THAIAMM-NEWS
ข่าวสารเพื่อความรู้
วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
สินเชื่อบ้าน-รถ-SMEs มีสัญญาเงินกู้ก่อน 1 ม.ค.67 (สมาคมแบงก์จ่อพักดอกเบี้ย)
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ระดับความรุนแรงของพายุแม่เหล็กโลก..//
วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567
พาณิชย์คุมเข้มราคาสินค้าช่วงกินเจ.....II?
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
ความตกลงหุ้นส่วน ทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเอเชีย...!!
คอลัมน์ ช่วยกันคิด
โดย ดร.ปภาภรณ์ ชุณหชัชราชัย กมลพงศ์ วิศิษฐวาณิชย์
แม้สายฝนที่โปรยปรายในระยะนี้จะช่วยลดอุณหภูมิความตึงเครียดของการเจรจา RCEP ให้ผ่อนคลายขึ้น ราบรื่นขึ้น และเริ่มฉายภาพความสำเร็จในอีกไม่ช้า อย่างไรก็ดี คำถามที่ว่าการเจรจา RCEP จะจบเมื่อไหร่ ? ก็ยังคงเป็นคำถามที่ยังไม่สามารถตอบได้อย่างเต็มปาก
บางคนก็เดาว่าปีหน้า บางคนก็บอกว่าปีนี้ (พ.ศ. 2562) และอีกหลายความเห็นก็บอกว่า ควรจบตั้งนานแล้ว…อ้าววว !! แล้วทีนี้จะคอนเฟิร์มได้ตอนไหนละว่า การเจรจา RCEP จะจบเมื่อไหร่… เอาเป็นว่าถ้าตอบตามเป้าหมายของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี RCEP กำหนดไว้ก็คาดว่า จะสามารถบรรลุผลการเจรจาได้ภายในปี พ.ศ. 2562
ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นก่อนว่า อาร์ (R) ซี (C) อี (E) พี (P) นี้คืออะไร ???? RCEP คือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ กรอบการเจรจาเปิดเสรีระดับพหุภาคี ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 16 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอาเซียน อีก 6 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และอินเดีย
โดยเหตุผลหลักที่ 16 ประเทศนี้มารวมตัวกันก็เพราะมีจุดมุ่งหมายให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (ครอบคลุมหนึ่งในสามของเศรษฐกิจโลก) เพื่อเปิดการค้าเสรีภายใต้ความตกลงที่มีคุณภาพ ทันสมัย และครอบคลุมทุกมิติการค้า อาทิ การค้าสินค้า การค้า บริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขัน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
สำหรับกลไกการเจรจา RCEP จะมีคณะกรรมการเจรจาจัดทำความตกลง RCEP ทำหน้าที่เป็นผู้เจรจาในภาพรวม โดยมีคณะทำงานและคณะทำงานย่อยด้านต่าง ๆ แยกออกไปเจรจาในประเด็นเฉพาะทาง อาทิ คณะทำงานด้านการค้า สินค้า คณะทำงานด้านการค้าบริการ คณะทำงานด้านการลงทุน คณะทำงานด้านการแข่งขัน คณะทำงานด้านกฎหมาย คณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คณะทำงานย่อยสาขาการค้าบริการด้านการเงิน และคณะทำงานย่อยด้านบริการโทรคมนาคม เป็นต้น
RCEP เริ่มเจรจาอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 แต่ทว่าการเจรจาไม่สามารถหาข้อสรุปแล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้นเหมือนดั่งใจนึก ยิ่งมีประเทศสมาชิกมากเพียงใด ก็ยิ่งมีความเห็นที่หลากหลาย ยากต่อการประสานหาท่าทีกลางระหว่างกัน
นอกจากนี้ หากพิจารณาระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก RCEP ก็จะเห็นได้ว่า มีระดับของการพัฒนาที่ค่อนข้างแตกต่างกันอยู่มาก จึงนับว่าเป็นความท้าทายของผู้เจรจากรอบนี้ที่จะต้องทำการศึกษาเชิงลึก เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการเจรจาในส่วนของประเทศตนเอง รวมถึงยังต้องมีความเข้าใจในส่วนของประเทศสมาชิก RCEP ต่าง ๆ ด้วย
ซึ่งยังมีอีกความท้าทายหนึ่งของการเจรจา RCEP คือ ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จะต้องกำหนดท่าทีให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อใช้สำหรับเจรจาต่อรองกับอีก 6 ประเทศคู่เจรจาอาเซียน ดังนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้ได้มาซึ่งท่าทีกลางของอาเซียน และสามารถนำไปใช้เจรจากับประเทศคู่เจรจาอาเซียนทั้ง 6 ประเทศต่อไป
หากมองการเจรจา RCEP ในด้านสาขาการค้าบริการด้านการเงิน หรือเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า สาขาบริการทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน 4 หน่วยงานหลักที่ดูแลรับผิดชอบต่อการเจรจา RCEP คือ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งการบริการด้านการเงินจะครอบคลุม 3 สาขา ได้แก่ การธนาคาร ประกันภัย และหลักทรัพย์
ภายใต้ความตกลง RCEP ก็จะมุ่งเน้นให้เกิดการยกระดับพันธกรณีให้ผูกพันมากกว่าความตกลงเก่า ๆ ที่เคยมีมา เช่น ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ความตกลงอาเซียน-ญี่ปุ่น และความตกลงอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น
ปัจจุบันความตกลงสาขาการค้าบริการด้านการเงิน ภายใต้ความตกลง RCEP สามารถหาข้อสรุปได้แล้ว ดังนั้น ถึงแม้ว่าท่าทีและข้อกังวลที่แตกต่างกันของ 16 ประเทศสมาชิก RCEP จะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การเจรจา RCEP บรรลุผลล่าช้ากว่าเป้าหมายมาหลายครั้ง แต่ ณ จุดนี้ จึงขอพยากรณ์แบบโลกสวยไว้ว่า การเจรจา RCEP สามารถหาข้อสรุปได้อย่างมีนัยสำคัญภายในปี พ.ศ. 2562
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
******************************************************
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ประกาศเปลี่ยนแปลง กก.บห.ไทยรักษาชาติ พ้นตำแหน่ง 6 คน..!!?
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2561 ระบุว่า ตามที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคไทยรักษาชาติ และคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2561 โดยมีคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ จํานวน 7 คน นั้น
บัดนี้พรรคไทยรักษาชาติได้มีหนังสือแจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามมาตรา 38 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 กรณี นายกมล วิจิตรโสภาพันธ์ ลาออกจากตําแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ ตามข้อบังคับพรรคไทยรักษาชาติ พ.ศ.2561 ข้อ 31 วรรคหนึ่ง (2) และข้อ 30 นายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับทราบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว ตามมาตรา 38 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
ดังนั้นจึงทําให้คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติพ้นจากตําแหน่งทั้งคณะ จํานวน 6 คนประกอบด้วย 1.นายวีรภัทร พาสุนันท์ รองหัวหน้าพรรค 2.นางธัญญ์รวี สุจิโรจน์ธนกุล เลขาธิการพรรค 3.นายพีรพงศ์ พาสุนันท์ รองเลขาธิการพรรค 4.นางสาวสุรภา ยุวนบุณย์ เหรัญญิกพรรค 5.นายศิรเมศร์ เสถียรุจิกานนท์ นายทะเบียนสมาชิกพรรค 6.นางสาวจิรัตธิติกาล คุ้มเสือ โฆษกพรรค
ที่มา.เว็บไซต์ราชกิจจาฯ
*****************************************************************
บิ๊กตู่ ประกาศสู้....!!?
เมื่อเวลา 09.10 น. พรรคไทยรักษาชาติ ได้ยื่นบัญชีรายชื่อต่อ กกต. โดยมีการเปิดภาพเป็นภาพ ทูลกระหม่อมฯ และได้ยื่นให้สื่อมวลชนได้ถ่ายภาพ ซึ่งเป็นภาพของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้ออกแถลงการณ์ด่วน
สารจากนายกรัฐมนตรี 8 กุมภาพันธ์ 2562
พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทุกท่าน
นับเป็นเวลากว่าสิบปี ก่อนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาลนี้จะเข้ามาบริหารประเทศ พี่น้องทั้งหลายคงจำได้ว่า บ้านเมืองเราขณะนั้น ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ประชาชนแตกแยกเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย บางครั้งเกิดความรุนแรงถึงขั้นมีการใช้กำลังและอาวุธสงครามเข้าทำร้ายกัน การทำลายสถานที่ราชการ การทำลายการประชุมระดับชาติ จนเป็นอันตรายถึงชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และการทำมาหากินของพี่น้องประชาชน
ตลอดจนชื่อเสียงและความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของประเทศชาติ สถานการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี 2557 ผลก็คือการพัฒนาประเทศ การลงทุนและเศรษฐกิจเกิดสภาวะชะงักงัน การใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายขององค์กรอิสระ และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายไม่ว่าตำรวจ ทหาร หรือพลเรือนไม่สามารถกระทำได้ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย
การดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ รวมถึงการจัดทำงบประมาณปี 2558 มีข้อติดขัดทางกฎหมาย มีทั้งทำได้ และทำไม่ได้ในบางเรื่อง ขณะนั้นไม่มีทางออกหรือแนวโน้มว่าสถานการณ์ จะกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อยได้อย่างไร ซึ่งนับเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงและไม่เคยปรากฏขึ้น ในประเทศมาก่อน
เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และรัฐบาลเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ในช่วงเวลา สี่ปีเศษที่ผ่านมาก็ได้พยายามแก้ไขสถานการณ์จนกลับฟื้นคืนสู่สภาวะปกติ บ้านเมืองมีความสงบสุข อยู่รอดปลอดภัย ประชาชนดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ ประเทศมีการพัฒนาขึ้นตามลำดับในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้าขาย การลงทุน การท่องเที่ยว มีความมั่นคงทางการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศ ไม่มีการชุมนุมประท้วงทางการเมืองหรือความเคลื่อนไหวใดๆ ที่กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยรวม
รัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้อย่างมีเอกภาพจนได้รับการยอมรับจากต่างประเทศว่าสามารถแก้ไขปัญหาหมักหมมของประเทศที่การเมืองปกติไม่สามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดทางกฎหมาย หรือเนื่องจากระยะเวลาการบริหารประเทศของแต่ละรัฐบาลที่สั้น และไม่ต่อเนื่อง ซ้ำยังมีการเกิดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ในสังคมอยู่เป็นระยะ
พี่น้องประชาชนที่รัก ประเทศชาติของเราจะต้องเดินไปข้างหน้า ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนปฏิรูปประเทศ เพื่อเป็นแนวทางและทิศทางของประเทศต่อไปในอนาคต เพื่อลูกหลานของเรา เพื่อเด็ก ๆ ในวันนี้จะได้มีอนาคตที่ดีในวันข้างหน้า อยู่ในประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีความสงบสุขมั่นคง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราประชาชนทุกภาคส่วน จะต้องร่วมกันนำพาประเทศในช่วง เปลี่ยนแปลงอันสำคัญนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางให้ได้ ที่สำคัญจะต้องมีรัฐบาลและผู้นำรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับ ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานเพื่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง
ผมขอขอบคุณพรรคพลังประชารัฐที่ได้ให้เกียรติเชิญผมเข้าอยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ ผมได้พิจารณาไตร่ตรอง และทบทวนอย่างรอบคอบแล้ว ในเรื่องนโยบายของพรรคว่าจะสามารถขยายผลสืบเนื่องสิ่งต่างๆ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาลนี้ได้ดำเนินการ หรือวางแนวทาง หรือริเริ่มไว้ได้หรือไม่
อีกทั้งพิจารณาหลายๆ มิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องนโยบายและมาตรการด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม การดูแลพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน ความต่อเนื่องในการบริหารและพัฒนาประเทศ ในห้วงเวลาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งพิจารณาภาพรวมของพรรคซึ่งประกอบด้วยสมาชิกหลากหลาย เช่น ตัวแทนภาคประชาชนทั้งคนรุ่นใหม่ นักวิชาการ นักธุรกิจ ที่มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนนักการเมืองที่มีประสบการณ์ ถึงแม้บางคนเคยเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองก็ตาม และพิจารณาโอกาสที่จะได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตามแนวทางประชารัฐ
การตัดสินใจครั้งนี้ไม่ง่ายนักเพราะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของประเทศ ถึงแม้ก่อนหน้านี้ผมจะเป็นทหารมาตลอดชีวิต แต่ผมเป็นคนหนึ่งที่พร้อมจะสละชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย และผมมีความมั่นใจ ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า จะสามารถร่วมมือร่วมใจกับพี่น้องประชาชน นำพาประเทศของเรา ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันได้อย่างมีความสงบสุข มีความสามัคคี ไม่มีความขัดแย้งในสังคมอีกต่อไป
ดังนั้น ผมจึงขอตอบรับการเชิญโดยยินยอมให้พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ผมขอยืนยันว่า ผมมิได้มุ่งหวังจะสืบทอดอำนาจใดๆ เพียงแต่มุ่งหวังถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนโดยรวมเป็นสำคัญอย่างแท้จริง โดยจะเร่งบริหารและพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผมมีความคาดหวังว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ เราจะได้รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล ไม่มีการใช้วัฒนธรรมการเมืองเดิมๆ ที่มีการต่อรองผลประโยชน์หรือตำแหน่งเพื่อกลุ่มของตนเอง เพื่อให้ได้คนดี
มีความสามารถมาบริหารราชการ โดยทุกคนต้องเสียสละทำงานเพื่อส่วนรวมเท่านั้น ทั้งนี้ผมพร้อมจะร่วมมือทำงานกับทุกพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์และจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ “เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน”
ขอขอบคุณพรรคพลังประชารัฐอีกครั้ง และขอให้ทำหน้าที่ด้วยความระมัดระวังภายใต้กฎหมาย และกติกาที่กำหนด สร้างมิตร สร้างความสามัคคี มุ่งทำบ้านเมืองให้เกิดสันติสุขเจริญรุ่งเรืองต่อไปอย่างยั่งยืน
………….สวัสดี
ที่มาของบทความ จาก.เวป นสพ.ข่าวสด
*****************************************************
วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เปิดศูนย์บริการ SME เสริมแกร่งพื้นที่ EEC
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา กนอ.ได้เปิดศูนย์ให้บริการSMEsIndustrial Transformation Center: SMEs-ITC ภายในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ขึ้นเป็นแห่งแรกเพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)และสตาร์ตอัพ ในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ให้มีความเชี่ยวชาญในการประกอบธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมร่วมกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งจะเป็นผลให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเติบโตแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างแข็งแกร่ง
โดยรูปแบบการพัฒนาการให้บริการของศูนย์SMEs ITC ดังกล่าว ประกอบด้วย 1.การให้บริการพื้นที่อำนวยความสะดวกในการทำงาน 2.แหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญทุกอุตสาหกรรม 3.ศูนย์รวบรวมความรู้ 4.แหล่งรวมไฟล์/เว็บเพื่อการจับคู่ 5.ศูนย์นวัตกรรม6.บริการด้านทรัพยากรร่วมกัน7โปรแกรมด้านการเงิน 8.ห้องประชุม 9.ห้องฝึกอบรม10.ห้องเจรจาธุรกิจและ 11.ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีหนังสือสำหรับการค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมกว่า5,000เล่มพร้อมทั้งระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
นอกจากนี้ ภายในศูนย์ให้บริการดังกล่าว จะมีผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญร่วมเป็นพี่เลี้ยง ให้การส่งเสริมและพัฒนาสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการ
ที่มา:หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
-----------------------------------------------
'ธ.ก.ส.'เตรียมเสนอแนวทางช่วยคนจนเฟส 2.....!!
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยระยะ 2 ของ ธ.ก.ส. ว่า สัปดาห์หน้าจะเสนอแนวทางการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเฟส 2 ให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณา หลังจากสำรวจความต้องการเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยแบบเจาะลึก เพื่อให้การแก้ไขปัญหาตรงจุดมากขึ้น พร้อมทั้งสำรวจความต้องการสินค้าเกษตรในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อหาช่องทางการทำตลาดสินค้าเกษตรก่อนที่จะหาอาชีพเสริมทดแทนการปลูกข้าวเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน หากได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก็จะเร่งลงพื้นที่ทำความเข้าใจเกษตรกรผู้มีรายได้ทันที
ทั้งนี้ เบื้องต้น ธ.ก.ส.จะใช้โมเดลการเพิ่มรายได้เกษตรกรจังหวัดกระบี่ที่ประสบความสำเร็จด้วยการที่ ธ.ก.ส.จะเข้าไปสำรวจและเจรจาหาตลาดให้กับสินค้าเกษตรที่มีความต้องการสูง โดยจะหาเกษตรกรต้นแบบที่เป็นเอสเอ็มอีเกษตรและเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่รวบรวมผลผลิตและจัดจำหน่ายต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรต้นแบบ 2,000 รายทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกประเภทสินค้าเกษตรที่เป็นที่ต้องการของตลาด อาทิ ผักไฮโดรโปรนิกส์ กล้วยแปรรูป และหญ้าเนเปียร์ จากนั้นจะให้เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยสมัครใจเข้าโครงการกับเกษตรกรผู้นำ เพื่อส่งสินค้าเกษตรให้กับผู้นำ ทำให้สินค้าเกษตรที่ผลิตมีตลาดรองรับทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ยอมรับแนวทางการเพิ่มรายได้ครั้งนี้ให้กับเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยอาจต้องใช้ระยะเวลา เพราะต้องทำควบคู่กับหน่วยงานอื่น ทั้งกระทรวงพาณิชย์เพื่อหาช่องทางการทำตลาด และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ หากการรวมกลุ่มกันผลิตสินค้าเกษตรได้มีประสิทธิภาพ ธ.ก.ส.ก็จะพิจารณาปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
*******************************************
วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560
กสอ.ตีฆ้อง เปิดรับ SMEs ยื่นขอกู้ กองทุน 2หมื่นล้าน ทั่วไทย...
นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผย ว่า ขณะนี้ได้ร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาอัตราดอกเบี้ย การจัดทำขั้นตอนการดำเนินงาน และกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่จะเข้าเงื่อนไขการพิจารณาได้รับเงินกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐ หรือกองทุน 20,000 ล้านบาทใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยล่าสุดมีการหารืออาจคิดอัตราดอกเบี้ย 1-3% จากเดิมที่กำหนดไว้ 1% ระยะชำระคืน 7 ปี ไม่ต้องชำระเงินต้นคืน 3 ปีแรก และจะเริ่มพิจารณาอนุมัติวงเงินก้อนแรกภายในปลายเดือนเมษายนนี้
"วงเงิน 20,000 ล้านบาทไม่ได้มาก หากเทียบกับ SMEs ที่มีอยู่ทั่วประเทศ กำลังพิจารณาว่าจะจัดสรรอย่างไรให้กระจายได้ทั่วถึง เบื้องต้นอาจจะได้รับ 100 ล้านบาทเท่า ๆ กัน จากนั้นจะพิจารณาอีกครั้งสำหรับจังหวัดที่มีผู้ยื่นขอเข้ามามาก เช่น จังหวัดเล็ก SMEs ยื่นขอน้อยได้งบฯไป 100 ล้านบาท ส่วนจังหวัดใหญ่มียื่นขอมามากจะเพิ่มงบฯลงไปอีก 500-1,000 ล้านบาท ส่วนวงเงินที่จะอนุมัติให้แต่ละรายขั้นสูงอาจจะไม่เกิน 10 ล้านบาท"
โดยเบื้องต้นกำหนดคุณสมบัติ คือ SMEs ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ต้องมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ในอนาคตได้ ซึ่ง SMEs สามารถยื่นขอใช้สิทธิ์รับเงินกองทุนผ่านช่องทาง SME Support Center และศูนย์ช่วยเหลือ SME Recue Center ที่ตั้งอยู่ในอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดได้ตั้งแต่บัดนี้ และในวันที่ 5 เม.ย.นี้จะร่วมประชุมกับทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ทำการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกรับทราบ
สำหรับขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติวงเงินกองทุนให้ SMEs แต่ละราย จะต้องผ่านคณะอนุกรรมการหลัก 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนประจำจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ประธานหอการค้าจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้แทนธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) เกษตรจังหวัด เป็นต้น มีอำนาจหน้าที่อนุมัติพิจารณากลั่นกรอง คัดเลือกและวิเคราะห์ศักยภาพของ SMEs ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารประกาศกำหนดตามนโยบายจังหวัด ทั้งนี้ หาก SMEs รายใดผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณาจะถูกส่งต่อไปยังคณะอนุกรรมการฯ ชุดที่ 2
ชุดที่ 2 คณะอนุกรรมการวิเคราะห์การเงิน มีอุตสาหกรรมจังหวัดเป็นประธาน และผู้แทนสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งรัฐและเอกชน ผู้แทนชมรมธนาคารจังหวัด เป็นต้น มีหน้าที่พิจารณาวงเงินให้กู้และสรุปผลการวิเคราะห์ทางการเงิน ทั้งนี้ หาก SMEs รายใดผ่านการพิจารณาจะถูกส่งกลับไปยังชุดที่ 1 เพื่ออนุมัติเป็นทางการต่อไป แต่หากรายใดไม่ผ่านการพิจารณาจะถูกส่งต่อไปยังคณะอนุกรรมการชุดที่ 3
ชุดที่ 3 คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี มีผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเป็นประธาน และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น มีหน้าที่วิเคราะห์ กำหนดรูปแบบและวงเงินที่สมควรอนุมัติในการส่งเสริมและพัฒนา
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////
เอสเอ็มอี-นิติบุคคลอ่วม สภาวิชาชีพบัญชีเล็งปรับมาตรฐานใหม่ปี61
นายชัยยุทธ อังศุวิทยาหุ้นส่วนสำนักงาน เอ.เอ็ม.ที. แอสโซซิเอท ซึ่งเป็นสำนักสอบบัญชีเปิดเผยกับ ว่าวันที่ 1 มกราคม 2561 สภาวิชาชีพบัญชีจะประกาศให้มีการใช้มาตรฐานบัญชี IFRS for SME ของสากล หรือยกร่างมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ เพื่อบังคับใช้กับนิติบุคคลไทยในกลุ่มของนิติบุคคลที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียสาธารณะ (NPAE) ต้องจัดทำบัญชีแบบง่ายที่เรียกว่า NPAE Accounting โดยจะยกเลิกมาตรฐานฉบับ NPAE ที่ใช้ในปัจจุบัน
ความจริงตามแผนจะประกาศใช้ภายในปี 2560 แต่เมื่อเรื่องถูกส่งผ่านไปที่คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) แล้วไม่เห็นด้วยเพราะดูแล้วยังไม่มีความพร้อมทั้งเรื่องของวิธีการ การทำความเข้าใจต่อสาธารณชนจึงให้ชะลอออกไปอีก 1 ปี และจะประกาศใช้ต้นปี 2561 ระหว่างนี้รอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาหลังจากที่ผ่านสภาวิชาชีพบัญชีและผ่านคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีหรือกกบ.มาแล้ว”
ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีอยู่แล้วตามข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ประมาณ 5 แสนราย รวมถึงบุคคลธรรมดาที่กำลังจะจดทะเบียนก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การจัดตั้งนิติบุคคลที่ถือหุ้นคนเดียวพ.ศ. … ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์เพื่อสนับสนุนและรองรับให้เกิดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ (Startup) ตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งยังช่วยลดขั้นตอนของการจดทะเบียน และยังเป็นการป้องกันปัญหาการตั้งผู้ถือหุ้นปลอม หรือนอมินีขึ้น ซึ่งตามเป้าหมายของรัฐบาลคือต้องการให้มีนิติบุคคลเพิ่มขึ้น 2.7 ล้านราย เมื่อรวมทั้ง 2 กลุ่มจะถูกกระทบประมาณ 3.2 ล้านราย
สำหรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ผู้ประกอบการจะต้องเสียในเบื้องต้นต่อราย คาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาท แต่เป็นเพียงแค่ใช้จ่ายรายการเดียวที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานบัญชีดังกล่าว หากต้องมีการตีความรายการบัญชีมากขึ้น ก็จะต้องมีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดำเนินการ ซึ่งค่าใช้จ่ายก็อาจจะเพิ่มขึ้นไปได้ถึงหลักหมื่น หรือหลักแสนก็มีความเป็นไปได้
นายชัยยุทธ กล่าวอีกว่าความแตกต่างของมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ และฉบับเดิมนั้น หากเป็นมาตรฐานเดิมชุด NPAE จะใช้แนวคิด ราคาทุนเดิม (Historical Cost) ซึ่งจะสอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีที่เก็บตามราคาต้นทุนที่เกิดขึ้น แต่มาตรฐานฉบับใหม่ในชุด NPAE จะใช้แนวคิดราคายุติธรรม (Fair Value) โดยจะต้องทำให้มีการปรับมูลค่าบัญชีเป็นราคายุติธรรมทุกสิ้นงวดบัญชีซึ่งในการปรับมูลค่ายุติธรรมดังกล่าว แทบทุกเรื่องจะต้องใช้ดุล พินิจผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดทำบัญชีเพิ่มขึ้นมาก“ผลที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่นั้น จะทำให้การจัดทำบัญชียุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้การตีความรายการบัญชีมากขึ้นซึ่งอาจต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญ การตีความจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าของบริษัท นักบัญชีและผู้สอบบัญชีอีกทั้งยังทำให้ต้นทุนการทำบัญชีสูงขึ้น และที่สำคัญจะเกิดการจัดรูปแบบโครงสร้างกลุ่มบริษัท เพื่อหลีกเลี่ยงการทำบัญชีที่ซับซ้อนมากๆโดยเป็นการขัดขวางการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กของไทยให้เติบโตขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ และภาครัฐจะได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง”
นายพัฒนศักดิ์ แสนสมรสกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีควอลิตี้แมชชีนพาร์ท จำกัด และอุปนายก สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย กล่าวให้ความเห็นว่า พอจะทราบเรื่องการปรับมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ที่จะมีการประกาศใช้ดังกล่าวอยู่บ้างโดยเชื่อว่าจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในเรื่องของต้นทุน หรือเพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบการอย่างแน่นอน ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ทางกรมสรรพากร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะต้องเข้ามาช่วยเหลือ หรือสนับสนุนในเรื่องของการสร้างองค์ความรู้ ผ่านการเปิดอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือสิทธิ์ในการหักลดหย่อนค่าใช้จ่าย โดยอาจจะทำเป็นรูปแบบขั้นบันไดในช่วง 2-3 ปีแรกยังไม่ต้องเก็บ แต่ไปเก็บหลังจาก5 ปีไปแล้ว
นายปรีชา บุญเวียง ประธานกรรมการ บริษัท เมืองใหม่โครเมี่ยม จำกัด และบริษัทเมืองใหม่ โครเมี่ยมอิเล็คโตร เพรทติ้งจำกัด กล่าวว่า หากต้องมีการเพิ่มรายจ่ายให้กับอุตสาหกรรมก็ต้องถือว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบการในเรื่องของต้นทุน การนำมาตรฐานบัญชีตามหลักสากลที่ยึดแบบจากยุโรปมาใช้ มองว่าจะต้องคำนึงถึงเรื่องของมาตรฐานรายได้ที่แตกต่างกันด้วย เพราะของยุโรปจะมีรายได้ต่อหน่วยต่อชิ้นที่มากกว่าของเราโดยรายได้ของเอสเอ็มอีไทยค่อนข้างที่จะตํ่า ซึ่งการจะนำรายจ่ายมาเปรียบกันจากรายได้ที่แตกต่างกันมองว่าไม่น่าจะเปรียบเทียบกันได้
ที่มา:จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,250
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ภาคธุรกิจชี้ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ ช่วยฟื้นความเชื่อมั่น...!!?
หลังจากสำนักพระราชวังเผยแพร่หมายกำหนดการพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ทิศทางการเมืองมีความชัดเจนขึ้นจากนี้ไปและลดความกังวลของภาคธุรกิจต่อการเมืองไทย
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญจะสร้างความมั่นใจให้กับประเทศไทยมากขึ้น เพราะเป็นการยืนยันว่า รัฐบาลจะเดินหน้าตามโรดแมพที่วางไว้และอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทยได้
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้น จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น และการดำเนินการของรัฐบาลเป็นไปตามโรดแมพที่วางไว้ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่งจะช่วยดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาลงทุน
ทั้งนี้ ภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดหุ้นไทย นับจากต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติซื้อสุทธิ 7.5พันล้านบาท แม้ว่าทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐจะเป็นขาขึ้น แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน ระหว่างนี้กระแสเงินทุนจะต้องหาผลตอบแทนที่ดี ซึ่งตลาดหุ้นเอเชีย และไทยถือว่า เป็นจุดที่น่าสนใจ หากพิจารณาสถานการณ์การเมือง และเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีขึ้น จากการประมาณการนักวิเคราะห์หลายสำนักต่างมองว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัวได้ดีกว่าปีก่อน
ส่วนความสามารถการทำกำไรบริษัทจดทะเบียนปีนี้คาดว่าอัตราการเติบโตไม่สูงเท่ากับปี2559 เพราะจากฐานกำไรบริษัทที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้ไม่น่าห่วง สิ่งที่ต้องติดตามคือกำไรบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 1ปีนี้จะเป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่
ลุ้นเอกชนหันกลับลงทุน
นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า การประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นไปตามที่คาดหมาย ซึ่งจะช่วยตอกย้ำว่าการบริหารประเทศของภาครัฐบาลจะเป็นไปตามโรดแมพที่ให้ไว้กับประชาชน และเลือกตั้งน่าจะเกิดขึ้นในอีก 1 ปีหลังจากนี้ ระหว่างนี้รัฐบาลก็จะมีเวลาในการปฏิรูปประเทศ และน่าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนที่ยังไม่กล้าลงทุน ให้กลับมาลงทุนอีกครั้ง
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญใหม่ อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยบวกกับตลาดหุ้นไทย เนื่องจากนักลงทุนได้รับทราบอยู่แล้ว ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายก็จะให้น้ำหนักกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยมากกว่า โดยความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในปีนี้มองว่า กรอบการเคลื่อนไหวจะไม่มากนัก ซึ่งสถานะของไทยอยู่ระหว่างการปูพื้นฐาน เพื่อสร้างการเติบโตของประเทศในระยะยาว จึงต้องใช้ความอดทน ก่อนที่จะเห็นการเติบโต
สมาคมนักวิเคราะห์คาดอีอีซีเกิดได้เร็ว
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน กล่าวว่า การบังคับใช้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นสัญญาณว่าการดำเนินการของรัฐบาลสิ่งที่ต้องจับตาหลังจากนี้คือการร่างกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง 10 ฉบับจะมีความรวดเร็วแค่ไหน
“กระบวนการที่ต้องติดตามหลังจากนี้คือการร่างกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ ที่มี 10 มาตราจะสามารถทำได้เร็วแค่ไหนในช่วง8เดือน โดยจะมี 4 มาตราที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหากสามารถผลักดันให้ร่างกฎหมายแล้วเสร็จโดยเร็วก็จะช่วยให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้เร็ว”
จากการประเมินระยะเวลาการร่างที่มีกรอบเวลา 8 เดือน เพื่อเข้ากระบวนการต่อไปทำให้คาดว่าการเลือกตั้งน่าจะเกิดขึ้นช่วงไตรมาสที่ 3 หรือปลายไตรมาสที่ 4 ของปี2561 ซึ่งยังกินเวลาค่อนข้างมาก ทำให้ในระยะสั้นน่า จะยังไม่มีผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยอย่างจริงจัง
อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่เริ่มขึ้น จะช่วยกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐให้มีความรวดเร็ว ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นภาครัฐได้ขับเคลื่อนการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในการจัดตั้งโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ประกอบกับมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งรถไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งกระบวนการหลังจากนี้การอนุมัติโครงการต่างๆ น่าจะมีความรวดเร็วมากขึ้นไปอีก ซึ่งอย่างน้อยเชื่อว่า รัฐบาลน่าจะสามารถเปิดประมูลโครงการลงทุนในแผนได้
การเมืองชัดเจนเดินหน้าเลือกตั้ง
นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นับเป็นเรื่องที่ดี สะท้อนสถานการณ์ทุกอย่างว่าจะชัดเจนขึ้น และหลังจากนี้รัฐบาลก็ได้เดินตามโรดแมพที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นตามมาในปีหน้า
ส่วนบางประเด็นที่อาจมีคนกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญที่อาจเอื้อต่อการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลจะกระทบต่อสถานการณ์การเมืองภายหลัง ประเด็นนี้มองว่าไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เพราะรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวผ่านการทำประชามติมาเรียบร้อยแล้ว แต่สิ่งที่ต้องติดตามจากนี้คือการออกกฎหมายลูกต่างๆว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการมากน้อยเพียงใด
“เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญออกมาอย่างชัดเจน สถานการณ์ต่างๆ น่าจะคลี่คลายขึ้น รัฐบาลสามารถทำตามโรดแมพที่ตั้งใจ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่าตอนที่ยังไม่ประกาศใช้และสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมืองหลังจากนี้ไปคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ธุรกิจของบริษัทยังคงเดินหน้าตามปกติ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตาม"
แจงส่งผลดีเศรษฐกิจโดยรวม
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองมั่นคงขึ้น เมื่อทุกอย่างชัดเจนขึ้น จะมีผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติ
ทั้งนี้ หากรัฐบาลเดินตามโรดแมพที่วางไว้ มีการเลือกตั้งสิ่งที่ต้องจับตามคือ ความต่อเนื่องของการบริหารงานและนโยบายรัฐบาล การลงทุนต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่จะเอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชน
ส่วนจะมีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ มองว่าภาวะเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบมากกว่า โดยอสังหาฯชะลอตัวตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น ผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้น
โบรกประเมินเลือกตั้งครึ่งหลังปี61
บล.เคที ซีมิโก้ ระบุว่า การประกาศใช้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังจากนี้ กรธ.จะต้องจัดทำร่างกฎหมายลูก 10 ฉบับ ใน สนช. ภายใน 240 วัน และสนช. มีเวลาพิจารณา 60 วัน และหลังจากนั้นให้มีการจัดเลือกตั้งภายใน 150 วัน หากถ้าใช้เวลาเต็มในทุกขั้นตอน จะทำให้มีการเลือกตั้งหลังจากนี้ 15 เดือน หรือ ราวเดือน ก.ค. 2561
บล.โนมูระพัฒนสิน ระบุว่า ด้านปัจจัยในประเทศ คาดได้รับอานิสงส์บวกจากแรงเก็งหุ้นที่คาดผลประกอบการคาดการณ์ผลประกอบการไตรมาสแรกจะฟื้นตัวดี ผสานกับ ความชัดเจนทางการเมืองที่มากยิ่งขึ้น หลังจาก จะมีพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 วันที่ 6 เม.ย.นี้ ส่งผลบวกต่อกระบวนการเลือกตั้งยังดำเนินตามแผนได้ในช่วงถัดไป กระตุ้นจิตวิทยาเชิงบวกต่อการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงในประเทศเพิ่มเติม
ภาพรวมตลาดหุ้นไทย วานนี้ (4 เม.ย.) ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัว ล่าสุดปิดตลาดที่ระดับ 1,583.82 จุด เพิ่มขึ้น 2.96 จุด เพิ่มขึ้น 0.19% มูลค่าการซื้อขายรวม 3.74 หมื่นล้านบาท
ขณะที่การซื้อขายแยกรายกลุ่มผู้ลงทุน โดยนักลงทุนต่างชาติมียอด 83.46 ล้านบาท ขณะที่ในเดือน มี.ค.ต่างชาติมียอดซื้อสุทธิรวม 3.6 พันล้านบาท
ต่างชาติจับตาปัจจัยน่าห่วงหลังเลือกตั้ง
นายพนม กาญจนเทียมเท่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด คาดว่า การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กลุ่มนักลงทุนต่างชาติย่อมมองว่าการเลือกตั้งกับรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต่างชาติบางกลุ่มก็ยังกังวลอยู่ว่าหลังจากเลือกตั้งแล้ว จะมีสถานการณ์ หรือปัจจัยอื่นๆที่จะเข้ามากดดันอีกหรือไม่
นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ยังคงมองการลงทุนในไทยในแง่บวก แต่ยังมีบางส่วนที่อาจมองการเมืองไทยในแง่ลบ หรือกังวลอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นความกังวลเรื่องนักการเมือง ตลอดจนเรื่องคอร์รัปชันต่างๆ ซึ่งในตอนนี้ก็ยังคาดการณ์ทิศทางอนาคตของประเทศไทยได้ยาก และเชื่อว่านักลงทุนบางกลุ่มอาจตัดสินใจชะลอการลงทุน
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
คำฉันท์กฤษณาสอนน้อง [กฤษณาสอนน้องคำฉันท์]
เรื่อง กฤษณาสอนน้อง เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่เคยมีผู้ใดทำการวิเคราะห์ที่มาของวรรณกรรมเรื่องนี้ จนกระทั่งมีการแต่งเป็นหนังสือในรัชกาลที่ 3 และกลายเป็นวรรณคดี คำฉันท์ที่สำคัญเล่มหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นคนแรกที่ทรงวิจารณ์ที่มาของเรื่องนี้อย่างถูกต้องและสรุปได้ในที่สุด ว่านำมาจากเรื่อง มหาภารตะ ของอินเดีย เรื่องเดิมเป็นรูปแบบคำสนทนาระหว่างหญิงสองคนที่เป็นเพื่อนกัน
เรื่อง กฤษณาสอนน้อง เป็นวรรณกรรมประเภทคำฉันท์ เชื่อได้แน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ต้นฉบับเดิมหายสูญไป ระยะเวลาที่แต่งจะเป็นสมัยอยุธยาตอนต้น หรืออยุธยาตอนปลาย เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดลงไปได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการ คือ
ประการที่หนึ่ง ไม่มีต้นฉบับตัวเขียนสมัยอยุธยาหลงเหลืออยู่เลย
ประการที่สอง เรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์นี้มีตกทอดมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในรูปแบบของ วรรณกรรมมุขปาฐะ คือท่องจำและถ่ายทอดกันมาด้วยการเล่าปากเปล่า ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรื่องที่ท่องจำกันมาจึงผิดเพี้ยนกันไป และหายตกหล่นไปมากต่อมาก จะเอาเนื้อหาสาระที่บริบูรณ์เป็นแก่นสารก็ไม่ได้ ประกอบทั้งภาษาสำนวนที่แต่งก็ไม่ได้อยู่ในขั้นดี กล่าวง่าย ๆ คือ เป็นสำนวนบ้านนอก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรด ทรงพระราชดำริว่าเนื้อเรื่องดี แต่ภาษาไม่ดีพอ น่าจะแต่งใหม่ให้ดีกว่านั้น จึงทรงอาราธนาให้ กวีแก้วแห่งรัตนโกสินทร์ คือ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ ทรงแต่งใหม่ทั้งหมด แต่รักษารูปแบบคำประพันธ์คือคำฉันท์ไว้ตามเดิม
“…พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ความดีก็ปรากฏ กิติยศลือชา
ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจร…”
“…อย่าซอนซอนสรวลเสียงสำเนียงดัง
อย่าระเริงกิริยาเป็นน่าชัง
ถ้ายามพลั้งชนจะชวนสำรวลพลัน
อย่าด่วนดำเนินไคลครรไลแล่น
กรกรีดแหวนแกว่งหัตถาหกหัน
อย่ามุ่งเมิดเดินบาทจะพลาดพลัน
อย่าทัดพันธุ์มาลาเมื่อคลาไคล
อย่าเสยเกศยุรยาตรเมื่อนาถย่าง
จีบพกหกลางขายสำเนียงส่งเสียงได้
สะกิดเพื่อนเยื้อนสรวลสำรวลใน
อย่าทรงสะไบพลางเดินดำเนินลี
อย่ายอหัตถ์ผัดลบกำโบละ
ประทินประนางย่างทางวิถี
อย่านุ่งกรายภูษาเดินจรลี
จะเสื่อมศรีศักดิ์ยุพาไม่ถาวร
อนึ่งอย่าทรงสะไบครองทั้งสองบ่า
เปลือกพระกายินทรีศรีสมร
ถ้าชายสบก็จะสรวลสำรวลอร
เป็นเครื่องร้อนสำรวมหทัยไม่ธำรง…”
ที่มา : http://th.wikisource.org/, http://www.praphansarn.com