี้คงจะยุบองค์กรและเข้าไปในพรรคนายทุน
ประเด็น ที่นักมาร์คซิสต์ต้องเข้าใจคือ การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างคนจนกับคนรวย หรือกรรมาชีพ/เกษตรกรกับนายทุน/อำมาตย์ ไม่เคยหายไป แต่ในโลกจริงรูปแบบมันอาจออกมาแปลกๆ โดยเฉพาะถ้าฝ่ายซ้ายอ่อนแอหรือไม่ยอมนำการต่อสู้ ในสถานการณ์แบบนี้เราต้องเลือกข้างเมื่อมวลชนออกมาสู้เพื่อผลประโยชน์ของคน จนหรือประชาธิปไตย การยืนอยู่บนเนินเขาเพื่อท่องสูตรความบริสุทธิ์เป็นการละทิ้งหน้าที่ในการ ต่อสู้เคียงข้างคนจนเพื่อสังคมนิยม ในขณะเดียวกันเราต้องไม่สลายองค์กรมาร์คซิสต์เพื่อไปเข้าพรรคนายทุนภายใต้ แนวร่วมฉวยโอกาส
เล นิน นักปฏิวัติรัสเซีย มักจะวิจารณ์ฝ่ายซ้ายที่หาข้ออ้าง “ความบริสุทธิ์” เพื่อไม่ร่วมสู้กับมวลชน (ดูงาน “ฝ่ายซ้ายไร้เดียงสา”) ในขณะเดียวกัน เลนิน ให้ความสำคัญในการสร้างและปกป้องพรรคสังคมนิยมและอุดมการณ์ของพรรค พวกฝ่ายซ้าย “สองไม่เอา” ในไทยที่ไม่ยอมเข้ากับมวลชนเสื้อแดง แต่พร้อมจะท่องสูตรบอลเชวิค กำลังหันหลังกับการต่อสู้ทางชนชั้น และกำลังหันหลังกับการช่วงชิงการนำในขบวนการเสื้อแดงอีกด้วย เพราะในขณะที่ วีระ กับ ทักษิณ กำลังหาทางประนีประนอมกับอำมาตย์ ซึ่งจะทำให้เราไปไม่ถึงประชาธิปไตยแท้ โดยอ้างว่าเสื้อแดงสู้ตรงๆ ไม่ได้ เราที่เข้าไปในขบวนการคนเสื้อแดงมีสิทธิ์ที่จะเถียงกับมวลชนว่านั้นไม่ใช่ แนวทางที่ถูกต้อง เราต้องขยายแนวคิดเสื้อแดงไปสู่ขบวนการแรงงานอันมีพลังซ่อนเร้น แต่ถ้าคุณไม่ใช่คนเสื้อแดงคุณก็หมดสิทธิ์แสดงความเห็น เพราะคุณไม่ได้พิสูจน์ว่าคุณจริงใจในการสู้กับอำมาตย์ในรูปธรรม
ฝ่าย ซ้ายสองไม่เอา เป็นคนที่ไม่สนใจการสร้างพรรคอย่างจริงจัง ไม่สนใจการจัดกลุ่มศึกษาเพื่อเข้าใจประเด็นชนชั้นที่ซับซ้อน ไม่สนใจการขายหนังสือพิมพ์ฯลฯ หรือการขยายสมาชิกไปสู่พลเมืองธรรมดา เพราะพอใจที่จะเป็นกลุ่มเล็กๆ มือสะอาดบริสุทธิ์ แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับเลี้ยวซ้ายที่เข้าใจว่าเราต้องสร้างพรรคมาร์คซิสต์ เพราะมันเป็นเครื่องมือในการเข้าไปร่วมสู้และช่วงชิงการนำในขบวนการคนจนและกรรมาชีพ... คนเสื้อแดงนั้นเอง