กระทรวงวัฒนธรรม เป็นกระทรวงเล็กแต่มีความสำคัญไม่แพ้กระทรวงใหญ่ ล่าสุดตกเป็นข่าวกรณีทุ่มเงินในโครงการไทยเข้มแข็ง ปี 2555 สนับสนุนภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 และภาค 4 ถึง 100 ล้านบาท
การทุ่มงบประมาณ สร้างภาพยนตร์ ถูกนายมานิต ศรีวานิชภูมิ ช่างภาพและผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ และนายอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ออกมาเคลื่อนไหวทางเฟซบุ๊กตั้งคำถามถึงความเหมาะสม เพราะหนังเรื่องนี้นอกจากได้เงินอัดฉีดจากกระทรวงวัฒนธรรมแล้วยังรับจากกระทรวงพาณิชย์อีก 330 ล้านบาท รวมเงินอีดฉีดกว่า 400 ล้านบาท
ประกอบกับมีข้อมูลว่าค่ายภาพยนตร์ยักษ์แห่งหนึ่งอยู่เบื้องหลังทำให้ข้อครหาไม่เป็นธรรมกับผู้สร้างภาพยนตร์อิสระรายอื่นจึงเพิ่มน้ำหนักทีเดียว
กระทั่งนายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นัดทำความเข้าใจกับผู้ออกมาคัดค้านในวันอังคารที่ 4 พฤษภาคมนี้
บทสรุปจะลงเอยอย่างไรต้องติดตามกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากตรวจสอบการใช้เม็ดเงินของกระทรวงวัฒนธรรมในช่วงปี 2552 - เดือนมีนาคม 2553 พบข้อมูลดังนี้
กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานที่ใช้งบประมาณมากสุด
อันดับแรก ก่อสร้างโครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติ โดยบริษัท เอ็นแอล วีเวลลอปเมนต์จำกัด จำนวน 438 ล้านบาท
รองลงมา ก่อสร้างอาคารศึกษาวิจัยศิลปกรรมวัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ต.เกาะปันหยี อ.เมือง จ.พังงา โดยบริษัท นิวเทคโนโลยี เอ็นจิเนียริ่ง คอนสตรัคชั่น จำกัด จำนวน 188.3 ล้านบาท
บูรณะวัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ (เสริมความมั่นคง และ ปรับปรุงทางลาดเชิงเขาระยะที่ 1) โดยบริษัทเคนเบอร์จีโอเทคนิคจำกัด จำนวน 70.1 ล้านบาท
ก่อสร้างอาคารจัดการศึกษาวิชาชีพเฉพาะ โดยบริษัท ส.ตะวันวิศวกรรม จำกัด จำนวน 55.2 ล้านบาท
บูรณะกำแพงเมืองเชียงแสน จ.เชียงราย โดย บริษัท ศิวกรการช่าง จำกัด จำนวน 31.9 ล้านบาท
ปรับปรุงหอประชุมเป็นห้องนิทรรศการและให้บริการด้านศิลปวัฒนธรรมสู่ประชาชน โดยบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด จำนวน 30 ล้านบาท
ก่อสร้างอาคาร วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี อ.เมือง จ.ลพบุรี โดย หจก.พุ่มพฤกษ์ก่อสร้าง จำนวน 24.4 ล้านบาท
ก่อสร้างอาคารหอสมุดและห้องนิทรรศการ วิทยาลัยช่างศิลป์ ลาดกระบัง โดยบริษัท อาร์ซีจี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด จำนวน 21.8 ล้านบาท
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ก่อสร้างถ้ำปู่เจ้าสมิงพราย ตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อุทยานลิลิตพระลอบริเวณบ้านธาตุพระลอ ม.1 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ โดย หจก.แพร่ธีรพันธ์ก่อสร้าง จำนวน 10.3 ล้านบาท
ปรับปรุงอาคารสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดย บริษัท โพรมิเนนท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 8.6 ล้านบาท
สร้างอาคารสำนักงานวัฒนธรรม จ.ลำพูน หมู่1 ต.เวียงยองจ.ลำพูน โดย หจก.เดชากุล 8.6 ล้านบาท
สร้างอาคารบริเวณเขตอุทยานพุทธอุทยานนครสวรรค์ โดย หจก.ตั้งในธรรม 7.8 ล้านบาท
สร้างอาคารศูนย์ข้อมูลบริการนักท่องเที่ยวและออกแบบจัดนิทรรศการภายใน ณ แหล่งโบราณคดีทุ่งดึก ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยบริษัท พิพิธภัณฑ์เอเชีย จำกัด 2.9 ล้านบาท
กรมการศาสนา งบประมาณกว่า 15.8 ล้านบาท จากทั้งหมด 20.6 ล้านบาท หมดไปกับจ้างพิมพ์หนังสือ แผ่นพับ โปสเตอร์ และบัตรอวยพร โดยโรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับจ้างรายเดียว
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จ้างจัดงานในกิจกรรมศิลปการแสดงภายใต้โครงการเทศการศิลปวัฒนธรรม โดยมูลนิธิละครธรรมะในพระสังฆราชูปถัมภ์ จำนวน 4.2 ล้านบาท จัดกิจกรรมการแสดงดนตรี งานเทศกาลศิปวัฒนธรรมฯ โดย บริษัท แฟตดีกรีจำกัด จำนวน 3.6 ล้านบาท และจัดกิจกรรมเทศกาลศิลปวัฒนธรรม "บางกอก กล๊วย กล้วย" โดย บริษํท ตั้ง 360 องศา จำกัด 3 ล้านบาท
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ 2552 โดย หจก.พ้อยเตอร์ วิชั่น จำนวน 9.9 ล้านบาท
ปีงบประมาณ ปี 2553 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 เป็นต้นมาจนถึงมีนาคม 2553) กรมศิลปากรใช้เงินเพื่อบูรณะโบราณสถานวัดพระปฐมเจดีย์ โดย บริษัท กัณต์กนิษฐ์ก่อสร้าง จำกัด 19.8 ล้านบาท
รองลงมา โครงการฟื้นฟูคูเมือง กำแพงเมืองสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดย หจก. เหมลักษณ์ก่อสร้าง 14.4 ล้านบาท
บูรณะซ่อมแซมวัดมหาธาตุวรวิหาร โดย หจก.ฐานอนุรักษ์ 14.2 ล้านบาท
ปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง โดย บริษัท ซิตี้นีออน ดิสเพลส์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด 12 ล้านบาท
โครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร โดย บริษัท วิศวกรการช่าง จำกัด 9.8 ล้านบาท
โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังจันทร์ จ.พิษณุโลก งานบูรณะกำแพงเมืองพิษณุโลก บริเวณวัดโพธิญาณ ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก โดย หจก. สามเพชร 6.5 ล้านบาท
บูรณะมณฑปยอดปรางค์วัดย่านอ่างทอง ณ วัดย่านอ่างทอง ต.บ้านใหญ่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดย หจก.สุรินทร์ประดิษฐ์ทรัพย์ 6 ลัานบาท
บูรณะวิหารพระนอนวัดสามวิหาร ณ วัดสามวิหาร ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยาบริษัท อาคารวิศวกร จำกัด 4.5 ล้านบาท
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สร้างอาคารสำนักภาพยนตร์และวีดีทัศน์พร้อมครุภัณฑ์ ณ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยบริษัท เอกค้าไทย วงเงิน 89.7 ล้านบาท
ถือเป็นงบฯก้อนใหญ่สุด
กล่าวได้ว่างบประมารณในการบูรณะอนุรักษ์โบราณสถานในช่วงต้นปีงบประมาณ 2553 จนถึงขณะนี้ น้อยกว่างบฯอุดหนุนสร้างหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯเสียอีก
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
************************************************************
วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
พ.ต.ท.ทักษิณฯเผยอาจกลับไทยปีนี้
นสพ.นิวส์ สเตรทส์ ไทม์สของสิงคโปร์ สัมภาษณ์พ.ต.ท.ทักษิณ ย้ำยังมีชีวิตอยู่ ประณามรัฐบาลไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษ
นายเนียร์มาน โกช ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์นิวส์ สเตรทส์ ไทม์สของสิงคโปร์ รายงานข่าวโดยระบุว่าได้สัมภาษณ์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรทางโทรศัพท์ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. โดยได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนของพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ประสานงานให้ได้
พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่าตนยังมีชีวิตอยู่ พร้อมกล่าวย้ำอีกว่า ผู้สื่อข่าวกำลังพูดกับคน ไม่ใช่ผี พร้อมประณามรัฐบาลไทยว่า “ไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษ” เนื่องจากใช้สื่อในสังกัดรัฐบาลเป็นเครื่องมือเผยแพร่ข้อมูลด้านเดียวเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ และสั่งปิดกั้นสื่อสารมวลชนอื่น ๆ ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลจนหมด
ผู้สื่อข่าวของนิวส์ สเตรทส์ ไทม์ส ไม่ได้รายงานว่าทักษิณอยู่ที่ประเทศไหน
วันเดียวกัน www.emergingmarkets.org เวบไซต์ด้านเศรษฐกิจของอังกฤษ ยังเผยแพร่บทสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งกล่าวยืนยันว่ายังสบายดี ถึงฝ่ายตรงข้ามจะบอกว่าตายไปแล้ว พร้อมกล่าวหยอกล้อว่า ที่จริงแล้วได้โทรสนทนากับผู้สื่อข่าวจากสวรรค์ ที่นี่สัญญาณมือถือดีมากได้ยินชัดเจน
นอกจาก นี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังระบุว่ารัฐบาลทตั้งใจที่จะปราบปรามผู้ชุมนุม แต่ต้องอย่าลืมว่ากลุ่มคนเสื้อแดง มีเป็นล้านคนและมีอยู่ทุกที่ทุกแห่ง รัฐบาลจะฆ่าคนเป็นล้านเชียวหรือ หนทางเดียวที่จะก้าวไปข้างหน้าได้ คือต้องปรองดองกัน ส่วนจะมีโอกาสกลับประเทศไทยภายใน 3 เดือนนี้หรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ เปิดเผยว่าอาจเป็นไปได้ภายในปีนี้
เวบไซต์นี้ยังสัมภาษณ์ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย โดยนายกรณ์ กล่าวว่าความแตกแยกของรัฐบาลกับผู้ชุมนุมร้าวลึกลงเรื่อย ๆ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องการใช้รอยร้าวเป็นเครื่องมือต่อรองข่มขู่ประเทศ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เรียกร้องก็คือการได้เงินและอำนาจกลับคืนให้ตัวเอง ซึ่งนายกรณ์ว่ายืนยันว่าไม่มีทางเกิดขึ้น ถ้าอยากจะกลับประเทศก็ขอต้อนรับ แต่ต้องมาชดใช้โทษในคุก
Content by VoiceTV
****************************************************************
นายเนียร์มาน โกช ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์นิวส์ สเตรทส์ ไทม์สของสิงคโปร์ รายงานข่าวโดยระบุว่าได้สัมภาษณ์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรทางโทรศัพท์ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. โดยได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนของพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ประสานงานให้ได้
พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่าตนยังมีชีวิตอยู่ พร้อมกล่าวย้ำอีกว่า ผู้สื่อข่าวกำลังพูดกับคน ไม่ใช่ผี พร้อมประณามรัฐบาลไทยว่า “ไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษ” เนื่องจากใช้สื่อในสังกัดรัฐบาลเป็นเครื่องมือเผยแพร่ข้อมูลด้านเดียวเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ และสั่งปิดกั้นสื่อสารมวลชนอื่น ๆ ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลจนหมด
ผู้สื่อข่าวของนิวส์ สเตรทส์ ไทม์ส ไม่ได้รายงานว่าทักษิณอยู่ที่ประเทศไหน
วันเดียวกัน www.emergingmarkets.org เวบไซต์ด้านเศรษฐกิจของอังกฤษ ยังเผยแพร่บทสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งกล่าวยืนยันว่ายังสบายดี ถึงฝ่ายตรงข้ามจะบอกว่าตายไปแล้ว พร้อมกล่าวหยอกล้อว่า ที่จริงแล้วได้โทรสนทนากับผู้สื่อข่าวจากสวรรค์ ที่นี่สัญญาณมือถือดีมากได้ยินชัดเจน
นอกจาก นี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังระบุว่ารัฐบาลทตั้งใจที่จะปราบปรามผู้ชุมนุม แต่ต้องอย่าลืมว่ากลุ่มคนเสื้อแดง มีเป็นล้านคนและมีอยู่ทุกที่ทุกแห่ง รัฐบาลจะฆ่าคนเป็นล้านเชียวหรือ หนทางเดียวที่จะก้าวไปข้างหน้าได้ คือต้องปรองดองกัน ส่วนจะมีโอกาสกลับประเทศไทยภายใน 3 เดือนนี้หรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ เปิดเผยว่าอาจเป็นไปได้ภายในปีนี้
เวบไซต์นี้ยังสัมภาษณ์ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย โดยนายกรณ์ กล่าวว่าความแตกแยกของรัฐบาลกับผู้ชุมนุมร้าวลึกลงเรื่อย ๆ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องการใช้รอยร้าวเป็นเครื่องมือต่อรองข่มขู่ประเทศ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เรียกร้องก็คือการได้เงินและอำนาจกลับคืนให้ตัวเอง ซึ่งนายกรณ์ว่ายืนยันว่าไม่มีทางเกิดขึ้น ถ้าอยากจะกลับประเทศก็ขอต้อนรับ แต่ต้องมาชดใช้โทษในคุก
Content by VoiceTV
****************************************************************
หน่วยพยาบาลภาคสนามหลังเวทีใหญ่ราชประสงค์ (ด่วนมาก)

หน่วยพยาบาลภาคสนาม มีความต้องการ เวชภัณฑ์และ อุปกรณ์ทำแผล-ยาสามัญ สำหรับผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก
จึงขอความอนุเคราะห์ จากผู้มีจิตศรัทธาและรักประชาธิปไตย ร่วมช่วยเหลือผู้ชุมนุมด้วย นะครับ..
เต้นท์พยาบาลภาคสนาม อยู่ติดหลังเวทีปราศรัยใหญ่ราชประสงค์
หรือติดต่อ คุณ สุรีพร บุญช่วย (ปุ๊ก) 089-2001237,085-1187680
หรือ คุณ หญิง 081-2547343
วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
"ปทีป"สั่งเด้งผู้การฯขอนแก่นฐานปล่อยม็อบแดงกร้าว
รายงานข่าวแจ้งว่า พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีคำสั่งตร.ที่ 233/2553 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม ให้ พล.ต.ต.พัฒนี ศิริวัฒนี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น (ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น) มาช่วยราชการที่สำนักงาน ผบ.ตร.โดยให้ พล.ต.ต.ศักดา เตชะเกรียงไกร รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 รักษาราชการแทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีคำสั่งเป็นต้นไป โดยไม่มีกำหนด ซึ่งในคำสั่งได้อ้างเหตุผลเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ
นอกจากนั้นมีรายงานด้วยว่า ในเวลา 13.30 น. วันที่ 3 พฤษภาคม พล.ต.ต.ศักดา จะเรียกประชุมผู้บังคับบัญชาหน่วยงานใน บก.ภ.จว.ขอนแก่น เพื่อประชุมมอบนโยบายที่ บก.ภ.จว.ขอนแก่น
อย่างไรก็ตาม คำสั่งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดงในพื้นที่ขอนแก่นอย่างหนักในช่วงก่อนหน้านี้ เช่น การปิดกั้นสถานนีรถไฟไม่ให้เจ้าหน้าที่ทหารเดินทางเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ใน กทม. ล่าสุดปิดทางเข้าออกท่าอากาศยานขอนแก่นเพื่อไม่ให้ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อหลากสีเข้าพบมวลชนในพื้นที่ได้ เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่าน จนเกิดคำว่า ขอนแก่นโมเดลใช้ในกลุ่มเสื้อแดง ทั้งนี้ ถือเป็นคำสั่งย้ายผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ปล่อยให้ผู้ชุมนุมเสื้อแดงเคลื่อนไหว โดยถือเป็นคำสั่งแรกของ พล.ต.อ.ปทีป หลังจากที่รัฐบาล และศอฉ.ออกมาพูดกดดันเรื่องนี้บ่อยครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่มา.เนชั่น
********************************************************
นอกจากนั้นมีรายงานด้วยว่า ในเวลา 13.30 น. วันที่ 3 พฤษภาคม พล.ต.ต.ศักดา จะเรียกประชุมผู้บังคับบัญชาหน่วยงานใน บก.ภ.จว.ขอนแก่น เพื่อประชุมมอบนโยบายที่ บก.ภ.จว.ขอนแก่น
อย่างไรก็ตาม คำสั่งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดงในพื้นที่ขอนแก่นอย่างหนักในช่วงก่อนหน้านี้ เช่น การปิดกั้นสถานนีรถไฟไม่ให้เจ้าหน้าที่ทหารเดินทางเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ใน กทม. ล่าสุดปิดทางเข้าออกท่าอากาศยานขอนแก่นเพื่อไม่ให้ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อหลากสีเข้าพบมวลชนในพื้นที่ได้ เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่าน จนเกิดคำว่า ขอนแก่นโมเดลใช้ในกลุ่มเสื้อแดง ทั้งนี้ ถือเป็นคำสั่งย้ายผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ปล่อยให้ผู้ชุมนุมเสื้อแดงเคลื่อนไหว โดยถือเป็นคำสั่งแรกของ พล.ต.อ.ปทีป หลังจากที่รัฐบาล และศอฉ.ออกมาพูดกดดันเรื่องนี้บ่อยครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่มา.เนชั่น
********************************************************
จะทำยังไงกับลัทธิล่าแม่มดใหม่ ใน ค.ศ 2010
"ขบวนการล่าแม่มดออนไลน์" ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 2010 ในแวดวงผู้เล่นเฟสบ๊ค (Facebook) ไทย เว็บไซท์ประเภท Social Network ที่ปัจจุบัน นับเป็นเวทีสาธารณะสำคัญเวทีหนึ่งที่ผู้คนในยุคข้อมูลข่าวสารใช้เป็นสถานที่แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ระบาย ใส่ร้าย ฯลฯ เรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันในหมู่เพื่อนฝูง คนรู้จัก หรือคนอยากรู้จัก สำหรับ "ขบวนการล่าแม่มดออนไลน์" ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กลุ่มเฟสบุคที่ใช้ชื่อกลุ่มว่า "Social Sanction: ยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคม" [1] นั้น น่าจะมีแรงขับเคลื่อนหลักเป็นความ "เกลียดชัง" ที่มีต่อตัวผู้ชุนนุมประท้วง รวมทั้งผู้ที่เห็นด้วย หรือทำท่าว่าจะเห็นด้วยกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งในระยะหลังถูกจับไปเชื่อมโยง หรือยัดเยียดข้อหาเป็นอีกขบวนการหนึ่งที่เรียกว่า "ขบวนการล้มเจ้า" ซึ่งถูกตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดย "ขบวนการ ศอฉ.”
ลัทธิ กรรมวิธี หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตามแต่เกี่ยวกับการล่าและประหัตประหารแม่มดอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นจากการพิพากษาของศาลที่สนับสนุนโดยพระสันตะปาปา ที่จัดตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือช่วงปลายยุคกลาง (เรื่องราวการต่อต้านแม่มด และคุณไสยมีอยู่ก่อนยุคกลางแล้ว แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย) แต่การเข่นฆ่า ทารุณกรรมแม่มดขนานใหญ่ เกิดขึ้นตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 15 ต่อเนื่องไปจนถึงศตวรรษที่ 17 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเหตุการณ์ทรมานให้รับสารภาพ และประหารแม่มดจำนวนมากด้วยการเผาไฟทั้งเป็น ในข้อหากบฏ เพราะมีแผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ ในคดีที่ นอร์ธ เบอร์วิก (North Berwick) ลัทธิล่าแม่มดนี้ถือเป็นรอยแปดเปื้อนรอยใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์มนุษยชาติของโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่คนยุคหลังล้วนสรุปต้องตรงกันว่า มันเป็นวิธีการอันป่าเถื่อน ไร้มนุษยธรรม มุ่งใส่ความประจานหยามเหยียด เป็นเครื่องมือเพื่อใช้กำจัดผู้มีความคิดเห็นต่างจากผู้มีอำนาจ ทั้งนี้ไม่เฉพาะในวงศาสนจักรแต่ยังล่วงเข้าไปถึงฝ่ายอาณาจักร ด้วยการยัดเยียดข้อหาร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐาน หรือเหตุผลที่หนักแน่นมารองรับ ซึ่งล้วนขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งสิ้น
ด้วยเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวมา อันที่จริงแล้ว จึงไม่น่าจะมีเหตุผลหรือความชอบธรรมใด ๆ อีกเลยที่แนวความคิดสามานย์ ที่ว่าด้วยการใส่ร้าย หรือยัดเยียดข้อกล่าวหาที่รุนแรง ประจาน และลงโทษกันเองโดยขาดเหตุผลแบบนี้ จะกลับฟื้นคืนชีพ กลายเป็นสิ่งพึงพิศมัย สามารถปรากฏตัว และผสมผสานอยู่ได้กับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ในโลกอินเทอร์เน็ต คนที่อ้างหรือเชื่อว่าตนมีความเป็นศิวิไลน์แล้วในยุคข้อมูลข่าวสาร ที่สำคัญกว่านั้น คือ มันกำลังกลายเป็นความรุนแรงอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์หรือโลกเสมือน นอกเหนือจากความรุนแรงในโลกแห่งความเป็นจริงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ชนิดที่ยังไม่มีใครล่วงรู้ถึงจุดจบ อนึ่ง ปัจจุบัน มิเพียงแต่ในเครือข่าย Social Network อย่าง Feacbook เท่านั้น แต่กลุ่มที่มีแนวความคิดแบบเดียวกันนี้ยังใช้วิธีการส่งต่อข้อมูลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมลเพื่อประจานเหยื่อแบบเป็นกลุ่มลูกโซ่อีกด้วย
การถูกนำ ชื่อจริง นามสกุลจริง ประวัติการศึกษา ชื่อบิดามารดา เบอร์โทรศัพท์ รสนิยมส่วนตัวในเรื่องต่าง ๆ มาเปิดเผย การถูกรุมด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย ถูกสมาชิกในกลุ่มล่าแม่มด ฯ วิเคราะห์ไปในเชิงที่จะถูกดูหมิ่น เสื่อมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียง การถูกไล่ออกจากงาน ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับในข้อหาต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับการถูกโทรศัพท์ข่มขู่จะเอาชีวิต และร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่หลายคนอาจยังไม่รู้
ด้วยผลพวงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปรากฏการณ์การ "ล่าแม่มด" ในอินเทอร์เน็ต (ไทย) ซึ่งกำลังปฏิบัติการกันอยู่อย่างเป็นการเป็นงาน อีกทั้งดูเหมือนจะได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจในบ้านเมืองบางกลุ่มอยู่ด้วย ในทศวรรษนี้ ผู้เขียนมีข้อสังเกต รวมทั้งอยากให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำเหล่านี้ ดังนี้
1. เรื่องนี้อาจทำให้หลาย ๆ คนที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้สนใจ หรือให้ความสำคัญนักกับ "ข้อมูลส่วนบุคคล" ของตัวเอง ที่ถูกคีย์ หรือส่งเข้าไปโลดแล่นอยู่ในเครือข่ายออนไลน์สาธารณะ ทั้งจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจให้คนอื่นนำไปใช้ต่อก็ตาม เริ่มหันมองปัญหา หรือกระทั่งมองหากฎหมายที่ว่าด้วย "การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" ในประเทศไทยมากขึ้น แต่ความสนใจในปัญหานี้ย่อมยังไม่เพียงพอ เพราะที่ถูกแล้วคนไทยควรต้องหันมาสนใจมาตรการการป้องกันตนเอง จากการถูกใช้ข้อมูลส่วนบุคคลไปในทางอื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมายด้วย
2. น่าเศร้าใจว่า คนรุ่นใหม่ที่ควรคาดหวังได้ว่ามีหัวก้าวหน้า เคารพในสิทธิเสรีภาพในความเชื่อความศรัทธา เคารพพื้นที่ความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคารพข้อมูลส่วนบุคคล "ทรัพย์ดิจิตอล" ที่ถูกยกให้มีความสำคัญ และควรได้รับความคุ้มครองที่สุดในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มคนที่ครั้งหนึ่งเรียกร้องให้คนอื่นเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเพราะได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของคนเสื้อแดง กลับไม่มีความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย ความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น ขาดความเคารพในสิทธิเสรีภาพ ไม่ แม้กระทั่งเคารพข้อมูลของบุคคลอื่น หลายคนทำลืมไปว่า "ข้อมูล" ของตนเอง ณ ปัจจุบันก็โลดแล่นอยู่ในระบบออนไลน์นี้เช่นกัน บางคนทำเป็นไม่ใส่ใจว่าถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับตนบ้างตนจะมีความรู้สึกหรือต้องได้รับความเสียหายอย่างไร บุคคลผู้เรียกตัวเองว่าเป็นคนทันสมัยเหล่านี้ กลับมีความคิดคับแคบ และใช้วิธีการแย่เสียยิ่งกว่า Hacker คนที่ได้ชื่อว่าเป็นอาชญากรคอมพิวเตอร์ แต่ในยุคหนึ่งพวกเขาเคยกำหนดจรรยาบรรณร่วมกันไว้ข้อหนึ่งว่า "จงใช้ข้อมูลสาธารณะ ในขณะที่ต้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" [2]
3. น่าสนใจว่า ในขณะที่หลักการ และเหตุผลในกระบวนการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) ที่ตั้งอยู่บนอารมณ์ ความรู้สึก หลาย ๆ กรณีที่ปรากฏอยู่ในขบวนการดังกล่าว ไม่ได้สอดคล้องกับหลักการที่ปรากฏในบทบัญญัติของกฎหมายเลย แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยกลับตอบสนองข้อเสนอของขบวนการนี้ด้วยความรวดเร็วฉับไว ผิดกับการตอบสนองต่อการร้องเรียนให้ตรวจสอบการกระทำต่าง ๆ ที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ทั้งที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และของบุคคลกลุ่มอื่นใด ที่ไม่ใช่กลุ่มคนเสื้อแดง หรือกลุ่มที่ดูเหมือนจะสนับสนุนคนเสื้อแดง ซึ่งมักเป็นไปด้วยความล่าช้า ประวิงเวลา หรือกระทั่งโยนข้อร้องเรียนนั้นทิ้งด้วยข้ออ้างว่าตนไม่มีอำนาจ
แม้ มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทประมุขแห่งรัฐฯ มีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างจากการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาอยู่หลายประการ กล่าวคือ ใครกล่าวโทษฟ้องร้องก็ได้, ยอมความไม่ได้, ไม่มีข้อยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษ และมีโทษหนักมาก แต่ควรต้องเข้าใจด้วยว่า องค์ประกอบความผิดในมาตรานี้ไม่ได้มีความแตกต่างไปจากองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาเลยคือ ต้องเป็นการใส่ความ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จากบุคคลอื่น หรือบุคคลที่สาม
จริงอยู่ที่ว่า การใส่ความนั้นไม่ได้หมายเฉพาะแต่การพูด การเขียน แต่หมายรวมไปถึงพฤติกรรม การกระทำ การแสดงท่าทางด้วย จริงอยู่ที่พฤติกรรมบางอย่าง ที่ถือไม่ได้ว่าถึงขั้นใส่ความแล้ว กับคนในสถานะหนึ่ง อาจเป็นการใส่ความที่เป็นหมิ่นประมาทได้เหมือนกัน ถ้าพูด เขียน หรือกระทำกับคนในอีกสถานะหนึ่ง แต่การวินิจฉัยว่าการกระทำหนึ่ง ๆ จะถึงขั้นหมิ่นประมาทหรือไม่ อย่างไร นอกจากต้องพิจารณาจากมุมผู้ถูกใส่ความเอง และศาล แล้ว จำเป็นต้องดูความคิดความเห็นของ "วิญญูชน" อื่น ๆ (ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ชัดเจนว่ามีความเกลียดชัง หรือมีอคติต่อผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด) ประกอบด้วยว่า มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะทำให้บุคคลผู้ถูกใส่ความ ถูกสังคม และผู้คนเกลียดชัง ดูถูกดูแคลน ได้หรือไม่
จากเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นย่อมถือเป็นสิ่งท้าทายความกล้าหาญทางวิชาชีพของ นักกฎหมาย และนักปฏิบัติการตามกฎหมาย เช่นกัน ที่จะต้องร่วมกันตั้งคำถามและวินิจฉัยให้ได้ว่าการ "ปลดรูป" ลง ถือเป็นการกระทำที่ถึงระดับขั้นที่ว่านี้แล้วหรือไม่ การกระทำเช่นนั้นแสดงได้แล้วหรือว่าจะทำให้ผู้คนทั่วไปที่ได้รู้เหตุการณ์นี้ เกิดความเกลียดชังเจ้าของรูป ทำนองเดียวกันกับกรณีการ "ไม่ยืน" เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีดังขึ้น ถือเป็นพฤติกรรม หรืออาชญากรรมหนึ่งที่ถึงขั้นใส่ความแล้วฉะนั้นหรือ ? ที่สำคัญไม่ควรลืมว่า กฎหมายอาญาจะลงโทษ หรือจะลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่การกระทำความผิดในกลุ่ม "หมิ่นประมาท" นี้ได้ ก็ต่อเมื่อ "ความเสียชื่อเสียง การถูกดูหมิ่น หรือการถูกเกลียดชัง" นั้น เกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้นกับ "ผู้ถูกกระทำ" หาใช่ "ผู้กระทำ" ไม่ แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ก็คือ มิเพียงการตีความการกระทำความผิดในฐานนี้จะกว้างขวางไร้ขอบเขตแล้ว ยังดูเหมือนว่าความเสื่อมเสียทั้งหลายบรรดามี มักเกิดขึ้นทันทีต่อตัวผู้กระทำเอง และบางครั้งถึงขั้นเกี่ยวพันหรือมีอิทธิพลต่อความเป็นกลางของหน่วยงานผู้ตัดสิน
กฎหมายอาญาเปรียบเสมือนของมีคม ถูกนำไปใช้ลงโทษผู้ใดเมื่อใดผู้นั้นก็ต้องได้รับบาดเจ็บ หลักสำคัญที่สุดที่ถูกวางไว้ทั้งในแง่มุมของการบัญญัติ และการใช้บังคับกฎหมายประเภทนี้ จึงมีถึง 4 ประการด้วยกัน คือ ต้องบัญญัติให้ชัดเจนว่าอะไรห้าม หรืออะไรไม่ห้าม ต้องไม่ใช้วิธีตีความเทียบเคียงจากกฎหมายอื่นใดมาให้เป็นโทษแก่ผู้ถูกกล่าวหา ห้ามลงโทษย้อนหลัง รวมกระทั่งห้ามเอาจารีตประเพณีมาใช้ในทางที่เป็นโทษกับผู้ต้องหา แต่การณ์กลับปรากฏว่า กฎหมายหลายต่อหลายฉบับ และการใช้กฎหมายหลายต่อหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมาในประเทศ หมิ่นเหม่ และถูกตั้งคำถามถึงความชอบด้วยหลักการทางกฎหมายอาญาอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนคนไทยจำนวนมาก (ที่ยุยงให้ใช้กฎหมายอาญาโดยไม่สนใจหลักการที่ถูกต้อง) จะไม่เคยเรียนรู้ หรืออยากที่จะเรียนรู้ถึงความเสียหาย หรือรู้สึกหวาดผวากับผลกระทบใด ๆ เลย ตราบใดที่ผลกระทบและปัญหาเหล่านั้นยังไม่เกิดขึ้นกับตัวเขา หรือครอบครัวของเขาเอง
4. คงไม่แปลกอีกต่อไปแล้วกระมัง หากจะไม่ปรากฏข้อเรียกร้องความเป็นธรรมใด ๆ จากกลุ่มที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน หรือกลุ่มสันติวิธีที่ตั้งขึ้นเองจำนวนมาก เกี่ยวกับการนำรูป นำข้อมูลส่วนบุคคล ออกมาเผยแพร่ (เสียบ)ประจาน คนที่เห็นด้วย หรือทำท่าว่าจะเห็นด้วยกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง เพื่อให้คนอีกจำนวนมากที่อยู่ฝั่งตรงข้ามเข้ามาต่อว่า ด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย รุนแรง หรือกระทั่งปลุกปั่น ยุงยงให้คนที่พบเห็นทำร้ายชีวิตร่างกายของบุคคลนั้น
5. ไม่แน่ใจว่า ในประเทศไทยเคยมีความเคลื่อนไหวใด ๆ จากภาคสังคม กลุ่มพนักงาน แรงงาน ฯลฯ ในประเด็นที่เกี่ยวพันกับการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมด้วยข้ออ้างที่ไร้เหตุผล และพยานหลักฐานที่ไม่แน่นหนา โดยผู้ประกอบการบ้างหรือไม่ อาจเคยมีก็ได้ แต่ครั้งนี้ยังไม่เห็น
ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ใดก็ตามที่ถูกขบวนการดังกล่าวนำข้อมูลส่วนบุคคลของตน มาเปิดเผย นำออกแสดง หรือนำไปใช้ในทางที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น
1. เบื้องต้น ในประเด็นด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ธรรมชาติของสื่อสาธารณะออนไลน์ รวมทั้งปัญหาช่องโหว่ของกฎหมาย (สถานภาพปัจจุบันของ "พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" คือ "ร่าง") โปรดเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ในการส่งข้อมูลส่วนบุคคลในแง่มุมต่าง ๆ ของท่านไปไว้ในบริการต่าง ๆ บนเครือข่ายออนไลน์ ทั้งนี้ไม่เฉพาะแต่เครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต แต่หมายรวมถึงเครือข่ายภายในอย่างอินทราเน็ต ด้วย
สำหรับข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในระบบสาธารณะอยู่แล้ว ปัญหาที่ต้องสนใจ ก็คือ บุคคลอื่นใดจะนำไปเปิดเผยที่อื่นนอกเหนือจากที่ ๆ เจ้าของนำไปโพสไว้ได้หรือไม่ ? ซึ่งประเด็นนี้อาจยังติดปัญหาดังกล่าวไปแล้วเรื่อง คือ กฎหมายที่จะเข้ามาคุ้มครองตรง ๆ ยังไม่มี แต่หากปรากฎชัด หรือผู้ได้รับความเสียหายมีพยานหลักฐานในเบื้องต้น หรือมีเหตุอันชัดเจนว่า ขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ เจาะระบบ ดักรับ หรือจรากรรมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นใดที่ผู้เป็นเจ้าของไม่เคยนำไปโพสไว้ในบอร์ด หรือพื้นที่สาธารณะที่ไหนเลย การกระทำของสมาชิกขบวนการแม่มดฯ ดังกล่าวย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5, 7 หรือ 8 ได้
2. หากผู้ถูกประจานประเมินแล้วว่า ตนได้รับความเสียหายจากการกระทำต่าง ๆ โดยขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ ในที่นี้หมายถึง ทั้งจากการที่ข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปเปิดเผยในที่อื่นใดโดยฝ่าฝืนต่อความประสงค์ เป็นเหตุให้ข้อมูลนั้นแพร่กระจายหรือถูกนำไปใช้ต่อด้วยวัตถุประสงค์อื่น และทั้งจากการถูกรุมด่าประณามด้วยถ้อยคำเสียหายแบบขาดไร้พยานหลักฐาน ก่อให้ถูกดูหมิ่น เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง และข้อความต่าง ๆ เหล่านั้นไม่เป็นความจริง กรณีต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถพิจารณาได้กับความเสียหายในทางแพ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อหา "ละเมิด" ตามมาตรา 420 อันเป็นบททั่วไป หรือมาตรา 423 ที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเหล่านี้ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือให้ศาลใช้มาตรการเยียวยาอื่นใดได้ เช่น ลบข้อความนั้นเสีย หรือลงข้อความขอโทษในสื่อตามระยะเวลากำหนด (มาตรา 447 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
"มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"
"มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดย ประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อ ความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเอง หรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้วท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหม ทดแทนไม่"
3. นอกจากข้อพิจารณาในทางแพ่งแล้ว การกระทำของขบวนการดังกล่าวยังอาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญาที่ว่าด้วยการ "หมิ่นประมาทบุคคลอื่น" ตามมาตรา 326 หรือ 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีทั้งโทษจำคุก และหรือปรับ ด้วย
"มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"
"มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท"
โดยเมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ขบวนการล่าแม่มดออนไลน์กระทำแล้ว กล่าวคือ เพื่อ "(เสียบ)ประจาน" (ตามถ้อยคำที่กลุ่มใช้เอง) ย่อมถือไม่ได้ว่าการต่าง ๆ เหล่านั้นเป็น "การติชมโดยสุจริต" อันจะเป็นเหตุให้ได้รับยกเว้นความผิดตามมาตรา 329 ได้
อนึ่ง หากประสงค์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลใด ๆ ควรเตรียมเก็บพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เตรียมพร้อมไว้ เนื่องจากข้อมูล ถ้อยคำ ข้อความ รูปภาพในลักษณะนี้ สามารถถูกเปลี่ยนแปลง ทำลาย หรือโยกย้ายเปลี่ยนที่ทางได้ในเวลาอันรวดเร็ว
4. มิเพียงแต่ความผิดที่กระทำต่อ ข้อมูลส่วนบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง เท่านั้น ที่ขบวนการล่าแม่มดดังกล่าวควรต้องรับผิดชอบ แต่การกระทำความผิดต่อความปลอดภัย หรือเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย อนามัย รวมทั้งสุขภาพจิตของเหยื่อผู้ถูกกระทำ ก็ควรตกอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของขบวนการดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ อาจเป็นได้ทั้งในนามตัวการร่วม ผู้ใช้หรือยุยง หรือผู้สนับสนุนให้เกิดการกระทำความผิดในฐานอื่นใด (หากจะเกิดขึ้นจริง) อาทิ การข่มขืนใจผู้อื่น โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ฯลฯ (มาตรา 309 ประมวลกฎหมายาอาญา) , ทำร้ายร่างกาย (มาตรา 297 ประมวลกฎหมายอาญา) ฯลฯ
5. หากมีบุคคลใดถูกไล่ออกจากงาน หรือถูกกระทำการใด ๆ โดยไม่เป็นธรรมในที่ทำงาน ด้วยเหตุผลเพียงเพราะถูกกลุ่มบุคคล หรือขบวนการลักษณะนี้กล่าวหา ประจานอย่างเลื่อนลอย บุคคลนั้นควรคิดหาทางเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ว่าด้วย การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม เพื่อเรียกร้องเงิน หรือมาตรการชดเชยควบคู่ไปด้วย
6. อาจรวมกลุ่มกันดำเนินการยื่นหนังสือเปิดผนึก หรือบันทึกร้องเรียนไปยัง ผู้บริหาร Facebook เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของขบวนการล่าแม่มดฯ ดังกล่าว โดยพยายามชี้ให้เห็นว่า นอกจากจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายแล้ว ยังขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน และหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย ขอให้ Facebook ใช้มาตรการที่เหมาะสมในการจัดการดูแลต่อไป
7. การตั้งกลุ่มต่อต้านขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ อาทิ กลุ่ม "Anti -Social Sanction: ยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคม" [3] ย่อมถือเป็นสิทธิ และทำได้ตามสมควร แต่ต้องระมัดระวัง และไม่ควรใช้วิธีการเช่นเดียวกับที่กลุ่ม "Social Sanction: ยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคม" ใช้อยู่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กลายเป็นการผลิตซ้ำความรุนแรง และแนวความคิดสามานย์ที่มีลักษณะทั้งขัดต่อกฎหมาย และขัดต่อสิทธิมนุษยชนเสียเอง
สุดท้ายนี้ ขอความสันติ อหิงสา จงมีมาพร้อม ๆ กับความเท่าเทียมเสมอภาค ไม่ว่าจะในโลกจริง หรือโลกเสมือนจริง
จากใจ แม่มดตนหนึ่ง ที่รอคอยการล่า
โดย.สาวตรี สุขศรี
ที่มา.ประชาไท
**********************************************************
ลัทธิ กรรมวิธี หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตามแต่เกี่ยวกับการล่าและประหัตประหารแม่มดอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นจากการพิพากษาของศาลที่สนับสนุนโดยพระสันตะปาปา ที่จัดตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือช่วงปลายยุคกลาง (เรื่องราวการต่อต้านแม่มด และคุณไสยมีอยู่ก่อนยุคกลางแล้ว แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย) แต่การเข่นฆ่า ทารุณกรรมแม่มดขนานใหญ่ เกิดขึ้นตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 15 ต่อเนื่องไปจนถึงศตวรรษที่ 17 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเหตุการณ์ทรมานให้รับสารภาพ และประหารแม่มดจำนวนมากด้วยการเผาไฟทั้งเป็น ในข้อหากบฏ เพราะมีแผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ ในคดีที่ นอร์ธ เบอร์วิก (North Berwick) ลัทธิล่าแม่มดนี้ถือเป็นรอยแปดเปื้อนรอยใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์มนุษยชาติของโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่คนยุคหลังล้วนสรุปต้องตรงกันว่า มันเป็นวิธีการอันป่าเถื่อน ไร้มนุษยธรรม มุ่งใส่ความประจานหยามเหยียด เป็นเครื่องมือเพื่อใช้กำจัดผู้มีความคิดเห็นต่างจากผู้มีอำนาจ ทั้งนี้ไม่เฉพาะในวงศาสนจักรแต่ยังล่วงเข้าไปถึงฝ่ายอาณาจักร ด้วยการยัดเยียดข้อหาร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐาน หรือเหตุผลที่หนักแน่นมารองรับ ซึ่งล้วนขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งสิ้น
ด้วยเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวมา อันที่จริงแล้ว จึงไม่น่าจะมีเหตุผลหรือความชอบธรรมใด ๆ อีกเลยที่แนวความคิดสามานย์ ที่ว่าด้วยการใส่ร้าย หรือยัดเยียดข้อกล่าวหาที่รุนแรง ประจาน และลงโทษกันเองโดยขาดเหตุผลแบบนี้ จะกลับฟื้นคืนชีพ กลายเป็นสิ่งพึงพิศมัย สามารถปรากฏตัว และผสมผสานอยู่ได้กับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ในโลกอินเทอร์เน็ต คนที่อ้างหรือเชื่อว่าตนมีความเป็นศิวิไลน์แล้วในยุคข้อมูลข่าวสาร ที่สำคัญกว่านั้น คือ มันกำลังกลายเป็นความรุนแรงอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์หรือโลกเสมือน นอกเหนือจากความรุนแรงในโลกแห่งความเป็นจริงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ชนิดที่ยังไม่มีใครล่วงรู้ถึงจุดจบ อนึ่ง ปัจจุบัน มิเพียงแต่ในเครือข่าย Social Network อย่าง Feacbook เท่านั้น แต่กลุ่มที่มีแนวความคิดแบบเดียวกันนี้ยังใช้วิธีการส่งต่อข้อมูลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมลเพื่อประจานเหยื่อแบบเป็นกลุ่มลูกโซ่อีกด้วย
การถูกนำ ชื่อจริง นามสกุลจริง ประวัติการศึกษา ชื่อบิดามารดา เบอร์โทรศัพท์ รสนิยมส่วนตัวในเรื่องต่าง ๆ มาเปิดเผย การถูกรุมด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย ถูกสมาชิกในกลุ่มล่าแม่มด ฯ วิเคราะห์ไปในเชิงที่จะถูกดูหมิ่น เสื่อมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียง การถูกไล่ออกจากงาน ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับในข้อหาต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับการถูกโทรศัพท์ข่มขู่จะเอาชีวิต และร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่หลายคนอาจยังไม่รู้
ด้วยผลพวงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปรากฏการณ์การ "ล่าแม่มด" ในอินเทอร์เน็ต (ไทย) ซึ่งกำลังปฏิบัติการกันอยู่อย่างเป็นการเป็นงาน อีกทั้งดูเหมือนจะได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจในบ้านเมืองบางกลุ่มอยู่ด้วย ในทศวรรษนี้ ผู้เขียนมีข้อสังเกต รวมทั้งอยากให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำเหล่านี้ ดังนี้
1. เรื่องนี้อาจทำให้หลาย ๆ คนที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้สนใจ หรือให้ความสำคัญนักกับ "ข้อมูลส่วนบุคคล" ของตัวเอง ที่ถูกคีย์ หรือส่งเข้าไปโลดแล่นอยู่ในเครือข่ายออนไลน์สาธารณะ ทั้งจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจให้คนอื่นนำไปใช้ต่อก็ตาม เริ่มหันมองปัญหา หรือกระทั่งมองหากฎหมายที่ว่าด้วย "การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" ในประเทศไทยมากขึ้น แต่ความสนใจในปัญหานี้ย่อมยังไม่เพียงพอ เพราะที่ถูกแล้วคนไทยควรต้องหันมาสนใจมาตรการการป้องกันตนเอง จากการถูกใช้ข้อมูลส่วนบุคคลไปในทางอื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมายด้วย
2. น่าเศร้าใจว่า คนรุ่นใหม่ที่ควรคาดหวังได้ว่ามีหัวก้าวหน้า เคารพในสิทธิเสรีภาพในความเชื่อความศรัทธา เคารพพื้นที่ความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคารพข้อมูลส่วนบุคคล "ทรัพย์ดิจิตอล" ที่ถูกยกให้มีความสำคัญ และควรได้รับความคุ้มครองที่สุดในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มคนที่ครั้งหนึ่งเรียกร้องให้คนอื่นเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเพราะได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของคนเสื้อแดง กลับไม่มีความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย ความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น ขาดความเคารพในสิทธิเสรีภาพ ไม่ แม้กระทั่งเคารพข้อมูลของบุคคลอื่น หลายคนทำลืมไปว่า "ข้อมูล" ของตนเอง ณ ปัจจุบันก็โลดแล่นอยู่ในระบบออนไลน์นี้เช่นกัน บางคนทำเป็นไม่ใส่ใจว่าถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับตนบ้างตนจะมีความรู้สึกหรือต้องได้รับความเสียหายอย่างไร บุคคลผู้เรียกตัวเองว่าเป็นคนทันสมัยเหล่านี้ กลับมีความคิดคับแคบ และใช้วิธีการแย่เสียยิ่งกว่า Hacker คนที่ได้ชื่อว่าเป็นอาชญากรคอมพิวเตอร์ แต่ในยุคหนึ่งพวกเขาเคยกำหนดจรรยาบรรณร่วมกันไว้ข้อหนึ่งว่า "จงใช้ข้อมูลสาธารณะ ในขณะที่ต้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" [2]
3. น่าสนใจว่า ในขณะที่หลักการ และเหตุผลในกระบวนการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) ที่ตั้งอยู่บนอารมณ์ ความรู้สึก หลาย ๆ กรณีที่ปรากฏอยู่ในขบวนการดังกล่าว ไม่ได้สอดคล้องกับหลักการที่ปรากฏในบทบัญญัติของกฎหมายเลย แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยกลับตอบสนองข้อเสนอของขบวนการนี้ด้วยความรวดเร็วฉับไว ผิดกับการตอบสนองต่อการร้องเรียนให้ตรวจสอบการกระทำต่าง ๆ ที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ทั้งที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และของบุคคลกลุ่มอื่นใด ที่ไม่ใช่กลุ่มคนเสื้อแดง หรือกลุ่มที่ดูเหมือนจะสนับสนุนคนเสื้อแดง ซึ่งมักเป็นไปด้วยความล่าช้า ประวิงเวลา หรือกระทั่งโยนข้อร้องเรียนนั้นทิ้งด้วยข้ออ้างว่าตนไม่มีอำนาจ
แม้ มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทประมุขแห่งรัฐฯ มีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างจากการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาอยู่หลายประการ กล่าวคือ ใครกล่าวโทษฟ้องร้องก็ได้, ยอมความไม่ได้, ไม่มีข้อยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษ และมีโทษหนักมาก แต่ควรต้องเข้าใจด้วยว่า องค์ประกอบความผิดในมาตรานี้ไม่ได้มีความแตกต่างไปจากองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาเลยคือ ต้องเป็นการใส่ความ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จากบุคคลอื่น หรือบุคคลที่สาม
จริงอยู่ที่ว่า การใส่ความนั้นไม่ได้หมายเฉพาะแต่การพูด การเขียน แต่หมายรวมไปถึงพฤติกรรม การกระทำ การแสดงท่าทางด้วย จริงอยู่ที่พฤติกรรมบางอย่าง ที่ถือไม่ได้ว่าถึงขั้นใส่ความแล้ว กับคนในสถานะหนึ่ง อาจเป็นการใส่ความที่เป็นหมิ่นประมาทได้เหมือนกัน ถ้าพูด เขียน หรือกระทำกับคนในอีกสถานะหนึ่ง แต่การวินิจฉัยว่าการกระทำหนึ่ง ๆ จะถึงขั้นหมิ่นประมาทหรือไม่ อย่างไร นอกจากต้องพิจารณาจากมุมผู้ถูกใส่ความเอง และศาล แล้ว จำเป็นต้องดูความคิดความเห็นของ "วิญญูชน" อื่น ๆ (ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ชัดเจนว่ามีความเกลียดชัง หรือมีอคติต่อผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด) ประกอบด้วยว่า มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะทำให้บุคคลผู้ถูกใส่ความ ถูกสังคม และผู้คนเกลียดชัง ดูถูกดูแคลน ได้หรือไม่
จากเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นย่อมถือเป็นสิ่งท้าทายความกล้าหาญทางวิชาชีพของ นักกฎหมาย และนักปฏิบัติการตามกฎหมาย เช่นกัน ที่จะต้องร่วมกันตั้งคำถามและวินิจฉัยให้ได้ว่าการ "ปลดรูป" ลง ถือเป็นการกระทำที่ถึงระดับขั้นที่ว่านี้แล้วหรือไม่ การกระทำเช่นนั้นแสดงได้แล้วหรือว่าจะทำให้ผู้คนทั่วไปที่ได้รู้เหตุการณ์นี้ เกิดความเกลียดชังเจ้าของรูป ทำนองเดียวกันกับกรณีการ "ไม่ยืน" เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีดังขึ้น ถือเป็นพฤติกรรม หรืออาชญากรรมหนึ่งที่ถึงขั้นใส่ความแล้วฉะนั้นหรือ ? ที่สำคัญไม่ควรลืมว่า กฎหมายอาญาจะลงโทษ หรือจะลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่การกระทำความผิดในกลุ่ม "หมิ่นประมาท" นี้ได้ ก็ต่อเมื่อ "ความเสียชื่อเสียง การถูกดูหมิ่น หรือการถูกเกลียดชัง" นั้น เกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้นกับ "ผู้ถูกกระทำ" หาใช่ "ผู้กระทำ" ไม่ แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ก็คือ มิเพียงการตีความการกระทำความผิดในฐานนี้จะกว้างขวางไร้ขอบเขตแล้ว ยังดูเหมือนว่าความเสื่อมเสียทั้งหลายบรรดามี มักเกิดขึ้นทันทีต่อตัวผู้กระทำเอง และบางครั้งถึงขั้นเกี่ยวพันหรือมีอิทธิพลต่อความเป็นกลางของหน่วยงานผู้ตัดสิน
กฎหมายอาญาเปรียบเสมือนของมีคม ถูกนำไปใช้ลงโทษผู้ใดเมื่อใดผู้นั้นก็ต้องได้รับบาดเจ็บ หลักสำคัญที่สุดที่ถูกวางไว้ทั้งในแง่มุมของการบัญญัติ และการใช้บังคับกฎหมายประเภทนี้ จึงมีถึง 4 ประการด้วยกัน คือ ต้องบัญญัติให้ชัดเจนว่าอะไรห้าม หรืออะไรไม่ห้าม ต้องไม่ใช้วิธีตีความเทียบเคียงจากกฎหมายอื่นใดมาให้เป็นโทษแก่ผู้ถูกกล่าวหา ห้ามลงโทษย้อนหลัง รวมกระทั่งห้ามเอาจารีตประเพณีมาใช้ในทางที่เป็นโทษกับผู้ต้องหา แต่การณ์กลับปรากฏว่า กฎหมายหลายต่อหลายฉบับ และการใช้กฎหมายหลายต่อหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมาในประเทศ หมิ่นเหม่ และถูกตั้งคำถามถึงความชอบด้วยหลักการทางกฎหมายอาญาอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนคนไทยจำนวนมาก (ที่ยุยงให้ใช้กฎหมายอาญาโดยไม่สนใจหลักการที่ถูกต้อง) จะไม่เคยเรียนรู้ หรืออยากที่จะเรียนรู้ถึงความเสียหาย หรือรู้สึกหวาดผวากับผลกระทบใด ๆ เลย ตราบใดที่ผลกระทบและปัญหาเหล่านั้นยังไม่เกิดขึ้นกับตัวเขา หรือครอบครัวของเขาเอง
4. คงไม่แปลกอีกต่อไปแล้วกระมัง หากจะไม่ปรากฏข้อเรียกร้องความเป็นธรรมใด ๆ จากกลุ่มที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน หรือกลุ่มสันติวิธีที่ตั้งขึ้นเองจำนวนมาก เกี่ยวกับการนำรูป นำข้อมูลส่วนบุคคล ออกมาเผยแพร่ (เสียบ)ประจาน คนที่เห็นด้วย หรือทำท่าว่าจะเห็นด้วยกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง เพื่อให้คนอีกจำนวนมากที่อยู่ฝั่งตรงข้ามเข้ามาต่อว่า ด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย รุนแรง หรือกระทั่งปลุกปั่น ยุงยงให้คนที่พบเห็นทำร้ายชีวิตร่างกายของบุคคลนั้น
5. ไม่แน่ใจว่า ในประเทศไทยเคยมีความเคลื่อนไหวใด ๆ จากภาคสังคม กลุ่มพนักงาน แรงงาน ฯลฯ ในประเด็นที่เกี่ยวพันกับการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมด้วยข้ออ้างที่ไร้เหตุผล และพยานหลักฐานที่ไม่แน่นหนา โดยผู้ประกอบการบ้างหรือไม่ อาจเคยมีก็ได้ แต่ครั้งนี้ยังไม่เห็น
ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ใดก็ตามที่ถูกขบวนการดังกล่าวนำข้อมูลส่วนบุคคลของตน มาเปิดเผย นำออกแสดง หรือนำไปใช้ในทางที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น
1. เบื้องต้น ในประเด็นด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ธรรมชาติของสื่อสาธารณะออนไลน์ รวมทั้งปัญหาช่องโหว่ของกฎหมาย (สถานภาพปัจจุบันของ "พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" คือ "ร่าง") โปรดเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ในการส่งข้อมูลส่วนบุคคลในแง่มุมต่าง ๆ ของท่านไปไว้ในบริการต่าง ๆ บนเครือข่ายออนไลน์ ทั้งนี้ไม่เฉพาะแต่เครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต แต่หมายรวมถึงเครือข่ายภายในอย่างอินทราเน็ต ด้วย
สำหรับข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในระบบสาธารณะอยู่แล้ว ปัญหาที่ต้องสนใจ ก็คือ บุคคลอื่นใดจะนำไปเปิดเผยที่อื่นนอกเหนือจากที่ ๆ เจ้าของนำไปโพสไว้ได้หรือไม่ ? ซึ่งประเด็นนี้อาจยังติดปัญหาดังกล่าวไปแล้วเรื่อง คือ กฎหมายที่จะเข้ามาคุ้มครองตรง ๆ ยังไม่มี แต่หากปรากฎชัด หรือผู้ได้รับความเสียหายมีพยานหลักฐานในเบื้องต้น หรือมีเหตุอันชัดเจนว่า ขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ เจาะระบบ ดักรับ หรือจรากรรมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นใดที่ผู้เป็นเจ้าของไม่เคยนำไปโพสไว้ในบอร์ด หรือพื้นที่สาธารณะที่ไหนเลย การกระทำของสมาชิกขบวนการแม่มดฯ ดังกล่าวย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5, 7 หรือ 8 ได้
2. หากผู้ถูกประจานประเมินแล้วว่า ตนได้รับความเสียหายจากการกระทำต่าง ๆ โดยขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ ในที่นี้หมายถึง ทั้งจากการที่ข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปเปิดเผยในที่อื่นใดโดยฝ่าฝืนต่อความประสงค์ เป็นเหตุให้ข้อมูลนั้นแพร่กระจายหรือถูกนำไปใช้ต่อด้วยวัตถุประสงค์อื่น และทั้งจากการถูกรุมด่าประณามด้วยถ้อยคำเสียหายแบบขาดไร้พยานหลักฐาน ก่อให้ถูกดูหมิ่น เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง และข้อความต่าง ๆ เหล่านั้นไม่เป็นความจริง กรณีต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถพิจารณาได้กับความเสียหายในทางแพ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อหา "ละเมิด" ตามมาตรา 420 อันเป็นบททั่วไป หรือมาตรา 423 ที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเหล่านี้ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือให้ศาลใช้มาตรการเยียวยาอื่นใดได้ เช่น ลบข้อความนั้นเสีย หรือลงข้อความขอโทษในสื่อตามระยะเวลากำหนด (มาตรา 447 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
"มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"
"มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดย ประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อ ความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเอง หรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้วท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหม ทดแทนไม่"
3. นอกจากข้อพิจารณาในทางแพ่งแล้ว การกระทำของขบวนการดังกล่าวยังอาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญาที่ว่าด้วยการ "หมิ่นประมาทบุคคลอื่น" ตามมาตรา 326 หรือ 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีทั้งโทษจำคุก และหรือปรับ ด้วย
"มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"
"มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท"
โดยเมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ขบวนการล่าแม่มดออนไลน์กระทำแล้ว กล่าวคือ เพื่อ "(เสียบ)ประจาน" (ตามถ้อยคำที่กลุ่มใช้เอง) ย่อมถือไม่ได้ว่าการต่าง ๆ เหล่านั้นเป็น "การติชมโดยสุจริต" อันจะเป็นเหตุให้ได้รับยกเว้นความผิดตามมาตรา 329 ได้
อนึ่ง หากประสงค์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลใด ๆ ควรเตรียมเก็บพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เตรียมพร้อมไว้ เนื่องจากข้อมูล ถ้อยคำ ข้อความ รูปภาพในลักษณะนี้ สามารถถูกเปลี่ยนแปลง ทำลาย หรือโยกย้ายเปลี่ยนที่ทางได้ในเวลาอันรวดเร็ว
4. มิเพียงแต่ความผิดที่กระทำต่อ ข้อมูลส่วนบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง เท่านั้น ที่ขบวนการล่าแม่มดดังกล่าวควรต้องรับผิดชอบ แต่การกระทำความผิดต่อความปลอดภัย หรือเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย อนามัย รวมทั้งสุขภาพจิตของเหยื่อผู้ถูกกระทำ ก็ควรตกอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของขบวนการดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ อาจเป็นได้ทั้งในนามตัวการร่วม ผู้ใช้หรือยุยง หรือผู้สนับสนุนให้เกิดการกระทำความผิดในฐานอื่นใด (หากจะเกิดขึ้นจริง) อาทิ การข่มขืนใจผู้อื่น โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ฯลฯ (มาตรา 309 ประมวลกฎหมายาอาญา) , ทำร้ายร่างกาย (มาตรา 297 ประมวลกฎหมายอาญา) ฯลฯ
5. หากมีบุคคลใดถูกไล่ออกจากงาน หรือถูกกระทำการใด ๆ โดยไม่เป็นธรรมในที่ทำงาน ด้วยเหตุผลเพียงเพราะถูกกลุ่มบุคคล หรือขบวนการลักษณะนี้กล่าวหา ประจานอย่างเลื่อนลอย บุคคลนั้นควรคิดหาทางเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ว่าด้วย การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม เพื่อเรียกร้องเงิน หรือมาตรการชดเชยควบคู่ไปด้วย
6. อาจรวมกลุ่มกันดำเนินการยื่นหนังสือเปิดผนึก หรือบันทึกร้องเรียนไปยัง ผู้บริหาร Facebook เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของขบวนการล่าแม่มดฯ ดังกล่าว โดยพยายามชี้ให้เห็นว่า นอกจากจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายแล้ว ยังขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน และหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย ขอให้ Facebook ใช้มาตรการที่เหมาะสมในการจัดการดูแลต่อไป
7. การตั้งกลุ่มต่อต้านขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ อาทิ กลุ่ม "Anti -Social Sanction: ยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคม" [3] ย่อมถือเป็นสิทธิ และทำได้ตามสมควร แต่ต้องระมัดระวัง และไม่ควรใช้วิธีการเช่นเดียวกับที่กลุ่ม "Social Sanction: ยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคม" ใช้อยู่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กลายเป็นการผลิตซ้ำความรุนแรง และแนวความคิดสามานย์ที่มีลักษณะทั้งขัดต่อกฎหมาย และขัดต่อสิทธิมนุษยชนเสียเอง
สุดท้ายนี้ ขอความสันติ อหิงสา จงมีมาพร้อม ๆ กับความเท่าเทียมเสมอภาค ไม่ว่าจะในโลกจริง หรือโลกเสมือนจริง
จากใจ แม่มดตนหนึ่ง ที่รอคอยการล่า
โดย.สาวตรี สุขศรี
ที่มา.ประชาไท
**********************************************************
ชำแหละ"คนเสื้อแดง"บนสี่แยกราชประสงค์ ม็อบเติมเงิน หรือ เสรีชนผู้ตื่นตัวทางการเมือง ?
คำถามว่า เสื้อแดง เป็นใครกันแน่ ? คนในรัฐบาลตอบว่า แกนนำเสื้อแดงกับผู้ก่อการร้าย มีความเกี่ยวพันกัน ขณะที่ ชนชั้นกลางในกรุงเทพ ฯ เชื่อว่า ...ก็แค่ม็อบเติมเงิน ถ้า"นายใหญ่"ตาย ม็อบก็สลายตัวไปเองเพราะท่อน้ำเลี้ยงแห้ง แต่ ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย นักเศรษฐศาสตร์การเมือง สำนักท่าพระจันทร์ มีคำอธิบายที่แตกต่าง ลองพินิจพิเคราะห์ดูว่า เสื้อแดง คือ ใครกันแน่ ?
ประโยคทำนองว่า "เมื่อสิ่งใหม่กำลังจะเกิดขึ้น แต่สิ่งเก่าไม่ยอมที่จะตาย สิ่งที่จะปรากฏขึ้นก็คือ อสุรกาย" ของอันโตนีโอ กรัมชี่ นักคิดฝ่ายซ้ายลือนามของอิตาลี น่าจะเหมาะสมกับความขัดแย้งทางการเมืองในรอบห้าปีที่ผ่านมา และจะขัดแย้งกันต่อไปอีกหลายปีข้างหน้า
ประเด็นหลักของสังคมก็คือ จะทำอย่างไรไม่ให้อสุรกายแห่งความรุนแรงปรากฏตัวขึ้นมากไปกว่าที่ได้เกิดขึ้นแล้วในช่วงการเปลี่ยนผ่านของดุลกำลังทางชนชั้นนี้
สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้ในทรรศนะของผมคือ สังคมการเมืองจะต้องยอมรับความจริงว่า "คนเสื้อแดง" นั้นมีอยู่จริง และเขาเป็น "เสรีชน" มีความตื่นตัวทางการเมือง เฉกเช่นเดียวกับชนชั้นกลางรุ่นเก่าที่ยุคหนึ่งเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของเดือนตุลาคม 2516
ไม่ว่าเราจะชอบ เห็นด้วย หรือไม่ชอบและต่อต้านความคิดของคนเสื้อแดงก็ตาม เราต้องเข้าใจและยอมรับว่า เขาเป็นกลุ่มพลังทางการเมืองที่ดำรงอยู่จริง และจะไม่ยอมอยู่เฉย ๆ โดยไม่ต่อสู้อีกต่อไป ก็เฉกเช่นเดียวกับเมื่อก่อนเดือนตุลาคม 2516 ที่รัฐบาลสามทรราชปฏิเสธการมีอยู่จริงของพลังชนชั้นกลางในเวลานั้น ซึ่งมีขบวนการนักศึกษา-ปัญญาชนเป็นกองหน้า
รัฐบาลสามทรราชและชนชั้นนำทางอำนาจในขณะนั้นไม่มองกลุ่มพลังชนชั้นกลางว่าเป็นเสรีชน มีความคิด มีผลประโยชน์และมีข้อเรียกร้องของชนชั้น แต่กลับมองว่าเป็นกลุ่มที่ถูกปั่นหัว ถูกหลอก ฯลฯ พูดอีกแบบคือ ชนชั้นนำในยุคนั้นก็ไม่ยอมรับความจริงว่า ชนชั้นกลางในขณะนั้นได้กลายเป็นเสรีชน ผู้มีความตื่นตัวทางการเมืองแล้ว และเรียกร้องต้องการส่วนแบ่งทางอำนาจ/การมีส่วนร่วมทางการเมืองจากชนชั้นนำ
เช่นเดียวกับการก่อตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของชนชั้นกลางเก่า ซึ่งเติบโตขึ้นมากทั้งในทางปริมาณและเชิงคุณภาพ นับตั้งแต่การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจยุคจอมพลสฤษดิ์ ความเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนผ่านของโครงสร้างเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะช้าลง แต่ก็พอเพียงที่จะให้กำเนิดแก่ "ชนชั้นกลางใหม่" ซึ่งเป็นฐานพลังของคนเสื้อแดง
ในแง่นี้ผมเห็นว่า คนเสื้อแดงนั้นไม่ใช่กลุ่มคนที่ยากจนที่สุดของสังคม ในภาษาเศรษฐศาสตร์ หากเราแบ่งคนทั้งประเทศออกเป็นห้าชนชั้นตามรายได้ และเรียงลำดับตั้งแต่จนที่สุดไปรวยที่สุดแล้ว คนเสื้อแดงน่าจะเป็นคนตั้งแต่บนสุดของชั้นที่หนึ่งไปจนกระทั่งด้านล่างสุดของชั้นที่สาม
ดังนั้นในแง่อาชีพส่วนใหญ่ของคนเสื้อแดงน่าจะเป็นผู้ประกอบการอิสระรายย่อยตั้งแต่แม่ค้าแผงลอย-ตลาดนัด แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง (หรือ informal sector ทั้งหมด) เกษตรกรที่ผลิตเพื่อตลาด แรงงานในโรงงาน หรือแรงงานระดับคอปกน้ำเงิน ฯลฯ
ลักษณะร่วมของคนกลุ่มนี้คือ มีเงินออมน้อย หรือไม่พอเพียง ดังนั้นความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจมหภาคจะมีผลโดยตรง หรือเกือบจะทันทีต่อความอยู่ดีกินดีของเขา กล่าวอีกแบบคือ เป็นกลุ่มคนที่อ่อนไหวต่อความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ หรือพูดได้ว่าชีวิตขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่นโยบาย "ประชานิยม" ของรัฐบาลทักษิณโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 30 บาทรักษาโรค เบี้ยคนชรา กองทุนหมู่บ้าน การรับจำนำพืชผล จะโดนใจคนเสื้อแดงเต็ม ๆ เนื่องจากมันสอดรับกับความต้องการทางเศรษฐกิจของเขา
อาจพูดได้ว่า เกษตกรหรือคนชนบทเป็นฐานกำลังหลักของคนเสื้อแดงในแง่จำนวนคน สิ่งนี้ทำให้คนชั้นกลางเก่า "หลงผิด" อยู่กับภาพเก่า ๆ ของชนบทว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนรัฐบาลชาติชายเลย
แต่บทความหนึ่งของ "อัมมาร สยามวาลา" ชี้ว่า ครอบครัวในชนบทที่มีสัดส่วนของรายได้จากภาคเกษตรมากกว่า 50% ลดลงจาก 44.4% เหลือ 29.1% ของครอบครัวชนบททั้งหมดในช่วงปี 2533-2537 อย่าลืมว่าตัวเลข 29.1% หรือไม่ถึงหนึ่งในสามของครอบครัวชนบทนี้เป็นตัวเลขในปี 2537
ตัวเลขนี้ย่อมต้องน้อยลงไปอีกมากในปัจจุบัน
การที่มากกว่าสองในสามของครอบครัวชนบทมีแหล่งรายได้หลักอยู่นอกภาคเกษตรนั้นมีนัยว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมที่รองรับวิถีชีวิตของชาวชนบทต้องเปลี่ยนตามไปด้วย สิ่งสำคัญคือสิ่งที่เรียกกันว่า "ระบบอุปภัมถ์"
คำ ๆ นี้นักเศรษฐศาสตร์ใช้ในความหมายว่า มันเป็นความสัมพันธ์ระยะยาวที่ผูกพันกันในหลายมิติของคนสองฝ่าย
ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างชาวไร่-ชาวนากับพ่อค้ารับซื้อผลผลิต พ่อค้านอกจากจะรับซื้อผลผลิตแล้ว ยังทำตัวเป็นผู้อุปถัมภ์ในแง่อื่นด้วย เช่น ให้ชาวไร่เอายา ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ไปใช้ก่อน แล้วจึงหักเงินคืนเมื่อตอนชาวไร่เอาผลผลิตมาขาย เมื่อชาวบ้านต้องใช้เงินสดก็มากู้ได้ หรือเมื่อถูกตำรวจจับไพ่ก็ให้ช่วยประกันตัว ฯลฯ
หากฝ่ายใด "โกง" ก่อน ความสัมพันธ์นี้ก็จะยุติลงและทั้งสองฝ่ายก็จะเสียประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมักจะไม่คุ้ม
นักวิจัยมักจะแปลกใจมากเมื่อพบว่าชาวไร่ยอมเสียเปรียบในรูปของการขายผลผลิตให้ในราคาต่ำกว่าตลาด หรือยอมรับอัตราดอกเบี้ยที่แพงโดยไม่โกงเงินกู้ โดยลืมไปว่า สิ่งที่ชาวไร่ต้องการจากพ่อค้านั้น รวมเอาบริการ "การประกันภัย (insurance)" ความไม่แน่นอนจากความผันผวนทางเศรษฐกิจไว้ด้วย
เช่น เงินกู้ หรือความช่วยเหลืออื่น ๆ เมื่อเดือดร้อน เครือข่ายความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้จึงถูกใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งพ่วงไปด้วย หากพ่อค้า (หรือผู้อุปถัมภ์ในรูปแบบอื่น ๆ) ทำหน้าที่เป็นหัวคะแนน ไม่ว่าจะมีการแจกเงินด้วยหรือไม่ก็ตาม
ในอดีตชาวบ้านอาจจะเลือกตามหัวคะแนนด้วยสองเหตุผลคือ หนึ่ง กลัวเสียการอุปถัมภ์ในภายหน้าจากหัวคะแนน สอง เลือกพรรคการเมืองไหน หรือ ส.ส.คนไหนก็ไม่มีผลต่อชีวิตของตนอยู่ดี เพราะไม่เคยมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งก่อนหน้าพรรคไทยรักไทยที่ผลิตนโยบายรับใช้ชนบท
เมื่อเงินได้ส่วนใหญ่มาจากนอกภาคเกษตร สิ่งนี้อย่างน้อยก็หมายความว่า แหล่งเงินได้ของชาวชนบทมีหลายแหล่งมากขึ้น รวมทั้งแหล่งเงินกู้ในระบบ เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ก็เพิ่มขึ้นด้วย
ดังนั้นชาวชนบทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพึงพิงผู้อุปถัมภ์ในภาคการเกษตรน้อยลงด้วย ในอีกด้านหนึ่ง นโยบายประชานิยมหลายแบบก็ทำให้ชาวชนบทไม่จำต้องพึ่งพิงผู้อุปถัมภ์ท้องถิ่นอีกต่อไป พูดอีกแบบคือ นโยบายประชานิยมทำหน้าที่แทนผู้อุปถัมภ์ดั้งเดิม
ในแง่นี้ ชาวชนบทส่วนใหญ่จึงกลายเป็นเสรีชนที่หลุดออกจากเครือข่ายอุปถัมภ์แบบเดิม ๆ แล้ว เขาไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องเชื่อฟังหัวคะแนนอีกต่อไป
ถ้าภาพข้างต้นเป็นจริง คำถามคือ คนเสื้อแดงเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยเหตุผลใด ชนชั้นกลางเก่าและสื่อของเขามักไม่รอช้าที่จะประณามว่า คนเสื้อแดงเป็นแค่ม็อบเติมเงิน หรือถูกหลอกให้หลงผิดสู้เพื่อทักษิณเท่านั้น
แต่อย่าลืมว่า รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลแรกที่สร้างนโยบายที่กินได้ให้แก่เขา เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งที่คะแนนเสียงของเขามีความหมายในทางการเมือง การรัฐประหาร 19 กันยายนและรัฐธรรมนูญ 2550 จึงเป็นการตัดสิทธิทางการเมืองของคนเสื้อแดงโดยตรง
เมื่อถูกซ้ำเติมด้วยการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรตั้งแต่การชุมนุมยืดเยื้อ การยึดทำเนียบรัฐบาล การยึดสนามบิน นายกฯสมัครถูกปลดเพราะทำกับข้าวโชว์ พรรคทักษิณถูกยุบรอบสอง การปราบม็อบเสื้อแดงเมื่อเมษายนปีที่แล้ว ไม่แปลกเลยที่เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้คนเสื้อแดงสู้ไม่ถอย
พูดให้ถึงที่สุดแล้ว การต่อสู้ของคนเสื้อแดงในปัจจุบันจึงเป็นการสู้เพื่อรักษาสิทธิ-เสียงทางการเมืองของเขา
แต่เผอิญว่าสิทธิ-เสียงของเขาผูกพันโดยตรงกับพรรคของทักษิณเท่านั้นเอง
คงมีคนไม่มากนักที่จะยอมสู้ตายเพื่อคนอื่น โดยที่ตนไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย และแกนนำเสื้อแดงคงจะไม่เก่งพอที่จะชักจูง ซื้อ หรือหลอกคนจำนวนมหาศาลมาเสี่ยงชีวิตกับอาวุธสงครามได้จนทุกวันนี้ หากเขาไม่มีจิตใจที่พร้อมจะเข้าร่วมการต่อสู้เอง ในแง่นี้คนเสื้อแดงจึงเป็นเสรีชนในแบบเดียวกับคนชั้นกลางเก่านั่นเอง
ผมได้แต่หวังว่า คนชั้นกลางเก่าจะพยายามเข้าใจคนเสื้อแดงในด้านที่เขาเป็นเสรีชนเช่นเดียวกับชนชั้นกลางเก่าให้มากขึ้น
การยอมรับวาทกรรมว่า คนเสื้อแดงถูกหลอก ถูกซื้อให้สู้เพื่อทักษิณเท่านั้น โดยไม่มีเจตจำนงที่เป็นอิสระของตัวเองเลย จะเป็นการทำลายความชอบธรรมทางการเมืองของคนเสื้อแดงมากขึ้น และอสุรกายแห่งความรุนแรงจะยิ่งมีอำนาจมากขึ้น.
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
..................................................................
ประโยคทำนองว่า "เมื่อสิ่งใหม่กำลังจะเกิดขึ้น แต่สิ่งเก่าไม่ยอมที่จะตาย สิ่งที่จะปรากฏขึ้นก็คือ อสุรกาย" ของอันโตนีโอ กรัมชี่ นักคิดฝ่ายซ้ายลือนามของอิตาลี น่าจะเหมาะสมกับความขัดแย้งทางการเมืองในรอบห้าปีที่ผ่านมา และจะขัดแย้งกันต่อไปอีกหลายปีข้างหน้า
ประเด็นหลักของสังคมก็คือ จะทำอย่างไรไม่ให้อสุรกายแห่งความรุนแรงปรากฏตัวขึ้นมากไปกว่าที่ได้เกิดขึ้นแล้วในช่วงการเปลี่ยนผ่านของดุลกำลังทางชนชั้นนี้
สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้ในทรรศนะของผมคือ สังคมการเมืองจะต้องยอมรับความจริงว่า "คนเสื้อแดง" นั้นมีอยู่จริง และเขาเป็น "เสรีชน" มีความตื่นตัวทางการเมือง เฉกเช่นเดียวกับชนชั้นกลางรุ่นเก่าที่ยุคหนึ่งเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของเดือนตุลาคม 2516
ไม่ว่าเราจะชอบ เห็นด้วย หรือไม่ชอบและต่อต้านความคิดของคนเสื้อแดงก็ตาม เราต้องเข้าใจและยอมรับว่า เขาเป็นกลุ่มพลังทางการเมืองที่ดำรงอยู่จริง และจะไม่ยอมอยู่เฉย ๆ โดยไม่ต่อสู้อีกต่อไป ก็เฉกเช่นเดียวกับเมื่อก่อนเดือนตุลาคม 2516 ที่รัฐบาลสามทรราชปฏิเสธการมีอยู่จริงของพลังชนชั้นกลางในเวลานั้น ซึ่งมีขบวนการนักศึกษา-ปัญญาชนเป็นกองหน้า
รัฐบาลสามทรราชและชนชั้นนำทางอำนาจในขณะนั้นไม่มองกลุ่มพลังชนชั้นกลางว่าเป็นเสรีชน มีความคิด มีผลประโยชน์และมีข้อเรียกร้องของชนชั้น แต่กลับมองว่าเป็นกลุ่มที่ถูกปั่นหัว ถูกหลอก ฯลฯ พูดอีกแบบคือ ชนชั้นนำในยุคนั้นก็ไม่ยอมรับความจริงว่า ชนชั้นกลางในขณะนั้นได้กลายเป็นเสรีชน ผู้มีความตื่นตัวทางการเมืองแล้ว และเรียกร้องต้องการส่วนแบ่งทางอำนาจ/การมีส่วนร่วมทางการเมืองจากชนชั้นนำ
เช่นเดียวกับการก่อตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของชนชั้นกลางเก่า ซึ่งเติบโตขึ้นมากทั้งในทางปริมาณและเชิงคุณภาพ นับตั้งแต่การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจยุคจอมพลสฤษดิ์ ความเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนผ่านของโครงสร้างเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะช้าลง แต่ก็พอเพียงที่จะให้กำเนิดแก่ "ชนชั้นกลางใหม่" ซึ่งเป็นฐานพลังของคนเสื้อแดง
ในแง่นี้ผมเห็นว่า คนเสื้อแดงนั้นไม่ใช่กลุ่มคนที่ยากจนที่สุดของสังคม ในภาษาเศรษฐศาสตร์ หากเราแบ่งคนทั้งประเทศออกเป็นห้าชนชั้นตามรายได้ และเรียงลำดับตั้งแต่จนที่สุดไปรวยที่สุดแล้ว คนเสื้อแดงน่าจะเป็นคนตั้งแต่บนสุดของชั้นที่หนึ่งไปจนกระทั่งด้านล่างสุดของชั้นที่สาม
ดังนั้นในแง่อาชีพส่วนใหญ่ของคนเสื้อแดงน่าจะเป็นผู้ประกอบการอิสระรายย่อยตั้งแต่แม่ค้าแผงลอย-ตลาดนัด แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง (หรือ informal sector ทั้งหมด) เกษตรกรที่ผลิตเพื่อตลาด แรงงานในโรงงาน หรือแรงงานระดับคอปกน้ำเงิน ฯลฯ
ลักษณะร่วมของคนกลุ่มนี้คือ มีเงินออมน้อย หรือไม่พอเพียง ดังนั้นความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจมหภาคจะมีผลโดยตรง หรือเกือบจะทันทีต่อความอยู่ดีกินดีของเขา กล่าวอีกแบบคือ เป็นกลุ่มคนที่อ่อนไหวต่อความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ หรือพูดได้ว่าชีวิตขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่นโยบาย "ประชานิยม" ของรัฐบาลทักษิณโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 30 บาทรักษาโรค เบี้ยคนชรา กองทุนหมู่บ้าน การรับจำนำพืชผล จะโดนใจคนเสื้อแดงเต็ม ๆ เนื่องจากมันสอดรับกับความต้องการทางเศรษฐกิจของเขา
อาจพูดได้ว่า เกษตกรหรือคนชนบทเป็นฐานกำลังหลักของคนเสื้อแดงในแง่จำนวนคน สิ่งนี้ทำให้คนชั้นกลางเก่า "หลงผิด" อยู่กับภาพเก่า ๆ ของชนบทว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนรัฐบาลชาติชายเลย
แต่บทความหนึ่งของ "อัมมาร สยามวาลา" ชี้ว่า ครอบครัวในชนบทที่มีสัดส่วนของรายได้จากภาคเกษตรมากกว่า 50% ลดลงจาก 44.4% เหลือ 29.1% ของครอบครัวชนบททั้งหมดในช่วงปี 2533-2537 อย่าลืมว่าตัวเลข 29.1% หรือไม่ถึงหนึ่งในสามของครอบครัวชนบทนี้เป็นตัวเลขในปี 2537
ตัวเลขนี้ย่อมต้องน้อยลงไปอีกมากในปัจจุบัน
การที่มากกว่าสองในสามของครอบครัวชนบทมีแหล่งรายได้หลักอยู่นอกภาคเกษตรนั้นมีนัยว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมที่รองรับวิถีชีวิตของชาวชนบทต้องเปลี่ยนตามไปด้วย สิ่งสำคัญคือสิ่งที่เรียกกันว่า "ระบบอุปภัมถ์"
คำ ๆ นี้นักเศรษฐศาสตร์ใช้ในความหมายว่า มันเป็นความสัมพันธ์ระยะยาวที่ผูกพันกันในหลายมิติของคนสองฝ่าย
ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างชาวไร่-ชาวนากับพ่อค้ารับซื้อผลผลิต พ่อค้านอกจากจะรับซื้อผลผลิตแล้ว ยังทำตัวเป็นผู้อุปถัมภ์ในแง่อื่นด้วย เช่น ให้ชาวไร่เอายา ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ไปใช้ก่อน แล้วจึงหักเงินคืนเมื่อตอนชาวไร่เอาผลผลิตมาขาย เมื่อชาวบ้านต้องใช้เงินสดก็มากู้ได้ หรือเมื่อถูกตำรวจจับไพ่ก็ให้ช่วยประกันตัว ฯลฯ
หากฝ่ายใด "โกง" ก่อน ความสัมพันธ์นี้ก็จะยุติลงและทั้งสองฝ่ายก็จะเสียประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมักจะไม่คุ้ม
นักวิจัยมักจะแปลกใจมากเมื่อพบว่าชาวไร่ยอมเสียเปรียบในรูปของการขายผลผลิตให้ในราคาต่ำกว่าตลาด หรือยอมรับอัตราดอกเบี้ยที่แพงโดยไม่โกงเงินกู้ โดยลืมไปว่า สิ่งที่ชาวไร่ต้องการจากพ่อค้านั้น รวมเอาบริการ "การประกันภัย (insurance)" ความไม่แน่นอนจากความผันผวนทางเศรษฐกิจไว้ด้วย
เช่น เงินกู้ หรือความช่วยเหลืออื่น ๆ เมื่อเดือดร้อน เครือข่ายความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้จึงถูกใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งพ่วงไปด้วย หากพ่อค้า (หรือผู้อุปถัมภ์ในรูปแบบอื่น ๆ) ทำหน้าที่เป็นหัวคะแนน ไม่ว่าจะมีการแจกเงินด้วยหรือไม่ก็ตาม
ในอดีตชาวบ้านอาจจะเลือกตามหัวคะแนนด้วยสองเหตุผลคือ หนึ่ง กลัวเสียการอุปถัมภ์ในภายหน้าจากหัวคะแนน สอง เลือกพรรคการเมืองไหน หรือ ส.ส.คนไหนก็ไม่มีผลต่อชีวิตของตนอยู่ดี เพราะไม่เคยมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งก่อนหน้าพรรคไทยรักไทยที่ผลิตนโยบายรับใช้ชนบท
เมื่อเงินได้ส่วนใหญ่มาจากนอกภาคเกษตร สิ่งนี้อย่างน้อยก็หมายความว่า แหล่งเงินได้ของชาวชนบทมีหลายแหล่งมากขึ้น รวมทั้งแหล่งเงินกู้ในระบบ เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ก็เพิ่มขึ้นด้วย
ดังนั้นชาวชนบทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพึงพิงผู้อุปถัมภ์ในภาคการเกษตรน้อยลงด้วย ในอีกด้านหนึ่ง นโยบายประชานิยมหลายแบบก็ทำให้ชาวชนบทไม่จำต้องพึ่งพิงผู้อุปถัมภ์ท้องถิ่นอีกต่อไป พูดอีกแบบคือ นโยบายประชานิยมทำหน้าที่แทนผู้อุปถัมภ์ดั้งเดิม
ในแง่นี้ ชาวชนบทส่วนใหญ่จึงกลายเป็นเสรีชนที่หลุดออกจากเครือข่ายอุปถัมภ์แบบเดิม ๆ แล้ว เขาไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องเชื่อฟังหัวคะแนนอีกต่อไป
ถ้าภาพข้างต้นเป็นจริง คำถามคือ คนเสื้อแดงเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยเหตุผลใด ชนชั้นกลางเก่าและสื่อของเขามักไม่รอช้าที่จะประณามว่า คนเสื้อแดงเป็นแค่ม็อบเติมเงิน หรือถูกหลอกให้หลงผิดสู้เพื่อทักษิณเท่านั้น
แต่อย่าลืมว่า รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลแรกที่สร้างนโยบายที่กินได้ให้แก่เขา เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งที่คะแนนเสียงของเขามีความหมายในทางการเมือง การรัฐประหาร 19 กันยายนและรัฐธรรมนูญ 2550 จึงเป็นการตัดสิทธิทางการเมืองของคนเสื้อแดงโดยตรง
เมื่อถูกซ้ำเติมด้วยการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรตั้งแต่การชุมนุมยืดเยื้อ การยึดทำเนียบรัฐบาล การยึดสนามบิน นายกฯสมัครถูกปลดเพราะทำกับข้าวโชว์ พรรคทักษิณถูกยุบรอบสอง การปราบม็อบเสื้อแดงเมื่อเมษายนปีที่แล้ว ไม่แปลกเลยที่เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้คนเสื้อแดงสู้ไม่ถอย
พูดให้ถึงที่สุดแล้ว การต่อสู้ของคนเสื้อแดงในปัจจุบันจึงเป็นการสู้เพื่อรักษาสิทธิ-เสียงทางการเมืองของเขา
แต่เผอิญว่าสิทธิ-เสียงของเขาผูกพันโดยตรงกับพรรคของทักษิณเท่านั้นเอง
คงมีคนไม่มากนักที่จะยอมสู้ตายเพื่อคนอื่น โดยที่ตนไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย และแกนนำเสื้อแดงคงจะไม่เก่งพอที่จะชักจูง ซื้อ หรือหลอกคนจำนวนมหาศาลมาเสี่ยงชีวิตกับอาวุธสงครามได้จนทุกวันนี้ หากเขาไม่มีจิตใจที่พร้อมจะเข้าร่วมการต่อสู้เอง ในแง่นี้คนเสื้อแดงจึงเป็นเสรีชนในแบบเดียวกับคนชั้นกลางเก่านั่นเอง
ผมได้แต่หวังว่า คนชั้นกลางเก่าจะพยายามเข้าใจคนเสื้อแดงในด้านที่เขาเป็นเสรีชนเช่นเดียวกับชนชั้นกลางเก่าให้มากขึ้น
การยอมรับวาทกรรมว่า คนเสื้อแดงถูกหลอก ถูกซื้อให้สู้เพื่อทักษิณเท่านั้น โดยไม่มีเจตจำนงที่เป็นอิสระของตัวเองเลย จะเป็นการทำลายความชอบธรรมทางการเมืองของคนเสื้อแดงมากขึ้น และอสุรกายแห่งความรุนแรงจะยิ่งมีอำนาจมากขึ้น.
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
..................................................................
ศอฉ.ไม่ให้ทนายร่วมสอบ เลขาฯสนนท.-นศ. อ้างเพียงเรียกมาคุย ด้าน สนนท.จี้รัฐหยุดคุกคาม
เลขา สนนท.และนักศึกษาอีก 2 คน ไปราบ 11 รายงานตัว ศอฉ.ตามหมายเรียก พร้อมขอทนายเข้าร่วมแต่ถูกปฎิเสธ เจ้าหน้าที่อ้างเป็นการเรียกมาคุยไม่จำเป็นต้องมีทนาย ขณะที่สมาชิก สนนท.ร่วมออกแถลงการณ์ประณามการคุกคามจากรัฐทหารของรัฐบาล
จากกรณีที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เรียกนายอนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และนักศึกษาอีก 2 คน ให้ไปรายงานตัวต่อ ศอฉ. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ราบ 11) ในวันที่ 2 พ.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
วันนี้ (2 พ.ค.53) นายอนุธีร์ และเพื่อนนักศึกษาอีก 2 คน ได้เดินทางไปรายงานตัวตามหมายเรียก จากนั้นเวลาประมาณ 11.00 น. พ.ท.วิบูลย์ ศรีเจริญสุขยิ่ง รองผู้บังคับกองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 (รอง ผบ.พัน มทบ.11) จึงได้มารับตัว โดยทั้ง 3 คน ขอให้มีทนายได้เข้าไปร่วมรับฟังข้อมูลในการรายงานตัวด้วย แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า ไม่ต้องกังวล เป็นการเรียกมาคุย จึงไม่จำเป็นต้องมีทนาย และชี้แจงว่าการพูดคุยสอบปากคำนี้ ตำรวจจะเป็นผู้ดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรายงานตัวในครั้งนี้มีผู้ที่ทราบข่าวและมาร่วมให้กำลังใจที่บริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 11 กว่า 50 คน โดยผู้ให้กำลังใจคาดว่าจะรออยู่จนกว่าทั้ง 3 คนจะได้ออกมา อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการแจ้งว่าการรายงานตัวจะเสร็จสิ้นในเวลาเท่าไร
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวระบุว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 เม.ย.53 นายสลักธรรม โตจิราการ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรชายของ น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. ได้เข้ารายงานตัวที่ ศอฉ. ทำให้ขณะนี้มีนักศึกษาอย่างน้อย 4 รายที่ถูก ศอฉ. เรียกไปรายงานตัว
ในส่วนสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ได้มีการออกแถลงการณ์ “หยุดคุกคามเพื่อนของเรา หยุดคุกคามประชาชน” ประณามการคุกคามจากรัฐทหารของรัฐบาลในการออกหมายเรียกดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นการข่มขู่คุกคามประชาชน พร้อมเรียกร้องการดำเนินการที่โปร่งใสต่อสมาชิกของ สนนท.และประชาชนที่อาจจะถูกคุกคามเช่นเดียวกันนี้ในอนาคต อีกทั้งยังระบุให้ยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ในการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
“สนนท.ของยืนยันในสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนในการต่อสู้กับอำนาจอธรรมของรัฐบาลรัฐทหาร และขอสนับสนุนการต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยระบบเลือกตั้งและระบบรัฐสภาฯ ที่เห็นและเคารพสิทธิทางการเมืองของประชาชน อันจะนำพาสังคมไทยไปสู้ความมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม และจะไม่โอนอ่อนต่อการคุกคามของรัฐบาลรัฐทหารชุดนี้แต่อย่างใด” แถลงการณ์ระบุ
แถลงการณ์มีรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
เรื่อง หยุดคุกคามเพื่อนของเรา หยุดคุกคามประชาชน
สืบเนื่องจาก ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้มีหมายเรียกถึง สมาชิก สนนท. 2 ท่าน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 โดยระบุให้ไปรายงานตัวต่อ ศอฉ. ณ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ราบ 11) อย่างมิได้แจ้งข้อหาหรือรายละเอียดที่ชัดเจนแต่อย่างใดนั้น
สนนท.มีความเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. สนนท.ขอประณามการคุกคามจากรัฐทหารของรัฐบาลในการออกหมายเรียกดังกล่าว เนื่องจากเป็นที่แน่ชัดแก่ประชาชนในสังคมไทยว่า รัฐบาลรัฐทหารได้ทำการข่มขู่คุกคามพี่น้องประชาชนจำนวนมากมาตลอด โดยเลือกปฏิบัติคุกคามเฉพาะผู้ที่มีจุดยืนใกล้เคียงกับ “กลุ่มคนเสื้อแดง” หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และยังลุกลามไปถึงผู้ที่ไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐบาลรัฐทหารอีกด้วย อาทิ การออกหมายเรียกบุคคลจำนวนมากของ ศอฉ. และการเผยแพร่เครือข่าย “ล้มเจ้า” อันมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการหว่านแหล้อมจับประชาชนที่มิได้เห็นด้วยกับการเถลิงอำนาจของรัฐบาลรัฐทหาร ดังนั้น สนนท.เห็นว่าการออกหมายเรียกแก่เพื่อนของเรา 2 คนนี้นั้น เป็นอีกเพียงมาตรการหนึ่งในการคุกคามประชาชนนั่นเอง
2. สนนท.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลรัฐทหารมีความโปร่งใสในการปฏิบัติต่อเพื่อนของเราทั้ง 2 คน และประชาชนคนอื่นๆ ที่อาจจะถูกคุกคามในอนาคตอีก และขอให้ยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ในการคุกคามสิทธิเสรีภาพอันประกันไว้ในรัฐธรรมนูญ
3. สนนท.ขอยืนยันในสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนในการต่อสู้กับอำนาจอธรรมของรัฐบาลรัฐทหาร และขอสนับสนุนการต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยระบบเลือกตั้งและระบบรัฐสภาฯ ที่เห็นและเคารพสิทธิทางการเมืองของประชาชน อันจะนำพาสังคมไทยไปสู้ความมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม และจะไม่โอนอ่อนต่อการคุกคามของรัฐบาลรัฐทหารชุดนี้แต่อย่างใด
ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดต้องเป็นของประชาชน
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
แถลง ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2553
กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ที่มา.ประชาไทย
*****************************************************
จากกรณีที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เรียกนายอนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และนักศึกษาอีก 2 คน ให้ไปรายงานตัวต่อ ศอฉ. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ราบ 11) ในวันที่ 2 พ.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
วันนี้ (2 พ.ค.53) นายอนุธีร์ และเพื่อนนักศึกษาอีก 2 คน ได้เดินทางไปรายงานตัวตามหมายเรียก จากนั้นเวลาประมาณ 11.00 น. พ.ท.วิบูลย์ ศรีเจริญสุขยิ่ง รองผู้บังคับกองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 (รอง ผบ.พัน มทบ.11) จึงได้มารับตัว โดยทั้ง 3 คน ขอให้มีทนายได้เข้าไปร่วมรับฟังข้อมูลในการรายงานตัวด้วย แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า ไม่ต้องกังวล เป็นการเรียกมาคุย จึงไม่จำเป็นต้องมีทนาย และชี้แจงว่าการพูดคุยสอบปากคำนี้ ตำรวจจะเป็นผู้ดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรายงานตัวในครั้งนี้มีผู้ที่ทราบข่าวและมาร่วมให้กำลังใจที่บริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 11 กว่า 50 คน โดยผู้ให้กำลังใจคาดว่าจะรออยู่จนกว่าทั้ง 3 คนจะได้ออกมา อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการแจ้งว่าการรายงานตัวจะเสร็จสิ้นในเวลาเท่าไร
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวระบุว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 เม.ย.53 นายสลักธรรม โตจิราการ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรชายของ น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. ได้เข้ารายงานตัวที่ ศอฉ. ทำให้ขณะนี้มีนักศึกษาอย่างน้อย 4 รายที่ถูก ศอฉ. เรียกไปรายงานตัว
ในส่วนสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ได้มีการออกแถลงการณ์ “หยุดคุกคามเพื่อนของเรา หยุดคุกคามประชาชน” ประณามการคุกคามจากรัฐทหารของรัฐบาลในการออกหมายเรียกดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นการข่มขู่คุกคามประชาชน พร้อมเรียกร้องการดำเนินการที่โปร่งใสต่อสมาชิกของ สนนท.และประชาชนที่อาจจะถูกคุกคามเช่นเดียวกันนี้ในอนาคต อีกทั้งยังระบุให้ยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ในการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
“สนนท.ของยืนยันในสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนในการต่อสู้กับอำนาจอธรรมของรัฐบาลรัฐทหาร และขอสนับสนุนการต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยระบบเลือกตั้งและระบบรัฐสภาฯ ที่เห็นและเคารพสิทธิทางการเมืองของประชาชน อันจะนำพาสังคมไทยไปสู้ความมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม และจะไม่โอนอ่อนต่อการคุกคามของรัฐบาลรัฐทหารชุดนี้แต่อย่างใด” แถลงการณ์ระบุ
แถลงการณ์มีรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
เรื่อง หยุดคุกคามเพื่อนของเรา หยุดคุกคามประชาชน
สืบเนื่องจาก ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้มีหมายเรียกถึง สมาชิก สนนท. 2 ท่าน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 โดยระบุให้ไปรายงานตัวต่อ ศอฉ. ณ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ราบ 11) อย่างมิได้แจ้งข้อหาหรือรายละเอียดที่ชัดเจนแต่อย่างใดนั้น
สนนท.มีความเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. สนนท.ขอประณามการคุกคามจากรัฐทหารของรัฐบาลในการออกหมายเรียกดังกล่าว เนื่องจากเป็นที่แน่ชัดแก่ประชาชนในสังคมไทยว่า รัฐบาลรัฐทหารได้ทำการข่มขู่คุกคามพี่น้องประชาชนจำนวนมากมาตลอด โดยเลือกปฏิบัติคุกคามเฉพาะผู้ที่มีจุดยืนใกล้เคียงกับ “กลุ่มคนเสื้อแดง” หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และยังลุกลามไปถึงผู้ที่ไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐบาลรัฐทหารอีกด้วย อาทิ การออกหมายเรียกบุคคลจำนวนมากของ ศอฉ. และการเผยแพร่เครือข่าย “ล้มเจ้า” อันมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการหว่านแหล้อมจับประชาชนที่มิได้เห็นด้วยกับการเถลิงอำนาจของรัฐบาลรัฐทหาร ดังนั้น สนนท.เห็นว่าการออกหมายเรียกแก่เพื่อนของเรา 2 คนนี้นั้น เป็นอีกเพียงมาตรการหนึ่งในการคุกคามประชาชนนั่นเอง
2. สนนท.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลรัฐทหารมีความโปร่งใสในการปฏิบัติต่อเพื่อนของเราทั้ง 2 คน และประชาชนคนอื่นๆ ที่อาจจะถูกคุกคามในอนาคตอีก และขอให้ยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ในการคุกคามสิทธิเสรีภาพอันประกันไว้ในรัฐธรรมนูญ
3. สนนท.ขอยืนยันในสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนในการต่อสู้กับอำนาจอธรรมของรัฐบาลรัฐทหาร และขอสนับสนุนการต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยระบบเลือกตั้งและระบบรัฐสภาฯ ที่เห็นและเคารพสิทธิทางการเมืองของประชาชน อันจะนำพาสังคมไทยไปสู้ความมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม และจะไม่โอนอ่อนต่อการคุกคามของรัฐบาลรัฐทหารชุดนี้แต่อย่างใด
ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดต้องเป็นของประชาชน
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
แถลง ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2553
กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ที่มา.ประชาไทย
*****************************************************
ประเทศไทยที่ถูกชี้นำโดยสังคมตอแหลดราม่า ไม่มีที่ยืนสำหรับเสื้อแดง

ในตลอดเกือบ2เดือนนับจากเสื้อแดงเคลือนไหวใหญ่ ผมต้อง"ทน"อย่างแสนสาหัสกับสังคมที่ผมอยู่
ที่พร้อมจะสอดส่องหาความชั่วร้ายของเสื้อแดง มาด่าทอเหยียบย่ำความเป็นมนุษย์ และซ้ำเติมในทุกเรื่องที่เสื้อแดงทำผิดพลาดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ พวกเขาพร้อมจะมองข้ามความพยายามที่จะทำให้เกิดการชุมนุมอย่างสันติของเสื้อแดง และพร้อมประนามความรุนแรงที่เกิดจากเสื้อแดงในทุกๆเรื่อง
สังคมhypocrite แปลตรงตัวก็คือสังคมที่ปากพูดว่าตัวเองทำดีเป็นคนดี แต่การกระทำและจิตใจต่ำทราม หรือหลายคนนิยามว่าสังคมตอแหล มันก็คือสังคมชนชั้นกลาง ที่เรียกตัวเองว่า"คนส่วนใหญ่"ของประเทศ
สังคมตอแหลยังอุปโลกข์ตัวเองเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างหน้าไม่แดง ทั้งๆที่กลัวการเลือกตั้งขี้หดตดหาย สังคมตอแหลพร่ำพูดถึงสันติจากปาก แต่ลิ้นไก่สั่นระรัวว่า"ฆ่ามัน"
สังคมที่ยื่นมืออันขาวเนียนไปบริจาคนู่นบริจาคนี่ให้" คนจน" แต่เอาตีนถีบหน้าเขาส่งเมื่อ"คนจน"เหล่านั้นจะยืนขึ้นแอะปากเถียง สังคมที่ดีดดิ้นเมื่อได้ยินคำว่าทุจริตในรัฐบาลทักษิณ แต่หูทวนลมต่อมจริยธรรมพิการทันทีในรัฐบาลอภิสิทธิ์
อภิสิทธิ์เป็นตัวแทนของชนชั้นนี้อย่างแท้จริง! ! ทุกอย่างที่อภิสิทธิ์เป็น สังคมตอแหลก็เป็นแบบนั้น
ไม่มีที่ยืนสำหรับชนชั้นล่างสำหรับประเทศไทยที่มีชนชั้นกลางส่วนใหญ่เป็นพวกตอแหล จะมีก็แต่ที่ให้นอนราบให้เหยียบ โดยมีพวกตามมาหยอดเข้าต้มเมื่อเห็นว่าอาการร่อแร่
เสื้อแดงไม่มีทางชนะได้ด้วยสันติวิธีอีกต่อไป จะว่าแกนนำเดินเกมผิดหรือก็ไม่สามารถโยนความผิดให้แกนนำได้ทั้งหมด เดินเกมถูก8ผิด2 ไอ้ที่ผิดสองถูกเอามาต่อยอดเป็นดราม่าใหญ่โต
สังคมที่เต็มไปด้วยดราม่าละครหลังข่าว อ่อนไหวกับการบิดดราม่าบีบน้ำตา พล็อตละครหลังข่าวไม่มีเหตผลอย่างไร สังคมดราม่าก็ไม่ใช้เหตผลอย่างนั้น เน้นไปแต่ที่อารมณ์ ความรู้สึก รักคนนั้น เกลียดคนนี้ สงสารคนนั้น อยากถีบคนนี้ ซาบซึ้งตลอดเวลา น้ำตาไหลพราก
ข่าวที่เสื้อแดงเข้าไปรพ. ถูกเอามาdramatizedคูณไปสิบ จากที่ตอนแรกผมรู้สึกผิดที่เสื้อแดงทำไปแบบนั้น พร้อมขอโทษคนที่มาต่อว่าการกระทำของเสื้อแดง แต่รพ.ก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ย้ายผู้ป่วยเพิ่มอความเป็นดราม่าเข้าไปอีก
ข่าวทุกสำนักพร้อมใจกันถ่ายภาพผู้คนร้องห่มร้องไห้ ลำบากยากแค้น เมื่อต้องโดนย้ายรพ. เสื้อแดงเข้าไปสร้างความวุ่นวายในรพ.ขนาดไหน ถึงกับต้องย้ายหนี"ภัยสงคราม"ขนาดนั้น ถือเป็นการช่วงชิงโอกาสดราม่าของฝ่ายเชียร์รัฐบาลได้อย่างจุใจ
สังคมตอแหลดราม่าพร้อมกันประกาศว่าเสื้อแดงหมดความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวอีกต่อไป
อย่าดัดจริตให้มากนักเลยสังคมตอแหลดราม่า สังคมหายใจเข้าออกด้วยความดัดจริต คิดจะรอดพ้นวิกฤติด้วยการใช้ความดัดจริตคงไม่ง่าย
ต่อจากนี้แดงคงต้องสู้ให้หนักกว่าเดิม ความชอบธรรมมีเปี่ยมล้นอยู่ตั้งแต่ต้น ถึงแม้สังคมตอแหลดราม่าจะทำเป็นลืมเหตการณ์วันที่10เมษา แต่พี่น้องเสื้อแดงยังไม่ลืม การเข้าไปรพ.มันผิดแน่นอน แต่การสั่งการสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้าผิดกว่าหลายเท่า เสื้อแดงสร้างความลำบากให้คนไข้ แต่รัฐใช้อำนาจทหารสร้างความสูญเสียถึงแก่ชีวิต มันเทียบกันไม่ได้
พวกที่ออกมาประนามการเข้าไปรพ. แต่ละเลยการประนามการสลายการชุมนุมในวันที่10เมษาฯถือว่าเป็นพวก hypocrite ตอแหลดัดจริต ซึ่งหากสังคมยังถูกชี้นำด้วยคนพวกนี้ เสื้อแดงไม่มีทางชนะด้วยสันติวิธี
หากต่อมดราม่ามันพีคถึงจุดที่ลงมติกันให้ฆ่าเสื้อแดงที่ราชประสงค์ รับรองว่าได้เห็นดราม่ารายวันทั่วประเทศแน่นอน!
โดย. ปืนลั่นแสกหน้า
ที่มา .บอร์ดคนเหมือนกัน
***************************************************************
"เจรจา" หรือ "กลียุค" ทางสองแพร่งที่รัฐต้องเลือก
สมมติว่ารัฐบาลใช้กำลังสลาย ม็อบก็กระเจิงไป แต่ถามว่าจบไหม เพราะทุกอย่างจะลงไปใต้ดิน แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร
สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ณ วันนี้ กำลังอยู่ในจังหวะ "หาทางลง" แต่ไม่ใช่การ "ลง" อย่างพ่ายแพ้ เพราะกระแส "คนเสื้อแดง" ไม่ได้จำกัดอยู่ที่สี่แยกราชประสงค์ หรือถนนพระรามที่ 1 ซึ่งใช้เป็นนิวาสสถานหลับนอนอีกต่อไปแล้ว แต่มันได้แทรกซึมไปแทบทุกอณูของสังคมไทย
โดยเฉพาะผู้คนมากมายในแถบภาคเหนือและอีสาน
จุดนี้เองที่ทำให้การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลยากยิ่งกว่ายาก โดยเฉพาะหากจะเลือกแนวทางสลายการชุมนุม เพราะจำนวนผู้ชุมนุมไม่ได้มีแค่ที่เห็น หรือแค่ตัวเลขที่หน่วยข่าวรายงานเข้าไป แต่ยังมีเสื้อแดงแอบแฝงอยู่อีกมากมาย ที่พร้อมจะลุกฮือเมื่อรัฐบาลใช้ความรุนแรง
พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ถึงกับออกปากว่า การตัดสินใจเลือกวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของรัฐบาล ถือว่าสำคัญที่สุดในขณะนี้ และจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศไทยในทศวรรษต่อไปเลยทีเดียว
พล.อ.เอกชัย หรือที่คนใกล้ชิดและลูกศิษย์ลูกหาเรียกกันติดปากว่า "ลุงเอก" นักยุทธศาสตร์นอกกองทัพ ที่เคยผ่านงานมาแล้วทั้งบุ๋นและบู๊
นอกจากภารกิจปัจจุบันที่พยายามเป็นตัวกลางเชื่อมประสานทุกระดับให้เกิดการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว เขายังเป็นอดีตนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย
ทัศนะของ "ลุงเอก" จึงมิอาจปล่อยผ่านให้ลอยไปกับสายลม...
สลายม็อบ..."กลียุค"
พล.อ.เอกชัย เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์เฉพาะหน้า คือ การเผชิญหน้าของกลุ่มคนเสื้อแดงกับรัฐบาล
"เฉพาะหน้าขณะนี้ ผมคิดว่าโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะใช้ความรุนแรงต่อกันมีมากขึ้น รัฐบาลมีโอกาสสูงที่จะใช้วิธีสลายม็อบ แต่ถ้าทำแล้วมีความรุนแรงจะเกิดกลียุคไปทั่วประเทศ แต่ถ้าไม่ทำอะไร สมมติ นปช.อยู่อีก 3 เดือน ถามว่าอยู่ได้ไหม ก็คงอยู่ได้ แต่เศรษฐกิจก็ต้องล่มสลาย"
ในฐานะที่รับราชการทหารมาเกือบทั้งชีวิต พล.อ.เอกชัย มองว่า รัฐบาลมีศักยภาพพอที่จะปราบม็อบได้ภายใน 1-2 วัน แต่นั่นย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงความรุนแรง
"สมมติว่ารัฐบาลทำอย่างนั้น ม็อบก็กระเจิงไป แต่ถามว่าจบไหม เราจะอยู่กันอย่างไร เพราะทุกอย่างจะลงไปใต้ดิน หลายประเทศก็มีประสบการณ์แบบนี้แล้วมันไม่จบ แต่มันจะรบกันต่อไปอีก 1 ปี 2 ปี 3 ปี เราจะเลือกทางเดินอย่างไรในการแก้ปัญหา ผมคิดว่าระยะสั้นตรงนี้สำคัญที่สุด ก่อนจะไปคิดถึงระยะยาว จุดนี้ต้องเปิดช่องทางพูดคุยกันให้ได้"
เจรจา...ยังไม่สาย
เมื่อเอ่ยถึงการพูดคุย-เจรจา หลายคนอาจจะมองว่าสถานการณ์ ณ วันนี้ ล่วงเลยจุดนั้นมามากแล้ว แต่ พล.อ.เอกชัย ไม่ได้คิดเช่นนั้น
"โดยหลักแล้วการเจรจาสามารถทำได้ทุกขั้นตอนของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ยังไม่เกิดความขัดแย้ง หรือเมื่อความขัดแย้งเกิดไปแล้ว รวมไปถึงความขัดแย้งจบแล้วก็ยังต้องคุยกัน สรุปก็คือการเจรจาสามารถป้องกันความขัดแย้ง แก้ไขความขัดแย้งได้ และเยียวยาให้เกิดการปรองดองกันได้ในที่สุด"
"ฉะนั้นเรื่องเจรจาไม่มีคำว่าสาย ในภาวะสงครามก็ยังมีการพูดคุยกัน ไม่มีหยุด ในมินดาเนา (ประเทศ)
อย่างไรก็ดี ยังมีเสียงทักท้วงจากบางฝ่ายที่หวั่นเกรงว่าการเปิดเจรจาจะทำให้เรื่องผิดกฎหมายกลายเป็นความถูกต้อง แต่ประเด็นนี้ พล.อ.เอกชัย อธิบายว่า การเจรจาต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย จะมาเจรจาเพื่อขอทำสิ่งผิดกฎหมายไม่ได้ ยกเว้นสิ่งที่กฎหมายเปิดให้ทำได้ เช่น การนิรโทษกรรม แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ไปยกเลิกความผิดทั้งหมด เพราะไม่อย่างนั้นต่อไปก็จะมีการกระทำแบบเดิมอีก
"หลักการก็เหมือนกับในศาสนาพุทธ คือ ใครทำกรรมชั่วแล้ว ไม่สามารถทำดีมาล้างความชั่วได้ กรรมชั่วยังมีอยู่ เช่นเดียวกันไม่ใช่ทำผิดกฎหมายแล้วจบ การนิรโทษกรรมอาจทำเฉพาะเรื่องได้ เหมือนกับในกฎหมายความมั่นคง (พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551) มาตรา 21 ที่เปิดช่องให้ผู้หลงผิดเข้ารับการอบรมของทางราชการ ก็จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญา ลักษณะนี้ก็คล้ายๆ กับการนิรโทษกรรมเหมือนกัน"
กระนั้นก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่กดดันการเจรจา คือ คนไทยส่วนใหญ่มักเชื่อว่าคนที่ขอเจรจา คือ คนที่กำลังจะพ่ายแพ้ แต่ พล.อ.เอกชัย แย้งแนวคิดนี้แบบ 360 องศา
"หลักการเจรจาเราต้องเจรจาตอนได้เปรียบ ไม่ใช่ตอนเสียเปรียบ เพราะเวลาเรากำลังได้เปรียบเราต่อรองได้มาก แต่ถ้ากำลังเสียเปรียบ เราจะเรียกร้องอะไรก็ยาก ตอนนี้ผมมองว่ารัฐบาลได้เปรียบอยู่ มีคนสนับสนุนรัฐบาลเยอะ รัฐบาลน่าจะริเริ่มเจรจาโดยไม่ต้องรอให้ฝ่ายเสื้อแดงขอเจรจา รัฐบาลต้องใช้เกมรุกเปิดช่องเลยว่าพร้อมจะพูดคุยแล้ว"
ติดที่นายกฯ
นอกจากจะเสนอให้เปิดการเจรจาแล้ว พล.อ.เอกชัย ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมประสานให้เกิดการเจรจาทุกระดับ ทั้งกับฝ่ายรัฐบาล และ นปช.
"เท่าที่คุยมาก็มีช่องทางไปได้ ผมได้คุยกับรัฐมนตรีประชาธิปัตย์มากกว่า 4 คน ซึ่งเป็นระดับที่ตัดสินใจได้ ได้คุยกับ ส.ส.ประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าอยากให้เจรจา แต่เสียงของทุกคนยังไม่หนักแน่นพอ ไม่กล้าพูดกับผู้นำรัฐบาล ในการพูดคุยกันหลายๆ ครั้งจึงพยายามพึ่งเราให้ช่วยสื่อสารแทนด้วย"
"ส่วนฝ่ายเสื้อแดง ก็คุยกับทั้งแกนนำที่ราชประสงค์และกลุ่มที่ร่วมวางแผน ได้คุยกันนับสิบคน ฝ่าย นปช.จุดยืนก็ชัด คือ บอกว่าเมื่อไรรัฐบาลพร้อมคุยก็มาเจรจากันได้เลย ฉะนั้นขณะนี้ ระดับล่างเปิดหมดแล้ว แต่ระดับบนยังไม่มีสัญญาณ เท่าที่ผมทราบบางครั้งบางระดับยังมีการสั่งห้ามพูดคุยเจรจาด้วย อย่างกรณีของคุณสุขุมพันธุ์ (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ผมจึงอยากขอว่าน่าจะปล่อยให้เป็นธรรมชาติ อย่าไปห้าม เพราะนักการเมืองก็รู้จักกันอยู่แล้ว"
จากประสบการณ์การเจรจามานับครั้งไม่ถ้วน พล.อ.เอกชัย บอกยิ้มๆ ว่า พอเจรจาเข้าจริงๆ ข้อเรียกร้องเรื่องยุบสภาอาจจะหายไปเลยก็ได้
"การคุยกันไม่จำเป็นต้องตกลงกันได้ เมื่อไรเห็นตรงกันในเรื่องไหนค่อยตกลงกันในบางเรื่อง แต่สิ่งที่ควรเกิดขึ้นคือคุยกันดีๆ และค่อยๆ แก้ปัญหาไป สุดท้ายคุยไปคุยมาข้อเรียกร้องอาจจะไม่ใช่ยุบสภา แต่อาจจะให้อยู่ต่อจนครบวาระ ภายใต้เงื่อนไขว่ารัฐบาลต้องทำอะไรบ้างก็ได้ ถ้าทำไม่สำเร็จแล้วเข้าสู่สนามเลือกตั้งคุณก็พ่ายแพ้ไป...อะไรอย่างนี้"
อย่าผลัก "แดง" เข้ามุม
การที่ "ลุงเอก" พยายามตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการพูดคุยเจรจา ก็เพราะประเมินแล้วเห็นว่า สถานการณ์ของกลุ่มเสื้อแดงในขณะนี้ ไม่ใช่จะจบลงง่ายๆ แค่การสลายม็อบที่ราชประสงค์ และแม้ข่าวลือการป่วยหนักหรือเสียชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นความจริง ก็ไม่อาจหยุดวงจรการเคลื่อนไหวได้อีกต่อไป
"แม้กระทั่งคุณทักษิณตายผมก็ไม่เชื่อว่าจะจบ แน่นอนว่า ช่วงเริ่มการเคลื่อนไหว คุณทักษิณเป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ปลุกกระแส แต่ต่อมาเมื่อมีประเด็นตอกย้ำเรื่องชนชั้น เรื่องสองมาตรฐาน เรื่องการเลือกปฏิบัติ และคนเสื้อแดงในชนบทส่วนใหญ่ก็เข้าไม่ถึงอำนาจและทรัพยากรในประเทศจริงๆ ประเด็นเหล่านี้มันจึงชี้ให้เห็นได้ชัดเจน มันจึงโดนใจ และฝากรากในจิตใจไปแล้ว ทั้งความต่ำต้อยเอย การไม่ได้รับความยุติธรรมเอย"
"ที่สำคัญ เท่าที่ผมสังเกต มีคนแก่มาร่วมชุมนุมเยอะมาก แล้วคนอีสานนั้นจะเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีระบบเจ้าโคตร ฉะนั้นรัฐบาลจะทำอะไรต้องระวัง จะกล่าวหาอะไรต้องคิดให้ถี่ถ้วนถึงผลกระทบที่จะตามมา โดยเฉพาะการกล่าวหาเรื่องล้มเจ้า หมิ่นสถาบัน เป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะชาวบ้านรากหญ้าเหล่านี้ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งชีวิตทุกคน"
พล.อ.เอกชัย ชี้ว่า รัฐบาลอาจมองประโยชน์ด้านการปลุกกระแสสังคม จึงพูดเรื่องก่อการร้าย หรือขบวนการล้มเจ้า แต่หากมองอีกแง่หนึ่งจะพบว่า การที่เราไม่ได้มีข้อมูลชัดเจนแล้วไปชี้นิ้วว่ากลุ่มต่างๆ เป็นพวกก่อการร้าย เป็นพวกล้มสถาบัน แล้วพูดผ่านสื่อบ่อยๆ จนเข้าใจว่าเสื้อแดงทั้งหมดเป็นก่อการร้าย และพวกล้มสถาบัน สุดท้ายคนเหล่านั้นจะถูกผลักออกไป และจะส่งผลร้ายย้อนกลับมาสู่รัฐบาลเอง รวมถึงรัฐบาลต่อๆ ไปในอนาคตด้วย เนื่องจากปัญหาจะกินลึกและแก้ยากมาก
ใครจัดฉาก "คอกวัว"
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล ยังวิเคราะห์ว่า สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในขณะนี้ มีปมเงื่อนที่ซับซ้อนมากกว่าการเผชิญหน้าระหว่างคนเสื้อแดงกับรัฐบาล
"ที่เห็นได้ชัด คือ เหตุการณ์วันที่ 10 เมษาฯ ทหารไม่ได้วางแผนมาให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นแน่นอน เพราะทหารเองก็สูญเสีย ขณะที่เสื้อแดงก็มาจากราชประสงค์ และเข้ามาที่สี่แยกคอกวัวอย่างปัจจุบันทันด่วน จึงไม่น่าจะวางแผนมาเช่นกัน แต่มีกลุ่มที่มีการวางแผนเตรียมการมาเป็นอย่างดี ล่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าไปตรงจุดนั้นที่เรียกว่าเป็น คิลลิ่ง โซน (Killing Zone) แล้วใช้ปืน ระเบิด ทำลายทั้งสองฝ่าย"
"ฉะนั้นเราต้องช่วยกันค้นหาว่าใครทำ อย่าโทษกันอีกเลย หาความจริงกันดีกว่า เพราะถ้าไม่ได้ความจริงหรือข้อมูลที่แท้จริงแล้ว เวลาตัดสินใจทำอะไรก็จะผิดไปหมด เช่น การที่รัฐบาลกล่าวหาเรื่องก่อการร้าย จริงๆ อาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ได้ เป็นต้น และนี่คือ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายมีความจำเป็นอย่างมาก"
สับสวิตช์ "วิกฤติเป็นโอกาส"
แต่ไม่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะย่ำแย่อย่างไร สัจธรรมข้อที่ว่า "ในวิกฤติ มีโอกาส" ยังใช้ได้เสมอ กรณีนี้ก็เช่นกัน
"ผมคิดว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านหลายๆ เรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านความคิดคน ไม่มีอะไรเป็นแบบเดิมแล้ว การเมืองภาคพลเมืองมีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิมมาก อย่าคิดว่าประชาชนไม่รู้เรื่องการเมือง เพราะประชาชนสนใจการเมือง โดยเฉพาะหลังจากเกิดปรากฏการณ์ของคนเสื้อแดงในครั้งนี้"
พล.อ.เอกชัย ชี้ว่า ปัจจุบันชาวบ้านเห็นภาพชัดเจนว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง และเป็นเรื่องปากท้องโดยตรง แต่ความแตกแยกในลักษณะภูมิภาคนิยมก็เป็นสิ่งที่น่าวิตก และต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
"หลังจากนี้ การใช้เวลาเยียวยาคงยาวนานเป็นสิบปี โดยเฉพาะการทำความแตกแยกของคนระหว่างภูมิภาคให้ยอมรับกันให้ได้ เรื่องนี้ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลจะละเลยไม่ได้เลย"
"ประเทศไทยขาดการมองไกลมาตลอด มีแต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฉะนั้นต้องเริ่มวางแผนเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่จุดหมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำวิกฤติตรงนี้ให้เป็นโอกาสที่มากกว่าการแก้ปัญหาไปวันๆ หรือเอาความรู้จากที่อื่นมาแต่งเติมแล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ เราต้องใช้ภูมิปัญญาไทยวางรากฐานใหม่ทั้งหมด"
และสุดท้าย ที่ต้องไม่ลืมก็คือทุกคนในบริบทความขัดแย้งนี้เป็นคนไทยด้วยกัน ต้องช่วยกันหาทางออกให้กับประเทศ!
โดย : ปกรณ์ พึ่งเนตร
-----------------------------------------------------------------------
สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ณ วันนี้ กำลังอยู่ในจังหวะ "หาทางลง" แต่ไม่ใช่การ "ลง" อย่างพ่ายแพ้ เพราะกระแส "คนเสื้อแดง" ไม่ได้จำกัดอยู่ที่สี่แยกราชประสงค์ หรือถนนพระรามที่ 1 ซึ่งใช้เป็นนิวาสสถานหลับนอนอีกต่อไปแล้ว แต่มันได้แทรกซึมไปแทบทุกอณูของสังคมไทย
โดยเฉพาะผู้คนมากมายในแถบภาคเหนือและอีสาน
จุดนี้เองที่ทำให้การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลยากยิ่งกว่ายาก โดยเฉพาะหากจะเลือกแนวทางสลายการชุมนุม เพราะจำนวนผู้ชุมนุมไม่ได้มีแค่ที่เห็น หรือแค่ตัวเลขที่หน่วยข่าวรายงานเข้าไป แต่ยังมีเสื้อแดงแอบแฝงอยู่อีกมากมาย ที่พร้อมจะลุกฮือเมื่อรัฐบาลใช้ความรุนแรง
พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ถึงกับออกปากว่า การตัดสินใจเลือกวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของรัฐบาล ถือว่าสำคัญที่สุดในขณะนี้ และจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศไทยในทศวรรษต่อไปเลยทีเดียว
พล.อ.เอกชัย หรือที่คนใกล้ชิดและลูกศิษย์ลูกหาเรียกกันติดปากว่า "ลุงเอก" นักยุทธศาสตร์นอกกองทัพ ที่เคยผ่านงานมาแล้วทั้งบุ๋นและบู๊
นอกจากภารกิจปัจจุบันที่พยายามเป็นตัวกลางเชื่อมประสานทุกระดับให้เกิดการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว เขายังเป็นอดีตนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย
ทัศนะของ "ลุงเอก" จึงมิอาจปล่อยผ่านให้ลอยไปกับสายลม...
สลายม็อบ..."กลียุค"
พล.อ.เอกชัย เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์เฉพาะหน้า คือ การเผชิญหน้าของกลุ่มคนเสื้อแดงกับรัฐบาล
"เฉพาะหน้าขณะนี้ ผมคิดว่าโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะใช้ความรุนแรงต่อกันมีมากขึ้น รัฐบาลมีโอกาสสูงที่จะใช้วิธีสลายม็อบ แต่ถ้าทำแล้วมีความรุนแรงจะเกิดกลียุคไปทั่วประเทศ แต่ถ้าไม่ทำอะไร สมมติ นปช.อยู่อีก 3 เดือน ถามว่าอยู่ได้ไหม ก็คงอยู่ได้ แต่เศรษฐกิจก็ต้องล่มสลาย"
ในฐานะที่รับราชการทหารมาเกือบทั้งชีวิต พล.อ.เอกชัย มองว่า รัฐบาลมีศักยภาพพอที่จะปราบม็อบได้ภายใน 1-2 วัน แต่นั่นย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงความรุนแรง
"สมมติว่ารัฐบาลทำอย่างนั้น ม็อบก็กระเจิงไป แต่ถามว่าจบไหม เราจะอยู่กันอย่างไร เพราะทุกอย่างจะลงไปใต้ดิน หลายประเทศก็มีประสบการณ์แบบนี้แล้วมันไม่จบ แต่มันจะรบกันต่อไปอีก 1 ปี 2 ปี 3 ปี เราจะเลือกทางเดินอย่างไรในการแก้ปัญหา ผมคิดว่าระยะสั้นตรงนี้สำคัญที่สุด ก่อนจะไปคิดถึงระยะยาว จุดนี้ต้องเปิดช่องทางพูดคุยกันให้ได้"
เจรจา...ยังไม่สาย
เมื่อเอ่ยถึงการพูดคุย-เจรจา หลายคนอาจจะมองว่าสถานการณ์ ณ วันนี้ ล่วงเลยจุดนั้นมามากแล้ว แต่ พล.อ.เอกชัย ไม่ได้คิดเช่นนั้น
"โดยหลักแล้วการเจรจาสามารถทำได้ทุกขั้นตอนของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ยังไม่เกิดความขัดแย้ง หรือเมื่อความขัดแย้งเกิดไปแล้ว รวมไปถึงความขัดแย้งจบแล้วก็ยังต้องคุยกัน สรุปก็คือการเจรจาสามารถป้องกันความขัดแย้ง แก้ไขความขัดแย้งได้ และเยียวยาให้เกิดการปรองดองกันได้ในที่สุด"
"ฉะนั้นเรื่องเจรจาไม่มีคำว่าสาย ในภาวะสงครามก็ยังมีการพูดคุยกัน ไม่มีหยุด ในมินดาเนา (ประเทศ)
อย่างไรก็ดี ยังมีเสียงทักท้วงจากบางฝ่ายที่หวั่นเกรงว่าการเปิดเจรจาจะทำให้เรื่องผิดกฎหมายกลายเป็นความถูกต้อง แต่ประเด็นนี้ พล.อ.เอกชัย อธิบายว่า การเจรจาต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย จะมาเจรจาเพื่อขอทำสิ่งผิดกฎหมายไม่ได้ ยกเว้นสิ่งที่กฎหมายเปิดให้ทำได้ เช่น การนิรโทษกรรม แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ไปยกเลิกความผิดทั้งหมด เพราะไม่อย่างนั้นต่อไปก็จะมีการกระทำแบบเดิมอีก
"หลักการก็เหมือนกับในศาสนาพุทธ คือ ใครทำกรรมชั่วแล้ว ไม่สามารถทำดีมาล้างความชั่วได้ กรรมชั่วยังมีอยู่ เช่นเดียวกันไม่ใช่ทำผิดกฎหมายแล้วจบ การนิรโทษกรรมอาจทำเฉพาะเรื่องได้ เหมือนกับในกฎหมายความมั่นคง (พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551) มาตรา 21 ที่เปิดช่องให้ผู้หลงผิดเข้ารับการอบรมของทางราชการ ก็จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญา ลักษณะนี้ก็คล้ายๆ กับการนิรโทษกรรมเหมือนกัน"
กระนั้นก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่กดดันการเจรจา คือ คนไทยส่วนใหญ่มักเชื่อว่าคนที่ขอเจรจา คือ คนที่กำลังจะพ่ายแพ้ แต่ พล.อ.เอกชัย แย้งแนวคิดนี้แบบ 360 องศา
"หลักการเจรจาเราต้องเจรจาตอนได้เปรียบ ไม่ใช่ตอนเสียเปรียบ เพราะเวลาเรากำลังได้เปรียบเราต่อรองได้มาก แต่ถ้ากำลังเสียเปรียบ เราจะเรียกร้องอะไรก็ยาก ตอนนี้ผมมองว่ารัฐบาลได้เปรียบอยู่ มีคนสนับสนุนรัฐบาลเยอะ รัฐบาลน่าจะริเริ่มเจรจาโดยไม่ต้องรอให้ฝ่ายเสื้อแดงขอเจรจา รัฐบาลต้องใช้เกมรุกเปิดช่องเลยว่าพร้อมจะพูดคุยแล้ว"
ติดที่นายกฯ
นอกจากจะเสนอให้เปิดการเจรจาแล้ว พล.อ.เอกชัย ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมประสานให้เกิดการเจรจาทุกระดับ ทั้งกับฝ่ายรัฐบาล และ นปช.
"เท่าที่คุยมาก็มีช่องทางไปได้ ผมได้คุยกับรัฐมนตรีประชาธิปัตย์มากกว่า 4 คน ซึ่งเป็นระดับที่ตัดสินใจได้ ได้คุยกับ ส.ส.ประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าอยากให้เจรจา แต่เสียงของทุกคนยังไม่หนักแน่นพอ ไม่กล้าพูดกับผู้นำรัฐบาล ในการพูดคุยกันหลายๆ ครั้งจึงพยายามพึ่งเราให้ช่วยสื่อสารแทนด้วย"
"ส่วนฝ่ายเสื้อแดง ก็คุยกับทั้งแกนนำที่ราชประสงค์และกลุ่มที่ร่วมวางแผน ได้คุยกันนับสิบคน ฝ่าย นปช.จุดยืนก็ชัด คือ บอกว่าเมื่อไรรัฐบาลพร้อมคุยก็มาเจรจากันได้เลย ฉะนั้นขณะนี้ ระดับล่างเปิดหมดแล้ว แต่ระดับบนยังไม่มีสัญญาณ เท่าที่ผมทราบบางครั้งบางระดับยังมีการสั่งห้ามพูดคุยเจรจาด้วย อย่างกรณีของคุณสุขุมพันธุ์ (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ผมจึงอยากขอว่าน่าจะปล่อยให้เป็นธรรมชาติ อย่าไปห้าม เพราะนักการเมืองก็รู้จักกันอยู่แล้ว"
จากประสบการณ์การเจรจามานับครั้งไม่ถ้วน พล.อ.เอกชัย บอกยิ้มๆ ว่า พอเจรจาเข้าจริงๆ ข้อเรียกร้องเรื่องยุบสภาอาจจะหายไปเลยก็ได้
"การคุยกันไม่จำเป็นต้องตกลงกันได้ เมื่อไรเห็นตรงกันในเรื่องไหนค่อยตกลงกันในบางเรื่อง แต่สิ่งที่ควรเกิดขึ้นคือคุยกันดีๆ และค่อยๆ แก้ปัญหาไป สุดท้ายคุยไปคุยมาข้อเรียกร้องอาจจะไม่ใช่ยุบสภา แต่อาจจะให้อยู่ต่อจนครบวาระ ภายใต้เงื่อนไขว่ารัฐบาลต้องทำอะไรบ้างก็ได้ ถ้าทำไม่สำเร็จแล้วเข้าสู่สนามเลือกตั้งคุณก็พ่ายแพ้ไป...อะไรอย่างนี้"
อย่าผลัก "แดง" เข้ามุม
การที่ "ลุงเอก" พยายามตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการพูดคุยเจรจา ก็เพราะประเมินแล้วเห็นว่า สถานการณ์ของกลุ่มเสื้อแดงในขณะนี้ ไม่ใช่จะจบลงง่ายๆ แค่การสลายม็อบที่ราชประสงค์ และแม้ข่าวลือการป่วยหนักหรือเสียชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นความจริง ก็ไม่อาจหยุดวงจรการเคลื่อนไหวได้อีกต่อไป
"แม้กระทั่งคุณทักษิณตายผมก็ไม่เชื่อว่าจะจบ แน่นอนว่า ช่วงเริ่มการเคลื่อนไหว คุณทักษิณเป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ปลุกกระแส แต่ต่อมาเมื่อมีประเด็นตอกย้ำเรื่องชนชั้น เรื่องสองมาตรฐาน เรื่องการเลือกปฏิบัติ และคนเสื้อแดงในชนบทส่วนใหญ่ก็เข้าไม่ถึงอำนาจและทรัพยากรในประเทศจริงๆ ประเด็นเหล่านี้มันจึงชี้ให้เห็นได้ชัดเจน มันจึงโดนใจ และฝากรากในจิตใจไปแล้ว ทั้งความต่ำต้อยเอย การไม่ได้รับความยุติธรรมเอย"
"ที่สำคัญ เท่าที่ผมสังเกต มีคนแก่มาร่วมชุมนุมเยอะมาก แล้วคนอีสานนั้นจะเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีระบบเจ้าโคตร ฉะนั้นรัฐบาลจะทำอะไรต้องระวัง จะกล่าวหาอะไรต้องคิดให้ถี่ถ้วนถึงผลกระทบที่จะตามมา โดยเฉพาะการกล่าวหาเรื่องล้มเจ้า หมิ่นสถาบัน เป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะชาวบ้านรากหญ้าเหล่านี้ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งชีวิตทุกคน"
พล.อ.เอกชัย ชี้ว่า รัฐบาลอาจมองประโยชน์ด้านการปลุกกระแสสังคม จึงพูดเรื่องก่อการร้าย หรือขบวนการล้มเจ้า แต่หากมองอีกแง่หนึ่งจะพบว่า การที่เราไม่ได้มีข้อมูลชัดเจนแล้วไปชี้นิ้วว่ากลุ่มต่างๆ เป็นพวกก่อการร้าย เป็นพวกล้มสถาบัน แล้วพูดผ่านสื่อบ่อยๆ จนเข้าใจว่าเสื้อแดงทั้งหมดเป็นก่อการร้าย และพวกล้มสถาบัน สุดท้ายคนเหล่านั้นจะถูกผลักออกไป และจะส่งผลร้ายย้อนกลับมาสู่รัฐบาลเอง รวมถึงรัฐบาลต่อๆ ไปในอนาคตด้วย เนื่องจากปัญหาจะกินลึกและแก้ยากมาก
ใครจัดฉาก "คอกวัว"
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล ยังวิเคราะห์ว่า สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในขณะนี้ มีปมเงื่อนที่ซับซ้อนมากกว่าการเผชิญหน้าระหว่างคนเสื้อแดงกับรัฐบาล
"ที่เห็นได้ชัด คือ เหตุการณ์วันที่ 10 เมษาฯ ทหารไม่ได้วางแผนมาให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นแน่นอน เพราะทหารเองก็สูญเสีย ขณะที่เสื้อแดงก็มาจากราชประสงค์ และเข้ามาที่สี่แยกคอกวัวอย่างปัจจุบันทันด่วน จึงไม่น่าจะวางแผนมาเช่นกัน แต่มีกลุ่มที่มีการวางแผนเตรียมการมาเป็นอย่างดี ล่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าไปตรงจุดนั้นที่เรียกว่าเป็น คิลลิ่ง โซน (Killing Zone) แล้วใช้ปืน ระเบิด ทำลายทั้งสองฝ่าย"
"ฉะนั้นเราต้องช่วยกันค้นหาว่าใครทำ อย่าโทษกันอีกเลย หาความจริงกันดีกว่า เพราะถ้าไม่ได้ความจริงหรือข้อมูลที่แท้จริงแล้ว เวลาตัดสินใจทำอะไรก็จะผิดไปหมด เช่น การที่รัฐบาลกล่าวหาเรื่องก่อการร้าย จริงๆ อาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ได้ เป็นต้น และนี่คือ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายมีความจำเป็นอย่างมาก"
สับสวิตช์ "วิกฤติเป็นโอกาส"
แต่ไม่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะย่ำแย่อย่างไร สัจธรรมข้อที่ว่า "ในวิกฤติ มีโอกาส" ยังใช้ได้เสมอ กรณีนี้ก็เช่นกัน
"ผมคิดว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านหลายๆ เรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านความคิดคน ไม่มีอะไรเป็นแบบเดิมแล้ว การเมืองภาคพลเมืองมีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิมมาก อย่าคิดว่าประชาชนไม่รู้เรื่องการเมือง เพราะประชาชนสนใจการเมือง โดยเฉพาะหลังจากเกิดปรากฏการณ์ของคนเสื้อแดงในครั้งนี้"
พล.อ.เอกชัย ชี้ว่า ปัจจุบันชาวบ้านเห็นภาพชัดเจนว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง และเป็นเรื่องปากท้องโดยตรง แต่ความแตกแยกในลักษณะภูมิภาคนิยมก็เป็นสิ่งที่น่าวิตก และต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
"หลังจากนี้ การใช้เวลาเยียวยาคงยาวนานเป็นสิบปี โดยเฉพาะการทำความแตกแยกของคนระหว่างภูมิภาคให้ยอมรับกันให้ได้ เรื่องนี้ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลจะละเลยไม่ได้เลย"
"ประเทศไทยขาดการมองไกลมาตลอด มีแต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฉะนั้นต้องเริ่มวางแผนเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่จุดหมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำวิกฤติตรงนี้ให้เป็นโอกาสที่มากกว่าการแก้ปัญหาไปวันๆ หรือเอาความรู้จากที่อื่นมาแต่งเติมแล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ เราต้องใช้ภูมิปัญญาไทยวางรากฐานใหม่ทั้งหมด"
และสุดท้าย ที่ต้องไม่ลืมก็คือทุกคนในบริบทความขัดแย้งนี้เป็นคนไทยด้วยกัน ต้องช่วยกันหาทางออกให้กับประเทศ!
โดย : ปกรณ์ พึ่งเนตร
-----------------------------------------------------------------------
เหนาะบี้มาร์คออก เพื่อชาติ เทือกดอัยการศึก
ถกครม.นัดพิเศษวันนี้ ปชป.โต้โรดแม็ปบิ๊กจิ๋ว แค่หวังขึ้นเป็นนายกฯ แม้วทวีต-ถึงตายก็ไม่จบ
"มาร์ค"เรียกถกครม. นัดพิเศษวันนี้ สุเทพอ้าง มีเรื่องต้องคุย ปัดหารือประกาศกฎอัยการศึก เมินข้อเสนอ"บิ๊กจิ๋ว"ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล อ้างเอกสารที่ยื่นแค่ประวัติส่วนตัว โต้ลั่นไม่คิดกลั่นแกล้งใคร หากใครผิดพร้อมดำเนินคดีไม่มีละเว้น ปชป.เย้ยแผนโรดแม็ปจิ๋วแค่หวังเป็นผู้นำทางการเมือง ท้า"แม้ว"โชว์ตัวลดข้อครหาป่วยหนัก ทักษิณทวีตขู่ถึงตัวเองตายก็ไม่จบ อ้างเกินเรื่องตนเองไปแล้วแต่เป็นการต่อสู้ของประชาชน โฆษกเพื่อไทยท้า"มาร์ค-เทือก" ให้นัดพล.อ.ชวลิตไปชี้แจงใหม่ แต่ต้องมีสื่อเป็นพยาน อัดรัฐบาลจ้องดิสเครดิต ทั้งที่ ประสานก่อนหน้านี้ ศอฉ.ไฟเขียวให้ผู้ร่วมคณะร่วมฟังได้ "เสนาะ"อาสาเป็นคนกลางยุติขัดแย้ง เสนอ 3 ข้อ เลิกพ.ร.ก. ฉุกเฉิน-นปช.ย้ายที่ชุมนุม-ตั้งกก.จากทุกฝ่ายร่างข้อตกลงยุติปัญหา จี้"มาร์ค"ลาออกแทนการยุบสภา อ้างบริหารประเทศไม่ได้
"เทือก"ยันเปิดห้องรอฟอก"จิ๋ว"
วันที่ 1 พ.ค. เวลา 10.25 น. ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เดินทางมาที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ตามข่าวพล.อ.ชวลิต ต้องการมาพบตน จึงเตรียมห้องรับรอง เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อแสดงให้เห็นชัดว่าพล.อ.ชวลิต มีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรที่มุ่งทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ว่ามีอะไรบ้าง แต่พล.อ.ชวลิต ไม่เข้ามาในศอฉ. และยื่นเอกสารมากมายโดยเอกสารที่ใส่มาในซอง 8-9 ซอง ถอดออกมาเหมือนกันทุกซอง เป็นประวัติของพล.อ.ชวลิต แต่ไม่มีหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รวมถึงหนังสือถึงตน มีแต่จดหมายถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ซึ่งไม่เกี่ยวกับตน แต่จะส่งให้นายชัย
นายสุเทพ กล่าวว่า ที่น่าเสียดายคือ มีสื่อบางแห่งไปออกข่าวว่าพล.อ.ชวลิต ขอพบตน แต่ตนไม่สะดวกเพราะมีภารกิจอย่างอื่น ยืนยันว่าตนไม่มีภารกิจอื่น ได้เตรียมห้องรับรองไว้แล้ว หวังจะได้ชี้แจงกับพล.อ.ชวลิต ให้เข้าใจ และตนมีหลายคำถามเช่น ท่านเป็นนายทหารราชองครักษ์ เมื่อไปมั่วสุมกับพวกทำลายสถาบัน ท่านทำหน้าที่ปกป้องแก้ไขไม่ให้คนเหล่านั้นทำลายสถาบันอย่างไรบ้าง มีคำถามอื่นที่อยากถามอยู่มาก
โต้ไม่คิดกลั่นแกล้งใคร
เมื่อถามว่าต่อไปสามารถเปิดโต๊ะเจรจากับพล.อ.ชวลิต ได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ยินดี พล.อ.ชวลิต จะมาเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ไม่ใช่มากันหลายคนอย่างนี้ พูดไม่รู้เรื่อง ตนจะได้เอาหลักฐานที่ท่านเกี่ยวโยงกับเรื่องล้มสถาบันมาชี้แจง จะได้เข้าใจชัดเจนว่าตนไม่ได้หาเรื่อง แม้จะเคยเป็นอดีตนายกฯแต่หากทำผิดก็ต้องปฏิบัติกับพล.อ.ชวลิต เหมือนคนธรรมดา
เมื่อถามว่าหลักฐานเชื่อมโยงสามารถเอาผิดกับพล.อ.ชวลิต ในแง่กฎหมายได้เลยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนยังไม่ได้กล่าวถึงขั้นนั้น การดำเนินคดีเป็นหน้าที่ตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ไม่คิดปรักปรำใคร แต่ในเอกสารศอฉ.แสดงแผนภูมิออกมาแล้ว มีพล.อ.ชวลิต ปรากฏอยู่ด้วย แล้วพล.อ.ชวลิต ก็ออกมาอาละวาดทำนองว่ากลั่นแกล้ง ยืนยันไม่มีใครกลั่นแกล้งใคร ตนเสียใจอย่างเดียวที่พล.อ.ชวลิต มาถึงแล้วฉวยโอกาสพูดกับสื่อมวลชน ขอให้ทหารอย่าฆ่าประชาชน พล.อ.ชวลิต เป็นทหารมาตลอดชีวิต ไม่มีทหารคนไหนอยากคิดฆ่าประชาชน ตนเสียใจที่ทหารออกมาปฏิบัติการมือเปล่าแล้วเขาเสียชีวิต การที่พล.อ.ชวลิต กล่าวอาจมองได้ 2 อย่าง คือแสดงเจตนาดีในฐานะผู้สูงอายุ อีกเจตนา เหมือนตอกย้ำ แกล้งพูดว่าทหารฆ่าประชาชน ฟังแล้วไม่ชอบใจ ขอให้พล.อ. ชวลิต ทบทวนคำพูดด้วย
ขู่ดำเนินคดีไม่เลือกหน้า
เมื่อถามว่าคนที่มีรายชื่อว่าเกี่ยวโยงกับการล้มสถาบันที่ศอฉ.แถลงออกมา ถ้าไม่เกี่ยวข้องสามารถฟ้องร้องศอฉ.ได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ฟ้องได้เลย ยินดี ทุกคนมีสิทธิปกป้องตนเอง ถ้าเห็นว่าบริสุทธิ์ก็ฟ้อง ให้ตนเป็นจำเลยที่ 1 ไม่ต้องไปเอาเรื่องคนอื่น ตนรับผิดชอบเอง ที่ทำมาทั้งหมดไม่ต้องการให้กระทบกระเทือนเบื้องพระยุคลบาท ไม่ได้ดำเนินคดีกับคนเหล่านี้เพราะหมิ่นสถาบัน แต่เขากระทำความผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรไทย มุ่งไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยหลักกฎหมายประเทศไทย สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหลักของประเทศ แต่ยังมีคนที่เป็นพรรคพวกของพล.อ.ชวลิต ไประคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ต้องการขอเข้าเฝ้าฯ
เมื่อถามว่าเชื่อมั่นจริงหรือว่าคนเหล่านี้จ้องล้มสถาบัน นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่พูดอย่างนั้น พูดไปอาจหาว่าตนกลั่นแกล้ง รอให้กระบวนการทางกฎหมายพิสูจน์ เมื่อถามว่าจะดำเนินคดีกับทุกคนที่ออกหมายเรียกเลยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ดำเนิน คดีกับทุกคนที่ทำผิดกฎหมาย ไม่เว้นว่าเป็นใคร บางคนไม่ออกหมายเรียกก็ได้ ถ้าพบหลักฐานว่าทำผิด ก็ออกหมายจับได้เลย
ปัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล
เมื่อถามว่าจะนำข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต ที่ให้ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลมาพิจารณาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า "ผมไม่รับข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต พูดแล้วอย่าไปเขียนให้โกรธ ที่ไม่รับข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต เพราะผมไม่เข้าใจ ผมไม่เข้าใจอะไรสักอย่าง"
เวลา 11.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรณีพล.อ.ชวลิต เสนอโรดแม็ป 5 ข้อนำสังคมสู่สันติภาพ พรรคได้ประเมินโรดแม็ปว่าเป็นการปูทางเดินให้ตัวเองเป็นผู้นำเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างแท้จริงต่อจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพฤติกรรมของพล.อ.ชวลิต ขาดความจริงใจที่จะหาทางออกให้บ้านเมืองจริง หากต้องการทำจริง ต้องไปขอให้แกนนำนปช. หารือกับรัฐบาลต่อ พล.อ.ชวลิต ได้ใช้ความสูญเสียมาสร้างเงื่อนไขกดดันรัฐบาล เพิ่มความขัดแย้งทางการเมืองโดยปลุกระดมข้อมูลที่เป็นเท็จ การฝากถึงนายกฯ และนายสุเทพ ให้หยุดฆ่าประชาชน หากพล.อ. ชวลิตหวังดีควรหยุดบิดเบือน สร้างความขัดแย้งในสังคมด้วยข้อมูลเท็จ อยากให้พล.อ. ชวลิต ปรับวางบทบาทตัวเอง ให้เป็นตัวกลางในการพูดคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณ และแกนนำนปช.ไม่ให้พาดพิงสถาบัน หยุด เคลื่อนไหวรุนแรงก้าวล่วงสถาบันสูงสุด
"มาร์ค"เรียกถกครม.นัดพิเศษ
รายงานข่าวจากกรมทหารราบที่ 11 รอ. แจ้งว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วน วันที่ 2 พ.ค. เวลา 10.30 น. ที่ร.11 รอ. โดยให้เหตุผลเบื้องต้นว่าเชิญประชุมครม.วาระพิเศษ และขอให้รัฐมนตรีแต่ละคนแต่ละกระทรวงนำเอกสารวาระครม.ที่เสนอและได้รับการบรรจุเข้าวาระการประชุมแล้ว แต่ยังค้างการพิจารณาอยู่นั้นมาด้วย อีกทั้งยังกำชับให้ข้าราชการระดับสูงหรือเทียบเท่าปลัดกระทรวงทุกคนเข้าร่วมประชุม ครม. นัดนี้ด้วย
เวลา 15.45 น. ที่วัดพระศรีมหาธาตุวร มหาวิหาร บางเขน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งโดยยอมรับว่า วันที่ 2 พ.ค.มีการประชุมครม.นัดพิเศษจริง โดยมีเรื่องต้องหารือในครม. เมื่อถามว่าจะพิจารณาประกาศกฎอัยการศึกหรือไม่ นายสุเทพ ปฏิเสธว่า ไม่
เทพไทงง"จิ๋ว"แต่งเต็มยศ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พล.อ. ชวลิต เดินทางมาร.11 รอ.เองโดยไม่มีหมายเรียกหรือนัดหมาย และไม่ได้มาในฐานะผบ.ทบ. จึงไม่มีกองเกียรติยศมาต้อนรับเพราะมาในฐานะผู้ที่เกี่ยวพันกับกระบวน การล้มเจ้าและสถาบัน จึงต่างกัน แม้จะแต่งชุดทหารเต็มยศก็ไม่ทราบว่าแต่งมาเพื่ออะไร มีแนวคิดเหมือนเสธ.บางคนที่แต่งชุดลายพรางเพื่อไม่ให้ตำรวจจับ หรือเหมือนทหารเก๊บางคนที่แต่งชุดทหารไปหลอกสาว
นายเทพไท กล่าวว่า ขบวนของพล.อ. ชวลิตเป็นขบวนใหญ่คนมาจำนวนมาก ลิ่วล้อลูกหาบหวังออกทีวี หากต้อนรับหมดสถานที่คงไม่พอ ศอฉ.เป็นเขตหวงห้าม มีมาตรการความมั่นคง ไม่สามารถต้อนรับขบวนลูกน้องได้หมด แต่ให้โอกาสพล.อ. ชวลิตและลูกน้อง 1 คน ซึ่งในขบวนของพล.อ.ชวลิต อาจมีคนใช้ความรุนแรงแอบ แฝงหรือชุดดำเหมือนวันที่ 10 เม.ย. แอบ แฝงเข้ามาอาจสร้างความเสียหายกับศอฉ.ได้ ส่วนที่พล.อ.ชวลิต เสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลเฉพาะกาล เป็นแนวคิดที่พล.อ.ชวลิตขายมาตลอด แต่ยังไม่กลุ่มใดยอมรับแนวคิดนี้ เว้นแต่คนรอบข้างที่หวังได้อานิสงส์ร่วมรัฐบาลด้วย สำหรับจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์และรัฐบาลนี้ไม่สนับสนุนการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ท้า"แม้ว"โชว์ตัว
นายเทพไท กล่าวว่า วันนี้มีเอสเอ็มเอสและทวิตเตอร์จากพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่แน่ใจว่าเป็นของจริงหรือของปลอม พ.ต.ท.ทักษิณ บ่นว่ามีคนอยากให้ตายจริงๆ ตนไม่ทราบว่าใครบ้างที่อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณตาย แต่ตนไม่อยากให้ตาย เพราะอยากให้มารับชะตากรรมของตัวเองต่อ คนไทยทุกคนอยากทราบข้อเท็จจริง ไม่อยากให้ข่าวลือสร้างความสับสนต่อสังคม เพราะมีข่าวว่าพ.ต.ท. ทักษิณ อยู่ประเทศต่างๆ ล่าสุด มีข่าวว่าอยู่ฮ่องกง 2-3 วัน ไปได้ 4-5 แห่ง ไม่ทราบตัวจริงหรือวิญญาณไป อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณลบข่าวลือ ออกมาปรากฏตัวจะด้วยการโฟนอินหรือวิดีโอลิงก์ ให้เห็นภาพชัดเจน พูดตอบโต้กันได้ดีกว่าให้คนมาโพสต์รูปภาพหรือทวิตเตอร์สร้างความคลางแคลงใจ
พท.ฉะรัฐบาลจ้องดิสเครดิต
เมื่อเวลา 10.00 น. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงกรณีศอฉ.ไม่ยอมให้คณะที่ร่วมเดินทางไปกับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทยเข้าฟังการชี้แจงว่า พล.อ.ชวลิต ถูกวิชามารของรัฐบาลและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ไม่ให้เข้าไปชี้แจง โดยสั่งการทางวิทยุห้ามคณะผู้ติดตามเข้าไปอย่างเด็ดขาด ทั้งที่ข้อเท็จจริงได้ประสานไว้ก่อนหน้าแล้วว่าพล.อ.ชวลิต จะเข้าไปชี้แจงพร้อมคนติดตาม ซึ่งตนเชื่อว่าการกระทำในครั้งนี้มีเจตนาจะฉีกหน้าพลเอกชวลิต และคณะต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นสุภาพบุรุษของนายสุเทพ ซึ่งไม่เคารพผู้ใหญ่ ไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติของทหารที่เคยเป็นถึงอดีตผบ.ทบ. และอดีตนายกฯ เป็นเจตนาที่ต้องการลดความน่าเชื่อถือทางการเมือง
"เชื่อว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯและนายสุเทพ ต้องการดิสเครดิตทางการเมือง ดังนั้น ผมขอท้านายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ให้นัดวันมาใหม่ เพื่อให้พล.อ.ชวลิตไปชี้แจง ในครั้งหน้าขอให้เป็นการชี้แจง โดยมีสื่อมวลชนเป็นพยานด้วย" นายพร้อมพงศ์ กล่าวและว่า ขณะเดียวกันอยากเรียกร้องไปยังพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ว่าควรให้เกียรติพล.อ.ชวลิต ในฐานะเคยเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่และเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง
"แม้ว"เย้ยตัวเองตายก็ไม่จบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเอสเอ็มเอส ถึงแฟนคลับเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติว่า ขอให้ผู้ใช้แรงงานมีความสุข ปลอดภัยได้ประชาธิปไตยโดยเร็ว นอกจากนี้ยังทวีตข้อความตอบแฟนคลับในเว็บไซต์ ทวิตเตอร์ ทักษิณไลฟ์ เมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ระบุถึงข่าวลือเกี่ยวกับอาการป่วยว่า "ข่าวลือแปลว่าข่าวที่คนปล่อยอยากให้เป็นจริง เขาอยากให้ผมตายโดยคิดว่ากระบวนการต่อสู้จะหยุดลง แต่หารู้ไม่ว่าเกินผมไปแล้ว อยากให้การต่อสู้ของพี่น้องมีความชัดเจนว่ามันไม่ใช่เรื่องของผม มันยิ่งใหญ่กว่าตัวบุคคลเยอะ มันเป็นเรื่องของประชาธิปไตยและความยุติธรรม
พ.ต.ท.ทักษิณ ทวีตตอบแฟนคลับถึงกรณีชาวต่างชาติบอกประเทศไทยไม่ได้เป็นสยามเมืองยิ้มแล้วว่า เพราะทัศนคติของการหันหน้าเข้าหากันพูดจากันแบบไทยๆ หมดไปแล้ว มีแต่การหันมากล่าวหากันใส่ร้ายกัน ใช้สื่อปรักปรำข้างเดียวลงโทษข้างเดียว นอกจากนี้พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวขอบคุณแฟนคลับที่ทวีตมาให้กำลังใจกรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการร้ายและขบวนการล้มเจ้า โดยระบุว่ากำลังใจยังดีเพราะมีคนให้ กำลังใจมาก
ลูกโอ๊คย้ำพ่อสบายดี
ด้านนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทวีตข้อความผ่านเว็บบล็อกทวิตเตอร์ ดอทคอมเช่นกันว่า "ขอพักจากจากข่าวลือที่ไม่เป็นจริง และการเสนอข่าวด้านเดียว ไปพบปะเพื่อนต่างชาติสร้างความเชื่อมั่นให้มาเที่ยวมาลงทุนที่ไทย ยืนยันกับเพื่อนต่างชาติว่าอีกไม่นานประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยที่แท้จริง" นอกจากนี้ยังทวีตถึงกรณีที่มีข่าวระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่สบายหนักว่า "My dad is fine not even a cold...(พ่อผมสบายดีไม่ได้ป่วย) และเป็นกำลังใจให้พี่น้องเสื้อแดงเสมอ"
"เหนาะ"จี้เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เวลา 13.30 น. ที่พรรคประชาราช นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช อ่านแถลงการณ์ภายหลังการประชุมพรรค ระบุว่า หลังจากการรัฐประหาร และมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2550 กระทั่งมีการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ปรากฏว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดังกล่าว ไม่เป็นที่ยอมรับของบุคคลบางคณะ และเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลถึง 3 ครั้ง รัฐบาลยังไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ ยิ่งสะสมความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ซึ่งพัฒนาไปสู่การใช้อาวุธประหัตประหารกัน ไม่ต่างจากสงครามกลางเมือง การแก้ปัญหาด้วยการเมืองในแบบปกติ รวมถึงการใช้กำลังทหาร-ตำรวจที่ติดอาวุธมาเป็นกลไกแก้ปัญหา ทำให้ปัญหายุติลงชั่วขณะ แต่ในระยะยาว ความแตกแยกของคนในชาติยังดำรงอยู่
พรรคประชาราชจึงเสนอแนวคิดที่เป็นทางออกของปัญหา จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ 1.รัฐบาลต้องยกเลิกการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุก เฉิน และถอนกำลังทหาร ตำรวจออกจากทุกพื้นที่ และกลับเข้าที่ตั้งโดยเร็วที่สุด มิเช่นนั้นจะทำให้ทั่วโลกมองประเทศไทยว่า ไม่น่ามาทำการค้า ส่งผลต่อการท่องเที่ยว การลงทุน และเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง 2.นปช.ต้องย้ายการชุมนุมออกจากแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า การศึกษา โรงพยาบาล และการคมนาคม หากยังชุมนุมยืดเยื้อต่อไป อาจเป็นเงื่อนไขในการใช้กำลังของผู้ไม่ประสงค์ดี ทั้งนี้ให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการในทันที เพื่อถวายเป็นราชสักการะในวโรกาสวันราชาภิเษกครบรอบ 60 ปี ในวันที่ 5 พ.ค.
อาสาเป็นคนกลางหาข้อยุติ
3.จัดตั้งคณะกรรมการตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง ผู้แทนส.ว. ผู้แทนภาค เอกชน ผู้แทนจากข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร ให้เป็นคณะกรรมการร่วมร่างข้อตกลงเพื่อหาข้อยุติ โดยคณะกรรมการดังกล่าว ต้องแต่งตั้งภายหลังที่ทุกฝ่ายปฏิบัติตามข้อ 1 และ 2 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน และนำแถลงการณ์นี้ไปยื่นต่อสถานทูตต่างๆต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคประชาราชจะเป็นตัวกลางประสานกับพรรคอื่น ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาหรือไม่ นายเสนาะกล่าวว่า เมื่อตนเป็นคนเสนอ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าร่วมด้วย แต่เบื้องต้นอยากให้ทุกฝ่ายถอยกันคนละก้าว ให้ประเทศชาติกลับสู่ความเป็นประเทศชาติก่อน แล้วค่อยมาเจรจากัน ซึ่งการเจรจาในรอบใหม่ควรทำในทางแจ้ง ผ่านทางตัวกลาง เรื่องของบ้านเมืองไม่เห็นด้วยที่จะให้คู่กรณีเจรจากันเอง ถ้าเอาแต่เรื่องส่วนตัวไปคุยกันก็ตกลงกันไม่ได้ ตอนนี้อย่าไปยืนอยู่ฝ่ายใด ต้องยืนอยู่ฝั่งประเทศชาติเท่านั้น
เมื่อถามว่าหากรัฐบาลและนปช.ไม่ฟังเสียงของคนกลาง จะถือว่าเสียหน้าหรือไม่ นายเสนาะกล่าวว่า วันนี้ถ้าคนที่เห็นแก่ประเทศ ชาติจริงๆ ไม่กล้าทำเรื่องที่ถูกต้องที่ดี จะเสนอหน้ามาทำงานทำไม ตนไม่เคยสั่งใคร แต่เสนอทางออกให้ ถ้าไม่ทำก็ช่วยไม่ได้
แนะ"มาร์ค"ลาออกแทนยุบสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดเห็นอย่างไรที่พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เสนอตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล นายเสนาะกล่าวว่า อะไรก็ได้ที่เป็นทางออก ข้อเสนอของตนมีเพียงเท่านี้ ถ้าใครคิดว่ามีทางออกที่ดีกว่านี้ก็มาช่วยกัน วันนี้ทางออกคือให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ลาออกจากตำแหน่ง
"วันนี้การันตีเลยว่า ยุบสภาไม่ใช่ทาง ออก เพียงแค่นายอภิสิทธิ์ เสียสละลาออกจากตำแหน่ง รู้อยู่ว่าอยู่ไปก็บริหารประเทศไม่ได้ อยู่ทำไม พรรคร่วมรัฐบาลไปร่วมทำอะไร ในเมื่อรู้ว่าผู้นำประเทศออกไปหาประชาชนไม่ได้ เกิดความแตกแยก แตกร้าวไปทั่วประเทศ ผมยังไม่รู้ว่าเขาอยู่เพื่ออะไร บอกว่าอยู่เพื่อปกป้องสถาบัน ยิ่งหนักกันไปใหญ่ เอาเรื่องที่พูดกันไม่จบมาพูด แต่ก่อนนี้ไม่เคยมีใครพูดว่าจะต้องปกป้องสถาบัน ปกป้องทำไม ท่านเหมือนกับเทพ มีแต่ท่านจะต้องดูแลปกป้องลูกหลาน ทั้งอำนาจ ทั้งบารมี ทั้งความรัก ทั้งความเทิดทูนของคนในชาติ ไม่ต้องไปแอ่นอกบอกว่าจะปกป้องสถาบัน ตอนนี้นอก จากเป็นพระมหากษัตริย์แล้วยังเป็นพ่อแห่งชาติ แม่แห่งชาติ ใครจะไปเป็นลูกทรพี ไม่ต้องพูด อันนั้นเป็นวิญญาณของทุกคนที่ต้องเทิดทูนท่านไว้อยู่แล้ว ใครจะไปล้มล้าง" นายเสนาะ กล่าว
"ตู่"เมินรัฐบาลถกครม.นัดพิเศษ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราชที่ให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และให้ผู้ชุมนุมออกจากราชประสงค์พร้อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อคลี่คลายทุกเรื่องภายใน 7 วันว่า ตนเพิ่งอ่านแถลงการณ์ ซึ่งตนต้องเอาเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้แกนนำได้พิจารณาต่อไป
นายจตุพร กล่าวว่า ส่วนที่มีการประชุม ครม.นัดพิเศษวันที่ 2 พ.ค. ต้องจับตามองคือจะวางกรอบเพื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ความจริงแล้วอำนาจใช้กฎอัยการศึกไม่เป็นของครม. แต่เป็นกฎหมายที่ประกาศได้โดยนายทหารระดับผบ.พัน ซึ่งการยกเลิกต้องมาจากพระบรมราชโองการ อย่างไรก็ตาม ถ้าจะประกาศกฎอัยการศึกจริงไม่ได้มีผลต่อการชุมนุมว่าคนเสื้อแดงจะถอยจากพื้นที่ชุมนุม
"เราไม่สนใจกฎอัยการศึก จะทำให้การต่อสู้สั้นลง แต่เรารองรับการต่อสู้ที่จะเข้าสู่ฤดูฝน จะปักหลักสู้อยู่ที่นี่ต่อไปไม่ว่ารัฐบาลจะใช้กฎหมายใดหรืออาวุธอะไรเราก็พร้อมสู้ เหลืออยู่คนเดียวก็จะสู้" นายจตุพร กล่าว
โวยเทือกใช้สื่อเล่นงาน"จิ๋ว"
นายจตุพร กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลพยายามบิดเบือน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯใช้สื่อโจมตีการให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกฯ ที่กล่าวหาว่าทหารฆ่าประชาชน ถือเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุด
"เรื่องการหมิ่นสถาบัน อยากถามว่าทำไมรัฐบาลไม่จับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชา ธิปไตย ในข้อหาเดียวกันและไม่ได้อยู่ในแผนผังขบวนการล้มสถาบันของศอฉ. ซึ่งนายสนธิมีคดีอยู่ในกระบวนการยุติธรรมจากกรณีของการเผยแพร่ซ้ำกรณีดาตอร์ปิโด นอกจากนี้ เราจะฟ้องร้องนายสุเทพทางคดีแพ่งและอาญาต่อไป" นายจตุพร กล่าว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
***********************************************************
"มาร์ค"เรียกถกครม. นัดพิเศษวันนี้ สุเทพอ้าง มีเรื่องต้องคุย ปัดหารือประกาศกฎอัยการศึก เมินข้อเสนอ"บิ๊กจิ๋ว"ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล อ้างเอกสารที่ยื่นแค่ประวัติส่วนตัว โต้ลั่นไม่คิดกลั่นแกล้งใคร หากใครผิดพร้อมดำเนินคดีไม่มีละเว้น ปชป.เย้ยแผนโรดแม็ปจิ๋วแค่หวังเป็นผู้นำทางการเมือง ท้า"แม้ว"โชว์ตัวลดข้อครหาป่วยหนัก ทักษิณทวีตขู่ถึงตัวเองตายก็ไม่จบ อ้างเกินเรื่องตนเองไปแล้วแต่เป็นการต่อสู้ของประชาชน โฆษกเพื่อไทยท้า"มาร์ค-เทือก" ให้นัดพล.อ.ชวลิตไปชี้แจงใหม่ แต่ต้องมีสื่อเป็นพยาน อัดรัฐบาลจ้องดิสเครดิต ทั้งที่ ประสานก่อนหน้านี้ ศอฉ.ไฟเขียวให้ผู้ร่วมคณะร่วมฟังได้ "เสนาะ"อาสาเป็นคนกลางยุติขัดแย้ง เสนอ 3 ข้อ เลิกพ.ร.ก. ฉุกเฉิน-นปช.ย้ายที่ชุมนุม-ตั้งกก.จากทุกฝ่ายร่างข้อตกลงยุติปัญหา จี้"มาร์ค"ลาออกแทนการยุบสภา อ้างบริหารประเทศไม่ได้
"เทือก"ยันเปิดห้องรอฟอก"จิ๋ว"
วันที่ 1 พ.ค. เวลา 10.25 น. ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เดินทางมาที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ตามข่าวพล.อ.ชวลิต ต้องการมาพบตน จึงเตรียมห้องรับรอง เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อแสดงให้เห็นชัดว่าพล.อ.ชวลิต มีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรที่มุ่งทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ว่ามีอะไรบ้าง แต่พล.อ.ชวลิต ไม่เข้ามาในศอฉ. และยื่นเอกสารมากมายโดยเอกสารที่ใส่มาในซอง 8-9 ซอง ถอดออกมาเหมือนกันทุกซอง เป็นประวัติของพล.อ.ชวลิต แต่ไม่มีหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รวมถึงหนังสือถึงตน มีแต่จดหมายถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ซึ่งไม่เกี่ยวกับตน แต่จะส่งให้นายชัย
นายสุเทพ กล่าวว่า ที่น่าเสียดายคือ มีสื่อบางแห่งไปออกข่าวว่าพล.อ.ชวลิต ขอพบตน แต่ตนไม่สะดวกเพราะมีภารกิจอย่างอื่น ยืนยันว่าตนไม่มีภารกิจอื่น ได้เตรียมห้องรับรองไว้แล้ว หวังจะได้ชี้แจงกับพล.อ.ชวลิต ให้เข้าใจ และตนมีหลายคำถามเช่น ท่านเป็นนายทหารราชองครักษ์ เมื่อไปมั่วสุมกับพวกทำลายสถาบัน ท่านทำหน้าที่ปกป้องแก้ไขไม่ให้คนเหล่านั้นทำลายสถาบันอย่างไรบ้าง มีคำถามอื่นที่อยากถามอยู่มาก
โต้ไม่คิดกลั่นแกล้งใคร
เมื่อถามว่าต่อไปสามารถเปิดโต๊ะเจรจากับพล.อ.ชวลิต ได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ยินดี พล.อ.ชวลิต จะมาเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ไม่ใช่มากันหลายคนอย่างนี้ พูดไม่รู้เรื่อง ตนจะได้เอาหลักฐานที่ท่านเกี่ยวโยงกับเรื่องล้มสถาบันมาชี้แจง จะได้เข้าใจชัดเจนว่าตนไม่ได้หาเรื่อง แม้จะเคยเป็นอดีตนายกฯแต่หากทำผิดก็ต้องปฏิบัติกับพล.อ.ชวลิต เหมือนคนธรรมดา
เมื่อถามว่าหลักฐานเชื่อมโยงสามารถเอาผิดกับพล.อ.ชวลิต ในแง่กฎหมายได้เลยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนยังไม่ได้กล่าวถึงขั้นนั้น การดำเนินคดีเป็นหน้าที่ตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ไม่คิดปรักปรำใคร แต่ในเอกสารศอฉ.แสดงแผนภูมิออกมาแล้ว มีพล.อ.ชวลิต ปรากฏอยู่ด้วย แล้วพล.อ.ชวลิต ก็ออกมาอาละวาดทำนองว่ากลั่นแกล้ง ยืนยันไม่มีใครกลั่นแกล้งใคร ตนเสียใจอย่างเดียวที่พล.อ.ชวลิต มาถึงแล้วฉวยโอกาสพูดกับสื่อมวลชน ขอให้ทหารอย่าฆ่าประชาชน พล.อ.ชวลิต เป็นทหารมาตลอดชีวิต ไม่มีทหารคนไหนอยากคิดฆ่าประชาชน ตนเสียใจที่ทหารออกมาปฏิบัติการมือเปล่าแล้วเขาเสียชีวิต การที่พล.อ.ชวลิต กล่าวอาจมองได้ 2 อย่าง คือแสดงเจตนาดีในฐานะผู้สูงอายุ อีกเจตนา เหมือนตอกย้ำ แกล้งพูดว่าทหารฆ่าประชาชน ฟังแล้วไม่ชอบใจ ขอให้พล.อ. ชวลิต ทบทวนคำพูดด้วย
ขู่ดำเนินคดีไม่เลือกหน้า
เมื่อถามว่าคนที่มีรายชื่อว่าเกี่ยวโยงกับการล้มสถาบันที่ศอฉ.แถลงออกมา ถ้าไม่เกี่ยวข้องสามารถฟ้องร้องศอฉ.ได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ฟ้องได้เลย ยินดี ทุกคนมีสิทธิปกป้องตนเอง ถ้าเห็นว่าบริสุทธิ์ก็ฟ้อง ให้ตนเป็นจำเลยที่ 1 ไม่ต้องไปเอาเรื่องคนอื่น ตนรับผิดชอบเอง ที่ทำมาทั้งหมดไม่ต้องการให้กระทบกระเทือนเบื้องพระยุคลบาท ไม่ได้ดำเนินคดีกับคนเหล่านี้เพราะหมิ่นสถาบัน แต่เขากระทำความผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรไทย มุ่งไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยหลักกฎหมายประเทศไทย สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหลักของประเทศ แต่ยังมีคนที่เป็นพรรคพวกของพล.อ.ชวลิต ไประคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ต้องการขอเข้าเฝ้าฯ
เมื่อถามว่าเชื่อมั่นจริงหรือว่าคนเหล่านี้จ้องล้มสถาบัน นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่พูดอย่างนั้น พูดไปอาจหาว่าตนกลั่นแกล้ง รอให้กระบวนการทางกฎหมายพิสูจน์ เมื่อถามว่าจะดำเนินคดีกับทุกคนที่ออกหมายเรียกเลยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ดำเนิน คดีกับทุกคนที่ทำผิดกฎหมาย ไม่เว้นว่าเป็นใคร บางคนไม่ออกหมายเรียกก็ได้ ถ้าพบหลักฐานว่าทำผิด ก็ออกหมายจับได้เลย
ปัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล
เมื่อถามว่าจะนำข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต ที่ให้ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลมาพิจารณาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า "ผมไม่รับข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต พูดแล้วอย่าไปเขียนให้โกรธ ที่ไม่รับข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต เพราะผมไม่เข้าใจ ผมไม่เข้าใจอะไรสักอย่าง"
เวลา 11.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรณีพล.อ.ชวลิต เสนอโรดแม็ป 5 ข้อนำสังคมสู่สันติภาพ พรรคได้ประเมินโรดแม็ปว่าเป็นการปูทางเดินให้ตัวเองเป็นผู้นำเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างแท้จริงต่อจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพฤติกรรมของพล.อ.ชวลิต ขาดความจริงใจที่จะหาทางออกให้บ้านเมืองจริง หากต้องการทำจริง ต้องไปขอให้แกนนำนปช. หารือกับรัฐบาลต่อ พล.อ.ชวลิต ได้ใช้ความสูญเสียมาสร้างเงื่อนไขกดดันรัฐบาล เพิ่มความขัดแย้งทางการเมืองโดยปลุกระดมข้อมูลที่เป็นเท็จ การฝากถึงนายกฯ และนายสุเทพ ให้หยุดฆ่าประชาชน หากพล.อ. ชวลิตหวังดีควรหยุดบิดเบือน สร้างความขัดแย้งในสังคมด้วยข้อมูลเท็จ อยากให้พล.อ. ชวลิต ปรับวางบทบาทตัวเอง ให้เป็นตัวกลางในการพูดคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณ และแกนนำนปช.ไม่ให้พาดพิงสถาบัน หยุด เคลื่อนไหวรุนแรงก้าวล่วงสถาบันสูงสุด
"มาร์ค"เรียกถกครม.นัดพิเศษ
รายงานข่าวจากกรมทหารราบที่ 11 รอ. แจ้งว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วน วันที่ 2 พ.ค. เวลา 10.30 น. ที่ร.11 รอ. โดยให้เหตุผลเบื้องต้นว่าเชิญประชุมครม.วาระพิเศษ และขอให้รัฐมนตรีแต่ละคนแต่ละกระทรวงนำเอกสารวาระครม.ที่เสนอและได้รับการบรรจุเข้าวาระการประชุมแล้ว แต่ยังค้างการพิจารณาอยู่นั้นมาด้วย อีกทั้งยังกำชับให้ข้าราชการระดับสูงหรือเทียบเท่าปลัดกระทรวงทุกคนเข้าร่วมประชุม ครม. นัดนี้ด้วย
เวลา 15.45 น. ที่วัดพระศรีมหาธาตุวร มหาวิหาร บางเขน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งโดยยอมรับว่า วันที่ 2 พ.ค.มีการประชุมครม.นัดพิเศษจริง โดยมีเรื่องต้องหารือในครม. เมื่อถามว่าจะพิจารณาประกาศกฎอัยการศึกหรือไม่ นายสุเทพ ปฏิเสธว่า ไม่
เทพไทงง"จิ๋ว"แต่งเต็มยศ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พล.อ. ชวลิต เดินทางมาร.11 รอ.เองโดยไม่มีหมายเรียกหรือนัดหมาย และไม่ได้มาในฐานะผบ.ทบ. จึงไม่มีกองเกียรติยศมาต้อนรับเพราะมาในฐานะผู้ที่เกี่ยวพันกับกระบวน การล้มเจ้าและสถาบัน จึงต่างกัน แม้จะแต่งชุดทหารเต็มยศก็ไม่ทราบว่าแต่งมาเพื่ออะไร มีแนวคิดเหมือนเสธ.บางคนที่แต่งชุดลายพรางเพื่อไม่ให้ตำรวจจับ หรือเหมือนทหารเก๊บางคนที่แต่งชุดทหารไปหลอกสาว
นายเทพไท กล่าวว่า ขบวนของพล.อ. ชวลิตเป็นขบวนใหญ่คนมาจำนวนมาก ลิ่วล้อลูกหาบหวังออกทีวี หากต้อนรับหมดสถานที่คงไม่พอ ศอฉ.เป็นเขตหวงห้าม มีมาตรการความมั่นคง ไม่สามารถต้อนรับขบวนลูกน้องได้หมด แต่ให้โอกาสพล.อ. ชวลิตและลูกน้อง 1 คน ซึ่งในขบวนของพล.อ.ชวลิต อาจมีคนใช้ความรุนแรงแอบ แฝงหรือชุดดำเหมือนวันที่ 10 เม.ย. แอบ แฝงเข้ามาอาจสร้างความเสียหายกับศอฉ.ได้ ส่วนที่พล.อ.ชวลิต เสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลเฉพาะกาล เป็นแนวคิดที่พล.อ.ชวลิตขายมาตลอด แต่ยังไม่กลุ่มใดยอมรับแนวคิดนี้ เว้นแต่คนรอบข้างที่หวังได้อานิสงส์ร่วมรัฐบาลด้วย สำหรับจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์และรัฐบาลนี้ไม่สนับสนุนการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ท้า"แม้ว"โชว์ตัว
นายเทพไท กล่าวว่า วันนี้มีเอสเอ็มเอสและทวิตเตอร์จากพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่แน่ใจว่าเป็นของจริงหรือของปลอม พ.ต.ท.ทักษิณ บ่นว่ามีคนอยากให้ตายจริงๆ ตนไม่ทราบว่าใครบ้างที่อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณตาย แต่ตนไม่อยากให้ตาย เพราะอยากให้มารับชะตากรรมของตัวเองต่อ คนไทยทุกคนอยากทราบข้อเท็จจริง ไม่อยากให้ข่าวลือสร้างความสับสนต่อสังคม เพราะมีข่าวว่าพ.ต.ท. ทักษิณ อยู่ประเทศต่างๆ ล่าสุด มีข่าวว่าอยู่ฮ่องกง 2-3 วัน ไปได้ 4-5 แห่ง ไม่ทราบตัวจริงหรือวิญญาณไป อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณลบข่าวลือ ออกมาปรากฏตัวจะด้วยการโฟนอินหรือวิดีโอลิงก์ ให้เห็นภาพชัดเจน พูดตอบโต้กันได้ดีกว่าให้คนมาโพสต์รูปภาพหรือทวิตเตอร์สร้างความคลางแคลงใจ
พท.ฉะรัฐบาลจ้องดิสเครดิต
เมื่อเวลา 10.00 น. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงกรณีศอฉ.ไม่ยอมให้คณะที่ร่วมเดินทางไปกับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทยเข้าฟังการชี้แจงว่า พล.อ.ชวลิต ถูกวิชามารของรัฐบาลและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ไม่ให้เข้าไปชี้แจง โดยสั่งการทางวิทยุห้ามคณะผู้ติดตามเข้าไปอย่างเด็ดขาด ทั้งที่ข้อเท็จจริงได้ประสานไว้ก่อนหน้าแล้วว่าพล.อ.ชวลิต จะเข้าไปชี้แจงพร้อมคนติดตาม ซึ่งตนเชื่อว่าการกระทำในครั้งนี้มีเจตนาจะฉีกหน้าพลเอกชวลิต และคณะต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นสุภาพบุรุษของนายสุเทพ ซึ่งไม่เคารพผู้ใหญ่ ไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติของทหารที่เคยเป็นถึงอดีตผบ.ทบ. และอดีตนายกฯ เป็นเจตนาที่ต้องการลดความน่าเชื่อถือทางการเมือง
"เชื่อว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯและนายสุเทพ ต้องการดิสเครดิตทางการเมือง ดังนั้น ผมขอท้านายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ให้นัดวันมาใหม่ เพื่อให้พล.อ.ชวลิตไปชี้แจง ในครั้งหน้าขอให้เป็นการชี้แจง โดยมีสื่อมวลชนเป็นพยานด้วย" นายพร้อมพงศ์ กล่าวและว่า ขณะเดียวกันอยากเรียกร้องไปยังพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ว่าควรให้เกียรติพล.อ.ชวลิต ในฐานะเคยเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่และเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง
"แม้ว"เย้ยตัวเองตายก็ไม่จบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเอสเอ็มเอส ถึงแฟนคลับเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติว่า ขอให้ผู้ใช้แรงงานมีความสุข ปลอดภัยได้ประชาธิปไตยโดยเร็ว นอกจากนี้ยังทวีตข้อความตอบแฟนคลับในเว็บไซต์ ทวิตเตอร์ ทักษิณไลฟ์ เมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ระบุถึงข่าวลือเกี่ยวกับอาการป่วยว่า "ข่าวลือแปลว่าข่าวที่คนปล่อยอยากให้เป็นจริง เขาอยากให้ผมตายโดยคิดว่ากระบวนการต่อสู้จะหยุดลง แต่หารู้ไม่ว่าเกินผมไปแล้ว อยากให้การต่อสู้ของพี่น้องมีความชัดเจนว่ามันไม่ใช่เรื่องของผม มันยิ่งใหญ่กว่าตัวบุคคลเยอะ มันเป็นเรื่องของประชาธิปไตยและความยุติธรรม
พ.ต.ท.ทักษิณ ทวีตตอบแฟนคลับถึงกรณีชาวต่างชาติบอกประเทศไทยไม่ได้เป็นสยามเมืองยิ้มแล้วว่า เพราะทัศนคติของการหันหน้าเข้าหากันพูดจากันแบบไทยๆ หมดไปแล้ว มีแต่การหันมากล่าวหากันใส่ร้ายกัน ใช้สื่อปรักปรำข้างเดียวลงโทษข้างเดียว นอกจากนี้พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวขอบคุณแฟนคลับที่ทวีตมาให้กำลังใจกรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการร้ายและขบวนการล้มเจ้า โดยระบุว่ากำลังใจยังดีเพราะมีคนให้ กำลังใจมาก
ลูกโอ๊คย้ำพ่อสบายดี
ด้านนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทวีตข้อความผ่านเว็บบล็อกทวิตเตอร์ ดอทคอมเช่นกันว่า "ขอพักจากจากข่าวลือที่ไม่เป็นจริง และการเสนอข่าวด้านเดียว ไปพบปะเพื่อนต่างชาติสร้างความเชื่อมั่นให้มาเที่ยวมาลงทุนที่ไทย ยืนยันกับเพื่อนต่างชาติว่าอีกไม่นานประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยที่แท้จริง" นอกจากนี้ยังทวีตถึงกรณีที่มีข่าวระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่สบายหนักว่า "My dad is fine not even a cold...(พ่อผมสบายดีไม่ได้ป่วย) และเป็นกำลังใจให้พี่น้องเสื้อแดงเสมอ"
"เหนาะ"จี้เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เวลา 13.30 น. ที่พรรคประชาราช นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช อ่านแถลงการณ์ภายหลังการประชุมพรรค ระบุว่า หลังจากการรัฐประหาร และมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2550 กระทั่งมีการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ปรากฏว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดังกล่าว ไม่เป็นที่ยอมรับของบุคคลบางคณะ และเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลถึง 3 ครั้ง รัฐบาลยังไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ ยิ่งสะสมความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ซึ่งพัฒนาไปสู่การใช้อาวุธประหัตประหารกัน ไม่ต่างจากสงครามกลางเมือง การแก้ปัญหาด้วยการเมืองในแบบปกติ รวมถึงการใช้กำลังทหาร-ตำรวจที่ติดอาวุธมาเป็นกลไกแก้ปัญหา ทำให้ปัญหายุติลงชั่วขณะ แต่ในระยะยาว ความแตกแยกของคนในชาติยังดำรงอยู่
พรรคประชาราชจึงเสนอแนวคิดที่เป็นทางออกของปัญหา จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ 1.รัฐบาลต้องยกเลิกการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุก เฉิน และถอนกำลังทหาร ตำรวจออกจากทุกพื้นที่ และกลับเข้าที่ตั้งโดยเร็วที่สุด มิเช่นนั้นจะทำให้ทั่วโลกมองประเทศไทยว่า ไม่น่ามาทำการค้า ส่งผลต่อการท่องเที่ยว การลงทุน และเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง 2.นปช.ต้องย้ายการชุมนุมออกจากแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า การศึกษา โรงพยาบาล และการคมนาคม หากยังชุมนุมยืดเยื้อต่อไป อาจเป็นเงื่อนไขในการใช้กำลังของผู้ไม่ประสงค์ดี ทั้งนี้ให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการในทันที เพื่อถวายเป็นราชสักการะในวโรกาสวันราชาภิเษกครบรอบ 60 ปี ในวันที่ 5 พ.ค.
อาสาเป็นคนกลางหาข้อยุติ
3.จัดตั้งคณะกรรมการตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง ผู้แทนส.ว. ผู้แทนภาค เอกชน ผู้แทนจากข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร ให้เป็นคณะกรรมการร่วมร่างข้อตกลงเพื่อหาข้อยุติ โดยคณะกรรมการดังกล่าว ต้องแต่งตั้งภายหลังที่ทุกฝ่ายปฏิบัติตามข้อ 1 และ 2 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน และนำแถลงการณ์นี้ไปยื่นต่อสถานทูตต่างๆต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคประชาราชจะเป็นตัวกลางประสานกับพรรคอื่น ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาหรือไม่ นายเสนาะกล่าวว่า เมื่อตนเป็นคนเสนอ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าร่วมด้วย แต่เบื้องต้นอยากให้ทุกฝ่ายถอยกันคนละก้าว ให้ประเทศชาติกลับสู่ความเป็นประเทศชาติก่อน แล้วค่อยมาเจรจากัน ซึ่งการเจรจาในรอบใหม่ควรทำในทางแจ้ง ผ่านทางตัวกลาง เรื่องของบ้านเมืองไม่เห็นด้วยที่จะให้คู่กรณีเจรจากันเอง ถ้าเอาแต่เรื่องส่วนตัวไปคุยกันก็ตกลงกันไม่ได้ ตอนนี้อย่าไปยืนอยู่ฝ่ายใด ต้องยืนอยู่ฝั่งประเทศชาติเท่านั้น
เมื่อถามว่าหากรัฐบาลและนปช.ไม่ฟังเสียงของคนกลาง จะถือว่าเสียหน้าหรือไม่ นายเสนาะกล่าวว่า วันนี้ถ้าคนที่เห็นแก่ประเทศ ชาติจริงๆ ไม่กล้าทำเรื่องที่ถูกต้องที่ดี จะเสนอหน้ามาทำงานทำไม ตนไม่เคยสั่งใคร แต่เสนอทางออกให้ ถ้าไม่ทำก็ช่วยไม่ได้
แนะ"มาร์ค"ลาออกแทนยุบสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดเห็นอย่างไรที่พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เสนอตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล นายเสนาะกล่าวว่า อะไรก็ได้ที่เป็นทางออก ข้อเสนอของตนมีเพียงเท่านี้ ถ้าใครคิดว่ามีทางออกที่ดีกว่านี้ก็มาช่วยกัน วันนี้ทางออกคือให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ลาออกจากตำแหน่ง
"วันนี้การันตีเลยว่า ยุบสภาไม่ใช่ทาง ออก เพียงแค่นายอภิสิทธิ์ เสียสละลาออกจากตำแหน่ง รู้อยู่ว่าอยู่ไปก็บริหารประเทศไม่ได้ อยู่ทำไม พรรคร่วมรัฐบาลไปร่วมทำอะไร ในเมื่อรู้ว่าผู้นำประเทศออกไปหาประชาชนไม่ได้ เกิดความแตกแยก แตกร้าวไปทั่วประเทศ ผมยังไม่รู้ว่าเขาอยู่เพื่ออะไร บอกว่าอยู่เพื่อปกป้องสถาบัน ยิ่งหนักกันไปใหญ่ เอาเรื่องที่พูดกันไม่จบมาพูด แต่ก่อนนี้ไม่เคยมีใครพูดว่าจะต้องปกป้องสถาบัน ปกป้องทำไม ท่านเหมือนกับเทพ มีแต่ท่านจะต้องดูแลปกป้องลูกหลาน ทั้งอำนาจ ทั้งบารมี ทั้งความรัก ทั้งความเทิดทูนของคนในชาติ ไม่ต้องไปแอ่นอกบอกว่าจะปกป้องสถาบัน ตอนนี้นอก จากเป็นพระมหากษัตริย์แล้วยังเป็นพ่อแห่งชาติ แม่แห่งชาติ ใครจะไปเป็นลูกทรพี ไม่ต้องพูด อันนั้นเป็นวิญญาณของทุกคนที่ต้องเทิดทูนท่านไว้อยู่แล้ว ใครจะไปล้มล้าง" นายเสนาะ กล่าว
"ตู่"เมินรัฐบาลถกครม.นัดพิเศษ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราชที่ให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และให้ผู้ชุมนุมออกจากราชประสงค์พร้อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อคลี่คลายทุกเรื่องภายใน 7 วันว่า ตนเพิ่งอ่านแถลงการณ์ ซึ่งตนต้องเอาเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้แกนนำได้พิจารณาต่อไป
นายจตุพร กล่าวว่า ส่วนที่มีการประชุม ครม.นัดพิเศษวันที่ 2 พ.ค. ต้องจับตามองคือจะวางกรอบเพื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ความจริงแล้วอำนาจใช้กฎอัยการศึกไม่เป็นของครม. แต่เป็นกฎหมายที่ประกาศได้โดยนายทหารระดับผบ.พัน ซึ่งการยกเลิกต้องมาจากพระบรมราชโองการ อย่างไรก็ตาม ถ้าจะประกาศกฎอัยการศึกจริงไม่ได้มีผลต่อการชุมนุมว่าคนเสื้อแดงจะถอยจากพื้นที่ชุมนุม
"เราไม่สนใจกฎอัยการศึก จะทำให้การต่อสู้สั้นลง แต่เรารองรับการต่อสู้ที่จะเข้าสู่ฤดูฝน จะปักหลักสู้อยู่ที่นี่ต่อไปไม่ว่ารัฐบาลจะใช้กฎหมายใดหรืออาวุธอะไรเราก็พร้อมสู้ เหลืออยู่คนเดียวก็จะสู้" นายจตุพร กล่าว
โวยเทือกใช้สื่อเล่นงาน"จิ๋ว"
นายจตุพร กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลพยายามบิดเบือน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯใช้สื่อโจมตีการให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกฯ ที่กล่าวหาว่าทหารฆ่าประชาชน ถือเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุด
"เรื่องการหมิ่นสถาบัน อยากถามว่าทำไมรัฐบาลไม่จับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชา ธิปไตย ในข้อหาเดียวกันและไม่ได้อยู่ในแผนผังขบวนการล้มสถาบันของศอฉ. ซึ่งนายสนธิมีคดีอยู่ในกระบวนการยุติธรรมจากกรณีของการเผยแพร่ซ้ำกรณีดาตอร์ปิโด นอกจากนี้ เราจะฟ้องร้องนายสุเทพทางคดีแพ่งและอาญาต่อไป" นายจตุพร กล่าว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
***********************************************************
ข้อสังเกตบางประการ (กรณีเสื้อแดงบุก รพ.จุฬาฯ)
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
เรื่องความไม่ชอบธรรมชนิดไม่มีข้อแก้ตัวของฝ่ายแดงที่ไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 นั้น เมื่อทบทวนดู พบข้อน่าสังเกตบางประการจึงขอบันทึกไว้ดังนี้
1. ฝ่ายแดงสะดุดหัวแม่เท้าตัวเองจริงๆ เรื่องไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ หลังจากเสียหายเรื่องตั้งด่านตรวจรถ กั้นทางขึ้นลงรถไฟฟ้า แล้วตีตื้นขึ้นมาได้จากแผนล้มเจ้าฉบับขายหัวเราะของ ศอฉ. ซึ่งถ้ามีคนเชื่อว่าจริง คนไทยก็ควรเลิกคิดเรื่องพัฒนาชาติไทย นอนรอวันตายไปเรื่อยๆ สบายดีและถูกอัธยาศัยดีแล้ว
เข้าใจได้ถึงความกดดันของฝ่ายแดงว่าจะถูกทำร้าย ถูกล้อมปราบ แต่การบุกไปโรงพยาบาลแบบซุ่มซ่ามบุ่มบ่ามเพราะความ "กลัว" ของตน โดยไม่ได้นึกถึงความ "กลัว" ของคนอื่นๆ ที่เป็นคนธรรมดาสามัญเหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าฝ่ายวางแผนและคุมกำลังละเอียดอ่อนไม่พอ ไม่ฉลาดเท่าฝ่ายรัฐ แม้จะบอกว่าสู้จนเหนื่อยคิดไม่ทัน ก็แปลว่าอ่อนด้อยกว่าเขา กล่าวคือแพ้ทางการเมือง
จิตใจสู้และอดทนของประชาชนที่ไม่มีอะไรจะสูญเสียนอกจากชีวิตนั้นไม่แพ้ แต่ทางการเมืองแพ้ หรือพูดอีกอย่างว่า ณ เวลานี้อยู่ในสถานะเพลี่ยงพล้ำ ทั้งแกนนำ การ์ดและผู้ชุมนุม โดยนอกจากเพลี่ยงพล้ำทางกระบวนท่า ยังเพลี่ยงพล้ำทางเล่ห์เหลี่ยม อาจเพราะไม่เชี่ยวชาญเรื่องเล่ห์เหลี่ยม การสร้างภาพ ตลอดจนการพูดจาให้ดูดีมีชาติตระกูล ซึ่งสองอย่างหลังนั้น เป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของบรรดาคนชั้นกลางถึงชั้นสูงที่ดูดีมีชาติตระกูล ไม่ใช่ชาวบ้านสามัญ
2. น่าสนใจมากว่า "สื่อ" รายงานเรื่องแดง "บุก" โรงพยาบาลอย่างครึกโครม จนมีคนเชื่อโดยไม่ได้อ่านและไม่ได้ฟังละเอียดคิดว่าพวกแดงพร้อมอาวุธครบมือบุกยึดโรงพยาบาล เข้าไปอาละวาดทำร้ายคนไข้ แพทย์ พยาบาล จนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลต้องขนคนไข้หนีม็อบกันโกลาหล เด็กอ่อนต้องย้ายตึก ผู้ป่วยหนักต้องย้ายตึก ฯลฯ
แน่นอนว่า การกรูเกรียวเข้าไปในโรงพยาบาลของการ์ดและคนเสื้อแดง (ตามข่าว) เป็นเรื่องทำร้ายความรู้สึกมากๆ สำหรับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นความไม่ชอบธรรมที่แดงไปบุกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อไม่ชอบธรรมตั้งแต่ต้นก็ย่อมไม่ชอบธรรมในเบื้องปลาย แต่น่าสนใจว่า ความจริงคือแดงทำอะไรบ้าง ขนาดไหน รุนแรงทางกายภาพเพียงใด ข่มขู่ใครบ้าง อย่างไร นอกเหนือจากที่เป็นความรุนแรงต่อจิตใจ ซึ่งประเมินได้ยาก เพราะแต่ละคนต่างมี "ความรู้สึก" ของตน
มองอย่างเป็นธรรม ถ้าคนกรุงเทพฯ รู้สึกว่าถูกคนเสื้อแดงทำร้ายจิตใจสาหัส คนเสื้อแดงก็บอกได้เช่นกันว่าพวกเขาถูกคนกรุงเทพฯ และคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยทำร้ายจิตใจสาหัสด้วยถ้อยคำดูหมิ่น เหยียดหยาม ด่าว่าพวกเขาตลอดมา เขายังไม่ทันได้ทำอะไรเลย ก็ถูกกล่่าวหาก่อนแล้วว่าถ่อย โง่เป็นควายแดง พวกหางแดง ฯลฯ เป็นต้น เมื่อพวกเขาถูกล้อมปราบจนตายก็ไม่มีใคร โดยเฉพาะ "สื่อ" เดือดร้อน
บันทึกในบล็อกของหมอจุฬาฯ และรูปภาพที่หมอจุฬาฯ ถ่ายออกมาเผยแพร่ทางโลกออนไลน์ ฝ่ายเกลียดแดงอ่านแล้วพอใจ ฝ่ายไม่เกลียดแดงอ่านแล้วเห็นว่า มีอคติอย่างแรง
ในบันทึกก่อนวันที่ 29 เมษายน หมอจุฬาฯ ท่านหนึ่งเขียนว่า "พวกมัน" มาเดินเข้าเดินออกเข้าห้องน้ำเหมือน เป็นบ้านของมัน วันที่พวกมันบุกเข้ามาก็น่ากลัวมาก ก็ดูหน้าตาสารรูปของพวกมันแต่ละคนสิ.......
บ่อยครั้ง ความหวาดกลัวในความ "เป็นอื่น" ของ "คนอื่น" ก็เกินจริง และคนชั้นกลางมีความสามารถสูงในการ "รู้สึก" อย่าง "ดราม่า"
น้องรู้จักกันคนหนึ่ง เป็น typical ของสาวสวยชนชั้นกลางนิสัยดีมี "ธรรมะ" และมี "ฟอร์เวิร์ดเมล" น่ารักๆ ของคนน่ารักๆ นิสัยดี ไม่ชอบคนก้าวร้าวรุนแรง....บอกว่าตกใจร้องไห้ตัวสั่นทุกครั้งเมื่อนึกถึงเสื้อแดง เพราะกิริยาท่าทางแย่มาก เดินเข้าเดินออกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะทำงานที่นั่น ก็ต้องเจอพวกเสื้อแดงตัวดำๆ สกปรก หน้าตาเหี้ยมโหด น่ากลัวเหลือเกิน พวกนี้ข่มขู่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย คือมาปิดกั้นถนน ถือท่อเหล็กแกว่งไกวไปมา หน้าตาไม่เป็นมิตร เดินเข้าเดินออกในโรงพยาบาลที่ควรจะเป็นที่ของผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
เรื่องอย่างนี้มีทั้งความจริง และความ "รู้สึกเกินจริง" แบบ "ดราม่า"
น่าสนใจว่าหนังสือพิมพ์ใหญ่บางฉบับไม่พาดหัวเรื่องแดงบุกโรงพยาบาลเลยสองวันซ้อน แปลว่าอะไร? ไม่อยากเป็นเครื่องมือของใครเพราะเกรงว่าเรื่องนี้อาจมีการใช้ผู้ป่วยเป็นเครื่องมือทางการเมือง (ของทั้งสองฝ่าย) หรือไม่?
ตรงนี้มีข้อมูลหลายประเด็นที่ควรพิจารณา เช่น
2.1 อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาฯ ตัดสินใจย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่น เสื้อแดงแสดงท่าทีว่าจะบุกเข้าไปทำร้ายผู้ป่วยหรือไม่ ฯลฯ เป็นต้น ถ้าเหตุผลว่า การบุกเข้าไปวันนั้นพอเพียงแล้วที่จะให้ตัดสินใจ แม้เป็นเหตุผลพึงรับฟัง ก็น่าคิดว่า ทัศนคติของผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาฯ ต่อเสื้อแดงเป็นอย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เสื้อแดงน่ากลัวขนาดนั้นจริงหรือไม่
ข่าวล่าสุดที่สื่ออ้างว่ามาจาก โรงพยาบาลบอกว่า เสื้อแดงขู่วางระเบิดโรงพยาบาล คำถามคือมีความจริงมากน้อยแค่ไหน ใครเป็นผู้ขู่ ควรระบุตัวตนเพื่อแจ้งตำรวจให้จัดการตามกฎหมาย ดีกว่าลอยเลื่อนเป็นข่าวลือให้ร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง
2.2 มีรายงานข่าวเปิดหน้านักข่าวไทยพีบีเอสว่า นักข่าวกำลังจะเข้าไปตรวจสถานที่โรงพยาบาลกับแกนนำตามที่ ผอ.โรงพยาบาลอนุญาต เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ใจว่า ไม่มีทหารในโรงพยาบาล นั่นคือ ก่อนหน้า การ์ดเสื้อแดงเยอะแยะจะกรูเข้าไปจับคนงานก่อสร้างเพราะเชื่อว่าเป็นทหารมาซุ่มยิง แปลว่า ก่อนหน้าจะเกิดประเด็นแดงบุกโรงพยาบาล การเข้าไปตรวจสอบในโรงพยาบาลของแดง ยังไม่ใช่สิ่งที่ "น่ากลัว" สำหรับสื่อ ใช่หรือไม่ ?
ถ้าใช่ ก็อาจแปลว่าความน่ากลัวคือการกรูกันเข้าไปของการ์ดเสื้อแดงจำนวนมากที่วิ่งตึงๆ จะไปจับคนงานก่อสร้าง (ตามข่าว) เพราะเชื่อว่าเป็นทหาร แต่กระนั้นข่าวที่ออกมาช่วงแรก ก็ไม่ใช่เรื่อง "บุก" โรงพยาบาลแบบอันธพาล น้ำเสียงข่าวในช่วงแรกคือ แดงปล่อยไก่ เพราะคนที่จับได้ไม่ใช่ทหาร แต่เป็นคนงานก่อสร้าง พูดจาไม่รู้เรื่อง
2.3 ไม่ควรตัดทิ้งข้อสงสัยว่าอาจมีทหารอยู่จริงในโรงพยาบาลจุฬาฯ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อรักษาความปลอดภัย ให้โรงพยาบาลจุฬาฯ (แม้จะฟังแปร่งๆ) เหมือนกับที่มีทหารรักษาการอยู่แทบทุกชั้นที่อาคารเนชั่นและที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนั้น ไม่แปลกที่ฝ่ายแดงจะสงสัย หลังจากมีบางกระแสข่าวว่าวิถี กระสุนซึ่งไปตกที่สีลมน่าจะมาจากโรงพยาบาล ต้องไม่ลืมว่าความตายที่สีลมไม่ได้เป็นประโยชน์อันใดเลยกับเสื้อแดง
2.4 ไม่แปลกที่ฝ่ายแดงจะสงสัยโรงพยาบาลจุฬาฯและแพทย์จุฬาฯ เพราะกลุ่มแพทย์จุฬาฯ เคยออกแถลงการณ์ไม่รับตรวจเจ้าหน้าที่ตำรวจเพราะเชื่อว่าตำรวจทำร้ายพันธมิตรฯ แพทย์จุฬาฯ มีภาพว่าเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองมาตั้งแต่ต้น แม้ประกาศตัวเป็นกลางในแง่วิชาชีพ ภาพรวมในแง่ปัจเจกและอารมณ์ส่วนตัวของปัจเจกคือไม่ชอบแดง
2.5 ที่น่าสนใจมากๆ คือสื่อหลายสำนัก โหมข่าวเรื่องเสื้อแดงบุกโรงพยาบาลเป็นเรื่องใหญ่ ยินดีที่มีเสียงตำหนิแดง ยินดีที่คนเคยเห็นใจแดงตำหนิแดง คนทำสื่อเหล่านี้ดูจะไม่สนใจและคล้ายจะลืมเรื่องการล้อมปราบในวันที่ 10 เมษายน 2553 โดยสิ้นเชิงแม้จะมีความสูญเสียอย่างมาก ไม่สนใจสืบค้นความจริงเรื่องความ ตายของคนเสื้อหลากสีที่สีลม และไม่สนใจสืบค้นความจริงเรื่อง พลทหารถูกยิงตายที่ดอนเมือง.......
ถ้าเราตัวสั่นด้วยความโกรธแค้น ที่เสื้อแดงบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นความไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง เราควรถามตัวเองเช่นกันว่า เราตัวสั่นด้วยความโกรธแค้นอย่างเดียวกันหรือไม่ที่ "รัฐ" เลือกปราบประชาชนคิดต่างในยามวิกาล เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 จนมีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ทั้งฝ่ายประชาชนและทหาร
หรือในกรณีนี้ เราตัวสั่นเฉพาะเมื่อทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บ
ถ้าเช่นนั้น เรามองประชาชนเสื้อแดงว่าพวกเขาเป็นใครหรือ มิใช่เพื่อนร่วมชาติของเราผู้กำลังพยายามส่งเสียงบอกเราว่า เขามีความทุกข์หรืือ และถ้าเรามีความทุกข์เพราะการกระทำของเขา ที่พยายามบอกเราว่าเขามีความทุกข์ เราก็ควรจะหันหน้าคุยกัน เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผ่อนคลาย ความทุกข์ของกันและกันมิใช่หรือ
หรือเราควรตั้งตัวเป็นตุลาการศาลเตี้ย สั่งฆ่า สั่งเสียบประจานพวกเขาซึ่งเราขอเรียกว่าพวกมัน เพราะเรา "เชื่อ" ว่าพวกมันแสนเลวบัดซบ....อย่างนั้นหรือ?
บางทีเราอาจไม่ต้องฝึกฝนนิสัยตัวสั่นด้วยความโกรธแค้นก็ได้ เพราะความโกรธแค้นไม่ได้ช่วยให้เรามีสติ แต่เราควรฝึกคิดทบทวนว่า ความจริงคืออะไรกันแน่
3. ขอบันทึกเรื่องขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ ไว้เล็กน้อยว่า ขณะนี้ทำกันเป็นล่ำเป็นสันและน่ากลัวมากเพราะ "อารมณ์เกลียดชัง" ที่ยิ่งนับวันยิ่งเติบโต
ที่มา.ประชาไท
---------------------------------------------------------------------------
เรื่องความไม่ชอบธรรมชนิดไม่มีข้อแก้ตัวของฝ่ายแดงที่ไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 นั้น เมื่อทบทวนดู พบข้อน่าสังเกตบางประการจึงขอบันทึกไว้ดังนี้
1. ฝ่ายแดงสะดุดหัวแม่เท้าตัวเองจริงๆ เรื่องไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ หลังจากเสียหายเรื่องตั้งด่านตรวจรถ กั้นทางขึ้นลงรถไฟฟ้า แล้วตีตื้นขึ้นมาได้จากแผนล้มเจ้าฉบับขายหัวเราะของ ศอฉ. ซึ่งถ้ามีคนเชื่อว่าจริง คนไทยก็ควรเลิกคิดเรื่องพัฒนาชาติไทย นอนรอวันตายไปเรื่อยๆ สบายดีและถูกอัธยาศัยดีแล้ว
เข้าใจได้ถึงความกดดันของฝ่ายแดงว่าจะถูกทำร้าย ถูกล้อมปราบ แต่การบุกไปโรงพยาบาลแบบซุ่มซ่ามบุ่มบ่ามเพราะความ "กลัว" ของตน โดยไม่ได้นึกถึงความ "กลัว" ของคนอื่นๆ ที่เป็นคนธรรมดาสามัญเหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าฝ่ายวางแผนและคุมกำลังละเอียดอ่อนไม่พอ ไม่ฉลาดเท่าฝ่ายรัฐ แม้จะบอกว่าสู้จนเหนื่อยคิดไม่ทัน ก็แปลว่าอ่อนด้อยกว่าเขา กล่าวคือแพ้ทางการเมือง
จิตใจสู้และอดทนของประชาชนที่ไม่มีอะไรจะสูญเสียนอกจากชีวิตนั้นไม่แพ้ แต่ทางการเมืองแพ้ หรือพูดอีกอย่างว่า ณ เวลานี้อยู่ในสถานะเพลี่ยงพล้ำ ทั้งแกนนำ การ์ดและผู้ชุมนุม โดยนอกจากเพลี่ยงพล้ำทางกระบวนท่า ยังเพลี่ยงพล้ำทางเล่ห์เหลี่ยม อาจเพราะไม่เชี่ยวชาญเรื่องเล่ห์เหลี่ยม การสร้างภาพ ตลอดจนการพูดจาให้ดูดีมีชาติตระกูล ซึ่งสองอย่างหลังนั้น เป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของบรรดาคนชั้นกลางถึงชั้นสูงที่ดูดีมีชาติตระกูล ไม่ใช่ชาวบ้านสามัญ
2. น่าสนใจมากว่า "สื่อ" รายงานเรื่องแดง "บุก" โรงพยาบาลอย่างครึกโครม จนมีคนเชื่อโดยไม่ได้อ่านและไม่ได้ฟังละเอียดคิดว่าพวกแดงพร้อมอาวุธครบมือบุกยึดโรงพยาบาล เข้าไปอาละวาดทำร้ายคนไข้ แพทย์ พยาบาล จนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลต้องขนคนไข้หนีม็อบกันโกลาหล เด็กอ่อนต้องย้ายตึก ผู้ป่วยหนักต้องย้ายตึก ฯลฯ
แน่นอนว่า การกรูเกรียวเข้าไปในโรงพยาบาลของการ์ดและคนเสื้อแดง (ตามข่าว) เป็นเรื่องทำร้ายความรู้สึกมากๆ สำหรับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นความไม่ชอบธรรมที่แดงไปบุกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อไม่ชอบธรรมตั้งแต่ต้นก็ย่อมไม่ชอบธรรมในเบื้องปลาย แต่น่าสนใจว่า ความจริงคือแดงทำอะไรบ้าง ขนาดไหน รุนแรงทางกายภาพเพียงใด ข่มขู่ใครบ้าง อย่างไร นอกเหนือจากที่เป็นความรุนแรงต่อจิตใจ ซึ่งประเมินได้ยาก เพราะแต่ละคนต่างมี "ความรู้สึก" ของตน
มองอย่างเป็นธรรม ถ้าคนกรุงเทพฯ รู้สึกว่าถูกคนเสื้อแดงทำร้ายจิตใจสาหัส คนเสื้อแดงก็บอกได้เช่นกันว่าพวกเขาถูกคนกรุงเทพฯ และคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยทำร้ายจิตใจสาหัสด้วยถ้อยคำดูหมิ่น เหยียดหยาม ด่าว่าพวกเขาตลอดมา เขายังไม่ทันได้ทำอะไรเลย ก็ถูกกล่่าวหาก่อนแล้วว่าถ่อย โง่เป็นควายแดง พวกหางแดง ฯลฯ เป็นต้น เมื่อพวกเขาถูกล้อมปราบจนตายก็ไม่มีใคร โดยเฉพาะ "สื่อ" เดือดร้อน
บันทึกในบล็อกของหมอจุฬาฯ และรูปภาพที่หมอจุฬาฯ ถ่ายออกมาเผยแพร่ทางโลกออนไลน์ ฝ่ายเกลียดแดงอ่านแล้วพอใจ ฝ่ายไม่เกลียดแดงอ่านแล้วเห็นว่า มีอคติอย่างแรง
ในบันทึกก่อนวันที่ 29 เมษายน หมอจุฬาฯ ท่านหนึ่งเขียนว่า "พวกมัน" มาเดินเข้าเดินออกเข้าห้องน้ำเหมือน เป็นบ้านของมัน วันที่พวกมันบุกเข้ามาก็น่ากลัวมาก ก็ดูหน้าตาสารรูปของพวกมันแต่ละคนสิ.......
บ่อยครั้ง ความหวาดกลัวในความ "เป็นอื่น" ของ "คนอื่น" ก็เกินจริง และคนชั้นกลางมีความสามารถสูงในการ "รู้สึก" อย่าง "ดราม่า"
น้องรู้จักกันคนหนึ่ง เป็น typical ของสาวสวยชนชั้นกลางนิสัยดีมี "ธรรมะ" และมี "ฟอร์เวิร์ดเมล" น่ารักๆ ของคนน่ารักๆ นิสัยดี ไม่ชอบคนก้าวร้าวรุนแรง....บอกว่าตกใจร้องไห้ตัวสั่นทุกครั้งเมื่อนึกถึงเสื้อแดง เพราะกิริยาท่าทางแย่มาก เดินเข้าเดินออกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะทำงานที่นั่น ก็ต้องเจอพวกเสื้อแดงตัวดำๆ สกปรก หน้าตาเหี้ยมโหด น่ากลัวเหลือเกิน พวกนี้ข่มขู่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย คือมาปิดกั้นถนน ถือท่อเหล็กแกว่งไกวไปมา หน้าตาไม่เป็นมิตร เดินเข้าเดินออกในโรงพยาบาลที่ควรจะเป็นที่ของผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
เรื่องอย่างนี้มีทั้งความจริง และความ "รู้สึกเกินจริง" แบบ "ดราม่า"
น่าสนใจว่าหนังสือพิมพ์ใหญ่บางฉบับไม่พาดหัวเรื่องแดงบุกโรงพยาบาลเลยสองวันซ้อน แปลว่าอะไร? ไม่อยากเป็นเครื่องมือของใครเพราะเกรงว่าเรื่องนี้อาจมีการใช้ผู้ป่วยเป็นเครื่องมือทางการเมือง (ของทั้งสองฝ่าย) หรือไม่?
ตรงนี้มีข้อมูลหลายประเด็นที่ควรพิจารณา เช่น
2.1 อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาฯ ตัดสินใจย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่น เสื้อแดงแสดงท่าทีว่าจะบุกเข้าไปทำร้ายผู้ป่วยหรือไม่ ฯลฯ เป็นต้น ถ้าเหตุผลว่า การบุกเข้าไปวันนั้นพอเพียงแล้วที่จะให้ตัดสินใจ แม้เป็นเหตุผลพึงรับฟัง ก็น่าคิดว่า ทัศนคติของผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาฯ ต่อเสื้อแดงเป็นอย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เสื้อแดงน่ากลัวขนาดนั้นจริงหรือไม่
ข่าวล่าสุดที่สื่ออ้างว่ามาจาก โรงพยาบาลบอกว่า เสื้อแดงขู่วางระเบิดโรงพยาบาล คำถามคือมีความจริงมากน้อยแค่ไหน ใครเป็นผู้ขู่ ควรระบุตัวตนเพื่อแจ้งตำรวจให้จัดการตามกฎหมาย ดีกว่าลอยเลื่อนเป็นข่าวลือให้ร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง
2.2 มีรายงานข่าวเปิดหน้านักข่าวไทยพีบีเอสว่า นักข่าวกำลังจะเข้าไปตรวจสถานที่โรงพยาบาลกับแกนนำตามที่ ผอ.โรงพยาบาลอนุญาต เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ใจว่า ไม่มีทหารในโรงพยาบาล นั่นคือ ก่อนหน้า การ์ดเสื้อแดงเยอะแยะจะกรูเข้าไปจับคนงานก่อสร้างเพราะเชื่อว่าเป็นทหารมาซุ่มยิง แปลว่า ก่อนหน้าจะเกิดประเด็นแดงบุกโรงพยาบาล การเข้าไปตรวจสอบในโรงพยาบาลของแดง ยังไม่ใช่สิ่งที่ "น่ากลัว" สำหรับสื่อ ใช่หรือไม่ ?
ถ้าใช่ ก็อาจแปลว่าความน่ากลัวคือการกรูกันเข้าไปของการ์ดเสื้อแดงจำนวนมากที่วิ่งตึงๆ จะไปจับคนงานก่อสร้าง (ตามข่าว) เพราะเชื่อว่าเป็นทหาร แต่กระนั้นข่าวที่ออกมาช่วงแรก ก็ไม่ใช่เรื่อง "บุก" โรงพยาบาลแบบอันธพาล น้ำเสียงข่าวในช่วงแรกคือ แดงปล่อยไก่ เพราะคนที่จับได้ไม่ใช่ทหาร แต่เป็นคนงานก่อสร้าง พูดจาไม่รู้เรื่อง
2.3 ไม่ควรตัดทิ้งข้อสงสัยว่าอาจมีทหารอยู่จริงในโรงพยาบาลจุฬาฯ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อรักษาความปลอดภัย ให้โรงพยาบาลจุฬาฯ (แม้จะฟังแปร่งๆ) เหมือนกับที่มีทหารรักษาการอยู่แทบทุกชั้นที่อาคารเนชั่นและที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนั้น ไม่แปลกที่ฝ่ายแดงจะสงสัย หลังจากมีบางกระแสข่าวว่าวิถี กระสุนซึ่งไปตกที่สีลมน่าจะมาจากโรงพยาบาล ต้องไม่ลืมว่าความตายที่สีลมไม่ได้เป็นประโยชน์อันใดเลยกับเสื้อแดง
2.4 ไม่แปลกที่ฝ่ายแดงจะสงสัยโรงพยาบาลจุฬาฯและแพทย์จุฬาฯ เพราะกลุ่มแพทย์จุฬาฯ เคยออกแถลงการณ์ไม่รับตรวจเจ้าหน้าที่ตำรวจเพราะเชื่อว่าตำรวจทำร้ายพันธมิตรฯ แพทย์จุฬาฯ มีภาพว่าเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองมาตั้งแต่ต้น แม้ประกาศตัวเป็นกลางในแง่วิชาชีพ ภาพรวมในแง่ปัจเจกและอารมณ์ส่วนตัวของปัจเจกคือไม่ชอบแดง
2.5 ที่น่าสนใจมากๆ คือสื่อหลายสำนัก โหมข่าวเรื่องเสื้อแดงบุกโรงพยาบาลเป็นเรื่องใหญ่ ยินดีที่มีเสียงตำหนิแดง ยินดีที่คนเคยเห็นใจแดงตำหนิแดง คนทำสื่อเหล่านี้ดูจะไม่สนใจและคล้ายจะลืมเรื่องการล้อมปราบในวันที่ 10 เมษายน 2553 โดยสิ้นเชิงแม้จะมีความสูญเสียอย่างมาก ไม่สนใจสืบค้นความจริงเรื่องความ ตายของคนเสื้อหลากสีที่สีลม และไม่สนใจสืบค้นความจริงเรื่อง พลทหารถูกยิงตายที่ดอนเมือง.......
ถ้าเราตัวสั่นด้วยความโกรธแค้น ที่เสื้อแดงบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นความไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง เราควรถามตัวเองเช่นกันว่า เราตัวสั่นด้วยความโกรธแค้นอย่างเดียวกันหรือไม่ที่ "รัฐ" เลือกปราบประชาชนคิดต่างในยามวิกาล เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 จนมีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ทั้งฝ่ายประชาชนและทหาร
หรือในกรณีนี้ เราตัวสั่นเฉพาะเมื่อทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บ
ถ้าเช่นนั้น เรามองประชาชนเสื้อแดงว่าพวกเขาเป็นใครหรือ มิใช่เพื่อนร่วมชาติของเราผู้กำลังพยายามส่งเสียงบอกเราว่า เขามีความทุกข์หรืือ และถ้าเรามีความทุกข์เพราะการกระทำของเขา ที่พยายามบอกเราว่าเขามีความทุกข์ เราก็ควรจะหันหน้าคุยกัน เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผ่อนคลาย ความทุกข์ของกันและกันมิใช่หรือ
หรือเราควรตั้งตัวเป็นตุลาการศาลเตี้ย สั่งฆ่า สั่งเสียบประจานพวกเขาซึ่งเราขอเรียกว่าพวกมัน เพราะเรา "เชื่อ" ว่าพวกมันแสนเลวบัดซบ....อย่างนั้นหรือ?
บางทีเราอาจไม่ต้องฝึกฝนนิสัยตัวสั่นด้วยความโกรธแค้นก็ได้ เพราะความโกรธแค้นไม่ได้ช่วยให้เรามีสติ แต่เราควรฝึกคิดทบทวนว่า ความจริงคืออะไรกันแน่
3. ขอบันทึกเรื่องขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ ไว้เล็กน้อยว่า ขณะนี้ทำกันเป็นล่ำเป็นสันและน่ากลัวมากเพราะ "อารมณ์เกลียดชัง" ที่ยิ่งนับวันยิ่งเติบโต
ที่มา.ประชาไท
---------------------------------------------------------------------------
โลกขยับ : ICG แพร่บทวิเคราะห์ วอนไทยต้องให้โลกช่วย แนะดึงกลุ่ม 'The Elders' ตัวกลาง
อินเตอร์เนชั่นแนล ไครซิส กรุ๊ป : เตือนความเสี่ยงความขัดแย้งในไทย ควรพิจารณาความช่วยเหลือจากเพื่อนนานาชาติ ซึ่งแม้แต่ประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าก็เคยตอบรับความช่วยเหลือเช่นนี้
*******************
กรุงเทพฯ/บรัสเซลส์, 30 เมษายน 2553: ระบบการเมืองของไทยกำลังชะงักงันและดูเหมือนว่ารัฐบาลจะไม่สามารถฉุดรังสถานการณ์ซึ่งกำลังขยายไปสู่ความขัดแย้งที่กว้างขวางมากขึ้น การเผชิญหน้ากันบนท้องถนนในกรุงเทพฯ ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงรุนแรงมากขึ้นและอาจจะนำไปสู่สภาวะสงครามกลางเมือง ความแตกแยกที่เกิดขึ้นภายในประเทศอาจต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากบุคคลที่เป็นกลางจากภายนอก ประเทศไทยควรจะพิจารณาความช่วยเหลือจากเพื่อนนานาชาติเพื่อป้องกันมิให้ความรุนแรงขยายตัวออกไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งแม้แต่ประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าก็เคยตอบรับความช่วยเหลือเช่นนี้
สถานการณ์ในพื้นที่
นับถึงขณะนี้ มีผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะระหว่างทหารกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือที่เรียกกันว่า “กลุ่มคนเสื้อแดง” อย่างน้อย 26 คน ตัวเลขนี้อาจจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหากกองทัพดำเนินการสลายกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมนุมกันอย่างที่ใจกลางกรุงเทพฯ กลุ่มคนเสื้อแดงเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาในทันทีและจัดการเลือกตั้ง ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องและมอบให้ทหารเข้าจัดการกับการชุมนุม
กรุงเทพฯ อยู่ในสภาวะตึงเครียด กลุ่มคนเสื้อแดงได้ทำให้กิจกรรมในย่านศูนย์กลางธุรกิจของเมืองหลวงที่เคยคึกคักต้องหยุดมาหลายสัปดาห์แล้ว ผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นต้องย้ายออกเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงต่อการตกอยู่ท่ามกลางการปะทะระหว่างทหารกับผู้ชุมนุมซึ่งอยู่ห่างจากบ้านของพวกเขาเพียงไม่กี่เมตร มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ หลายสิบครั้งโดยกลุ่มคนไม่ทราบฝ่าย และหลายคนก็รอคอยให้ทหารดำเนินการเคลื่อนย้ายคนเสื้อแดงออกจากถนน
ความพยายามในการเจรจาที่ดำเนินการภายในประเทศล้มเหลว กลุ่มภาคประชาสังคมได้พยายามประสานการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ประท้วงแต่ว่าไม่สามารถตกลงกันเรื่องกรอบเวลาในการยุบสภาได้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้เสนอ 30 วัน แต่ว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ยื่นข้อเสนอเก้าเดือน รอยแยกระหว่างกลุ่มชนชั้นนำอันประกอบไปด้วยผู้นำอาวุโสที่ใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์ นายทหารที่มีอำนาจและกลุ่มผู้สนับสนุนชนชั้นกลาง กับกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งหลายคนในนั้นเป็นผู้สนับสนุนของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้ห่างออกจากกันมากขึ้น
ในขณะที่บางคนกล่าวโทษนายทักษิณว่าอยู่เบื้องหลังการเผชิญหน้าครั้งนี้ การประท้วงได้ก้าวไปไกลกว่าการควบคุมของเขา คนไทยจำนวนมากเกิดความรู้สึกผิดหวังกับกลุ่มชนชั้นนำเพราะพวกเขาถูกกีดกันจากประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจในหลายทศวรรษที่ผ่านมาและไม่พอใจกับการโค่นล้มรัฐบาลที่คนจนในชนบทเลือกมา อาจเป็นความจริงที่คนไทยหลายคนยากที่จะยอมรับว่า ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีความรุนแรงซึ่งมีประวัติศาสตร์ของต่อสู้กับระหว่างขบวนการกบฎกับรัฐบาลซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงการปกครองระบอบเผด็จการ ถ้าหากรัฐบาลเข้าสลายการชุมนุม มีความเป็นไปได้ว่าความรุนแรงในกรุงเทพฯ จะขยายตัวออกไป
วิกฤตการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบกว่าหกทศวรรษ พระมหากษัตริย์อาจจะไม่อยู่ในสถานะที่จะเข้าช่วยจัดการแก้ไขความขัดแย้งได้ หรือถึงแม้พระองค์มีพระราชประสงค์ วิกฤตในครั้งนี้ก็มีความซับซ้อนกว่าในครั้งก่อนๆ ที่พระองค์ทรงเข้าแก้ไข และหากไม่สำเร็จ ก็อาจจะมีผลต่อสถานภาพและบารมีของสถาบันกษัตริย์
รัฐบาลควรตระหนักว่าการปราบปรามอย่างรุนแรงจะเป็นสิ่งที่ทำลายพวกเขาเองและอาจทำให้ความขัดแย้งขยายตัวมากขึ้น แกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงเองก็ต้องยอมรับว่า การท้าทายยั่วยุและการใช้ความรุนแรง มีแต่จะทำลายการเรียกร้องประชาธิปไตยของพวกเขาและความชอบธรรมของขบวนการต่อสู้เพื่อความเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ควรมีการดำเนินการอะไร
สิ่งที่ควรจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ:
การจัดตั้งกลุ่มประสานงานระดับสูงที่นำโดยผู้นำที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติ (a high-level facilitation group of international figures) นายโจเซ รามอส ฮอร์ตา ประธานาธิบดีติมอร์ ตะวันออก ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพได้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ ด้วยความริเริ่มของท่านเอง ซึ่งท่านอาจจะได้ร่วมกับบุคคลอื่นๆ โดยอาจพิจารณาคัดเลือกจากผู้นำในกลุ่ม The Elders* หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีประสบการณ์และความคุ้นเคยเกี่ยวกับประเทศไทย
กลุ่มดังกล่าวนี้ ซึ่งควรจะทำงานร่วมกับผู้นำของไทยที่ได้รับการยอมรับ ควรผลักดันให้รัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงดำเนินการเพื่อหยุดความรุนแรง เช่น รัฐบาลควรจะหยุดปฏิบัติการทางการทหาร และกลุ่มคนเสื้อแดงก็ควรจะจำกัดพื้นที่การชุมนุมให้เล็กลงเพื่อคงไว้เป็นเพียงสัญลักษณ์การต่อสู้แต่ไม่ขัดขวางการดำเนินชีวิตของประชาชนในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ควรจะดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (a national unity committee) โดยคัดเลือกจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ
คณะกรรมการชุดนี้ควรดำเนินการเพื่อริเริ่มการเจรจา โดยมีกลุ่มผู้นำในระดับนานาชาติให้การช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อแสวงหาข้อตกลงในการตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (an interim government of national unity) เพื่อเตรียมการไปสู่การเลือกตั้ง กระบวนการการนี้อาจมีการถกเถียงขัดแย้งกัน และไม่ควรจะรีบเร่งจัดการเลือกตั้งอย่างที่เรียกร้อง นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราวนี้จะต้องคัดเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ว่ารัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ควรจะมาจากบุคคลที่ได้รับการเคารพเชื่อถือและเป็นกลางซึ่งมาจากกลุ่มคนหลากหลายสาขา
คณะกรรมการนี้ควรจะดำเนินการจัดตั้งกรรมการอิสระเพื่อแสวงหาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์การปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงกับรัฐบาลบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในครั้งนี้
เมื่อสามารถควบคุมวิกฤตได้แล้วและหลักแห่งกฎหมายได้กลับคืนมาสู่สังคมไทย การเจรจาในทางการเมืองจะได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร และอาจจะต้องการกระบวนการสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงการระบุถึงความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่ายในเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น เราจำเป็นจะต้องนำการเมืองกลับไปสู่เวทีรัฐสภา ชิวิตทางการเมืองของคนไทยจะต้องเริ่มต้นอีกครั้งด้วยการเลือกตั้งครั้งใหม่ และอาจจะหมายรวมถึงการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่ฉบับที่ร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของทหาร
ที่มา.ประชาไท
****************************************************************
*******************
กรุงเทพฯ/บรัสเซลส์, 30 เมษายน 2553: ระบบการเมืองของไทยกำลังชะงักงันและดูเหมือนว่ารัฐบาลจะไม่สามารถฉุดรังสถานการณ์ซึ่งกำลังขยายไปสู่ความขัดแย้งที่กว้างขวางมากขึ้น การเผชิญหน้ากันบนท้องถนนในกรุงเทพฯ ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงรุนแรงมากขึ้นและอาจจะนำไปสู่สภาวะสงครามกลางเมือง ความแตกแยกที่เกิดขึ้นภายในประเทศอาจต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากบุคคลที่เป็นกลางจากภายนอก ประเทศไทยควรจะพิจารณาความช่วยเหลือจากเพื่อนนานาชาติเพื่อป้องกันมิให้ความรุนแรงขยายตัวออกไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งแม้แต่ประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าก็เคยตอบรับความช่วยเหลือเช่นนี้
สถานการณ์ในพื้นที่
นับถึงขณะนี้ มีผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะระหว่างทหารกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือที่เรียกกันว่า “กลุ่มคนเสื้อแดง” อย่างน้อย 26 คน ตัวเลขนี้อาจจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหากกองทัพดำเนินการสลายกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมนุมกันอย่างที่ใจกลางกรุงเทพฯ กลุ่มคนเสื้อแดงเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาในทันทีและจัดการเลือกตั้ง ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องและมอบให้ทหารเข้าจัดการกับการชุมนุม
กรุงเทพฯ อยู่ในสภาวะตึงเครียด กลุ่มคนเสื้อแดงได้ทำให้กิจกรรมในย่านศูนย์กลางธุรกิจของเมืองหลวงที่เคยคึกคักต้องหยุดมาหลายสัปดาห์แล้ว ผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นต้องย้ายออกเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงต่อการตกอยู่ท่ามกลางการปะทะระหว่างทหารกับผู้ชุมนุมซึ่งอยู่ห่างจากบ้านของพวกเขาเพียงไม่กี่เมตร มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ หลายสิบครั้งโดยกลุ่มคนไม่ทราบฝ่าย และหลายคนก็รอคอยให้ทหารดำเนินการเคลื่อนย้ายคนเสื้อแดงออกจากถนน
ความพยายามในการเจรจาที่ดำเนินการภายในประเทศล้มเหลว กลุ่มภาคประชาสังคมได้พยายามประสานการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ประท้วงแต่ว่าไม่สามารถตกลงกันเรื่องกรอบเวลาในการยุบสภาได้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้เสนอ 30 วัน แต่ว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ยื่นข้อเสนอเก้าเดือน รอยแยกระหว่างกลุ่มชนชั้นนำอันประกอบไปด้วยผู้นำอาวุโสที่ใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์ นายทหารที่มีอำนาจและกลุ่มผู้สนับสนุนชนชั้นกลาง กับกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งหลายคนในนั้นเป็นผู้สนับสนุนของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้ห่างออกจากกันมากขึ้น
ในขณะที่บางคนกล่าวโทษนายทักษิณว่าอยู่เบื้องหลังการเผชิญหน้าครั้งนี้ การประท้วงได้ก้าวไปไกลกว่าการควบคุมของเขา คนไทยจำนวนมากเกิดความรู้สึกผิดหวังกับกลุ่มชนชั้นนำเพราะพวกเขาถูกกีดกันจากประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจในหลายทศวรรษที่ผ่านมาและไม่พอใจกับการโค่นล้มรัฐบาลที่คนจนในชนบทเลือกมา อาจเป็นความจริงที่คนไทยหลายคนยากที่จะยอมรับว่า ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีความรุนแรงซึ่งมีประวัติศาสตร์ของต่อสู้กับระหว่างขบวนการกบฎกับรัฐบาลซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงการปกครองระบอบเผด็จการ ถ้าหากรัฐบาลเข้าสลายการชุมนุม มีความเป็นไปได้ว่าความรุนแรงในกรุงเทพฯ จะขยายตัวออกไป
วิกฤตการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบกว่าหกทศวรรษ พระมหากษัตริย์อาจจะไม่อยู่ในสถานะที่จะเข้าช่วยจัดการแก้ไขความขัดแย้งได้ หรือถึงแม้พระองค์มีพระราชประสงค์ วิกฤตในครั้งนี้ก็มีความซับซ้อนกว่าในครั้งก่อนๆ ที่พระองค์ทรงเข้าแก้ไข และหากไม่สำเร็จ ก็อาจจะมีผลต่อสถานภาพและบารมีของสถาบันกษัตริย์
รัฐบาลควรตระหนักว่าการปราบปรามอย่างรุนแรงจะเป็นสิ่งที่ทำลายพวกเขาเองและอาจทำให้ความขัดแย้งขยายตัวมากขึ้น แกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงเองก็ต้องยอมรับว่า การท้าทายยั่วยุและการใช้ความรุนแรง มีแต่จะทำลายการเรียกร้องประชาธิปไตยของพวกเขาและความชอบธรรมของขบวนการต่อสู้เพื่อความเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ควรมีการดำเนินการอะไร
สิ่งที่ควรจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ:
การจัดตั้งกลุ่มประสานงานระดับสูงที่นำโดยผู้นำที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติ (a high-level facilitation group of international figures) นายโจเซ รามอส ฮอร์ตา ประธานาธิบดีติมอร์ ตะวันออก ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพได้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ ด้วยความริเริ่มของท่านเอง ซึ่งท่านอาจจะได้ร่วมกับบุคคลอื่นๆ โดยอาจพิจารณาคัดเลือกจากผู้นำในกลุ่ม The Elders* หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีประสบการณ์และความคุ้นเคยเกี่ยวกับประเทศไทย
กลุ่มดังกล่าวนี้ ซึ่งควรจะทำงานร่วมกับผู้นำของไทยที่ได้รับการยอมรับ ควรผลักดันให้รัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงดำเนินการเพื่อหยุดความรุนแรง เช่น รัฐบาลควรจะหยุดปฏิบัติการทางการทหาร และกลุ่มคนเสื้อแดงก็ควรจะจำกัดพื้นที่การชุมนุมให้เล็กลงเพื่อคงไว้เป็นเพียงสัญลักษณ์การต่อสู้แต่ไม่ขัดขวางการดำเนินชีวิตของประชาชนในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ควรจะดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (a national unity committee) โดยคัดเลือกจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ
คณะกรรมการชุดนี้ควรดำเนินการเพื่อริเริ่มการเจรจา โดยมีกลุ่มผู้นำในระดับนานาชาติให้การช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อแสวงหาข้อตกลงในการตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (an interim government of national unity) เพื่อเตรียมการไปสู่การเลือกตั้ง กระบวนการการนี้อาจมีการถกเถียงขัดแย้งกัน และไม่ควรจะรีบเร่งจัดการเลือกตั้งอย่างที่เรียกร้อง นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราวนี้จะต้องคัดเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ว่ารัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ควรจะมาจากบุคคลที่ได้รับการเคารพเชื่อถือและเป็นกลางซึ่งมาจากกลุ่มคนหลากหลายสาขา
คณะกรรมการนี้ควรจะดำเนินการจัดตั้งกรรมการอิสระเพื่อแสวงหาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์การปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงกับรัฐบาลบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในครั้งนี้
เมื่อสามารถควบคุมวิกฤตได้แล้วและหลักแห่งกฎหมายได้กลับคืนมาสู่สังคมไทย การเจรจาในทางการเมืองจะได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร และอาจจะต้องการกระบวนการสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงการระบุถึงความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่ายในเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น เราจำเป็นจะต้องนำการเมืองกลับไปสู่เวทีรัฐสภา ชิวิตทางการเมืองของคนไทยจะต้องเริ่มต้นอีกครั้งด้วยการเลือกตั้งครั้งใหม่ และอาจจะหมายรวมถึงการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่ฉบับที่ร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของทหาร
ที่มา.ประชาไท
****************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)