สมมติว่ารัฐบาลใช้กำลังสลาย ม็อบก็กระเจิงไป แต่ถามว่าจบไหม เพราะทุกอย่างจะลงไปใต้ดิน แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร
สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ณ วันนี้ กำลังอยู่ในจังหวะ "หาทางลง" แต่ไม่ใช่การ "ลง" อย่างพ่ายแพ้ เพราะกระแส "คนเสื้อแดง" ไม่ได้จำกัดอยู่ที่สี่แยกราชประสงค์ หรือถนนพระรามที่ 1 ซึ่งใช้เป็นนิวาสสถานหลับนอนอีกต่อไปแล้ว แต่มันได้แทรกซึมไปแทบทุกอณูของสังคมไทย
โดยเฉพาะผู้คนมากมายในแถบภาคเหนือและอีสาน
จุดนี้เองที่ทำให้การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลยากยิ่งกว่ายาก โดยเฉพาะหากจะเลือกแนวทางสลายการชุมนุม เพราะจำนวนผู้ชุมนุมไม่ได้มีแค่ที่เห็น หรือแค่ตัวเลขที่หน่วยข่าวรายงานเข้าไป แต่ยังมีเสื้อแดงแอบแฝงอยู่อีกมากมาย ที่พร้อมจะลุกฮือเมื่อรัฐบาลใช้ความรุนแรง
พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ถึงกับออกปากว่า การตัดสินใจเลือกวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของรัฐบาล ถือว่าสำคัญที่สุดในขณะนี้ และจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศไทยในทศวรรษต่อไปเลยทีเดียว
พล.อ.เอกชัย หรือที่คนใกล้ชิดและลูกศิษย์ลูกหาเรียกกันติดปากว่า "ลุงเอก" นักยุทธศาสตร์นอกกองทัพ ที่เคยผ่านงานมาแล้วทั้งบุ๋นและบู๊
นอกจากภารกิจปัจจุบันที่พยายามเป็นตัวกลางเชื่อมประสานทุกระดับให้เกิดการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว เขายังเป็นอดีตนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย
ทัศนะของ "ลุงเอก" จึงมิอาจปล่อยผ่านให้ลอยไปกับสายลม...
สลายม็อบ..."กลียุค"
พล.อ.เอกชัย เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์เฉพาะหน้า คือ การเผชิญหน้าของกลุ่มคนเสื้อแดงกับรัฐบาล
"เฉพาะหน้าขณะนี้ ผมคิดว่าโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะใช้ความรุนแรงต่อกันมีมากขึ้น รัฐบาลมีโอกาสสูงที่จะใช้วิธีสลายม็อบ แต่ถ้าทำแล้วมีความรุนแรงจะเกิดกลียุคไปทั่วประเทศ แต่ถ้าไม่ทำอะไร สมมติ นปช.อยู่อีก 3 เดือน ถามว่าอยู่ได้ไหม ก็คงอยู่ได้ แต่เศรษฐกิจก็ต้องล่มสลาย"
ในฐานะที่รับราชการทหารมาเกือบทั้งชีวิต พล.อ.เอกชัย มองว่า รัฐบาลมีศักยภาพพอที่จะปราบม็อบได้ภายใน 1-2 วัน แต่นั่นย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงความรุนแรง
"สมมติว่ารัฐบาลทำอย่างนั้น ม็อบก็กระเจิงไป แต่ถามว่าจบไหม เราจะอยู่กันอย่างไร เพราะทุกอย่างจะลงไปใต้ดิน หลายประเทศก็มีประสบการณ์แบบนี้แล้วมันไม่จบ แต่มันจะรบกันต่อไปอีก 1 ปี 2 ปี 3 ปี เราจะเลือกทางเดินอย่างไรในการแก้ปัญหา ผมคิดว่าระยะสั้นตรงนี้สำคัญที่สุด ก่อนจะไปคิดถึงระยะยาว จุดนี้ต้องเปิดช่องทางพูดคุยกันให้ได้"
เจรจา...ยังไม่สาย
เมื่อเอ่ยถึงการพูดคุย-เจรจา หลายคนอาจจะมองว่าสถานการณ์ ณ วันนี้ ล่วงเลยจุดนั้นมามากแล้ว แต่ พล.อ.เอกชัย ไม่ได้คิดเช่นนั้น
"โดยหลักแล้วการเจรจาสามารถทำได้ทุกขั้นตอนของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ยังไม่เกิดความขัดแย้ง หรือเมื่อความขัดแย้งเกิดไปแล้ว รวมไปถึงความขัดแย้งจบแล้วก็ยังต้องคุยกัน สรุปก็คือการเจรจาสามารถป้องกันความขัดแย้ง แก้ไขความขัดแย้งได้ และเยียวยาให้เกิดการปรองดองกันได้ในที่สุด"
"ฉะนั้นเรื่องเจรจาไม่มีคำว่าสาย ในภาวะสงครามก็ยังมีการพูดคุยกัน ไม่มีหยุด ในมินดาเนา (ประเทศ)
อย่างไรก็ดี ยังมีเสียงทักท้วงจากบางฝ่ายที่หวั่นเกรงว่าการเปิดเจรจาจะทำให้เรื่องผิดกฎหมายกลายเป็นความถูกต้อง แต่ประเด็นนี้ พล.อ.เอกชัย อธิบายว่า การเจรจาต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย จะมาเจรจาเพื่อขอทำสิ่งผิดกฎหมายไม่ได้ ยกเว้นสิ่งที่กฎหมายเปิดให้ทำได้ เช่น การนิรโทษกรรม แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ไปยกเลิกความผิดทั้งหมด เพราะไม่อย่างนั้นต่อไปก็จะมีการกระทำแบบเดิมอีก
"หลักการก็เหมือนกับในศาสนาพุทธ คือ ใครทำกรรมชั่วแล้ว ไม่สามารถทำดีมาล้างความชั่วได้ กรรมชั่วยังมีอยู่ เช่นเดียวกันไม่ใช่ทำผิดกฎหมายแล้วจบ การนิรโทษกรรมอาจทำเฉพาะเรื่องได้ เหมือนกับในกฎหมายความมั่นคง (พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551) มาตรา 21 ที่เปิดช่องให้ผู้หลงผิดเข้ารับการอบรมของทางราชการ ก็จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญา ลักษณะนี้ก็คล้ายๆ กับการนิรโทษกรรมเหมือนกัน"
กระนั้นก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่กดดันการเจรจา คือ คนไทยส่วนใหญ่มักเชื่อว่าคนที่ขอเจรจา คือ คนที่กำลังจะพ่ายแพ้ แต่ พล.อ.เอกชัย แย้งแนวคิดนี้แบบ 360 องศา
"หลักการเจรจาเราต้องเจรจาตอนได้เปรียบ ไม่ใช่ตอนเสียเปรียบ เพราะเวลาเรากำลังได้เปรียบเราต่อรองได้มาก แต่ถ้ากำลังเสียเปรียบ เราจะเรียกร้องอะไรก็ยาก ตอนนี้ผมมองว่ารัฐบาลได้เปรียบอยู่ มีคนสนับสนุนรัฐบาลเยอะ รัฐบาลน่าจะริเริ่มเจรจาโดยไม่ต้องรอให้ฝ่ายเสื้อแดงขอเจรจา รัฐบาลต้องใช้เกมรุกเปิดช่องเลยว่าพร้อมจะพูดคุยแล้ว"
ติดที่นายกฯ
นอกจากจะเสนอให้เปิดการเจรจาแล้ว พล.อ.เอกชัย ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมประสานให้เกิดการเจรจาทุกระดับ ทั้งกับฝ่ายรัฐบาล และ นปช.
"เท่าที่คุยมาก็มีช่องทางไปได้ ผมได้คุยกับรัฐมนตรีประชาธิปัตย์มากกว่า 4 คน ซึ่งเป็นระดับที่ตัดสินใจได้ ได้คุยกับ ส.ส.ประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าอยากให้เจรจา แต่เสียงของทุกคนยังไม่หนักแน่นพอ ไม่กล้าพูดกับผู้นำรัฐบาล ในการพูดคุยกันหลายๆ ครั้งจึงพยายามพึ่งเราให้ช่วยสื่อสารแทนด้วย"
"ส่วนฝ่ายเสื้อแดง ก็คุยกับทั้งแกนนำที่ราชประสงค์และกลุ่มที่ร่วมวางแผน ได้คุยกันนับสิบคน ฝ่าย นปช.จุดยืนก็ชัด คือ บอกว่าเมื่อไรรัฐบาลพร้อมคุยก็มาเจรจากันได้เลย ฉะนั้นขณะนี้ ระดับล่างเปิดหมดแล้ว แต่ระดับบนยังไม่มีสัญญาณ เท่าที่ผมทราบบางครั้งบางระดับยังมีการสั่งห้ามพูดคุยเจรจาด้วย อย่างกรณีของคุณสุขุมพันธุ์ (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ผมจึงอยากขอว่าน่าจะปล่อยให้เป็นธรรมชาติ อย่าไปห้าม เพราะนักการเมืองก็รู้จักกันอยู่แล้ว"
จากประสบการณ์การเจรจามานับครั้งไม่ถ้วน พล.อ.เอกชัย บอกยิ้มๆ ว่า พอเจรจาเข้าจริงๆ ข้อเรียกร้องเรื่องยุบสภาอาจจะหายไปเลยก็ได้
"การคุยกันไม่จำเป็นต้องตกลงกันได้ เมื่อไรเห็นตรงกันในเรื่องไหนค่อยตกลงกันในบางเรื่อง แต่สิ่งที่ควรเกิดขึ้นคือคุยกันดีๆ และค่อยๆ แก้ปัญหาไป สุดท้ายคุยไปคุยมาข้อเรียกร้องอาจจะไม่ใช่ยุบสภา แต่อาจจะให้อยู่ต่อจนครบวาระ ภายใต้เงื่อนไขว่ารัฐบาลต้องทำอะไรบ้างก็ได้ ถ้าทำไม่สำเร็จแล้วเข้าสู่สนามเลือกตั้งคุณก็พ่ายแพ้ไป...อะไรอย่างนี้"
อย่าผลัก "แดง" เข้ามุม
การที่ "ลุงเอก" พยายามตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการพูดคุยเจรจา ก็เพราะประเมินแล้วเห็นว่า สถานการณ์ของกลุ่มเสื้อแดงในขณะนี้ ไม่ใช่จะจบลงง่ายๆ แค่การสลายม็อบที่ราชประสงค์ และแม้ข่าวลือการป่วยหนักหรือเสียชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นความจริง ก็ไม่อาจหยุดวงจรการเคลื่อนไหวได้อีกต่อไป
"แม้กระทั่งคุณทักษิณตายผมก็ไม่เชื่อว่าจะจบ แน่นอนว่า ช่วงเริ่มการเคลื่อนไหว คุณทักษิณเป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ปลุกกระแส แต่ต่อมาเมื่อมีประเด็นตอกย้ำเรื่องชนชั้น เรื่องสองมาตรฐาน เรื่องการเลือกปฏิบัติ และคนเสื้อแดงในชนบทส่วนใหญ่ก็เข้าไม่ถึงอำนาจและทรัพยากรในประเทศจริงๆ ประเด็นเหล่านี้มันจึงชี้ให้เห็นได้ชัดเจน มันจึงโดนใจ และฝากรากในจิตใจไปแล้ว ทั้งความต่ำต้อยเอย การไม่ได้รับความยุติธรรมเอย"
"ที่สำคัญ เท่าที่ผมสังเกต มีคนแก่มาร่วมชุมนุมเยอะมาก แล้วคนอีสานนั้นจะเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีระบบเจ้าโคตร ฉะนั้นรัฐบาลจะทำอะไรต้องระวัง จะกล่าวหาอะไรต้องคิดให้ถี่ถ้วนถึงผลกระทบที่จะตามมา โดยเฉพาะการกล่าวหาเรื่องล้มเจ้า หมิ่นสถาบัน เป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะชาวบ้านรากหญ้าเหล่านี้ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งชีวิตทุกคน"
พล.อ.เอกชัย ชี้ว่า รัฐบาลอาจมองประโยชน์ด้านการปลุกกระแสสังคม จึงพูดเรื่องก่อการร้าย หรือขบวนการล้มเจ้า แต่หากมองอีกแง่หนึ่งจะพบว่า การที่เราไม่ได้มีข้อมูลชัดเจนแล้วไปชี้นิ้วว่ากลุ่มต่างๆ เป็นพวกก่อการร้าย เป็นพวกล้มสถาบัน แล้วพูดผ่านสื่อบ่อยๆ จนเข้าใจว่าเสื้อแดงทั้งหมดเป็นก่อการร้าย และพวกล้มสถาบัน สุดท้ายคนเหล่านั้นจะถูกผลักออกไป และจะส่งผลร้ายย้อนกลับมาสู่รัฐบาลเอง รวมถึงรัฐบาลต่อๆ ไปในอนาคตด้วย เนื่องจากปัญหาจะกินลึกและแก้ยากมาก
ใครจัดฉาก "คอกวัว"
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล ยังวิเคราะห์ว่า สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในขณะนี้ มีปมเงื่อนที่ซับซ้อนมากกว่าการเผชิญหน้าระหว่างคนเสื้อแดงกับรัฐบาล
"ที่เห็นได้ชัด คือ เหตุการณ์วันที่ 10 เมษาฯ ทหารไม่ได้วางแผนมาให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นแน่นอน เพราะทหารเองก็สูญเสีย ขณะที่เสื้อแดงก็มาจากราชประสงค์ และเข้ามาที่สี่แยกคอกวัวอย่างปัจจุบันทันด่วน จึงไม่น่าจะวางแผนมาเช่นกัน แต่มีกลุ่มที่มีการวางแผนเตรียมการมาเป็นอย่างดี ล่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าไปตรงจุดนั้นที่เรียกว่าเป็น คิลลิ่ง โซน (Killing Zone) แล้วใช้ปืน ระเบิด ทำลายทั้งสองฝ่าย"
"ฉะนั้นเราต้องช่วยกันค้นหาว่าใครทำ อย่าโทษกันอีกเลย หาความจริงกันดีกว่า เพราะถ้าไม่ได้ความจริงหรือข้อมูลที่แท้จริงแล้ว เวลาตัดสินใจทำอะไรก็จะผิดไปหมด เช่น การที่รัฐบาลกล่าวหาเรื่องก่อการร้าย จริงๆ อาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ได้ เป็นต้น และนี่คือ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายมีความจำเป็นอย่างมาก"
สับสวิตช์ "วิกฤติเป็นโอกาส"
แต่ไม่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะย่ำแย่อย่างไร สัจธรรมข้อที่ว่า "ในวิกฤติ มีโอกาส" ยังใช้ได้เสมอ กรณีนี้ก็เช่นกัน
"ผมคิดว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านหลายๆ เรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านความคิดคน ไม่มีอะไรเป็นแบบเดิมแล้ว การเมืองภาคพลเมืองมีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิมมาก อย่าคิดว่าประชาชนไม่รู้เรื่องการเมือง เพราะประชาชนสนใจการเมือง โดยเฉพาะหลังจากเกิดปรากฏการณ์ของคนเสื้อแดงในครั้งนี้"
พล.อ.เอกชัย ชี้ว่า ปัจจุบันชาวบ้านเห็นภาพชัดเจนว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง และเป็นเรื่องปากท้องโดยตรง แต่ความแตกแยกในลักษณะภูมิภาคนิยมก็เป็นสิ่งที่น่าวิตก และต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
"หลังจากนี้ การใช้เวลาเยียวยาคงยาวนานเป็นสิบปี โดยเฉพาะการทำความแตกแยกของคนระหว่างภูมิภาคให้ยอมรับกันให้ได้ เรื่องนี้ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลจะละเลยไม่ได้เลย"
"ประเทศไทยขาดการมองไกลมาตลอด มีแต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฉะนั้นต้องเริ่มวางแผนเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่จุดหมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำวิกฤติตรงนี้ให้เป็นโอกาสที่มากกว่าการแก้ปัญหาไปวันๆ หรือเอาความรู้จากที่อื่นมาแต่งเติมแล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ เราต้องใช้ภูมิปัญญาไทยวางรากฐานใหม่ทั้งหมด"
และสุดท้าย ที่ต้องไม่ลืมก็คือทุกคนในบริบทความขัดแย้งนี้เป็นคนไทยด้วยกัน ต้องช่วยกันหาทางออกให้กับประเทศ!
โดย : ปกรณ์ พึ่งเนตร
-----------------------------------------------------------------------
วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
เหนาะบี้มาร์คออก เพื่อชาติ เทือกดอัยการศึก
ถกครม.นัดพิเศษวันนี้ ปชป.โต้โรดแม็ปบิ๊กจิ๋ว แค่หวังขึ้นเป็นนายกฯ แม้วทวีต-ถึงตายก็ไม่จบ
"มาร์ค"เรียกถกครม. นัดพิเศษวันนี้ สุเทพอ้าง มีเรื่องต้องคุย ปัดหารือประกาศกฎอัยการศึก เมินข้อเสนอ"บิ๊กจิ๋ว"ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล อ้างเอกสารที่ยื่นแค่ประวัติส่วนตัว โต้ลั่นไม่คิดกลั่นแกล้งใคร หากใครผิดพร้อมดำเนินคดีไม่มีละเว้น ปชป.เย้ยแผนโรดแม็ปจิ๋วแค่หวังเป็นผู้นำทางการเมือง ท้า"แม้ว"โชว์ตัวลดข้อครหาป่วยหนัก ทักษิณทวีตขู่ถึงตัวเองตายก็ไม่จบ อ้างเกินเรื่องตนเองไปแล้วแต่เป็นการต่อสู้ของประชาชน โฆษกเพื่อไทยท้า"มาร์ค-เทือก" ให้นัดพล.อ.ชวลิตไปชี้แจงใหม่ แต่ต้องมีสื่อเป็นพยาน อัดรัฐบาลจ้องดิสเครดิต ทั้งที่ ประสานก่อนหน้านี้ ศอฉ.ไฟเขียวให้ผู้ร่วมคณะร่วมฟังได้ "เสนาะ"อาสาเป็นคนกลางยุติขัดแย้ง เสนอ 3 ข้อ เลิกพ.ร.ก. ฉุกเฉิน-นปช.ย้ายที่ชุมนุม-ตั้งกก.จากทุกฝ่ายร่างข้อตกลงยุติปัญหา จี้"มาร์ค"ลาออกแทนการยุบสภา อ้างบริหารประเทศไม่ได้
"เทือก"ยันเปิดห้องรอฟอก"จิ๋ว"
วันที่ 1 พ.ค. เวลา 10.25 น. ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เดินทางมาที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ตามข่าวพล.อ.ชวลิต ต้องการมาพบตน จึงเตรียมห้องรับรอง เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อแสดงให้เห็นชัดว่าพล.อ.ชวลิต มีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรที่มุ่งทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ว่ามีอะไรบ้าง แต่พล.อ.ชวลิต ไม่เข้ามาในศอฉ. และยื่นเอกสารมากมายโดยเอกสารที่ใส่มาในซอง 8-9 ซอง ถอดออกมาเหมือนกันทุกซอง เป็นประวัติของพล.อ.ชวลิต แต่ไม่มีหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รวมถึงหนังสือถึงตน มีแต่จดหมายถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ซึ่งไม่เกี่ยวกับตน แต่จะส่งให้นายชัย
นายสุเทพ กล่าวว่า ที่น่าเสียดายคือ มีสื่อบางแห่งไปออกข่าวว่าพล.อ.ชวลิต ขอพบตน แต่ตนไม่สะดวกเพราะมีภารกิจอย่างอื่น ยืนยันว่าตนไม่มีภารกิจอื่น ได้เตรียมห้องรับรองไว้แล้ว หวังจะได้ชี้แจงกับพล.อ.ชวลิต ให้เข้าใจ และตนมีหลายคำถามเช่น ท่านเป็นนายทหารราชองครักษ์ เมื่อไปมั่วสุมกับพวกทำลายสถาบัน ท่านทำหน้าที่ปกป้องแก้ไขไม่ให้คนเหล่านั้นทำลายสถาบันอย่างไรบ้าง มีคำถามอื่นที่อยากถามอยู่มาก
โต้ไม่คิดกลั่นแกล้งใคร
เมื่อถามว่าต่อไปสามารถเปิดโต๊ะเจรจากับพล.อ.ชวลิต ได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ยินดี พล.อ.ชวลิต จะมาเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ไม่ใช่มากันหลายคนอย่างนี้ พูดไม่รู้เรื่อง ตนจะได้เอาหลักฐานที่ท่านเกี่ยวโยงกับเรื่องล้มสถาบันมาชี้แจง จะได้เข้าใจชัดเจนว่าตนไม่ได้หาเรื่อง แม้จะเคยเป็นอดีตนายกฯแต่หากทำผิดก็ต้องปฏิบัติกับพล.อ.ชวลิต เหมือนคนธรรมดา
เมื่อถามว่าหลักฐานเชื่อมโยงสามารถเอาผิดกับพล.อ.ชวลิต ในแง่กฎหมายได้เลยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนยังไม่ได้กล่าวถึงขั้นนั้น การดำเนินคดีเป็นหน้าที่ตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ไม่คิดปรักปรำใคร แต่ในเอกสารศอฉ.แสดงแผนภูมิออกมาแล้ว มีพล.อ.ชวลิต ปรากฏอยู่ด้วย แล้วพล.อ.ชวลิต ก็ออกมาอาละวาดทำนองว่ากลั่นแกล้ง ยืนยันไม่มีใครกลั่นแกล้งใคร ตนเสียใจอย่างเดียวที่พล.อ.ชวลิต มาถึงแล้วฉวยโอกาสพูดกับสื่อมวลชน ขอให้ทหารอย่าฆ่าประชาชน พล.อ.ชวลิต เป็นทหารมาตลอดชีวิต ไม่มีทหารคนไหนอยากคิดฆ่าประชาชน ตนเสียใจที่ทหารออกมาปฏิบัติการมือเปล่าแล้วเขาเสียชีวิต การที่พล.อ.ชวลิต กล่าวอาจมองได้ 2 อย่าง คือแสดงเจตนาดีในฐานะผู้สูงอายุ อีกเจตนา เหมือนตอกย้ำ แกล้งพูดว่าทหารฆ่าประชาชน ฟังแล้วไม่ชอบใจ ขอให้พล.อ. ชวลิต ทบทวนคำพูดด้วย
ขู่ดำเนินคดีไม่เลือกหน้า
เมื่อถามว่าคนที่มีรายชื่อว่าเกี่ยวโยงกับการล้มสถาบันที่ศอฉ.แถลงออกมา ถ้าไม่เกี่ยวข้องสามารถฟ้องร้องศอฉ.ได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ฟ้องได้เลย ยินดี ทุกคนมีสิทธิปกป้องตนเอง ถ้าเห็นว่าบริสุทธิ์ก็ฟ้อง ให้ตนเป็นจำเลยที่ 1 ไม่ต้องไปเอาเรื่องคนอื่น ตนรับผิดชอบเอง ที่ทำมาทั้งหมดไม่ต้องการให้กระทบกระเทือนเบื้องพระยุคลบาท ไม่ได้ดำเนินคดีกับคนเหล่านี้เพราะหมิ่นสถาบัน แต่เขากระทำความผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรไทย มุ่งไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยหลักกฎหมายประเทศไทย สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหลักของประเทศ แต่ยังมีคนที่เป็นพรรคพวกของพล.อ.ชวลิต ไประคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ต้องการขอเข้าเฝ้าฯ
เมื่อถามว่าเชื่อมั่นจริงหรือว่าคนเหล่านี้จ้องล้มสถาบัน นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่พูดอย่างนั้น พูดไปอาจหาว่าตนกลั่นแกล้ง รอให้กระบวนการทางกฎหมายพิสูจน์ เมื่อถามว่าจะดำเนินคดีกับทุกคนที่ออกหมายเรียกเลยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ดำเนิน คดีกับทุกคนที่ทำผิดกฎหมาย ไม่เว้นว่าเป็นใคร บางคนไม่ออกหมายเรียกก็ได้ ถ้าพบหลักฐานว่าทำผิด ก็ออกหมายจับได้เลย
ปัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล
เมื่อถามว่าจะนำข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต ที่ให้ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลมาพิจารณาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า "ผมไม่รับข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต พูดแล้วอย่าไปเขียนให้โกรธ ที่ไม่รับข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต เพราะผมไม่เข้าใจ ผมไม่เข้าใจอะไรสักอย่าง"
เวลา 11.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรณีพล.อ.ชวลิต เสนอโรดแม็ป 5 ข้อนำสังคมสู่สันติภาพ พรรคได้ประเมินโรดแม็ปว่าเป็นการปูทางเดินให้ตัวเองเป็นผู้นำเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างแท้จริงต่อจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพฤติกรรมของพล.อ.ชวลิต ขาดความจริงใจที่จะหาทางออกให้บ้านเมืองจริง หากต้องการทำจริง ต้องไปขอให้แกนนำนปช. หารือกับรัฐบาลต่อ พล.อ.ชวลิต ได้ใช้ความสูญเสียมาสร้างเงื่อนไขกดดันรัฐบาล เพิ่มความขัดแย้งทางการเมืองโดยปลุกระดมข้อมูลที่เป็นเท็จ การฝากถึงนายกฯ และนายสุเทพ ให้หยุดฆ่าประชาชน หากพล.อ. ชวลิตหวังดีควรหยุดบิดเบือน สร้างความขัดแย้งในสังคมด้วยข้อมูลเท็จ อยากให้พล.อ. ชวลิต ปรับวางบทบาทตัวเอง ให้เป็นตัวกลางในการพูดคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณ และแกนนำนปช.ไม่ให้พาดพิงสถาบัน หยุด เคลื่อนไหวรุนแรงก้าวล่วงสถาบันสูงสุด
"มาร์ค"เรียกถกครม.นัดพิเศษ
รายงานข่าวจากกรมทหารราบที่ 11 รอ. แจ้งว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วน วันที่ 2 พ.ค. เวลา 10.30 น. ที่ร.11 รอ. โดยให้เหตุผลเบื้องต้นว่าเชิญประชุมครม.วาระพิเศษ และขอให้รัฐมนตรีแต่ละคนแต่ละกระทรวงนำเอกสารวาระครม.ที่เสนอและได้รับการบรรจุเข้าวาระการประชุมแล้ว แต่ยังค้างการพิจารณาอยู่นั้นมาด้วย อีกทั้งยังกำชับให้ข้าราชการระดับสูงหรือเทียบเท่าปลัดกระทรวงทุกคนเข้าร่วมประชุม ครม. นัดนี้ด้วย
เวลา 15.45 น. ที่วัดพระศรีมหาธาตุวร มหาวิหาร บางเขน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งโดยยอมรับว่า วันที่ 2 พ.ค.มีการประชุมครม.นัดพิเศษจริง โดยมีเรื่องต้องหารือในครม. เมื่อถามว่าจะพิจารณาประกาศกฎอัยการศึกหรือไม่ นายสุเทพ ปฏิเสธว่า ไม่
เทพไทงง"จิ๋ว"แต่งเต็มยศ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พล.อ. ชวลิต เดินทางมาร.11 รอ.เองโดยไม่มีหมายเรียกหรือนัดหมาย และไม่ได้มาในฐานะผบ.ทบ. จึงไม่มีกองเกียรติยศมาต้อนรับเพราะมาในฐานะผู้ที่เกี่ยวพันกับกระบวน การล้มเจ้าและสถาบัน จึงต่างกัน แม้จะแต่งชุดทหารเต็มยศก็ไม่ทราบว่าแต่งมาเพื่ออะไร มีแนวคิดเหมือนเสธ.บางคนที่แต่งชุดลายพรางเพื่อไม่ให้ตำรวจจับ หรือเหมือนทหารเก๊บางคนที่แต่งชุดทหารไปหลอกสาว
นายเทพไท กล่าวว่า ขบวนของพล.อ. ชวลิตเป็นขบวนใหญ่คนมาจำนวนมาก ลิ่วล้อลูกหาบหวังออกทีวี หากต้อนรับหมดสถานที่คงไม่พอ ศอฉ.เป็นเขตหวงห้าม มีมาตรการความมั่นคง ไม่สามารถต้อนรับขบวนลูกน้องได้หมด แต่ให้โอกาสพล.อ. ชวลิตและลูกน้อง 1 คน ซึ่งในขบวนของพล.อ.ชวลิต อาจมีคนใช้ความรุนแรงแอบ แฝงหรือชุดดำเหมือนวันที่ 10 เม.ย. แอบ แฝงเข้ามาอาจสร้างความเสียหายกับศอฉ.ได้ ส่วนที่พล.อ.ชวลิต เสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลเฉพาะกาล เป็นแนวคิดที่พล.อ.ชวลิตขายมาตลอด แต่ยังไม่กลุ่มใดยอมรับแนวคิดนี้ เว้นแต่คนรอบข้างที่หวังได้อานิสงส์ร่วมรัฐบาลด้วย สำหรับจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์และรัฐบาลนี้ไม่สนับสนุนการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ท้า"แม้ว"โชว์ตัว
นายเทพไท กล่าวว่า วันนี้มีเอสเอ็มเอสและทวิตเตอร์จากพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่แน่ใจว่าเป็นของจริงหรือของปลอม พ.ต.ท.ทักษิณ บ่นว่ามีคนอยากให้ตายจริงๆ ตนไม่ทราบว่าใครบ้างที่อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณตาย แต่ตนไม่อยากให้ตาย เพราะอยากให้มารับชะตากรรมของตัวเองต่อ คนไทยทุกคนอยากทราบข้อเท็จจริง ไม่อยากให้ข่าวลือสร้างความสับสนต่อสังคม เพราะมีข่าวว่าพ.ต.ท. ทักษิณ อยู่ประเทศต่างๆ ล่าสุด มีข่าวว่าอยู่ฮ่องกง 2-3 วัน ไปได้ 4-5 แห่ง ไม่ทราบตัวจริงหรือวิญญาณไป อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณลบข่าวลือ ออกมาปรากฏตัวจะด้วยการโฟนอินหรือวิดีโอลิงก์ ให้เห็นภาพชัดเจน พูดตอบโต้กันได้ดีกว่าให้คนมาโพสต์รูปภาพหรือทวิตเตอร์สร้างความคลางแคลงใจ
พท.ฉะรัฐบาลจ้องดิสเครดิต
เมื่อเวลา 10.00 น. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงกรณีศอฉ.ไม่ยอมให้คณะที่ร่วมเดินทางไปกับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทยเข้าฟังการชี้แจงว่า พล.อ.ชวลิต ถูกวิชามารของรัฐบาลและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ไม่ให้เข้าไปชี้แจง โดยสั่งการทางวิทยุห้ามคณะผู้ติดตามเข้าไปอย่างเด็ดขาด ทั้งที่ข้อเท็จจริงได้ประสานไว้ก่อนหน้าแล้วว่าพล.อ.ชวลิต จะเข้าไปชี้แจงพร้อมคนติดตาม ซึ่งตนเชื่อว่าการกระทำในครั้งนี้มีเจตนาจะฉีกหน้าพลเอกชวลิต และคณะต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นสุภาพบุรุษของนายสุเทพ ซึ่งไม่เคารพผู้ใหญ่ ไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติของทหารที่เคยเป็นถึงอดีตผบ.ทบ. และอดีตนายกฯ เป็นเจตนาที่ต้องการลดความน่าเชื่อถือทางการเมือง
"เชื่อว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯและนายสุเทพ ต้องการดิสเครดิตทางการเมือง ดังนั้น ผมขอท้านายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ให้นัดวันมาใหม่ เพื่อให้พล.อ.ชวลิตไปชี้แจง ในครั้งหน้าขอให้เป็นการชี้แจง โดยมีสื่อมวลชนเป็นพยานด้วย" นายพร้อมพงศ์ กล่าวและว่า ขณะเดียวกันอยากเรียกร้องไปยังพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ว่าควรให้เกียรติพล.อ.ชวลิต ในฐานะเคยเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่และเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง
"แม้ว"เย้ยตัวเองตายก็ไม่จบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเอสเอ็มเอส ถึงแฟนคลับเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติว่า ขอให้ผู้ใช้แรงงานมีความสุข ปลอดภัยได้ประชาธิปไตยโดยเร็ว นอกจากนี้ยังทวีตข้อความตอบแฟนคลับในเว็บไซต์ ทวิตเตอร์ ทักษิณไลฟ์ เมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ระบุถึงข่าวลือเกี่ยวกับอาการป่วยว่า "ข่าวลือแปลว่าข่าวที่คนปล่อยอยากให้เป็นจริง เขาอยากให้ผมตายโดยคิดว่ากระบวนการต่อสู้จะหยุดลง แต่หารู้ไม่ว่าเกินผมไปแล้ว อยากให้การต่อสู้ของพี่น้องมีความชัดเจนว่ามันไม่ใช่เรื่องของผม มันยิ่งใหญ่กว่าตัวบุคคลเยอะ มันเป็นเรื่องของประชาธิปไตยและความยุติธรรม
พ.ต.ท.ทักษิณ ทวีตตอบแฟนคลับถึงกรณีชาวต่างชาติบอกประเทศไทยไม่ได้เป็นสยามเมืองยิ้มแล้วว่า เพราะทัศนคติของการหันหน้าเข้าหากันพูดจากันแบบไทยๆ หมดไปแล้ว มีแต่การหันมากล่าวหากันใส่ร้ายกัน ใช้สื่อปรักปรำข้างเดียวลงโทษข้างเดียว นอกจากนี้พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวขอบคุณแฟนคลับที่ทวีตมาให้กำลังใจกรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการร้ายและขบวนการล้มเจ้า โดยระบุว่ากำลังใจยังดีเพราะมีคนให้ กำลังใจมาก
ลูกโอ๊คย้ำพ่อสบายดี
ด้านนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทวีตข้อความผ่านเว็บบล็อกทวิตเตอร์ ดอทคอมเช่นกันว่า "ขอพักจากจากข่าวลือที่ไม่เป็นจริง และการเสนอข่าวด้านเดียว ไปพบปะเพื่อนต่างชาติสร้างความเชื่อมั่นให้มาเที่ยวมาลงทุนที่ไทย ยืนยันกับเพื่อนต่างชาติว่าอีกไม่นานประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยที่แท้จริง" นอกจากนี้ยังทวีตถึงกรณีที่มีข่าวระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่สบายหนักว่า "My dad is fine not even a cold...(พ่อผมสบายดีไม่ได้ป่วย) และเป็นกำลังใจให้พี่น้องเสื้อแดงเสมอ"
"เหนาะ"จี้เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เวลา 13.30 น. ที่พรรคประชาราช นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช อ่านแถลงการณ์ภายหลังการประชุมพรรค ระบุว่า หลังจากการรัฐประหาร และมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2550 กระทั่งมีการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ปรากฏว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดังกล่าว ไม่เป็นที่ยอมรับของบุคคลบางคณะ และเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลถึง 3 ครั้ง รัฐบาลยังไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ ยิ่งสะสมความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ซึ่งพัฒนาไปสู่การใช้อาวุธประหัตประหารกัน ไม่ต่างจากสงครามกลางเมือง การแก้ปัญหาด้วยการเมืองในแบบปกติ รวมถึงการใช้กำลังทหาร-ตำรวจที่ติดอาวุธมาเป็นกลไกแก้ปัญหา ทำให้ปัญหายุติลงชั่วขณะ แต่ในระยะยาว ความแตกแยกของคนในชาติยังดำรงอยู่
พรรคประชาราชจึงเสนอแนวคิดที่เป็นทางออกของปัญหา จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ 1.รัฐบาลต้องยกเลิกการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุก เฉิน และถอนกำลังทหาร ตำรวจออกจากทุกพื้นที่ และกลับเข้าที่ตั้งโดยเร็วที่สุด มิเช่นนั้นจะทำให้ทั่วโลกมองประเทศไทยว่า ไม่น่ามาทำการค้า ส่งผลต่อการท่องเที่ยว การลงทุน และเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง 2.นปช.ต้องย้ายการชุมนุมออกจากแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า การศึกษา โรงพยาบาล และการคมนาคม หากยังชุมนุมยืดเยื้อต่อไป อาจเป็นเงื่อนไขในการใช้กำลังของผู้ไม่ประสงค์ดี ทั้งนี้ให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการในทันที เพื่อถวายเป็นราชสักการะในวโรกาสวันราชาภิเษกครบรอบ 60 ปี ในวันที่ 5 พ.ค.
อาสาเป็นคนกลางหาข้อยุติ
3.จัดตั้งคณะกรรมการตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง ผู้แทนส.ว. ผู้แทนภาค เอกชน ผู้แทนจากข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร ให้เป็นคณะกรรมการร่วมร่างข้อตกลงเพื่อหาข้อยุติ โดยคณะกรรมการดังกล่าว ต้องแต่งตั้งภายหลังที่ทุกฝ่ายปฏิบัติตามข้อ 1 และ 2 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน และนำแถลงการณ์นี้ไปยื่นต่อสถานทูตต่างๆต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคประชาราชจะเป็นตัวกลางประสานกับพรรคอื่น ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาหรือไม่ นายเสนาะกล่าวว่า เมื่อตนเป็นคนเสนอ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าร่วมด้วย แต่เบื้องต้นอยากให้ทุกฝ่ายถอยกันคนละก้าว ให้ประเทศชาติกลับสู่ความเป็นประเทศชาติก่อน แล้วค่อยมาเจรจากัน ซึ่งการเจรจาในรอบใหม่ควรทำในทางแจ้ง ผ่านทางตัวกลาง เรื่องของบ้านเมืองไม่เห็นด้วยที่จะให้คู่กรณีเจรจากันเอง ถ้าเอาแต่เรื่องส่วนตัวไปคุยกันก็ตกลงกันไม่ได้ ตอนนี้อย่าไปยืนอยู่ฝ่ายใด ต้องยืนอยู่ฝั่งประเทศชาติเท่านั้น
เมื่อถามว่าหากรัฐบาลและนปช.ไม่ฟังเสียงของคนกลาง จะถือว่าเสียหน้าหรือไม่ นายเสนาะกล่าวว่า วันนี้ถ้าคนที่เห็นแก่ประเทศ ชาติจริงๆ ไม่กล้าทำเรื่องที่ถูกต้องที่ดี จะเสนอหน้ามาทำงานทำไม ตนไม่เคยสั่งใคร แต่เสนอทางออกให้ ถ้าไม่ทำก็ช่วยไม่ได้
แนะ"มาร์ค"ลาออกแทนยุบสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดเห็นอย่างไรที่พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เสนอตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล นายเสนาะกล่าวว่า อะไรก็ได้ที่เป็นทางออก ข้อเสนอของตนมีเพียงเท่านี้ ถ้าใครคิดว่ามีทางออกที่ดีกว่านี้ก็มาช่วยกัน วันนี้ทางออกคือให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ลาออกจากตำแหน่ง
"วันนี้การันตีเลยว่า ยุบสภาไม่ใช่ทาง ออก เพียงแค่นายอภิสิทธิ์ เสียสละลาออกจากตำแหน่ง รู้อยู่ว่าอยู่ไปก็บริหารประเทศไม่ได้ อยู่ทำไม พรรคร่วมรัฐบาลไปร่วมทำอะไร ในเมื่อรู้ว่าผู้นำประเทศออกไปหาประชาชนไม่ได้ เกิดความแตกแยก แตกร้าวไปทั่วประเทศ ผมยังไม่รู้ว่าเขาอยู่เพื่ออะไร บอกว่าอยู่เพื่อปกป้องสถาบัน ยิ่งหนักกันไปใหญ่ เอาเรื่องที่พูดกันไม่จบมาพูด แต่ก่อนนี้ไม่เคยมีใครพูดว่าจะต้องปกป้องสถาบัน ปกป้องทำไม ท่านเหมือนกับเทพ มีแต่ท่านจะต้องดูแลปกป้องลูกหลาน ทั้งอำนาจ ทั้งบารมี ทั้งความรัก ทั้งความเทิดทูนของคนในชาติ ไม่ต้องไปแอ่นอกบอกว่าจะปกป้องสถาบัน ตอนนี้นอก จากเป็นพระมหากษัตริย์แล้วยังเป็นพ่อแห่งชาติ แม่แห่งชาติ ใครจะไปเป็นลูกทรพี ไม่ต้องพูด อันนั้นเป็นวิญญาณของทุกคนที่ต้องเทิดทูนท่านไว้อยู่แล้ว ใครจะไปล้มล้าง" นายเสนาะ กล่าว
"ตู่"เมินรัฐบาลถกครม.นัดพิเศษ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราชที่ให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และให้ผู้ชุมนุมออกจากราชประสงค์พร้อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อคลี่คลายทุกเรื่องภายใน 7 วันว่า ตนเพิ่งอ่านแถลงการณ์ ซึ่งตนต้องเอาเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้แกนนำได้พิจารณาต่อไป
นายจตุพร กล่าวว่า ส่วนที่มีการประชุม ครม.นัดพิเศษวันที่ 2 พ.ค. ต้องจับตามองคือจะวางกรอบเพื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ความจริงแล้วอำนาจใช้กฎอัยการศึกไม่เป็นของครม. แต่เป็นกฎหมายที่ประกาศได้โดยนายทหารระดับผบ.พัน ซึ่งการยกเลิกต้องมาจากพระบรมราชโองการ อย่างไรก็ตาม ถ้าจะประกาศกฎอัยการศึกจริงไม่ได้มีผลต่อการชุมนุมว่าคนเสื้อแดงจะถอยจากพื้นที่ชุมนุม
"เราไม่สนใจกฎอัยการศึก จะทำให้การต่อสู้สั้นลง แต่เรารองรับการต่อสู้ที่จะเข้าสู่ฤดูฝน จะปักหลักสู้อยู่ที่นี่ต่อไปไม่ว่ารัฐบาลจะใช้กฎหมายใดหรืออาวุธอะไรเราก็พร้อมสู้ เหลืออยู่คนเดียวก็จะสู้" นายจตุพร กล่าว
โวยเทือกใช้สื่อเล่นงาน"จิ๋ว"
นายจตุพร กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลพยายามบิดเบือน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯใช้สื่อโจมตีการให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกฯ ที่กล่าวหาว่าทหารฆ่าประชาชน ถือเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุด
"เรื่องการหมิ่นสถาบัน อยากถามว่าทำไมรัฐบาลไม่จับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชา ธิปไตย ในข้อหาเดียวกันและไม่ได้อยู่ในแผนผังขบวนการล้มสถาบันของศอฉ. ซึ่งนายสนธิมีคดีอยู่ในกระบวนการยุติธรรมจากกรณีของการเผยแพร่ซ้ำกรณีดาตอร์ปิโด นอกจากนี้ เราจะฟ้องร้องนายสุเทพทางคดีแพ่งและอาญาต่อไป" นายจตุพร กล่าว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
***********************************************************
"มาร์ค"เรียกถกครม. นัดพิเศษวันนี้ สุเทพอ้าง มีเรื่องต้องคุย ปัดหารือประกาศกฎอัยการศึก เมินข้อเสนอ"บิ๊กจิ๋ว"ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล อ้างเอกสารที่ยื่นแค่ประวัติส่วนตัว โต้ลั่นไม่คิดกลั่นแกล้งใคร หากใครผิดพร้อมดำเนินคดีไม่มีละเว้น ปชป.เย้ยแผนโรดแม็ปจิ๋วแค่หวังเป็นผู้นำทางการเมือง ท้า"แม้ว"โชว์ตัวลดข้อครหาป่วยหนัก ทักษิณทวีตขู่ถึงตัวเองตายก็ไม่จบ อ้างเกินเรื่องตนเองไปแล้วแต่เป็นการต่อสู้ของประชาชน โฆษกเพื่อไทยท้า"มาร์ค-เทือก" ให้นัดพล.อ.ชวลิตไปชี้แจงใหม่ แต่ต้องมีสื่อเป็นพยาน อัดรัฐบาลจ้องดิสเครดิต ทั้งที่ ประสานก่อนหน้านี้ ศอฉ.ไฟเขียวให้ผู้ร่วมคณะร่วมฟังได้ "เสนาะ"อาสาเป็นคนกลางยุติขัดแย้ง เสนอ 3 ข้อ เลิกพ.ร.ก. ฉุกเฉิน-นปช.ย้ายที่ชุมนุม-ตั้งกก.จากทุกฝ่ายร่างข้อตกลงยุติปัญหา จี้"มาร์ค"ลาออกแทนการยุบสภา อ้างบริหารประเทศไม่ได้
"เทือก"ยันเปิดห้องรอฟอก"จิ๋ว"
วันที่ 1 พ.ค. เวลา 10.25 น. ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เดินทางมาที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ตามข่าวพล.อ.ชวลิต ต้องการมาพบตน จึงเตรียมห้องรับรอง เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อแสดงให้เห็นชัดว่าพล.อ.ชวลิต มีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรที่มุ่งทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ว่ามีอะไรบ้าง แต่พล.อ.ชวลิต ไม่เข้ามาในศอฉ. และยื่นเอกสารมากมายโดยเอกสารที่ใส่มาในซอง 8-9 ซอง ถอดออกมาเหมือนกันทุกซอง เป็นประวัติของพล.อ.ชวลิต แต่ไม่มีหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รวมถึงหนังสือถึงตน มีแต่จดหมายถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ซึ่งไม่เกี่ยวกับตน แต่จะส่งให้นายชัย
นายสุเทพ กล่าวว่า ที่น่าเสียดายคือ มีสื่อบางแห่งไปออกข่าวว่าพล.อ.ชวลิต ขอพบตน แต่ตนไม่สะดวกเพราะมีภารกิจอย่างอื่น ยืนยันว่าตนไม่มีภารกิจอื่น ได้เตรียมห้องรับรองไว้แล้ว หวังจะได้ชี้แจงกับพล.อ.ชวลิต ให้เข้าใจ และตนมีหลายคำถามเช่น ท่านเป็นนายทหารราชองครักษ์ เมื่อไปมั่วสุมกับพวกทำลายสถาบัน ท่านทำหน้าที่ปกป้องแก้ไขไม่ให้คนเหล่านั้นทำลายสถาบันอย่างไรบ้าง มีคำถามอื่นที่อยากถามอยู่มาก
โต้ไม่คิดกลั่นแกล้งใคร
เมื่อถามว่าต่อไปสามารถเปิดโต๊ะเจรจากับพล.อ.ชวลิต ได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ยินดี พล.อ.ชวลิต จะมาเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ไม่ใช่มากันหลายคนอย่างนี้ พูดไม่รู้เรื่อง ตนจะได้เอาหลักฐานที่ท่านเกี่ยวโยงกับเรื่องล้มสถาบันมาชี้แจง จะได้เข้าใจชัดเจนว่าตนไม่ได้หาเรื่อง แม้จะเคยเป็นอดีตนายกฯแต่หากทำผิดก็ต้องปฏิบัติกับพล.อ.ชวลิต เหมือนคนธรรมดา
เมื่อถามว่าหลักฐานเชื่อมโยงสามารถเอาผิดกับพล.อ.ชวลิต ในแง่กฎหมายได้เลยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนยังไม่ได้กล่าวถึงขั้นนั้น การดำเนินคดีเป็นหน้าที่ตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ไม่คิดปรักปรำใคร แต่ในเอกสารศอฉ.แสดงแผนภูมิออกมาแล้ว มีพล.อ.ชวลิต ปรากฏอยู่ด้วย แล้วพล.อ.ชวลิต ก็ออกมาอาละวาดทำนองว่ากลั่นแกล้ง ยืนยันไม่มีใครกลั่นแกล้งใคร ตนเสียใจอย่างเดียวที่พล.อ.ชวลิต มาถึงแล้วฉวยโอกาสพูดกับสื่อมวลชน ขอให้ทหารอย่าฆ่าประชาชน พล.อ.ชวลิต เป็นทหารมาตลอดชีวิต ไม่มีทหารคนไหนอยากคิดฆ่าประชาชน ตนเสียใจที่ทหารออกมาปฏิบัติการมือเปล่าแล้วเขาเสียชีวิต การที่พล.อ.ชวลิต กล่าวอาจมองได้ 2 อย่าง คือแสดงเจตนาดีในฐานะผู้สูงอายุ อีกเจตนา เหมือนตอกย้ำ แกล้งพูดว่าทหารฆ่าประชาชน ฟังแล้วไม่ชอบใจ ขอให้พล.อ. ชวลิต ทบทวนคำพูดด้วย
ขู่ดำเนินคดีไม่เลือกหน้า
เมื่อถามว่าคนที่มีรายชื่อว่าเกี่ยวโยงกับการล้มสถาบันที่ศอฉ.แถลงออกมา ถ้าไม่เกี่ยวข้องสามารถฟ้องร้องศอฉ.ได้หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ฟ้องได้เลย ยินดี ทุกคนมีสิทธิปกป้องตนเอง ถ้าเห็นว่าบริสุทธิ์ก็ฟ้อง ให้ตนเป็นจำเลยที่ 1 ไม่ต้องไปเอาเรื่องคนอื่น ตนรับผิดชอบเอง ที่ทำมาทั้งหมดไม่ต้องการให้กระทบกระเทือนเบื้องพระยุคลบาท ไม่ได้ดำเนินคดีกับคนเหล่านี้เพราะหมิ่นสถาบัน แต่เขากระทำความผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรไทย มุ่งไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยหลักกฎหมายประเทศไทย สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหลักของประเทศ แต่ยังมีคนที่เป็นพรรคพวกของพล.อ.ชวลิต ไประคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ต้องการขอเข้าเฝ้าฯ
เมื่อถามว่าเชื่อมั่นจริงหรือว่าคนเหล่านี้จ้องล้มสถาบัน นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่พูดอย่างนั้น พูดไปอาจหาว่าตนกลั่นแกล้ง รอให้กระบวนการทางกฎหมายพิสูจน์ เมื่อถามว่าจะดำเนินคดีกับทุกคนที่ออกหมายเรียกเลยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ดำเนิน คดีกับทุกคนที่ทำผิดกฎหมาย ไม่เว้นว่าเป็นใคร บางคนไม่ออกหมายเรียกก็ได้ ถ้าพบหลักฐานว่าทำผิด ก็ออกหมายจับได้เลย
ปัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล
เมื่อถามว่าจะนำข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต ที่ให้ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลมาพิจารณาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า "ผมไม่รับข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต พูดแล้วอย่าไปเขียนให้โกรธ ที่ไม่รับข้อเสนอของพล.อ.ชวลิต เพราะผมไม่เข้าใจ ผมไม่เข้าใจอะไรสักอย่าง"
เวลา 11.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรณีพล.อ.ชวลิต เสนอโรดแม็ป 5 ข้อนำสังคมสู่สันติภาพ พรรคได้ประเมินโรดแม็ปว่าเป็นการปูทางเดินให้ตัวเองเป็นผู้นำเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างแท้จริงต่อจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพฤติกรรมของพล.อ.ชวลิต ขาดความจริงใจที่จะหาทางออกให้บ้านเมืองจริง หากต้องการทำจริง ต้องไปขอให้แกนนำนปช. หารือกับรัฐบาลต่อ พล.อ.ชวลิต ได้ใช้ความสูญเสียมาสร้างเงื่อนไขกดดันรัฐบาล เพิ่มความขัดแย้งทางการเมืองโดยปลุกระดมข้อมูลที่เป็นเท็จ การฝากถึงนายกฯ และนายสุเทพ ให้หยุดฆ่าประชาชน หากพล.อ. ชวลิตหวังดีควรหยุดบิดเบือน สร้างความขัดแย้งในสังคมด้วยข้อมูลเท็จ อยากให้พล.อ. ชวลิต ปรับวางบทบาทตัวเอง ให้เป็นตัวกลางในการพูดคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณ และแกนนำนปช.ไม่ให้พาดพิงสถาบัน หยุด เคลื่อนไหวรุนแรงก้าวล่วงสถาบันสูงสุด
"มาร์ค"เรียกถกครม.นัดพิเศษ
รายงานข่าวจากกรมทหารราบที่ 11 รอ. แจ้งว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วน วันที่ 2 พ.ค. เวลา 10.30 น. ที่ร.11 รอ. โดยให้เหตุผลเบื้องต้นว่าเชิญประชุมครม.วาระพิเศษ และขอให้รัฐมนตรีแต่ละคนแต่ละกระทรวงนำเอกสารวาระครม.ที่เสนอและได้รับการบรรจุเข้าวาระการประชุมแล้ว แต่ยังค้างการพิจารณาอยู่นั้นมาด้วย อีกทั้งยังกำชับให้ข้าราชการระดับสูงหรือเทียบเท่าปลัดกระทรวงทุกคนเข้าร่วมประชุม ครม. นัดนี้ด้วย
เวลา 15.45 น. ที่วัดพระศรีมหาธาตุวร มหาวิหาร บางเขน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งโดยยอมรับว่า วันที่ 2 พ.ค.มีการประชุมครม.นัดพิเศษจริง โดยมีเรื่องต้องหารือในครม. เมื่อถามว่าจะพิจารณาประกาศกฎอัยการศึกหรือไม่ นายสุเทพ ปฏิเสธว่า ไม่
เทพไทงง"จิ๋ว"แต่งเต็มยศ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พล.อ. ชวลิต เดินทางมาร.11 รอ.เองโดยไม่มีหมายเรียกหรือนัดหมาย และไม่ได้มาในฐานะผบ.ทบ. จึงไม่มีกองเกียรติยศมาต้อนรับเพราะมาในฐานะผู้ที่เกี่ยวพันกับกระบวน การล้มเจ้าและสถาบัน จึงต่างกัน แม้จะแต่งชุดทหารเต็มยศก็ไม่ทราบว่าแต่งมาเพื่ออะไร มีแนวคิดเหมือนเสธ.บางคนที่แต่งชุดลายพรางเพื่อไม่ให้ตำรวจจับ หรือเหมือนทหารเก๊บางคนที่แต่งชุดทหารไปหลอกสาว
นายเทพไท กล่าวว่า ขบวนของพล.อ. ชวลิตเป็นขบวนใหญ่คนมาจำนวนมาก ลิ่วล้อลูกหาบหวังออกทีวี หากต้อนรับหมดสถานที่คงไม่พอ ศอฉ.เป็นเขตหวงห้าม มีมาตรการความมั่นคง ไม่สามารถต้อนรับขบวนลูกน้องได้หมด แต่ให้โอกาสพล.อ. ชวลิตและลูกน้อง 1 คน ซึ่งในขบวนของพล.อ.ชวลิต อาจมีคนใช้ความรุนแรงแอบ แฝงหรือชุดดำเหมือนวันที่ 10 เม.ย. แอบ แฝงเข้ามาอาจสร้างความเสียหายกับศอฉ.ได้ ส่วนที่พล.อ.ชวลิต เสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลเฉพาะกาล เป็นแนวคิดที่พล.อ.ชวลิตขายมาตลอด แต่ยังไม่กลุ่มใดยอมรับแนวคิดนี้ เว้นแต่คนรอบข้างที่หวังได้อานิสงส์ร่วมรัฐบาลด้วย สำหรับจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์และรัฐบาลนี้ไม่สนับสนุนการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
ท้า"แม้ว"โชว์ตัว
นายเทพไท กล่าวว่า วันนี้มีเอสเอ็มเอสและทวิตเตอร์จากพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่แน่ใจว่าเป็นของจริงหรือของปลอม พ.ต.ท.ทักษิณ บ่นว่ามีคนอยากให้ตายจริงๆ ตนไม่ทราบว่าใครบ้างที่อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณตาย แต่ตนไม่อยากให้ตาย เพราะอยากให้มารับชะตากรรมของตัวเองต่อ คนไทยทุกคนอยากทราบข้อเท็จจริง ไม่อยากให้ข่าวลือสร้างความสับสนต่อสังคม เพราะมีข่าวว่าพ.ต.ท. ทักษิณ อยู่ประเทศต่างๆ ล่าสุด มีข่าวว่าอยู่ฮ่องกง 2-3 วัน ไปได้ 4-5 แห่ง ไม่ทราบตัวจริงหรือวิญญาณไป อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณลบข่าวลือ ออกมาปรากฏตัวจะด้วยการโฟนอินหรือวิดีโอลิงก์ ให้เห็นภาพชัดเจน พูดตอบโต้กันได้ดีกว่าให้คนมาโพสต์รูปภาพหรือทวิตเตอร์สร้างความคลางแคลงใจ
พท.ฉะรัฐบาลจ้องดิสเครดิต
เมื่อเวลา 10.00 น. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงกรณีศอฉ.ไม่ยอมให้คณะที่ร่วมเดินทางไปกับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทยเข้าฟังการชี้แจงว่า พล.อ.ชวลิต ถูกวิชามารของรัฐบาลและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ไม่ให้เข้าไปชี้แจง โดยสั่งการทางวิทยุห้ามคณะผู้ติดตามเข้าไปอย่างเด็ดขาด ทั้งที่ข้อเท็จจริงได้ประสานไว้ก่อนหน้าแล้วว่าพล.อ.ชวลิต จะเข้าไปชี้แจงพร้อมคนติดตาม ซึ่งตนเชื่อว่าการกระทำในครั้งนี้มีเจตนาจะฉีกหน้าพลเอกชวลิต และคณะต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นสุภาพบุรุษของนายสุเทพ ซึ่งไม่เคารพผู้ใหญ่ ไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติของทหารที่เคยเป็นถึงอดีตผบ.ทบ. และอดีตนายกฯ เป็นเจตนาที่ต้องการลดความน่าเชื่อถือทางการเมือง
"เชื่อว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯและนายสุเทพ ต้องการดิสเครดิตทางการเมือง ดังนั้น ผมขอท้านายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ให้นัดวันมาใหม่ เพื่อให้พล.อ.ชวลิตไปชี้แจง ในครั้งหน้าขอให้เป็นการชี้แจง โดยมีสื่อมวลชนเป็นพยานด้วย" นายพร้อมพงศ์ กล่าวและว่า ขณะเดียวกันอยากเรียกร้องไปยังพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ว่าควรให้เกียรติพล.อ.ชวลิต ในฐานะเคยเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่และเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง
"แม้ว"เย้ยตัวเองตายก็ไม่จบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเอสเอ็มเอส ถึงแฟนคลับเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติว่า ขอให้ผู้ใช้แรงงานมีความสุข ปลอดภัยได้ประชาธิปไตยโดยเร็ว นอกจากนี้ยังทวีตข้อความตอบแฟนคลับในเว็บไซต์ ทวิตเตอร์ ทักษิณไลฟ์ เมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ระบุถึงข่าวลือเกี่ยวกับอาการป่วยว่า "ข่าวลือแปลว่าข่าวที่คนปล่อยอยากให้เป็นจริง เขาอยากให้ผมตายโดยคิดว่ากระบวนการต่อสู้จะหยุดลง แต่หารู้ไม่ว่าเกินผมไปแล้ว อยากให้การต่อสู้ของพี่น้องมีความชัดเจนว่ามันไม่ใช่เรื่องของผม มันยิ่งใหญ่กว่าตัวบุคคลเยอะ มันเป็นเรื่องของประชาธิปไตยและความยุติธรรม
พ.ต.ท.ทักษิณ ทวีตตอบแฟนคลับถึงกรณีชาวต่างชาติบอกประเทศไทยไม่ได้เป็นสยามเมืองยิ้มแล้วว่า เพราะทัศนคติของการหันหน้าเข้าหากันพูดจากันแบบไทยๆ หมดไปแล้ว มีแต่การหันมากล่าวหากันใส่ร้ายกัน ใช้สื่อปรักปรำข้างเดียวลงโทษข้างเดียว นอกจากนี้พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวขอบคุณแฟนคลับที่ทวีตมาให้กำลังใจกรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการร้ายและขบวนการล้มเจ้า โดยระบุว่ากำลังใจยังดีเพราะมีคนให้ กำลังใจมาก
ลูกโอ๊คย้ำพ่อสบายดี
ด้านนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทวีตข้อความผ่านเว็บบล็อกทวิตเตอร์ ดอทคอมเช่นกันว่า "ขอพักจากจากข่าวลือที่ไม่เป็นจริง และการเสนอข่าวด้านเดียว ไปพบปะเพื่อนต่างชาติสร้างความเชื่อมั่นให้มาเที่ยวมาลงทุนที่ไทย ยืนยันกับเพื่อนต่างชาติว่าอีกไม่นานประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยที่แท้จริง" นอกจากนี้ยังทวีตถึงกรณีที่มีข่าวระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่สบายหนักว่า "My dad is fine not even a cold...(พ่อผมสบายดีไม่ได้ป่วย) และเป็นกำลังใจให้พี่น้องเสื้อแดงเสมอ"
"เหนาะ"จี้เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เวลา 13.30 น. ที่พรรคประชาราช นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช อ่านแถลงการณ์ภายหลังการประชุมพรรค ระบุว่า หลังจากการรัฐประหาร และมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2550 กระทั่งมีการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ปรากฏว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดังกล่าว ไม่เป็นที่ยอมรับของบุคคลบางคณะ และเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลถึง 3 ครั้ง รัฐบาลยังไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ ยิ่งสะสมความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ซึ่งพัฒนาไปสู่การใช้อาวุธประหัตประหารกัน ไม่ต่างจากสงครามกลางเมือง การแก้ปัญหาด้วยการเมืองในแบบปกติ รวมถึงการใช้กำลังทหาร-ตำรวจที่ติดอาวุธมาเป็นกลไกแก้ปัญหา ทำให้ปัญหายุติลงชั่วขณะ แต่ในระยะยาว ความแตกแยกของคนในชาติยังดำรงอยู่
พรรคประชาราชจึงเสนอแนวคิดที่เป็นทางออกของปัญหา จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ 1.รัฐบาลต้องยกเลิกการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุก เฉิน และถอนกำลังทหาร ตำรวจออกจากทุกพื้นที่ และกลับเข้าที่ตั้งโดยเร็วที่สุด มิเช่นนั้นจะทำให้ทั่วโลกมองประเทศไทยว่า ไม่น่ามาทำการค้า ส่งผลต่อการท่องเที่ยว การลงทุน และเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง 2.นปช.ต้องย้ายการชุมนุมออกจากแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า การศึกษา โรงพยาบาล และการคมนาคม หากยังชุมนุมยืดเยื้อต่อไป อาจเป็นเงื่อนไขในการใช้กำลังของผู้ไม่ประสงค์ดี ทั้งนี้ให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการในทันที เพื่อถวายเป็นราชสักการะในวโรกาสวันราชาภิเษกครบรอบ 60 ปี ในวันที่ 5 พ.ค.
อาสาเป็นคนกลางหาข้อยุติ
3.จัดตั้งคณะกรรมการตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง ผู้แทนส.ว. ผู้แทนภาค เอกชน ผู้แทนจากข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร ให้เป็นคณะกรรมการร่วมร่างข้อตกลงเพื่อหาข้อยุติ โดยคณะกรรมการดังกล่าว ต้องแต่งตั้งภายหลังที่ทุกฝ่ายปฏิบัติตามข้อ 1 และ 2 ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน และนำแถลงการณ์นี้ไปยื่นต่อสถานทูตต่างๆต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคประชาราชจะเป็นตัวกลางประสานกับพรรคอื่น ตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาหรือไม่ นายเสนาะกล่าวว่า เมื่อตนเป็นคนเสนอ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าร่วมด้วย แต่เบื้องต้นอยากให้ทุกฝ่ายถอยกันคนละก้าว ให้ประเทศชาติกลับสู่ความเป็นประเทศชาติก่อน แล้วค่อยมาเจรจากัน ซึ่งการเจรจาในรอบใหม่ควรทำในทางแจ้ง ผ่านทางตัวกลาง เรื่องของบ้านเมืองไม่เห็นด้วยที่จะให้คู่กรณีเจรจากันเอง ถ้าเอาแต่เรื่องส่วนตัวไปคุยกันก็ตกลงกันไม่ได้ ตอนนี้อย่าไปยืนอยู่ฝ่ายใด ต้องยืนอยู่ฝั่งประเทศชาติเท่านั้น
เมื่อถามว่าหากรัฐบาลและนปช.ไม่ฟังเสียงของคนกลาง จะถือว่าเสียหน้าหรือไม่ นายเสนาะกล่าวว่า วันนี้ถ้าคนที่เห็นแก่ประเทศ ชาติจริงๆ ไม่กล้าทำเรื่องที่ถูกต้องที่ดี จะเสนอหน้ามาทำงานทำไม ตนไม่เคยสั่งใคร แต่เสนอทางออกให้ ถ้าไม่ทำก็ช่วยไม่ได้
แนะ"มาร์ค"ลาออกแทนยุบสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดเห็นอย่างไรที่พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เสนอตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล นายเสนาะกล่าวว่า อะไรก็ได้ที่เป็นทางออก ข้อเสนอของตนมีเพียงเท่านี้ ถ้าใครคิดว่ามีทางออกที่ดีกว่านี้ก็มาช่วยกัน วันนี้ทางออกคือให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ลาออกจากตำแหน่ง
"วันนี้การันตีเลยว่า ยุบสภาไม่ใช่ทาง ออก เพียงแค่นายอภิสิทธิ์ เสียสละลาออกจากตำแหน่ง รู้อยู่ว่าอยู่ไปก็บริหารประเทศไม่ได้ อยู่ทำไม พรรคร่วมรัฐบาลไปร่วมทำอะไร ในเมื่อรู้ว่าผู้นำประเทศออกไปหาประชาชนไม่ได้ เกิดความแตกแยก แตกร้าวไปทั่วประเทศ ผมยังไม่รู้ว่าเขาอยู่เพื่ออะไร บอกว่าอยู่เพื่อปกป้องสถาบัน ยิ่งหนักกันไปใหญ่ เอาเรื่องที่พูดกันไม่จบมาพูด แต่ก่อนนี้ไม่เคยมีใครพูดว่าจะต้องปกป้องสถาบัน ปกป้องทำไม ท่านเหมือนกับเทพ มีแต่ท่านจะต้องดูแลปกป้องลูกหลาน ทั้งอำนาจ ทั้งบารมี ทั้งความรัก ทั้งความเทิดทูนของคนในชาติ ไม่ต้องไปแอ่นอกบอกว่าจะปกป้องสถาบัน ตอนนี้นอก จากเป็นพระมหากษัตริย์แล้วยังเป็นพ่อแห่งชาติ แม่แห่งชาติ ใครจะไปเป็นลูกทรพี ไม่ต้องพูด อันนั้นเป็นวิญญาณของทุกคนที่ต้องเทิดทูนท่านไว้อยู่แล้ว ใครจะไปล้มล้าง" นายเสนาะ กล่าว
"ตู่"เมินรัฐบาลถกครม.นัดพิเศษ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราชที่ให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และให้ผู้ชุมนุมออกจากราชประสงค์พร้อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อคลี่คลายทุกเรื่องภายใน 7 วันว่า ตนเพิ่งอ่านแถลงการณ์ ซึ่งตนต้องเอาเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้แกนนำได้พิจารณาต่อไป
นายจตุพร กล่าวว่า ส่วนที่มีการประชุม ครม.นัดพิเศษวันที่ 2 พ.ค. ต้องจับตามองคือจะวางกรอบเพื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ความจริงแล้วอำนาจใช้กฎอัยการศึกไม่เป็นของครม. แต่เป็นกฎหมายที่ประกาศได้โดยนายทหารระดับผบ.พัน ซึ่งการยกเลิกต้องมาจากพระบรมราชโองการ อย่างไรก็ตาม ถ้าจะประกาศกฎอัยการศึกจริงไม่ได้มีผลต่อการชุมนุมว่าคนเสื้อแดงจะถอยจากพื้นที่ชุมนุม
"เราไม่สนใจกฎอัยการศึก จะทำให้การต่อสู้สั้นลง แต่เรารองรับการต่อสู้ที่จะเข้าสู่ฤดูฝน จะปักหลักสู้อยู่ที่นี่ต่อไปไม่ว่ารัฐบาลจะใช้กฎหมายใดหรืออาวุธอะไรเราก็พร้อมสู้ เหลืออยู่คนเดียวก็จะสู้" นายจตุพร กล่าว
โวยเทือกใช้สื่อเล่นงาน"จิ๋ว"
นายจตุพร กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลพยายามบิดเบือน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯใช้สื่อโจมตีการให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกฯ ที่กล่าวหาว่าทหารฆ่าประชาชน ถือเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุด
"เรื่องการหมิ่นสถาบัน อยากถามว่าทำไมรัฐบาลไม่จับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชา ธิปไตย ในข้อหาเดียวกันและไม่ได้อยู่ในแผนผังขบวนการล้มสถาบันของศอฉ. ซึ่งนายสนธิมีคดีอยู่ในกระบวนการยุติธรรมจากกรณีของการเผยแพร่ซ้ำกรณีดาตอร์ปิโด นอกจากนี้ เราจะฟ้องร้องนายสุเทพทางคดีแพ่งและอาญาต่อไป" นายจตุพร กล่าว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
***********************************************************
ข้อสังเกตบางประการ (กรณีเสื้อแดงบุก รพ.จุฬาฯ)
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
เรื่องความไม่ชอบธรรมชนิดไม่มีข้อแก้ตัวของฝ่ายแดงที่ไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 นั้น เมื่อทบทวนดู พบข้อน่าสังเกตบางประการจึงขอบันทึกไว้ดังนี้
1. ฝ่ายแดงสะดุดหัวแม่เท้าตัวเองจริงๆ เรื่องไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ หลังจากเสียหายเรื่องตั้งด่านตรวจรถ กั้นทางขึ้นลงรถไฟฟ้า แล้วตีตื้นขึ้นมาได้จากแผนล้มเจ้าฉบับขายหัวเราะของ ศอฉ. ซึ่งถ้ามีคนเชื่อว่าจริง คนไทยก็ควรเลิกคิดเรื่องพัฒนาชาติไทย นอนรอวันตายไปเรื่อยๆ สบายดีและถูกอัธยาศัยดีแล้ว
เข้าใจได้ถึงความกดดันของฝ่ายแดงว่าจะถูกทำร้าย ถูกล้อมปราบ แต่การบุกไปโรงพยาบาลแบบซุ่มซ่ามบุ่มบ่ามเพราะความ "กลัว" ของตน โดยไม่ได้นึกถึงความ "กลัว" ของคนอื่นๆ ที่เป็นคนธรรมดาสามัญเหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าฝ่ายวางแผนและคุมกำลังละเอียดอ่อนไม่พอ ไม่ฉลาดเท่าฝ่ายรัฐ แม้จะบอกว่าสู้จนเหนื่อยคิดไม่ทัน ก็แปลว่าอ่อนด้อยกว่าเขา กล่าวคือแพ้ทางการเมือง
จิตใจสู้และอดทนของประชาชนที่ไม่มีอะไรจะสูญเสียนอกจากชีวิตนั้นไม่แพ้ แต่ทางการเมืองแพ้ หรือพูดอีกอย่างว่า ณ เวลานี้อยู่ในสถานะเพลี่ยงพล้ำ ทั้งแกนนำ การ์ดและผู้ชุมนุม โดยนอกจากเพลี่ยงพล้ำทางกระบวนท่า ยังเพลี่ยงพล้ำทางเล่ห์เหลี่ยม อาจเพราะไม่เชี่ยวชาญเรื่องเล่ห์เหลี่ยม การสร้างภาพ ตลอดจนการพูดจาให้ดูดีมีชาติตระกูล ซึ่งสองอย่างหลังนั้น เป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของบรรดาคนชั้นกลางถึงชั้นสูงที่ดูดีมีชาติตระกูล ไม่ใช่ชาวบ้านสามัญ
2. น่าสนใจมากว่า "สื่อ" รายงานเรื่องแดง "บุก" โรงพยาบาลอย่างครึกโครม จนมีคนเชื่อโดยไม่ได้อ่านและไม่ได้ฟังละเอียดคิดว่าพวกแดงพร้อมอาวุธครบมือบุกยึดโรงพยาบาล เข้าไปอาละวาดทำร้ายคนไข้ แพทย์ พยาบาล จนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลต้องขนคนไข้หนีม็อบกันโกลาหล เด็กอ่อนต้องย้ายตึก ผู้ป่วยหนักต้องย้ายตึก ฯลฯ
แน่นอนว่า การกรูเกรียวเข้าไปในโรงพยาบาลของการ์ดและคนเสื้อแดง (ตามข่าว) เป็นเรื่องทำร้ายความรู้สึกมากๆ สำหรับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นความไม่ชอบธรรมที่แดงไปบุกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อไม่ชอบธรรมตั้งแต่ต้นก็ย่อมไม่ชอบธรรมในเบื้องปลาย แต่น่าสนใจว่า ความจริงคือแดงทำอะไรบ้าง ขนาดไหน รุนแรงทางกายภาพเพียงใด ข่มขู่ใครบ้าง อย่างไร นอกเหนือจากที่เป็นความรุนแรงต่อจิตใจ ซึ่งประเมินได้ยาก เพราะแต่ละคนต่างมี "ความรู้สึก" ของตน
มองอย่างเป็นธรรม ถ้าคนกรุงเทพฯ รู้สึกว่าถูกคนเสื้อแดงทำร้ายจิตใจสาหัส คนเสื้อแดงก็บอกได้เช่นกันว่าพวกเขาถูกคนกรุงเทพฯ และคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยทำร้ายจิตใจสาหัสด้วยถ้อยคำดูหมิ่น เหยียดหยาม ด่าว่าพวกเขาตลอดมา เขายังไม่ทันได้ทำอะไรเลย ก็ถูกกล่่าวหาก่อนแล้วว่าถ่อย โง่เป็นควายแดง พวกหางแดง ฯลฯ เป็นต้น เมื่อพวกเขาถูกล้อมปราบจนตายก็ไม่มีใคร โดยเฉพาะ "สื่อ" เดือดร้อน
บันทึกในบล็อกของหมอจุฬาฯ และรูปภาพที่หมอจุฬาฯ ถ่ายออกมาเผยแพร่ทางโลกออนไลน์ ฝ่ายเกลียดแดงอ่านแล้วพอใจ ฝ่ายไม่เกลียดแดงอ่านแล้วเห็นว่า มีอคติอย่างแรง
ในบันทึกก่อนวันที่ 29 เมษายน หมอจุฬาฯ ท่านหนึ่งเขียนว่า "พวกมัน" มาเดินเข้าเดินออกเข้าห้องน้ำเหมือน เป็นบ้านของมัน วันที่พวกมันบุกเข้ามาก็น่ากลัวมาก ก็ดูหน้าตาสารรูปของพวกมันแต่ละคนสิ.......
บ่อยครั้ง ความหวาดกลัวในความ "เป็นอื่น" ของ "คนอื่น" ก็เกินจริง และคนชั้นกลางมีความสามารถสูงในการ "รู้สึก" อย่าง "ดราม่า"
น้องรู้จักกันคนหนึ่ง เป็น typical ของสาวสวยชนชั้นกลางนิสัยดีมี "ธรรมะ" และมี "ฟอร์เวิร์ดเมล" น่ารักๆ ของคนน่ารักๆ นิสัยดี ไม่ชอบคนก้าวร้าวรุนแรง....บอกว่าตกใจร้องไห้ตัวสั่นทุกครั้งเมื่อนึกถึงเสื้อแดง เพราะกิริยาท่าทางแย่มาก เดินเข้าเดินออกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะทำงานที่นั่น ก็ต้องเจอพวกเสื้อแดงตัวดำๆ สกปรก หน้าตาเหี้ยมโหด น่ากลัวเหลือเกิน พวกนี้ข่มขู่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย คือมาปิดกั้นถนน ถือท่อเหล็กแกว่งไกวไปมา หน้าตาไม่เป็นมิตร เดินเข้าเดินออกในโรงพยาบาลที่ควรจะเป็นที่ของผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
เรื่องอย่างนี้มีทั้งความจริง และความ "รู้สึกเกินจริง" แบบ "ดราม่า"
น่าสนใจว่าหนังสือพิมพ์ใหญ่บางฉบับไม่พาดหัวเรื่องแดงบุกโรงพยาบาลเลยสองวันซ้อน แปลว่าอะไร? ไม่อยากเป็นเครื่องมือของใครเพราะเกรงว่าเรื่องนี้อาจมีการใช้ผู้ป่วยเป็นเครื่องมือทางการเมือง (ของทั้งสองฝ่าย) หรือไม่?
ตรงนี้มีข้อมูลหลายประเด็นที่ควรพิจารณา เช่น
2.1 อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาฯ ตัดสินใจย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่น เสื้อแดงแสดงท่าทีว่าจะบุกเข้าไปทำร้ายผู้ป่วยหรือไม่ ฯลฯ เป็นต้น ถ้าเหตุผลว่า การบุกเข้าไปวันนั้นพอเพียงแล้วที่จะให้ตัดสินใจ แม้เป็นเหตุผลพึงรับฟัง ก็น่าคิดว่า ทัศนคติของผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาฯ ต่อเสื้อแดงเป็นอย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เสื้อแดงน่ากลัวขนาดนั้นจริงหรือไม่
ข่าวล่าสุดที่สื่ออ้างว่ามาจาก โรงพยาบาลบอกว่า เสื้อแดงขู่วางระเบิดโรงพยาบาล คำถามคือมีความจริงมากน้อยแค่ไหน ใครเป็นผู้ขู่ ควรระบุตัวตนเพื่อแจ้งตำรวจให้จัดการตามกฎหมาย ดีกว่าลอยเลื่อนเป็นข่าวลือให้ร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง
2.2 มีรายงานข่าวเปิดหน้านักข่าวไทยพีบีเอสว่า นักข่าวกำลังจะเข้าไปตรวจสถานที่โรงพยาบาลกับแกนนำตามที่ ผอ.โรงพยาบาลอนุญาต เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ใจว่า ไม่มีทหารในโรงพยาบาล นั่นคือ ก่อนหน้า การ์ดเสื้อแดงเยอะแยะจะกรูเข้าไปจับคนงานก่อสร้างเพราะเชื่อว่าเป็นทหารมาซุ่มยิง แปลว่า ก่อนหน้าจะเกิดประเด็นแดงบุกโรงพยาบาล การเข้าไปตรวจสอบในโรงพยาบาลของแดง ยังไม่ใช่สิ่งที่ "น่ากลัว" สำหรับสื่อ ใช่หรือไม่ ?
ถ้าใช่ ก็อาจแปลว่าความน่ากลัวคือการกรูกันเข้าไปของการ์ดเสื้อแดงจำนวนมากที่วิ่งตึงๆ จะไปจับคนงานก่อสร้าง (ตามข่าว) เพราะเชื่อว่าเป็นทหาร แต่กระนั้นข่าวที่ออกมาช่วงแรก ก็ไม่ใช่เรื่อง "บุก" โรงพยาบาลแบบอันธพาล น้ำเสียงข่าวในช่วงแรกคือ แดงปล่อยไก่ เพราะคนที่จับได้ไม่ใช่ทหาร แต่เป็นคนงานก่อสร้าง พูดจาไม่รู้เรื่อง
2.3 ไม่ควรตัดทิ้งข้อสงสัยว่าอาจมีทหารอยู่จริงในโรงพยาบาลจุฬาฯ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อรักษาความปลอดภัย ให้โรงพยาบาลจุฬาฯ (แม้จะฟังแปร่งๆ) เหมือนกับที่มีทหารรักษาการอยู่แทบทุกชั้นที่อาคารเนชั่นและที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนั้น ไม่แปลกที่ฝ่ายแดงจะสงสัย หลังจากมีบางกระแสข่าวว่าวิถี กระสุนซึ่งไปตกที่สีลมน่าจะมาจากโรงพยาบาล ต้องไม่ลืมว่าความตายที่สีลมไม่ได้เป็นประโยชน์อันใดเลยกับเสื้อแดง
2.4 ไม่แปลกที่ฝ่ายแดงจะสงสัยโรงพยาบาลจุฬาฯและแพทย์จุฬาฯ เพราะกลุ่มแพทย์จุฬาฯ เคยออกแถลงการณ์ไม่รับตรวจเจ้าหน้าที่ตำรวจเพราะเชื่อว่าตำรวจทำร้ายพันธมิตรฯ แพทย์จุฬาฯ มีภาพว่าเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองมาตั้งแต่ต้น แม้ประกาศตัวเป็นกลางในแง่วิชาชีพ ภาพรวมในแง่ปัจเจกและอารมณ์ส่วนตัวของปัจเจกคือไม่ชอบแดง
2.5 ที่น่าสนใจมากๆ คือสื่อหลายสำนัก โหมข่าวเรื่องเสื้อแดงบุกโรงพยาบาลเป็นเรื่องใหญ่ ยินดีที่มีเสียงตำหนิแดง ยินดีที่คนเคยเห็นใจแดงตำหนิแดง คนทำสื่อเหล่านี้ดูจะไม่สนใจและคล้ายจะลืมเรื่องการล้อมปราบในวันที่ 10 เมษายน 2553 โดยสิ้นเชิงแม้จะมีความสูญเสียอย่างมาก ไม่สนใจสืบค้นความจริงเรื่องความ ตายของคนเสื้อหลากสีที่สีลม และไม่สนใจสืบค้นความจริงเรื่อง พลทหารถูกยิงตายที่ดอนเมือง.......
ถ้าเราตัวสั่นด้วยความโกรธแค้น ที่เสื้อแดงบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นความไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง เราควรถามตัวเองเช่นกันว่า เราตัวสั่นด้วยความโกรธแค้นอย่างเดียวกันหรือไม่ที่ "รัฐ" เลือกปราบประชาชนคิดต่างในยามวิกาล เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 จนมีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ทั้งฝ่ายประชาชนและทหาร
หรือในกรณีนี้ เราตัวสั่นเฉพาะเมื่อทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บ
ถ้าเช่นนั้น เรามองประชาชนเสื้อแดงว่าพวกเขาเป็นใครหรือ มิใช่เพื่อนร่วมชาติของเราผู้กำลังพยายามส่งเสียงบอกเราว่า เขามีความทุกข์หรืือ และถ้าเรามีความทุกข์เพราะการกระทำของเขา ที่พยายามบอกเราว่าเขามีความทุกข์ เราก็ควรจะหันหน้าคุยกัน เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผ่อนคลาย ความทุกข์ของกันและกันมิใช่หรือ
หรือเราควรตั้งตัวเป็นตุลาการศาลเตี้ย สั่งฆ่า สั่งเสียบประจานพวกเขาซึ่งเราขอเรียกว่าพวกมัน เพราะเรา "เชื่อ" ว่าพวกมันแสนเลวบัดซบ....อย่างนั้นหรือ?
บางทีเราอาจไม่ต้องฝึกฝนนิสัยตัวสั่นด้วยความโกรธแค้นก็ได้ เพราะความโกรธแค้นไม่ได้ช่วยให้เรามีสติ แต่เราควรฝึกคิดทบทวนว่า ความจริงคืออะไรกันแน่
3. ขอบันทึกเรื่องขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ ไว้เล็กน้อยว่า ขณะนี้ทำกันเป็นล่ำเป็นสันและน่ากลัวมากเพราะ "อารมณ์เกลียดชัง" ที่ยิ่งนับวันยิ่งเติบโต
ที่มา.ประชาไท
---------------------------------------------------------------------------
เรื่องความไม่ชอบธรรมชนิดไม่มีข้อแก้ตัวของฝ่ายแดงที่ไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 นั้น เมื่อทบทวนดู พบข้อน่าสังเกตบางประการจึงขอบันทึกไว้ดังนี้
1. ฝ่ายแดงสะดุดหัวแม่เท้าตัวเองจริงๆ เรื่องไปบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ หลังจากเสียหายเรื่องตั้งด่านตรวจรถ กั้นทางขึ้นลงรถไฟฟ้า แล้วตีตื้นขึ้นมาได้จากแผนล้มเจ้าฉบับขายหัวเราะของ ศอฉ. ซึ่งถ้ามีคนเชื่อว่าจริง คนไทยก็ควรเลิกคิดเรื่องพัฒนาชาติไทย นอนรอวันตายไปเรื่อยๆ สบายดีและถูกอัธยาศัยดีแล้ว
เข้าใจได้ถึงความกดดันของฝ่ายแดงว่าจะถูกทำร้าย ถูกล้อมปราบ แต่การบุกไปโรงพยาบาลแบบซุ่มซ่ามบุ่มบ่ามเพราะความ "กลัว" ของตน โดยไม่ได้นึกถึงความ "กลัว" ของคนอื่นๆ ที่เป็นคนธรรมดาสามัญเหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าฝ่ายวางแผนและคุมกำลังละเอียดอ่อนไม่พอ ไม่ฉลาดเท่าฝ่ายรัฐ แม้จะบอกว่าสู้จนเหนื่อยคิดไม่ทัน ก็แปลว่าอ่อนด้อยกว่าเขา กล่าวคือแพ้ทางการเมือง
จิตใจสู้และอดทนของประชาชนที่ไม่มีอะไรจะสูญเสียนอกจากชีวิตนั้นไม่แพ้ แต่ทางการเมืองแพ้ หรือพูดอีกอย่างว่า ณ เวลานี้อยู่ในสถานะเพลี่ยงพล้ำ ทั้งแกนนำ การ์ดและผู้ชุมนุม โดยนอกจากเพลี่ยงพล้ำทางกระบวนท่า ยังเพลี่ยงพล้ำทางเล่ห์เหลี่ยม อาจเพราะไม่เชี่ยวชาญเรื่องเล่ห์เหลี่ยม การสร้างภาพ ตลอดจนการพูดจาให้ดูดีมีชาติตระกูล ซึ่งสองอย่างหลังนั้น เป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของบรรดาคนชั้นกลางถึงชั้นสูงที่ดูดีมีชาติตระกูล ไม่ใช่ชาวบ้านสามัญ
2. น่าสนใจมากว่า "สื่อ" รายงานเรื่องแดง "บุก" โรงพยาบาลอย่างครึกโครม จนมีคนเชื่อโดยไม่ได้อ่านและไม่ได้ฟังละเอียดคิดว่าพวกแดงพร้อมอาวุธครบมือบุกยึดโรงพยาบาล เข้าไปอาละวาดทำร้ายคนไข้ แพทย์ พยาบาล จนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลต้องขนคนไข้หนีม็อบกันโกลาหล เด็กอ่อนต้องย้ายตึก ผู้ป่วยหนักต้องย้ายตึก ฯลฯ
แน่นอนว่า การกรูเกรียวเข้าไปในโรงพยาบาลของการ์ดและคนเสื้อแดง (ตามข่าว) เป็นเรื่องทำร้ายความรู้สึกมากๆ สำหรับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นความไม่ชอบธรรมที่แดงไปบุกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อไม่ชอบธรรมตั้งแต่ต้นก็ย่อมไม่ชอบธรรมในเบื้องปลาย แต่น่าสนใจว่า ความจริงคือแดงทำอะไรบ้าง ขนาดไหน รุนแรงทางกายภาพเพียงใด ข่มขู่ใครบ้าง อย่างไร นอกเหนือจากที่เป็นความรุนแรงต่อจิตใจ ซึ่งประเมินได้ยาก เพราะแต่ละคนต่างมี "ความรู้สึก" ของตน
มองอย่างเป็นธรรม ถ้าคนกรุงเทพฯ รู้สึกว่าถูกคนเสื้อแดงทำร้ายจิตใจสาหัส คนเสื้อแดงก็บอกได้เช่นกันว่าพวกเขาถูกคนกรุงเทพฯ และคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยทำร้ายจิตใจสาหัสด้วยถ้อยคำดูหมิ่น เหยียดหยาม ด่าว่าพวกเขาตลอดมา เขายังไม่ทันได้ทำอะไรเลย ก็ถูกกล่่าวหาก่อนแล้วว่าถ่อย โง่เป็นควายแดง พวกหางแดง ฯลฯ เป็นต้น เมื่อพวกเขาถูกล้อมปราบจนตายก็ไม่มีใคร โดยเฉพาะ "สื่อ" เดือดร้อน
บันทึกในบล็อกของหมอจุฬาฯ และรูปภาพที่หมอจุฬาฯ ถ่ายออกมาเผยแพร่ทางโลกออนไลน์ ฝ่ายเกลียดแดงอ่านแล้วพอใจ ฝ่ายไม่เกลียดแดงอ่านแล้วเห็นว่า มีอคติอย่างแรง
ในบันทึกก่อนวันที่ 29 เมษายน หมอจุฬาฯ ท่านหนึ่งเขียนว่า "พวกมัน" มาเดินเข้าเดินออกเข้าห้องน้ำเหมือน เป็นบ้านของมัน วันที่พวกมันบุกเข้ามาก็น่ากลัวมาก ก็ดูหน้าตาสารรูปของพวกมันแต่ละคนสิ.......
บ่อยครั้ง ความหวาดกลัวในความ "เป็นอื่น" ของ "คนอื่น" ก็เกินจริง และคนชั้นกลางมีความสามารถสูงในการ "รู้สึก" อย่าง "ดราม่า"
น้องรู้จักกันคนหนึ่ง เป็น typical ของสาวสวยชนชั้นกลางนิสัยดีมี "ธรรมะ" และมี "ฟอร์เวิร์ดเมล" น่ารักๆ ของคนน่ารักๆ นิสัยดี ไม่ชอบคนก้าวร้าวรุนแรง....บอกว่าตกใจร้องไห้ตัวสั่นทุกครั้งเมื่อนึกถึงเสื้อแดง เพราะกิริยาท่าทางแย่มาก เดินเข้าเดินออกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะทำงานที่นั่น ก็ต้องเจอพวกเสื้อแดงตัวดำๆ สกปรก หน้าตาเหี้ยมโหด น่ากลัวเหลือเกิน พวกนี้ข่มขู่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย คือมาปิดกั้นถนน ถือท่อเหล็กแกว่งไกวไปมา หน้าตาไม่เป็นมิตร เดินเข้าเดินออกในโรงพยาบาลที่ควรจะเป็นที่ของผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
เรื่องอย่างนี้มีทั้งความจริง และความ "รู้สึกเกินจริง" แบบ "ดราม่า"
น่าสนใจว่าหนังสือพิมพ์ใหญ่บางฉบับไม่พาดหัวเรื่องแดงบุกโรงพยาบาลเลยสองวันซ้อน แปลว่าอะไร? ไม่อยากเป็นเครื่องมือของใครเพราะเกรงว่าเรื่องนี้อาจมีการใช้ผู้ป่วยเป็นเครื่องมือทางการเมือง (ของทั้งสองฝ่าย) หรือไม่?
ตรงนี้มีข้อมูลหลายประเด็นที่ควรพิจารณา เช่น
2.1 อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาฯ ตัดสินใจย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่น เสื้อแดงแสดงท่าทีว่าจะบุกเข้าไปทำร้ายผู้ป่วยหรือไม่ ฯลฯ เป็นต้น ถ้าเหตุผลว่า การบุกเข้าไปวันนั้นพอเพียงแล้วที่จะให้ตัดสินใจ แม้เป็นเหตุผลพึงรับฟัง ก็น่าคิดว่า ทัศนคติของผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาฯ ต่อเสื้อแดงเป็นอย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เสื้อแดงน่ากลัวขนาดนั้นจริงหรือไม่
ข่าวล่าสุดที่สื่ออ้างว่ามาจาก โรงพยาบาลบอกว่า เสื้อแดงขู่วางระเบิดโรงพยาบาล คำถามคือมีความจริงมากน้อยแค่ไหน ใครเป็นผู้ขู่ ควรระบุตัวตนเพื่อแจ้งตำรวจให้จัดการตามกฎหมาย ดีกว่าลอยเลื่อนเป็นข่าวลือให้ร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง
2.2 มีรายงานข่าวเปิดหน้านักข่าวไทยพีบีเอสว่า นักข่าวกำลังจะเข้าไปตรวจสถานที่โรงพยาบาลกับแกนนำตามที่ ผอ.โรงพยาบาลอนุญาต เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ใจว่า ไม่มีทหารในโรงพยาบาล นั่นคือ ก่อนหน้า การ์ดเสื้อแดงเยอะแยะจะกรูเข้าไปจับคนงานก่อสร้างเพราะเชื่อว่าเป็นทหารมาซุ่มยิง แปลว่า ก่อนหน้าจะเกิดประเด็นแดงบุกโรงพยาบาล การเข้าไปตรวจสอบในโรงพยาบาลของแดง ยังไม่ใช่สิ่งที่ "น่ากลัว" สำหรับสื่อ ใช่หรือไม่ ?
ถ้าใช่ ก็อาจแปลว่าความน่ากลัวคือการกรูกันเข้าไปของการ์ดเสื้อแดงจำนวนมากที่วิ่งตึงๆ จะไปจับคนงานก่อสร้าง (ตามข่าว) เพราะเชื่อว่าเป็นทหาร แต่กระนั้นข่าวที่ออกมาช่วงแรก ก็ไม่ใช่เรื่อง "บุก" โรงพยาบาลแบบอันธพาล น้ำเสียงข่าวในช่วงแรกคือ แดงปล่อยไก่ เพราะคนที่จับได้ไม่ใช่ทหาร แต่เป็นคนงานก่อสร้าง พูดจาไม่รู้เรื่อง
2.3 ไม่ควรตัดทิ้งข้อสงสัยว่าอาจมีทหารอยู่จริงในโรงพยาบาลจุฬาฯ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อรักษาความปลอดภัย ให้โรงพยาบาลจุฬาฯ (แม้จะฟังแปร่งๆ) เหมือนกับที่มีทหารรักษาการอยู่แทบทุกชั้นที่อาคารเนชั่นและที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนั้น ไม่แปลกที่ฝ่ายแดงจะสงสัย หลังจากมีบางกระแสข่าวว่าวิถี กระสุนซึ่งไปตกที่สีลมน่าจะมาจากโรงพยาบาล ต้องไม่ลืมว่าความตายที่สีลมไม่ได้เป็นประโยชน์อันใดเลยกับเสื้อแดง
2.4 ไม่แปลกที่ฝ่ายแดงจะสงสัยโรงพยาบาลจุฬาฯและแพทย์จุฬาฯ เพราะกลุ่มแพทย์จุฬาฯ เคยออกแถลงการณ์ไม่รับตรวจเจ้าหน้าที่ตำรวจเพราะเชื่อว่าตำรวจทำร้ายพันธมิตรฯ แพทย์จุฬาฯ มีภาพว่าเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองมาตั้งแต่ต้น แม้ประกาศตัวเป็นกลางในแง่วิชาชีพ ภาพรวมในแง่ปัจเจกและอารมณ์ส่วนตัวของปัจเจกคือไม่ชอบแดง
2.5 ที่น่าสนใจมากๆ คือสื่อหลายสำนัก โหมข่าวเรื่องเสื้อแดงบุกโรงพยาบาลเป็นเรื่องใหญ่ ยินดีที่มีเสียงตำหนิแดง ยินดีที่คนเคยเห็นใจแดงตำหนิแดง คนทำสื่อเหล่านี้ดูจะไม่สนใจและคล้ายจะลืมเรื่องการล้อมปราบในวันที่ 10 เมษายน 2553 โดยสิ้นเชิงแม้จะมีความสูญเสียอย่างมาก ไม่สนใจสืบค้นความจริงเรื่องความ ตายของคนเสื้อหลากสีที่สีลม และไม่สนใจสืบค้นความจริงเรื่อง พลทหารถูกยิงตายที่ดอนเมือง.......
ถ้าเราตัวสั่นด้วยความโกรธแค้น ที่เสื้อแดงบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นความไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง เราควรถามตัวเองเช่นกันว่า เราตัวสั่นด้วยความโกรธแค้นอย่างเดียวกันหรือไม่ที่ "รัฐ" เลือกปราบประชาชนคิดต่างในยามวิกาล เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 จนมีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ทั้งฝ่ายประชาชนและทหาร
หรือในกรณีนี้ เราตัวสั่นเฉพาะเมื่อทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บ
ถ้าเช่นนั้น เรามองประชาชนเสื้อแดงว่าพวกเขาเป็นใครหรือ มิใช่เพื่อนร่วมชาติของเราผู้กำลังพยายามส่งเสียงบอกเราว่า เขามีความทุกข์หรืือ และถ้าเรามีความทุกข์เพราะการกระทำของเขา ที่พยายามบอกเราว่าเขามีความทุกข์ เราก็ควรจะหันหน้าคุยกัน เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผ่อนคลาย ความทุกข์ของกันและกันมิใช่หรือ
หรือเราควรตั้งตัวเป็นตุลาการศาลเตี้ย สั่งฆ่า สั่งเสียบประจานพวกเขาซึ่งเราขอเรียกว่าพวกมัน เพราะเรา "เชื่อ" ว่าพวกมันแสนเลวบัดซบ....อย่างนั้นหรือ?
บางทีเราอาจไม่ต้องฝึกฝนนิสัยตัวสั่นด้วยความโกรธแค้นก็ได้ เพราะความโกรธแค้นไม่ได้ช่วยให้เรามีสติ แต่เราควรฝึกคิดทบทวนว่า ความจริงคืออะไรกันแน่
3. ขอบันทึกเรื่องขบวนการล่าแม่มดออนไลน์ ไว้เล็กน้อยว่า ขณะนี้ทำกันเป็นล่ำเป็นสันและน่ากลัวมากเพราะ "อารมณ์เกลียดชัง" ที่ยิ่งนับวันยิ่งเติบโต
ที่มา.ประชาไท
---------------------------------------------------------------------------
โลกขยับ : ICG แพร่บทวิเคราะห์ วอนไทยต้องให้โลกช่วย แนะดึงกลุ่ม 'The Elders' ตัวกลาง
อินเตอร์เนชั่นแนล ไครซิส กรุ๊ป : เตือนความเสี่ยงความขัดแย้งในไทย ควรพิจารณาความช่วยเหลือจากเพื่อนนานาชาติ ซึ่งแม้แต่ประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าก็เคยตอบรับความช่วยเหลือเช่นนี้
*******************
กรุงเทพฯ/บรัสเซลส์, 30 เมษายน 2553: ระบบการเมืองของไทยกำลังชะงักงันและดูเหมือนว่ารัฐบาลจะไม่สามารถฉุดรังสถานการณ์ซึ่งกำลังขยายไปสู่ความขัดแย้งที่กว้างขวางมากขึ้น การเผชิญหน้ากันบนท้องถนนในกรุงเทพฯ ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงรุนแรงมากขึ้นและอาจจะนำไปสู่สภาวะสงครามกลางเมือง ความแตกแยกที่เกิดขึ้นภายในประเทศอาจต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากบุคคลที่เป็นกลางจากภายนอก ประเทศไทยควรจะพิจารณาความช่วยเหลือจากเพื่อนนานาชาติเพื่อป้องกันมิให้ความรุนแรงขยายตัวออกไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งแม้แต่ประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าก็เคยตอบรับความช่วยเหลือเช่นนี้
สถานการณ์ในพื้นที่
นับถึงขณะนี้ มีผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะระหว่างทหารกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือที่เรียกกันว่า “กลุ่มคนเสื้อแดง” อย่างน้อย 26 คน ตัวเลขนี้อาจจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหากกองทัพดำเนินการสลายกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมนุมกันอย่างที่ใจกลางกรุงเทพฯ กลุ่มคนเสื้อแดงเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาในทันทีและจัดการเลือกตั้ง ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องและมอบให้ทหารเข้าจัดการกับการชุมนุม
กรุงเทพฯ อยู่ในสภาวะตึงเครียด กลุ่มคนเสื้อแดงได้ทำให้กิจกรรมในย่านศูนย์กลางธุรกิจของเมืองหลวงที่เคยคึกคักต้องหยุดมาหลายสัปดาห์แล้ว ผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นต้องย้ายออกเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงต่อการตกอยู่ท่ามกลางการปะทะระหว่างทหารกับผู้ชุมนุมซึ่งอยู่ห่างจากบ้านของพวกเขาเพียงไม่กี่เมตร มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ หลายสิบครั้งโดยกลุ่มคนไม่ทราบฝ่าย และหลายคนก็รอคอยให้ทหารดำเนินการเคลื่อนย้ายคนเสื้อแดงออกจากถนน
ความพยายามในการเจรจาที่ดำเนินการภายในประเทศล้มเหลว กลุ่มภาคประชาสังคมได้พยายามประสานการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ประท้วงแต่ว่าไม่สามารถตกลงกันเรื่องกรอบเวลาในการยุบสภาได้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้เสนอ 30 วัน แต่ว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ยื่นข้อเสนอเก้าเดือน รอยแยกระหว่างกลุ่มชนชั้นนำอันประกอบไปด้วยผู้นำอาวุโสที่ใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์ นายทหารที่มีอำนาจและกลุ่มผู้สนับสนุนชนชั้นกลาง กับกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งหลายคนในนั้นเป็นผู้สนับสนุนของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้ห่างออกจากกันมากขึ้น
ในขณะที่บางคนกล่าวโทษนายทักษิณว่าอยู่เบื้องหลังการเผชิญหน้าครั้งนี้ การประท้วงได้ก้าวไปไกลกว่าการควบคุมของเขา คนไทยจำนวนมากเกิดความรู้สึกผิดหวังกับกลุ่มชนชั้นนำเพราะพวกเขาถูกกีดกันจากประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจในหลายทศวรรษที่ผ่านมาและไม่พอใจกับการโค่นล้มรัฐบาลที่คนจนในชนบทเลือกมา อาจเป็นความจริงที่คนไทยหลายคนยากที่จะยอมรับว่า ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีความรุนแรงซึ่งมีประวัติศาสตร์ของต่อสู้กับระหว่างขบวนการกบฎกับรัฐบาลซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงการปกครองระบอบเผด็จการ ถ้าหากรัฐบาลเข้าสลายการชุมนุม มีความเป็นไปได้ว่าความรุนแรงในกรุงเทพฯ จะขยายตัวออกไป
วิกฤตการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบกว่าหกทศวรรษ พระมหากษัตริย์อาจจะไม่อยู่ในสถานะที่จะเข้าช่วยจัดการแก้ไขความขัดแย้งได้ หรือถึงแม้พระองค์มีพระราชประสงค์ วิกฤตในครั้งนี้ก็มีความซับซ้อนกว่าในครั้งก่อนๆ ที่พระองค์ทรงเข้าแก้ไข และหากไม่สำเร็จ ก็อาจจะมีผลต่อสถานภาพและบารมีของสถาบันกษัตริย์
รัฐบาลควรตระหนักว่าการปราบปรามอย่างรุนแรงจะเป็นสิ่งที่ทำลายพวกเขาเองและอาจทำให้ความขัดแย้งขยายตัวมากขึ้น แกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงเองก็ต้องยอมรับว่า การท้าทายยั่วยุและการใช้ความรุนแรง มีแต่จะทำลายการเรียกร้องประชาธิปไตยของพวกเขาและความชอบธรรมของขบวนการต่อสู้เพื่อความเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ควรมีการดำเนินการอะไร
สิ่งที่ควรจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ:
การจัดตั้งกลุ่มประสานงานระดับสูงที่นำโดยผู้นำที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติ (a high-level facilitation group of international figures) นายโจเซ รามอส ฮอร์ตา ประธานาธิบดีติมอร์ ตะวันออก ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพได้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ ด้วยความริเริ่มของท่านเอง ซึ่งท่านอาจจะได้ร่วมกับบุคคลอื่นๆ โดยอาจพิจารณาคัดเลือกจากผู้นำในกลุ่ม The Elders* หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีประสบการณ์และความคุ้นเคยเกี่ยวกับประเทศไทย
กลุ่มดังกล่าวนี้ ซึ่งควรจะทำงานร่วมกับผู้นำของไทยที่ได้รับการยอมรับ ควรผลักดันให้รัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงดำเนินการเพื่อหยุดความรุนแรง เช่น รัฐบาลควรจะหยุดปฏิบัติการทางการทหาร และกลุ่มคนเสื้อแดงก็ควรจะจำกัดพื้นที่การชุมนุมให้เล็กลงเพื่อคงไว้เป็นเพียงสัญลักษณ์การต่อสู้แต่ไม่ขัดขวางการดำเนินชีวิตของประชาชนในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ควรจะดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (a national unity committee) โดยคัดเลือกจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ
คณะกรรมการชุดนี้ควรดำเนินการเพื่อริเริ่มการเจรจา โดยมีกลุ่มผู้นำในระดับนานาชาติให้การช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อแสวงหาข้อตกลงในการตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (an interim government of national unity) เพื่อเตรียมการไปสู่การเลือกตั้ง กระบวนการการนี้อาจมีการถกเถียงขัดแย้งกัน และไม่ควรจะรีบเร่งจัดการเลือกตั้งอย่างที่เรียกร้อง นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราวนี้จะต้องคัดเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ว่ารัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ควรจะมาจากบุคคลที่ได้รับการเคารพเชื่อถือและเป็นกลางซึ่งมาจากกลุ่มคนหลากหลายสาขา
คณะกรรมการนี้ควรจะดำเนินการจัดตั้งกรรมการอิสระเพื่อแสวงหาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์การปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงกับรัฐบาลบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในครั้งนี้
เมื่อสามารถควบคุมวิกฤตได้แล้วและหลักแห่งกฎหมายได้กลับคืนมาสู่สังคมไทย การเจรจาในทางการเมืองจะได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร และอาจจะต้องการกระบวนการสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงการระบุถึงความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่ายในเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น เราจำเป็นจะต้องนำการเมืองกลับไปสู่เวทีรัฐสภา ชิวิตทางการเมืองของคนไทยจะต้องเริ่มต้นอีกครั้งด้วยการเลือกตั้งครั้งใหม่ และอาจจะหมายรวมถึงการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่ฉบับที่ร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของทหาร
ที่มา.ประชาไท
****************************************************************
*******************
กรุงเทพฯ/บรัสเซลส์, 30 เมษายน 2553: ระบบการเมืองของไทยกำลังชะงักงันและดูเหมือนว่ารัฐบาลจะไม่สามารถฉุดรังสถานการณ์ซึ่งกำลังขยายไปสู่ความขัดแย้งที่กว้างขวางมากขึ้น การเผชิญหน้ากันบนท้องถนนในกรุงเทพฯ ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงรุนแรงมากขึ้นและอาจจะนำไปสู่สภาวะสงครามกลางเมือง ความแตกแยกที่เกิดขึ้นภายในประเทศอาจต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากบุคคลที่เป็นกลางจากภายนอก ประเทศไทยควรจะพิจารณาความช่วยเหลือจากเพื่อนนานาชาติเพื่อป้องกันมิให้ความรุนแรงขยายตัวออกไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งแม้แต่ประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าก็เคยตอบรับความช่วยเหลือเช่นนี้
สถานการณ์ในพื้นที่
นับถึงขณะนี้ มีผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะระหว่างทหารกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือที่เรียกกันว่า “กลุ่มคนเสื้อแดง” อย่างน้อย 26 คน ตัวเลขนี้อาจจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหากกองทัพดำเนินการสลายกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมนุมกันอย่างที่ใจกลางกรุงเทพฯ กลุ่มคนเสื้อแดงเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาในทันทีและจัดการเลือกตั้ง ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องและมอบให้ทหารเข้าจัดการกับการชุมนุม
กรุงเทพฯ อยู่ในสภาวะตึงเครียด กลุ่มคนเสื้อแดงได้ทำให้กิจกรรมในย่านศูนย์กลางธุรกิจของเมืองหลวงที่เคยคึกคักต้องหยุดมาหลายสัปดาห์แล้ว ผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นต้องย้ายออกเพื่อเลี่ยงความเสี่ยงต่อการตกอยู่ท่ามกลางการปะทะระหว่างทหารกับผู้ชุมนุมซึ่งอยู่ห่างจากบ้านของพวกเขาเพียงไม่กี่เมตร มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ หลายสิบครั้งโดยกลุ่มคนไม่ทราบฝ่าย และหลายคนก็รอคอยให้ทหารดำเนินการเคลื่อนย้ายคนเสื้อแดงออกจากถนน
ความพยายามในการเจรจาที่ดำเนินการภายในประเทศล้มเหลว กลุ่มภาคประชาสังคมได้พยายามประสานการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ประท้วงแต่ว่าไม่สามารถตกลงกันเรื่องกรอบเวลาในการยุบสภาได้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้เสนอ 30 วัน แต่ว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ยื่นข้อเสนอเก้าเดือน รอยแยกระหว่างกลุ่มชนชั้นนำอันประกอบไปด้วยผู้นำอาวุโสที่ใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์ นายทหารที่มีอำนาจและกลุ่มผู้สนับสนุนชนชั้นกลาง กับกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งหลายคนในนั้นเป็นผู้สนับสนุนของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้ห่างออกจากกันมากขึ้น
ในขณะที่บางคนกล่าวโทษนายทักษิณว่าอยู่เบื้องหลังการเผชิญหน้าครั้งนี้ การประท้วงได้ก้าวไปไกลกว่าการควบคุมของเขา คนไทยจำนวนมากเกิดความรู้สึกผิดหวังกับกลุ่มชนชั้นนำเพราะพวกเขาถูกกีดกันจากประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจในหลายทศวรรษที่ผ่านมาและไม่พอใจกับการโค่นล้มรัฐบาลที่คนจนในชนบทเลือกมา อาจเป็นความจริงที่คนไทยหลายคนยากที่จะยอมรับว่า ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีความรุนแรงซึ่งมีประวัติศาสตร์ของต่อสู้กับระหว่างขบวนการกบฎกับรัฐบาลซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงการปกครองระบอบเผด็จการ ถ้าหากรัฐบาลเข้าสลายการชุมนุม มีความเป็นไปได้ว่าความรุนแรงในกรุงเทพฯ จะขยายตัวออกไป
วิกฤตการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบกว่าหกทศวรรษ พระมหากษัตริย์อาจจะไม่อยู่ในสถานะที่จะเข้าช่วยจัดการแก้ไขความขัดแย้งได้ หรือถึงแม้พระองค์มีพระราชประสงค์ วิกฤตในครั้งนี้ก็มีความซับซ้อนกว่าในครั้งก่อนๆ ที่พระองค์ทรงเข้าแก้ไข และหากไม่สำเร็จ ก็อาจจะมีผลต่อสถานภาพและบารมีของสถาบันกษัตริย์
รัฐบาลควรตระหนักว่าการปราบปรามอย่างรุนแรงจะเป็นสิ่งที่ทำลายพวกเขาเองและอาจทำให้ความขัดแย้งขยายตัวมากขึ้น แกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงเองก็ต้องยอมรับว่า การท้าทายยั่วยุและการใช้ความรุนแรง มีแต่จะทำลายการเรียกร้องประชาธิปไตยของพวกเขาและความชอบธรรมของขบวนการต่อสู้เพื่อความเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ควรมีการดำเนินการอะไร
สิ่งที่ควรจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ:
การจัดตั้งกลุ่มประสานงานระดับสูงที่นำโดยผู้นำที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติ (a high-level facilitation group of international figures) นายโจเซ รามอส ฮอร์ตา ประธานาธิบดีติมอร์ ตะวันออก ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพได้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ ด้วยความริเริ่มของท่านเอง ซึ่งท่านอาจจะได้ร่วมกับบุคคลอื่นๆ โดยอาจพิจารณาคัดเลือกจากผู้นำในกลุ่ม The Elders* หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีประสบการณ์และความคุ้นเคยเกี่ยวกับประเทศไทย
กลุ่มดังกล่าวนี้ ซึ่งควรจะทำงานร่วมกับผู้นำของไทยที่ได้รับการยอมรับ ควรผลักดันให้รัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงดำเนินการเพื่อหยุดความรุนแรง เช่น รัฐบาลควรจะหยุดปฏิบัติการทางการทหาร และกลุ่มคนเสื้อแดงก็ควรจะจำกัดพื้นที่การชุมนุมให้เล็กลงเพื่อคงไว้เป็นเพียงสัญลักษณ์การต่อสู้แต่ไม่ขัดขวางการดำเนินชีวิตของประชาชนในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ควรจะดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (a national unity committee) โดยคัดเลือกจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ
คณะกรรมการชุดนี้ควรดำเนินการเพื่อริเริ่มการเจรจา โดยมีกลุ่มผู้นำในระดับนานาชาติให้การช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อแสวงหาข้อตกลงในการตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (an interim government of national unity) เพื่อเตรียมการไปสู่การเลือกตั้ง กระบวนการการนี้อาจมีการถกเถียงขัดแย้งกัน และไม่ควรจะรีบเร่งจัดการเลือกตั้งอย่างที่เรียกร้อง นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราวนี้จะต้องคัดเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ว่ารัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ควรจะมาจากบุคคลที่ได้รับการเคารพเชื่อถือและเป็นกลางซึ่งมาจากกลุ่มคนหลากหลายสาขา
คณะกรรมการนี้ควรจะดำเนินการจัดตั้งกรรมการอิสระเพื่อแสวงหาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์การปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงกับรัฐบาลบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในครั้งนี้
เมื่อสามารถควบคุมวิกฤตได้แล้วและหลักแห่งกฎหมายได้กลับคืนมาสู่สังคมไทย การเจรจาในทางการเมืองจะได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร และอาจจะต้องการกระบวนการสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงการระบุถึงความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่ายในเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น เราจำเป็นจะต้องนำการเมืองกลับไปสู่เวทีรัฐสภา ชิวิตทางการเมืองของคนไทยจะต้องเริ่มต้นอีกครั้งด้วยการเลือกตั้งครั้งใหม่ และอาจจะหมายรวมถึงการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่ฉบับที่ร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของทหาร
ที่มา.ประชาไท
****************************************************************
ศอฉ. เรียก เลขาฯ สนนท. รายงานตัว 10 โมงเช้า วันนี้ (2 พ.ค.)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และเพื่อนนักศึกษา ได้รับหมายเรียกจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ให้ไปรายงานตัวที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ราบ 11) ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม เวลา 10.00 น.
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์เฟซบุ๊ค ซึ่งเป็นเว็บเครือข่ายทางสังคม ได้มีการเชิญชวนให้เดินทางไปให้กำลังใจเพื่อนนักศึกษา ตามเวลาและสถานที่ข้างต้น รวมถึงมีการขอให้ช่วยกระจายข่าวหมายเรียกครั้งนี้ในวงกว้างด้วย เนื่องจากเกรงว่าอาจสุ่มเสี่ยงต่อการใช้อำนาจไม่เป็นธรรม หากสังคมมิได้จับตามอง เพราะตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ให้อำนาจเต็มที่แก่เจ้าหน้าที่ทหาร
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์เฟซบุ๊ค ซึ่งเป็นเว็บเครือข่ายทางสังคม ได้มีการเชิญชวนให้เดินทางไปให้กำลังใจเพื่อนนักศึกษา ตามเวลาและสถานที่ข้างต้น รวมถึงมีการขอให้ช่วยกระจายข่าวหมายเรียกครั้งนี้ในวงกว้างด้วย เนื่องจากเกรงว่าอาจสุ่มเสี่ยงต่อการใช้อำนาจไม่เป็นธรรม หากสังคมมิได้จับตามอง เพราะตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ให้อำนาจเต็มที่แก่เจ้าหน้าที่ทหาร
วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
"สงวน พงษ์มณี": ความขัดแย้งครั้งนี้อาจถึงขั้น "แยกแผ่นดิน"
รายงานคำให้สัมภาษณ์ของนายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย (พท.) ที่กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรค พท. แสดงความวิตกกังวลกรณีหากรัฐบาลใช้ความรุนแรงต่อการชุมนุมซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้และส่งผลให้กระบวนการต่อสู้ลงไปอยู่ใต้ดินว่า เชื่อว่าอีกไม่นาน หากรัฐบาลยังใช้ความรุนแรงเช่นนี้อยู่ โดยเฉพาะการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารในส่วนของภาคประชาชนการต่อสู้ใต้ดินก็จะต้องเกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน เพราะมีสาเหตุมาจากการที่รัฐบาลไม่เข้าใจว่าความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนรู้สึกว่าตัวเองสูญเสียความเป็นมนุษย์ จนทำให้คนที่ก่ออาชญากรรมไม่ใช่อาชญากรถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก
"สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยจะมากกว่าเรื่องการลงใต้ดิน เนื่องจากวันนี้สถานการณ์ไปไกลมากจึงมีความเป็นไปได้ว่าจากสงครามกลางเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้จะกลายเป็นสงครามแยกแผ่นดิน เพราะในเมื่อรัฐบาลบอกว่าคนอีสานกับคนภาคเหนือควรอยู่ใต้กฎหมาย แต่รัฐบาลนี้ไม่ได้รับการยอมรับและไม่มีความชอบธรรมแล้ว ดังนั้น คนกลุ่มนี้เขาก็คงไม่ยอมรับในสิ่งที่รัฐบาลบอก ถ้าไม่มีการแก้ปัญหาโดยวิธีที่สากลยอมรับ มีการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ หรือการฆ่าแกนนำ สงครามแยกแผ่นดินจะเกิดขึ้นทันที และครั้งนี้จะเป็นจุดจบจริงๆ เพราะจะไม่มีประเทศอีก" นายสงวนกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
--------------------------------------------------------------------
"สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยจะมากกว่าเรื่องการลงใต้ดิน เนื่องจากวันนี้สถานการณ์ไปไกลมากจึงมีความเป็นไปได้ว่าจากสงครามกลางเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้จะกลายเป็นสงครามแยกแผ่นดิน เพราะในเมื่อรัฐบาลบอกว่าคนอีสานกับคนภาคเหนือควรอยู่ใต้กฎหมาย แต่รัฐบาลนี้ไม่ได้รับการยอมรับและไม่มีความชอบธรรมแล้ว ดังนั้น คนกลุ่มนี้เขาก็คงไม่ยอมรับในสิ่งที่รัฐบาลบอก ถ้าไม่มีการแก้ปัญหาโดยวิธีที่สากลยอมรับ มีการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ หรือการฆ่าแกนนำ สงครามแยกแผ่นดินจะเกิดขึ้นทันที และครั้งนี้จะเป็นจุดจบจริงๆ เพราะจะไม่มีประเทศอีก" นายสงวนกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
--------------------------------------------------------------------
สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย แจงข้อเท็จจริงกรณีผู้นำแรงงานเชียร์มาร์ค
สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย ส่งจดหมายถึงสื่อมวลชนชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีที่มีข่าวว่าแกนนำองค์กรลูกจ้างแห่งประเทศไทยให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีว่า ไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม และทำผิดวัตถุประสงค์ที่ให้ไปยื่นข้อเรียกร้องไม่ใช่ไปให้กำลังใจ พร้อมประกาศไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเผด็จการ-มือเปื้อนเลือดและต้องการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธ๊
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ชี้แจงข้อเท็จจริง
เรื่อง ผู้นำแรงงานเชียร์มาร์ค
คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี 2553 ประกอบด้วย 12 สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ รวมทั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานฯ ได้มีมติให้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และให้นายกรัฐมนตรีได้มาให้คำตอบกับผู้ใช้แรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ณ บริเวณท้องสนามหลวง ว่าข้อเรียกร้องใดบ้างที่รัฐบาลสามารถตอบสนองให้กับผู้ใช้แรงงานได้
ประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้คือ นายทวี เตชะธีราวัฒน์ ส่วนเลขาธิการจัดงานฯ คือ นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานจัดงานฯ ได้กล่าวในที่ประชุมว่าพยายามติดต่อประสานงานเพื่อเข้าพบนายกรัฐมนตรีให้ได้ หากติดต่อได้แล้วจะแจ้งมายังสภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งเพื่อเข้าพบ
ผลปรากฏว่าเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 14.30 น. ประธานจัดงานฯ ได้แจ้งทางโทรศัพท์มายังสภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งว่าให้แต่ละสภาฯ ส่งกรรมการสภาฯ ละ 2 คนเพื่อเข้าพบนายกรัฐมนตรี ณ รัฐสภาในช่วงเวลา 16.00 น. แต่เนื่องจากประธานจัดงานฯ ได้แจ้งในเวลากระชั้นชิด สภาองค์การลูกจ้าง สภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยจึงไม่ได้ส่งกรมการเข้าร่วม เพราะไม่มีกรรมการคนใดจัดสรรเวลาเพื่อที่จะเข้าร่วมได้ทัน
วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2553 สภาองค์การลูกจ้าง สภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยได้ทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับถึงกรณีที่ประธานจัดงานฯ นายทวี เตชะธีราวัฒน์ และเลขาธิการจัดงานฯ นายชินโชติ แสงสังข์ ได้ออกข่าวว่า 14 องค์กรลูกจ้างให้กำลังใจนายกรัฐมนตรี ห้ามยุบสภาและย้ำต้องฟังเสียงส่วนใหญ่
สภาองค์การลูกจ้างศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ไม่เห็นด้วยกับองค์กรที่เข้าไปพบกับนายกรัฐมนตรี และให้ข่าวที่ผิดวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติในปี 2553 นี้ ทำผิดมติคณะกรรมการจัดงานฯ ทั้ง 14 องค์กร ที่ต้องการให้ไปยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ไปให้กำลังใจหรือห้ามยุบสภา
สภาองค์การลูกจ้างศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยขอประกาศจุดยืนต่อพี่น้องผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั้งประเทศว่า ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของประธานและเลขาธิการจัดงานฯ ในครั้งนี้ เพราะสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พวกเราทำเพื่อพี่น้อง ผู้ใช้แรงงาน เรารักประชาธิปไตย พวกเราต่อต้านเผด็จการมาโดยตลอด เราไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลมือเปื้อนเลือด เราไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเผด็จการ เราต่อต้านการใช้ความรุนแรง และเราต้องการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี
จึงชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
1 พฤษภาคม 2553
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ชี้แจงข้อเท็จจริง
เรื่อง ผู้นำแรงงานเชียร์มาร์ค
คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี 2553 ประกอบด้วย 12 สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ รวมทั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานฯ ได้มีมติให้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และให้นายกรัฐมนตรีได้มาให้คำตอบกับผู้ใช้แรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ณ บริเวณท้องสนามหลวง ว่าข้อเรียกร้องใดบ้างที่รัฐบาลสามารถตอบสนองให้กับผู้ใช้แรงงานได้
ประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้คือ นายทวี เตชะธีราวัฒน์ ส่วนเลขาธิการจัดงานฯ คือ นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานจัดงานฯ ได้กล่าวในที่ประชุมว่าพยายามติดต่อประสานงานเพื่อเข้าพบนายกรัฐมนตรีให้ได้ หากติดต่อได้แล้วจะแจ้งมายังสภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งเพื่อเข้าพบ
ผลปรากฏว่าเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 14.30 น. ประธานจัดงานฯ ได้แจ้งทางโทรศัพท์มายังสภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งว่าให้แต่ละสภาฯ ส่งกรรมการสภาฯ ละ 2 คนเพื่อเข้าพบนายกรัฐมนตรี ณ รัฐสภาในช่วงเวลา 16.00 น. แต่เนื่องจากประธานจัดงานฯ ได้แจ้งในเวลากระชั้นชิด สภาองค์การลูกจ้าง สภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยจึงไม่ได้ส่งกรมการเข้าร่วม เพราะไม่มีกรรมการคนใดจัดสรรเวลาเพื่อที่จะเข้าร่วมได้ทัน
วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2553 สภาองค์การลูกจ้าง สภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยได้ทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับถึงกรณีที่ประธานจัดงานฯ นายทวี เตชะธีราวัฒน์ และเลขาธิการจัดงานฯ นายชินโชติ แสงสังข์ ได้ออกข่าวว่า 14 องค์กรลูกจ้างให้กำลังใจนายกรัฐมนตรี ห้ามยุบสภาและย้ำต้องฟังเสียงส่วนใหญ่
สภาองค์การลูกจ้างศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ไม่เห็นด้วยกับองค์กรที่เข้าไปพบกับนายกรัฐมนตรี และให้ข่าวที่ผิดวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติในปี 2553 นี้ ทำผิดมติคณะกรรมการจัดงานฯ ทั้ง 14 องค์กร ที่ต้องการให้ไปยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ไปให้กำลังใจหรือห้ามยุบสภา
สภาองค์การลูกจ้างศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยขอประกาศจุดยืนต่อพี่น้องผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั้งประเทศว่า ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของประธานและเลขาธิการจัดงานฯ ในครั้งนี้ เพราะสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พวกเราทำเพื่อพี่น้อง ผู้ใช้แรงงาน เรารักประชาธิปไตย พวกเราต่อต้านเผด็จการมาโดยตลอด เราไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลมือเปื้อนเลือด เราไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเผด็จการ เราต่อต้านการใช้ความรุนแรง และเราต้องการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี
จึงชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
1 พฤษภาคม 2553
‘พท.’ตั้งกระทู้ถาม -นายกฯไม่ตอบ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณากระทู้ ถามทั่วไป และเตรียมพิจารณากระทู้ถามสด 6 เรื่อง ที่ค้างมาจากสัปดาห์ที่แล้ว 3 เรื่องเกี่ยวกับการชุมนุม และเสนอเข้ามาใหม่ 3 เรื่อง โดยนายชัยแจ้งต่อที่ประชุมว่าได้รับหนังสือจากนางอัญชลี วานิชเทพบุตร รองเลขานายกฯ ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการนายกฯ ด่วนที่สุด นร 0404/5435 ลงวันที่ 29 เม.ย. เรื่องการตอบกระทู้ถาม ระบุว่า ขณะนี้ยังมีเหตุเกิดอย่างต่อเนื่อง จำเป็นที่นายกฯ และครม.ต้องติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา จึงต้องแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ และไม่ควรเปิดเผยจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ครม.จึงมีมติว่าหากมีกระทู้เรื่องดังกล่าว นายกฯ และรมต.ไม่ควรตอบกระทู้นั้นๆ ตามที่รัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 156 บัญญัติ
นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ผู้ถามกระทู้สดเรื่อง การใช้อำนาจตามประ กาศพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กล่าวว่า สิ่งที่ครม.ทำถือว่ากำลังปิดบท บาทฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปิดอำนาจฝ่ายตุลาการไปแล้ว เท่ากับตอนนี้ประเทศมีอำนาจฝ่ายบริหารอย่างเดียวเหมือนรถไม่มีเบรก สะท้อนว่ารัฐบาลไม่แก้ปัญหาการเมืองด้วยการเมือง แต่แก้ด้วยการทหาร และยังปิดการเสนอญัตติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบข้อเท็จจริง 10 เม.ย.ของฝ่ายค้าน
นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ซึ่งตั้งกระทู้ถามสดเรื่องกรณีเหตุการณ์สีลมและอนุสรณ์สถาน ลุกขึ้นตำหนิรัฐบาลว่า ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจตรวจสอบการบริหาร ฉะนั้นไม่ควรละเมิด ต้องเคารพอำนาจซึ่งกันและกัน รัฐบาลไม่ควรทำให้เกิดวัฒนธรรมแบบนี้
พท.ตั้งกระทู้ถามแทรกแซงสื่อ
นางฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐใช้อำนาจกดดันการเสนอข่าวสาร ตัดสัญญาณไม่ให้สถานีโทรทัศน์ วิทยุชุมชน เว็บไซต์หลายแห่งเสนอข่าวอาจเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้สถานี โทรทัศน์ช่อง 11 เสนอข่าวด้านเดียว สะสมความรู้สึกเกลียดชังขึ้นในสังคมโดยช่วงเหตุการณ์ 10 เม.ย.ระบุว่าพิสูจน์แล้วผู้ก่อการร้ายอยู่ในม็อบเสื้อแดง ทั้งที่ความเป็นจริงเหตุ 10 เม.ย.รัฐบาลสลายการชุมนุมโดยผิดหลักสากล ใช้อาวุธสงคราม ปล่อยแก๊สน้ำตาจาก ฮ. และทำตอนกลางคืน จนประชาชนและทหารตายเจ็บจำนวนมาก
นางฐิติมากล่าวอีกว่า โฆษก ศอฉ.ออกทีวีพูลบิดเบือนข้อเท็จจริงกรณีผู้ชุมนุมถูกยิงเสียชีวิต รัฐบาลจ้องทำลายเสื้อแดงจนขาดวิจารณญาณในการเสนอข้อมูล โยนความผิดให้ผู้อื่น และยังบีบช่อง 3 กรณีน.ส.ฐปนีย์ เอียดศรีชัย ผู้สื่อข่าวที่ทวิตเตอร์เหตุการณ์ที่สีลมคืนวันที่ 22 เม.ย. ไม่ให้ออกอากาศ ทั้งที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองนักวิชาชีพไม่ว่ารัฐหรือเจ้าของกิจการ หากจงใจใช้อำนาจมิชอบอาจโดนถอดถอนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270
จี้มาร์ค-เทือกรับผิดชอบ 28 เม.ย.
นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน อภิปรายว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันที่ 28 เม.ย. เป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ภายใต้ความรับผิดชอบของนายกฯ มีผบก. ภ.จว.กาญจนบุรีเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติ และใช้อาวุธจริง คนที่ถูกยิงมาจากอาวุธปืนลูกซอง นายกฯ และรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงต้องรับผิดชอบ และอยากให้นายชัยแก้ปัญหาโดยตั้งคณะกรรมการผ่านตัวแทนพรรคต่างๆ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อแก้ปัญหา นอก จากนี้อยากเรียกร้องพรรคร่วมรัฐบาลแสดง บทบาทมากกว่านี้
นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากเสนอรัฐบาลว่าต้องหาทางเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็ว และให้เลิกใส่ความผู้ชุมนุมว่าเป็นขบวนการล้มเจ้า เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงมาก นอกจากนี้ขอเสนอแนวทางลดอุณหภูมิทางการเมือง เช่น ให้รัฐบาลกำหนดปฏิทินว่าจะยุบสภาใน 6 เดือน และจะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร เชื่อว่าหาก นปช.ไม่ฟัง จะ เกิดกระแสต่อต้านเอง หรือหากรัฐบาลยังอยากอยู่ในอำนาจต่อก็ควรให้นายอภิสิทธิ์ออกจากนายกฯ และให้สภาเลือกนายกฯ ใหม่ หากนายอภิสิทธิ์ยังได้รับเสียงโหวตก็ไม่มีปัญหา ส่วนใครทำผิดต้องดำเนินการ
โดย.ข่าวเพื่อไทย
------------------------------------------------------------
นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ผู้ถามกระทู้สดเรื่อง การใช้อำนาจตามประ กาศพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กล่าวว่า สิ่งที่ครม.ทำถือว่ากำลังปิดบท บาทฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปิดอำนาจฝ่ายตุลาการไปแล้ว เท่ากับตอนนี้ประเทศมีอำนาจฝ่ายบริหารอย่างเดียวเหมือนรถไม่มีเบรก สะท้อนว่ารัฐบาลไม่แก้ปัญหาการเมืองด้วยการเมือง แต่แก้ด้วยการทหาร และยังปิดการเสนอญัตติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบข้อเท็จจริง 10 เม.ย.ของฝ่ายค้าน
นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ซึ่งตั้งกระทู้ถามสดเรื่องกรณีเหตุการณ์สีลมและอนุสรณ์สถาน ลุกขึ้นตำหนิรัฐบาลว่า ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจตรวจสอบการบริหาร ฉะนั้นไม่ควรละเมิด ต้องเคารพอำนาจซึ่งกันและกัน รัฐบาลไม่ควรทำให้เกิดวัฒนธรรมแบบนี้
พท.ตั้งกระทู้ถามแทรกแซงสื่อ
นางฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐใช้อำนาจกดดันการเสนอข่าวสาร ตัดสัญญาณไม่ให้สถานีโทรทัศน์ วิทยุชุมชน เว็บไซต์หลายแห่งเสนอข่าวอาจเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้สถานี โทรทัศน์ช่อง 11 เสนอข่าวด้านเดียว สะสมความรู้สึกเกลียดชังขึ้นในสังคมโดยช่วงเหตุการณ์ 10 เม.ย.ระบุว่าพิสูจน์แล้วผู้ก่อการร้ายอยู่ในม็อบเสื้อแดง ทั้งที่ความเป็นจริงเหตุ 10 เม.ย.รัฐบาลสลายการชุมนุมโดยผิดหลักสากล ใช้อาวุธสงคราม ปล่อยแก๊สน้ำตาจาก ฮ. และทำตอนกลางคืน จนประชาชนและทหารตายเจ็บจำนวนมาก
นางฐิติมากล่าวอีกว่า โฆษก ศอฉ.ออกทีวีพูลบิดเบือนข้อเท็จจริงกรณีผู้ชุมนุมถูกยิงเสียชีวิต รัฐบาลจ้องทำลายเสื้อแดงจนขาดวิจารณญาณในการเสนอข้อมูล โยนความผิดให้ผู้อื่น และยังบีบช่อง 3 กรณีน.ส.ฐปนีย์ เอียดศรีชัย ผู้สื่อข่าวที่ทวิตเตอร์เหตุการณ์ที่สีลมคืนวันที่ 22 เม.ย. ไม่ให้ออกอากาศ ทั้งที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองนักวิชาชีพไม่ว่ารัฐหรือเจ้าของกิจการ หากจงใจใช้อำนาจมิชอบอาจโดนถอดถอนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270
จี้มาร์ค-เทือกรับผิดชอบ 28 เม.ย.
นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน อภิปรายว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันที่ 28 เม.ย. เป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ภายใต้ความรับผิดชอบของนายกฯ มีผบก. ภ.จว.กาญจนบุรีเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติ และใช้อาวุธจริง คนที่ถูกยิงมาจากอาวุธปืนลูกซอง นายกฯ และรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงต้องรับผิดชอบ และอยากให้นายชัยแก้ปัญหาโดยตั้งคณะกรรมการผ่านตัวแทนพรรคต่างๆ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อแก้ปัญหา นอก จากนี้อยากเรียกร้องพรรคร่วมรัฐบาลแสดง บทบาทมากกว่านี้
นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากเสนอรัฐบาลว่าต้องหาทางเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็ว และให้เลิกใส่ความผู้ชุมนุมว่าเป็นขบวนการล้มเจ้า เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงมาก นอกจากนี้ขอเสนอแนวทางลดอุณหภูมิทางการเมือง เช่น ให้รัฐบาลกำหนดปฏิทินว่าจะยุบสภาใน 6 เดือน และจะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร เชื่อว่าหาก นปช.ไม่ฟัง จะ เกิดกระแสต่อต้านเอง หรือหากรัฐบาลยังอยากอยู่ในอำนาจต่อก็ควรให้นายอภิสิทธิ์ออกจากนายกฯ และให้สภาเลือกนายกฯ ใหม่ หากนายอภิสิทธิ์ยังได้รับเสียงโหวตก็ไม่มีปัญหา ส่วนใครทำผิดต้องดำเนินการ
โดย.ข่าวเพื่อไทย
------------------------------------------------------------
สังคมแห่งความกลัว
การนำเสนอแผนผังเครือข่ายขบวนการล้มเจ้าของ ศอฉ. ไม่กี่วันก่อน ในทัศนะของผมเป็นการเปิดตัวอภิมหาโครงการ หรือ เมกะโปรเจค ที่โดดเด่นที่สุดของรัฐบาลอภิสิทธิ์นับแต่ก้าวขึ้นมาเป็นฝ่ายรัฐบาลภายหลังการปรับเปลี่ยนขั้วการเมืองใหม่ หากกล่าวว่ารัฐบาลทักษิณใช้นโยบายประชานิยมมอมเมาชาวบ้าน คนเล็กคนน้อย คงไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่า รัฐบาลปัจจุบันกำลังเริ่มใช้นโยบายประชานิยมมอมเมาคนชั้นกลางให้รู้สึกตื่นเต้นตระการตาสร้างแรงสนับสนุน ส่งเสริม ความชอบธรรมของรัฐบาลในการใช้อำนาจปกครองประเทศ ปิดบังความคลุมเครือและความคลางแคลงของเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ผมคิดว่าการเปิดตัวอภิมหาโครงการดังกล่าวสามารถเรียกได้ว่า เป็น “โครงการฆ่าเพื่อชาติ” ไม่ต่างจากสงครามต่อต้านยาเสพย์ติด การฆ่าตัดตอน ในสมัยทักษิณ การปลุกกระแสหลงชาติ (Chauvinism) สร้างความรู้สึกไม่มั่นคงให้กับประชาชนว่าสิ่งที่เขาหรือเธอรักกำลังตกอยู่ในอันตราย ถูกปองร้ายจากผู้ไม่หวังดี เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ และไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในสังคมการเมืองไทย เพราะ ความเป็นชาติของไทย ไม่เคยเป็นชาติของประชาชน ความเป็นชาติถูกนิยามว่าอย่างไร มีงานวิชาการจำนวนมากทั้งไทยและเทศได้อธิบายไว้มากแล้ว จึงไม่น่าจะต้องกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ แต่ความเป็นชาติก็เป็นสิ่งที่ถูกยอมรับโดยไม่ตั้งคำถาม ทำตามโดยไม่ต้องไตร่ตรองถึงตรรกะเหตุผล
จริงอยู่ที่สังคมการเมืองดำรงอยู่ได้ด้วยความเชื่อ (belief) ไม่ใช่ความรู้ (knowledge) แต่ความเชื่อเรื่องความเป็นชาติก็ทำให้ชีวิตจำนวนมากต้องสูญเสียไปมากต่อมาก ดังเห็นได้จากประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา แต่ก็อย่างที่นักคิดท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าเราไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากประวัติศาสตร์” เหตุการณ์ 6 ตุลา คือ ประวัติศาสตร์ที่สังคมการเมืองไทยไม่ได้เรียนรู้อะไรจากชีวิตที่สูญเสียไปในวันนั้น นั่นจึงทำให้ความเป็นชาติเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการ “ฆ่า” เพื่อ “ชาติ”
การฆ่าเพื่อชาตินี้จึงไม่ต่างอะไรจากการล่าแม่มดในยุคกลาง แม้ปัจจุบันจะอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสารก็ตาม ตาวิเศษของรัฐก็ติดตามจับจ้องไปทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ในอาณาบริเวณสาธารณะ หรือ อาณาบริเวณส่วนตัว อย่าง facebook การใช้การเมืองของความกลัว (politics of fear) ในการควบคุมประชาชนให้เป็นหุ่นยนต์ที่ความเป็นชาติปารถนาให้เป็น ห้ามถาม ห้ามสงสัย ทำตามได้อย่างเดียว เป็นความสำเร็จในการปลูกจิตสำนึกความเป็นชาติของรัฐไทย
แม้จะรู้สึกสงสัยว่าทำไมเมื่อไหร่จึงต้องนั่ง หรือ เมื่อไหร่ต้องเดิน ก็ไม่สามารถที่จะถามออกมาได้ เพราะถ้าถาม หรือ พูด ก็เท่ากับไม่ทำตามความเป็นชาติที่ถูกต้อง เมื่อไม่ทำตามก็เท่ากับไม่ใช่คนไทย เมื่อไม่ใช่คนไทยก็ไม่ใช่มนุษย์ เพราะ อยู่นอกบรรทัดฐาน (norm) ที่กำหนดว่าอะไรคือมนุษย์ ใครคือเพื่อนร่วมชาติที่สามารถโศกเศร้าเห็นใจ ในเมื่อไม่ได้ถูกจัดอยู่ในบรรทัดฐาน ก็เท่ากับเป็นปฏิปักษ์กับบรรทัดฐานดังกล่าว สมควรถูกกำจัดให้สิ้นซากด้วยโครงการอย่างโครงการฆ่าเพื่อชาติ
ในแง่นี้สังคมการเมืองไทยจึงสอดคล้องกับการอธิบายคุกของฟูโกต์นักคิดที่ปราดเปรื่องชาวฝรั่งเศส ในการทำให้ร่างกายตกอยู่ภายใต้การบงการ จากความรู้สึกถูกสอดส่องอยู่ตลอดเวลา เหมือนถูกกล้อง CCTV ติดตามตัวอยู่ทุกขณะ
มหกรรมฆ่าเพื่อชาติของรัฐบาลอภิสิทธิ์จึงทำให้ประชาชนจำนวนมากทำตัวไม่ต่างจากกล้อง CCTV คอยจับตาดูสิ่งมีชีวิตที่เห็นต่าง พูดต่าง คิดต่าง สังคมการเมืองไทยจึงเป็นสังคมแห่งความกลัว กลัวที่จะถูกฆ่าเพื่อชาติ บูชายันต์เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นชาติ
โดย.ภูวิน บุณยะเวชชีวิน
ที่มา.ประชาไท
----------------------------------------------------------------------
ผมคิดว่าการเปิดตัวอภิมหาโครงการดังกล่าวสามารถเรียกได้ว่า เป็น “โครงการฆ่าเพื่อชาติ” ไม่ต่างจากสงครามต่อต้านยาเสพย์ติด การฆ่าตัดตอน ในสมัยทักษิณ การปลุกกระแสหลงชาติ (Chauvinism) สร้างความรู้สึกไม่มั่นคงให้กับประชาชนว่าสิ่งที่เขาหรือเธอรักกำลังตกอยู่ในอันตราย ถูกปองร้ายจากผู้ไม่หวังดี เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ และไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในสังคมการเมืองไทย เพราะ ความเป็นชาติของไทย ไม่เคยเป็นชาติของประชาชน ความเป็นชาติถูกนิยามว่าอย่างไร มีงานวิชาการจำนวนมากทั้งไทยและเทศได้อธิบายไว้มากแล้ว จึงไม่น่าจะต้องกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ แต่ความเป็นชาติก็เป็นสิ่งที่ถูกยอมรับโดยไม่ตั้งคำถาม ทำตามโดยไม่ต้องไตร่ตรองถึงตรรกะเหตุผล
จริงอยู่ที่สังคมการเมืองดำรงอยู่ได้ด้วยความเชื่อ (belief) ไม่ใช่ความรู้ (knowledge) แต่ความเชื่อเรื่องความเป็นชาติก็ทำให้ชีวิตจำนวนมากต้องสูญเสียไปมากต่อมาก ดังเห็นได้จากประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา แต่ก็อย่างที่นักคิดท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าเราไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากประวัติศาสตร์” เหตุการณ์ 6 ตุลา คือ ประวัติศาสตร์ที่สังคมการเมืองไทยไม่ได้เรียนรู้อะไรจากชีวิตที่สูญเสียไปในวันนั้น นั่นจึงทำให้ความเป็นชาติเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการ “ฆ่า” เพื่อ “ชาติ”
การฆ่าเพื่อชาตินี้จึงไม่ต่างอะไรจากการล่าแม่มดในยุคกลาง แม้ปัจจุบันจะอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสารก็ตาม ตาวิเศษของรัฐก็ติดตามจับจ้องไปทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ในอาณาบริเวณสาธารณะ หรือ อาณาบริเวณส่วนตัว อย่าง facebook การใช้การเมืองของความกลัว (politics of fear) ในการควบคุมประชาชนให้เป็นหุ่นยนต์ที่ความเป็นชาติปารถนาให้เป็น ห้ามถาม ห้ามสงสัย ทำตามได้อย่างเดียว เป็นความสำเร็จในการปลูกจิตสำนึกความเป็นชาติของรัฐไทย
แม้จะรู้สึกสงสัยว่าทำไมเมื่อไหร่จึงต้องนั่ง หรือ เมื่อไหร่ต้องเดิน ก็ไม่สามารถที่จะถามออกมาได้ เพราะถ้าถาม หรือ พูด ก็เท่ากับไม่ทำตามความเป็นชาติที่ถูกต้อง เมื่อไม่ทำตามก็เท่ากับไม่ใช่คนไทย เมื่อไม่ใช่คนไทยก็ไม่ใช่มนุษย์ เพราะ อยู่นอกบรรทัดฐาน (norm) ที่กำหนดว่าอะไรคือมนุษย์ ใครคือเพื่อนร่วมชาติที่สามารถโศกเศร้าเห็นใจ ในเมื่อไม่ได้ถูกจัดอยู่ในบรรทัดฐาน ก็เท่ากับเป็นปฏิปักษ์กับบรรทัดฐานดังกล่าว สมควรถูกกำจัดให้สิ้นซากด้วยโครงการอย่างโครงการฆ่าเพื่อชาติ
ในแง่นี้สังคมการเมืองไทยจึงสอดคล้องกับการอธิบายคุกของฟูโกต์นักคิดที่ปราดเปรื่องชาวฝรั่งเศส ในการทำให้ร่างกายตกอยู่ภายใต้การบงการ จากความรู้สึกถูกสอดส่องอยู่ตลอดเวลา เหมือนถูกกล้อง CCTV ติดตามตัวอยู่ทุกขณะ
มหกรรมฆ่าเพื่อชาติของรัฐบาลอภิสิทธิ์จึงทำให้ประชาชนจำนวนมากทำตัวไม่ต่างจากกล้อง CCTV คอยจับตาดูสิ่งมีชีวิตที่เห็นต่าง พูดต่าง คิดต่าง สังคมการเมืองไทยจึงเป็นสังคมแห่งความกลัว กลัวที่จะถูกฆ่าเพื่อชาติ บูชายันต์เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นชาติ
โดย.ภูวิน บุณยะเวชชีวิน
ที่มา.ประชาไท
----------------------------------------------------------------------
การเมืองของเสื้อแดง
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ดังที่เห็นกันอยู่แล้วว่า ขบวนการเสื้อแดงนั้นเป็นทรัพยากรการเมืองที่ใหญ่มาก มีประโยชน์ทั้งต่อหีบบัตรเลือกตั้ง และการเคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบอื่นๆ จึงไม่แปลกอะไรที่มีคนหลากหลายประเภท กระโดดเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ในบัดนี้ ก็ยอมรับกันแล้วว่า ขบวนการเสื้อแดงไม่ได้เป็น "เนื้อเดียวกัน" กล่าวคือ ประกอบด้วยคนที่มีความฝันทางการเมือง, ความต้องการ, วัตถุประสงค์, ปูมหลัง ฯลฯ หลากหลาย การแบ่งกลุ่มที่ชัดเจนอาจต้องการการวิจัย แต่อย่างน้อยก็น่าจะยอมรับได้ว่าขบวนการเสื้อแดงไม่ใช่ "เนื้อเดียวกัน"
นอกจากไม่ใช่ "เนื้อเดียวกัน" แล้ว ขบวนการเสื้อแดงยังไม่ "สถิต" อีกด้วย หมายความว่ามีการเปลี่ยนแนวทาง, เป้าหมาย, ขยายตัว, หดตัว, การจัดองค์กร, การนำ ฯลฯ อยู่ตลอดเวลา ก็เหมือนขบวนการทางสังคมและการเมืองทั้งหลายในโลกนี้ ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง แต่ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนาของแกนนำ
เพราะขาดข้อมูลที่เก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ ผมจึงไม่ต้องการจะชี้ว่า มีใครบ้างที่ประกอบกันขึ้นเป็นขบวนการเสื้อแดงใน พ.ศ.นี้ แต่ผมอยากเสนอแนะให้เห็นว่า มีใครบ้างที่เข้าไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองกับทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้ เพราะนั่นพอจะมองเห็นได้ง่ายกว่า ทั้งจากเวทีเสื้อแดง, อุบัติการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น, และเวทีของฝ่ายรัฐบาล
1/ คุณทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะในตอนเริ่มต้นหลังการรัฐประหาร ก่อนที่คุณทักษิณจะมีโทษทางอาญาติดตัว การเคลื่อนไหวของขบวนการเสื้อแดงย่อมเป็นฐานคะแนนเสียงที่ดีของคุณทักษิณ จนกระทั่งปฏิปักษ์ของคุณทักษิณย่อมเลือกจะประนีประนอมกับคุณทักษิณ มากกว่าหักกันจนพินาศไปข้างหนึ่ง แต่หลังจากคุณทักษิณถูกพิพากษาให้จำคุกแล้ว
ขบวนการเสื้อแดงจะเป็นประโยชน์ทางการเมืองแก่คุณทักษิณได้ ขบวนการต้องนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขนานใหญ่ พอที่จะเปิดช่องให้คุณทักษิณกลับมามีอำนาจทางการเมือง เพราะจะนั่งรอให้มีการเลือกตั้งทั่วไปหลังการรัฐประหารไม่ได้เสียแล้ว
ที่เหนือกว่าเงินของคุณทักษิณ คือความนิยมอย่างล้นเหลือที่คุณทักษิณได้รับจากประชาชนในชนบท และด้วยเหตุดังนั้น ขบวนการเสื้อแดงจึงกลายเป็นบันไดสำหรับไต่เข้าสู่วงการเมืองที่ดี โดยเฉพาะเมื่อผู้บริหารพรรค ทรท.ถูกสั่งห้ามเล่นการเมืองแล้ว จึงมีนักการเมืองหลายระดับเข้ามาร่วมกับคนเสื้อแดง เพื่อชูคุณทักษิณสำหรับการเลือกตั้ง
แต่ขบวนการเสื้อแดงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดึงดูดเอาผู้คนเข้ามาร่วมอีกมากมาย รวมทั้งคนที่ไม่ใส่ใจว่าคุณทักษิณจะกลับมามีอำนาจหรือไม่ รวมแม้กระทั่งคนที่ไม่ได้ชื่นชอบคุณทักษิณเองด้วย และดังที่ผมเคยกล่าวไว้ในที่อื่นแล้วว่า คนเหล่านี้คือคนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งเลิกเป็นเกษตรกรรายย่อยไปนานแล้ว ฐานการผลิตของเขาอยู่ในตลาดเต็มตัว
มีความจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะทุกระดับ แต่มาพบตัวเองอยู่ในโครงสร้างการเมืองที่ไม่เปิดโอกาสให้ตัวได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง มากกว่าการเลือกตั้ง (ซึ่งก็ถูกทำให้เป็นหมันไปเสียอีก เพราะการรัฐประหารหรือการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร)
ผมอยากเดาว่านี่คือกลุ่มคนที่ใหญ่สุดในขบวนการเสื้อแดง ไม่ใช่ "คนจน" ดักดานที่เป็นแรงงานรับจ้างภาคการเกษตร หรือแรงงานรับจ้างรายวันที่ไม่มีงานทำตลอดปี และไม่ใช่ซาเล้งที่ซุกตัวอยู่ตามสลัมในเมืองใหญ่
และด้วยเหตุดังนั้น ขบวนการเสื้อแดงจึงมีลักษณะ "ปฏิวัติ" มากขึ้น จนกระทั่งหากคุณทักษิณเป็นนายกฯอยู่เอง ก็คงร้องไอ๊หยาเหมือนกัน "ประชาธิปไตย" ที่เขาเรียกร้องจึงแตกต่างจาก "ประชาธิปไตย" ของนักวิชาการและปัญญาชนสาธารณะเป็นส่วนใหญ่ และง่ายที่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ในขณะเดียวกัน ชื่อของ "ทักษิณ" ก็กลายความหมายจากคนหน้าเหลี่ยม เป็นสัญลักษณ์ของรัฐที่อาทรต่อคนเล็กๆ มากขึ้น และไม่ใช่อาทรในลักษณะสังคมสงเคราะห์ แต่เป็นความอาทรในลักษณะรัฐสวัสดิการ กล่าวคือเป็นสิทธิ ไม่ใช่ความน่าสงสาร
2/ ในฐานะทรัพยากรการเมืองที่ใหญ่โตขนาดนี้ ไม่แปลกอะไรที่จะมีการช่วงชิงการนำกันอย่างอุตลุด ความแตกร้าวระหว่างกลุ่ม "สามเกลอ" กับ "สายเหยี่ยว" เป็นที่รู้กันดี
ความสำเร็จในการนำการประท้วงในครั้งนี้ ทำให้ "สามเกลอ" พ้นสภาพความเป็นเครื่องมือของใครทั้งสิ้น เขากลายเป็นพลังทางการเมืองในตัวของตัวเอง ซ้ำยังมีมวลชนสนับสนุนจำนวนมาก นำความวิตกแก่คนอื่นที่ต้องการเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้มากขึ้น แม้แต่คุณทักษิณ ชินวัตร เองก็ต้องหมั่นโฟนอินเข้ามาบ่อยเกินความจำเป็น
(และไม่เป็นผลดีต่อการประท้วงนัก) เพราะคุณทักษิณเองก็เกรงว่าทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้จะหลุดมือตนไปเหมือนกัน
กลุ่ม "สายเหยี่ยว" ซึ่งเคยปรามาสไว้ว่า "สันติวิธี" จะไม่นำไปสู่ความสำเร็จใดๆ คงรู้สึกเหมือนกันว่า หากการประท้วงนำไปสู่การยุบสภาได้ ทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้จะยิ่งหลุดจากมือของตนมากขึ้น จึงต้องพยายามหาบทบาทบางอย่างอยู่เบื้องหลัง
ในขณะเดียวกัน ความขาดเอกภาพในกองทัพและตำรวจ ทำให้การปฏิบัติตามคำสั่งเป็นไปอย่างลังเล นับตั้งแต่การผ่อนปรนมากกว่าที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ ไปจนถึงอาจจะแทรกเข้ามาเป็น "มือที่สาม" ด้วย
3/ นักการเมืองฝ่ายค้าน ซึ่งเคยเกาะชื่อของคุณทักษิณอย่างเหนียวแน่น คงมาพบด้วยความประหลาดใจว่า ชื่อคุณทักษิณมีความหมายน้อยลงในขบวนการเสื้อแดงที่ทำการประท้วงขณะนี้ จึงเรียงหน้ากันขึ้นเวทีเสื้อแดงอย่างหนาแน่นกว่าทุกครั้ง ขบวนการเสื้อแดงเป็นทรัพยากรการเมืองที่สำคัญกว่าคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นอันมาก ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องเกาะเกี่ยวเอาไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็ดูจะอึกๆ อักๆ ในการปราศรัย เพราะจับอารมณ์ของประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมไม่ได้
เพราะไม่ใช่ภาพที่ตัวเข้าใจตลอดมา
4/ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทุกฝ่ายแม้แต่ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับขบวนการเสื้อแดง คงยอมรับว่าขบวนการเสื้อแดงเป็นทรัพยากรการเมืองที่ใหญ่มหึมา อย่างที่ไม่เคยพบในประเทศไทยมาก่อน อย่านึกแต่จำนวนคนที่เดินทางมาร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ต้องคิดถึงกองหลังนับตั้งแต่ลูกเมีย (ผัว) ที่อยู่ข้างหลัง เงินและเสบียงกรังที่ส่งลงมาเสริมตลอดเวลา
ตลอดจนแรงสนับสนุนอย่างเข้มแข็งทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดของคนอีกจำนวนมาก
แม้จะถูกสลายการชุมนุมลงได้ในที่สุด (ด้วยวิธีรุนแรงหรือวิธีไม่รุนแรงก็ตาม) ทรัพยากรการเมืองนี้ก็จะไม่สลายตัวลง
ปัญหาคือจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนี้อย่างไร ไม่ว่าจะผ่านหีบบัตรเลือกตั้ง หรือผ่านการโบกธง
น่าประหลาดที่ชนชั้นนำไทยที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นนำตามจารีต หรือชนชั้นนำในระบบทุน มองไม่เห็นช่องทางที่จะใช้ประโยชน์ทางการเมืองกับทรัพยากรนี้เลย กลับมุ่งแต่จะทำลายล้างลงด้วยทรัพยากรที่มีในมือ นับตั้งแต่การใช้สื่อ, การใช้อำนาจรัฐควบคุมสื่อ, การปลุกม็อบขึ้นต่อต้าน, การอ้างอุดมการณ์เดิม (ชาติ, ศาสน์, กษัตริย์)
ซึ่งแม้ยังมีความศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็อาจตีความไปได้หลายแง่หลายมุม โดยไม่สำนึกว่าสังคมไทยในปัจจุบันนั้น แม้ยังยึดถืออุดมการณ์เดิม แต่อยู่ในช่วงที่กำลังตีความอุดมการณ์ใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว
ว่าเฉพาะนักการเมืองทั้งในซีกฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลนั้น เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือตามความเปลี่ยนแปลงทางสังคมไม่ทัน และด้วยเหตุดังนั้นจึงคิดว่าขบวนการเสื้อแดงนั้นเป็น "เนื้อเดียวกัน" และ "สถิต" เหมือนกัน ฝ่ายค้านเกาะชื่อทักษิณเพื่อนำไปสู่หีบบัตรเลือกตั้ง ฝ่ายประชาธิปัตย์เกาะชื่อทักษิณ
เพื่อเก็บความรังเกียจทักษิณเอาไว้เป็นคะแนนเสียงของตน
อันที่จริง หากมองขบวนการเสื้อแดงเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สลับซับซ้อน และเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ก็จะเห็นได้ว่าเราไม่อาจขจัดขบวนการนี้ลงไปได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีรุนแรงหรือวิธีอื่น นอกจากต้องปรับเปลี่ยนระบบการเมืองเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงนี้
จริงอย่างที่นักสันติวิธีชอบพูดคือ เราต้องฟังกันให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่ฟังแกนนำ หากต้องฟังประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุม ทั้งแดงและเหลือง เราก็จะสามารถจับสำนึกทางการเมืองใหม่ๆ ที่ผลักพวกเขาเข้าร่วมชุมนุม ไม่ใช่สิ่งที่แกนนำปราศรัย เราก็จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในสังคมไทยมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อคนต่างกลุ่มไม่เหมือนกัน
แล้วเราก็จะสามารถจัดระบบให้เกิดการต่อรองที่เท่าเทียมกัน ระหว่างความต้องการที่แตกต่างได้โดยสงบ
ที่มา:มติชนออนไลน์
--------------------------------------------------------------------
ดังที่เห็นกันอยู่แล้วว่า ขบวนการเสื้อแดงนั้นเป็นทรัพยากรการเมืองที่ใหญ่มาก มีประโยชน์ทั้งต่อหีบบัตรเลือกตั้ง และการเคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบอื่นๆ จึงไม่แปลกอะไรที่มีคนหลากหลายประเภท กระโดดเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ในบัดนี้ ก็ยอมรับกันแล้วว่า ขบวนการเสื้อแดงไม่ได้เป็น "เนื้อเดียวกัน" กล่าวคือ ประกอบด้วยคนที่มีความฝันทางการเมือง, ความต้องการ, วัตถุประสงค์, ปูมหลัง ฯลฯ หลากหลาย การแบ่งกลุ่มที่ชัดเจนอาจต้องการการวิจัย แต่อย่างน้อยก็น่าจะยอมรับได้ว่าขบวนการเสื้อแดงไม่ใช่ "เนื้อเดียวกัน"
นอกจากไม่ใช่ "เนื้อเดียวกัน" แล้ว ขบวนการเสื้อแดงยังไม่ "สถิต" อีกด้วย หมายความว่ามีการเปลี่ยนแนวทาง, เป้าหมาย, ขยายตัว, หดตัว, การจัดองค์กร, การนำ ฯลฯ อยู่ตลอดเวลา ก็เหมือนขบวนการทางสังคมและการเมืองทั้งหลายในโลกนี้ ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง แต่ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนาของแกนนำ
เพราะขาดข้อมูลที่เก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ ผมจึงไม่ต้องการจะชี้ว่า มีใครบ้างที่ประกอบกันขึ้นเป็นขบวนการเสื้อแดงใน พ.ศ.นี้ แต่ผมอยากเสนอแนะให้เห็นว่า มีใครบ้างที่เข้าไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองกับทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้ เพราะนั่นพอจะมองเห็นได้ง่ายกว่า ทั้งจากเวทีเสื้อแดง, อุบัติการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น, และเวทีของฝ่ายรัฐบาล
1/ คุณทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะในตอนเริ่มต้นหลังการรัฐประหาร ก่อนที่คุณทักษิณจะมีโทษทางอาญาติดตัว การเคลื่อนไหวของขบวนการเสื้อแดงย่อมเป็นฐานคะแนนเสียงที่ดีของคุณทักษิณ จนกระทั่งปฏิปักษ์ของคุณทักษิณย่อมเลือกจะประนีประนอมกับคุณทักษิณ มากกว่าหักกันจนพินาศไปข้างหนึ่ง แต่หลังจากคุณทักษิณถูกพิพากษาให้จำคุกแล้ว
ขบวนการเสื้อแดงจะเป็นประโยชน์ทางการเมืองแก่คุณทักษิณได้ ขบวนการต้องนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขนานใหญ่ พอที่จะเปิดช่องให้คุณทักษิณกลับมามีอำนาจทางการเมือง เพราะจะนั่งรอให้มีการเลือกตั้งทั่วไปหลังการรัฐประหารไม่ได้เสียแล้ว
ที่เหนือกว่าเงินของคุณทักษิณ คือความนิยมอย่างล้นเหลือที่คุณทักษิณได้รับจากประชาชนในชนบท และด้วยเหตุดังนั้น ขบวนการเสื้อแดงจึงกลายเป็นบันไดสำหรับไต่เข้าสู่วงการเมืองที่ดี โดยเฉพาะเมื่อผู้บริหารพรรค ทรท.ถูกสั่งห้ามเล่นการเมืองแล้ว จึงมีนักการเมืองหลายระดับเข้ามาร่วมกับคนเสื้อแดง เพื่อชูคุณทักษิณสำหรับการเลือกตั้ง
แต่ขบวนการเสื้อแดงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดึงดูดเอาผู้คนเข้ามาร่วมอีกมากมาย รวมทั้งคนที่ไม่ใส่ใจว่าคุณทักษิณจะกลับมามีอำนาจหรือไม่ รวมแม้กระทั่งคนที่ไม่ได้ชื่นชอบคุณทักษิณเองด้วย และดังที่ผมเคยกล่าวไว้ในที่อื่นแล้วว่า คนเหล่านี้คือคนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งเลิกเป็นเกษตรกรรายย่อยไปนานแล้ว ฐานการผลิตของเขาอยู่ในตลาดเต็มตัว
มีความจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะทุกระดับ แต่มาพบตัวเองอยู่ในโครงสร้างการเมืองที่ไม่เปิดโอกาสให้ตัวได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง มากกว่าการเลือกตั้ง (ซึ่งก็ถูกทำให้เป็นหมันไปเสียอีก เพราะการรัฐประหารหรือการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร)
ผมอยากเดาว่านี่คือกลุ่มคนที่ใหญ่สุดในขบวนการเสื้อแดง ไม่ใช่ "คนจน" ดักดานที่เป็นแรงงานรับจ้างภาคการเกษตร หรือแรงงานรับจ้างรายวันที่ไม่มีงานทำตลอดปี และไม่ใช่ซาเล้งที่ซุกตัวอยู่ตามสลัมในเมืองใหญ่
และด้วยเหตุดังนั้น ขบวนการเสื้อแดงจึงมีลักษณะ "ปฏิวัติ" มากขึ้น จนกระทั่งหากคุณทักษิณเป็นนายกฯอยู่เอง ก็คงร้องไอ๊หยาเหมือนกัน "ประชาธิปไตย" ที่เขาเรียกร้องจึงแตกต่างจาก "ประชาธิปไตย" ของนักวิชาการและปัญญาชนสาธารณะเป็นส่วนใหญ่ และง่ายที่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ในขณะเดียวกัน ชื่อของ "ทักษิณ" ก็กลายความหมายจากคนหน้าเหลี่ยม เป็นสัญลักษณ์ของรัฐที่อาทรต่อคนเล็กๆ มากขึ้น และไม่ใช่อาทรในลักษณะสังคมสงเคราะห์ แต่เป็นความอาทรในลักษณะรัฐสวัสดิการ กล่าวคือเป็นสิทธิ ไม่ใช่ความน่าสงสาร
2/ ในฐานะทรัพยากรการเมืองที่ใหญ่โตขนาดนี้ ไม่แปลกอะไรที่จะมีการช่วงชิงการนำกันอย่างอุตลุด ความแตกร้าวระหว่างกลุ่ม "สามเกลอ" กับ "สายเหยี่ยว" เป็นที่รู้กันดี
ความสำเร็จในการนำการประท้วงในครั้งนี้ ทำให้ "สามเกลอ" พ้นสภาพความเป็นเครื่องมือของใครทั้งสิ้น เขากลายเป็นพลังทางการเมืองในตัวของตัวเอง ซ้ำยังมีมวลชนสนับสนุนจำนวนมาก นำความวิตกแก่คนอื่นที่ต้องการเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้มากขึ้น แม้แต่คุณทักษิณ ชินวัตร เองก็ต้องหมั่นโฟนอินเข้ามาบ่อยเกินความจำเป็น
(และไม่เป็นผลดีต่อการประท้วงนัก) เพราะคุณทักษิณเองก็เกรงว่าทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้จะหลุดมือตนไปเหมือนกัน
กลุ่ม "สายเหยี่ยว" ซึ่งเคยปรามาสไว้ว่า "สันติวิธี" จะไม่นำไปสู่ความสำเร็จใดๆ คงรู้สึกเหมือนกันว่า หากการประท้วงนำไปสู่การยุบสภาได้ ทรัพยากรการเมืองชิ้นนี้จะยิ่งหลุดจากมือของตนมากขึ้น จึงต้องพยายามหาบทบาทบางอย่างอยู่เบื้องหลัง
ในขณะเดียวกัน ความขาดเอกภาพในกองทัพและตำรวจ ทำให้การปฏิบัติตามคำสั่งเป็นไปอย่างลังเล นับตั้งแต่การผ่อนปรนมากกว่าที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ ไปจนถึงอาจจะแทรกเข้ามาเป็น "มือที่สาม" ด้วย
3/ นักการเมืองฝ่ายค้าน ซึ่งเคยเกาะชื่อของคุณทักษิณอย่างเหนียวแน่น คงมาพบด้วยความประหลาดใจว่า ชื่อคุณทักษิณมีความหมายน้อยลงในขบวนการเสื้อแดงที่ทำการประท้วงขณะนี้ จึงเรียงหน้ากันขึ้นเวทีเสื้อแดงอย่างหนาแน่นกว่าทุกครั้ง ขบวนการเสื้อแดงเป็นทรัพยากรการเมืองที่สำคัญกว่าคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นอันมาก ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องเกาะเกี่ยวเอาไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็ดูจะอึกๆ อักๆ ในการปราศรัย เพราะจับอารมณ์ของประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมไม่ได้
เพราะไม่ใช่ภาพที่ตัวเข้าใจตลอดมา
4/ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทุกฝ่ายแม้แต่ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับขบวนการเสื้อแดง คงยอมรับว่าขบวนการเสื้อแดงเป็นทรัพยากรการเมืองที่ใหญ่มหึมา อย่างที่ไม่เคยพบในประเทศไทยมาก่อน อย่านึกแต่จำนวนคนที่เดินทางมาร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ต้องคิดถึงกองหลังนับตั้งแต่ลูกเมีย (ผัว) ที่อยู่ข้างหลัง เงินและเสบียงกรังที่ส่งลงมาเสริมตลอดเวลา
ตลอดจนแรงสนับสนุนอย่างเข้มแข็งทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดของคนอีกจำนวนมาก
แม้จะถูกสลายการชุมนุมลงได้ในที่สุด (ด้วยวิธีรุนแรงหรือวิธีไม่รุนแรงก็ตาม) ทรัพยากรการเมืองนี้ก็จะไม่สลายตัวลง
ปัญหาคือจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนี้อย่างไร ไม่ว่าจะผ่านหีบบัตรเลือกตั้ง หรือผ่านการโบกธง
น่าประหลาดที่ชนชั้นนำไทยที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นนำตามจารีต หรือชนชั้นนำในระบบทุน มองไม่เห็นช่องทางที่จะใช้ประโยชน์ทางการเมืองกับทรัพยากรนี้เลย กลับมุ่งแต่จะทำลายล้างลงด้วยทรัพยากรที่มีในมือ นับตั้งแต่การใช้สื่อ, การใช้อำนาจรัฐควบคุมสื่อ, การปลุกม็อบขึ้นต่อต้าน, การอ้างอุดมการณ์เดิม (ชาติ, ศาสน์, กษัตริย์)
ซึ่งแม้ยังมีความศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็อาจตีความไปได้หลายแง่หลายมุม โดยไม่สำนึกว่าสังคมไทยในปัจจุบันนั้น แม้ยังยึดถืออุดมการณ์เดิม แต่อยู่ในช่วงที่กำลังตีความอุดมการณ์ใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว
ว่าเฉพาะนักการเมืองทั้งในซีกฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลนั้น เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือตามความเปลี่ยนแปลงทางสังคมไม่ทัน และด้วยเหตุดังนั้นจึงคิดว่าขบวนการเสื้อแดงนั้นเป็น "เนื้อเดียวกัน" และ "สถิต" เหมือนกัน ฝ่ายค้านเกาะชื่อทักษิณเพื่อนำไปสู่หีบบัตรเลือกตั้ง ฝ่ายประชาธิปัตย์เกาะชื่อทักษิณ
เพื่อเก็บความรังเกียจทักษิณเอาไว้เป็นคะแนนเสียงของตน
อันที่จริง หากมองขบวนการเสื้อแดงเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สลับซับซ้อน และเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ก็จะเห็นได้ว่าเราไม่อาจขจัดขบวนการนี้ลงไปได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีรุนแรงหรือวิธีอื่น นอกจากต้องปรับเปลี่ยนระบบการเมืองเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงนี้
จริงอย่างที่นักสันติวิธีชอบพูดคือ เราต้องฟังกันให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่ฟังแกนนำ หากต้องฟังประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุม ทั้งแดงและเหลือง เราก็จะสามารถจับสำนึกทางการเมืองใหม่ๆ ที่ผลักพวกเขาเข้าร่วมชุมนุม ไม่ใช่สิ่งที่แกนนำปราศรัย เราก็จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในสังคมไทยมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อคนต่างกลุ่มไม่เหมือนกัน
แล้วเราก็จะสามารถจัดระบบให้เกิดการต่อรองที่เท่าเทียมกัน ระหว่างความต้องการที่แตกต่างได้โดยสงบ
ที่มา:มติชนออนไลน์
--------------------------------------------------------------------
การพยายามหลีกเลี่ยงปะทะนองเลือด"
บทวิเคราะห์ล่าสุดจาก ดิ อิโคโนมิสต์วิพากษ์กระแสรอยัลลิสต์และขบวนการรอยัลลิสต์ที่นำทีมโดยจำลอง ศรีเมือง ซึ่งถูกดึงมาใช้อย่างสุดโต่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเข้ามาเป็นอีกปัจจัยแทรกต่อการหาทางลงให้กับวิกฤตการเมืองไทยรอบนี้
000
จำลอง ศรีเมือง เป็นรอยัลลิสท์ตัวป่วนทางการเมืองที่นาน ๆ ครั้งจะพูดอะไรมีเหตุผล แต่ในตอนที่เขาอธิบายว่าประเทศไทยดู "เหมือนไม่มีรัฐบาล ทหาร หรือตำรวจ" เขาก็มีส่วนถูกอยู่ เมื่อมีผู้ชุมนุมเสื้อแดงจำนวนมากยึดครองพื้นที่ส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ อยู่มามากกว่า 6 สัปดาห์แล้ว ธุรกิจซบเซาลง การโจมตีด้วยระเบิดในวันที่ 22 เม.ย. ที่ทำอันตรายให้กับฝ่ายที่ชุมนุมนับสนุนรัฐบาล จนทำให้ต่างประเทศต้องออกมาเตือนนักท่องเที่ยว ในวันที่ 28 เม.ย. เหตุปะทะกันทำให้มีทหารเสียชีวิต 1 ราย และแน่นอนว่าสาเหตุมาจาก "การยิงโดนพวกเดียวกันเอง" (friendly fire) มีความไม่สงบขยายตัวไปยังหลายจังหวัดจากการที่เสื้อแดงพยายามหยุดตำรวจ-ทหาร ไม่ให้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ
จำลอง เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้การชุมนุมจบลงโดยไม่เลือกวิธีการ การปะทะกันครั้งใหญ่ระหว่างผู้ชุมนุมกับทหารในวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 25 ราย และมีราว 800 ได้รับบาดเจ็บ รัฐบาลบอกว่ามีคนที่ยิงใส่ทหารเป็นไอ้โม่งดำที่เป็น "ผู้ก่อการร้าย" ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นทหารที่อยู่อีกฝ่าย ขณะที่ฝ่ายแกนนำปฏิเสธในเรื่องมือปืน ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าหากมีการโจมตีฐานที่มั่นของเสื้อแดงใจกลางกรุงเทพฯ พวกเขาก็จะถูกตอบโต้ในลักษณะใกล้เคียงกันและยิ่งทำให้เกิดการสูญเสียมากขึ้นไปอีก ส่วน พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา ดูจะต้องการให้มีการประนีประนอมทางการเมืองมากกว่าการปราบปรามการชุมนุม
มาจนถึงตอนนี้ยังไม่มีท่าทีว่าผลลัพธ์จะไปในทางใดเลย ในวันที่ 23 เม.ย. แกนนำเสื้อแดงลดข้อเสนอของตัวเองลงโดยเสนอเส้นตายให้มีการยุบสภาภายใน 3 เดือน อภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อเสนอนี้โดยทันที และบอกว่าการยุบสภาจะไม่ช่วยแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองไทย ทั้งสองฝายเริ่มแข็งกร้าวต่อกันอีกครั้ง แต่ประตูสู่การเจรจายังคงเปิดอยู่ และความเป็นไปได้คือข้อเสนอที่จะให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 เดือน แต่สำหรับเสื้อแดงเดนตายทั้งหลายแล้วนั่นเป็นข้อเสนอที่ถอยหลังเข้าคลองโดยสิ้นเชิง และมันยังเป็นข้อเสนอที่ไมน่าได้รับการยอมรับจากพรรคร่วมของอภิสิทธิ์ด้วย เนื่องจากพวกเขากลัวถูกครอบงำโดยเสื้อแดง แต่มันก็เป้นข้อเสนอที่น่าจะทำให้ประเทศไทยถอยกลับออกมาจากการปะทะกันอย่างรุนแรง
อภิสิทธิ์ อาจจะพูดถูกที่ว่าการเลือกตั้งอย่างเดียวไม่ได้ช่วยแก้ไขวิกฤติการเมืองที่ฝังรากลึก และอาจทำให้ม็อบผู้โกรธแค้นถูกดำเนินคดีอย่างเลวร้าย แต่เมื่อลองมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2008 ตอนที่จำลองและกลุ่มเสื้อเหลืองพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปิดสนามบิน นั่นคือสิ่งที่ทำให้อภิสิทธิ์เข้าสู่อำนาจ ในตอนนี้เขาเองก็ดูจะเผยธาตุแท้ออกมาเรื่อย ๆ ชาวกรุงเทพฯ เริ่มเบื่อหน่ายกับการชุมนุมและคิดถึงห้างสรรพสินค้าของพวกเขา มีกลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันรายวันเพื่อร้องเพลงแสดงความรักชาติและตะโกนด่าทอเสื้อแดงว่าเป็นชาวนาโง่ ๆ จากบ้านนอก
ภายใต้การประกาศ พรก. ฉุกเฉิน นี้รัฐบาลสามารถสั่งห้ามการชุมนุมอย่างการชุมนุมของกลุ่มเสื้อหลากสีได้ แต่แทนที่จะทำเช่นนั้น พวกเขากลับสนับสนุนอยู่เงียบ ๆ เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเสื้อแดงก็เป็นแค่หนึ่งในกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่งเท่านั้น มาจนถึงตอนนี้พันธมิตรฯ ยังคงไม่ลงมาบนท้องถนน แต่พวกเขาก็คงคัน ๆ อยากจะลงมาเต็มที พวกเขาแสร้งทำให้วิกฤติการเมืองนี้กลายเป็นเรื่องการต่อสู้เพื่อสถาบันจากอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ที่ยังคงเป็นฮีโร่สำหรับเสื้อแดงหลาย ๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นแรงงานหรือคนในชนบท ต่างจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่อยู่ในลำดับชั้น 'ผู้ดี'
การแสดงออกเกินพอดี (hysteria) ของรอยัลลิสท์เป็น 'นามบัตร' ของพันธมิตรฯ มานานแล้ว น่าเป็นห่วงว่ามันถูกดึงขึ้นมาโดยอภิสิทธิ์และหัวหน้ากองรักษาความสงบของเขา ในวันที่ 26 เม.ย. โฆษกของหน่วยงานกลางอ้างว่าพวกเขาได้ขุดคุ้ยถึงแผนการต่อต้านสถาบันจากแกนนำเสื้อแดงและผู้ต่อต้านต้านรัฐบาลคนอื่น ๆ มีการปฏิเสธกลับอย่างรวดเร็วและอย่างแข็งกร้าวรวมไปถึงการเตือนว่า 'การใส่ความ' ดังกล่าวอาจเป็นข้ออ้างหาความชอบธรรมในการใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม เช่นเดียวกับที่เกิดในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฎกรรมจากการปะทะขึ้นอีก ทั้งสองฝ่ายควรจะคอยควบคุมพวกหัวแข็งของตัวเองไว้ให้ดี
ที่มา.ประชาไท
----------------------------------------------------------------------
000
จำลอง ศรีเมือง เป็นรอยัลลิสท์ตัวป่วนทางการเมืองที่นาน ๆ ครั้งจะพูดอะไรมีเหตุผล แต่ในตอนที่เขาอธิบายว่าประเทศไทยดู "เหมือนไม่มีรัฐบาล ทหาร หรือตำรวจ" เขาก็มีส่วนถูกอยู่ เมื่อมีผู้ชุมนุมเสื้อแดงจำนวนมากยึดครองพื้นที่ส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ อยู่มามากกว่า 6 สัปดาห์แล้ว ธุรกิจซบเซาลง การโจมตีด้วยระเบิดในวันที่ 22 เม.ย. ที่ทำอันตรายให้กับฝ่ายที่ชุมนุมนับสนุนรัฐบาล จนทำให้ต่างประเทศต้องออกมาเตือนนักท่องเที่ยว ในวันที่ 28 เม.ย. เหตุปะทะกันทำให้มีทหารเสียชีวิต 1 ราย และแน่นอนว่าสาเหตุมาจาก "การยิงโดนพวกเดียวกันเอง" (friendly fire) มีความไม่สงบขยายตัวไปยังหลายจังหวัดจากการที่เสื้อแดงพยายามหยุดตำรวจ-ทหาร ไม่ให้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ
จำลอง เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้การชุมนุมจบลงโดยไม่เลือกวิธีการ การปะทะกันครั้งใหญ่ระหว่างผู้ชุมนุมกับทหารในวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 25 ราย และมีราว 800 ได้รับบาดเจ็บ รัฐบาลบอกว่ามีคนที่ยิงใส่ทหารเป็นไอ้โม่งดำที่เป็น "ผู้ก่อการร้าย" ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นทหารที่อยู่อีกฝ่าย ขณะที่ฝ่ายแกนนำปฏิเสธในเรื่องมือปืน ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าหากมีการโจมตีฐานที่มั่นของเสื้อแดงใจกลางกรุงเทพฯ พวกเขาก็จะถูกตอบโต้ในลักษณะใกล้เคียงกันและยิ่งทำให้เกิดการสูญเสียมากขึ้นไปอีก ส่วน พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา ดูจะต้องการให้มีการประนีประนอมทางการเมืองมากกว่าการปราบปรามการชุมนุม
มาจนถึงตอนนี้ยังไม่มีท่าทีว่าผลลัพธ์จะไปในทางใดเลย ในวันที่ 23 เม.ย. แกนนำเสื้อแดงลดข้อเสนอของตัวเองลงโดยเสนอเส้นตายให้มีการยุบสภาภายใน 3 เดือน อภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อเสนอนี้โดยทันที และบอกว่าการยุบสภาจะไม่ช่วยแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองไทย ทั้งสองฝายเริ่มแข็งกร้าวต่อกันอีกครั้ง แต่ประตูสู่การเจรจายังคงเปิดอยู่ และความเป็นไปได้คือข้อเสนอที่จะให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 เดือน แต่สำหรับเสื้อแดงเดนตายทั้งหลายแล้วนั่นเป็นข้อเสนอที่ถอยหลังเข้าคลองโดยสิ้นเชิง และมันยังเป็นข้อเสนอที่ไมน่าได้รับการยอมรับจากพรรคร่วมของอภิสิทธิ์ด้วย เนื่องจากพวกเขากลัวถูกครอบงำโดยเสื้อแดง แต่มันก็เป้นข้อเสนอที่น่าจะทำให้ประเทศไทยถอยกลับออกมาจากการปะทะกันอย่างรุนแรง
อภิสิทธิ์ อาจจะพูดถูกที่ว่าการเลือกตั้งอย่างเดียวไม่ได้ช่วยแก้ไขวิกฤติการเมืองที่ฝังรากลึก และอาจทำให้ม็อบผู้โกรธแค้นถูกดำเนินคดีอย่างเลวร้าย แต่เมื่อลองมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2008 ตอนที่จำลองและกลุ่มเสื้อเหลืองพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปิดสนามบิน นั่นคือสิ่งที่ทำให้อภิสิทธิ์เข้าสู่อำนาจ ในตอนนี้เขาเองก็ดูจะเผยธาตุแท้ออกมาเรื่อย ๆ ชาวกรุงเทพฯ เริ่มเบื่อหน่ายกับการชุมนุมและคิดถึงห้างสรรพสินค้าของพวกเขา มีกลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันรายวันเพื่อร้องเพลงแสดงความรักชาติและตะโกนด่าทอเสื้อแดงว่าเป็นชาวนาโง่ ๆ จากบ้านนอก
ภายใต้การประกาศ พรก. ฉุกเฉิน นี้รัฐบาลสามารถสั่งห้ามการชุมนุมอย่างการชุมนุมของกลุ่มเสื้อหลากสีได้ แต่แทนที่จะทำเช่นนั้น พวกเขากลับสนับสนุนอยู่เงียบ ๆ เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเสื้อแดงก็เป็นแค่หนึ่งในกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่งเท่านั้น มาจนถึงตอนนี้พันธมิตรฯ ยังคงไม่ลงมาบนท้องถนน แต่พวกเขาก็คงคัน ๆ อยากจะลงมาเต็มที พวกเขาแสร้งทำให้วิกฤติการเมืองนี้กลายเป็นเรื่องการต่อสู้เพื่อสถาบันจากอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ที่ยังคงเป็นฮีโร่สำหรับเสื้อแดงหลาย ๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นแรงงานหรือคนในชนบท ต่างจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่อยู่ในลำดับชั้น 'ผู้ดี'
การแสดงออกเกินพอดี (hysteria) ของรอยัลลิสท์เป็น 'นามบัตร' ของพันธมิตรฯ มานานแล้ว น่าเป็นห่วงว่ามันถูกดึงขึ้นมาโดยอภิสิทธิ์และหัวหน้ากองรักษาความสงบของเขา ในวันที่ 26 เม.ย. โฆษกของหน่วยงานกลางอ้างว่าพวกเขาได้ขุดคุ้ยถึงแผนการต่อต้านสถาบันจากแกนนำเสื้อแดงและผู้ต่อต้านต้านรัฐบาลคนอื่น ๆ มีการปฏิเสธกลับอย่างรวดเร็วและอย่างแข็งกร้าวรวมไปถึงการเตือนว่า 'การใส่ความ' ดังกล่าวอาจเป็นข้ออ้างหาความชอบธรรมในการใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม เช่นเดียวกับที่เกิดในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฎกรรมจากการปะทะขึ้นอีก ทั้งสองฝ่ายควรจะคอยควบคุมพวกหัวแข็งของตัวเองไว้ให้ดี
ที่มา.ประชาไท
----------------------------------------------------------------------
"เหวง"ยันไม่ได้คุกคามรพ.จุฬา
บรรยากาศที่เวทีปราศรัยสี่แยกราชประสงค์ของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงเช้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กิจกรรมบนเวทียังมีแกนนำสลับสับเปลี่ยนขึ้นปราศรัย และอ่านข่าวสารตามหน้าหนังสือพิมพ์ให้ผู้ชุมนุมได้รับฟังตามปกติเช่นทุกวันท่ามกลางอากศที่ร้อนอบอ้าว
นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. กล่าวปราศรัยบนเวทีเกี่ยวกับกรณีเหตุการณ์ที่ นายพายัพ ปั้นเกตุ แกนนำ นปช. บุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยยอมรับว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง แต่การเข้าไปของกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ได้ไปขัดขวางหรือคุกคามต่อต้านการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะถือว่าเป็นสถานที่ที่ให้บริการประชาชน เรารู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เจตนาไม่ได้เข้าไปทำร้าย เพียงแค่สงสัยว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าไปอยู่ภายในโรงพยาบาล จึงต้องการเข้าไปดูเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามกลุ่มคนเสื้อแดงพร้อมรับคำตำหนิ
นพ.เหวง กล่าวถึงกรณี พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก มีคำสั่งให้การ์ดคนเสื้อแดงกลับเข้าไปตั้งบังเกอร์ที่แยกศาลาแดง ถ.ราชดำริ หลังแกนนำ นปช.มีคำสั่งให้รื้อถอนว่า ไม่ใช่เรื่องอะไรที่ เสธ.แดงจะสั่งการ์ดนปช.กลับไปตั้งบังเกอร์ การกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของแกนนำ ขอความกรุณาอย่าไปตัดสินใจแทน อย่างไรก็ตามขณะนี้แกนนำได้สั่งให้ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ แกนนำ นปช. และหัวหน้าการ์ดรักษาความปลอดภัย ไปรื้อถอนบังเกอร์ตรง ถ.ราชดำริแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงเคารพเ สธ.แดง แต่ เสธ.แดงอย่ามาก้าวล่วงการทำงานของกลุ่ม นปช.
ที่มา.เนชั่น
-------------------------------------------------------------------
นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. กล่าวปราศรัยบนเวทีเกี่ยวกับกรณีเหตุการณ์ที่ นายพายัพ ปั้นเกตุ แกนนำ นปช. บุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยยอมรับว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง แต่การเข้าไปของกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ได้ไปขัดขวางหรือคุกคามต่อต้านการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เพราะถือว่าเป็นสถานที่ที่ให้บริการประชาชน เรารู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เจตนาไม่ได้เข้าไปทำร้าย เพียงแค่สงสัยว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าไปอยู่ภายในโรงพยาบาล จึงต้องการเข้าไปดูเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามกลุ่มคนเสื้อแดงพร้อมรับคำตำหนิ
นพ.เหวง กล่าวถึงกรณี พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก มีคำสั่งให้การ์ดคนเสื้อแดงกลับเข้าไปตั้งบังเกอร์ที่แยกศาลาแดง ถ.ราชดำริ หลังแกนนำ นปช.มีคำสั่งให้รื้อถอนว่า ไม่ใช่เรื่องอะไรที่ เสธ.แดงจะสั่งการ์ดนปช.กลับไปตั้งบังเกอร์ การกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของแกนนำ ขอความกรุณาอย่าไปตัดสินใจแทน อย่างไรก็ตามขณะนี้แกนนำได้สั่งให้ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ แกนนำ นปช. และหัวหน้าการ์ดรักษาความปลอดภัย ไปรื้อถอนบังเกอร์ตรง ถ.ราชดำริแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงเคารพเ สธ.แดง แต่ เสธ.แดงอย่ามาก้าวล่วงการทำงานของกลุ่ม นปช.
ที่มา.เนชั่น
-------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)