โดย : วีรพงษ์ รามางกูร
ตั้งแต่โลกของเรามีการใช้โซเชียลมีเดียการปล่อยข่าวลือที่มักจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอนั้น จึงมีความรวดเร็วตามมาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่ข้อมูลข่าวสารมีความสำคัญต่อการซื้อขายล่วงหน้า ที่เป็นการซื้อขายกระดาษกันเท่านั้น ตลาดทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นตลาดสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นตลาดเงินและตลาดทุน ผสมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้การซื้อขายล่วงหน้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเป็นตลาดล่วงหน้าที่มีมูลค่ามหาศาลขึ้น การเคลื่อนไหวของตลาดล่วงหน้านั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสาร จึงเป็นโอกาสดีสำหรับนักเก็งกำไรที่ไวต่อข้อมูลข่าวสาร เพราะผู้ที่ได้ข่าวสารก่อนคนอื่นในตลาดย่อมจะกระทำการซื้อหรือขายล่วงหน้าได้ก่อนที่ตลาดจริงจะเคลื่อนไหว สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล หากตนเองสามารถได้ข้อมูลข่าวสารก่อนคนอื่น
ในทางกลับกัน การเก็งกำไรก็ก่อให้เกิดการ "สร้างข่าว" ขึ้นเพื่อ "ปั่นราคา" สินค้าและบริการ หรือตราสารทางการเงินให้ขึ้นหรือลงได้โดยอาศัยความฉับไวของสื่อสมัยใหม่ที่เรียกว่า โซเชียลมีเดีย ข่าวที่ปรากฏในโซเชียลมีเดียมีทั้งข่าวจริง ข่าวเท็จ ข่าวบิดเบือน หรือข่าวจริงเพียงบางส่วน แต่ก็มีผลต่อการเคลื่อนไหวของ "ราคา" ในตลาดได้
ตามปกติถ้าเป็นข่าวเท็จ ข่าวบิดเบือน หรือข่าวที่จริงเป็นบางส่วน ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลจะออกมาแถลงข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้ทราบ เช่น ถ้าเป็นข่าวเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ก็เป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง หรือหน่วยงานที่ดูแลการเคลื่อนย้ายของเงินทุน ถ้าเป็นเรื่องผลประกอบการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงาน ก.ล.ต. แล้วแต่กรณีที่จะเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงว่าข่าวลือเช่นว่านั้นเป็นความจริงหรือความเท็จ หรือข่าวบิดเบือน เพื่อให้ผู้ซื้อขายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลข่าวสารพร้อมกันทั้งตลาด เพื่อป้องกันการปล่อยข่าวลือ ซึ่งมักจะมาพร้อม ๆ กับการสร้างราคาหรือการปั่นราคา เพื่อสร้างกำไรเอาเปรียบผู้อื่นที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง และอาจจะหลงเชื่อข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง
ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เมื่อก่อนนี้ก็รู้สึกจะค่อนข้างเข้มแข็ง จนตลาดหลักทรัพย์ฯของเราได้รับความเชื่อถือจากประชาชนและจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ แต่ระยะหลัง ๆ มีหลายคนตั้งข้อสงสัยและตั้งคำถาม ทั้งที่ออกมาพูดอย่างเปิดเผย และที่ตั้งคำถามอยู่ในใจไม่น้อย ตลาดและสำนักงานอาจจะไม่ทราบ แต่มีคำครหาอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะระยะเวลาที่หุ้นในหมวดสื่อสารมีการขึ้นลงจากข่าวลืออยู่มาก แต่ประชาชนที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับทราบอย่างฉับพลันว่า ข่าวลือนั้นเป็นข่าวจริงหรือข่าวเท็จ จนเวลาผ่านไปหลายวันจึงทราบข้อเท็จจริง ซึ่งก็สายไปเสียแล้ว โดยไม่ทราบต้นตอของข่าวลือเหตุการณ์เช่นนี้นอกจากไม่เป็นธรรมกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุนที่ซื้อขายในตลาดแล้วยังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของตลาดรวมทั้งหน่วยงานที่เป็นผู้กำกับกิจการโทรคมนาคมด้วย เพราะมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากตลอดเวลา
การสร้างข่าวลือเพื่อหาประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดการเงิน ซึ่งประกอบด้วยตลาดเงินและตลาดทุนนั้นมีอยู่ทุกประเทศ และสำนักงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล หรือที่เรียกรวม ๆ ว่า "Regulator" เท่านั้น แม้แต่ตลาดการเงินระหว่างประเทศก็มีนักเก็งกำไรระดับโลก หรือระดับระหว่างประเทศด้วย แม้ว่าการสร้างราคาระดับโลกจะต้องใช้เงินทุนอย่างมหาศาล แต่ทุกวันนี้โลกเรามีเงินออมจำนวนมหาศาล ซึ่งกลายเป็นเงินทุนจำนวนมหาศาลที่ผู้จัดการเงินออมหรือกองทุนต่าง ๆ จะนำเอาเงินออมหรือเงินทุนเหล่านี้ไปบริหารจัดการหากำไร โดยการลงทุน การเก็งกำไร แล้วก็เลยเถิดไปสร้างข่าวลือเพื่อแสวงหากำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาตราสารทางการเงิน เพื่อเงินโบนัสหรือส่วนแบ่งกำไรให้กับผู้จัดการกองทุนต่าง ๆ เหล่านั้น
ในบรรดาตราสารทางการเงิน ตราสารทางการเงินที่กำหนดราคาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐจะมีจำนวนมากที่สุด ผู้ที่ถือเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งปกติย่อมไม่ถือดอลลาร์เป็นเงินสด เพราะเงินสดไม่ให้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน และยังยุ่งยากในการจัดเก็บแต่จะถือดอลลาร์ในรูปของเงินฝากธนาคาร หรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หรือหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน หรือสถาบันการเงินของเอกชน โดยมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อที่สำคัญ คือ บริษัทมูดีส์ฯ และบริษัท เอส แอนด์ พีฯ เป็นต้น ค่าตอบแทนสูงหรือต่ำ ก็แล้วแต่อันดับความน่าเชื่อถือ
อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ ก็มักจะเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ และอาจจะขึ้นลงตามภาวะตลาดของเงินตรานั้น ๆ ในกรณีที่ประเทศนั้นใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรีอย่างเช่น ประเทศไทย หากทางการจะทำการแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ก็นำเอาเงินดอลลาร์ออกมาขายในตลาด เพื่อให้ราคาเงินดอลลาร์อ่อนลงหรือค่าเงินของตนแข็งขึ้น หรือนำเงินสกุลท้องถิ่นมาซื้อดอลลาร์ไปเก็บไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อให้ค่าเงินดอลลาร์แพงขึ้น หรือทำให้ค่าเงินสกุลของตนมีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีข่าวลือที่แพร่สะพัดอยู่ 2 ข่าว ซึ่งถ้าใช้สามัญสำนึกง่าย ๆ ก็จะรู้ทันทีว่าเป็นข่าวเท็จ เป็นข่าวปล่อยเพื่อจะโจมตีค่าเงินหยวนของจีนและเงินดอลลาร์ฮ่องกง
ข่าวแรกก็คือ ธนาคารกลางของจีนจะกำหนดค่าเงินหยวนกับทองคำ กับอีกข่าวหนึ่งที่ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะลดลง 30 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินหยวน เพราะธนาคารกลางหรือธนาคารประชาชนจีนจะทุ่มเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ออกขายในตลาด
สำหรับข่าวลืออันแรก คือลือว่าจีนจะเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน จากการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน จากที่เคยกำหนดกับตะกร้าของเงินที่เงินดอลลาร์มีน้ำหนักมากที่สุดมาเป็นการกำหนดค่าเงินหยวนกับทองคำ ซึ่งเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ทั่วโลกไม่มีใครทำได้แล้ว เงินปอนด์สเตอร์ลิง เงินดอลลาร์สหรัฐเคยกำหนดค่าเงินของตนกับทองคำ ซึ่งเราเรียกระบบอัตราแลกเปลี่ยนอย่างนี้ว่า ระบบ "มาตรฐานทองคำ" ซึ่งมีความยุ่งยากมากหากธนาคารกลางจีนจะรักษาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนกับทองคำ แต่ในที่สุดก็ปรากฏข่าวว่าจีนอยากจะเปิดตลาดซื้อขายทองคำที่นครเซี่ยงไฮ้ คงอยากจะแข่งกับตลาดทองคำที่ฮ่องกง แต่คงจะทำไม่สำเร็จหรอก เพราะจีนยังไม่ได้เปิดเสรีทางการเงิน ยังเป็นสมาชิกไอเอ็มเอฟตามมาตรา 14 ยังไม่กล้าหาญเท่ากับประเทศไทยที่เป็นสมาชิกไอเอ็มเอฟตามมาตรา 8 ตั้งนานแล้ว ทั้งหมดจึงเป็นข่าวลือ
ข่าวลือข่าวที่ 2 ก็คือ จีนจะทุ่มเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากทุนสำรอง ซึ่งขณะนี้มีราว ๆ 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ จากที่จีนเคยมีทุนสำรองมากถึง 4.0 ล้านล้านดอลลาร์ หรือตราสารหนี้ในรูปดอลลาร์ คำถามที่ต้องถามคนปล่อยข่าวลือก็คือ จีนจะทุ่มดอลลาร์ออกมาซื้ออะไร เพราะถ้าการทุ่มเงินจำนวน 2 ล้านล้านดอลลาร์ไปแลกกับทองคำ ใครจะขายทองคำให้จีน ถ้าจีนทำอย่างนั้นทองคำเมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์ก็จะต้องแพงขึ้นตามกฎของตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดเงินตราต่างประเทศหรือตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะทองคำมี 2 สถานะ คือ เป็นเงินตราต่างประเทศ พร้อม ๆ กับเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปก็ไม่เห็นว่าราคาทองคำในตลาดโลกถีบตัวสูงขึ้น แสดงว่าไม่มีใครเชื่อข่าวลืออันนี้ ถ้าทุ่มเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ออกไปเพื่อซื้อสินค้าอื่น เช่น น้ำมัน ก็จะทุ่มซื้อทำไมเพราะราคาน้ำมันกำลังลง ไม่สมเหตุสมผลเช่นนี้จึงเป็นข่าวลือนั่นเอง
มีอีก 2-3 เรื่องที่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็มักจะมีคนไปเสนอรัฐบาลให้เจรจาทำสัญญาการค้าต่างตอบแทน เช่น ทำสัญญากับจีนเอาสินค้าเกษตรแลกกับรถไฟ ทำการค้ากับประเทศอาหรับก็เอาข้าวแลกกับน้ำมัน เป็นต้น การค้าต่างตอบแทนเป็นรูปแบบการค้าของสหภาพโซเวียตกับประเทศคอมมิวนิสต์ด้วยกัน ที่ทั้งคู่ไม่มีเงินดอลลาร์ด้วยกัน ในที่สุดก็ล้มเหลวเพราะสินค้าแต่ละอย่างมีเรื่องคุณภาพ มีเรื่องชนิด เรื่องอื่น ๆ มากมาย หากจะมาตกลงแลกกันก็ไม่รู้จะตั้งราคาแลกเปลี่ยนกันอย่างไร
อีกเรื่องของการค้าโดยการแลกเปลี่ยนที่ฟังดูดีแต่ปฏิบัติไม่ได้เช่นข้าวแลกกับน้ำมันหรืออย่างอื่น นับเป็นการหลีกเลี่ยงกลไกตลาด หรือหลีกเลี่ยงการใช้เงินที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ข่าวลือต่าง ๆ ในทางการค้าและการเงินในตลาดโลกมักจะมีอยู่เสมอ หากผู้ใดหลงเชื่อก็มักจะตกเป็นเหยื่อ เช่น ต้องจ่ายค่าเดินทาง ค่าโรงแรม ค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับผู้ที่ขันอาสาเดินทางไปเจรจา บางทีก็เป็น 10 ล้านบาทโดยเปล่าประโยชน์ แต่ก็เป็นกลอุบายที่ใช้ได้เสมอ เหมือนกับกรณีเก็บทองหนัก 10 บาทแล้วจะขอแลกกับทองหนักบาทเดียวได้
เรื่องอย่างนี้มีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศหรือระดับระหว่างประเทศ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตั้งแต่โลกของเรามีการใช้โซเชียลมีเดียการปล่อยข่าวลือที่มักจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอนั้น จึงมีความรวดเร็วตามมาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่ข้อมูลข่าวสารมีความสำคัญต่อการซื้อขายล่วงหน้า ที่เป็นการซื้อขายกระดาษกันเท่านั้น ตลาดทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นตลาดสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นตลาดเงินและตลาดทุน ผสมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้การซื้อขายล่วงหน้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเป็นตลาดล่วงหน้าที่มีมูลค่ามหาศาลขึ้น การเคลื่อนไหวของตลาดล่วงหน้านั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสาร จึงเป็นโอกาสดีสำหรับนักเก็งกำไรที่ไวต่อข้อมูลข่าวสาร เพราะผู้ที่ได้ข่าวสารก่อนคนอื่นในตลาดย่อมจะกระทำการซื้อหรือขายล่วงหน้าได้ก่อนที่ตลาดจริงจะเคลื่อนไหว สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล หากตนเองสามารถได้ข้อมูลข่าวสารก่อนคนอื่น
ในทางกลับกัน การเก็งกำไรก็ก่อให้เกิดการ "สร้างข่าว" ขึ้นเพื่อ "ปั่นราคา" สินค้าและบริการ หรือตราสารทางการเงินให้ขึ้นหรือลงได้โดยอาศัยความฉับไวของสื่อสมัยใหม่ที่เรียกว่า โซเชียลมีเดีย ข่าวที่ปรากฏในโซเชียลมีเดียมีทั้งข่าวจริง ข่าวเท็จ ข่าวบิดเบือน หรือข่าวจริงเพียงบางส่วน แต่ก็มีผลต่อการเคลื่อนไหวของ "ราคา" ในตลาดได้
ตามปกติถ้าเป็นข่าวเท็จ ข่าวบิดเบือน หรือข่าวที่จริงเป็นบางส่วน ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลจะออกมาแถลงข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้ทราบ เช่น ถ้าเป็นข่าวเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ก็เป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง หรือหน่วยงานที่ดูแลการเคลื่อนย้ายของเงินทุน ถ้าเป็นเรื่องผลประกอบการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงาน ก.ล.ต. แล้วแต่กรณีที่จะเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงว่าข่าวลือเช่นว่านั้นเป็นความจริงหรือความเท็จ หรือข่าวบิดเบือน เพื่อให้ผู้ซื้อขายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลข่าวสารพร้อมกันทั้งตลาด เพื่อป้องกันการปล่อยข่าวลือ ซึ่งมักจะมาพร้อม ๆ กับการสร้างราคาหรือการปั่นราคา เพื่อสร้างกำไรเอาเปรียบผู้อื่นที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง และอาจจะหลงเชื่อข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง
ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เมื่อก่อนนี้ก็รู้สึกจะค่อนข้างเข้มแข็ง จนตลาดหลักทรัพย์ฯของเราได้รับความเชื่อถือจากประชาชนและจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ แต่ระยะหลัง ๆ มีหลายคนตั้งข้อสงสัยและตั้งคำถาม ทั้งที่ออกมาพูดอย่างเปิดเผย และที่ตั้งคำถามอยู่ในใจไม่น้อย ตลาดและสำนักงานอาจจะไม่ทราบ แต่มีคำครหาอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะระยะเวลาที่หุ้นในหมวดสื่อสารมีการขึ้นลงจากข่าวลืออยู่มาก แต่ประชาชนที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับทราบอย่างฉับพลันว่า ข่าวลือนั้นเป็นข่าวจริงหรือข่าวเท็จ จนเวลาผ่านไปหลายวันจึงทราบข้อเท็จจริง ซึ่งก็สายไปเสียแล้ว โดยไม่ทราบต้นตอของข่าวลือเหตุการณ์เช่นนี้นอกจากไม่เป็นธรรมกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุนที่ซื้อขายในตลาดแล้วยังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของตลาดรวมทั้งหน่วยงานที่เป็นผู้กำกับกิจการโทรคมนาคมด้วย เพราะมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากตลอดเวลา
การสร้างข่าวลือเพื่อหาประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดการเงิน ซึ่งประกอบด้วยตลาดเงินและตลาดทุนนั้นมีอยู่ทุกประเทศ และสำนักงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล หรือที่เรียกรวม ๆ ว่า "Regulator" เท่านั้น แม้แต่ตลาดการเงินระหว่างประเทศก็มีนักเก็งกำไรระดับโลก หรือระดับระหว่างประเทศด้วย แม้ว่าการสร้างราคาระดับโลกจะต้องใช้เงินทุนอย่างมหาศาล แต่ทุกวันนี้โลกเรามีเงินออมจำนวนมหาศาล ซึ่งกลายเป็นเงินทุนจำนวนมหาศาลที่ผู้จัดการเงินออมหรือกองทุนต่าง ๆ จะนำเอาเงินออมหรือเงินทุนเหล่านี้ไปบริหารจัดการหากำไร โดยการลงทุน การเก็งกำไร แล้วก็เลยเถิดไปสร้างข่าวลือเพื่อแสวงหากำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาตราสารทางการเงิน เพื่อเงินโบนัสหรือส่วนแบ่งกำไรให้กับผู้จัดการกองทุนต่าง ๆ เหล่านั้น
ในบรรดาตราสารทางการเงิน ตราสารทางการเงินที่กำหนดราคาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐจะมีจำนวนมากที่สุด ผู้ที่ถือเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งปกติย่อมไม่ถือดอลลาร์เป็นเงินสด เพราะเงินสดไม่ให้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน และยังยุ่งยากในการจัดเก็บแต่จะถือดอลลาร์ในรูปของเงินฝากธนาคาร หรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หรือหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน หรือสถาบันการเงินของเอกชน โดยมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อที่สำคัญ คือ บริษัทมูดีส์ฯ และบริษัท เอส แอนด์ พีฯ เป็นต้น ค่าตอบแทนสูงหรือต่ำ ก็แล้วแต่อันดับความน่าเชื่อถือ
อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ ก็มักจะเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ และอาจจะขึ้นลงตามภาวะตลาดของเงินตรานั้น ๆ ในกรณีที่ประเทศนั้นใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรีอย่างเช่น ประเทศไทย หากทางการจะทำการแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ก็นำเอาเงินดอลลาร์ออกมาขายในตลาด เพื่อให้ราคาเงินดอลลาร์อ่อนลงหรือค่าเงินของตนแข็งขึ้น หรือนำเงินสกุลท้องถิ่นมาซื้อดอลลาร์ไปเก็บไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อให้ค่าเงินดอลลาร์แพงขึ้น หรือทำให้ค่าเงินสกุลของตนมีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีข่าวลือที่แพร่สะพัดอยู่ 2 ข่าว ซึ่งถ้าใช้สามัญสำนึกง่าย ๆ ก็จะรู้ทันทีว่าเป็นข่าวเท็จ เป็นข่าวปล่อยเพื่อจะโจมตีค่าเงินหยวนของจีนและเงินดอลลาร์ฮ่องกง
ข่าวแรกก็คือ ธนาคารกลางของจีนจะกำหนดค่าเงินหยวนกับทองคำ กับอีกข่าวหนึ่งที่ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะลดลง 30 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินหยวน เพราะธนาคารกลางหรือธนาคารประชาชนจีนจะทุ่มเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ออกขายในตลาด
สำหรับข่าวลืออันแรก คือลือว่าจีนจะเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน จากการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน จากที่เคยกำหนดกับตะกร้าของเงินที่เงินดอลลาร์มีน้ำหนักมากที่สุดมาเป็นการกำหนดค่าเงินหยวนกับทองคำ ซึ่งเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ทั่วโลกไม่มีใครทำได้แล้ว เงินปอนด์สเตอร์ลิง เงินดอลลาร์สหรัฐเคยกำหนดค่าเงินของตนกับทองคำ ซึ่งเราเรียกระบบอัตราแลกเปลี่ยนอย่างนี้ว่า ระบบ "มาตรฐานทองคำ" ซึ่งมีความยุ่งยากมากหากธนาคารกลางจีนจะรักษาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนกับทองคำ แต่ในที่สุดก็ปรากฏข่าวว่าจีนอยากจะเปิดตลาดซื้อขายทองคำที่นครเซี่ยงไฮ้ คงอยากจะแข่งกับตลาดทองคำที่ฮ่องกง แต่คงจะทำไม่สำเร็จหรอก เพราะจีนยังไม่ได้เปิดเสรีทางการเงิน ยังเป็นสมาชิกไอเอ็มเอฟตามมาตรา 14 ยังไม่กล้าหาญเท่ากับประเทศไทยที่เป็นสมาชิกไอเอ็มเอฟตามมาตรา 8 ตั้งนานแล้ว ทั้งหมดจึงเป็นข่าวลือ
ข่าวลือข่าวที่ 2 ก็คือ จีนจะทุ่มเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากทุนสำรอง ซึ่งขณะนี้มีราว ๆ 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ จากที่จีนเคยมีทุนสำรองมากถึง 4.0 ล้านล้านดอลลาร์ หรือตราสารหนี้ในรูปดอลลาร์ คำถามที่ต้องถามคนปล่อยข่าวลือก็คือ จีนจะทุ่มดอลลาร์ออกมาซื้ออะไร เพราะถ้าการทุ่มเงินจำนวน 2 ล้านล้านดอลลาร์ไปแลกกับทองคำ ใครจะขายทองคำให้จีน ถ้าจีนทำอย่างนั้นทองคำเมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์ก็จะต้องแพงขึ้นตามกฎของตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดเงินตราต่างประเทศหรือตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะทองคำมี 2 สถานะ คือ เป็นเงินตราต่างประเทศ พร้อม ๆ กับเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปก็ไม่เห็นว่าราคาทองคำในตลาดโลกถีบตัวสูงขึ้น แสดงว่าไม่มีใครเชื่อข่าวลืออันนี้ ถ้าทุ่มเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ออกไปเพื่อซื้อสินค้าอื่น เช่น น้ำมัน ก็จะทุ่มซื้อทำไมเพราะราคาน้ำมันกำลังลง ไม่สมเหตุสมผลเช่นนี้จึงเป็นข่าวลือนั่นเอง
มีอีก 2-3 เรื่องที่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็มักจะมีคนไปเสนอรัฐบาลให้เจรจาทำสัญญาการค้าต่างตอบแทน เช่น ทำสัญญากับจีนเอาสินค้าเกษตรแลกกับรถไฟ ทำการค้ากับประเทศอาหรับก็เอาข้าวแลกกับน้ำมัน เป็นต้น การค้าต่างตอบแทนเป็นรูปแบบการค้าของสหภาพโซเวียตกับประเทศคอมมิวนิสต์ด้วยกัน ที่ทั้งคู่ไม่มีเงินดอลลาร์ด้วยกัน ในที่สุดก็ล้มเหลวเพราะสินค้าแต่ละอย่างมีเรื่องคุณภาพ มีเรื่องชนิด เรื่องอื่น ๆ มากมาย หากจะมาตกลงแลกกันก็ไม่รู้จะตั้งราคาแลกเปลี่ยนกันอย่างไร
อีกเรื่องของการค้าโดยการแลกเปลี่ยนที่ฟังดูดีแต่ปฏิบัติไม่ได้เช่นข้าวแลกกับน้ำมันหรืออย่างอื่น นับเป็นการหลีกเลี่ยงกลไกตลาด หรือหลีกเลี่ยงการใช้เงินที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ข่าวลือต่าง ๆ ในทางการค้าและการเงินในตลาดโลกมักจะมีอยู่เสมอ หากผู้ใดหลงเชื่อก็มักจะตกเป็นเหยื่อ เช่น ต้องจ่ายค่าเดินทาง ค่าโรงแรม ค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับผู้ที่ขันอาสาเดินทางไปเจรจา บางทีก็เป็น 10 ล้านบาทโดยเปล่าประโยชน์ แต่ก็เป็นกลอุบายที่ใช้ได้เสมอ เหมือนกับกรณีเก็บทองหนัก 10 บาทแล้วจะขอแลกกับทองหนักบาทเดียวได้
เรื่องอย่างนี้มีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศหรือระดับระหว่างประเทศ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++