ประเทศ ในเอเชียส่วนใหญ่ล้วนพึ่งพาการส่งออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และตลาดส่งออกสำคัญก็หนีไม่พ้นจีน พี่ใหญ่ของภูมิภาค การชะลอตัวของเศรษฐกิจแดนมังกรจึงส่งผลกระทบอย่างหนัก แม้หลายประเทศจะพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้วยการหันไปพึ่งดีมานด์ภายในประเทศ แต่กลับไม่ประสบผลมากนัก
วอลล์ สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า ยอดส่งออกไม่รวมสินค้าน้ำมันในเดือนมกราคมที่ผ่านมาของสิงคโปร์ลดลงอย่าง เหนือความคาดหมายถึง 9.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการลดลงเกือบเท่ากับช่วงวิกฤตการเงินโลกเมื่อ 8 ปีก่อน และร่วงมากกว่าเดือนธันวาคมปีกลายที่ติดลบ 7.2%
และถ้าเจาะเฉพาะตัว เลขการส่งออกไปยังจีน คู่ค้าใหญ่อันดับหนึ่งของสิงคโปร์จะพบว่ายอดส่งออกร่วงหนักถึง 25.2% สะท้อนถึงผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลงในจีน ที่ปี 2558 มีอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 25 ปี
สถานการณ์ในสิงคโปร์ไม่ต่างจาก หลายประเทศในเอเชียที่เน้นใช้ "การผลิตเพื่อส่งออก" อาทิ เกาหลีใต้ที่ยอดการส่งออกเดือนที่แล้วติดลบ 18.8% เป็นการลดลงมากที่สุดนับจากสิงหาคม 2552 เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่ตัวเลขการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศใน เดือนดังกล่าวหดตัว 20.7% แม้แต่อินเดียที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับหนึ่งของ โลก การส่งออกเดือนมกราคมก็ลดลง 13.6% เป็นการติดลบเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน
ไม่น่าประหลาดใจที่ตัวเลขการส่งออกของหลายประเทศข้างต้น ทรุดหนัก เมื่อหันกลับมาดูการส่งออกและนำเข้าของจีนในเดือนแรกของปี 2559 ที่ลดลง 11.2% และ 18.8% ตามลำดับ เนื่องจากจีนเป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลางจากทั่วโลกเพื่อนำมา ผลิตเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย แล้วส่งออกอีกต่อหนึ่ง หากจีนส่งออกได้น้อยลงก็ย่อมนำเข้าลดลงตามไปด้วย
นอกจากปัญหาเศรษฐกิจจีนแล้ว อีกปัจจัยที่ฉุดการส่งออกในเอเชียคือ กระแสการค้าโลกที่ซบเซาลง ปรากฏการณ์ ดังกล่าวเริ่มต้นจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ชะลอตัว ลุกลามไปสู่สินค้าประเภทอื่น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายประเทศที่แผ่วลงกดดันให้ผู้บริโภคและภาค ธุรกิจระมัดระวังการใช้จ่าย แม้แต่ในประเทศที่ไม่ได้อาศัยรายได้จากสินค้าโภคภัณฑ์มากนักอย่างอินเดียก็ เริ่มเห็นสัญญาณการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ลดลง
ยิ่งไปกว่านั้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปถูกขับเคลื่อนด้วยภาคบริการภายในประเทศ เหล่านั้น ไม่ใช่การนำเข้าสินค้าจากฝั่งเอเชีย ประเทศตลาดเกิดใหม่ จึงไม่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวในประเทศตะวันตกมากนัก ในทางตรงข้าม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐกลับผลักดันให้เงินทุนไหล ออกจากประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น
หลายประเทศในเอเชียพยายามลดการพึ่งพา การส่งออกและหันไปให้ความสำคัญกับการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น เช่น อินโดนีเซียและไทยที่ผลักดันการใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะในโครงการ "เมกะโปรเจ็กต์" เพื่อกระตุ้นการเติบโต หรือกรณีของเกาหลีใต้ที่ภาครัฐอัดฉีดมาตรการกระตุ้นแบบเข้มข้นเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสเมอร์ส
แต่ปรับ เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากการพึ่งพาดีมานด์ภายนอกมาสู่ดีมานด์ภายในต้อง อาศัยเวลาและเผชิญกับความเจ็บปวดอย่างที่จีนกำลังประสบในขณะนี้ นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคเชิงโครงสร้าง อาทิ สัดส่วนหนี้ต่อครัวเรือนที่สูง กฎหมายที่ปกป้องและให้สิทธิพิเศษแก่รัฐวิสาหกิจ ทำให้ยากจะเกิดการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการบริโภคภายใน บางประเทศอาจไม่สามารถฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านี้ได้สำเร็จและต้องล้มแผนกลางคัน
การหันมาพึ่งพาดีมานด์ภายในของหลายประเทศในเอเชียทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ ว่าจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตและการใช้จ่าย เครดิต สวิสมองว่า ประเทศที่อยู่ในข่าย ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน
ส่วนสิงคโปร์ยังไม่มีแผนจะลดการพึ่งการส่งออก แต่ใช้วิธียกระดับสินค้าส่งออกไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามากขึ้น ปรับเปลี่ยนจากโมเดล "Re-export" ที่ใช้มาอย่างยาวนาน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วอลล์ สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า ยอดส่งออกไม่รวมสินค้าน้ำมันในเดือนมกราคมที่ผ่านมาของสิงคโปร์ลดลงอย่าง เหนือความคาดหมายถึง 9.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการลดลงเกือบเท่ากับช่วงวิกฤตการเงินโลกเมื่อ 8 ปีก่อน และร่วงมากกว่าเดือนธันวาคมปีกลายที่ติดลบ 7.2%
และถ้าเจาะเฉพาะตัว เลขการส่งออกไปยังจีน คู่ค้าใหญ่อันดับหนึ่งของสิงคโปร์จะพบว่ายอดส่งออกร่วงหนักถึง 25.2% สะท้อนถึงผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลงในจีน ที่ปี 2558 มีอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 25 ปี
สถานการณ์ในสิงคโปร์ไม่ต่างจาก หลายประเทศในเอเชียที่เน้นใช้ "การผลิตเพื่อส่งออก" อาทิ เกาหลีใต้ที่ยอดการส่งออกเดือนที่แล้วติดลบ 18.8% เป็นการลดลงมากที่สุดนับจากสิงหาคม 2552 เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่ตัวเลขการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศใน เดือนดังกล่าวหดตัว 20.7% แม้แต่อินเดียที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับหนึ่งของ โลก การส่งออกเดือนมกราคมก็ลดลง 13.6% เป็นการติดลบเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน
ไม่น่าประหลาดใจที่ตัวเลขการส่งออกของหลายประเทศข้างต้น ทรุดหนัก เมื่อหันกลับมาดูการส่งออกและนำเข้าของจีนในเดือนแรกของปี 2559 ที่ลดลง 11.2% และ 18.8% ตามลำดับ เนื่องจากจีนเป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลางจากทั่วโลกเพื่อนำมา ผลิตเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย แล้วส่งออกอีกต่อหนึ่ง หากจีนส่งออกได้น้อยลงก็ย่อมนำเข้าลดลงตามไปด้วย
นอกจากปัญหาเศรษฐกิจจีนแล้ว อีกปัจจัยที่ฉุดการส่งออกในเอเชียคือ กระแสการค้าโลกที่ซบเซาลง ปรากฏการณ์ ดังกล่าวเริ่มต้นจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ชะลอตัว ลุกลามไปสู่สินค้าประเภทอื่น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายประเทศที่แผ่วลงกดดันให้ผู้บริโภคและภาค ธุรกิจระมัดระวังการใช้จ่าย แม้แต่ในประเทศที่ไม่ได้อาศัยรายได้จากสินค้าโภคภัณฑ์มากนักอย่างอินเดียก็ เริ่มเห็นสัญญาณการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ลดลง
ยิ่งไปกว่านั้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปถูกขับเคลื่อนด้วยภาคบริการภายในประเทศ เหล่านั้น ไม่ใช่การนำเข้าสินค้าจากฝั่งเอเชีย ประเทศตลาดเกิดใหม่ จึงไม่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวในประเทศตะวันตกมากนัก ในทางตรงข้าม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐกลับผลักดันให้เงินทุนไหล ออกจากประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น
หลายประเทศในเอเชียพยายามลดการพึ่งพา การส่งออกและหันไปให้ความสำคัญกับการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น เช่น อินโดนีเซียและไทยที่ผลักดันการใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะในโครงการ "เมกะโปรเจ็กต์" เพื่อกระตุ้นการเติบโต หรือกรณีของเกาหลีใต้ที่ภาครัฐอัดฉีดมาตรการกระตุ้นแบบเข้มข้นเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสเมอร์ส
แต่ปรับ เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากการพึ่งพาดีมานด์ภายนอกมาสู่ดีมานด์ภายในต้อง อาศัยเวลาและเผชิญกับความเจ็บปวดอย่างที่จีนกำลังประสบในขณะนี้ นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคเชิงโครงสร้าง อาทิ สัดส่วนหนี้ต่อครัวเรือนที่สูง กฎหมายที่ปกป้องและให้สิทธิพิเศษแก่รัฐวิสาหกิจ ทำให้ยากจะเกิดการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการบริโภคภายใน บางประเทศอาจไม่สามารถฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านี้ได้สำเร็จและต้องล้มแผนกลางคัน
การหันมาพึ่งพาดีมานด์ภายในของหลายประเทศในเอเชียทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ ว่าจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตและการใช้จ่าย เครดิต สวิสมองว่า ประเทศที่อยู่ในข่าย ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย และจีน
ส่วนสิงคโปร์ยังไม่มีแผนจะลดการพึ่งการส่งออก แต่ใช้วิธียกระดับสินค้าส่งออกไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามากขึ้น ปรับเปลี่ยนจากโมเดล "Re-export" ที่ใช้มาอย่างยาวนาน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////