--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คิดให้ดี ๆ ที่จะใช้ กำลังทางอากาศ กับกัมพูชา

1.เครื่องยิง ต่อสู้ อากาศยาน Sa-3



2.Su-27/30 เวียดนาม ภาคีร่วมเขมร



3.Su-32 รัสเซียภาคีร่วมเขมร

อ่านสักนิด....ก่อนคิดจะรบ 2

โดย.ฅนไทเสรีชน

การรบระหว่าง ไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า

๑. มูลเหตุของการรบ
ยุทธการ บ้านร่มเกล้า เกิดขึ้นในกรณีพิพาทระหว่าง ไทย-ลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดน ซึ่งไทยและลาวอ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ โดยลาวได้ส่งกำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ส่วนที่เป็นปัญหา ไทยจึงได้ส่งกำลังทหารเข้าผลักดัน และเกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายอย่างหนักหน่วง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๓๐ - กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ และมีการหยุดยิง ของทั้งสองฝ่ายเมื่อ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑

๒. ปัญหาเส้นเขตแดน จุดก่อของสงครามตาม สนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ กำหนดให้น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส แต่ปีถัดมาพนักงานสำรวจทำแผนที่พบว่ามีน้ำเหืองสองสาย ฝรั่งเศสตัดสินเอาเอง (เข้าใจว่าไม่ได้แจ้งให้กรุงเทพฯ ทราบ) ว่าเลือกสายน้ำที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนมากขึ้นหน่อย เขตแดนตรงนั้นไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งปี ๒๕๓๐ ทางลาวอ้างว่าบริเวณบ้านร่มเกล้าเป็นของลาว เนื่องจากแผนที่คนละฉบับกับไทย ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการสำรวจครั้งนั้น ภายหลังพบว่าลำน้ำเหืองมี ๒ สาย ซึ่งไม่ตรงกับแนวลำน้ำในปัจจุบัน ซึ่งปรากฏในแผนที่สหรัฐทำให้รัฐบาลไทยช่วงสงครามเวียดนาม อีกทั้งลำน้ำในปัจจุบันเรียกว่าเหืองป่าหมัน ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่เคยปรากฏในเอกสารใด ๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๑

๒.๑ จุดที่น่าสังเกตของเหตุการณ์ครั้งนี้

๒.๑.๒ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวคือปี ๒๕๒๘-๒๕๓๐ ทหารเวียดนาม-เฮงสัมริน ได้ส่งกองกำลังจำนวนมากเข้ากวาดล้างกองกำลังเขมรฝ่ายต่อต้าน ตามแนวชายแดนไทยที่จังหวัดอุบลราชธานี จนเกิดกรณีการรบกันอย่างหนักกับไทยที่ช่องบก ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน ๓ ประเทศ คือ ไทย ลาว และกัมพูชา มีทิวเขาพนมดงรัก กั้นเป็นแนวเขตแดน เนื่องจากพื้นที่ทางฝั่งเขมรเป็นที่ราบต่ำ ทหารเวียดนามจึงได้รุกล้ำเข้ามาตั้งฐานที่มั่นลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ ๕ กม. มีการปรับปรุงดัดแปลงที่ตั้งเพื่อรับการโจมตีจากทางไทยเป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นการตัดการติดต่อระหว่างไทยกับกองกำลังกลุ่มต่อต้านในการสนับสนุน ยุทธปัจจัยการรบที่ช่องบก ที่ช่องบกนั้นมีการปะทะกันอย่างหนักระหว่างไทยและเวียดนาม (ไทยใช้กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ กองพันทหารราบ, ๑ ร้อยลาดตระเวนระยะไกล, ๒๗ กองร้อยทหารพราน, ๑ ร้อยรถถัง สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกำลังทางอากาศ โดยเครื่องบิน เอ ๓๗ และเอฟ ๕) การรบมีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าที่บ้านร่มเกล้า การปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังทหารเวียดนามที่ช่องบก ตั้งแต่ ม.ค.๒๕๒๘-ธ.ค.๒๕๓๐ ทหารไทยสูญเสีย กำลังพล ๑๐๙ นาย บาดเจ็บ ๖๔๔ นาย ยึดอาวุธจากฝ่ายเวียดนามได้จำนวนมาก
(ตัวเลขที่เปิดเผยจากทางการไทย) ทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน จากการรบในเขมรและชายแดนไทยตั้งแต่บุกเข้ามาจนถอนออกไป บางส่วนถูกจับเป็นเชลยและหนีทัพมอบตัวกับไทยประมาณ ๕๐๐ คน จุดที่น่า สังเกตเรื่องหนึ่งก็คือการรบครั้งนี้มีการเตรียมการอย่างดี ทหารเวียดนามมีอาวุธและระบบการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยมาก คาดว่าได้รับมาการสนับสนุนจากรัสเซีย ( ปี ๒๕๒๒ เวียดนามตีเขมรแดงแตกและถอยไปตั้งฐานที่ชายแดนไทย แถบเทือกเขาพนมมาลัย และเกิดการรบเรื่อยมาในเขมร โดยฝ่ายเขมรต่อต้านคือ เขมรแดง ได้จีนสนับสนุน กลุ่มซอนซาน และเจ้าสีหนุ (มีไทย สหรัฐ ฝรั่งเศสให้การสนับสนุน) กับทหารเวียดนาม ผสมกับเขมรกลุ่มเฮงสัมริน มีนายฮุนเซน เป็นผู้นำซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นเขมรแดงมาก่อน แต่แตกคอกันและไปเข้ากับเวียดนาม นำทหารเวียดนามมาขับไล่เขมรแดงออกไป)นอกจากนี้ยังมีรายงานจากบางหน่วย ของกองทัพบกว่าทหารเวียดนามมีการใช้อาวุธเคมีในบริเวณดังกล่าวด้วย ซึ่งมีการยืนยันจากทหารเขมรในการปะทะหลายครั้งว่ามีการโปรยหรือทิ้งสาร บางอย่างลงมา ซึ่งมีผลต่อผิวหนังและระบบหายใจ นอกจากนั้นแหล่งน้ำในบริเวณดังกล่าวยังเต็มไปด้วยสารพิษ จากการปะทะและกวาดล้างทหารเวียดนามในเนิน ๕๖๕,๔๐๘,๕๐๐,๓๘๒ พบหน้ากากและชุดสำหรับป้องกันอาวุธเคมี ด้วย

๒.๑.๓ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ากรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวครั้งนี้เป็นแรงผลักดัน ที่ลาวได้รับจากเวียดนามและโซเวียต ซึ่งพยายามขัดขวางการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ และเป็นหนึ่งในแผนตัดขาดและยึดภาคอีสานของไทยตามยุทธการตัว L (L Operation) และรวมภาคอีสานของไทย ลาว เขมร เวียดนาม เป็นสหพันธ์อินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำลักษณะภูมิประเทศรูปตัวแอลใหญ่คือพื้นที่ป่า ภูเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ทอดตัวยาวลงมาทางใต้ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ มาบรรจบกันบริเวณเขาใหญ่ บริเวณรอยต่อ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ซึ่งทอดตัวยาวมาจากทิศตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก เขาบรรทัด เขากำแพง และบรรจบกันที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

๒.๑.๔ ในช่วงดังกล่าวบางรายงานแจ้งว่ามีทหารเวียดนามในลาวประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน และในเขมรประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งอาจจะต้องการเปิดศึก ๒ ด้าน ให้ไทยพะว้าพะวงทั้งการรุกที่บ้านร่มเกล้าตีเจาะมาทางเหนือ และตีรุกเข้ามาที่ช่องบกทางใต้ เพื่อตัดและยึดภาคอีสาน เลยหากรณีมาอ้าง เพื่อทำการรบ

๒.๑.๕ จากการปะทะกันระหว่างทหารไทยและลาวนั้น มีรายงานจากบางหน่วยแจ้งว่าฝ่ายลาวมีทหารต่างชาติบัญชาการรบ อาจเป็นคนรัสเซีย และถูกทหารไทยยิงตายไปหลายคน (กองทัพไทยไม่ได้ให้ข้อมูลกับเรื่องนี้มากนัก) จากการปะทะหลายครั้งบางหน่วยรายงานว่า ทหารที่เข้าใจว่าเป็นทหารลาว บางคนพูดร้องสั่งการเป็นภาษาเวียดนาม คาดว่าเป็นกองกำลังผสมระหว่างเวียดนามและลาวที่รบกับไทย ในการรบที่บ้านร่มเกล้านี้จึงไม่ใช่กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวธรรมดา

๒.๑.๖ ระบบอาวุธและการติดต่อสื่อสารในการรบที่ทางฝ่ายลาวใช้นั้น ทันสมัยมาก สามารถรู้พิกัดที่ตั้งปืนใหญ่ของไทย และยิงตอบกลับอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการรบกวนระบบการสื่อสารของทหารไทย ซึ่งกองทัพประชาชนลาวคงไม่มีระบบที่ทันสมัยอย่างนี้

๒.๑.๗ ที่ตั้งบนเนิน ๑๔๒๘ มีการดัดแปลงการตั้งรับอย่างดี บังเกอร์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ลักษณะเป็นเนินเขาบีบแคบ ในการเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้าอย่างเดียว ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบ หากจะต้องทำการรบในกรอบปกติ

๒.๑.๘ ข้อกล่าวหาของลาวต่อไทยอีกอย่างหนึ่งคือ ลาวกล่าวหาว่ามีบริษัทคนไทยบุกรุกเข้าไปตัดไม้และชักลากไม้ของลาวเข้ามาใน อาณาเขตไทย ทหารลาวต้องการเงินค่าไม้ เมื่อไม่ได้รับจึงดำเนินการในลักษณะรุกรานดังกล่าว แต่บางรายงานก็กล่าวว่ามีคนไทยบางคนสมคบกับทหารลาวในพื้นที่ทำธุรกิจไม้ เถื่อนจากลาวเข้ามาในไทย มีการติดต่อค้าขายกันมานาน ก่อนเกิดเหตุมีการคดโกงกันขึ้น คือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายไทยไม่ยอมจ่ายค่าไม้เถื่อนให้กับทหารลาวในวงเงิน ประมาณ ๕ ล้านบาท ทหารลาวจึงทำการเผารถแทรกเตอร์ รถบรรทุก และรถจี๊บเป็นการตอบแทน ซึ่งมีหลายฝ่ายของไทยกล่าวว่า การตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าว เพื่อเป็นการเสริมเรื่องไทยรุกล้ำแดนลาว และยังเข้าไปตัดไม้ด้วย เพื่อหาเหตุผลในการรุกราน
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของสงครามบ้านร่มเกล้า

.................. ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๐ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)เคลื่อนไหวรุนแรงที่จะยึดอำนาจรัฐ พื้นที่ติดต่อเขตลาวในเขตนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเผ่าม้ง ใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนและปฏิบัติการ เพราะสามารถข้ามลำน้ำเหืองเข้ามาในเขตไทยได้ง่าย และบริเวณพื้นที่นี้กลายเป็นยุทธบริเวณอันสำคัญระหว่างทหารกับ พคท. ชาวม้งซึ่งเป็นแนวร่วมกับ พคท.ถูกปราบปรามอย่างหนัก หนีข้ามลำน้ำเหืองเข้าไปในเขตลาว

ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานการณ์ในอินโดจีนเปลี่ยนแปลง ประกอบกับนโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ ของรัฐบาลไทยคือใช้ยุทธวิธี “กวนป่า ล้อมบ้าน” ใช้ยุทธศาสตร์ “การเมืองนำทหาร” ทำให้ชาวม้งตัดสินใจกลับเข้ามาตามโครงการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กองทัพภาคที่ ๓ ได้ตัดถนนสายยุทธศาสตร์และแนวชายแดนจาก อ.นาแห้ว จ.เลย ขึ้นไปสิ้นสุดที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นเขตสัมปทานป่าไม้ มีการจัดตั้งชุดทหารพรานคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ ขึ้น

..................๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวยกกำลังเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งไทยอ้างว่าอยู่ในเขต อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ทำลายรถแทรกเตอร์ของบริษัทป่าไม้เอกชนเสียหาย ๓ คัน มีผู้เสียชีวิต ๑ คน หายสาบสูญ ๑ คน ทหารพรานชุด ๓๔๐๕ เข้าปะทะกับทหารลาว

..................๑ มิถุนายน ๒๕๓๐ ทหารลาวเข้าโจมตีม้งที่บ้านร่มเกล้า โดยอ้างว่าเป็นการกวาดล้างม้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านทางการลาว (กลุ่มกองกำลังต่อต้านลาว ซึ่งมีการจัดตั้งในสมัยสงครามเวียดนาม ผู้นำคือนายพลวังเปา เพื่อใช้ต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือและลาวแดง ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวในภาคเหนือของลาว บางพื้นที่ทหารลาวยังไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการปะทะระหว่างทหารลาวและลาวฝ่ายต่อต้านหลายครั้ง เช่น ที่ด่านวังเต่าติดชายแดนไทยเมื่อไม่นานมานี้ และลาวกล่าวหาไทยว่าให้การสนับสนุน บางรายงานแจ้งว่าม้งกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากม้งที่อพยพไป อยู่ต่างประเทศ) และมีทหารลาวอีกชุดหนึ่งยกกำลังข้ามพรมแดนเข้ามาที่เขตบ้านนาผักก้าม และบ้านนากอก อ.นาแห้ว จ.เลย ยิงราษฎรไทยตาย ๑ คน จับกุมตัวไป ๖ คน หนีรอดมา ๑ คน โดยกล่าวหาว่าราษฎรเหล่านั้นลักลอบเข้าไปตัดไม้ในลาว

..................๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวประมาณ ๒๐๐ นาย เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของทหารพรานชุดคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ ที่บ้านร่มเกล้า (บางรายงานแจ้งว่าทหารลาวประมาณ ๑ กองพัน ซึ่งมีประมาณ ๘๐๐ คน เข้าโจมตี โดยการระดมยิงด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดจรวดอาร์พีจี และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังอย่างหนัก ก่อนจะโหมกำลังเข้าตี ตามกลยุทธ์ของคอมมิวนิสต์ ที่จะบุกเข้าตีข้าศึกด้วยกำลังมากกว่า ๑๐ เท่า และกองทัพภาคที่ ๓ ได้รายงานด่วนไปยังกองทัพบกถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น)

..................๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๐ สถานีวิทยุลาวเสนอบทสัมภาษณ์ประธานคณะปกครองเมืองบ่อแตน แขวงไทรบุรี กล่าวหาบริษัททำไม้เอกชนของไทยกับฝ่ายทหารไทยว่าได้ร่วมกันสร้างเส้นทางเข้า ไปตัดไม้ในลาว และได้เรียกร้องให้ไทยยุติการกะทำดังกล่าว รวมทั้งกล่าวหาฝ่ายไทยว่าใช้กำลังทหารเข้ารุกรานเบียดบังเอาดินแดนของลาวไป

.................. ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๓๐ ทหารไทยเคลื่อนกำลังเข้าประจำการในพื้นที่ที่เกิดปัญหาทั้งจากทหารราบ ทหารม้า ทหารพราน และหน่วยปืนใหญ่ เช่นเดียวกับทางลาวก็มีการเคลื่อนย้ายทหารและอาวุธจำนวนมาก ทหารไทยเข้าตีและทำลายเนินต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ที่ทหารลาวมาตั้งฐานอยู่ เพื่อยึดจุดยุทธศาสตร์

..................๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๓ เปิดยุทธการภูสอยดาว โหมการรบอย่างรุนแรงทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ โดยส่งเครื่องบินขับไล่เอฟ ๕ อี ไปทิ้งระบิดในยุทธภูมิอย่างหนัก การสู้รบยังคงต่อเนื่องและรุนแรงยังคงดำเนินอยู่ ตัวเลขของความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่เป็นที่เด่นชัด บางรายงานแจ้งว่าทางลาวเสียหายอย่างหนักที่โรงพยาบาลเมืองไทรบุรีของลาวเต็ม ไปด้วยทหารที่บาดเจ็บ จนล้นโรงพยาบาล

..................๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐ กระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าลาวมีความประสงค์ที่จะให้มีการเจรจาเพื่อปรับ ปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ หลังจากการเจรจาสองครั้งที่ผ่านมาคือครั้งแรก ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๐ ครั้งที่สอง ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ ประสพความล้มเหลว (หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าทุก ๆ ครั้งที่ฝ่ายลาวเกิดการสูญเสียในการรบอย่างหนัก จะยื่นเจรจา เพื่อให้ทางไทยชะลอการรุก และทำการเสริมกำลังของฝ่ายลาว และปรับปรุงการตั้งรับ)

..................๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๓ ออกปฏิบัติการกวาดล้างเข้าโจมตีฐานทหารลาวเกิดการปะทะกันอย่างหนักของทั้ง สองฝ่าย อย่างหนักหน่วง

..................๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๐ กระทรวงการต่างประเทศลาวเชิญอุปทูตไทยเข้ารับบันทึกช่วยจำ มีเนื้อความว่า เครื่องบินไทยละเมิดน่านฟ้าลาว และทำการทิ้งระเบิดพื้นที่แขวงไทรบุรีของลาว รวมทั้งมีการยิงปืนใหญ่ใส่บริเวณต่างๆของลาวอีกด้วย

สำหรับในกรณีนี้ นั้นจากการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายกล่าวว่า เนื่องจากเนิน ๑๔๒๘ เป็นที่ตั้งที่ดี การเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้า ทางลาวตั้งฐานปืนใหญ่ด้านหลัง ซึ่งเป็นแนวเขาซับซ้อน ยากต่อการค้นหา และยิงตอบกลับ ในช่วงนั้นมีข่าวว่า กองทัพไทยประกาศว่าหากจะทำการบุกข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปก็ต้องทำหากสถานการณ์ ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งมีผู้ใหญ่หลายฝ่ายออกมามาปรามในเรื่องนี้ เพราะไม่อยากให้สถานการณ์รุนแรงจนกลายเป็นสงครามเต็มขั้นระหว่างไทยกับลาว และจากการรบในช่วงแรกที่ทางไทยเข้าตีตามกรอบคือเข้าทางด้านหน้าได้รับการ ต้านทานอย่างหนัก และยากต่อการเคลื่อนกำลัง จึงมีการใช้เครื่องบินรบ เอฟ ๕ เข้าไปทิ้งระเบิดบนเนิน ๑๔๒๘ และที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในเขตลาว จนเสียหายยับเยิน เช่น สนามบินบ้านน้ำทาของลาว จากภาพถ่ายทางอากาศเนิน ๑๔๒๘ ราบเป็นหน้ากลองไม่มีต้นไม่เหลืออยู่เลย เพราะถูกระดมยิงจากปืนใหญ่ และการทิ้งระเบิดจากเอฟ ๕ แต่ทางลาวมีที่ตั้งแข็งแรง และเตรียมการตั้งรับอย่างดี บางรายงานกล่าวว่าเมื่อไม่สามารถเข้าไปตรง ๆ ได้ กองทัพไทย ได้ส่งหน่วยสงครามพิเศษ แทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ของลาว เพื่อทำการโจมตีระบบส่งกำลังบำรุง และค้นหาที่ตั้งปืนใหญ่ ทำให้การปฏิบัติการของลาวถูกกดดันมากยิ่งขึ้น (ซึ่งทางการไทยได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการรบใหม่เนื่องจากมีการสูญเสีย กำลังพล และไม่สามารถรุกคืบหน้าได้)

..................๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ กองทัพบกออกแถลงการณ์ว่าขณะนี้กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวได้เคลื่อนย้ายกำลัง พลและอาวุธอย่างต่อเนื่องเข้ามาในพื้นที่เมืองบ่อแตน แขวงไทรบุรี และได้เข้ามาในพื้นที่ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เพื่อลาดตระเวนวางกับระเบิดและทุ่นระเบิด พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ บินด่วนเพื่อตรวจสถานการณ์ และหาหนทางคลี่คลายสถานการณ์

..................๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๐ นายกิทอง วงสาย เอกอัครราชทูตลาวประจำองค์การสหประชาชาติ ยื่นหนังสือประท้วงไทยต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยมีใจความว่า ไทยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแขวงไทรบุรี และมีการระดมยิงปืนใหญ่เข้าไปในพื้นที่อย่างรุนแรง ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ ที่ผ่านมา

..................๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๐ สำนักข่าวเอพี รายงานว่าการรบระหว่างไทย-ลาว ในวันที่ ๑๕ ธันวาคมที่ผ่านมา นับเป็นการต่อสู้ที่รุนแรงที่สุดของทั้งสองฝ่าย (มีรายงานจากบางหน่วยที่เข้ายึดฐานทหารลาวได้แจ้งว่าพบชุดป้องกันอาวุธเคมี แบบเดียวกันกับที่ยึดได้จากทหารเวียดนามในช่องบก บางรายงานแจ้งว่าทางการลาวมีแผนจะใช้อาวุธเคมีด้วย และในช่วงนั้นหนึ่งกรมทหารราบของลาว จะมี ๑ กองร้อยอาวุธเคมีประจำการอยู่)

..................๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๐ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกาศยืนยันว่าพื้นที่บ้านร่มเกล้าเป็นของไทย โดยหลักฐานมีแน่ชัด และได้กล่าวถึงเรื่องการเจรจาปรับความสัมพันธ์นั้น ทางไทยตั้งเงื่อนไขให้ลาวเปลี่ยนตัวหัวหน้าผู้แทนการเจรจา เพราะผู้แทนลาวมักไม่มีความจริงใจในการเจรจา เอาการเจรจาเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อทำลายไทย

..................๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๐ รายงานข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า ไทยได้เสนอผ่านประเทศที่สาม ให้ลาวแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศลาวคนใหม่แทนท้าวคำพัน สิมาลาวงศ์ ซึ่งมีพฤติกรรมชัดแจ้งหลายอย่างที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ผู้นำไทย และไม่สร้างบรรยากาศการแก้ไขปัญหาพิพาทให้ดีขึ้น

..................๕ มกราคม ๒๕๓๑ นักศึกษาลาวและพระภิกษุจำนวนหลายร้อยคนเดินขบวนประท้วงไทย ผ่านหน้าสถานทูตไทยประจำเวียงจันทน์ เรียกร้องให้ไทยยุติการโจมตี และให้ไทยถอนกำลังออกจากบ้านร่มเกล้าโดยเร็ว

..................๒๐ มกราคม ๒๕๓๑ ใกล้บริเวณเนิน ๑๔๒๘ ทหารลาวซุ่มโจมตีรถบรรทุกทหารช่างและทหารพรานเกิดความเสียหายครั้งสำคัญยิ่ง ของไทย

..................๒๑ มกราคม ๒๕๓๑ มีการปรับยุทธวิธีการสู้รบครั้งใหญ่ต่อยุทธการภูสอยดาว เพราะไทยเริ่มมีการสูญเสียมากขึ้น และเพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว จึงมีการปรับปรุงยุทธการรบให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อยุทธภูมิที่เป็นอยู่ (ทางไทยเริ่มมีการใช้การรบนอกแบบ และได้ผล สร้างความกดดันต่อการปฏิบัติการของฝ่ายลาวเป็นอย่างมาก)

..................๒๒ มกราคม ๒๕๓๑ พลเอกเปรม ติณสูรานนท์ นายกรัฐมนตรี พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ รมว.กระทรวงกลาโหม พลเอกประจวบ สุนทรางกูร รมว.กระทรวงมหาดไทย พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา รมว.กระทรวงการต่างประเทศ และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ พร้อมทหารระดับสูงอีกหลายนาย เดินทางไปดูสถานการณ์การรบในพื้นที่ และเน้นให้ทหารผลักดันกองกำลังทหารลาวไปให้เร็วที่สุด แต่ก็ให้ทหารทำการรบในขอบเขตจำกัดที่สุด

..................๒๖-๒๗ มกราคม ๒๕๓๑ ได้มีการเคลื่อนไหวของประชาชนนับแสนคน ในประมาณ ๒๐ จังหวัดทั่วประเทศ ทำการเคลื่อนไหวประท้วงลาวอย่างต่อเนื่อง เช่นที่ เลย หนองคาย มุกดาหาร สงขลา ระนอง และลำปาง เป็นต้น
๒๗ มกราคม ๒๕๓๑ กระทรวงการต่างประเทศนำทูตประจำประเทศไทยจาก ๒๒ ประเทศพร้อมทั้งสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ไปดูสถานการณ์ในพื้นที่บ้านร่มเกล้าท่ามกลางการต่อสู้อย่างหนักของกองกำลัง ทั้งสองฝ่าย

๒๙-๓๐ มกราคม ๒๕๓๑ สถานการณ์ตึงเครียดรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณเนินยุทธศาสตร์ ๑๔๒๘นายชีวิน สุทธิสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้มีคำสั่งปิดพรมแดนด้านอำเภอปากชม เชียงคาน ภูเรือ ด่านซ้าย และนาแห้ว เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายลาวลักลอบเข้ามาซื้อสินค้ายุทธปัจจัยอันจะเป็น ประโยชน์ในการรบของลาวต่อไป (ฐานทหารลาวที่ถูกไทยตีแตกพบว่าอาหารมีการซื้อมาจากฝั่งไทย ด้านจังหวัดเลย)

..................๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ การปฏิบัติการทางอากาศของเครื่องบิน เอฟ-๕ อี อย่างหนัก และรุนแรงในวันๆ หนึ่งมีเที่ยวบินไม่ต่ำกว่า ๓๐ เที่ยวบินรบ

..................๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เครื่องบินขับไล่ เอฟ-๕ อี ของไทยลำหนึ่งถูกยิงตกขณะบินปฏิบัติการเหนือยุทธภูมิร่มเกล้า โดยจรวดแซม ๗ ทำจากโซเวียต แต่นักบินปลอดภัย นับเป็นความสูญเสียที่สำคัญอีกครั้งของฝ่ายไทย เครื่องบินถูกยิงที่บริเวณส่วนหางและเครื่องยนต์ด้านขวา ทำให้เครื่องยนต์ระเบิดกลางอากาศ ได้รับความเสียหายอย่างหนักไม่สามารถบังคับเครื่องบินต่อไปได้ จำเป็นต้องสละเครื่องบินเหนือพื้นที่ที่ฝ่ายตรงข้ามครอบครองอยู่และได้ถูก ควบคุมตัวโดยกำลังฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้รับนักบินทั้งสองนายกลับประเทศไทย รายงานบางกระแสแจ้งว่าทหารเวียดนามเป็นคนยิง โดยยิงพร้อมกันทีละ ๗ กระบอก การรบครั้งนี้ไทยยังเสียเครื่อง โอวี๑๐ ไปอีก ๑ เครื่องด้วย และมีเครื่องเอฟ ๕ อีกเครื่องหนึ่งโดนจรวดแซมยิงเข้าที่เครื่องยนต์ท้าย ในการเข้าโจมตีของเครื่องเอฟ ๕ จำนวน ๔ เครื่อง ที่เป้าหมายในการเข้าโจมตีทิ้งระเบิดต่อเป้าหมายครั้งหนึ่ง แต่นักบินสามารถนำเครื่องกลับมาลงที่สนามบินได้อย่างปลอดภัย และกองทัพอากาศทำการแก้ไข ซ่อมแซมนำกลับมาบินได้อีกครั้ง

..................๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ หลังการสูญเสียเครื่องบิน เอฟ - ๕ อี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศกร้าวที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ อีกทั้งย้ำว่าทุกครั้งที่ทหารไทยที่เสียชีวิต ๑ คน ทหารลาวต้องเสียชีวิตอย่างน้อย ๓ คน และกล่าวถึงว่าถ้าหากจำเป็นจะเปิดศึกข้ามโขงก็ต้องทำ นายฮาเวียร์ เปเรซ เดอ เชอลาร์) (Javier Perez de Cuella ) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้มีสาส์นถึง พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ขอให้ฝ่ายไทยและลาวใช้ความอดกลั้นให้ถึงที่สุดเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์ เลวร้ายลงไปอีก และขอให้หาทางยุติปัญหาโดยสันติโดยเร็วที่สุดและพร้อมที่จะช่วยเหลือในการ เจรจายุติปัญหาดังกล่าว

..................๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีการเปิดเผยโดยอ้างแหล่งข่าวระดับสูงของกองทัพบกว่า ลาวและกลุ่มประเทศอินโดจีน มีแผนตั้งสหพันธ์อินโดจีน และจะมีการส่งกำลังรบจากลาวบุก ๑๖ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แล้วตัดส่วนที่อยู่เหนือบริเวณ ๓ จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย เป็นรูปตัว L เพื่อเป็นฐานที่มั่นของขบวนการดาวเขียวที่เวียดนามหนุนอยู่

..................๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีการประชุม และปรับยุทธการการรบของฝ่ายไทยอย่างเต็มที่ หลังจากมีการสูญเสียมากขึ้นโดยเน้นการประสานงานระหว่างหน่วยต่างๆ ในพื้นที่การรบ และที่สำคัญคือกำลังจากไทยเสียเครื่องบินรบไปในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

..................๙-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ คณะผู้แทนฝ่ายไทย นำโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปลาว ซึ่งหลายฝ่ายให้ความเห็นว่าเป็นการเดินทางไปทำงาน ให้รัฐบาลไทยในการหาทางหาข้อยุติในปัญหาพิพาทด้วยการเจรจา

..................๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ นายไกรสอน พรมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาวได้ส่งสาสน์ถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทย เสนอให้ทหารทั้งสองฝ่ายพบแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้โดยเร็ว ลาวพร้อมที่จะส่งคณะผู้แทนทหารมากรุงเทพมหานคร และยินดีที่จะต้อนรับคณะผู้แทนทหารของประเทศไทย ที่จะเดินทางไปนครเวียงจันทน์เพื่อปรึกษาหารือ ดังนี้

๑. ให้ทั้งสองฝ่าย หยุดยิงและแยกกำลังทหารออกไกลจากกันโดยทันทีแล้วตั้งคณะกรรมการทหารผสมของ ทั้ง ๒ ฝ่ายขึ้น เพื่อตรวจตราการหยุดยิง และแยกกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกไกลจากกันโดยเด็ดขาด

๒. ให้ทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงและหาวิธีการ แก้ไขปัญหาชายแดนในบริเวณดังกล่าวนี้ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่อไป

๓. ให้ทั้งสองฝ่ายเสนอข้อร้องเรียนไปยังเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เพื่อขอความอุปถัมภ์ให้แก่การปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้อง กัน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ตอบตกลงตามข้อเสนอของฝ่ายลาว และได้กำหนดวันพบปะหารือระหว่างทหารทั้งสองฝ่ายขึ้น ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑

..................๑๖-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ คณะผู้แทนลาวนำโดย พล.อ.สีสะหวาด แก้วบุญพัน พร้อมคณะเดินทางถึงไทยเพื่อเจรจาปัญหากับคณะผู้แทนฝ่ายไทย โดยมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าคณะ หลังการเจรจาตกลงได้มี แถลงการณ์ร่วมไทยลาวดังนี้

๑. ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มหยุดยิงในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
๒. ทั้งสองฝ่ายจะแยกทหารออกจากกันฝ่ายละ ๓ กิโลเมตร ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาหยุดยิง
๓.ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานทางทหารเพื่อพิสูจน์ตรวจตราและประสานการปฏิบัติต​าม ข้อตกลง ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ อย่างเคร่งครัด
๔. ให้ทั้งสองฝ่าย สั่งทหารของตนให้หลีกเลี่ยงการปะทะด้วยอย่างเคร่งครัด เน้นการประสานความเข้าใจ

..................๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เริ่มวันแรกของการหยุดยิง และแยกทหารออกจากกัน มีการประชุมฝ่ายปฏิบัติการหยุดยิงทั้งสองฝ่ายที่บ้านร่มเกล้า

..................๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ การแยก และถอนทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่การสู้รบ ๓ กิโลเมตร เริ่มขึ้น

..................๒๓-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และคณะเดินทางไปลาว เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้แทนลาวมาไทย และเป็นการไปปรึกษาหารือเพื่อหาหนทางแก้ไขให้เพิ่มระดับสันติภาพยิ่งขึ้นอีก ด้วย นอกจากจะพบกับผู้บริหารประเทศแล้ว พลเอกชวลิต ยังได้เข้าพบเสด็จเจ้าสุภานุวงศ์ ประธานสมัชชาซึ่งมีสายสัมพันธ์กับตัวท่านเองในฐานะ อา-หลาน และตกลงที่จะเจรจาครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๓-๔ มีนาคม ๒๕๓๑ ที่เวียงจันทน์

..................๓-๔ มีนาคม ๒๕๓๑ คณะผู้แทนไทยนำโดย ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปเจรจากับลาวที่เวียงจันทน์โดยฝ่ายลาวมี พลเอกทองไหล กมมะสิด รองหัวหน้ากรมใหญ่การเมืองกองทัพประชาชนเป็นหัวหน้า แต่ยังตกลงกันไม่ได้ในประเด็นของแผนที่ที่จะนำเอามาอ้างชี้เขตแดน และประเด็นเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันพรมแดน

..................๖-๑๒ มีนาคม ๒๕๓๑ มีการออกเผยแพร่ใบปลิวลงท้ายว่า “ทหารม้า” โจมตีการปฏิบัติการที่ล้มเหลว และการสร้างความสูญเสียของกองทัพอากาศต่อฝ่ายไทยด้วยกันเอง โดยแจ้งว่าครึ่งหนึ่งของความสูญเสียมาจากการโจมตีผิดเป้าหมายของกองทัพอากาศ ไทยเอง (สำหรับการสูญเสียของทหารม้า จากตัวเลขที่เปิดเผยของกองพันทหารม้าที่ ๘ ที่จัดกำลัง กองพันทหารม้าผสม ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศชายแดนไทย - ลาว กรณีบ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกนั้น กำลังพลของหน่วยได้สละชีวิตในการป้องกันอธิปไตยของชาติไทยไว้ จำนวนทั้งสิ้น ๒๔ นาย และมีผู้ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ จำนวน ๓ นาย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ายอดสูญเสียสูงมาก แค่หน่วยเดียวถึง ๒๕% ของยอดสูญเสียที่ช่องบก ถึงแม้จะมีรายงานว่าจำนวนทหารลาวที่เสียชีวิตจากการรบครั้งนี้มีจำนวนหลาย เท่าของทหารไทย กระแสข่าวการสูญเสียดังกล่าวยังคงสร้างความสงสัยให้กับหลายคน)

ในกรณีการทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายเดียวกันเองนี้ เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก มีรายงานหลายกระแส เช่น

๑. เกิดจากความผิดพลาดในการประสานงานระหว่างกองกำลังภาคพื้น และเครื่องบินที่จะเข้าทิ้งระเบิด เช่น ทางภาคพื้นมีการแจ้งยกเลิกการโจมตี แต่กองทัพอากาศไม่ได้รับแจ้ง เมื่อมีการแจ้งยืนยันการทิ้งระเบิดที่เป้าหมาย มีการแจ้งกลับว่าให้ทำการโจมตีได้

๒. เกิดการรบติดพันรุนแรง และประชิด ไม่สามารถระบุเป้าหมายที่แน่นอนได้ (ในสงครามเวียดนามหรือกรณีอิรักครั้งล่าสุดยอดทหารสหรัฐที่เสียชีวิตจากการ ยิงหรือทิ้งระเบิดฝ่ายเดียวกันมีจำนวนมาก)

๓. ทหารไทยยึดฐานทหารลาวได้ก่อนกำหนดการณ์ และมีการเคลื่อนกำลังปะทะติดพัน ไม่สามารถแยกแนวรบที่ชัดเจนได้ ตอนที่นักบินทิ้งระเบิดลงไปโจมตี

๔. ทางลาวทำการรบกวนระบบการสื่อสารของไทย มีการดักฟัง ทำการถอดรหัส และรวมทั้งมีการเลียนเสียงการสั่งการ ซึ่งได้รับอุปกรณ์ที่ทันสมัยจากรัสเซีย

๕. เกิดการขัดแย้งกันในกองทัพ และสายทางการเมือง ที่ต้องการแย่งอำนาจการเมืองจากทางทหาร เลยทำการสร้างความแตกแยกในกองทัพ และมีการให้ข้อมูลแก่ฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับแผนการรบ ๆลๆ เนื่องจากในช่วงนั้น ส.ส. หลายคน อดีตเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาก่อนและมีความสัมพันธ์กับ ทหารบางกลุ่ม บางคนเคยเป็นสมาชิกของเขมรแดง หลังจากนโยบาย ๖๖/๒๓ จึงเข้ามาต่อสู้ทางการเมือง อีกทั้งฝ่ายทหารยังแตกแยกเรื่องการบังคับบัญชา

๖. การวางแผนการรบที่ผิดพลาด ขาดความยืดหยุ่นในการรบและการตั้งรับ และเรื่องยุทโธปกรณ์ที่ไม่พร้อม รวมทั้งการประเมินกำลังและขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้ามต่ำไป

บทเรียนและการเปลี่ยนแปลงที่ได้จากสงครามครั้งนี้

๑. หลังจากที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศนโยบาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า มีการไปเยี่ยมเยียนกันของผู้นำทางทหารของไทย ที่ลาว และเวียดนาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ รวมทั้งลดความตึงเครียดทางการทหารระหว่างกัน ปัจจุบันไทยกับลาวมีการร่วมมือกันมากขึ้นในด้านต่าง ๆ และลาวยึดไทยเป็นแบบอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนการเดินตามเวียดนาม แต่ลาวก็ดำเนินนโยบายกับไทยอย่างระมัดระวัง เพราะกลัวไทยครอบงำและเข้าแทรกแซงทางสังคม และวัฒนธรรม เนื่องจากขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ใกล้เคียงกัน

๒. กองทัพบกได้ทำการปรับปรุงกำลังรบให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เข้าหา พื้นที่ที่เกิดปัญหา ปรับลดกำลังคนลงตามภัยคุกคามที่เปลี่ยนไป และเพิ่มระบบอาวุธให้มีความทันสมัยและคล่องตัวมากขึ้น ตามนโยบาย "จิ๋วแต่แจ๋ว" รวมทั้งมีการจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว

๓. แนวทางในการป้องกันประเทศเปลี่ยนไป มีการดำเนินการของฝ่ายทหารและการเมืองเป็นระบบมากขึ้น ประสานการทำงานกัน โดยฝ่ายทหารทำการรบและสร้างความได้เปรียบและอำนาจการต่อรอง ส่วนฝ่ายการเมืองคือกระทรวงการต่างประเทศจะทำการเจรจา เมื่อมีกรณีปัญหาตามแนวชายแดนกองทัพจะส่งทหารเข้าไปในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหน่วยที่มีความคล่องแคล่ว และมีอำนาจในการยิงสูง ตรวจหาและตอบโต้กลับทันที เข้าตีและยึดพื้นที่ชิงความได้เปรียบในยุทธศาสตร์ก่อน อย่างในกรณีกระเหรี่ยงก็อดอาร์มีที่โดนทางการไทยโจมตีและกดดันจนต้อง สลายกลุ่มและยอมมอบตัว หรือการปะทะกันระหว่างทหารไทยและทหารพม่าผสมว้า กรณีบ้านปางหนุน อ. แม่ฟ้าหลวง และพื้นที่ปั[h

ที่มา.Internet Freedom

หัวไม้: เตือนความจำ: เมื่อคุณสู้อยู่ที่กรุงเทพฯ แต่พวกเขาต้องอยู่หลบกระสุนปืน

ขอย้อนรอยความทรงจำจากปากคำของชาวบ้านภูมิซรอลอีกครั้ง ในฐานะที่พวกเขาเป็นมนุษย์ผู้ต้องเผชิญกับชะตากรรมของสงครามที่แท้จริง และบาดเจ็บล้มตายจริง จากการเปิดฉากต่อสู้ 


สังคมความจำสั้น เป็นคำกล่าวหาเดิมๆ ที่ถูกพิสูจน์ซ้ำซ้ำอีกครั้งสำหรับสังคมไทย ด้วยการปะทะกำลังอาวุธระหว่างทหารไทยและกัมพูชา เป็นเหตุให้มีทหารและพลเรือนบาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย
"ทีมข่าวการเมือง" ขอย้อนรอยความทรงจำจากปากคำของชาวบ้านภูมิซรอลอีกครั้ง ในฐานะที่พวกเขาเป็นมนุษย์ผู้ต้องเผชิญกับชะตากรรมของสงครามที่แท้จริง และบาดเจ็บล้มตายจริง จากการเปิดฉากต่อสู้

บทสัมภาษณ์ชิ้นแรกที่ประชาไทนำเสนอเกี่ยวกับชาวบ้านภูมิซรอล คือปากคำของคนในพื้นที่ซึ่งปะทะกับผู้ร่วมชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยซึ่งเดินทางเข้าไปประท้วงกัมพูชาถึงชายแดนพร้อมกล่าวหาชาวบ้าน ที่ชายแดนว่า “ไม่รักชาติ” (อ่านย้อนหลัง)

บทสัมภาษณ์ชิ้นที่สอง เป็นปากคำจากชาวบ้านภูมิซรอล บอกเล่าถึงวิถีชีวิตที่พลิกผันหลังไทย-กัมพูชาปิดด่านชายแดน (อ่านย้อนหลังที่นี่)

นี่คือเสียงของมนุษย์ ที่กำลังเผชิญชะตากรรมอีกครั้ง จากการปะทะกันระลอกล่าสุดระหว่างทหารไทยและกัมพูชา ขณะที่ในกรุงเทพฯ เสียงเพรียกหาศึกสงครามดังเร้าอยู่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
อ่านเนื้อหาทั้งหมด [คลิกที่นี่]

เตือนความจำ: เมื่อคุณสู้อยู่ที่กรุงเทพฯ แต่พวกเขาต้องอยู่หลบกระสุนปืน | "หัวไม้" ใน Blogazine Prachatai, 7 ก.พ. 2554 http://blogazine.in.th/blogs/headline/post/3215

สหรัฐฯ ใช้เทคโนโลยีทะลุทะลวงผ่านด่านเซ็นเซอร์จีนสำเร็จแล้ว!

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสามารถเข้าถึงข้อมูลจีน โดยผ่านด่านปราการจากระบบเซ็นเซอร์ข้อมูลของจีน ตามที่เคยกล่าวอ้างได้แล้ว ผลการรายงานจากคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (Broadcasting Board of Governors: BBG) ระบุว่าการทดสอบเมื่อปีที่ผ่านมา โดยการส่งผ่านข้อมูลในกล่องข้อความ (inbox) จาก e-mail ของฮ่องกงและจีนนั้นประสบผลสำเร็จแล้ว

การทดสอบดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันดีในนามว่า Feed Over e-mail หรือ FOE กล่าวคือ เป็นกลไกที่สามารถเลี่ยงกับดักที่รัฐบาลจีนได้กลั่นกรองแล้วว่าไม่สมควรมีเนื้อหาดังกล่าวเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตได้ จึงมีการบล็อคเนื้อหานั้นๆ (Feed Over e-mail: FOE เทคโนโลยีดังกล่าวนั้น สหรัฐฯ คิดค้นเมื่อไม่นานมานี้ สามารถทำให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตภายในประเทศที่ถูกเซ็นเซอร์ข้อมูลด้วยการบล็อคเนื้อหาที่ไม่ต้องการให้เผยแพร่นั้น สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ ด้วยวิถีแบบ proxy server)

มีการเผยแพร่ข้อมูลครั้งแรก มาจากองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร “GovernmentAttic” ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร (Freedom of Information Act)

ภาพข่าวจาก NY Daily News
ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่เบื้องหลังการทดสอบกล่าวว่า “ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์นั้นบางครั้งก็ไม่สามารถเปิดเผยได้ เช่น เหตุการณ์ในอียิปต์ ที่รัฐบาลไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาได้ ทำให้ต้องบล็อคการเข้าถึงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อสอดรับกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่สงบไม่ให้ลุกลามขยายตัว

ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลด้านความมั่นคงแห่ง BBG นาย Ken Berman กล่าวว่า “ถ้ามีการปิดข่าว..เซ็นเซอร์ข่าว..ยิ่งทำให้ปัญหาขยายตัวมากขึ้น” ซึ่งการทดสอบตามแบบจำลองนั้นใช้ได้ผลในจีน กล่าวคือ สามารถส่งผ่านข้อความโดย RSS feeds ได้ (RSS feeds: เป็นการแชร์ข้อมูลบนหน้าเว็บเพจ ด้วยการนำเสนอเฉพาะหัวข้อข่าว ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูล สามารถคลิกเข้าไปตามลิงค์ดังกล่าว ก็จะพบข้อมูลจากเว็บต้นฉบับ)

(ข้อดีของระบบนี้ก็คือ ลดข้อจำกัดและอุปสรรคในการสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ข้อมูล อีกทั้งยังทำให้ผู้บริโภคข่าวสารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รอบด้านอย่างแท้จริง แต่ข้อเสียก็คืออาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์จากแหล่งต้นตอของข่าวสาร)

อย่างไรก็ดี การเสพข่าวในจีนอาจถูกสกัดกั้นจากจีนในการหวงห้ามไม่ให้เผยแพร่ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวอาจกระทบต่อความมั่นคงของจีน แต่ผู้ใช้ข้อมูลก็สามารถเข้าถึงข้อมูลจาก RSS feeds โดยการดาวน์โหลดข้อมูลผ่าน proxy web ได้ นาย Sho Ho ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT ได้ออกแบบเทคโนโลยีดังกล่าวมากว่า 2 ปีแล้ว เผยว่า “ระบบดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างทดสอบ ข้อมูลที่ถูกบีบอัดเก็บซ่อนไว้จะสามารถถอดรหัสและทำให้ผู้บริโภคสื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้”
“FOE ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่ไม่สามารถเซ็นเซอร์ได้” Berman กล่าวว่า “ในที่สุด เทคโนโลยีก็สามารถสกัดกั้นโปรแกรมเซ็นเซอร์ทางอินเตอร์เน็ตได้ ระบบดังกล่าวได้แทรกซึมไปยังด่านกั้นข้อมูลขนาดยักษ์อย่างจีนแล้ว”

“เครื่องมือของ Sho จะเป็นช่องทางที่แตกต่างออกไปในการช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาเดียวกันนี้”
รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้ทำการต่อสู้กับระบบเซ็นเซอร์ของต่างประเทศแต่เพียงเจ้าเดียวเท่านั้น แต่ทั่วโลกได้พยายามกระทำการดังกล่าวด้วย หรือที่รู้จักกันในนามของ Alliance of Youth Movements ตั้งแต่สมัยอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ คอนโดลีซซา ไรซ์ จนถึงฮิลลารี คลินตัน ต่างก็เอื้อให้ Google และเว็ปไซต์อื่นได้ทำให้กลุ่มก้อนแห่งความเป็นประชาธิปไตยมีความแข็งแกร่งขึ้น โดยการใช้ social media ในการจัดการและหลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากภาครัฐ

ตัวอย่างภายหลังสถานการณ์ในอียิปต์ที่มีความโกลาหลในขั้นต้นนั้น Google เปิดให้ใช้โปรแกรม speak to tweet ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ต แต่ให้ใช้โทรศัพท์ฝากข้อความเสียงเพื่อ tweet ผ่านบล็อค Google ได้ การใช้เทคโนโลยี FOE ก็เช่นกัน เป็นลักษณะที่ user ที่อยู่ในจีนหรืออิหร่าน ต้องใช้ใน e-mail จากต่างประเทศเช่นของ Gmail เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่ถูกบล็อคเนื้อหาไว้ได้โดยไม่สามารถเปิดเผยตัวตนของผู้ใช้ได้

การทดสอบดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2010 โดยมี server อยู่ในวอชิงตัน ดีซี ได้ทำการทดสอบผ่านเมืองเซินเจิ้น จีน ฮ่องกง และปักกิ่ง ผู้ทดสอบได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีแบรนด์แตกต่างกัน อาทิ Lenovo, Dell และ Sony ผลปรากฏว่า “มีการเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วดีและไม่มีข้อบกพร้องที่ชัดเจนนัก” พวกเขาใช้การเชื่อมโยงโดยส่งผ่านข้อมูลจาก VOA, CKXX และ China Weekly
อย่างไรก็ตาม “ยังไม่มีความชัดเจนนักว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะดีเพียงใดหากเปิดเผยสู่สาธารณะ” ทาง BBG ได้เผยแพร่ข่าวผ่านหลายเครือข่าย อาทิ Voice of America (VOA), Radio Free Asia ตลอดจนเครือข่ายในตะวันออกกลาง

ที่มา:FOXNEWS

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เขี้ยวเล็บกองทัพไทย DTI-1 พร้อมเผชิญหน้า BM 21 ของกัมพูชา

เมื่อกองทัพกัมพูชาพยายามชดเชยความเสียเปรียบทางยุทธวิธีต่อหน่วยปืนใหญ่ของไทย ที่มีข่าวว่าการปะทะเมื่อวันศุกร์ทำให้ทหารกัมพูชาบาดเจ็บและเสียชีวิตไปหลายนาย จนกระทั่งในวันนี้กองทัพกัมพูชาต้องงัดเอา BM 21 ออกมาใช้ ซึ่งก็มีข่าวว่าสามารถกดดันกองทัพไทยได้พอสมควร เพราะ BM 21 เป็นอาวุธจรวดหลายลำกล้องที่เกาหลีเหนือเคยใช้ถล่มเกาะยอนเปียงของเกาหลีใต้มาก่อน มีพิสัยทำการไกลกว่าปืนใหญ่ของไทย

สำหรับคุณสมบัติของ BM 21 ในบล็อก Analyo ได้ลงรายละเอียดดังต่อไปนี้

BM21 เป็นระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. ไม่นำวิถีซึ่งผลิตในสหภาพโซเวียตเดิมครับ ระบบจะประกอบไปด้วยรถบรรทุก 6 ล้อ รถมีพิสัยปฏิบัติการได้ราว 400 กิโลเมตร ด้านหลังจะเป็นแท่นยิงซึ่งมีท่อยิงจำนวน 40 ท่อยิงซึ่งทำการยิงจรวดได้ 2 นัดต่อวินาที ทำการเล็งด้วยตาด้วยกล้องเล็งด้านข้างตัวรถ โดยมีพลประจำรถ 5 นาย และ ทำการยิงได้ภายใน 3 นาทีนับจากรถจอด และเปลี่ยนที่ตั้งได้หลังจากทำการยิงเสร็จแล้วภายใน 2 นาที การบรรจุจรวดทำด้วยคนโดยใช้เวลาราว 10 นาที

ตัวจรวดขนาด 122 มม. มีหลายแบบให้เลือกใช้ตามแต่ภารกิจ โดยมีตั้งแต่จรวดติดหัวรบบรรจุดินระเบิด จรวดบรรจุกับระเบิดรถถังหรือระเบิดสังหารบุคคล จรวดบรรจุอมภัณฑ์ย่อย (submunitions) หรือลูกระเบิดขนาดเล็กสำหรับทำลายรถถัง ระเบิดควัน ไปจนถึงทุ่นระเบิดใต้น้ำ โดยมีระยะยิงราว 30 – 40 กิโลเมตร
ข้อเสียของ BM21 ก็คือความแม่นยำมีไม่มากนัก จึงทำให้ไม่สามารถทำการโจมตีที่ต้องใช้ความแม่นยำสูงได้ ดังนั้นความมุ่งหมายของอาวุธประเภทนี้คือการทำลายเป็นพื้นที่
สำหรับกองทัพไทย ปรากฎว่าเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 มีข่าวว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานพิธีส่งมอบต้นแบบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 ซึ่งเป็นอาวุธยิงจรวดหลายลำกล้องเช่นเดียวกัน แต่มีการเน้นความแม่นยำที่เหนือกว่า และมีระยะยิงที่ไกลกว่า (60 – 100 กิโลเมตร)
โดยพลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นประธานส่งมอบ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานรับมอบ พร้อมด้วยพลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกระทรวงกลาโหม พลโท ดร.ฐิตินันท์ ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พลตรี สุกิจ เนื่องจำนงค์ ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ และพลตรี เฉลิมเกียรติ เมฆทรัพย์ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ กองพลทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ดำเนินการวิจัยพัฒนาจรวดหลายลำกล้องจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีของมิตรประเทศมา ตั้งแต่ ปลายปี 2552 ขณะนี้ต้นแบบจรวดพร้อมส่งมอบให้กองทัพบกนำไปทดลองใช้งาน ทั้งนี้ต้นแบบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 เป็นโครงการที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศและกองทัพบกได้ลงนาม ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ตามแผนการพัฒนาและเสริมสร้างกำลังกองทัพในการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องเพื่อ เสริมสร้างความมั่นคงด้านการทหารของประเทศ ตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม โดยกองพลทหารปืนใหญ่เป็นหน่วยงานที่นำจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 นี้ไปทดลองใช้งาน





ดังนั้นเป็นไปได้ว่าหากความขัดแย้งระหว่างสองประเทศบานปลายออกไป กองทัพไทยอาจใช้ DTI-1 ที่เพิ่งเข้าประจำการทำการตอบโต้กัมพูชา!!!
หรือแม้แต่อาจมีการปฏิบัติการทางทหารที่เฉียบขาดรุนแรงกว่านี้
ได้แต่หวังว่าทั้งสองประเทศจะยุติการใช้ความรุนแรงปฏิบัติโต้ตอบกัน และหันหน้าเข้าเจรจา เพราะสงครามไม่ใช่สงกรานต์ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีผู้บาดเจ็บสูญเสีย และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งขนาดใหญ่ขึ้นได้

ที่มา.Siam Intelligence

สื่อเขมรโต้โอ้อวดยิงปะทะไทย

ที่บริเวณด่านพรมแดนอรัญประเทศ จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว สถานการณ์ได้เข้าสู่ภาวะปกติพ่อค้า แม่ค้า และกรรมกรชาวเขมรหลายพันคนเดินทางข้ามด่านพรมแดนอรัญประเทศ จากฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เข้ามาทำการค้าและรับจ้างในตลาดโรงเกลือ ทำให้บริเวณหน้าด่านพรมแดนอรัญประเทศขาเข้าประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้งหลัง จากตกอยู่ในสภาพเงียบเหงามาหลายวันตั้งแต่เกิดเหตุยิงปะทะกันระหว่างทหารไทย กับทหารกัมพูชา ทางด้านปราสาทพระวิหาร

ส่วนบริเวณจุดตรวจขาออกด่านพรมแดนอรัญประเทศ ยังคงไม่คึกคักทั้งนักพนันและนักท่องเที่ยวชาวไทย ยังไม่กล้าเดินทางออกไปฝั่งกัมพูชา โดยเฉพาะกรุ๊ปทัวร์ที่จะพานักท่องเที่ยวชาวไทยไป นครวัด-นครทม จ.เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ยังคงยกเลิกการเดินทาง มีแต่เพียงกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ยังคงเดินทางออกไปฝั่งกัมพูชา อย่างต่อเนื่อง

บรรยากาศในตลาดโรงเกลือ ก็ได้กลับมาคึกคักเหมือนเดิมอีกครั้งร้านค้าชาวเขมรเปิดทำการค้าแล้ว 100 % นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามาหาซื้อสินค้าในตลาดโรงเกลือ จำนวนมาก

ส่วนบรรยากาศในตลาดปอยเปต อ.โอวจโรว จ.บันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา ซึ่งอยู่ตรงข้ามด่านพรมแดนอรัญประเทศ ตั้งแต่เช้าวันนี้ชาวเขมรได้ออกมาหาซื้อ น.ส.พ.กัมพูชา เพื่อติดตามดูข่าวสารสถานการณ์การสู้รบระหว่างทหารไทย-กัมพูชา แต่ไม่สามารถหาซื้อ น.ส.พ.ได้เนื่องจาก น.ส.พ.ในเขมรขายดีจนไม่มีส่งมาจำหน่ายในตลาดปอยเปต ชาวเขมรจึงแห่เข้าไปตรวจสอบข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต ในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ในตลาดปอยเปต โดยเฉพาะเวปไซด์ dap-news.com ของ น.ส.พ.เดิมอัมปรึล (น.ส.พ.ต้นมะขาม) ซึ่งชาวเขมรแห่เข้าไปเปิดดูมากที่สุด

เวปไซด์ dap-news.com ของ น.ส.พ.เดิมอัมปรึล(น.ส.พ.ต้นมะขาม)ได้เสนอข่าวและภาพเหตุการณ์การยิงปะทะกัน ระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหาร โดย น.ส.พ.เดิมอัมปรึล อ้างว่าจากการที่ทหารไทยรุกรานเข้าไปยิงปะทะกับทหารกัมพูชาที่เฝ้าปราสาทพระ วิหารเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา มีชาวกัมพูชาเสียชีวิตเพียง 2 คน โดยเป็นทหารกัมพูชา 1 คน และเสียชีวิตเพราะทำปืนลั่นไม่ได้ถูกทหารไทยยิงตาย และเป็นชาวบ้านกัมพูชาเสียชีวิต 1 คน และได้รับบาดเจ็บรวม 20 คนเท่านั้น นอกจากนี้ น.ส.พ.เดิมอัมปึล ได้ลงภาพกองทัพรถถังของกัมพูชา และทหารกัมพูชากำลังใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับทหารไทย โดยบรรยายภาพว่าทหารกัมพูชายิงต่อสู้กับผู้รุกรานด้วยความกล้าหาญ พร้อมทั้งได้นำภาพทหารกัมพูชาที่ประจำการในปราสาทพระวิหาร และภาพหางกระสุนปืน ค.ที่ทหารไทยยิงไปตกใกล้กับตัวปราสาทพระวิหาร นอกจากนี้ยังมีภาพกองเสบียงอาหารและน้ำดื่มจำนวนมากที่ น.ส.พ.เดิมอัมปรึล อ้างว่าเป็นเสบียงอาหารและน้ำดื่มที่ชาวกัมพูชาทั่วประเทศ ส่งมาช่วยทหารกัมพูชาเพื่อให้ต่อสู้กับผู้รุกราน

ที่มา.เนชั่น

ตายอย่าง "บ้าๆ-โง่ๆ" ข้อคิดของ"อาจารย์ป๋วย"ถึงสงคราม"ไทย-กัมพูชา"

โดย สรกล อดุลยานนท์


ถามว่ามีคนไทยกี่คนที่ได้เห็นหรือเคยไปสัมผัสพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่เป็น "พื้นที่ทับซ้อน" ของไทย-กัมพูชาบ้าง

เรื่อง "รักชาติ" หรือการรักษา "อธิปไตย" ของชาตินั้นพูดแล้วหล่อ ฟังแล้วเพราะ

แต่ถามว่า เคยตั้งคำถามไหมว่า "ชาติ" คืออะไร "อธิปไตย" คืออะไร

แค่ก้าวข้ามเส้นพรมแดนซึ่งต่างฝ่ายต่างเชื่อไม่เหมือนกัน แล้วหมายความว่า อีกฝั่งหนึ่งกำลังละเมิดอธิปไตยของเรา

คนที่คิดจะเจรจากันดีๆ กลายเป็นคนไม่รักชาติ

นึกถึงเด็กที่ทะเลาะกัน ใช้วิธีขีดเส้นเส้นหนึ่งขึ้นมาเหมือนเป็นเส้นพรมแดน

ท้าทายกันว่าแน่จริงก็เหยียบเส้นนี้สิ หรือเอาเท้าลบเส้นที่ขีดไว้สิ

สุดท้ายก็ชกกัน
เส้นพรมแดนนั้นเป็นแค่เส้นสมมุติ ว่าใครอยู่ประเทศไหน แต่ความจริงก็คือ ความสัมพันธ์ของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับเส้นเขตแดน ไม่ได้ขึ้นกับเชื้อชาติหรือสัญชาติ

คนภูมิซรอล จังหวัดศรีสะเกษ เขาไม่รู้จักคนกรุงเทพฯที่กำลังพูดเรื่อง "อธิปไตย" หรอกครับ

ทั้งที่เป็น "คนไทย" เหมือนกัน

แต่คนภูมิซรอลกลับคุ้นเคยและสนิทสนมกับคนกัมพูชาที่หมู่บ้านอยู่ติดกัน และเดินไปมาหาสู่กันเป็นประจำมากกว่า

ทั้งที่เป็นคนละชาติกัน

ครับ ระหว่างคนศรีสะเกษกับคนกรุงเทพฯ

ถามจริงๆ เถอะว่าใครควรจะเสียงดังเรื่องเส้นพรมแดน หรืออธิปไตยของชาติมากกว่ากัน

การปะทะกันเมื่อวันก่อน

ใครล่ะที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ

ฟังเสียงของเขาบ้างสิ

แค่ธงชาติเล็กๆ ผืนหนึ่งบนพื้นที่ทับซ้อน เราจะต้องรบกันเชียวหรือ

ถอยออกมาแล้วตั้งสติกันสักนิด

ผมนึกถึงข้อเขียนของอาจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2519

"จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน"
เป็นแนวคิดเรื่องความต้องการพื้นฐานของอาจารย์ ป๋วย เป็นความฝันของคนธรรมดาคนหนึ่งที่เรียบง่าย ตั้งแต่วันแรกที่อยู่ใน "ครรภ์มารดา"

จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

อาจารย์ ป๋วยบอกว่า เมื่อแก่ เขาและเมียก็ควรได้ประโยชน์ตอบแทนจากการประกันสังคม ซึ่งได้จ่ายบำรุงตลอดมา

"เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ๆ อย่างบ้าๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ"
"เจริญ ผาหอม" ชาวบ้านภูมิซรอล ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ก็คงตั้งคำถามเหมือนกัน

ทำไมเขาต้องตายอย่างโง่ๆ อย่างบ้าๆ ด้วย

ที่มา. คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สื่อกัมพูชาเผยภาพ "ปราสาทพระวิหาร" เสียหายหลังเหตุปะทะทหารไทย

สื่อกัมพูชาเผยแพร่ภาพความเสียหายบริเวณปราสาทพระวิหารและวัดแก้วสิกขาคีรีสวายเรียะ หลังทหารไทยปะทะทหารกัมพูชา ขณะที่ รอง ผบ.สส. “พล.อ.เจีย ดารา” ให้กำลังใจกำลังพลใกล้ชิด ด้าน รมต.ต่างประเทศกัมพูชาทำจดหมายประท้วงไปยังคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติแล้ว

สภาพความเสียหายของวัดแก้วสิกขาคีรีสวายเรียะ (ที่มา: สำนักข่าว DAP-News)
ภาพจรวดตกใกล้บริเวณปราสาทพระวิหาร (ที่มา: สำนักข่าว DAP-News)

ทหารกัมพูชาเตรียมพร้อมที่ปราสาทพระวิหาร ขณะที่ภาพล่างสุด พล.อ.เจีย ดารา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพกัมพูชา ระหว่างตรวจเยี่ยมให้กำลังใจทหารกัมพูชาในพื้นที่ (ที่มา: สำนักข่าว DAP-News)

วานนี้ (5 ก.พ.) สำนักข่าวดึมอำปึล หรือต้นมะขาม (DAP-News) ของกัมพูชา เผยแพร่ภาพความเสียหายบริเวณปราสาทพระวิหารและวัดแก้วสิกขาคีรีสวายเรียะ หลังเมื่อวันที่ 4 ก.พ. และเช้าวันที่ 5 ก.พ. เกิดการปะทะระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชา

ทั้งนี้ ชนวนปะทะดังกล่าว เกิดขึ้นหลังทหารชุดเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 23 กองกำลังสุรนารี ได้เข้าไปสร้างเส้นทาง และสะพานในพื้นที่ตะวันออกของผามออีแดง เพื่อก่อสร้างสะพานข้ามลำธารที่อยู่ระหว่างโขดหิน ทางขึ้นสู่วัดแก้วสิกขาครีสวายเรีย แต่ทหารกัมพูชาถือว่าเป็นพื้นที่ของกัมพูชา จึงทำให้มีการปะทะกันเกิดขึ้น

โดยสำนักข่าวดึมอำปึล เผยแพร่ภาพลูกจรวดที่ยิงจากฝั่งไทย ตกใกล้กับตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 นอกจากนี้บริเวณศาสนสถานของวัดแก้วสิกขาคีรีสวายเรียะก็เต็มไปด้วยรอยกระสุน นอกจากนี้มีการเผยแพร่ภาพ พล.อ.เจีย ดารา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพกัมพูชา ตรวจพลและให้กำลังใจทหารกัมพูชาที่รักษาพื้นที่ปราสาทพระวิหารด้วย


ภาพตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งปรากฏร่องรอยความเสียหายหลังการปะทะ ขณะที่ภาพล่างสุดเป็นภาพทหารกัมพูชายืนเฝ้าระวังชายแดน (ที่มา: สำนักข่าว CEN)

นอกจากนี้สำนักข่าว CEN ของกัมพูชา ยังได้เผยแพร่ภาพตัวปราสาทพระวิหารหลายภาพ โดยบริเวณปราสาทมีร่องรอยได้รับความเสียหายหลังเกิดการปะทะด้วย


หนังสือร้องเรียนต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ ลงนามโดย ฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา

นอกจากนี้สำนักข่าวดึมอำปึล ยังรายงานด้วยว่า นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ได้ทำหนังสือร้องเรียน แสดงความกังวลไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ กล่าวหาว่าไทยเป็นฝ่ายรุกล้ำดินแดนกัมพูชา เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2011 ระหว่างเวลา 15.00 น. ถึง 17.00 น. โดยทหารไทยกว่า 300 นายได้เข้ามายังดินแดนกัมพูชาและโจมตีกัมพูชาจาก 3 จุด และเช้าวันที่ 5 ก.พ. 2011 เวลา 06.30 น. โดยไทยยิงกระสุนปืนใหญ่ขนาด 105 ม.ม. ที่ภูมะเขือ เป็นเวลา 20 นาที

“การโจมตีเป็นผลให้เกิดความเสียหายรุนแรงอย่างมากต่อปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับการเสียชีวิตและบาดเจ็บของทหารกัมพูชาและประชาชนกว่าสิบราย” หนังสือร้องเรียนของทางการกัมพูชาระบุ

ในหนังสือร้องเรียนยังระบุด้วยว่า ไทยได้ละเมิดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกัมพูชาและประเทศไทยเป็นภาคี และละเมิดข้อตกลงสันติภาพปารีสปี 1991 ในเรื่องความเป็นเอกราช บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่อาจล่วงล้ำ ความเป็นกลาง ความเป็นเอกภาพของชาติของกัมพูชา

ที่มา.ประชาไท
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชายแดนด้านสุรินทร์เครียด ทหาร2ฝ่ายเผชิญหน้า

สถานการณ์ชายแดนด้านสุรินทร์ตึงเครียด ทหารไทยและกัมพูชาตรึงกำลังเผชิญหน้าที่ปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาควาย กองทัพเสริมกำลังพล-อาวุธเข้าประชิดชายแดน ขณะที่ด่านถาวรช่องจอมถูกสั่งปิดชั่วคราวโดยไม่มีกำหนด

สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านจ.สุรินทร์ วันนี้ยังคงตรึงเครียด โดยเฉพาะพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ต.ตาเมียง และปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ทหารไทยจากกองร้อยทหารพรานจู่โจมที่ 960 และ กองร้อยทหารพรานที่ 2605 ตรึงกำลังอยู่บริเวณที่ตั้งรอบปราสาทอย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันการลุกล้ำเข้ามาของทหารกัมพูชา ที่มีการเพิ่มกำลังพลและอาวุธเข้าประชิดชายแดน

ขณะที่จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ในเช้าวันนี้ ซึ่งเป็นวันตลาดนัดและเป็นวันหยุด ซึ่งจะมีผู้คนจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา เดินทางผ่านแดนเข้ามาท่องเที่ยวและซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ปรากฏว่าในช่วงเช้าเวลา 07.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเปิดประตูด่าน ได้มีคำสั่งจากแม่ทัพภาคที่ 2 ให้ทหารทำการปิดด่านชั่วคราวไม่มีกำหนด โดยไม่อนุญาตให้ชาวกัมพูชา และชาวไทยข้ามแดน แต่อนุญาตให้ชาวไทยที่ตกค้างอยู่ฝั่งประเทศกัมพูชากลับเข้าในประเทศและให้ชาวกัมพูชาที่ตกค้างในประเทศไทยกลับประเทศได้เท่านั้น

ขณะที่การค้าที่ตลาดช่องจอม ที่ ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ได้รับผลกระทบหนัก จากการที่ปิดด่าน ซึ่งวันนี้เป็นวันหยุดและวันตลาดนัด ซึ่งจะมีผู้คนจำนวนมากเข้ามาท่องเที่ยวและซื้อขายสินค้าเป็นจำนวนมาก กลับไม่คึกคักและเงียบเหงา มีนักเที่ยวชาวไทยเท่านั้นที่มาจับจ่ายซื้อของ ในขณะที่บรรดาร้านค้าของชาวกัมพูชากว่า 500 ร้าน ส่วนใหญ่ปิดร้าน เนื่องจากหวั่นเกรงปัญหาการสู้รบบานปลาย ด้านทหารพรานจากกองร้อยทหารพรานจู่โจมที่ 2609 กรมทหารพรานที่ 26 กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 ตั้งจุดตรวจและไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องขึ้นไปยังจุดผ่านแดนถาวรช่องจอมอย่างเด็ดขาด

ที่มา.เนชั่น

ไทย-กัมพูชา..รีวิว “การยิงถล่มเกาะยอนเปียงของเกาหลีเหนือด้วย BM 21″

จากการรายงานเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2010 ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือได้ยิงถล่มเกาะยอนเปียงของเกาหลีใต้ด้วยปืนใหญ่กว่า 200 นัด สื่อของเกาหลีใต้ระบุว่า เกาหลีเหนือใช้ BM 21 ซึ่งเป็นระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. และปืนใหญ่เรือขนาด 76.2 มม. ยิงเข้าชายฝั่งตอนใต้ของเกาะยอนเปียง เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายคลอบคลุมพื้นที่บริเวณเกาะกว่า 100 แห่ง มีผู้เสียชีวิต 4 ราย เจ้าหน้าที่ทหาร 2 ราย และประชาชน 2 ราย

อย่างไรก็ตาม เมื่อ 4 มีนาคม 2553 กัมพูชาได้ประกาศความสำเร็จในการยิงทดสอบ BM 21 ราว 200 นัด มีแหล่งข่าวระบุว่า ปลายเดือนมกราคม 2554 ที่ผ่านมา กัมพูชาได้นำ BM 21 มาจอดประชิดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

BM 21 เป็นระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. ระบบจะประกอบด้วยรถบรรทุก 6 ล้อ มีพิสัยปฏิบัติการได้ราว 400 กิโลเมตร ด้านหลังเป็นแท่นยิงซึ่งมีท่อยิงจำนวน 40 ท่อยิง ทำการยิงจรวดได้ 2 นัดต่อวินาที ทำการเล็งด้วยกล้องเล็งด้านข้างตัวรถ โดยมีพลประจำรถ 5 นาย และทำการยิงได้ภายใน 3 นาทีนับจากรถจอด และเปลี่ยนที่ตั้งได้หลังจากทำการยิงเสร็จภายใน 2 นาที บรรจุจรวดโดยใช้เวลา 10 นาที

รถคันหนึ่งมีจรวด 40 นัด จรวดทั้ง 40 นัดสามารถยิงหมดได้ภายใน 20 วินาที และ 1 กองพันจรวดหลายลำกล้องจะบรรจุทั้งหมด 18 ระบบ กล่าวคือ 1 กองพันสามารถยิงได้ 720 นัดในการยิงหนึ่งครั้ง จรวดทั้ง 40 นัดจากรถหนึ่งคันสามารถทำการยิงได้ครอบคลุมพื้นที่ราว 20,000 ตารางเมตร (ราว 140×140 เมตร) หมายความว่า BM 21 จำนวน 1 กองพันสามารถทำลายเป้าหมายได้ภายในพื้นที่ราว 0.9 ตารางกิโลเมตร

ภาพการทดสอบยิง BM 21 ของกัมพูชา



///////////////////////////////////////////////

“กษิต” หารือ “ฮอร์นัมฮง” เห็นพ้องหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นำไปสู่ความขัดแย้ง

รมว.ต่างประเทศของไทยและกัมพูชา หารือและเห็นพ้องร่วมกันหลีกเลี่ยงการดำเนินการใด ๆ ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง และสร้างความสงบตามแนวชายแดน ย้ำทั้งสองประเทศ คำนึงถึงภาพใหญ่ ใช้ความสุขุม มีสติมองข้ามความขัดแย้ง

นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ว่า สังคมไทยและกัมพูชาเป็นเพื่อนบ้านที่ข้องแวะกันมานานหลายร้อยปี เรามีความเหมือนมากกว่าความต่าง ซึ่งสามารถนับเป็นต้นทุนร่วมกัน รัฐบาลและประชาชนควรส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ประเทศที่ติดกันตัดขาดกันไม่ได้ ปัญหากระทบกระทั่ง ความเข้าใจผิดและมุมมองที่ต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความเหมือนในอดีตและอนาคตที่ดีร่วมกันมีอีกมากมาย เราต้องไม่ให้ปัญหาเป็นปัญหาต่อเนื่องและขยายเป็นปัญหาต่อๆไป แต่ต้องมุ่งแก้ปัญหาควบคู่ไปกับความร่วมมือเพื่อความสงบสุขของประชาชนทั้งสองประเทศ

“แม้จะมีเหตุการณ์จับ 7 คนไทย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 แต่ไทย-กัมพูชาก็สามารถประชุมเจซีร่วมกันได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริงของสองประเทศที่จะร่วมกันส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ให้มีความคืบหน้าแน่นแฟ้นและแสดงให้โลกเห็นว่าทั้งสองประเทศยังคำนึงถึงภาพใหญ่ มีความสุขุม มีสติที่จะฟันฝ่ากระแส และกระทำในสิ่งที่ควรทำ เราต้องมองข้ามความขัดแย้งซึ่งเกิดจากปมปัญหาในอดีตและต้องไม่ให้อดีตมาเป็นอุปสรรคต่ออนาคต" นายกษิต กล่าว

นายกษิต ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (เจซี) ไทย-กัมพูชา ครั้งที่7 ว่า การประชุมทั้งในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความราบรื่นและมีบรรยากาศที่อบอุ่นสร้างสรรค์ พูดกันถึงความร่วมมือที่ค่อนข้างสมบูรณ์และรอบด้าน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนความสัมพันธ์ให้กระชับยิ่งขึ้นและจะเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนและประชาชนโดยรวม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับการหารือสองต่อสองกับ นายฮอร์นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ได้พูดถึงภาพรวมของความสัมพันธ์ว่าจะขับเคลื่อนไปอย่างไร รวมถึงเรื่องการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ว่า จะให้มีการประชุมกันโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ทุกอย่างสามารถขับเคลื่อนไปได้ เพราะมีเรื่องที่สองฝ่ายสามารถทำร่วมกันได้ในระหว่างที่รอรัฐสภาพิจารณาบันทักการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ

นายกษิต กล่าวว่า ได้คุยเรื่องที่สองฝ่ายจะเพียรพยายามในการสร้างความสงบตลอดแนวชายแดน ทั้งการให้ข่าวสารข้อมูล การดูแลรักษาความปลอดภัย พยายามหลีกเลี่ยงการดำเนินการใด ๆ ก็ตามที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง และได้ขอบคุณที่ได้ช่วยประสานให้ได้เข้าเยี่ยม นายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกทหารกัมพูชาจับ และขอให้กัมพูชาเร่งดำเนินการด้านต่าง ๆ รวมทั้งการพิจารณาให้ทั้งสองคนกลับไทยได้ โดยดูทั้งสองอย่างคือกระบวนการยุติธรรม จบตรงไหนและฝ่ายบริหารจะเข้ามาต่อได้อย่างไร ไม่อยากให้เรื่องนี้เป็นเรื่องคาใจหรือก่อให้เกิดแรงกดดันที่จะทำให้มีผลกระทบกับความร่วมมือสองฝ่าย

“คิดว่าทาง นายฮอร์นัมฮง เข้าใจประเด็นของความเป็นไปในการเมืองภายในของไทยที่เกี่ยวกับ นายวีระ ดี และรู้ว่าเราจะต้องร่วมมือกันในการบรรเทาประเด็นปัญหาเพื่อให้ความสัมพันธ์ในภาพรวม มีความคืบหน้าเพราะมีสิ่งที่เราต้องทำร่วมกันอีกมาก" นายกษิต กล่าว

เมื่อถามว่าได้คุยเรื่องปัญหาบริเวณปราสาทพระวิหาร เรื่องการปลดธงและเรื่องวัดแก้วสิขาคีรีศวร แล้วหรือไม่ นายกษิต กล่าวว่า ได้พูดหมดแล้วว่าเรื่องอย่างนี้ทำให้เกิดความร้อนแรงขึ้นมาไม่มีประโยชน์อะไร มีแต่จะทำให้โกรธกันเท่านั้น อะไรที่เลิกรากันได้ก็ทำกันไป

“คุยกันแล้วว่าอยากให้มันสงบๆ ตกลงกันในหลักการว่าจะไม่ทำให้เกิดความหวั่นไหว โต้ตอบกันไปมาหลีกเลี่ยงการกระทำอะไรที่จะเป็นการปลุกระดม ปลุกเร้า สร้างความเข้าใจผิด หรือสร้างความตึงเครียด ทั้งสองฝ่ายต้องเพียรพยายามบอกคนของเราว่าให้บรรเทากันไว้ ผมบอกท่านว่ามีอะไรก็ให้โทรศัพท์หากันโดยเร็วเพื่อไม่ให้เรื่องลุกลาม” นายกษิต กล่าว

เมื่อถามถึงกรณีที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยื่นเส้นตายให้ช่วย นายวีระและ น.ส.ราตรี กลับไทยภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ โดยไม่มีคดีติดตัว นายกษิต กล่าวว่า คนพูดก็พูดง่าย แต่ต้องดูเหตุและที่มาที่ไปเสียก่อน รัฐบาลพยายามให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว อย่างไรก็ดีการนำตัวคนทั้งสองกลับมาก็อยู่ที่ทั้งสองด้วยว่าจะเอาอย่างไร

ต่อข้อถามถึงกรณีที่แม่ทัพภาคที่ 2 ระบุว่า ฝ่ายกัมพูชาตอบรับในหลักการที่จะให้ไทยนำเอาสระตราว และโบราณสถานโดยรอบพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกและบริหารจัดการร่วมกับฝ่ายไทย นายกษิต กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่ประเด็นเหล่านี้่มีคณะกรรมการระดับชาติดูแลอยู่แล้ว ที่สำคัญคือเรื่องนี้ต้องให้รัฐบาลสองฝ่ายเห็นชอบ จะว่ากันฝ่ายเดียวไม่ได้

ด้าน นายฮอร์นัมฮง ให้สัมภาษณ์ว่า การประชุมมีการสานต่อปัญหาหลายเรื่องที่สำคัญ คือหารือเรื่องการค้ามนุษย์ที่ีคนกัมพูชาถูกหลอกลวงเข้าไปค้าแรงงานในไทย และถูกจับกุมซึ่งอยากให้ฝ่ายไทยช่วยดูแล โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนหากคนกัมพูชาทำผิด ก็สามารถจับกุมได้แต่อย่าใช้วิธีรุนแรง เช่น ถูกยิง แต่ให้ดำเนินการไปตามกฎหมาย การทำเอ็มโอยูเรื่องราคาสินค้าเกษตร นอกจากนี้ยังได้หารือกันถึงการเปิดด่านใหม่นอกเหนือจากที่มีอยู่ เพื่อเป็นช่องทางให้คนสองประเทศไปมาหาสู่กันได้สะดวกมากขึ้น

นายฮอร์นัมฮง กล่าวว่า ในส่วนปัญหาชายแดน นายกษิต ได้แจ้งว่า จะมีการดำเนินการเรื่องเจบีซีให้เร็วที่สุด ไม่ต้องรอให้เอ็มโอยูทั้ง 3 ฉบับ ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อน เพราะมีอย่างน้อย 3 ประเด็น ที่สามารถทำได้ก่อน คือ การทำภาพถ่ายทางอากาศเพื่อหาหลักเขตทั้งหมดควบคู่กับการให้ผู้เชี่ยวชาญลงตรวจสอบพื้นที่ทางบก ซึ่งขณะนี้มีหลักหมุดที่หาเจอแล้ว 33 หลักเขต ที่ยังถกเถียง 15 หลัก และหาไม่เจอ 25 หลัก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นเรื่องดีสำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องเขตแดน ทั้งนี้ เห็นว่าการประชุมเจบีซีเร็วขึ้น จะช่วยลดความตึงเครียดตามแนวชายแดน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ตามแนวชายแดนเกิดความตึงเครียดเพราะมีการเสริมกำลังทหาร นายฮอร์นัมฮง กล่าวว่า ไม่มีความตึงเครียดเลย สถานการณ์ก็ยังธรรมดาอยู่ แต่ที่ผ่านมาฝ่ายไทยได้เอาอาวุธมาฝึกตามแนวชายแดน กัมพูชาจึงต้องนำอาวุธไปฝึกตามแนวชายแดนเหมือนกัน ฝั่งไทยนั้นกัมพูชาไม่รู้ แต่ฝั่งเราก็ต้องเตรียมตัวไว้ก่อน แต่ตนเชื่อมั่นว่า ณ เวลานี้จะไม่มีการปะทะกันตามแนวชายแดน

เมื่อถามว่าได้มีการพูดถึงเรื่องวัดแก้วฯ และข้อเรียกร้องให้ปลดธงหรือไม่ นายฮอร์นัมฮง กล่าวว่า วัดแก้วฯ อยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยกัมพูชา เรื่องจะย้ายธงไปตรงไหน ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะที่นั่นคือดินแดนของเรา.-
ที่มา. สำนักข่าวไทย

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ไร้ศักดิ์ศรี !!?

ในที่สุดศาลกัมพูชาได้ตัดสินจำคุกนายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ 2 ใน 7 คนไทยที่ถูกกัมพูชาจับกุม โดยถูกตั้ง 3 ข้อหาคือ เข้าเมืองผิดกฎหมาย เข้าพื้นที่ทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต และประมวลข้อมูลอันเป็นภัยต่อการป้องกันประเทศหรือจารกรรมข้อมูล โดยสั่งจำคุกนายวีระเป็นเวลา 8 ปี ปรับ 1.8 ล้านเรียล ส่วนนางสาวราตรีจำคุก 6 ปี ปรับ 1.2 ล้านเรียล โดยไม่รอลงอาญา แต่ให้เวลา 1 เดือนในการยื่นอุทธรณ์

ศาลกัมพูชาได้ยกคลิปวิดีโอ 7 คนไทยขึ้นมาโต้แย้งนายวีระ ซึ่งเดินทางเข้าไปในเขตแดนของทหารหลายครั้งในลักษณะเหมือนการท้าทาย เพราะแม้แต่ชาวกัมพูชาก็ยังไม่มีสิทธิที่จะเดินเข้าไป โดยเฉพาะภาพที่นายวีระและนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ยืนอยู่หน้าป้ายพลังประชาชนกัมพูชา ถือเป็นหลักฐานหักล้างข้อโต้แย้งของนายวีระที่ยืนยันมาโดยตลอดว่าเป็นการเดินทางเข้าไปตรวจสอบหลักเขต ไม่มีเจตนาที่จะรุกล้ำหรือท้าทายกัมพูชา

อย่างไรก็ตาม นายวีระได้ตะโกนบอกกับสื่อมวลชนที่รออยู่ที่หน้าศาลว่าไม่ยอมรับคำตัดสิน คำตัดสินไม่เป็นธรรม และจะขอยื่นอุทธรณ์ต่อไป เช่นเดียวกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ประกาศไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลกัมพูชา และพร้อมต่อสู้จนถึงที่สุดเช่นกัน

กรณี 7 คนไทยจึงอาจกลายเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” ที่กลุ่มพันธมิตรฯและกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติจุดติดจนลุกลามเป็นสงครามระหว่างไทยกับกัมพูชาได้ หากรัฐบาลไม่มีทางออกของปัญหาเรื่องเขตแดน โดยเฉพาะข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่มพันธมิตรฯในเงื่อนไขที่ทำไม่ได้เท่านั้น

ปัญหาไทย-กัมพูชาได้กลายมาเป็นเรื่องของกระแสชาตินิยมและศักดิ์ศรีไปโดยปริยาย ซึ่งรัฐบาลและกองทัพเองก็ยากจะปฏิเสธท่าทีของฝ่ายกัมพูชาที่แสดงความแข็งกร้าวมาโดยตลอด โดยเฉพาะกรณีวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ที่มีการปักธงกัมพูชาเพื่อพยายามยืนยันว่าอยู่ในเขตแดนกัมพูชา ขณะที่ฝ่ายไทยก็ยืนยันว่าตั้งอยู่ในเขตแดนไทย

แม้รัฐบาลไทยจะออกมาเรียกร้องให้กัมพูชารื้อถอนวัดแก้วฯ และปลดธงกัมพูชาที่อยู่เหนือวัดแก้วฯออก แต่ก็ต้องยอมรับว่ารัฐบาลและกองทัพไทยเองที่ปล่อยปละให้ฝ่ายกัมพูชาใช้พื้นที่บริเวณวัดแก้วฯ และบริเวณรอบๆทำกิจกรรมต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นพื้นที่พิพาท

การที่รัฐบาลไทยออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ฝ่ายกัมพูชาหยุดการละเมิดอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักรไทย จึงไม่ใช่แค่ “ล้อมคอกเมื่อวัวหาย” แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์วันนี้ถือว่าหมดศักดิ์ศรี และความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไปแล้ว

โดย. หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน

**********************************************************************